• มหาโจร..ต้มตุ๋น!! แห่งลุ่มน้ำคุมุทา!! 02/11/67 #มหาโจร #ลุ่มน้ำคุมุทา #ภิกษุสงฆ์ #พระพุทธเจ้า
    มหาโจร..ต้มตุ๋น!! แห่งลุ่มน้ำคุมุทา!! 02/11/67 #มหาโจร #ลุ่มน้ำคุมุทา #ภิกษุสงฆ์ #พระพุทธเจ้า
    Like
    Love
    Haha
    15
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1153 มุมมอง 397 0 รีวิว
  • หมวกไหมพรม Uniqlo ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์วัดญาณเวศกวันที่จะออกธุดงค์
    ถวายเมื่อ 14 ตุลาคม 2567
    มีรายชื่อตามนี้นะคะ
    1 วีรพล โสธรบุญ 2 ฉันทนา แซ่เจีย
    3 สุพรรณี ทองดี และ สมชาย ภุชงค์มาศ
    4 รชยา เสรีกิจการกุล 5 วิไลลักษณ์ ประจิตต์มุทิตา
    6 ปภาสร แก้วกอบสิน 7 เพชรี เจริญชัยชนะ
    8 ถาวร พิรุณสาร 9 วราภรณ์ ญาณปรีชาวงษ์
    10 ชุลีพร ธิรางกูร 11 นิลสุดา บุตรโพธิ์ศรี
    ขออนุโมทนาบุญกับเพื่อนๆทุกคนนะคะ
    หมวกไหมพรม Uniqlo ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์วัดญาณเวศกวันที่จะออกธุดงค์ ถวายเมื่อ 14 ตุลาคม 2567 มีรายชื่อตามนี้นะคะ 1 วีรพล โสธรบุญ 2 ฉันทนา แซ่เจีย 3 สุพรรณี ทองดี และ สมชาย ภุชงค์มาศ 4 รชยา เสรีกิจการกุล 5 วิไลลักษณ์ ประจิตต์มุทิตา 6 ปภาสร แก้วกอบสิน 7 เพชรี เจริญชัยชนะ 8 ถาวร พิรุณสาร 9 วราภรณ์ ญาณปรีชาวงษ์ 10 ชุลีพร ธิรางกูร 11 นิลสุดา บุตรโพธิ์ศรี ขออนุโมทนาบุญกับเพื่อนๆทุกคนนะคะ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 36 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภิกษุสงฆ์เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพด้วยเดรัจฉานวิชาได้หรือไม่

    ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกัน
    บ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธี
    บวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยา
    ถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา
    ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล
    แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง – สีลขันธวรรค . ที .๙/๖๖/๑๒๐

    อธิบายเพิ่มเติม

    โดยเฉพาะในเรื่องของหมอดู หรือว่าเรื่องอื่น ๆ ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา ถือว่าไม่ใช่สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นเสกน้ำมนต์ พ่นน้ำหมาก สร้างวัตถุมงคล ทำนายทายทักอะไรก็ดี จัดอยู่ในประเภทนี้ทั้งนั้น แล้วถ้าท่านทั้งหลายถามว่า “ในเมื่อเป็นเช่นนั้น แล้ววัดท่าขนุนยังสร้างวัตถุมงคลไปทำอะไร ?” ก็ขอตอบว่า “เพราะว่ากูไม่โง่..!”

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา แปลว่า ทำเป็นอาชีพ ในเมื่อเราไม่ทำเป็นอาชีพ ก็ไม่ได้หากินด้วยเดรัจฉานวิชา เพราะฉะนั้น..ไม่ว่าเราจะทำอะไร ก็ต้องพิจารณาให้ชัดเจน เพราะว่าสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้นั้น พระองค์ท่านทำไปก็เพื่อความบริสุทธิ์ผุดผ่อง น่าเลื่อมใสของพระพุทธศาสนา เผื่อว่าจะฉลาดขึ้น…! อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ สำหรับท่านที่ไม่ได้เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ แต่ทำเพื่อสงเคราะห์ญาติโยมก็ทำไปสิครับ..!

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
    ภิกษุสงฆ์เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพด้วยเดรัจฉานวิชาได้หรือไม่ ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกัน บ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธี บวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยา ถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. พระไตรปิฎก ฉบับหลวง – สีลขันธวรรค . ที .๙/๖๖/๑๒๐ อธิบายเพิ่มเติม โดยเฉพาะในเรื่องของหมอดู หรือว่าเรื่องอื่น ๆ ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา ถือว่าไม่ใช่สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นเสกน้ำมนต์ พ่นน้ำหมาก สร้างวัตถุมงคล ทำนายทายทักอะไรก็ดี จัดอยู่ในประเภทนี้ทั้งนั้น แล้วถ้าท่านทั้งหลายถามว่า “ในเมื่อเป็นเช่นนั้น แล้ววัดท่าขนุนยังสร้างวัตถุมงคลไปทำอะไร ?” ก็ขอตอบว่า “เพราะว่ากูไม่โง่..!” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา แปลว่า ทำเป็นอาชีพ ในเมื่อเราไม่ทำเป็นอาชีพ ก็ไม่ได้หากินด้วยเดรัจฉานวิชา เพราะฉะนั้น..ไม่ว่าเราจะทำอะไร ก็ต้องพิจารณาให้ชัดเจน เพราะว่าสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้นั้น พระองค์ท่านทำไปก็เพื่อความบริสุทธิ์ผุดผ่อง น่าเลื่อมใสของพระพุทธศาสนา เผื่อว่าจะฉลาดขึ้น…! อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ สำหรับท่านที่ไม่ได้เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ แต่ทำเพื่อสงเคราะห์ญาติโยมก็ทำไปสิครับ..! พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 33 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์โดยพ่อประจวบ มัคทายก#วัดไกลกังวลเขาสารพัดดี(ศรีเจริญธรรม)
    ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์โดยพ่อประจวบ มัคทายก#วัดไกลกังวลเขาสารพัดดี(ศรีเจริญธรรม)
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 69 มุมมอง 31 0 รีวิว
  • ภิกษุสงฆ์เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพด้วยเดรัจฉานวิชาได้หรือไม่

    ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกัน
    บ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธี
    บวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยา
    ถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา
    ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล
    แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง – สีลขันธวรรค . ที .๙/๖๖/๑๒๐

    อธิบายเพิ่มเติม

    โดยเฉพาะในเรื่องของหมอดู หรือว่าเรื่องอื่น ๆ ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา ถือว่าไม่ใช่สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นเสกน้ำมนต์ พ่นน้ำหมาก สร้างวัตถุมงคล ทำนายทายทักอะไรก็ดี จัดอยู่ในประเภทนี้ทั้งนั้น แล้วถ้าท่านทั้งหลายถามว่า “ในเมื่อเป็นเช่นนั้น แล้ววัดท่าขนุนยังสร้างวัตถุมงคลไปทำอะไร ?” ก็ขอตอบว่า “เพราะว่ากูไม่โง่..!”

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา แปลว่า ทำเป็นอาชีพ ในเมื่อเราไม่ทำเป็นอาชีพ ก็ไม่ได้หากินด้วยเดรัจฉานวิชา เพราะฉะนั้น..ไม่ว่าเราจะทำอะไร ก็ต้องพิจารณาให้ชัดเจน เพราะว่าสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้นั้น พระองค์ท่านทำไปก็เพื่อความบริสุทธิ์ผุดผ่อง น่าเลื่อมใสของพระพุทธศาสนา เผื่อว่าจะฉลาดขึ้น…! อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ สำหรับท่านที่ไม่ได้เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ แต่ทำเพื่อสงเคราะห์ญาติโยมก็ทำไปสิครับ..!

