• #รวมคำสอนผิด คน…ธรรม (จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด...)

    1. พระอรหันต์ฆ่าตัวตาย ทำการุณยฆาต❌
    ที่ถูกคือ>> พระอรหันต์ไม่ฆ่าตัวตาย
    สมดังคำที่พระสารีบุตรกล่าวว่า
    เราไม่ยินดีความตาย
    ไม่ปรารถนาความเป็น
    แต่เรารอเวลาแตกดับ (ปรินิพพาน)
    เหมือนลูกจ้างรอค่าจ้างฉะนั้น.
    และการุณยฆาตไม่ใช่การฆ่าตัวเอง

    2. พระพุทธเจ้าไม่เคยใช้กุศโลบาย❌
    ที่ถูกคือ>> พระพุทธเจ้าเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ด้วยอุบายเครื่องแนะนำอย่างวิจิตร มีอาฬวกยักษ์เป็นต้น. แม้คำสอนทั้งหมดก็มีอุบายสอน เช่นอุบายเครื่องสงบจิต.

    3. พุทธคุณในพระเครื่องไม่มี❌
    ที่ถูกคือ>> พุทธคุณในพระเครื่องมีทั้งมีและไม่มี ที่มีเพราะเหตุปัจจัยถึงพร้อม คือ ผู้สวดพระปริตรมีศีล ไม่มีความโลภอยากได้ลาภสักการะ สวดด้วยความอนุเคราะห์ ด้วยศรัทธา บาลีไม่ผิดเพี้ยน ย่อมมีอานุภาพ/ ส่วนที่ไม่มีอานุภาพก็ตรงกันข้ามกัน (ตัวอย่างตั่ง(ที่นั่ง)ที่พระองคุลิมาลนั่งทำสัจกิริยา ก็มีอานุภาพตลอดกัป)

    4. พระปริตรป้องกันภัยไม่ได้
    พระปริตรขัดกับหลักกรรมและสุขทุกข์ไม่มีใครบันดาล❌
    ที่ถูกคือ >> กรรมและสุขทุกข์ไม่มีใครบันดาลนั้นหมายความว่า “สุขทุกข์ไม่ได้เกิดจากพระผู้สร้าง เช่นพระอิศวรนิรมิต” / พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธพระผู้สร้าง เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งเหตุและปัจจัย ไม่ได้เกิดขึ้นเองลอยๆหรือใครบันดาล >> พระปริตรเป็นกุศลกรรม ไม่ใช่ใครบันดาล แต่เกิดจากกรรมในปัจจุบัน ที่บุคคลนั้นได้กล่าวสัจจกิริยา หรือ สวดพระปริตร ซึ่งเป็นกุศลที่ให้ผลในปัจจุบัน ตามหลักแห่งกรรม เป็น ทิฐธรรมเวทนียกรรม
    >> และพระปริตรก็มีเหตุปัจจัยอื่นเป็นตัวแปรที่ให้ผลไม่ได้ทุกคน จึงแทนโรงพยาบาลไม่ได้ แต่ผู้มีศรัทธา ไม่ทำกรรมหนัก ไม่สวดด้วยกิเลส และยังไม่หมดอายุขัย พระปริตรย่อมช่วยได้.

    5. สร้างศาลาใหญ่ไว้ให้หมานอนเกาขี้กาก❌ ที่ถูกคือ ทำบุญในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้มีคุณหาประมาณมิได้ ไม่ควรกำหนดว่าเท่านั้นเท่านี้ มีตัวอย่างพระลกุณฏกะ ในอดีตท่านแนะนำชาวบ้านให้สร้างเจดีย์จากใหญ่ให้เหลือเล็กลง ด้วยวิบากกรรมนั้นท่านจึงเกิดมาตัวเล็กเตี้ยเหมือนสามเณร

    6. บวชพระ, บวชตามประเพณี, บวชหน้าไฟ ไม่เป็นการทดแทนบุญคุณพ่อแม่❌ ที่ถูกคือ>> การบวชแม้ไม่ใช่การทดแทนคุณพ่อแม่สูงสุด แต่ก็เป็นการทดแทนคุณได้ เพราะการบวชทำให้พ่อแม่เกิดกุศลจิต พ่อแม่ได้ทำบุญใส่บาตรพระลูกชายเป็นต้น การทำให้พ่อแม่เกิดกุศลจิตได้ เป็นการทดแทนคุณอย่างหนึ่ง

