• ฟรีดริช เมิร์ซ ผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนีจากพรรค CDU ซึ่งมีคะแนนนิยมจากผลการสำรวจมาเป็นอันดับหนึ่งอยู่ในขณะนี้ ประกาศว่า "จะยกเลิกข้อจำกัดการส่งออกอาวุธไปยังอิสราเอลทั้งหมด" หากพรรคของเขาชนะการเลือกตั้ง

    ในสุนทรพจน์ที่มูลนิธิ Koerber ในกรุงเบอร์ลิน เมิร์ซได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ด้านนโยบายต่างประเทศของพรรคคริสเตียนเดโมแครต (CDU/CSU) โดยเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของเยอรมนีต่อความมั่นคงของอิสราเอล

    “รัฐบาลที่นำโดยผมจะทำให้ความสัมพันธ์กับอิสราเอลกลับมาแข็งแกร่งขึ้นอีกครั้ง ผมจะยุติการคว่ำบาตรการส่งออกอาวุธของรัฐบาลปัจจุบันทันที” เมิร์ซกล่าวโดยพาดพิงไปถึงโอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีจากพรรค SPD

    ขณะเดียวกัน เมิร์ซไม่ได้แสดงความคิดเห็นใดๆ เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของอิสราเอลในฉนวนกาซาและการเสียชีวิตของชาวปาเลสไตน์หลายพันคน และยังวิพากษ์วิจารณ์หมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ที่มีต่อนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู อีกด้วย และยังกล่าวอีกว่า จะทำทุกวิธีการเพื่อหาทางยกเลิกการบังคับใช้หมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศ

    นอกจากนี้ เมิร์ซยังแสดงความเห็นเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ว่า จะหารือกับฝรั่งเศสและอังกฤษ เรื่องอาวุธนิวเคลียร์เพื่อปกป้องดินแดนยูเครน ท่ามกลางท่าทีที่เปลี่ยนไปของสหรัฐที่มีต่อยุโรป

    ปัจจุบัน เมิร์ซมีคะแนนนิยมนำคู่แข่งคนสำคัญอย่าง อลิซ ไวเดล ผู้สมัครจากพรรค AfD ในการสำรวจความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของเยอรมนี ก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ โดยพรรค CDU ของเขาได้รับการสนับสนุน 28%
    ฟรีดริช เมิร์ซ ผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนีจากพรรค CDU ซึ่งมีคะแนนนิยมจากผลการสำรวจมาเป็นอันดับหนึ่งอยู่ในขณะนี้ ประกาศว่า "จะยกเลิกข้อจำกัดการส่งออกอาวุธไปยังอิสราเอลทั้งหมด" หากพรรคของเขาชนะการเลือกตั้ง ในสุนทรพจน์ที่มูลนิธิ Koerber ในกรุงเบอร์ลิน เมิร์ซได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ด้านนโยบายต่างประเทศของพรรคคริสเตียนเดโมแครต (CDU/CSU) โดยเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของเยอรมนีต่อความมั่นคงของอิสราเอล “รัฐบาลที่นำโดยผมจะทำให้ความสัมพันธ์กับอิสราเอลกลับมาแข็งแกร่งขึ้นอีกครั้ง ผมจะยุติการคว่ำบาตรการส่งออกอาวุธของรัฐบาลปัจจุบันทันที” เมิร์ซกล่าวโดยพาดพิงไปถึงโอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีจากพรรค SPD ขณะเดียวกัน เมิร์ซไม่ได้แสดงความคิดเห็นใดๆ เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของอิสราเอลในฉนวนกาซาและการเสียชีวิตของชาวปาเลสไตน์หลายพันคน และยังวิพากษ์วิจารณ์หมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ที่มีต่อนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู อีกด้วย และยังกล่าวอีกว่า จะทำทุกวิธีการเพื่อหาทางยกเลิกการบังคับใช้หมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศ นอกจากนี้ เมิร์ซยังแสดงความเห็นเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ว่า จะหารือกับฝรั่งเศสและอังกฤษ เรื่องอาวุธนิวเคลียร์เพื่อปกป้องดินแดนยูเครน ท่ามกลางท่าทีที่เปลี่ยนไปของสหรัฐที่มีต่อยุโรป ปัจจุบัน เมิร์ซมีคะแนนนิยมนำคู่แข่งคนสำคัญอย่าง อลิซ ไวเดล ผู้สมัครจากพรรค AfD ในการสำรวจความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของเยอรมนี ก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ โดยพรรค CDU ของเขาได้รับการสนับสนุน 28%
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1 มุมมอง 0 รีวิว
  • -รายงานข่าว 21 กุมภาพันธ์ 2568-พอวันพฤหัสบดีได้รับโหวตจากสภาเซเนทด้วยมติชนะ 51:49 ศุกร์วันนี้ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 นายแคช ปาเทล (Kash Patel) ก็เดินทางไปสาบาลตนเข้ารับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเอฟบีไอ คนที่ 9 ทันที โดยมีหัวหน้าใหญ่คือคุณ แพม บอนดิ อัยการสูงสุดของรัฐบาลกลางเทียบเท่ารัฐมนตรีของกระทรวงยุติธรรม เจ้านายเขา เป็นผู้นำกล่าวคำสาบานตนให้กับเขา แคช ปาเทล อายุ 45 ปี เป็นหัวหน้าสำนักงานเอฟบีไอคนแรกที่มีเชื้อสายเป็นคนอินเดีย อีกทั้งยังเป็นหัวหน้าใหญ่เอฟบีไอคนแรกที่เป็นคนชาติพันธุ์เอเซียอีกด้วย พ่อแม่เขาเป็นคนอินเดียย้ายไปทำมาหากินที่ประเทศอูกานด้า แล้วหนีภ้ยฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จากอีดี้ อามิน ผู้นำเผด็จการไปแคนาดาก่อน แล้วอพยพเข้ามาอเมริกาอาศัยอยู่ที่เมืองการ์เด้น ซิตี้ เขตลองไอแลนด์รัฐนิวยอร์ค เขาเกิดและเติบโตที่นิวยอร์ค จบการศึกษาปริญญาตรีด้านกฏหมายที่มหาวิทยาลัยริชมอนด์รัฐเวอร์จิเนีย ไปต่อด้านกฏหมายอีกที่อังกฤษ แล้วมาต่อปริญญาโทด้านกฏหมายที่ Pace University งานแรกทำงานเป็นทนายช่วยคนจน Public Defend Lawyer ให้กับศาลไมอามีรัฐฟลอริด้า แล้วย้ายมาว่าความให้กับหน่วยงานรัฐบาลกลางที่วอชิงตัน ดี.ซี.ช่วงทรัมป์ 1.0 เทอมแรกปี 2016 เขาช่วยทำงานด้านต่อต้านผู้ก่อการร้ายให้กับทรัมป์ในหน่วยงานสภาความมั่นคง ต่อมาได้ตำแหน่งเป็น Chief of Staff กับรัฐมนตรีกลาโหม เขาช่วยเหลือทรัมป์อย่างเด็ดเดี่ยวในช่วงวิกฤติ Jan6 ปี 2021 มาตลอด อยู่เคียงข้างทรัมป์เสมอมา พอสมัยทรัมป์ 2.0 เขาได้รับเสนอชื่อให้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานสืบสวนกลางหรือเอฟบีไอ มีอำนาจสืบสวนและสอบสวนทั่วประเทศ ทำงานร่วมกับกระทรวงยุติธรรม และสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติตอนช่วง Senate Confirmation Hearing มีการพิจารณาไต่สวนอย่างดุเดือดเผ็ดร้อนจากวุฒิสมาชิกสายพรรคเดโมแครตฝ่ายตรงข้าม เขาโต้ตอบคำถามอย่างตาต่อตาฟันต่อฟัน และยังบอกอีกว่ารายชื่อ Enemy List 60 คน ที่อยู่ในหนังสือที่เขาเขียน Government Gangster เขาจะตามล่าให้ถึงที่สุด ตรงนี้นี่เองที่ทำให้พวก Deep State สายเดโมแครตถึงกับโกรธควันออกหูหลังจบการไต่สวนของวุฒิสมาชิกสมาชิก เขาเอ่ยวลีเป็นภาฮินดีว่า...Jai Shri Krishna ขออวยชัยให้กับพระองค์กฤษณะด้วยเทอญ
    -รายงานข่าว 21 กุมภาพันธ์ 2568-พอวันพฤหัสบดีได้รับโหวตจากสภาเซเนทด้วยมติชนะ 51:49 ศุกร์วันนี้ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 นายแคช ปาเทล (Kash Patel) ก็เดินทางไปสาบาลตนเข้ารับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเอฟบีไอ คนที่ 9 ทันที โดยมีหัวหน้าใหญ่คือคุณ แพม บอนดิ อัยการสูงสุดของรัฐบาลกลางเทียบเท่ารัฐมนตรีของกระทรวงยุติธรรม เจ้านายเขา เป็นผู้นำกล่าวคำสาบานตนให้กับเขา แคช ปาเทล อายุ 45 ปี เป็นหัวหน้าสำนักงานเอฟบีไอคนแรกที่มีเชื้อสายเป็นคนอินเดีย อีกทั้งยังเป็นหัวหน้าใหญ่เอฟบีไอคนแรกที่เป็นคนชาติพันธุ์เอเซียอีกด้วย พ่อแม่เขาเป็นคนอินเดียย้ายไปทำมาหากินที่ประเทศอูกานด้า แล้วหนีภ้ยฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จากอีดี้ อามิน ผู้นำเผด็จการไปแคนาดาก่อน แล้วอพยพเข้ามาอเมริกาอาศัยอยู่ที่เมืองการ์เด้น ซิตี้ เขตลองไอแลนด์รัฐนิวยอร์ค เขาเกิดและเติบโตที่นิวยอร์ค จบการศึกษาปริญญาตรีด้านกฏหมายที่มหาวิทยาลัยริชมอนด์รัฐเวอร์จิเนีย ไปต่อด้านกฏหมายอีกที่อังกฤษ แล้วมาต่อปริญญาโทด้านกฏหมายที่ Pace University งานแรกทำงานเป็นทนายช่วยคนจน Public Defend Lawyer ให้กับศาลไมอามีรัฐฟลอริด้า แล้วย้ายมาว่าความให้กับหน่วยงานรัฐบาลกลางที่วอชิงตัน ดี.ซี.ช่วงทรัมป์ 1.0 เทอมแรกปี 2016 เขาช่วยทำงานด้านต่อต้านผู้ก่อการร้ายให้กับทรัมป์ในหน่วยงานสภาความมั่นคง ต่อมาได้ตำแหน่งเป็น Chief of Staff กับรัฐมนตรีกลาโหม เขาช่วยเหลือทรัมป์อย่างเด็ดเดี่ยวในช่วงวิกฤติ Jan6 ปี 2021 มาตลอด อยู่เคียงข้างทรัมป์เสมอมา พอสมัยทรัมป์ 2.0 เขาได้รับเสนอชื่อให้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานสืบสวนกลางหรือเอฟบีไอ มีอำนาจสืบสวนและสอบสวนทั่วประเทศ ทำงานร่วมกับกระทรวงยุติธรรม และสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติตอนช่วง Senate Confirmation Hearing มีการพิจารณาไต่สวนอย่างดุเดือดเผ็ดร้อนจากวุฒิสมาชิกสายพรรคเดโมแครตฝ่ายตรงข้าม เขาโต้ตอบคำถามอย่างตาต่อตาฟันต่อฟัน และยังบอกอีกว่ารายชื่อ Enemy List 60 คน ที่อยู่ในหนังสือที่เขาเขียน Government Gangster เขาจะตามล่าให้ถึงที่สุด ตรงนี้นี่เองที่ทำให้พวก Deep State สายเดโมแครตถึงกับโกรธควันออกหูหลังจบการไต่สวนของวุฒิสมาชิกสมาชิก เขาเอ่ยวลีเป็นภาฮินดีว่า...Jai Shri Krishna ขออวยชัยให้กับพระองค์กฤษณะด้วยเทอญ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 131 มุมมอง 0 รีวิว
  • ความ(ไม่)มั่นคง รัฐบาลคุณหนู (ไม่รู้) ปาย-ตาเมือนธม-พม่า : [คุยผ่าโลก Worldtalk]

    นายกฯคุณหนู ผ่านไหม วุฒิภาวะความเป็นผู้นำ ความรู้จริง กับการจัดการแก้ปัญหาของประเทศ
    ความ(ไม่)มั่นคง รัฐบาลคุณหนู (ไม่รู้) ปาย-ตาเมือนธม-พม่า : [คุยผ่าโลก Worldtalk] นายกฯคุณหนู ผ่านไหม วุฒิภาวะความเป็นผู้นำ ความรู้จริง กับการจัดการแก้ปัญหาของประเทศ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 221 มุมมอง 10 1 รีวิว
  • 2/
    หน่วยงานความมั่นคงของอิสราเอลเข้าทำการตรวจค้นรถโดยสารทั่วบริเวณเทลอาวีฟหลังจากเหตุระเบิดที่เขตบัตยัม

    รายงานระบุว่าพบอุปกรณ์ระเบิดบนรถโดยสารในโฮลอน (วิดีโอ 2) และพบอุปกรณ์อีกชิ้นบนรถไฟในเปตาห์ติกวา รวม 5 รายการ

    หลังจากนั้นไม่ถึงชั่วโมง เนทันยาฮู ประกาศจะยกระดับปฏิบัติการทางทหารในเวสต์แบงก์ทันที โดยไม่มีการสอบสวนเหตุการณ์แต่อย่างใด โดยมุ่งเป้าไปที่เป็น "การก่อการร้าย" จากผู้ก่อการร้ายในเวสต์แบงก์
    2/ หน่วยงานความมั่นคงของอิสราเอลเข้าทำการตรวจค้นรถโดยสารทั่วบริเวณเทลอาวีฟหลังจากเหตุระเบิดที่เขตบัตยัม รายงานระบุว่าพบอุปกรณ์ระเบิดบนรถโดยสารในโฮลอน (วิดีโอ 2) และพบอุปกรณ์อีกชิ้นบนรถไฟในเปตาห์ติกวา รวม 5 รายการ หลังจากนั้นไม่ถึงชั่วโมง เนทันยาฮู ประกาศจะยกระดับปฏิบัติการทางทหารในเวสต์แบงก์ทันที โดยไม่มีการสอบสวนเหตุการณ์แต่อย่างใด โดยมุ่งเป้าไปที่เป็น "การก่อการร้าย" จากผู้ก่อการร้ายในเวสต์แบงก์
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 303 มุมมอง 15 0 รีวิว
  • 1/
    หน่วยงานความมั่นคงของอิสราเอลเข้าทำการตรวจค้นรถโดยสารทั่วบริเวณเทลอาวีฟหลังจากเหตุระเบิดที่เขตบัตยัม

    รายงานระบุว่าพบอุปกรณ์ระเบิดบนรถโดยสารในโฮลอน (วิดีโอ 2) และพบอุปกรณ์อีกชิ้นบนรถไฟในเปตาห์ติกวา รวม 5 รายการ

    หลังจากนั้นไม่ถึงชั่วโมง เนทันยาฮู ประกาศจะยกระดับปฏิบัติการทางทหารในเวสต์แบงก์ทันที โดยไม่มีการสอบสวนเหตุการณ์แต่อย่างใด โดยมุ่งเป้าไปที่เป็น "การก่อการร้าย" จากผู้ก่อการร้ายในเวสต์แบงก์
    1/ หน่วยงานความมั่นคงของอิสราเอลเข้าทำการตรวจค้นรถโดยสารทั่วบริเวณเทลอาวีฟหลังจากเหตุระเบิดที่เขตบัตยัม รายงานระบุว่าพบอุปกรณ์ระเบิดบนรถโดยสารในโฮลอน (วิดีโอ 2) และพบอุปกรณ์อีกชิ้นบนรถไฟในเปตาห์ติกวา รวม 5 รายการ หลังจากนั้นไม่ถึงชั่วโมง เนทันยาฮู ประกาศจะยกระดับปฏิบัติการทางทหารในเวสต์แบงก์ทันที โดยไม่มีการสอบสวนเหตุการณ์แต่อย่างใด โดยมุ่งเป้าไปที่เป็น "การก่อการร้าย" จากผู้ก่อการร้ายในเวสต์แบงก์
    Like
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 298 มุมมอง 17 0 รีวิว
  • 'พิชัย' เก้าอี้ยังมั่นคง ไร้สัญญาณปรับ ครม.ถล่มปัญหาสินค้าเกษตร
    .
    สถานการณ์ของพรรคเพื่อไทยเกิดความระส่ำเล็กน้อย ภายหลังมีความเคลื่อนไหวของส.ส.ที่ไม่พอใจกับการทำหน้าที่ของนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ ที่ไม่สามารถทำให้ราคาพืชผลทางการเกษตรดีขึ้นได้ จนเกิดความกังวลอาจส่งผลต่อฐานคะแนนเสียงของพรรค ในเรื่องนี้ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะแกนนำพรรคเพื่อไทย ยืนยันว่า ที่ผ่านมาพรรครับฟังความเห็นของส.ส.มาโดยตลอด
    .
    "ความจริงต้องทำควบคู่กันไป เวทีต่างประเทศก็สำคัญ เพราะมีการประชุมระดับทวิภาคี รวมถึงเวทีอื่นๆ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ก็มีบทบาทสำคัญ ทั้งนี้หากนายพิชัยไม่ได้เดินทางไปประชุมเวทีต่างประเทศ ก็น่าจะมีเวลามาฟังความเห็นของ ส.ส.ในพรรคได้ แต่เชื่อว่าไม่มีอะไร ไม่นานสถานการณ์ก็น่าจะดีขึ้น หน้าที่สำคัญของรัฐมนตรีอันดับแรกคือ พยายามปฎิบัติหน้าที่ในส่วนที่รับผิดชอบ ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล หากงานของตัวเองไปได้ดี ก็จะได้ผลตอบรับจากประชาชนดี" นายสุริยะ กล่าว
    .
    นายสุริยะ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีบอกแล้วว่ายังไม่มีความคิดที่จะปรับคณะรัฐมนตรี ดังนั้นคนอื่นจะพูดอย่างไรก็แล้วแต่ แต่ทั้งหมดอยู่ที่นายกฯ ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการปรับครม. เพียงคนเดียวเท่านั้น
    .
    ด้าน นายพิชัย ซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีเรียกเข้าพบเพื่อหารือถึงการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าทางเกษตร ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ภายในพรรคเพื่อไทย แต่ระบุว่าได้มีการหารือกับคนในพรรคเพื่อไทยบางส่วนแล้ว พร้อมกับยืนยันว่าไม่ได้กังวลกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
    .
    ขณะที่ ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีวาระการพิจารณาญัตติด่วนด้วยวาจา เรื่องขอให้สภาพิจารณามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาที่เพาะปลูกข้าว อันเนื่องมาจากราคาตกต่ำ ซึ่งมี สส.รัฐบาลและฝ่ายค้าน พร้อมใจกันเสนอญัตติรวม 7 ร่างโดยภายหลังการเสนอหลักการ ได้มีการเปิดให้ ส.ส.อภิปรายอย่างกว้างขวาง ส่วนใหญ่โจมตีไปที่นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ ซึ่งกำกับดูแลเรื่องข้าว โดยนายธีระชัย แสนแก้ว ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า จากข่าวที่ผ่านมา เป็นที่ทราบกันดีว่าพี่น้องเกษตรกรชาวนาได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือราคาข้าวตกต่ำ และมีการชุมนุมปิดถนนเดินทางมาถึงทำเนียบรัฐบาล ตนจะไม่พูดเรื่องตัวเลข เพราะตัวเลขมันเยอะเหลือเกิน ทุกคนทราบดีอยู่แล้วการ การแก้ปัญหาระยะสั้น เพราะฉะนั้น การที่กำลังประชุมกันใน คณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ต้องเร่งด่วน
    .
    “ถ้าพูดเรื่องข้าว เราไม่เอ่ยถึงกระทรวงพาณิชย์ก็ไม่ได้ เพราะกระทรวงพาณิชย์เป็นกระทรวงที่มีรัฐมนตรีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าขาย เพราะฉะนั้น ถึงแม้จะเป็นพรรคเดียวกัน เป็นรัฐบาลด้วยกัน แต่ก็ต้องมีการติติง แม้กระทั่งในพรรคเพื่อไทยของตน ก็มีการได้คุยกันแล้ว วันนี้ทุกพรรคการเมืองก็เห็นพ้องต้องกัน รัฐบาลปฏิเสธความรับผิดชอบในเรื่องนี้ไม่ได้ ตัวแทนเกษตรกรไม่มีใน นบข.ทุกอย่างอยู่ในห้องแอร์ เขาก็ลงถนนสิ” นายธีระชัย กล่าว
    .
    นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคภูมิใจไทย อภิปรายว่า ไม่แปลกใจที่เห็นพี่น้องมาประท้วงกันในหลายจังหวัด พี่น้องเกษตรกรอยู่ไม่ไหวหรอกทำไมรัฐบาลเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงพาณิชย์ไม่มีมาตรการที่ชัดเจนออกมาที่จะช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรอย่างไรเลย อยากจะฝากถึงรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 3 กระทรวงหลัก กระทรวงพาณิชย์ , กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงการคลังให้ช่วยเร่งรัดในการออกมาตรการต่างๆ ที่จะมาช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรในระยะสั้นเฉพาะหน้าตรงนี้
    ..............
    Sondhi X
    'พิชัย' เก้าอี้ยังมั่นคง ไร้สัญญาณปรับ ครม.ถล่มปัญหาสินค้าเกษตร . สถานการณ์ของพรรคเพื่อไทยเกิดความระส่ำเล็กน้อย ภายหลังมีความเคลื่อนไหวของส.ส.ที่ไม่พอใจกับการทำหน้าที่ของนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ ที่ไม่สามารถทำให้ราคาพืชผลทางการเกษตรดีขึ้นได้ จนเกิดความกังวลอาจส่งผลต่อฐานคะแนนเสียงของพรรค ในเรื่องนี้ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะแกนนำพรรคเพื่อไทย ยืนยันว่า ที่ผ่านมาพรรครับฟังความเห็นของส.ส.มาโดยตลอด . "ความจริงต้องทำควบคู่กันไป เวทีต่างประเทศก็สำคัญ เพราะมีการประชุมระดับทวิภาคี รวมถึงเวทีอื่นๆ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ก็มีบทบาทสำคัญ ทั้งนี้หากนายพิชัยไม่ได้เดินทางไปประชุมเวทีต่างประเทศ ก็น่าจะมีเวลามาฟังความเห็นของ ส.ส.ในพรรคได้ แต่เชื่อว่าไม่มีอะไร ไม่นานสถานการณ์ก็น่าจะดีขึ้น หน้าที่สำคัญของรัฐมนตรีอันดับแรกคือ พยายามปฎิบัติหน้าที่ในส่วนที่รับผิดชอบ ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล หากงานของตัวเองไปได้ดี ก็จะได้ผลตอบรับจากประชาชนดี" นายสุริยะ กล่าว . นายสุริยะ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีบอกแล้วว่ายังไม่มีความคิดที่จะปรับคณะรัฐมนตรี ดังนั้นคนอื่นจะพูดอย่างไรก็แล้วแต่ แต่ทั้งหมดอยู่ที่นายกฯ ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการปรับครม. เพียงคนเดียวเท่านั้น . ด้าน นายพิชัย ซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีเรียกเข้าพบเพื่อหารือถึงการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าทางเกษตร ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ภายในพรรคเพื่อไทย แต่ระบุว่าได้มีการหารือกับคนในพรรคเพื่อไทยบางส่วนแล้ว พร้อมกับยืนยันว่าไม่ได้กังวลกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น . ขณะที่ ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีวาระการพิจารณาญัตติด่วนด้วยวาจา เรื่องขอให้สภาพิจารณามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาที่เพาะปลูกข้าว อันเนื่องมาจากราคาตกต่ำ ซึ่งมี สส.รัฐบาลและฝ่ายค้าน พร้อมใจกันเสนอญัตติรวม 7 ร่างโดยภายหลังการเสนอหลักการ ได้มีการเปิดให้ ส.ส.อภิปรายอย่างกว้างขวาง ส่วนใหญ่โจมตีไปที่นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ ซึ่งกำกับดูแลเรื่องข้าว โดยนายธีระชัย แสนแก้ว ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า จากข่าวที่ผ่านมา เป็นที่ทราบกันดีว่าพี่น้องเกษตรกรชาวนาได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือราคาข้าวตกต่ำ และมีการชุมนุมปิดถนนเดินทางมาถึงทำเนียบรัฐบาล ตนจะไม่พูดเรื่องตัวเลข เพราะตัวเลขมันเยอะเหลือเกิน ทุกคนทราบดีอยู่แล้วการ การแก้ปัญหาระยะสั้น เพราะฉะนั้น การที่กำลังประชุมกันใน คณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ต้องเร่งด่วน . “ถ้าพูดเรื่องข้าว เราไม่เอ่ยถึงกระทรวงพาณิชย์ก็ไม่ได้ เพราะกระทรวงพาณิชย์เป็นกระทรวงที่มีรัฐมนตรีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าขาย เพราะฉะนั้น ถึงแม้จะเป็นพรรคเดียวกัน เป็นรัฐบาลด้วยกัน แต่ก็ต้องมีการติติง แม้กระทั่งในพรรคเพื่อไทยของตน ก็มีการได้คุยกันแล้ว วันนี้ทุกพรรคการเมืองก็เห็นพ้องต้องกัน รัฐบาลปฏิเสธความรับผิดชอบในเรื่องนี้ไม่ได้ ตัวแทนเกษตรกรไม่มีใน นบข.ทุกอย่างอยู่ในห้องแอร์ เขาก็ลงถนนสิ” นายธีระชัย กล่าว . นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคภูมิใจไทย อภิปรายว่า ไม่แปลกใจที่เห็นพี่น้องมาประท้วงกันในหลายจังหวัด พี่น้องเกษตรกรอยู่ไม่ไหวหรอกทำไมรัฐบาลเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงพาณิชย์ไม่มีมาตรการที่ชัดเจนออกมาที่จะช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรอย่างไรเลย อยากจะฝากถึงรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 3 กระทรวงหลัก กระทรวงพาณิชย์ , กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงการคลังให้ช่วยเร่งรัดในการออกมาตรการต่างๆ ที่จะมาช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรในระยะสั้นเฉพาะหน้าตรงนี้ .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Sad
    Haha
    14
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1361 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปกเล่มล่าของ The Economist นิตยสารเศรษฐศาสตร์การเมืองที่โปรเสรีนิยม พาดหัวว่า

