• พุทธโอวาท ตอนพุทธวิธีทำลายความง่วง

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าเภสกลา มิคทายวันใกล้สุงสุมาร
    คีรนคร แคว้นภัคคะ ก็สมัยนั้นแล ท่านมหาโมคคัลลานะนั่งโงกง่วงอยู่ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม
    แคว้นมคธ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งโงกง่วงอยู่ ณ บ้าน
    กัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ครั้นแล้วทรงหายจาก
    เภสกลามิคทายวันใกล้สุงสุมารคีรนคร แคว้นภัคคะ เสด็จไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านพระมหา
    โมคคัลลานะ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้
    หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้ว ครั้นแล้วได้ตรัส
    ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ
    ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

    ดูก่อนโมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไรอยู่ ความง่วงนั้นย่อม
    ครอบงำได้ เธอพึงทำไว้ในใจซึ่งสัญญานั้นให้มาก ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้
    ถ้าเธอยังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงตรึกตรองพิจารณาถึงธรรมตามที่ตนได้สดับแล้ว ได้เรียนมาแล้ว
    ด้วยใจ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสาธยายธรรมตาม
    ที่ตนได้สดับมาแล้วได้เรียนมาแล้วโดยพิสดาร ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายัง
    ละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงยอนช่องหูทั้งสองข้าง เอามือลูบตัว ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วง
    นั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาว
    สามารถอ่านต่อที่เว็บบอร์ดพระนิพพาน
    https://www.thenirvanalive.com/2024/09/13/%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B9%88/
    พุทธโอวาท ตอนพุทธวิธีทำลายความง่วง สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าเภสกลา มิคทายวันใกล้สุงสุมาร คีรนคร แคว้นภัคคะ ก็สมัยนั้นแล ท่านมหาโมคคัลลานะนั่งโงกง่วงอยู่ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งโงกง่วงอยู่ ณ บ้าน กัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ครั้นแล้วทรงหายจาก เภสกลามิคทายวันใกล้สุงสุมารคีรนคร แคว้นภัคคะ เสด็จไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านพระมหา โมคคัลลานะ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้ว ครั้นแล้วได้ตรัส ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ ดูก่อนโมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไรอยู่ ความง่วงนั้นย่อม ครอบงำได้ เธอพึงทำไว้ในใจซึ่งสัญญานั้นให้มาก ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้าเธอยังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงตรึกตรองพิจารณาถึงธรรมตามที่ตนได้สดับแล้ว ได้เรียนมาแล้ว ด้วยใจ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสาธยายธรรมตาม ที่ตนได้สดับมาแล้วได้เรียนมาแล้วโดยพิสดาร ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายัง ละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงยอนช่องหูทั้งสองข้าง เอามือลูบตัว ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วง นั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาว สามารถอ่านต่อที่เว็บบอร์ดพระนิพพาน https://www.thenirvanalive.com/2024/09/13/%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B9%88/
    0 Comments 2 Shares 191 Views 0 Reviews
  • พุทธโอวาท ตอน อเนญชสัปปายสูตร

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมชื่อกัมมาสธรรม ของชาวกุรุในแคว้นกุรุสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว

    พระมีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามไม่เที่ยง เป็นของว่าง
    เปล่า เลือนหายไปเป็นธรรมดา ลักษณะของกามดังนี้ ได้ทำความล่อลวงเป็นที่บ่นถึงของคน
    พาล กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
    ทั้ง ๒ อย่างนี้ เป็นบ่วงแห่งมาร เป็นแดนแห่ง มาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นที่หากินของมาร
    ในกามนี้ ย่อมมีอกุศลลามกเหล่านี้เกิดที่ใจคือ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะบ้าง เป็นไป
    กามนั่นเอง ย่อม เกิดเพื่อเป็นอันตรายแก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้

