• กัวลาลัมเปอร์ใกล้ฉัน บาติกแอร์บินตรงดอนเมือง-ซูบัง

    สนามบินเก่าเมืองหลวงของมาเลเซียอย่าง ท่าอากาศยานสุลต่านอับดุลอาซิซชาห์ ซูบัง (SZB) ในเมืองซูบัง รัฐสลังงอร์ ทางทิศตะวันตกของกรุงกัวลาลัมเปอร์ กำลังจะมีเที่ยวบินไปยังกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เมื่อสายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) เตรียมเปิดเส้นทางใหม่ จากท่าอากาศยานซูบัง ไปยังท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพฯ (DMK) วันละ 1 เที่ยวบิน ได้แก่ เที่ยวบินที่ OD532 ออกจากซูบัง 09.25 น. ถึงดอนเมือง 10.40 น. เที่ยวกลับ เที่ยวบินที่ OD533 ออกจากดอนเมือง 11.40 น. ถึงซูบัง 14.45 น. ค่าโดยสารราคาเริ่มต้นที่ 259 ริงกิต เริ่มให้บริการในวันที่ 28 ก.ค. 2568 เป็นต้นไป

    จันทราน รามา มูร์ธี (Chandran Rama Muthy) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบาติกแอร์ กล่าวกับสื่อในมาเลเซียว่า การเปิดเที่ยวบินดังกล่าวจะมอบความสะดวกสบายให้กับนักเดินทาง และเข้าถึงเครือข่ายเส้นทางบินที่กำลังเติบโต โดยจะเปลี่ยนท่าอากาศยานซูบังให้กลายเป็นศูนย์กลางการบินที่ทันสมัย ซึ่งเส้นทางบินกรุงเทพฯ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น นอกจากนี้ ยังเปิดเส้นทางไปยังเมืองกูชิ่ง (KCH) ในรัฐซาราวักบนเกาะบอร์เนียว ที่จะช่วยสร้างการเชื่อมต่อภายในประเทศมาเลเซียจากกูชิ่งให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น นอกจากนี้ บาติกแอร์ยังให้บริการจากท่าอากาศยานสุบัง ไปยังปีนัง โกตาบาห์รู และโกตากินาบาลูอีกด้วย

    ท่าอากาศยานซูบังจะเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดและประหยัดเวลา เมื่อเทียบกับท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (KUL) เชื่อว่าจะจะมีบทบาทสำคัญในอนาคตต่ออุตสาหกรรมการบินในมาเลเซีย และใกล้ชิดกับผู้โดยสารในพื้นที่แคลงวัลเลย์ (Klang Valley) มากขึ้น โดยเฉพาะเมืองต่างๆ อาทิ เปตาลิง จายา, ชาห์ อลาม และกัวลาลัมเปอร์ ผู้ที่อยู่อาศัยในย่านแคลงวัลเลย์ สามารถเดินทางเข้า-ออกสนามบินอย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย เมื่อเทียบกับสนามบินใหญ่ที่อยู่ห่างไกล คาดว่าเส้นทางซูบัง-ดอนเมือง จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวมาเลเซียมายังกรุงเทพฯ ที่มีวัฒนธรรม อาหาร ช้อปปิ้ง และการผจญภัยอันมีชีวิตชีวา

    การเดินทางจากสถานี KL Sentral กรุงกัวลาลัมเปอร์ ไปยังท่าอากาศยานซูบัง ด้วยระบบขนส่งมวลชน ได้แก่ รถไฟฟ้า LRT สาย Kelana Jaya จากสถานี KL Sentral ไปลงที่สถานี Pasar Seni ต่อรถไฟฟ้า MRT สาย Kajang ลงที่สถานี Kwasa Sentral จากนั้นต่อรถเมล์สาย T804 ไปลงที่ป้าย Subang Airport รถออกทุก 40-60 นาที ส่วนรถประจำทาง RapidKL สาย 772 จากป้ายหยุดรถประจำทาง KL1760 Suasana Sentral Loft ไปลงที่ป้าย SA909 Subang Skypark Terminal ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที

    #Newskit
    กัวลาลัมเปอร์ใกล้ฉัน บาติกแอร์บินตรงดอนเมือง-ซูบัง สนามบินเก่าเมืองหลวงของมาเลเซียอย่าง ท่าอากาศยานสุลต่านอับดุลอาซิซชาห์ ซูบัง (SZB) ในเมืองซูบัง รัฐสลังงอร์ ทางทิศตะวันตกของกรุงกัวลาลัมเปอร์ กำลังจะมีเที่ยวบินไปยังกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เมื่อสายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) เตรียมเปิดเส้นทางใหม่ จากท่าอากาศยานซูบัง ไปยังท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพฯ (DMK) วันละ 1 เที่ยวบิน ได้แก่ เที่ยวบินที่ OD532 ออกจากซูบัง 09.25 น. ถึงดอนเมือง 10.40 น. เที่ยวกลับ เที่ยวบินที่ OD533 ออกจากดอนเมือง 11.40 น. ถึงซูบัง 14.45 น. ค่าโดยสารราคาเริ่มต้นที่ 259 ริงกิต เริ่มให้บริการในวันที่ 28 ก.ค. 2568 เป็นต้นไป จันทราน รามา มูร์ธี (Chandran Rama Muthy) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบาติกแอร์ กล่าวกับสื่อในมาเลเซียว่า การเปิดเที่ยวบินดังกล่าวจะมอบความสะดวกสบายให้กับนักเดินทาง และเข้าถึงเครือข่ายเส้นทางบินที่กำลังเติบโต โดยจะเปลี่ยนท่าอากาศยานซูบังให้กลายเป็นศูนย์กลางการบินที่ทันสมัย ซึ่งเส้นทางบินกรุงเทพฯ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น นอกจากนี้ ยังเปิดเส้นทางไปยังเมืองกูชิ่ง (KCH) ในรัฐซาราวักบนเกาะบอร์เนียว ที่จะช่วยสร้างการเชื่อมต่อภายในประเทศมาเลเซียจากกูชิ่งให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น นอกจากนี้ บาติกแอร์ยังให้บริการจากท่าอากาศยานสุบัง ไปยังปีนัง โกตาบาห์รู และโกตากินาบาลูอีกด้วย ท่าอากาศยานซูบังจะเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดและประหยัดเวลา เมื่อเทียบกับท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (KUL) เชื่อว่าจะจะมีบทบาทสำคัญในอนาคตต่ออุตสาหกรรมการบินในมาเลเซีย และใกล้ชิดกับผู้โดยสารในพื้นที่แคลงวัลเลย์ (Klang Valley) มากขึ้น โดยเฉพาะเมืองต่างๆ อาทิ เปตาลิง จายา, ชาห์ อลาม และกัวลาลัมเปอร์ ผู้ที่อยู่อาศัยในย่านแคลงวัลเลย์ สามารถเดินทางเข้า-ออกสนามบินอย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย เมื่อเทียบกับสนามบินใหญ่ที่อยู่ห่างไกล คาดว่าเส้นทางซูบัง-ดอนเมือง จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวมาเลเซียมายังกรุงเทพฯ ที่มีวัฒนธรรม อาหาร ช้อปปิ้ง และการผจญภัยอันมีชีวิตชีวา การเดินทางจากสถานี KL Sentral กรุงกัวลาลัมเปอร์ ไปยังท่าอากาศยานซูบัง ด้วยระบบขนส่งมวลชน ได้แก่ รถไฟฟ้า LRT สาย Kelana Jaya จากสถานี KL Sentral ไปลงที่สถานี Pasar Seni ต่อรถไฟฟ้า MRT สาย Kajang ลงที่สถานี Kwasa Sentral จากนั้นต่อรถเมล์สาย T804 ไปลงที่ป้าย Subang Airport รถออกทุก 40-60 นาที ส่วนรถประจำทาง RapidKL สาย 772 จากป้ายหยุดรถประจำทาง KL1760 Suasana Sentral Loft ไปลงที่ป้าย SA909 Subang Skypark Terminal ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 79 มุมมอง 0 รีวิว
  • รถบรรทุกหินพุ่งชน คร่า 9 ชีวิตตำรวจมาเลย์ฯ

    โศกนาฎกรรมบนท้องถนนที่คร่าชีวิตตำรวจมาเลเซียครั้งนี้เกิดขึ้น เมื่อรถบรรทุกของตำรวจ หน่วยกองกำลังสำรองแห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย (The Federal Reserve Unit หรือ FRU) ประสบอุบัติเหตุชนกับรถบรรทุกหินกรวด เหตุเกิดเมื่อเวลา 08.50 น. วันที่ 13 พ.ค. บนถนนสายชิคุส-สุไหงลำปำ เมืองเตลุก อินตาน รัฐเปรัก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมาเลเซีย เป็นเหตุให้ตำรวจหน่วย FRU เสียชีวิต 9 นาย บาดเจ็บอีก 9 นาย รักษาตัวที่โรงพยาบาลเตลุก อินตาน รัฐเปรัก

    ก่อนเกิดเหตุตำรวจหน่วย FRU เพิ่งเสร็จสิ้นภารกิจดูแลความเรียบร้อยในพิธีชิตรา ปูร์นามิ ในเมืองเตลุก อินตาน กำลังจะเดินทางกลับที่ตั้งในเมืองอิโปห์ โดยมีรถบรรทุก 7 คันเป็นยานพาหนะ เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุ รถบรรทุกหินกรวดที่ระบบบังคับเลี้ยวขัดข้อง พุ่งชนรถบรรทุกคันที่ 5 ซึ่งมีตำรวจทั้งหมด 18 นาย ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บดังกล่าว โดยพบว่ารถบรรทุกหินคันดังกล่าวไม่ได้บำรุงรักษารถ และจากการสืบสวนของตำรวจรัฐเปรัก พบว่าคนขับรถบรรทุกหินกรวดวัย 45 ปี มีประวัติอาชญากรรม 6 ครั้ง รวมทั้งความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และมีหมายคดีจราจรค้างอยู่หลายฉบับ

    สำหรับตำรวจที่เสียชีวิตจะได้รับค่าชดเชยเยียวยาตั้งแต่ 58,000 ถึง 269,700 ริงกิต (ประมาณ 449,000 ถึง 2,000,000 บาท) ผ่านกองทุนสวัสดิการต่างๆ ซึ่งศพของตำรวจทั้ง 9 นาย หลังชันสูตรแล้วจะประกอบพิธีทางศาสนาอิสลาม โดยจะมีพิธีฝังศพที่หน่วยบัญชาการตำรวจกำลังสำรองแห่งสหพันธรัฐที่ 5 (FRU No.5) สุไหงเซนัม เมืองอิโปห์

    ตำรวจหน่วยกองกำลังสำรองของมาเลเซีย (FRU) เป็นหน่วยตำรวจที่ทำหน้าที่ควบคุมฝูงชนและตอบสนองเหตุฉุกเฉินพิเศษ ขึ้นตรงสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาเลเซีย และกระทรวงมหาดไทย มีลักษณะกึ่งทหาร สามารถส่งกำลังไปได้ทุกแห่งเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินหรือความไม่สงบในประเทศ มีบทบาทหลักได้แก่ สลายการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย ปราบปรามจลาจล และปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของสาธารณะ เช่น อุทกภัย เพลิงไหม้ ดินถล่ม เครื่องบินตก เป็นต้น

    ตำรวจหน่วยดังกล่าวมีหมวกเบเร่ต์สีแดงเป็นสัญลักษณ์ ปัจจุบันมีหน่วยบัญชาการของตำรวจ FRU จำนวน 10 แห่ง ได้แก่ ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ 2 แห่ง (No.1 และ No.4) ยะโฮร์บาห์รู (No.2) ปีนัง (No.3) เมืองอิโปห์ รัฐเปรัก (No.5) กัวลาตรังกานู (No.6) เมืองเซเรมบัน รัฐเนกรีเซมบีลัน (No.7) และยังมีหน่วยเฉพาะได้แก่ กองกำลังสตรี หน่วยตำรวจม้า (Mounted Unit) และศูนย์ฝึกอบรม FRU ในเมืองอิโปห์ รัฐเปรัก โดยมีกำลังพลรวมกันประมาณ 2,400 นาย

    #Newskit
    รถบรรทุกหินพุ่งชน คร่า 9 ชีวิตตำรวจมาเลย์ฯ โศกนาฎกรรมบนท้องถนนที่คร่าชีวิตตำรวจมาเลเซียครั้งนี้เกิดขึ้น เมื่อรถบรรทุกของตำรวจ หน่วยกองกำลังสำรองแห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย (The Federal Reserve Unit หรือ FRU) ประสบอุบัติเหตุชนกับรถบรรทุกหินกรวด เหตุเกิดเมื่อเวลา 08.50 น. วันที่ 13 พ.ค. บนถนนสายชิคุส-สุไหงลำปำ เมืองเตลุก อินตาน รัฐเปรัก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมาเลเซีย เป็นเหตุให้ตำรวจหน่วย FRU เสียชีวิต 9 นาย บาดเจ็บอีก 9 นาย รักษาตัวที่โรงพยาบาลเตลุก อินตาน รัฐเปรัก ก่อนเกิดเหตุตำรวจหน่วย FRU เพิ่งเสร็จสิ้นภารกิจดูแลความเรียบร้อยในพิธีชิตรา ปูร์นามิ ในเมืองเตลุก อินตาน กำลังจะเดินทางกลับที่ตั้งในเมืองอิโปห์ โดยมีรถบรรทุก 7 คันเป็นยานพาหนะ เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุ รถบรรทุกหินกรวดที่ระบบบังคับเลี้ยวขัดข้อง พุ่งชนรถบรรทุกคันที่ 5 ซึ่งมีตำรวจทั้งหมด 18 นาย ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บดังกล่าว โดยพบว่ารถบรรทุกหินคันดังกล่าวไม่ได้บำรุงรักษารถ และจากการสืบสวนของตำรวจรัฐเปรัก พบว่าคนขับรถบรรทุกหินกรวดวัย 45 ปี มีประวัติอาชญากรรม 6 ครั้ง รวมทั้งความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และมีหมายคดีจราจรค้างอยู่หลายฉบับ สำหรับตำรวจที่เสียชีวิตจะได้รับค่าชดเชยเยียวยาตั้งแต่ 58,000 ถึง 269,700 ริงกิต (ประมาณ 449,000 ถึง 2,000,000 บาท) ผ่านกองทุนสวัสดิการต่างๆ ซึ่งศพของตำรวจทั้ง 9 นาย หลังชันสูตรแล้วจะประกอบพิธีทางศาสนาอิสลาม โดยจะมีพิธีฝังศพที่หน่วยบัญชาการตำรวจกำลังสำรองแห่งสหพันธรัฐที่ 5 (FRU No.5) สุไหงเซนัม เมืองอิโปห์ ตำรวจหน่วยกองกำลังสำรองของมาเลเซีย (FRU) เป็นหน่วยตำรวจที่ทำหน้าที่ควบคุมฝูงชนและตอบสนองเหตุฉุกเฉินพิเศษ ขึ้นตรงสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาเลเซีย และกระทรวงมหาดไทย มีลักษณะกึ่งทหาร สามารถส่งกำลังไปได้ทุกแห่งเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินหรือความไม่สงบในประเทศ มีบทบาทหลักได้แก่ สลายการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย ปราบปรามจลาจล และปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของสาธารณะ เช่น อุทกภัย เพลิงไหม้ ดินถล่ม เครื่องบินตก เป็นต้น ตำรวจหน่วยดังกล่าวมีหมวกเบเร่ต์สีแดงเป็นสัญลักษณ์ ปัจจุบันมีหน่วยบัญชาการของตำรวจ FRU จำนวน 10 แห่ง ได้แก่ ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ 2 แห่ง (No.1 และ No.4) ยะโฮร์บาห์รู (No.2) ปีนัง (No.3) เมืองอิโปห์ รัฐเปรัก (No.5) กัวลาตรังกานู (No.6) เมืองเซเรมบัน รัฐเนกรีเซมบีลัน (No.7) และยังมีหน่วยเฉพาะได้แก่ กองกำลังสตรี หน่วยตำรวจม้า (Mounted Unit) และศูนย์ฝึกอบรม FRU ในเมืองอิโปห์ รัฐเปรัก โดยมีกำลังพลรวมกันประมาณ 2,400 นาย #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 353 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถึงเวลาปลดล็อก รถทัวร์ไทย-มาเลเซีย

    การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของนายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย เมื่อวันที่ 2 พ.ค. อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ไทยและมาเลเซียกำลังพิจารณาร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างเอ็มโอยูว่าด้วยการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนระหว่างไทยและมาเลเซีย (CBTG) และ ร่างเอ็มโอยูว่าด้วยการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนระหว่างไทยและมาเลเซีย (CBTP) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แก้ไขปัญหาการขนส่งสินค้า อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนทั้งสองประเทศ และเกิดสิทธิในการขนส่งทางถนนที่เท่าเทียมกัน คาดว่าจะได้ข้อยุติและลงนามเอ็มโอยูทั้ง 2 ฉบับภายในเดือน ก.ค.2568