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
    ภิกษุสงฆ์เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพด้วยเดรัจฉานวิชาได้หรือไม่ ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกัน บ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธี บวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยา ถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. พระไตรปิฎก ฉบับหลวง – สีลขันธวรรค . ที .๙/๖๖/๑๒๐ อธิบายเพิ่มเติม โดยเฉพาะในเรื่องของหมอดู หรือว่าเรื่องอื่น ๆ ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา ถือว่าไม่ใช่สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นเสกน้ำมนต์ พ่นน้ำหมาก สร้างวัตถุมงคล ทำนายทายทักอะไรก็ดี จัดอยู่ในประเภทนี้ทั้งนั้น แล้วถ้าท่านทั้งหลายถามว่า “ในเมื่อเป็นเช่นนั้น แล้ววัดท่าขนุนยังสร้างวัตถุมงคลไปทำอะไร ?” ก็ขอตอบว่า “เพราะว่ากูไม่โง่..!” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา แปลว่า ทำเป็นอาชีพ ในเมื่อเราไม่ทำเป็นอาชีพ ก็ไม่ได้หากินด้วยเดรัจฉานวิชา เพราะฉะนั้น..ไม่ว่าเราจะทำอะไร ก็ต้องพิจารณาให้ชัดเจน เพราะว่าสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้นั้น พระองค์ท่านทำไปก็เพื่อความบริสุทธิ์ผุดผ่อง น่าเลื่อมใสของพระพุทธศาสนา เผื่อว่าจะฉลาดขึ้น…! อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ สำหรับท่านที่ไม่ได้เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ แต่ทำเพื่อสงเคราะห์ญาติโยมก็ทำไปสิครับ..! พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 92 มุมมอง 0 รีวิว
  • อุโบสถที่ ๗ ขึ้น ๑๕ ค่ำ (๑ ค่ำปักข์ถ้วน ) วันเสาร์ที่ ๖ กรกฏาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗
    พระเดชพระคุณ พระครูปลัดอวยชัย รัตนอวยชัย ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดดวงแข เป็นประธานนำ คณะสงฆ์วัดดวงแข ร่วมกันทำสังฆกรรมฟังสาธยายพระปาฏิโมกข์
    พรมหาศุภชัย แซ่เถียร อชิโต ป.ธ.๗ องค์สวดสาธยายพระปาฏิโมกข์
    พรปลัดธงชัยพันธ์ องค์ทวนพระปาฏิโมกข์
    พระภิกษุสงฆ์ลงอุโบสถกรรมสวดพระปาฏิโมกข์ หรือศีล ๒๒๗ ข้อ ในวันอุโบสถ วันพระจันทร์เพ็ญ และวันพระจันทร์ดับ คือ วันพระข้างขึ้น ๑๕ ค่ำ และข้างแรม ๑๕ ค่ำ หรือแรม๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด
    พระพุทธเจ้าได้ประทับเป็นประธานหมู่พระสงฆ์ แล้วก็ทรงแสดงพระโอวาทปาติโมกข์ขึ้นด้วยพระองค์เองทุก ๑๕ วัน แปลว่า ทรงทำอุโบสถร่วมด้วยภิกษุสงฆ์แล้วก็เรียกว่า ปาริสุทธิอุโบสถ คือ เป็นอุโบสถที่บริสุทธิ์
    พระพุทธเจ้าก็ทรงบริสุทธิ์ พระสงฆ์ก็บริสุทธิ์ จนถึงมีเรื่องที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมามีเล่าไว้ในบาลีวินัย ว่า พระสงฆ์มาประชุมพร้อมกันแล้ว พระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลงมา
    จนถึงเวลายามที่ ๑ พระอานนท์ก็ไปกราบทูลเตือนว่า ยามหนึ่งแล้วพระมานั่งรออยู่นานแล้ว ขอให้พระองค์ท่านเสด็จลงทรงสวดพระปาติโมกข์เถิด พระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลง
    ครั้นถึงยามที่ ๒ พระอานนท์ก็ไปกราบทูลเตือนอีก พระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลง
    ครั้นถึงยามที่ ๓ พระอานนท์ก็ไปกราบทูลเตือนอีกพระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลง แต่ได้มีพระพุทธดำรัสว่า บริษัทไม่บริสุทธิ์ คือ ว่ามีพระทุศีลมาปนอยู่ด้วย
    พระโมคคัลลานะจึงได้เที่ยวตรวจดู เมื่อไปพบภิกษุที่ทุศีลก็บอกให้ออกไปจากที่ประชุม ผู้นั้นก็ไม่ยอมออกไป ต้องฉุดแขนออกไป แต่ก็สว่างเสียแล้ว พ้นเวลาที่จะทำอุโบสถ ก็เป็นอันว่าในอุโบสถนั้นไม่ได้ทำ พระพุทธเจ้าจึงทรงปรารภเรื่องนี้ ตรัสให้พระสงฆ์ยกเอาพระวินัยที่ทรงบัญญัติขึ้นไว้มาสวดเป็นปาติโมกข์แทน และให้พระสงฆ์สวดกันเอง พระพุทธเจ้าไม่เสด็จมาทำอุโบสถร่วมด้วยอีกต่อไป
    เพราะฉะนั้นจึงมีการยกเอาวินัยขึ้นสวดเป็นปาติโมกข์ทุก ๆ ๑๕ วัน สืบต่อมาจนบัดนี้ ปาติโมกข์ที่ยกเอาพระวินัยขึ้นสวดนี้ เรียกว่า วินัยปาติโมกข์ ซึ่งก็คือ คัมภีร์รวมวินัยสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ ซึ่งต้องสวดทบทวนในที่ประชุมสงฆ์ หรือการลงอุโบสถทุกกึ่งเดือนในวันพระ
    พระพุทธเจ้าตรัสห้ามมิให้สวดปาฏิโมกข์โดยมีคฤหัสถ์ปนอยู่ในท่ามกลางหมู่ภิกษุสงฆ์ หมายความว่าไม่พึงสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์ปนอยู่ด้วย รูปใดสวดต้องอาบัติทุกกฏ
    การฟังปาฏิโมกข์เป็นกิจสงฆ์ที่สำคัญ และเป็นสังฆกรรมเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น แม้สามเณรก็เข้าร่วมไม่ได้ ในระหว่างที่กำลังสวดปาฏิโมกข์ หากมีผู้มิใช่ภิกษุเข้ามาในหัตถบาสต้องเริ่มสวดปาฏิโมกข์ใหม่ เพราะเป็นสังฆกรรมวิบัติ
    การฟังพระสวดปาฏิโมกข์แล้วจะเข้าใจความหมายก็ตาม หรือไม่เข้าใจก็ตาม ผู้ฟังแล้วจะได้ทั้งบุญและอานิสงส์มาก เพราะการสวดปาฏิโมกข์เป็นภาษาบาลี หรือภาษามคธ ภาษาของพระพุทธเจ้า พระสงฆ์ที่เข้าร่วมฟังปาฏิโมกข์จะรู้ได้เฉพาะตน หรือพระสงฆ์ที่มีเปรียญธรรม ๕ ประโยคขึ้นไปฟังรู้เรื่องและเข้าใจความหมายได้
    อุโบสถที่ ๗ ขึ้น ๑๕ ค่ำ (๑ ค่ำปักข์ถ้วน ) วันเสาร์ที่ ๖ กรกฏาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ พระเดชพระคุณ พระครูปลัดอวยชัย รัตนอวยชัย ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดดวงแข เป็นประธานนำ คณะสงฆ์วัดดวงแข ร่วมกันทำสังฆกรรมฟังสาธยายพระปาฏิโมกข์ พรมหาศุภชัย แซ่เถียร อชิโต ป.ธ.๗ องค์สวดสาธยายพระปาฏิโมกข์ พรปลัดธงชัยพันธ์ องค์ทวนพระปาฏิโมกข์ พระภิกษุสงฆ์ลงอุโบสถกรรมสวดพระปาฏิโมกข์ หรือศีล ๒๒๗ ข้อ ในวันอุโบสถ วันพระจันทร์เพ็ญ และวันพระจันทร์ดับ คือ วันพระข้างขึ้น ๑๕ ค่ำ และข้างแรม ๑๕ ค่ำ หรือแรม๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด พระพุทธเจ้าได้ประทับเป็นประธานหมู่พระสงฆ์ แล้วก็ทรงแสดงพระโอวาทปาติโมกข์ขึ้นด้วยพระองค์เองทุก ๑๕ วัน แปลว่า ทรงทำอุโบสถร่วมด้วยภิกษุสงฆ์แล้วก็เรียกว่า ปาริสุทธิอุโบสถ คือ เป็นอุโบสถที่บริสุทธิ์ พระพุทธเจ้าก็ทรงบริสุทธิ์ พระสงฆ์ก็บริสุทธิ์ จนถึงมีเรื่องที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมามีเล่าไว้ในบาลีวินัย ว่า พระสงฆ์มาประชุมพร้อมกันแล้ว พระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลงมา จนถึงเวลายามที่ ๑ พระอานนท์ก็ไปกราบทูลเตือนว่า ยามหนึ่งแล้วพระมานั่งรออยู่นานแล้ว ขอให้พระองค์ท่านเสด็จลงทรงสวดพระปาติโมกข์เถิด พระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลง ครั้นถึงยามที่ ๒ พระอานนท์ก็ไปกราบทูลเตือนอีก พระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลง ครั้นถึงยามที่ ๓ พระอานนท์ก็ไปกราบทูลเตือนอีกพระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลง แต่ได้มีพระพุทธดำรัสว่า บริษัทไม่บริสุทธิ์ คือ ว่ามีพระทุศีลมาปนอยู่ด้วย พระโมคคัลลานะจึงได้เที่ยวตรวจดู เมื่อไปพบภิกษุที่ทุศีลก็บอกให้ออกไปจากที่ประชุม ผู้นั้นก็ไม่ยอมออกไป ต้องฉุดแขนออกไป แต่ก็สว่างเสียแล้ว พ้นเวลาที่จะทำอุโบสถ ก็เป็นอันว่าในอุโบสถนั้นไม่ได้ทำ พระพุทธเจ้าจึงทรงปรารภเรื่องนี้ ตรัสให้พระสงฆ์ยกเอาพระวินัยที่ทรงบัญญัติขึ้นไว้มาสวดเป็นปาติโมกข์แทน และให้พระสงฆ์สวดกันเอง พระพุทธเจ้าไม่เสด็จมาทำอุโบสถร่วมด้วยอีกต่อไป เพราะฉะนั้นจึงมีการยกเอาวินัยขึ้นสวดเป็นปาติโมกข์ทุก ๆ ๑๕ วัน สืบต่อมาจนบัดนี้ ปาติโมกข์ที่ยกเอาพระวินัยขึ้นสวดนี้ เรียกว่า วินัยปาติโมกข์ ซึ่งก็คือ คัมภีร์รวมวินัยสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ ซึ่งต้องสวดทบทวนในที่ประชุมสงฆ์ หรือการลงอุโบสถทุกกึ่งเดือนในวันพระ พระพุทธเจ้าตรัสห้ามมิให้สวดปาฏิโมกข์โดยมีคฤหัสถ์ปนอยู่ในท่ามกลางหมู่ภิกษุสงฆ์ หมายความว่าไม่พึงสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์ปนอยู่ด้วย รูปใดสวดต้องอาบัติทุกกฏ การฟังปาฏิโมกข์เป็นกิจสงฆ์ที่สำคัญ และเป็นสังฆกรรมเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น แม้สามเณรก็เข้าร่วมไม่ได้ ในระหว่างที่กำลังสวดปาฏิโมกข์ หากมีผู้มิใช่ภิกษุเข้ามาในหัตถบาสต้องเริ่มสวดปาฏิโมกข์ใหม่ เพราะเป็นสังฆกรรมวิบัติ การฟังพระสวดปาฏิโมกข์แล้วจะเข้าใจความหมายก็ตาม หรือไม่เข้าใจก็ตาม ผู้ฟังแล้วจะได้ทั้งบุญและอานิสงส์มาก เพราะการสวดปาฏิโมกข์เป็นภาษาบาลี หรือภาษามคธ ภาษาของพระพุทธเจ้า พระสงฆ์ที่เข้าร่วมฟังปาฏิโมกข์จะรู้ได้เฉพาะตน หรือพระสงฆ์ที่มีเปรียญธรรม ๕ ประโยคขึ้นไปฟังรู้เรื่องและเข้าใจความหมายได้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 22 มุมมอง 0 รีวิว