    7. สัมภเวสี คือช่วงรออัตภาพการเกิด คือเวลาที่กายแตกตายแต่สี่ขันธ์ยังยึดรูปอยู่ยังรู้อยู่เรียกช่วงนี้ว่าสัมภเวสี❌ ที่ถูกคือ >> สัมภเวสี คือ ผู้ที่แสวงหาที่เกิด, ผู้ที่ยังต้องเกิด คือ พระเสขะและปุถุชน ยกเว้นพระอรหันต์ เพราะยังละภวสังโยชน์ยังไม่ได้.
    👉 สัมภเวสี ตามนัยแห่งกำเนิด 4 คือ
    1. เกิดในไข่ (ขณะอยู่ในไข่ เรียกสัมภเวสี ออกจากไข่ได้แล้วเรียกว่าภูต คือเกิดแล้ว)
    2. เกิดในครรภ์ (ขณะอยู่ในรก เรียกสัมภเวสี คลอดออกมาแล้วเรียกว่าภูต คือเกิดแล้ว)
    3. เกิดในเถ้าไคล และ 4. เกิดแบบผุดเกิด
    (ขณะแห่งปฐมจิต เรียกสัมภเวสี
    ขณะแห่งจิตดวงที่สอง ชื่อว่าภูต คือเกิดแล้ว)
    มาใน : อรรถกถาเมตตสูตร

    8. อมตะธาตุยึดขันธ์ห้า❌
    ที่ถูกคือ>> อมตะธาตุยึดขันธ์๕ไม่ได้
    เพราะอมตะธาตุคือนิพพาน

    9. โสดาปัตติมรรค ละสังโยชน์ข้อแรก
    โสดาปัตติผล ละสังโยชน์อีกสองข้อ❌
    ที่ถูกคือ>> โสดาปัตติมัคคจิต เป็นจิตที่ประหาณจิตโลภที่เป็นทิฏฐิสัมปยุตต ๔ ดวง และโมหมูลจิตที่เป็นวิจิกิจฉาสัมปยุตต ๑ ดวง อย่างเด็ดขาด เป็นสมุจเฉทประหาณ รวมประหาณ อกุศลจิต ๕ ดวง เด็ดขาด /โสดาปัตติผลจิต เป็นจิตที่เกิดขึ้นเพื่อเสวยสุขจากการที่โสดาปัตติมรรคญาณได้ทำการประหาณแล้ว

    10. ลอยกระทง ไปขอขมาทำไมแม่น้ำ ไปทะเลาะกับแม่น้ำเหรอจึงต้องขอขมา / วันลอยกระทงตามหลักคำสอนพระพุทธเจ้าคือวันดอกโกมุทบาน❌
    ที่ถูกคือ>> การรู้คุณแม่น้ำถือว่าเป็นผู้รู้คุณในสรรพสิ่ง สมดังคำที่พระองค์ตรัสว่า "บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่พึงหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม" ดังนั้นสิ่งที่มีอุปการะแก่ชีวิตเราล้วนมีคุณเพียงแค่เราจะเห็นคุณนั้นหรือไม่ ส่วนน้ำนั้นคนโบราณเห็นว่าใช้น้ำมาทั้งปี ทำไร่ ทำนา ใช้ชำระกายทั้งดื่มกิน เขาก็ระลึกรู้คุณเป็นพิเศษ ก็ถือได้ว่าเขาเป็นคนดีเลยทีเดียว
    / และวันลอยกระทงตามหลักคำสอนพระพุทธเจ้าคือวันดอกโกมุทบาน❌ ไม่ควรกล่าวอ้างอย่างนั้น เพราะดอกโกมุทบานเป็นเพียงคำขยายของพระจันทร์ เพราะวันนั้นเป็นวันพระจันทร์เต็มดวงในฤดูฝน ดอกโกมุทบานก็บานทั้งฤดูอยู่แล้ว ดอกโกมุทบานเป็นเพียงผู้ร่วมงาน ประธานคือพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้นจึงไม่ควรเอาแขกร่วมงานมาตั้งชื้อวัน