    ที่ผ่านมารถโดยสารจากมาเลเซีย เดินรถเข้ามาในจังหวัดสงขลาได้ เพราะมีประกาศจังหวัดสงขลา ลงวันที่ 25 ส.ค. 2557 อนุญาตนำรถโดยสารที่จดทะเบียนต่างประเทศเข้ามาใน จ.สงขลา สามารถเข้าถึงทุกอำเภอได้ จากเดิมเฉพาะ อ.หาดใหญ่ แต่ถ้าจะไปจังหวัดอื่นต้องขออนุญาตต่อกรมการขนส่งทางบกล่วงหน้า ซึ่งที่ผ่านมามีรถทัวร์ให้บริการจากหาดใหญ่ไปยังประเทศมาเลเซียหลายบริษัท ได้แก่ ปีนัง มีทั้งรถตู้และรถทัวร์ ราคาประมาณ 600-800 บาท กัวลาลัมเปอร์ ราคาประมาณ 500-1,000 บาท และยะโฮร์บาห์รู ราคาประมาณ 1,300-1,500 บาท ซึ่งขัดต่อ พ.ร.บ.การขนส่งทางบก ปี 2522 มาตรา 26 แต่รถโดยสารของฝ่ายไทยวิ่งเข้าไปในประเทศมาเลเซียไม่ได้ ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบมาเลเซีย ทำลายธุรกิจการขนส่งในประเทศไทย

    การลงนามเอ็มโอยูดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถประกอบธุรกิจเดินรถไปยังประเทศมาเลเซียได้ หนึ่งในนั้นคือ บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม ที่มีประสบการณ์เดินรถโดยสารระหว่างประเทศกับลาวและกัมพูชา 12 เส้นทาง รวม 61 เที่ยววิ่งต่อวัน สามารถร่วมกับผู้ประกอบการจากมาเลเซีย ให้บริการเดินรถโดยสารจาก อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ไปยังจุดหมายปลายทางยอดนิยมในมาเลเซีย เช่น ปีนัง กัวลาลัมเปอร์ หรือยะโฮร์บาห์รู โดยไม่ปล่อยให้ผูกขาดเฉพาะรถโดยสารจากมาเลเซียแต่เพียงฝ่ายเดียว

    นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่อการเดินทางของประชาชนทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวมาเลเซียมาเที่ยวหาดใหญ่ หรือคนไทยมาเที่ยวมาเลเซีย นักท่องเที่ยวแบบประหยัด (Budget Travelers) ชาวไทย สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ ด้วยเครื่องบินไปยังหาดใหญ่ แล้วต่อรถโดยสารไปยังประเทศมาเลเซีย เช่นเดียวกับเดินทางด้วยเครื่องบินไปยังอุดรธานี แล้วต่อรถโดยสารไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ช่วยให้ประหยัดค่าเดินทาง จากเดิมต้องจ่ายภาษีสนามบินระหว่างประเทศ 730 บาท เหลือแค่ภาษีสนามบินในประเทศ 130 บาท

    #Newskit
    ถึงเวลาปลดล็อก รถทัวร์ไทย-มาเลเซีย การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของนายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย เมื่อวันที่ 2 พ.ค. อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ไทยและมาเลเซียกำลังพิจารณาร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างเอ็มโอยูว่าด้วยการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนระหว่างไทยและมาเลเซีย (CBTG) และ ร่างเอ็มโอยูว่าด้วยการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนระหว่างไทยและมาเลเซีย (CBTP) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แก้ไขปัญหาการขนส่งสินค้า อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนทั้งสองประเทศ และเกิดสิทธิในการขนส่งทางถนนที่เท่าเทียมกัน คาดว่าจะได้ข้อยุติและลงนามเอ็มโอยูทั้ง 2 ฉบับภายในเดือน ก.ค.2568 ที่ผ่านมารถโดยสารจากมาเลเซีย เดินรถเข้ามาในจังหวัดสงขลาได้ เพราะมีประกาศจังหวัดสงขลา ลงวันที่ 25 ส.ค. 2557 อนุญาตนำรถโดยสารที่จดทะเบียนต่างประเทศเข้ามาใน จ.สงขลา สามารถเข้าถึงทุกอำเภอได้ จากเดิมเฉพาะ อ.หาดใหญ่ แต่ถ้าจะไปจังหวัดอื่นต้องขออนุญาตต่อกรมการขนส่งทางบกล่วงหน้า ซึ่งที่ผ่านมามีรถทัวร์ให้บริการจากหาดใหญ่ไปยังประเทศมาเลเซียหลายบริษัท ได้แก่ ปีนัง มีทั้งรถตู้และรถทัวร์ ราคาประมาณ 600-800 บาท กัวลาลัมเปอร์ ราคาประมาณ 500-1,000 บาท และยะโฮร์บาห์รู ราคาประมาณ 1,300-1,500 บาท ซึ่งขัดต่อ พ.ร.บ.การขนส่งทางบก ปี 2522 มาตรา 26 แต่รถโดยสารของฝ่ายไทยวิ่งเข้าไปในประเทศมาเลเซียไม่ได้ ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบมาเลเซีย ทำลายธุรกิจการขนส่งในประเทศไทย การลงนามเอ็มโอยูดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถประกอบธุรกิจเดินรถไปยังประเทศมาเลเซียได้ หนึ่งในนั้นคือ บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม ที่มีประสบการณ์เดินรถโดยสารระหว่างประเทศกับลาวและกัมพูชา 12 เส้นทาง รวม 61 เที่ยววิ่งต่อวัน สามารถร่วมกับผู้ประกอบการจากมาเลเซีย ให้บริการเดินรถโดยสารจาก อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ไปยังจุดหมายปลายทางยอดนิยมในมาเลเซีย เช่น ปีนัง กัวลาลัมเปอร์ หรือยะโฮร์บาห์รู โดยไม่ปล่อยให้ผูกขาดเฉพาะรถโดยสารจากมาเลเซียแต่เพียงฝ่ายเดียว นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่อการเดินทางของประชาชนทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวมาเลเซียมาเที่ยวหาดใหญ่ หรือคนไทยมาเที่ยวมาเลเซีย นักท่องเที่ยวแบบประหยัด (Budget Travelers) ชาวไทย สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ ด้วยเครื่องบินไปยังหาดใหญ่ แล้วต่อรถโดยสารไปยังประเทศมาเลเซีย เช่นเดียวกับเดินทางด้วยเครื่องบินไปยังอุดรธานี แล้วต่อรถโดยสารไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ช่วยให้ประหยัดค่าเดินทาง จากเดิมต้องจ่ายภาษีสนามบินระหว่างประเทศ 730 บาท เหลือแค่ภาษีสนามบินในประเทศ 130 บาท #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 416 มุมมอง 0 รีวิว
  • สถานีต่อไป กรุงเทพอภิวัฒน์ - KL Sentral

    การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของนายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย เข้าพบ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เมื่อวันที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา มีรายงานว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ของมาเลเซีย จะร่วมกันกลับมาเปิดให้บริการรถไฟ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-ปาดังเบซาร์-บัตเตอร์เวิร์ธ รัฐปีนัง ซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อม คาดว่าจะเปิดให้บริการเที่ยวแรกภายในเดือน ก.ค. 2568 เป็นผลมาจากการประชุมร่วมระหว่าง ร.ฟ.ท. และ KTM Berhad ครั้งที่ 42 (KTMB-SRT Joint Conference) เมื่อเดือน ส.ค.2567

    ถือเป็นการฟื้นการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปีนัง กลับมาอีกครั้ง หลังเคยเปิดการเดินรถมาตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค.2465 เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 94 ปี ก่อนยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.2559 เป็นต้นมา หลังจากประเทศมาเลเซียได้ปรับปรุงทางรถไฟทางคู่ระบบปิด ก่อนให้บริการรถไฟแบบ ETS ซึ่งเป็นรถไฟด่วนพิเศษ และ KTM Komuter ซึ่งเป็นรถไฟธรรมดา ปัจจุบันเหลือเพียงแค่ขบวนรถที่ 45/46 จากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ปลายทางของรถไฟทางไกลในปัจจุบัน ไปยังสถานีปลายทางปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส เท่านั้น

    ที่น่าสนใจก็คือ รายงานข่าวจากสำนักข่าวเบอร์นามา (Bernama) ของมาเลเซีย นายโลค เปิดเผยว่า มีแผนจะกลับมาเปิดให้บริการรถไฟทางไกล ระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กับกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย อีกครั้งในปี 2568 ซึ่ง KTM Berhad และ ร.ฟ.ท. จะใช้เวลาเตรียมการเบื้องต้น 3 เดือน แม้การดำเนินการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องสร้างเส้นทางรถไฟใหม่ แต่จำเป็นต้องมีการประสานงาน การทำการตลาดร่วมกัน และการออกตั๋วโดยสารร่วมกันระหว่างสองประเทศ

    ขณะเดียวกัน ฝ่ายไทยได้เสนอให้ขยายบริการรถไฟทางไกล จากสถานีสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ไปยังเมืองรันเตาปันยัง (Rantau Panjang) และเมืองปาเซร์มัส (Pasir Mas) รัฐกลันตันในมาเลเซีย ซึ่งตนยินดีรับข้อเสนอนี้ เนื่องจากถือเป็นอีกก้าวหนึ่งที่มีศักยภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น และปรับปรุงคุณภาพชีวิตในพื้นที่ชายแดน แต่จะต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมเพื่อฟื้นฟูเส้นทางรถไฟระหว่างสุไหงโก-ลก รันเตาปันยัง และปาเซร์มัส เนื่องจากต้องมีการบูรณะรางรถไฟที่ไม่ได้ใช้งานมานานในเมืองรันเตาปันยังและสุไหงโก-ลก

    ปัจจุบัน สถานีปาดังเบซาร์ ประเทศมาเลเซีย มีบริการรถไฟ ETS (Electric Train Service) ไปยังสถานี KL Sentral กรุงกัวลาลัมเปอร์ วันละ 5 ขบวน ปลายทางไกลที่สุดคือสถานีเซกามัต (Segamat) รัฐยะโฮร์

    #Newskit

    หมายเหตุ : ลงวันที่ล่วงหน้า เพราะจะเผยแพร่ทาง Facebook และ Instagram วันที่ 12 พ.ค. 2568
    สถานีต่อไป กรุงเทพอภิวัฒน์ - KL Sentral การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของนายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย เข้าพบ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เมื่อวันที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา มีรายงานว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ของมาเลเซีย จะร่วมกันกลับมาเปิดให้บริการรถไฟ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-ปาดังเบซาร์-บัตเตอร์เวิร์ธ รัฐปีนัง ซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อม คาดว่าจะเปิดให้บริการเที่ยวแรกภายในเดือน ก.ค. 2568 เป็นผลมาจากการประชุมร่วมระหว่าง ร.ฟ.ท. และ KTM Berhad ครั้งที่ 42 (KTMB-SRT Joint Conference) เมื่อเดือน ส.ค.2567 ถือเป็นการฟื้นการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปีนัง กลับมาอีกครั้ง หลังเคยเปิดการเดินรถมาตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค.2465 เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 94 ปี ก่อนยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.2559 เป็นต้นมา หลังจากประเทศมาเลเซียได้ปรับปรุงทางรถไฟทางคู่ระบบปิด ก่อนให้บริการรถไฟแบบ ETS ซึ่งเป็นรถไฟด่วนพิเศษ และ KTM Komuter ซึ่งเป็นรถไฟธรรมดา ปัจจุบันเหลือเพียงแค่ขบวนรถที่ 45/46 จากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ปลายทางของรถไฟทางไกลในปัจจุบัน ไปยังสถานีปลายทางปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส เท่านั้น ที่น่าสนใจก็คือ รายงานข่าวจากสำนักข่าวเบอร์นามา (Bernama) ของมาเลเซีย นายโลค เปิดเผยว่า มีแผนจะกลับมาเปิดให้บริการรถไฟทางไกล ระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กับกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย อีกครั้งในปี 2568 ซึ่ง KTM Berhad และ ร.ฟ.ท. จะใช้เวลาเตรียมการเบื้องต้น 3 เดือน แม้การดำเนินการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องสร้างเส้นทางรถไฟใหม่ แต่จำเป็นต้องมีการประสานงาน การทำการตลาดร่วมกัน และการออกตั๋วโดยสารร่วมกันระหว่างสองประเทศ ขณะเดียวกัน ฝ่ายไทยได้เสนอให้ขยายบริการรถไฟทางไกล จากสถานีสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ไปยังเมืองรันเตาปันยัง (Rantau Panjang) และเมืองปาเซร์มัส (Pasir Mas) รัฐกลันตันในมาเลเซีย ซึ่งตนยินดีรับข้อเสนอนี้ เนื่องจากถือเป็นอีกก้าวหนึ่งที่มีศักยภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น และปรับปรุงคุณภาพชีวิตในพื้นที่ชายแดน แต่จะต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมเพื่อฟื้นฟูเส้นทางรถไฟระหว่างสุไหงโก-ลก รันเตาปันยัง และปาเซร์มัส เนื่องจากต้องมีการบูรณะรางรถไฟที่ไม่ได้ใช้งานมานานในเมืองรันเตาปันยังและสุไหงโก-ลก ปัจจุบัน สถานีปาดังเบซาร์ ประเทศมาเลเซีย มีบริการรถไฟ ETS (Electric Train Service) ไปยังสถานี KL Sentral กรุงกัวลาลัมเปอร์ วันละ 5 ขบวน ปลายทางไกลที่สุดคือสถานีเซกามัต (Segamat) รัฐยะโฮร์ #Newskit หมายเหตุ : ลงวันที่ล่วงหน้า เพราะจะเผยแพร่ทาง Facebook และ Instagram วันที่ 12 พ.ค. 2568
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 471 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมื่อนักท่องเที่ยวไทยใช้บริการ Rapid Penang On-Demand

    บริษัทแรพิดบัส (Rapid Bus) ผู้ให้บริการรถโดยสารประจำทาง แรพิด ปีนัง (Rapid Penang) ประเทศมาเลเซีย เปิดให้บริการขนส่งสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการเดินทาง หรือ DRT (Demand Responsive Transport) ภายใต้ชื่อ Rapid Penang On-Demand มาตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 โดยใช้รถตู้เป็นยานพาหนะ ในพื้นที่ประชากรหนาแน่นและย่านที่อยู่อาศัยที่เพิ่งพัฒนา แต่ยังขาดการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ เชื่อมต่อไปยังป้ายรถเมล์ Rapid Penang คิดค่าโดยสาร 1 ริงกิตต่อเที่ยว

    เฟซบุ๊ก "แซม ญาณบ้าน" นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ทดลองใช้บริการ Rapid Penang On-Demand เปิดเผยว่า เป็นขนส่งสาธารณะที่เป็นการเรียกยานพาหนะที่ใช้รถร่วมกัน หรือ คาร์พูล (Carpool) ในพื้นที่ให้บริการ โดยใช้รถตู้ 13 ที่นั่ง แต่ต้องเรียกผ่านแอปพลิเคชัน Kummute เมื่อเรียกรถ ระบบจะเรียกรถตู้ที่มีจุดหมายหรือทางผ่านเดียวกันที่ใกล้ที่สุด ถ้ามีคนไปทางเดียวกันก็เป็นคาร์พูลไปโดยปริยาย

    เขาใช้บริการ Rapid Penang On-Demand ในช่วงเช้า จาก George Town ไปยัง Karpal Singh Drive ซึ่งพบว่ามีรถแสดงผลในระบบ 5 คัน อารมณ์คล้ายรถตุ๊กตุ๊กในเมืองหาดใหญ่ ที่รับผู้โดยสารตามรายทางไปเรื่อยๆ แต่เปลี่ยนเป็นเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งสามารถจัดการเส้นทางคาร์พูลได้ดีกว่า ที่สำคัญราคาช่วงโปรโมชัน 1 ริงกิต แต่ถ้าหากหมดโปรโมชัน ขึ้นค่าโดยสารเป็น 2-3 ริงกิต คนที่เดินทางคนเดียวแบบ Solo Trip ก็ถือว่ายังถูกอยู่

    วิธีการเรียกรถ ให้เลือกจุดรับ (Pick-Up) จุดลง (Drop-Off) เลือกช่องทางการชำระเงิน (Payment) เลือกจำนวนผู้โดยสาร (Passenger) กดที่ "Choose drop-off time" เลือก As soon as possible (เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้) จากนั้นกด Continue แล้วรอรถตู้มารับ แล้วชำระเงินที่รถเพื่อไปยังจุดหมายปลายทางต่อไป

    สำหรับการชำระเงิน สามารถใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตที่เครื่อง EDC ที่อยู่กับคนขับรถ ซึ่งบัตรเครดิตที่ออกในประเทศไทยสามารถใช้ได้ ส่วนเครื่อง EDC ที่อยู่หน้ารถสำหรับบัตร Rapid Penang บัตรมูเทียราพาส (Mutiara Pass) และบัตรสำหรับผู้พิการ (OKU Smile Pass) เฉพาะชาวมาเลเซีย นอกจากนี้ ยังรองรับคิวอาร์โค้ด DuitNow และ E-Wallet ของมาเลเซียอีกด้วย

    ส่วนข้อจำกัดก็คือ ผู้โดยสารต้องติดตั้งแอปพลิเคชัน Kummute ซึ่งใช้เบอร์มือถือมาเลเซียยืนยันตัวตนผ่าน OTP นอกจากนี้ในบางช่วงเวลายังไม่สามารถเรียกรถได้ โดยระบุคำเตือน "High service demand" ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้โดยสารมีปริมาณความต้องการสูง รวมทั้งปัญหาการจราจรติดขัดบนเกาะปีนังที่ยังแก้ไม่ได้

