• รีโพสต์บทความของ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ “คานงัดประเทศไทยหลายประเทศมีการผลักดัน “การปฏิรูปเชิงโครงสร้าง” อย่างจริงจังและต่อเนื่อง จนสามารถพลิกฟื้นตัวเองจากรัฐที่ตามหลัง (Following State) สู่รัฐที่ล้ำหน้า (Forefront State) อย่างจีน สิงค์โปร์ หรือ เกาหลีใต้ ผิดกับประเทศไทย ที่ปัจจุบันยังเป็นเพียงรัฐที่ตามหลัง และกำลังมีแนวโน้มถดถอยไปสู่รัฐที่กำลังล้มเหลว (Falling State)ที่ผ่านมา ประเทศไทยนั้นมีการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง (Great Reform) เพียงครั้งเดียว คือในสมัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 แต่เงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลงในสมัยนั้นกับในยุคปัจจุบันมีความแตกต่างกัน ทั้งเงื่อนไขที่มาจากปัจจัยภายในและภายนอก ในสมัยล้นเกล้าฯ รัชการที่ 5 น้ำหนักจะอยู่ที่การพัฒนาเพื่อไปสู่ความทันสมัย เพื่อที่จะแสดงให้ประชาคมโลกตระหนักว่าประเทศของเรานั้นไม่ได้ล้าหลัง เนื่องจากต้องเผชิญกับการล่าอาณานิคม ประเด็นท้าทายในยุคปัจจุบัน คือจะมุ่งการพัฒนาเพื่อไปสู่ความยั่งยืน ความเท่าเทียมในสังคม และความเท่าทันเทคโนโลยี ได้อย่างไร~แรงเฉื่อยต่อการเปลี่ยนแปลงหลังกระแสการล่าอาณานิคมผ่านพ้นไป ประเทศไทยไม่เคยต้องเผชิญกับแรงกดดันอย่างรุนแรง เราเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 1 แล 2 น้อยมาก ดังนั้น ระบบและโครงสร้างเก่า แนวคิดและจารีตนิยมจึงไม่ได้ถูกทำลาย ทำให้อิทธิพลของระบบอุปถัมภ์ อำนาจนิยม และอภิสิทธิชนยังคงอยู่ ระบบคุณค่าดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อการพลิกโฉมประเทศไปสู่สังคมสมัยใหม่ ที่เน้นความเป็นระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ ตระหนักในหน้าที่พลเมือง มีจิตอาสา กล้าที่จะเสนอความเห็น มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และความเสมอภาคระบบอุปถัมภ์ อำนาจนิยม และอภิสิทธิชน ยังได้หล่อหลอมคนไทยให้เป็น “ปัจเจกบุคคลที่ไร้บรรทัดฐานและคุณค่าร่วมในสังคม” (Anomic Individualism) สะท้อนผ่านพฤติกรรมตัวใครตัวมัน ไม่ชอบถูกบังคับ ไร้ระเบียบวินัย และขาดความรับผิดชอบ ผลข้างเคียงที่ตามมา คือคนไทยโดยส่วนใหญ่จะเรียกร้องสิทธิมากกว่าหน้าที่ เน้นถูกใจมากกว่าถูกต้อง เน้นมองเพื่อตัวเองมากกว่ามองเพื่อส่วนรวม เน้นชิงสุกก่อนห่ามมากกว่าอดเปรี้ยวไว้กินหวาน เน้นรูปแบบมากกว่าสาระ เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ เน้นมูลค่ามากกว่าคุณค่า และเน้นคอนเนคชั่นมากกว่าเนื้องานความไร้บรรทัดฐานและคุณค่าร่วมในสังคม ทำให้คนไทยโดยส่วนใหญ่มักตัดสินใจเลือกเส้นทางหรือวิธีการที่ “มักง่าย” ทำให้เรื่องที่ “ผิดปกติ” กลายเป็นเรื่อง “ไม่ผิดปกติ” และกระทำลงไปโดยปราศจาก “ความรู้สึกผิด” อาทิ นักการเมืองโกงกินไม่เป็นไร ขอเพียงให้มีผลงานบ้าง การทำปฏิวัติรัฐประหาร การใช้กำลังยุติความขัดแย้ง เชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ ไสยศาสตร์ และความมหัศจรรย์ ไม่รักษาเวลา ขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ ทิ้งงานโดยไม่มีเหตุผล เป็นต้น ~ค้นหาจุดคานงัด ทลายวงจรอุบาทว์หากพวกเราไม่คิดแก้ไขปรับเปลี่ยนค่านิยมและพฤติกรรมเหล่านี้ ก็ยากที่ประเทศไทยจะยืนเคียงบ่าเคียงไหล่ประเทศอื่น ๆ ในประชาคมโลกในศตวรรษที่ 21 นี้ได้ในการทลายวงจรอุบาทว์เชิงซ้อน จุดคานงัดของการเปลี่ยนแปลง (Leveraging Point) อาจจะอยู่ทึ่ “การปฏิรูประบบคุณค่า” (Value System Reform) ครั้งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในค่านิยม 2 ชุดหลักด้วยกัน คือชุดที่ 1: อุปถัมภ์นิยม อำนาจนิยม และอภิสิทธินิยมชุดที่ 2: บริโภคนิยม วัตถุนิยม และสุขนิยมบริโภคนิยม วัตถุนิยม และสุขนิยม เป็นด้านลบของระบอบทุนนิยม แต่ในด้านบวกของระบอบทุนนิยม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแข่งขันอย่างเสรี การยึดธรรมาภิบาล กฎกติกา กลับไม่ได้ถูกสังคมไทยนำมาใช้อย่างเต็มที่ เพราะถูกอิทธิพลของระบบอุปถัมภ์ อำนาจนิยม และอภิสิทธินิยมเข้าบดบังระบบคุณค่าทั้ง 2 ชุด ยังคงแทรกซึมลึกอยู่ในเกือบทุกอณูของสังคมไทย เป็น Counter-Productive Value ที่นอกจากจะไม่สอดรับกับรูปแบบการพัฒนาและโครงสร้างเศรษฐกิจสังคมในโลกปัจจุบัน ยังเป็นอุปสรรคตัวสำคัญที่สุดของการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า ระบบคุณค่าทั้งสองชุดได้ทำให้ธรรมาภิบาล โครงสร้าง ตลอดจนพฤติกรรมของผู้คนในสังคม เกิดการบิดเบี้ยวเชิงระบบ ไม่ว่าจะเป็น• การบิดเบี้ยวเชิงการเมือง ที่ก่อให้เกิดการเมืองที่มีผู้มีอิทธิพลครอบงำ และก่อให้เกิดระบอบธนาธิปไตย และระบอบอมาตยาธิปไตย แทนที่จะเป็นระบอบประชาธิปไตย • การบิดเบี้ยวเชิงบริหารราชการแผ่นดิน ที่การบริหารจัดการภาครัฐถูกแทรกแซง บิดเบือน ไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและระบบคุณธรรม • การบิดเบี้ยวเชิงสังคม ที่ก่อให้เกิด Contra-Individuals มากกว่า Collective Individuals รวมถึงเกิดความกระชับแน่นของคนในกลุ่มเดียวกัน (Bonding) เพิ่มขึ้น ในขณะที่ความสัมพันธ์ของคนต่างกลุ่ม (Bridging) ลดลง เกิดเป็น “สังคมของพวกกู” มากกว่า “สังคมของพวกเรา”• ความบิดเบี้ยวเชิงเศรษฐกิจ ที่ก่อให้เกิดระบบทุนนิยมแบบพวกพ้อง (Crony Capitalism) นำมาสู่ระบบเศรษฐกิจปรสิต (Parasite Economy) และสังคมพึ่งพิงประชานิยม (Dependent Society) • ความบิดเบี้ยวของผู้นำ ที่ก่อให้เกิดการขาดแคลนผู้นำที่เป็นต้นแบบที่ดี มีแต่ผู้นำที่คิดอย่าง พูดอย่าง ทำอย่างอยู่มากมาย เกิดผู้นำที่ใส่ใจในวาระซ่อนเร้นของตน มากกว่า วาระของชาติ• ความบิดเบี้ยวเชิงสถาบัน ที่สถาบันต่าง ๆ ไม่ได้ทำหน้าที่ตามภารกิจอย่างเป็นอิสระ อย่างที่สังคมคาดหวังที่สำคัญ ระบบอุปถัมภ์ อำนาจนิยม และอภิสิทธิชน ยังก่อให้เกิดความย้อนแย้งระหว่างอำนาจที่แท้จริงและอำนาจทางการ หรือที่เรียกว่า “Power Paradox” กล่าวคือ การที่เรายังมองประชาชนเป็นผู้ถูกปกครอง โดยมีผู้ปกครองคือรัฐ ทั้งที่จริง ๆ แล้วรัฐต้องเป็นผู้รับใช้ประชาชน เป็นความย้อนแย้งระหว่างพฤตินัยและนิตินัยดังนั้น หากปราศจากการปรับเปลี่ยนระบบคุณค่า เพื่อทำให้เกิดความสอดคล้องกับธรรมาภิบาลและโครงสร้างส่วนอื่นๆของสังคม วาระการปฎิรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปการเมือง ปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูประบบเศรษฐกิจ จะไม่มีทางตอบโจทย์ประเด็นปัญหาฐานรากที่เกิดขึ้นในสังคมไทย~ประชาธิปไตยเทียม ทุนนิยมพวกพ้อง ระบบเศรษฐกิจปรสิต และสังคมพึ่งพิงรัฐระบบคุณค่าทั้ง 2 ชุด: อุปถัมภ์นิยม อำนาจนิยม และอภิสิทธินิยม; บริโภคนิยม วัตถุนิยม และสุขนิยม เป็นปฐมบทของการเกิดโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองแบบ Extractive Political Economy ที่มีผู้คนเพียงบางกลุ่ม ได้ประโยชน์จากอำนาจการปกครองและอำนาจทางเศรษฐกิจ โดยความพยายามที่จะกีดกั้น เอารัดเอาเปรียบ และทำให้เกิดการกระจุกตัวของอำนาจและความมั่งคั่ง และนำพาสู่การอุบัติขึ้นของ ประชาธิปไตยเทียม ทุนนิยมพวกพ้อง ระบบเศรษฐกิจปรสิต และสังคมพึ่งพิงรัฐ ในที่สุดโครงสร้าง Extractive Political Economy ได้นำพาประเทศไทยสู่ “ทศวรรษแห่งความสูญเปล่า” เกิดสังคมที่ไม่ Clean & Clear ไม่ Free & Fair และไม่ Care & Share สังคมดังกล่าวนำมาซึ่งความเสื่อมถอยของทุนทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นทุนมนุษย์ที่อ่อนแอ ทุนเศรษฐกิจที่อ่อนด้อย ทุนสังคมที่เปราะบาง ทุนคุณธรรมจริยธรรมที่เสื่อมทราม และทุนทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมถึงเวลาปฎิรูประบบคุณค่า เพื่อใช้เป็นจุดคานงัดในการก้าวพ้นกับดัก และปรับเปลี่ยนไทยสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วในโลกที่หนึ่ง”
