• จ้างเชอ ธรรมเนียมกีดขวางรถเจ้าสาว

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ ว่าด้วยการแต่งงานจีนโบราณ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจำได้ว่าในฉากที่องค์หญิงหลี่หรงแต่งงานนั้น องค์ชายรัชทายาทหลี่ชวนได้นั่งรถม้านำขบวนรถเจ้าสาวพร้อมโปรยเงินให้ชาวบ้านที่มาอออยู่เต็มถนน จริงๆ แล้วพวกชาวบ้านไม่ได้มารอรับขบวนเสด็จขององค์หญิง หากแต่มันเป็นประเพณีการกีดขวางรถเจ้าสาวหรือที่เรียกว่า ‘จ้างเชอ’ (障车 แปลตรงตัวว่า ขวางรถ)

    พวกเราส่วนใหญ่คุ้นเคยกับประเพณีการกั้นประตูตอนเจ้าบ่าวมารับตัวเจ้าสาว ซึ่งเป็นการกั้นก่อนที่เจ้าบ่าวจะเข้าถึงตัวเจ้าสาว แต่การกีดขวางรถเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้เป็นการกีดขวางขบวนรถเจ้าสาวหลังจากที่เจ้าบ่าวรับตัวเจ้าสาวแล้วและกำลังจะพาเจ้าสาวเดินทางกลับบ้านเจ้าบ่าวเพื่อเข้าพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน ทั้งนี้ ตามประเพณีดั้งเดิม การกีดขวางรถนี้เป็นการกระทำโดยครอบครัวฝ่ายหญิงเพื่อแสดงออกถึงความอาลัยอาวรณ์ในตัวเจ้าสาว

    แต่เดิมในสมัยโบราณนั้น พิธีการแต่งงานจะเน้นเรียบขรึมสุขุมเพราะมองว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ครึกครื้นเอิกเกริกและไม่มีการกีดขวางขบวนเจ้าสาว ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเกิดประเพณีกีดขวางขบวนเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้ขึ้น และเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยสุยและถัง โดยในสมัยถังนั้น เป็นยุคสมัยที่เน้นความครึกครื้นและนิยมการแต่งกลอน มีการให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวหรือ ‘ชุยจวงซือ’ ก่อนจะเข้าถึงตัวเจ้าสาวได้ (Storyฯ เคยเขียนถึงธรรมเนียมคล้ายคลึงกันในสมัยซ่ง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid05s41d5RQU7QjyxytQ3KKM5YDxA5cE2wNCLQDJZtP6YXRh844ki7rSrhXaGPr3zLil) และเมื่อรับตัวเจ้าสาวแล้วก็จะถูกกั้นขบวนหรือจ้างเชอ และเจ้าบ่าวต้องแต่งกลอนเพื่อขอให้เปิดทาง ต่อมาพัฒนามาเป็นการกีดขวางเพื่อให้ฝ่ายชายต้องจ่ายเงินก่อนจะพาขบวนรถเจ้าสาวออกไปได้และอาจแห่กันมายืนออกันทั้งหมู่บ้าน ไม่ใช่แค่ครอบครัวของเจ้าสาว

    และเมื่อมาถึงบ้านเจ้าบ่าวแล้ว ในสมัยถังจะมีการเดินบนพรมที่มีคนนำมาสลับวางอย่างที่เห็นในเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> เรียกว่า ‘จ่วนสี’ (转席) เป็นเคล็ดว่าให้สืบทอดรุ่นต่อรุ่น

    แน่นอนว่าธรรมเนียมปฏิบัติเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและตามพื้นที่ จากเดิมใช้รถม้ารับเจ้าสาวก็เปลี่ยนมาเป็นใช้เกี้ยวในสมัยซ่ง และในบางพื้นที่ก็เปลี่ยนจากการให้บ่าวสาวเดินบนพรมที่สลับวางมาเป็นให้เจ้าสาวก้าวข้ามอานม้า (ซึ่งออกเสียงใกล้กับคำว่า ‘อัน’ ที่แปลว่าปลอดภัยสุขสงบ) หรือก้าวข้ามเตาเป็นเคล็ดว่าให้แคล้วคลาดจากสิ่งอัปมงคลแทน
    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/x2wrzLn
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://paper.people.com.cn/rmlt/html/2023-07/01/content_26011443.htm
    https://baike.baidu.com/item/障车/1624835
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_15953346#:~:text=新娘上了车,女方,之为“转席”。
    https://zqb.cyol.com/html/2020-11/10/nw.D110000zgqnb_20201110_1-10.htm

    #องค์หญิงใหญ่ #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #รับตัวเจ้าสาวจีนโบราณ #สาระจีน

    จ้างเชอ ธรรมเนียมกีดขวางรถเจ้าสาว สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ ว่าด้วยการแต่งงานจีนโบราณ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจำได้ว่าในฉากที่องค์หญิงหลี่หรงแต่งงานนั้น องค์ชายรัชทายาทหลี่ชวนได้นั่งรถม้านำขบวนรถเจ้าสาวพร้อมโปรยเงินให้ชาวบ้านที่มาอออยู่เต็มถนน จริงๆ แล้วพวกชาวบ้านไม่ได้มารอรับขบวนเสด็จขององค์หญิง หากแต่มันเป็นประเพณีการกีดขวางรถเจ้าสาวหรือที่เรียกว่า ‘จ้างเชอ’ (障车 แปลตรงตัวว่า ขวางรถ) พวกเราส่วนใหญ่คุ้นเคยกับประเพณีการกั้นประตูตอนเจ้าบ่าวมารับตัวเจ้าสาว ซึ่งเป็นการกั้นก่อนที่เจ้าบ่าวจะเข้าถึงตัวเจ้าสาว แต่การกีดขวางรถเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้เป็นการกีดขวางขบวนรถเจ้าสาวหลังจากที่เจ้าบ่าวรับตัวเจ้าสาวแล้วและกำลังจะพาเจ้าสาวเดินทางกลับบ้านเจ้าบ่าวเพื่อเข้าพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน ทั้งนี้ ตามประเพณีดั้งเดิม การกีดขวางรถนี้เป็นการกระทำโดยครอบครัวฝ่ายหญิงเพื่อแสดงออกถึงความอาลัยอาวรณ์ในตัวเจ้าสาว แต่เดิมในสมัยโบราณนั้น พิธีการแต่งงานจะเน้นเรียบขรึมสุขุมเพราะมองว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ครึกครื้นเอิกเกริกและไม่มีการกีดขวางขบวนเจ้าสาว ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเกิดประเพณีกีดขวางขบวนเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้ขึ้น และเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยสุยและถัง โดยในสมัยถังนั้น เป็นยุคสมัยที่เน้นความครึกครื้นและนิยมการแต่งกลอน มีการให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวหรือ ‘ชุยจวงซือ’ ก่อนจะเข้าถึงตัวเจ้าสาวได้ (Storyฯ เคยเขียนถึงธรรมเนียมคล้ายคลึงกันในสมัยซ่ง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid05s41d5RQU7QjyxytQ3KKM5YDxA5cE2wNCLQDJZtP6YXRh844ki7rSrhXaGPr3zLil) และเมื่อรับตัวเจ้าสาวแล้วก็จะถูกกั้นขบวนหรือจ้างเชอ และเจ้าบ่าวต้องแต่งกลอนเพื่อขอให้เปิดทาง ต่อมาพัฒนามาเป็นการกีดขวางเพื่อให้ฝ่ายชายต้องจ่ายเงินก่อนจะพาขบวนรถเจ้าสาวออกไปได้และอาจแห่กันมายืนออกันทั้งหมู่บ้าน ไม่ใช่แค่ครอบครัวของเจ้าสาว และเมื่อมาถึงบ้านเจ้าบ่าวแล้ว ในสมัยถังจะมีการเดินบนพรมที่มีคนนำมาสลับวางอย่างที่เห็นในเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> เรียกว่า ‘จ่วนสี’ (转席) เป็นเคล็ดว่าให้สืบทอดรุ่นต่อรุ่น แน่นอนว่าธรรมเนียมปฏิบัติเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและตามพื้นที่ จากเดิมใช้รถม้ารับเจ้าสาวก็เปลี่ยนมาเป็นใช้เกี้ยวในสมัยซ่ง และในบางพื้นที่ก็เปลี่ยนจากการให้บ่าวสาวเดินบนพรมที่สลับวางมาเป็นให้เจ้าสาวก้าวข้ามอานม้า (ซึ่งออกเสียงใกล้กับคำว่า ‘อัน’ ที่แปลว่าปลอดภัยสุขสงบ) หรือก้าวข้ามเตาเป็นเคล็ดว่าให้แคล้วคลาดจากสิ่งอัปมงคลแทน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/x2wrzLn Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://paper.people.com.cn/rmlt/html/2023-07/01/content_26011443.htm https://baike.baidu.com/item/障车/1624835 https://m.thepaper.cn/baijiahao_15953346#:~:text=新娘上了车,女方,之为“转席”。 https://zqb.cyol.com/html/2020-11/10/nw.D110000zgqnb_20201110_1-10.htm #องค์หญิงใหญ่ #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #รับตัวเจ้าสาวจีนโบราณ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 121 มุมมอง 0 รีวิว
  • เจ่าโต้ว สบู่จีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจะฟินจิกหมอนไม่น้อยกับฉากอาบน้ำของพระเอกนางเอก ในซีรีส์ไม่ได้พูดถึง แต่ในนิยายตอนที่องค์หญิงหลี่หรงสั่งให้สาวใช้เตรียมของใช้สำหรับอาบน้ำจังหวะนี้ นอกจากกลีบดอกไม้แล้ว ยังมีสิ่งที่เรียกว่า ‘เจ่าโต้ว’ (澡豆) แปลตรงตัวว่าถั่วอาบน้ำ ซึ่งก็คือสบู่โบราณนั่นเอง วันนี้เรามาคุยกันเรื่องนี้

    แต่ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงวัฒนธรรมการอาบน้ำ ปัจจุบันการอาบน้ำทั่วไปเรียกว่า ‘สีเจ่า’ (洗澡) แต่ถ้าอาบแบบแช่น้ำในอ่างทั้งตัวเรียกเป็น ‘มู่อวี้’ (沐浴) ซึ่งคำว่า ‘มู่อวี้’ นี้เป็นศัพท์ที่มีมาแต่โบราณและคำว่าห้องอาบน้ำ (浴室/อวี้ซึ) ปรากฏเป็นอักขระบนกระดูกโบราณมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง ดังนั้น วัฒนธรรมการอาบน้ำมีมาอย่างน้อยสามพันกว่าปีในประเทศจีน

    ในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นระบุจำแนกไว้ว่า ‘มู่’ คือการสระผม ‘อวี้’ คือการอาบชำระร่างกาย ‘สี่’ คือการล้างเท้า และ ‘เจ่า’ คือการล้างมือ ต่อมาคำว่า ‘เจ่า’ จึงค่อยๆ ถูกใช้สำหรับการชำระล้างส่วนอื่นๆ ด้วย

    การอาบน้ำแบบโบราณหรือมู่อวี้ โดยทั่วไปคือการอาบน้ำอุ่นในถังอาบน้ำ อาจแช่ทั้งตัวหรือนั่งราดอาบก็ได้ ดังที่เราเห็นในซีรีส์จีนว่าต้องมีการต้มน้ำไปใส่อ่าง หรืออย่างในวังจะมีสระน้ำร้อนให้ใช้ และชาวจีนโบราณก็ไม่ได้อาบน้ำทุกวัน (จะว่าไปแล้ว ชาติอื่นก็เหมือนกัน) โดยหลักปฏิบัติคือสามวันให้สระผมหนึ่งครั้ง ห้าวันอาบน้ำหนึ่งครั้ง ในสมัยฮั่นถึงกับกำหนดเป็นกฎที่ต้องปฏิบัติของข้าราชการโดยจะหยุดพักงานทุกห้าวัน เป็นนัยว่าหยุดเพื่อให้อยู่บ้านอาบน้ำ และวันหยุดนี้เรียกว่า ‘ซิวมู่’ (休沐 แปลตรงตัวว่าพักอาบน้ำ)

    นอกจากนี้ ก่อนเข้าร่วมพิธีสำคัญก็ต้องอาบน้ำโดยเฉพาะพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ต่างๆ เพื่อเป็นการชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากกาย โดยในเอกสารโบราณมีระบุรายละเอียดเพิ่มเติมถึงขั้นตอนการอาบน้ำ เป็นต้นว่า การอาบน้ำนั้น ท่อนบนของร่างกายใช้ผ้าใยเนื้อละเอียดเช็ดถู ท่อนล่างใช้ผ้าใยเนื้อหยาบ สุดท้ายคือยืนล้าง (ขัด) เท้าบนเสื่อหญ้าหยาบ เมื่อเช็ดแห้งเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วให้ดื่มชาหรือน้ำเพื่อปรับอุณภูมิในร่างกายและชดเชยการเสียเหงื่อด้วย