    #Newskit

    หมายเหตุ : ลงวันที่ล่วงหน้า เพราะจะเผยแพร่ทาง Facebook และ Instagram วันที่ 12 พ.ค. 2568
    เมื่อนักท่องเที่ยวไทยใช้บริการ Rapid Penang On-Demand บริษัทแรพิดบัส (Rapid Bus) ผู้ให้บริการรถโดยสารประจำทาง แรพิด ปีนัง (Rapid Penang) ประเทศมาเลเซีย เปิดให้บริการขนส่งสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการเดินทาง หรือ DRT (Demand Responsive Transport) ภายใต้ชื่อ Rapid Penang On-Demand มาตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 โดยใช้รถตู้เป็นยานพาหนะ ในพื้นที่ประชากรหนาแน่นและย่านที่อยู่อาศัยที่เพิ่งพัฒนา แต่ยังขาดการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ เชื่อมต่อไปยังป้ายรถเมล์ Rapid Penang คิดค่าโดยสาร 1 ริงกิตต่อเที่ยว เฟซบุ๊ก "แซม ญาณบ้าน" นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ทดลองใช้บริการ Rapid Penang On-Demand เปิดเผยว่า เป็นขนส่งสาธารณะที่เป็นการเรียกยานพาหนะที่ใช้รถร่วมกัน หรือ คาร์พูล (Carpool) ในพื้นที่ให้บริการ โดยใช้รถตู้ 13 ที่นั่ง แต่ต้องเรียกผ่านแอปพลิเคชัน Kummute เมื่อเรียกรถ ระบบจะเรียกรถตู้ที่มีจุดหมายหรือทางผ่านเดียวกันที่ใกล้ที่สุด ถ้ามีคนไปทางเดียวกันก็เป็นคาร์พูลไปโดยปริยาย เขาใช้บริการ Rapid Penang On-Demand ในช่วงเช้า จาก George Town ไปยัง Karpal Singh Drive ซึ่งพบว่ามีรถแสดงผลในระบบ 5 คัน อารมณ์คล้ายรถตุ๊กตุ๊กในเมืองหาดใหญ่ ที่รับผู้โดยสารตามรายทางไปเรื่อยๆ แต่เปลี่ยนเป็นเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งสามารถจัดการเส้นทางคาร์พูลได้ดีกว่า ที่สำคัญราคาช่วงโปรโมชัน 1 ริงกิต แต่ถ้าหากหมดโปรโมชัน ขึ้นค่าโดยสารเป็น 2-3 ริงกิต คนที่เดินทางคนเดียวแบบ Solo Trip ก็ถือว่ายังถูกอยู่ วิธีการเรียกรถ ให้เลือกจุดรับ (Pick-Up) จุดลง (Drop-Off) เลือกช่องทางการชำระเงิน (Payment) เลือกจำนวนผู้โดยสาร (Passenger) กดที่ "Choose drop-off time" เลือก As soon as possible (เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้) จากนั้นกด Continue แล้วรอรถตู้มารับ แล้วชำระเงินที่รถเพื่อไปยังจุดหมายปลายทางต่อไป สำหรับการชำระเงิน สามารถใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตที่เครื่อง EDC ที่อยู่กับคนขับรถ ซึ่งบัตรเครดิตที่ออกในประเทศไทยสามารถใช้ได้ ส่วนเครื่อง EDC ที่อยู่หน้ารถสำหรับบัตร Rapid Penang บัตรมูเทียราพาส (Mutiara Pass) และบัตรสำหรับผู้พิการ (OKU Smile Pass) เฉพาะชาวมาเลเซีย นอกจากนี้ ยังรองรับคิวอาร์โค้ด DuitNow และ E-Wallet ของมาเลเซียอีกด้วย ส่วนข้อจำกัดก็คือ ผู้โดยสารต้องติดตั้งแอปพลิเคชัน Kummute ซึ่งใช้เบอร์มือถือมาเลเซียยืนยันตัวตนผ่าน OTP นอกจากนี้ในบางช่วงเวลายังไม่สามารถเรียกรถได้ โดยระบุคำเตือน "High service demand" ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้โดยสารมีปริมาณความต้องการสูง รวมทั้งปัญหาการจราจรติดขัดบนเกาะปีนังที่ยังแก้ไม่ได้ #Newskit หมายเหตุ : ลงวันที่ล่วงหน้า เพราะจะเผยแพร่ทาง Facebook และ Instagram วันที่ 12 พ.ค. 2568
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 499 มุมมอง 0 รีวิว
  • แอปฯ ViaBus สยายปีกสู่ลาว ติดตามรถเมล์เวียงจันทน์ได้แล้ว

    ในงานสัปดาห์ดิจิทัลลาว 2025 (Laos Digital Week 2025) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-6 เม.ย.2568 ที่หอประชุมแห่งชาติ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) หนึ่งในนวัตกรรมที่น่าสนใจ คือ รัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ (VCSBE) ได้ร่วมกับ บริษัท เวีย กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันเวียบัส (ViaBus) เปิดบริการแจ้งติดตามรถเมล์แบบเรียลไทม์ แก่รถโดยสารในนครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อพัฒนาการบริการ โดยนักท่องเที่ยวจากประเทศไทย สามารถติดตามรถเมล์ และจุดจอดรถเมล์ได้เหมือนที่ประเทศไทย

    ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2568 นายอินทัช มาศวงษ์ปกรณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เวีย กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับท่านแก้ววันพร วอนทีวงสี ผู้อำนวยการใหญ่ รัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ ที่โรงแรมลาวพลาซ่า เพื่อพัฒนาระบบติดตามและบริหารจัดการรถโดยสารประจำทางผ่านแอปพลิเคชัน ViaBus โดยมีนายมรกต ศรีสวัสดิ์ เอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์ ร่วมเป็นสักขีพยาน ความร่วมมือดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อยกระดับระบบขนส่งสาธารณะในนครหลวงเวียงจันทน์ พร้อมเชื่อมโยงโครงข่ายการเดินทางกับภูมิภาคอาเซียนในมิติที่ทันสมัยและยั่งยืน

    สำหรับรัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ มีเส้นทางให้บริการประมาณ 16 เส้นทาง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่สถานีขนส่งตลาดเช้า (Central Bus Station หรือ CBS) ไปยังจุดหมายปลายทางต่างๆ เช่น สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1, มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ดงโดก, สนามบินสากลวัดไต, สถานีรถสายเหนือ, สถานีรถสายใต้, ศูนย์ประชุมลาวไอเต็ก (ITECC) รวมทั้งสถานีรถไฟนครหลวงเวียงจันทน์ (รถไฟลาว-จีน) และสถานีเวียงจันทน์ คำสะหวาด (รถไฟไทย-ลาว) เดิมมีเว็บไซต์ติดตามรถเมล์ https://lao.busnavi.asia อยู่แล้ว ความร่วมมือกับ ViaBus ที่มีผู้ใช้งาน 5 ล้านคน จะทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยกว่า 1.2 ล้านคนเดินทางในนครหลวงเวียงจันทน์สะดวกขึ้น รวมทั้งจูงใจชาวนครหลวงเวียงจันทน์กว่า 7 แสนคนหันมาใช้รถเมล์แทนรถส่วนตัว

    ก่อนหน้านี้ ViaBus ได้ทดลองติดตามรถเมล์แบบเรียลไทม์ที่ประเทศมาเลเซียใน 3 เมือง ได้แก่ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เกาะปีนัง และเมืองยะโฮร์บาห์รู นับเป็นประเทศที่สองที่ ViaBus ร่วมมือกับผู้ประกอบการเดินรถต่างประเทศ สำหรับประเทศไทย ที่ผ่านมาได้ประกาศให้ผู้ประกอบการเดินรถทุกรายนำข้อมูล GPS รถเมล์มาเชื่อมระบบได้ฟรี โดยไม่ต้องพัฒนาระบบใหม่ และไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อให้ผู้โดยสารติดตามและใช้บริการได้อย่างสะดวกสบาย

    #Newskit
    แอปฯ ViaBus สยายปีกสู่ลาว ติดตามรถเมล์เวียงจันทน์ได้แล้ว ในงานสัปดาห์ดิจิทัลลาว 2025 (Laos Digital Week 2025) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-6 เม.ย.2568 ที่หอประชุมแห่งชาติ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) หนึ่งในนวัตกรรมที่น่าสนใจ คือ รัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ (VCSBE) ได้ร่วมกับ บริษัท เวีย กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันเวียบัส (ViaBus) เปิดบริการแจ้งติดตามรถเมล์แบบเรียลไทม์ แก่รถโดยสารในนครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อพัฒนาการบริการ โดยนักท่องเที่ยวจากประเทศไทย สามารถติดตามรถเมล์ และจุดจอดรถเมล์ได้เหมือนที่ประเทศไทย ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2568 นายอินทัช มาศวงษ์ปกรณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เวีย กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับท่านแก้ววันพร วอนทีวงสี ผู้อำนวยการใหญ่ รัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ ที่โรงแรมลาวพลาซ่า เพื่อพัฒนาระบบติดตามและบริหารจัดการรถโดยสารประจำทางผ่านแอปพลิเคชัน ViaBus โดยมีนายมรกต ศรีสวัสดิ์ เอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์ ร่วมเป็นสักขีพยาน ความร่วมมือดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อยกระดับระบบขนส่งสาธารณะในนครหลวงเวียงจันทน์ พร้อมเชื่อมโยงโครงข่ายการเดินทางกับภูมิภาคอาเซียนในมิติที่ทันสมัยและยั่งยืน สำหรับรัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ มีเส้นทางให้บริการประมาณ 16 เส้นทาง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่สถานีขนส่งตลาดเช้า (Central Bus Station หรือ CBS) ไปยังจุดหมายปลายทางต่างๆ เช่น สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1, มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ดงโดก, สนามบินสากลวัดไต, สถานีรถสายเหนือ, สถานีรถสายใต้, ศูนย์ประชุมลาวไอเต็ก (ITECC) รวมทั้งสถานีรถไฟนครหลวงเวียงจันทน์ (รถไฟลาว-จีน) และสถานีเวียงจันทน์ คำสะหวาด (รถไฟไทย-ลาว) เดิมมีเว็บไซต์ติดตามรถเมล์ https://lao.busnavi.asia อยู่แล้ว ความร่วมมือกับ ViaBus ที่มีผู้ใช้งาน 5 ล้านคน จะทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยกว่า 1.2 ล้านคนเดินทางในนครหลวงเวียงจันทน์สะดวกขึ้น รวมทั้งจูงใจชาวนครหลวงเวียงจันทน์กว่า 7 แสนคนหันมาใช้รถเมล์แทนรถส่วนตัว ก่อนหน้านี้ ViaBus ได้ทดลองติดตามรถเมล์แบบเรียลไทม์ที่ประเทศมาเลเซียใน 3 เมือง ได้แก่ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เกาะปีนัง และเมืองยะโฮร์บาห์รู นับเป็นประเทศที่สองที่ ViaBus ร่วมมือกับผู้ประกอบการเดินรถต่างประเทศ สำหรับประเทศไทย ที่ผ่านมาได้ประกาศให้ผู้ประกอบการเดินรถทุกรายนำข้อมูล GPS รถเมล์มาเชื่อมระบบได้ฟรี โดยไม่ต้องพัฒนาระบบใหม่ และไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อให้ผู้โดยสารติดตามและใช้บริการได้อย่างสะดวกสบาย #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 777 มุมมอง 0 รีวิว
  • สถานีขนส่งรัฐเปอร์ลิส ย้ายจากบูกิตลากีไปที่ใหม่

    เปิดให้บริการแล้ว สำหรับสถานีขนส่งผู้โดยสารแบบบูรณาการของรัฐเปอร์ลิส (Terminal Perlis Sentral) ทางภาคเหนือของมาเลเซีย ตั้งอยู่ที่สี่แยกระหว่างถนนสายกานการ์-อลอร์สตาร์ กับทางหลวงสายชางลูน-กัวลาเปอร์ลิส เมืองกานการ์ (Kangar) รัฐเปอร์ลิส ห่างจากสถานีขนส่งย่านบูกิต ลากี (Bukit Lagi) ประมาณ 7 กิโลเมตร โดยสภาเทศบาลเมืองกานการ์ประกาศว่าจะเริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 24 มี.ค. เป็นต้นไป คาดว่าภายใน 1 เดือนผู้ประกอบการจะย้ายไปยังสถานีขนส่งแห่งใหม่ทั้งหมด

    ยกเว้นรถประจำทางท้องถิ่น (Bas.My Kangar) จากชางลูน ปาดังเบซาร์ กัวลาเปอร์ลิส อลอร์สตาร์ (ทั้งสายไอร์อิตัมและสายจิตรา) เซเรียบ (ทั้งสายกัมปุงปังเกา และสายปาดังเบฮอร์) และกิลังกูลา ยังคงจอดที่ย่านบูกิต ลากี เช่นเดิม ระหว่างรอดำเนินการจากสำนักงานขนส่งสาธารณะทางบก (APAD) กรมการขนส่งทางบกมาเลเซีย (RTD) แต่สามารถเดินทางไปยังสถานีขนส่งแห่งใหม่ได้ ผ่านทางบริการ e-Hailing เช่น Grab ค่าโดยสารประมาณ 8 ริงกิต แต่ต้องปักหมุดด้วยตัวเอง

    ผู้ประกอบการเดินรถส่วนหนึ่ง ประกาศย้ายไปจอดที่สถานีขนส่งแห่งใหม่แล้ว เช่น บริษัทปันจารัน มาตาฮาริ (Pancaran Matahari) แจ้งว่าได้ย้ายไปที่สถานีขนส่งแห่งใหม่แล้ว ซื้อตั๋วได้ที่เคาน์เตอร์สถานีแห่งใหม่หรือเว็บไซต์ pancaranmatahari.com.my ซึ่งมีรถไปยังปลายทางโกตาบารู ตานาห์เมราห์ กัวลาลัมเปอร์ (สถานีขนส่งทีบีเอส และเฮนเตียนดูตา) ชาห์อลาม กาจัง ปูตราจายา เซเรมบัน มะละกา และยะโฮร์บาห์รู

    สถานีขนส่งแห่งใหม่ของรัฐเปอร์ลิส ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการขนส่งหลักทางภาคเหนือของมาเลเซีย เชื่อมต่อจุดหมายปลายทางต่างๆ เช่น กัวลาลัมเปอร์ ปีนัง โกตาบารู อิโปห์ ปาหัง ตรังกานู เซเรมบัน มะละกา ยะโฮร์ และประเทศสิงคโปร์ ประกอบด้วย ชานชาลาขาออก 3 ช่อง ชานชาลาขาเข้า 3 ช่อง ที่จอดรถบัสชั่วคราว 6 ช่อง ที่จอดรถแท็กซี่สาธารณะ 25 คัน ห้องละหมาด ห้องสุขา ห้องเปลี่ยนผ้าอ้อม พื้นที่เชิงพาณิชย์ และช่องขายตั๋ว สถานที่ใกล้เคียง ได้แก่ กองบัญชาการตำรวจภูธรจังหวัดเปอร์ลิส (IPK Perlis) โครงการกานการ์จายา (Kangar Jaya) ที่มีร้านเคเอฟซี มิสเตอร์ดีไอวาย และสตาร์บัคส์

    สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีรถโดยสารผ่านมาที่เมืองกานการ์โดยตรง เพราะไม่ใช่ทางผ่าน ส่วนมากรถทัวร์จาก อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จะให้บริการไปยังเมืองหลัก เช่น กัวลาลัมเปอร์ ปีนัง อิโปห์ เซเรมบัน มะละกา ยะโฮร์บาห์รู และประเทศสิงคโปร์ ส่วนการเดินทางมายังเมืองกานการ์ จากศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ มีรถเมล์สาย T11 กานการ์-ปาดังเบซาร์ให้บริการ