    รีโพสต์บทความของ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ “คานงัดประเทศไทยหลายประเทศมีการผลักดัน “การปฏิรูปเชิงโครงสร้าง” อย่างจริงจังและต่อเนื่อง จนสามารถพลิกฟื้นตัวเองจากรัฐที่ตามหลัง (Following State) สู่รัฐที่ล้ำหน้า (Forefront State) อย่างจีน สิงค์โปร์ หรือ เกาหลีใต้ ผิดกับประเทศไทย ที่ปัจจุบันยังเป็นเพียงรัฐที่ตามหลัง และกำลังมีแนวโน้มถดถอยไปสู่รัฐที่กำลังล้มเหลว (Falling State)ที่ผ่านมา ประเทศไทยนั้นมีการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง (Great Reform) เพียงครั้งเดียว คือในสมัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 แต่เงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลงในสมัยนั้นกับในยุคปัจจุบันมีความแตกต่างกัน ทั้งเงื่อนไขที่มาจากปัจจัยภายในและภายนอก ในสมัยล้นเกล้าฯ รัชการที่ 5 น้ำหนักจะอยู่ที่การพัฒนาเพื่อไปสู่ความทันสมัย เพื่อที่จะแสดงให้ประชาคมโลกตระหนักว่าประเทศของเรานั้นไม่ได้ล้าหลัง เนื่องจากต้องเผชิญกับการล่าอาณานิคม ประเด็นท้าทายในยุคปัจจุบัน คือจะมุ่งการพัฒนาเพื่อไปสู่ความยั่งยืน ความเท่าเทียมในสังคม และความเท่าทันเทคโนโลยี ได้อย่างไร~แรงเฉื่อยต่อการเปลี่ยนแปลงหลังกระแสการล่าอาณานิคมผ่านพ้นไป ประเทศไทยไม่เคยต้องเผชิญกับแรงกดดันอย่างรุนแรง เราเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 1 แล 2 น้อยมาก ดังนั้น ระบบและโครงสร้างเก่า แนวคิดและจารีตนิยมจึงไม่ได้ถูกทำลาย ทำให้อิทธิพลของระบบอุปถัมภ์ อำนาจนิยม และอภิสิทธิชนยังคงอยู่ ระบบคุณค่าดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อการพลิกโฉมประเทศไปสู่สังคมสมัยใหม่ ที่เน้นความเป็นระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ ตระหนักในหน้าที่พลเมือง มีจิตอาสา กล้าที่จะเสนอความเห็น มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และความเสมอภาคระบบอุปถัมภ์ อำนาจนิยม และอภิสิทธิชน ยังได้หล่อหลอมคนไทยให้เป็น “ปัจเจกบุคคลที่ไร้บรรทัดฐานและคุณค่าร่วมในสังคม” (Anomic Individualism) สะท้อนผ่านพฤติกรรมตัวใครตัวมัน ไม่ชอบถูกบังคับ ไร้ระเบียบวินัย และขาดความรับผิดชอบ ผลข้างเคียงที่ตามมา คือคนไทยโดยส่วนใหญ่จะเรียกร้องสิทธิมากกว่าหน้าที่ เน้นถูกใจมากกว่าถูกต้อง เน้นมองเพื่อตัวเองมากกว่ามองเพื่อส่วนรวม เน้นชิงสุกก่อนห่ามมากกว่าอดเปรี้ยวไว้กินหวาน เน้นรูปแบบมากกว่าสาระ เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ เน้นมูลค่ามากกว่าคุณค่า และเน้นคอนเนคชั่นมากกว่าเนื้องานความไร้บรรทัดฐานและคุณค่าร่วมในสังคม ทำให้คนไทยโดยส่วนใหญ่มักตัดสินใจเลือกเส้นทางหรือวิธีการที่ “มักง่าย” ทำให้เรื่องที่ “ผิดปกติ” กลายเป็นเรื่อง “ไม่ผิดปกติ” และกระทำลงไปโดยปราศจาก “ความรู้สึกผิด” อาทิ นักการเมืองโกงกินไม่เป็นไร ขอเพียงให้มีผลงานบ้าง การทำปฏิวัติรัฐประหาร การใช้กำลังยุติความขัดแย้ง เชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ ไสยศาสตร์ และความมหัศจรรย์ ไม่รักษาเวลา ขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ ทิ้งงานโดยไม่มีเหตุผล เป็นต้น ~ค้นหาจุดคานงัด ทลายวงจรอุบาทว์หากพวกเราไม่คิดแก้ไขปรับเปลี่ยนค่านิยมและพฤติกรรมเหล่านี้ ก็ยากที่ประเทศไทยจะยืนเคียงบ่าเคียงไหล่ประเทศอื่น ๆ ในประชาคมโลกในศตวรรษที่ 21 นี้ได้ในการทลายวงจรอุบาทว์เชิงซ้อน จุดคานงัดของการเปลี่ยนแปลง (Leveraging Point) อาจจะอยู่ทึ่ “การปฏิรูประบบคุณค่า” (Value System Reform) ครั้งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในค่านิยม 2 ชุดหลักด้วยกัน คือชุดที่ 1: อุปถัมภ์นิยม อำนาจนิยม และอภิสิทธินิยมชุดที่ 2: บริโภคนิยม วัตถุนิยม และสุขนิยมบริโภคนิยม วัตถุนิยม และสุขนิยม เป็นด้านลบของระบอบทุนนิยม แต่ในด้านบวกของระบอบทุนนิยม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแข่งขันอย่างเสรี การยึดธรรมาภิบาล กฎกติกา กลับไม่ได้ถูกสังคมไทยนำมาใช้อย่างเต็มที่ เพราะถูกอิทธิพลของระบบอุปถัมภ์ อำนาจนิยม และอภิสิทธินิยมเข้าบดบังระบบคุณค่าทั้ง 2 ชุด ยังคงแทรกซึมลึกอยู่ในเกือบทุกอณูของสังคมไทย เป็น Counter-Productive Value ที่นอกจากจะไม่สอดรับกับรูปแบบการพัฒนาและโครงสร้างเศรษฐกิจสังคมในโลกปัจจุบัน ยังเป็นอุปสรรคตัวสำคัญที่สุดของการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า ระบบคุณค่าทั้งสองชุดได้ทำให้ธรรมาภิบาล โครงสร้าง ตลอดจนพฤติกรรมของผู้คนในสังคม เกิดการบิดเบี้ยวเชิงระบบ ไม่ว่าจะเป็น• การบิดเบี้ยวเชิงการเมือง ที่ก่อให้เกิดการเมืองที่มีผู้มีอิทธิพลครอบงำ และก่อให้เกิดระบอบธนาธิปไตย และระบอบอมาตยาธิปไตย แทนที่จะเป็นระบอบประชาธิปไตย • การบิดเบี้ยวเชิงบริหารราชการแผ่นดิน ที่การบริหารจัดการภาครัฐถูกแทรกแซง บิดเบือน ไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและระบบคุณธรรม • การบิดเบี้ยวเชิงสังคม ที่ก่อให้เกิด Contra-Individuals มากกว่า Collective Individuals รวมถึงเกิดความกระชับแน่นของคนในกลุ่มเดียวกัน (Bonding) เพิ่มขึ้น ในขณะที่ความสัมพันธ์ของคนต่างกลุ่ม (Bridging) ลดลง เกิดเป็น “สังคมของพวกกู” มากกว่า “สังคมของพวกเรา”• ความบิดเบี้ยวเชิงเศรษฐกิจ ที่ก่อให้เกิดระบบทุนนิยมแบบพวกพ้อง (Crony Capitalism) นำมาสู่ระบบเศรษฐกิจปรสิต (Parasite Economy) และสังคมพึ่งพิงประชานิยม (Dependent Society) • ความบิดเบี้ยวของผู้นำ ที่ก่อให้เกิดการขาดแคลนผู้นำที่เป็นต้นแบบที่ดี มีแต่ผู้นำที่คิดอย่าง พูดอย่าง ทำอย่างอยู่มากมาย เกิดผู้นำที่ใส่ใจในวาระซ่อนเร้นของตน มากกว่า วาระของชาติ• ความบิดเบี้ยวเชิงสถาบัน ที่สถาบันต่าง ๆ ไม่ได้ทำหน้าที่ตามภารกิจอย่างเป็นอิสระ อย่างที่สังคมคาดหวังที่สำคัญ ระบบอุปถัมภ์ อำนาจนิยม และอภิสิทธิชน ยังก่อให้เกิดความย้อนแย้งระหว่างอำนาจที่แท้จริงและอำนาจทางการ หรือที่เรียกว่า “Power Paradox” กล่าวคือ การที่เรายังมองประชาชนเป็นผู้ถูกปกครอง โดยมีผู้ปกครองคือรัฐ ทั้งที่จริง ๆ แล้วรัฐต้องเป็นผู้รับใช้ประชาชน เป็นความย้อนแย้งระหว่างพฤตินัยและนิตินัยดังนั้น หากปราศจากการปรับเปลี่ยนระบบคุณค่า เพื่อทำให้เกิดความสอดคล้องกับธรรมาภิบาลและโครงสร้างส่วนอื่นๆของสังคม วาระการปฎิรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปการเมือง ปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูประบบเศรษฐกิจ จะไม่มีทางตอบโจทย์ประเด็นปัญหาฐานรากที่เกิดขึ้นในสังคมไทย~ประชาธิปไตยเทียม ทุนนิยมพวกพ้อง ระบบเศรษฐกิจปรสิต และสังคมพึ่งพิงรัฐระบบคุณค่าทั้ง 2 ชุด: อุปถัมภ์นิยม อำนาจนิยม และอภิสิทธินิยม; บริโภคนิยม วัตถุนิยม และสุขนิยม เป็นปฐมบทของการเกิดโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองแบบ Extractive Political Economy ที่มีผู้คนเพียงบางกลุ่ม ได้ประโยชน์จากอำนาจการปกครองและอำนาจทางเศรษฐกิจ โดยความพยายามที่จะกีดกั้น เอารัดเอาเปรียบ และทำให้เกิดการกระจุกตัวของอำนาจและความมั่งคั่ง และนำพาสู่การอุบัติขึ้นของ ประชาธิปไตยเทียม ทุนนิยมพวกพ้อง ระบบเศรษฐกิจปรสิต และสังคมพึ่งพิงรัฐ ในที่สุดโครงสร้าง Extractive Political Economy ได้นำพาประเทศไทยสู่ “ทศวรรษแห่งความสูญเปล่า” เกิดสังคมที่ไม่ Clean & Clear ไม่ Free & Fair และไม่ Care & Share สังคมดังกล่าวนำมาซึ่งความเสื่อมถอยของทุนทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นทุนมนุษย์ที่อ่อนแอ ทุนเศรษฐกิจที่อ่อนด้อย ทุนสังคมที่เปราะบาง ทุนคุณธรรมจริยธรรมที่เสื่อมทราม และทุนทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมถึงเวลาปฎิรูประบบคุณค่า เพื่อใช้เป็นจุดคานงัดในการก้าวพ้นกับดัก และปรับเปลี่ยนไทยสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วในโลกที่หนึ่ง”
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 374 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปชช.ทวงความยุติธรรม 53 จัดกิจกรรมรำลึกเหตุสลายการชุมนุมเสื้อแดง 10 เมษา “ธิดา” ยันคนเสื้อแดงต่อสู้กับเผด็จการ ไม่ใช่เพื่อใคร ซัดเพื่อไทยยังไม่เข้าใจสังคมไทยดีพอ ลั่นไม่ร่วมขบวนการหมุนทวนกงล้อประวัติศาสตร์ ร่วมมือกลุ่มจารีตอำนาจนิยมต่ออำนาจวงจรอุบาทว์ ด้าน ‘วิโรจน์’ ชี้ต้องสร้างภูมิคุ้ม หยุดกระบวนการชั่วช้าสามานย์ ไม่ให้ทำร้านคนเจนต่อไป พร้อมเดินหน้าแก้กม.กองทัพ สกัดปกป้องอาชญากรที่เข่นฆ่า ปชช.-ต้องขึ้นศาลพลเรือน