    “EUROPE'S WORST NIGHTMARE”
    “ฝันร้ายที่เลวร้ายที่สุดของยุโรป”

    พร้อมบทความที่นำเสนอว่า

    “ยุโรปกำลังเผชิญสัปดาห์ที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่การล่มสลายของม่านเหล็ก

    ประเทศยูเครนกำลังถูกเร่ขายทิ้ง รัสเซียกำลังได้รับการฟื้นฟู และภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สหรัฐอเมริกาไม่สามารถเป็นที่พึ่งของยุโรปในช่วงสงครามได้อีกต่อไป

    นี่คือวิธีที่ยุโรปต้องตอบสนองต่อภัยคุกคามจากโดนัลด์ ทรัมป์และวลาดิมีร์ ปูติน

    ผลกระทบต่อความมั่นคงของยุโรปนั้นร้ายแรง แต่ผู้นำและประชาชนของทวีปยุโรปก็ยังไม่เข้าใจ

    โลกเก่าต้องการหลักสูตรเร่งรัดเกี่ยวกับวิธีการใช้พลังอำนาจที่รุนแรงในยุคที่ไร้กฎหมาย มิฉะนั้นจะตกเป็นเหยื่อของความวุ่นวายในโลกใหม่

    “ภารกิจเร่งด่วนของยุโรปคือการเรียนรู้วิธีการได้มาซึ่งอำนาจอีกครั้ง ยุโรปต้องเตรียมพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับศัตรูและบางครั้งมิตร รวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย”
    ปกเล่มล่าของ The Economist นิตยสารเศรษฐศาสตร์การเมืองที่โปรเสรีนิยม พาดหัวว่า “EUROPE'S WORST NIGHTMARE” “ฝันร้ายที่เลวร้ายที่สุดของยุโรป” พร้อมบทความที่นำเสนอว่า “ยุโรปกำลังเผชิญสัปดาห์ที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่การล่มสลายของม่านเหล็ก ประเทศยูเครนกำลังถูกเร่ขายทิ้ง รัสเซียกำลังได้รับการฟื้นฟู และภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สหรัฐอเมริกาไม่สามารถเป็นที่พึ่งของยุโรปในช่วงสงครามได้อีกต่อไป นี่คือวิธีที่ยุโรปต้องตอบสนองต่อภัยคุกคามจากโดนัลด์ ทรัมป์และวลาดิมีร์ ปูติน ผลกระทบต่อความมั่นคงของยุโรปนั้นร้ายแรง แต่ผู้นำและประชาชนของทวีปยุโรปก็ยังไม่เข้าใจ โลกเก่าต้องการหลักสูตรเร่งรัดเกี่ยวกับวิธีการใช้พลังอำนาจที่รุนแรงในยุคที่ไร้กฎหมาย มิฉะนั้นจะตกเป็นเหยื่อของความวุ่นวายในโลกใหม่ “ภารกิจเร่งด่วนของยุโรปคือการเรียนรู้วิธีการได้มาซึ่งอำนาจอีกครั้ง ยุโรปต้องเตรียมพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับศัตรูและบางครั้งมิตร รวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย”
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 152 มุมมอง 0 รีวิว
  • -รายงานข่าว 20 กุมภาพันธ์ 2568-

    วันนี้ครบรอบ 1 เดือน (20 มกราคม-20 กุมภาพันธ์ 2568) ของการบริหารงานของนายโดนัล เจ. ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐอเมริกา นางคาโรไลน์ เลวิทท์ โฆษกทำเนียบขาว ออกมารายงานผลความคืบหน้าของทรัมป์ 2.0 ว่า มีคำสั่งอำนาจบริหารออกมารวม 73 ฉบับ มากกว่ายุคไบเดนและยุคโอบามา 2-3 เท่า...ครม.ของทรัมป์ยุคนี้ได้รับการไว้วางใจโวตยอมรับจากสภาสูงซีเนทมากถึง 18 คน มากกว่ายุคโอบามาปี 2009 และยุคไบเดนปี 2021...และนายทรัมป์จะประชุมคณะรัฐมนตรีทั้งหมดในวันอังคารหน้าที่จะถึงนี้ โดยที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะมาเยือนในวันจันทร์ ตามด้วยนายกรัฐมนตรีอังกฤษในวันพฤหัสบดี...ขณะรายงานข่าวทำเนียบขาวนั้นได้มีเจ้าหน้าที่ของกระทรวง Homeland Security ที่ปรึกษากฏหมายฝ่ายเศรษฐกิจแห่งชาติ และที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ เข้าร่วมแถลงข่าวด้วย นายไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติหรือ National Security Advisor ตอบคำถามผู้สื่อข่าวประเด็นยุติสงครามในยูเครนว่า สงครามยูเครนต้องจบแน่นอน เพราะสหรัฐฯไม่ต้องการนำเงินภาษีของคนอเมริกันไปช่วยเหลือสงครามยูเครนอีกต่อไปแล้ว โดยสหรัฐฯจะเข้าไปเจรจากับนายปูตินผู้นำรัสเซียในเร็ววันนี้..ข่าวล่าสุดในวันนี้ เมื่อตอนบ่าย สภาสูงหรือซีเนทของคองเกรส ได้ลงมติด้วยคะแนนชนะ 51:49 ให้นายแคช ปาเทล (Kash Patel) ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเอฟบีไอ หรือสำนักงานตำรวจสอบสวนกลาง ดูแลงานการสอบสวนและปราบปรามได้ทั่วประเทศ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรมของคุณ แพม บอนดิ และเอฟบีไอยังต้องรายงานข่าวโดยตรงให้กับผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติกับคุณ ทุลซี แก็บบาร์ด ให้รับทราบอีกด้วย
    -รายงานข่าว 20 กุมภาพันธ์ 2568- วันนี้ครบรอบ 1 เดือน (20 มกราคม-20 กุมภาพันธ์ 2568) ของการบริหารงานของนายโดนัล เจ. ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐอเมริกา นางคาโรไลน์ เลวิทท์ โฆษกทำเนียบขาว ออกมารายงานผลความคืบหน้าของทรัมป์ 2.0 ว่า มีคำสั่งอำนาจบริหารออกมารวม 73 ฉบับ มากกว่ายุคไบเดนและยุคโอบามา 2-3 เท่า...ครม.ของทรัมป์ยุคนี้ได้รับการไว้วางใจโวตยอมรับจากสภาสูงซีเนทมากถึง 18 คน มากกว่ายุคโอบามาปี 2009 และยุคไบเดนปี 2021...และนายทรัมป์จะประชุมคณะรัฐมนตรีทั้งหมดในวันอังคารหน้าที่จะถึงนี้ โดยที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะมาเยือนในวันจันทร์ ตามด้วยนายกรัฐมนตรีอังกฤษในวันพฤหัสบดี...ขณะรายงานข่าวทำเนียบขาวนั้นได้มีเจ้าหน้าที่ของกระทรวง Homeland Security ที่ปรึกษากฏหมายฝ่ายเศรษฐกิจแห่งชาติ และที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ เข้าร่วมแถลงข่าวด้วย นายไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติหรือ National Security Advisor ตอบคำถามผู้สื่อข่าวประเด็นยุติสงครามในยูเครนว่า สงครามยูเครนต้องจบแน่นอน เพราะสหรัฐฯไม่ต้องการนำเงินภาษีของคนอเมริกันไปช่วยเหลือสงครามยูเครนอีกต่อไปแล้ว โดยสหรัฐฯจะเข้าไปเจรจากับนายปูตินผู้นำรัสเซียในเร็ววันนี้..ข่าวล่าสุดในวันนี้ เมื่อตอนบ่าย สภาสูงหรือซีเนทของคองเกรส ได้ลงมติด้วยคะแนนชนะ 51:49 ให้นายแคช ปาเทล (Kash Patel) ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเอฟบีไอ หรือสำนักงานตำรวจสอบสวนกลาง ดูแลงานการสอบสวนและปราบปรามได้ทั่วประเทศ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรมของคุณ แพม บอนดิ และเอฟบีไอยังต้องรายงานข่าวโดยตรงให้กับผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติกับคุณ ทุลซี แก็บบาร์ด ให้รับทราบอีกด้วย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 137 มุมมอง 0 รีวิว
  • หน่วยงานความมั่นคงของอิสราเอลโปรยใบปลิวไปทั่วกาซา เนื้อหาในใบปลิวเป็นการกดดันให้ผู้อยู่อาศัยในฉนวนกาซาทั้งหมดรีบตัดสินใจเดินทางออกไปจากสถานที่แห่งนี้ตามนโยบายการกวาดล้างของทรัมป์

    “ถึงประชาชนชาวฉนวนกาซา

    หลังจากมีข้อตกลงหยุดยิงชั่วคราว และก่อนที่จะมีการนำแผนบังคับของทรัมป์มาใช้ ซึ่งจะบังคับให้ต้องอพยพออกไป ไม่ว่าคุณจะยอมรับหรือไม่ก็ตาม

    เราขอแจ้งเตือนอีกเป็นครั้งสุดท้าย สำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจากเราเพื่อเดินทางออกไปจากที่นี่ เราพร้อมจะเข้าไปช่วยเหลือ และขอให้รีบพิจารณาทางเลือกนี้

    แผนที่โลกจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ดินแดนฉนวนกาซาทั้งหมดไม่มีอยู่จริง ไม่มีใครสงสารพวกคุณ และไม่มีใครสนใจถามถึงพวกคุณ พวกคุณถูกปล่อยให้เผชิญกับชะตากรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพียงลำพัง

    อิหร่านยังไม่สามารถปกป้องตัวเองได้ ไม่ต้องพูดถึงการปกป้องพวกคุณ พวกคุณได้เห็นด้วยตาตัวเองแล้วว่าเกิดอะไรขึ้น ทั้งอเมริกาและยุโรปต่างไม่มีใครสนใจฉนวนกาซา ประเทศอาหรับของพวกคุณที่คุณหวังพึงพวกเค้า ปัจจุบันคือเป็นพันธมิตรของเรา ที่คอยจัดหาเงิน น้ำมัน และอาวุธให้แก่เรา และส่งเพียงผ้าห่อศพมาให้คุณเท่านั้น

    เวลาเหลือไม่มาก เกมกำลังจะจบลงแล้ว ก่อนที่มันจะสายเกินไป พวกเราจะยังคงอยู่ที่นี่ เราจะอยู่จนถึงวันพิพากษาพวกคุณ”
    หน่วยงานความมั่นคงของอิสราเอลโปรยใบปลิวไปทั่วกาซา เนื้อหาในใบปลิวเป็นการกดดันให้ผู้อยู่อาศัยในฉนวนกาซาทั้งหมดรีบตัดสินใจเดินทางออกไปจากสถานที่แห่งนี้ตามนโยบายการกวาดล้างของทรัมป์ “ถึงประชาชนชาวฉนวนกาซา หลังจากมีข้อตกลงหยุดยิงชั่วคราว และก่อนที่จะมีการนำแผนบังคับของทรัมป์มาใช้ ซึ่งจะบังคับให้ต้องอพยพออกไป ไม่ว่าคุณจะยอมรับหรือไม่ก็ตาม เราขอแจ้งเตือนอีกเป็นครั้งสุดท้าย สำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจากเราเพื่อเดินทางออกไปจากที่นี่ เราพร้อมจะเข้าไปช่วยเหลือ และขอให้รีบพิจารณาทางเลือกนี้ แผนที่โลกจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ดินแดนฉนวนกาซาทั้งหมดไม่มีอยู่จริง ไม่มีใครสงสารพวกคุณ และไม่มีใครสนใจถามถึงพวกคุณ พวกคุณถูกปล่อยให้เผชิญกับชะตากรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพียงลำพัง อิหร่านยังไม่สามารถปกป้องตัวเองได้ ไม่ต้องพูดถึงการปกป้องพวกคุณ พวกคุณได้เห็นด้วยตาตัวเองแล้วว่าเกิดอะไรขึ้น ทั้งอเมริกาและยุโรปต่างไม่มีใครสนใจฉนวนกาซา ประเทศอาหรับของพวกคุณที่คุณหวังพึงพวกเค้า ปัจจุบันคือเป็นพันธมิตรของเรา ที่คอยจัดหาเงิน น้ำมัน และอาวุธให้แก่เรา และส่งเพียงผ้าห่อศพมาให้คุณเท่านั้น เวลาเหลือไม่มาก เกมกำลังจะจบลงแล้ว ก่อนที่มันจะสายเกินไป พวกเราจะยังคงอยู่ที่นี่ เราจะอยู่จนถึงวันพิพากษาพวกคุณ”
    Haha
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 252 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปธ.กมธ.มั่นคง ลั่น เป็นความผิดพลาดที่ไม่น่าให้อภัย-ไม่รู้ใครต้องรับผิดชอบ หลัง กมธ.คอนเฟิร์มระบบ 'ไบโอเมตริกซ์' ไทย หมดอายุ 3 ปีแล้ว เผย ต้องใช้วิธีโบราณถ่ายภาพ-ปั๊มนิ้วคนผ่านเข้าออก คนจีนในเมียวดีไม่ถูกจำแนกเหยื่อ-อาชญากร อาจทำให้ประเทศอื่นได้รับการปฏิบัติไม่เท่าเทียม ไทยอยู่ภายใต้อิทธิพล

    เมื่อวันที่ (20 ก.พ.) ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทยยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร แถลงความคืบหน้าภายหลังการประชุม กมธ.ถึงแนวทางการจัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งมีหลายส่วนเข้าไปพัวพันเกี่ยวข้องกับข้อมูลอัตลักษณ์ และเกี่ยวกับอาชญากรข้ามชาติและยาเสพติด

    โดยนายรังสิมันต์ ระบุว่า ประเทศไทยไม่มีการใช้ระบบไบโอเมตริกซ์อีกแล้ว ซึ่งแปลว่าเวลา 3 ปีเต็มนี้ ไม่มีเครื่องมือในการเก็บข้อมูลอัตลักษณ์นักท่องเที่ยว ทำให้มีโอกาสผิดพลาด จากการที่นักท่องเที่ยวใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านในการก่ออาชญากรรม โดยที่ตัวเขาเองมีสัญชาติที่แตกต่างกัน

    นายรังสิมันต์ กล่าวต่อว่า แม้วันนี้สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) จะใช้วิธีการถ่ายรูปและพิมพ์ลายนิ้วมือ แต่ข้อมูลที่ได้นั้น ชัดเจนว่าไม่เพียงพอ และกลายเป็นช่องว่างสำคัญ ในการที่จะทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในภายใต้ความอันตรายของปัญหาอาชญากรรมที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างแน่นอน

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/politics/detail/9680000016989

    #MGROnline #ไบโอเมตริกซ์
    ปธ.กมธ.มั่นคง ลั่น เป็นความผิดพลาดที่ไม่น่าให้อภัย-ไม่รู้ใครต้องรับผิดชอบ หลัง กมธ.คอนเฟิร์มระบบ 'ไบโอเมตริกซ์' ไทย หมดอายุ 3 ปีแล้ว เผย ต้องใช้วิธีโบราณถ่ายภาพ-ปั๊มนิ้วคนผ่านเข้าออก คนจีนในเมียวดีไม่ถูกจำแนกเหยื่อ-อาชญากร อาจทำให้ประเทศอื่นได้รับการปฏิบัติไม่เท่าเทียม ไทยอยู่ภายใต้อิทธิพล • เมื่อวันที่ (20 ก.พ.) ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทยยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร แถลงความคืบหน้าภายหลังการประชุม กมธ.ถึงแนวทางการจัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งมีหลายส่วนเข้าไปพัวพันเกี่ยวข้องกับข้อมูลอัตลักษณ์ และเกี่ยวกับอาชญากรข้ามชาติและยาเสพติด • โดยนายรังสิมันต์ ระบุว่า ประเทศไทยไม่มีการใช้ระบบไบโอเมตริกซ์อีกแล้ว ซึ่งแปลว่าเวลา 3 ปีเต็มนี้ ไม่มีเครื่องมือในการเก็บข้อมูลอัตลักษณ์นักท่องเที่ยว ทำให้มีโอกาสผิดพลาด จากการที่นักท่องเที่ยวใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านในการก่ออาชญากรรม โดยที่ตัวเขาเองมีสัญชาติที่แตกต่างกัน • นายรังสิมันต์ กล่าวต่อว่า แม้วันนี้สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) จะใช้วิธีการถ่ายรูปและพิมพ์ลายนิ้วมือ แต่ข้อมูลที่ได้นั้น ชัดเจนว่าไม่เพียงพอ และกลายเป็นช่องว่างสำคัญ ในการที่จะทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในภายใต้ความอันตรายของปัญหาอาชญากรรมที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างแน่นอน • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/politics/detail/9680000016989 • #MGROnline #ไบโอเมตริกซ์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 224 มุมมอง 0 รีวิว
  • 📌10 เทคนิควางแผนการเงินเพื่อชีวิตวัยเกษียณสำหรับ Generation X
    1. กำหนดเป้าหมายเกษียณ – คำนวณค่าใช้จ่ายที่ต้องการและระยะเวลาการออม

    2. สร้างกองทุนฉุกเฉิน – มีเงินสำรอง 6-12 เดือนเผื่อค่าใช้จ่ายไม่คาดคิด

    3. ออมเงินอย่างสม่ำเสมอ – กันเงินเก็บทุกเดือน สร้างนิสัยออมก่อนใช้

    4. ลงทุนเพื่ออนาคต – กระจายความเสี่ยงในหุ้น กองทุน อสังหาริมทรัพย์

    5. ลดหนี้สินก่อนเกษียณ – จัดการหนี้ให้หมดเร็ว ลดภาระดอกเบี้ย

    6. วางแผนประกันสุขภาพ – เลือกประกันคุ้มครองระยะยาวลดภาระค่ารักษาพยาบาล

    7. ศึกษาสิทธิ์ประกันสังคม – ตรวจสอบเงินบำนาญและสวัสดิการที่ได้รับ

    8. หารายได้เสริม – ลงทุนหรือทำธุรกิจขนาดเล็กสร้างรายได้ต่อเนื่อง

    9. ควบคุมค่าใช้จ่าย – ตัดรายจ่ายฟุ่มเฟือย บริหารเงินให้มีประสิทธิภาพ

    10. วางแผนมรดก – จัดการพินัยกรรมเพื่อป้องกันปัญหาทรัพย์สินในอนาคต

    เตรียมตัวดี มีเงินใช้ เกษียณอย่างมั่นคง!