    #Newskit
    สถานีขนส่งรัฐเปอร์ลิส ย้ายจากบูกิตลากีไปที่ใหม่ เปิดให้บริการแล้ว สำหรับสถานีขนส่งผู้โดยสารแบบบูรณาการของรัฐเปอร์ลิส (Terminal Perlis Sentral) ทางภาคเหนือของมาเลเซีย ตั้งอยู่ที่สี่แยกระหว่างถนนสายกานการ์-อลอร์สตาร์ กับทางหลวงสายชางลูน-กัวลาเปอร์ลิส เมืองกานการ์ (Kangar) รัฐเปอร์ลิส ห่างจากสถานีขนส่งย่านบูกิต ลากี (Bukit Lagi) ประมาณ 7 กิโลเมตร โดยสภาเทศบาลเมืองกานการ์ประกาศว่าจะเริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 24 มี.ค. เป็นต้นไป คาดว่าภายใน 1 เดือนผู้ประกอบการจะย้ายไปยังสถานีขนส่งแห่งใหม่ทั้งหมด ยกเว้นรถประจำทางท้องถิ่น (Bas.My Kangar) จากชางลูน ปาดังเบซาร์ กัวลาเปอร์ลิส อลอร์สตาร์ (ทั้งสายไอร์อิตัมและสายจิตรา) เซเรียบ (ทั้งสายกัมปุงปังเกา และสายปาดังเบฮอร์) และกิลังกูลา ยังคงจอดที่ย่านบูกิต ลากี เช่นเดิม ระหว่างรอดำเนินการจากสำนักงานขนส่งสาธารณะทางบก (APAD) กรมการขนส่งทางบกมาเลเซีย (RTD) แต่สามารถเดินทางไปยังสถานีขนส่งแห่งใหม่ได้ ผ่านทางบริการ e-Hailing เช่น Grab ค่าโดยสารประมาณ 8 ริงกิต แต่ต้องปักหมุดด้วยตัวเอง ผู้ประกอบการเดินรถส่วนหนึ่ง ประกาศย้ายไปจอดที่สถานีขนส่งแห่งใหม่แล้ว เช่น บริษัทปันจารัน มาตาฮาริ (Pancaran Matahari) แจ้งว่าได้ย้ายไปที่สถานีขนส่งแห่งใหม่แล้ว ซื้อตั๋วได้ที่เคาน์เตอร์สถานีแห่งใหม่หรือเว็บไซต์ pancaranmatahari.com.my ซึ่งมีรถไปยังปลายทางโกตาบารู ตานาห์เมราห์ กัวลาลัมเปอร์ (สถานีขนส่งทีบีเอส และเฮนเตียนดูตา) ชาห์อลาม กาจัง ปูตราจายา เซเรมบัน มะละกา และยะโฮร์บาห์รู สถานีขนส่งแห่งใหม่ของรัฐเปอร์ลิส ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการขนส่งหลักทางภาคเหนือของมาเลเซีย เชื่อมต่อจุดหมายปลายทางต่างๆ เช่น กัวลาลัมเปอร์ ปีนัง โกตาบารู อิโปห์ ปาหัง ตรังกานู เซเรมบัน มะละกา ยะโฮร์ และประเทศสิงคโปร์ ประกอบด้วย ชานชาลาขาออก 3 ช่อง ชานชาลาขาเข้า 3 ช่อง ที่จอดรถบัสชั่วคราว 6 ช่อง ที่จอดรถแท็กซี่สาธารณะ 25 คัน ห้องละหมาด ห้องสุขา ห้องเปลี่ยนผ้าอ้อม พื้นที่เชิงพาณิชย์ และช่องขายตั๋ว สถานที่ใกล้เคียง ได้แก่ กองบัญชาการตำรวจภูธรจังหวัดเปอร์ลิส (IPK Perlis) โครงการกานการ์จายา (Kangar Jaya) ที่มีร้านเคเอฟซี มิสเตอร์ดีไอวาย และสตาร์บัคส์ สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีรถโดยสารผ่านมาที่เมืองกานการ์โดยตรง เพราะไม่ใช่ทางผ่าน ส่วนมากรถทัวร์จาก อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จะให้บริการไปยังเมืองหลัก เช่น กัวลาลัมเปอร์ ปีนัง อิโปห์ เซเรมบัน มะละกา ยะโฮร์บาห์รู และประเทศสิงคโปร์ ส่วนการเดินทางมายังเมืองกานการ์ จากศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ มีรถเมล์สาย T11 กานการ์-ปาดังเบซาร์ให้บริการ #Newskit
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 709 มุมมอง 0 รีวิว
  • เหรียญหลวงปู่มีชัย รุ่นร่ำรวย รุ่งเรือง ปลอดภัย ปี2553
    เหรียญหลวงปู่มีชัย รุ่นร่ำรวย รุ่งเรือง ปลอดภัย รัฐปีนัง ประเทศมาเลย์เซีย ปี2553 //พระดีพิธีใหญ่ รุ่นยอดนิยม หายาก แจกประเทศมาเลเซีย //พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณ ลูกศิษย์ ต่างหวงแหนยิ่งนัก ประสบการณ์ดี ทั้งทางด้าน โชคลาภ เมตตา ทำมาค้าขาย รำ่รวย เจริญรุ่งเรือง เรียกทรัพย์ เก็บทรัพย์ ค้าขายดี มหาอุด แคล้วคลาดปลอดภัย คงกระพัน ป้องกันภัย ปลอดภัย >>

    ** ทหาร-ตำรวจ ส่งไปปฏิบัติหน้าที่ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เคยได้รับวัตถุมงคลหลวงปู่มีชัยต่างมีประสบการณ์แคล้วคลาดนับครั้งไม่ถ้วน >>

    ** หลวงปู่มีชัย กามฉินโท สุดยอดพระประสบการณ์ 3 จังหวัดชายแดนใต้ พระอริยสงฆ์ที่เป็นที่เคารพศรัทธาทั้งในไทยและหลายประเทศ ทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไต้หวัน เชคโกสโลวเกีย.. จึงมีลูกศิษย์มากมาย เทพเจ้าแห่งความร่ำรวย ... สายวิชาหลวงปู่เทพโลกอุดร ที่มียันต์ขุมทรัพย์เรียกทรัพย์ที่เป็นหนึ่งเดียวต่อๆไปจะเป็นตำนาน แทบไม่น่าเชื่อว่าจะมีเกจิแบบนี้อยู่อีก หายาก >>


    ** พระสถาพสวยมาก พระดูง่าย พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131
    เหรียญหลวงปู่มีชัย รุ่นร่ำรวย รุ่งเรือง ปลอดภัย ปี2553 เหรียญหลวงปู่มีชัย รุ่นร่ำรวย รุ่งเรือง ปลอดภัย รัฐปีนัง ประเทศมาเลย์เซีย ปี2553 //พระดีพิธีใหญ่ รุ่นยอดนิยม หายาก แจกประเทศมาเลเซีย //พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณ ลูกศิษย์ ต่างหวงแหนยิ่งนัก ประสบการณ์ดี ทั้งทางด้าน โชคลาภ เมตตา ทำมาค้าขาย รำ่รวย เจริญรุ่งเรือง เรียกทรัพย์ เก็บทรัพย์ ค้าขายดี มหาอุด แคล้วคลาดปลอดภัย คงกระพัน ป้องกันภัย ปลอดภัย >> ** ทหาร-ตำรวจ ส่งไปปฏิบัติหน้าที่ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เคยได้รับวัตถุมงคลหลวงปู่มีชัยต่างมีประสบการณ์แคล้วคลาดนับครั้งไม่ถ้วน >> ** หลวงปู่มีชัย กามฉินโท สุดยอดพระประสบการณ์ 3 จังหวัดชายแดนใต้ พระอริยสงฆ์ที่เป็นที่เคารพศรัทธาทั้งในไทยและหลายประเทศ ทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไต้หวัน เชคโกสโลวเกีย.. จึงมีลูกศิษย์มากมาย เทพเจ้าแห่งความร่ำรวย ... สายวิชาหลวงปู่เทพโลกอุดร ที่มียันต์ขุมทรัพย์เรียกทรัพย์ที่เป็นหนึ่งเดียวต่อๆไปจะเป็นตำนาน แทบไม่น่าเชื่อว่าจะมีเกจิแบบนี้อยู่อีก หายาก >> ** พระสถาพสวยมาก พระดูง่าย พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 567 มุมมอง 0 รีวิว
  • รถไฟ ETS มาเลเซีย ขยายถึงเซกามัต รัฐยะโฮร์

    สิ้นสุดการรอคอยสำหรับการขยายเส้นทางรถไฟ ETS (Electric Train Service) ของการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ประเทศมาเลเซีย จากเดิมสิ้นสุดที่สถานีเกอมัส (Gemas) รัฐเนกรีเซมบีลัน ขยายไปถึงสถานีเซกามัต (Segamat) รัฐยะโฮร์ หลังเจอโรคเลื่อนไปหลายเดือน ล่าสุดประกาศว่าจะเปิดให้บริการในวันที่ 15 มี.ค. 2568 เป็นต้นไป จากต้นทางสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) รัฐปะลิส ติดชายแดนไทย-มาเลเซีย จ.สงขลา และสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง

    โดยปรับเปลี่ยนต้นทางและปลายทางจากเดิมสถานีเกอมัส เป็นสถานีเซกามัต โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนเวลาเดินรถ ได้แก่ ขบวนที่ EG9420 เซกามัต-ปาดังเบซาร์ ออกจากสถานีเซกามัต 07.55 น. ผ่านสถานีเกอมัส 08.12 น. สถานี KL Sentral 10.41 น. ถึงสถานีปาดังเบซาร์ 16.18 น.

    ขบวนที่ EG9425 ปาดังเบซาร์-เซกามัต ออกจากสถานีปาดังเบซาร์ 15.55 น. (เวลามาเลเซีย เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง) ผ่านสถานี KL Sentral 21.39 น. สถานีเกอมัส 00.05 น. (วันถัดไป) ถึงสถานีเซกามัต 00.20 น. (วันถัดไป)

    ขบวนที่ EG9322 เซกามัต-บัตเตอร์เวิร์ธ ออกจากสถานีเซกามัต 15.35 น. ผ่านสถานีเกอมัส 15.52 น. สถานี KL Sentral 18.22 น. ถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 22.42 น.

    ขบวนที่ EG9321 ออกจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 07.50 น. ผ่านสถานี KL Sentral 12.15 น. สถานีเกอมัส 14.42 น. ถึงสถานีเซกามัต 14.57 น.

    ค่าโดยสารช่วงเซกามัต-ปาดังเบซาร์ เริ่มต้นที่ 101 ริงกิต (773 บาท) ส่วนช่วงเซกามัต-บัตเตอร์เวิร์ธ เริ่มต้นที่ 84 ริงกิต (643 บาท) สำรองที่นั่งได้ที่แอปพลิเคชัน KTMB Mobile ตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. 2568 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป หรือที่เครื่อง Kiosk ของ KTM Berhad ทุกสถานี รับบัตร VISA และ Mastercard

    จากสถานีเซกามัต มีสถานีขนส่งซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสถานี มีรถบัสให้บริการไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) สถานีขนส่งลาร์คิน ยะโฮร์บาห์รู (Larkin, Johor Bharu) มะละกา (Malacca) และกวนตัน (Kuantan) ตั้งแต่เช้าถึงค่ำ แต่หากเดินทางด้วยรถไฟขบวน EG9425 จากปาดังเบซาร์ สามารถต่อรถไฟ KTM Intercity ไปยังสถานีเจบี เซ็นทรัล (JB Sentral) เพื่อไปประเทศสิงคโปร์ โดยขบวนที่ ES41 ออกจากสถานีเซกามัตเวลา 02.36 น. ถึงสถานีเจบี เซ็นทรัล 06.25 น.

    ส่วนโครงการรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู (Gemas-Johor Bahru Electrified Double-Tracking Rail Project หรือ Gemas - JB EDTP) ระยะทาง 192 กิโลเมตร รัฐบาลท้องถิ่นรัฐยะโฮร์เปิดเผยว่าใกล้เสร็จสมบูรณ์ คาดว่าจะเปิดตัวประมาณเดือน ส.ค.2568

    #Newskit
    รถไฟ ETS มาเลเซีย ขยายถึงเซกามัต รัฐยะโฮร์ สิ้นสุดการรอคอยสำหรับการขยายเส้นทางรถไฟ ETS (Electric Train Service) ของการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ประเทศมาเลเซีย จากเดิมสิ้นสุดที่สถานีเกอมัส (Gemas) รัฐเนกรีเซมบีลัน ขยายไปถึงสถานีเซกามัต (Segamat) รัฐยะโฮร์ หลังเจอโรคเลื่อนไปหลายเดือน ล่าสุดประกาศว่าจะเปิดให้บริการในวันที่ 15 มี.ค. 2568 เป็นต้นไป จากต้นทางสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) รัฐปะลิส ติดชายแดนไทย-มาเลเซีย จ.สงขลา และสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง โดยปรับเปลี่ยนต้นทางและปลายทางจากเดิมสถานีเกอมัส เป็นสถานีเซกามัต โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนเวลาเดินรถ ได้แก่ ขบวนที่ EG9420 เซกามัต-ปาดังเบซาร์ ออกจากสถานีเซกามัต 07.55 น. ผ่านสถานีเกอมัส 08.12 น. สถานี KL Sentral 10.41 น. ถึงสถานีปาดังเบซาร์ 16.18 น. ขบวนที่ EG9425 ปาดังเบซาร์-เซกามัต ออกจากสถานีปาดังเบซาร์ 15.55 น. (เวลามาเลเซีย เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง) ผ่านสถานี KL Sentral 21.39 น. สถานีเกอมัส 00.05 น. (วันถัดไป) ถึงสถานีเซกามัต 00.20 น. (วันถัดไป) ขบวนที่ EG9322 เซกามัต-บัตเตอร์เวิร์ธ ออกจากสถานีเซกามัต 15.35 น. ผ่านสถานีเกอมัส 15.52 น. สถานี KL Sentral 18.22 น. ถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 22.42 น. ขบวนที่ EG9321 ออกจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 07.50 น. ผ่านสถานี KL Sentral 12.15 น. สถานีเกอมัส 14.42 น. ถึงสถานีเซกามัต 14.57 น. ค่าโดยสารช่วงเซกามัต-ปาดังเบซาร์ เริ่มต้นที่ 101 ริงกิต (773 บาท) ส่วนช่วงเซกามัต-บัตเตอร์เวิร์ธ เริ่มต้นที่ 84 ริงกิต (643 บาท) สำรองที่นั่งได้ที่แอปพลิเคชัน KTMB Mobile ตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. 2568 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป หรือที่เครื่อง Kiosk ของ KTM Berhad ทุกสถานี รับบัตร VISA และ Mastercard จากสถานีเซกามัต มีสถานีขนส่งซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสถานี มีรถบัสให้บริการไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) สถานีขนส่งลาร์คิน ยะโฮร์บาห์รู (Larkin, Johor Bharu) มะละกา (Malacca) และกวนตัน (Kuantan) ตั้งแต่เช้าถึงค่ำ แต่หากเดินทางด้วยรถไฟขบวน EG9425 จากปาดังเบซาร์ สามารถต่อรถไฟ KTM Intercity ไปยังสถานีเจบี เซ็นทรัล (JB Sentral) เพื่อไปประเทศสิงคโปร์ โดยขบวนที่ ES41 ออกจากสถานีเซกามัตเวลา 02.36 น. ถึงสถานีเจบี เซ็นทรัล 06.25 น. ส่วนโครงการรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู (Gemas-Johor Bahru Electrified Double-Tracking Rail Project หรือ Gemas - JB EDTP) ระยะทาง 192 กิโลเมตร รัฐบาลท้องถิ่นรัฐยะโฮร์เปิดเผยว่าใกล้เสร็จสมบูรณ์ คาดว่าจะเปิดตัวประมาณเดือน ส.ค.2568 #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 651 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขยายบริการ DRT เกาะปีนัง ไปยังเกอร์นีย์และบัตเตอร์เวิร์ธ

    บริการขนส่งสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการเดินทาง หรือ DRT (Demand Responsive Transport) ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งใช้รถตู้เป็นยานพาหนะ เชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้าหลักไปยังชุมชนในรัศมีประมาณ 2 กิโลเมตร โดยเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน เลือกจุดขึ้นรถ จุดลงรถ และชำระค่าโดยสารผ่านบัตรโดยสาร ไม่ได้จำกัดเพียงแค่พื้นที่หุบเขาแคลง (Klang Valley) ในเมืองหลวงเท่านั้น แต่มหานครอันดับสองอย่างรัฐปีนัง เริ่มให้บริการแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 ที่ผ่านมา

    บริษัทแรพิดบัส (Rapid Bus) ผู้ให้บริการรถโดยสาร แรพิด ปีนัง (Rapid Penang) ประกาศว่าจะขยายบริการ แรพิด ปีนัง ออน ดีมานด์ (Rapid Penang On-Demand) จากเดิมมีสาย T210B ฟาร์ลิม-ไอร์อิตัม (Farlim-Air Itam) เพิ่มอีก 3 เส้นทาง ตั้งแต่ 15 มี.ค.2568 เป็นต้นไป ได้แก่

    สาย T110B เกอร์นีย์-ตันจงบุงกะห์ (Gurney-Tanjung Bungah) ใช้รถตู้ 6 คัน

    สาย T710B ซันเวย์-บัตเตอร์เวิร์ธ (Sunway-Butterworth) ใช้รถตู้ 6 คัน

    และสาย T211B ปายา เตอรูบง (Paya Terubong) ใช้รถตู้ 1 คัน

    นอกจากนี้ สาย T210B จะเพิ่มรถตู้จาก 2 คัน เป็น 4 คัน เพื่อรองรับความต้องการที่สูงขึ้น และลดเวลารอคอยของผู้โดยสารจาก 17 นาทีเหลือ 10 นาที ที่ผ่านมามีผู้โดยสารเฉลี่ย 137 คนต่อวัน ซึ่งเกินเป้าหมายเริ่มต้นที่ 100 คนต่อวัน รวมแล้วจำนวนผู้โดยสารทั้งหมดเกิน 26,000 คนในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา

    แถลงการณ์ของบริษัทฯ ระบุว่า เส้นทางใหม่เหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อตอบสนองความต้องการขนส่งสาธารณะ ในพื้นที่ซึ่งมีประชากรหนาแน่นและย่านที่อยู่อาศัยที่เพิ่งพัฒนา แต่ยังขาดการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ โดยจะทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายรถเมล์ Rapid Penang เพิ่มการเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะในรัฐ โดยวางแผนทยอยนำรถตู้ 50 คันมาให้บริการตลอดทั้งปี ซึ่งการเปิดบริการครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเปลี่ยนไปใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    Rapid Penang On-Demand เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00-23.00 น. สามารถจองรถได้ทางแอปพลิเคชัน กัมมูเต (Kummute) คิดค่าโดยสารราคาพิเศษ 1 ริงกิต (ประมาณ 7.70 บาท) ต่อเที่ยวการเดินทาง และจะใช้วิธีการชำระเงินแบบไม่ใช้เงินสด ได้แก่ บัตร My50 และบัตร OKU Smile สำหรับคนในพื้นที่ บัตรเดบิต บัตรเครดิต DuitNow QR และกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะเริ่มจากเส้นทาง T210B ฟาร์ลิม-ไอร์อิตัม ตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค.2568 ก่อนจะนำมาใช้ทั้ง 3 เส้นทางที่เปิดให้บริการขึ้นมาใหม่