    วันนี้(10 เม.ย. 68) คณะประชาชนทวงความยุติธรรม 2553 จัดกิจกรรม “15 ปี รำลึก เมษา-พฤษภาคม 53” โดยมี นายชัยธวัช ตุลาธน อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล นางสาวพรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้า นางธิดา ถาวรเศรษฐ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. นายแพทย์เหวง โตจิราการ อดีตแกนนำ นปช. รวมถึงตัวแทนพรรคการเมือง เช่น นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ สส.กทม. พรรคประชาชน เป็นต้น เข้าร่วม

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9680000034401

    #MGROnline #รำลึกเหตุสลายการชุมนุมเสื้อแดง
    ปชช.ทวงความยุติธรรม 53 จัดกิจกรรมรำลึกเหตุสลายการชุมนุมเสื้อแดง 10 เมษา “ธิดา” ยันคนเสื้อแดงต่อสู้กับเผด็จการ ไม่ใช่เพื่อใคร ซัดเพื่อไทยยังไม่เข้าใจสังคมไทยดีพอ ลั่นไม่ร่วมขบวนการหมุนทวนกงล้อประวัติศาสตร์ ร่วมมือกลุ่มจารีตอำนาจนิยมต่ออำนาจวงจรอุบาทว์ ด้าน ‘วิโรจน์’ ชี้ต้องสร้างภูมิคุ้ม หยุดกระบวนการชั่วช้าสามานย์ ไม่ให้ทำร้านคนเจนต่อไป พร้อมเดินหน้าแก้กม.กองทัพ สกัดปกป้องอาชญากรที่เข่นฆ่า ปชช.-ต้องขึ้นศาลพลเรือน • วันนี้(10 เม.ย. 68) คณะประชาชนทวงความยุติธรรม 2553 จัดกิจกรรม “15 ปี รำลึก เมษา-พฤษภาคม 53” โดยมี นายชัยธวัช ตุลาธน อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล นางสาวพรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้า นางธิดา ถาวรเศรษฐ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. นายแพทย์เหวง โตจิราการ อดีตแกนนำ นปช. รวมถึงตัวแทนพรรคการเมือง เช่น นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ สส.กทม. พรรคประชาชน เป็นต้น เข้าร่วม • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9680000034401 • #MGROnline #รำลึกเหตุสลายการชุมนุมเสื้อแดง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 289 มุมมอง 0 รีวิว
  • อำนาจรัฐในระบอบ "Newทักษิณ" : คนเคาะข่าว 26-02-68
    : รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ประธานหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
    ดำเนินรายการโดย กรองทอง เศรษฐสุทธิ์

    #อำนาจรัฐ #Newทักษิณ #คนเคาะข่าว #การเมืองไทย #นิติศาสตร์ #รัฐศาสตร์ #อำนาจนิยม #ประชาธิปไตย #รัฐธรรมนูญ #ไทยTimes #ข่าวการเมือง #วิเคราะห์การเมือง #การปกครอง #ทักษิณ #สังคมไทย #กฎหมาย #วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
    อำนาจรัฐในระบอบ "Newทักษิณ" : คนเคาะข่าว 26-02-68 : รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ประธานหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย ดำเนินรายการโดย กรองทอง เศรษฐสุทธิ์ #อำนาจรัฐ #Newทักษิณ #คนเคาะข่าว #การเมืองไทย #นิติศาสตร์ #รัฐศาสตร์ #อำนาจนิยม #ประชาธิปไตย #รัฐธรรมนูญ #ไทยTimes #ข่าวการเมือง #วิเคราะห์การเมือง #การปกครอง #ทักษิณ #สังคมไทย #กฎหมาย #วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
    Like
    Love
    4
    2 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 782 มุมมอง 9 0 รีวิว
  • ทัศนะนักวิเคราะห์ชาวจีนมองการเมืองอเมริกัน "ยุคของทรัมป์จะทำให้อเมริกาคล้ายจีนมากขึ้น"

    ก่อนอื่นเมื่อคืนนี้ อีลอน มัสก์ ทำเอาทั้งซ้ายและไม่ซ้ายสะดุ้งกันไปหมด เพราะขณะที่กำลังปราศรัยเขาก็ตบหน้าอกแล้วชูมือขึ้นทำท่าเหมือนการทักทาย (และแสดงพลัง) ของพวกฟาสซิสต์ 