    📌10 เทคนิควางแผนการเงินเพื่อชีวิตวัยเกษียณสำหรับ Generation X 1. กำหนดเป้าหมายเกษียณ – คำนวณค่าใช้จ่ายที่ต้องการและระยะเวลาการออม 2. สร้างกองทุนฉุกเฉิน – มีเงินสำรอง 6-12 เดือนเผื่อค่าใช้จ่ายไม่คาดคิด 3. ออมเงินอย่างสม่ำเสมอ – กันเงินเก็บทุกเดือน สร้างนิสัยออมก่อนใช้ 4. ลงทุนเพื่ออนาคต – กระจายความเสี่ยงในหุ้น กองทุน อสังหาริมทรัพย์ 5. ลดหนี้สินก่อนเกษียณ – จัดการหนี้ให้หมดเร็ว ลดภาระดอกเบี้ย 6. วางแผนประกันสุขภาพ – เลือกประกันคุ้มครองระยะยาวลดภาระค่ารักษาพยาบาล 7. ศึกษาสิทธิ์ประกันสังคม – ตรวจสอบเงินบำนาญและสวัสดิการที่ได้รับ 8. หารายได้เสริม – ลงทุนหรือทำธุรกิจขนาดเล็กสร้างรายได้ต่อเนื่อง 9. ควบคุมค่าใช้จ่าย – ตัดรายจ่ายฟุ่มเฟือย บริหารเงินให้มีประสิทธิภาพ 10. วางแผนมรดก – จัดการพินัยกรรมเพื่อป้องกันปัญหาทรัพย์สินในอนาคต เตรียมตัวดี มีเงินใช้ เกษียณอย่างมั่นคง!
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 98 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ หนึ่งในทีมงานที่ร่วมเจรจากับรัสเซียในซาอุฯ ออกมากล่าวสนับสนุนทรัมป์ หลังจากพวกวิจารณ์เซเลนสกีไปอย่างเผ็ดร้อน โดยระบุว่า ทรัมป์ไม่ได้พสดพิงไปถึงประชาชนชาวยูเครน ทรัมป์วิจารณ์ไปที่ตัวตนของเซเลนสกีเท่านั้น

    วอลซ์ยังตั้งคำถามไปถึงเซเลนสกีว่า ทำไมเซเลนสกีจึงไม่พยายามยุติสงครามนี้เพื่อทำให้ประเทศกลับมาดีกว่าเดิม และลองถามตัวเองดูว่าสถานะของยูเครนตอนนี้ในสนามรบดีขึ้นบ้างหรือไม่

    นอกจากนี้วอลซ์ยังต้องการให้ มาครงและสตาร์เมอร์ สองผู้นำจากฝรั่งเศสและอังกฤษ มาเยือนวอชิงตันในสัปดาห์หน้าเพื่อหารือเกี่ยวกับการแก้ไขความขัดแย้งในยูเครน

    ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ หนึ่งในทีมงานที่ร่วมเจรจากับรัสเซียในซาอุฯ ออกมากล่าวสนับสนุนทรัมป์ หลังจากพวกวิจารณ์เซเลนสกีไปอย่างเผ็ดร้อน โดยระบุว่า ทรัมป์ไม่ได้พสดพิงไปถึงประชาชนชาวยูเครน ทรัมป์วิจารณ์ไปที่ตัวตนของเซเลนสกีเท่านั้น วอลซ์ยังตั้งคำถามไปถึงเซเลนสกีว่า ทำไมเซเลนสกีจึงไม่พยายามยุติสงครามนี้เพื่อทำให้ประเทศกลับมาดีกว่าเดิม และลองถามตัวเองดูว่าสถานะของยูเครนตอนนี้ในสนามรบดีขึ้นบ้างหรือไม่ นอกจากนี้วอลซ์ยังต้องการให้ มาครงและสตาร์เมอร์ สองผู้นำจากฝรั่งเศสและอังกฤษ มาเยือนวอชิงตันในสัปดาห์หน้าเพื่อหารือเกี่ยวกับการแก้ไขความขัดแย้งในยูเครน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 262 มุมมอง 16 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าวหา โดนัลด์ ทรัมป์ ว่า เอาแต่เชื่อฟัง “ข้อมูลข่าวสารเท็จ” ของฝ่ายรัสเซีย เป็นการตอบโต้ผู้นำสหรัฐฯ ที่พูดเมื่อ 1 วันก่อนหน้านั้น โจมตีประมุขเคียฟกลายๆ ว่า เขาเป็นต้นตอปล่อยให้ความขัดแย้งกับรัสเซียเริ่มต้นขึ้นมาและลุกลามบานปลายอย่างไม่จำเป็น การโจมตีใส่กันเช่นนี้ส่อแสดงให้เห็นว่ายูเครนกับคณะบริหารใหม่ของอเมริกายิ่งมองหน้ากันไม่ติด หลังจากคณะผู้แทนทางการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ และรัสเซียเปิดการหารือกันอย่างชื่นมื่นที่ซาอุดีอาระเบีย ในเรื่องหนทางยุติสงครามในยูเครนและการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างแดนอินทรีกับแดนหมีขาว โดยที่ไม่เชิญยูเครนหรือชาติยุโรปซึ่งหนุนหลังเคียฟเข้าร่วมด้วย
    .
    ระหว่างการแถลงข่าวสื่อมวลชนเมื่อวันอังคาร (18) ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวย้ำประเด็นจำนวนมากที่ฝ่ายรัสเซียได้พูดเอาไว้ในช่วง 3 ปีที่เกิดสงครามในยูเครน โดยประณามเคียฟว่าเป็นผู้เริ่มต้นทำให้เกิดการสู้รบขึ้นมาอย่างไม่จำเป็น พร้อมกับย้ำว่า บรรดาผู้นำในเคียฟไม่ควรปล่อยให้เกิดการสู้รบขัดแย้งขึ้นมาตั้งแต่แรก ทั้งนี้คำพูดเช่นนี้ของเขาอาจตีความได้ว่า เขาเห็นว่ายูเครนน่าจะยอมโอนอ่อนผ่อนตามแดนหมีขาว ก่อนที่รัสเซียจะยกทัพบุกเมื่อต้นปี 2022 นอกจากนั้น ทรัมป์ยังเสนอแนะว่าเซเลนสกีกำลังไม่เป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนชาวยูเครน
    .
    เซเลนสกีกล่าวตอบโต้กลับในวันพุธ โดยบอกว่า “โชคร้าย ท่านประธานาธิบดีทรัมป์ ผู้ซึ่งเรามีความเคารพอย่างใหญ่หลวงในฐานะเป็นผู้นำของประชาชนชาวอเมริกัน ... มีชีวิตอยู่ในท่ามกลางแวดวงข้อมูลข่าวสารเท็จเช่นนี้”
    .
    “ผมเชื่อว่าสหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือให้ปูตินสามารถทลายการถูกโดดเดี่ยวมาเป็นเวลาหลายปี” เซเลนสกี กล่าว
    .
    ในวันอังคาร ทรัมป์กล่าวตำหนิทางยูเครนที่ส่งเสียงคร่ำครวญกรณีถูกกีดกันออกจากการเจรจาของสหรัฐฯ กับรัสเซีย ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในวันเดียวกัน
    .
    "ผมผิดหวังอย่างมาก ผมได้ยินว่าพวกเขาอารมณ์เสียที่ไม่มีที่นั่งบนโต๊ะเจรจา" ทรัมป์บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่รีสอร์ตมาร์-อา-ลาโก ของเขาในฟลอริดา หลังถูกสอบถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาของยูเครน
    .
    "วันนี้ผมได้ยิน (ทางยูเครนพูด) ว่า โอ้ เราไม่ได้รับเชิญ ก็แน่นอนล่ะ คุณอยู่ตรงนั้นมา 3 ปี แต่คุณไม่เคยเริ่มมันเลย คุณควรทำข้อตกลง (กับรัสเซีย)" เขากล่าว
    .
    ในการแถลงข่าว ทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า อาจพบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ก่อนสิ้นเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบีย เวลาเดียวกันเขาก็เพิ่มความกดดันให้เซเลนสกีต้องจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องสำคัญของรัสเซีย ทั้งนี้ เนื่องจากเซเลนสกีรับตำแหน่งเกิน 5 ปีตามกำหนดวาระแล้ว แต่ยังไม่จัดการเลือกตั้งโดยอ้างว่า ยูเครนยังคงอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก
    .
    "พวกเขา (พวกผู้นำยูเครน) ต้องการเก้าอี้บนโต๊ะเจรจา แต่คุณสามารถพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชวยูเครน มันนานมาแล้วนะที่เขามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์ระบุ พร้อมกับกล่าวว่า "นี่ไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากเรา มาจากประเทศอื่นๆ"
    .
    ผู้นำสหรัฐฯ ยังบอกว่า มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า ตนเองมีอำนาจในการหยุดยั้งสงครามในยูเครน ภายหลังการหารือของคณะผู้แทนของสหรัฐฯ และรัสเซียที่กรุงริยาด ซึ่งเป็นการประชุมระดับสูงอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่รัสเซียยกทัพบุกยูเครนนั้น
    .
    ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า ในการหารือที่ริยาดที่ใช้เวลายาวนานราว 4 ชั่วโมงครึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายอเมริกา และรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ ของรัสเซีย ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะของฝ่ายแดนหมีขาว ได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อหารือกันถึงเกี่ยวกับวิธีการยุติสงครามในยูเครนโดยเร็วที่สุด แต่ยังไม่ระบุชัดเจนว่าจะประชุมกันครั้งแรกเมื่อใด
    .
    ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องสร้างกลไกการหารือเพื่อจัดการ “สิ่งที่สร้างความระคายเคือง” ต่อความสัมพันธ์สองประเทศ และวางรากฐานสำหรับการร่วมมือในอนาคต
    .
    ด้าน ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ ซึ่งร่วมเจรจาที่ริยาดด้วย เสริมว่า ประเด็นด้านดินแดนและการรับประกันความมั่นคงจะเป็นส่วนหนึ่งในการหารือ
    .
    สำหรับ คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจของรัสเซีย กล่าวว่า ความพยายามของตะวันตกในการโดดเดี่ยวรัสเซียล้มเหลวอย่างชัดเจน และเสริมว่า รัสเซียและอเมริกาควรพัฒนาโครงการพลังงานร่วมกัน ซึ่งรวมถึงในอาร์กติกและภูมิภาคอื่นๆ
    .
    ด้านลาฟรอฟแสดงความเชื่อมั่นว่า อเมริกาเข้าใจจุดยืนของรัสเซียดีขึ้น และยังย้ำว่า มอสโกคัดค้านการนำกองกำลังนาโตไปประจำการในยูเครนภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้นำยุโรปกำลังถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016776
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าวหา โดนัลด์ ทรัมป์ ว่า เอาแต่เชื่อฟัง “ข้อมูลข่าวสารเท็จ” ของฝ่ายรัสเซีย เป็นการตอบโต้ผู้นำสหรัฐฯ ที่พูดเมื่อ 1 วันก่อนหน้านั้น โจมตีประมุขเคียฟกลายๆ ว่า เขาเป็นต้นตอปล่อยให้ความขัดแย้งกับรัสเซียเริ่มต้นขึ้นมาและลุกลามบานปลายอย่างไม่จำเป็น การโจมตีใส่กันเช่นนี้ส่อแสดงให้เห็นว่ายูเครนกับคณะบริหารใหม่ของอเมริกายิ่งมองหน้ากันไม่ติด หลังจากคณะผู้แทนทางการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ และรัสเซียเปิดการหารือกันอย่างชื่นมื่นที่ซาอุดีอาระเบีย ในเรื่องหนทางยุติสงครามในยูเครนและการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างแดนอินทรีกับแดนหมีขาว โดยที่ไม่เชิญยูเครนหรือชาติยุโรปซึ่งหนุนหลังเคียฟเข้าร่วมด้วย . ระหว่างการแถลงข่าวสื่อมวลชนเมื่อวันอังคาร (18) ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวย้ำประเด็นจำนวนมากที่ฝ่ายรัสเซียได้พูดเอาไว้ในช่วง 3 ปีที่เกิดสงครามในยูเครน โดยประณามเคียฟว่าเป็นผู้เริ่มต้นทำให้เกิดการสู้รบขึ้นมาอย่างไม่จำเป็น พร้อมกับย้ำว่า บรรดาผู้นำในเคียฟไม่ควรปล่อยให้เกิดการสู้รบขัดแย้งขึ้นมาตั้งแต่แรก ทั้งนี้คำพูดเช่นนี้ของเขาอาจตีความได้ว่า เขาเห็นว่ายูเครนน่าจะยอมโอนอ่อนผ่อนตามแดนหมีขาว ก่อนที่รัสเซียจะยกทัพบุกเมื่อต้นปี 2022 นอกจากนั้น ทรัมป์ยังเสนอแนะว่าเซเลนสกีกำลังไม่เป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนชาวยูเครน . เซเลนสกีกล่าวตอบโต้กลับในวันพุธ โดยบอกว่า “โชคร้าย ท่านประธานาธิบดีทรัมป์ ผู้ซึ่งเรามีความเคารพอย่างใหญ่หลวงในฐานะเป็นผู้นำของประชาชนชาวอเมริกัน ... มีชีวิตอยู่ในท่ามกลางแวดวงข้อมูลข่าวสารเท็จเช่นนี้” . “ผมเชื่อว่าสหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือให้ปูตินสามารถทลายการถูกโดดเดี่ยวมาเป็นเวลาหลายปี” เซเลนสกี กล่าว . ในวันอังคาร ทรัมป์กล่าวตำหนิทางยูเครนที่ส่งเสียงคร่ำครวญกรณีถูกกีดกันออกจากการเจรจาของสหรัฐฯ กับรัสเซีย ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในวันเดียวกัน . "ผมผิดหวังอย่างมาก ผมได้ยินว่าพวกเขาอารมณ์เสียที่ไม่มีที่นั่งบนโต๊ะเจรจา" ทรัมป์บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่รีสอร์ตมาร์-อา-ลาโก ของเขาในฟลอริดา หลังถูกสอบถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาของยูเครน . "วันนี้ผมได้ยิน (ทางยูเครนพูด) ว่า โอ้ เราไม่ได้รับเชิญ ก็แน่นอนล่ะ คุณอยู่ตรงนั้นมา 3 ปี แต่คุณไม่เคยเริ่มมันเลย คุณควรทำข้อตกลง (กับรัสเซีย)" เขากล่าว . ในการแถลงข่าว ทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า อาจพบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ก่อนสิ้นเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบีย เวลาเดียวกันเขาก็เพิ่มความกดดันให้เซเลนสกีต้องจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องสำคัญของรัสเซีย ทั้งนี้ เนื่องจากเซเลนสกีรับตำแหน่งเกิน 5 ปีตามกำหนดวาระแล้ว แต่ยังไม่จัดการเลือกตั้งโดยอ้างว่า ยูเครนยังคงอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก . "พวกเขา (พวกผู้นำยูเครน) ต้องการเก้าอี้บนโต๊ะเจรจา แต่คุณสามารถพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชวยูเครน มันนานมาแล้วนะที่เขามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์ระบุ พร้อมกับกล่าวว่า "นี่ไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากเรา มาจากประเทศอื่นๆ" . ผู้นำสหรัฐฯ ยังบอกว่า มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า ตนเองมีอำนาจในการหยุดยั้งสงครามในยูเครน ภายหลังการหารือของคณะผู้แทนของสหรัฐฯ และรัสเซียที่กรุงริยาด ซึ่งเป็นการประชุมระดับสูงอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่รัสเซียยกทัพบุกยูเครนนั้น . ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า ในการหารือที่ริยาดที่ใช้เวลายาวนานราว 4 ชั่วโมงครึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายอเมริกา และรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ ของรัสเซีย ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะของฝ่ายแดนหมีขาว ได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อหารือกันถึงเกี่ยวกับวิธีการยุติสงครามในยูเครนโดยเร็วที่สุด แต่ยังไม่ระบุชัดเจนว่าจะประชุมกันครั้งแรกเมื่อใด . ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องสร้างกลไกการหารือเพื่อจัดการ “สิ่งที่สร้างความระคายเคือง” ต่อความสัมพันธ์สองประเทศ และวางรากฐานสำหรับการร่วมมือในอนาคต . ด้าน ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ ซึ่งร่วมเจรจาที่ริยาดด้วย เสริมว่า ประเด็นด้านดินแดนและการรับประกันความมั่นคงจะเป็นส่วนหนึ่งในการหารือ . สำหรับ คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจของรัสเซีย กล่าวว่า ความพยายามของตะวันตกในการโดดเดี่ยวรัสเซียล้มเหลวอย่างชัดเจน และเสริมว่า รัสเซียและอเมริกาควรพัฒนาโครงการพลังงานร่วมกัน ซึ่งรวมถึงในอาร์กติกและภูมิภาคอื่นๆ . ด้านลาฟรอฟแสดงความเชื่อมั่นว่า อเมริกาเข้าใจจุดยืนของรัสเซียดีขึ้น และยังย้ำว่า มอสโกคัดค้านการนำกองกำลังนาโตไปประจำการในยูเครนภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้นำยุโรปกำลังถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016776 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    14
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1703 มุมมอง 0 รีวิว
  • เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์แถลงว่า ยุโรปไม่ต้องการให้ชาติเอเชียต้องเลือกระหว่างสหรัฐฯ และจีน ท่ามกลางกระแสการแข่งขันโลกเชี่ยวกราก ปูทางประธานาธิบดี เอ็มมานุเอล มาครง ขึ้นเวทีการประชุมแชงกรีลาไดอะล็อกฟอรัม พฤษภาคมนี้ ขณะที่สิงคโปร์เปิดอกรับเอเชียมองวอชิงตันทำตัวเหมือนเจ้าของที่กำลังเรียกเก็บค่าเช่า
    .
    รอยเตอร์รายงานวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์ สตีเฟน มาร์กีซีโอ (Stephen Marchisio) เริ่มทำหน้าที่ตั้งแต่วันอังคาร (18) เปิดใจว่า ฝรั่งเศสเห็นแรงกดดันเพิ่มขึ้น “บางทีมาจากฝั่งสหรัฐฯ” ที่พันธมิตรในเอเชียจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกข้าง”
    .
    เขาย้ำว่า “มันมีความสำคัญที่ต้องกล่าวว่าพวกเราสามารถพูดคุยได้กับทุกคน” และเสริมว่า “พวกเราไม่ต้องการให้ใครต้องเลือก”
    .
    ทูตแดนน้ำหอมคนใหม่ของประธานาธิบดีเอ็มมานุเอล มาครงให้สัมภาษณ์กับนักข่าวระหว่างอาหารค่ำในสิงคโปร์ที่ซึ่งมาครงจะเดินทางมาที่นี่เพื่อขึ้นกล่าวในการประชุมความมั่นคงแชงกรีลาฟอรัมในวันที่ 30 พ.ค.ที่จะถึง
    .
    มาร์กีซีโอกล่าวว่า ประธานาธิบดีมาครงจะขึ้นกล่าวยืนยันบนเวทีว่า ทุกชาติภายในภูมิภาคสามารถปกป้องผลประโยชน์ของชาติตัวเองได้
    .
    “พวกคุณสามารถทำได้ถึงแม้ว่าคุณจะไม่เห็นด้วยกับรูปแบบทางการเมืองของจีน และคุณสามารถทำได้ถึงแม้คุณจะไม่ต้องการฐานทัพจากสหรัฐฯ ในดินแดนของพวกคุณก็ตาม”
    .
    สถานทูตสหรัฐฯ ในสิงคโปร์ได้ตอบคำถามรอยเตอร์ไปยังแถลงการณ์ของกลุ่ม G-7 ที่ลงนามในมิวนิกโดยฝรั่งเศสและสหรัฐฯ ที่กล่าวว่า สมาชิกทุกชาติมีพันธต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรี เปิดกว้าง และมั่นคง
    .
    ตามแถลงการณ์ทูตฝรั่งเศสชี้ว่า ยุโรปต้องสามัคคี
    .
    มาร์กีซีโอยังชี้ว่า ยุโรปต้องมีความสามัคคีที่รวมไปถึงการสั่งซื้ออาวุธอเมริกัน ที่ชี้ว่าเป็นการตอบโต้คำแถลงจากรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดีเจ แวนซ์ ในมิวนิกเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
    .
    ทูตแดนน้ำหอมกล่าวว่า มีบางประเทศมองความเกี่ยวข้องในการซื้ออาวุธเป็นหนทางที่จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทรัมป์สมัยแรก แต่ทว่ามุมมองนี้เปลี่ยนไปแล้วโดยเฉพาะหลังจากที่รองประธานาธิบดีแวนซ์ของสหรัฐฯ ได้ส่งสัญญาณผ่านำแถลงที่เผ็ดร้อนในการประชุมมิวนิกฟอรัมในยุโรป
    .
    “เกิดอะไรขึ้นในมิวนิก? เขาพยายามโจมตีแก่นกลางของประชาธิปไตย” และเสริมต่อว่า “ดังนั้นมันจึงทำให้เกิดไปสู่คำถามอื่นต่อ”
    .
    ดังนั้นเวลานี้ประเทศในยุโรปอาจจะไม่ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อเมริกัน และเสริมต่อว่าเป็นเพราะไม่มีหลักประกันในการทำเช่นนั้นจะช่วยผ่อนคลายความกดดันของสหรัฐฯ ลงหรือวาทะโจมตีแสดงความเป็นปรปักษ์
    .
    “พวกเราไม่ต้องการที่จะกล่าวว่า ..แต่พวกเราจะตอบโต้หากว่าพวกเราต้องทำ” โดยอ้างไปถึงภาษีและแรงกดดันอื่นๆ ของสหรัฐฯ
    .
    มาร์กีซีโอรายงานว่า สถานการณ์ที่ดีที่สุดของฝรั่งเศสคือการไม่ต้องการตอบโต้เอาคืนจากการที่ทั้งสหรัฐอเมริกาและชาติยุโรปต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันมากมายรวมไปถึงอุตสาหกรรม
    .
    การแสดงความเห็นของทูตฝรั่งเศสคนใหม่สะท้อนความเห็นรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์ อึ้ง เอ็ง เฮง (Ng Eng Hen) ที่แถลงในการประชุมความมั่นคงยุโรปว่า “ภาพของอเมริกาที่มีต่อเอเชียได้เปลี่ยนไป”
    .
    “ภาพลักษณ์เปลี่ยนไปจากผู้ปลดปล่อยไปสู่ผู้สร้างความปั่นป่วนไปสู่เจ้าของที่ต้องการเรียกเก็บค่าเช่า”
    .
    บลูมเบิร์กรายงานวันจันทร์ (17) ว่า อึ้ง เอ็ง เฮง แถลงในการประชุมนอกรอบที่การประชุมความมั่นคงมิวนิกว่า แนวคิดที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายปีหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
    .
    ทั้งนี้ เว็บไซต์รัฐบาลสิงคโปร์ได้โพสต์เมื่อสุดสัปดาห์ในคำแถลงของรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์กล่าววิจารณ์สหรัฐฯ ในการประชุมมิวนิก
    .
    คำแถลงเกิดขึ้นหลังรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่สมัยทรัมป์มืดมัวตาบอดไม่สนใจต่อประวัติศาสตร์ที่เป็นมาของพันธมิตรนาโตเปิดฉากแผนการหารือตรงกับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูตินต่ออนาคตของสงครามเครมลินในยูเครน
    .
    บลูมเบิร์กวิเคราะห์ว่า สิงคโปร์เป็นเหมือนเช่นชาติส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องการแสวงหาทางสายกลางในการเพิ่มขึ้นของภาพที่ซับซ้อนทางการเมืองเชิงภูมิศาสตร์ เพื่อเสาะหาความสัมพันธ์ที่สมดุลกับสหรัฐอเมริกาในฐานะหุ้นส่วนความมั่นคงหลักและต่อจีนในฐานะแหล่งของการพัฒนาและหนึ่งในพันธมิตรทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดของตัวเอง
    .
    ทั้งนี้สหรัฐฯ ในสมัยอดีตรัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน อเมริกาได้ทำงานเพื่อสร้างข้อผูกพันทางความมั่นคงภายในภูมิภาคต่อต้านการรุกคืบจากจีนในทะเลจีนใต้ และเป็นความวิตกทางความมั่นคงที่ยังคงเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของปักกิ่งในการนำไต้หวันกลับสู่อ้อมอกอีกครั้งในอนาคตไม่ว่าจะเป็นการใช้กำลังหรือไม่
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016775
    ..............
    Sondhi X
    เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์แถลงว่า ยุโรปไม่ต้องการให้ชาติเอเชียต้องเลือกระหว่างสหรัฐฯ และจีน ท่ามกลางกระแสการแข่งขันโลกเชี่ยวกราก ปูทางประธานาธิบดี เอ็มมานุเอล มาครง ขึ้นเวทีการประชุมแชงกรีลาไดอะล็อกฟอรัม พฤษภาคมนี้ ขณะที่สิงคโปร์เปิดอกรับเอเชียมองวอชิงตันทำตัวเหมือนเจ้าของที่กำลังเรียกเก็บค่าเช่า . รอยเตอร์รายงานวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์ สตีเฟน มาร์กีซีโอ (Stephen Marchisio) เริ่มทำหน้าที่ตั้งแต่วันอังคาร (18) เปิดใจว่า ฝรั่งเศสเห็นแรงกดดันเพิ่มขึ้น “บางทีมาจากฝั่งสหรัฐฯ” ที่พันธมิตรในเอเชียจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกข้าง” . เขาย้ำว่า “มันมีความสำคัญที่ต้องกล่าวว่าพวกเราสามารถพูดคุยได้กับทุกคน” และเสริมว่า “พวกเราไม่ต้องการให้ใครต้องเลือก” . ทูตแดนน้ำหอมคนใหม่ของประธานาธิบดีเอ็มมานุเอล มาครงให้สัมภาษณ์กับนักข่าวระหว่างอาหารค่ำในสิงคโปร์ที่ซึ่งมาครงจะเดินทางมาที่นี่เพื่อขึ้นกล่าวในการประชุมความมั่นคงแชงกรีลาฟอรัมในวันที่ 30 พ.ค.ที่จะถึง . มาร์กีซีโอกล่าวว่า ประธานาธิบดีมาครงจะขึ้นกล่าวยืนยันบนเวทีว่า ทุกชาติภายในภูมิภาคสามารถปกป้องผลประโยชน์ของชาติตัวเองได้ . “พวกคุณสามารถทำได้ถึงแม้ว่าคุณจะไม่เห็นด้วยกับรูปแบบทางการเมืองของจีน และคุณสามารถทำได้ถึงแม้คุณจะไม่ต้องการฐานทัพจากสหรัฐฯ ในดินแดนของพวกคุณก็ตาม” . สถานทูตสหรัฐฯ ในสิงคโปร์ได้ตอบคำถามรอยเตอร์ไปยังแถลงการณ์ของกลุ่ม G-7 ที่ลงนามในมิวนิกโดยฝรั่งเศสและสหรัฐฯ ที่กล่าวว่า สมาชิกทุกชาติมีพันธต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรี เปิดกว้าง และมั่นคง . ตามแถลงการณ์ทูตฝรั่งเศสชี้ว่า ยุโรปต้องสามัคคี . มาร์กีซีโอยังชี้ว่า ยุโรปต้องมีความสามัคคีที่รวมไปถึงการสั่งซื้ออาวุธอเมริกัน ที่ชี้ว่าเป็นการตอบโต้คำแถลงจากรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดีเจ แวนซ์ ในมิวนิกเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา . ทูตแดนน้ำหอมกล่าวว่า มีบางประเทศมองความเกี่ยวข้องในการซื้ออาวุธเป็นหนทางที่จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทรัมป์สมัยแรก แต่ทว่ามุมมองนี้เปลี่ยนไปแล้วโดยเฉพาะหลังจากที่รองประธานาธิบดีแวนซ์ของสหรัฐฯ ได้ส่งสัญญาณผ่านำแถลงที่เผ็ดร้อนในการประชุมมิวนิกฟอรัมในยุโรป . “เกิดอะไรขึ้นในมิวนิก? เขาพยายามโจมตีแก่นกลางของประชาธิปไตย” และเสริมต่อว่า “ดังนั้นมันจึงทำให้เกิดไปสู่คำถามอื่นต่อ” . ดังนั้นเวลานี้ประเทศในยุโรปอาจจะไม่ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อเมริกัน และเสริมต่อว่าเป็นเพราะไม่มีหลักประกันในการทำเช่นนั้นจะช่วยผ่อนคลายความกดดันของสหรัฐฯ ลงหรือวาทะโจมตีแสดงความเป็นปรปักษ์ . “พวกเราไม่ต้องการที่จะกล่าวว่า ..แต่พวกเราจะตอบโต้หากว่าพวกเราต้องทำ” โดยอ้างไปถึงภาษีและแรงกดดันอื่นๆ ของสหรัฐฯ . มาร์กีซีโอรายงานว่า สถานการณ์ที่ดีที่สุดของฝรั่งเศสคือการไม่ต้องการตอบโต้เอาคืนจากการที่ทั้งสหรัฐอเมริกาและชาติยุโรปต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันมากมายรวมไปถึงอุตสาหกรรม . การแสดงความเห็นของทูตฝรั่งเศสคนใหม่สะท้อนความเห็นรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์ อึ้ง เอ็ง เฮง (Ng Eng Hen) ที่แถลงในการประชุมความมั่นคงยุโรปว่า “ภาพของอเมริกาที่มีต่อเอเชียได้เปลี่ยนไป” . “ภาพลักษณ์เปลี่ยนไปจากผู้ปลดปล่อยไปสู่ผู้สร้างความปั่นป่วนไปสู่เจ้าของที่ต้องการเรียกเก็บค่าเช่า” . บลูมเบิร์กรายงานวันจันทร์ (17) ว่า อึ้ง เอ็ง เฮง แถลงในการประชุมนอกรอบที่การประชุมความมั่นคงมิวนิกว่า แนวคิดที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายปีหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง . ทั้งนี้ เว็บไซต์รัฐบาลสิงคโปร์ได้โพสต์เมื่อสุดสัปดาห์ในคำแถลงของรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์กล่าววิจารณ์สหรัฐฯ ในการประชุมมิวนิก . คำแถลงเกิดขึ้นหลังรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่สมัยทรัมป์มืดมัวตาบอดไม่สนใจต่อประวัติศาสตร์ที่เป็นมาของพันธมิตรนาโตเปิดฉากแผนการหารือตรงกับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูตินต่ออนาคตของสงครามเครมลินในยูเครน . บลูมเบิร์กวิเคราะห์ว่า สิงคโปร์เป็นเหมือนเช่นชาติส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องการแสวงหาทางสายกลางในการเพิ่มขึ้นของภาพที่ซับซ้อนทางการเมืองเชิงภูมิศาสตร์ เพื่อเสาะหาความสัมพันธ์ที่สมดุลกับสหรัฐอเมริกาในฐานะหุ้นส่วนความมั่นคงหลักและต่อจีนในฐานะแหล่งของการพัฒนาและหนึ่งในพันธมิตรทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดของตัวเอง . ทั้งนี้สหรัฐฯ ในสมัยอดีตรัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน อเมริกาได้ทำงานเพื่อสร้างข้อผูกพันทางความมั่นคงภายในภูมิภาคต่อต้านการรุกคืบจากจีนในทะเลจีนใต้ และเป็นความวิตกทางความมั่นคงที่ยังคงเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของปักกิ่งในการนำไต้หวันกลับสู่อ้อมอกอีกครั้งในอนาคตไม่ว่าจะเป็นการใช้กำลังหรือไม่ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016775 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1708 มุมมอง 0 รีวิว
  • สองแถวแปลงร่าง พลิกโฉมขนส่งท้องถิ่น

    เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2568 หรือ Bangkok Design Week 2025 ที่ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร หนึ่งในนิทรรศการที่น่าสนใจ คือ สองแถวแปลงร่าง จัดแสดงรถสองแถวต้นแบบ ที่บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ บริษัท บัสซิ่ง ทรานสิท จำกัด ผู้ให้บริการขอนแก่นซิตี้บัส จังหวัดขอนแก่น และเมย์เดย์ กลุ่มนักออกแบบนวัตกรรมเกี่ยวกับการเดินทาง ร่วมกันออกแบบและพัฒนาขึ้น โดยใช้ระยะเวลาเกือบ 1 ปี

    จากการสอบถามทีมงานที่ร่วมพัฒนารถสองแถว ระบุว่า ต้นทุนในการประกอบรถสองแถว รวมระบบต่างๆ เช่น GPS และระบบจัดเก็บค่าโดยสาร รวมกันโดยประมาณไม่ถึง 1 ล้านบาท

    รถสองแถวแปลงร่าง ออกแบบภายใต้แนวคิดที่มุ่งเน้นความปลอดภัย ความสะดวกในการเดินทาง และความสะดวกสบายภายในห้องโดยสาร พร้อมแอปพลิเคชัน ที่สามารถระบุตำแหน่งของรถโดยสาร และเวลาที่รถจะมาถึง ณ จุดจอด โดยตัวรถโดยสารมีขนาดเล็ก ทำให้คล่องตัวในการขับขี่และจอดรับส่ง ทางขึ้น-ลง 2 ทางเพื่อความคล่องตัว บันไดทางขึ้นเฉพาะด้านข้างตัวรถ เพื่อความปลอดภัย ส่วนภายในรถโดยสารมีระบบหมุนเวียนอากาศ ให้อากาศถ่ายเทได้ แม้ปิดหน้าต่างเวลาฝนตก

    ระบบแจ้งจุดจอดถัดไป รูปแบบจอภาพและเสียง พัฒนาระบบโดย บัสซิ่ง ทรานสิท และระบบการจ่ายเงิน ที่รองรับสังคมไร้เงินสด เช่น จ่ายผ่านคิวอาร์โค้ด แตะบัตรโดยสาร และเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ รองรับธนบัตรและเหรียญ ที่นั่งมีทั้งหมด 10 ที่นั่ง พร้อมเข็มขัดนิรภัย โดยมีที่นั่งสีแดง เป็นที่นั่งสำรองสำหรับบุคคลพิเศษ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ไว-ไฟ ที่ชาร์จโทรศัพท์มือถือ และช่องทางการติดต่อกับคนขับภายในห้องโดยสาร ผ่านระบบอินเตอร์คอมอีกด้วย

    แต่เนื่องจากข้อจำกัดของรถกระบะ ทำให้ไม่สามารถทำเป็นรถชานต่ำได้ แต่ได้ออกแบบให้ขึ้น-ลงง่าย มีราวจับมั่นคงแทน รวมทั้งการที่ยังคงเปิดท้ายด้านหลัง เพราะตามกฎหมายการขนส่งทางบก รถโดยสารมาตรฐาน 3 ฉ ไม่มีเครื่องปรับอากาศ จำนวนที่นั่งผู้โดยสารไม่เกิน 12 ที่นั่ง กำหนดให้ประตูทางขึ้น-ลงต้องเป็นด้านข้างหรือด้านท้ายของรถ แต่ได้เปลี่ยนให้ขึ้นรถจากด้านข้างแล้วลงทางด้านหลังแทน

    สำหรับนิทรรศการรถสองแถวแปลงร่าง จะจัดแสดงถึงวันอาทิตย์ที่ 23 ก.พ. 2568 และทดลองให้บริการในเส้นทางวงกลม เสาชิงช้า เอ็มอาร์ทีสามยอด ประตูผี ถนนราชดำเนินกลาง และถนนดินสอ ในวันเสาร์ที่ 22 และวันอาทิตย์ที่ 23 ก.พ. 2568 ตั้งแต่เวลา 15.00-20.00 น. หลังจากนั้น บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด มีแผนจะนำมาให้บริการในเส้นทางหมู่บ้านทิพวัล จ.สมุทรปราการ ซึ่งใกล้กับโรงงานโตโยต้าสำโรง กลางปี 2568 ต่อไป

    #Newskit
    สองแถวแปลงร่าง พลิกโฉมขนส่งท้องถิ่น เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2568 หรือ Bangkok Design Week 2025 ที่ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร หนึ่งในนิทรรศการที่น่าสนใจ คือ สองแถวแปลงร่าง จัดแสดงรถสองแถวต้นแบบ ที่บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ บริษัท บัสซิ่ง ทรานสิท จำกัด ผู้ให้บริการขอนแก่นซิตี้บัส จังหวัดขอนแก่น และเมย์เดย์ กลุ่มนักออกแบบนวัตกรรมเกี่ยวกับการเดินทาง ร่วมกันออกแบบและพัฒนาขึ้น โดยใช้ระยะเวลาเกือบ 1 ปี จากการสอบถามทีมงานที่ร่วมพัฒนารถสองแถว ระบุว่า ต้นทุนในการประกอบรถสองแถว รวมระบบต่างๆ เช่น GPS และระบบจัดเก็บค่าโดยสาร รวมกันโดยประมาณไม่ถึง 1 ล้านบาท รถสองแถวแปลงร่าง ออกแบบภายใต้แนวคิดที่มุ่งเน้นความปลอดภัย ความสะดวกในการเดินทาง และความสะดวกสบายภายในห้องโดยสาร พร้อมแอปพลิเคชัน ที่สามารถระบุตำแหน่งของรถโดยสาร และเวลาที่รถจะมาถึง ณ จุดจอด โดยตัวรถโดยสารมีขนาดเล็ก ทำให้คล่องตัวในการขับขี่และจอดรับส่ง ทางขึ้น-ลง 2 ทางเพื่อความคล่องตัว บันไดทางขึ้นเฉพาะด้านข้างตัวรถ เพื่อความปลอดภัย ส่วนภายในรถโดยสารมีระบบหมุนเวียนอากาศ ให้อากาศถ่ายเทได้ แม้ปิดหน้าต่างเวลาฝนตก ระบบแจ้งจุดจอดถัดไป รูปแบบจอภาพและเสียง พัฒนาระบบโดย บัสซิ่ง ทรานสิท และระบบการจ่ายเงิน ที่รองรับสังคมไร้เงินสด เช่น จ่ายผ่านคิวอาร์โค้ด แตะบัตรโดยสาร และเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ รองรับธนบัตรและเหรียญ ที่นั่งมีทั้งหมด 10 ที่นั่ง พร้อมเข็มขัดนิรภัย โดยมีที่นั่งสีแดง เป็นที่นั่งสำรองสำหรับบุคคลพิเศษ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ไว-ไฟ ที่ชาร์จโทรศัพท์มือถือ และช่องทางการติดต่อกับคนขับภายในห้องโดยสาร ผ่านระบบอินเตอร์คอมอีกด้วย แต่เนื่องจากข้อจำกัดของรถกระบะ ทำให้ไม่สามารถทำเป็นรถชานต่ำได้ แต่ได้ออกแบบให้ขึ้น-ลงง่าย มีราวจับมั่นคงแทน รวมทั้งการที่ยังคงเปิดท้ายด้านหลัง เพราะตามกฎหมายการขนส่งทางบก รถโดยสารมาตรฐาน 3 ฉ ไม่มีเครื่องปรับอากาศ จำนวนที่นั่งผู้โดยสารไม่เกิน 12 ที่นั่ง กำหนดให้ประตูทางขึ้น-ลงต้องเป็นด้านข้างหรือด้านท้ายของรถ แต่ได้เปลี่ยนให้ขึ้นรถจากด้านข้างแล้วลงทางด้านหลังแทน สำหรับนิทรรศการรถสองแถวแปลงร่าง จะจัดแสดงถึงวันอาทิตย์ที่ 23 ก.พ. 2568 และทดลองให้บริการในเส้นทางวงกลม เสาชิงช้า เอ็มอาร์ทีสามยอด ประตูผี ถนนราชดำเนินกลาง และถนนดินสอ ในวันเสาร์ที่ 22 และวันอาทิตย์ที่ 23 ก.พ. 2568 ตั้งแต่เวลา 15.00-20.00 น. หลังจากนั้น บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด มีแผนจะนำมาให้บริการในเส้นทางหมู่บ้านทิพวัล จ.สมุทรปราการ ซึ่งใกล้กับโรงงานโตโยต้าสำโรง กลางปี 2568 ต่อไป #Newskit
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 219 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยูเครนกำลังขาดแคลนขีปนาวุธป้องกันภัยทางอากาศ Zelenskyy วอนขอใบอนุญาตผลิตขีปนาวุธ Patriot