    11. ใครแย้งว่าสอนผิด จะอ้างว่าเขาอิจฉาริษยา❌
    ที่ถูกคือ>> ผู้ชี้โทษ ไม่ใช่เพราะอิจฉาริษยา แต่เป็นการติเตียนตามธรรม เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาไม่ให้ใครมาบิดเบือน / ทราบว่าที่คุณพูดเอามาจากสักกปัญหาสูตร
    ท้าวสักกะได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “ทำไมสัตว์ทั้งหลายมีความปรารถนาไม่มีเวร ไม่ถูกเบียดเบียนฯลฯ แต่เพราะอะไรพวกเขาจึงยังคงมีเวร ถูกเบียดเบียนอยู่”
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ”เพราะมีอิสสา(ความริษยา) และมัจฉริยะ(ความตระหนี่) สัตว์ทั้งหลายจึงจองเวรกัน เบียดเบียนกัน ซึ่งท่านใช้สูตรนี้มาสอนลูกศิษย์ และลูกศิษย์ก็เที่ยวไปว่าคนเห็นต่างว่าอิจฉาริษยาอาจารย์เขา /ทำไมคุณไม่ใช้สูตรผู้ชี้โทษคือผู้ชี้ขุมทรัพย์มาสอน.

    ✍️ที่สอนถูกก็มี ผิดก็ควรแก้ไข
    หวังว่าท่านจะระวังในการสอนมากขึ้น

    #แค่ผ่านตา แต่ก็อดไม่ได้ที่จะต้องชี้แจง
    >> ผู้เขียน : โลก กะ ธรรม กับม่อน

    Credit : เปรมวดี ก๋งชิน
    #รวมคำสอนผิด คน…ธรรม (จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด...) 1. พระอรหันต์ฆ่าตัวตาย ทำการุณยฆาต❌ ที่ถูกคือ>> พระอรหันต์ไม่ฆ่าตัวตาย สมดังคำที่พระสารีบุตรกล่าวว่า เราไม่ยินดีความตาย ไม่ปรารถนาความเป็น แต่เรารอเวลาแตกดับ (ปรินิพพาน) เหมือนลูกจ้างรอค่าจ้างฉะนั้น. และการุณยฆาตไม่ใช่การฆ่าตัวเอง 2. พระพุทธเจ้าไม่เคยใช้กุศโลบาย❌ ที่ถูกคือ>> พระพุทธเจ้าเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ด้วยอุบายเครื่องแนะนำอย่างวิจิตร มีอาฬวกยักษ์เป็นต้น. แม้คำสอนทั้งหมดก็มีอุบายสอน เช่นอุบายเครื่องสงบจิต. 3. พุทธคุณในพระเครื่องไม่มี❌ ที่ถูกคือ>> พุทธคุณในพระเครื่องมีทั้งมีและไม่มี ที่มีเพราะเหตุปัจจัยถึงพร้อม คือ ผู้สวดพระปริตรมีศีล ไม่มีความโลภอยากได้ลาภสักการะ สวดด้วยความอนุเคราะห์ ด้วยศรัทธา บาลีไม่ผิดเพี้ยน ย่อมมีอานุภาพ/ ส่วนที่ไม่มีอานุภาพก็ตรงกันข้ามกัน (ตัวอย่างตั่ง(ที่นั่ง)ที่พระองคุลิมาลนั่งทำสัจกิริยา ก็มีอานุภาพตลอดกัป) 4. พระปริตรป้องกันภัยไม่ได้ พระปริตรขัดกับหลักกรรมและสุขทุกข์ไม่มีใครบันดาล❌ ที่ถูกคือ >> กรรมและสุขทุกข์ไม่มีใครบันดาลนั้นหมายความว่า “สุขทุกข์ไม่ได้เกิดจากพระผู้สร้าง เช่นพระอิศวรนิรมิต” / พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธพระผู้สร้าง เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งเหตุและปัจจัย ไม่ได้เกิดขึ้นเองลอยๆหรือใครบันดาล >> พระปริตรเป็นกุศลกรรม ไม่ใช่ใครบันดาล แต่เกิดจากกรรมในปัจจุบัน ที่บุคคลนั้นได้กล่าวสัจจกิริยา หรือ สวดพระปริตร ซึ่งเป็นกุศลที่ให้ผลในปัจจุบัน ตามหลักแห่งกรรม เป็น ทิฐธรรมเวทนียกรรม >> และพระปริตรก็มีเหตุปัจจัยอื่นเป็นตัวแปรที่ให้ผลไม่ได้ทุกคน จึงแทนโรงพยาบาลไม่ได้ แต่ผู้มีศรัทธา ไม่ทำกรรมหนัก ไม่สวดด้วยกิเลส และยังไม่หมดอายุขัย พระปริตรย่อมช่วยได้. 5. สร้างศาลาใหญ่ไว้ให้หมานอนเกาขี้กาก❌ ที่ถูกคือ ทำบุญในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้มีคุณหาประมาณมิได้ ไม่ควรกำหนดว่าเท่านั้นเท่านี้ มีตัวอย่างพระลกุณฏกะ ในอดีตท่านแนะนำชาวบ้านให้สร้างเจดีย์จากใหญ่ให้เหลือเล็กลง ด้วยวิบากกรรมนั้นท่านจึงเกิดมาตัวเล็กเตี้ยเหมือนสามเณร 6. บวชพระ, บวชตามประเพณี, บวชหน้าไฟ ไม่เป็นการทดแทนบุญคุณพ่อแม่❌ ที่ถูกคือ>> การบวชแม้ไม่ใช่การทดแทนคุณพ่อแม่สูงสุด แต่ก็เป็นการทดแทนคุณได้ เพราะการบวชทำให้พ่อแม่เกิดกุศลจิต พ่อแม่ได้ทำบุญใส่บาตรพระลูกชายเป็นต้น การทำให้พ่อแม่เกิดกุศลจิตได้ เป็นการทดแทนคุณอย่างหนึ่ง 7. สัมภเวสี คือช่วงรออัตภาพการเกิด คือเวลาที่กายแตกตายแต่สี่ขันธ์ยังยึดรูปอยู่ยังรู้อยู่เรียกช่วงนี้ว่าสัมภเวสี❌ ที่ถูกคือ >> สัมภเวสี คือ ผู้ที่แสวงหาที่เกิด, ผู้ที่ยังต้องเกิด คือ พระเสขะและปุถุชน ยกเว้นพระอรหันต์ เพราะยังละภวสังโยชน์ยังไม่ได้. 