    ผมเห็นท่านี้พร้อมกับคำที่เขาพูดว่า “My heart goes out to you,”  แล้วตบหน้าอกจากนั้นเหมือนเขวี้ยงหัวใจไปให้ผู้ฟัง ถ้าหยวนๆ หน่อยก็คิดว่าเขาแค่โยนหัวใจปันให้แฟนๆ บางคนก็บอกว่า "นี่มันแค่ Roman salute" 
    แต่ถ้าไม่หยวนกับมัสก์ก็อดคิดไม่ได้ว่า "นี่มันขวาจัดกันไปใหญ่แล้ว"

    ไม่ใช่เรื่องปกปิดอะไรที่มัสก์สนับสนุนฝ่ายขวาจัด ไม่ใช่แค่ในสหรัฐฯ แต่กำลังสนับสนุนในยุโรปด้วย เช่น มัสก์ประกาศจะหนุนทุนให้กับพรรค Reform UK ซึ่งเป็นพรรคขวาจัดของสหราชอาณาจักร ต่อต้านผู้อพยพ และสนับสนุนชาตินิยมอังกฤษ

    มัสก์ ยังสนับสนุนพรรคขวาจัดในเยอรมนีโดยเขียนไว้ใน X ว่า "Only AfD can save Germany" - AfD คือชื่อย่อของพรรค "ทางเลือกเพื่อเยอรมนี" (Alternative für Deutschland) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายขวา ต่อต้านคนต่างด้าว ต่อต้านผู้อพยพ สนับสนุนค่านิยมคริสเตียนและไม่เอาชาวมุสลิม

    มัสก์และทีมทรัมป์กำลังฟอร์มแนวร่วมพลังขวาในโลกตะวันตก แน่นอนว่าคราวนี้ไม่ใช่แค่เล่นๆ เพราะทรัมป์มีอำนาจและมัสก์มีเงินและเครือข่าย

    แนวโน้มที่โลกตะวันตกกำลังจะขวาจัดๆ ฝ่ายจีนก็มองเห็นเรื่องนี้ หลังจากเลือกตั้งผมได้เขียนสรุปทัศนะของ "ทู่จู่ซี" (兔主席) ซึ่งเป็นนามปากกาของ "เริ่นอี้" (任意) นักเขียนคอลัมน์การเมืองชาวจีนที่ได้รับความนิยมในโซเชียลมีเดียจีน เขาถือเป็นกลุ่ม "หงซานไต้" (红三代) หรือลูกหลานรุ่นที่ 3 ของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นหลานชายของ เริ่นจ้งอี๋ (任仲夷) อดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนและอดีตเลขาธิการคนแรกของคณะกรรมการมณฑลกวางตุ้งของพรรคคอมมิวนิสต์จีน  

    ในด้านความรู้ทางการเมืองตะวันตก เขาได้รับเชิญจากศาสตราจารย์ เอซรา ไฟเวล วอเกล (Ezra Feivel Vogel) นักจีนวิทยาชาวอเมริกัน และศาสตราจารย์ด้านสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ให้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิจัยเกี่ยวกับ "ยุคปฏิรูปของจีน" และช่วยเขาค้นคว้าเรื่อง "ยุคเติ้งเสี่ยวผิง" ต่อมาเขาได้รับปริญญาโทจากวิทยาลัยยการเมืองเคนเนดีของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและทำงานที่ศูนย์แฟร์แบงก์เพื่อการศึกษาเอเชียตะวันออก หลังจากสำเร็จการศึกษา เขาทำงานให้กับธนาคารเพื่อการลงทุนของจีนในปักกิ่ง

    เขาเขียนทัศนะด้านการเมืองเผยแพร่เป็นบทความในสื่อต่างๆ ของจีน รวมถึงในโซเชียลมีเดียของจีน ความคิดเห็นของเขามักถูกอ้างอิงโดยสื่อกระแสหลัก และ เขาอ้างว่าบทความบางบทความของเขาถูกใช้เป็น "ข้อมูลอ้างอิงภายใน" สำหรับเจ้าหน้าที่จีน โดยที่บทความของเขาในปี 2020 เรื่อง "ไม่ใช่รัฐบาลจีนที่ปลุกชาตินิยมจีน แต่เป็นนักการเมืองอเมริกัน" ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำโดย People's Daily Online  

    1. "ทู่จู่ซี" มองว่า ชัยชนะของทรัมป์เหนือพรรคเดโมแครต คือ "ชัยชนะของการปฏิวัติระดับรากหญ้า" เขาชี้ว่าการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายทรัมป์และฝ่ายแฮร์ริส โดยพื้นฐานแล้ว เป็นการเผชิญหน้าระหว่างคนระดับรากหญ้าและประชาชนคนสามัญของสหรัฐฯ กับกลุ่มผู้ปกครองชั้นนำของสหรัฐฯ และมองว่านี่คือยุทธศาสตร์ “ป่าล้อมเมือง” ซึ่งทัศนะนี้ของ "ทู่จู่ซี" คล้ายกับความเห็นของชาวอเมริกันบางคนที่ตำหนิว่าพรรคเดโมแครตทรยศฐานเสียงของตัวเองที่แต่เดิมเป็นพวกคนรากหญ้าและแรงงาน แต่หันมาเน้นเรื่องการเมืองชิงอัตลักษณ์ คือแนวคิดเรื่อง Woke และยังสนองวาระของกลุ่มชนชั้นนำด้วยการสนับสนุนสงครามในยูเครนและสงครามในตะวันออกกลาง ทำให้พรรครีพับลิกันหันมาจับกลุ่มรากหญ้าแทนจนประสบความสำเร็จ รวมถึงกลุ่มคนอเมริกันเชื้อสายตะวันออกกลาง

    2. "ทู่จู่ซี" มองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ถือเป็นการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ในสหรัฐฯ และกระบวนการนั้นได้เสร็จสิ้นงแล้ว ซึ่งพรรครีพับลิกันได้กลายเป็นพรรคที่มีชนชั้นกลางและชั้นล่างเป็นรากฐานหลัก และผ่านการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรครีพับลิกันได้รวมเอาคนผิวสี ละติน และคนหนุ่มสาวเข้ามาด้วย ทำให้ภาพลักษณ์ของพรรครีพับลิกันไม่ใช่ตัวแทนของนายทุนใหญ่ นักอุตสาหกรรมใหญ่ นักการเงินใหญ่ และชนชั้นกระฎุมพี" อีกต่อไป แต่กลายเป็นพรรคของคนอเมริกันคนเดินดิน 

    3. "ทู่จู่ซี" ชี้ว่าทรัมป์ได้กลายเป็นประธานาธิบดีที่ทรงอำนาจที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา เพราะไม่เพียงแต่ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่พรรครีพับลิกันยังชนะการเลือกตั้งวุฒิสภา และคาดว่าจะรวบรวมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้ ในเวลาเดียวกัน "ในศาลฎีกา พรรครีพับลิกัน/อนุรักษ์นิยมมีข้อได้เปรียบอย่างชัดเจนถึง 6:3 (รวมถึงผู้พิพากษาสามคนที่ทรัมป์คัดเลือกด้วยตัวเอง) ทั้งสามอำนาจรวมกันเป็นหนึ่ง และควรเห็นว่าพรรครีพับลิกันในปัจจุบันไม่ใช่พรรครีพับลิกันเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หรือพรรครีพับลิกันเมื่อ 8 ปีที่แล้ว แต่เป็นพรรคของทรัมป์เท่านั้น ชื่อที่เหมาะสมกว่าคือ พรรคทรัมป์ การรวมอำนาจและอิทธิพลนี้คงไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์อเมริกา ทรัมป์อาจเป็นประธานาธิบดีที่มีอำนาจมากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา" 

    4. แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะมีประธานาธิบดีที่ทรงอำนาจที่สุดในประวัติศาสตร์ ได้รับการสนับสนุนอย่างกระตือรือร้นจากชาวอเมริกันกว่าครึ่งประเทศ แต่การเมืองของอเมริกาก็แตกแยกกันอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และสังคมก็แตกแยกกันอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน "ชาวอเมริกันครึ่งหนึ่งเชื่อว่าสหรัฐอเมริกาได้เข้าสู่ยุคมืดแล้ว" ประชากรครึ่งหนึ่งเชื่อว่านักการเมืองอันธพาลที่มีนิสัยเลวร้ายอย่างยิ่ง เช่น ฮิตเลอร์ ฟาสซิสต์ และนาซี ได้ขึ้นมามีอำนาจ และจะทำทุกวิถีทางเพื่อทำลายทุกสิ่งที่ประชาชนรู้เกี่ยวกับระบบของอเมริกาภายในสี่ปีข้างหน้า และนำประเทศไปในทิศทางอื่น พวกเขาสับสนและสิ้นหวังอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนเกี่ยวกับอนาคตของประเทศ

    สังคมการเมืองอเมริกันหลังการกลับเข้ามามีอำนาจของทรัมป์จะทำให้เกิดค่านิยมใหม่ "ทู่จู่ซี"  มองว่า

    1) ในแง่ของรัฐบาล ประการแรกคือการเสริมอำนาจของประธานาธิบดี/ฝ่ายบริหารอย่างมาก โดยประธานาธิบดีเป็นผู้นำศูนย์กลางทางการเมือง แผ่ขยายไปยังฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ เพิ่มความเผด็จการ เพิ่มความเข้มข้นของการตัดสินใจ ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินการของรัฐบาล และลบขั้นตอนราชการที่ไม่จำเป็นออกจากระบบเก่า

