พุทธโอวาท
พุทธโอวาท
  • 90 คนติดตามเรื่องนี้
  • 29 โพสต์
  • 22 รูปภาพ
  • 0 วิดีโอ
  • 1 รีวิว 5.0
  • การศึกษา
โพสต์ที่ปักไว้
รีวิวแพลตฟอร์มชุมชนชาวพุทธเครือข่ายสังคมออนไลน์ ชาวพุทธ
thenirvanalive.com ( เว็บบอร์ดพระนิพพาน) แพลตฟอร์มชุมชนชาวพุทธและคนไทยที่นับถือพระพุทธศาสนาพัฒนาโดยชาวพุทธไทย เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่
สามารถค้นหาธรรมะที่ถูกปิดกั้นได้และ สามารถเข้ามา แบ่งปันบทความตั้งกระทู้ธรรมะได้อย่างอิสระ ทางเว็บฯ
มีห้องและพื้นที่ให้ท่านเข้ามาแบ่งปันนธรรมะและะความรู้
ได้อย่างอิสระ โดยไม่ถูกการปิดกั้นการมองเห็นเหมือนแพลตฟอร์มอื่น

- ท่านที่ชอบการอ่านเข้ามาอ่านบทความธรรมะดีๆๆ มากมายได้แล้ววันนี้

- ท่านที่ชอบลงบทความธรรมะให้ปัญญาคนสามารถตั้งกระทู้ได้แล้ววันนี้

- ท่านที่ชอบการ บูชาพระเครื่องหรือวัตถุมงคลอื่นๆ สามารถเข้ามาหาบูชากันได้แล้ววันนี้

- แพลตฟอร์มที่ลงบทความธรรมะและะความรู้อื่นโดย
ไม่โดนปิดกั้น

ท่านสามารถค้นหาเว็บบอร์ดพระนิพพานได้ใน Google
พิมพ์คำว่า เว็บบอร์ดพระนิพพาน เลย รีบสมัครสมาชิกเลย

https://www.thenirvanalive.com/เว็บบอร์ดพระนิพพาน/
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 84 มุมมอง 0 รีวิว
อัปเดตล่าสุด
  • ส่วนของงานกฐินนั้น ที่สำคัญอีกอย่างก็คือผู้ครองผ้ากฐิน ถ้าว่ากันโดยพระธรรมวินัยแล้ว ท่านให้บุคคลที่มีจีวรเก่าที่สุดในวัดได้ผ้านั้นไป แต่ว่าระยะหลัง ส่วนใหญ่เจ้าอาวาสมักจะเป็นผู้ครองผ้ากฐิน

    เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ บางท่านถือว่าผู้ครองกฐินจึงมีสิทธิ์ที่จะรับบริวารกฐินทั้งหมด ผู้อื่นไม่มีสิทธิ์รับ เจ้าอาวาสก็เลยมักจะครองกฐินเสียเอง แต่ความจริงแล้วเป็นการเข้าใจผิด เพราะว่าบางวัดมีพระไม่ครบ ๕ รูป ไม่สามารถที่จะรับกฐินได้ ต้องไปยืมพระวัดอื่นมา

    การไปยืมพระวัดอื่นมานั้น พระวัดอื่นที่มานั้น ไม่มีสิทธิ์ไม่มีส่วนในกฐินนั้นทั้งสิ้น ให้เฉพาะบุคคลที่จำพรรษาในวัดนั้นเท่านั้น ดังนั้น...จึงมีการเข้าใจผิดกันว่า ถ้าไม่ครองกฐินแล้วจะไม่มีโอกาสได้รับบริวารกฐิน ซึ่งก็คือไม่มีสิทธิ์รับเงิน ก็ขอให้เข้าใจให้ถูกเสียใหม่

    สำหรับวัดท่าขนุนของเรานั้น ครองกฐินกันไปตามอายุพรรษา ก็คือถ้าปีนี้ไปถึงใคร ปีหน้าท่านถัดไปก็จะรู้เองว่าถึงคิวของตนเองครองกฐินแล้ว สำหรับผู้ครองกฐินนั้นต้องรับภาระหนัก เพราะว่าต้องเป็นผู้รักษาผ้าครองแทนพระทั้งวัด ในเมื่อเป็นผู้รักษาผ้าครองแทนพระทั้งวัด บุคคลที่ได้อานิสงส์กฐินสามารถผ่อนคลายสิกขาบทได้หลายข้อ พูดง่าย ๆ ก็คือ ละเว้นให้ไม่ต้องรักษาศีลหลายข้อ อย่างเช่นว่าการเที่ยวไปโดยไม่ต้องบอกลา ซึ่งปกติแล้ววัดท่าขนุนของเราไม่ยอมให้ไปโดยไม่ต้องบอกลา ออกจากวัดไปไหนจะต้องลาทุกคน อานิสงส์กฐินข้อนี้จึงไม่มีประโยชน์สำหรับพระวัดท่าขนุน

    สามารถฉันคณะโภชนาได้ ก็คือโดยปกติแล้ว ถ้าญาติโยมบอกว่านำอาหารอะไรมาถวายพระ พระไม่สามารถที่จะฉันรวมกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปได้ เพราะว่าเป็นการผิดพระวินัย สาเหตุมาจากสมัยพุทธกาล เมื่อมหาเศรษฐีท่านบอกว่าจะถวายภัตตาหารอะไร พอเป็นอาหารที่ประณีต มีรสดี บรรดาพระก็แห่กันไปจนเขาเลี้ยงไม่ไหว พระพุทธเจ้าจึงต้องตรัสห้ามไว้ว่า ถ้าเป็นอาหารที่เจ้าภาพออกชื่อ ให้ฉันได้ไม่เกิน ๓ รูปเท่านั้น ถ้าถึงรูปที่ ๔ ขึ้นไปเรียกว่าคณะ ถ้าฉันคณะโภชนาแบบนั้น โดนปรับอาบัติทุกคำที่กลืนลงไป ก็แปลว่าศีลขาดทุกคำที่กลืน แต่หากว่ารับกฐินแล้วสามารถฉันคณะโภชนาได้

    ลำดับต่อไป คือ ฉันปรัมปรโภชนาได้ คำว่า ปรัมประ ก็คือฉันจากที่หนึ่งแล้วไปฉันอีกที่หนึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้วที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามไว้ เพราะเกรงว่าจะฉันได้น้อย บางทีเจ้าภาพเขาก็เสียใจ แต่เรื่องนี้ไม่ต้องมาใช้กับอาตมา เพราะว่าฉันน้อยเป็นปกติอยู่แล้ว

    ข้อต่อไปท่านบอกว่า ไปไหนไม่ต้องเอาจีวรไปครบสำรับ เพราะว่ามีผู้ครองกฐินรักษาผ้าแทนเราแล้ว

    ข้อสุดท้าย ก็คือ จีวรที่เกิดขึ้นไม่ต้องทำวิกัปเป็น ๒ เจ้าของ สามารถที่จะใช้เป็นของตนเองได้เลย

    ในเมื่ออานิสงส์กฐินสามารถผ่อนคลายสิกขาบทได้หลายข้อ แต่ผู้ที่ครองกฐินจะไม่ได้อานิสงส์นี้ เพราะว่าต้องรักษาผ้ากฐินแทนผู้อื่นทั้งวัด ถ้าทำผ้าขาดครองก็ทำให้ขาดอานิสงส์กฐินทั้งวัดเหมือนกัน

    ดังนั้น...ในส่วนของผู้ครองกฐินจึงสำคัญมาก เพราะว่าห้ามเผลออย่างเด็ดขาด และอานิสงส์กฐินนี้จะมีแค่กลางเดือน ๔ เท่านั้น ถ้าท่านจำพรรษาแล้วไม่ได้รับกฐิน ได้รับอานิสงส์ ๑ เดือน ก็คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ถ้าจำพรรษาแล้วได้รับกฐิน ท่านขยายเวลาให้ถึงกลางเดือน ๔ ก็คือเพิ่มขึ้นมาอีก ๔ เดือน แต่อาตมาไม่เคยใช้อานิสงส์กฐิน เพราะว่าอานิสงส์กฐินนั้น ถ้าเผลอเราจะมักง่าย ไปไหนเอาจีวรไปครบไตรก็ไม่ได้หนักหนาสาหัสจนเกินไป จีวรชุดหนึ่งก็ใช้ได้หลายปี

    ขณะเดียวกันเรื่องของคณะโภชนา ปรัมปรโภชนานั้น ถ้าเราเผลอตัวเมื่อไร เกินกลางเดือน ๔ ไปก็จะโดนอาบัติ การไปไหนปกติก็ต้องบอกอยู่แล้วว่าไปไหน เพื่อที่เจ้าอาวาสหรือเพื่อนฝูงจะได้รู้ มีอะไรเร่งด่วนจะได้ตามตัวกันได้

    เมื่อเป็นเช่นนั้น อาตมาบวชมา ๓๐ กว่าปีไม่เคยใช้อานิสงส์กฐินเลย พูดง่าย ๆ ว่าไม่ต้องรอให้กฐินเดาะ แต่เป็นคนเดาะกฐินเสียเอง แต่ว่าในส่วนอื่น บุคคลอื่น โดยเฉพาะพระอื่น ๆ ในวัดท่าขนุน อาตมาไม่ได้บังคับ ใครจะใช้อานิสงส์กฐินก็อย่าเผลอ ถ้าใครไม่ใช้อานิสงส์กฐินก็ขออนุโมทนาด้วย เนื่องเพราะว่าในเรื่องของศีลพระนั้น ไม่มีอะไรน่าหนักใจ ๒๒๗ ข้อก็สามารถรักษาได้ ทำไมต้องไปผ่อนใน ๔ - ๕ ข้อเหล่านั้น

    ในเรื่องของการขอกฐิน วัดท่าขนุนจะไม่มีเรื่องนี้ เนื่องเพราะว่าอาตมาจะตั้งกองกฐินขึ้นมาเอง หลังจากนั้นญาติโยมก็มาสมทบ ร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินสามัคคีเท่านั้น เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ถ้ามีวัดใดมาขอกฐิน ญาติโยมจะเป็นเจ้าภาพจะเป็นอะไรก็ตาม ให้รู้ว่าบุญกฐินนั้นโยมได้ไปเต็ม ๆ แต่อานิสงส์กฐินสำหรับพระไม่มีใครได้เลย เพราะว่าในพระวินัยท่านห้ามขอกฐิน

    ญาติโยมที่อยากจะเป็นเจ้าภาพกฐิน ให้ไปปวารณาตนแจ้งต่อเจ้าอาวาสวัดใดวัดหนึ่งที่เราจะเอากฐินไปทอด ว่าเราขอเป็นเจ้าภาพทอดกฐิน ถ้าอย่างนั้นพระในวัดท่านถึงจะได้อานิสงส์กฐินไปเต็ม ๆ

    ในส่วนของการที่พระไปขอจากญาติโยม ก็คาดว่าเกิดจาก ๒ สาเหตุด้วยกัน
    สาเหตุแรก ก็คือ ไม่รู้ว่าในพระบาลีท่านห้ามขอกฐิน
    อย่างที่ ๒ ก็คือ แกล้งไม่รู้ เพราะว่าอยากได้กฐิน เนื่องจากว่าเจ้าภาพหลายรายมาปวารณากฐินกับอาตมาแล้วถามว่า ต้องการยอดปัจจัยเท่าไร ซึ่งถ้าเป็นวัดอื่น ๆ ก็อาจจะมีการบอกว่าเท่านั้นแสน เท่านี้ล้าน แต่สำหรับวัดท่าขนุน มีโยมถามอยู่ ๒ ปี ปีแรกที่ถาม อาตมาบอกว่าเอามา ๑๖ บาท เป็นเลขมงคลโสฬสสวยดี ปีถัดมาถามอีก บอกว่าเอามา ๙ บาทก็แล้วกัน ก็เป็นอันว่าจบกันแค่นั้น เนื่องจากว่ากฐินอยู่ที่ศรัทธาของโยม ไม่ใช่ว่าพระไปตั้งยอด แล้วให้โยมตะเกียกตะกายหามาด้วยความยากลำบาก

