สมุทรปราการประกาศยุบทีม 29/10/67 #ทีมสมุทรปราการซิตี้ #วงการฟุตบอล #ประกาศยุบทีม
Search
Discover new people, create new connections and make new friends
- Please log in to like, share and comment!
- ฟาลโลว์ส เตรียมที่จะอำลาตำแหน่งของเขาในสิ้นปีนี้ และลิเวอร์พูล ได้ทำการมองหาตัวแทนที่เหมาะสมกับตำแหน่งของเขาแล้ว
มาร์คัส พิลาว่า อดีตหัวหน้าแมวมองของ บาเยิร์น กลายเป็นตัวเต็งที่จะเข้ามารับตำแหน่งของ ฟาลโลว์ส
พิลาว่า ถือว่าเป็นคนที่มีชื่อเสียงในวงการฟุตบอลเยอรมันเป็นอย่างมาก เขาเคยทำงานให้กับ บาเยิร์น มิวนิค และ โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์
ที่ ดอร์ทมุนด์ เขามีบทบาทสำคัญในการคัดเลือกผู้เล่นอย่าง จู๊ด เบลลิงแฮม, เออร์ลิง ฮาลันด์, จาดอน ซานโช และ มานูเอล อคานยี
ปี 2022 เขาได้ย้ายไปอยู่กับ บาเยิร์น มิวนิค โดยได้รับตำแหน่งหัวหน้าแมวมอง ที่ บาเยิร์น เขามีส่วนสำคัญในการเซ็นสัญญากับผู้เล่นอย่าง แฮร์รี เคน ,ไมเคิล โอลิเซ่ และ คอนราด ไลเมอร์ และเป็นคนที่ผลักดันในการขาย ซาดิโอ มาเน่
พิลาว่า ออกจาก บาเยิร์น มิวนิค เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา และตอนนี้ เขากำลังว่างงาน และรอรับข้อเสนอที่น่าสนใจอยู่ในขณะนี้
Source: Anfield Watchฟาลโลว์ส เตรียมที่จะอำลาตำแหน่งของเขาในสิ้นปีนี้ และลิเวอร์พูล ได้ทำการมองหาตัวแทนที่เหมาะสมกับตำแหน่งของเขาแล้ว มาร์คัส พิลาว่า อดีตหัวหน้าแมวมองของ บาเยิร์น กลายเป็นตัวเต็งที่จะเข้ามารับตำแหน่งของ ฟาลโลว์ส พิลาว่า ถือว่าเป็นคนที่มีชื่อเสียงในวงการฟุตบอลเยอรมันเป็นอย่างมาก เขาเคยทำงานให้กับ บาเยิร์น มิวนิค และ โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ที่ ดอร์ทมุนด์ เขามีบทบาทสำคัญในการคัดเลือกผู้เล่นอย่าง จู๊ด เบลลิงแฮม, เออร์ลิง ฮาลันด์, จาดอน ซานโช และ มานูเอล อคานยี ปี 2022 เขาได้ย้ายไปอยู่กับ บาเยิร์น มิวนิค โดยได้รับตำแหน่งหัวหน้าแมวมอง ที่ บาเยิร์น เขามีส่วนสำคัญในการเซ็นสัญญากับผู้เล่นอย่าง แฮร์รี เคน ,ไมเคิล โอลิเซ่ และ คอนราด ไลเมอร์ และเป็นคนที่ผลักดันในการขาย ซาดิโอ มาเน่ พิลาว่า ออกจาก บาเยิร์น มิวนิค เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา และตอนนี้ เขากำลังว่างงาน และรอรับข้อเสนอที่น่าสนใจอยู่ในขณะนี้ Source: Anfield Watch0 Comments 0 Shares 68 Views 0 Reviews - 10 นักเตะที่มีค่าประเมินสูงสุด 22/10/67 #นักเตะค่าตัวแพงสุด #วงการฟุตบอล #นักฟุตบอล
- เทนฮากยังไม่ได้ไป เทกุไปก่อน 09/10/67 #เทกุ มาโกโตะ #ศึกฟุตบอลไทย #ฟุตบอล #วงการฟุตบอล
- บทความน่าสนใจของเพจวิเคราะห์บอลจริงจังเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2567 มีประเด็นที่มาของการแพ้คดีที่สมาคมฟุตบอลฯยุคพลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วงฟ้องบริษัทสยามสปอร์ต ซินดิเคท ต่อมาศาลทรัพย์สินทางปัญญาตัดสินให้สมาคมฯต้องจ่าย450ล้านบาท เนื้อหาระบุว่า
“มาดามแป้ง -นวลพรรณ ล่ำซำ โอดครวญว่า เธอต้องเข้ามาเป็นนายกสมาคม แบบ "ติดลบ" เพราะมีหนี้สิน ถูกทิ้งไว้ให้ต้องรับผิดชอบ เป็นจำนวนมหาศาล
หนี้ที่เธอกล่าวถึง คือ ค่าชดเชยที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ สั่งให้สมาคม ต้องจ่ายให้บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคต เป็นจำนวน 450 ล้านบาท
คดีนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วทำไมสมาคมถึงแพ้ เราจะไปลำดับเหตุการณ์กันตั้งแต่แรกนะครับ
ย้อนกลับไป ในปี 2559 พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย และเขาประกาศจุดยืนไว้ว่า "ผมจะเข้ามาเก็บกวาดบ้าน ผมจะเข้ามาจับโจร"
สิ่งที่ พล.ต.อ.สมยศ ให้ความสำคัญอันดับแรก ไม่ใช่เรื่องของฟุตบอล แต่เป็นการเดินหน้าฟ้องร้อง ผู้ที่มีข้อพิพาทกับสมาคม จำนวนทั้งสิ้น 3 คดี
2 คดีแรก เกี่ยวกับวรวีร์ มะกูดี เรื่องการสร้างศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติที่หนองจอก และ เรื่องยักยอกทรัพย์ ส่วนคดีที่ 3 เกี่ยวข้องกับบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคต จำกัด (มหาชน)