    2) ในแง่นโยบายเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ จะมุ่งที่ ระบบตลาดนิยม" นั่นคือการมีรัฐบาลขนาดเล็กเพื่อลดการแทรกแซงตลาด ลดภาษีให้ต่ำลง ลดกฎระเบียบในตลาดให้น้อยลง ใช้แรงผลักดันของตลาดเพื่อดึงดูดเงินทุนไหลกลับ เรียกร้องให้บริษัทอเมริกันกลับมายังสหรัฐอเมริกาเพื่อการลงทุนและการก่อสร้างเพิ่มเติม

    3) ในแง่วัฒนธรรมในประเทศ จะส่งเสริมและพัฒนาความเป็นชาตินิยม ความรักชาติ และชาตินิยมของอเมริกาอย่างเข้มแข็ง อยางที่ เจดี แวนซ์ (JD Vance) ว่าที่รองประธานาธิบดีบอกว่า สหรัฐอเมริกาเป็น "ชาติ" สร้างสถานะทางวัฒนธรรมที่คนผิวขาว และต่อต้านเสรีนิยม/พวกหัวก้าวหน้า/Woke รัฐบาลใหม่จะมีอิทธิพลและกำหนดรูปแบบสังคมอเมริกันผ่านคำสั่งของศาลฎีกา การตรากฎหมาย คำสั่งของรัฐบาล สุนทรพจน์ของผู้นำทางการเมืองและผู้นำทางความคิด

    4) ในแง่เศรษฐกิจต่างประเทศ ระบอบทรัมป์จะต่อต้านโลกาภิวัตน์ ต่อต้านการค้าเสรี ต่อต้านกรอบแนวคิดเสรีนิยมใหม่ ยกระดับการใช้เครื่องมือภาษีศุลกากรเพื่อกีดกันสินค้าจากต่างประเทศอย่างครอบคลุม เพื่อกดดันและจูงใจในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศของสหรัฐฯ

    5) ในแง่การเมืองระหว่างประเทศ สหรัฐฯ ในยุคนี้จะ "ลัทธิโดดเดี่ยว" และ "ลัทธิไม่แทรกแซง" นั่นคือสหรัฐฯ จะหันมาสนใจเรื่องของตัวเองมากกขึ้นและไม่แทรกแซงกิจการต่างประเทศมากเท่าเดิม ลดการลงทุนในภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ (เช่น อันฉีดงบประมาณด้านสงคราม) ลดการใช้เงินไปกับการรักษาระเบียบระหว่างประเทศที่นำโดยสหรัฐฯ และประเมินความสัมพันธ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯ และพันธมิตรใหม่

    6) ในการบรรลุเป้าหมายข้างต้น รัฐบาลทรัมป์จะได้รับการสนับสนุนจาก อีลอน มัสก์ ผู้สนับสนุนคนสำคัญของเขาในการสร้างกลุ่มอำนาจ "ซิลิคอนวัลเลย์ใหม่" ซึ่งต่างจากกลุ่มซิลิคอนวัลเลย์ที่สนับสนุนเสรีนิยม "ซิลิคอนวัลเลย์ใหม่" จะเป็นการก่อตัวของพันธมิตรทางการเมืองใหม่ด้านเทคโนโลยี-อำนาจนิยม-อนุรักษ์นิยม

    แง่มุมสุดท้ายมีความน่าสนใจอยางยิ่ง เพราะจะเป็นการก่อตัวใหม่ของกลุ่มอำนาจใหม่ด้านการเมืองและธุรกิจเทค "ทู่จู่ซี" แสดงทัศนะว่า "ค่านิยมของชาวอเมริกันรุ่นใหม่ในประเด็นเศรษฐกิจนั้น “เอียงซ้าย” เชื่อในลัทธิก้าวหน้า เห็นอกเห็นใจลัทธิสังคมนิยม และไม่ต่อต้านลัทธิสังคมนิยม กล่าวอีกนัยหนึ่ง ในแง่ของค่านิยมทางเศรษฐกิจ พวกเขาจะคล้ายคลึงกับเรา (จีน) ในอนาคตมากขึ้น การที่ทรัมป์ขึ้นสู่อำนาจจะเปลี่ยนทัศนคติของคนหนุ่มสาวในประเด็นเศรษฐกิจหรือไม่ เป็นเรื่องยากที่จะบอก" 

    "แต่ท้ายที่สุดแล้ว ทรัมป์เป็นพรรคการเมืองระดับรากหญ้า เป็นพรรคการเมืองประชานิยม และให้ความสำคัญกับการจ้างงานและการอยู่รอดของคนธรรมดาสามัญ ดังนั้น พรรคทรัมป์จึงสามารถรวมนโยบายเศรษฐกิจฝ่ายซ้ายได้ ในทางกลับกัน พันธมิตรทางการเมืองแบบเทคโน-เผด็จการ-อนุรักษ์นิยมของทรัมป์ (และมัสก์) จะนำลัทธิเผด็จการ การปกครองแบบเผด็จการ และความเป็นผู้นำที่เข้มแข็งมาสู่วัฒนธรรมการเมืองของอเมริกา ซึ่งจะคล้ายคลึงกับแนวทางของเอเชียตะวันออกมากขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง มีความเป็นไปได้ที่อเมริกาในอนาคตจะคล้ายคลึงกับเรา (จีน) มากขึ้น" 

    "ทู่จู่ซี" กล่าวไว้แบบนี้ และบทความนี้ได้รับความนิยมในจีนค่อนข้างมากในช่วงหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ใหม่ๆ

    ส่วนตัวผมค่อนข้างเห็นด้วยกับ "ทู่จู่ซี" และตามแนวโน้มความเป็นขวาที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการเมืองสหรัฐฯ และยุโรปมาระยะหนึ่งแล้ว

    ที่มา เฟซบุ๊ก Kornkit Disthan
    https://www.facebook.com/share/p/149JGAqSR9/?
    ทัศนะนักวิเคราะห์ชาวจีนมองการเมืองอเมริกัน "ยุคของทรัมป์จะทำให้อเมริกาคล้ายจีนมากขึ้น" ก่อนอื่นเมื่อคืนนี้ อีลอน มัสก์ ทำเอาทั้งซ้ายและไม่ซ้ายสะดุ้งกันไปหมด เพราะขณะที่กำลังปราศรัยเขาก็ตบหน้าอกแล้วชูมือขึ้นทำท่าเหมือนการทักทาย (และแสดงพลัง) ของพวกฟาสซิสต์  ผมเห็นท่านี้พร้อมกับคำที่เขาพูดว่า “My heart goes out to you,”  แล้วตบหน้าอกจากนั้นเหมือนเขวี้ยงหัวใจไปให้ผู้ฟัง ถ้าหยวนๆ หน่อยก็คิดว่าเขาแค่โยนหัวใจปันให้แฟนๆ บางคนก็บอกว่า "นี่มันแค่ Roman salute"  แต่ถ้าไม่หยวนกับมัสก์ก็อดคิดไม่ได้ว่า "นี่มันขวาจัดกันไปใหญ่แล้ว" ไม่ใช่เรื่องปกปิดอะไรที่มัสก์สนับสนุนฝ่ายขวาจัด ไม่ใช่แค่ในสหรัฐฯ แต่กำลังสนับสนุนในยุโรปด้วย เช่น มัสก์ประกาศจะหนุนทุนให้กับพรรค Reform UK ซึ่งเป็นพรรคขวาจัดของสหราชอาณาจักร ต่อต้านผู้อพยพ และสนับสนุนชาตินิยมอังกฤษ มัสก์ ยังสนับสนุนพรรคขวาจัดในเยอรมนีโดยเขียนไว้ใน X ว่า "Only AfD can save Germany" - AfD คือชื่อย่อของพรรค "ทางเลือกเพื่อเยอรมนี" (Alternative für Deutschland) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายขวา ต่อต้านคนต่างด้าว ต่อต้านผู้อพยพ สนับสนุนค่านิยมคริสเตียนและไม่เอาชาวมุสลิม มัสก์และทีมทรัมป์กำลังฟอร์มแนวร่วมพลังขวาในโลกตะวันตก แน่นอนว่าคราวนี้ไม่ใช่แค่เล่นๆ เพราะทรัมป์มีอำนาจและมัสก์มีเงินและเครือข่าย แนวโน้มที่โลกตะวันตกกำลังจะขวาจัดๆ ฝ่ายจีนก็มองเห็นเรื่องนี้ หลังจากเลือกตั้งผมได้เขียนสรุปทัศนะของ "ทู่จู่ซี" (兔主席) ซึ่งเป็นนามปากกาของ "เริ่นอี้" (任意) นักเขียนคอลัมน์การเมืองชาวจีนที่ได้รับความนิยมในโซเชียลมีเดียจีน เขาถือเป็นกลุ่ม "หงซานไต้" (红三代) หรือลูกหลานรุ่นที่ 3 ของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นหลานชายของ เริ่นจ้งอี๋ (任仲夷) อดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนและอดีตเลขาธิการคนแรกของคณะกรรมการมณฑลกวางตุ้งของพรรคคอมมิวนิสต์จีน   ในด้านความรู้ทางการเมืองตะวันตก เขาได้รับเชิญจากศาสตราจารย์ เอซรา ไฟเวล วอเกล (Ezra Feivel Vogel) นักจีนวิทยาชาวอเมริกัน และศาสตราจารย์ด้านสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ให้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิจัยเกี่ยวกับ "ยุคปฏิรูปของจีน" และช่วยเขาค้นคว้าเรื่อง "ยุคเติ้งเสี่ยวผิง" ต่อมาเขาได้รับปริญญาโทจากวิทยาลัยยการเมืองเคนเนดีของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและทำงานที่ศูนย์แฟร์แบงก์เพื่อการศึกษาเอเชียตะวันออก หลังจากสำเร็จการศึกษา เขาทำงานให้กับธนาคารเพื่อการลงทุนของจีนในปักกิ่ง เขาเขียนทัศนะด้านการเมืองเผยแพร่เป็นบทความในสื่อต่างๆ ของจีน รวมถึงในโซเชียลมีเดียของจีน ความคิดเห็นของเขามักถูกอ้างอิงโดยสื่อกระแสหลัก และ เขาอ้างว่าบทความบางบทความของเขาถูกใช้เป็น "ข้อมูลอ้างอิงภายใน" สำหรับเจ้าหน้าที่จีน โดยที่บทความของเขาในปี 2020 เรื่อง "ไม่ใช่รัฐบาลจีนที่ปลุกชาตินิยมจีน แต่เป็นนักการเมืองอเมริกัน" ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำโดย People's Daily Online   1. "ทู่จู่ซี" มองว่า ชัยชนะของทรัมป์เหนือพรรคเดโมแครต คือ "ชัยชนะของการปฏิวัติระดับรากหญ้า" เขาชี้ว่าการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายทรัมป์และฝ่ายแฮร์ริส โดยพื้นฐานแล้ว เป็นการเผชิญหน้าระหว่างคนระดับรากหญ้าและประชาชนคนสามัญของสหรัฐฯ กับกลุ่มผู้ปกครองชั้นนำของสหรัฐฯ และมองว่านี่คือยุทธศาสตร์ “ป่าล้อมเมือง” ซึ่งทัศนะนี้ของ "ทู่จู่ซี" คล้ายกับความเห็นของชาวอเมริกันบางคนที่ตำหนิว่าพรรคเดโมแครตทรยศฐานเสียงของตัวเองที่แต่เดิมเป็นพวกคนรากหญ้าและแรงงาน แต่หันมาเน้นเรื่องการเมืองชิงอัตลักษณ์ คือแนวคิดเรื่อง Woke และยังสนองวาระของกลุ่มชนชั้นนำด้วยการสนับสนุนสงครามในยูเครนและสงครามในตะวันออกกลาง ทำให้พรรครีพับลิกันหันมาจับกลุ่มรากหญ้าแทนจนประสบความสำเร็จ รวมถึงกลุ่มคนอเมริกันเชื้อสายตะวันออกกลาง 2. "ทู่จู่ซี" มองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ถือเป็นการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ในสหรัฐฯ และกระบวนการนั้นได้เสร็จสิ้นงแล้ว ซึ่งพรรครีพับลิกันได้กลายเป็นพรรคที่มีชนชั้นกลางและชั้นล่างเป็นรากฐานหลัก และผ่านการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรครีพับลิกันได้รวมเอาคนผิวสี ละติน และคนหนุ่มสาวเข้ามาด้วย ทำให้ภาพลักษณ์ของพรรครีพับลิกันไม่ใช่ตัวแทนของนายทุนใหญ่ นักอุตสาหกรรมใหญ่ นักการเงินใหญ่ และชนชั้นกระฎุมพี" อีกต่อไป แต่กลายเป็นพรรคของคนอเมริกันคนเดินดิน  3. "ทู่จู่ซี" ชี้ว่าทรัมป์ได้กลายเป็นประธานาธิบดีที่ทรงอำนาจที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา เพราะไม่เพียงแต่ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่พรรครีพับลิกันยังชนะการเลือกตั้งวุฒิสภา และคาดว่าจะรวบรวมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้ ในเวลาเดียวกัน "ในศาลฎีกา พรรครีพับลิกัน/อนุรักษ์นิยมมีข้อได้เปรียบอย่างชัดเจนถึง 6:3 (รวมถึงผู้พิพากษาสามคนที่ทรัมป์คัดเลือกด้วยตัวเอง) ทั้งสามอำนาจรวมกันเป็นหนึ่ง และควรเห็นว่าพรรครีพับลิกันในปัจจุบันไม่ใช่พรรครีพับลิกันเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หรือพรรครีพับลิกันเมื่อ 8 ปีที่แล้ว แต่เป็นพรรคของทรัมป์เท่านั้น ชื่อที่เหมาะสมกว่าคือ พรรคทรัมป์ การรวมอำนาจและอิทธิพลนี้คงไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์อเมริกา ทรัมป์อาจเป็นประธานาธิบดีที่มีอำนาจมากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา"  4. แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะมีประธานาธิบดีที่ทรงอำนาจที่สุดในประวัติศาสตร์ ได้รับการสนับสนุนอย่างกระตือรือร้นจากชาวอเมริกันกว่าครึ่งประเทศ แต่การเมืองของอเมริกาก็แตกแยกกันอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และสังคมก็แตกแยกกันอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน "ชาวอเมริกันครึ่งหนึ่งเชื่อว่าสหรัฐอเมริกาได้เข้าสู่ยุคมืดแล้ว" ประชากรครึ่งหนึ่งเชื่อว่านักการเมืองอันธพาลที่มีนิสัยเลวร้ายอย่างยิ่ง เช่น ฮิตเลอร์ ฟาสซิสต์ และนาซี ได้ขึ้นมามีอำนาจ และจะทำทุกวิถีทางเพื่อทำลายทุกสิ่งที่ประชาชนรู้เกี่ยวกับระบบของอเมริกาภายในสี่ปีข้างหน้า และนำประเทศไปในทิศทางอื่น พวกเขาสับสนและสิ้นหวังอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนเกี่ยวกับอนาคตของประเทศ สังคมการเมืองอเมริกันหลังการกลับเข้ามามีอำนาจของทรัมป์จะทำให้เกิดค่านิยมใหม่ "ทู่จู่ซี"  มองว่า 1) ในแง่ของรัฐบาล ประการแรกคือการเสริมอำนาจของประธานาธิบดี/ฝ่ายบริหารอย่างมาก โดยประธานาธิบดีเป็นผู้นำศูนย์กลางทางการเมือง แผ่ขยายไปยังฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ เพิ่มความเผด็จการ เพิ่มความเข้มข้นของการตัดสินใจ ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินการของรัฐบาล และลบขั้นตอนราชการที่ไม่จำเป็นออกจากระบบเก่า 2) ในแง่นโยบายเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ จะมุ่งที่ ระบบตลาดนิยม" นั่นคือการมีรัฐบาลขนาดเล็กเพื่อลดการแทรกแซงตลาด ลดภาษีให้ต่ำลง ลดกฎระเบียบในตลาดให้น้อยลง ใช้แรงผลักดันของตลาดเพื่อดึงดูดเงินทุนไหลกลับ เรียกร้องให้บริษัทอเมริกันกลับมายังสหรัฐอเมริกาเพื่อการลงทุนและการก่อสร้างเพิ่มเติม 3) ในแง่วัฒนธรรมในประเทศ จะส่งเสริมและพัฒนาความเป็นชาตินิยม ความรักชาติ และชาตินิยมของอเมริกาอย่างเข้มแข็ง อยางที่ เจดี แวนซ์ (JD Vance) ว่าที่รองประธานาธิบดีบอกว่า สหรัฐอเมริกาเป็น "ชาติ" สร้างสถานะทางวัฒนธรรมที่คนผิวขาว และต่อต้านเสรีนิยม/พวกหัวก้าวหน้า/Woke รัฐบาลใหม่จะมีอิทธิพลและกำหนดรูปแบบสังคมอเมริกันผ่านคำสั่งของศาลฎีกา การตรากฎหมาย คำสั่งของรัฐบาล สุนทรพจน์ของผู้นำทางการเมืองและผู้นำทางความคิด 4) ในแง่เศรษฐกิจต่างประเทศ ระบอบทรัมป์จะต่อต้านโลกาภิวัตน์ ต่อต้านการค้าเสรี ต่อต้านกรอบแนวคิดเสรีนิยมใหม่ ยกระดับการใช้เครื่องมือภาษีศุลกากรเพื่อกีดกันสินค้าจากต่างประเทศอย่างครอบคลุม เพื่อกดดันและจูงใจในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศของสหรัฐฯ 5) ในแง่การเมืองระหว่างประเทศ สหรัฐฯ ในยุคนี้จะ "ลัทธิโดดเดี่ยว" และ "ลัทธิไม่แทรกแซง" นั่นคือสหรัฐฯ จะหันมาสนใจเรื่องของตัวเองมากกขึ้นและไม่แทรกแซงกิจการต่างประเทศมากเท่าเดิม ลดการลงทุนในภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ (เช่น อันฉีดงบประมาณด้านสงคราม) ลดการใช้เงินไปกับการรักษาระเบียบระหว่างประเทศที่นำโดยสหรัฐฯ และประเมินความสัมพันธ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯ และพันธมิตรใหม่ 6) ในการบรรลุเป้าหมายข้างต้น รัฐบาลทรัมป์จะได้รับการสนับสนุนจาก อีลอน มัสก์ ผู้สนับสนุนคนสำคัญของเขาในการสร้างกลุ่มอำนาจ "ซิลิคอนวัลเลย์ใหม่" ซึ่งต่างจากกลุ่มซิลิคอนวัลเลย์ที่สนับสนุนเสรีนิยม "ซิลิคอนวัลเลย์ใหม่" จะเป็นการก่อตัวของพันธมิตรทางการเมืองใหม่ด้านเทคโนโลยี-อำนาจนิยม-อนุรักษ์นิยม แง่มุมสุดท้ายมีความน่าสนใจอยางยิ่ง เพราะจะเป็นการก่อตัวใหม่ของกลุ่มอำนาจใหม่ด้านการเมืองและธุรกิจเทค "ทู่จู่ซี" แสดงทัศนะว่า "ค่านิยมของชาวอเมริกันรุ่นใหม่ในประเด็นเศรษฐกิจนั้น “เอียงซ้าย” เชื่อในลัทธิก้าวหน้า เห็นอกเห็นใจลัทธิสังคมนิยม และไม่ต่อต้านลัทธิสังคมนิยม กล่าวอีกนัยหนึ่ง ในแง่ของค่านิยมทางเศรษฐกิจ พวกเขาจะคล้ายคลึงกับเรา (จีน) ในอนาคตมากขึ้น การที่ทรัมป์ขึ้นสู่อำนาจจะเปลี่ยนทัศนคติของคนหนุ่มสาวในประเด็นเศรษฐกิจหรือไม่ เป็นเรื่องยากที่จะบอก"  "แต่ท้ายที่สุดแล้ว ทรัมป์เป็นพรรคการเมืองระดับรากหญ้า เป็นพรรคการเมืองประชานิยม และให้ความสำคัญกับการจ้างงานและการอยู่รอดของคนธรรมดาสามัญ ดังนั้น พรรคทรัมป์จึงสามารถรวมนโยบายเศรษฐกิจฝ่ายซ้ายได้ ในทางกลับกัน พันธมิตรทางการเมืองแบบเทคโน-เผด็จการ-อนุรักษ์นิยมของทรัมป์ (และมัสก์) จะนำลัทธิเผด็จการ การปกครองแบบเผด็จการ และความเป็นผู้นำที่เข้มแข็งมาสู่วัฒนธรรมการเมืองของอเมริกา ซึ่งจะคล้ายคลึงกับแนวทางของเอเชียตะวันออกมากขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง มีความเป็นไปได้ที่อเมริกาในอนาคตจะคล้ายคลึงกับเรา (จีน) มากขึ้น"  "ทู่จู่ซี" กล่าวไว้แบบนี้ และบทความนี้ได้รับความนิยมในจีนค่อนข้างมากในช่วงหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ใหม่ๆ ส่วนตัวผมค่อนข้างเห็นด้วยกับ "ทู่จู่ซี" และตามแนวโน้มความเป็นขวาที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการเมืองสหรัฐฯ และยุโรปมาระยะหนึ่งแล้ว ที่มา เฟซบุ๊ก Kornkit Disthan https://www.facebook.com/share/p/149JGAqSR9/?
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1033 มุมมอง 0 รีวิว
  • CIA เปิดรับสมัครสายลับ GenZ ฟาดจีน-รัสเซีย ระวังดาบสองคมนี้คืนสนองอเมริกา
    .
    การออกมารับสมัครสายลับอย่างโจ๋งครึ่ม เปิดหน้าผ่านโซเชียลมีเดีย ยิ่งตอกย้ำว่าบทบาทของปฏิบัติการข่าวกรองสหรัฐฯ จะยังคงเป็นตัวจุดประเด็นความขัดแย้งในกลยุทธ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ของอเมริกาอย่างไม่จบไม่สิ้น เพราะปฏิบัติการของ CIA นั้นคือต้นตอของความชั่วร้ายของสงครามที่ไม่มีวันสิ้นสุด ที่น่ากลัวคือ พวกนี้กำลังดำเนินปฏิบัติการชักจูง ดึงเอาเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ Gen Y, Gen Z ในประเทศต่างๆ เข้าไปเป็นพวก เข้ามาแทรกซึมให้เป็นสปาย ดำเนินการต่างๆ เพื่อเอื้อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต่อประโยชน์ของอเมริกา
    .
    ความพยายามสรรหาสายลับในจีน และรัสเซีย ผ่านโซเชียลมีเดียอย่างเปิดเผยครั้งล่าสุด แสดงให้เห็นแนวโน้มอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสหรัฐฯ ใช้ประโยชน์จากความไม่พอใจภายใต้ระบอบอำนาจนิยมเพื่อรวบรวมข่าวกรองโดยใช้จีน โดยในจีน สหรัฐฯ ต้องการอาศัยการใช้ประโยชน์จากความไม่พอใจในหมู่ประชาชนชนชั้นสูงเกี่ยวกับนโยบายที่เด็ดขาดของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง สิ่งนี้คล้ายคลึงกับที่ CIA ทำกับรัสเซียภายหลังการรุกรานยูเครนของกองทัพรัสเซียในปี 2545 โดย CIA ได้เดินแผนลับปฏิบัติการขอข้อมูลชาวรัสเซียที่ผิดหวังกับระบอบการปกครองของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน
    .
    จะเห็นได้ชัดว่า CIA คือองค์กรที่ชั่วร้าย หาข้อมูลข่าวสารเพื่อทำลายประเทศที่ไม่ยอมทำตามนโยบายของอเมริกา เพราะฉะนั้นแล้ว นี่คือแขนขาข้างหนึ่งของจักรวรรดินิยมอเมริกาที่ต้องการจะครอบครองทั่วโลก ตอนนี้ลงมาถึงระดับ Gen Y และ Gen Z แล้ว
    .
    ผมเชื่อว่าต้องมีไม่ต่ำกว่า 10 หรือ 20% ของคนที่ติดต่อไปเพื่อขอเป็นสายลับนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นคนของรัฐบาลนั่นเอง ก็คือว่าไปเป็นสายลับ มึงอยากให้กูไปเป็นสายลับ กูไปเป็นให้ แต่กูก็จะเอาข้อมูลที่กูได้จากมึง ส่งมา ตรงนี้เป็นการตรวจสอบที่ยากเย็นมาก แล้วตรงนี้เป็นดาบสองคมของ CIA ในขณะที่ CIA ต้องการใช้คนพวกนี้สมัครเข้ามา ไม่เลือกแล้ว ที่ไหนก็ได้ จีน รัสเซีย ส่งเข้ามาเลย ถ้าผ่าน ซึ่งการผ่านการตรวจสอบความมั่นคงนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องยาก สามารถตกแต่งได้ จะกลายเป็นว่าหอกอันนี้ ที่ CIA ต้องการเอามาใช้ทิ่มแทงประเทศต่างๆ มันจะย้อนกลับไปทิ่มแทงประเทศสหรัฐอเมริกาเอง

    ที่มา : Sondhitalk

    #Thaitimes
    CIA เปิดรับสมัครสายลับ GenZ ฟาดจีน-รัสเซีย ระวังดาบสองคมนี้คืนสนองอเมริกา . การออกมารับสมัครสายลับอย่างโจ๋งครึ่ม เปิดหน้าผ่านโซเชียลมีเดีย ยิ่งตอกย้ำว่าบทบาทของปฏิบัติการข่าวกรองสหรัฐฯ จะยังคงเป็นตัวจุดประเด็นความขัดแย้งในกลยุทธ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ของอเมริกาอย่างไม่จบไม่สิ้น เพราะปฏิบัติการของ CIA นั้นคือต้นตอของความชั่วร้ายของสงครามที่ไม่มีวันสิ้นสุด ที่น่ากลัวคือ พวกนี้กำลังดำเนินปฏิบัติการชักจูง ดึงเอาเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ Gen Y, Gen Z ในประเทศต่างๆ เข้าไปเป็นพวก เข้ามาแทรกซึมให้เป็นสปาย ดำเนินการต่างๆ เพื่อเอื้อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต่อประโยชน์ของอเมริกา . ความพยายามสรรหาสายลับในจีน และรัสเซีย ผ่านโซเชียลมีเดียอย่างเปิดเผยครั้งล่าสุด แสดงให้เห็นแนวโน้มอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสหรัฐฯ ใช้ประโยชน์จากความไม่พอใจภายใต้ระบอบอำนาจนิยมเพื่อรวบรวมข่าวกรองโดยใช้จีน โดยในจีน สหรัฐฯ ต้องการอาศัยการใช้ประโยชน์จากความไม่พอใจในหมู่ประชาชนชนชั้นสูงเกี่ยวกับนโยบายที่เด็ดขาดของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง สิ่งนี้คล้ายคลึงกับที่ CIA ทำกับรัสเซียภายหลังการรุกรานยูเครนของกองทัพรัสเซียในปี 2545 โดย CIA ได้เดินแผนลับปฏิบัติการขอข้อมูลชาวรัสเซียที่ผิดหวังกับระบอบการปกครองของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน . จะเห็นได้ชัดว่า CIA คือองค์กรที่ชั่วร้าย หาข้อมูลข่าวสารเพื่อทำลายประเทศที่ไม่ยอมทำตามนโยบายของอเมริกา เพราะฉะนั้นแล้ว นี่คือแขนขาข้างหนึ่งของจักรวรรดินิยมอเมริกาที่ต้องการจะครอบครองทั่วโลก ตอนนี้ลงมาถึงระดับ Gen Y และ Gen Z แล้ว . ผมเชื่อว่าต้องมีไม่ต่ำกว่า 10 หรือ 20% ของคนที่ติดต่อไปเพื่อขอเป็นสายลับนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นคนของรัฐบาลนั่นเอง ก็คือว่าไปเป็นสายลับ มึงอยากให้กูไปเป็นสายลับ กูไปเป็นให้ แต่กูก็จะเอาข้อมูลที่กูได้จากมึง ส่งมา ตรงนี้เป็นการตรวจสอบที่ยากเย็นมาก แล้วตรงนี้เป็นดาบสองคมของ CIA ในขณะที่ CIA ต้องการใช้คนพวกนี้สมัครเข้ามา ไม่เลือกแล้ว ที่ไหนก็ได้ จีน รัสเซีย ส่งเข้ามาเลย ถ้าผ่าน ซึ่งการผ่านการตรวจสอบความมั่นคงนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องยาก สามารถตกแต่งได้ จะกลายเป็นว่าหอกอันนี้ ที่ CIA ต้องการเอามาใช้ทิ่มแทงประเทศต่างๆ มันจะย้อนกลับไปทิ่มแทงประเทศสหรัฐอเมริกาเอง ที่มา : Sondhitalk #Thaitimes
    Like
    Sad
    Yay
    12
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1285 มุมมอง 1 รีวิว
  • CIA เปิดรับสมัครสายลับ GenZ ฟาดจีน-รัสเซีย ระวังดาบสองคมนี้คืนสนองอเมริกา
    .
    การออกมารับสมัครสายลับอย่างโจ๋งครึ่ม เปิดหน้าผ่านโซเชียลมีเดีย ยิ่งตอกย้ำว่าบทบาทของปฏิบัติการข่าวกรองสหรัฐฯ จะยังคงเป็นตัวจุดประเด็นความขัดแย้งในกลยุทธ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ของอเมริกาอย่างไม่จบไม่สิ้น เพราะปฏิบัติการของ CIA นั้นคือต้นตอของความชั่วร้ายของสงครามที่ไม่มีวันสิ้นสุด ที่น่ากลัวคือ พวกนี้กำลังดำเนินปฏิบัติการชักจูง ดึงเอาเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ Gen Y, Gen Z ในประเทศต่างๆ เข้าไปเป็นพวก เข้ามาแทรกซึมให้เป็นสปาย ดำเนินการต่างๆ เพื่อเอื้อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต่อประโยชน์ของอเมริกา
    .
    ความพยายามสรรหาสายลับในจีน และรัสเซีย ผ่านโซเชียลมีเดียอย่างเปิดเผยครั้งล่าสุด แสดงให้เห็นแนวโน้มอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสหรัฐฯ ใช้ประโยชน์จากความไม่พอใจภายใต้ระบอบอำนาจนิยมเพื่อรวบรวมข่าวกรองโดยใช้จีน โดยในจีน สหรัฐฯ ต้องการอาศัยการใช้ประโยชน์จากความไม่พอใจในหมู่ประชาชนชนชั้นสูงเกี่ยวกับนโยบายที่เด็ดขาดของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง สิ่งนี้คล้ายคลึงกับที่ CIA ทำกับรัสเซียภายหลังการรุกรานยูเครนของกองทัพรัสเซียในปี 2545 โดย CIA ได้เดินแผนลับปฏิบัติการขอข้อมูลชาวรัสเซียที่ผิดหวังกับระบอบการปกครองของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน
    .
    จะเห็นได้ชัดว่า CIA คือองค์กรที่ชั่วร้าย หาข้อมูลข่าวสารเพื่อทำลายประเทศที่ไม่ยอมทำตามนโยบายของอเมริกา เพราะฉะนั้นแล้ว นี่คือแขนขาข้างหนึ่งของจักรวรรดินิยมอเมริกาที่ต้องการจะครอบครองทั่วโลก ตอนนี้ลงมาถึงระดับ Gen Y และ Gen Z แล้ว
    .
    ผมเชื่อว่าต้องมีไม่ต่ำกว่า 10 หรือ 20% ของคนที่ติดต่อไปเพื่อขอเป็นสายลับนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นคนของรัฐบาลนั่นเอง ก็คือว่าไปเป็นสายลับ มึงอยากให้กูไปเป็นสายลับ กูไปเป็นให้ แต่กูก็จะเอาข้อมูลที่กูได้จากมึง ส่งมา ตรงนี้เป็นการตรวจสอบที่ยากเย็นมาก แล้วตรงนี้เป็นดาบสองคมของ CIA ในขณะที่ CIA ต้องการใช้คนพวกนี้สมัครเข้ามา ไม่เลือกแล้ว ที่ไหนก็ได้ จีน รัสเซีย ส่งเข้ามาเลย ถ้าผ่าน ซึ่งการผ่านการตรวจสอบความมั่นคงนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องยาก สามารถตกแต่งได้ จะกลายเป็นว่าหอกอันนี้ ที่ CIA ต้องการเอามาใช้ทิ่มแทงประเทศต่างๆ มันจะย้อนกลับไปทิ่มแทงประเทศสหรัฐอเมริกาเอง
    CIA เปิดรับสมัครสายลับ GenZ ฟาดจีน-รัสเซีย ระวังดาบสองคมนี้คืนสนองอเมริกา . การออกมารับสมัครสายลับอย่างโจ๋งครึ่ม เปิดหน้าผ่านโซเชียลมีเดีย ยิ่งตอกย้ำว่าบทบาทของปฏิบัติการข่าวกรองสหรัฐฯ จะยังคงเป็นตัวจุดประเด็นความขัดแย้งในกลยุทธ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ของอเมริกาอย่างไม่จบไม่สิ้น เพราะปฏิบัติการของ CIA นั้นคือต้นตอของความชั่วร้ายของสงครามที่ไม่มีวันสิ้นสุด ที่น่ากลัวคือ พวกนี้กำลังดำเนินปฏิบัติการชักจูง ดึงเอาเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ Gen Y, Gen Z ในประเทศต่างๆ เข้าไปเป็นพวก เข้ามาแทรกซึมให้เป็นสปาย ดำเนินการต่างๆ เพื่อเอื้อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต่อประโยชน์ของอเมริกา . ความพยายามสรรหาสายลับในจีน และรัสเซีย ผ่านโซเชียลมีเดียอย่างเปิดเผยครั้งล่าสุด แสดงให้เห็นแนวโน้มอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสหรัฐฯ ใช้ประโยชน์จากความไม่พอใจภายใต้ระบอบอำนาจนิยมเพื่อรวบรวมข่าวกรองโดยใช้จีน โดยในจีน สหรัฐฯ ต้องการอาศัยการใช้ประโยชน์จากความไม่พอใจในหมู่ประชาชนชนชั้นสูงเกี่ยวกับนโยบายที่เด็ดขาดของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง สิ่งนี้คล้ายคลึงกับที่ CIA ทำกับรัสเซียภายหลังการรุกรานยูเครนของกองทัพรัสเซียในปี 2545 โดย CIA ได้เดินแผนลับปฏิบัติการขอข้อมูลชาวรัสเซียที่ผิดหวังกับระบอบการปกครองของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน . จะเห็นได้ชัดว่า CIA คือองค์กรที่ชั่วร้าย หาข้อมูลข่าวสารเพื่อทำลายประเทศที่ไม่ยอมทำตามนโยบายของอเมริกา เพราะฉะนั้นแล้ว นี่คือแขนขาข้างหนึ่งของจักรวรรดินิยมอเมริกาที่ต้องการจะครอบครองทั่วโลก ตอนนี้ลงมาถึงระดับ Gen Y และ Gen Z แล้ว . ผมเชื่อว่าต้องมีไม่ต่ำกว่า 10 หรือ 20% ของคนที่ติดต่อไปเพื่อขอเป็นสายลับนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นคนของรัฐบาลนั่นเอง ก็คือว่าไปเป็นสายลับ มึงอยากให้กูไปเป็นสายลับ กูไปเป็นให้ แต่กูก็จะเอาข้อมูลที่กูได้จากมึง ส่งมา ตรงนี้เป็นการตรวจสอบที่ยากเย็นมาก แล้วตรงนี้เป็นดาบสองคมของ CIA ในขณะที่ CIA ต้องการใช้คนพวกนี้สมัครเข้ามา ไม่เลือกแล้ว ที่ไหนก็ได้ จีน รัสเซีย ส่งเข้ามาเลย ถ้าผ่าน ซึ่งการผ่านการตรวจสอบความมั่นคงนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องยาก สามารถตกแต่งได้ จะกลายเป็นว่าหอกอันนี้ ที่ CIA ต้องการเอามาใช้ทิ่มแทงประเทศต่างๆ มันจะย้อนกลับไปทิ่มแทงประเทศสหรัฐอเมริกาเอง
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 968 มุมมอง 0 รีวิว