    เรื่องของพระธรรมวินัยแล้ว ส่วนใหญ่พระเณรสมัยนี้ไม่ค่อยที่จะเข้มงวดกัน อาจจะเป็นเพราะว่าพระอุปัชฌาย์อาจารย์ของท่านไม่ได้สั่งสอนไว้ ไม่ได้อบรมไว้ หรือไม่ก็ความที่อยากได้ยอดปัจจัยกฐินมาก ๆ ก็เลยต้องไปเที่ยวขอกฐินจากญาติโยมหลาย ๆ คน เพื่อให้มารวมกันทอด

    ในส่วนของกฐิน ขอย้ำอีกครั้งว่า อานิสงส์กฐิน สำคัญที่สุดตรงผ้าไตร จะเป็นผืนเดียว หรือครบไตรก็ตาม ถ้าไม่มีผ้าไตรก็ไม่เป็นกฐิน ถ้ามีผ้าไตรแล้วบริวารกฐินอื่นไม่จำเป็นต้องมีก็ได้

    เมื่อญาติโยมทราบแล้วจะได้รู้ว่า ในเรื่องของกฐินแต่โบราณมานั้น เขาเน้นกันเรื่องผ้าไตรครองสำหรับพระ แต่ปัจจุบันนี้ผิดเพี้ยนไป กลายเป็นว่าวัดไหนทำยอดเงินได้มาก ก็ถือว่าได้บุญมาก อย่าลืมว่าเงินเป็นแค่บริวารกฐินเท่านั้น ตัวบุญกฐินเต็ม ๆ อยู่ที่ผ้าไตรต่างหาก

    เมื่อญาติโยมได้ทราบในเรื่องของกฐิน ตลอดกระทั่งแบบธรรมเนียมในการปวารณาเป็นเจ้าภาพกฐิน หรือว่าในการถวายกฐินแล้ว ต่อไปก็จะได้ปฏิบัติกันได้ถูกต้อง
    ...................................
    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
    www.watthakhanun.com
    ส่วนของงานกฐินนั้น ที่สำคัญอีกอย่างก็คือผู้ครองผ้ากฐิน ถ้าว่ากันโดยพระธรรมวินัยแล้ว ท่านให้บุคคลที่มีจีวรเก่าที่สุดในวัดได้ผ้านั้นไป แต่ว่าระยะหลัง ส่วนใหญ่เจ้าอาวาสมักจะเป็นผู้ครองผ้ากฐิน เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ บางท่านถือว่าผู้ครองกฐินจึงมีสิทธิ์ที่จะรับบริวารกฐินทั้งหมด ผู้อื่นไม่มีสิทธิ์รับ เจ้าอาวาสก็เลยมักจะครองกฐินเสียเอง แต่ความจริงแล้วเป็นการเข้าใจผิด เพราะว่าบางวัดมีพระไม่ครบ ๕ รูป ไม่สามารถที่จะรับกฐินได้ ต้องไปยืมพระวัดอื่นมา การไปยืมพระวัดอื่นมานั้น พระวัดอื่นที่มานั้น ไม่มีสิทธิ์ไม่มีส่วนในกฐินนั้นทั้งสิ้น ให้เฉพาะบุคคลที่จำพรรษาในวัดนั้นเท่านั้น ดังนั้น...จึงมีการเข้าใจผิดกันว่า ถ้าไม่ครองกฐินแล้วจะไม่มีโอกาสได้รับบริวารกฐิน ซึ่งก็คือไม่มีสิทธิ์รับเงิน ก็ขอให้เข้าใจให้ถูกเสียใหม่ สำหรับวัดท่าขนุนของเรานั้น ครองกฐินกันไปตามอายุพรรษา ก็คือถ้าปีนี้ไปถึงใคร ปีหน้าท่านถัดไปก็จะรู้เองว่าถึงคิวของตนเองครองกฐินแล้ว สำหรับผู้ครองกฐินนั้นต้องรับภาระหนัก เพราะว่าต้องเป็นผู้รักษาผ้าครองแทนพระทั้งวัด ในเมื่อเป็นผู้รักษาผ้าครองแทนพระทั้งวัด บุคคลที่ได้อานิสงส์กฐินสามารถผ่อนคลายสิกขาบทได้หลายข้อ พูดง่าย ๆ ก็คือ ละเว้นให้ไม่ต้องรักษาศีลหลายข้อ อย่างเช่นว่าการเที่ยวไปโดยไม่ต้องบอกลา ซึ่งปกติแล้ววัดท่าขนุนของเราไม่ยอมให้ไปโดยไม่ต้องบอกลา ออกจากวัดไปไหนจะต้องลาทุกคน อานิสงส์กฐินข้อนี้จึงไม่มีประโยชน์สำหรับพระวัดท่าขนุน สามารถฉันคณะโภชนาได้ ก็คือโดยปกติแล้ว ถ้าญาติโยมบอกว่านำอาหารอะไรมาถวายพระ พระไม่สามารถที่จะฉันรวมกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปได้ เพราะว่าเป็นการผิดพระวินัย สาเหตุมาจากสมัยพุทธกาล เมื่อมหาเศรษฐีท่านบอกว่าจะถวายภัตตาหารอะไร พอเป็นอาหารที่ประณีต มีรสดี บรรดาพระก็แห่กันไปจนเขาเลี้ยงไม่ไหว พระพุทธเจ้าจึงต้องตรัสห้ามไว้ว่า ถ้าเป็นอาหารที่เจ้าภาพออกชื่อ ให้ฉันได้ไม่เกิน ๓ รูปเท่านั้น ถ้าถึงรูปที่ ๔ ขึ้นไปเรียกว่าคณะ ถ้าฉันคณะโภชนาแบบนั้น โดนปรับอาบัติทุกคำที่กลืนลงไป ก็แปลว่าศีลขาดทุกคำที่กลืน แต่หากว่ารับกฐินแล้วสามารถฉันคณะโภชนาได้ ลำดับต่อไป คือ ฉันปรัมปรโภชนาได้ คำว่า ปรัมประ ก็คือฉันจากที่หนึ่งแล้วไปฉันอีกที่หนึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้วที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามไว้ เพราะเกรงว่าจะฉันได้น้อย บางทีเจ้าภาพเขาก็เสียใจ แต่เรื่องนี้ไม่ต้องมาใช้กับอาตมา เพราะว่าฉันน้อยเป็นปกติอยู่แล้ว ข้อต่อไปท่านบอกว่า ไปไหนไม่ต้องเอาจีวรไปครบสำรับ เพราะว่ามีผู้ครองกฐินรักษาผ้าแทนเราแล้ว ข้อสุดท้าย ก็คือ จีวรที่เกิดขึ้นไม่ต้องทำวิกัปเป็น ๒ เจ้าของ สามารถที่จะใช้เป็นของตนเองได้เลย ในเมื่ออานิสงส์กฐินสามารถผ่อนคลายสิกขาบทได้หลายข้อ แต่ผู้ที่ครองกฐินจะไม่ได้อานิสงส์นี้ เพราะว่าต้องรักษาผ้ากฐินแทนผู้อื่นทั้งวัด ถ้าทำผ้าขาดครองก็ทำให้ขาดอานิสงส์กฐินทั้งวัดเหมือนกัน ดังนั้น...ในส่วนของผู้ครองกฐินจึงสำคัญมาก เพราะว่าห้ามเผลออย่างเด็ดขาด และอานิสงส์กฐินนี้จะมีแค่กลางเดือน ๔ เท่านั้น ถ้าท่านจำพรรษาแล้วไม่ได้รับกฐิน ได้รับอานิสงส์ ๑ เดือน ก็คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ถ้าจำพรรษาแล้วได้รับกฐิน ท่านขยายเวลาให้ถึงกลางเดือน ๔ ก็คือเพิ่มขึ้นมาอีก ๔ เดือน แต่อาตมาไม่เคยใช้อานิสงส์กฐิน เพราะว่าอานิสงส์กฐินนั้น ถ้าเผลอเราจะมักง่าย ไปไหนเอาจีวรไปครบไตรก็ไม่ได้หนักหนาสาหัสจนเกินไป จีวรชุดหนึ่งก็ใช้ได้หลายปี ขณะเดียวกันเรื่องของคณะโภชนา ปรัมปรโภชนานั้น ถ้าเราเผลอตัวเมื่อไร เกินกลางเดือน ๔ ไปก็จะโดนอาบัติ การไปไหนปกติก็ต้องบอกอยู่แล้วว่าไปไหน เพื่อที่เจ้าอาวาสหรือเพื่อนฝูงจะได้รู้ มีอะไรเร่งด่วนจะได้ตามตัวกันได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น อาตมาบวชมา ๓๐ กว่าปีไม่เคยใช้อานิสงส์กฐินเลย พูดง่าย ๆ ว่าไม่ต้องรอให้กฐินเดาะ แต่เป็นคนเดาะกฐินเสียเอง แต่ว่าในส่วนอื่น บุคคลอื่น โดยเฉพาะพระอื่น ๆ ในวัดท่าขนุน อาตมาไม่ได้บังคับ ใครจะใช้อานิสงส์กฐินก็อย่าเผลอ ถ้าใครไม่ใช้อานิสงส์กฐินก็ขออนุโมทนาด้วย เนื่องเพราะว่าในเรื่องของศีลพระนั้น ไม่มีอะไรน่าหนักใจ ๒๒๗ ข้อก็สามารถรักษาได้ ทำไมต้องไปผ่อนใน ๔ - ๕ ข้อเหล่านั้น ในเรื่องของการขอกฐิน วัดท่าขนุนจะไม่มีเรื่องนี้ เนื่องเพราะว่าอาตมาจะตั้งกองกฐินขึ้นมาเอง หลังจากนั้นญาติโยมก็มาสมทบ ร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินสามัคคีเท่านั้น เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ถ้ามีวัดใดมาขอกฐิน ญาติโยมจะเป็นเจ้าภาพจะเป็นอะไรก็ตาม ให้รู้ว่าบุญกฐินนั้นโยมได้ไปเต็ม ๆ แต่อานิสงส์กฐินสำหรับพระไม่มีใครได้เลย เพราะว่าในพระวินัยท่านห้ามขอกฐิน ญาติโยมที่อยากจะเป็นเจ้าภาพกฐิน ให้ไปปวารณาตนแจ้งต่อเจ้าอาวาสวัดใดวัดหนึ่งที่เราจะเอากฐินไปทอด ว่าเราขอเป็นเจ้าภาพทอดกฐิน ถ้าอย่างนั้นพระในวัดท่านถึงจะได้อานิสงส์กฐินไปเต็ม ๆ ในส่วนของการที่พระไปขอจากญาติโยม ก็คาดว่าเกิดจาก ๒ สาเหตุด้วยกัน สาเหตุแรก ก็คือ ไม่รู้ว่าในพระบาลีท่านห้ามขอกฐิน อย่างที่ ๒ ก็คือ แกล้งไม่รู้ เพราะว่าอยากได้กฐิน เนื่องจากว่าเจ้าภาพหลายรายมาปวารณากฐินกับอาตมาแล้วถามว่า ต้องการยอดปัจจัยเท่าไร ซึ่งถ้าเป็นวัดอื่น ๆ ก็อาจจะมีการบอกว่าเท่านั้นแสน เท่านี้ล้าน แต่สำหรับวัดท่าขนุน มีโยมถามอยู่ ๒ ปี ปีแรกที่ถาม อาตมาบอกว่าเอามา ๑๖ บาท เป็นเลขมงคลโสฬสสวยดี ปีถัดมาถามอีก บอกว่าเอามา ๙ บาทก็แล้วกัน ก็เป็นอันว่าจบกันแค่นั้น เนื่องจากว่ากฐินอยู่ที่ศรัทธาของโยม ไม่ใช่ว่าพระไปตั้งยอด แล้วให้โยมตะเกียกตะกายหามาด้วยความยากลำบาก เรื่องของพระธรรมวินัยแล้ว ส่วนใหญ่พระเณรสมัยนี้ไม่ค่อยที่จะเข้มงวดกัน อาจจะเป็นเพราะว่าพระอุปัชฌาย์อาจารย์ของท่านไม่ได้สั่งสอนไว้ ไม่ได้อบรมไว้ หรือไม่ก็ความที่อยากได้ยอดปัจจัยกฐินมาก ๆ ก็เลยต้องไปเที่ยวขอกฐินจากญาติโยมหลาย ๆ คน เพื่อให้มารวมกันทอด ในส่วนของกฐิน ขอย้ำอีกครั้งว่า อานิสงส์กฐิน สำคัญที่สุดตรงผ้าไตร จะเป็นผืนเดียว หรือครบไตรก็ตาม ถ้าไม่มีผ้าไตรก็ไม่เป็นกฐิน ถ้ามีผ้าไตรแล้วบริวารกฐินอื่นไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ เมื่อญาติโยมทราบแล้วจะได้รู้ว่า ในเรื่องของกฐินแต่โบราณมานั้น เขาเน้นกันเรื่องผ้าไตรครองสำหรับพระ แต่ปัจจุบันนี้ผิดเพี้ยนไป กลายเป็นว่าวัดไหนทำยอดเงินได้มาก ก็ถือว่าได้บุญมาก อย่าลืมว่าเงินเป็นแค่บริวารกฐินเท่านั้น ตัวบุญกฐินเต็ม ๆ อยู่ที่ผ้าไตรต่างหาก เมื่อญาติโยมได้ทราบในเรื่องของกฐิน ตลอดกระทั่งแบบธรรมเนียมในการปวารณาเป็นเจ้าภาพกฐิน หรือว่าในการถวายกฐินแล้ว ต่อไปก็จะได้ปฏิบัติกันได้ถูกต้อง ................................... พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน www.watthakhanun.com
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 51 มุมมอง 0 รีวิว
  • อานิสงส์ในการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๖ ประการนี้
    ๖ ประการเป็นไฉน คือบุคคลย่อมเป็นผู้แน่นอนในพระสัทธรรม ๑ ย่อมเป็นผู้มีความไม่เสื่อม
    เป็นธรรมดา ๑ เขาผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้วย่อมไม่มีทุกข์ ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ ๑
    เขาเห็นเหตุแล้วด้วยดี ๑ และเห็นธรรมที่เกิดขึ้นแต่เหตุด้วยดี ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์
    ในการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๖ ประการนี้แล ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง ปัญจก. อํ .๒๒/๓๙๔/๓๖๘
    อานิสงส์ในการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน คือบุคคลย่อมเป็นผู้แน่นอนในพระสัทธรรม ๑ ย่อมเป็นผู้มีความไม่เสื่อม เป็นธรรมดา ๑ เขาผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้วย่อมไม่มีทุกข์ ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ ๑ เขาเห็นเหตุแล้วด้วยดี ๑ และเห็นธรรมที่เกิดขึ้นแต่เหตุด้วยดี ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ในการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๖ ประการนี้แล ฯ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง ปัญจก. อํ .๒๒/๓๙๔/๓๖๘
    0 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 82 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภิกษุสงฆ์เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพด้วยเดรัจฉานวิชาได้หรือไม่

    ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกัน
    บ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธี
    บวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยา
    ถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา
    ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล
    แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง – สีลขันธวรรค . ที .๙/๖๖/๑๒๐

    อธิบายเพิ่มเติม

    โดยเฉพาะในเรื่องของหมอดู หรือว่าเรื่องอื่น ๆ ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา ถือว่าไม่ใช่สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นเสกน้ำมนต์ พ่นน้ำหมาก สร้างวัตถุมงคล ทำนายทายทักอะไรก็ดี จัดอยู่ในประเภทนี้ทั้งนั้น แล้วถ้าท่านทั้งหลายถามว่า “ในเมื่อเป็นเช่นนั้น แล้ววัดท่าขนุนยังสร้างวัตถุมงคลไปทำอะไร ?” ก็ขอตอบว่า “เพราะว่ากูไม่โง่..!”

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา แปลว่า ทำเป็นอาชีพ ในเมื่อเราไม่ทำเป็นอาชีพ ก็ไม่ได้หากินด้วยเดรัจฉานวิชา เพราะฉะนั้น..ไม่ว่าเราจะทำอะไร ก็ต้องพิจารณาให้ชัดเจน เพราะว่าสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้นั้น พระองค์ท่านทำไปก็เพื่อความบริสุทธิ์ผุดผ่อง น่าเลื่อมใสของพระพุทธศาสนา เผื่อว่าจะฉลาดขึ้น…! อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ สำหรับท่านที่ไม่ได้เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ แต่ทำเพื่อสงเคราะห์ญาติโยมก็ทำไปสิครับ..!

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
    ภิกษุสงฆ์เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพด้วยเดรัจฉานวิชาได้หรือไม่ ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกัน บ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธี บวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยา ถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. พระไตรปิฎก ฉบับหลวง – สีลขันธวรรค . ที .๙/๖๖/๑๒๐ อธิบายเพิ่มเติม โดยเฉพาะในเรื่องของหมอดู หรือว่าเรื่องอื่น ๆ ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา ถือว่าไม่ใช่สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นเสกน้ำมนต์ พ่นน้ำหมาก สร้างวัตถุมงคล ทำนายทายทักอะไรก็ดี จัดอยู่ในประเภทนี้ทั้งนั้น แล้วถ้าท่านทั้งหลายถามว่า “ในเมื่อเป็นเช่นนั้น แล้ววัดท่าขนุนยังสร้างวัตถุมงคลไปทำอะไร ?” ก็ขอตอบว่า “เพราะว่ากูไม่โง่..!” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา แปลว่า ทำเป็นอาชีพ ในเมื่อเราไม่ทำเป็นอาชีพ ก็ไม่ได้หากินด้วยเดรัจฉานวิชา เพราะฉะนั้น..ไม่ว่าเราจะทำอะไร ก็ต้องพิจารณาให้ชัดเจน เพราะว่าสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้นั้น พระองค์ท่านทำไปก็เพื่อความบริสุทธิ์ผุดผ่อง น่าเลื่อมใสของพระพุทธศาสนา เผื่อว่าจะฉลาดขึ้น…! อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ สำหรับท่านที่ไม่ได้เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ แต่ทำเพื่อสงเคราะห์ญาติโยมก็ทำไปสิครับ..! พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 104 มุมมอง 0 รีวิว
  • ⭐️อานิสงส์ถวายข้าวเพื่อบูชาพระ

    ผู้ถาม : “ถวายข้าวพระพุทธรูป กับ ถวายข้าวพระสงฆ์ อย่างไหนมีอานิสงส์มากกว่ากันคะ.?”

    หลวงพ่อ : “การถวายข้าวพระพุทธรูป ถ้าเป็นเจตนาเพื่อเป็นพุทธบูชาจริง ก็เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ตั้งใจถวายพระสงฆ์และตั้งใจถวายจริงๆ เป็นวัตถุทานด้วย เป็นสังฆานุสสติกรรมฐานด้วย

    แต่อย่าลืมนะว่า ถวายแก่พระพุทธเจ้ามีอานิสงส์มากกว่าถวายพระสงฆ์เยอะ แต่ว่าเวลานี้ถ้าไม่ถวายพระสงฆ์ เกิดไปชาติหน้าอดข้าว เดี๋ยวหนูเกิดไปชาติหน้า ถ้าพูดเขาไม่ให้กิน ต้องนั่งเฉยๆ เดี๋ยวเขาก็ให้กิน”

    ผู้ถาม : (หัวเราะ)

    หลวงพ่อ : “ถวายพระพุทธเจ้าเป็นพุทธบูชาเฉยๆ ยังไม่ถือเป็นทาน เราจะมีทรัพย์สิน มีเสื้อสวม มีผ้านุ่ง มีบ้านอยู่ นั่นเป็นอานิสงส์ของทาน การให้ ถ้าเราบูชาพระพุทธเจ้า จัดเป็นพุทธบูชาเฉยๆ นึกถึงความดีท่าน ไม่ถือว่าเป็นทาน อานิสงส์ได้คนละอย่าง

    “พุทธบูชา มหาเตชะวันโต” การบูชาพระพุทธเจ้ามีเดชมีอำนาจมาก นั่นหมายความว่า ถ้าเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม มีรัศมีกายสว่างไสวมาก เทวดาหรือพรหมนี่เขาไม่ดูเครื่องแต่งตัว เขาดูแสงสว่างออกจากกาย

    “ธัมมบูชา มหาปัญโญ” การบูชาพระธรรม มีปัญญามาก คือใคร่ครวญในพระธรรมจนเกิดปัญญา จิตเป็นสมาธิ

    “สังฆบูชา มหาโภคะวะโห” สงเคราะห์พระสงฆ์ เกิดไปรวยมาก เพราะเราใช้วัตถุเป็นเครื่องหมาย

    อานิสงส์ต่านกัน แต่ต้องทำ 3 อย่าง ไม่งั้นหลวงพ่ออด”

    ผู้ถาม : (หัวเราะ)

    📚จาก : หนังสือ หลวงพ่อ ตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๔ หน้า ๓๘ โดย ⭐️หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (พระมหาวีระ ถาวโร) วัดจันทาราม(ท่าซุง) อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
    ✨เพจ:คำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

    🖊️พิมพ์ธรรมทาน นภา อิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 34 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขอเชิญท่านผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญเป็นเจ้าภาพ
    ถวายน้ำปานะแด่พระภิกษุสามเณรในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมืองฯ ผู้เข้าสอบนักธรรมชั้นตรี
    ประจำปี พ.ศ.2567
    ณ อาคารบุญธรรมสภา วัดพัฒนาราม
    (พระอารามหลวง)

    ติดต่อร่วมบุญได้ที่
    พระธรรมธรสันชัย สญฺชโย เลขานุการเจ้าคณะอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี โทร 092-059-4769

    หรือท่านใดประสงค์จะร่วมบุญกับผมที่จะถวายน้ำอ้อย
    แด่คณะสงฆ์หมู่ใหญ่  ผู้เข้าสอบนักธรรมชั้นตรี
    ประจำปี พ.ศ.2567
    ที่บัญชีธนาคาร : ออมสิน
    เลขที่บัญชี : 020376204143
    ชื่อบัญชี : วรสถิตย์ ตูลเพ็ง
    #ท่านใดโอนแล้วแจ้งชื่อนามสกุลด้วย ผมจะได้ลงบัญชีถูกครับ

    สุทินฺนํ วต เม ทานํ อาสวกฺขยาวหํ ปจฺจุบนฺกาเล นิพฺพาน
    ปจฺจโย โหตุ

    ขอให้ทาน ของข้าพเจ้าที่ให้ดีแล้วหนอ
    จงนำมาซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวกิเลส(พระอรหันต์)
    จงเป็นปัจจัยแด่พระนิพพาน ในชาติปัจจุบันเทอญ ฯ

    อานิสงส์การถวายน้ำปานะแด่คณะสงฆ์ใหญ่

    ในการทำบุญด้วยน้ำ นั้นเชื่อกันว่า จะทำให้ทรัพย์สินเงินทอง ความสุขต่างๆ ไหลลื่น สะดวกยิ่งขึ้น ✨
    จากที่เคยติดขัดก็จะราบรื่น จากที่เคยรับทรัพย์แบบกระเซ็นกระสายก็จะไหลมาเทมาไม่หยุดยั้ง มีความสุขจากบุญกุศล และการทำทาน นับได้ว่าเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เจริญก้าวหน้า
    .
    ความเชื่อว่า อานิสงส์ของการถวายน้ำดื่มแด่พระสงฆ์หรือบริจาคน้ำดื่มให้ผู้ที่ขาดแคลนนั้นจะช่วยส่งเสริมดวงชะตาได้
    1.ทำให้เงินทองไหลมาเทมา มีใช้คล่องมือ
    2. ชีวิตมีแต่ความสุข ความราบรื่น เหมือนสายน้ำไหล
    3. มีจิตใจที่ใสสะอาด เหมือนดั่งน้ำบริสุทธิ์
    4. มีผู้อุปถัมภ์ค้ำชู จากบุญกุศล และการทำทาน
    .
    อย่างไรก็ตาม การทำบุญสร้างกุศลด้วยความตั้งใจ
    ก็ถือว่าเป็นการร่วมสืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป
    ที่มา : deeda.care