    #Newskit
    ขยายบริการ DRT เกาะปีนัง ไปยังเกอร์นีย์และบัตเตอร์เวิร์ธ บริการขนส่งสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการเดินทาง หรือ DRT (Demand Responsive Transport) ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งใช้รถตู้เป็นยานพาหนะ เชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้าหลักไปยังชุมชนในรัศมีประมาณ 2 กิโลเมตร โดยเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน เลือกจุดขึ้นรถ จุดลงรถ และชำระค่าโดยสารผ่านบัตรโดยสาร ไม่ได้จำกัดเพียงแค่พื้นที่หุบเขาแคลง (Klang Valley) ในเมืองหลวงเท่านั้น แต่มหานครอันดับสองอย่างรัฐปีนัง เริ่มให้บริการแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 ที่ผ่านมา บริษัทแรพิดบัส (Rapid Bus) ผู้ให้บริการรถโดยสาร แรพิด ปีนัง (Rapid Penang) ประกาศว่าจะขยายบริการ แรพิด ปีนัง ออน ดีมานด์ (Rapid Penang On-Demand) จากเดิมมีสาย T210B ฟาร์ลิม-ไอร์อิตัม (Farlim-Air Itam) เพิ่มอีก 3 เส้นทาง ตั้งแต่ 15 มี.ค.2568 เป็นต้นไป ได้แก่ สาย T110B เกอร์นีย์-ตันจงบุงกะห์ (Gurney-Tanjung Bungah) ใช้รถตู้ 6 คัน สาย T710B ซันเวย์-บัตเตอร์เวิร์ธ (Sunway-Butterworth) ใช้รถตู้ 6 คัน และสาย T211B ปายา เตอรูบง (Paya Terubong) ใช้รถตู้ 1 คัน นอกจากนี้ สาย T210B จะเพิ่มรถตู้จาก 2 คัน เป็น 4 คัน เพื่อรองรับความต้องการที่สูงขึ้น และลดเวลารอคอยของผู้โดยสารจาก 17 นาทีเหลือ 10 นาที ที่ผ่านมามีผู้โดยสารเฉลี่ย 137 คนต่อวัน ซึ่งเกินเป้าหมายเริ่มต้นที่ 100 คนต่อวัน รวมแล้วจำนวนผู้โดยสารทั้งหมดเกิน 26,000 คนในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา แถลงการณ์ของบริษัทฯ ระบุว่า เส้นทางใหม่เหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อตอบสนองความต้องการขนส่งสาธารณะ ในพื้นที่ซึ่งมีประชากรหนาแน่นและย่านที่อยู่อาศัยที่เพิ่งพัฒนา แต่ยังขาดการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ โดยจะทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายรถเมล์ Rapid Penang เพิ่มการเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะในรัฐ โดยวางแผนทยอยนำรถตู้ 50 คันมาให้บริการตลอดทั้งปี ซึ่งการเปิดบริการครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเปลี่ยนไปใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น Rapid Penang On-Demand เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00-23.00 น. สามารถจองรถได้ทางแอปพลิเคชัน กัมมูเต (Kummute) คิดค่าโดยสารราคาพิเศษ 1 ริงกิต (ประมาณ 7.70 บาท) ต่อเที่ยวการเดินทาง และจะใช้วิธีการชำระเงินแบบไม่ใช้เงินสด ได้แก่ บัตร My50 และบัตร OKU Smile สำหรับคนในพื้นที่ บัตรเดบิต บัตรเครดิต DuitNow QR และกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะเริ่มจากเส้นทาง T210B ฟาร์ลิม-ไอร์อิตัม ตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค.2568 ก่อนจะนำมาใช้ทั้ง 3 เส้นทางที่เปิดให้บริการขึ้นมาใหม่ #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 948 มุมมอง 0 รีวิว
  • แอร์เอเชียโบกมือลา หยุดให้บริการสนามบินซูบัง

    หลังจากสายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติมาเลเซีย แอร์เอเชีย (AirAsia) กลับมาทำการบินที่ท่าอากาศยานสุลต่านอับดุลอาซิสชาห์ หรือท่าอากาศยานซูบัง (Subang หรือ SZB) ซึ่งเป็นอดีตสนามบินหลักของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ในรอบ 24 ปี ไปยังรัฐซาบาห์และรัฐซาราวักบนเกาะบอร์เนียว มาตั้งแต่วันที่ 30 ส.ค.2567 ที่ผ่านมา ปรากฎว่าผ่านไปเพียง 7 เดือน ในที่สุดประกาศว่า จะกลับมารวมเที่ยวบินภายในประเทศที่ท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์ (KUL) อาคาร 2 (KLIA2) เช่นเดิม มีผลตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย.2568 เป็นต้นไป ผู้โดยสารที่เคยจองบัตรโดยสารไว้ก่อนหน้านี้ ต้องเปลี่ยนไปขึ้นหรือลงที่ KLIA2 แทน

    แถลงการณ์ของแอร์เอเชียอ้างว่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เนื่องจากผู้โดยสารระหว่าง KLIA2 ไปยังเมืองหลัก เช่น โกตากินาบาลู (Kota Kinabalu) และกูชิง (Kucing) เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการให้บริการรวมกันที่ KLIA2 จะช่วยรองรับปริมาณการเดินทางได้ดีขึ้น แม้ท่าอากาศยานซูบังจะสะดวกสบายโดยเฉพาะนักเดินทางที่มุ่งหน้าสู่ใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ แต่การพัฒนาสนามบินซูบังขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคตต้องใช้เวลา ขณะที่ท่าอากาศยาน KLIA2 เป็นทำเลที่ดีที่สุดในการเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพการให้บริการ

    ฟาเรห์ มาซปุตรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแอร์เอเชีย เห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานของ KLIA2 รองรับการเชื่อมต่อขนาดใหญ่ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีการเดินทางสูงสุด และอาคารผู้โดยสารยังรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่องสำหรับ\เพิ่มเที่ยวบิน เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเส้นทางมาเลเซียตะวันออก

    การยุติให้บริการของแอร์เอเชีย ทำให้ยังคงเหลือสายการบินที่ทำการบินที่ท่าอากาศยานซูบัง ได้แก่ ไฟร์ฟลาย (Firefly) ไปยังสนามบินเซเลตาร์ (Seletar) หรือ XSP ในสิงคโปร์มากถึงวันละ 5 เที่ยวบิน ปีนัง (Penang) วันละ 4 เที่ยวบิน โกตาบารู (Kota Bharu) วันละ 2-4 เที่ยวบิน ยะโฮร์บาห์รู (Johor Bahru) วันละ 2 เที่ยวบิน และเมืองอื่นๆ เช่น อลอร์สตาร์ (Alor Setar) ลังกาวี (Langkawi) กัวลาตรังกานู (Kuala Terengganu) และโกตากินาบาลู

    ส่วนสายการบินอื่นๆ อาทิ รายาแอร์เวย์ (Raya Airways) ไปยังโกตากินาบาลู 2 เที่ยวบิน กูชิง 2 เที่ยวบิน ลาบวน (Labuan) ฮ่องกง (HKG) 1-2 เที่ยวบิน สิงคโปร์ชางงี (SIN) และจาการ์ตา (Jakarta CGK) อินโดนีเซีย, เบอร์จายาแอร์ (Berjaya Air) ให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำไปยังลังกาวีและเรดัง (Redang), ทรานส์นูซา (TransNusa) ไปยังจาการ์ตา และสกู๊ต (Scoot) ไปยังสิงคโปร์ชางงี เป็นต้น

    #Newskit
    แอร์เอเชียโบกมือลา หยุดให้บริการสนามบินซูบัง หลังจากสายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติมาเลเซีย แอร์เอเชีย (AirAsia) กลับมาทำการบินที่ท่าอากาศยานสุลต่านอับดุลอาซิสชาห์ หรือท่าอากาศยานซูบัง (Subang หรือ SZB) ซึ่งเป็นอดีตสนามบินหลักของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ในรอบ 24 ปี ไปยังรัฐซาบาห์และรัฐซาราวักบนเกาะบอร์เนียว มาตั้งแต่วันที่ 30 ส.ค.2567 ที่ผ่านมา ปรากฎว่าผ่านไปเพียง 7 เดือน ในที่สุดประกาศว่า จะกลับมารวมเที่ยวบินภายในประเทศที่ท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์ (KUL) อาคาร 2 (KLIA2) เช่นเดิม มีผลตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย.2568 เป็นต้นไป ผู้โดยสารที่เคยจองบัตรโดยสารไว้ก่อนหน้านี้ ต้องเปลี่ยนไปขึ้นหรือลงที่ KLIA2 แทน แถลงการณ์ของแอร์เอเชียอ้างว่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เนื่องจากผู้โดยสารระหว่าง KLIA2 ไปยังเมืองหลัก เช่น โกตากินาบาลู (Kota Kinabalu) และกูชิง (Kucing) เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการให้บริการรวมกันที่ KLIA2 จะช่วยรองรับปริมาณการเดินทางได้ดีขึ้น แม้ท่าอากาศยานซูบังจะสะดวกสบายโดยเฉพาะนักเดินทางที่มุ่งหน้าสู่ใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ แต่การพัฒนาสนามบินซูบังขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคตต้องใช้เวลา ขณะที่ท่าอากาศยาน KLIA2 เป็นทำเลที่ดีที่สุดในการเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพการให้บริการ ฟาเรห์ มาซปุตรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแอร์เอเชีย เห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานของ KLIA2 รองรับการเชื่อมต่อขนาดใหญ่ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีการเดินทางสูงสุด และอาคารผู้โดยสารยังรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่องสำหรับ\เพิ่มเที่ยวบิน เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเส้นทางมาเลเซียตะวันออก การยุติให้บริการของแอร์เอเชีย ทำให้ยังคงเหลือสายการบินที่ทำการบินที่ท่าอากาศยานซูบัง ได้แก่ ไฟร์ฟลาย (Firefly) ไปยังสนามบินเซเลตาร์ (Seletar) หรือ XSP ในสิงคโปร์มากถึงวันละ 5 เที่ยวบิน ปีนัง (Penang) วันละ 4 เที่ยวบิน โกตาบารู (Kota Bharu) วันละ 2-4 เที่ยวบิน ยะโฮร์บาห์รู (Johor Bahru) วันละ 2 เที่ยวบิน และเมืองอื่นๆ เช่น อลอร์สตาร์ (Alor Setar) ลังกาวี (Langkawi) กัวลาตรังกานู (Kuala Terengganu) และโกตากินาบาลู ส่วนสายการบินอื่นๆ อาทิ รายาแอร์เวย์ (Raya Airways) ไปยังโกตากินาบาลู 2 เที่ยวบิน กูชิง 2 เที่ยวบิน ลาบวน (Labuan) ฮ่องกง (HKG) 1-2 เที่ยวบิน สิงคโปร์ชางงี (SIN) และจาการ์ตา (Jakarta CGK) อินโดนีเซีย, เบอร์จายาแอร์ (Berjaya Air) ให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำไปยังลังกาวีและเรดัง (Redang), ทรานส์นูซา (TransNusa) ไปยังจาการ์ตา และสกู๊ต (Scoot) ไปยังสิงคโปร์ชางงี เป็นต้น #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 763 มุมมอง 0 รีวิว
  • ลุ้นเปิดสถานีขนส่งใหม่ TBG ก่อนเทศกาลอีดิลฟิตรี

    แม้สถานีขนส่งผู้โดยสารแบบบูรณาการกอมบัค (ภาษามาเลย์ Terminal Bersepadu Gombak หรือ TBG) เมืองกอมบัค รัฐสลังงอร์ ประเทศมาเลเซีย จะเลื่อนให้บริการจากเดิมวันที่ 16 ก.พ. ออกไปอย่างไม่มีกำหนด แต่ก็มีความคืบหน้าจากการตรวจสอบความพร้อมในการให้บริการ ของนายแอนโทเนีย โลค รมว.คมนาคมมาเลเซียและคณะ เมื่อวันที่ 4 มี.ค. โดยคาดว่าจะเริ่มทดลองให้บริการในวันที่ 15 มี.ค. ในเส้นทางชายฝั่งทะเลตะวันออก ปลายทางรัฐปะหัง รัฐตรังกานู และรัฐกลันตัน

    นายแอนโทเนีย กล่าวว่า หากสถานีขนส่งกอมบัคสามารถเปิดเต็มรูปแบบภายในสิ้นเดือน มี.ค. จะช่วยลดปัญหาการจราจรที่สถานีขนส่งแบบบูรณาการ TBS (ภาษามาเลย์ Terminal Bersepadu Selatan) ในช่วงเทศกาลอีดิลฟิตรีได้ ซึ่งกระทรวงคมนาคม และกรมโยธาธิการมาเลเซีย จะตรวจสอบครั้งสุดท้ายภายในปลายสัปดาห์หน้า นอกจากรถบัสด่วนแล้ว ยังเชื่อมต่อกับรถบัสระหว่างเมือง และรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) กอมบัค รวมทั้งโครงการรถไฟ ECRL ที่คืบหน้าแล้ว 79%

    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วที่สถานีขนส่งกอมบัคยังไม่เปิดให้บริการ ผู้โดยสารยังคงซื้อตั๋วได้สถานีขนส่ง TBS เช่นเดิม โดยการเปิดให้บริการนอกจากจะมีร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม และฮอลล์เอนกประสงค์แล้ว ยังมีแพลตฟอร์มเฉพาะเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการอีกด้วย

    สำหรับสถานีขนส่งกอมบัค (TBG) ตั้งอยู่ที่ถนนวงแหวนรอบกลางสายที่ 2 (MRR2) กรุงกัวลาลัมเปอร์ ใกล้กับด่านเก็บค่าผ่านทางกอมบัค และสถานีรถไฟฟ้ากอมบัค ปลายทางของรถไฟฟ้า LRT สายเกลานา จายา (Kelana Jaya Line) ซึ่งสามารถเดินทางได้จากสถานีกลาง KL Sentral และสถานี KLCC เป็นอาคารสูง 7 ชั้น พร้อมด้วยพื้นที่เชิงพาณิชย์รวม 1.1 ล้านตารางฟุต 350 ร้านค้า โดยรัฐบาลให้สัมปทานกับเอกชนในการก่อสร้าง ภายใต้โครงการริเริ่มทางการเงินของภาคเอกชน (PFI) ซึ่งบริษัทซีลัน (Zelan) เจ้าของธุรกิจวิศวกรรมและก่อสร้าง ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลมาเลเซีย ระยะเวลา 25 ปี

    อนึ่ง กรุงกัวลาลัมเปอร์ มีสถานีขนส่งแบบบูรณาการ TBS เป็นสถานีขนส่งหลัก เปิดให้บริการเมื่อปี 2554 และมีสถานีขนส่งย่อย เช่น สถานีขนส่งปูดูเซ็นทรัล (Pudu Sentral) ซึ่งเป็นอดีตสถานีขนส่งหลักก่อนย้ายไป TBS ใกล้กันจะมีสถานีขนส่งโกตารายา (Kota Raya) อีกด้านหนึ่งยังมีสถานีขนส่งเปอเกลิลิง (Pekeliling) ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าตี้ตี้วังซา (Titiwangsa) หรือจะเป็นสถานีขนส่งเฮนเทียนดูตาร์ (Hentian Duta) ไปยังปลายทางรัฐตอนเหนือ เช่น ปีนัง เคดะห์ เปรัค ปะลิส และที่สถานี KL Sentral ยังมีรถทัวร์ให้บริการอีกด้วย

    #Newskit
    ลุ้นเปิดสถานีขนส่งใหม่ TBG ก่อนเทศกาลอีดิลฟิตรี แม้สถานีขนส่งผู้โดยสารแบบบูรณาการกอมบัค (ภาษามาเลย์ Terminal Bersepadu Gombak หรือ TBG) เมืองกอมบัค รัฐสลังงอร์ ประเทศมาเลเซีย จะเลื่อนให้บริการจากเดิมวันที่ 16 ก.พ. ออกไปอย่างไม่มีกำหนด แต่ก็มีความคืบหน้าจากการตรวจสอบความพร้อมในการให้บริการ ของนายแอนโทเนีย โลค รมว.คมนาคมมาเลเซียและคณะ เมื่อวันที่ 4 มี.ค. โดยคาดว่าจะเริ่มทดลองให้บริการในวันที่ 15 มี.ค. ในเส้นทางชายฝั่งทะเลตะวันออก ปลายทางรัฐปะหัง รัฐตรังกานู และรัฐกลันตัน นายแอนโทเนีย กล่าวว่า หากสถานีขนส่งกอมบัคสามารถเปิดเต็มรูปแบบภายในสิ้นเดือน มี.ค. จะช่วยลดปัญหาการจราจรที่สถานีขนส่งแบบบูรณาการ TBS (ภาษามาเลย์ Terminal Bersepadu Selatan) ในช่วงเทศกาลอีดิลฟิตรีได้ ซึ่งกระทรวงคมนาคม และกรมโยธาธิการมาเลเซีย จะตรวจสอบครั้งสุดท้ายภายในปลายสัปดาห์หน้า นอกจากรถบัสด่วนแล้ว ยังเชื่อมต่อกับรถบัสระหว่างเมือง และรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) กอมบัค รวมทั้งโครงการรถไฟ ECRL ที่คืบหน้าแล้ว 79% อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วที่สถานีขนส่งกอมบัคยังไม่เปิดให้บริการ ผู้โดยสารยังคงซื้อตั๋วได้สถานีขนส่ง TBS เช่นเดิม โดยการเปิดให้บริการนอกจากจะมีร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม และฮอลล์เอนกประสงค์แล้ว ยังมีแพลตฟอร์มเฉพาะเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการอีกด้วย สำหรับสถานีขนส่งกอมบัค (TBG) ตั้งอยู่ที่ถนนวงแหวนรอบกลางสายที่ 2 (MRR2) กรุงกัวลาลัมเปอร์ ใกล้กับด่านเก็บค่าผ่านทางกอมบัค และสถานีรถไฟฟ้ากอมบัค ปลายทางของรถไฟฟ้า LRT สายเกลานา จายา (Kelana Jaya Line) ซึ่งสามารถเดินทางได้จากสถานีกลาง KL Sentral และสถานี KLCC เป็นอาคารสูง 7 ชั้น พร้อมด้วยพื้นที่เชิงพาณิชย์รวม 1.1 ล้านตารางฟุต 350 ร้านค้า โดยรัฐบาลให้สัมปทานกับเอกชนในการก่อสร้าง ภายใต้โครงการริเริ่มทางการเงินของภาคเอกชน (PFI) ซึ่งบริษัทซีลัน (Zelan) เจ้าของธุรกิจวิศวกรรมและก่อสร้าง ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลมาเลเซีย ระยะเวลา 25 ปี อนึ่ง กรุงกัวลาลัมเปอร์ มีสถานีขนส่งแบบบูรณาการ TBS เป็นสถานีขนส่งหลัก เปิดให้บริการเมื่อปี 2554 และมีสถานีขนส่งย่อย เช่น สถานีขนส่งปูดูเซ็นทรัล (Pudu Sentral) ซึ่งเป็นอดีตสถานีขนส่งหลักก่อนย้ายไป TBS ใกล้กันจะมีสถานีขนส่งโกตารายา (Kota Raya) อีกด้านหนึ่งยังมีสถานีขนส่งเปอเกลิลิง (Pekeliling) ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าตี้ตี้วังซา (Titiwangsa) หรือจะเป็นสถานีขนส่งเฮนเทียนดูตาร์ (Hentian Duta) ไปยังปลายทางรัฐตอนเหนือ เช่น ปีนัง เคดะห์ เปรัค ปะลิส และที่สถานี KL Sentral ยังมีรถทัวร์ให้บริการอีกด้วย #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 719 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศิลปินฟ้องแอร์เอเชีย ละเมิดสตรีทอาร์ตปีนัง