  • อุโบสถที่ ๗ ขึ้น ๑๕ ค่ำ (๑ ค่ำปักข์ถ้วน ) วันเสาร์ที่ ๖ กรกฏาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗
    พระเดชพระคุณ พระครูปลัดอวยชัย รัตนอวยชัย ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดดวงแข เป็นประธานนำ คณะสงฆ์วัดดวงแข ร่วมกันทำสังฆกรรมฟังสาธยายพระปาฏิโมกข์
    พรมหาศุภชัย แซ่เถียร อชิโต ป.ธ.๗ องค์สวดสาธยายพระปาฏิโมกข์
    พรปลัดธงชัยพันธ์ องค์ทวนพระปาฏิโมกข์
    พระภิกษุสงฆ์ลงอุโบสถกรรมสวดพระปาฏิโมกข์ หรือศีล ๒๒๗ ข้อ ในวันอุโบสถ วันพระจันทร์เพ็ญ และวันพระจันทร์ดับ คือ วันพระข้างขึ้น ๑๕ ค่ำ และข้างแรม ๑๕ ค่ำ หรือแรม๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด
    พระพุทธเจ้าได้ประทับเป็นประธานหมู่พระสงฆ์ แล้วก็ทรงแสดงพระโอวาทปาติโมกข์ขึ้นด้วยพระองค์เองทุก ๑๕ วัน แปลว่า ทรงทำอุโบสถร่วมด้วยภิกษุสงฆ์แล้วก็เรียกว่า ปาริสุทธิอุโบสถ คือ เป็นอุโบสถที่บริสุทธิ์
    พระพุทธเจ้าก็ทรงบริสุทธิ์ พระสงฆ์ก็บริสุทธิ์ จนถึงมีเรื่องที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมามีเล่าไว้ในบาลีวินัย ว่า พระสงฆ์มาประชุมพร้อมกันแล้ว พระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลงมา
    จนถึงเวลายามที่ ๑ พระอานนท์ก็ไปกราบทูลเตือนว่า ยามหนึ่งแล้วพระมานั่งรออยู่นานแล้ว ขอให้พระองค์ท่านเสด็จลงทรงสวดพระปาติโมกข์เถิด พระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลง
    ครั้นถึงยามที่ ๒ พระอานนท์ก็ไปกราบทูลเตือนอีก พระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลง
    ครั้นถึงยามที่ ๓ พระอานนท์ก็ไปกราบทูลเตือนอีกพระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลง แต่ได้มีพระพุทธดำรัสว่า บริษัทไม่บริสุทธิ์ คือ ว่ามีพระทุศีลมาปนอยู่ด้วย
    พระโมคคัลลานะจึงได้เที่ยวตรวจดู เมื่อไปพบภิกษุที่ทุศีลก็บอกให้ออกไปจากที่ประชุม ผู้นั้นก็ไม่ยอมออกไป ต้องฉุดแขนออกไป แต่ก็สว่างเสียแล้ว พ้นเวลาที่จะทำอุโบสถ ก็เป็นอันว่าในอุโบสถนั้นไม่ได้ทำ พระพุทธเจ้าจึงทรงปรารภเรื่องนี้ ตรัสให้พระสงฆ์ยกเอาพระวินัยที่ทรงบัญญัติขึ้นไว้มาสวดเป็นปาติโมกข์แทน และให้พระสงฆ์สวดกันเอง พระพุทธเจ้าไม่เสด็จมาทำอุโบสถร่วมด้วยอีกต่อไป
    เพราะฉะนั้นจึงมีการยกเอาวินัยขึ้นสวดเป็นปาติโมกข์ทุก ๆ ๑๕ วัน สืบต่อมาจนบัดนี้ ปาติโมกข์ที่ยกเอาพระวินัยขึ้นสวดนี้ เรียกว่า วินัยปาติโมกข์ ซึ่งก็คือ คัมภีร์รวมวินัยสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ ซึ่งต้องสวดทบทวนในที่ประชุมสงฆ์ หรือการลงอุโบสถทุกกึ่งเดือนในวันพระ
    พระพุทธเจ้าตรัสห้ามมิให้สวดปาฏิโมกข์โดยมีคฤหัสถ์ปนอยู่ในท่ามกลางหมู่ภิกษุสงฆ์ หมายความว่าไม่พึงสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์ปนอยู่ด้วย รูปใดสวดต้องอาบัติทุกกฏ
    การฟังปาฏิโมกข์เป็นกิจสงฆ์ที่สำคัญ และเป็นสังฆกรรมเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น แม้สามเณรก็เข้าร่วมไม่ได้ ในระหว่างที่กำลังสวดปาฏิโมกข์ หากมีผู้มิใช่ภิกษุเข้ามาในหัตถบาสต้องเริ่มสวดปาฏิโมกข์ใหม่ เพราะเป็นสังฆกรรมวิบัติ
    การฟังพระสวดปาฏิโมกข์แล้วจะเข้าใจความหมายก็ตาม หรือไม่เข้าใจก็ตาม ผู้ฟังแล้วจะได้ทั้งบุญและอานิสงส์มาก เพราะการสวดปาฏิโมกข์เป็นภาษาบาลี หรือภาษามคธ ภาษาของพระพุทธเจ้า พระสงฆ์ที่เข้าร่วมฟังปาฏิโมกข์จะรู้ได้เฉพาะตน หรือพระสงฆ์ที่มีเปรียญธรรม ๕ ประโยคขึ้นไปฟังรู้เรื่องและเข้าใจความหมายได้
    อุโบสถที่ ๗ ขึ้น ๑๕ ค่ำ (๑ ค่ำปักข์ถ้วน ) วันเสาร์ที่ ๖ กรกฏาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ พระเดชพระคุณ พระครูปลัดอวยชัย รัตนอวยชัย ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดดวงแข เป็นประธานนำ คณะสงฆ์วัดดวงแข ร่วมกันทำสังฆกรรมฟังสาธยายพระปาฏิโมกข์ พรมหาศุภชัย แซ่เถียร อชิโต ป.ธ.๗ องค์สวดสาธยายพระปาฏิโมกข์ พรปลัดธงชัยพันธ์ องค์ทวนพระปาฏิโมกข์ พระภิกษุสงฆ์ลงอุโบสถกรรมสวดพระปาฏิโมกข์ หรือศีล ๒๒๗ ข้อ ในวันอุโบสถ วันพระจันทร์เพ็ญ และวันพระจันทร์ดับ คือ วันพระข้างขึ้น ๑๕ ค่ำ และข้างแรม ๑๕ ค่ำ หรือแรม๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด พระพุทธเจ้าได้ประทับเป็นประธานหมู่พระสงฆ์ แล้วก็ทรงแสดงพระโอวาทปาติโมกข์ขึ้นด้วยพระองค์เองทุก ๑๕ วัน แปลว่า ทรงทำอุโบสถร่วมด้วยภิกษุสงฆ์แล้วก็เรียกว่า ปาริสุทธิอุโบสถ คือ เป็นอุโบสถที่บริสุทธิ์ พระพุทธเจ้าก็ทรงบริสุทธิ์ พระสงฆ์ก็บริสุทธิ์ จนถึงมีเรื่องที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมามีเล่าไว้ในบาลีวินัย ว่า พระสงฆ์มาประชุมพร้อมกันแล้ว พระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลงมา จนถึงเวลายามที่ ๑ พระอานนท์ก็ไปกราบทูลเตือนว่า ยามหนึ่งแล้วพระมานั่งรออยู่นานแล้ว ขอให้พระองค์ท่านเสด็จลงทรงสวดพระปาติโมกข์เถิด พระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลง ครั้นถึงยามที่ ๒ พระอานนท์ก็ไปกราบทูลเตือนอีก พระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลง ครั้นถึงยามที่ ๓ พระอานนท์ก็ไปกราบทูลเตือนอีกพระพุทธเจ้าก็ไม่เสด็จลง แต่ได้มีพระพุทธดำรัสว่า บริษัทไม่บริสุทธิ์ คือ ว่ามีพระทุศีลมาปนอยู่ด้วย พระโมคคัลลานะจึงได้เที่ยวตรวจดู เมื่อไปพบภิกษุที่ทุศีลก็บอกให้ออกไปจากที่ประชุม ผู้นั้นก็ไม่ยอมออกไป ต้องฉุดแขนออกไป แต่ก็สว่างเสียแล้ว พ้นเวลาที่จะทำอุโบสถ ก็เป็นอันว่าในอุโบสถนั้นไม่ได้ทำ พระพุทธเจ้าจึงทรงปรารภเรื่องนี้ ตรัสให้พระสงฆ์ยกเอาพระวินัยที่ทรงบัญญัติขึ้นไว้มาสวดเป็นปาติโมกข์แทน และให้พระสงฆ์สวดกันเอง พระพุทธเจ้าไม่เสด็จมาทำอุโบสถร่วมด้วยอีกต่อไป เพราะฉะนั้นจึงมีการยกเอาวินัยขึ้นสวดเป็นปาติโมกข์ทุก ๆ ๑๕ วัน สืบต่อมาจนบัดนี้ ปาติโมกข์ที่ยกเอาพระวินัยขึ้นสวดนี้ เรียกว่า วินัยปาติโมกข์ ซึ่งก็คือ คัมภีร์รวมวินัยสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ ซึ่งต้องสวดทบทวนในที่ประชุมสงฆ์ หรือการลงอุโบสถทุกกึ่งเดือนในวันพระ พระพุทธเจ้าตรัสห้ามมิให้สวดปาฏิโมกข์โดยมีคฤหัสถ์ปนอยู่ในท่ามกลางหมู่ภิกษุสงฆ์ หมายความว่าไม่พึงสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์ปนอยู่ด้วย รูปใดสวดต้องอาบัติทุกกฏ การฟังปาฏิโมกข์เป็นกิจสงฆ์ที่สำคัญ และเป็นสังฆกรรมเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น แม้สามเณรก็เข้าร่วมไม่ได้ ในระหว่างที่กำลังสวดปาฏิโมกข์ หากมีผู้มิใช่ภิกษุเข้ามาในหัตถบาสต้องเริ่มสวดปาฏิโมกข์ใหม่ เพราะเป็นสังฆกรรมวิบัติ การฟังพระสวดปาฏิโมกข์แล้วจะเข้าใจความหมายก็ตาม หรือไม่เข้าใจก็ตาม ผู้ฟังแล้วจะได้ทั้งบุญและอานิสงส์มาก เพราะการสวดปาฏิโมกข์เป็นภาษาบาลี หรือภาษามคธ ภาษาของพระพุทธเจ้า พระสงฆ์ที่เข้าร่วมฟังปาฏิโมกข์จะรู้ได้เฉพาะตน หรือพระสงฆ์ที่มีเปรียญธรรม ๕ ประโยคขึ้นไปฟังรู้เรื่องและเข้าใจความหมายได้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 150 มุมมอง 48 0 รีวิว
  • บุคคลผู้หนึ่งซึ่งเป็นฆราวาสตื่นธรรม ท่านถามว่าทำไมต้องสร้างวัตถุมงคลเพื่อหาเงินไปสร้างวัดด้วย ? ไปอยู่ป่าก็ได้..! รู้สึกว่าท่านจะตอบแบบมักง่าย และยกตนเองว่าเป็นผู้ใฝ่สันโดษ หรือว่าปฏิบัติถูกต้องตามพระธรรมวินัยอยู่คนเดียว