    สามารถอ่านศึกษาต่อที่เว็บไซต์พระนิพพาน

    https://www.thenirvanalive.com/2024/09/05/พทธโอวาท-อเนญชสปปายสตร/

    #พุทธโอวาท
    พุทธโอวาท ตอน อเนญชสัปปายสูตร สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมชื่อกัมมาสธรรม ของชาวกุรุในแคว้นกุรุสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระมีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามไม่เที่ยง เป็นของว่าง เปล่า เลือนหายไปเป็นธรรมดา ลักษณะของกามดังนี้ ได้ทำความล่อลวงเป็นที่บ่นถึงของคน พาล กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า ทั้ง ๒ อย่างนี้ เป็นบ่วงแห่งมาร เป็นแดนแห่ง มาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นที่หากินของมาร ในกามนี้ ย่อมมีอกุศลลามกเหล่านี้เกิดที่ใจคือ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะบ้าง เป็นไป กามนั่นเอง ย่อม เกิดเพื่อเป็นอันตรายแก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้ สามารถอ่านศึกษาต่อที่เว็บไซต์พระนิพพาน https://www.thenirvanalive.com/2024/09/05/พทธโอวาท-อเนญชสปปายสตร/ #พุทธโอวาท
    Like
    1
    0 Comments 1 Shares 260 Views 0 Reviews
  • “มนุญฺญเมว ภาเสยฺย นามนุญฺญํ กุทาจนํ

    แปลความว่า

    บุคคล ควรพูดคำที่เจริญใจเท่านั้น ไม่ควรพูด
    คำที่ไม่เจริญใจในกาลไหน "

    #พุทธโอวาท
    “มนุญฺญเมว ภาเสยฺย นามนุญฺญํ กุทาจนํ แปลความว่า บุคคล ควรพูดคำที่เจริญใจเท่านั้น ไม่ควรพูด คำที่ไม่เจริญใจในกาลไหน " #พุทธโอวาท
    0 Comments 1 Shares 210 Views 0 Reviews
  • ธุระ ๒ อย่างในพระพุทธศาสนา
    พระศาสดาตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลวง
    ธุระมี ๒ อย่าง คือ คันถธุระและวิปัสสนาธุระ เท่านั้น"

    ที่ชื่อว่า คันถธุระ ได้แก่ การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี เรียนพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วจึงทรงไว้ กล่าวบอก พุทธวจนะนั้น
    ที่ชื่อว่า วิปัสสนาธุระ ได้แก่ การเริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมไว้ในอัตภาพ ทำวิปัสสนาให้เจริญ ด้วยอำนาจแห่งการติดต่อแล้วจึงถือเอาพระอรหัตของภิกษุผู้มีความประพฤติแคล่วคล่อง ยินดียิ่งแล้วในเสนาสนะที่สงัด

    …ที่มา : ธ.บ. 1 / 7 เรื่อง พระจักขุปาลเถระ….

    ขยายความเพิ่มเติม

    ความหมายของคันถธุระ คือ การศึกษาเล่าเรียน พระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกให้แตกฉานชำนาญในพระพุทธพจน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วจึงกล่าวสอนอุบาสก อุบาสิกา ให้รู้แจ้งเห็นจริงตามพระพุทธองค์ คันถธุระ เปรียบเหมือน แผนที่นำพาไปหา ขุมสมบัติ ฉะนั้น .

    ส่วนวิปัสสนาธุระ คือ การลงมือปฏิบัติพิจารณาให้เห็นทุกข์เห็นโทษในอัตภาพ แล้วจึงทำวิปัสสนาญาณให้บังเกิดเจริญด้วยการทำติดต่อพากเพียรปฏิบัติจนหมดกิเลสคือความเป็นพระอรหันต์(ถึงพระนิพพาน) วิปัสสนาธุระ เปรียบเหมือน
    การลงมือเดินทางไปตามแผนที่(คันถธุระ) ให้ถึงขุมสมบัติ คือ พระนิพพาน ๆ ประเสริฐกว่าสมบัติทั้งหมด ฉะนั้น .
    นักบวชไม่ควรทิ้งเรื่องของคันถธุระและวิปัสสนาธุระ เป็นเรื่องสำคัญในพระพุทธศานา จำเป็นต้องทำให้ได้ไม่ว่าจะทางโลกและทางธรรมจะต้องมีความคล่องตัวเสมอ .