    ขอเชิญท่านผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญเป็นเจ้าภาพ ถวายน้ำปานะแด่พระภิกษุสามเณรในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมืองฯ ผู้เข้าสอบนักธรรมชั้นตรี ประจำปี พ.ศ.2567 ณ อาคารบุญธรรมสภา วัดพัฒนาราม (พระอารามหลวง) ติดต่อร่วมบุญได้ที่ พระธรรมธรสันชัย สญฺชโย เลขานุการเจ้าคณะอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี โทร 092-059-4769 หรือท่านใดประสงค์จะร่วมบุญกับผมที่จะถวายน้ำอ้อย แด่คณะสงฆ์หมู่ใหญ่  ผู้เข้าสอบนักธรรมชั้นตรี ประจำปี พ.ศ.2567 ที่บัญชีธนาคาร : ออมสิน เลขที่บัญชี : 020376204143 ชื่อบัญชี : วรสถิตย์ ตูลเพ็ง #ท่านใดโอนแล้วแจ้งชื่อนามสกุลด้วย ผมจะได้ลงบัญชีถูกครับ สุทินฺนํ วต เม ทานํ อาสวกฺขยาวหํ ปจฺจุบนฺกาเล นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ ขอให้ทาน ของข้าพเจ้าที่ให้ดีแล้วหนอ จงนำมาซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวกิเลส(พระอรหันต์) จงเป็นปัจจัยแด่พระนิพพาน ในชาติปัจจุบันเทอญ ฯ อานิสงส์การถวายน้ำปานะแด่คณะสงฆ์ใหญ่ ในการทำบุญด้วยน้ำ นั้นเชื่อกันว่า จะทำให้ทรัพย์สินเงินทอง ความสุขต่างๆ ไหลลื่น สะดวกยิ่งขึ้น ✨ จากที่เคยติดขัดก็จะราบรื่น จากที่เคยรับทรัพย์แบบกระเซ็นกระสายก็จะไหลมาเทมาไม่หยุดยั้ง มีความสุขจากบุญกุศล และการทำทาน นับได้ว่าเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เจริญก้าวหน้า . ความเชื่อว่า อานิสงส์ของการถวายน้ำดื่มแด่พระสงฆ์หรือบริจาคน้ำดื่มให้ผู้ที่ขาดแคลนนั้นจะช่วยส่งเสริมดวงชะตาได้ 1.ทำให้เงินทองไหลมาเทมา มีใช้คล่องมือ 2. ชีวิตมีแต่ความสุข ความราบรื่น เหมือนสายน้ำไหล 3. มีจิตใจที่ใสสะอาด เหมือนดั่งน้ำบริสุทธิ์ 4. มีผู้อุปถัมภ์ค้ำชู จากบุญกุศล และการทำทาน . อย่างไรก็ตาม การทำบุญสร้างกุศลด้วยความตั้งใจ ก็ถือว่าเป็นการร่วมสืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป ที่มา : deeda.care 
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 113 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้ที่อยากจะพูดถึงอีกส่วนหนึ่งก็คือที่มีพระท่านถามว่า "ดวงมีการขโมยกันได้ด้วยหรือ ?" พวกเราส่วนใหญ่พอฟังอะไรแล้วไม่ค่อยจะใช้ปัญญาคิด หรือถ้าคิดก็ไม่มั่นใจ ก็เลยมาถามครูบาอาจารย์

    ในเรื่องของดวงก็คือบุญหรือกรรมเก่าที่เราทำเอาไว้ แล้วจะส่งผลดีหรือร้ายตามเวรตามกรรมที่เราสร้างมา คราวนี้ทางด้านนักปราชญ์แต่โบราณโดยเฉพาะชาวอินเดีย เขามีการศึกษาเรื่องการโคจรของดวงดาวและวันเดือนปีเกิดของผู้คน จนสามารถสรุปลงมาเป็นโหราศาสตร์ได้ แต่ถ้ากล่าวกันในทางพุทธศาสตร์ก็คือ บุคคลที่เกิดวันเดือนปีใกล้เคียงกัน ก็เพราะว่าสร้างบุญสร้างกรรมมาใกล้เคียงกัน ถึงเวลามีอะไรดีหรือว่าร้ายเกิดขึ้น ก็มักจะเกิดขึ้นคล้าย ๆ กัน

    เพียงแต่ว่าในเรื่องของโหราศาสตร์นั้น เราต้องไม่ลืมว่าเต็มที่ก็ดูได้ไม่เกิน ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ตรงนี้ไม่ใช่กระผม/อาตมภาพเป็นคนพูด แต่เป็นพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุงท่านบอก เพราะว่าช่วงนั้นท่านสั่งให้กระผม/อาตมภาพไปศึกษาวิธีการดูดวง จะเป็นเลข ๗ ตัวก็ได้ มหาทักษาก็ได้ กระผม/อาตมภาพค่อนข้างจะเป็น "เด็กไฮเปอร์ฯ" ก็คืออยู่นิ่งไม่ค่อยเป็น ท่านกลัวว่าถ้าไม่มีอะไรจะทำเดี๋ยวจะไปรื้อวัดทิ้ง..! ก็เลยให้ไปหัดดูดวง แล้วท่านก็บอกว่า "เต็มที่จะดูได้ไม่เกิน ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้าใช้ทิพจักขุญาณก็ได้ไม่เกิน ๘๐ เปอร์เซ็นต์"

    กระผม/อาตมภาพเรียนถามว่า "แล้วส่วนที่เหลือละครับ ?" หลวงพ่อท่านบอกว่า "บุคคลประเภทนั้นกำลังใจล้นเกิน ดวงไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ ต่อให้บอกว่าไม่ดีอย่างไร พวกนี้ก็จะ "สู้หัวชนฝา" จนกระทั่งชนะดวงไปเอง ส่วนใหญ่แล้วเป็นพวกที่มาสายพระโพธิสัตว์"

    ในเมื่อเป็นเช่นนั้นท่านต้องเข้าใจว่า ในเรื่องของดวงก็คือบุญกรรมที่เราทำมาในอดีต แล้วส่งผลให้กับเราในปัจจุบัน ก็เลยไม่มีการที่จะไปทดแทนกัน หรือว่าใช้แทนกัน หรือว่ายืมดวงใช้ก่อน เพียงแต่ว่าถ้าหากว่าเป็นสมัยก่อนที่เขายังทำไสยศาสตร์กันอยู่มากมาย ส่วนใหญ่ครูบาอาจารย์ท่านจะเตือนในเรื่องของวันเดือนปีเกิดว่า อย่าไปให้หมอไสยศาสตร์รู้เข้า เพราะว่าเขาจะทำได้ผลมากกว่าปกติ ถ้ามีวันเดือนปีเกิดพร้อมกับสิ่งของที่เราเคยใช้ด้วย ก็จะยิ่งมีผลมากขึ้น..!

    แต่กระผม/อาตมภาพโชคดีที่ว่า ใครได้วันเดือนปีเกิดไปก็อาจจะเดือดร้อนเอง เนื่องเพราะว่าพื้นฐานดวงนั้นถอดออกมาแล้ว "อริเป็นมรณะ" ใครตั้งตัวเป็นศัตรูตายห่..หมด..! เพราะฉะนั้น..บางท่านที่สงสัยว่า "ทำไมกระผม/อาตมภาพทำยันต์เกราะเพชรขึ้นมาก ? ทำตะกรุดมหาสะท้อนขึ้นมาก ?" ก็เพราะว่าพื้นฐานดวงนั้นอริเป็นมรณะ ถ้าหากว่าใครคิดร้ายก็แพ้ภัยตัวเอง..!

    ในเมื่อพื้นฐานดวงเป็นอย่างนี้ แล้วยังมีวิชาการเสริมเข้าไปอีก ก็ยิ่งเป็นเรื่องที่ใครคิดจะหาเรื่องก็แปลว่าหาที่ตายเอง..! เพียงแต่เตือนว่าเราท่านทั้งหลายต้องระมัดระวังเอาไว้บ้าง แต่สมัยนี้ระวังยาก เนื่องเพราะว่าคุณจะสมัครเฟซบุ๊ก สมัครอีเมลอะไรก็ตาม เขาให้ใส่วันเดือนปีเกิดไปทั้งหมด ก็เท่ากับทุกคนในปัจจุบันนี้ มีสิทธิ์ที่จะเจอหมอไสยศาสตร์เล่นเอาได้ทั้งนั้น..!

    ดังนั้น..วิธีป้องกันที่ดีที่สุดก็คือภาวนาให้กำลังใจทรงตัว อย่างน้อยสุดก็ให้เป็นปฐมฌานละเอียด ถ้าทำได้ในระดับนี้ หมอไสยศาสตร์เก่งแค่ไหนก็ทำอะไรเราไม่ได้ เพราะว่ากำลังใจของเราเท่ากับพรหม ในเมื่อเป็นเช่นนั้นจึงขอย้ำอีกครั้งว่า เรื่องของดวงขโมยกันไม่ได้ ยืมใช้ก็ไม่ได้ ไม่อย่างนั้นแล้วเราก็คงจะมีประธานาธิบดีหน้าตาเหมือนกับเราไปแล้ว หรือไม่ก็มีนายกรัฐมนตรีหน้าตาเหมือนกับเราไปแล้ว เพราะว่าไปขโมยดวงเขามาใช้แทน

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันเสาร์ที่ ๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 38 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 40 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 42 มุมมอง 0 รีวิว
  • “ น ภเช ปาปเก มิตฺเต น ภเช ปุริสาธเม
    ภเชถ มิตฺเต กลฺยาเณ ภเชถ ปุริสุตฺตเมติ “

    บัณฑิต ไม่ควรคบพวกมิตรชั่ว ไม่ควรคบพวกบุรุษตํ่าทราม ควรคบกัลยาณมิตร
    ควรคบบุรุษผู้สูงสุด

    ที่มา : ม.ที.บาลี /๓๐/๓๗
    “ น ภเช ปาปเก มิตฺเต น ภเช ปุริสาธเม ภเชถ มิตฺเต กลฺยาเณ ภเชถ ปุริสุตฺตเมติ “ บัณฑิต ไม่ควรคบพวกมิตรชั่ว ไม่ควรคบพวกบุรุษตํ่าทราม ควรคบกัลยาณมิตร ควรคบบุรุษผู้สูงสุด ที่มา : ม.ที.บาลี /๓๐/๓๗
    Like
    2
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 149 มุมมอง 0 รีวิว
  • บุคคลทำกรรมใดเเล้ว ย่อมไม่เดือดร้อนใจ
    ในภายหลัง มีปีติเอิบอิ่ม
    “ ตญฺจ กมมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ
    ยสฺส ปีติโต สุมโน วิปากํ ปฏิเสวตีติ "

    บุคคลทำกรรมใดเเล้ว ย่อมไม่เดือดร้อนใจ
    ในภายหลัง มีปีติเอิบอิ่ม ดีใจ
    เสวยผลกรรมใด กรรมนั้นเเล
    ที่บุคคลทำเเล้วเป็นกรรมดี "
    บุคคลทำกรรมใดเเล้ว ย่อมไม่เดือดร้อนใจ ในภายหลัง มีปีติเอิบอิ่ม “ ตญฺจ กมมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ ยสฺส ปีติโต สุมโน วิปากํ ปฏิเสวตีติ " บุคคลทำกรรมใดเเล้ว ย่อมไม่เดือดร้อนใจ ในภายหลัง มีปีติเอิบอิ่ม ดีใจ เสวยผลกรรมใด กรรมนั้นเเล ที่บุคคลทำเเล้วเป็นกรรมดี "
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 161 มุมมอง 0 รีวิว
  • บุคคลผู้หนึ่งซึ่งเป็นฆราวาสตื่นธรรม ท่านถามว่าทำไมต้องสร้างวัตถุมงคลเพื่อหาเงินไปสร้างวัดด้วย ? ไปอยู่ป่าก็ได้..! รู้สึกว่าท่านจะตอบแบบมักง่าย และยกตนเองว่าเป็นผู้ใฝ่สันโดษ หรือว่าปฏิบัติถูกต้องตามพระธรรมวินัยอยู่คนเดียว

    ตรงจุดนี้ท่านทั้งหลายต้องเข้าใจว่า แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่ประทานพระบรมพุทธานุญาตตามที่พระเทวทัตขอ ว่าให้พระภิกษุทั้งหมดอยู่ป่า ห้ามอยู่ในบ้านในเมือง โดยพระองค์ตรัสว่า ผู้ที่ใคร่จะอยู่ป่าก็จงอยู่ป่า ผู้ที่ใคร่จะอยู่ในเมืองก็จงอยู่ในเมือง

    เนื่องเพราะพระองค์มีวิสัยทัศน์อันยาวไกล หรือว่ามีพระสัพพัญญุตญาณที่รู้ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต รู้ดีว่าโลกภายภาคหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหน ทำให้พระภิกษุสงฆ์ถ้าหากว่าประพฤติวัตรปฏิบัติธรรมด้วยการอยู่ป่าอย่างเดียว จะกลายเป็นไม่มีที่อยู่ก็ได้..!

    โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ผืนป่าต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่อยู่ได้นั้นไม่มีเหลืออีกแล้ว ยกเว้นวัดต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมาก่อน แล้วยังคงความเป็นวัดป่าอยู่ก็พอที่จะมีพื้นที่ป่าเหลืออยู่บ้าง ไม่ต้องอื่นไกลที่ไหน แค่อำเภอทองผาภูมิที่กระผม/อาตมภาพอยู่นี่แหละ บรรดาพระภิกษุผู้อยู่ป่านับร้อย ๆ ราย โดนเจ้าหน้าที่นิมนต์ออกจากป่ามาทั้งหมด เนื่องเพราะว่าสถานที่เหล่านั้นเป็นอุทยานแห่งชาติบ้าง เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบ้าง แม้ว่าจะประกาศขึ้นทีหลัง โดยที่พระท่านไปอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่ก็โดนนิมนต์ออกมาจนเกือบจะหมด ยกเว้นท่านที่ได้รับการตั้งขึ้นเป็นวัดหรือสำนักสงฆ์อย่างถูกต้องแล้วเท่านั้น
    ดังนั้น..ท่านที่พูดชุ่ย ๆ ว่าไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างวัด ให้พระภิกษุไปอยู่ป่าอย่างเดียว ถ้าอย่างนั้นตั้งแต่โบราณมา เราก็คงไม่มีพระคามวาสีคือฝ่ายที่อยู่วัด และอรัญวาสีคือฝ่ายที่อยู่ป่า ในเมื่อบ้านเรามีการแยกวัดบ้านและวัดป่าอย่างชัดเจนแบบนี้ แล้วท่านยังจะให้ปฏิบัติตามปฏิปทาของพระเทวทัตอยู่อีกหรือ ?

    กระผม/อาตมภาพคาดว่าไม่มีใครอยากเป็นลูกศิษย์พระเทวทัต มีแต่อยากจะเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้าเท่านั้น ดังนั้น..สิ่งที่ท่านได้กล่าวมาก็ขอให้กล่าวโดยรอบคอบกว่านี้ ดูบริบทของสังคมเราด้วยว่าเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหนแล้ว

    สมัยพุทธกาลมีบรรดาเจ้าพระยามหากษัตริย์หรือว่ามหาเศรษฐี ท่านปวารณาสร้างวัดวาอารามให้ แม้แต่ในยุคสมัยต่อ ๆ มาในประเทศไทยของเราตั้งแต่ปรากฏประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นยุคกรุงสุโขทัย ยุคกรุงศรีอยุธยา ยุคกรุงธนบุรี มาถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ก็มีการสร้างวัดเพื่อบุญกุศลในวิหารทาน ในขณะเดียวกันก็มีคำพูดประเภทว่า บรรดาเจ้าใหญ่นายโตนั้น "สร้างวัดเพื่อให้ลูกหลานได้มีที่สำหรับวิ่งเล่น..!"

    ในเมื่อยุคต่อ ๆ มา บริบทของสังคมเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนได้เข้าสู่ส่วนของการใช้แรงงานต่าง ๆ มากมาย จนกระทั่งไม่มีเวลาที่จะไปช่วยเหลือวัด แม้กระทั่งผู้ที่ร่ำรวยด้วยเงินด้วยทองก็ติดหน้าที่การงานต่าง ๆ จนถึงขนาดไม่มีเวลาให้วัด ยกตัวอย่างบุคคลท่านหนึ่ง นามสกุลของท่านถ้าบอกไปแล้วต้องรู้จักกันทั้งประเทศไทย ท่านปวารณาเอาไว้ว่า กระผม/อาตมภาพจะสร้างหนี้เท่าไรก็ได้ ทุกสิ้นปีให้แจ้งไป ท่านจะจัดการ "เคลียร์หนี้" ให้ แต่เมื่อกระผม/อาตมภาพแจ้งไปแล้ว ปรากฏว่าท่านมักจะติดด้วยงานด้วยการ ไม่สามารถที่จะปลีกตัวได้

    ตอนนั้นกระผม/อาตมภาพยังรับสังฆทานอยู่ที่บ้านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ท่านมีเวลาแค่โทรศัพท์มาว่าตอนนี้วิ่งมาใกล้จะถึงแล้ว ให้กระผม/อาตมภาพลงไปรอในบริเวณนั้นบริเวณนี้ เมื่อท่านมาถึงแล้วก็เปิดหน้าต่างรถ ส่งเงินให้แล้วก็วิ่งต่อไป กระผม/อาตมภาพเจอแบบนั้นเข้าสองครั้ง ก็ไม่กล้าที่จะรบกวนอีกเลย..!

    ดังนั้น..ต่อให้ปวารณาไว้โดยที่ท่านร่ำรวยขนาดไหนก็ตาม กระผม/อาตมภาพก็แกล้งลืมเบอร์โทรศัพท์ไม่โทรไปหาอีก เนื่องเพราะเคยได้ยินมาว่าท่านเคยโทรสั่งโบรกเกอร์ช้าไปนาทีเดียว แล้วเสียหุ้นไป ๒๐ ล้านบาทโดยประมาณ..! ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ใครจะกล้าไปรบกวนเวลาของท่านอีก..!
    ในเมื่อบุคคลที่มีฐานะเพียงพอที่จะช่วยเหลือในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ส่วนใหญ่ก็ติดด้วยภาระหน้าที่ต่าง ๆ จึงมักจะนำเงินนำทองไปมอบให้กับพระภิกษุ โดยเฉพาะหลวงปู่หลวงพ่อเจ้าอาวาส ท่านได้จัดการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเอง ตรงส่วนนี้จึงทำให้สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป วัดที่มีผู้ปวารณาไว้ก็ยังคงต้องทำงานด้วยตนเอง แต่วัดที่ไม่มีผู้ปวารณาไว้ ก็ต้องหาเงินหาทองมาเพื่อบูรณะก็คือทำของเก่าให้ดีขึ้น และปฏิสังขรณ์คือสร้างของใหม่ให้เพียงพอต่อการใช้งาน

    ไม่เช่นนั้นแล้วหลวงปู่หลวงพ่อเจ้าอาวาสนั่นแหละ ที่ท่านเป็นเจ้าพนักงานโดยกฎหมาย จะกลายเป็นละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ก็คือไม่ปกครองสอดส่องฆราวาสก็ยังพอทน แต่การไม่บูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม เพื่อให้มั่นคงแข็งแรงสมกับเป็นอารามในพระพุทธศาสนา ให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าไปบำเพ็ญกุศลโดยสะดวก ก็กลายเป็นว่านอกจากจะผิดทางโลกแล้ว ยังผิดทางธรรมอีกด้วย

    ในทางโลกก็คือผิดกฎหมายในฐานะเจ้าพนักงานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ในทางธรรมก็คือบุคคลที่เว้นจากหน้าที่ซึ่งตนรับผิดชอบนั้น ต้องบอกว่าเป็นผู้ที่ไม่มีหลักธรรมประจำใจ ก็คือขาดไปเสียทุกส่วน ไม่เช่นนั้นแล้วอย่างน้อยก็ต้องทำความสะอาดวัดวาอารามให้น่าอยู่น่าอาศัย

    ประการต่อไปก็คือพุทธศาสนิกชนคนไทยของเรา ซึ่งมีอยู่ ๙๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ ท่านผู้กล่าวว่าให้พระภิกษุสงฆ์ไปอยู่ป่า แล้วจะให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายเหล่านั้นตะเกียกตะกายเข้าป่าไปทำบุญกัน แล้วท่านคิดว่าจะใช่หรือไม่ ?
    ในเรื่องของธรรมะนั้น ไม่ใช่พูดชุ่ย ๆ แบบ "ตีหัวเข้าบ้าน" ปราศจากความรับผิดชอบ เพราะว่าเรื่องทั้งหลายเหล่านี้นั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน กำลังใจของคนแต่ละระดับไม่เท่ากัน ใครที่ชอบคำพูดดุเดือดหยาบคาย ไปฟังท่านแล้วชอบใจ ก็ถือว่ามีจริตนิสัยใกล้เคียงกัน ท่านสามารถสอนเขาให้ตื่นรู้ได้ก็สอนไปเถิด

    แต่ว่าบุคคลที่เป็นส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ใช่แค่หยิบมือเดียวอย่างที่ท่านสอนอยู่ จะให้ทุกคนเป็นเหมือนกันย่อมเป็นไปไม่ได้ ท่านทำอาหารรสชาติที่เผ็ดกระโดดจนกระทั่งคนกินไปร้องไห้ไป แล้วท่านจะไปยัดเยียดให้ทุกคนกินอาหารรสชาตินั้นก็ย่อมเป็นไปไม่ได้

    ดังนั้น..ในเรื่องของธรรมะ กระผม/อาตมภาพจึงได้กล่าวเอาไว้ว่า ไม่เคยให้ราคาสำหรับฆราวาสผู้สอนธรรม เนื่องเพราะว่าฆราวาสที่เก่งจริงนั้นตายไปหมดแล้ว..! เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าถ้าบุคคลที่เก่งจริง เข้าถึงธรรมจริง ๆ คุณงามความดีทั้งหลายเหล่านั้นมากเกินกว่าที่จะทรงอยู่ในร่างฆราวาสได้ เพราะว่าอาจจะเป็นทุกข์เป็นโทษให้กับผู้อื่น จึงต้องโดนตัดให้ตายลงไป ในเมื่อท่านยังทรงความเป็นฆราวาสอยู่ได้ ก็แปลว่ายังเข้าไม่ถึงธรรมอย่างแท้จริงนั่นเอง

    ถ้าหากว่าสิ่งที่ว่ากล่าวไปนี้ มีอะไรที่ทำให้ท่านเห็นว่าไม่ถูกต้องถูกใจ ก็สามารถที่จะโต้แย้งได้ แต่ให้โต้แย้งโดยหลักธรรม อย่าได้เอาทิฏฐิหรือว่าโทสะในส่วนความเห็นเฉพาะตนมาโต้แย้ง เพราะว่ามีแต่จะทำให้เสียเวล่ำเวลา ไปนั่งภาวนาเสียยังจะดีกว่า
    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันเสาร์ที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
    __________________
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 54 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 172 มุมมอง 0 รีวิว
  • Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 62 มุมมอง 0 รีวิว
  • ๑๓๘) ที่กล่าวว่าอามิสทานเป็นปัจจัยแห่งพระนิพพาน ก็เพราะว่าการให้ทานเป็นการตัดกิเลสร้ายตัวต้นตัวหนึ่ง ที่เราเรียกว่า โลภะ ให้สิ้นไป ให้ทานครั้งหนึ่ง โลภะมันก็แหว่งไปหน่อยหนึ่ง ให้ทาน ๒ ครั้ง ความโลภ โลภแหว่งไปอีกนิดหนึ่ง แหว่งไปทุกครั้ง ๆ ที่เราให้ ในที่สุดถ้าให้บ่อย ๆ ให้ด้วยการมีใจ ไม่ยึดถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรา เป็นของเรา เราให้ด้วยการสงเคราะห์อย่างนี้ชื่อว่าให้ด้วยการบริจาคเป็นการตัดสินใจแท้ของทาน อันนี้องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงกล่าวว่า เป็นกิริยาที่ตัดโลภะความโลภ ถ้าเราตัดโลภะความโลภเสียได้ตัวหนึ่งแล้ว ก็ชื่อว่าใกล้พระนิพพานเข้าไป

    คนที่จะถึงพระนิพพานไม่ได้ก็เพราะมีกิเลสใหญ่ ๓ ตัวประจำอยู่หรือประจำใจ ได้แก่ โลภะ ความโลภหนึ่ง โทสะ ความโกรธหรือการพยาบาท จองล้างจองผลาญหนึ่ง แล้วก็ โมหะ ความหลงหนึ่ง มี ๓ ตัวนี่เท่านั้นที่จะกั้นคนให้เข้าถึงพระนิพพานไม่ได้ ถ้าบุคคลใดทำลายกิเลสทั้ง ๓ ประการนี้ได้หมดเมื่อไร ก็เป็นพระอรหันต์เมื่อนั้น เมื่อเป็นพระอรหันต์แล้วตายแล้วก็เข้าสู่พระนิพพาน เป็นแดนแห่งความสุข หาความทุกข์ไม่ได้ นี่ว่ากันส่วนอามิสทาน ทานที่ ๒

    จากหนังสือ โอวาทหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม ๕ หน้าที่ ๖๙ โดย...หลวงพ่อพระราชพรหมยาน คัดลอกโดย ด.ญ.ปุณยนุช ขจรนิธิพร
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 69 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทุกศาสนามีมูลเหตุมาจากความกลัว นับตั้งแต่ กลัวภัยธรรมชาติ จนถึงกลัว เกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือ กลัวกิเลส วิธีปฏิบัติเพื่อให้รอดพ้นจากความกลัวนั้นๆ เรียกว่า “ศาสนา” เช่นมีการบูชาบวงสรวงอ้อนวอน เป็นต้น

    พุทธศาสนา มีมูลมาจากกลัวความเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือ กลัวกิเลส อันเป็นตัวทุกข์หรือเหตุให้เกิดทุกข์วิธีปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ คือ การพิจารณาให้รู้แ เป็นจริงในสิ่งทั้งปวงตามเป็นจริงด้วยตนเองว่า “อะไร” อะไร” เมื่อเห็นจริงก็ปฏิบัติถูกต่อสิ่งทั้งปวง การปฏิบั ถูกนั่นเองเป็นทางดับทุกข์ การบูชา บวงสรวง อ้อน การรดน้ำมนต์ ตลอดจนการนับถือเทวดา หรือดวง มิใช่ทางดับทุกข์ ตามหลักแห่งพุทธศาสนา

    พุทธศาสนาดูได้หลายเหลี่ยม เช่นเดียวกับศาสน อื่นๆ ตามแต่สติปัญญาความรู้ความเข้าใจของผู้ดู คัม ของศาสนาต่างๆ หรือพระไตรปิฎกของพระพุทธศาส จึงมีการเพิ่มเติมเข้าไปอีกมาก ตามความเห็นของคน หลัง จนเกินขอบเขต โดยเฉพาะในพระพุทธศาสนา การหลงถือเอาพิธีต่างๆ เล็กๆ น้อยๆ เช่น พิธี วิญญาณของพระพุทธเจ้าเป็นต้นว่าเป็นพุทธศาสนา บางอย่างได้ห่อหุ้มความหมายเดิมให้สาบสูญไป เช่น บวชนาค” ได้มีการทำขวัญนาค มีการฉลองกันใน วชไม่กี่วัน สึกออกมายังเหมือนเดิม การบวชสมัย

    พระพุทธเจ้า ผู้ได้รับอนุญาตจากบิดามารดาแล้วปลีกตัว ออกจากเรือนไปหาพระ การบวชเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ ทางบ้านไม่มีหน้าที่ทำอะไรเลย พิธีที่เพิ่มขึ้นเหล่านั้นไม่ได้ ทำให้ผู้บวชดีขึ้น บางคนฝึกไปแล้วกลับเลวกว่าเก่าก็มี จึงเป็นการทำให้หมดเปลืองทรัพย์ และแรงงานไปเปล่าๆ


    เรื่อง “กฐิน” ก็เช่นกัน ความมุ่งหมายเดิมมีว่า ให้พระทุกรูปทำจีวรใช้เอง ให้พร้อมเพรียงกัน ทำด้วยมือ ” คนให้หมดความถือตัว โดยให้ลดตัวเองมาเป็นกุลีเท่ากัน หมด แต่เดี๋ยวนี้กฐินกลายเป็นเรื่องมีไว้สำหรับประกอบ พิธีหรูหราหาเงิน เอิกเกริกเฮฮาสนุกสนานพักผ่อนหย่อนใจ โดยไม่ได้รับผลสมความมุ่งหมายอันแท้จริง

    ลักษณะดังกล่าวมานี้ เรียกว่าเป็น “เนื้องอก” ของ พุทธศาสนา ซึ่งมีมากมายหลายร้อยอย่าง จัดเป็นเนื้อ ร้ายชนิดหนึ่งที่งอกออกมาปิดบังเนื้อดีหรือแก่นแท้ของ พุทธศาสนาให้ค่อยๆ เลือนหายไป นิกายต่างๆ ก็เกิดขึ้น

    สามารถอ่านต่อที่เว็บบอร์ดพระนิพพาน
    https://www.thenirvanalive.com/2023/03/12/%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 68 มุมมอง 0 รีวิว
  • ควรศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อมีถ้อยคำซึ่งจะเป็นเหตุให้ทุ่มเถียงกัน ก็จำต้องหวังการพูดมาก เมื่อมีการพูดมาก ย่อมคิดฟุ้งซ่าน
    เมื่อคิดฟุ้งซ่าน ย่อมไม่สำรวม
    เมื่อไม่สำรวม จิตย่อมห่างจากสมาธิ

    https://www.thenirvanalive.com/2024/09/13/%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B9%88/
    ควรศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อมีถ้อยคำซึ่งจะเป็นเหตุให้ทุ่มเถียงกัน ก็จำต้องหวังการพูดมาก เมื่อมีการพูดมาก ย่อมคิดฟุ้งซ่าน เมื่อคิดฟุ้งซ่าน ย่อมไม่สำรวม เมื่อไม่สำรวม จิตย่อมห่างจากสมาธิ https://www.thenirvanalive.com/2024/09/13/%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B9%88/
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 266 มุมมอง 0 รีวิว
  • พุทธโอวาท ตอนพุทธวิธีทำลายความง่วง

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าเภสกลา มิคทายวันใกล้สุงสุมาร
    คีรนคร แคว้นภัคคะ ก็สมัยนั้นแล ท่านมหาโมคคัลลานะนั่งโงกง่วงอยู่ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม
    แคว้นมคธ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งโงกง่วงอยู่ ณ บ้าน
    กัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ครั้นแล้วทรงหายจาก
    เภสกลามิคทายวันใกล้สุงสุมารคีรนคร แคว้นภัคคะ เสด็จไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านพระมหา
    โมคคัลลานะ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้
    หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้ว ครั้นแล้วได้ตรัส
    ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ
    ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

    ดูก่อนโมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไรอยู่ ความง่วงนั้นย่อม
    ครอบงำได้ เธอพึงทำไว้ในใจซึ่งสัญญานั้นให้มาก ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้
    ถ้าเธอยังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงตรึกตรองพิจารณาถึงธรรมตามที่ตนได้สดับแล้ว ได้เรียนมาแล้ว
    ด้วยใจ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสาธยายธรรมตาม
    ที่ตนได้สดับมาแล้วได้เรียนมาแล้วโดยพิสดาร ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายัง
    ละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงยอนช่องหูทั้งสองข้าง เอามือลูบตัว ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วง
    นั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาว
    สามารถอ่านต่อที่เว็บบอร์ดพระนิพพาน
    https://www.thenirvanalive.com/2024/09/13/%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B9%88/
    พุทธโอวาท ตอนพุทธวิธีทำลายความง่วง สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าเภสกลา มิคทายวันใกล้สุงสุมาร คีรนคร แคว้นภัคคะ ก็สมัยนั้นแล ท่านมหาโมคคัลลานะนั่งโงกง่วงอยู่ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งโงกง่วงอยู่ ณ บ้าน กัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ครั้นแล้วทรงหายจาก เภสกลามิคทายวันใกล้สุงสุมารคีรนคร แคว้นภัคคะ เสด็จไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านพระมหา โมคคัลลานะ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้ว ครั้นแล้วได้ตรัส ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ ดูก่อนโมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไรอยู่ ความง่วงนั้นย่อม ครอบงำได้ เธอพึงทำไว้ในใจซึ่งสัญญานั้นให้มาก ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้าเธอยังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงตรึกตรองพิจารณาถึงธรรมตามที่ตนได้สดับแล้ว ได้เรียนมาแล้ว ด้วยใจ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสาธยายธรรมตาม ที่ตนได้สดับมาแล้วได้เรียนมาแล้วโดยพิสดาร ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายัง ละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงยอนช่องหูทั้งสองข้าง เอามือลูบตัว ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วง นั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาว สามารถอ่านต่อที่เว็บบอร์ดพระนิพพาน https://www.thenirvanalive.com/2024/09/13/%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B9%88/
    0 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 423 มุมมอง 0 รีวิว
  • ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการแห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ
    คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้

    อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ…เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น
    เป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ เธอมีสติ หลงลืม
    เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอ
    ผู้มีความสุขในภพนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
    แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิอันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ…เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น
    เป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ เธอมีสติหลงลืม เมื่อ
    กระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งบทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ ผู้มี
    ความสุขอยู่ในภพนั้นเลย แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท
    เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัย
    นั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ เร็วพลันดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อ
    เสียงกลอง เขาเดินทางไกล พึงได้ยินเสียงกลอง เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่า
    เสียงกลองหรือไม่ใช่หนอที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
    เหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย

    นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆคล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดี
    ด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

    สามารถอ่านต่อที่เว็บบอร์ดพระนิพพาน

    https://www.thenirvanalive.com/2024/06/13/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%8C-%E0%B9%94-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 77 มุมมอง 0 รีวิว
  • รีวิวแพลตฟอร์มชุมชนชาวพุทธเครือข่ายสังคมออนไลน์ ชาวพุทธ
    thenirvanalive.com ( เว็บบอร์ดพระนิพพาน) แพลตฟอร์มชุมชนชาวพุทธและคนไทยที่นับถือพระพุทธศาสนาพัฒนาโดยชาวพุทธไทย เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่
    สามารถค้นหาธรรมะที่ถูกปิดกั้นได้และ สามารถเข้ามา แบ่งปันบทความตั้งกระทู้ธรรมะได้อย่างอิสระ ทางเว็บฯ
    มีห้องและพื้นที่ให้ท่านเข้ามาแบ่งปันนธรรมะและะความรู้
    ได้อย่างอิสระ โดยไม่ถูกการปิดกั้นการมองเห็นเหมือนแพลตฟอร์มอื่น

    - ท่านที่ชอบการอ่านเข้ามาอ่านบทความธรรมะดีๆๆ มากมายได้แล้ววันนี้

    - ท่านที่ชอบลงบทความธรรมะให้ปัญญาคนสามารถตั้งกระทู้ได้แล้ววันนี้

    - ท่านที่ชอบการ บูชาพระเครื่องหรือวัตถุมงคลอื่นๆ สามารถเข้ามาหาบูชากันได้แล้ววันนี้

    - แพลตฟอร์มที่ลงบทความธรรมะและะความรู้อื่นโดย
    ไม่โดนปิดกั้น

    ท่านสามารถค้นหาเว็บบอร์ดพระนิพพานได้ใน Google
    พิมพ์คำว่า เว็บบอร์ดพระนิพพาน เลย รีบสมัครสมาชิกเลย

    https://www.thenirvanalive.com/เว็บบอร์ดพระนิพพาน/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 84 มุมมอง 0 รีวิว
  • พุทธโอวาท ตอน อเนญชสัปปายสูตร

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมชื่อกัมมาสธรรม ของชาวกุรุในแคว้นกุรุสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว

    พระมีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามไม่เที่ยง เป็นของว่าง
    เปล่า เลือนหายไปเป็นธรรมดา ลักษณะของกามดังนี้ ได้ทำความล่อลวงเป็นที่บ่นถึงของคน
    พาล กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
    ทั้ง ๒ อย่างนี้ เป็นบ่วงแห่งมาร เป็นแดนแห่ง มาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นที่หากินของมาร
    ในกามนี้ ย่อมมีอกุศลลามกเหล่านี้เกิดที่ใจคือ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะบ้าง เป็นไป
    กามนั่นเอง ย่อม เกิดเพื่อเป็นอันตรายแก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้

    สามารถอ่านศึกษาต่อที่เว็บไซต์พระนิพพาน

    https://www.thenirvanalive.com/2024/09/05/พทธโอวาท-อเนญชสปปายสตร/

    #พุทธโอวาท
    พุทธโอวาท ตอน อเนญชสัปปายสูตร สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมชื่อกัมมาสธรรม ของชาวกุรุในแคว้นกุรุสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระมีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามไม่เที่ยง เป็นของว่าง เปล่า เลือนหายไปเป็นธรรมดา ลักษณะของกามดังนี้ ได้ทำความล่อลวงเป็นที่บ่นถึงของคน พาล กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า ทั้ง ๒ อย่างนี้ เป็นบ่วงแห่งมาร เป็นแดนแห่ง มาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นที่หากินของมาร ในกามนี้ ย่อมมีอกุศลลามกเหล่านี้เกิดที่ใจคือ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะบ้าง เป็นไป กามนั่นเอง ย่อม เกิดเพื่อเป็นอันตรายแก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้ สามารถอ่านศึกษาต่อที่เว็บไซต์พระนิพพาน https://www.thenirvanalive.com/2024/09/05/พทธโอวาท-อเนญชสปปายสตร/ #พุทธโอวาท
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 444 มุมมอง 0 รีวิว
  • “มนุญฺญเมว ภาเสยฺย นามนุญฺญํ กุทาจนํ

    แปลความว่า

    บุคคล ควรพูดคำที่เจริญใจเท่านั้น ไม่ควรพูด
    คำที่ไม่เจริญใจในกาลไหน "

    #พุทธโอวาท
    “มนุญฺญเมว ภาเสยฺย นามนุญฺญํ กุทาจนํ แปลความว่า บุคคล ควรพูดคำที่เจริญใจเท่านั้น ไม่ควรพูด คำที่ไม่เจริญใจในกาลไหน " #พุทธโอวาท
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 404 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของคณะสงฆ์ไทย คอลัมน์ สังฆานุสติ โดย บาสก

    ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2567 มีประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของคณะสงฆ์ไทย เกิดขึ้น อย่างน้อย 2 เรื่องใหญ่ คือ พระราชาคณะ ชั้นผู้ใหญ่ ระดับสมเด็จ พระราชาคณะและรองสมเด็จ ได้สมัครเข้าเรียนภาษาบาลีและเข้าสอบได้จนถึงเปรียญธรรม 9 ประโยค หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 มีบรมราชานุญาตให้พระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่สอบบาลีได้จากที่เคยถูกปิดกั้นมานาน
    พระบรมราชานุญาตนี้ทำให้การศึกษาภาษาบาลีคึกคักขึ้นทันที โดยสมเด็จพระธีรญาณมุนี(สมชาย) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส กรรมการมหาเถรสมาคม จบเปรียญธรรม 8 ประโยค เมื่อพ.ศ 2516 ได้สมัครเข้าเรียน ชั้นประโยค ป.ธ.9 ที่สำนักเรียนวัดมหาธาตุ โดยมีพระราชาคณะสมัครเข้าเรียนร่วมชั้น หลายรูป
    พระพรหมเสนาบดี หรือเจ้าคุณพิมพ์ พระราชาคณะระดับรองสมเด็จ เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา เจ้าคณะภาค 7 กรรมการมหาเถรสมาคม เปรียญธรรม 7 ปรระโยค (พ.ศ.2532) สมัครเรียนชั้น ป.ธ.8 ที่สำนักเรียนวัดมหาธาตุ และวัดสามพระยา
    ประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่ง เมื่อกรรมการมหาเถรสมาคม 2 รูป พร้อมใจกันลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ 2567 เพื่อเปิดทางให้พระเถระที่เคยครองตำแหน่งนี้ได้กลับมาครองตำแหน่งเดิม หลังจากถูกถอดจาก มส. ปี พ.ศ. 2561
    กรรมการ มส. ที่ลาออก
    1. พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ธมฺมธโร ป.ธ.7) ลาออกจากตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567
    2. พระพรหมวัชรเมธี (สมเกียรติ โกวิโท ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ลาออกวันที่ 30 สิงหาคม 2567
    กรรมการ มส. ที่ลาออก
    1. พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ธมฺมธโร ป.ธ.7) ลาออกจากตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567
    2. พระพรหมวัชรเมธี (สมเกียรติ โกวิโท ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ลาออกวันที่ 30 สิงหาคม 2567
    การลาออกจาก มส. ของพระเถระทั้ง 2 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เนื่องจากในอดีตไม่เคยมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น (นอกจากถูกปลดออก ถูกถอด ไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นต่อหลังจากหมดวาระ 2 ปี และตาย)
    สาเหตุที่ลาออก ตามข่าวที่ประมวลได้นั้น ท่านว่า เพื่อเปิดโอกาสให้พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธัมโม ป.ธ.9) เจ้าอาวาส วัดสามพระยา (สดๆร้อนๆ) จะได้ดำรงรงตำแหน่งนี้แทน
    ทั้งนี้พระพรหมดิลก เคยครองตำแหน่งนี้ แต่ถูกถอดถอนเพราะถูกกล่าวหาว่าทำผิดหลายเรื่องเช่น เรื่องเงินทอนวัด เป็นต้น (เหตุเกิดเมื่อเดือน พฤษภาคม 2561) ต่อมาศาลตัดสินว่าไม่มีความผิด และพระเจ้าอยู่หัวโปรดสถาปนาให้ดำรงสมณศักดิ์เดิม รวมทั้งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสามพระยาตามเดิมด้วย

    ส่วนพระพรหมวัชรเมธี (โกวิท) ที่ลาออก ก็เป็นการเปิดทางให้พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) เข้ามาดำรงตำแหน่งตามเดิม ทั้งนี้ท่านเคยดำรงตำแหน่งดังกล่าว แต่ถูกถอดจากตำแหน่ง ในข้อหาคล้ายกับ พระพรหมดิลก ต่อมาศาลตัดสินว่าไม่มีความผิด พระเจ้าอยู่หัว จึงโปรดสถาปนาให้ดำรงสมณศักดิ์เดิม ส่วนตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสระเกศนั้น อยู่ในขั้นตอนเนินการ
    อนึ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 นั้น มีกรรมการมหาเถรสมาคมสามรูป ถูกถอดจากตำแหน่ง 2 รูปแรก คือพระพรหมดิลกและพรหมสิทธิ กรรมการมหาเถรสมาคมอีกรูปหนึ่งที่ถูกถอดจาก มส. เช่นกัน คือ พระพรหมเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดสัมพันธวงศ์ เยาวราช แต่ท่านหนีไปลี้ภัยที่ที่ประเทศเยอรมนี หลังจากถูกออกหมายจับ ข้อหาเดียวกับพระพรหมดิลก และพระพรหมสิทธิ
    ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของคณะสงฆ์ไทย คอลัมน์ สังฆานุสติ โดย บาสก ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2567 มีประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของคณะสงฆ์ไทย เกิดขึ้น อย่างน้อย 2 เรื่องใหญ่ คือ พระราชาคณะ ชั้นผู้ใหญ่ ระดับสมเด็จ พระราชาคณะและรองสมเด็จ ได้สมัครเข้าเรียนภาษาบาลีและเข้าสอบได้จนถึงเปรียญธรรม 9 ประโยค หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 มีบรมราชานุญาตให้พระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่สอบบาลีได้จากที่เคยถูกปิดกั้นมานาน พระบรมราชานุญาตนี้ทำให้การศึกษาภาษาบาลีคึกคักขึ้นทันที โดยสมเด็จพระธีรญาณมุนี(สมชาย) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส กรรมการมหาเถรสมาคม จบเปรียญธรรม 8 ประโยค เมื่อพ.ศ 2516 ได้สมัครเข้าเรียน ชั้นประโยค ป.ธ.9 ที่สำนักเรียนวัดมหาธาตุ โดยมีพระราชาคณะสมัครเข้าเรียนร่วมชั้น หลายรูป พระพรหมเสนาบดี หรือเจ้าคุณพิมพ์ พระราชาคณะระดับรองสมเด็จ เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา เจ้าคณะภาค 7 กรรมการมหาเถรสมาคม เปรียญธรรม 7 ปรระโยค (พ.ศ.2532) สมัครเรียนชั้น ป.ธ.8 ที่สำนักเรียนวัดมหาธาตุ และวัดสามพระยา ประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่ง เมื่อกรรมการมหาเถรสมาคม 2 รูป พร้อมใจกันลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ 2567 เพื่อเปิดทางให้พระเถระที่เคยครองตำแหน่งนี้ได้กลับมาครองตำแหน่งเดิม หลังจากถูกถอดจาก มส. ปี พ.ศ. 2561 กรรมการ มส. ที่ลาออก 1. พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ธมฺมธโร ป.ธ.7) ลาออกจากตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567 2. พระพรหมวัชรเมธี (สมเกียรติ โกวิโท ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ลาออกวันที่ 30 สิงหาคม 2567 กรรมการ มส. ที่ลาออก 1. พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ธมฺมธโร ป.ธ.7) ลาออกจากตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567 2. พระพรหมวัชรเมธี (สมเกียรติ โกวิโท ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ลาออกวันที่ 30 สิงหาคม 2567 การลาออกจาก มส. ของพระเถระทั้ง 2 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เนื่องจากในอดีตไม่เคยมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น (นอกจากถูกปลดออก ถูกถอด ไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นต่อหลังจากหมดวาระ 2 ปี และตาย) สาเหตุที่ลาออก ตามข่าวที่ประมวลได้นั้น ท่านว่า เพื่อเปิดโอกาสให้พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธัมโม ป.ธ.9) เจ้าอาวาส วัดสามพระยา (สดๆร้อนๆ) จะได้ดำรงรงตำแหน่งนี้แทน ทั้งนี้พระพรหมดิลก เคยครองตำแหน่งนี้ แต่ถูกถอดถอนเพราะถูกกล่าวหาว่าทำผิดหลายเรื่องเช่น เรื่องเงินทอนวัด เป็นต้น (เหตุเกิดเมื่อเดือน พฤษภาคม 2561) ต่อมาศาลตัดสินว่าไม่มีความผิด และพระเจ้าอยู่หัวโปรดสถาปนาให้ดำรงสมณศักดิ์เดิม รวมทั้งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสามพระยาตามเดิมด้วย ส่วนพระพรหมวัชรเมธี (โกวิท) ที่ลาออก ก็เป็นการเปิดทางให้พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) เข้ามาดำรงตำแหน่งตามเดิม ทั้งนี้ท่านเคยดำรงตำแหน่งดังกล่าว แต่ถูกถอดจากตำแหน่ง ในข้อหาคล้ายกับ พระพรหมดิลก ต่อมาศาลตัดสินว่าไม่มีความผิด พระเจ้าอยู่หัว จึงโปรดสถาปนาให้ดำรงสมณศักดิ์เดิม ส่วนตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสระเกศนั้น อยู่ในขั้นตอนเนินการ อนึ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 นั้น มีกรรมการมหาเถรสมาคมสามรูป ถูกถอดจากตำแหน่ง 2 รูปแรก คือพระพรหมดิลกและพรหมสิทธิ กรรมการมหาเถรสมาคมอีกรูปหนึ่งที่ถูกถอดจาก มส. เช่นกัน คือ พระพรหมเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดสัมพันธวงศ์ เยาวราช แต่ท่านหนีไปลี้ภัยที่ที่ประเทศเยอรมนี หลังจากถูกออกหมายจับ ข้อหาเดียวกับพระพรหมดิลก และพระพรหมสิทธิ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 326 มุมมอง 0 รีวิว
  • ธุระ ๒ อย่างในพระพุทธศาสนา
    พระศาสดาตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลวง
    ธุระมี ๒ อย่าง คือ คันถธุระและวิปัสสนาธุระ เท่านั้น"

    ที่ชื่อว่า คันถธุระ ได้แก่ การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี เรียนพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วจึงทรงไว้ กล่าวบอก พุทธวจนะนั้น
    ที่ชื่อว่า วิปัสสนาธุระ ได้แก่ การเริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมไว้ในอัตภาพ ทำวิปัสสนาให้เจริญ ด้วยอำนาจแห่งการติดต่อแล้วจึงถือเอาพระอรหัตของภิกษุผู้มีความประพฤติแคล่วคล่อง ยินดียิ่งแล้วในเสนาสนะที่สงัด

    …ที่มา : ธ.บ. 1 / 7 เรื่อง พระจักขุปาลเถระ….

    ขยายความเพิ่มเติม

    ความหมายของคันถธุระ คือ การศึกษาเล่าเรียน พระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกให้แตกฉานชำนาญในพระพุทธพจน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วจึงกล่าวสอนอุบาสก อุบาสิกา ให้รู้แจ้งเห็นจริงตามพระพุทธองค์ คันถธุระ เปรียบเหมือน แผนที่นำพาไปหา ขุมสมบัติ ฉะนั้น .

    ส่วนวิปัสสนาธุระ คือ การลงมือปฏิบัติพิจารณาให้เห็นทุกข์เห็นโทษในอัตภาพ แล้วจึงทำวิปัสสนาญาณให้บังเกิดเจริญด้วยการทำติดต่อพากเพียรปฏิบัติจนหมดกิเลสคือความเป็นพระอรหันต์(ถึงพระนิพพาน) วิปัสสนาธุระ เปรียบเหมือน
    การลงมือเดินทางไปตามแผนที่(คันถธุระ) ให้ถึงขุมสมบัติ คือ พระนิพพาน ๆ ประเสริฐกว่าสมบัติทั้งหมด ฉะนั้น .
    นักบวชไม่ควรทิ้งเรื่องของคันถธุระและวิปัสสนาธุระ เป็นเรื่องสำคัญในพระพุทธศานา จำเป็นต้องทำให้ได้ไม่ว่าจะทางโลกและทางธรรมจะต้องมีความคล่องตัวเสมอ .

    นักบวชทุกวันนี้บางพวก ไม่สนใจในธุระของพระพุทธศาสนา คือ ” คันถธุระและวิปัสสนาธุระ “
    มุ่งหมายเอาแต่ ลาภ ยศ สักการะ จากศรัทธาญาติโยม อุบาสก อุบาสิกา ยึดติดในยศถาบรรดาศักดิ์ดุจคฤหัสถ์ ยศถาบรรดาศักดิ์ที่ได้มาแล้วจึงควรจะนำมาใช้ในงานด้านพระพุทธศาสนา
    ส่งเสริมคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ให้บังเกิดผล ปฏิบัติจนหลุดพ้นจากกองทุกข์เข้าสู่ความเป็นพระอรหันต์ คือ เข้าสู่พระนิพพาน เพราะฉะนั้น
    นักบวชควรพิจารณายึดถือธุระ ๒ อย่างในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ทำให้เจริญตามสมควรแก่ปัญญาของตน

    เขียนโดย : พระมหาวรสถิตย์ นาถธมฺโม

    #พุทธโอวาท
    ธุระ ๒ อย่างในพระพุทธศาสนา พระศาสดาตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลวง ธุระมี ๒ อย่าง คือ คันถธุระและวิปัสสนาธุระ เท่านั้น" ที่ชื่อว่า คันถธุระ ได้แก่ การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี เรียนพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วจึงทรงไว้ กล่าวบอก พุทธวจนะนั้น ที่ชื่อว่า วิปัสสนาธุระ ได้แก่ การเริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมไว้ในอัตภาพ ทำวิปัสสนาให้เจริญ ด้วยอำนาจแห่งการติดต่อแล้วจึงถือเอาพระอรหัตของภิกษุผู้มีความประพฤติแคล่วคล่อง ยินดียิ่งแล้วในเสนาสนะที่สงัด …ที่มา : ธ.บ. 1 / 7 เรื่อง พระจักขุปาลเถระ…. ขยายความเพิ่มเติม ความหมายของคันถธุระ คือ การศึกษาเล่าเรียน พระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกให้แตกฉานชำนาญในพระพุทธพจน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วจึงกล่าวสอนอุบาสก อุบาสิกา ให้รู้แจ้งเห็นจริงตามพระพุทธองค์ คันถธุระ เปรียบเหมือน แผนที่นำพาไปหา ขุมสมบัติ ฉะนั้น . ส่วนวิปัสสนาธุระ คือ การลงมือปฏิบัติพิจารณาให้เห็นทุกข์เห็นโทษในอัตภาพ แล้วจึงทำวิปัสสนาญาณให้บังเกิดเจริญด้วยการทำติดต่อพากเพียรปฏิบัติจนหมดกิเลสคือความเป็นพระอรหันต์(ถึงพระนิพพาน) วิปัสสนาธุระ เปรียบเหมือน การลงมือเดินทางไปตามแผนที่(คันถธุระ) ให้ถึงขุมสมบัติ คือ พระนิพพาน ๆ ประเสริฐกว่าสมบัติทั้งหมด ฉะนั้น . นักบวชไม่ควรทิ้งเรื่องของคันถธุระและวิปัสสนาธุระ เป็นเรื่องสำคัญในพระพุทธศานา จำเป็นต้องทำให้ได้ไม่ว่าจะทางโลกและทางธรรมจะต้องมีความคล่องตัวเสมอ . นักบวชทุกวันนี้บางพวก ไม่สนใจในธุระของพระพุทธศาสนา คือ ” คันถธุระและวิปัสสนาธุระ “ มุ่งหมายเอาแต่ ลาภ ยศ สักการะ จากศรัทธาญาติโยม อุบาสก อุบาสิกา ยึดติดในยศถาบรรดาศักดิ์ดุจคฤหัสถ์ ยศถาบรรดาศักดิ์ที่ได้มาแล้วจึงควรจะนำมาใช้ในงานด้านพระพุทธศาสนา ส่งเสริมคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ให้บังเกิดผล ปฏิบัติจนหลุดพ้นจากกองทุกข์เข้าสู่ความเป็นพระอรหันต์ คือ เข้าสู่พระนิพพาน เพราะฉะนั้น นักบวชควรพิจารณายึดถือธุระ ๒ อย่างในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ทำให้เจริญตามสมควรแก่ปัญญาของตน เขียนโดย : พระมหาวรสถิตย์ นาถธมฺโม #พุทธโอวาท
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 510 มุมมอง 0 รีวิว
  • พุทธโอวาท ตอนอานิสงส์การให้ทาน ๕ ประการนี้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการนี้

    ๕ ประการนี้เป็นไฉน คือ

    ๑ ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนหมู่มาก

    ๒ สัปบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน

    ๓ กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อมขจรทั่วไป

    ๔ บุคคลผู้ให้ทานย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์

    ๕ บุคคลผู้ให้ทานเมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการนี้แล ฯ

    บุคคลผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของ
    สัปบุรุษ สัปบุรุษผู้สงบผู้สำรวมอินทรีย์ ประกอบพรหมจรรย์ ย่อมคบหาบุคคลผู้ให้ทานทุกเมื่อ

    สัปบุรุษเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์
    ทั้งปวงแก่เขา เขาได้ทราบชัดแล้ว ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ปรินิพพานในโลกนี้ ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง -ปญฺจก. อํ .๒๒/๓๕/๓๕

    พุทธโอวาท #พุทธโอวาท #คำสอนพระพุทธเจ้า #พระไตรปิฎก
    พุทธโอวาท ตอนอานิสงส์การให้ทาน ๕ ประการนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการนี้เป็นไฉน คือ ๑ ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนหมู่มาก ๒ สัปบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน ๓ กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อมขจรทั่วไป ๔ บุคคลผู้ให้ทานย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์ ๕ บุคคลผู้ให้ทานเมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการนี้แล ฯ บุคคลผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของ สัปบุรุษ สัปบุรุษผู้สงบผู้สำรวมอินทรีย์ ประกอบพรหมจรรย์ ย่อมคบหาบุคคลผู้ให้ทานทุกเมื่อ สัปบุรุษเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์ ทั้งปวงแก่เขา เขาได้ทราบชัดแล้ว ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ปรินิพพานในโลกนี้ ฯ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง -ปญฺจก. อํ .๒๒/๓๕/๓๕ พุทธโอวาท #พุทธโอวาท #คำสอนพระพุทธเจ้า #พระไตรปิฎก
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 421 มุมมอง 0 รีวิว
  • พุทธโอวาท ตอน กาลทานสูตร

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการนี้เป็นไฉน

    ๑ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน

    ๒ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป

    ๓ ทายกย่อมให้ทานในสมัยข้าวแพง

    ๔ ทายกย่อมให้ข้าวใหม่แก่ผู้มีศีล

    ๕ ทายกย่อมให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลทาน๕ ประการนี้แล

    บุคคลผู้มีปัญญา รู้ความประสงค์ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมให้ทานในกาลที่
    ควรให้ เพราะผู้ให้ทานตามกาลในพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติซื่อตรง
    ผู้มีใจคงที่ เป็นผู้มีใจผ่องใสทักขิณาทานจึงจะมีผลไพบูลย์

    ชนเหล่าใดย่อมอนุโมทนาหรือช่วยเหลือในทักขิณาทานนั้น ทักขิณาทานนั้นย่อมไม่มี
    ผลบกพร่อง เพราะการอนุโมทนาหรือการช่วยเหลือนั้นแม้พวกที่อนุโมทนา
    หรือช่วยเหลือ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญเพราะฉะนั้นบุคคลผู้มีจิตไม่ท้อถอยจึง
    ควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย
    ในปรโลก

    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง -ปญฺจก. อํ .๒๒/๓๖/๓๖
    พุทธโอวาท ตอน กาลทานสูตร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการนี้เป็นไฉน ๑ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน ๒ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป ๓ ทายกย่อมให้ทานในสมัยข้าวแพง ๔ ทายกย่อมให้ข้าวใหม่แก่ผู้มีศีล ๕ ทายกย่อมให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลทาน๕ ประการนี้แล บุคคลผู้มีปัญญา รู้ความประสงค์ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมให้ทานในกาลที่ ควรให้ เพราะผู้ให้ทานตามกาลในพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติซื่อตรง ผู้มีใจคงที่ เป็นผู้มีใจผ่องใสทักขิณาทานจึงจะมีผลไพบูลย์ ชนเหล่าใดย่อมอนุโมทนาหรือช่วยเหลือในทักขิณาทานนั้น ทักขิณาทานนั้นย่อมไม่มี ผลบกพร่อง เพราะการอนุโมทนาหรือการช่วยเหลือนั้นแม้พวกที่อนุโมทนา หรือช่วยเหลือ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญเพราะฉะนั้นบุคคลผู้มีจิตไม่ท้อถอยจึง ควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ในปรโลก พระไตรปิฎก ฉบับหลวง -ปญฺจก. อํ .๒๒/๓๖/๓๖
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 407 มุมมอง 0 รีวิว
เรื่องราวเพิ่มเติม