👉 สัมภเวสี ตามนัยแห่งกำเนิด 4 คือ 1. เกิดในไข่ (ขณะอยู่ในไข่ เรียกสัมภเวสี ออกจากไข่ได้แล้วเรียกว่าภูต คือเกิดแล้ว) 2. เกิดในครรภ์ (ขณะอยู่ในรก เรียกสัมภเวสี คลอดออกมาแล้วเรียกว่าภูต คือเกิดแล้ว) 3. เกิดในเถ้าไคล และ 4. เกิดแบบผุดเกิด (ขณะแห่งปฐมจิต เรียกสัมภเวสี ขณะแห่งจิตดวงที่สอง ชื่อว่าภูต คือเกิดแล้ว) มาใน : อรรถกถาเมตตสูตร 8. อมตะธาตุยึดขันธ์ห้า❌ ที่ถูกคือ>> อมตะธาตุยึดขันธ์๕ไม่ได้ เพราะอมตะธาตุคือนิพพาน 9. โสดาปัตติมรรค ละสังโยชน์ข้อแรก โสดาปัตติผล ละสังโยชน์อีกสองข้อ❌ ที่ถูกคือ>> โสดาปัตติมัคคจิต เป็นจิตที่ประหาณจิตโลภที่เป็นทิฏฐิสัมปยุตต ๔ ดวง และโมหมูลจิตที่เป็นวิจิกิจฉาสัมปยุตต ๑ ดวง อย่างเด็ดขาด เป็นสมุจเฉทประหาณ รวมประหาณ อกุศลจิต ๕ ดวง เด็ดขาด /โสดาปัตติผลจิต เป็นจิตที่เกิดขึ้นเพื่อเสวยสุขจากการที่โสดาปัตติมรรคญาณได้ทำการประหาณแล้ว 10. ลอยกระทง ไปขอขมาทำไมแม่น้ำ ไปทะเลาะกับแม่น้ำเหรอจึงต้องขอขมา / วันลอยกระทงตามหลักคำสอนพระพุทธเจ้าคือวันดอกโกมุทบาน❌ ที่ถูกคือ>> การรู้คุณแม่น้ำถือว่าเป็นผู้รู้คุณในสรรพสิ่ง สมดังคำที่พระองค์ตรัสว่า "บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่พึงหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม" ดังนั้นสิ่งที่มีอุปการะแก่ชีวิตเราล้วนมีคุณเพียงแค่เราจะเห็นคุณนั้นหรือไม่ ส่วนน้ำนั้นคนโบราณเห็นว่าใช้น้ำมาทั้งปี ทำไร่ ทำนา ใช้ชำระกายทั้งดื่มกิน เขาก็ระลึกรู้คุณเป็นพิเศษ ก็ถือได้ว่าเขาเป็นคนดีเลยทีเดียว / และวันลอยกระทงตามหลักคำสอนพระพุทธเจ้าคือวันดอกโกมุทบาน❌ ไม่ควรกล่าวอ้างอย่างนั้น เพราะดอกโกมุทบานเป็นเพียงคำขยายของพระจันทร์ เพราะวันนั้นเป็นวันพระจันทร์เต็มดวงในฤดูฝน ดอกโกมุทบานก็บานทั้งฤดูอยู่แล้ว ดอกโกมุทบานเป็นเพียงผู้ร่วมงาน ประธานคือพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้นจึงไม่ควรเอาแขกร่วมงานมาตั้งชื้อวัน 11. ใครแย้งว่าสอนผิด จะอ้างว่าเขาอิจฉาริษยา❌ ที่ถูกคือ>> ผู้ชี้โทษ ไม่ใช่เพราะอิจฉาริษยา แต่เป็นการติเตียนตามธรรม เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาไม่ให้ใครมาบิดเบือน / ทราบว่าที่คุณพูดเอามาจากสักกปัญหาสูตร ท้าวสักกะได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “ทำไมสัตว์ทั้งหลายมีความปรารถนาไม่มีเวร ไม่ถูกเบียดเบียนฯลฯ แต่เพราะอะไรพวกเขาจึงยังคงมีเวร ถูกเบียดเบียนอยู่” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ”เพราะมีอิสสา(ความริษยา) และมัจฉริยะ(ความตระหนี่) สัตว์ทั้งหลายจึงจองเวรกัน เบียดเบียนกัน ซึ่งท่านใช้สูตรนี้มาสอนลูกศิษย์ และลูกศิษย์ก็เที่ยวไปว่าคนเห็นต่างว่าอิจฉาริษยาอาจารย์เขา /ทำไมคุณไม่ใช้สูตรผู้ชี้โทษคือผู้ชี้ขุมทรัพย์มาสอน. ✍️ที่สอนถูกก็มี ผิดก็ควรแก้ไข หวังว่าท่านจะระวังในการสอนมากขึ้น #แค่ผ่านตา แต่ก็อดไม่ได้ที่จะต้องชี้แจง >> ผู้เขียน : โลก กะ ธรรม กับม่อน Credit : เปรมวดี ก๋งชิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 353 มุมมอง 0 รีวิว
  • พุทธโอวาท ตอนอานิสงส์การให้ทาน ๕ ประการนี้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการนี้