    ในช่วงสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ปรากฏว่าตามวัดพุทธมีการขุดบ่อเป็นสระอาบน้ำรวมให้พระภิกษุใช้อาบทุกวันก่อนไหว้พระ และเนื่องจากในสมัยโบราณชาวบ้านนิยมเที่ยววัด จึงค่อยๆ กลายเป็นว่าชาวบ้านหรือข้าราชการก็ไปใช้บริการอาบน้ำที่วัด เสร็จแล้วก็นั่งดื่มชาสนทนากัน ต่อมาวัฒนธรรมการอาบน้ำรวมนี้เป็นที่นิยมมาก ในสมัยซ่งมีสระอาบน้ำสาธารณะในเมืองที่ชาวบ้านสามารถมาจ่ายเงินใช้บริการได้โดยแบ่งเป็นสระน้ำอุ่นและสระน้ำเย็นให้เลือกใช้ได้ตามใจชอบ และในสมัยหมิงถึงกับมีคนรับจ้างช่วยถูหลังสระผมตัดเล็บเลยทีเดียว

    ว่ากันว่า แรกเริ่มเลยในสมัยซางและฮั่น คนโบราณใช้น้ำซาวข้าวอาบน้ำสระผม ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการพัฒนาใช้เครื่องหอมต่างๆ จึงสันนิษฐานว่าสบู่โบราณเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นในสมัยนั้นเช่นกัน แต่ว่าแรกเริ่มมันเป็นของหรูที่มีใช้ในวังเท่านั้นและใช้สำหรับล้างมือ ต่อมาจึงแพร่สู่ชาวบ้านธรรมดา ใช้ได้ทั้งอาบน้ำสระผมล้างหน้าล้างมือล้างเท้า และใช้ซักเสื้อผ้าอีกด้วย

    สบู่เจ่าโต้วนี้ถูกเรียกว่า ‘ถั่วอาบน้ำ’ เพราะว่าส่วนผสมหลักของมันก็คือถั่วหรือธัญพืชบดละเอียด ผสมด้วย เครื่องหอม เครื่องเทศและยาสมุนไพรหลากหลาย และสูตรโบราณนี้นอกจากจะเป็นสครับขัดผิวให้ขาวเนียนและบำรุงผิวพรรณได้ดีแล้ว ยังล้างคราบได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคราบดินโคลน คราบมัน คราบเลือด และคราบเครื่องสำอาง ต่อมาภายหลังจึงใช้หันไปใช้ขี้เถ้าไม้และไขมันสัตว์เป็นส่วนผสมหลักเรียกว่า ‘อี๋จื่อ’ (胰子) ซึ่งเป็นพัฒนากลายมาเป็นสบู่ปัจจุบัน

    สูตรการทำเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นอย่างหลากหลาย แต่สามารถสรุปรวมได้ดังนี้ คือ (1) ธัญพืชและถั่วสารพัดชนิด บ้างต้มสุกบ้างใช้ถั่วดิบ บดละเอียด (2) สมุนไพรหรือเครื่องเทศบดละเอียด เช่น กานพลู การบูร อบเชย (3) เครื่องหอมที่ต้องการ เช่นไม้หอมอบแห้ง กลีบดอกไม้แห้ง บดละเอียดหรือหากเป็นดอกไม้อาจบดหยาบ (4) น้ำหรือน้ำแร่ ต้มเคี่ยวกับน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง (5) เอาส่วนผสมทั้งหมดผสมแล้วคลุกให้สม่ำเสมอ ปั้นเป็นลูกกลอนแล้วเอาไปตากแห้งหลายๆ วัน เป็นอันจบขั้นตอน เวลาจะใช้ก็ชุบน้ำให้เปียกแล้วบี้แตกถูตามร่างกาย

    Storyฯ ผ่านตาคลิปของพ่อหนุ่มที่ทำสบู่โบราณนี้ เป็นคนเดียวกับที่เคยทำกระบอกจุดไฟและกระโปรงหม่าเมี่ยนที่ Storyฯ เคยเขียนถึง (ค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญ) เข้าไปดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่างค่ะ

    จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วเจ่าโต้วทำไม่ยาก แต่สาเหตุที่เดิมเป็นของฟุ่มเฟือยเพราะส่วนผสมหลายอย่างมีราคาสูงเกินกว่าที่ชาวบ้านธรรมดาจะนำมาใช้ในกิจวัตรประจำวัน สู้ใช้พวกดินโคลนหินทรายจะง่ายกว่าและประหยัดทรัพย์ โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่าส่วนผสมของเจ่าโต้วนี้ดูน่าใช้กว่าสบู่รุ่นหลังที่ทำจากไขมันสัตว์และขี้เถ้าไม้เสียอีก แต่ยังไม่ได้ทดลองทำดูนะ ใครลองทำแล้วได้ผลอย่างไรอย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะคะ หรือถ้าใครรู้ว่าภูมิปัญญาไทยโบราณใช้อะไรทำสบู่ แตกต่างมากน้อยอย่างไรกับเจ่าโต้วนี้ ก็มาเล่าให้ฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    คลิปสาธิตการทำเจ่าโต้ว: https://www.youtube.com/watch?v=kuCYk0hoAdY
    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://k.sina.cn/article_2277596227_87c15c4304001633w.html
    https://kknews.cc/zh-my/history/p6b6orj.html
    https://baike.sogou.com/v8330278.htm
    https://zabar.pixnet.net/blog/post/64707721
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_23937607
    https://baike.baidu.com/item/澡豆/687918
    https://kknews.cc/zh-cn/history/qxyaj9b.html
    https://k.sina.cn/article_6395568294_17d34a0a600100cs21.html
    https://baike.baidu.com/item/胰子/5249378

    #องค์หญิงใหญ่ #เจ่าโต้ว #สบู่จีนโบราณ #อาบน้ำจีนโบราณ #สาระจีน

    เจ่าโต้ว สบู่จีนโบราณ สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจะฟินจิกหมอนไม่น้อยกับฉากอาบน้ำของพระเอกนางเอก ในซีรีส์ไม่ได้พูดถึง แต่ในนิยายตอนที่องค์หญิงหลี่หรงสั่งให้สาวใช้เตรียมของใช้สำหรับอาบน้ำจังหวะนี้ นอกจากกลีบดอกไม้แล้ว ยังมีสิ่งที่เรียกว่า ‘เจ่าโต้ว’ (澡豆) แปลตรงตัวว่าถั่วอาบน้ำ ซึ่งก็คือสบู่โบราณนั่นเอง วันนี้เรามาคุยกันเรื่องนี้ แต่ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงวัฒนธรรมการอาบน้ำ ปัจจุบันการอาบน้ำทั่วไปเรียกว่า ‘สีเจ่า’ (洗澡) แต่ถ้าอาบแบบแช่น้ำในอ่างทั้งตัวเรียกเป็น ‘มู่อวี้’ (沐浴) ซึ่งคำว่า ‘มู่อวี้’ นี้เป็นศัพท์ที่มีมาแต่โบราณและคำว่าห้องอาบน้ำ (浴室/อวี้ซึ) ปรากฏเป็นอักขระบนกระดูกโบราณมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง ดังนั้น วัฒนธรรมการอาบน้ำมีมาอย่างน้อยสามพันกว่าปีในประเทศจีน ในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นระบุจำแนกไว้ว่า ‘มู่’ คือการสระผม ‘อวี้’ คือการอาบชำระร่างกาย ‘สี่’ คือการล้างเท้า และ ‘เจ่า’ คือการล้างมือ ต่อมาคำว่า ‘เจ่า’ จึงค่อยๆ ถูกใช้สำหรับการชำระล้างส่วนอื่นๆ ด้วย การอาบน้ำแบบโบราณหรือมู่อวี้ โดยทั่วไปคือการอาบน้ำอุ่นในถังอาบน้ำ อาจแช่ทั้งตัวหรือนั่งราดอาบก็ได้ ดังที่เราเห็นในซีรีส์จีนว่าต้องมีการต้มน้ำไปใส่อ่าง หรืออย่างในวังจะมีสระน้ำร้อนให้ใช้ และชาวจีนโบราณก็ไม่ได้อาบน้ำทุกวัน (จะว่าไปแล้ว ชาติอื่นก็เหมือนกัน) โดยหลักปฏิบัติคือสามวันให้สระผมหนึ่งครั้ง ห้าวันอาบน้ำหนึ่งครั้ง ในสมัยฮั่นถึงกับกำหนดเป็นกฎที่ต้องปฏิบัติของข้าราชการโดยจะหยุดพักงานทุกห้าวัน เป็นนัยว่าหยุดเพื่อให้อยู่บ้านอาบน้ำ และวันหยุดนี้เรียกว่า ‘ซิวมู่’ (休沐 แปลตรงตัวว่าพักอาบน้ำ) นอกจากนี้ ก่อนเข้าร่วมพิธีสำคัญก็ต้องอาบน้ำโดยเฉพาะพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ต่างๆ เพื่อเป็นการชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากกาย โดยในเอกสารโบราณมีระบุรายละเอียดเพิ่มเติมถึงขั้นตอนการอาบน้ำ เป็นต้นว่า การอาบน้ำนั้น ท่อนบนของร่างกายใช้ผ้าใยเนื้อละเอียดเช็ดถู ท่อนล่างใช้ผ้าใยเนื้อหยาบ สุดท้ายคือยืนล้าง (ขัด) เท้าบนเสื่อหญ้าหยาบ เมื่อเช็ดแห้งเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วให้ดื่มชาหรือน้ำเพื่อปรับอุณภูมิในร่างกายและชดเชยการเสียเหงื่อด้วย ในช่วงสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ปรากฏว่าตามวัดพุทธมีการขุดบ่อเป็นสระอาบน้ำรวมให้พระภิกษุใช้อาบทุกวันก่อนไหว้พระ และเนื่องจากในสมัยโบราณชาวบ้านนิยมเที่ยววัด จึงค่อยๆ กลายเป็นว่าชาวบ้านหรือข้าราชการก็ไปใช้บริการอาบน้ำที่วัด เสร็จแล้วก็นั่งดื่มชาสนทนากัน ต่อมาวัฒนธรรมการอาบน้ำรวมนี้เป็นที่นิยมมาก ในสมัยซ่งมีสระอาบน้ำสาธารณะในเมืองที่ชาวบ้านสามารถมาจ่ายเงินใช้บริการได้โดยแบ่งเป็นสระน้ำอุ่นและสระน้ำเย็นให้เลือกใช้ได้ตามใจชอบ และในสมัยหมิงถึงกับมีคนรับจ้างช่วยถูหลังสระผมตัดเล็บเลยทีเดียว ว่ากันว่า แรกเริ่มเลยในสมัยซางและฮั่น คนโบราณใช้น้ำซาวข้าวอาบน้ำสระผม ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการพัฒนาใช้เครื่องหอมต่างๆ จึงสันนิษฐานว่าสบู่โบราณเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นในสมัยนั้นเช่นกัน แต่ว่าแรกเริ่มมันเป็นของหรูที่มีใช้ในวังเท่านั้นและใช้สำหรับล้างมือ ต่อมาจึงแพร่สู่ชาวบ้านธรรมดา ใช้ได้ทั้งอาบน้ำสระผมล้างหน้าล้างมือล้างเท้า และใช้ซักเสื้อผ้าอีกด้วย สบู่เจ่าโต้วนี้ถูกเรียกว่า ‘ถั่วอาบน้ำ’ เพราะว่าส่วนผสมหลักของมันก็คือถั่วหรือธัญพืชบดละเอียด ผสมด้วย เครื่องหอม เครื่องเทศและยาสมุนไพรหลากหลาย และสูตรโบราณนี้นอกจากจะเป็นสครับขัดผิวให้ขาวเนียนและบำรุงผิวพรรณได้ดีแล้ว ยังล้างคราบได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคราบดินโคลน คราบมัน คราบเลือด และคราบเครื่องสำอาง ต่อมาภายหลังจึงใช้หันไปใช้ขี้เถ้าไม้และไขมันสัตว์เป็นส่วนผสมหลักเรียกว่า ‘อี๋จื่อ’ (胰子) ซึ่งเป็นพัฒนากลายมาเป็นสบู่ปัจจุบัน สูตรการทำเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นอย่างหลากหลาย แต่สามารถสรุปรวมได้ดังนี้ คือ (1) ธัญพืชและถั่วสารพัดชนิด บ้างต้มสุกบ้างใช้ถั่วดิบ บดละเอียด (2) สมุนไพรหรือเครื่องเทศบดละเอียด เช่น กานพลู การบูร อบเชย (3) เครื่องหอมที่ต้องการ เช่นไม้หอมอบแห้ง กลีบดอกไม้แห้ง บดละเอียดหรือหากเป็นดอกไม้อาจบดหยาบ (4) น้ำหรือน้ำแร่ ต้มเคี่ยวกับน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง (5) เอาส่วนผสมทั้งหมดผสมแล้วคลุกให้สม่ำเสมอ ปั้นเป็นลูกกลอนแล้วเอาไปตากแห้งหลายๆ วัน เป็นอันจบขั้นตอน เวลาจะใช้ก็ชุบน้ำให้เปียกแล้วบี้แตกถูตามร่างกาย Storyฯ ผ่านตาคลิปของพ่อหนุ่มที่ทำสบู่โบราณนี้ เป็นคนเดียวกับที่เคยทำกระบอกจุดไฟและกระโปรงหม่าเมี่ยนที่ Storyฯ เคยเขียนถึง (ค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญ) เข้าไปดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่างค่ะ จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วเจ่าโต้วทำไม่ยาก แต่สาเหตุที่เดิมเป็นของฟุ่มเฟือยเพราะส่วนผสมหลายอย่างมีราคาสูงเกินกว่าที่ชาวบ้านธรรมดาจะนำมาใช้ในกิจวัตรประจำวัน สู้ใช้พวกดินโคลนหินทรายจะง่ายกว่าและประหยัดทรัพย์ โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่าส่วนผสมของเจ่าโต้วนี้ดูน่าใช้กว่าสบู่รุ่นหลังที่ทำจากไขมันสัตว์และขี้เถ้าไม้เสียอีก แต่ยังไม่ได้ทดลองทำดูนะ ใครลองทำแล้วได้ผลอย่างไรอย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะคะ หรือถ้าใครรู้ว่าภูมิปัญญาไทยโบราณใช้อะไรทำสบู่ แตกต่างมากน้อยอย่างไรกับเจ่าโต้วนี้ ก็มาเล่าให้ฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) คลิปสาธิตการทำเจ่าโต้ว: https://www.youtube.com/watch?v=kuCYk0hoAdY Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://k.sina.cn/article_2277596227_87c15c4304001633w.html https://kknews.cc/zh-my/history/p6b6orj.html https://baike.sogou.com/v8330278.htm https://zabar.pixnet.net/blog/post/64707721 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_23937607 https://baike.baidu.com/item/澡豆/687918 https://kknews.cc/zh-cn/history/qxyaj9b.html https://k.sina.cn/article_6395568294_17d34a0a600100cs21.html https://baike.baidu.com/item/胰子/5249378 #องค์หญิงใหญ่ #เจ่าโต้ว #สบู่จีนโบราณ #อาบน้ำจีนโบราณ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 242 มุมมอง 0 รีวิว
  • หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 4 ‘ซู’ และ ‘ซู่’