    ประธานาธิบดี Volodymyr Zelenskyy ประกาศว่ายูเครนขาดแคลนขีปนาวุธสำหรับระบบป้องกันภัยทางอากาศ Patriot และขอให้สหรัฐฯ ให้ใบอนุญาตในการผลิต โดยยูเครนต้องการระบบป้องกันภัยทางอากาศประมาณ 20 ระบบเพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ

    "เมื่อพวกเขาบอกว่าไม่มีทหารในยูเครน แต่มีระบบป้องกันภัยทางอากาศ สหรัฐฯ มีระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ทรงพลัง เราขอ 20 ระบบได้ไหม? แค่นั้นก็พอ เราไม่ต้องการให้พวกเขามาดูแลระบบ เรามีคนของเราเอง เราจะฝึกพวกเขาเอง เราไม่ได้พูดถึงการส่งทหารมายูเครนโดยตรง แต่เราขอใบอนุญาต ไม่ใช่ขีปนาวุธ แต่เป็นใบอนุญาตผลิตขีปนาวุธสำหรับระบบ Patriot"

    Zelenskyy เล่าว่าผู้บัญชาการโทรหาเขาตอนเช้ามืด แจ้งว่าไม่มีขีปนาวุธ Patriot เหลือป้องกันเมือง "ผมเข้าใจว่าเราหมด เขาบอกว่ามีขีปนาวุธ 8 ลูกกำลังเข้ามา แต่เราไม่มีขีปนาวุธสำหรับระบบป้องกันภัยทางอากาศ"

    เขาเน้นว่าได้พูดเรื่องนี้กับตัวแทนสหรัฐฯ ในบริบทของการรับประกันความมั่นคง "คุณไม่อยากส่งทหาร ไม่อยากให้เข้า NATO เราขอระบบ Patriot ให้เพียงพอได้ไหม? มันเป็นการพูดคุยที่ยาวนาน นานเกินไป"

    ในปัจจุบันมีเพียง เยอรมนี ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้สามารถผลิตชิ้นส่วนของ Patriot ได้ แต่ใช้สำหรับเป็นอะไหล่ในการซ่อมบำรุงเท่านั้น มีเพียงสหรัฐเท่านั้นที่เป็นผู้ผลิตหลักและควบคุมการส่งออก
    ยูเครนกำลังขาดแคลนขีปนาวุธป้องกันภัยทางอากาศ Zelenskyy วอนขอใบอนุญาตผลิตขีปนาวุธ Patriot ประธานาธิบดี Volodymyr Zelenskyy ประกาศว่ายูเครนขาดแคลนขีปนาวุธสำหรับระบบป้องกันภัยทางอากาศ Patriot และขอให้สหรัฐฯ ให้ใบอนุญาตในการผลิต โดยยูเครนต้องการระบบป้องกันภัยทางอากาศประมาณ 20 ระบบเพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ "เมื่อพวกเขาบอกว่าไม่มีทหารในยูเครน แต่มีระบบป้องกันภัยทางอากาศ สหรัฐฯ มีระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ทรงพลัง เราขอ 20 ระบบได้ไหม? แค่นั้นก็พอ เราไม่ต้องการให้พวกเขามาดูแลระบบ เรามีคนของเราเอง เราจะฝึกพวกเขาเอง เราไม่ได้พูดถึงการส่งทหารมายูเครนโดยตรง แต่เราขอใบอนุญาต ไม่ใช่ขีปนาวุธ แต่เป็นใบอนุญาตผลิตขีปนาวุธสำหรับระบบ Patriot" Zelenskyy เล่าว่าผู้บัญชาการโทรหาเขาตอนเช้ามืด แจ้งว่าไม่มีขีปนาวุธ Patriot เหลือป้องกันเมือง "ผมเข้าใจว่าเราหมด เขาบอกว่ามีขีปนาวุธ 8 ลูกกำลังเข้ามา แต่เราไม่มีขีปนาวุธสำหรับระบบป้องกันภัยทางอากาศ" เขาเน้นว่าได้พูดเรื่องนี้กับตัวแทนสหรัฐฯ ในบริบทของการรับประกันความมั่นคง "คุณไม่อยากส่งทหาร ไม่อยากให้เข้า NATO เราขอระบบ Patriot ให้เพียงพอได้ไหม? มันเป็นการพูดคุยที่ยาวนาน นานเกินไป" ในปัจจุบันมีเพียง เยอรมนี ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้สามารถผลิตชิ้นส่วนของ Patriot ได้ แต่ใช้สำหรับเป็นอะไหล่ในการซ่อมบำรุงเท่านั้น มีเพียงสหรัฐเท่านั้นที่เป็นผู้ผลิตหลักและควบคุมการส่งออก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 221 มุมมอง 0 รีวิว
  • เซเลนสกี้กล่าวว่าทรัมป์อาศัยอยู่บน 'พื้นที่ข้อมูลบิดเบือน'

    โวโลดิมีร์ เซเลนสกี กล่าวหาโดนัลด์ ทรัมป์ว่าให้ข้อมูลเท็จซ้ำแล้วซ้ำเล่า หนึ่งวันหลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวหายูเครนอย่างเท็จว่าเริ่มสงครามกับรัสเซีย

    - ความคิดเห็นของเซเลนสกี้ เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่กำลังก่อตัวเป็นการแลกเปลี่ยนข้อกล่าวหาต่อสาธารณะมากที่สุดระหว่างเคียฟและวอชิงตัน นับตั้งแต่สงครามเต็มรูปแบบเริ่มต้นขึ้นเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน
    .
    - เมื่อพูดคุยกับผู้สื่อข่าวในกรุงเคียฟ เซเลนสกีได้โต้แย้งคำกล่าวอ้างที่ไม่มีมูลความจริงหลายกรณีที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันอังคาร ขณะเดียวกันก็ย้ำจุดยืนของยูเครนว่าข้อตกลงยุติสงครามต้องได้รับการมีส่วนร่วมจากยูเครน
    .
    - “น่าเสียดายที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ผมเคารพเขามากในฐานะผู้นำของประเทศที่เราเคารพนับถืออย่างยิ่ง ประชาชนชาวอเมริกันที่สนับสนุนเราเสมอ น่าเสียดายที่เขาต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งข้อมูลบิดเบือน” เซเลนสกีกล่าว
    .
    - เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ และรัสเซียได้จัดการเจรจาระดับสูงเพื่อยุติสงครามในยูเครน ณ กรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันอังคาร โดยการประชุมครั้งนี้ไม่ได้จัดขึ้นที่กรุงเคียฟ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องแต่งตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อเจรจายุติสงคราม และกล่าวว่าพวกเขากำลังดำเนินการเพื่อสร้างช่องทางการทูตขึ้นใหม่
    .
    - เซเลนสกีกล่าวว่า แม้ประเทศใดๆ ก็มีสิทธิที่จะหารือเรื่องปัญหาทวิภาคีกับซาอุดีอาระเบีย แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าสหรัฐฯ จัดการเจรจาโดยตรงกับรัสเซียนั้น “ช่วยให้ปูตินพ้นจากความโดดเดี่ยวอันยาวนานได้”
    .
    - การร้องเรียนของเคียฟเรื่องการถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าร่วมการเจรจาเป็นชนวนให้ทรัมป์ออกมาโจมตีด้วยความเท็จในวันอังคาร
    .
    - ทรัมป์กล่าวเมื่อช่วงดึกของวันอังคารว่า “วันนี้ผมได้ยินว่า ‘โอ้ เราไม่ได้รับเชิญเลย คุณอยู่ที่นั่นมาสามปีแล้ว คุณควรยุติเรื่องนี้หลังจากสามปี คุณไม่ควรเริ่มเรื่องนี้เลย คุณควรทำข้อตกลงได้แล้ว”
    .
    - ความคิดเห็นของทรัมป์ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในกรุงมอสโก โดยที่รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ ชื่นชมประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่สะท้อนคำพูดของเครมลิน และกล่าวต่อรัฐสภารัสเซีย หรือดูมา ว่าทรัมป์ดูเหมือนจะ "เข้าใจจุดยืนของพวกเรา"
    .
    - “ผมคิดว่าทรัมป์เป็นผู้นำตะวันตกคนแรกที่ออกมาพูดต่อสาธารณะว่าสาเหตุของความขัดแย้งในยูเครนคือความพยายามของรัฐบาลชุดก่อนที่จะขยายนาโต” ลาฟรอฟกล่าวกับสมาชิกรัฐสภาเมื่อวันพุธ “ไม่มีผู้นำตะวันตกคนใดเคยพูดแบบนั้นมาก่อน ดังนั้น นั่นจึงเป็นสัญญาณว่าเขาเข้าใจจุดยืนของเราแล้ว”
    .
    - รัสเซียโต้แย้งมานานแล้วว่าการขยายตัวของนาโต้ไปทางตะวันออกทำให้ความมั่นคงของประเทศตกอยู่ในอันตราย โดยผู้นำนาโต้สัญญากับรัสเซียว่าพันธมิตรป้องกันประเทศจะไม่ขยายตัวหลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลง นาโต้มีนโยบายเปิดประตูต้อนรับรัฐในยุโรปทุกรัฐให้เข้าร่วมตราบใดที่รัฐเหล่านั้นตรงตามเกณฑ์การเข้าร่วม
    .
    - แต่ทรัมป์ไม่ได้หยุดเพียงแค่ตั้งคำถามว่าใครเป็นคนเริ่มสงครามในยูเครน โดยทรัมป์ยังคงตั้งคำถามถึงความชอบธรรมของเซเลนสกี โดยเขาพูดซ้ำแนวทางที่เครมลินมักจะเสนออยู่เสมอ
    .
    - เมื่อวันพุธที่ผ่านมา เซเลนสกีระบุโดยเฉพาะว่าการอ้างว่าคะแนนนิยมของเขาอยู่ที่ 4% มาจากรัสเซีย และเคียฟก็มีหลักฐานบางอย่างที่บ่งชี้ว่าตัวเลขดังกล่าวได้รับการหารือกันระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียแล้ว
    -------
    CNN
    เซเลนสกี้กล่าวว่าทรัมป์อาศัยอยู่บน 'พื้นที่ข้อมูลบิดเบือน' โวโลดิมีร์ เซเลนสกี กล่าวหาโดนัลด์ ทรัมป์ว่าให้ข้อมูลเท็จซ้ำแล้วซ้ำเล่า หนึ่งวันหลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวหายูเครนอย่างเท็จว่าเริ่มสงครามกับรัสเซีย - ความคิดเห็นของเซเลนสกี้ เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่กำลังก่อตัวเป็นการแลกเปลี่ยนข้อกล่าวหาต่อสาธารณะมากที่สุดระหว่างเคียฟและวอชิงตัน นับตั้งแต่สงครามเต็มรูปแบบเริ่มต้นขึ้นเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน . - เมื่อพูดคุยกับผู้สื่อข่าวในกรุงเคียฟ เซเลนสกีได้โต้แย้งคำกล่าวอ้างที่ไม่มีมูลความจริงหลายกรณีที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันอังคาร ขณะเดียวกันก็ย้ำจุดยืนของยูเครนว่าข้อตกลงยุติสงครามต้องได้รับการมีส่วนร่วมจากยูเครน . - “น่าเสียดายที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ผมเคารพเขามากในฐานะผู้นำของประเทศที่เราเคารพนับถืออย่างยิ่ง ประชาชนชาวอเมริกันที่สนับสนุนเราเสมอ น่าเสียดายที่เขาต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งข้อมูลบิดเบือน” เซเลนสกีกล่าว . - เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ และรัสเซียได้จัดการเจรจาระดับสูงเพื่อยุติสงครามในยูเครน ณ กรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันอังคาร โดยการประชุมครั้งนี้ไม่ได้จัดขึ้นที่กรุงเคียฟ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องแต่งตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อเจรจายุติสงคราม และกล่าวว่าพวกเขากำลังดำเนินการเพื่อสร้างช่องทางการทูตขึ้นใหม่ . - เซเลนสกีกล่าวว่า แม้ประเทศใดๆ ก็มีสิทธิที่จะหารือเรื่องปัญหาทวิภาคีกับซาอุดีอาระเบีย แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าสหรัฐฯ จัดการเจรจาโดยตรงกับรัสเซียนั้น “ช่วยให้ปูตินพ้นจากความโดดเดี่ยวอันยาวนานได้” . - การร้องเรียนของเคียฟเรื่องการถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าร่วมการเจรจาเป็นชนวนให้ทรัมป์ออกมาโจมตีด้วยความเท็จในวันอังคาร . - ทรัมป์กล่าวเมื่อช่วงดึกของวันอังคารว่า “วันนี้ผมได้ยินว่า ‘โอ้ เราไม่ได้รับเชิญเลย คุณอยู่ที่นั่นมาสามปีแล้ว คุณควรยุติเรื่องนี้หลังจากสามปี คุณไม่ควรเริ่มเรื่องนี้เลย คุณควรทำข้อตกลงได้แล้ว” . - ความคิดเห็นของทรัมป์ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในกรุงมอสโก โดยที่รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ ชื่นชมประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่สะท้อนคำพูดของเครมลิน และกล่าวต่อรัฐสภารัสเซีย หรือดูมา ว่าทรัมป์ดูเหมือนจะ "เข้าใจจุดยืนของพวกเรา" . - “ผมคิดว่าทรัมป์เป็นผู้นำตะวันตกคนแรกที่ออกมาพูดต่อสาธารณะว่าสาเหตุของความขัดแย้งในยูเครนคือความพยายามของรัฐบาลชุดก่อนที่จะขยายนาโต” ลาฟรอฟกล่าวกับสมาชิกรัฐสภาเมื่อวันพุธ “ไม่มีผู้นำตะวันตกคนใดเคยพูดแบบนั้นมาก่อน ดังนั้น นั่นจึงเป็นสัญญาณว่าเขาเข้าใจจุดยืนของเราแล้ว” . - รัสเซียโต้แย้งมานานแล้วว่าการขยายตัวของนาโต้ไปทางตะวันออกทำให้ความมั่นคงของประเทศตกอยู่ในอันตราย โดยผู้นำนาโต้สัญญากับรัสเซียว่าพันธมิตรป้องกันประเทศจะไม่ขยายตัวหลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลง นาโต้มีนโยบายเปิดประตูต้อนรับรัฐในยุโรปทุกรัฐให้เข้าร่วมตราบใดที่รัฐเหล่านั้นตรงตามเกณฑ์การเข้าร่วม . - แต่ทรัมป์ไม่ได้หยุดเพียงแค่ตั้งคำถามว่าใครเป็นคนเริ่มสงครามในยูเครน โดยทรัมป์ยังคงตั้งคำถามถึงความชอบธรรมของเซเลนสกี โดยเขาพูดซ้ำแนวทางที่เครมลินมักจะเสนออยู่เสมอ . - เมื่อวันพุธที่ผ่านมา เซเลนสกีระบุโดยเฉพาะว่าการอ้างว่าคะแนนนิยมของเขาอยู่ที่ 4% มาจากรัสเซีย และเคียฟก็มีหลักฐานบางอย่างที่บ่งชี้ว่าตัวเลขดังกล่าวได้รับการหารือกันระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียแล้ว ------- CNN
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 256 มุมมอง 0 รีวิว
  • การงานราบรื่น
    รู้ตื่นเบิกบาน
    กรรมดีประสาน
    ฐานใจมั่นคง