    นักบวชทุกวันนี้บางพวก ไม่สนใจในธุระของพระพุทธศาสนา คือ ” คันถธุระและวิปัสสนาธุระ “
    มุ่งหมายเอาแต่ ลาภ ยศ สักการะ จากศรัทธาญาติโยม อุบาสก อุบาสิกา ยึดติดในยศถาบรรดาศักดิ์ดุจคฤหัสถ์ ยศถาบรรดาศักดิ์ที่ได้มาแล้วจึงควรจะนำมาใช้ในงานด้านพระพุทธศาสนา
    ส่งเสริมคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ให้บังเกิดผล ปฏิบัติจนหลุดพ้นจากกองทุกข์เข้าสู่ความเป็นพระอรหันต์ คือ เข้าสู่พระนิพพาน เพราะฉะนั้น
    นักบวชควรพิจารณายึดถือธุระ ๒ อย่างในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ทำให้เจริญตามสมควรแก่ปัญญาของตน

    เขียนโดย : พระมหาวรสถิตย์ นาถธมฺโม

    #พุทธโอวาท
    ธุระ ๒ อย่างในพระพุทธศาสนา พระศาสดาตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลวง ธุระมี ๒ อย่าง คือ คันถธุระและวิปัสสนาธุระ เท่านั้น" ที่ชื่อว่า คันถธุระ ได้แก่ การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี เรียนพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วจึงทรงไว้ กล่าวบอก พุทธวจนะนั้น ที่ชื่อว่า วิปัสสนาธุระ ได้แก่ การเริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมไว้ในอัตภาพ ทำวิปัสสนาให้เจริญ ด้วยอำนาจแห่งการติดต่อแล้วจึงถือเอาพระอรหัตของภิกษุผู้มีความประพฤติแคล่วคล่อง ยินดียิ่งแล้วในเสนาสนะที่สงัด …ที่มา : ธ.บ. 1 / 7 เรื่อง พระจักขุปาลเถระ…. ขยายความเพิ่มเติม ความหมายของคันถธุระ คือ การศึกษาเล่าเรียน พระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกให้แตกฉานชำนาญในพระพุทธพจน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วจึงกล่าวสอนอุบาสก อุบาสิกา ให้รู้แจ้งเห็นจริงตามพระพุทธองค์ คันถธุระ เปรียบเหมือน แผนที่นำพาไปหา ขุมสมบัติ ฉะนั้น . ส่วนวิปัสสนาธุระ คือ การลงมือปฏิบัติพิจารณาให้เห็นทุกข์เห็นโทษในอัตภาพ แล้วจึงทำวิปัสสนาญาณให้บังเกิดเจริญด้วยการทำติดต่อพากเพียรปฏิบัติจนหมดกิเลสคือความเป็นพระอรหันต์(ถึงพระนิพพาน) วิปัสสนาธุระ เปรียบเหมือน การลงมือเดินทางไปตามแผนที่(คันถธุระ) ให้ถึงขุมสมบัติ คือ พระนิพพาน ๆ ประเสริฐกว่าสมบัติทั้งหมด ฉะนั้น . นักบวชไม่ควรทิ้งเรื่องของคันถธุระและวิปัสสนาธุระ เป็นเรื่องสำคัญในพระพุทธศานา จำเป็นต้องทำให้ได้ไม่ว่าจะทางโลกและทางธรรมจะต้องมีความคล่องตัวเสมอ . นักบวชทุกวันนี้บางพวก ไม่สนใจในธุระของพระพุทธศาสนา คือ ” คันถธุระและวิปัสสนาธุระ “ มุ่งหมายเอาแต่ ลาภ ยศ สักการะ จากศรัทธาญาติโยม อุบาสก อุบาสิกา ยึดติดในยศถาบรรดาศักดิ์ดุจคฤหัสถ์ ยศถาบรรดาศักดิ์ที่ได้มาแล้วจึงควรจะนำมาใช้ในงานด้านพระพุทธศาสนา ส่งเสริมคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ให้บังเกิดผล ปฏิบัติจนหลุดพ้นจากกองทุกข์เข้าสู่ความเป็นพระอรหันต์ คือ เข้าสู่พระนิพพาน เพราะฉะนั้น นักบวชควรพิจารณายึดถือธุระ ๒ อย่างในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ทำให้เจริญตามสมควรแก่ปัญญาของตน เขียนโดย : พระมหาวรสถิตย์ นาถธมฺโม #พุทธโอวาท
    0 Comments 1 Shares 322 Views 0 Reviews
  • พุทธโอวาท ตอนอานิสงส์การให้ทาน ๕ ประการนี้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการนี้

    ๕ ประการนี้เป็นไฉน คือ

    ๑ ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนหมู่มาก

    ๒ สัปบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน

    ๓ กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อมขจรทั่วไป

    ๔ บุคคลผู้ให้ทานย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์

    ๕ บุคคลผู้ให้ทานเมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการนี้แล ฯ

    บุคคลผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของ
    สัปบุรุษ สัปบุรุษผู้สงบผู้สำรวมอินทรีย์ ประกอบพรหมจรรย์ ย่อมคบหาบุคคลผู้ให้ทานทุกเมื่อ

    สัปบุรุษเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์
    ทั้งปวงแก่เขา เขาได้ทราบชัดแล้ว ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ปรินิพพานในโลกนี้ ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง -ปญฺจก. อํ .๒๒/๓๕/๓๕

    พุทธโอวาท #พุทธโอวาท #คำสอนพระพุทธเจ้า #พระไตรปิฎก
    พุทธโอวาท ตอนอานิสงส์การให้ทาน ๕ ประการนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการนี้เป็นไฉน คือ ๑ ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนหมู่มาก ๒ สัปบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน ๓ กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อมขจรทั่วไป ๔ บุคคลผู้ให้ทานย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์ ๕ บุคคลผู้ให้ทานเมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการนี้แล ฯ บุคคลผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของ สัปบุรุษ สัปบุรุษผู้สงบผู้สำรวมอินทรีย์ ประกอบพรหมจรรย์ ย่อมคบหาบุคคลผู้ให้ทานทุกเมื่อ สัปบุรุษเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์ ทั้งปวงแก่เขา เขาได้ทราบชัดแล้ว ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ปรินิพพานในโลกนี้ ฯ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง -ปญฺจก. อํ .๒๒/๓๕/๓๕ พุทธโอวาท #พุทธโอวาท #คำสอนพระพุทธเจ้า #พระไตรปิฎก
    Like
    1
    0 Comments 1 Shares 253 Views 0 Reviews
  • พุทธโอวาท ตอน กาลทานสูตร

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการนี้เป็นไฉน

    ๑ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน

    ๒ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป

    ๓ ทายกย่อมให้ทานในสมัยข้าวแพง

    ๔ ทายกย่อมให้ข้าวใหม่แก่ผู้มีศีล

    ๕ ทายกย่อมให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลทาน๕ ประการนี้แล

    บุคคลผู้มีปัญญา รู้ความประสงค์ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมให้ทานในกาลที่
    ควรให้ เพราะผู้ให้ทานตามกาลในพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติซื่อตรง
    ผู้มีใจคงที่ เป็นผู้มีใจผ่องใสทักขิณาทานจึงจะมีผลไพบูลย์

    ชนเหล่าใดย่อมอนุโมทนาหรือช่วยเหลือในทักขิณาทานนั้น ทักขิณาทานนั้นย่อมไม่มี
    ผลบกพร่อง เพราะการอนุโมทนาหรือการช่วยเหลือนั้นแม้พวกที่อนุโมทนา
    หรือช่วยเหลือ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญเพราะฉะนั้นบุคคลผู้มีจิตไม่ท้อถอยจึง
    ควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย
    ในปรโลก

    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง -ปญฺจก. อํ .๒๒/๓๖/๓๖
    พุทธโอวาท ตอน กาลทานสูตร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการนี้เป็นไฉน ๑ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน ๒ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป ๓ ทายกย่อมให้ทานในสมัยข้าวแพง ๔ ทายกย่อมให้ข้าวใหม่แก่ผู้มีศีล ๕ ทายกย่อมให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลทาน๕ ประการนี้แล บุคคลผู้มีปัญญา รู้ความประสงค์ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมให้ทานในกาลที่ ควรให้ เพราะผู้ให้ทานตามกาลในพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติซื่อตรง ผู้มีใจคงที่ เป็นผู้มีใจผ่องใสทักขิณาทานจึงจะมีผลไพบูลย์ ชนเหล่าใดย่อมอนุโมทนาหรือช่วยเหลือในทักขิณาทานนั้น ทักขิณาทานนั้นย่อมไม่มี ผลบกพร่อง เพราะการอนุโมทนาหรือการช่วยเหลือนั้นแม้พวกที่อนุโมทนา หรือช่วยเหลือ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญเพราะฉะนั้นบุคคลผู้มีจิตไม่ท้อถอยจึง ควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ในปรโลก พระไตรปิฎก ฉบับหลวง -ปญฺจก. อํ .๒๒/๓๖/๓๖
    Love
    1
    0 Comments 1 Shares 272 Views 0 Reviews