ก่อนที่เราจะไปเล่าคดี สมยศ vs สยามสปอร์ต เราจำเป็นต้องปูพื้นแบ็กกราวน์ของเรื่องก่อน เพื่อความเข้าใจในภาพรวมที่ชัดเจนขึ้น
ฟุตบอลไทยลีก ก่อตั้งในปี 2539 ณ เวลานั้น คนดูในสนามแทบไม่มี ความนิยมตกต่ำมาก
ในช่วง 5 ปีแรก (2539-2544) สมาคมยุควิจิตร เกตุแก้ว พยายามจัดการด้วยตัวเอง แต่สุดท้ายก็ไปไม่ไหว ขาดทุนยับ
นั่นทำให้ สุชาติ มุฑุกัณฑ์ ทีมผู้บริหารของสมาคมฟุตบอลขณะนั้น มาขอร้องให้ บริษัท สยามสปอร์ต ช่วยเป็นออร์กาไนเซอร์ จัดการแข่งขันลีกอาชีพขึ้นมา พร้อมทั้งช่วงประชาสัมพันธ์เต็มรูปแบบ เพราะสยามสปอร์ตเป็นสื่อใหญ่ที่มีทรัพยากรในมือ น่าจะช่วยสร้างความนิยมให้ไทยลีกได้
สิ่งที่จะเอามาแลกเปลี่ยน ก็คือ ให้สยามสปอร์ตเป็น "ผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ของไทยลีก"
สำหรับส่วนแบ่งของรายได้ในแต่ละปีนั้น มีรายงานว่า
- ถ้าได้กำไร สยามสปอร์ตจะได้ ส่วนแบ่งกำไร 95% สมาคมได้ 5%
- ถ้าขาดทุน สยามสปอร์ตต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด
ถ้าดูตัวเลขนี้ (95% - 5%) ดูเหมือนสยามสปอร์ตจะได้ส่วนแบ่งเยอะก็จริง แต่อย่าลืมว่าตอนนั้นฟุตบอลไทยยังไม่มีมูลค่า ถ้าสมาคมเอาไปทำเอง อย่าว่าแต่กำไร 5% เลย มีแต่จะเข้าเนื้อก็เท่านั้น
และต่อให้สยามสปอร์ตจะเอาไปทำ ก็ใช่ว่าจะได้กำไรมากมายอะไร สุดท้ายสัญญาก็เลยออกมาในรูปแบบนั้น
ดีลระหว่างสยามสปอร์ต กับ สมาคมในยุควิจิตร เกตุแก้ว ก็เลยเกิดขึ้น โดยสยามสปอร์ตมีหน้าที่ ต้องจัดการแข่งขันและโปรโมท ไทยลีก, ลีกรอง และ ลีกภูมิภาคทั้งหมด
ระวิ โหลทอง ผู้บริหารสูงสุดของสยามสปอร์ตกล่าวไว้ว่า "ถ้าผมทำฟุตบอลนอกอย่างเดียว ผมก็ไม่ขาดทุนแล้ว แต่เมื่อผมมาทำไทยลีก ก็ไม่อยากให้มีปัญหาต่อกัน ผมลงทุนทำทีมฟุตบอลเพื่อให้วงการสนุก ส่วนตัวแล้วเรื่องเงินทองไม่มีปัญหาสำหรับผม คนอาจจะมองว่าสยามสปอร์ตได้กำไร แต่มันไม่ใช่ หุ้นบริษัทก็ไม่เคยกระดิก"
นับจากปี 2544 สยามสปอร์ตเป็นผู้บริหารสิทธิประโยชน์ของไทยลีกมาเรื่อยๆ
ซึ่งระหว่างนี้ นายกสมาคม เปลี่ยนคนจากวิจิตร เกตุแก้ว เป็นวรวีร์ มะกูดี แต่ก็ยังเซ็นสัญญากันต่อเนื่องกันไป ไม่มีปัญหาอะไร
รายงานจาก Thaipublica เปิดเผยว่าสยามสปอร์ตในฐานะผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ ได้กำไรน้อยมาก โดยเนื้อหาระบุว่า "แม้เม็ดเงินจากสปอนเซอร์ต่างๆ จะไหลผ่านสยามสปอร์ตปีละหลายร้อยล้านบาท แต่ก็มีรายจ่ายที่ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะค่าลิขสิทธิ์ไทยลีกที่ได้จากทรูวิชั่นส์ ต้องเอาไปแบ่งให้ทีมในไทยพรีเมียร์ลีก และดิวิชั่น 1 และเมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายในการถ่ายทอดสด ที่มีข้อบังคับว่า ต้องถ่ายทอดสดปีละไม่ต่ำกว่า 500 แมตช์ คำนวณแล้ว แทบจะไม่เหลือกำไรเท่าไหร่"
ผู้บริหารระดับสูงของสยามสปอร์ตรายหนึ่งอธิบายว่า "สิ่งที่บริษัทได้รับ ไม่ใช่กำไรจากการเข้าไปดูแลสิทธิประโยชน์โดยตรง แต่เป็นผลประโยชน์ทางอ้อมมากกว่า เพราะยิ่งวงการฟุตบอลไทยเติบโตเท่าไหร่ ยอดขายสื่อในเครือ และเงินค่าโฆษณาก็ยิ่งเติบโตขึ้น"
ในปี 2556 สมาคมฟุตบอลยุควรวีร์ เซ็นสัญญาระยะยาวกับสยามสปอร์ต ให้เป็นผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ไทยลีก อีก 10 ปี (2556-2565)
โดยจุดนี้ มีรายงานไม่ตรงกัน บางแหล่งบอกว่า ส่วนแบ่งกำไรอยู่ที่ 95% - 5% ตามเดิม แต่บางแหล่งข่าวบอกว่า ถูกปรับเป็น 50% - 50% แล้ว
ตอนนั้นแม้จะต่อสัญญากันระยะยาว แต่ดราม่าไม่มี เพราะไทยลีกยังไม่บูม หลายคนมองว่าไทยลีก เป็นเผือกร้อนด้วยซ้ำ ที่โอกาสขาดทุน มากกว่ากำไร
อย่างไรก็ตาม จุดพลิกผันสำคัญก็เกิดขึ้น ในปี 2557 เมื่อเกิดปรากฏการณ์ "บอลไทยฟีเวอร์"
เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง รับตำแหน่งเฮดโค้ชทีมชาติ แล้วพาทีมช้างศึกคว้าแชมป์ AFF เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี พร้อมทั้งทำผลงานมาสเตอร์พีซในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก จนทีมไทย เข้าถึงรอบ 12 ทีมสุดท้าย เป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปี
ทีมชาติชุดใหญ่ มีสตาร์ขึ้นมาประดับวงการพร้อมกันหลายคน เช่น ชนาธิป สรงกระสินธิ์, อดิศักดิ์ ไกรษร, สารัช อยู่เย็น, ชาริล ชัปปุยส์ ฯลฯ ในช่วง AFF จากนั้นก็เพิ่มเติมด้วยผู้เล่นซีเนียร์ ทั้งธีรศิลป์ แดงดา และ ธีราทร บุญมาทัน คือไม่ใช่แค่ชุดใหญ่เท่านั้น แต่บอลเยาวชน ไทยฟอร์มดีมาก คว้าชัยชนะได้ทุกรุ่น
ทุกอย่างมันส่งเสริมกัน ทำให้ทีมชาติไทย บูมขึ้นแบบพุ่งทะยาน อานิสงส์ก็กลับมาหาไทยลีก ที่มีคนเข้ามาดูอย่างคับคั่ง ทั้งขาจร-ขาประจำ ขณะที่ เรตติ้งถ่ายทอดสดพุ่งสูงมาก
นักกีฬากลายเป็นไอดอลของเด็กๆ แต่ละคนได้รับงานโฆษณา เป็นรายได้เสริมนอกเหนือจากค่าจ้างในการเล่นฟุตบอลด้วย
ความนิยมของไทยลีก ทำให้ทรูวิชั่นส์ จ่ายเงินค่าถ่ายทอดสด สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ นั่นคือ สัญญา 4 ปี 4,200 ล้านบาท (เฉลี่ยฤดูกาลละ 1,050 ล้านบาท)
ไม่ใช่แค่ไทยลีก แต่ลิขสิทธิ์ของทีมชาติชุดใหญ่ ก็ขายได้ราคาดีมาก ในช่วงบอลไทยฟีเวอร์ สามารถขายลิขสิทธิ์ทีมชาติ กับทางไทยรัฐทีวี ได้เงินนัดละ 750,000 บาท
จากที่สยามสปอร์ต เคยเข้าเนื้อมาหลายๆ ปีติดต่อกัน ในที่สุด เมื่อบอลไทยบูมพร้อมกัน ทั้งสโมสรและทีมชาติ ก็ถึงเวลาที่พวกเขาจะเก็บเกี่ยวกำไรอย่างเป็นชิ้นเป็นอันแล้ว
แต่แล้วสถานการณ์ก็พลิกผัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เมื่อสมาคมมีการเลือกตั้งนายกครั้งใหม่ และพล.ต.อ.สมยศ เป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้ง ล้างบางขั้วเก่าจนราบคาบ
สิ่งที่ยังกั๊กๆ กันอยู่ คือพล.ต.อ.สมยศเป็นนายกก็จริง แต่คนดูแลสิทธิประโยชน์ไทยลีก จนถึงปี 2565 ดันเป็นสยามสปอร์ต ซึ่งอยู่ฝั่งขั้วอำนาจเก่าของวรวีร์
ในมุมของพล.ต.อ.สมยศ จึงเป็นเรื่องกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะตัวเองเป็นนายกสมาคมแท้ๆ แต่ผลกำไรของบอลไทย กลับไปตกอยู่ในมือของอีกขั้วหนึ่ง
นอกจากนั้น ในมุมของสมาคม มั่นใจว่าถ้าหาผู้ดูแลเจ้าอื่น สมาคมน่าจะได้ส่วนแบ่งมากกว่านี้
หลังจาก พล.ต.อ.สมยศ ชนะเลือกตั้งเพียงแค่เดือนเดียว มีนาคม 2559 เขาตัดสินใจประกาศ "ยกเลิกสัญญา" กับสยามสปอร์ต ในช่วง 7 ปีที่เหลือ (2559-2565)
พล.ต.อ.สมยศให้สัมภาษณ์ว่า "เราพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับสมาคม เป็นสัญญาผู้ขาดแต่เพียงผู้เดียว ไม่มีการกำหนดค่าตอบแทนขั้นต่ำให้ ส่งผลให้สมาคม ไม่สามารถวางแผนงบประมาณดำเนินการได้ด้วยตัวเอง"
อธิบายคือ สัญญาฉบับเดิมที่เซ็นกัน สยามสปอร์ตจะเป็นฝ่ายแจ้งเองว่าปีนี้ได้กำไรเท่าไหร่ แล้วจะแบ่งจัดสรรให้สมาคมเอง แต่ถ้าขาดทุนก็ไม่ต้องจ่าย
วิธีการนี้ ไม่มีกำหนดว่า ต้องจ่าย "ขั้นต่ำ" เท่าไหร่ คือไม่มีตัวเลขระบุ ฝั่งสมาคมเอง ก็มองว่า แบบนี้จะตกแต่งเลขอย่างไรก็ได้น่ะสิ
พล.ต.อ.สมยศ กล่าวปิดท้ายว่า "ผมไม่มีความขัดแย้งกับบริษัทสยามสปอร์ต ซินดิเคท ผมเข้ามาทำหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่เป็นนายกฯ สมาคม และอาสาเข้ามาแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งเมื่อเห็นว่ามันไม่ถูกต้อง ก็อยากทำให้ถูกต้อง เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสมาคมฯ และประชาชนชาวไทย"
หลังจากยกเลิกสัญญากับสยามสปอร์ต 1 เดือนเท่านั้น เมษายน 2559 สมาคมเซ็นสัญญากับ แพลนบี มีเดีย เป็นผู้ดูแลสิทธิประโยชน์รายใหม่แทน
เซ็นฉบับแรก (4 ปี) ในปี 2559-2563 และเซ็นในฉบับที่สอง (8 ปี) ในช่วงปี 2564-2571
และคดีความที่เป็นข่าวใหญ่ ก็เริ่มต้นจากจุดนี้
เพราะฝั่งสยามสปอร์ตยอมไม่ได้ ที่โดนฉีกสัญญาที่เหลืออยู่ถึง 7 ปีทิ้งลงดื้อๆ
คือในมุมของสยามสปอร์ตนั้น สมาคมของพล.ต.อ.สมยศ จะคิดว่าสัญญาไม่เป็นธรรม หรือ ได้ส่วนแบ่งน้อย หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ในเมื่อมันมีการเซ็นสัญญาอย่างถูกต้องแล้ว มาโดนฉีกทิ้งแบบนี้ เขาก็เสียหายทางธุรกิจเช่นกัน แล้วแผนงานที่เตรียมไว้หลายปีต่อจากนี้ ใครจะรับผิดชอบ
ที่ผ่านมา เขาลงทุนกับบอลไทยมาตั้งเยอะ แล้วพอวันที่มีโอกาสเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ ก็มาโดนฉีกสัญญาทิ้ง มันยุติธรรมกับเขาหรือไม่?