    ตรงจุดนี้ท่านทั้งหลายต้องเข้าใจว่า แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่ประทานพระบรมพุทธานุญาตตามที่พระเทวทัตขอ ว่าให้พระภิกษุทั้งหมดอยู่ป่า ห้ามอยู่ในบ้านในเมือง โดยพระองค์ตรัสว่า ผู้ที่ใคร่จะอยู่ป่าก็จงอยู่ป่า ผู้ที่ใคร่จะอยู่ในเมืองก็จงอยู่ในเมือง

    เนื่องเพราะพระองค์มีวิสัยทัศน์อันยาวไกล หรือว่ามีพระสัพพัญญุตญาณที่รู้ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต รู้ดีว่าโลกภายภาคหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหน ทำให้พระภิกษุสงฆ์ถ้าหากว่าประพฤติวัตรปฏิบัติธรรมด้วยการอยู่ป่าอย่างเดียว จะกลายเป็นไม่มีที่อยู่ก็ได้..!

    โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ผืนป่าต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่อยู่ได้นั้นไม่มีเหลืออีกแล้ว ยกเว้นวัดต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมาก่อน แล้วยังคงความเป็นวัดป่าอยู่ก็พอที่จะมีพื้นที่ป่าเหลืออยู่บ้าง ไม่ต้องอื่นไกลที่ไหน แค่อำเภอทองผาภูมิที่กระผม/อาตมภาพอยู่นี่แหละ บรรดาพระภิกษุผู้อยู่ป่านับร้อย ๆ ราย โดนเจ้าหน้าที่นิมนต์ออกจากป่ามาทั้งหมด เนื่องเพราะว่าสถานที่เหล่านั้นเป็นอุทยานแห่งชาติบ้าง เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบ้าง แม้ว่าจะประกาศขึ้นทีหลัง โดยที่พระท่านไปอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่ก็โดนนิมนต์ออกมาจนเกือบจะหมด ยกเว้นท่านที่ได้รับการตั้งขึ้นเป็นวัดหรือสำนักสงฆ์อย่างถูกต้องแล้วเท่านั้น
    ดังนั้น..ท่านที่พูดชุ่ย ๆ ว่าไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างวัด ให้พระภิกษุไปอยู่ป่าอย่างเดียว ถ้าอย่างนั้นตั้งแต่โบราณมา เราก็คงไม่มีพระคามวาสีคือฝ่ายที่อยู่วัด และอรัญวาสีคือฝ่ายที่อยู่ป่า ในเมื่อบ้านเรามีการแยกวัดบ้านและวัดป่าอย่างชัดเจนแบบนี้ แล้วท่านยังจะให้ปฏิบัติตามปฏิปทาของพระเทวทัตอยู่อีกหรือ ?