    ๕ ประการนี้เป็นไฉน คือ

    ๑ ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนหมู่มาก

    ๒ สัปบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน

    ๓ กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อมขจรทั่วไป

    ๔ บุคคลผู้ให้ทานย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์

    ๕ บุคคลผู้ให้ทานเมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการนี้แล ฯ

    บุคคลผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของ
    สัปบุรุษ สัปบุรุษผู้สงบผู้สำรวมอินทรีย์ ประกอบพรหมจรรย์ ย่อมคบหาบุคคลผู้ให้ทานทุกเมื่อ

    สัปบุรุษเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์
    ทั้งปวงแก่เขา เขาได้ทราบชัดแล้ว ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ปรินิพพานในโลกนี้ ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง -ปญฺจก. อํ .๒๒/๓๕/๓๕

    พุทธโอวาท #พุทธโอวาท #คำสอนพระพุทธเจ้า #พระไตรปิฎก
    พุทธโอวาท ตอนอานิสงส์การให้ทาน ๕ ประการนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการนี้เป็นไฉน คือ ๑ ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนหมู่มาก ๒ สัปบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน ๓ กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อมขจรทั่วไป ๔ บุคคลผู้ให้ทานย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์ ๕ บุคคลผู้ให้ทานเมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการนี้แล ฯ บุคคลผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของ สัปบุรุษ สัปบุรุษผู้สงบผู้สำรวมอินทรีย์ ประกอบพรหมจรรย์ ย่อมคบหาบุคคลผู้ให้ทานทุกเมื่อ สัปบุรุษเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์ ทั้งปวงแก่เขา เขาได้ทราบชัดแล้ว ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ปรินิพพานในโลกนี้ ฯ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง -ปญฺจก. อํ .๒๒/๓๕/๓๕ พุทธโอวาท #พุทธโอวาท #คำสอนพระพุทธเจ้า #พระไตรปิฎก
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 647 มุมมอง 0 รีวิว