นั่นทำให้ สยามสปอร์ตจึงฟ้องสมาคมฟุตบอล ในคดีแพ่ง ข้อหาผิดสัญญา และเรียกค่าเสียหายจำนวน 1,400 ล้านบาท
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ รับฟ้องคดีนี้ โดยสยามสปอร์ตเป็นโจทก์ สมาคมฟุตบอลเป็นจำเลย
ในวันที่ 23 สิงหาคม 2562 ศาลชั้นต้นตัดสินให้สยามสปอร์ตชนะคดี สมาคมฯ ต้องจ่ายเงินชดเชย 50 ล้านบาท โทษฐานบอกเลิกสัญญาโดยมิชอบ
อย่างไรก็ตามทั้ง 2 ฝ่ายไม่พอใจนักกับผลการตัดสิน โดยฝ่ายกฎหมายของสยามสปอร์ต ให้สัมภาษณ์ว่า "ขอขอบคุณผู้พิพากษาที่ให้ความเป็นธรรมกับเรา อย่างไรก็ตามสยามสปอร์ต จะใช้สิทธิ์อุทธรณ์ในประเด็นเงินค่าเสียหาย ซึ่งทางเรามองว่า มีความเสียหายมากกว่า 50 ล้านบาท"
แต่ฝั่งสมาคมฯ เองก็ไม่ยอมเช่นกัน โดยพล.ต.อ. สมยศ กล่าวว่า "ผมให้ความเคารพคำสั่งศาล แต่นี่เป็นเพียงศาลชั้นต้น สมาคมจะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาอย่างแน่นอน"
การต่อสู้คดีในชั้นศาลอุทธรณ์ ดำเนินการมาถึง 2 ปี และในวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 ศาลอุทธรณ์ได้ข้อสรุปว่า ตัวเลข 50 ล้านที่ศาลชั้นต้นสั่งให้สมาคม ชดใช้ มันน้อยเกินไป
และมีคำพิพากษาแก้ ให้สมาคมฯ จ่ายเงินให้สยามสปอร์ตเพิ่มเป็น 450 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี
จากศาลชั้นต้น 50 ล้านบาท สุดท้ายมาที่ศาลอุทธรณ์ ตัวเงินเด้งขึ้นไปที่ 450 ล้านบาท
คำวินิจฉัยจากศาล ระบุว่า
"แม้การบอกเลิกสัญญาระหว่างจำเลยกับโจทก์ จะทำเพื่อการพัฒนาระบบการบริหารให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีความชัดเจนด้านค่าตอบแทน จำนวนค่าตอบแทน รวมถึง คู่สัญญาที่ฝ่ายจำเลย อาจมองว่ามีความสามารถในการบริหารจัดการมากกว่าก็ตาม ทั้งหมด ก็มิได้เป็นเหตุที่จะบอกเลิกสัญญากับโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์"
เมื่อจบศาลอุทธรณ์ สยามสปอร์ตเป็นฝ่ายชนะคดีอยู่ แต่ฝั่งพล.ต.อ.สมยศ ยังไม่ยอม และตัดสินใจยื่นไปที่ฎีกาเป็นศาลสุดท้าย
ตอนนี้การพิจารณาฎีกายังไม่ออกมา แต่สมาคมแพ้มา 2 ศาลแล้ว คงยากมาก ที่จะพลิกสถานการณ์ เอาตัวรอด ไม่เสียเงินในศาลสุดท้าย เพียงแต่จะจบแค่กี่บาทเท่านั้น
คือฝั่ง พล.ต.อ.สมยศ มีสิทธิ์คิดอย่างไรก็ได้
- คุณไม่พอใจได้ ที่ยุควรวีร์เซ็นสัญญายาวถึง 10 ปี กับสยามสปอร์ต
- คุณไม่พอใจได้ ที่มองว่าส่วนแบ่งน้อยเกินไปแค่ 5%
แต่การแก้ปัญหาไม่ใช่การหักดิบ โดยฉีกสัญญาทิ้ง ทางที่ดีกว่านั้นคือการเจรจาหาข้อตกลงร่วมกัน แต่พอคุณไปยกเลิกดื้อๆ แบบนั้น เขาก็ไปสู้ด้วยกฎหมายสิ
และในมุมของศาล ก็ต้องตัดสินตามหลักฐานที่มันเป็นจริง แค่นั้นเอง
------------------------
นั่นคือเหตุผลที่มาดามแป้ง ให้สัมภาษณ์ในวันก่อนว่า "แป้งไม่ได้มาตั้งต้นทางการเงินที่ศูนย์ แต่เริ่มจากติดลบ ติดลบ ติดลบ มันไม่แฟร์ แต่ก็ต้องทำ เพราะสมาคมฟุตบอลตั้งขึ้นมา 109 ปี ก็ต้องอยู่ต่อไป"
เธอออกสตาร์ตมา ยังไม่ทันทำงานทำการ ก็มีหนี้สิ้น 450 ล้านบาท รออยู่ ถือว่าเป็นนายกสมาคมที่เหนื่อยสาหัส ตั้งแต่วันแรกที่รับงานทีเดียว
เอาจริงๆ ก็เห็นใจมาดามแป้งอยู่ เธอเพิ่งมารับงานได้ไม่ถึงปี แต่เจอสารพัดปัญหาให้ต้องแก้ ทั้งเรื่องมูลค่าบอลไทยตกต่ำ รวมถึงเรื่อง สมาคมติดหนี้ติดสิน คงได้แต่เป็นกำลังใจให้เธอ ผ่านช่วงวิกฤตินี้ไปให้ได้
กับคำถามคือ จะเอาเงิน 450 ล้านจากไหนมาจ่ายสยามสปอร์ต? หรือว่าจะแลกเปลี่ยนด้วยการบาร์เตอร์ ทำอะไรสักอย่าง เราก็ต้องมาติดตามดูกันต่อไป
พูดกันตรงๆ ว่า ถ้าคนที่มีหัวด้านธุรกิจ และ ทำงานด้านฟุตบอลมาหลายปี อย่างมาดามแป้ง ยังแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ ก็ไม่รู้จะมีใครในประเทศไทย มาจัดการเรื่องนี้ได้อีก
สำหรับกรณีเรื่อง สมาคม vs สยามสปอร์ตครั้งนี้ บทเรียนสำคัญคือ ความรู้สึกของคุณจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ จะชอบหรือไม่ชอบก็อีกเรื่องหนึ่ง
แต่เมื่อมันมีสัญญาผูกพันกันไว้ การไปฉีกสัญญาทิ้งดื้อๆ แบบนี้ มีโอกาสสูงมากที่จะเป็นฝ่ายเจ็บตัวเอง
สำหรับ พล.ต.อ.สมยศ วันนี้เขาลงจากตำแหน่งไปแล้ว เป้าหมายการจับโจร ที่เขาตั้งใจไว้วันแรก ก็ไม่รู้ว่าสำเร็จไหม จับใครได้หรือเปล่า ยิ่งไปกว่านั้น ยังทำให้สมาคมโดนฟ้องร้องจนเป็นหนี้เป็นสิน เป็นภาระให้คนที่มาสานงานต่ออย่างมาก
เรื่องนี้ทำให้เห็นว่า การเป็นนายกสมาคมฟุตบอล เป็นภารกิจที่ไม่ง่ายเลย แค่บู๊อย่างเดียวไม่พอ แต่คุณต้องฉลาดรอบรู้อีกด้วย
ถ้าทำอะไรโดยขาดความยั้งคิด องค์กรก็จะต้องเจอสถานการณ์ลำบาก เป็นภาระให้คนรับงานต่อ เหมือนอย่างที่สมาคมฟุตบอลต้องเผชิญอยู่ในเวลานี้”
ที่มา : https://www.facebook.com/share/ZvKUvXwxRkMKfBci/?mibextid=CTbP7E
#Thaitimesบทความน่าสนใจของเพจวิเคราะห์บอลจริงจังเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2567 มีประเด็นที่มาของการแพ้คดีที่สมาคมฟุตบอลฯยุคพลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วงฟ้องบริษัทสยามสปอร์ต ซินดิเคท ต่อมาศาลทรัพย์สินทางปัญญาตัดสินให้สมาคมฯต้องจ่าย450ล้านบาท เนื้อหาระบุว่า “มาดามแป้ง -นวลพรรณ ล่ำซำ โอดครวญว่า เธอต้องเข้ามาเป็นนายกสมาคม แบบ "ติดลบ" เพราะมีหนี้สิน ถูกทิ้งไว้ให้ต้องรับผิดชอบ เป็นจำนวนมหาศาล หนี้ที่เธอกล่าวถึง คือ ค่าชดเชยที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ สั่งให้สมาคม ต้องจ่ายให้บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคต เป็นจำนวน 450 ล้านบาท คดีนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วทำไมสมาคมถึงแพ้ เราจะไปลำดับเหตุการณ์กันตั้งแต่แรกนะครับ ย้อนกลับไป ในปี 2559 พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย และเขาประกาศจุดยืนไว้ว่า "ผมจะเข้ามาเก็บกวาดบ้าน ผมจะเข้ามาจับโจร" สิ่งที่ พล.ต.อ.สมยศ ให้ความสำคัญอันดับแรก ไม่ใช่เรื่องของฟุตบอล แต่เป็นการเดินหน้าฟ้องร้อง ผู้ที่มีข้อพิพาทกับสมาคม จำนวนทั้งสิ้น 3 คดี 2 คดีแรก เกี่ยวกับวรวีร์ มะกูดี เรื่องการสร้างศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติที่หนองจอก และ เรื่องยักยอกทรัพย์ ส่วนคดีที่ 3 เกี่ยวข้องกับบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคต จำกัด (มหาชน) ก่อนที่เราจะไปเล่าคดี สมยศ vs สยามสปอร์ต เราจำเป็นต้องปูพื้นแบ็กกราวน์ของเรื่องก่อน เพื่อความเข้าใจในภาพรวมที่ชัดเจนขึ้น ฟุตบอลไทยลีก ก่อตั้งในปี 2539 ณ เวลานั้น คนดูในสนามแทบไม่มี ความนิยมตกต่ำมาก ในช่วง 5 ปีแรก (2539-2544) สมาคมยุควิจิตร เกตุแก้ว พยายามจัดการด้วยตัวเอง แต่สุดท้ายก็ไปไม่ไหว ขาดทุนยับ นั่นทำให้ สุชาติ มุฑุกัณฑ์ ทีมผู้บริหารของสมาคมฟุตบอลขณะนั้น มาขอร้องให้ บริษัท สยามสปอร์ต ช่วยเป็นออร์กาไนเซอร์ จัดการแข่งขันลีกอาชีพขึ้นมา พร้อมทั้งช่วงประชาสัมพันธ์เต็มรูปแบบ เพราะสยามสปอร์ตเป็นสื่อใหญ่ที่มีทรัพยากรในมือ น่าจะช่วยสร้างความนิยมให้ไทยลีกได้ สิ่งที่จะเอามาแลกเปลี่ยน ก็คือ ให้สยามสปอร์ตเป็น "ผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ของไทยลีก" สำหรับส่วนแบ่งของรายได้ในแต่ละปีนั้น มีรายงานว่า - ถ้าได้กำไร สยามสปอร์ตจะได้ ส่วนแบ่งกำไร 95% สมาคมได้ 5% - ถ้าขาดทุน สยามสปอร์ตต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด ถ้าดูตัวเลขนี้ (95% - 5%) ดูเหมือนสยามสปอร์ตจะได้ส่วนแบ่งเยอะก็จริง แต่อย่าลืมว่าตอนนั้นฟุตบอลไทยยังไม่มีมูลค่า ถ้าสมาคมเอาไปทำเอง อย่าว่าแต่กำไร 5% เลย มีแต่จะเข้าเนื้อก็เท่านั้น และต่อให้สยามสปอร์ตจะเอาไปทำ ก็ใช่ว่าจะได้กำไรมากมายอะไร สุดท้ายสัญญาก็เลยออกมาในรูปแบบนั้น ดีลระหว่างสยามสปอร์ต กับ สมาคมในยุควิจิตร เกตุแก้ว ก็เลยเกิดขึ้น โดยสยามสปอร์ตมีหน้าที่ ต้องจัดการแข่งขันและโปรโมท ไทยลีก, ลีกรอง และ ลีกภูมิภาคทั้งหมด ระวิ โหลทอง ผู้บริหารสูงสุดของสยามสปอร์ตกล่าวไว้ว่า "ถ้าผมทำฟุตบอลนอกอย่างเดียว ผมก็ไม่ขาดทุนแล้ว แต่เมื่อผมมาทำไทยลีก ก็ไม่อยากให้มีปัญหาต่อกัน ผมลงทุนทำทีมฟุตบอลเพื่อให้วงการสนุก ส่วนตัวแล้วเรื่องเงินทองไม่มีปัญหาสำหรับผม คนอาจจะมองว่าสยามสปอร์ตได้กำไร แต่มันไม่ใช่ หุ้นบริษัทก็ไม่เคยกระดิก" นับจากปี 2544 สยามสปอร์ตเป็นผู้บริหารสิทธิประโยชน์ของไทยลีกมาเรื่อยๆ ซึ่งระหว่างนี้ นายกสมาคม เปลี่ยนคนจากวิจิตร เกตุแก้ว เป็นวรวีร์ มะกูดี แต่ก็ยังเซ็นสัญญากันต่อเนื่องกันไป ไม่มีปัญหาอะไร รายงานจาก Thaipublica เปิดเผยว่าสยามสปอร์ตในฐานะผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ ได้กำไรน้อยมาก โดยเนื้อหาระบุว่า "แม้เม็ดเงินจากสปอนเซอร์ต่างๆ จะไหลผ่านสยามสปอร์ตปีละหลายร้อยล้านบาท แต่ก็มีรายจ่ายที่ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะค่าลิขสิทธิ์ไทยลีกที่ได้จากทรูวิชั่นส์ ต้องเอาไปแบ่งให้ทีมในไทยพรีเมียร์ลีก และดิวิชั่น 1 และเมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายในการถ่ายทอดสด ที่มีข้อบังคับว่า ต้องถ่ายทอดสดปีละไม่ต่ำกว่า 500 แมตช์ คำนวณแล้ว แทบจะไม่เหลือกำไรเท่าไหร่" ผู้บริหารระดับสูงของสยามสปอร์ตรายหนึ่งอธิบายว่า "สิ่งที่บริษัทได้รับ ไม่ใช่กำไรจากการเข้าไปดูแลสิทธิประโยชน์โดยตรง แต่เป็นผลประโยชน์ทางอ้อมมากกว่า เพราะยิ่งวงการฟุตบอลไทยเติบโตเท่าไหร่ ยอดขายสื่อในเครือ และเงินค่าโฆษณาก็ยิ่งเติบโตขึ้น" ในปี 2556 สมาคมฟุตบอลยุควรวีร์ เซ็นสัญญาระยะยาวกับสยามสปอร์ต ให้เป็นผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ไทยลีก อีก 10 ปี (2556-2565) โดยจุดนี้ มีรายงานไม่ตรงกัน บางแหล่งบอกว่า ส่วนแบ่งกำไรอยู่ที่ 95% - 5% ตามเดิม แต่บางแหล่งข่าวบอกว่า ถูกปรับเป็น 50% - 50% แล้ว ตอนนั้นแม้จะต่อสัญญากันระยะยาว แต่ดราม่าไม่มี เพราะไทยลีกยังไม่บูม หลายคนมองว่าไทยลีก เป็นเผือกร้อนด้วยซ้ำ ที่โอกาสขาดทุน มากกว่ากำไร อย่างไรก็ตาม จุดพลิกผันสำคัญก็เกิดขึ้น ในปี 2557 เมื่อเกิดปรากฏการณ์ "บอลไทยฟีเวอร์" เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง รับตำแหน่งเฮดโค้ชทีมชาติ แล้วพาทีมช้างศึกคว้าแชมป์ AFF เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี พร้อมทั้งทำผลงานมาสเตอร์พีซในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก จนทีมไทย เข้าถึงรอบ 12 ทีมสุดท้าย เป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปี ทีมชาติชุดใหญ่ มีสตาร์ขึ้นมาประดับวงการพร้อมกันหลายคน เช่น ชนาธิป สรงกระสินธิ์, อดิศักดิ์ ไกรษร, สารัช อยู่เย็น, ชาริล ชัปปุยส์ ฯลฯ ในช่วง AFF จากนั้นก็เพิ่มเติมด้วยผู้เล่นซีเนียร์ ทั้งธีรศิลป์ แดงดา และ ธีราทร บุญมาทัน คือไม่ใช่แค่ชุดใหญ่เท่านั้น แต่บอลเยาวชน ไทยฟอร์มดีมาก คว้าชัยชนะได้ทุกรุ่น ทุกอย่างมันส่งเสริมกัน ทำให้ทีมชาติไทย บูมขึ้นแบบพุ่งทะยาน อานิสงส์ก็กลับมาหาไทยลีก ที่มีคนเข้ามาดูอย่างคับคั่ง ทั้งขาจร-ขาประจำ ขณะที่ เรตติ้งถ่ายทอดสดพุ่งสูงมาก นักกีฬากลายเป็นไอดอลของเด็กๆ แต่ละคนได้รับงานโฆษณา เป็นรายได้เสริมนอกเหนือจากค่าจ้างในการเล่นฟุตบอลด้วย ความนิยมของไทยลีก ทำให้ทรูวิชั่นส์ จ่ายเงินค่าถ่ายทอดสด สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ นั่นคือ สัญญา 4 ปี 4,200 ล้านบาท (เฉลี่ยฤดูกาลละ 1,050 ล้านบาท) ไม่ใช่แค่ไทยลีก แต่ลิขสิทธิ์ของทีมชาติชุดใหญ่ ก็ขายได้ราคาดีมาก ในช่วงบอลไทยฟีเวอร์ สามารถขายลิขสิทธิ์ทีมชาติ กับทางไทยรัฐทีวี ได้เงินนัดละ 750,000 บาท จากที่สยามสปอร์ต เคยเข้าเนื้อมาหลายๆ ปีติดต่อกัน ในที่สุด เมื่อบอลไทยบูมพร้อมกัน ทั้งสโมสรและทีมชาติ ก็ถึงเวลาที่พวกเขาจะเก็บเกี่ยวกำไรอย่างเป็นชิ้นเป็นอันแล้ว แต่แล้วสถานการณ์ก็พลิกผัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เมื่อสมาคมมีการเลือกตั้งนายกครั้งใหม่ และพล.ต.อ.สมยศ เป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้ง ล้างบางขั้วเก่าจนราบคาบ สิ่งที่ยังกั๊กๆ กันอยู่ คือพล.ต.อ.สมยศเป็นนายกก็จริง แต่คนดูแลสิทธิประโยชน์ไทยลีก จนถึงปี 2565 ดันเป็นสยามสปอร์ต ซึ่งอยู่ฝั่งขั้วอำนาจเก่าของวรวีร์ ในมุมของพล.ต.อ.สมยศ จึงเป็นเรื่องกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะตัวเองเป็นนายกสมาคมแท้ๆ แต่ผลกำไรของบอลไทย กลับไปตกอยู่ในมือของอีกขั้วหนึ่ง นอกจากนั้น ในมุมของสมาคม มั่นใจว่าถ้าหาผู้ดูแลเจ้าอื่น สมาคมน่าจะได้ส่วนแบ่งมากกว่านี้ หลังจาก พล.ต.อ.สมยศ ชนะเลือกตั้งเพียงแค่เดือนเดียว มีนาคม 2559 เขาตัดสินใจประกาศ "ยกเลิกสัญญา" กับสยามสปอร์ต ในช่วง 7 ปีที่เหลือ (2559-2565) พล.ต.อ.สมยศให้สัมภาษณ์ว่า "เราพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับสมาคม เป็นสัญญาผู้ขาดแต่เพียงผู้เดียว ไม่มีการกำหนดค่าตอบแทนขั้นต่ำให้ ส่งผลให้สมาคม ไม่สามารถวางแผนงบประมาณดำเนินการได้ด้วยตัวเอง" อธิบายคือ สัญญาฉบับเดิมที่เซ็นกัน สยามสปอร์ตจะเป็นฝ่ายแจ้งเองว่าปีนี้ได้กำไรเท่าไหร่ แล้วจะแบ่งจัดสรรให้สมาคมเอง แต่ถ้าขาดทุนก็ไม่ต้องจ่าย วิธีการนี้ ไม่มีกำหนดว่า ต้องจ่าย "ขั้นต่ำ" เท่าไหร่ คือไม่มีตัวเลขระบุ ฝั่งสมาคมเอง ก็มองว่า แบบนี้จะตกแต่งเลขอย่างไรก็ได้น่ะสิ พล.ต.อ.