    กระผม/อาตมภาพคาดว่าไม่มีใครอยากเป็นลูกศิษย์พระเทวทัต มีแต่อยากจะเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้าเท่านั้น ดังนั้น..สิ่งที่ท่านได้กล่าวมาก็ขอให้กล่าวโดยรอบคอบกว่านี้ ดูบริบทของสังคมเราด้วยว่าเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหนแล้ว

    สมัยพุทธกาลมีบรรดาเจ้าพระยามหากษัตริย์หรือว่ามหาเศรษฐี ท่านปวารณาสร้างวัดวาอารามให้ แม้แต่ในยุคสมัยต่อ ๆ มาในประเทศไทยของเราตั้งแต่ปรากฏประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นยุคกรุงสุโขทัย ยุคกรุงศรีอยุธยา ยุคกรุงธนบุรี มาถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ก็มีการสร้างวัดเพื่อบุญกุศลในวิหารทาน ในขณะเดียวกันก็มีคำพูดประเภทว่า บรรดาเจ้าใหญ่นายโตนั้น "สร้างวัดเพื่อให้ลูกหลานได้มีที่สำหรับวิ่งเล่น..!"

    ในเมื่อยุคต่อ ๆ มา บริบทของสังคมเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนได้เข้าสู่ส่วนของการใช้แรงงานต่าง ๆ มากมาย จนกระทั่งไม่มีเวลาที่จะไปช่วยเหลือวัด แม้กระทั่งผู้ที่ร่ำรวยด้วยเงินด้วยทองก็ติดหน้าที่การงานต่าง ๆ จนถึงขนาดไม่มีเวลาให้วัด ยกตัวอย่างบุคคลท่านหนึ่ง นามสกุลของท่านถ้าบอกไปแล้วต้องรู้จักกันทั้งประเทศไทย ท่านปวารณาเอาไว้ว่า กระผม/อาตมภาพจะสร้างหนี้เท่าไรก็ได้ ทุกสิ้นปีให้แจ้งไป ท่านจะจัดการ "เคลียร์หนี้" ให้ แต่เมื่อกระผม/อาตมภาพแจ้งไปแล้ว ปรากฏว่าท่านมักจะติดด้วยงานด้วยการ ไม่สามารถที่จะปลีกตัวได้

    ตอนนั้นกระผม/อาตมภาพยังรับสังฆทานอยู่ที่บ้านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ท่านมีเวลาแค่โทรศัพท์มาว่าตอนนี้วิ่งมาใกล้จะถึงแล้ว ให้กระผม/อาตมภาพลงไปรอในบริเวณนั้นบริเวณนี้ เมื่อท่านมาถึงแล้วก็เปิดหน้าต่างรถ ส่งเงินให้แล้วก็วิ่งต่อไป กระผม/อาตมภาพเจอแบบนั้นเข้าสองครั้ง ก็ไม่กล้าที่จะรบกวนอีกเลย..!

    ดังนั้น..ต่อให้ปวารณาไว้โดยที่ท่านร่ำรวยขนาดไหนก็ตาม กระผม/อาตมภาพก็แกล้งลืมเบอร์โทรศัพท์ไม่โทรไปหาอีก เนื่องเพราะเคยได้ยินมาว่าท่านเคยโทรสั่งโบรกเกอร์ช้าไปนาทีเดียว แล้วเสียหุ้นไป ๒๐ ล้านบาทโดยประมาณ..! ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ใครจะกล้าไปรบกวนเวลาของท่านอีก..!
    ในเมื่อบุคคลที่มีฐานะเพียงพอที่จะช่วยเหลือในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ส่วนใหญ่ก็ติดด้วยภาระหน้าที่ต่าง ๆ จึงมักจะนำเงินนำทองไปมอบให้กับพระภิกษุ โดยเฉพาะหลวงปู่หลวงพ่อเจ้าอาวาส ท่านได้จัดการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเอง ตรงส่วนนี้จึงทำให้สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป วัดที่มีผู้ปวารณาไว้ก็ยังคงต้องทำงานด้วยตนเอง แต่วัดที่ไม่มีผู้ปวารณาไว้ ก็ต้องหาเงินหาทองมาเพื่อบูรณะก็คือทำของเก่าให้ดีขึ้น และปฏิสังขรณ์คือสร้างของใหม่ให้เพียงพอต่อการใช้งาน

    ไม่เช่นนั้นแล้วหลวงปู่หลวงพ่อเจ้าอาวาสนั่นแหละ ที่ท่านเป็นเจ้าพนักงานโดยกฎหมาย จะกลายเป็นละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ก็คือไม่ปกครองสอดส่องฆราวาสก็ยังพอทน แต่การไม่บูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม เพื่อให้มั่นคงแข็งแรงสมกับเป็นอารามในพระพุทธศาสนา ให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าไปบำเพ็ญกุศลโดยสะดวก ก็กลายเป็นว่านอกจากจะผิดทางโลกแล้ว ยังผิดทางธรรมอีกด้วย

    ในทางโลกก็คือผิดกฎหมายในฐานะเจ้าพนักงานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ในทางธรรมก็คือบุคคลที่เว้นจากหน้าที่ซึ่งตนรับผิดชอบนั้น ต้องบอกว่าเป็นผู้ที่ไม่มีหลักธรรมประจำใจ ก็คือขาดไปเสียทุกส่วน ไม่เช่นนั้นแล้วอย่างน้อยก็ต้องทำความสะอาดวัดวาอารามให้น่าอยู่น่าอาศัย

    ประการต่อไปก็คือพุทธศาสนิกชนคนไทยของเรา ซึ่งมีอยู่ ๙๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ ท่านผู้กล่าวว่าให้พระภิกษุสงฆ์ไปอยู่ป่า แล้วจะให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายเหล่านั้นตะเกียกตะกายเข้าป่าไปทำบุญกัน แล้วท่านคิดว่าจะใช่หรือไม่ ?
    ในเรื่องของธรรมะนั้น ไม่ใช่พูดชุ่ย ๆ แบบ "ตีหัวเข้าบ้าน" ปราศจากความรับผิดชอบ เพราะว่าเรื่องทั้งหลายเหล่านี้นั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน กำลังใจของคนแต่ละระดับไม่เท่ากัน ใครที่ชอบคำพูดดุเดือดหยาบคาย ไปฟังท่านแล้วชอบใจ ก็ถือว่ามีจริตนิสัยใกล้เคียงกัน ท่านสามารถสอนเขาให้ตื่นรู้ได้ก็สอนไปเถิด

    แต่ว่าบุคคลที่เป็นส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ใช่แค่หยิบมือเดียวอย่างที่ท่านสอนอยู่ จะให้ทุกคนเป็นเหมือนกันย่อมเป็นไปไม่ได้ ท่านทำอาหารรสชาติที่เผ็ดกระโดดจนกระทั่งคนกินไปร้องไห้ไป แล้วท่านจะไปยัดเยียดให้ทุกคนกินอาหารรสชาตินั้นก็ย่อมเป็นไปไม่ได้

    ดังนั้น..ในเรื่องของธรรมะ กระผม/อาตมภาพจึงได้กล่าวเอาไว้ว่า ไม่เคยให้ราคาสำหรับฆราวาสผู้สอนธรรม เนื่องเพราะว่าฆราวาสที่เก่งจริงนั้นตายไปหมดแล้ว..! เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าถ้าบุคคลที่เก่งจริง เข้าถึงธรรมจริง ๆ คุณงามความดีทั้งหลายเหล่านั้นมากเกินกว่าที่จะทรงอยู่ในร่างฆราวาสได้ เพราะว่าอาจจะเป็นทุกข์เป็นโทษให้กับผู้อื่น จึงต้องโดนตัดให้ตายลงไป ในเมื่อท่านยังทรงความเป็นฆราวาสอยู่ได้ ก็แปลว่ายังเข้าไม่ถึงธรรมอย่างแท้จริงนั่นเอง

    ถ้าหากว่าสิ่งที่ว่ากล่าวไปนี้ มีอะไรที่ทำให้ท่านเห็นว่าไม่ถูกต้องถูกใจ ก็สามารถที่จะโต้แย้งได้ แต่ให้โต้แย้งโดยหลักธรรม อย่าได้เอาทิฏฐิหรือว่าโทสะในส่วนความเห็นเฉพาะตนมาโต้แย้ง เพราะว่ามีแต่จะทำให้เสียเวล่ำเวลา ไปนั่งภาวนาเสียยังจะดีกว่า
    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันเสาร์ที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
    __________________
    บุคคลผู้หนึ่งซึ่งเป็นฆราวาสตื่นธรรม ท่านถามว่าทำไมต้องสร้างวัตถุมงคลเพื่อหาเงินไปสร้างวัดด้วย ? ไปอยู่ป่าก็ได้..! รู้สึกว่าท่านจะตอบแบบมักง่าย และยกตนเองว่าเป็นผู้ใฝ่สันโดษ หรือว่าปฏิบัติถูกต้องตามพระธรรมวินัยอยู่คนเดียว ตรงจุดนี้ท่านทั้งหลายต้องเข้าใจว่า แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่ประทานพระบรมพุทธานุญาตตามที่พระเทวทัตขอ ว่าให้พระภิกษุทั้งหมดอยู่ป่า ห้ามอยู่ในบ้านในเมือง โดยพระองค์ตรัสว่า ผู้ที่ใคร่จะอยู่ป่าก็จงอยู่ป่า ผู้ที่ใคร่จะอยู่ในเมืองก็จงอยู่ในเมือง เนื่องเพราะพระองค์มีวิสัยทัศน์อันยาวไกล หรือว่ามีพระสัพพัญญุตญาณที่รู้ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต รู้ดีว่าโลกภายภาคหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหน ทำให้พระภิกษุสงฆ์ถ้าหากว่าประพฤติวัตรปฏิบัติธรรมด้วยการอยู่ป่าอย่างเดียว จะกลายเป็นไม่มีที่อยู่ก็ได้..! โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ผืนป่าต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่อยู่ได้นั้นไม่มีเหลืออีกแล้ว ยกเว้นวัดต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมาก่อน แล้วยังคงความเป็นวัดป่าอยู่ก็พอที่จะมีพื้นที่ป่าเหลืออยู่บ้าง ไม่ต้องอื่นไกลที่ไหน แค่อำเภอทองผาภูมิที่กระผม/อาตมภาพอยู่นี่แหละ บรรดาพระภิกษุผู้อยู่ป่านับร้อย ๆ ราย โดนเจ้าหน้าที่นิมนต์ออกจากป่ามาทั้งหมด เนื่องเพราะว่าสถานที่เหล่านั้นเป็นอุทยานแห่งชาติบ้าง เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบ้าง แม้ว่าจะประกาศขึ้นทีหลัง โดยที่พระท่านไปอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่ก็โดนนิมนต์ออกมาจนเกือบจะหมด ยกเว้นท่านที่ได้รับการตั้งขึ้นเป็นวัดหรือสำนักสงฆ์อย่างถูกต้องแล้วเท่านั้น ดังนั้น..ท่านที่พูดชุ่ย ๆ ว่าไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างวัด ให้พระภิกษุไปอยู่ป่าอย่างเดียว ถ้าอย่างนั้นตั้งแต่โบราณมา เราก็คงไม่มีพระคามวาสีคือฝ่ายที่อยู่วัด และอรัญวาสีคือฝ่ายที่อยู่ป่า ในเมื่อบ้านเรามีการแยกวัดบ้านและวัดป่าอย่างชัดเจนแบบนี้ แล้วท่านยังจะให้ปฏิบัติตามปฏิปทาของพระเทวทัตอยู่อีกหรือ ? กระผม/อาตมภาพคาดว่าไม่มีใครอยากเป็นลูกศิษย์พระเทวทัต มีแต่อยากจะเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้าเท่านั้น ดังนั้น..สิ่งที่ท่านได้กล่าวมาก็ขอให้กล่าวโดยรอบคอบกว่านี้ ดูบริบทของสังคมเราด้วยว่าเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหนแล้ว สมัยพุทธกาลมีบรรดาเจ้าพระยามหากษัตริย์หรือว่ามหาเศรษฐี ท่านปวารณาสร้างวัดวาอารามให้ แม้แต่ในยุคสมัยต่อ ๆ มาในประเทศไทยของเราตั้งแต่ปรากฏประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นยุคกรุงสุโขทัย ยุคกรุงศรีอยุธยา ยุคกรุงธนบุรี มาถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ก็มีการสร้างวัดเพื่อบุญกุศลในวิหารทาน ในขณะเดียวกันก็มีคำพูดประเภทว่า บรรดาเจ้าใหญ่นายโตนั้น "สร้างวัดเพื่อให้ลูกหลานได้มีที่สำหรับวิ่งเล่น..!" ในเมื่อยุคต่อ ๆ มา บริบทของสังคมเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนได้เข้าสู่ส่วนของการใช้แรงงานต่าง ๆ มากมาย จนกระทั่งไม่มีเวลาที่จะไปช่วยเหลือวัด แม้กระทั่งผู้ที่ร่ำรวยด้วยเงินด้วยทองก็ติดหน้าที่การงานต่าง ๆ จนถึงขนาดไม่มีเวลาให้วัด ยกตัวอย่างบุคคลท่านหนึ่ง นามสกุลของท่านถ้าบอกไปแล้วต้องรู้จักกันทั้งประเทศไทย ท่านปวารณาเอาไว้ว่า กระผม/อาตมภาพจะสร้างหนี้เท่าไรก็ได้ ทุกสิ้นปีให้แจ้งไป ท่านจะจัดการ "เคลียร์หนี้" ให้ แต่เมื่อกระผม/อาตมภาพแจ้งไปแล้ว ปรากฏว่าท่านมักจะติดด้วยงานด้วยการ ไม่สามารถที่จะปลีกตัวได้ ตอนนั้นกระผม/อาตมภาพยังรับสังฆทานอยู่ที่บ้านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ท่านมีเวลาแค่โทรศัพท์มาว่าตอนนี้วิ่งมาใกล้จะถึงแล้ว ให้กระผม/อาตมภาพลงไปรอในบริเวณนั้นบริเวณนี้ เมื่อท่านมาถึงแล้วก็เปิดหน้าต่างรถ ส่งเงินให้แล้วก็วิ่งต่อไป กระผม/อาตมภาพเจอแบบนั้นเข้าสองครั้ง ก็ไม่กล้าที่จะรบกวนอีกเลย..! ดังนั้น..ต่อให้ปวารณาไว้โดยที่ท่านร่ำรวยขนาดไหนก็ตาม กระผม/อาตมภาพก็แกล้งลืมเบอร์โทรศัพท์ไม่โทรไปหาอีก เนื่องเพราะเคยได้ยินมาว่าท่านเคยโทรสั่งโบรกเกอร์ช้าไปนาทีเดียว แล้วเสียหุ้นไป ๒๐ ล้านบาทโดยประมาณ..! ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ใครจะกล้าไปรบกวนเวลาของท่านอีก..! ในเมื่อบุคคลที่มีฐานะเพียงพอที่จะช่วยเหลือในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ส่วนใหญ่ก็ติดด้วยภาระหน้าที่ต่าง ๆ จึงมักจะนำเงินนำทองไปมอบให้กับพระภิกษุ โดยเฉพาะหลวงปู่หลวงพ่อเจ้าอาวาส ท่านได้จัดการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเอง ตรงส่วนนี้จึงทำให้สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป วัดที่มีผู้ปวารณาไว้ก็ยังคงต้องทำงานด้วยตนเอง แต่วัดที่ไม่มีผู้ปวารณาไว้ ก็ต้องหาเงินหาทองมาเพื่อบูรณะก็คือทำของเก่าให้ดีขึ้น และปฏิสังขรณ์คือสร้างของใหม่ให้เพียงพอต่อการใช้งาน ไม่เช่นนั้นแล้วหลวงปู่หลวงพ่อเจ้าอาวาสนั่นแหละ ที่ท่านเป็นเจ้าพนักงานโดยกฎหมาย จะกลายเป็นละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ก็คือไม่ปกครองสอดส่องฆราวาสก็ยังพอทน แต่การไม่บูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม เพื่อให้มั่นคงแข็งแรงสมกับเป็นอารามในพระพุทธศาสนา ให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าไปบำเพ็ญกุศลโดยสะดวก ก็กลายเป็นว่านอกจากจะผิดทางโลกแล้ว ยังผิดทางธรรมอีกด้วย ในทางโลกก็คือผิดกฎหมายในฐานะเจ้าพนักงานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ในทางธรรมก็คือบุคคลที่เว้นจากหน้าที่ซึ่งตนรับผิดชอบนั้น ต้องบอกว่าเป็นผู้ที่ไม่มีหลักธรรมประจำใจ ก็คือขาดไปเสียทุกส่วน ไม่เช่นนั้นแล้วอย่างน้อยก็ต้องทำความสะอาดวัดวาอารามให้น่าอยู่น่าอาศัย ประการต่อไปก็คือพุทธศาสนิกชนคนไทยของเรา ซึ่งมีอยู่ ๙๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ ท่านผู้กล่าวว่าให้พระภิกษุสงฆ์ไปอยู่ป่า แล้วจะให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายเหล่านั้นตะเกียกตะกายเข้าป่าไปทำบุญกัน แล้วท่านคิดว่าจะใช่หรือไม่ ? ในเรื่องของธรรมะนั้น ไม่ใช่พูดชุ่ย ๆ แบบ "ตีหัวเข้าบ้าน" ปราศจากความรับผิดชอบ เพราะว่าเรื่องทั้งหลายเหล่านี้นั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน กำลังใจของคนแต่ละระดับไม่เท่ากัน ใครที่ชอบคำพูดดุเดือดหยาบคาย ไปฟังท่านแล้วชอบใจ ก็ถือว่ามีจริตนิสัยใกล้เคียงกัน ท่านสามารถสอนเขาให้ตื่นรู้ได้ก็สอนไปเถิด แต่ว่าบุคคลที่เป็นส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ใช่แค่หยิบมือเดียวอย่างที่ท่านสอนอยู่ จะให้ทุกคนเป็นเหมือนกันย่อมเป็นไปไม่ได้ ท่านทำอาหารรสชาติที่เผ็ดกระโดดจนกระทั่งคนกินไปร้องไห้ไป แล้วท่านจะไปยัดเยียดให้ทุกคนกินอาหารรสชาตินั้นก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น..ในเรื่องของธรรมะ กระผม/อาตมภาพจึงได้กล่าวเอาไว้ว่า ไม่เคยให้ราคาสำหรับฆราวาสผู้สอนธรรม เนื่องเพราะว่าฆราวาสที่เก่งจริงนั้นตายไปหมดแล้ว..! เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าถ้าบุคคลที่เก่งจริง เข้าถึงธรรมจริง ๆ คุณงามความดีทั้งหลายเหล่านั้นมากเกินกว่าที่จะทรงอยู่ในร่างฆราวาสได้ เพราะว่าอาจจะเป็นทุกข์เป็นโทษให้กับผู้อื่น จึงต้องโดนตัดให้ตายลงไป ในเมื่อท่านยังทรงความเป็นฆราวาสอยู่ได้ ก็แปลว่ายังเข้าไม่ถึงธรรมอย่างแท้จริงนั่นเอง ถ้าหากว่าสิ่งที่ว่ากล่าวไปนี้ มีอะไรที่ทำให้ท่านเห็นว่าไม่ถูกต้องถูกใจ ก็สามารถที่จะโต้แย้งได้ แต่ให้โต้แย้งโดยหลักธรรม อย่าได้เอาทิฏฐิหรือว่าโทสะในส่วนความเห็นเฉพาะตนมาโต้แย้ง เพราะว่ามีแต่จะทำให้เสียเวล่ำเวลา ไปนั่งภาวนาเสียยังจะดีกว่า พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย) __________________
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 398 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันอังคารที่๑๗ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๗
    วันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐
    อุโบสถ ที่ ๔ ฤดูฝน

    คณะสงฆ์วัดพัฒนาราม (พระอารามหลวง)
    ร่วมกับคณะสงฆ์วัดแหลมทองลงพระอุโบสถทบทวนพระปาติโมกข์ จำนวน ๓๓รูป
    องค์แสดงพระปาติโมกข์ : พระมหาณรงค์ศักดิ์
    จิตวิริโย

    เพื่อทบทวนสิกขาบทที่พระศาสดาทรงบัญญัติพระวินัยตลอดปีทุกกึ่งเดือน เพื่อความพร้อมเพรียงความงดงามของหมู่คณะสงฆ์

    การสวดปาฏิโมกข์ เป็นการทบทวนศีล ๒๒๗ ข้อ ของพระภิกษุ โดยจะมีการสวดทุก ๑๕ วัน คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ในเดือนเต็ม หรือวันแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด การฟังปาฏิโมกข์เป็นกิจของสงฆ์ที่สำคัญ และเป็นสังฆกรรมเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น

    พระพุทธเจ้าตรัสห้ามมิให้สวดปาฏิโมกข์โดยมีคฤหัสถ์ปนอยู่ในท่ามกลางหมู่ภิกษุสงฆ์ หมายความว่าไม่พึงสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์ปนอยู่ด้วย รูปใดสวดต้องอาบัติทุกกฏ

    การฟังปาฏิโมกข์เป็นกิจสงฆ์ที่สำคัญ และเป็นสังฆกรรมเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น แม้สามเณรก็เข้าร่วมไม่ได้ ในระหว่างที่กำลังสวดปาฏิโมกข์ หากมีผู้มิใช่ภิกษุเข้ามาในหัตถบาสต้องเริ่มสวดปาฏิโมกข์ใหม่ เพราะเป็นสังฆกรรมวิบัติ
    เครดิตรูปภาพ : พระมหาวรสถิตย์นาถธมฺโม
    วัดพัฒนาราม พระอารามหลวง
    วันอังคารที่๑๗ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๗ วันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ อุโบสถ ที่ ๔ ฤดูฝน คณะสงฆ์วัดพัฒนาราม (พระอารามหลวง) ร่วมกับคณะสงฆ์วัดแหลมทองลงพระอุโบสถทบทวนพระปาติโมกข์ จำนวน ๓๓รูป องค์แสดงพระปาติโมกข์ : พระมหาณรงค์ศักดิ์ จิตวิริโย เพื่อทบทวนสิกขาบทที่พระศาสดาทรงบัญญัติพระวินัยตลอดปีทุกกึ่งเดือน เพื่อความพร้อมเพรียงความงดงามของหมู่คณะสงฆ์ การสวดปาฏิโมกข์ เป็นการทบทวนศีล ๒๒๗ ข้อ ของพระภิกษุ โดยจะมีการสวดทุก ๑๕ วัน คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ในเดือนเต็ม หรือวันแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด การฟังปาฏิโมกข์เป็นกิจของสงฆ์ที่สำคัญ และเป็นสังฆกรรมเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น พระพุทธเจ้าตรัสห้ามมิให้สวดปาฏิโมกข์โดยมีคฤหัสถ์ปนอยู่ในท่ามกลางหมู่ภิกษุสงฆ์ หมายความว่าไม่พึงสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์ปนอยู่ด้วย รูปใดสวดต้องอาบัติทุกกฏ การฟังปาฏิโมกข์เป็นกิจสงฆ์ที่สำคัญ และเป็นสังฆกรรมเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น แม้สามเณรก็เข้าร่วมไม่ได้ ในระหว่างที่กำลังสวดปาฏิโมกข์ หากมีผู้มิใช่ภิกษุเข้ามาในหัตถบาสต้องเริ่มสวดปาฏิโมกข์ใหม่ เพราะเป็นสังฆกรรมวิบัติ เครดิตรูปภาพ : พระมหาวรสถิตย์นาถธมฺโม วัดพัฒนาราม พระอารามหลวง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 183 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้วันพระใหญ่ได้ทำบุญใหญ่ชื้อนํ้าปานะถวายพระภิกษุสงฆ์ที่ลงพระอุโบสถทบทวน
    พระปาติโมกข์ จำนวน ๓๒ รูป
    ณ วัดพัฒนาราม (พระอารามหลวง)
    อนุโมทนาบุญสาธุๆๆๆ บุญ

    อานิสงส์การถวายน้ำปานะพระภิกษุสงฆ์

    ในการทำบุญด้วยน้ำ จะทำให้ทรัพย์สินเงินทอง ความสุขต่างๆ ไหลลื่น สะดวกยิ่งขึ้น ✨จากที่เคยติดขัดก็จะราบรื่น จากที่เคยรับทรัพย์แบบกระเซ็นกระสายก็จะไหลมาเทมาไม่หยุดยั้ง มีความสุขจากบุญกุศล และการทำทาน นับได้ว่าเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เจริญก้าวหน้า ตราบเท้าเข้าสู่พระนิพพาน ฯ

     การสวดปาฏิโมกข์ เป็นการทบทวนศีล ๒๒๗ ข้อ ของพระภิกษุ โดยจะมีการสวดทุก ๑๕ วัน คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ในเดือนเต็ม หรือวันแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด การฟังปาฏิโมกข์เป็นกิจของสงฆ์ที่สำคัญ และเป็นสังฆกรรมเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น

    พระพุทธเจ้าตรัสห้ามมิให้สวดปาฏิโมกข์โดยมีคฤหัสถ์ปนอยู่ในท่ามกลางหมู่ภิกษุสงฆ์ หมายความว่าไม่พึงสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์ปนอยู่ด้วย รูปใดสวดต้องอาบัติทุกกฏ

    การฟังปาฏิโมกข์เป็นกิจสงฆ์ที่สำคัญ และเป็นสังฆกรรมเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น แม้สามเณรก็เข้าร่วมไม่ได้ ในระหว่างที่กำลังสวดปาฏิโมกข์ หากมีผู้มิใช่ภิกษุเข้ามาในหัตถบาสต้องเริ่มสวดปาฏิโมกข์ใหม่ เพราะเป็นสังฆกรรมวิบัติ

    เขียนโดย : พระมหาวรสถิตย์ นาถธมฺโม
    วันนี้วันพระใหญ่ได้ทำบุญใหญ่ชื้อนํ้าปานะถวายพระภิกษุสงฆ์ที่ลงพระอุโบสถทบทวน พระปาติโมกข์ จำนวน ๓๒ รูป ณ วัดพัฒนาราม (พระอารามหลวง) อนุโมทนาบุญสาธุๆๆๆ บุญ อานิสงส์การถวายน้ำปานะพระภิกษุสงฆ์ ในการทำบุญด้วยน้ำ จะทำให้ทรัพย์สินเงินทอง ความสุขต่างๆ ไหลลื่น สะดวกยิ่งขึ้น ✨จากที่เคยติดขัดก็จะราบรื่น จากที่เคยรับทรัพย์แบบกระเซ็นกระสายก็จะไหลมาเทมาไม่หยุดยั้ง มีความสุขจากบุญกุศล และการทำทาน นับได้ว่าเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เจริญก้าวหน้า ตราบเท้าเข้าสู่พระนิพพาน ฯ  การสวดปาฏิโมกข์ เป็นการทบทวนศีล ๒๒๗ ข้อ ของพระภิกษุ โดยจะมีการสวดทุก ๑๕ วัน คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ในเดือนเต็ม หรือวันแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด การฟังปาฏิโมกข์เป็นกิจของสงฆ์ที่สำคัญ และเป็นสังฆกรรมเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น พระพุทธเจ้าตรัสห้ามมิให้สวดปาฏิโมกข์โดยมีคฤหัสถ์ปนอยู่ในท่ามกลางหมู่ภิกษุสงฆ์ หมายความว่าไม่พึงสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์ปนอยู่ด้วย รูปใดสวดต้องอาบัติทุกกฏ การฟังปาฏิโมกข์เป็นกิจสงฆ์ที่สำคัญ และเป็นสังฆกรรมเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น แม้สามเณรก็เข้าร่วมไม่ได้ ในระหว่างที่กำลังสวดปาฏิโมกข์ หากมีผู้มิใช่ภิกษุเข้ามาในหัตถบาสต้องเริ่มสวดปาฏิโมกข์ใหม่ เพราะเป็นสังฆกรรมวิบัติ เขียนโดย : พระมหาวรสถิตย์ นาถธมฺโม
    Like
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 389 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันพระแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙
    อุโบสถ ที่ ๓ ฤดูฝน

    วันจันทร์ที่๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๗
    คณะสงฆ์วัดพัฒนาราม (พระอารามหลวง)
    ร่วมกับคณะสงฆ์วัดแหลมทองลงพระอุโบสถทบทวนพระปาติโมกข์ จำนวน ๓๒ รูป
    องค์แสดงพระปาติโมกข์ : พระมหาศรวุฒิ สิริวณฺโณ
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพัฒนาราม (พระอารามหลวง)

    เพื่อทบทวนสิกขาบทที่พระศาสดาทรงบัญญัติพระวินัยตลอดปีทุกกึ่งเดือน เพื่อความพร้อมเพรียงความงดงามของหมู่คณะสงฆ์

    การสวดปาฏิโมกข์ เป็นการทบทวนศีล ๒๒๗ ข้อ ของพระภิกษุ โดยจะมีการสวดทุก ๑๕ วัน คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ในเดือนเต็ม หรือวันแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด การฟังปาฏิโมกข์เป็นกิจของสงฆ์ที่สำคัญ และเป็นสังฆกรรมเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น

    พระพุทธเจ้าตรัสห้ามมิให้สวดปาฏิโมกข์โดยมีคฤหัสถ์ปนอยู่ในท่ามกลางหมู่ภิกษุสงฆ์ หมายความว่าไม่พึงสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์ปนอยู่ด้วย รูปใดสวดต้องอาบัติทุกกฏ

    การฟังปาฏิโมกข์เป็นกิจสงฆ์ที่สำคัญ และเป็นสังฆกรรมเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น แม้สามเณรก็เข้าร่วมไม่ได้ ในระหว่างที่กำลังสวดปาฏิโมกข์ หากมีผู้มิใช่ภิกษุเข้ามาในหัตถบาสต้องเริ่มสวดปาฏิโมกข์ใหม่ เพราะเป็นสังฆกรรมวิบัติ
    เครดิตรูปภาพ : พระมหาวรสถิตย์นาถธมฺโม

    วัดพัฒนาราม พระอารามหลวง
    วันพระแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ อุโบสถ ที่ ๓ ฤดูฝน วันจันทร์ที่๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๗ คณะสงฆ์วัดพัฒนาราม (พระอารามหลวง) ร่วมกับคณะสงฆ์วัดแหลมทองลงพระอุโบสถทบทวนพระปาติโมกข์ จำนวน ๓๒ รูป องค์แสดงพระปาติโมกข์ : พระมหาศรวุฒิ สิริวณฺโณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพัฒนาราม (พระอารามหลวง) เพื่อทบทวนสิกขาบทที่พระศาสดาทรงบัญญัติพระวินัยตลอดปีทุกกึ่งเดือน เพื่อความพร้อมเพรียงความงดงามของหมู่คณะสงฆ์ การสวดปาฏิโมกข์ เป็นการทบทวนศีล ๒๒๗ ข้อ ของพระภิกษุ โดยจะมีการสวดทุก ๑๕ วัน คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ในเดือนเต็ม หรือวันแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด การฟังปาฏิโมกข์เป็นกิจของสงฆ์ที่สำคัญ และเป็นสังฆกรรมเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น พระพุทธเจ้าตรัสห้ามมิให้สวดปาฏิโมกข์โดยมีคฤหัสถ์ปนอยู่ในท่ามกลางหมู่ภิกษุสงฆ์ หมายความว่าไม่พึงสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์ปนอยู่ด้วย รูปใดสวดต้องอาบัติทุกกฏ การฟังปาฏิโมกข์เป็นกิจสงฆ์ที่สำคัญ และเป็นสังฆกรรมเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น แม้สามเณรก็เข้าร่วมไม่ได้ ในระหว่างที่กำลังสวดปาฏิโมกข์ หากมีผู้มิใช่ภิกษุเข้ามาในหัตถบาสต้องเริ่มสวดปาฏิโมกข์ใหม่ เพราะเป็นสังฆกรรมวิบัติ เครดิตรูปภาพ : พระมหาวรสถิตย์นาถธมฺโม วัดพัฒนาราม พระอารามหลวง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 288 มุมมอง 0 รีวิว