    ผ่านมาหลายสัปดาห์กับหกทักษะของสุภาพบุรุษจากตระกูลสูงศักดิ์ หรือ ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือ(หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数)

    สัปดาห์นี้มาคุยกันถึงสองทักษะสุดท้าย ซึ่งไม่ตื่นตาตื่นใจเท่าสัปดาห์ที่แล้ว และในบันทึกโจวหลี่ไม่ได้มีการขยายความเพิ่มเติม เพียงระบุไว้ว่าต้องมีทักษะที่ห้า คือ ‘ลิ่วซู’ หรือหกอักษร และทักษะที่หกคือ ‘จิ่วซู่’ หรือเก้าคำนวณ และชนรุ่นหลังจึงต้องอาศัยหนังสืออื่นในสมัยฮั่นที่บรรยายเพิ่มเติมถึงสองทักษะนี้

    สำหรับทักษะที่ห้า ‘ซู’ หรืออักษรนี้ เพื่อนเพจอย่าได้เข้าใจผิดว่ามันหมายถึงงานโคลงกลอนวรรณกรรมชั้นสูง หรือการเขียนพู่กันรูปแบบอักษรต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เพราะจริงๆ แล้วมันเป็นทักษะพื้นฐานในการเขียนอ่านสำหรับเด็กเมื่อเริ่มเรียนหนังสือเมื่อกว่าสามพันปีที่แล้ว สรุปได้ดังนี้
    (1) เซี่ยงสิง (象形/Pictogram) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงสิ่งของหรือสิ่งมีชีวิตที่เรามองเห็น ซึ่งเพื่อนเพจอย่าลืมว่าแรกเริ่มการเขียนของมนุษย์เรามาจากการวาดภาพ อักขระที่ใช้ในสมัยจีนบรรพกาลตามที่เราเห็นบนกระดูกโบราณก็เป็นลักษณะคล้ายภาพวาด อย่างเช่นอักษร ‘เหริน’ (人) ที่แปลว่าคน ก็คือมาจากการวาดรูปคนเดิน เป็นต้น
    (2) จื่อซื่อ (指事/Indicatives) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงความคิดความรู้สึกที่เราจับต้องไม่ได้ เช่น ตัวเลขจีนหรือคำว่าบนล่าง (‘ซ่างเซี่ย’ / 上下) เป็นต้น
    (3) ฮุ่ยอี้ (会意/Associative Compound) คืออักษรประสมที่เกิดจากการประกอบอักษรเดี่ยว (เซี่ยงสิงหรือจื่อซื่อ) มากกว่าหนึ่งอักษรเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นอีกความหมายหนึ่ง เช่น ‘จ้ง’ (众) ประกอบด้วยอักษร ‘เหริน’ สามตัว หมายถึงกลุ่มคน เป็นต้น
    (4) สิงเซิง (形声/Pictophonetic Compound) คืออักษรประสมที่ใช้อักษรหลักเดียวกัน แต่อาศัยอักษรข้างหรืออักษรบนล่างผันเสียงและ/หรือสร้างความหมายให้แตกต่างกันไป เช่น 绸 调 鲷 雕 และ 竿 笼 笔 筷 签 เป็นต้น ประเด็นนี้เพื่อนเพจที่ได้เรียนภาษาจีนจะเข้าใจได้ดีกว่าที่ Storyฯ อธิบาย

    สี่อักษรข้างต้นนั้น เป็นการวางรากฐานการเขียนและอักษรจีน แต่อีกสองอักษรที่เหลือเป็นหลักการการใช้ศัพท์ กล่าวคือ
    (5) จ่วนจู้ (转注/ Shared Component Characters) คืออักษรประสมที่อาจเขียนและออกเสียงแตกต่างแต่มีความหมายเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน โดยมีเงื่อนไขว่าอักษรนี้ต้องมีอักษรประกอบ (คืออักษรข้างหรืออักษรบนล่าง) ที่เหมือนกัน มีเสียงอ่านใกล้เคียงกัน และใช้อธิบายความหมายของกันและกันได้ ทั้งนี้เพราะแต่ละพื้นที่ของจีนมีภาษาท้องถิ่นที่ออกเสียงแตกต่างกันไปจึงอาจมีการใช้อักษรบางตัวแตกต่างกันไป แต่หากเข้าใจหลักการของ ‘จ่วนจู้’ ก็จะสามารถเข้าใจความหมายของอักษรที่แตกต่างกันไปเหล่านั้นได้ เช่น ‘คง’ (空) แปลว่าว่างเปล่า และ ‘เชี่ยว’ (窍) แปลว่ารู เป็นต้น
    (6) เจี่ยเจี้ย (假借/Phonetic Loans) คือการยืมอักษรที่ออกเสียงเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันมาใช้แทนกัน ซึ่งในสมัยโบราณมีการใช้ทักษะนี้ในการแต่งบทกลอนไม่น้อย และยังเห็นได้ในพวกคำมงคลต่างๆ เช่นคำว่า ‘เต้า’ (倒) ที่แปลว่ากลับหัว ถูกนำมาใช้ในบริบทของการติดป้ายมงคลกลับหัวเพื่อเรียกแทนคำว่า ‘เต้า’ (到) ที่แปลว่ามาถึง หรืออีกกรณีหนึ่งคือเจี่ยเจี้ยอาจหมายถึงการเอาอักษรหนึ่งมาใช้ในอีกบริบทหนึ่งจนเกิดเป็นความหมายใหม่ขึ้นมา เช่นคำว่า ‘ลิ่ง’ (令) ซึ่งแปลว่าคำสั่ง ต่อมาถูกนำมาใช้รวมกับคำอื่นจนแปลว่าผู้นำหรือผู้มีอำนาจสั่งการอย่าง ‘เซี่ยนลิ่ง’ (县令) คือผู้ว่าการอำเภอ เป็นต้น และอักษรเจี่ยเจี้ยเหล่านี้ นานวันเข้าก็เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย

    ส่วนทักษะการคำนวณหรือ ‘จิ่วซู่’ นั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดมากเพราะว่ามาตรฐานและหน่วยวัดต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้วตามกาลเวลา ขอสรุปสั้นๆ พอให้เห็นภาพว่า เก้าคำนวณนี้ประกอบด้วย

    (1) ฟางเถียน (方田) ซึ่งก็คือการคำนวณขนาดของพื้นที่ โจทย์โดยหลักคือที่นา
    (2) ซู่หมี่ (粟米) คือการคำนวณปริมาณตามน้ำหนักของข้าวและธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น ข้าวฟ่างน้ำหนักเท่านี้เทียบเท่ากับข้าวเจ้าน้ำหนักเท่าไหร่ เป็นต้น
    (3) ซวยเฟิน (衰分) แปลตรงตัวคือการซอยย่อยหรือการหาร
    (4) สาวก่วง (少广) แปลตรงตัวคือเพิ่มจากน้อยไปมาก ซึ่งก็คือการคูณ
    (5) ซังกง (商功) คือการคำนวณปริมาตรของรูปทรงต่างๆ ใช้สำหรับงานก่อสร้าง
    (6) จวินซู (均输) คือการคำนวณเปรียบเทียบอัตราส่วน เช่น เมื่อวานมีเกลือจำนวนเท่านี้ ขนส่งมาด้วยระยะทางหนึ่งร้อยหลี่ คิดเป็นเงินเท่านี้ ถ้าวันนี้มีเกลือน้อยลงหนึ่งส่วนสี่ ขนส่งด้วยระยะทางแปดสิบหลี่ ควรคิดเป็นเงินเท่าไหร่ เป็นต้น
    (7) อิ๋งปู้จู๋ (盈不足) แปลตรงตัวคือกำไรขาดทุน ซึ่งก็คือการแก้สมการโดยมีโจทย์เป็นการคำนวณเงินๆ ทองๆ เช่น หากจะซื้อรถม้าสักคัน ถ้าออกเงินคนละห้าตำลึง จะขาดเงินเก้าสิบตำลึง ถ้าออกเงินคนละห้าสิบห้าตำลึง จะมีเงินเหลือสิบตำลึง ถามว่ามีคนออกเงินกี่คนและรถม้าราคาเท่าไหร่ เป็นต้น
    (8) ฟางเฉิง (方程) คือการแก้สมการ เช่น มีวัวห้าตัวแพะสองตัว รวมเป็นมูลค่าสิบตำลึง แต่ถ้าวัวสองตัวแพะห้าตัวจะรวมมูลค่าได้แปดตำลึง ถามว่าวัวและแพะต่างมีราคาเท่าไหร่ เป็นต้น
    (9) โกวกู่ (勾股) คือการคำนวณความสัมพันธ์ในเรขาคณิต (Pythagoras' theorem) เช่นการคำนวณองศาและความยาว เป็นอีกหนึ่งทักษะสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง

    จะเห็นได้ว่า ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะของสุภาพบุรุษ (ห้าพิธีการ หกดนตรี ห้าการยิงธนู ห้าการขับขี่ หกอักษร และ เก้าคำนวณ) จริงๆ แล้วก็คือพื้นฐานการเรียนการสอนซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในยุคสมัยนั้น พื้นฐานเหล่านี้ถูกปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยมาตลอด แต่เรียกได้ว่าหกทักษะที่กำหนดไว้เมื่อกว่าสี่พันปีที่แล้วนี้ก็คือพื้นฐานของหลักสูตรการศึกษาจวบจนปัจจุบัน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html
    https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU
    https://www.sohu.com/a/584032470_121288924
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/六艺/238715
    https://www.sohu.com/a/584032470_121288924
    https://baike.baidu.com/item/汉字造字法/4018743
    https://studycli.org/zh-CN/chinese-characters/types-of-chinese-characters/
    https://ctext.org/nine-chapters/zhs

    #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน

    หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 4 ‘ซู’ และ ‘ซู่’ ผ่านมาหลายสัปดาห์กับหกทักษะของสุภาพบุรุษจากตระกูลสูงศักดิ์ หรือ ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือ(หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数) สัปดาห์นี้มาคุยกันถึงสองทักษะสุดท้าย ซึ่งไม่ตื่นตาตื่นใจเท่าสัปดาห์ที่แล้ว และในบันทึกโจวหลี่ไม่ได้มีการขยายความเพิ่มเติม เพียงระบุไว้ว่าต้องมีทักษะที่ห้า คือ ‘ลิ่วซู’ หรือหกอักษร และทักษะที่หกคือ ‘จิ่วซู่’ หรือเก้าคำนวณ และชนรุ่นหลังจึงต้องอาศัยหนังสืออื่นในสมัยฮั่นที่บรรยายเพิ่มเติมถึงสองทักษะนี้ สำหรับทักษะที่ห้า ‘ซู’ หรืออักษรนี้ เพื่อนเพจอย่าได้เข้าใจผิดว่ามันหมายถึงงานโคลงกลอนวรรณกรรมชั้นสูง หรือการเขียนพู่กันรูปแบบอักษรต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เพราะจริงๆ แล้วมันเป็นทักษะพื้นฐานในการเขียนอ่านสำหรับเด็กเมื่อเริ่มเรียนหนังสือเมื่อกว่าสามพันปีที่แล้ว สรุปได้ดังนี้ (1) เซี่ยงสิง (象形/Pictogram) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงสิ่งของหรือสิ่งมีชีวิตที่เรามองเห็น ซึ่งเพื่อนเพจอย่าลืมว่าแรกเริ่มการเขียนของมนุษย์เรามาจากการวาดภาพ อักขระที่ใช้ในสมัยจีนบรรพกาลตามที่เราเห็นบนกระดูกโบราณก็เป็นลักษณะคล้ายภาพวาด อย่างเช่นอักษร ‘เหริน’ (人) ที่แปลว่าคน ก็คือมาจากการวาดรูปคนเดิน เป็นต้น (2) จื่อซื่อ (指事/Indicatives) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงความคิดความรู้สึกที่เราจับต้องไม่ได้ เช่น ตัวเลขจีนหรือคำว่าบนล่าง (‘ซ่างเซี่ย’ / 上下) เป็นต้น (3) ฮุ่ยอี้ (会意/Associative Compound) คืออักษรประสมที่เกิดจากการประกอบอักษรเดี่ยว (เซี่ยงสิงหรือจื่อซื่อ) มากกว่าหนึ่งอักษรเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นอีกความหมายหนึ่ง เช่น ‘จ้ง’ (众) ประกอบด้วยอักษร ‘เหริน’ สามตัว หมายถึงกลุ่มคน เป็นต้น (4) สิงเซิง (形声/Pictophonetic Compound) คืออักษรประสมที่ใช้อักษรหลักเดียวกัน แต่อาศัยอักษรข้างหรืออักษรบนล่างผันเสียงและ/หรือสร้างความหมายให้แตกต่างกันไป เช่น 绸 调 鲷 雕 และ 竿 笼 笔 筷 签 เป็นต้น ประเด็นนี้เพื่อนเพจที่ได้เรียนภาษาจีนจะเข้าใจได้ดีกว่าที่ Storyฯ อธิบาย สี่อักษรข้างต้นนั้น เป็นการวางรากฐานการเขียนและอักษรจีน แต่อีกสองอักษรที่เหลือเป็นหลักการการใช้ศัพท์ กล่าวคือ (5) จ่วนจู้ (转注/ Shared Component Characters) คืออักษรประสมที่อาจเขียนและออกเสียงแตกต่างแต่มีความหมายเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน โดยมีเงื่อนไขว่าอักษรนี้ต้องมีอักษรประกอบ (คืออักษรข้างหรืออักษรบนล่าง) ที่เหมือนกัน มีเสียงอ่านใกล้เคียงกัน และใช้อธิบายความหมายของกันและกันได้ ทั้งนี้เพราะแต่ละพื้นที่ของจีนมีภาษาท้องถิ่นที่ออกเสียงแตกต่างกันไปจึงอาจมีการใช้อักษรบางตัวแตกต่างกันไป แต่หากเข้าใจหลักการของ ‘จ่วนจู้’ ก็จะสามารถเข้าใจความหมายของอักษรที่แตกต่างกันไปเหล่านั้นได้ เช่น ‘คง’ (空) แปลว่าว่างเปล่า และ ‘เชี่ยว’ (窍) แปลว่ารู เป็นต้น (6) เจี่ยเจี้ย (假借/Phonetic Loans) คือการยืมอักษรที่ออกเสียงเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันมาใช้แทนกัน ซึ่งในสมัยโบราณมีการใช้ทักษะนี้ในการแต่งบทกลอนไม่น้อย และยังเห็นได้ในพวกคำมงคลต่างๆ เช่นคำว่า ‘เต้า’ (倒) ที่แปลว่ากลับหัว ถูกนำมาใช้ในบริบทของการติดป้ายมงคลกลับหัวเพื่อเรียกแทนคำว่า ‘เต้า’ (到) ที่แปลว่ามาถึง หรืออีกกรณีหนึ่งคือเจี่ยเจี้ยอาจหมายถึงการเอาอักษรหนึ่งมาใช้ในอีกบริบทหนึ่งจนเกิดเป็นความหมายใหม่ขึ้นมา เช่นคำว่า ‘ลิ่ง’ (令) ซึ่งแปลว่าคำสั่ง ต่อมาถูกนำมาใช้รวมกับคำอื่นจนแปลว่าผู้นำหรือผู้มีอำนาจสั่งการอย่าง ‘เซี่ยนลิ่ง’ (县令) คือผู้ว่าการอำเภอ เป็นต้น และอักษรเจี่ยเจี้ยเหล่านี้ นานวันเข้าก็เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนทักษะการคำนวณหรือ ‘จิ่วซู่’ นั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดมากเพราะว่ามาตรฐานและหน่วยวัดต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้วตามกาลเวลา ขอสรุปสั้นๆ พอให้เห็นภาพว่า เก้าคำนวณนี้ประกอบด้วย (1) ฟางเถียน (方田) ซึ่งก็คือการคำนวณขนาดของพื้นที่ โจทย์โดยหลักคือที่นา (2) ซู่หมี่ (粟米) คือการคำนวณปริมาณตามน้ำหนักของข้าวและธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น ข้าวฟ่างน้ำหนักเท่านี้เทียบเท่ากับข้าวเจ้าน้ำหนักเท่าไหร่ เป็นต้น (3) ซวยเฟิน (衰分) แปลตรงตัวคือการซอยย่อยหรือการหาร (4) สาวก่วง (少广) แปลตรงตัวคือเพิ่มจากน้อยไปมาก ซึ่งก็คือการคูณ (5) ซังกง (商功) คือการคำนวณปริมาตรของรูปทรงต่างๆ ใช้สำหรับงานก่อสร้าง (6) จวินซู (均输) คือการคำนวณเปรียบเทียบอัตราส่วน เช่น เมื่อวานมีเกลือจำนวนเท่านี้ ขนส่งมาด้วยระยะทางหนึ่งร้อยหลี่ คิดเป็นเงินเท่านี้ ถ้าวันนี้มีเกลือน้อยลงหนึ่งส่วนสี่ ขนส่งด้วยระยะทางแปดสิบหลี่ ควรคิดเป็นเงินเท่าไหร่ เป็นต้น (7) อิ๋งปู้จู๋ (盈不足) แปลตรงตัวคือกำไรขาดทุน ซึ่งก็คือการแก้สมการโดยมีโจทย์เป็นการคำนวณเงินๆ ทองๆ เช่น หากจะซื้อรถม้าสักคัน ถ้าออกเงินคนละห้าตำลึง จะขาดเงินเก้าสิบตำลึง ถ้าออกเงินคนละห้าสิบห้าตำลึง จะมีเงินเหลือสิบตำลึง ถามว่ามีคนออกเงินกี่คนและรถม้าราคาเท่าไหร่ เป็นต้น (8) ฟางเฉิง (方程) คือการแก้สมการ เช่น มีวัวห้าตัวแพะสองตัว รวมเป็นมูลค่าสิบตำลึง แต่ถ้าวัวสองตัวแพะห้าตัวจะรวมมูลค่าได้แปดตำลึง ถามว่าวัวและแพะต่างมีราคาเท่าไหร่ เป็นต้น (9) โกวกู่ (勾股) คือการคำนวณความสัมพันธ์ในเรขาคณิต (Pythagoras' theorem) เช่นการคำนวณองศาและความยาว เป็นอีกหนึ่งทักษะสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง จะเห็นได้ว่า ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะของสุภาพบุรุษ (ห้าพิธีการ หกดนตรี ห้าการยิงธนู ห้าการขับขี่ หกอักษร และ เก้าคำนวณ) จริงๆ แล้วก็คือพื้นฐานการเรียนการสอนซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในยุคสมัยนั้น พื้นฐานเหล่านี้ถูกปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยมาตลอด แต่เรียกได้ว่าหกทักษะที่กำหนดไว้เมื่อกว่าสี่พันปีที่แล้วนี้ก็คือพื้นฐานของหลักสูตรการศึกษาจวบจนปัจจุบัน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU https://www.sohu.com/a/584032470_121288924 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/六艺/238715 https://www.sohu.com/a/584032470_121288924 https://baike.baidu.com/item/汉字造字法/4018743 https://studycli.org/zh-CN/chinese-characters/types-of-chinese-characters/ https://ctext.org/nine-chapters/zhs #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    《度华年》定档0626 赵今麦张凌赫入宿命循环局_商业频道_中华网
    今日,由赵今麦、张凌赫领衔主演的古装轻喜剧《度华年》官宣定档6月26日于优酷全网独播。该剧由青梅影业、浙江影视集团、优酷出品,袁玉梅担任总制片人兼艺术总监,高翊浚执导,饶俊编剧。
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 194 มุมมอง 0 รีวิว
  • หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 3 ‘เซ่อ’ และ ‘อวี้’

    วันนี้มาคุยกันต่อถึงหกทักษะของสุภาพบุรุษในตระกูลสูงศักดิ์หรือ ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺 ) (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งถูกกล่าวถึงในหลากหลายละครและนิยายจีนโบราณ และเป็นพื้นฐานความรู้ด้านต่างๆ

    ในบันทึกโจวหลี่ระบุไว้ว่า หกทักษะนี้ในรายละเอียดแบ่งเป็น ห้าพิธีการ (หลี่/礼) หกดนตรี (เยวี่ย/乐) ห้าธนู (เซ่อ/射) ห้าขับขี่ (อวี้/御) หกอักษร (ซู/书) และเก้าคำนวณ (ซู่/数) เราคุยกันไปแล้วถึงสองทักษะ วันนี้มาคุยกันต่อค่ะ

    ทักษะที่สามก็คือทักษะยิงธนู เป็นพื้นฐานการฝึกฝนด้านสมาธิ การตัดสินใจและพละกำลัง

    เรามักเห็นในซีรีส์เวลาแสดงความสามารถด้านการธนูที่ทำให้ผู้ชมร้องว้าวว่า เป็นการยิงสามดอกในทีเดียวหรือยิงซ้อนดอกแรกทะลุเข้าเป้า จริงๆ แล้วทักษะการยิงธนูห้าแบบตามหลักการโบราณคืออะไร?

    การยิงธนูห้าแบบตามตำราสรุปได้คือ:
    (1) ไป๋สื่อ (白矢) คือการยิงที่เน้นความแม่นยำและพละกำลัง โจทย์ของมันก็คือยิงตรงๆ ให้เข้าเป้าอย่างแรงจนทะลุเป้าออกไปเห็นหัวลูกศรโผล่ออกมาที่ด้านหลัง เป็นที่มาของคำว่า ‘ไป๋สื่อ’ ซึ่งแปลตรงตัวว่าหัวธนูสีขาว
    (2) ชานเหลียน (参连) เป็นการยิงตรงๆ หนึ่งดอกให้เข้าเป้า แล้วค่อยตามติดรัวๆ อีกสามดอก โดยแต่ละดอกจะปักเข้าที่ปลายท้ายของธนูดอกก่อนหน้านั้น เรียงกันเป็นแถวตรงยาว ไม่เอนเอียง ซึ่งนั่นหมายความว่าดอกแรกต้องฝังลึกพอที่จะยึดน้ำหนักของธนูได้สี่ดอก และดอกหลังๆ ก็ต้องฝังลึกพอที่ยึดน้ำหนักได้เช่นกัน เรียกได้ว่าการยิงแบบนี้ต้องทั้งแม่น ตรงและแรง
    (3) เหยียนจู้ (剡注) เป็นการยิงขึ้นสูงให้วิถีของธนูโค้งขึ้นแล้วปักลงกลางเป้าโดยมีลักษณะหางชี้เอียงขึ้น มีการบรรยายไว้ว่าเป็นการยิงอย่างเร็ว (คือไม่เล็งนาน) และแรงจนได้ยินเสียงเสียดสีของปีกธนูดังหวิวๆ ดั่งเสียงร้องของนก
    (4) เซียงฉื่อ (襄尺) เป็นหลักปฏิบัติยามข้าราชสำนักยิงธนูพร้อมกับกษัตริย์ ให้ข้าราชสำนักถอยหลังหนึ่งฉื่อ (ประมาณ 10 นิ้ว) เพื่อแสดงถึงความเคารพ ไม่มีข้อมูลมากกว่านี้ แต่มันทำให้ Storyฯ อดคิดไม่ได้ว่า ถ้าอย่างนี้เวลาเราฝึกก็ต้องฝึกให้แม่นทั้งสองระยะ แม้ว่าระยะทั้งสองจะแตกต่างกันเพียงประมาณไม่ถึงฟุต
    (5) จิ่งอี๋ (井儀) เป็นการยิงที่ยากที่สุด คือการยิงรัวๆ สี่ดอก ทุกดอกทะลุเป้าจนเห็นหัวลูกศรโผล่ออกมาด้านหลังของเป้า ธนูสี่ดอกปักเรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมพอดีดั่งสี่เหลี่ยมในตัวอักษร ‘จิ่ง’ (井) หรือหากยิงนก คือยิงได้เรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมบนตัวนกเช่นกัน

    ต่อมาคือทักษะที่สี่ ‘อวี้’ ซึ่งหมายถึงทักษะการขับรถและหมายรวมถึงทักษะการทำศึกหรือล่าสัตว์ด้วยรถ จากรูปประกอบจะเห็นว่ารถม้าส่วนใหญ่ในสมัยนั้นเป็นรถแบบไม่มีประทุน การฝึกฝนทักษะนี้เป็นการฝึกความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและปลูกฝังความใส่ใจและความรับผิดชอบต่อผู้อื่นด้วย

    การขับรถม้าทั้งห้าแบบนี้คือ
    (1) หมิงเหอหลวน (鸣和鸾) เป็นการขับรถให้กับผู้ที่สูงศักดิ์นั่ง เช่นกษัตริย์ โดย ‘เหอ’ ในที่นี้หมายถึงกระดิ่งที่แขวนไว้บนราวจับมือของผู้โดยสารและ ‘หลวน’ คือกระดิ่งที่แขวนอยู่บนแอกเหนือตัวสัตว์ที่ลากรถ และการขับรถม้าแบบที่เรียกว่า ‘หมิงเหอหลวน’ นี้ คือขับรถอย่างเสถียรนิ่มนวลให้จังหวะเดินของสัตว์และจังหวะการโยกหรือกระเด้งของตัวรถเป็นจังหวะเดียวกัน เพื่อว่าเสียงกระดิ่งทั้งสองนี้จะดังขึ้นอย่างพร้อมเพรียงกัน
    (2) จู๋สุ่ยชวี (逐水曲) เป็นการขับรถให้โค้งตามขอบน้ำที่คดเคี้ยวได้โดยไม่ให้รถเสียศูนย์หรือร่วงลงน้ำ ซึ่งเป็นการฝึกให้สามารถบังคับรถม้าในยามที่ต้องเลี้ยวไปเลี้ยวมาในสภาวะฉุกเฉิน
    (3) กั้วจวินเปี่ยว (过君表) เป็นการขับรถผ่านซุ้มประตูที่มีปักธงไว้ (ปกติบ่งบอกว่าเป็นทางเดินรถของขบวนเสด็จ) ซึ่งจะมีการวางหมุดหรือดุมหินให้ยื่นออกมาคุ้มกันธงที่เสาประตูทั้งสองข้าง และทักษะนี้คือการขับรถผ่านซุ้มประตูโดยไม่ชนดุมหินของเสาประตูนี้ ว่ากันว่าขนาดของรถและซุ้มประตูสมัยนั้นจะทำให้เหลือช่องไฟระหว่างดุมล้อและหินกันธงเพียงข้างละห้านิ้วเท่านั้น
    (4) อู่เจียวฉวี (舞交衢) คือการบังคับให้รถเลี้ยวเมื่อถึงทางแยกของถนนได้อย่างเร็วและมีจังหวะประหนึ่งหมุนตัวเต้นรำ ซึ่ง Storyฯ ก็นึกภาพไม่ออกว่าเป็นอย่างไร ก็จินตนาการเอาเองว่าก็คงเหมือนเวลาที่เรากะจังหวะรถให้เลี้ยวโค้งได้อย่างเร็วโดยไม่เสียศูนย์กระมัง
    (5) จู๋ฉินจั่ว (逐禽左) เป็นเทคนิคในการขับรถล่าสัตว์ โดยต้อนสัตว์ให้ไปอยู่ทางซ้ายของรถแล้วค่อยยิงด้วยธนู นี่เป็นการฝึกปรือเพื่อใช้จริงในการศึกด้วย

    เป็นอย่างไรคะ ไม่ง่ายเลยทั้งการยิงธนูและการขับรถ เพื่อนเพจว่าไหม? เรามาคุยกันต่อเกี่ยวกับทักษะที่เหลือสัปดาห์หน้าค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU
    https://www.sohu.com/a/716142814_116162
    https://sports.sina.cn/others/mashu/2017-07-07/detail-ifyhwehx5318583.d.html
    https://www.sgss8.net/tpdq/10845310/1.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/六艺/238715
    https://mychistory.com/a001-2/11-04
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083
    http://www.leafarchery.com/nd.jsp?fromColId=105&id=3
    https://kknews.cc/car/p88yjrp.html
    https://www.sohu.com/a/459650524_121052969

    #กำเนิดเทพเจ้า #เฟิงเสิน #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน

    หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 3 ‘เซ่อ’ และ ‘อวี้’ วันนี้มาคุยกันต่อถึงหกทักษะของสุภาพบุรุษในตระกูลสูงศักดิ์หรือ ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺 ) (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งถูกกล่าวถึงในหลากหลายละครและนิยายจีนโบราณ และเป็นพื้นฐานความรู้ด้านต่างๆ ในบันทึกโจวหลี่ระบุไว้ว่า หกทักษะนี้ในรายละเอียดแบ่งเป็น ห้าพิธีการ (หลี่/礼) หกดนตรี (เยวี่ย/乐) ห้าธนู (เซ่อ/射) ห้าขับขี่ (อวี้/御) หกอักษร (ซู/书) และเก้าคำนวณ (ซู่/数) เราคุยกันไปแล้วถึงสองทักษะ วันนี้มาคุยกันต่อค่ะ ทักษะที่สามก็คือทักษะยิงธนู เป็นพื้นฐานการฝึกฝนด้านสมาธิ การตัดสินใจและพละกำลัง เรามักเห็นในซีรีส์เวลาแสดงความสามารถด้านการธนูที่ทำให้ผู้ชมร้องว้าวว่า เป็นการยิงสามดอกในทีเดียวหรือยิงซ้อนดอกแรกทะลุเข้าเป้า จริงๆ แล้วทักษะการยิงธนูห้าแบบตามหลักการโบราณคืออะไร? การยิงธนูห้าแบบตามตำราสรุปได้คือ: (1) ไป๋สื่อ (白矢) คือการยิงที่เน้นความแม่นยำและพละกำลัง โจทย์ของมันก็คือยิงตรงๆ ให้เข้าเป้าอย่างแรงจนทะลุเป้าออกไปเห็นหัวลูกศรโผล่ออกมาที่ด้านหลัง เป็นที่มาของคำว่า ‘ไป๋สื่อ’ ซึ่งแปลตรงตัวว่าหัวธนูสีขาว (2) ชานเหลียน (参连) เป็นการยิงตรงๆ หนึ่งดอกให้เข้าเป้า แล้วค่อยตามติดรัวๆ อีกสามดอก โดยแต่ละดอกจะปักเข้าที่ปลายท้ายของธนูดอกก่อนหน้านั้น เรียงกันเป็นแถวตรงยาว ไม่เอนเอียง ซึ่งนั่นหมายความว่าดอกแรกต้องฝังลึกพอที่จะยึดน้ำหนักของธนูได้สี่ดอก และดอกหลังๆ ก็ต้องฝังลึกพอที่ยึดน้ำหนักได้เช่นกัน เรียกได้ว่าการยิงแบบนี้ต้องทั้งแม่น ตรงและแรง (3) เหยียนจู้ (剡注) เป็นการยิงขึ้นสูงให้วิถีของธนูโค้งขึ้นแล้วปักลงกลางเป้าโดยมีลักษณะหางชี้เอียงขึ้น มีการบรรยายไว้ว่าเป็นการยิงอย่างเร็ว (คือไม่เล็งนาน) และแรงจนได้ยินเสียงเสียดสีของปีกธนูดังหวิวๆ ดั่งเสียงร้องของนก (4) เซียงฉื่อ (襄尺) เป็นหลักปฏิบัติยามข้าราชสำนักยิงธนูพร้อมกับกษัตริย์ ให้ข้าราชสำนักถอยหลังหนึ่งฉื่อ (ประมาณ 10 นิ้ว) เพื่อแสดงถึงความเคารพ ไม่มีข้อมูลมากกว่านี้ แต่มันทำให้ Storyฯ อดคิดไม่ได้ว่า ถ้าอย่างนี้เวลาเราฝึกก็ต้องฝึกให้แม่นทั้งสองระยะ แม้ว่าระยะทั้งสองจะแตกต่างกันเพียงประมาณไม่ถึงฟุต (5) จิ่งอี๋ (井儀) เป็นการยิงที่ยากที่สุด คือการยิงรัวๆ สี่ดอก ทุกดอกทะลุเป้าจนเห็นหัวลูกศรโผล่ออกมาด้านหลังของเป้า ธนูสี่ดอกปักเรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมพอดีดั่งสี่เหลี่ยมในตัวอักษร ‘จิ่ง’ (井) หรือหากยิงนก คือยิงได้เรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมบนตัวนกเช่นกัน ต่อมาคือทักษะที่สี่ ‘อวี้’ ซึ่งหมายถึงทักษะการขับรถและหมายรวมถึงทักษะการทำศึกหรือล่าสัตว์ด้วยรถ จากรูปประกอบจะเห็นว่ารถม้าส่วนใหญ่ในสมัยนั้นเป็นรถแบบไม่มีประทุน การฝึกฝนทักษะนี้เป็นการฝึกความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและปลูกฝังความใส่ใจและความรับผิดชอบต่อผู้อื่นด้วย การขับรถม้าทั้งห้าแบบนี้คือ (1) หมิงเหอหลวน (鸣和鸾) เป็นการขับรถให้กับผู้ที่สูงศักดิ์นั่ง เช่นกษัตริย์ โดย ‘เหอ’ ในที่นี้หมายถึงกระดิ่งที่แขวนไว้บนราวจับมือของผู้โดยสารและ ‘หลวน’ คือกระดิ่งที่แขวนอยู่บนแอกเหนือตัวสัตว์ที่ลากรถ และการขับรถม้าแบบที่เรียกว่า ‘หมิงเหอหลวน’ นี้ คือขับรถอย่างเสถียรนิ่มนวลให้จังหวะเดินของสัตว์และจังหวะการโยกหรือกระเด้งของตัวรถเป็นจังหวะเดียวกัน เพื่อว่าเสียงกระดิ่งทั้งสองนี้จะดังขึ้นอย่างพร้อมเพรียงกัน (2) จู๋สุ่ยชวี (逐水曲) เป็นการขับรถให้โค้งตามขอบน้ำที่คดเคี้ยวได้โดยไม่ให้รถเสียศูนย์หรือร่วงลงน้ำ ซึ่งเป็นการฝึกให้สามารถบังคับรถม้าในยามที่ต้องเลี้ยวไปเลี้ยวมาในสภาวะฉุกเฉิน (3) กั้วจวินเปี่ยว (过君表) เป็นการขับรถผ่านซุ้มประตูที่มีปักธงไว้ (ปกติบ่งบอกว่าเป็นทางเดินรถของขบวนเสด็จ) ซึ่งจะมีการวางหมุดหรือดุมหินให้ยื่นออกมาคุ้มกันธงที่เสาประตูทั้งสองข้าง และทักษะนี้คือการขับรถผ่านซุ้มประตูโดยไม่ชนดุมหินของเสาประตูนี้ ว่ากันว่าขนาดของรถและซุ้มประตูสมัยนั้นจะทำให้เหลือช่องไฟระหว่างดุมล้อและหินกันธงเพียงข้างละห้านิ้วเท่านั้น (4) อู่เจียวฉวี (舞交衢) คือการบังคับให้รถเลี้ยวเมื่อถึงทางแยกของถนนได้อย่างเร็วและมีจังหวะประหนึ่งหมุนตัวเต้นรำ ซึ่ง Storyฯ ก็นึกภาพไม่ออกว่าเป็นอย่างไร ก็จินตนาการเอาเองว่าก็คงเหมือนเวลาที่เรากะจังหวะรถให้เลี้ยวโค้งได้อย่างเร็วโดยไม่เสียศูนย์กระมัง (5) จู๋ฉินจั่ว (逐禽左) เป็นเทคนิคในการขับรถล่าสัตว์ โดยต้อนสัตว์ให้ไปอยู่ทางซ้ายของรถแล้วค่อยยิงด้วยธนู นี่เป็นการฝึกปรือเพื่อใช้จริงในการศึกด้วย เป็นอย่างไรคะ ไม่ง่ายเลยทั้งการยิงธนูและการขับรถ เพื่อนเพจว่าไหม? เรามาคุยกันต่อเกี่ยวกับทักษะที่เหลือสัปดาห์หน้าค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU https://www.sohu.com/a/716142814_116162 https://sports.sina.cn/others/mashu/2017-07-07/detail-ifyhwehx5318583.d.html https://www.sgss8.net/tpdq/10845310/1.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/六艺/238715 https://mychistory.com/a001-2/11-04 https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083 http://www.leafarchery.com/nd.jsp?fromColId=105&id=3 https://kknews.cc/car/p88yjrp.html https://www.sohu.com/a/459650524_121052969 #กำเนิดเทพเจ้า #เฟิงเสิน #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    GUOXUE.IFENG.COM
    由器见道:儒家其实很“文艺”
    由器见道:儒家其实很“文艺”
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 170 มุมมอง 0 รีวิว
  • หกทักษะของสุภาพบุรุษจีนโบราณ ตอน 1 ‘หลี่’

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <องค์หญิงใหญ่> จะจำได้ว่าองค์หญิงหลี่หรงจัดงานเลี้ยงเพื่อทำความรู้จักกับแคนดิเดทราชบุตรเขย โดยในระหว่างงานเลี้ยงได้กำหนดให้เหล่าคุณชายแสดงความสามารถตาม ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะของสุภาพบุรุษ (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) และหกทักษะนี้ได้รับการกล่าวถึงในหลากหลายละครและนิยายจีนโบราณด้วยเช่นกัน

    หกทักษะนี้คือพื้นฐานความรู้ด้านต่างๆ อันแฝงไว้ซึ่งปรัชญาและคำสอนของขงจื๊อ เชื่อว่าเพื่อนเพจเคยผ่านตาผ่านหูว่า หกทักษะนี้คือ พิธีการ (หลี่/礼) ดนตรี (เยวี่ย/乐) ยิงธนู (เซ่อ/射) ขับขี่ (อวี้/御) อักษรศาสตร์ (ซู/书) และคำนวณ (ซู่/数) แต่เชื่อว่าเพื่อนเพจคงไม่รู้ถึงรายละเอียดของมัน

    หกทักษะปรากฏอยู่ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ (เป็นบันทึกที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่นเพื่อรวมรวมข้อมูลพิธีการและความรู้ด้านต่างๆ จากสมัยราชวงศ์โจว) ในรายละเอียดประกอบด้วย ห้าพิธีการ หกดนตรี ห้าธนู ห้าขับขี่ หกอักษร และเก้าคำนวณ และมีการอธิบายไว้ชัดเจนว่าองค์ประกอบของมันมีอะไรบ้าง Storyฯ อ่านแล้วก็รู้สึกว่ามีหลายอย่างที่เหนือความคาดหมาย เลยมาเล่าสู่กันฟัง แต่ขอแบ่งเล่าเป็นหลายตอนเพื่อไม่ให้บทความยาวเกินไป

    ทักษะแรกคือ ‘หลี่’ (礼) ซึ่งแปลได้ว่าพิธีการหรือมารยาท โดยบัณฑิตต้องรู้ถึงรายละเอียดของการเตรียมงาน ขั้นตอนในงาน กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการวางตัว เสื้อผ้าข้าวของเครื่องใช้ และคำพูดที่ถูกต้องเหมาะสม และห้า ‘หลี่’ ที่บัณฑิตต้องรู้คือ
    (1) จี๋หลี่ (吉礼) หมายถึงพิธีการเสริมดวงเสริมบารมี คืองานเซ่นไหว้สักการะและงานบวงสรวงทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ ตามเทศกาลสำคัญหรือกราบไหว้บรรพบุรุษ
    (2) ซยงหลี่ (凶礼) หมายถึงพิธีการเกี่ยวกับภยันตราย โดยหลักคืองานศพ และหมายรวมถึงพิธีการขับไล่สิ่งอัปมงคลในยามที่เกิดอุทกภัยหรือโรคระบาด หรือพิธีการเซ่นไหว้ไว้อาลัยหลังสงคราม
    (3) จวินหลี่ (军礼) หมายถึงพิธีการด้านการทหาร (การจัดขบวน การเคลื่อนทัพ การบวงสรวงต่างๆ เมื่อองค์กษัตริย์ทรงยาตราทัพเอง การเยี่ยมชมและตรวจการกองทัพ และการต้อนรับกองทัพที่กลับจากสงคราม โดยพิธีการมีจำแนกว่าชนะศึกหรือพ่ายศึกกลับมา ฯลฯ) และยังรวมถึงพิธีการเกี่ยวกับงานล่าสัตว์ประจำฤดูของกษัตริย์ และหมายรวมงานก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ต้องเกณฑ์ชาวบ้านมาร่วมทำเช่นอารามหลวง พระราชวัง ฯลฯ
    (4) ปินหลี่ (宾礼) หมายถึงมารยาทและพิธีการในการต้อนรับแขก โดยจำแนกตามยศศักดิ์ของแขกและผู้ที่ให้การต้อนรับ เช่น กษัตริย์ต้อนรับกษัตริย์แขกเมืองหรือขุนนาง ข้าราชการต้อนรับประชาชนธรรมดา ต้อนรับแขกเมืองระดับต่างๆ ฯลฯ
    (5) เจียหลี่ (嘉礼) หมายถึงพิธีการมงคล ซึ่งจำแนกรายละเอียดตามยศศักดิ์ของเจ้าของงาน เช่นงานราชพิธีต่างๆ (พิธีราชาภิเษก งานแต่งตั้งองค์รัชทายาท งานเลือกชายาและสนม ฯลฯ) งานมงคลสมรส พิธีปักปิ่น พิธีสวมหมวกกวาน พิธีการขอบคุณ พิธีการอำลา งานเลี้ยงสังสรรค์ทั่วไป เป็นต้น

    แน่นอนว่าแต่ละพิธีการเหล่านี้มีรายละเอียดอีกมากมายที่เราไม่ได้ลงรายละเอียดในที่นี้ (หมายเหตุ Storyฯ เคยกล่าวถึงบางพิธีการ เช่นพิธีการปักปิ่น ฯลฯ ลองค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญนะคะ) แต่โดยภาพรวมเราจะเห็นได้ว่า ทักษะว่าด้วย ‘หลี่’ นี้ หมายรวมถึงความเข้าใจอย่างละเอียดถึงพิธีการต่างๆ หลักการปฏิบัติและวางตนต่อผู้อื่นและมารยาททางสังคม โดยมาจากแนวคำสอนของขงจื๊อที่ว่า ผู้ที่บกพร่องในทักษะนี้ จะขาดการวางตนที่ดี ไม่รู้ว่าควรปฏิบัติต่อผู้อื่นหรืออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างไร ทำให้สูญเสียความมั่นใจในตนเอง หรือทำให้เกิดความวุ่นวายสร้างความขุ่นเคืองหรือสับสนต่อผู้อื่นได้ และทำให้สังคมไม่สมานฉันท์

    สัปดาห์หน้าเรามาคุยกันต่อค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.upmedia.mg/news_info.php?Type=196&SerialNo=204949
    https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083
    https://baike.baidu.com/item/六艺/238715
    http://www.dfg.cn/gb/ssht/ly/07-junli.htm
    https://baike.baidu.com/item/五礼/491424

    #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน

    หกทักษะของสุภาพบุรุษจีนโบราณ ตอน 1 ‘หลี่’ สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <องค์หญิงใหญ่> จะจำได้ว่าองค์หญิงหลี่หรงจัดงานเลี้ยงเพื่อทำความรู้จักกับแคนดิเดทราชบุตรเขย โดยในระหว่างงานเลี้ยงได้กำหนดให้เหล่าคุณชายแสดงความสามารถตาม ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะของสุภาพบุรุษ (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) และหกทักษะนี้ได้รับการกล่าวถึงในหลากหลายละครและนิยายจีนโบราณด้วยเช่นกัน หกทักษะนี้คือพื้นฐานความรู้ด้านต่างๆ อันแฝงไว้ซึ่งปรัชญาและคำสอนของขงจื๊อ เชื่อว่าเพื่อนเพจเคยผ่านตาผ่านหูว่า หกทักษะนี้คือ พิธีการ (หลี่/礼) ดนตรี (เยวี่ย/乐) ยิงธนู (เซ่อ/射) ขับขี่ (อวี้/御) อักษรศาสตร์ (ซู/书) และคำนวณ (ซู่/数) แต่เชื่อว่าเพื่อนเพจคงไม่รู้ถึงรายละเอียดของมัน หกทักษะปรากฏอยู่ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ (เป็นบันทึกที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่นเพื่อรวมรวมข้อมูลพิธีการและความรู้ด้านต่างๆ จากสมัยราชวงศ์โจว) ในรายละเอียดประกอบด้วย ห้าพิธีการ หกดนตรี ห้าธนู ห้าขับขี่ หกอักษร และเก้าคำนวณ และมีการอธิบายไว้ชัดเจนว่าองค์ประกอบของมันมีอะไรบ้าง Storyฯ อ่านแล้วก็รู้สึกว่ามีหลายอย่างที่เหนือความคาดหมาย เลยมาเล่าสู่กันฟัง แต่ขอแบ่งเล่าเป็นหลายตอนเพื่อไม่ให้บทความยาวเกินไป ทักษะแรกคือ ‘หลี่’ (礼) ซึ่งแปลได้ว่าพิธีการหรือมารยาท โดยบัณฑิตต้องรู้ถึงรายละเอียดของการเตรียมงาน ขั้นตอนในงาน กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการวางตัว เสื้อผ้าข้าวของเครื่องใช้ และคำพูดที่ถูกต้องเหมาะสม และห้า ‘หลี่’ ที่บัณฑิตต้องรู้คือ (1) จี๋หลี่ (吉礼) หมายถึงพิธีการเสริมดวงเสริมบารมี คืองานเซ่นไหว้สักการะและงานบวงสรวงทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ ตามเทศกาลสำคัญหรือกราบไหว้บรรพบุรุษ (2) ซยงหลี่ (凶礼) หมายถึงพิธีการเกี่ยวกับภยันตราย โดยหลักคืองานศพ และหมายรวมถึงพิธีการขับไล่สิ่งอัปมงคลในยามที่เกิดอุทกภัยหรือโรคระบาด หรือพิธีการเซ่นไหว้ไว้อาลัยหลังสงคราม (3) จวินหลี่ (军礼) หมายถึงพิธีการด้านการทหาร (การจัดขบวน การเคลื่อนทัพ การบวงสรวงต่างๆ เมื่อองค์กษัตริย์ทรงยาตราทัพเอง การเยี่ยมชมและตรวจการกองทัพ และการต้อนรับกองทัพที่กลับจากสงคราม โดยพิธีการมีจำแนกว่าชนะศึกหรือพ่ายศึกกลับมา ฯลฯ) และยังรวมถึงพิธีการเกี่ยวกับงานล่าสัตว์ประจำฤดูของกษัตริย์ และหมายรวมงานก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ต้องเกณฑ์ชาวบ้านมาร่วมทำเช่นอารามหลวง พระราชวัง ฯลฯ (4) ปินหลี่ (宾礼) หมายถึงมารยาทและพิธีการในการต้อนรับแขก โดยจำแนกตามยศศักดิ์ของแขกและผู้ที่ให้การต้อนรับ เช่น กษัตริย์ต้อนรับกษัตริย์แขกเมืองหรือขุนนาง ข้าราชการต้อนรับประชาชนธรรมดา ต้อนรับแขกเมืองระดับต่างๆ ฯลฯ (5) เจียหลี่ (嘉礼) หมายถึงพิธีการมงคล ซึ่งจำแนกรายละเอียดตามยศศักดิ์ของเจ้าของงาน เช่นงานราชพิธีต่างๆ (พิธีราชาภิเษก งานแต่งตั้งองค์รัชทายาท งานเลือกชายาและสนม ฯลฯ) งานมงคลสมรส พิธีปักปิ่น พิธีสวมหมวกกวาน พิธีการขอบคุณ พิธีการอำลา งานเลี้ยงสังสรรค์ทั่วไป เป็นต้น แน่นอนว่าแต่ละพิธีการเหล่านี้มีรายละเอียดอีกมากมายที่เราไม่ได้ลงรายละเอียดในที่นี้ (หมายเหตุ Storyฯ เคยกล่าวถึงบางพิธีการ เช่นพิธีการปักปิ่น ฯลฯ ลองค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญนะคะ) แต่โดยภาพรวมเราจะเห็นได้ว่า ทักษะว่าด้วย ‘หลี่’ นี้ หมายรวมถึงความเข้าใจอย่างละเอียดถึงพิธีการต่างๆ หลักการปฏิบัติและวางตนต่อผู้อื่นและมารยาททางสังคม โดยมาจากแนวคำสอนของขงจื๊อที่ว่า ผู้ที่บกพร่องในทักษะนี้ จะขาดการวางตนที่ดี ไม่รู้ว่าควรปฏิบัติต่อผู้อื่นหรืออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างไร ทำให้สูญเสียความมั่นใจในตนเอง หรือทำให้เกิดความวุ่นวายสร้างความขุ่นเคืองหรือสับสนต่อผู้อื่นได้ และทำให้สังคมไม่สมานฉันท์ สัปดาห์หน้าเรามาคุยกันต่อค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.upmedia.mg/news_info.php?Type=196&SerialNo=204949 https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083 https://baike.baidu.com/item/六艺/238715 http://www.dfg.cn/gb/ssht/ly/07-junli.htm https://baike.baidu.com/item/五礼/491424 #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    WWW.UPMEDIA.MG
    張凌赫新劇《度華年》對打王星越《墨雨雲間》 他與趙今麥演歡喜冤家3關鍵獲好評--上報
    張凌赫近年事業蒸蒸日上,他2022年擔任王鶴棣、虞書欣的爆款劇《蒼蘭訣》男配嶄露頭角,接著又在2023年與虞......
    Like
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 281 มุมมอง 0 รีวิว
  • ระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ (ตอน 1)

    สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจถามเข้ามาถึงระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ และ Storyฯ ได้ดู <องค์หญิงใหญ่> ซึ่งในเรื่องนี้ พระเอกจำเป็นต้องกลับบ้านนอกไว้ทุกข์ให้กับพ่อที่ตายไปเป็นเวลาสามปีจึงจะกลับมาเมืองหลวงอีกครั้ง ทำให้พลาดโอกาสก้าวหน้าทางราชการไป

    วันนี้เราจึงมาคุยกันเรื่องระยะเวลาไว้ทุกข์นี้ บทความยาวมากจึงขอแบ่งเป็นสองตอนนะคะ

    การไว้ทุกข์เรียกว่า ‘โส่วเซี่ยว’ (守孝 แปลได้ว่า รักษาความกตัญญู) หรือมีอีกวิธีเรียกคือ ‘ฝูซาง’ (服丧 แปลได้ว่า สวมใส่ความทุกข์) ซึ่งสะท้อนถึงการแบ่งการไว้ทุกข์ออกเป็นห้าระดับตามชื่อของชุดไว้ทุกข์ หรือที่เรียกว่า ‘อู่ฝู’ (五服 แปลตรงตัวว่า ห้าชุด) โดยแต่ละระดับมีระยะเวลาไว้ทุกข์ที่ต่างกัน

    ‘อู่ฝู’ แรกปรากฏในบันทึกอี้หลี่ (仪礼) เป็นพิธีการสมัยราชวงศ์โจว โดยการแบ่งแยกระดับขั้นการไว้ทุกข์นี้เป็นไปตามลำดับความสนิทของญาติ และในรายละเอียดมีการจำแนกตามอายุ (เช่น ถึงวัยเติบใหญ่แล้วหรือไม่) และบรรดาศักดิ์ของผู้ตาย รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ

    ‘อู่ฝู’ มีอะไรบ้าง?

    รายละเอียดและระยะเวลาไว้ทุกข์เหล่านี้ต่อมาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และเนื่องจากหลายแหล่งข้อมูลมีความแตกต่าง Storyฯ ขออิงตามประมวลกฏหมายต้าหมิงหุ้ยเตี่ยนที่ถูกจัดทำขึ้นในรัชสมัยว่านลี่ขององค์จูอี้จวิน ซึ่งมีการแก้ไขไปจากเดิม ตัวอย่างเช่น เปลี่ยนการไว้ทุกข์ให้แม่มาเป็นแบบเดียวกับไว้ทุกข์ให้พ่อ เพื่อนเพจสามารถดูชุดไว้ทุกข์สมัยหมิงได้ตามรูปประกอบ 1

    1. ระดับที่หนึ่ง เป็นการไว้ทุกข์ขั้นสูงสุด ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จ่านชุย’ (斩衰) สรุปโดยคร่าวคือทำจากชุดผ้ากระสอบดิบเนื้อหยาบ ไม่มีการเนาหรือเย็บ ไม่เย็บเก็บชายผ้า เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์สนิทสุดที่ถูกสะบั้นลง ใช้เชือกถักหยาบแทนเข็มขัด ถือไม้เท้ายาวถึงหน้าอกทำจากไม้ไผ่ เป็นสัญลักษณ์ว่าโศกเศร้าจนไม่สามารถยืนได้ (เด็กไม่ต้องถือไม้เท้า) รองเท้าทำจากหญ้า

    ชุดจ่านชุยเป็นชุดไว้ทุกข์สำหรับ:
    - ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อและแม่ ทั้งนี้ ‘แม่’ หมายรวมถึงภรรยาเอกของพ่อ (ขอเรียกว่า แม่ใหญ่) แม่ผู้เลี้ยงดู และแม่แท้ๆ ดังนั้น ลูกทุกคนรวมทั้งลูกของอนุภรรยาต้องไว้ทุกข์ให้แม่ใหญ่ด้วยจ่านชุย แต่ลูกของแม่ใหญ่ไม่ต้องไว้ทุกข์ให้อนุภรรยาของพ่อ (ขอเรียกว่าแม่เล็ก) ด้วยจ่านชุย
    อนึ่ง ในกรณีที่ลูกชายเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ ให้หลานชายคนโตสายภรรยาเอกทำหน้าที่ไว้ทุกข์แทน และในกรณีที่ทั้งลูกชายและหลานชายคนโตสายภรรยาเอกเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ ให้เหลนชายคนโตสายภรรยาเอกทำหน้าที่ไว้ทุกข์แทน
    - ลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน (คือยังไม่แต่งงานหรือเป็นหม้ายไร้บุตรแล้วกลับมาอยู่บ้าน) ไว้ทุกข์ตามเกณฑ์เดียวกับลูกชาย
    - ภรรยาและอนุภรรยา: ไว้ทุกข์ให้แก่สามี

    สำหรับชุดจ่านชุยของสตรีนั้น แต่งกายเหมือนชายแต่ใช้ผ้ากระสอบกว้างหนึ่งนิ้วคาดหน้าผาก ปักปิ่นที่ทำจากไม้ไผ่ และมีผ้าคลุมหัว

    ระยะเวลาสวมชุดจ่านชุยไว้ทุกข์คือสามปี แต่จริงๆ แล้ววิธีนับคือสองปีเต็มกับอีกหนึ่งเดือน แรกเริ่มนับเป็นยี่สิบห้าเดือน ต่อมาเนื่องจากมีการปรับปรุงปฏิทินจีนและในบางปีอาจมีสิบสามเดือนในหนึ่งปี ระยะเวลาจ่านชุยจึงเปลี่ยนเป็นยี่สิบเจ็ดเดือน เพื่อว่าจะอย่างไรเสียก็ต้องมีอย่างน้อยหนึ่งเดือนในปีที่สาม และสาเหตุที่ระบุเป็น ‘สามปี’ นี้ เป็นไปตามแนวคิดและคำสอนของขงจื๊อที่ว่า พ่อแม่เลี้ยงดูเราจนสามปี ลูกจึงออกจากอ้อมอกพ่อแม่เดินเหินได้คล่อง ในระหว่างนั้นคอยอุ้มคอยดูแลสารพัด ผู้เป็นลูกก็ควรไว้ทุกข์เพื่อแสดงความกตัญญูให้บุพการีได้ในระยะเวลาเดียวกัน

    ในช่วงเวลาไว้ทุกข์นี้ มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติที่สืบทอดมาตามคำสอนของขงจื๊ออีกเช่นกัน กล่าวคือ สามวันแรกห้ามกินข้าวกินน้ำ พ้นสามวันกินข้าวต้มได้ พ้นสามเดือนจึงจะอาบน้ำสระผมได้ พ้นหนึ่งปีเปลี่ยนหมวกเป็นมัดมวยผมด้วยผ้ากระสอบ และพ้นสามปีจึงจะใช้ชีวิตปกติได้
    จริงแล้วในช่วงเวลาสามปีนี้ไม่ได้จำเป็นต้องสวมชุดไว้ทุกข์เต็มยศตลอดเวลา แต่จะใส่เฉพาะวันพิธีการสำคัญที่เกี่ยวข้อง นอกนั้นใส่ชุดกระสอบปกติไม่ต้องถือไม้เท้า หรือค่อยๆ เปลี่ยนเป็นชุดสีขาวเรียบง่ายได้ ทั้งนี้มีตามหลักเกณฑ์เหมือนกัน แต่ Storyฯ ไม่ได้หาข้อมูลลงลึกเพิ่มเติม

    ในเรื่องอาหารการกินมีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า ในระยะเวลาไว้ทุกข์ห้ามดื่มสุรา ส่วนอาหารที่กินเน้นข้าวต้มจืด พ้นหนึ่งปีจึงจะกินผักผลไม้ได้ พ้นสองปีจึงจะกินอาหารปรุงรสด้วยซีอิ๊วและน้ำส้มสายชูได้ พ้นสามปีจึงจะกินเนื้อสัตว์ได้ แต่ทั้งนี้ หลักการมีอีกว่า การไว้ทุกข์ไม่ควรทำให้ป่วย ดังนั้นในช่วงไว้ทุกข์นี้ ผู้ที่แก่ชรา (พ้นวัยเจ็ดสิบในสมัยโบราณถือว่าแก่มาก) ให้กินผักผลไม้กินเนื้อสัตว์ได้ และดื่มสุราได้ (เพราะสุราสมัยโบราณมักเป็นเหล้ายา) และผู้ป่วยหรือเด็กก็อนุโลมให้กินได้ตามความเหมาะสม เมื่อหายป่วยค่อยกลับมากินแบบไว้ทุกข์ตามเดิม

    นอกจากนี้ยังมีธรรมเนียมนอนเฝ้าโลงและเฝ้าหลุมศพ (ฝ่ายหญิงไม่ต้อง) โดยมีหลายระดับที่แตกต่างสำหรับบ้านนอก เช่นเป็นเพิงธรรมดา ต่อมาล้อมผนังได้ เสริมผนังด้วยดิน ปรับปรุงเป็นกระท่อมหลังเล็กผนังฉาบขี้เถ้า (เรียกว่า เอ้อซึ / 垩室) ปูพื้นนอนได้ ห้ามนอนเตียงจนพ้นสองปี ฯลฯ ซึ่งธรรมเนียมเหล่านี้ผ่อนคลายไปตามยุคสมัย Storyฯ ของไม่ลงรายละเอียด แต่ไม่เปลี่ยนคือในช่วงเวลาไว้ทุกข์นี้ ห้ามจัดงานสังสรรค์รื่นเริง ห้ามจัดงานมงคล สามีภรรยาห้ามมีเพศสัมพันธ์กันและอาจถึงขนาดต้องแยกห้องนอน กินอยู่อย่างสมถะ ไม่แต่งหน้าแต่งตาใส่เครื่องประดับ ฯลฯ

    ในเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> พระเอกต้องลาราชการไปไว้ทุกข์ให้พ่อที่บ้านเกิดถึงสามปี (ซึ่งก็คือยี่สิบเจ็ดเดือนตามที่อธิบายมาข้างต้น) เกณฑ์ปฏิบัตินี้เรียกว่า ‘ติงโยว’ (丁忧) ใช้สำหรับการไว้ทุกข์ให้พ่อของขุนนาง เป็นกฎเกณฑ์ที่มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นอันสืบเนื่องมาจากแนวคิดของขงจื๊อ ต่อมามีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ตามยุคสมัยจนหมายรวมถึงการไว้ทุกข์ให้แม่ด้วย

    ในช่วงติงโยวนี้ ผู้ที่ไว้ทุกข์อยู่ห้ามรับราชการ ห้ามสอบราชบัณฑิต เว้นแต่จะมีคำสั่งหรือพระราชโองการยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ (เช่น ในระหว่างทำศึก) และต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ หากไม่แจ้งหรือโกหกจะมีโทษ ทั้งนี้ เพราะการไว้ทุกข์เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูอันเป็นหนึ่งในจรรยาหลักที่พึงมีของข้าราชสำนัก

    แน่นอนว่าพิธีการ ธรรมเนียมปฏิบัติ และรายละเอียดขององค์ประกอบของชุดไว้ทุกข์มีรายละเอียดมากกว่าที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่ง Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าในเชิงลึกเพราะรายละเอียดเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเช่นกัน หากเพื่อนเพจท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมก็เม้นท์เข้ามาเล่าสู่กันฟังได้ค่ะ

    สัปดาห์หน้าเรามาคุยต่อถึงการไว้ทุกข์ระดับอื่น ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการนับลำดับญาติด้วย ติดตามต่อในตอนต่อไปนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/790545230_121948376
    https://kknews.cc/news/j5bqeq.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_12081296
    https://ctext.org/yili/sang-fu/zhs
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=880555&remap=gb
    https://baike.baidu.com/item/斩衰/1296602
    https://baike.baidu.com/item/丧服制度/5983791

    #องค์หญิงใหญ่ #ไว้ทุกข์จีน #อู่ฝู #ติงโยว #การลำดับญาติจีน #สาระจีน
    ระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ (ตอน 1) สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจถามเข้ามาถึงระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ และ Storyฯ ได้ดู <องค์หญิงใหญ่> ซึ่งในเรื่องนี้ พระเอกจำเป็นต้องกลับบ้านนอกไว้ทุกข์ให้กับพ่อที่ตายไปเป็นเวลาสามปีจึงจะกลับมาเมืองหลวงอีกครั้ง ทำให้พลาดโอกาสก้าวหน้าทางราชการไป วันนี้เราจึงมาคุยกันเรื่องระยะเวลาไว้ทุกข์นี้ บทความยาวมากจึงขอแบ่งเป็นสองตอนนะคะ การไว้ทุกข์เรียกว่า ‘โส่วเซี่ยว’ (守孝 แปลได้ว่า รักษาความกตัญญู) หรือมีอีกวิธีเรียกคือ ‘ฝูซาง’ (服丧 แปลได้ว่า สวมใส่ความทุกข์) ซึ่งสะท้อนถึงการแบ่งการไว้ทุกข์ออกเป็นห้าระดับตามชื่อของชุดไว้ทุกข์ หรือที่เรียกว่า ‘อู่ฝู’ (五服 แปลตรงตัวว่า ห้าชุด) โดยแต่ละระดับมีระยะเวลาไว้ทุกข์ที่ต่างกัน ‘อู่ฝู’ แรกปรากฏในบันทึกอี้หลี่ (仪礼) เป็นพิธีการสมัยราชวงศ์โจว โดยการแบ่งแยกระดับขั้นการไว้ทุกข์นี้เป็นไปตามลำดับความสนิทของญาติ และในรายละเอียดมีการจำแนกตามอายุ (เช่น ถึงวัยเติบใหญ่แล้วหรือไม่) และบรรดาศักดิ์ของผู้ตาย รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ ‘อู่ฝู’ มีอะไรบ้าง? รายละเอียดและระยะเวลาไว้ทุกข์เหล่านี้ต่อมาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และเนื่องจากหลายแหล่งข้อมูลมีความแตกต่าง Storyฯ ขออิงตามประมวลกฏหมายต้าหมิงหุ้ยเตี่ยนที่ถูกจัดทำขึ้นในรัชสมัยว่านลี่ขององค์จูอี้จวิน ซึ่งมีการแก้ไขไปจากเดิม ตัวอย่างเช่น เปลี่ยนการไว้ทุกข์ให้แม่มาเป็นแบบเดียวกับไว้ทุกข์ให้พ่อ เพื่อนเพจสามารถดูชุดไว้ทุกข์สมัยหมิงได้ตามรูปประกอบ 1 1. ระดับที่หนึ่ง เป็นการไว้ทุกข์ขั้นสูงสุด ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จ่านชุย’ (斩衰) สรุปโดยคร่าวคือทำจากชุดผ้ากระสอบดิบเนื้อหยาบ ไม่มีการเนาหรือเย็บ ไม่เย็บเก็บชายผ้า เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์สนิทสุดที่ถูกสะบั้นลง ใช้เชือกถักหยาบแทนเข็มขัด ถือไม้เท้ายาวถึงหน้าอกทำจากไม้ไผ่ เป็นสัญลักษณ์ว่าโศกเศร้าจนไม่สามารถยืนได้ (เด็กไม่ต้องถือไม้เท้า) รองเท้าทำจากหญ้า ชุดจ่านชุยเป็นชุดไว้ทุกข์สำหรับ: - ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อและแม่ ทั้งนี้ ‘แม่’ หมายรวมถึงภรรยาเอกของพ่อ (ขอเรียกว่า แม่ใหญ่) แม่ผู้เลี้ยงดู และแม่แท้ๆ ดังนั้น ลูกทุกคนรวมทั้งลูกของอนุภรรยาต้องไว้ทุกข์ให้แม่ใหญ่ด้วยจ่านชุย แต่ลูกของแม่ใหญ่ไม่ต้องไว้ทุกข์ให้อนุภรรยาของพ่อ (ขอเรียกว่าแม่เล็ก) ด้วยจ่านชุย อนึ่ง ในกรณีที่ลูกชายเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ ให้หลานชายคนโตสายภรรยาเอกทำหน้าที่ไว้ทุกข์แทน และในกรณีที่ทั้งลูกชายและหลานชายคนโตสายภรรยาเอกเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ ให้เหลนชายคนโตสายภรรยาเอกทำหน้าที่ไว้ทุกข์แทน - ลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน (คือยังไม่แต่งงานหรือเป็นหม้ายไร้บุตรแล้วกลับมาอยู่บ้าน) ไว้ทุกข์ตามเกณฑ์เดียวกับลูกชาย - ภรรยาและอนุภรรยา: ไว้ทุกข์ให้แก่สามี สำหรับชุดจ่านชุยของสตรีนั้น แต่งกายเหมือนชายแต่ใช้ผ้ากระสอบกว้างหนึ่งนิ้วคาดหน้าผาก ปักปิ่นที่ทำจากไม้ไผ่ และมีผ้าคลุมหัว ระยะเวลาสวมชุดจ่านชุยไว้ทุกข์คือสามปี แต่จริงๆ แล้ววิธีนับคือสองปีเต็มกับอีกหนึ่งเดือน แรกเริ่มนับเป็นยี่สิบห้าเดือน ต่อมาเนื่องจากมีการปรับปรุงปฏิทินจีนและในบางปีอาจมีสิบสามเดือนในหนึ่งปี ระยะเวลาจ่านชุยจึงเปลี่ยนเป็นยี่สิบเจ็ดเดือน เพื่อว่าจะอย่างไรเสียก็ต้องมีอย่างน้อยหนึ่งเดือนในปีที่สาม และสาเหตุที่ระบุเป็น ‘สามปี’ นี้ เป็นไปตามแนวคิดและคำสอนของขงจื๊อที่ว่า พ่อแม่เลี้ยงดูเราจนสามปี ลูกจึงออกจากอ้อมอกพ่อแม่เดินเหินได้คล่อง ในระหว่างนั้นคอยอุ้มคอยดูแลสารพัด ผู้เป็นลูกก็ควรไว้ทุกข์เพื่อแสดงความกตัญญูให้บุพการีได้ในระยะเวลาเดียวกัน ในช่วงเวลาไว้ทุกข์นี้ มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติที่สืบทอดมาตามคำสอนของขงจื๊ออีกเช่นกัน กล่าวคือ สามวันแรกห้ามกินข้าวกินน้ำ พ้นสามวันกินข้าวต้มได้ พ้นสามเดือนจึงจะอาบน้ำสระผมได้ พ้นหนึ่งปีเปลี่ยนหมวกเป็นมัดมวยผมด้วยผ้ากระสอบ และพ้นสามปีจึงจะใช้ชีวิตปกติได้ จริงแล้วในช่วงเวลาสามปีนี้ไม่ได้จำเป็นต้องสวมชุดไว้ทุกข์เต็มยศตลอดเวลา แต่จะใส่เฉพาะวันพิธีการสำคัญที่เกี่ยวข้อง นอกนั้นใส่ชุดกระสอบปกติไม่ต้องถือไม้เท้า หรือค่อยๆ เปลี่ยนเป็นชุดสีขาวเรียบง่ายได้ ทั้งนี้มีตามหลักเกณฑ์เหมือนกัน แต่ Storyฯ ไม่ได้หาข้อมูลลงลึกเพิ่มเติม ในเรื่องอาหารการกินมีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า ในระยะเวลาไว้ทุกข์ห้ามดื่มสุรา ส่วนอาหารที่กินเน้นข้าวต้มจืด พ้นหนึ่งปีจึงจะกินผักผลไม้ได้ พ้นสองปีจึงจะกินอาหารปรุงรสด้วยซีอิ๊วและน้ำส้มสายชูได้ พ้นสามปีจึงจะกินเนื้อสัตว์ได้ แต่ทั้งนี้ หลักการมีอีกว่า การไว้ทุกข์ไม่ควรทำให้ป่วย ดังนั้นในช่วงไว้ทุกข์นี้ ผู้ที่แก่ชรา (พ้นวัยเจ็ดสิบในสมัยโบราณถือว่าแก่มาก) ให้กินผักผลไม้กินเนื้อสัตว์ได้ และดื่มสุราได้ (เพราะสุราสมัยโบราณมักเป็นเหล้ายา) และผู้ป่วยหรือเด็กก็อนุโลมให้กินได้ตามความเหมาะสม เมื่อหายป่วยค่อยกลับมากินแบบไว้ทุกข์ตามเดิม นอกจากนี้ยังมีธรรมเนียมนอนเฝ้าโลงและเฝ้าหลุมศพ (ฝ่ายหญิงไม่ต้อง) โดยมีหลายระดับที่แตกต่างสำหรับบ้านนอก เช่นเป็นเพิงธรรมดา ต่อมาล้อมผนังได้ เสริมผนังด้วยดิน ปรับปรุงเป็นกระท่อมหลังเล็กผนังฉาบขี้เถ้า (เรียกว่า เอ้อซึ / 垩室) ปูพื้นนอนได้ ห้ามนอนเตียงจนพ้นสองปี ฯลฯ ซึ่งธรรมเนียมเหล่านี้ผ่อนคลายไปตามยุคสมัย Storyฯ ของไม่ลงรายละเอียด แต่ไม่เปลี่ยนคือในช่วงเวลาไว้ทุกข์นี้ ห้ามจัดงานสังสรรค์รื่นเริง ห้ามจัดงานมงคล สามีภรรยาห้ามมีเพศสัมพันธ์กันและอาจถึงขนาดต้องแยกห้องนอน กินอยู่อย่างสมถะ ไม่แต่งหน้าแต่งตาใส่เครื่องประดับ ฯลฯ ในเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> พระเอกต้องลาราชการไปไว้ทุกข์ให้พ่อที่บ้านเกิดถึงสามปี (ซึ่งก็คือยี่สิบเจ็ดเดือนตามที่อธิบายมาข้างต้น) เกณฑ์ปฏิบัตินี้เรียกว่า ‘ติงโยว’ (丁忧) ใช้สำหรับการไว้ทุกข์ให้พ่อของขุนนาง เป็นกฎเกณฑ์ที่มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นอันสืบเนื่องมาจากแนวคิดของขงจื๊อ ต่อมามีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ตามยุคสมัยจนหมายรวมถึงการไว้ทุกข์ให้แม่ด้วย ในช่วงติงโยวนี้ ผู้ที่ไว้ทุกข์อยู่ห้ามรับราชการ ห้ามสอบราชบัณฑิต เว้นแต่จะมีคำสั่งหรือพระราชโองการยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ (เช่น ในระหว่างทำศึก) และต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ หากไม่แจ้งหรือโกหกจะมีโทษ ทั้งนี้ เพราะการไว้ทุกข์เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูอันเป็นหนึ่งในจรรยาหลักที่พึงมีของข้าราชสำนัก แน่นอนว่าพิธีการ ธรรมเนียมปฏิบัติ และรายละเอียดขององค์ประกอบของชุดไว้ทุกข์มีรายละเอียดมากกว่าที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่ง Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าในเชิงลึกเพราะรายละเอียดเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเช่นกัน หากเพื่อนเพจท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมก็เม้นท์เข้ามาเล่าสู่กันฟังได้ค่ะ สัปดาห์หน้าเรามาคุยต่อถึงการไว้ทุกข์ระดับอื่น ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการนับลำดับญาติด้วย ติดตามต่อในตอนต่อไปนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/790545230_121948376 https://kknews.cc/news/j5bqeq.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/baijiahao_12081296 https://ctext.org/yili/sang-fu/zhs https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=880555&remap=gb https://baike.baidu.com/item/斩衰/1296602 https://baike.baidu.com/item/丧服制度/5983791 #องค์หญิงใหญ่ #ไว้ทุกข์จีน #อู่ฝู #ติงโยว #การลำดับญาติจีน #สาระจีน
    WWW.SOHU.COM
    度华年:了解裴文宣父亲对老婆好的方式 才懂前世驸马公主注定分离_李蓉跟_裴礼_事情
    裴礼之的家庭观就是, 身为丈夫就应当保护妻儿给她最好的生活,不管家里家外发生的事情都揽在了自己身上,所有的责任义务也都是自己一个人扛。 而这在李蓉看来,是你站在了我的对立面,是你不再要我,是你放弃了我们…
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 651 มุมมอง 0 รีวิว