    อำนาจศีลธรรม
    กรรมดีดำรง
    ความจริงถูกตรง
    ทรงคุณยิ่งใหญ่

    รักษาใจไว้
    ให้รวมใจได้
    ธรรมประทับใจ
    ให้ทุกข์ห่างไกล

    ดีชั่วใคร่ครวญ
    รู้ควรอย่างไร
    ตอแยหรือไม่
    ให้สติอยู่

    ตั้งสมาธิ
    วิเคราะห์ให้รู้
    กิเลสมีอยู่
    สู้ให้ห่างไกล

    ขอพบธรรมความดีมีสุขยิ่งทำยิ่งเจริญรุ่งเรือง รวยทรัพย์นอกใน

    นิพพานะ ปัจจะโยโหตุ
    การงานราบรื่น รู้ตื่นเบิกบาน กรรมดีประสาน ฐานใจมั่นคง อำนาจศีลธรรม กรรมดีดำรง ความจริงถูกตรง ทรงคุณยิ่งใหญ่ รักษาใจไว้ ให้รวมใจได้ ธรรมประทับใจ ให้ทุกข์ห่างไกล ดีชั่วใคร่ครวญ รู้ควรอย่างไร ตอแยหรือไม่ ให้สติอยู่ ตั้งสมาธิ วิเคราะห์ให้รู้ กิเลสมีอยู่ สู้ให้ห่างไกล ขอพบธรรมความดีมีสุขยิ่งทำยิ่งเจริญรุ่งเรือง รวยทรัพย์นอกใน นิพพานะ ปัจจะโยโหตุ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 80 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน วิพากษ์วิจารณ์การเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซีย ที่กีดกันไม่ให้เคียฟเข้าร่วม ระบุความพยายามยุติสงครามต้อง "ยุติธรรม" และบรรดาประเทศยุโรป ในนั้นรวมถึงตุรกี ควรมีส่วนร่วมด้วย
    .
    ความเห็นของเขามีขึ้นหลังจากวอชิงตันและมอสโก เผยว่าพวกเขาจะเปิดเผยชื่อคณะทำงานสำหรับเจรจาเส้นทางสู่การยุติสงครามในยูเครน ระหว่างการเจรจาอย่างเป็นทางการระดับสูงครั้งแรกของทั้ง 2 ฝ่าย นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน
    .
    ความเห็นอันเดือดดาลของผู้นำยูเครน มีขึ้นหลังจากเขาได้พบปะกับประธานาธิบดี เรเจป ตัยยิบ แอร์โดอัน แห่งตุรกี เป็นเวลาเกือบ 3 ชั่วโมง ในกรุงอังการา เมืองหลวงของตุรกี
    .
    "ยูเครนและยุโรปในสามัญสำนักอย่างกว้างๆ และนี่รวมถึงสหภาพยุโรป ตุรกีและสหราชอาณาจักร ควรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนทนาและก่อรูปร่างมาตรการรับประกันความมั่นคงที่จำเป็นร่วมกับอเมริกา ในเรื่องเกี่ยวกับชะตากรรมของเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลก" เซเลนสกีกล่าว
    .
    "ความพยายามเป็นคนกลางใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง ควรเป็นไปอย่างยุติธรรม" เขากล่าว ประณามเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย ในริยาด ก่อนหน้านี้ในวันอังคาร (18 ก.พ.) และเน้นย้ำจุดยืนคัดค้าน "การพูดคุยใดๆ ที่ปราศจากยูเครน เกี่ยวกับแนวทางยุติสงครามในยูเครน"
    .
    เซเลนสกีเผยว่าเขาไม่ได้รับเชิญให้ร่วมเจรจาในริยาด และตัดสินใจเลื่อนโปรแกรมเดินทางเยือนเมืองหลวงของซาดุอีอาระเบีย จากเดิมที่คาดหมายว่าจะมีขึ้นในวันพุธ (19 ก.พ.) ไปเป็นวันที่ 10 มีนาคม
    .
    การยกเครื่องนโยบายเกี่ยวกับรัสเซียของทรัมป์ โหมกระพือความกังวลว่าวอชิงตันกำลังเตรียมการบีบเคียฟให้ยอมเจรจาต่อรองบนเงื่อนไขของมอสโก
    .
    นอกเหนือจากการเจรจาในริยาดแล้ว ความกังวลนี้มีมากขึ้นไปอีก เมื่อ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย พบปะหารือกันในประเด็นความมั่นคงยุโรปและยูเครน โดยไม่มีตัวแทนใดๆ จากเคียฟหรือบรัสเซลส์เข้าร่วมด้วย
    .
    ในส่วนของแอร์โดอัน ที่ยืนอยู่ข้างๆ เซเลนสกี ระหว่างแถลงข่าว ได้เสนอให้ตุรกีเป็นเจ้าภาพการเจรจาใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง โดยย้อนให้นึกถึงครั้งที่ทั้ง 2 ฝ่าย พบปะกันในอิสตุนบูลในปี 2022 ไม่กี่สัปดาห์หลังรัสเซียรุกรานยูเครน
    .
    "ตุรกีจะเป็นเจ้าภาพในอุดมคติสำหรับความเป็นไปได้ในการเจรจาใดๆ ระหว่างรัสเซีย ยูเครนและอเมริกา ในอนาคตอันใกล้นี้" เขากล่าว พร้อมบอกว่าการเจรจาในอิสตันบูล "เป็นจุดอ้างอิงที่สำคัญและเป็นแพลตฟอร์มที่ฝ่ายต่างๆ เฉียดใกล้ได้ข้อตกลงหนึ่งมากที่สุดแล้ว"
    .
    การเดินทางครั้งนี้ของเซเลนสกี ถือเป็นครั้งที่ 3 แล้วที่เขาเดินทางเยือนตุรกี นับตั้งแต่รัสเซียรุกราน โดยคราวนี้เกิดขึ้นในขณะที่เขาพยายามค้ำยันสถานะของเคียฟ ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เอื้อมมือเข้าหามอสโก
    .
    ตุรกี ซึ่งเป็นชาติสมาชิกนาโต หาทางคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับ 2 ชาติเพื่อนบ้านคู่สงครามทะเลดำ โดยที่แอร์โดอัน วางสถานะของตนเองในฐานะคนกลางและผู้สร้างสันติระหว่าง 2 ฝ่าย
    .
    แม้อังการาจะมอบโดรนแก่ยูเครน แต่ขณะเดียวกัน พวกเขาก็เพิกเฉยปลีกตัวออกต่างจากมาตรการคว่ำบาตรที่นำโดยตะวันตก ที่กำหนดเล่นงานมอสโก
    .
    เช่นเดียวกับซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางตุรกีเล่นบทบาทสำคัญในการเป็นคนกลางแลกเปลี่ยนเชลยศึกหลายรายระหว่างรัสเซียกับยูเครน ข้อตกลงนี้พบเห็นนักโทษหลายร้อยคนถูกปล่อยตัวกลับมาตุภูมิ แม้ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไป
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016367
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน วิพากษ์วิจารณ์การเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซีย ที่กีดกันไม่ให้เคียฟเข้าร่วม ระบุความพยายามยุติสงครามต้อง "ยุติธรรม" และบรรดาประเทศยุโรป ในนั้นรวมถึงตุรกี ควรมีส่วนร่วมด้วย . ความเห็นของเขามีขึ้นหลังจากวอชิงตันและมอสโก เผยว่าพวกเขาจะเปิดเผยชื่อคณะทำงานสำหรับเจรจาเส้นทางสู่การยุติสงครามในยูเครน ระหว่างการเจรจาอย่างเป็นทางการระดับสูงครั้งแรกของทั้ง 2 ฝ่าย นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน . ความเห็นอันเดือดดาลของผู้นำยูเครน มีขึ้นหลังจากเขาได้พบปะกับประธานาธิบดี เรเจป ตัยยิบ แอร์โดอัน แห่งตุรกี เป็นเวลาเกือบ 3 ชั่วโมง ในกรุงอังการา เมืองหลวงของตุรกี . "ยูเครนและยุโรปในสามัญสำนักอย่างกว้างๆ และนี่รวมถึงสหภาพยุโรป ตุรกีและสหราชอาณาจักร ควรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนทนาและก่อรูปร่างมาตรการรับประกันความมั่นคงที่จำเป็นร่วมกับอเมริกา ในเรื่องเกี่ยวกับชะตากรรมของเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลก" เซเลนสกีกล่าว . "ความพยายามเป็นคนกลางใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง ควรเป็นไปอย่างยุติธรรม" เขากล่าว ประณามเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย ในริยาด ก่อนหน้านี้ในวันอังคาร (18 ก.พ.) และเน้นย้ำจุดยืนคัดค้าน "การพูดคุยใดๆ ที่ปราศจากยูเครน เกี่ยวกับแนวทางยุติสงครามในยูเครน" . เซเลนสกีเผยว่าเขาไม่ได้รับเชิญให้ร่วมเจรจาในริยาด และตัดสินใจเลื่อนโปรแกรมเดินทางเยือนเมืองหลวงของซาดุอีอาระเบีย จากเดิมที่คาดหมายว่าจะมีขึ้นในวันพุธ (19 ก.พ.) ไปเป็นวันที่ 10 มีนาคม . การยกเครื่องนโยบายเกี่ยวกับรัสเซียของทรัมป์ โหมกระพือความกังวลว่าวอชิงตันกำลังเตรียมการบีบเคียฟให้ยอมเจรจาต่อรองบนเงื่อนไขของมอสโก . นอกเหนือจากการเจรจาในริยาดแล้ว ความกังวลนี้มีมากขึ้นไปอีก เมื่อ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย พบปะหารือกันในประเด็นความมั่นคงยุโรปและยูเครน โดยไม่มีตัวแทนใดๆ จากเคียฟหรือบรัสเซลส์เข้าร่วมด้วย . ในส่วนของแอร์โดอัน ที่ยืนอยู่ข้างๆ เซเลนสกี ระหว่างแถลงข่าว ได้เสนอให้ตุรกีเป็นเจ้าภาพการเจรจาใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง โดยย้อนให้นึกถึงครั้งที่ทั้ง 2 ฝ่าย พบปะกันในอิสตุนบูลในปี 2022 ไม่กี่สัปดาห์หลังรัสเซียรุกรานยูเครน . "ตุรกีจะเป็นเจ้าภาพในอุดมคติสำหรับความเป็นไปได้ในการเจรจาใดๆ ระหว่างรัสเซีย ยูเครนและอเมริกา ในอนาคตอันใกล้นี้" เขากล่าว พร้อมบอกว่าการเจรจาในอิสตันบูล "เป็นจุดอ้างอิงที่สำคัญและเป็นแพลตฟอร์มที่ฝ่ายต่างๆ เฉียดใกล้ได้ข้อตกลงหนึ่งมากที่สุดแล้ว" . การเดินทางครั้งนี้ของเซเลนสกี ถือเป็นครั้งที่ 3 แล้วที่เขาเดินทางเยือนตุรกี นับตั้งแต่รัสเซียรุกราน โดยคราวนี้เกิดขึ้นในขณะที่เขาพยายามค้ำยันสถานะของเคียฟ ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เอื้อมมือเข้าหามอสโก . ตุรกี ซึ่งเป็นชาติสมาชิกนาโต หาทางคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับ 2 ชาติเพื่อนบ้านคู่สงครามทะเลดำ โดยที่แอร์โดอัน วางสถานะของตนเองในฐานะคนกลางและผู้สร้างสันติระหว่าง 2 ฝ่าย . แม้อังการาจะมอบโดรนแก่ยูเครน แต่ขณะเดียวกัน พวกเขาก็เพิกเฉยปลีกตัวออกต่างจากมาตรการคว่ำบาตรที่นำโดยตะวันตก ที่กำหนดเล่นงานมอสโก . เช่นเดียวกับซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางตุรกีเล่นบทบาทสำคัญในการเป็นคนกลางแลกเปลี่ยนเชลยศึกหลายรายระหว่างรัสเซียกับยูเครน ข้อตกลงนี้พบเห็นนักโทษหลายร้อยคนถูกปล่อยตัวกลับมาตุภูมิ แม้ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไป . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016367 .............. Sondhi X
    Haha
    Like
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1762 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐฯ กับรัสเซียเห็นพ้องกันที่จะเริ่มต้นทำงานเพื่อยุติสงครามในยูเครน และปรับปรุงสายสัมพันธ์ทางการทูตและทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ระบุภายหลังการเจรจากันของคณะผู้แทนสหรัฐฯ ที่นำโดยตัวเขา กับคณะของรัสเซียซึ่งมีรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ เป็นผู้นำ ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย โดยที่ไม่มีตัวแทนจากยูเครนหรือทางยุโรปเข้าร่วมด้วย
    .
    ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีภายหลังการเจรจากับฝ่ายรัสเซีย รูบิโอกล่าวว่าทั้งสองฝ่ายมีการตกลงกันอย่างกว้างๆ ที่จะมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ การหวนคืนในเรื่องการให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายได้กลับเข้าประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูตของกันและกันในกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโก การก่อตั้งทีมงานระดับสูงเพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพยูเครน และการสำรวจลู่ทางเพื่อให้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น
    .
    อย่างไรก็ดี เขาย้ำว่า การพูดจาคราวนี้ถือเป็นหลักหมายของการเริ่มต้นสนทนากัน และยังจำเป็นจะต้องทำงานกันต่อไปอีกมาก
    .
    ทั้งนี้ สายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียได้ตกลงมาสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปีระหว่างที่เกิดสงครามในยูเครน โดยที่สถานเอกอัครราชทูตของแต่ละฝ่ายซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวงของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างได้รับความกระทบกระเทือนหนักจากการที่ต่างฝ่ายต่างสั่งขับไล่นักการทูตของกันและกันเป็นจำนวนมากหลายๆ ระลอกในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา และจากการที่สหรัฐฯ จับมือกับยุโรปในการประกาศใช้มาตรการแซงก์ชันด้านต่างๆ กับรัสเซีย
    .
    รูบิโอ ยังกล่าวแสดงความหวังให้การสู้รบขัดแย้งในยูเครนเดินเข้าสู่จุดจบที่สามารถยอมรับกันได้ และสหรัฐฯ กับรัสเซียจะมีโอกาสอันน่าเชื่อถือที่จะจับมือกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ในประเด็นต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนในทางเศรษฐกิจด้วยประเด็นซึ่งจะเป็นผลดีต่อโลกและก็จะปรับปรุงความสัมพันธ์ของสองประเทศในระยะยาว
    .
    การหารือในวันอังคารคราวนี้ ยังมุ่งหมายที่จะแผ้วถางทางให้แก่การประชุมซัมมิตระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ทว่าภายหลังการเจรจาสิ้นสุดลง ยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการต่างประเทศของปูติน ซึ่งอยู่ในคณะของฝ่ายรัสเซีย บอกกับสถานีโทรทัศน์แชนเนลวัน ของรัสเซียว่า ยังไม่มีการกำหนดวันแน่นอนสำหรับซัมมิตดังที่ว่านี้ และ “ไม่น่าเป็นไปได้” ที่จะเกิดขึ้นมาในสัปดาห์หน้า
    .
    ในส่วนของ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เขากล่าวกับพวกผู้สื่อข่าวหลังการหารือว่า “การสนทนากันคราวนี้เป็นประโยชน์มาก” โดยที่เขาอ้างอิงถึงเป้าหมาย 3 ประการเช่นเดียวกับที่รูบิโอพูด และบอกว่าวอชิงตันกับมอสโกตกลงกันที่จะแต่งตั้งคณะตัวแทนที่จะดำเนินการ “การปรึกษาหารืออย่างเป็นประจำ” ในเรื่องยูเครนขึ้นมา
    .
    “เราไม่เพียงแค่รับฟัง แต่ยังได้ยินกันและกันอีกด้วย” ลาฟรอฟบอก “และผมมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าฝ่ายอเมริกันได้เริ่มต้นที่จะเข้าอกเข้าใจจุดยืนของเราดีขึ้นแล้ว ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราได้พูดสรุปโดยมีการลงรายละเอียด ใช้ตัวอย่างเฉพาะเจาะจงต่างๆ โดยยึดโยงอยู่กับคำปราศรัยครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีปูติน”
    .
    ก่อนหน้าการเจรจาคราวนี้ ทั้งสองฝ่ายดูจะมีความพยายามเน้นย้ำไมให้เกิดการตั้งความหวังมากจนเกินความเป็นจริง
    .
    ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงเมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า การหารือคราวนี้มุ่งเน้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโกเป็นหลัก ตลอดจนถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับยูเครน และการจัดเตรียมการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
    .
    ส่วน แทมมี บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า การประชุมที่ซาอุดีอาระเบียมีเป้าหมายในการพิจารณาว่า รัสเซียจริงจังกับข้อตกลงสันติภาพแค่ไหน และจะเริ่มต้นการเจรจาอย่างละเอียดได้หรือไม่
    .
    บรูซเสริมว่า แม้ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมการหารือในวันอังคาร แต่การเจรจาสันติภาพที่แท้จริงจะต้องมีเคียฟร่วมวงด้วย
    .
    การเจรจาคราวนี้จัดขึ้นที่ที่พระราชวังดิริยาห์ในกรุงริยาด โดยคณะของฝ่ายของสหรัฐฯ นอกจากรัฐมนตรีต่างประเทาศรูบิโอ แล้ว ยังมี ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลาง ขณะที่ฝ่ายรัสเซีย ได้แก่ เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยอาวุโสของปูติน
    .
    รายงานข่าวระบุว่า การหารือเริ่มต้นขึ้นโดยไม่มีการจับมือหรือการแถลงใดๆ แต่มีเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาร์ฮัน และมูซาอัด บิน โมฮัมหมัด อัล-ไอบาน รัฐมนตรีต่างประเทศและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของซาอุดีอาระเบียตามลำดับร่วมอยู่ด้วย
    .
    การหารือครั้งนี้ถือเป็นการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสองชาติครั้งแรกนับจากที่รัสเซียบุกยูเครน และยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกา
    .
    เปสคอฟแถลงเมื่อวันอังคารระหว่างที่การหารือในริยาดดำเนินอยู่ว่า การแก้ไขวิกฤตยูเครนอย่างยั่งยืนไม่มีทางเป็นไปได้หากไม่พิจารณาสถานการณ์ความมั่นคงของยุโรป และสำทับว่า ยูเครนมีสิทธิอธิปไตยในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่รัสเซียคัดค้านการเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ของเคียฟ
    .
    โฆษกเครมลินเสริมว่า ปูตินพร้อมคุยกับเซเลนสกีถ้าจำเป็น
    .
    รัสเซียยังระบุก่อนการหารือว่า ปูตินและทรัมป์ต้องการออกจาก “ความสัมพันธ์ที่ผิดปกติ” และไม่เห็นความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องร่วมเจรจาใดๆ
    .
    คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจและประธานกองทุนการลงทุนโดยตรงของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์สถานีทีวีของทางการรัสเซียเมื่อวันอังคารว่า เขาคาดหวังว่า จะมีความคืบหน้าภายในเวลา 2-3 เดือน
    .
    ในส่วนความคืบหน้าที่อาจนำไปสู่ข้อตกลงหยุดยิงในยูเครนนั้นยังไม่มีความชัดเจน โดยทั้งอเมริกาและรัสเซียต่างออกตัวว่า การหารือในวันอังคารเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยาวนานเท่านั้น
    .
    บรูซ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การหารือที่ริยาดไม่ควรถูกคาดหวังว่า จะมีรายละเอียดหรือมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาหยุดยิง
    .
    ขณะที่อูชาคอฟให้สัมภาษณ์สื่อของทางการรัสเซียว่า การพูดคุยในวันอังคารเป็นเพียงการหารือถึงวิธีเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016365
    ..............
    Sondhi X
    สหรัฐฯ กับรัสเซียเห็นพ้องกันที่จะเริ่มต้นทำงานเพื่อยุติสงครามในยูเครน และปรับปรุงสายสัมพันธ์ทางการทูตและทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ระบุภายหลังการเจรจากันของคณะผู้แทนสหรัฐฯ ที่นำโดยตัวเขา กับคณะของรัสเซียซึ่งมีรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ เป็นผู้นำ ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย โดยที่ไม่มีตัวแทนจากยูเครนหรือทางยุโรปเข้าร่วมด้วย . ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีภายหลังการเจรจากับฝ่ายรัสเซีย รูบิโอกล่าวว่าทั้งสองฝ่ายมีการตกลงกันอย่างกว้างๆ ที่จะมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ การหวนคืนในเรื่องการให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายได้กลับเข้าประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูตของกันและกันในกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโก การก่อตั้งทีมงานระดับสูงเพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพยูเครน และการสำรวจลู่ทางเพื่อให้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น . อย่างไรก็ดี เขาย้ำว่า การพูดจาคราวนี้ถือเป็นหลักหมายของการเริ่มต้นสนทนากัน และยังจำเป็นจะต้องทำงานกันต่อไปอีกมาก . ทั้งนี้ สายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียได้ตกลงมาสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปีระหว่างที่เกิดสงครามในยูเครน โดยที่สถานเอกอัครราชทูตของแต่ละฝ่ายซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวงของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างได้รับความกระทบกระเทือนหนักจากการที่ต่างฝ่ายต่างสั่งขับไล่นักการทูตของกันและกันเป็นจำนวนมากหลายๆ ระลอกในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา และจากการที่สหรัฐฯ จับมือกับยุโรปในการประกาศใช้มาตรการแซงก์ชันด้านต่างๆ กับรัสเซีย . รูบิโอ ยังกล่าวแสดงความหวังให้การสู้รบขัดแย้งในยูเครนเดินเข้าสู่จุดจบที่สามารถยอมรับกันได้ และสหรัฐฯ กับรัสเซียจะมีโอกาสอันน่าเชื่อถือที่จะจับมือกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ในประเด็นต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนในทางเศรษฐกิจด้วยประเด็นซึ่งจะเป็นผลดีต่อโลกและก็จะปรับปรุงความสัมพันธ์ของสองประเทศในระยะยาว . การหารือในวันอังคารคราวนี้ ยังมุ่งหมายที่จะแผ้วถางทางให้แก่การประชุมซัมมิตระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ทว่าภายหลังการเจรจาสิ้นสุดลง ยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการต่างประเทศของปูติน ซึ่งอยู่ในคณะของฝ่ายรัสเซีย บอกกับสถานีโทรทัศน์แชนเนลวัน ของรัสเซียว่า ยังไม่มีการกำหนดวันแน่นอนสำหรับซัมมิตดังที่ว่านี้ และ “ไม่น่าเป็นไปได้” ที่จะเกิดขึ้นมาในสัปดาห์หน้า . ในส่วนของ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เขากล่าวกับพวกผู้สื่อข่าวหลังการหารือว่า “การสนทนากันคราวนี้เป็นประโยชน์มาก” โดยที่เขาอ้างอิงถึงเป้าหมาย 3 ประการเช่นเดียวกับที่รูบิโอพูด และบอกว่าวอชิงตันกับมอสโกตกลงกันที่จะแต่งตั้งคณะตัวแทนที่จะดำเนินการ “การปรึกษาหารืออย่างเป็นประจำ” ในเรื่องยูเครนขึ้นมา . “เราไม่เพียงแค่รับฟัง แต่ยังได้ยินกันและกันอีกด้วย” ลาฟรอฟบอก “และผมมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าฝ่ายอเมริกันได้เริ่มต้นที่จะเข้าอกเข้าใจจุดยืนของเราดีขึ้นแล้ว ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราได้พูดสรุปโดยมีการลงรายละเอียด ใช้ตัวอย่างเฉพาะเจาะจงต่างๆ โดยยึดโยงอยู่กับคำปราศรัยครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีปูติน” . ก่อนหน้าการเจรจาคราวนี้ ทั้งสองฝ่ายดูจะมีความพยายามเน้นย้ำไมให้เกิดการตั้งความหวังมากจนเกินความเป็นจริง . ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงเมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า การหารือคราวนี้มุ่งเน้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโกเป็นหลัก ตลอดจนถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับยูเครน และการจัดเตรียมการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ . ส่วน แทมมี บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า การประชุมที่ซาอุดีอาระเบียมีเป้าหมายในการพิจารณาว่า รัสเซียจริงจังกับข้อตกลงสันติภาพแค่ไหน และจะเริ่มต้นการเจรจาอย่างละเอียดได้หรือไม่ . บรูซเสริมว่า แม้ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมการหารือในวันอังคาร แต่การเจรจาสันติภาพที่แท้จริงจะต้องมีเคียฟร่วมวงด้วย . การเจรจาคราวนี้จัดขึ้นที่ที่พระราชวังดิริยาห์ในกรุงริยาด โดยคณะของฝ่ายของสหรัฐฯ นอกจากรัฐมนตรีต่างประเทาศรูบิโอ แล้ว ยังมี ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลาง ขณะที่ฝ่ายรัสเซีย ได้แก่ เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยอาวุโสของปูติน . รายงานข่าวระบุว่า การหารือเริ่มต้นขึ้นโดยไม่มีการจับมือหรือการแถลงใดๆ แต่มีเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาร์ฮัน และมูซาอัด บิน โมฮัมหมัด อัล-ไอบาน รัฐมนตรีต่างประเทศและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของซาอุดีอาระเบียตามลำดับร่วมอยู่ด้วย . การหารือครั้งนี้ถือเป็นการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสองชาติครั้งแรกนับจากที่รัสเซียบุกยูเครน และยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกา . เปสคอฟแถลงเมื่อวันอังคารระหว่างที่การหารือในริยาดดำเนินอยู่ว่า การแก้ไขวิกฤตยูเครนอย่างยั่งยืนไม่มีทางเป็นไปได้หากไม่พิจารณาสถานการณ์ความมั่นคงของยุโรป และสำทับว่า ยูเครนมีสิทธิอธิปไตยในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่รัสเซียคัดค้านการเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ของเคียฟ . โฆษกเครมลินเสริมว่า ปูตินพร้อมคุยกับเซเลนสกีถ้าจำเป็น . รัสเซียยังระบุก่อนการหารือว่า ปูตินและทรัมป์ต้องการออกจาก “ความสัมพันธ์ที่ผิดปกติ” และไม่เห็นความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องร่วมเจรจาใดๆ . คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจและประธานกองทุนการลงทุนโดยตรงของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์สถานีทีวีของทางการรัสเซียเมื่อวันอังคารว่า เขาคาดหวังว่า จะมีความคืบหน้าภายในเวลา 2-3 เดือน . ในส่วนความคืบหน้าที่อาจนำไปสู่ข้อตกลงหยุดยิงในยูเครนนั้นยังไม่มีความชัดเจน โดยทั้งอเมริกาและรัสเซียต่างออกตัวว่า การหารือในวันอังคารเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยาวนานเท่านั้น . บรูซ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การหารือที่ริยาดไม่ควรถูกคาดหวังว่า จะมีรายละเอียดหรือมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาหยุดยิง . ขณะที่อูชาคอฟให้สัมภาษณ์สื่อของทางการรัสเซียว่า การพูดคุยในวันอังคารเป็นเพียงการหารือถึงวิธีเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016365 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1781 มุมมอง 0 รีวิว
  • เจ้าหน้าที่ระดับสูงนาโตเชื่อว่า สหรัฐฯ จะยังไม่ลาออกจากนาโตแต่น่าจะถอนกำลังทหารออกไปบางส่วนหลังยุโรปไม่ใช่เป้าหมายหลักอีกต่อไปสำหรับวอชิงตัน
    .
    บลูมเบิร์กของสหรัฐฯ รายงานวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า วอชิงตันน่าที่จะยังคงอยู่ร่วมกับนาโตต่อไป แต่ทว่าอาจจะลดกองกำลังประจำการลงในยุโรปจากการที่สหรัฐฯ หันเห็นความจำเป็นไปอยู่ที่ภูมิภาคอินโดแปซิฟิก
    .
    พลเรือเอกจูเซปเป คาโว ดราโกเน ประธานคณะกรรมการกองทัพประจำ NATO เดือนที่แล้วได้กล่าวในการประชุมนอกรอบในการประชุมความมั่นคงมิวนิกที่ซึ่งบรรดาผู้นำยุโรปมาเพื่อเผชิญหน้ากับรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ รวมถึงความคาดหวังการลดลงของการปกป้องทางความมั่นคงของสหรัฐฯ
    .
    พลเรือเอกคาโว ดราโกเน กล่าวว่า “สหรัฐฯ จะไม่ถอนตัวออกไปจากนาโต” ในการให้สัมภาษณ์ในเมืองมิวนิก แต่การถอนกำลังทหารอเมริกันบางส่วนออกไปจากทั้งหมด 100,000 นายที่ประจำอยู่ในยุโรปอาจมีวาระเกิดขึ้น เป็นเพราะมีความผูกพันบางประการที่สหรัฐฯ ต้องออกห่างไปจากที่นี่ ไปอยู่ที่มหาสมุทรแปซิฟิก”
    .
    แต่พลเรือเอกจากอิตาลีที่ได้นั่งในตำแหน่งสำคัญนี้เปิดเผยว่า “อย่างไรก็ตามผมไม่คิดว่าจะเป็นตัวเลขมหาศาลที่จะนำอเมริกันออกไปจากยุโรป”
    .
    ความมั่นคงยุโรปมีความสำคัญอย่างสูงในการประชุมความมั่นคงมิวนิก เหนือจากทั้งหมดคือการแก้ปัญหาสงครามยูเครนที่ยาวนานยืดเยื้อร่วม 3 ปี
    .
    แต่ทว่าผู้นำชาติยุโรปและยูเครนต่างไม่ทันตั้งตัวถึงแผนทรัมป์ที่จะหารือกับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน ที่ต่างวิตกกันว่ายุโรปจะไม่ได้มีส่วนร่วม
    .
    คาโว ดราโกเน เห็นพ้องกับสมาชิกนาโตหลายคนในยุโรปเรียกร้องให้เพิ่มงบประมาณการป้องกันประเทศ โดยรับรู้ว่าการหันเหความสนใจของสหรัฐฯ หมายถึงยุโรปจำเป็นต้องเพิ่มความแข็งแกร่งขึ้นมา
    .
    “มันมีความไม่สมดุลเกิดขึ้น ดังนั้นพวกเราจำเป็นต้องทำให้มีความสมดุลกลับคืนมา” พร้อมกับเรียกแนวคิดที่ว่ายุโรปไม่สามารถปกป้องตัวเองว่า “เป็นการดูหมิ่น”
    .
    อย่างไรก็ตาม การลดลงใดๆ ของอเมริกาในยุโรปนั้นเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับโดยนาโตด้วยทัศนคติเชิงปฏิบัติ” เขากล่าวพร้อมยืนกรานว่า กองทัพในภูมิภาคจำเป็นต้องเข้ามาแทนที่เพื่ออุดช่องโหว่
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016363
    ..............
    Sondhi X
    เจ้าหน้าที่ระดับสูงนาโตเชื่อว่า สหรัฐฯ จะยังไม่ลาออกจากนาโตแต่น่าจะถอนกำลังทหารออกไปบางส่วนหลังยุโรปไม่ใช่เป้าหมายหลักอีกต่อไปสำหรับวอชิงตัน . บลูมเบิร์กของสหรัฐฯ รายงานวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า วอชิงตันน่าที่จะยังคงอยู่ร่วมกับนาโตต่อไป แต่ทว่าอาจจะลดกองกำลังประจำการลงในยุโรปจากการที่สหรัฐฯ หันเห็นความจำเป็นไปอยู่ที่ภูมิภาคอินโดแปซิฟิก . พลเรือเอกจูเซปเป คาโว ดราโกเน ประธานคณะกรรมการกองทัพประจำ NATO เดือนที่แล้วได้กล่าวในการประชุมนอกรอบในการประชุมความมั่นคงมิวนิกที่ซึ่งบรรดาผู้นำยุโรปมาเพื่อเผชิญหน้ากับรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ รวมถึงความคาดหวังการลดลงของการปกป้องทางความมั่นคงของสหรัฐฯ . พลเรือเอกคาโว ดราโกเน กล่าวว่า “สหรัฐฯ จะไม่ถอนตัวออกไปจากนาโต” ในการให้สัมภาษณ์ในเมืองมิวนิก แต่การถอนกำลังทหารอเมริกันบางส่วนออกไปจากทั้งหมด 100,000 นายที่ประจำอยู่ในยุโรปอาจมีวาระเกิดขึ้น เป็นเพราะมีความผูกพันบางประการที่สหรัฐฯ ต้องออกห่างไปจากที่นี่ ไปอยู่ที่มหาสมุทรแปซิฟิก” . แต่พลเรือเอกจากอิตาลีที่ได้นั่งในตำแหน่งสำคัญนี้เปิดเผยว่า “อย่างไรก็ตามผมไม่คิดว่าจะเป็นตัวเลขมหาศาลที่จะนำอเมริกันออกไปจากยุโรป” . ความมั่นคงยุโรปมีความสำคัญอย่างสูงในการประชุมความมั่นคงมิวนิก เหนือจากทั้งหมดคือการแก้ปัญหาสงครามยูเครนที่ยาวนานยืดเยื้อร่วม 3 ปี . แต่ทว่าผู้นำชาติยุโรปและยูเครนต่างไม่ทันตั้งตัวถึงแผนทรัมป์ที่จะหารือกับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน ที่ต่างวิตกกันว่ายุโรปจะไม่ได้มีส่วนร่วม . คาโว ดราโกเน เห็นพ้องกับสมาชิกนาโตหลายคนในยุโรปเรียกร้องให้เพิ่มงบประมาณการป้องกันประเทศ โดยรับรู้ว่าการหันเหความสนใจของสหรัฐฯ หมายถึงยุโรปจำเป็นต้องเพิ่มความแข็งแกร่งขึ้นมา . “มันมีความไม่สมดุลเกิดขึ้น ดังนั้นพวกเราจำเป็นต้องทำให้มีความสมดุลกลับคืนมา” พร้อมกับเรียกแนวคิดที่ว่ายุโรปไม่สามารถปกป้องตัวเองว่า “เป็นการดูหมิ่น” . อย่างไรก็ตาม การลดลงใดๆ ของอเมริกาในยุโรปนั้นเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับโดยนาโตด้วยทัศนคติเชิงปฏิบัติ” เขากล่าวพร้อมยืนกรานว่า กองทัพในภูมิภาคจำเป็นต้องเข้ามาแทนที่เพื่ออุดช่องโหว่ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016363 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1687 มุมมอง 0 รีวิว
  • พวกผู้นำยุโรปที่ร่วมประชุมฉุกเฉินในกรุงปารีส มองต่างมุมเกี่ยวกับการหาวิธีรับมือการกลับลำนโยบายต่อยูเครนของทรัมป์ ฝรั่งเศสและอังกฤษพยายามผลักดันการรับประกันความมั่นคงของเคียฟ โดยที่ผู้นำลอนดอนยอมรับต้องรออเมริกาออกหน้าก่อน แต่เยอรมนีค้านข้อเสนอส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครน
    .
    ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เป็นเจ้าภาพจัดประชุมฉุกเฉินที่ปารีสในวันจันทร์ ขณะที่ยุโรปกังวลว่า ตนเองจะถูกตัดออกจากการเจรจาสันติภาพในยูเครน ซึ่งแม้แต่เคียฟก็ยังถูกเทเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปประชุมกับคณะเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นในวันอังคาร (18 ก.พ.) โดยที่ทั้งเคียฟและยุโรปไม่ได้รับเชิญ
    .
    บรรดาผู้นำยุโรปถกเถียงกันในปารีสเกี่ยวกับการเพิ่มงบประมาณกลาโหมเพื่อลดการพึ่งพิงอเมริกา การรับประกันความมั่นคงของยูเครน ตลอดจนการจัดส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครนหากมีทำข้อตกลงหยุดยิงกับรัสเซีย
    .
    มาครงเผยเมื่อเช้าวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า ได้หารือทางโทรศัพท์กับทรัมป์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี และได้เรียกร้องการรับประกันความมั่นคงที่เข้มแข็งและเชื่อถือได้สำหรับยูเครน เพื่อให้ข้อตกลงสันติภาพไม่จบแบบเดียวกับข้อตกลงมินสก์ในปี 2014 และ 2015 ที่ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในดินแดนด้านตะวันออกของยูเครนได้
    .
    ผู้นำฝรั่งเศสบอกว่า การกลับสู่ทำเนียบขาวของทรัมป์เทียบได้กับการช็อตด้วยไฟฟ้า แต่เตือนว่าข้อตกลงสันติภาพไม่ควรจบลงที่การยอมจำนน
    .
    ด้านเซเลนสกีประกาศว่า ยูเครนจะไม่ยอมรับข้อตกลงสันติภาพใดๆ ที่มีการหารือลับหลังโดยที่เคียฟไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
    .
    สำหรับนายกรัฐมนตรีดิค ชูฟ ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเข้าร่วมประชุมที่ปารีสด้วย โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า ทุกประเทศรับรู้ถึงความจำเป็นเร่งด่วน และในช่วงเวลาที่สำคัญต่อความมั่นคงของยุโรปขณะนี้ ยุโรปต้องสนับสนุนยูเครนต่อไปด้วยการเป็นแกนนำในการรับประกันข้อตกลงใดๆ ก่อนสำทับว่า การร่วมมือกับอเมริกามีความสำคัญเช่นเดียวกัน
    .
    กระนั้น ยังไม่ชัดเจนว่ายุโรปจะโน้มน้าววอชิงตันอย่างไร หลังจากที่ทรัมป์ทำยูเครนและพันธมิตรยุโรปอึ้งไปตามๆ กันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการโทรศัพท์คุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่ถูกตะวันตกโดดเดี่ยวมาหลายปี โดยไม่ปรึกษาใครในยุโรปเลย
    .
    นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษที่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาประกาศว่า พร้อมส่งทหารอังกฤษไปยูเครนถ้าจำเป็น ล่าสุดกลับแบะท่าว่า อเมริกาต้องรับประกันความปลอดภัยก่อน ยุโรปจึงจะสามารถส่งกองกำลังไปยูเครนได้
    .
    ทว่า ภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ของเยอรมนี ตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะถกเถียงกันเกี่ยวกับการส่งกองกำลังสันติภาพไปยูเครน เนื่องจากยังคงมีการสู้รบกันอยู่
    .
    สำหรับนายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสค์ของโปแลนด์ กล่าวว่า ทุกคนในที่ประชุมรับรู้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและอเมริกาได้ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ ขณะที่ตัวเขาเองพูดไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าประชุมว่า โปแลนด์จะไม่ส่งทหารเข้าไปในดินแดนยูเครน โดย "โปแลนด์จะสนับสนุนยูเครนแบบเดียวกับที่ทำมาจนถึงตอนนี้ โปแลนด์ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับศักยภาพทางการเงินของเรา ทั้งในแง่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและด้านการทหาร" เขากล่าว
    .
    อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู ระบุว่า ยูเครนสมควรมีสันติภาพด้วยสถานะที่เข้มแข็ง รวมทั้งได้รับการรับประกันความมั่นคง นอกจากนั้น ความเป็นเอกราช อธิปไตย และบูรณาภาพแห่งดินแดนของยูเครนควรได้รับการเคารพ
    .
    มาร์ค รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ประกาศว่า ยุโรปมีความมุ่งมั่นชัดเจนในการสนับสนุนยูเครน
    .
    นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมตเทอ เฟรเดริกเซิน กล่าวว่า เดนมาร์กเปิดกว้างในประเด็นการส่งทหารไปยูเครน แต่เตือนว่า คำถามสำคัญคืออเมริกาจะสนับสนุนเรื่องนี้หรือไม่ พร้อมสำทับว่า รัสเซียกำลังคุกคามยุโรปทั้งหมด และเตือนวอชิงตันว่า การเร่งรัดข้อตกลงหยุดยิงจะเปิดโอกาสให้มอสโกระดมพลอีกครั้งเพื่อกลับไปโจมตียูเครนหรือประเทศอื่นในยุโรป
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016364
    ..............
    Sondhi X
    พวกผู้นำยุโรปที่ร่วมประชุมฉุกเฉินในกรุงปารีส มองต่างมุมเกี่ยวกับการหาวิธีรับมือการกลับลำนโยบายต่อยูเครนของทรัมป์ ฝรั่งเศสและอังกฤษพยายามผลักดันการรับประกันความมั่นคงของเคียฟ โดยที่ผู้นำลอนดอนยอมรับต้องรออเมริกาออกหน้าก่อน แต่เยอรมนีค้านข้อเสนอส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครน . ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เป็นเจ้าภาพจัดประชุมฉุกเฉินที่ปารีสในวันจันทร์ ขณะที่ยุโรปกังวลว่า ตนเองจะถูกตัดออกจากการเจรจาสันติภาพในยูเครน ซึ่งแม้แต่เคียฟก็ยังถูกเทเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปประชุมกับคณะเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นในวันอังคาร (18 ก.พ.) โดยที่ทั้งเคียฟและยุโรปไม่ได้รับเชิญ . บรรดาผู้นำยุโรปถกเถียงกันในปารีสเกี่ยวกับการเพิ่มงบประมาณกลาโหมเพื่อลดการพึ่งพิงอเมริกา การรับประกันความมั่นคงของยูเครน ตลอดจนการจัดส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครนหากมีทำข้อตกลงหยุดยิงกับรัสเซีย . มาครงเผยเมื่อเช้าวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า ได้หารือทางโทรศัพท์กับทรัมป์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี และได้เรียกร้องการรับประกันความมั่นคงที่เข้มแข็งและเชื่อถือได้สำหรับยูเครน เพื่อให้ข้อตกลงสันติภาพไม่จบแบบเดียวกับข้อตกลงมินสก์ในปี 2014 และ 2015 ที่ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในดินแดนด้านตะวันออกของยูเครนได้ . ผู้นำฝรั่งเศสบอกว่า การกลับสู่ทำเนียบขาวของทรัมป์เทียบได้กับการช็อตด้วยไฟฟ้า แต่เตือนว่าข้อตกลงสันติภาพไม่ควรจบลงที่การยอมจำนน . ด้านเซเลนสกีประกาศว่า ยูเครนจะไม่ยอมรับข้อตกลงสันติภาพใดๆ ที่มีการหารือลับหลังโดยที่เคียฟไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง . สำหรับนายกรัฐมนตรีดิค ชูฟ ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเข้าร่วมประชุมที่ปารีสด้วย โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า ทุกประเทศรับรู้ถึงความจำเป็นเร่งด่วน และในช่วงเวลาที่สำคัญต่อความมั่นคงของยุโรปขณะนี้ ยุโรปต้องสนับสนุนยูเครนต่อไปด้วยการเป็นแกนนำในการรับประกันข้อตกลงใดๆ ก่อนสำทับว่า การร่วมมือกับอเมริกามีความสำคัญเช่นเดียวกัน . กระนั้น ยังไม่ชัดเจนว่ายุโรปจะโน้มน้าววอชิงตันอย่างไร หลังจากที่ทรัมป์ทำยูเครนและพันธมิตรยุโรปอึ้งไปตามๆ กันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการโทรศัพท์คุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่ถูกตะวันตกโดดเดี่ยวมาหลายปี โดยไม่ปรึกษาใครในยุโรปเลย . นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษที่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาประกาศว่า พร้อมส่งทหารอังกฤษไปยูเครนถ้าจำเป็น ล่าสุดกลับแบะท่าว่า อเมริกาต้องรับประกันความปลอดภัยก่อน ยุโรปจึงจะสามารถส่งกองกำลังไปยูเครนได้ . ทว่า ภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ของเยอรมนี ตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะถกเถียงกันเกี่ยวกับการส่งกองกำลังสันติภาพไปยูเครน เนื่องจากยังคงมีการสู้รบกันอยู่ . สำหรับนายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสค์ของโปแลนด์ กล่าวว่า ทุกคนในที่ประชุมรับรู้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและอเมริกาได้ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ ขณะที่ตัวเขาเองพูดไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าประชุมว่า โปแลนด์จะไม่ส่งทหารเข้าไปในดินแดนยูเครน โดย "โปแลนด์จะสนับสนุนยูเครนแบบเดียวกับที่ทำมาจนถึงตอนนี้ โปแลนด์ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับศักยภาพทางการเงินของเรา ทั้งในแง่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและด้านการทหาร" เขากล่าว . อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู ระบุว่า ยูเครนสมควรมีสันติภาพด้วยสถานะที่เข้มแข็ง รวมทั้งได้รับการรับประกันความมั่นคง นอกจากนั้น ความเป็นเอกราช อธิปไตย และบูรณาภาพแห่งดินแดนของยูเครนควรได้รับการเคารพ . มาร์ค รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ประกาศว่า ยุโรปมีความมุ่งมั่นชัดเจนในการสนับสนุนยูเครน . นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมตเทอ เฟรเดริกเซิน กล่าวว่า เดนมาร์กเปิดกว้างในประเด็นการส่งทหารไปยูเครน แต่เตือนว่า คำถามสำคัญคืออเมริกาจะสนับสนุนเรื่องนี้หรือไม่ พร้อมสำทับว่า รัสเซียกำลังคุกคามยุโรปทั้งหมด และเตือนวอชิงตันว่า การเร่งรัดข้อตกลงหยุดยิงจะเปิดโอกาสให้มอสโกระดมพลอีกครั้งเพื่อกลับไปโจมตียูเครนหรือประเทศอื่นในยุโรป . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016364 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1745 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยิวยึดปายแบบเงียบๆ แพทองธารไม่รู้เดียงสา

    อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จากเมืองท่องเที่ยวที่มีจุดขายเรื่องธรรมชาติและวีถีชีวิตชาวบ้าน กลายมาเป็นประเด็นความมั่นคง เมื่อชาวยิวอิสราเอลที่หยุดพักการสู้รบสงครามกับเขตกาซาของปาเลสไตน์และเลบานอน มุ่งหน้าย้ายมาตั้งถิ่นฐานใน อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ภายใต้การหนุนหลังของสมาคมยิว Chabad ที่แผ่อิทธิพลทั่วโลกให้การสนับสนุน รวมทั้งเว็บไซต์ Chabad ยิวในไทย ประกาศเชิญชวนชาวยิวย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่ปาย อ้างว่าสงบสุขและสวยงามกว่าอิสราเอล

    มีการตั้ง Chabad of Pai ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังสถานีตำรวจภูธรปาย ทำกิจกรรมทางศาสนาทุกศุกร์-อาทิตย์ ปัจจุบันเหลือกิจกรรมสำคัญเฉพาะวันศุกร์และเสาร์ อีกทั้งเปิดธุรกิจหลายอย่างเพื่อรองรับสังคมขยายชาวยิว เช่น ร้านอาหาร รีสอร์ต ร้านตัดผม ฯลฯ เพื่อรองรับชาวยิวโดยเฉพาะ และเมื่อชาวยิวอิสราเอลก่อพฤติกรรมไม่เหมาะสมจำนวนมาก ทำให้เกิดกระแสความหวาดกลัวของชาวบ้าน กระทั่งมีร้านค้าและผู้ประกอบการในพื้นที่ อ.ปาย เริ่มติดป้ายไม่ต้อนรับชาวอิสราเอล และร้องเรียนต่อทางการ

    แพทย์รายหนึ่งในโรงพยาบาลปาย ระบายความในใจว่า เจอปัญหาซ้ำๆ จากชาวยิวอิสราเอล ตั้งแต่ชี้หน้าด่าหมอ วุ่นวาย โชว์นิ้วกลางใส่หมอ ไม่เชื่อหมอประเทศไทยแต่มาตรวจ แล้วบอกจะถามหมอตัวเอง ว่าหมอตัวเองสั่งให้ทำแบบนี้ สูบบุหรี่ในโรงพยาบาล ชาร์จแบตในโรงพยาบาลไม่จ่ายเงิน ขโมย ทุบประตูอีอาร์ เปิดร้านสอนขับรถ เปิดโบสถ์ และให้ตำรวจไปเฝ้า รถชนรถล้มมาบ่อยๆ ไม่มีใบขับขี่ ชอบด่าพยาบาลไม่ยอมให้เจาะเลือด ไม่ยอมให้ทาแผล

    เคยส่งเรื่องไปให้อำเภอ ร้องเรียนไปแล้ว แต่ว่าอำเภอแจ้งกลับมาบอกว่า "อย่าทำลายการท่องเที่ยว"

    สอดรับกับเฟซบุ๊ก Capt.Benz ของผู้กองเบนซ์ ไลฟ์โค้ชชื่อดัง ที่พักอาศัยในอำเภอปาย โพสต์ข้อความว่า เรื่องยิวในปาย อย่าประเมินต่ำ อย่าลืมว่าทั้งชายและหญิงจากประเทศนี้ เป็นทหาร 100% ที่เขามาเสียงดังโวยวาย บุกรุกโรงพยาบาลกัน ก็เพราะติดนิสัยในสนามรบมา สติกเกอร์ที่เขาเอามาแปะกันตามเสาทั่วปาย ถ้าแปลดู บางอันขนลุก ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ และว่า ถ้าฝ่ายความมั่นคงปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไป จะเกิดสถานการณ์โบสถ์และชุมชนยิว ถูกโจมตีจากศัตรูจริง หรือจากการสร้างสถานการณ์

    น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ชาวอิสราเอลหลายพันคน ที่อาศัยใน อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ติดป้ายประกาศห้ามคนไทยเข้าพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้ประชาชนเกิดความไม่พอใจ และบานปลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศ ว่า ได้ตรวจสอบแล้วไม่เป็นความจริง โดยในสัปดาห์หน้า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย จะมีการลงพื้นที่

    #Newskit
    ยิวยึดปายแบบเงียบๆ แพทองธารไม่รู้เดียงสา อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จากเมืองท่องเที่ยวที่มีจุดขายเรื่องธรรมชาติและวีถีชีวิตชาวบ้าน กลายมาเป็นประเด็นความมั่นคง เมื่อชาวยิวอิสราเอลที่หยุดพักการสู้รบสงครามกับเขตกาซาของปาเลสไตน์และเลบานอน มุ่งหน้าย้ายมาตั้งถิ่นฐานใน อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ภายใต้การหนุนหลังของสมาคมยิว Chabad ที่แผ่อิทธิพลทั่วโลกให้การสนับสนุน รวมทั้งเว็บไซต์ Chabad ยิวในไทย ประกาศเชิญชวนชาวยิวย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่ปาย อ้างว่าสงบสุขและสวยงามกว่าอิสราเอล มีการตั้ง Chabad of Pai ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังสถานีตำรวจภูธรปาย ทำกิจกรรมทางศาสนาทุกศุกร์-อาทิตย์ ปัจจุบันเหลือกิจกรรมสำคัญเฉพาะวันศุกร์และเสาร์ อีกทั้งเปิดธุรกิจหลายอย่างเพื่อรองรับสังคมขยายชาวยิว เช่น ร้านอาหาร รีสอร์ต ร้านตัดผม ฯลฯ เพื่อรองรับชาวยิวโดยเฉพาะ และเมื่อชาวยิวอิสราเอลก่อพฤติกรรมไม่เหมาะสมจำนวนมาก ทำให้เกิดกระแสความหวาดกลัวของชาวบ้าน กระทั่งมีร้านค้าและผู้ประกอบการในพื้นที่ อ.ปาย เริ่มติดป้ายไม่ต้อนรับชาวอิสราเอล และร้องเรียนต่อทางการ แพทย์รายหนึ่งในโรงพยาบาลปาย ระบายความในใจว่า เจอปัญหาซ้ำๆ จากชาวยิวอิสราเอล ตั้งแต่ชี้หน้าด่าหมอ วุ่นวาย โชว์นิ้วกลางใส่หมอ ไม่เชื่อหมอประเทศไทยแต่มาตรวจ แล้วบอกจะถามหมอตัวเอง ว่าหมอตัวเองสั่งให้ทำแบบนี้ สูบบุหรี่ในโรงพยาบาล ชาร์จแบตในโรงพยาบาลไม่จ่ายเงิน ขโมย ทุบประตูอีอาร์ เปิดร้านสอนขับรถ เปิดโบสถ์ และให้ตำรวจไปเฝ้า รถชนรถล้มมาบ่อยๆ ไม่มีใบขับขี่ ชอบด่าพยาบาลไม่ยอมให้เจาะเลือด ไม่ยอมให้ทาแผล เคยส่งเรื่องไปให้อำเภอ ร้องเรียนไปแล้ว แต่ว่าอำเภอแจ้งกลับมาบอกว่า "อย่าทำลายการท่องเที่ยว" สอดรับกับเฟซบุ๊ก Capt.Benz ของผู้กองเบนซ์ ไลฟ์โค้ชชื่อดัง ที่พักอาศัยในอำเภอปาย โพสต์ข้อความว่า เรื่องยิวในปาย อย่าประเมินต่ำ อย่าลืมว่าทั้งชายและหญิงจากประเทศนี้ เป็นทหาร 100% ที่เขามาเสียงดังโวยวาย บุกรุกโรงพยาบาลกัน ก็เพราะติดนิสัยในสนามรบมา สติกเกอร์ที่เขาเอามาแปะกันตามเสาทั่วปาย ถ้าแปลดู บางอันขนลุก ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ และว่า ถ้าฝ่ายความมั่นคงปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไป จะเกิดสถานการณ์โบสถ์และชุมชนยิว ถูกโจมตีจากศัตรูจริง หรือจากการสร้างสถานการณ์ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ชาวอิสราเอลหลายพันคน ที่อาศัยใน อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ติดป้ายประกาศห้ามคนไทยเข้าพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้ประชาชนเกิดความไม่พอใจ และบานปลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศ ว่า ได้ตรวจสอบแล้วไม่เป็นความจริง โดยในสัปดาห์หน้า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย จะมีการลงพื้นที่ #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 284 มุมมอง 0 รีวิว
  • มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ
    ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ
    สตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษประจำตะวันออกกลางของทำเนียบขาว
    ร่วมกันเปิดเผยรายละเอียดบางส่วนเกี่ยวกับการเจรจาครั้งสำคัญระหว่างสหรัฐและรัสเซีย:

    - การเจรจากับรัสเซียในซาอุดีอาระเบียถือเป็น "ก้าวสำคัญที่พัฒนาไปข้างหน้า"

    - ทั้งสองประเทศตกลงที่จะวางรากฐานสำหรับความร่วมมือในอนาคตในประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และโอกาสการลงทุนเมื่อความขัดแย้งในยูเครนสิ้นสุดลง

    - สหรัฐและรัสเซีย ให้คำมั่นที่จะมีส่วนร่วมเพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการดำเนินไปอย่างทันท่วงทีและสร้างสรรค์

    - การทำงานเพื่อยุติความขัดแย้งในยูเครนจะต้องใช้ "การทูตที่ซับซ้อนและเข้มข้น" และต้องใช้ระยะเวลา "ซึ่งต้องอาศัยการประนีประนอมจากทุกฝ่าย" (พุ่งเป้าไปที่รัสเซีย) และเงื่อนไขจะต้อง "ยอมรับได้"

    - ยังไม่ได้มีการกำหนดวัน ของการพบปะกันระหว่างผู้นำทั้งสอง แต่เชื่อว่าประธานาธิบดีทั้งสองได้สนทนากันถึงการพบกันแล้ว ซึ่งคาดว่าจะได้พบกันในที่สุด - ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐกล่าว

    - อนาคตของการเจรจาขึ้นอยู่กับความเต็มใจของทั้งสองฝ่ายที่จะ "ทำตามสัญญา" ซึ่งเป็นการทดสอบในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

    - ทรัมป์ตั้งเป้าหมายที่จะหาทางแก้ไขอย่างยุติธรรม เพื่อหลีกเลี่ยงการกลับมาสร้างความขัดแย้งในอีก 2-3 ปี ข้างหน้า

    - การฟื้นฟูทางการทูตระหว่างกันอาจทำได้ในเร็วๆนี้ หลังจากไม่ได้ติดต่อสื่อสารกันอย่างมีนัยสำคัญมาเกือบสามปีแล้ว

    - มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียเป็นผลจากความขัดแย้ง และอาจยกเลิกได้เมื่อความขัดแย้งสิ้นสุดลง
    มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ สตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษประจำตะวันออกกลางของทำเนียบขาว ร่วมกันเปิดเผยรายละเอียดบางส่วนเกี่ยวกับการเจรจาครั้งสำคัญระหว่างสหรัฐและรัสเซีย: - การเจรจากับรัสเซียในซาอุดีอาระเบียถือเป็น "ก้าวสำคัญที่พัฒนาไปข้างหน้า" - ทั้งสองประเทศตกลงที่จะวางรากฐานสำหรับความร่วมมือในอนาคตในประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และโอกาสการลงทุนเมื่อความขัดแย้งในยูเครนสิ้นสุดลง - สหรัฐและรัสเซีย ให้คำมั่นที่จะมีส่วนร่วมเพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการดำเนินไปอย่างทันท่วงทีและสร้างสรรค์ - การทำงานเพื่อยุติความขัดแย้งในยูเครนจะต้องใช้ "การทูตที่ซับซ้อนและเข้มข้น" และต้องใช้ระยะเวลา "ซึ่งต้องอาศัยการประนีประนอมจากทุกฝ่าย" (พุ่งเป้าไปที่รัสเซีย) และเงื่อนไขจะต้อง "ยอมรับได้" - ยังไม่ได้มีการกำหนดวัน ของการพบปะกันระหว่างผู้นำทั้งสอง แต่เชื่อว่าประธานาธิบดีทั้งสองได้สนทนากันถึงการพบกันแล้ว ซึ่งคาดว่าจะได้พบกันในที่สุด - ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐกล่าว - อนาคตของการเจรจาขึ้นอยู่กับความเต็มใจของทั้งสองฝ่ายที่จะ "ทำตามสัญญา" ซึ่งเป็นการทดสอบในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า - ทรัมป์ตั้งเป้าหมายที่จะหาทางแก้ไขอย่างยุติธรรม เพื่อหลีกเลี่ยงการกลับมาสร้างความขัดแย้งในอีก 2-3 ปี ข้างหน้า - การฟื้นฟูทางการทูตระหว่างกันอาจทำได้ในเร็วๆนี้ หลังจากไม่ได้ติดต่อสื่อสารกันอย่างมีนัยสำคัญมาเกือบสามปีแล้ว - มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียเป็นผลจากความขัดแย้ง และอาจยกเลิกได้เมื่อความขัดแย้งสิ้นสุดลง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 222 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมื่อองค์กรของคุณติดปีกแห่งการเปลี่ยนแปลง: เรื่องเล่าจากวงล้อการเรียนรู้

    ณ ใจกลางเมืองที่ไม่เคยหลับใหล มีบริษัทที่ชื่อว่า "แสงตะวัน" กำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทำให้พวกเขาตามไม่ทัน คู่แข่งรายใหม่ก็โผล่ขึ้นมาเหมือนดอกเห็ด กำไรที่เคยงดงามเริ่มหดหาย แสงตะวันจะทำอย่างไร?

    วงล้อแห่งการเรียนรู้: กุญแจสำคัญสู่การเปลี่ยนแปลง
    ผู้บริหารของแสงตะวันได้ค้นพบโมเดลการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ เปรียบเสมือน "วงล้อแห่งการเรียนรู้" ที่จะนำพาองค์กรของพวกเขาไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน วงล้อนี้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนสำคัญ
    1.ผลกระทบ (Impact): พวกเขาเริ่มจากการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนว่าต้องการให้องค์กรเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด และจะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อธุรกิจได้อย่างไร
    2.การถ่ายทอด (Transfer): พวกเขาเปิดใจรับฟังความคิดเห็นจากพนักงานทุกระดับ รวมถึงลูกค้าและคู่ค้า เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และประเมินอย่างรอบด้าน
    3.การเรียนรู้ (Learning): พวกเขาใช้ข้อมูลที่ได้มาสร้างองค์ความรู้ใหม่ พัฒนาทักษะของพนักงาน และปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
    4.ปฏิกิริยา (Reaction): พวกเขานำความรู้ที่ได้มาทดลองใช้จริง ปรับปรุงแก้ไข และเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อให้แน่ใจว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง
    5.ประสิทธิภาพ (Effectiveness): พวกเขาประเมินผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ และนำข้อมูลมาปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้องค์กรพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง

    ทีมและนวัตกรรม: แรงขับเคลื่อนสำคัญ
    วงล้อแห่งการเรียนรู้ของแสงตะวันไม่ได้หมุนด้วยตัวมันเอง พวกเขาให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม และส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ พวกเขายังลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

    10X Consulting: เพื่อนร่วมทางสู่ความสำเร็จ
    “แสงตะวัน” ไม่ได้เดินอยู่บนเส้นทางนี้อย่างโดดเดี่ยว พวกเขาได้รับความช่วยเหลือจาก “10X Consulting” แบรนด์ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาการจัดการองค์กร ที่มีทีมผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำแนะนำและสนับสนุนในทุกขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลง

    “10X Consulting” ให้บริการที่หลากหลายที่สามารถช่วยให้องค์กรของคุณก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจ ไม่ว่าจะเป็น
    •การวิเคราะห์ข้อมูล:
    เราช่วยคุณวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เพื่อค้นหา Insight ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจที่แม่นยำ
    •การพัฒนาทีม:
    เราช่วยคุณพัฒนาศักยภาพของบุคลากร เพื่อสร้างทีมที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ
    •การค้นหาสิ่งใหม่:
    เราช่วยคุณค้นหาสิ่งใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า
    •การประเมินผลลัพธ์: เราช่วยคุณประเมินผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้แน่ใจว่าคุณกำลังเดินหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้อง

    “แสงตะวัน” ในวันใหม่
    วันนี้ แสงตะวันกลับมาผงาดอีกครั้ง พวกเขาไม่กลัวความเปลี่ยนแปลง เพราะพวกเขามีวงล้อแห่งการเรียนรู้เป็นเครื่องนำทาง พวกเขาพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่ๆ และก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง

    บทเรียนจาก “แสงตะวัน”
    เรื่องราวของแสงตะวันสอนให้เรารู้ว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถควบคุมทิศทางของการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง วงล้อแห่งการเรียนรู้เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่จะนำพาองค์กรของคุณไปสู่ความสำเร็จ
    หากคุณต้องการที่จะติดปีกให้องค์กรของคุณและก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจ อย่ารอช้าที่จะติดต่อ “10X Consulting” เราพร้อมที่จะเป็นเพื่อนร่วมทางของคุณ

    www.10-xconsulting.com

    เมื่อองค์กรของคุณติดปีกแห่งการเปลี่ยนแปลง: เรื่องเล่าจากวงล้อการเรียนรู้ ณ ใจกลางเมืองที่ไม่เคยหลับใหล มีบริษัทที่ชื่อว่า "แสงตะวัน" กำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทำให้พวกเขาตามไม่ทัน คู่แข่งรายใหม่ก็โผล่ขึ้นมาเหมือนดอกเห็ด กำไรที่เคยงดงามเริ่มหดหาย แสงตะวันจะทำอย่างไร? วงล้อแห่งการเรียนรู้: กุญแจสำคัญสู่การเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารของแสงตะวันได้ค้นพบโมเดลการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ เปรียบเสมือน "วงล้อแห่งการเรียนรู้" ที่จะนำพาองค์กรของพวกเขาไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน วงล้อนี้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนสำคัญ 1.ผลกระทบ (Impact): พวกเขาเริ่มจากการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนว่าต้องการให้องค์กรเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด และจะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อธุรกิจได้อย่างไร 2.การถ่ายทอด (Transfer): พวกเขาเปิดใจรับฟังความคิดเห็นจากพนักงานทุกระดับ รวมถึงลูกค้าและคู่ค้า เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และประเมินอย่างรอบด้าน 3.การเรียนรู้ (Learning): พวกเขาใช้ข้อมูลที่ได้มาสร้างองค์ความรู้ใหม่ พัฒนาทักษะของพนักงาน และปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 4.ปฏิกิริยา (Reaction): พวกเขานำความรู้ที่ได้มาทดลองใช้จริง ปรับปรุงแก้ไข และเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อให้แน่ใจว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง 5.ประสิทธิภาพ (Effectiveness): พวกเขาประเมินผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ และนำข้อมูลมาปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้องค์กรพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง ทีมและนวัตกรรม: แรงขับเคลื่อนสำคัญ วงล้อแห่งการเรียนรู้ของแสงตะวันไม่ได้หมุนด้วยตัวมันเอง พวกเขาให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม และส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ พวกเขายังลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า 10X Consulting: เพื่อนร่วมทางสู่ความสำเร็จ “แสงตะวัน” ไม่ได้เดินอยู่บนเส้นทางนี้อย่างโดดเดี่ยว พวกเขาได้รับความช่วยเหลือจาก “10X Consulting” แบรนด์ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาการจัดการองค์กร ที่มีทีมผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำแนะนำและสนับสนุนในทุกขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลง “10X Consulting” ให้บริการที่หลากหลายที่สามารถช่วยให้องค์กรของคุณก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจ ไม่ว่าจะเป็น •การวิเคราะห์ข้อมูล: เราช่วยคุณวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เพื่อค้นหา Insight ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจที่แม่นยำ •การพัฒนาทีม: เราช่วยคุณพัฒนาศักยภาพของบุคลากร เพื่อสร้างทีมที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ •การค้นหาสิ่งใหม่: เราช่วยคุณค้นหาสิ่งใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า •การประเมินผลลัพธ์: เราช่วยคุณประเมินผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้แน่ใจว่าคุณกำลังเดินหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้อง “แสงตะวัน” ในวันใหม่ วันนี้ แสงตะวันกลับมาผงาดอีกครั้ง พวกเขาไม่กลัวความเปลี่ยนแปลง เพราะพวกเขามีวงล้อแห่งการเรียนรู้เป็นเครื่องนำทาง พวกเขาพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่ๆ และก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง บทเรียนจาก “แสงตะวัน” เรื่องราวของแสงตะวันสอนให้เรารู้ว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถควบคุมทิศทางของการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง วงล้อแห่งการเรียนรู้เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่จะนำพาองค์กรของคุณไปสู่ความสำเร็จ หากคุณต้องการที่จะติดปีกให้องค์กรของคุณและก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจ อย่ารอช้าที่จะติดต่อ “10X Consulting” เราพร้อมที่จะเป็นเพื่อนร่วมทางของคุณ www.10-xconsulting.com
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 168 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts