• ⚜️ #อดีตชาติหลวงพ่อฤาษี 13 ชาติ..⚜️

    🔱#ที่เกิดตั้งแต่สมัยโยนกนคร #จนถึงรัตนโกสินทร์🔱

    ลงมาเกิดเพื่อรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น และเพื่อช่วยเหลือคนไทย และช่วยให้พระพุทธศาสนามีอายุครบ 5000 ปี

    ✴️ #วาระที่ 1 เกิดเป็นพระเจ้ามังราย รัชกาลที่ 2 แห่งโยนกนคร เป็นลูกชายพระเจ้าอชุตราช ในชาตินั้นท่านเป็นผู้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่ดอยตุง โดยการนำมาของพระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์

    ✴️ #วาระที่ 2 เกิดสมัยโยนก เป็นเณรน้อยอายุ 7 ปีทรงฌานสมาบัติ แต่ได้ถูกขอมดำกระทำย่ำยี เวลานั้นขอมดำมายึดเมืองโยนกนครได้แล้ว แล้วทำการกดขี่ข่มเหงรังแกคนไทย
    เณรจึงเข้าฌานสมาบัติ ตั้งจิตอธิษฐานว่า เกิดคราวหน้าขอให้ได้เกิดมาเป็นคนไทย และได้ช่วยคนไทยทุกแง่ทุกมุม
    มิไม่ใช่เฉพาะการรบ การเศรษฐกิจ การปกครอง แม้แต่การรบทุกอย่างให้ครบถ้วน ให้คนไทยพ้นจากความเป็นทาส "พอตั้งจิตอธิษฐานก็ไม่ถอนจากฌานสมาบัติ ก็นั่งทรงฌานอย่างนั้นจนตาย แล้วไปเกิดเป็นพรหม ชั้นที่ 11

    ✴️ #การเกิดครั้งที่3 หลังจากตายจากเณรน้อย ไปเป็นพรหมชั้นที่11ได้เพียง1ปีเศษ ก็ลงมาเกิดเป็น "พระเจ้าพรหม มหาราช" เป็นโอรสของพระเจ้าพังคราช รัชกาลที่ 37 ในสมัยโยนกนคร มีพี่ชายชื่อทุกภิขะ( บริเวณพระธาตุจอมกิตติ ดอยตุง เป็นเขตเมืองโยนกนคร) เกิดพร้อมสหชาติที่เป็นพรหม เทวดา ลงมาเกิดพร้อมกัน 250 คน ทั้ง 250 คน เกิดเป็นผู้ชายทั้งหมด พรหมอีกองค์นึงเกิดเป็นช้างประกายแก้ว ช้างคู่บารมีพระเจ้าพรหม ลงมาเกิดเพื่อกู้ชาติให้พ้นความเป็นทาสจากขอมดำ และทำสำเร็จด้วย ทุกวันนี้วันอาสาฬหบูชาที่วัดท่าซุงก็มีการแห่ชัยชนะพระเจ้าพรหมทุกๆปี

    ✴️ #การเกิดในวาระที่4 หลังจากที่ตายจากการเป็นพระเจ้าพรหมสมัยโยนก แล้วเข้าฌาณตาย กลับไปเป็นพรหม เวลาผ่านไปอีก 800 ปีลงมาเกิดเป็นพระร่วงโรจนฤทธิ์ ตอนเด็กมีนามว่าอรุณกุมาร เป็นผู้ที่มีฤทธิ์มาก มีวิชาอาคม มีวาจาสิทธิ์ สามารถเสกขอมให้เป็นหินได้ และขยายอาณาเขตของประเทศไทย (ตอนนั้นยังไม่เป็นเทศไทย )กว้างใหญ่ไพศาล ยึดมอญ พม่าขอมไว้ได้หมด อาณาจักรยาวเหยียด เวลานั้นคือก่อนเมืองสุโขทัย 700 ปีเศษ ก่อนหน้าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ 700ประมาณปีเศษ

    ✴️ #วาระที่5 เกิดเป็น"พ่อขุนศรีเมืองมาน"( เป็นพ่อของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แห่งอณาจักรสุโขทัย) ตายจากพระร่วงโรจนฤทธิ์ก็เข้าฌานตาย กลับไปเป็นพรหมเช่นเดิม กลับมาเกิดวาระที่5 เป็นพ่อขุนศรีเมืองมาน มีสหชาติเกิดมาด้วยคือ พ่อขุนน้าวนําถมลงมาช่วยกู้ชาติไทยจากขอมดำ ขยายอาณาเขตประเทศไทยไปถึงสิงคโปร์ มีภรรยาชื่อพรรณวดีศรีโสภาศ เป็นเมียเอก และมีเมียราษฏร์อีก 29 คน พอเมียเอกตาย ก็บวชไม่สึกอีกเลย เข้าฌานตายแล้วไปเกิดเป็นพรหมตามเดิม

    ✴️ #วาระที่6 "ขุนหลวงพระงั่ว" รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาคนไทยเกิดแบ่งเป็น 2 พวก จึงต้องลงมาเกิดเพื่อรวมไทยให้เป็น1เดียว ลงมาเกิดในราชวงศ์อู่ทอง เป็น"ขุนหลวงพระงั่ว" มาปลุกจิตสำนึกคนไทยให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ จึงนิมนต์พระสงฆ์มาร่าง"ไตรภูมิพระร่วง
    ไตรภูมิพระร่วง พระร่วงไม่ได้ทำ
    ท่านเป็นเพียงแต่ศาสนูปถัมภ์
    ไตรภูมิพระร่วง เป็นการร่วมมือกันระหว่างสุโขทัยและกรุงศรี
    และยังได้ร่วมกันสร้างพระพุทธชินราชพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศากยมุนีขึ้นมาเป็นมิ่งขวัญของเมืองไทย เป็นการแสดงสัญลักษณ์ว่าประเทศไทยจะทรงตัวได้ด้วยเหตุ 3 อย่างด้วยกัน
    คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
    พระพุทธชินราช หมายถึง พระมหากษัตริย์ พระพุทธชินสีห์ หมายถึง พระศาสนา พระศากยมุนี หมายถึง ชาติ
    การสร้างครั้งนี้ก็เป็นหน้าที่ของท้าวโกสีย์สักกะเทวราชให้พระวิษณุกรรมมาช่วย ขุนหลวงพระงั่วได้มารวมสุโขทัยกับอยุธยาเป็นประเทศเดียวกัน

    ✴️ #เกิดวาระที่7 ต่อมาลงมาเกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงศรีฯ ครั้งนี้เป็นลูกชาวบ้าน แต่เป็นลูกมหาเศรษฐี มีแม่ชื่อปิ่นทอง พ่อชื่อกองแก้ว ท่านเองเป็นลูกชายชื่ออำไพ ลงมาช่วยคน ให้เงินให้ทอง ให้ที่ทำกิน ช่วยการเกษตร ช่วยทุกสิ่งทุกอย่าง ให้การศึกษา จนคนไทยเป็นปึกแผ่นแน่นหนาพอ ประชาชนมีความสุข และท่านก็ตายไปเกิดเป็นพรหมตามเดิม

    ✴️ #วาระที่ 8 เกิดมาในตระกูลของแม่ทัพสมเด็จพระพันวสา คือสมเด็จพระอินทราธิราช มีนามว่า "ขุนไกร" (#ขุนแผน) เป็นอันว่าชาตินี้ขุนแผนต้องรวบรวมไทยอาศัยที่มีวิชาการมาก เป็นนักรบเก่ง
    ล่องหนหายตัวได้ สะเดาะกลอนได้
    ทำหุ่นพยนต์ได้ ทำอะไรได้แปลกๆ
    การยกทัพไปก็ไม่ต้องใช้กำลังคนมาก
    ก็สามารถจะสู้ข้าศึกได้

    ✴️ #วาระที่ 9 เกิดมาเป็นลูกกษัตริย์ มีนามว่าพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อพระบรมไตรโลกนาสวรรนคตก็ไปเป็นพรหมตามเดิมไม่ช้าไม่นานก็ต้องเสด็จลงมาเกิดอีก

    ✴️ #วาระที่10 เกิดสมัยพระนารายณ์ ท่านลงมาเกิดเป็น"ขุนเหล็ก"
    หรือพระยาโกษาเหล็ก เกิดควบคู่กับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช รุ่นราวคราวเดียวกัน เป็นเพื่อนเล่นกัน ขุนเหล็กมีน้องชายชื่อว่าขุนปาน หรือพระยาโกษาปาน ทั้งสองพระองค์ เป็นที่ไว้วางใจของสมเด็จพระนารายณ์มาก
    #บั้นปลายชีวิตลากิจราชการไปจำศีลเจริญภาวนาวิปัสสนาญาณ ให้ทาน ตายจากเจ้าพระยาโกษาเหล็ก ก็เข้าฌานกลับไปเป็นพรหมตามเดิม
    (#ท่านไม่ได้ตายตามประวัติศาสตร์เขียนไว้หรอกนะ)

    ✴️ #วาระที่11 ลงมาเกิดมาเป็นขุนดาบคู่ใจของพระเจ้าตากสินมหาราช คือพระยาศรีสิทธิสงคราม อยู่ในกองทัพหลวงประจำองค์พระเจ้าตากสินมหาราชสมัยกรุงธนบุรี ก่อนกรุงศรีจะแตก เป็นกำนันจัน ชื่อว่า #จันหนวดเขี้ยว เป็นที่รักของประชาชน ต่อมาค่ายบางระจันแตก
    ✴️ #นายจันหนวดเขี้ยวไม่ได้ตายไปตามประวัติศาสตร์ที่เขียน
    นายจันหนวดเขี้ยวจึงมารวมกำลังกับพระเจ้าตากสินกู้ชาติ ต่อมาพระเจ้าตากสินจึงเปลี่ยนชื่อให้จากกำนันจัน มาเป็นพระยาศรีสิทธิสงคราม ประจำกองทัพหลวง (ด้วง- นายจันหนวดเขี้ยว- พระยาศรีสิทธิสงคราม -เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก-และ #สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

    ✴️ #วาระที่12 มาเกิดเป็น รัชกาลที่ 5 แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์

    ✴️ #วาระที่13 ชาติสุดท้ายเกิดมาเป็น
    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

    🖋️📚หนังสือเรื่องจริงอิงนิทานพิเศษ
    ⚜️พระราชพรหมยานเถระ (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)​⚜️
    🖋️📚คัดลอกแบ่งปันเป็นธรรมทานโดย
    🧘จิตหนึ่งประภัสสร สุดยอดคือพระนิพพาน
    ⚜️ #อดีตชาติหลวงพ่อฤาษี 13 ชาติ..⚜️ 🔱#ที่เกิดตั้งแต่สมัยโยนกนคร #จนถึงรัตนโกสินทร์🔱 ลงมาเกิดเพื่อรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น และเพื่อช่วยเหลือคนไทย และช่วยให้พระพุทธศาสนามีอายุครบ 5000 ปี ✴️ #วาระที่ 1 เกิดเป็นพระเจ้ามังราย รัชกาลที่ 2 แห่งโยนกนคร เป็นลูกชายพระเจ้าอชุตราช ในชาตินั้นท่านเป็นผู้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่ดอยตุง โดยการนำมาของพระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ ✴️ #วาระที่ 2 เกิดสมัยโยนก เป็นเณรน้อยอายุ 7 ปีทรงฌานสมาบัติ แต่ได้ถูกขอมดำกระทำย่ำยี เวลานั้นขอมดำมายึดเมืองโยนกนครได้แล้ว แล้วทำการกดขี่ข่มเหงรังแกคนไทย เณรจึงเข้าฌานสมาบัติ ตั้งจิตอธิษฐานว่า เกิดคราวหน้าขอให้ได้เกิดมาเป็นคนไทย และได้ช่วยคนไทยทุกแง่ทุกมุม มิไม่ใช่เฉพาะการรบ การเศรษฐกิจ การปกครอง แม้แต่การรบทุกอย่างให้ครบถ้วน ให้คนไทยพ้นจากความเป็นทาส "พอตั้งจิตอธิษฐานก็ไม่ถอนจากฌานสมาบัติ ก็นั่งทรงฌานอย่างนั้นจนตาย แล้วไปเกิดเป็นพรหม ชั้นที่ 11 ✴️ #การเกิดครั้งที่3 หลังจากตายจากเณรน้อย ไปเป็นพรหมชั้นที่11ได้เพียง1ปีเศษ ก็ลงมาเกิดเป็น "พระเจ้าพรหม มหาราช" เป็นโอรสของพระเจ้าพังคราช รัชกาลที่ 37 ในสมัยโยนกนคร มีพี่ชายชื่อทุกภิขะ( บริเวณพระธาตุจอมกิตติ ดอยตุง เป็นเขตเมืองโยนกนคร) เกิดพร้อมสหชาติที่เป็นพรหม เทวดา ลงมาเกิดพร้อมกัน 250 คน ทั้ง 250 คน เกิดเป็นผู้ชายทั้งหมด พรหมอีกองค์นึงเกิดเป็นช้างประกายแก้ว ช้างคู่บารมีพระเจ้าพรหม ลงมาเกิดเพื่อกู้ชาติให้พ้นความเป็นทาสจากขอมดำ และทำสำเร็จด้วย ทุกวันนี้วันอาสาฬหบูชาที่วัดท่าซุงก็มีการแห่ชัยชนะพระเจ้าพรหมทุกๆปี ✴️ #การเกิดในวาระที่4 หลังจากที่ตายจากการเป็นพระเจ้าพรหมสมัยโยนก แล้วเข้าฌาณตาย กลับไปเป็นพรหม เวลาผ่านไปอีก 800 ปีลงมาเกิดเป็นพระร่วงโรจนฤทธิ์ ตอนเด็กมีนามว่าอรุณกุมาร เป็นผู้ที่มีฤทธิ์มาก มีวิชาอาคม มีวาจาสิทธิ์ สามารถเสกขอมให้เป็นหินได้ และขยายอาณาเขตของประเทศไทย (ตอนนั้นยังไม่เป็นเทศไทย )กว้างใหญ่ไพศาล ยึดมอญ พม่าขอมไว้ได้หมด อาณาจักรยาวเหยียด เวลานั้นคือก่อนเมืองสุโขทัย 700 ปีเศษ ก่อนหน้าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ 700ประมาณปีเศษ ✴️ #วาระที่5 เกิดเป็น"พ่อขุนศรีเมืองมาน"( เป็นพ่อของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แห่งอณาจักรสุโขทัย) ตายจากพระร่วงโรจนฤทธิ์ก็เข้าฌานตาย กลับไปเป็นพรหมเช่นเดิม กลับมาเกิดวาระที่5 เป็นพ่อขุนศรีเมืองมาน มีสหชาติเกิดมาด้วยคือ พ่อขุนน้าวนําถมลงมาช่วยกู้ชาติไทยจากขอมดำ ขยายอาณาเขตประเทศไทยไปถึงสิงคโปร์ มีภรรยาชื่อพรรณวดีศรีโสภาศ เป็นเมียเอก และมีเมียราษฏร์อีก 29 คน พอเมียเอกตาย ก็บวชไม่สึกอีกเลย เข้าฌานตายแล้วไปเกิดเป็นพรหมตามเดิม ✴️ #วาระที่6 "ขุนหลวงพระงั่ว" รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาคนไทยเกิดแบ่งเป็น 2 พวก จึงต้องลงมาเกิดเพื่อรวมไทยให้เป็น1เดียว ลงมาเกิดในราชวงศ์อู่ทอง เป็น"ขุนหลวงพระงั่ว" มาปลุกจิตสำนึกคนไทยให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ จึงนิมนต์พระสงฆ์มาร่าง"ไตรภูมิพระร่วง ไตรภูมิพระร่วง พระร่วงไม่ได้ทำ ท่านเป็นเพียงแต่ศาสนูปถัมภ์ ไตรภูมิพระร่วง เป็นการร่วมมือกันระหว่างสุโขทัยและกรุงศรี และยังได้ร่วมกันสร้างพระพุทธชินราชพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศากยมุนีขึ้นมาเป็นมิ่งขวัญของเมืองไทย เป็นการแสดงสัญลักษณ์ว่าประเทศไทยจะทรงตัวได้ด้วยเหตุ 3 อย่างด้วยกัน คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ พระพุทธชินราช หมายถึง พระมหากษัตริย์ พระพุทธชินสีห์ หมายถึง พระศาสนา พระศากยมุนี หมายถึง ชาติ การสร้างครั้งนี้ก็เป็นหน้าที่ของท้าวโกสีย์สักกะเทวราชให้พระวิษณุกรรมมาช่วย ขุนหลวงพระงั่วได้มารวมสุโขทัยกับอยุธยาเป็นประเทศเดียวกัน ✴️ #เกิดวาระที่7 ต่อมาลงมาเกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงศรีฯ ครั้งนี้เป็นลูกชาวบ้าน แต่เป็นลูกมหาเศรษฐี มีแม่ชื่อปิ่นทอง พ่อชื่อกองแก้ว ท่านเองเป็นลูกชายชื่ออำไพ ลงมาช่วยคน ให้เงินให้ทอง ให้ที่ทำกิน ช่วยการเกษตร ช่วยทุกสิ่งทุกอย่าง ให้การศึกษา จนคนไทยเป็นปึกแผ่นแน่นหนาพอ ประชาชนมีความสุข และท่านก็ตายไปเกิดเป็นพรหมตามเดิม ✴️ #วาระที่ 8 เกิดมาในตระกูลของแม่ทัพสมเด็จพระพันวสา คือสมเด็จพระอินทราธิราช มีนามว่า "ขุนไกร" (#ขุนแผน) เป็นอันว่าชาตินี้ขุนแผนต้องรวบรวมไทยอาศัยที่มีวิชาการมาก เป็นนักรบเก่ง ล่องหนหายตัวได้ สะเดาะกลอนได้ ทำหุ่นพยนต์ได้ ทำอะไรได้แปลกๆ การยกทัพไปก็ไม่ต้องใช้กำลังคนมาก ก็สามารถจะสู้ข้าศึกได้ ✴️ #วาระที่ 9 เกิดมาเป็นลูกกษัตริย์ มีนามว่าพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อพระบรมไตรโลกนาสวรรนคตก็ไปเป็นพรหมตามเดิมไม่ช้าไม่นานก็ต้องเสด็จลงมาเกิดอีก ✴️ #วาระที่10 เกิดสมัยพระนารายณ์ ท่านลงมาเกิดเป็น"ขุนเหล็ก" หรือพระยาโกษาเหล็ก เกิดควบคู่กับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช รุ่นราวคราวเดียวกัน เป็นเพื่อนเล่นกัน ขุนเหล็กมีน้องชายชื่อว่าขุนปาน หรือพระยาโกษาปาน ทั้งสองพระองค์ เป็นที่ไว้วางใจของสมเด็จพระนารายณ์มาก #บั้นปลายชีวิตลากิจราชการไปจำศีลเจริญภาวนาวิปัสสนาญาณ ให้ทาน ตายจากเจ้าพระยาโกษาเหล็ก ก็เข้าฌานกลับไปเป็นพรหมตามเดิม (#ท่านไม่ได้ตายตามประวัติศาสตร์เขียนไว้หรอกนะ) ✴️ #วาระที่11 ลงมาเกิดมาเป็นขุนดาบคู่ใจของพระเจ้าตากสินมหาราช คือพระยาศรีสิทธิสงคราม อยู่ในกองทัพหลวงประจำองค์พระเจ้าตากสินมหาราชสมัยกรุงธนบุรี ก่อนกรุงศรีจะแตก เป็นกำนันจัน ชื่อว่า #จันหนวดเขี้ยว เป็นที่รักของประชาชน ต่อมาค่ายบางระจันแตก ✴️ #นายจันหนวดเขี้ยวไม่ได้ตายไปตามประวัติศาสตร์ที่เขียน นายจันหนวดเขี้ยวจึงมารวมกำลังกับพระเจ้าตากสินกู้ชาติ ต่อมาพระเจ้าตากสินจึงเปลี่ยนชื่อให้จากกำนันจัน มาเป็นพระยาศรีสิทธิสงคราม ประจำกองทัพหลวง (ด้วง- นายจันหนวดเขี้ยว- พระยาศรีสิทธิสงคราม -เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก-และ #สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ✴️ #วาระที่12 มาเกิดเป็น รัชกาลที่ 5 แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ ✴️ #วาระที่13 ชาติสุดท้ายเกิดมาเป็น หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง 🖋️📚หนังสือเรื่องจริงอิงนิทานพิเศษ ⚜️พระราชพรหมยานเถระ (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)​⚜️ 🖋️📚คัดลอกแบ่งปันเป็นธรรมทานโดย 🧘จิตหนึ่งประภัสสร สุดยอดคือพระนิพพาน
    0 Comments 0 Shares 393 Views 0 Reviews
  • กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
    ในพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา รัชกาลที่ 10
    กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ โดยมีหลักฐานชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยา และในสมัยรัตนโกสินทร์ จะเคลื่อนขบวนตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นหลัก
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์ได้ทรงสร้างเรือขึ้นมาใหม่ 67 ลำ ซึ่งมีทั้งเรือพระที่นั่ง เรือขบวนปิดทอง เรือพิฆาต และเรือแซง ซึ่งเป็นเรือที่สำคัญ ๆ เป็นที่รู้จักมาจนเท่าทุกวันนี้ ในรัชกาลต่อ ๆ มาก็ยังมีการสร้างเรือเพิ่มขึ้นมาอีก
    โดยเรือที่สำคัญ ๆ และตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่
    เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ 3 ได้ใช้เป็นเรือพระที่นั่งทรงในรัชกาลที่ 4 และต่อมาในรัชกาลที่ 6 ได้สร้างลำใหม่ขึ้นแทนลำเดิม,
    เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 และ
    เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อแทนลำเดิมที่ชำรุด สร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6
    รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีการสร้างเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก
    สำหรับในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคทั้งสิ้น 17 ครั้ง
    ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน มีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค 2 ครั้ง ดังนี้
    กระบวนพยุหยาตราชลมารค (ใหญ่) จากท่าวาสุกรี ไปยังท่าราชวรดิฐ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (เลื่อนการจัดกระบวนจากเดิมในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เนื่องจากกระแสน้ำที่เพิ่มระดับในแม่น้ำเจ้าพระยา‬)
    กระบวนพยุหยาตราชลมารค (ใหญ่) จากท่าวาสุกรี ไปในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2567
    กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ จะมีเรือพระราชพิธีทั้งสิ้น 52 ลำ จัดเป็น 5 ริ้วขบวน ความยาว 1,200 เมตร กว้าง 90 เมตร และใช้กำลังพลประจำเรือในขบวนเรือพระราชพิธี รวม 2,200 นาย โดยประชาชนสามารถรับชมความงดงามของเรือพระราชพิธีได้ตลอด 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สะพานพระราม 8 ไปจนถึงวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
    กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา รัชกาลที่ 10 กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ โดยมีหลักฐานชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยา และในสมัยรัตนโกสินทร์ จะเคลื่อนขบวนตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นหลัก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์ได้ทรงสร้างเรือขึ้นมาใหม่ 67 ลำ ซึ่งมีทั้งเรือพระที่นั่ง เรือขบวนปิดทอง เรือพิฆาต และเรือแซง ซึ่งเป็นเรือที่สำคัญ ๆ เป็นที่รู้จักมาจนเท่าทุกวันนี้ ในรัชกาลต่อ ๆ มาก็ยังมีการสร้างเรือเพิ่มขึ้นมาอีก โดยเรือที่สำคัญ ๆ และตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ 3 ได้ใช้เป็นเรือพระที่นั่งทรงในรัชกาลที่ 4 และต่อมาในรัชกาลที่ 6 ได้สร้างลำใหม่ขึ้นแทนลำเดิม, เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 และ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อแทนลำเดิมที่ชำรุด สร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีการสร้างเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก สำหรับในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคทั้งสิ้น 17 ครั้ง ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน มีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค 2 ครั้ง ดังนี้ กระบวนพยุหยาตราชลมารค (ใหญ่) จากท่าวาสุกรี ไปยังท่าราชวรดิฐ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (เลื่อนการจัดกระบวนจากเดิมในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เนื่องจากกระแสน้ำที่เพิ่มระดับในแม่น้ำเจ้าพระยา‬) กระบวนพยุหยาตราชลมารค (ใหญ่) จากท่าวาสุกรี ไปในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2567 กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ จะมีเรือพระราชพิธีทั้งสิ้น 52 ลำ จัดเป็น 5 ริ้วขบวน ความยาว 1,200 เมตร กว้าง 90 เมตร และใช้กำลังพลประจำเรือในขบวนเรือพระราชพิธี รวม 2,200 นาย โดยประชาชนสามารถรับชมความงดงามของเรือพระราชพิธีได้ตลอด 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สะพานพระราม 8 ไปจนถึงวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
    0 Comments 0 Shares 291 Views 21 0 Reviews
  • ตำรับยารักษา “โรคฝีดาษ” จากศิลาจารึก/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    สำหรับตำรับยาโรคระบาดในประเทศไทยนั้น ได้ยึดถึอเอาพระคัมภีร์ตักกะศิลาเป็นกระบวนการรักษาโรค โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนด้วยยา 7 ขนาน กล่าวคือ

    ขั้นตอนแรก ตำรับยาสำหรับกระทุ้งพิษไข้ โดยใช้ตำรับยาห้าราก

    ขั้นตอนที่สอง ตำรับยาสำหรับแปรไข้ภายในและรักษาผิวภายนอก มีตำรับยา 5 ขนาน คือ ตำรับยาประสระผิว ตำรับยาพ่นผิวภายนอก ตำรับยาพ่นและยากิน และตำรับยาแปรไข้จากร้ายให้เป็นดี และตำรับยาพ่นแปรผิวภายนอก

    ขั้นตอนสุดท้าย ตำรับยาครอบไข้[1]

    ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นอยู่ในตำรายาหลวง ชื่อตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ สมัยรัชกาลที่ 5 โดยในตำราดังกล่าวได้กล่าวถึงพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ซึ่งประพันธ์โดยเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ตั้งแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และยังเป็นตำราสำหรับการเรียนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์มาจนถึงปัจจุบัน

    ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทรงมีพระบรมราโชบายให้มีตำรายาจารึกเอาไว้ในแผ่นศิลาประดับอยู่ตามผนังและเสาของวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) พระราชทานเป็นมรดกให้กับประชาชนชาวสยามสืบไปตราบนานเท่านาน รวมถึงวิวัฒนาการที่ลดทอนยา 7 ขนาน 3 ขั้นตอน มาเหลือ “ตำรับยาเดียว” ในการรับมือโรคระบาดหลายชนิดด้วย ซึ่งปัจจุบันคนในวงการแพทย์แผนไทยเรียกว่า “ยาขาว”

    ตำรับยาขาวของวัดโพธิ์นี้ได้ระบุเอาไว้ในตำราว่าแผ่นศิลาแผ่นนี้ได้ถูกรื้อออกมาจากศาลาต่างๆ แต่โชคดีได้บันทึกตำรับยาสำคัญนี้เอาไว้ในตำรายาของวัดโพธิ์ จึงทำให้สามารถตกทอดมาได้จนถึงทุกวันนี้ โดยตำรายาวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ฉบับเก่า 51 ปีที่แล้ว คือ พ.ศ. 2516 ได้บันทึกตำรับยานี้เอาไว้อยู่ที่หน้า 62-64[2]

    ตำรับยาขนานนี้ได้บรรยายสรรพคุณว่า เพียงตำรับยาเดียวสามารถ “แก้สรรพไข้จากโรคระบาด” โดยตำรายาศิลาจารึกบันทึกว่าตำรับยานี้ใช้สมุนไพร 15 ตัวและมีสรรพคุณแก้สรรพไข้จากโรคระบาดหลายชนิด โดยระบุในบันทึกของแผ่นศิลาความตอนนี้ว่า

    “ขนาน 1 เอา กระเช้าผีมด หัวคล้า รากทองพันชั่ง รากชา รากง้วนหมู รากส้มเส็ด รากข้าวไหม้ รากจิงจ้อ รากสวาด รากสะแก รากมะนาว รากหญ้านาง รากฟักข้าว รากผักสาบ รากผักหวานบ้าน เอาเสมอภาคทำเปนจุณ บดทำแท่ง ไว้ละลายน้ำซาวข้าวกินแก้ไข้รากสาด ออกดำ แดง ขาว และแก้ไข้ประกายดาษ ไข้หงษ์ระทด และแก้ไข้ไฟเดือนห้า ไข้ละอองไฟฟ้า และแก้ไข้มหาเมฆ มหานิล ซึ่งกล่าวมาแล้วนั้น และยาขนานนี้แก้ได้ทุกประการ ตามอาจารย์กล่าวไว้ ให้แพทย์ทั้งหลายรู้ว่าเปน มหาวิเศษนัก“[2]

    แม้ในความจริงแล้วจะมีขั้นตอนและวิวัฒนาการในการรักษาโรคระบาดหลายชนิดในภาพรวม แต่ภายใต้พระคัมภีร์ตักกะศิลา ได้วางหลักถึง “รสยา” สำหรับรับมือโรคระบาดว่ามีข้อห้ามและสิ่งที่ควรจะลองดูในเวลาติดเชื้ออันจากเกิดโรคระบาดเอาไว้ความว่า

    ห้ามใช้ยาหรือการกระทำที่มีรสกระตุ้นธาตุไฟหรือระบบความร้อน (ปิตตะ) แต่ให้ยาที่มีลดธาตุไฟหรือระบบความร้อน หากไม่ฟังตามนี้อาจจะถึงแก่ความตายได้ ความว่า

    “ไข้จำพวกนี้ย่อมห้ามมิให้วางยาร้อนเผ็ดเปรี้ยว อย่าให้ประคบนวด อย่าปล่อยปลิง อย่าให้กอกเอาโลหิตออก อย่าให้ถูกน้ำมัน เหล้าก็อย่าให้ถูก น้ำร้อนก็อย่าให้อาบ อย่าให้กิน ส้มมีควันมีผิวกะทิน้ำมันห้ามิให้กิน ถ้าใครไม่รู้ทำผิดดังกล่าวมานี้ ก็ถึงความตายดังนี้แล”[3]

    ต่อมาเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ได้เรียบเรียงเอาไว้ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในเรื่อง “ว่าด้วยคัมภีร์ตักกะศิลา” ว่าช่วงเวลาที่มีกำเดาหรือเปลวแห่งความร้อนนี้ ไม่ว่าจะวัดว่ามีไข้จากภายนอก หรือรู้สึกครั่นเนื้อตัวอยู่ภายใน ปวดเมื่อยเนื้อตัว หรือมีผื่นขึ้น จะไม่ใช้ยารสร้อน ห้ามเหล้า น้ำมัน กอกเลือด นวด หรือปล่อยปลิงเพื่อเอาเลือดออก หากไม่ฟังให้ยาหรือการดำเนินการเช่นดังกล่าวนี้ อาจแก้กันไม่ทัน ความว่า

    “ถ้าแรกล้มไข้ ท่านมากล่าวไว้ ให้พิจารณา ภายนอกภายใน ให้ร้อนหนักหนา เมื่อยขบกายา ตาแดงเป็นสาย บ้างเย็นบ้างร้อน เปนบั้นเป็นท่อน ไปทั่วทั้งกาย ขึ้นมาให้เห็น เปนวงเปนสาย เปนริ้วยาวรี ลางบางไม่ขึ้น เปนวงฟกลื่น กายหมดดิบดี หมอมักว่าเปนสันนิบาติก็มี ให้ยาผิดที แก้กันไม่ทัน อย่าเพ่อกินยา ร้อนแรงแขงกล้า ส้มเหล้าน้ำมัน เอาโลหิตออก กอกเลือดนวดฟั้น ปล่อยปลิงมิทัน แก้กันเลยนา” [4]

    ด้วยประสบการณ์ของเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ที่เกิดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้รวบยอดสรุปถ่ายทอดมาเป็นความรู้ว่า ในยามที่ยังต้องถกเถียงกันว่าโรคระบาดที่ทำให้เกิดคนตายมากเป็นโรคประเภทใดกันแน่ ในยามที่ยังไม่แน่ใจหรือไม่รู้จึงให้ใช้รสยาแรกไปในทางรสขม เย็นอย่างยิ่ง หรือฝาดจืด ซึ่งเป็นรสยาที่ไม่มีธาตุไฟมาปน ดังความว่า

    “ถ้ายังไม่รู้ให้แก้กันดู แต่พรรณฝูงยา เย็นเปนอย่างยิ่ง ขมจริงโอชา ฝาดจืดพืชน์ยา ตามอาจารย์สอน”[4]

    แต่ถึงแม้จะมีหลักการและขั้นตอนต่างๆในการวางรสยาเพื่อรับมือกับโรคระบาด แต่เนื่องจากโรคฝีดาษและไข้ทรพิษนั้น อาจมีลักษณะจำเพาะที่มีการระบาดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนกว่าจะได้หมดสิ้นจากประเทศไทยได้นั้นต้องใช้เวลาหลายร้อยปีจนมาถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปี พ.ศ. 2523

    การเอาชนะโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ นอกจากการรับมือกับโรคระบาดในเรื่องตำรับยาต่างๆแล้ว ความรู้เรื่องการปลูกฝีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง เพราะได้เป็นรากฐานที่ทำให้ประเทศไทยสามารถเอาชนะโรคฝีดาษได้ด้วย

    โดยในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดการปลูกฝีไข้ทรพิษ และพระราชบัญญัติระงับโรคระบาทว์ พ.ศ.​2456 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่บังคับใช้กฎหมายควบคุมโรคแก่ประชาชน

    ต่อมาในปี 2504 กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกำจัดไข้ทรพิษครั้งแรกในประเทศไทย โดยตั้งเป้า 3 ปี (พ.ศ.2504-2506) คือคนไทยอย่างน้อย 80% ต้องได้รับการปลูกฝี ภายหลังขยายเวลาเป็น 5 ปี (พ.ศ.2504-2508) ซึ่งเป็นช่วงเวลาระดมการปลูกฝีทั่วประเทศไทย

    โดยประเทศไทยได้พบผู้ป่วยโรคฝีดาษรายสุดท้ายในปี พ.ศ. 2505 เป็นแขกชื่อ ยาริดาเนา ได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลบำราศนราดูร

    เมื่อสิ้นสุดโครงการการระดมปลูกฝี ถึงปี พ.ศ. 2508 ก็เป็นผลทำให้ฝีดาษหรือไข้ทรพิษหายไปจากประเทศไทยติดต่อกันถึง 3 ปีติดต่อกันแล้ว จนกระทั่งวันที่ 8 พฤษภาคม 2523 องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศรับรองว่าฝีดาษหรือไข้ทรพิษได้สูญพันธุ์ไปจากโลกแล้ว[5]

    นี่คือเหตุผลว่าผู้ที่เกิดก่อนปี 2523 หรืออายุมากกว่า 44 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่น่าจะได้รับการปลูกฝีแล้ว(โดยดูได้จากแผลเป็นบนหัวไหล่) แต่ถึงกระนั้นก็ยังพบผู้ที่มีอายุมากกว่า 44 ปีติดโรคฝีดาษลิงได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง เช่นผู้ป่วยโรคเอดส์เป็นต้น

    อย่างไรก็ตามเนื่องจากฝีดาษที่ได้สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ปี 2523 หรือเป็นเวลา 44 ปี ทำให้ภูมิปัญญาที่เคยรับมือในการรักษาโรคฝีดาษขาดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะขั้นตอนการรับมือด้วยสมุนไพร ตำรับยาไทย และกรรมวิธีต่างๆในการรักษา

    ดังนั้นความรู้ที่ว่าคนไทยควรจะรับมือในการรักษาโรคฝีดาษลิงอย่างไร ส่วนใหญ่ก็จะอ้างอิงไปตามพระคัมภีร์ตักกะศิลาในการใช้ยา 3 ขั้นตอนด้วยยา 7 ขนาน หรือยาขาวตามตำรับยาของวัดศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) บ้าง แต่ก็ไม่ใช่กล่าวถึงโรคฝีดาษ หรือฝีดาษลิงเป็นการเฉพาะ

    ทำให้หลายคนสงสัยว่าในเมื่อโรคฝีดาษ เป็นโรคที่ประเทศไทยเคยมีประสบการณ์ในการเกิดโรคระบาดมาหลายร้อยปี ควรจะต้องมี “ตำรับยา“ สำหรับโรคฝีดาษเป็นการเฉพาะหรือไม่

    เมื่อทบทวนข้อมูลตามตำราและคัมภีร์ทั้งหมดพบ ”การรักษาโรคฝีดาษ“ เป็นการเฉพาะจารึกเป็นตำรายาที่ปรากฏในแผ่นศิลาของวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

    โดย ศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เป็นมรดกที่แสดงถึงภูมิปัญญาของแพทย์แผนโบราณในสมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 ที่จารึกยาขนานต่างๆ ลักษณะของแผ่นศิลาจารึกเป็นหินอ่อนสีเทา สี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 33 เซนติเมตร จัดเรียงบรรทัดในมุมแหลม จำนวน 17 บรรทัด เหมือนกันทุกแผ่น ติดตามผนังด้านนอกของระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ 42 แผ่น และผนังศาลารายหน้าพระอุโบสถวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร 8 แผ่น เชื่อว่าในอดีตมีแผ่นศิลาจารึก 92 แผ่น แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 50 แผ่น

    และนับว่าเป็นความโชคดีของคนไทย เพราะแผ่นศิลาที่กล่าวถึงการรักษาโรคฝีดาษ ยังไม่สูญหายและข้อความที่ปรากฏก็ยังไม่เลือนหายไปด้วย จึงนับว่าเป็นบุญของประเทศที่มีภูมิปัญญาและมีคุณค่ายิ่งในสถานการณ์ที่โรคฝีดาษลิงกลับมาเริ่มระบาดในบางประเทศ และเริ่มเข้ามาในประเทศไทย

    โดยแผ่นศิลาที่กล่าวถึงฝีดาษนั้น เป็นแผนที่ 18 ของศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ปรากฏข้อความดังนี้

    “๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวฝีดาษเกิดในเดือน 11 เดือน 12 เดือน 1 ทั้ง 3 เดือนนี้ เกิดเพื่ออาโปธาตุ มักให้เย็นในอกแลมักตกมูกตกเลือด ให้เสียแม่แสลงพ่อแสลง นุ่งขาวห่มขาว แล้วทำบัตรไปส่งทิศอุดรแลอีสาร จึ่งจะดี๚

    ถ้าจะแก้ให้เอาใบมะอึก ใบผักบุ้งร้วม ใบผักบุ้งขัน ใบก้างปลาทั้งสอง ใบพุงดา ใบผักขวง ใบหมาก ใบทองพันชั่ง เอาเสมอภาคตำเอาน้ำพ่น ดับฝี เพื่อเสมหะหาย ๚

    ขนานหนึ่ง เอากะทิมะพร้าว น้ำคาวปลาไหล ไข่เป็ดลูกหนึ่ง มูลโคดำ แก่นประดู่ เอาเสมอภาคบด พ่นฝีเพื่อเสมหะที่ด้านอยู่นั้นขึ้นแลแปรฝีร้ายให้เป็นดี ๚

    ขนานหนึ่ง เอาน้ำลูกตำลึง น้ำมันงา น้ำมันหัวกุ้ง น้ำรากถั่วพู เอาเสมอภาค พ่นฝีเพื่อเสมหะให้ยอดขึ้น หนองงามดีนัก๚

    ขนานหนึ่ง เอาเห็ดมูลโค ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง สังกรณี ชะเอม ลูกประคำดีควาย หวายตะค้า เขากวางเผา กระดูกเสือเผา มะกล่ำเครือ ขันฑสกร มะขามเปียก เอาเสมอภาคบดทคำเป็นจุณ บดด้วยน้ำมะนาวทำแท่งไว้ละลายสุรา ดีงูเหลือม รำหัด กินแก้คอแหบแห้ง แก้คอเครือ หายดีนัก๚

    ขนานหนึ่ง เอาใบหิ่งหาย ใบโหระพา ใบผักคราด ใบมะนาว พันงูแดง เอาเสมอภาค บดทำแท่งไว้ละลายสุรากิน แก้พิษฝี เพื่อเสมหะให้คลั่งให้สลบไปก็ดี หายวิเศษแล๚[6]

    ในตำรับยาขนานต่างๆข้างต้นนั้น เป็นยาพ่นภายนอกเสียส่วนใหญ่ ตำรับยาเพื่อการรับประทานที่พอาจะหาได้โดยไม่ต้องอาศัยสัตว์วัตถุคือตำรับยาขนานสุดท้ายที่น่าจะนำไปวิจัยต่อที่ว่า

    ”ขนานหนึ่ง เอาใบหิ่งหาย ใบโหระพา ใบผักคราด ใบมะนาว พันงูแดง เอาเสมอภาค บดทำแท่งไว้ละลายสุรากิน แก้พิษฝี เพื่อเสมหะให้คลั่งให้สลบไปก็ดี หายวิเศษแล๚“ [6]

    นอกจากนั้นจากจารึกวัดราชโอรสราชวรมหาวิหารยังปรากฏในแผ่นที่ 46 ทำให้เห็นว่ายังมีตำรับยาอีกขนานหนึ่งสำหรับโรคฝีดาษที่เป็นไข้หนักเข้าขั้นไข้สันนิบาตแล้วโดยใช้ ”ยาผายเลือด“ ความว่า

    “๏ สิทธิการิยะ ยาผายเลือดเอารากขี้กาแดง 1 เบญจาขี้เหล็ก ใบมะกา ใบมะขาม ใบส้มป่อย หญ้าไซ ลูกคัดเค้า ต้มให้งวดแล้วกรอง เอาน้ำขยำใส่ลงอีกเคี่ยวให้ข้น ปรุงยาดำ 1 สลึง 1 เฟื้อง ดีเกลือ 1 บาท กินประจุเลือดร้ายทั้งปวง แก้ไขสันนิบาตฝีดาษด้วย๚“[7]

    แต่สำหรับศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็ได้กล่าวถึงโรคฝีดาษที่มีรายละเอียดในบางอาการเพิ่มเติมอีก เช่น อาการฝีดาษขึ้นตา ปรากฏในศิลาจารึกว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวงแผ่นที่ 22 ความว่า

    “ยาชื่อ สังขรัศมี เอาชะมดสด พิมเสน สิ่งละส่วน ลิ้นทะเลแช่น้ำมะนาวไว้ยังรุ่งแล้วล้างเสีย จึงเอามาแช่น้ำท่าไว้แต่เช้าถึงเที่ยง แล้วเอาตากให้แห้ง 3 ส่วน รากช้าแป้น ดินถนำสุทธิ สังข์สุทธิ สิ่งละ 4 ส่วน ทำเป็นจุณบดทำแท่งไว้ ฝนป้ายจักษุแก้สรรพต้อให้ปวดเคืองต่างๆ แก้ฝีดาษขึ้นจักษุก็ได้หายวิเศษนักฯ”[8]

    อย่างไรก็ตามการบันทึกในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ยังให้เบาะแสเกี่ยวกับ “สมุนไพรเดี่ยว” ที่เป็นเบาะแสว่าอาจจะมีสรรพคุณในการลดฝีดาษได้ ได้แก่ ข่าลิง บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี ฯลฯ[8]

    ดังปรากฏตัวอย่างในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศและสมุนไพรแผ่นที่ 7 ที่กล่าวถึง “ต้นข่าลิง”แก้พิษฝีดาษ ความว่า

    “อันว่าคุณแห่งข่าลิงนั้น ต้นรู้แก้พิษฝีดาษ และรู้แก้ไข้เหนืออันบังเกิดเพื่อโลหิต รู้แก้ฝีกาฬ อันบังเกิดเพื่อฝีดาษ รู้แก้ไข้ตรีโทษ รู้กระทำให้เกิดกำลัง รู้กระทำเพลิงธาตุให้บริบูรณ์ รู้แก้กระหายน้ำ อันเป็นเพื่อโลหิตและลม รู้แก้สะอึก แก้สมุฏฐานกำเริบ ใบรู้ฆ่าพยาธิ์คือมะเร็ง ดอกรู้ฆ่าพยาธิ์ในอุทรและฟันในหูให้ตก ผลรู้แก้เสมหะอันเป็นพิษ รากรู้แก้โลหิตอันเป็นพิษไข้เหนือสันนิบาตฯ”[9]

    นอกจากนั้นยังปรากฏในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 ซึ่งกล่าวถึง “บอระเพ็ด” และ “ชิงช้าชาลี” ความว่า

    “อันว่าคุณแห่งบอระเพ็ดและชิงช้าชาลีนั้นคุณดุจกัน ต้นรู้แก้ฝีดาษ และรู้แก้ไข้เหนืออันบังเกิดโลหิต รู้แก้ฝีกาฬอันบังเกิดฝีดาษ รู้แก้ไข้ตรีโทษ รู้กระทำให้เกิดกำลัง รู้กระทำเพลิงธาตุให้บริบูรณ์ รู้แก้กระหายน้ำ อันเป็นเพื่อโลหิตและลม รู้แก้สะอึก แก้สมุฏฐานกำเริบ ใบรู้ฆ่าพยาธิ์คือมะเร็ง ดอกรู้ฆ่าพยาธิ์ในอุทรและในฟันในหูให้ตก ผลรู้แก้เสมหะอันเป็นพิษ รากรู้แก้โลหิตอันเป็นพิษเพื่อไข้สันนิบาตฯ”[10]

    นอกจากนั้นสมุนไพรที่มีการวิจัยที่ออกฤทธิ์ต้านไวรัสหลายชนิดในยุคปัจจุบัน ก็ควรจะนำมาสู่การวิจัยกับฝีดาษลิงต่อไป เช่น ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร ใบสะเดา กัญชา กัญชง ฝีหมอบ เสลดพังพอนตัวเมีย ฯลฯ

    ดังนั้นการกลับมาของโรคฝีดาษลิง จึงควรให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาในการรักษาที่มีมาแต่ในอดีตรวมถึงความรู้จากการวิจัยในสมุนไพรต่างๆที่มีมากขึ้น ซึ่งควรจะนำมาวิจัยกับไวรัสฝีดาษลิงเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมประยุกต์ให้เหมาะสมใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันและต่อไปในกาลข้างหน้าด้วยความไม่ประมาท

    ด้วยความปรารถนาดี
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    5 กันยายน 2567
    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1045825823577784/?

    อ้างอิง
    [1] พิชชานันท์ เธียรทองอินทร์ และ รัชฎาพร พิสัยพันธุ์, การวิเคราะห์องค์ความรู้ไข้ตามคัมภีร์ตักศิลา: คัมภีร์ว่าด้วยโรคระบาด, วารสารหมอยาไทยวิจัย, ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2566), หน้า 131-152
    https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/258845/180094

    [2] โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์), ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ ฉบับ พ.ศ.​๒๕๑๖ หน้า ๖๒ - ๖๔

    [3] สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, หนังสือชุดวรรณกรรมหายาก แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ :ภูมิปัญญาการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ, องค์การการค้าของ สกสค. จัดพิมพ์จำหน่าย พิมพ์ครั้งที่ 4, พ.ศ. 2554 จำนวน 3,000 เล่ม ISBN 978-947-01-9742-3 หน้า 694

    [4] เรื่องเดียวกัน, หน้า 37

    [5] เว็บไซต์กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค, การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ จุดเริ่มงานควบคุมโรคติดต่อในประเทศไทย
    https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ.pdf

    [6] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 18 ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2557( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567)
    https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/14798

    [7] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 46 (ยาผายเลือด) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อ โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558
    https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/16335

    [8] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(ว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวง แผ่นที่ 22 ยาแก้จักษุโรคคือต้อ(5), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2560
    https://db.sac.or.th/inscriptions/uploads/file/22-chaksurok-to5-tr2.pdf

    [9] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 7 ท้าวยายม่อม ข่าใหญ่ ข่าลิง กระทือ ไพล กระชาย หอม และกระเทียม) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564
    https://db.sac.or.th/inscriptions/uploads/file/7-thaoyaimom-khayai-khaling-tr1.pdf

    [10] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 แตงหนู ชิงชี่ บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี บอระเพ็ดพุงช้าง ผักปอดตัวเมีย ผักปอดตัวผู้ และพลูแก), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567
    https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/17723
    ตำรับยารักษา “โรคฝีดาษ” จากศิลาจารึก/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ สำหรับตำรับยาโรคระบาดในประเทศไทยนั้น ได้ยึดถึอเอาพระคัมภีร์ตักกะศิลาเป็นกระบวนการรักษาโรค โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนด้วยยา 7 ขนาน กล่าวคือ ขั้นตอนแรก ตำรับยาสำหรับกระทุ้งพิษไข้ โดยใช้ตำรับยาห้าราก ขั้นตอนที่สอง ตำรับยาสำหรับแปรไข้ภายในและรักษาผิวภายนอก มีตำรับยา 5 ขนาน คือ ตำรับยาประสระผิว ตำรับยาพ่นผิวภายนอก ตำรับยาพ่นและยากิน และตำรับยาแปรไข้จากร้ายให้เป็นดี และตำรับยาพ่นแปรผิวภายนอก ขั้นตอนสุดท้าย ตำรับยาครอบไข้[1] ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นอยู่ในตำรายาหลวง ชื่อตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ สมัยรัชกาลที่ 5 โดยในตำราดังกล่าวได้กล่าวถึงพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ซึ่งประพันธ์โดยเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ตั้งแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และยังเป็นตำราสำหรับการเรียนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์มาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทรงมีพระบรมราโชบายให้มีตำรายาจารึกเอาไว้ในแผ่นศิลาประดับอยู่ตามผนังและเสาของวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) พระราชทานเป็นมรดกให้กับประชาชนชาวสยามสืบไปตราบนานเท่านาน รวมถึงวิวัฒนาการที่ลดทอนยา 7 ขนาน 3 ขั้นตอน มาเหลือ “ตำรับยาเดียว” ในการรับมือโรคระบาดหลายชนิดด้วย ซึ่งปัจจุบันคนในวงการแพทย์แผนไทยเรียกว่า “ยาขาว” ตำรับยาขาวของวัดโพธิ์นี้ได้ระบุเอาไว้ในตำราว่าแผ่นศิลาแผ่นนี้ได้ถูกรื้อออกมาจากศาลาต่างๆ แต่โชคดีได้บันทึกตำรับยาสำคัญนี้เอาไว้ในตำรายาของวัดโพธิ์ จึงทำให้สามารถตกทอดมาได้จนถึงทุกวันนี้ โดยตำรายาวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ฉบับเก่า 51 ปีที่แล้ว คือ พ.ศ. 2516 ได้บันทึกตำรับยานี้เอาไว้อยู่ที่หน้า 62-64[2] ตำรับยาขนานนี้ได้บรรยายสรรพคุณว่า เพียงตำรับยาเดียวสามารถ “แก้สรรพไข้จากโรคระบาด” โดยตำรายาศิลาจารึกบันทึกว่าตำรับยานี้ใช้สมุนไพร 15 ตัวและมีสรรพคุณแก้สรรพไข้จากโรคระบาดหลายชนิด โดยระบุในบันทึกของแผ่นศิลาความตอนนี้ว่า “ขนาน 1 เอา กระเช้าผีมด หัวคล้า รากทองพันชั่ง รากชา รากง้วนหมู รากส้มเส็ด รากข้าวไหม้ รากจิงจ้อ รากสวาด รากสะแก รากมะนาว รากหญ้านาง รากฟักข้าว รากผักสาบ รากผักหวานบ้าน เอาเสมอภาคทำเปนจุณ บดทำแท่ง ไว้ละลายน้ำซาวข้าวกินแก้ไข้รากสาด ออกดำ แดง ขาว และแก้ไข้ประกายดาษ ไข้หงษ์ระทด และแก้ไข้ไฟเดือนห้า ไข้ละอองไฟฟ้า และแก้ไข้มหาเมฆ มหานิล ซึ่งกล่าวมาแล้วนั้น และยาขนานนี้แก้ได้ทุกประการ ตามอาจารย์กล่าวไว้ ให้แพทย์ทั้งหลายรู้ว่าเปน มหาวิเศษนัก“[2] แม้ในความจริงแล้วจะมีขั้นตอนและวิวัฒนาการในการรักษาโรคระบาดหลายชนิดในภาพรวม แต่ภายใต้พระคัมภีร์ตักกะศิลา ได้วางหลักถึง “รสยา” สำหรับรับมือโรคระบาดว่ามีข้อห้ามและสิ่งที่ควรจะลองดูในเวลาติดเชื้ออันจากเกิดโรคระบาดเอาไว้ความว่า ห้ามใช้ยาหรือการกระทำที่มีรสกระตุ้นธาตุไฟหรือระบบความร้อน (ปิตตะ) แต่ให้ยาที่มีลดธาตุไฟหรือระบบความร้อน หากไม่ฟังตามนี้อาจจะถึงแก่ความตายได้ ความว่า “ไข้จำพวกนี้ย่อมห้ามมิให้วางยาร้อนเผ็ดเปรี้ยว อย่าให้ประคบนวด อย่าปล่อยปลิง อย่าให้กอกเอาโลหิตออก อย่าให้ถูกน้ำมัน เหล้าก็อย่าให้ถูก น้ำร้อนก็อย่าให้อาบ อย่าให้กิน ส้มมีควันมีผิวกะทิน้ำมันห้ามิให้กิน ถ้าใครไม่รู้ทำผิดดังกล่าวมานี้ ก็ถึงความตายดังนี้แล”[3] ต่อมาเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ได้เรียบเรียงเอาไว้ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในเรื่อง “ว่าด้วยคัมภีร์ตักกะศิลา” ว่าช่วงเวลาที่มีกำเดาหรือเปลวแห่งความร้อนนี้ ไม่ว่าจะวัดว่ามีไข้จากภายนอก หรือรู้สึกครั่นเนื้อตัวอยู่ภายใน ปวดเมื่อยเนื้อตัว หรือมีผื่นขึ้น จะไม่ใช้ยารสร้อน ห้ามเหล้า น้ำมัน กอกเลือด นวด หรือปล่อยปลิงเพื่อเอาเลือดออก หากไม่ฟังให้ยาหรือการดำเนินการเช่นดังกล่าวนี้ อาจแก้กันไม่ทัน ความว่า “ถ้าแรกล้มไข้ ท่านมากล่าวไว้ ให้พิจารณา ภายนอกภายใน ให้ร้อนหนักหนา เมื่อยขบกายา ตาแดงเป็นสาย บ้างเย็นบ้างร้อน เปนบั้นเป็นท่อน ไปทั่วทั้งกาย ขึ้นมาให้เห็น เปนวงเปนสาย เปนริ้วยาวรี ลางบางไม่ขึ้น เปนวงฟกลื่น กายหมดดิบดี หมอมักว่าเปนสันนิบาติก็มี ให้ยาผิดที แก้กันไม่ทัน อย่าเพ่อกินยา ร้อนแรงแขงกล้า ส้มเหล้าน้ำมัน เอาโลหิตออก กอกเลือดนวดฟั้น ปล่อยปลิงมิทัน แก้กันเลยนา” [4] ด้วยประสบการณ์ของเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ที่เกิดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้รวบยอดสรุปถ่ายทอดมาเป็นความรู้ว่า ในยามที่ยังต้องถกเถียงกันว่าโรคระบาดที่ทำให้เกิดคนตายมากเป็นโรคประเภทใดกันแน่ ในยามที่ยังไม่แน่ใจหรือไม่รู้จึงให้ใช้รสยาแรกไปในทางรสขม เย็นอย่างยิ่ง หรือฝาดจืด ซึ่งเป็นรสยาที่ไม่มีธาตุไฟมาปน ดังความว่า “ถ้ายังไม่รู้ให้แก้กันดู แต่พรรณฝูงยา เย็นเปนอย่างยิ่ง ขมจริงโอชา ฝาดจืดพืชน์ยา ตามอาจารย์สอน”[4] แต่ถึงแม้จะมีหลักการและขั้นตอนต่างๆในการวางรสยาเพื่อรับมือกับโรคระบาด แต่เนื่องจากโรคฝีดาษและไข้ทรพิษนั้น อาจมีลักษณะจำเพาะที่มีการระบาดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนกว่าจะได้หมดสิ้นจากประเทศไทยได้นั้นต้องใช้เวลาหลายร้อยปีจนมาถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปี พ.ศ. 2523 การเอาชนะโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ นอกจากการรับมือกับโรคระบาดในเรื่องตำรับยาต่างๆแล้ว ความรู้เรื่องการปลูกฝีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง เพราะได้เป็นรากฐานที่ทำให้ประเทศไทยสามารถเอาชนะโรคฝีดาษได้ด้วย โดยในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดการปลูกฝีไข้ทรพิษ และพระราชบัญญัติระงับโรคระบาทว์ พ.ศ.​2456 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่บังคับใช้กฎหมายควบคุมโรคแก่ประชาชน ต่อมาในปี 2504 กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกำจัดไข้ทรพิษครั้งแรกในประเทศไทย โดยตั้งเป้า 3 ปี (พ.ศ.2504-2506) คือคนไทยอย่างน้อย 80% ต้องได้รับการปลูกฝี ภายหลังขยายเวลาเป็น 5 ปี (พ.ศ.2504-2508) ซึ่งเป็นช่วงเวลาระดมการปลูกฝีทั่วประเทศไทย โดยประเทศไทยได้พบผู้ป่วยโรคฝีดาษรายสุดท้ายในปี พ.ศ. 2505 เป็นแขกชื่อ ยาริดาเนา ได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลบำราศนราดูร เมื่อสิ้นสุดโครงการการระดมปลูกฝี ถึงปี พ.ศ. 2508 ก็เป็นผลทำให้ฝีดาษหรือไข้ทรพิษหายไปจากประเทศไทยติดต่อกันถึง 3 ปีติดต่อกันแล้ว จนกระทั่งวันที่ 8 พฤษภาคม 2523 องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศรับรองว่าฝีดาษหรือไข้ทรพิษได้สูญพันธุ์ไปจากโลกแล้ว[5] นี่คือเหตุผลว่าผู้ที่เกิดก่อนปี 2523 หรืออายุมากกว่า 44 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่น่าจะได้รับการปลูกฝีแล้ว(โดยดูได้จากแผลเป็นบนหัวไหล่) แต่ถึงกระนั้นก็ยังพบผู้ที่มีอายุมากกว่า 44 ปีติดโรคฝีดาษลิงได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง เช่นผู้ป่วยโรคเอดส์เป็นต้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากฝีดาษที่ได้สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ปี 2523 หรือเป็นเวลา 44 ปี ทำให้ภูมิปัญญาที่เคยรับมือในการรักษาโรคฝีดาษขาดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะขั้นตอนการรับมือด้วยสมุนไพร ตำรับยาไทย และกรรมวิธีต่างๆในการรักษา ดังนั้นความรู้ที่ว่าคนไทยควรจะรับมือในการรักษาโรคฝีดาษลิงอย่างไร ส่วนใหญ่ก็จะอ้างอิงไปตามพระคัมภีร์ตักกะศิลาในการใช้ยา 3 ขั้นตอนด้วยยา 7 ขนาน หรือยาขาวตามตำรับยาของวัดศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) บ้าง แต่ก็ไม่ใช่กล่าวถึงโรคฝีดาษ หรือฝีดาษลิงเป็นการเฉพาะ ทำให้หลายคนสงสัยว่าในเมื่อโรคฝีดาษ เป็นโรคที่ประเทศไทยเคยมีประสบการณ์ในการเกิดโรคระบาดมาหลายร้อยปี ควรจะต้องมี “ตำรับยา“ สำหรับโรคฝีดาษเป็นการเฉพาะหรือไม่ เมื่อทบทวนข้อมูลตามตำราและคัมภีร์ทั้งหมดพบ ”การรักษาโรคฝีดาษ“ เป็นการเฉพาะจารึกเป็นตำรายาที่ปรากฏในแผ่นศิลาของวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร โดย ศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เป็นมรดกที่แสดงถึงภูมิปัญญาของแพทย์แผนโบราณในสมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 ที่จารึกยาขนานต่างๆ ลักษณะของแผ่นศิลาจารึกเป็นหินอ่อนสีเทา สี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 33 เซนติเมตร จัดเรียงบรรทัดในมุมแหลม จำนวน 17 บรรทัด เหมือนกันทุกแผ่น ติดตามผนังด้านนอกของระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ 42 แผ่น และผนังศาลารายหน้าพระอุโบสถวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร 8 แผ่น เชื่อว่าในอดีตมีแผ่นศิลาจารึก 92 แผ่น แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 50 แผ่น และนับว่าเป็นความโชคดีของคนไทย เพราะแผ่นศิลาที่กล่าวถึงการรักษาโรคฝีดาษ ยังไม่สูญหายและข้อความที่ปรากฏก็ยังไม่เลือนหายไปด้วย จึงนับว่าเป็นบุญของประเทศที่มีภูมิปัญญาและมีคุณค่ายิ่งในสถานการณ์ที่โรคฝีดาษลิงกลับมาเริ่มระบาดในบางประเทศ และเริ่มเข้ามาในประเทศไทย โดยแผ่นศิลาที่กล่าวถึงฝีดาษนั้น เป็นแผนที่ 18 ของศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ปรากฏข้อความดังนี้ “๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวฝีดาษเกิดในเดือน 11 เดือน 12 เดือน 1 ทั้ง 3 เดือนนี้ เกิดเพื่ออาโปธาตุ มักให้เย็นในอกแลมักตกมูกตกเลือด ให้เสียแม่แสลงพ่อแสลง นุ่งขาวห่มขาว แล้วทำบัตรไปส่งทิศอุดรแลอีสาร จึ่งจะดี๚ ถ้าจะแก้ให้เอาใบมะอึก ใบผักบุ้งร้วม ใบผักบุ้งขัน ใบก้างปลาทั้งสอง ใบพุงดา ใบผักขวง ใบหมาก ใบทองพันชั่ง เอาเสมอภาคตำเอาน้ำพ่น ดับฝี เพื่อเสมหะหาย ๚ ขนานหนึ่ง เอากะทิมะพร้าว น้ำคาวปลาไหล ไข่เป็ดลูกหนึ่ง มูลโคดำ แก่นประดู่ เอาเสมอภาคบด พ่นฝีเพื่อเสมหะที่ด้านอยู่นั้นขึ้นแลแปรฝีร้ายให้เป็นดี ๚ ขนานหนึ่ง เอาน้ำลูกตำลึง น้ำมันงา น้ำมันหัวกุ้ง น้ำรากถั่วพู เอาเสมอภาค พ่นฝีเพื่อเสมหะให้ยอดขึ้น หนองงามดีนัก๚ ขนานหนึ่ง เอาเห็ดมูลโค ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง สังกรณี ชะเอม ลูกประคำดีควาย หวายตะค้า เขากวางเผา กระดูกเสือเผา มะกล่ำเครือ ขันฑสกร มะขามเปียก เอาเสมอภาคบดทคำเป็นจุณ บดด้วยน้ำมะนาวทำแท่งไว้ละลายสุรา ดีงูเหลือม รำหัด กินแก้คอแหบแห้ง แก้คอเครือ หายดีนัก๚ ขนานหนึ่ง เอาใบหิ่งหาย ใบโหระพา ใบผักคราด ใบมะนาว พันงูแดง เอาเสมอภาค บดทำแท่งไว้ละลายสุรากิน แก้พิษฝี เพื่อเสมหะให้คลั่งให้สลบไปก็ดี หายวิเศษแล๚[6] ในตำรับยาขนานต่างๆข้างต้นนั้น เป็นยาพ่นภายนอกเสียส่วนใหญ่ ตำรับยาเพื่อการรับประทานที่พอาจะหาได้โดยไม่ต้องอาศัยสัตว์วัตถุคือตำรับยาขนานสุดท้ายที่น่าจะนำไปวิจัยต่อที่ว่า ”ขนานหนึ่ง เอาใบหิ่งหาย ใบโหระพา ใบผักคราด ใบมะนาว พันงูแดง เอาเสมอภาค บดทำแท่งไว้ละลายสุรากิน แก้พิษฝี เพื่อเสมหะให้คลั่งให้สลบไปก็ดี หายวิเศษแล๚“ [6] นอกจากนั้นจากจารึกวัดราชโอรสราชวรมหาวิหารยังปรากฏในแผ่นที่ 46 ทำให้เห็นว่ายังมีตำรับยาอีกขนานหนึ่งสำหรับโรคฝีดาษที่เป็นไข้หนักเข้าขั้นไข้สันนิบาตแล้วโดยใช้ ”ยาผายเลือด“ ความว่า “๏ สิทธิการิยะ ยาผายเลือดเอารากขี้กาแดง 1 เบญจาขี้เหล็ก ใบมะกา ใบมะขาม ใบส้มป่อย หญ้าไซ ลูกคัดเค้า ต้มให้งวดแล้วกรอง เอาน้ำขยำใส่ลงอีกเคี่ยวให้ข้น ปรุงยาดำ 1 สลึง 1 เฟื้อง ดีเกลือ 1 บาท กินประจุเลือดร้ายทั้งปวง แก้ไขสันนิบาตฝีดาษด้วย๚“[7] แต่สำหรับศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็ได้กล่าวถึงโรคฝีดาษที่มีรายละเอียดในบางอาการเพิ่มเติมอีก เช่น อาการฝีดาษขึ้นตา ปรากฏในศิลาจารึกว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวงแผ่นที่ 22 ความว่า “ยาชื่อ สังขรัศมี เอาชะมดสด พิมเสน สิ่งละส่วน ลิ้นทะเลแช่น้ำมะนาวไว้ยังรุ่งแล้วล้างเสีย จึงเอามาแช่น้ำท่าไว้แต่เช้าถึงเที่ยง แล้วเอาตากให้แห้ง 3 ส่วน รากช้าแป้น ดินถนำสุทธิ สังข์สุทธิ สิ่งละ 4 ส่วน ทำเป็นจุณบดทำแท่งไว้ ฝนป้ายจักษุแก้สรรพต้อให้ปวดเคืองต่างๆ แก้ฝีดาษขึ้นจักษุก็ได้หายวิเศษนักฯ”[8] อย่างไรก็ตามการบันทึกในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ยังให้เบาะแสเกี่ยวกับ “สมุนไพรเดี่ยว” ที่เป็นเบาะแสว่าอาจจะมีสรรพคุณในการลดฝีดาษได้ ได้แก่ ข่าลิง บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี ฯลฯ[8] ดังปรากฏตัวอย่างในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศและสมุนไพรแผ่นที่ 7 ที่กล่าวถึง “ต้นข่าลิง”แก้พิษฝีดาษ ความว่า “อันว่าคุณแห่งข่าลิงนั้น ต้นรู้แก้พิษฝีดาษ และรู้แก้ไข้เหนืออันบังเกิดเพื่อโลหิต รู้แก้ฝีกาฬ อันบังเกิดเพื่อฝีดาษ รู้แก้ไข้ตรีโทษ รู้กระทำให้เกิดกำลัง รู้กระทำเพลิงธาตุให้บริบูรณ์ รู้แก้กระหายน้ำ อันเป็นเพื่อโลหิตและลม รู้แก้สะอึก แก้สมุฏฐานกำเริบ ใบรู้ฆ่าพยาธิ์คือมะเร็ง ดอกรู้ฆ่าพยาธิ์ในอุทรและฟันในหูให้ตก ผลรู้แก้เสมหะอันเป็นพิษ รากรู้แก้โลหิตอันเป็นพิษไข้เหนือสันนิบาตฯ”[9] นอกจากนั้นยังปรากฏในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 ซึ่งกล่าวถึง “บอระเพ็ด” และ “ชิงช้าชาลี” ความว่า “อันว่าคุณแห่งบอระเพ็ดและชิงช้าชาลีนั้นคุณดุจกัน ต้นรู้แก้ฝีดาษ และรู้แก้ไข้เหนืออันบังเกิดโลหิต รู้แก้ฝีกาฬอันบังเกิดฝีดาษ รู้แก้ไข้ตรีโทษ รู้กระทำให้เกิดกำลัง รู้กระทำเพลิงธาตุให้บริบูรณ์ รู้แก้กระหายน้ำ อันเป็นเพื่อโลหิตและลม รู้แก้สะอึก แก้สมุฏฐานกำเริบ ใบรู้ฆ่าพยาธิ์คือมะเร็ง ดอกรู้ฆ่าพยาธิ์ในอุทรและในฟันในหูให้ตก ผลรู้แก้เสมหะอันเป็นพิษ รากรู้แก้โลหิตอันเป็นพิษเพื่อไข้สันนิบาตฯ”[10] นอกจากนั้นสมุนไพรที่มีการวิจัยที่ออกฤทธิ์ต้านไวรัสหลายชนิดในยุคปัจจุบัน ก็ควรจะนำมาสู่การวิจัยกับฝีดาษลิงต่อไป เช่น ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร ใบสะเดา กัญชา กัญชง ฝีหมอบ เสลดพังพอนตัวเมีย ฯลฯ ดังนั้นการกลับมาของโรคฝีดาษลิง จึงควรให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาในการรักษาที่มีมาแต่ในอดีตรวมถึงความรู้จากการวิจัยในสมุนไพรต่างๆที่มีมากขึ้น ซึ่งควรจะนำมาวิจัยกับไวรัสฝีดาษลิงเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมประยุกต์ให้เหมาะสมใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันและต่อไปในกาลข้างหน้าด้วยความไม่ประมาท ด้วยความปรารถนาดี ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 5 กันยายน 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1045825823577784/? อ้างอิง [1] พิชชานันท์ เธียรทองอินทร์ และ รัชฎาพร พิสัยพันธุ์, การวิเคราะห์องค์ความรู้ไข้ตามคัมภีร์ตักศิลา: คัมภีร์ว่าด้วยโรคระบาด, วารสารหมอยาไทยวิจัย, ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2566), หน้า 131-152 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/258845/180094 [2] โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์), ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ ฉบับ พ.ศ.​๒๕๑๖ หน้า ๖๒ - ๖๔ [3] สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, หนังสือชุดวรรณกรรมหายาก แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ :ภูมิปัญญาการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ, องค์การการค้าของ สกสค. จัดพิมพ์จำหน่าย พิมพ์ครั้งที่ 4, พ.ศ. 2554 จำนวน 3,000 เล่ม ISBN 978-947-01-9742-3 หน้า 694 [4] เรื่องเดียวกัน, หน้า 37 [5] เว็บไซต์กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค, การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ จุดเริ่มงานควบคุมโรคติดต่อในประเทศไทย https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ.pdf [6] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 18 ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2557( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567) https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/14798 [7] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 46 (ยาผายเลือด) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อ โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/16335 [8] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(ว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวง แผ่นที่ 22 ยาแก้จักษุโรคคือต้อ(5), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2560 https://db.sac.or.th/inscriptions/uploads/file/22-chaksurok-to5-tr2.pdf [9] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 7 ท้าวยายม่อม ข่าใหญ่ ข่าลิง กระทือ ไพล กระชาย หอม และกระเทียม) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 https://db.sac.or.th/inscriptions/uploads/file/7-thaoyaimom-khayai-khaling-tr1.pdf [10] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 แตงหนู ชิงชี่ บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี บอระเพ็ดพุงช้าง ผักปอดตัวเมีย ผักปอดตัวผู้ และพลูแก), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/17723
    Like
    Love
    Yay
    57
    0 Comments 2 Shares 3172 Views 0 Reviews
  • ป้อมปราการ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

    กำแพงเมืองพระนครกรุงรัตนโกสินทร์นั้นสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 7 กิโลเมตร ครอบคลุมเขตเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ มีป้อมสังเกตุการณ์จำนวนถึง 14 ป้อม ป้อมปราการที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งมี 14 ป้อม คือ

    1. ป้อมพระสุเมรุ ป้อมที่อยู่เหนือสุดของเกาะรัตนโกสินทร์
    2. ป้อมยุคุนธร ตรงหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร บัดนี้เหลือแต่กำแพงและประตูเมืองเท่านั้น
    3. ป้อมมหาปราบ ระหว่างสะพานเฉลิมวันชาติกับแยกผ่านฟ้าลีลาศ ตรงหัวโค้งถนนพระสุเมรุ
    4. ป้อมมหากาฬ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
    5. ป้อมหมู่ทะลวง (ทลวง) ใกล้หัวถนนหลวง ตรงข้ามสวนรมณีนาถและร้านเครื่องหวายข้างสวนรมณีนาถ แต่ก่อนสวนรมณีนาถคือเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ก่อนถูกยุบเป็นสวนสาธารณะกับพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ ส่วนป้อมหมู่ทลวงโดนทุบทิ้งไปบางส่วนเมื่อเมื่อปี พ.ศ. 2440 เพื่อนำอิฐไปสร้างทางรถไฟจากอยุธยาไปบ้านภาชีและแก่งคอย
    6. ป้อมเสือทะยาน (ทยาน) อยู่ใกล้สะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) ตรงโรงแรมมิรามา
    7. ป้อมมหาไชย ปัจจุบันคือธนาคารทหารไทย สาขาวังบูรพา หัวถนนเยาวราช แถวสะพานหัน ทุบทิ้งเมื่อปลายธันวาคม พ.ศ. 2469
    8. ป้อมจักรเพชร ป้อมที่อยู่ใต้สุดของเกาะรัตนโกสินทร์ อยู่ตรงปากคลองรอบกรุง เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า
    9. ป้อมผีเสื้อ ปัจจุบันปากคลองคูเมืองเดิมด้านใต้ ฝั่งปากคลองตลาด
    10. ป้อมมหาฤกษ์ ปัจจุบันอยู่ในบริเวณโรงเรียนราชินี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับป้อมวิชัยประสิทธิ์ซึ่งอยู่ฝั่งธนบุรี
    11. ป้อมมหายักษ์ อยู่บริเวณท่าเตียน แถว ๆ ตึกกรมการค้าภายใน เก่า
    12. ป้อมพระจันทร์ ปัจจุบันคือท่าพระจันทร์ ข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    13. ป้อมพระอาทิตย์ ปัจจุบันคือเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ปากคลองคูเมืองเดิม
    14. ป้อมอิสินธร ปัจจุบันคือพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ตรงข้ามซอยชนะสงคราม ทางลัดเข้าวัดชนะสงคราม

    โดยประตูเมืองและกำแพงเมือง ทางทิศเหนือนั้นกรมศิลปากรได้บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2524 เป็นประตูเมืองตามแบบในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นประตูยอด โดยแตกต่างจากประตูไม้ทาดินแดงในสมัยรัชกาลที่ 1 และประตูก่ออิฐข้างบนซึ่งใช้เป็นหอรบในสมัยรัชกาลที่ 3

    ส่วนกำแพงเมืองทางด้านป้อมมหากาฬนั้น ได้ถูกรื้อถอนออกเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างถนน และที่อยู่อาศัย จะเหลือให้เห็นเพียงระยะประมาณ 100 เมตร ติดต่อกับตัวป้อมมหากาฬ ด้านหลังกำแพงปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะ เป็นอีกหนึ่งสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวกรุงเทพมหานครและนักท่องเที่ยว

    ทั้งนี้เนื่องจากรัชกาลที่ 1 ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจด้านความมั่นคงมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า และมีตำแหน่งเป็น “แม่ทัพ” เมื่อครั้งสมัยกรุงธนบุรี ทำให้ทรงเชี่ยวชาญการศึก และเข้าใจตำราพิไชยสงคราม การตั้งหลักเมืองของกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีการอ้างอิงการตั้งทัพหรือแต่งทัพ ที่สอดคล้องกับภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม

    รัชกาลที่ 1 เข้าพระราชหฤทัยชัยภูมิของ “บางกอก” ที่มีลักษณะตรงกับการตั้งทัพตามคติ “นาคนาม” กล่าวคือ เป็นบริเวณที่มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ดังนั้น ในการเลือกที่ตั้งศูนย์กลางของเมือง และการตั้ง “หลักเมือง” พระองค์จึงทรงเล็งเห็นประเด็นของ “ชัยภูมิ” เป็นลำดับแรก จากนั้นจึงดูฤกษ์ยาม วัน และเดือน ที่เหมาะสมตามคติ “โหราศาสตร์” ในการลงหลักเมืองตามมาเป็นลำดับ

    และเมื่อได้ดูลักษณะรูปร่างของการวางผังของ กำแพงเมืองพระนครจะเหมือนลักษณะคันธนู โดยยึดหลักฮวงจุ้ยของจีนมาประกอบการวางผังกำแพงเมือง หากสังเกตุดีๆ จะเห็นว่าสายธนูจะง้างออกไปทางทิศตะวันออก ส่วนลูกธนูจะพุ่งไปทางทิศตะวันตกอันเป็นทิศที่ตั้งของคู่ปรับสำคัญนั่นคือเมืองอังวะ พม่านั่นเอง
    .
    อ้างอิง
    พินิจพระนคร 2475-2545, กรมแผนที่ทหาร, กองบัญชาการทหารสูงสุด, พ.ศ. 2549
    แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. 2450 - 2550, โดย บัณฑิต จุลาสัยและคณะ, กรุงเทพฯ : สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร, 2550
    เอกสารชุดกระทรวงนครบาล สมัยรัชกาลที่ 5
    เอกสารชุดกระทรวงนครบาล สมัยรัชกาลที่ 6
    เอกสารชุดกระทรวงมหาดไทย สมัยรัชกาลที่ 7
    เพจบางกอกไอเลิฟยู

    เรียบเรียงโดย เพจเกร็ดประวัติศาสตร์ v2

    #Thaitimes
    ป้อมปราการ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ กำแพงเมืองพระนครกรุงรัตนโกสินทร์นั้นสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 7 กิโลเมตร ครอบคลุมเขตเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ มีป้อมสังเกตุการณ์จำนวนถึง 14 ป้อม ป้อมปราการที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งมี 14 ป้อม คือ 1. ป้อมพระสุเมรุ ป้อมที่อยู่เหนือสุดของเกาะรัตนโกสินทร์ 2. ป้อมยุคุนธร ตรงหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร บัดนี้เหลือแต่กำแพงและประตูเมืองเท่านั้น 3. ป้อมมหาปราบ ระหว่างสะพานเฉลิมวันชาติกับแยกผ่านฟ้าลีลาศ ตรงหัวโค้งถนนพระสุเมรุ 4. ป้อมมหากาฬ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ 5. ป้อมหมู่ทะลวง (ทลวง) ใกล้หัวถนนหลวง ตรงข้ามสวนรมณีนาถและร้านเครื่องหวายข้างสวนรมณีนาถ แต่ก่อนสวนรมณีนาถคือเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ก่อนถูกยุบเป็นสวนสาธารณะกับพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ ส่วนป้อมหมู่ทลวงโดนทุบทิ้งไปบางส่วนเมื่อเมื่อปี พ.ศ. 2440 เพื่อนำอิฐไปสร้างทางรถไฟจากอยุธยาไปบ้านภาชีและแก่งคอย 6. ป้อมเสือทะยาน (ทยาน) อยู่ใกล้สะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) ตรงโรงแรมมิรามา 7. ป้อมมหาไชย ปัจจุบันคือธนาคารทหารไทย สาขาวังบูรพา หัวถนนเยาวราช แถวสะพานหัน ทุบทิ้งเมื่อปลายธันวาคม พ.ศ. 2469 8. ป้อมจักรเพชร ป้อมที่อยู่ใต้สุดของเกาะรัตนโกสินทร์ อยู่ตรงปากคลองรอบกรุง เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า 9. ป้อมผีเสื้อ ปัจจุบันปากคลองคูเมืองเดิมด้านใต้ ฝั่งปากคลองตลาด 10. ป้อมมหาฤกษ์ ปัจจุบันอยู่ในบริเวณโรงเรียนราชินี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับป้อมวิชัยประสิทธิ์ซึ่งอยู่ฝั่งธนบุรี 11. ป้อมมหายักษ์ อยู่บริเวณท่าเตียน แถว ๆ ตึกกรมการค้าภายใน เก่า 12. ป้อมพระจันทร์ ปัจจุบันคือท่าพระจันทร์ ข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 13. ป้อมพระอาทิตย์ ปัจจุบันคือเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ปากคลองคูเมืองเดิม 14. ป้อมอิสินธร ปัจจุบันคือพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ตรงข้ามซอยชนะสงคราม ทางลัดเข้าวัดชนะสงคราม โดยประตูเมืองและกำแพงเมือง ทางทิศเหนือนั้นกรมศิลปากรได้บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2524 เป็นประตูเมืองตามแบบในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นประตูยอด โดยแตกต่างจากประตูไม้ทาดินแดงในสมัยรัชกาลที่ 1 และประตูก่ออิฐข้างบนซึ่งใช้เป็นหอรบในสมัยรัชกาลที่ 3 ส่วนกำแพงเมืองทางด้านป้อมมหากาฬนั้น ได้ถูกรื้อถอนออกเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างถนน และที่อยู่อาศัย จะเหลือให้เห็นเพียงระยะประมาณ 100 เมตร ติดต่อกับตัวป้อมมหากาฬ ด้านหลังกำแพงปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะ เป็นอีกหนึ่งสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวกรุงเทพมหานครและนักท่องเที่ยว ทั้งนี้เนื่องจากรัชกาลที่ 1 ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจด้านความมั่นคงมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า และมีตำแหน่งเป็น “แม่ทัพ” เมื่อครั้งสมัยกรุงธนบุรี ทำให้ทรงเชี่ยวชาญการศึก และเข้าใจตำราพิไชยสงคราม การตั้งหลักเมืองของกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีการอ้างอิงการตั้งทัพหรือแต่งทัพ ที่สอดคล้องกับภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม รัชกาลที่ 1 เข้าพระราชหฤทัยชัยภูมิของ “บางกอก” ที่มีลักษณะตรงกับการตั้งทัพตามคติ “นาคนาม” กล่าวคือ เป็นบริเวณที่มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ดังนั้น ในการเลือกที่ตั้งศูนย์กลางของเมือง และการตั้ง “หลักเมือง” พระองค์จึงทรงเล็งเห็นประเด็นของ “ชัยภูมิ” เป็นลำดับแรก จากนั้นจึงดูฤกษ์ยาม วัน และเดือน ที่เหมาะสมตามคติ “โหราศาสตร์” ในการลงหลักเมืองตามมาเป็นลำดับ และเมื่อได้ดูลักษณะรูปร่างของการวางผังของ กำแพงเมืองพระนครจะเหมือนลักษณะคันธนู โดยยึดหลักฮวงจุ้ยของจีนมาประกอบการวางผังกำแพงเมือง หากสังเกตุดีๆ จะเห็นว่าสายธนูจะง้างออกไปทางทิศตะวันออก ส่วนลูกธนูจะพุ่งไปทางทิศตะวันตกอันเป็นทิศที่ตั้งของคู่ปรับสำคัญนั่นคือเมืองอังวะ พม่านั่นเอง . อ้างอิง พินิจพระนคร 2475-2545, กรมแผนที่ทหาร, กองบัญชาการทหารสูงสุด, พ.ศ. 2549 แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. 2450 - 2550, โดย บัณฑิต จุลาสัยและคณะ, กรุงเทพฯ : สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร, 2550 เอกสารชุดกระทรวงนครบาล สมัยรัชกาลที่ 5 เอกสารชุดกระทรวงนครบาล สมัยรัชกาลที่ 6 เอกสารชุดกระทรวงมหาดไทย สมัยรัชกาลที่ 7 เพจบางกอกไอเลิฟยู เรียบเรียงโดย เพจเกร็ดประวัติศาสตร์ v2 #Thaitimes
    0 Comments 0 Shares 723 Views 0 Reviews