สมยศ กล่าวปิดท้ายว่า "ผมไม่มีความขัดแย้งกับบริษัทสยามสปอร์ต ซินดิเคท ผมเข้ามาทำหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่เป็นนายกฯ สมาคม และอาสาเข้ามาแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งเมื่อเห็นว่ามันไม่ถูกต้อง ก็อยากทำให้ถูกต้อง เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสมาคมฯ และประชาชนชาวไทย" หลังจากยกเลิกสัญญากับสยามสปอร์ต 1 เดือนเท่านั้น เมษายน 2559 สมาคมเซ็นสัญญากับ แพลนบี มีเดีย เป็นผู้ดูแลสิทธิประโยชน์รายใหม่แทน เซ็นฉบับแรก (4 ปี) ในปี 2559-2563 และเซ็นในฉบับที่สอง (8 ปี) ในช่วงปี 2564-2571 และคดีความที่เป็นข่าวใหญ่ ก็เริ่มต้นจากจุดนี้ เพราะฝั่งสยามสปอร์ตยอมไม่ได้ ที่โดนฉีกสัญญาที่เหลืออยู่ถึง 7 ปีทิ้งลงดื้อๆ คือในมุมของสยามสปอร์ตนั้น สมาคมของพล.ต.อ.สมยศ จะคิดว่าสัญญาไม่เป็นธรรม หรือ ได้ส่วนแบ่งน้อย หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ในเมื่อมันมีการเซ็นสัญญาอย่างถูกต้องแล้ว มาโดนฉีกทิ้งแบบนี้ เขาก็เสียหายทางธุรกิจเช่นกัน แล้วแผนงานที่เตรียมไว้หลายปีต่อจากนี้ ใครจะรับผิดชอบ ที่ผ่านมา เขาลงทุนกับบอลไทยมาตั้งเยอะ แล้วพอวันที่มีโอกาสเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ ก็มาโดนฉีกสัญญาทิ้ง มันยุติธรรมกับเขาหรือไม่? นั่นทำให้ สยามสปอร์ตจึงฟ้องสมาคมฟุตบอล ในคดีแพ่ง ข้อหาผิดสัญญา และเรียกค่าเสียหายจำนวน 1,400 ล้านบาท ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ รับฟ้องคดีนี้ โดยสยามสปอร์ตเป็นโจทก์ สมาคมฟุตบอลเป็นจำเลย ในวันที่ 23 สิงหาคม 2562 ศาลชั้นต้นตัดสินให้สยามสปอร์ตชนะคดี สมาคมฯ ต้องจ่ายเงินชดเชย 50 ล้านบาท โทษฐานบอกเลิกสัญญาโดยมิชอบ อย่างไรก็ตามทั้ง 2 ฝ่ายไม่พอใจนักกับผลการตัดสิน โดยฝ่ายกฎหมายของสยามสปอร์ต ให้สัมภาษณ์ว่า "ขอขอบคุณผู้พิพากษาที่ให้ความเป็นธรรมกับเรา อย่างไรก็ตามสยามสปอร์ต จะใช้สิทธิ์อุทธรณ์ในประเด็นเงินค่าเสียหาย ซึ่งทางเรามองว่า มีความเสียหายมากกว่า 50 ล้านบาท" แต่ฝั่งสมาคมฯ เองก็ไม่ยอมเช่นกัน โดยพล.ต.อ. สมยศ กล่าวว่า "ผมให้ความเคารพคำสั่งศาล แต่นี่เป็นเพียงศาลชั้นต้น สมาคมจะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาอย่างแน่นอน" การต่อสู้คดีในชั้นศาลอุทธรณ์ ดำเนินการมาถึง 2 ปี และในวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 ศาลอุทธรณ์ได้ข้อสรุปว่า ตัวเลข 50 ล้านที่ศาลชั้นต้นสั่งให้สมาคม ชดใช้ มันน้อยเกินไป และมีคำพิพากษาแก้ ให้สมาคมฯ จ่ายเงินให้สยามสปอร์ตเพิ่มเป็น 450 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี จากศาลชั้นต้น 50 ล้านบาท สุดท้ายมาที่ศาลอุทธรณ์ ตัวเงินเด้งขึ้นไปที่ 450 ล้านบาท คำวินิจฉัยจากศาล ระบุว่า "แม้การบอกเลิกสัญญาระหว่างจำเลยกับโจทก์ จะทำเพื่อการพัฒนาระบบการบริหารให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีความชัดเจนด้านค่าตอบแทน จำนวนค่าตอบแทน รวมถึง คู่สัญญาที่ฝ่ายจำเลย อาจมองว่ามีความสามารถในการบริหารจัดการมากกว่าก็ตาม ทั้งหมด ก็มิได้เป็นเหตุที่จะบอกเลิกสัญญากับโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์" เมื่อจบศาลอุทธรณ์ สยามสปอร์ตเป็นฝ่ายชนะคดีอยู่ แต่ฝั่งพล.ต.อ.สมยศ ยังไม่ยอม และตัดสินใจยื่นไปที่ฎีกาเป็นศาลสุดท้าย ตอนนี้การพิจารณาฎีกายังไม่ออกมา แต่สมาคมแพ้มา 2 ศาลแล้ว คงยากมาก ที่จะพลิกสถานการณ์ เอาตัวรอด ไม่เสียเงินในศาลสุดท้าย เพียงแต่จะจบแค่กี่บาทเท่านั้น คือฝั่ง พล.ต.อ.สมยศ มีสิทธิ์คิดอย่างไรก็ได้ - คุณไม่พอใจได้ ที่ยุควรวีร์เซ็นสัญญายาวถึง 10 ปี กับสยามสปอร์ต - คุณไม่พอใจได้ ที่มองว่าส่วนแบ่งน้อยเกินไปแค่ 5% แต่การแก้ปัญหาไม่ใช่การหักดิบ โดยฉีกสัญญาทิ้ง ทางที่ดีกว่านั้นคือการเจรจาหาข้อตกลงร่วมกัน แต่พอคุณไปยกเลิกดื้อๆ แบบนั้น เขาก็ไปสู้ด้วยกฎหมายสิ และในมุมของศาล ก็ต้องตัดสินตามหลักฐานที่มันเป็นจริง แค่นั้นเอง ------------------------ นั่นคือเหตุผลที่มาดามแป้ง ให้สัมภาษณ์ในวันก่อนว่า "แป้งไม่ได้มาตั้งต้นทางการเงินที่ศูนย์ แต่เริ่มจากติดลบ ติดลบ ติดลบ มันไม่แฟร์ แต่ก็ต้องทำ เพราะสมาคมฟุตบอลตั้งขึ้นมา 109 ปี ก็ต้องอยู่ต่อไป" เธอออกสตาร์ตมา ยังไม่ทันทำงานทำการ ก็มีหนี้สิ้น 450 ล้านบาท รออยู่ ถือว่าเป็นนายกสมาคมที่เหนื่อยสาหัส ตั้งแต่วันแรกที่รับงานทีเดียว เอาจริงๆ ก็เห็นใจมาดามแป้งอยู่ เธอเพิ่งมารับงานได้ไม่ถึงปี แต่เจอสารพัดปัญหาให้ต้องแก้ ทั้งเรื่องมูลค่าบอลไทยตกต่ำ รวมถึงเรื่อง สมาคมติดหนี้ติดสิน คงได้แต่เป็นกำลังใจให้เธอ ผ่านช่วงวิกฤตินี้ไปให้ได้ กับคำถามคือ จะเอาเงิน 450 ล้านจากไหนมาจ่ายสยามสปอร์ต? หรือว่าจะแลกเปลี่ยนด้วยการบาร์เตอร์ ทำอะไรสักอย่าง เราก็ต้องมาติดตามดูกันต่อไป พูดกันตรงๆ ว่า ถ้าคนที่มีหัวด้านธุรกิจ และ ทำงานด้านฟุตบอลมาหลายปี อย่างมาดามแป้ง ยังแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ ก็ไม่รู้จะมีใครในประเทศไทย มาจัดการเรื่องนี้ได้อีก สำหรับกรณีเรื่อง สมาคม vs สยามสปอร์ตครั้งนี้ บทเรียนสำคัญคือ ความรู้สึกของคุณจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ จะชอบหรือไม่ชอบก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่เมื่อมันมีสัญญาผูกพันกันไว้ การไปฉีกสัญญาทิ้งดื้อๆ แบบนี้ มีโอกาสสูงมากที่จะเป็นฝ่ายเจ็บตัวเอง สำหรับ พล.ต.อ.สมยศ วันนี้เขาลงจากตำแหน่งไปแล้ว เป้าหมายการจับโจร ที่เขาตั้งใจไว้วันแรก ก็ไม่รู้ว่าสำเร็จไหม จับใครได้หรือเปล่า ยิ่งไปกว่านั้น ยังทำให้สมาคมโดนฟ้องร้องจนเป็นหนี้เป็นสิน เป็นภาระให้คนที่มาสานงานต่ออย่างมาก เรื่องนี้ทำให้เห็นว่า การเป็นนายกสมาคมฟุตบอล เป็นภารกิจที่ไม่ง่ายเลย แค่บู๊อย่างเดียวไม่พอ แต่คุณต้องฉลาดรอบรู้อีกด้วย ถ้าทำอะไรโดยขาดความยั้งคิด องค์กรก็จะต้องเจอสถานการณ์ลำบาก เป็นภาระให้คนรับงานต่อ เหมือนอย่างที่สมาคมฟุตบอลต้องเผชิญอยู่ในเวลานี้” ที่มา : https://www.facebook.com/share/ZvKUvXwxRkMKfBci/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes - ”บอร์กโดซ์ “ของฝรั่งเศสอดีตแชมป์ลีก6สมัย ประกาศยุบสโมสรฟุตบอลแล้ว!!
26 กรกฎาคม 2567- รายงานข่าวสยามสปอร์ตระบุว่า ชิรงแดงส์ เดอ บอร์กโดซ์ สโมสรชั้นนำของวงการฟุตบอล ฝรั่งเศส ที่เคยได้แชมป์ลีกสูงสุด 6 สมัย ประกาศยุติสถานะสโมสรฟุตบอลอาชีพอย่างเป็นทางการ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม ที่ผ่านมา หลังจากที่ประสบความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาด้านการเงินของสโมสร
บอร์กโดซ์ ได้แจ้งยุบสโมสรกับทาง สหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศส (แอฟแอฟแอฟ) เรียบร้อย โดยนักเตะทุกคนในทีมจะถูกยกเลิกสัญญา และศูนย์ฝึกซ้อมของสโมสรก็จะถูกปิดตัวลง
สำหรับฤดูกาล 2023/24 ที่ผ่านมา บอร์กโดซ์ จบอันดับ 12 ในศึก ลีก เดอซ์ (ดิวิชั่น 2) แต่พวกเขาถูกปรับตกชั้นลงสู่ระดับดิวิชั่น 3 เมื่อวันอังคารที่ 23 กรกฎาคม หลังจากที่ เฟนเวย์ สปอร์ตส์ กรุ๊ป (เอฟเอสจี) ขอถอนตัวจากการเข้าเทคโอเวอร์สโมสร กระทั่งล่าสุด บอร์กโดซ์ ตัดสินใจขอยอมแพ้ในการรักษาสถานะสโมสรฟุตบอลอาชีพในที่สุด
ทั้งนี้ บอร์กโดซ์ นอกจากเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดแห่งหนึ่งของวงการลูกหนังเมืองน้ำหอมแล้ว พวกเขายังเป็นสโมสรที่เคยเป็นต้นสังกัดของตำนานอย่าง ซีเนดีน ซีดาน, บิเซนเต้ ลิซาราซู, อแล็ง ชิแรส, ฌอง ติกาน่า, ซิลแว็ง วิลตอร์ และ เปาเลต้า อีกด้วย
ที่มา : Siam Sport”บอร์กโดซ์ “ของฝรั่งเศสอดีตแชมป์ลีก6สมัย ประกาศยุบสโมสรฟุตบอลแล้ว!! 26 กรกฎาคม 2567- รายงานข่าวสยามสปอร์ตระบุว่า ชิรงแดงส์ เดอ บอร์กโดซ์ สโมสรชั้นนำของวงการฟุตบอล ฝรั่งเศส ที่เคยได้แชมป์ลีกสูงสุด 6 สมัย ประกาศยุติสถานะสโมสรฟุตบอลอาชีพอย่างเป็นทางการ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม ที่ผ่านมา หลังจากที่ประสบความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาด้านการเงินของสโมสร บอร์กโดซ์ ได้แจ้งยุบสโมสรกับทาง สหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศส (แอฟแอฟแอฟ) เรียบร้อย โดยนักเตะทุกคนในทีมจะถูกยกเลิกสัญญา และศูนย์ฝึกซ้อมของสโมสรก็จะถูกปิดตัวลง สำหรับฤดูกาล 2023/24 ที่ผ่านมา บอร์กโดซ์ จบอันดับ 12 ในศึก ลีก เดอซ์ (ดิวิชั่น 2) แต่พวกเขาถูกปรับตกชั้นลงสู่ระดับดิวิชั่น 3 เมื่อวันอังคารที่ 23 กรกฎาคม หลังจากที่ เฟนเวย์ สปอร์ตส์ กรุ๊ป (เอฟเอสจี) ขอถอนตัวจากการเข้าเทคโอเวอร์สโมสร กระทั่งล่าสุด บอร์กโดซ์ ตัดสินใจขอยอมแพ้ในการรักษาสถานะสโมสรฟุตบอลอาชีพในที่สุด ทั้งนี้ บอร์กโดซ์ นอกจากเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดแห่งหนึ่งของวงการลูกหนังเมืองน้ำหอมแล้ว พวกเขายังเป็นสโมสรที่เคยเป็นต้นสังกัดของตำนานอย่าง ซีเนดีน ซีดาน, บิเซนเต้ ลิซาราซู, อแล็ง ชิแรส, ฌอง ติกาน่า, ซิลแว็ง วิลตอร์ และ เปาเลต้า อีกด้วย ที่มา : Siam Sport0 Comments 0 Shares 295 Views 0 Reviews