    งานเข้าอีกครั้งสำหรับโลว์คอสต์แอร์ไลน์สัญชาติมาเลเซีย อย่างสายการบินแอร์เอเชีย คราวนี้ไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ แต่เป็นการนำผลงานสตรีทอาร์ตบนเกาะปีนัง ประเทศมาเลเซียไปใช้ โดยที่เจ้าของผลงานตัวจริงเห็นว่าไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องและไม่ยุติธรรมสำหรับเขา

    อินสตาแกรม ernestzacharevic ของ เออร์เนสต์ ซาชาเรวิช (Ernest Zacharevic) ศิลปินชาวลิทัวเนีย เจ้าของผลงานสตรีทอาร์ต "Children On A Bicycle" ที่มีชื่อเสียงทั่วโลก โพสต์ข้อความในหัวข้อ "AIRASIA UPDATE: It’s Time to Talk" ระบุว่า เมื่อ 2 เดือนก่อนได้โพสต์วีดีโอคลิปเครื่องบินแอร์เอเชีย ที่มีภาพจิตรกรรมบนผนังของตน ซึ่งถูกนำไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม

    "น่าเสียดายที่ไม่ใช่ครั้งแรก ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ภาพจิตรกรรมฝาผนังของผมปรากฎในแคมเปญผ่านอีเมล โฆษณา นิตยสารบนเที่ยวบิน และอื่นๆ ของแอร์เอเชีย โดยไม่ได้รับการให้เครดิต ความยินยอม หรือการชดเชยใดๆ ที่เหมาะสม พฤติกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถือเป็นบรรทัดฐานที่อันตราย นั่นหมายความว่าผลงานของศิลปินอาจถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องรับผลที่ตามมา ไม่ใช่แค่เรื่องของผมเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อชุมชนศิลปินทั้งหมด"

    ที่ผ่านมาพยายามแก้ไขปัญหานี้อย่างยุติธรรมและเป็นมืออาชีพ แต่การตอบสนองของแอร์เอเชียมีแค่ออกแถลงการณ์ ปฏิเสธการละเมิดลิขสิทธิ์ในอดีต และยืดเยื้อการพูดคุย และเห็นว่าข้อเสนอสุดท้ายไม่สะท้อนถึงคุณค่าต่อผลงานของตน ทำให้ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากดำเนินคดีทางกฎหมาย โดยเมื่อยื่นฟ้องแล้ว เขาจะไม่สามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้

    ศิลปินรายนี้ยังได้แนบภาพหลักฐานที่ผลงานของตน ถูกแอร์เอเชียนำไปใช้แคมเปญโฆษณาต่างๆ มีทั้งการเปิดเส้นทางบินใหม่ระหว่างปีนังไปยังย่างกุ้ง กรุงเทพฯ และเวียดนาม นำไปตัดต่อเป็นสื่อโฆษณาของบริษัทในเครือ เช่น บริการดีลิเวอรีแอร์เอเชียฟู้ด บริการขนส่งสินค้าเทเลพอร์ต และล่าสุดคือลวดลายบนเครื่องบินแอร์เอเชีย

    สำหรับผลงานสตรีทอาร์ต Children On A Bicycle ตั้งอยู่ที่ถนนอาร์เมเนียนในเมืองจอร์จทาวน์ ถูกวาดโดยซาชาเรวิชเมื่อปี 2555 เพื่อแสดงถึงวิถีชีวิตบนเกาะปีนัง โดยใช้เด็กสองคนที่ชื่อว่า ด.ญ.ตัน ยี (Tan Yi) เมื่ออายุ 5 ขวบ และ ด.ช.ตัน เคิร์น (Tan Kern) เมื่ออายุ 3 ขวบมาเป็นแบบ กลายเป็นสถานที่ดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกมาเยือน กระทั่งเวลาผ่านไป 12 ปี เมื่อเดือน ต.ค.2567 ซาชาเรวิช ได้บูรณะภาพวาดสตรีทอาร์ตดังกล่าว พร้อมกับงานศิลปะอีก 3 ภาพ ได้แก่ Boy On a Bike, Little Boy with a Pet Dinosaur และ Boy on Chair.

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    ศิลปินฟ้องแอร์เอเชีย ละเมิดสตรีทอาร์ตปีนัง งานเข้าอีกครั้งสำหรับโลว์คอสต์แอร์ไลน์สัญชาติมาเลเซีย อย่างสายการบินแอร์เอเชีย คราวนี้ไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ แต่เป็นการนำผลงานสตรีทอาร์ตบนเกาะปีนัง ประเทศมาเลเซียไปใช้ โดยที่เจ้าของผลงานตัวจริงเห็นว่าไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องและไม่ยุติธรรมสำหรับเขา อินสตาแกรม ernestzacharevic ของ เออร์เนสต์ ซาชาเรวิช (Ernest Zacharevic) ศิลปินชาวลิทัวเนีย เจ้าของผลงานสตรีทอาร์ต "Children On A Bicycle" ที่มีชื่อเสียงทั่วโลก โพสต์ข้อความในหัวข้อ "AIRASIA UPDATE: It’s Time to Talk" ระบุว่า เมื่อ 2 เดือนก่อนได้โพสต์วีดีโอคลิปเครื่องบินแอร์เอเชีย ที่มีภาพจิตรกรรมบนผนังของตน ซึ่งถูกนำไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม "น่าเสียดายที่ไม่ใช่ครั้งแรก ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ภาพจิตรกรรมฝาผนังของผมปรากฎในแคมเปญผ่านอีเมล โฆษณา นิตยสารบนเที่ยวบิน และอื่นๆ ของแอร์เอเชีย โดยไม่ได้รับการให้เครดิต ความยินยอม หรือการชดเชยใดๆ ที่เหมาะสม พฤติกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถือเป็นบรรทัดฐานที่อันตราย นั่นหมายความว่าผลงานของศิลปินอาจถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องรับผลที่ตามมา ไม่ใช่แค่เรื่องของผมเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อชุมชนศิลปินทั้งหมด" ที่ผ่านมาพยายามแก้ไขปัญหานี้อย่างยุติธรรมและเป็นมืออาชีพ แต่การตอบสนองของแอร์เอเชียมีแค่ออกแถลงการณ์ ปฏิเสธการละเมิดลิขสิทธิ์ในอดีต และยืดเยื้อการพูดคุย และเห็นว่าข้อเสนอสุดท้ายไม่สะท้อนถึงคุณค่าต่อผลงานของตน ทำให้ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากดำเนินคดีทางกฎหมาย โดยเมื่อยื่นฟ้องแล้ว เขาจะไม่สามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ ศิลปินรายนี้ยังได้แนบภาพหลักฐานที่ผลงานของตน ถูกแอร์เอเชียนำไปใช้แคมเปญโฆษณาต่างๆ มีทั้งการเปิดเส้นทางบินใหม่ระหว่างปีนังไปยังย่างกุ้ง กรุงเทพฯ และเวียดนาม นำไปตัดต่อเป็นสื่อโฆษณาของบริษัทในเครือ เช่น บริการดีลิเวอรีแอร์เอเชียฟู้ด บริการขนส่งสินค้าเทเลพอร์ต และล่าสุดคือลวดลายบนเครื่องบินแอร์เอเชีย สำหรับผลงานสตรีทอาร์ต Children On A Bicycle ตั้งอยู่ที่ถนนอาร์เมเนียนในเมืองจอร์จทาวน์ ถูกวาดโดยซาชาเรวิชเมื่อปี 2555 เพื่อแสดงถึงวิถีชีวิตบนเกาะปีนัง โดยใช้เด็กสองคนที่ชื่อว่า ด.ญ.ตัน ยี (Tan Yi) เมื่ออายุ 5 ขวบ และ ด.ช.ตัน เคิร์น (Tan Kern) เมื่ออายุ 3 ขวบมาเป็นแบบ กลายเป็นสถานที่ดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกมาเยือน กระทั่งเวลาผ่านไป 12 ปี เมื่อเดือน ต.ค.2567 ซาชาเรวิช ได้บูรณะภาพวาดสตรีทอาร์ตดังกล่าว พร้อมกับงานศิลปะอีก 3 ภาพ ได้แก่ Boy On a Bike, Little Boy with a Pet Dinosaur และ Boy on Chair. #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    2
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 943 มุมมอง 0 รีวิว
  • ญี่ปุ่นปะทะตะวันตก ชิงเครื่องถอนเงินอิสระมาเลเซีย

    ธนาคารเซเว่นแบงก์ ประเทศญี่ปุ่น ธุรกิจทางการเงินในเครือเซเว่น อีเลฟเว่น เริ่มเข้ามาลงทุนในมาเลเซียเป็นประเทศที่สามในภูมิภาคอาเซียน ต่อจากอินโดนีเซีย ที่ติดตั้งเครื่องเบิกถอนเงินสด ATMi ในร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ อัลฟามาร์ท (Alfamart) และอินโดมาเร็ต (Indomaret) ทั่วประเทศกว่า 9,000 แห่ง และฟิลิปปินส์ ที่ติดตั้งเครื่องฝากและถอนเงินสด (Cash Recycling Machines) หรือ CRM ในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นฟิลิปปินส์ ทั่วประเทศกว่า 3,000 แห่ง

    โดยได้นำเครื่อง CRM ที่สามารถฝากและถอนเงินสดได้ในเครื่องเดียวกัน มาให้บริการในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ภายใต้แบรนด์ รีชฟูล (Reachful) คิดค่าบริการถอนเงินสดในประเทศ 1 ริงกิตต่อรายการ เช่นเดียวกับเอทีเอ็ม MEPS ของมาเลเซีย เริ่มต้นติดตั้งเครื่องแรกที่เมืองราวัง รัฐสลังงอร์ และจะติดตั้งจำนวน 100 เครื่องที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในกรุงกัวลาลัมเปอร์ รัฐสลังงอร์ รัฐยะโฮร์ และรัฐปีนัง ภายในสิ้นปี 2568 ก่อนขยายไปยังซาบาห์ และซาราวักบนเกาะบอร์เนียว รวมทั้งเขตชานเมืองในปี 2569

    นอกจากร้านเซเว่นอีเลฟเว่น มาเลเซีย ที่มีจำนวนสาขาทั่วประเทศกว่า 2,600 แห่งแล้ว รีชฟูลยังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกับซูเปอร์มาร์เก็ต ปั๊มน้ำมัน และสถานที่อื่นๆ เพื่อขยายจุดบริการต่อไป

    แม้ว่ามาเลเซียจะเปลี่ยนธุรกรรมทางการเงินไปสู่ระบบดิจิทัลแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่จากการศึกษาภูมิทัศน์การชำระเงินโดยบริษัทเพย์เน็ต (PayNet) ในปี 2565 พบว่าชาวมาเลเซีย 78% ชอบชำระเงินด้วยเงินสด โดย 48% ใช้เงินสดทุกวัน และเพิ่มขึ้นเกือบ 2 ใน 3 ในพื้นที่ที่ไม่ใช่เขตเมือง และรายงานของบริษัทอิปซอสส์ (Ipsos) ล่าสุดในปี 2567 พบว่าชาวมาเลเซีย 45% ยังคงพึ่งพาเงินสดเพียงอย่างเดียวในการทำธุรกรรมทางการเงิน

    ก่อนหน้านี้ ยูโรเน็ต เวิล์ดไวด์ (Euronet Worldwide) ผู้ให้บริการโซลูชันทางการเงินและการชำระเงินมีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ติดตั้งเครื่องเอทีเอ็มยูโรเน็ต (Euronet) ตั้งแต่ปี 2555 ในฐานะเครือข่ายผู้ติดตั้งเครื่องเอทีเอ็มอิสระ (IAD) และได้ซื้อกิจการเครื่อง ATM ของ MEPS จำนวน 800 เครื่องจากเพย์เน็ต ทำให้ยูโรเน็ตกลายเป็นผู้ให้บริการเครื่องเอทีเอ็มที่ไม่ใช่ธนาคารรายใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย โดยคิดค่าธรรมเนียมถอนเงินสดในประเทศ 1 ริงกิตต่อรายการ

    สำหรับประเทศไทย แม้ในปี 2566 เคาน์เตอร์เซอร์วิส บริษัทในเครือซีพีออลล์ ผู้บริหารร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในไทย เคยร่วมมือกับธนาคารไทยพาณิชย์ ติดตั้งเครื่อง CDM ให้บริการถอนเงิน โอนเงิน และตัวแทนรับฝากเงิน 100 แห่ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    ญี่ปุ่นปะทะตะวันตก ชิงเครื่องถอนเงินอิสระมาเลเซีย ธนาคารเซเว่นแบงก์ ประเทศญี่ปุ่น ธุรกิจทางการเงินในเครือเซเว่น อีเลฟเว่น เริ่มเข้ามาลงทุนในมาเลเซียเป็นประเทศที่สามในภูมิภาคอาเซียน ต่อจากอินโดนีเซีย ที่ติดตั้งเครื่องเบิกถอนเงินสด ATMi ในร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ อัลฟามาร์ท (Alfamart) และอินโดมาเร็ต (Indomaret) ทั่วประเทศกว่า 9,000 แห่ง และฟิลิปปินส์ ที่ติดตั้งเครื่องฝากและถอนเงินสด (Cash Recycling Machines) หรือ CRM ในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นฟิลิปปินส์ ทั่วประเทศกว่า 3,000 แห่ง โดยได้นำเครื่อง CRM ที่สามารถฝากและถอนเงินสดได้ในเครื่องเดียวกัน มาให้บริการในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ภายใต้แบรนด์ รีชฟูล (Reachful) คิดค่าบริการถอนเงินสดในประเทศ 1 ริงกิตต่อรายการ เช่นเดียวกับเอทีเอ็ม MEPS ของมาเลเซีย เริ่มต้นติดตั้งเครื่องแรกที่เมืองราวัง รัฐสลังงอร์ และจะติดตั้งจำนวน 100 เครื่องที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในกรุงกัวลาลัมเปอร์ รัฐสลังงอร์ รัฐยะโฮร์ และรัฐปีนัง ภายในสิ้นปี 2568 ก่อนขยายไปยังซาบาห์ และซาราวักบนเกาะบอร์เนียว รวมทั้งเขตชานเมืองในปี 2569 นอกจากร้านเซเว่นอีเลฟเว่น มาเลเซีย ที่มีจำนวนสาขาทั่วประเทศกว่า 2,600 แห่งแล้ว รีชฟูลยังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกับซูเปอร์มาร์เก็ต ปั๊มน้ำมัน และสถานที่อื่นๆ เพื่อขยายจุดบริการต่อไป แม้ว่ามาเลเซียจะเปลี่ยนธุรกรรมทางการเงินไปสู่ระบบดิจิทัลแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่จากการศึกษาภูมิทัศน์การชำระเงินโดยบริษัทเพย์เน็ต (PayNet) ในปี 2565 พบว่าชาวมาเลเซีย 78% ชอบชำระเงินด้วยเงินสด โดย 48% ใช้เงินสดทุกวัน และเพิ่มขึ้นเกือบ 2 ใน 3 ในพื้นที่ที่ไม่ใช่เขตเมือง และรายงานของบริษัทอิปซอสส์ (Ipsos) ล่าสุดในปี 2567 พบว่าชาวมาเลเซีย 45% ยังคงพึ่งพาเงินสดเพียงอย่างเดียวในการทำธุรกรรมทางการเงิน ก่อนหน้านี้ ยูโรเน็ต เวิล์ดไวด์ (Euronet Worldwide) ผู้ให้บริการโซลูชันทางการเงินและการชำระเงินมีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ติดตั้งเครื่องเอทีเอ็มยูโรเน็ต (Euronet) ตั้งแต่ปี 2555 ในฐานะเครือข่ายผู้ติดตั้งเครื่องเอทีเอ็มอิสระ (IAD) และได้ซื้อกิจการเครื่อง ATM ของ MEPS จำนวน 800 เครื่องจากเพย์เน็ต ทำให้ยูโรเน็ตกลายเป็นผู้ให้บริการเครื่องเอทีเอ็มที่ไม่ใช่ธนาคารรายใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย โดยคิดค่าธรรมเนียมถอนเงินสดในประเทศ 1 ริงกิตต่อรายการ สำหรับประเทศไทย แม้ในปี 2566 เคาน์เตอร์เซอร์วิส บริษัทในเครือซีพีออลล์ ผู้บริหารร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในไทย เคยร่วมมือกับธนาคารไทยพาณิชย์ ติดตั้งเครื่อง CDM ให้บริการถอนเงิน โอนเงิน และตัวแทนรับฝากเงิน 100 แห่ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 685 มุมมอง 0 รีวิว
  • ด่านปาดังเบซาร์ วันนี้ที่เปลี่ยนไป

    ใกล้จะครบรอบ 1 ปี สำหรับการกลับมาเปิดใช้สะพานลอยปาดังเบซาร์ (Padang Besar) รัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย นับตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ.2567 เป็นต้นมา ซึ่งเชื่อมระหว่างศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ ตรงข้ามด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา กับสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ ของการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ที่มีรถไฟ KTM Komuter ไปสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง และรถไฟ ETS ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ พบว่าเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด

    ถ้ามาจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ หรือรัฐปีนังด้วยรถไฟ ถึงสถานีปาดังเบซาร์ เมื่อออกจากประตูอัตโนมัติ (ACG) จะพบกับบรรดาโชเฟอร์แท็กซี่และรถตู้ไปหาดใหญ่ คนละ 30 ริงกิต (ประมาณ 231 บาท) แต่มีป้ายบอกทางระบุเป็นภาษาไทยและภาษามาเลย์ว่า "ออกจากเมือง ไปด่านตรวจคนเข้าเมือง (ICQS) และไปศูนย์การค้า NIAGA ปาดังเบซาร์" โดยลูกศรชี้ไปที่สะพานลอยที่เปิดขึ้นมา ถ้าไม่ได้ใช้บริการรถไฟไปยังสถานีชุมทางหาดใหญ่ก็ใช้สะพานลอยแห่งนี้

    สะพานลอยดังกล่าวไปออกวงเวียนปาดังเบซาร์ ซึ่งจะมีรถจักรยานยนต์รับจ้างไปส่งถึงฝั่งประเทศไทย ค่าโดยสาร 10 ริงกิต แต่ถ้าจะเดินเข้าไปเองก็ทำได้แต่ไกลหน่อย ศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ เปิดเวลา 06.00-22.00 น. ส่วนด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทย เปิด 05.00-21.00 น. (เวลาไทย)

    ด้านพื้นที่การค้าย่านวงเวียนปาดังเบซาร์ พบว่ามีร้านมิสเตอร์ดีไอวาย (มาเลเซีย) เปิดอยู่ใกล้กับวงเวียน ตามมาด้วยอาคารพาณิชย์ ศูนย์การค้า Arked Niaga ศูนย์การค้า Plaza Niaga และศูนย์การค้า Padang Waremart แต่ก็มีศูนย์การค้าเปิดใหม่ด้านในสุด คือ Padang Besar Street ที่มีศูนย์อาหาร Border Kitchen และร้าน Tealive ตั้งอยู่

    สำหรับร้านค้าปลอดภาษี (Duty Free) มีอยู่ 2 แห่ง ได้แก่ ร้าน Warisan Limpahan เป็นอาคารพาณิชย์ใกล้ Arked Niaga จำหน่ายน้ำหอม สุรา และบุหรี่ แต่การรับสินค้าหลังชำระเงินแล้ว ต้องนำใบเสร็จไปรับที่ห้องกระจกหลังผ่านจุดลงตราประทับ โดยจะมีพนักงานตามไปส่งสินค้าด้วยจักรยานยนต์ ส่วนอีกแห่งหนึ่งคือ The ZON Duty Free อยู่เลยศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ไปแล้ว ก่อนถึงด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทย ด้านในคล้ายกับห้างสรรพสินค้า

    เมื่อออกจากด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทยแล้ว มีจุดจอดรถตู้บริเวณตรงข้ามด่าน ค่าโดยสารคนละ 70 บาท รถออกเที่ยวแรก 06.30 น. เที่ยวสุดท้าย 17.30 น. (เวลาไทย) หากต้องการส่งพัสดุไปรษณีย์ จะมีที่ทำการไปรษณีย์ปาดังเบซาร์ อยู่ตรงข้ามสถานีตำรวจภูธรปาดังเบซาร์ เปิดวันจันทร์-ศุกร์ 08.30-17.00 น. วันเสาร์ 09.00-15.00 น. หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    ด่านปาดังเบซาร์ วันนี้ที่เปลี่ยนไป ใกล้จะครบรอบ 1 ปี สำหรับการกลับมาเปิดใช้สะพานลอยปาดังเบซาร์ (Padang Besar) รัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย นับตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ.2567 เป็นต้นมา ซึ่งเชื่อมระหว่างศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ ตรงข้ามด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา กับสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ ของการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ที่มีรถไฟ KTM Komuter ไปสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง และรถไฟ ETS ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ พบว่าเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด ถ้ามาจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ หรือรัฐปีนังด้วยรถไฟ ถึงสถานีปาดังเบซาร์ เมื่อออกจากประตูอัตโนมัติ (ACG) จะพบกับบรรดาโชเฟอร์แท็กซี่และรถตู้ไปหาดใหญ่ คนละ 30 ริงกิต (ประมาณ 231 บาท) แต่มีป้ายบอกทางระบุเป็นภาษาไทยและภาษามาเลย์ว่า "ออกจากเมือง ไปด่านตรวจคนเข้าเมือง (ICQS) และไปศูนย์การค้า NIAGA ปาดังเบซาร์" โดยลูกศรชี้ไปที่สะพานลอยที่เปิดขึ้นมา ถ้าไม่ได้ใช้บริการรถไฟไปยังสถานีชุมทางหาดใหญ่ก็ใช้สะพานลอยแห่งนี้ สะพานลอยดังกล่าวไปออกวงเวียนปาดังเบซาร์ ซึ่งจะมีรถจักรยานยนต์รับจ้างไปส่งถึงฝั่งประเทศไทย ค่าโดยสาร 10 ริงกิต แต่ถ้าจะเดินเข้าไปเองก็ทำได้แต่ไกลหน่อย ศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ เปิดเวลา 06.00-22.00 น. ส่วนด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทย เปิด 05.00-21.00 น. (เวลาไทย) ด้านพื้นที่การค้าย่านวงเวียนปาดังเบซาร์ พบว่ามีร้านมิสเตอร์ดีไอวาย (มาเลเซีย) เปิดอยู่ใกล้กับวงเวียน ตามมาด้วยอาคารพาณิชย์ ศูนย์การค้า Arked Niaga ศูนย์การค้า Plaza Niaga และศูนย์การค้า Padang Waremart แต่ก็มีศูนย์การค้าเปิดใหม่ด้านในสุด คือ Padang Besar Street ที่มีศูนย์อาหาร Border Kitchen และร้าน Tealive ตั้งอยู่ สำหรับร้านค้าปลอดภาษี (Duty Free) มีอยู่ 2 แห่ง ได้แก่ ร้าน Warisan Limpahan เป็นอาคารพาณิชย์ใกล้ Arked Niaga จำหน่ายน้ำหอม สุรา และบุหรี่ แต่การรับสินค้าหลังชำระเงินแล้ว ต้องนำใบเสร็จไปรับที่ห้องกระจกหลังผ่านจุดลงตราประทับ โดยจะมีพนักงานตามไปส่งสินค้าด้วยจักรยานยนต์ ส่วนอีกแห่งหนึ่งคือ The ZON Duty Free อยู่เลยศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ไปแล้ว ก่อนถึงด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทย ด้านในคล้ายกับห้างสรรพสินค้า เมื่อออกจากด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทยแล้ว มีจุดจอดรถตู้บริเวณตรงข้ามด่าน ค่าโดยสารคนละ 70 บาท รถออกเที่ยวแรก 06.30 น. เที่ยวสุดท้าย 17.30 น. (เวลาไทย) หากต้องการส่งพัสดุไปรษณีย์ จะมีที่ทำการไปรษณีย์ปาดังเบซาร์ อยู่ตรงข้ามสถานีตำรวจภูธรปาดังเบซาร์ เปิดวันจันทร์-ศุกร์ 08.30-17.00 น. วันเสาร์ 09.00-15.00 น. หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1157 มุมมอง 0 รีวิว
  • นับหนึ่งถึงอนาคต รถไฟฟ้าสายแรกปีนัง

    รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย กำลังจะมีรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) สายแรกเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ หลังจากเมื่อเดือน มี.ค.2567 รัฐบาลกลางมาเลเซีย รับช่วงต่อจากรัฐบาลท้องถิ่นรัฐปีนัง พัฒนาโครงการรถไฟรางเบาสายมูเทียร่า ไลน์ (Mutiara Line) โดยแต่งตั้งบริษัท เอ็มอาร์ที คอร์ป (MRT Corp) ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมด เป็นผู้พัฒนาโครงการ

    พิธีวางศิลาฤกษ์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2568 บริเวณสถานที่ก่อสร้างสถานีบันดาร์ ศรี ปีนัง (Bandar Sri Pinang) โดยมีนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเป็นประธาน

    จากการลงพื้นที่ของ Newskit พบว่า สถานที่ก่อสร้างสถานีบันดาร์ ศรี ปีนัง (Bandar Sri Pinang) ติดกับทางด่วนลิม ชอง ยู (Lim Chong Eu) ใกล้กับมัสยิดอัล บัคฮารี่ (Al Bukhary) และทางจักรยานเลียบชายทะเล บริเวณฝั่งตะวันออกของเกาะปีนัง เมื่อข้ามแม่น้ำปีนังไปแล้วจะเป็นสถานีแมคคัลลัม ก่อนแยกเป็นสองสาย แยกซ้ายไปสถานีคอมตาร์ แยกขวาข้ามทะเลไปสถานีปีนังเซ็นทรัล

    ก่อนที่เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2568 จะมีการลงนามสัญญาก่อสร้างช่วงคอมตาร์-เกาะซิลิคอน (Komtar-Silicon Island) ระยะทาง 24 กิโลเมตร รวม 19 สถานี มูลค่าประมาณ 8,310 ล้านริงกิต (64,000 ล้านบาท) โดยมีกลุ่มกิจการร่วมค้าเอสอาร์เอส ที่บริษัทก่อสร้างกามูดา (Gamuda) ถือหุ้น 60% เป็นผู้รับเหมาในการก่อสร้าง โดยมีระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2574

    ส่วนช่วงคอมตาร์-ปีนังเซ็นทรัล (Komtar-Penang Sentral) จากสถานีแมคคัลลัม (Macallum) ในเมืองจอร์จทาวน์ ผ่านช่องแคบปีนัง ระยะทาง 5.8 กิโลเมตร คาดว่าจะเปิดประมูลในเดือน ก.ค. 2568 และประกาศผลการประมูลในต้นปี 2569 ส่วนการประมูลระบบรถไฟฟ้าและการบำรุงรักษา กำลังดำเนินการ โดยมีกำหนดส่งข้อเสนอขั้นสุดท้ายในวันที่ 14 เม.ย. 2568

    นายแอนโทนี ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย กล่าวว่า โครงการนี้ได้รับการวางแผนอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้สามารถเข้าถึงศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่สำคัญได้อย่างราบรื่น สนับสนุนโครงการ Penang Silicon Design @5km+ การยกระดับท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง และเขตอุตสาหกรรมเสรีบายัน เลอปาส (Bayan Lepas)

    อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ยังมีปัญหาเรื่องที่ดินก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง บริเวณสถานีสุไหงนิบง (Sungai Nibong) ซึ่งเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีการจัดงานเทศกาลประจำปี เพสต้า ปูเลา ปีนัง (Pesta Pulau Pinang) มาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2509 แต่ทาง MRT Corp ยืนยันว่าจะใช้พื้นที่ไม่มาก ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรองและพื้นที่พัฒนารอบสถานี (TOD) เท่านั้น

    #Newskit

    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    นับหนึ่งถึงอนาคต รถไฟฟ้าสายแรกปีนัง รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย กำลังจะมีรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) สายแรกเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ หลังจากเมื่อเดือน มี.ค.2567 รัฐบาลกลางมาเลเซีย รับช่วงต่อจากรัฐบาลท้องถิ่นรัฐปีนัง พัฒนาโครงการรถไฟรางเบาสายมูเทียร่า ไลน์ (Mutiara Line) โดยแต่งตั้งบริษัท เอ็มอาร์ที คอร์ป (MRT Corp) ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมด เป็นผู้พัฒนาโครงการ พิธีวางศิลาฤกษ์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2568 บริเวณสถานที่ก่อสร้างสถานีบันดาร์ ศรี ปีนัง (Bandar Sri Pinang) โดยมีนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเป็นประธาน จากการลงพื้นที่ของ Newskit พบว่า สถานที่ก่อสร้างสถานีบันดาร์ ศรี ปีนัง (Bandar Sri Pinang) ติดกับทางด่วนลิม ชอง ยู (Lim Chong Eu) ใกล้กับมัสยิดอัล บัคฮารี่ (Al Bukhary) และทางจักรยานเลียบชายทะเล บริเวณฝั่งตะวันออกของเกาะปีนัง เมื่อข้ามแม่น้ำปีนังไปแล้วจะเป็นสถานีแมคคัลลัม ก่อนแยกเป็นสองสาย แยกซ้ายไปสถานีคอมตาร์ แยกขวาข้ามทะเลไปสถานีปีนังเซ็นทรัล ก่อนที่เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2568 จะมีการลงนามสัญญาก่อสร้างช่วงคอมตาร์-เกาะซิลิคอน (Komtar-Silicon Island) ระยะทาง 24 กิโลเมตร รวม 19 สถานี มูลค่าประมาณ 8,310 ล้านริงกิต (64,000 ล้านบาท) โดยมีกลุ่มกิจการร่วมค้าเอสอาร์เอส ที่บริษัทก่อสร้างกามูดา (Gamuda) ถือหุ้น 60% เป็นผู้รับเหมาในการก่อสร้าง โดยมีระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2574 ส่วนช่วงคอมตาร์-ปีนังเซ็นทรัล (Komtar-Penang Sentral) จากสถานีแมคคัลลัม (Macallum) ในเมืองจอร์จทาวน์ ผ่านช่องแคบปีนัง ระยะทาง 5.8 กิโลเมตร คาดว่าจะเปิดประมูลในเดือน ก.ค. 2568 และประกาศผลการประมูลในต้นปี 2569 ส่วนการประมูลระบบรถไฟฟ้าและการบำรุงรักษา กำลังดำเนินการ โดยมีกำหนดส่งข้อเสนอขั้นสุดท้ายในวันที่ 14 เม.ย. 2568 นายแอนโทนี ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย กล่าวว่า โครงการนี้ได้รับการวางแผนอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้สามารถเข้าถึงศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่สำคัญได้อย่างราบรื่น สนับสนุนโครงการ Penang Silicon Design @5km+ การยกระดับท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง และเขตอุตสาหกรรมเสรีบายัน เลอปาส (Bayan Lepas) อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ยังมีปัญหาเรื่องที่ดินก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง บริเวณสถานีสุไหงนิบง (Sungai Nibong) ซึ่งเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีการจัดงานเทศกาลประจำปี เพสต้า ปูเลา ปีนัง (Pesta Pulau Pinang) มาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2509 แต่ทาง MRT Corp ยืนยันว่าจะใช้พื้นที่ไม่มาก ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรองและพื้นที่พัฒนารอบสถานี (TOD) เท่านั้น #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1216 มุมมอง 0 รีวิว
  • ต่อนยอนสู่ปีนัง ขบวนรถไฟ My Sawasdee

    หลังการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ประเทศมาเลเซีย ประสบความสำเร็จในการเปิดให้บริการขบวนรถพิเศษ My Sawasdee เส้นทางกัวลาลัมเปอร์-หาดใหญ่ ในช่วงวันหยุดยาวของมาเลเซีย นับตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2565 ล่าสุดเมื่อช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 ที่ผ่านมา เปิดตัวรถไฟขบวนพิเศษ My Sawasdee Penang Edition เส้นทางจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ไปยังสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้บริการระหว่างวันที่ 29 ธ.ค.2567 ถึง 5 ม.ค.2568

    เฟซบุ๊ก "แซม ญาณบ้าน" นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการ เปิดเผยว่า ขบวนรถดังกล่าวจำหน่ายตั๋วเที่ยวเดียวในราคา 45 ริงกิต (ประมาณ 346 บาท) เน้นสำหรับชาวมาเลเซียที่จะไปเที่ยวหาดใหญ่ เพราะออกจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 7 โมงเช้า ถึงปลายทางหาดใหญ่ประมาณเที่ยงวัน ส่วนขากลับออกจากหาดใหญ่เวลาประมาณ 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทย จอดที่สถานีปาดังเบซาร์ เพื่อลงตราประทับจากตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ก่อนจอดส่งผู้โดยสารตามรายทาง รวม 5 สถานี

    ก่อนเข้าสถานีปาดังเบซาร์ เจ้าหน้าที่จะกำชับเรื่องการกรอกบัตรขาเข้าดิจิทัลของมาเลเซีย (MDAC) สำหรับชาวต่างชาติ และต้องนำสิ่งของทุกอย่างลงจากรถไฟ รวมทั้งน้ำดื่มและอาหาร เข้า ตม. เพื่อผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากร

    ตู้โดยสารที่ใช้เป็นตู้โดยสารปรับอากาศ คล้ายรถนั่งปรับอากาศชั้น 2 ในไทย เมื่อถึงสถานีปาดังเบซาร์ ให้นั่งรอในขบวนรถระหว่าง ตม. ไทยและมาเลเซียลงตราประทับนักท่องเที่ยวขาออกจากมาเลเซีย ไปขบวน 950 และ 46 ให้หมดก่อน ประมาณ 30 นาทีจึงให้ผู้โดยสารออกมาลงตราประทับ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และไม่มีผู้โดยสารขึ้นระหว่างทางก่อนถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ ก็ปล่อยขบวนรถก่อนเวลาเกือบ 20 นาที แต่ปรากฎว่าต้องรอหลีกให้รถไฟ KTM Komuter มาถึงทีหลังให้แซงไปก่อน ถึงจะออกรถได้

    แม้จะถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 21.36 น. ตามเวลามาเลเซีย แต่ขึ้นเรือเฟอร์รี่ไม่ทันรอบ 21.30 น. ต้องรอเรือรอบถัดไป 23.00 น. ถึงจะเข้าไปบนเกาะปีนัง จึงแนะว่าถ้าไม่เร่งรีบก็น่าสนใจ แต่ถ้าต้องทำเวลาจริงๆ ใช้บริการ KTM Komuter ดีกว่า เพราะใช้เวลาจากสถานีปาดังเบซาร์ ถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธไม่ถึง 2 ชั่วโมง

    สำหรับความคืบหน้าการเดินรถไฟ บัตเตอร์เวิร์ธ-กรุงเทพอภิวัฒน์ ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวบูเลทิน มูเทียรา (Buletin Mutiara) รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย รายงานว่า นายวง ฮอน ไว ประธานคณะกรรมการการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งรัฐปีนัง กล่าวต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งรัฐปีนัง เมื่อเดือน พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา ว่าจะเริ่มให้บริการในช่วงต้นปี 2568

    #Newskit
    ต่อนยอนสู่ปีนัง ขบวนรถไฟ My Sawasdee หลังการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ประเทศมาเลเซีย ประสบความสำเร็จในการเปิดให้บริการขบวนรถพิเศษ My Sawasdee เส้นทางกัวลาลัมเปอร์-หาดใหญ่ ในช่วงวันหยุดยาวของมาเลเซีย นับตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2565 ล่าสุดเมื่อช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 ที่ผ่านมา เปิดตัวรถไฟขบวนพิเศษ My Sawasdee Penang Edition เส้นทางจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ไปยังสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้บริการระหว่างวันที่ 29 ธ.ค.2567 ถึง 5 ม.ค.2568 เฟซบุ๊ก "แซม ญาณบ้าน" นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการ เปิดเผยว่า ขบวนรถดังกล่าวจำหน่ายตั๋วเที่ยวเดียวในราคา 45 ริงกิต (ประมาณ 346 บาท) เน้นสำหรับชาวมาเลเซียที่จะไปเที่ยวหาดใหญ่ เพราะออกจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 7 โมงเช้า ถึงปลายทางหาดใหญ่ประมาณเที่ยงวัน ส่วนขากลับออกจากหาดใหญ่เวลาประมาณ 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทย จอดที่สถานีปาดังเบซาร์ เพื่อลงตราประทับจากตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ก่อนจอดส่งผู้โดยสารตามรายทาง รวม 5 สถานี ก่อนเข้าสถานีปาดังเบซาร์ เจ้าหน้าที่จะกำชับเรื่องการกรอกบัตรขาเข้าดิจิทัลของมาเลเซีย (MDAC) สำหรับชาวต่างชาติ และต้องนำสิ่งของทุกอย่างลงจากรถไฟ รวมทั้งน้ำดื่มและอาหาร เข้า ตม. เพื่อผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากร ตู้โดยสารที่ใช้เป็นตู้โดยสารปรับอากาศ คล้ายรถนั่งปรับอากาศชั้น 2 ในไทย เมื่อถึงสถานีปาดังเบซาร์ ให้นั่งรอในขบวนรถระหว่าง ตม. ไทยและมาเลเซียลงตราประทับนักท่องเที่ยวขาออกจากมาเลเซีย ไปขบวน 950 และ 46 ให้หมดก่อน ประมาณ 30 นาทีจึงให้ผู้โดยสารออกมาลงตราประทับ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และไม่มีผู้โดยสารขึ้นระหว่างทางก่อนถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ ก็ปล่อยขบวนรถก่อนเวลาเกือบ 20 นาที แต่ปรากฎว่าต้องรอหลีกให้รถไฟ KTM Komuter มาถึงทีหลังให้แซงไปก่อน ถึงจะออกรถได้ แม้จะถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 21.36 น. ตามเวลามาเลเซีย แต่ขึ้นเรือเฟอร์รี่ไม่ทันรอบ 21.30 น. ต้องรอเรือรอบถัดไป 23.00 น. ถึงจะเข้าไปบนเกาะปีนัง จึงแนะว่าถ้าไม่เร่งรีบก็น่าสนใจ แต่ถ้าต้องทำเวลาจริงๆ ใช้บริการ KTM Komuter ดีกว่า เพราะใช้เวลาจากสถานีปาดังเบซาร์ ถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธไม่ถึง 2 ชั่วโมง สำหรับความคืบหน้าการเดินรถไฟ บัตเตอร์เวิร์ธ-กรุงเทพอภิวัฒน์ ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวบูเลทิน มูเทียรา (Buletin Mutiara) รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย รายงานว่า นายวง ฮอน ไว ประธานคณะกรรมการการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งรัฐปีนัง กล่าวต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งรัฐปีนัง เมื่อเดือน พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา ว่าจะเริ่มให้บริการในช่วงต้นปี 2568 #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1060 มุมมอง 0 รีวิว
  • การรถไฟมาลายา ประเทศมาเลเซีย เปิดเดินรถขบวนพิเศษ "มาย สวัสดี ปีนัง อิดิชัน" มายังหาดใหญ่ จ.สงขลา ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ถึงวันที่ 5 ม.ค. เผยผู้โดยสารจองตั๋วแล้วกว่า 70%

    วันนี้ (29 ธ.ค.) เฟซบุ๊ก KTM Berhad ของการรถไฟมาลายา ประเทศมาเลเซีย โพสต์ภาพบรรยากาศการเปิดตัวรถไฟขบวนพิเศษที่ชื่อว่า มาย สวัสดี ปีนัง อิดิชัน (My Sawasdee Penang Edition) เส้นทางจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ถึงสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อเชื่อมโยงจุดหมายปลายทางหลักของทั้งสองสถานี และเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิดระหว่างมาเลเซียและไทย

    ทั้งนี้ ขบวนรถไฟมายสวัสดี ปีนัง อิดิชัน ให้บริการทุกวันในช่วงเทศกาลปีใหม่ ถึงวันที่ 5 ม.ค. 2568 ผ่านสถานีบูกิตเมอร์ตาจัม (Bukit Mertajam) สถานีสุไหงเปตานี (Sungai Petani) สถานีอลอร์สตาร์ (Alor Setar) สถานีอาเรา (Arau) และสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) ซึ่งในวันแรกของการให้บริการ KTM Berhad ได้มอบของที่ระลึกจำนวน 200 ชุด เพื่อแสดงความขอบคุณแก่สื่อมวลชนและผู้โดยสารที่สนับสนุนบริการของ KTM Berhad อย่างต่อเนื่อง

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000124875

    #MGROnline #การรถไฟมาลายา #ประเทศมาเลเซีย
    การรถไฟมาลายา ประเทศมาเลเซีย เปิดเดินรถขบวนพิเศษ "มาย สวัสดี ปีนัง อิดิชัน" มายังหาดใหญ่ จ.สงขลา ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ถึงวันที่ 5 ม.ค. เผยผู้โดยสารจองตั๋วแล้วกว่า 70% • วันนี้ (29 ธ.ค.) เฟซบุ๊ก KTM Berhad ของการรถไฟมาลายา ประเทศมาเลเซีย โพสต์ภาพบรรยากาศการเปิดตัวรถไฟขบวนพิเศษที่ชื่อว่า มาย สวัสดี ปีนัง อิดิชัน (My Sawasdee Penang Edition) เส้นทางจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ถึงสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อเชื่อมโยงจุดหมายปลายทางหลักของทั้งสองสถานี และเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิดระหว่างมาเลเซียและไทย • ทั้งนี้ ขบวนรถไฟมายสวัสดี ปีนัง อิดิชัน ให้บริการทุกวันในช่วงเทศกาลปีใหม่ ถึงวันที่ 5 ม.ค. 2568 ผ่านสถานีบูกิตเมอร์ตาจัม (Bukit Mertajam) สถานีสุไหงเปตานี (Sungai Petani) สถานีอลอร์สตาร์ (Alor Setar) สถานีอาเรา (Arau) และสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) ซึ่งในวันแรกของการให้บริการ KTM Berhad ได้มอบของที่ระลึกจำนวน 200 ชุด เพื่อแสดงความขอบคุณแก่สื่อมวลชนและผู้โดยสารที่สนับสนุนบริการของ KTM Berhad อย่างต่อเนื่อง • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000124875 • #MGROnline #การรถไฟมาลายา #ประเทศมาเลเซีย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 761 มุมมอง 0 รีวิว
  • เดอะ ฌาร์ม ร้านอาหารใต้รสเด็ดที่ทุกจานจะถูกปรุงอย่างพิถีพิถันสุดๆ และปรุงจากวัตถุดิบคุณภาพ แม้แต่ซีอิ๊วที่ใช้ปรุงอาหารก็มาจากปีนัง เรียกว่า สด สะอาด อร่อย ครบจริงq เมนูที่ห้ามพลาดเลยก็คือ น้ำชุบหยำ ถึ้งกระดูกหมูเต้าหู้ปลาเค็ม และแกงปลาตู้มี้สูตรปีนัง ที่ได้ความเข้มข้นแต่ซับซ้อนนิดๆ จากกะปิและกุ้งลวก อื้อหือออ แค่คิดก็ฟินแล้วจริงๆ

    ที่อยู่ : 93 ถ.ดีบุก ต.ตลาดเหนือ อ.เมือง จ.ภูเก็ต
    เปิดบริการ : 11.00 - 21.30 น. (หยุดวันพุธ)
    #กินสาระนัวร์ #Thaitimes
    เดอะ ฌาร์ม ร้านอาหารใต้รสเด็ดที่ทุกจานจะถูกปรุงอย่างพิถีพิถันสุดๆ และปรุงจากวัตถุดิบคุณภาพ แม้แต่ซีอิ๊วที่ใช้ปรุงอาหารก็มาจากปีนัง เรียกว่า สด สะอาด อร่อย ครบจริงq เมนูที่ห้ามพลาดเลยก็คือ น้ำชุบหยำ ถึ้งกระดูกหมูเต้าหู้ปลาเค็ม และแกงปลาตู้มี้สูตรปีนัง ที่ได้ความเข้มข้นแต่ซับซ้อนนิดๆ จากกะปิและกุ้งลวก อื้อหือออ แค่คิดก็ฟินแล้วจริงๆ ที่อยู่ : 93 ถ.ดีบุก ต.ตลาดเหนือ อ.เมือง จ.ภูเก็ต เปิดบริการ : 11.00 - 21.30 น. (หยุดวันพุธ) #กินสาระนัวร์ #Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 724 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไฟดูดบนรถบัส เรื่องเล็กอย่าปล่อยผ่าน

    สิ่งอำนวยความสะดวกบนรถโดยสาร หรือรถทัวร์ที่ได้รับความนิยม นอกจากเบาะนั่งนุ่มๆ กับห้องน้ำภายในรถแล้ว ยังมีปลั๊กไฟหรือช่องเสียบ USB ให้ผู้โดยสารชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือระหว่างการเดินทาง แต่เมื่อยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยออกมา ถือเป็นความเสี่ยงที่ผู้โดยสารอาจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต

    เมื่อไม่นานมานี้้เหตุผู้โดยสารรถทัวร์ในประเทศมาเลเซีย ถูกไฟดูดเสียชีวิตระหว่างเสียบชาร์จโทรศัพท์มือถือ เมื่อเวลา 18.10 น. ของวันที่ 1 พ.ย. ตำรวจรับแจ้งว่าพบคนหมดสติภายในรถทัวร์ ที่สถานีขนส่งปีนังเซ็นทรัล (Penang Sentral) เมืองบัตเตอร์เวิร์ธ รัฐปีนัง ระหว่างเสียบปลั๊กภายในรถเพื่อชาร์จโทรศัพท์มือถือ จากการตรวจสอบพบว่าผู้โดยสารเป็นชายวัย 18 ปี ตำรวจตรวจสอบสภาพศพมีรอยไหม้ที่นิ้วมือซ้าย ปลายสายชาร์จโทรศัพท์มือถือละลาย และโทรศัพท์มือถืออุ่นขึ้น สาเหตุคาดว่าเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร

    ตามรายงานข่าวระบุว่า ผู้โดยสารนั่งอยู่บนรถบัส กำลังจะออกเดินทางไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ ส่งเสียงกรีดร้องและมีน้ำลายฟูมปาก คนขับรถจึงโทรศัพท์เรียกรถพยาบาล แต่เมื่อรถพยาบาลมาถึงปรากฎว่าผู้โดยสารเสียชีวิตแล้ว

    เรื่องนี้ทำให้นายแอนโทนี ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย สั่งระงับการเดินรถคันดังกล่าวทันที และตั้งหน่วยเฉพาะกิจพิเศษ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากกรมการขนส่งทางบก (RTD) หน่วยงานระบบขนส่งสาธารณะทางบก (APAD) และสถาบันวิจัยความปลอดภัยทางถนนมาเลเซีย เพื่อสืบสวนหาสาเหตุที่เกิดขึ้น โดยเห็นว่าเหตุการณ์นี้เป็นเรื่องร้ายแรงอย่างยิ่ง จึงสอบสวนหาสาเหตุดังกล่าว และหาทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก

    กระทั่งวันที่ 7 พ.ย. กระทรวงคมนาคมมาเลเซีย ประกาศไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารใช้ปลั๊กไฟบนรถทัวร์ และรถโดยสารทุกคันที่มีปลั๊กไฟถูกห้ามใช้ชั่วคราว จนกว่าการสอบสวนจะเสร็จสิ้น ทำให้ผู้ประกอบการรถทัวร์ในมาเลเซีย ต่างขอความร่วมมือผู้โดยสาร งดใช้ปลั๊กไฟบนรถเพื่อชาร์จโทรศัพท์มือถือชั่วคราว เช่น Causeway Link Express ผู้ประกอบการเดินรถระหว่างรัฐยะโฮร์กับกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประกาศระงับใช้ปลั๊กไฟภายในรถชั่วคราว จนกว่าจะมีมาตรการด้านความปลอดภัยออกมา

    อย่างไรก็ตาม สำหรับปลั๊กไฟบนเครื่องบินและรถไฟ ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ

    ย้อนกลับมาที่ประเทศไทย ปัจจุบันมีรถโดยสารทั้งที่เป็นรถประจำทาง (รถทัวร์) และรถรับจ้างไม่ประจำทาง (รถ 30) ผู้ประกอบการบางรายมีปลั๊กไฟหรือช่องเสียบ USB ให้บริการแก่ผู้โดยสาร หากกรมการขนส่งทางบกยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยออกมา วันหนึ่งเราอาจจะได้เห็นเหตุการณ์สลดใจเฉกเช่นประเทศเพื่อนบ้านก็เป็นได้

    #Newskit
    ไฟดูดบนรถบัส เรื่องเล็กอย่าปล่อยผ่าน สิ่งอำนวยความสะดวกบนรถโดยสาร หรือรถทัวร์ที่ได้รับความนิยม นอกจากเบาะนั่งนุ่มๆ กับห้องน้ำภายในรถแล้ว ยังมีปลั๊กไฟหรือช่องเสียบ USB ให้ผู้โดยสารชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือระหว่างการเดินทาง แต่เมื่อยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยออกมา ถือเป็นความเสี่ยงที่ผู้โดยสารอาจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต เมื่อไม่นานมานี้้เหตุผู้โดยสารรถทัวร์ในประเทศมาเลเซีย ถูกไฟดูดเสียชีวิตระหว่างเสียบชาร์จโทรศัพท์มือถือ เมื่อเวลา 18.10 น. ของวันที่ 1 พ.ย. ตำรวจรับแจ้งว่าพบคนหมดสติภายในรถทัวร์ ที่สถานีขนส่งปีนังเซ็นทรัล (Penang Sentral) เมืองบัตเตอร์เวิร์ธ รัฐปีนัง ระหว่างเสียบปลั๊กภายในรถเพื่อชาร์จโทรศัพท์มือถือ จากการตรวจสอบพบว่าผู้โดยสารเป็นชายวัย 18 ปี ตำรวจตรวจสอบสภาพศพมีรอยไหม้ที่นิ้วมือซ้าย ปลายสายชาร์จโทรศัพท์มือถือละลาย และโทรศัพท์มือถืออุ่นขึ้น สาเหตุคาดว่าเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร ตามรายงานข่าวระบุว่า ผู้โดยสารนั่งอยู่บนรถบัส กำลังจะออกเดินทางไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ ส่งเสียงกรีดร้องและมีน้ำลายฟูมปาก คนขับรถจึงโทรศัพท์เรียกรถพยาบาล แต่เมื่อรถพยาบาลมาถึงปรากฎว่าผู้โดยสารเสียชีวิตแล้ว เรื่องนี้ทำให้นายแอนโทนี ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย สั่งระงับการเดินรถคันดังกล่าวทันที และตั้งหน่วยเฉพาะกิจพิเศษ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากกรมการขนส่งทางบก (RTD) หน่วยงานระบบขนส่งสาธารณะทางบก (APAD) และสถาบันวิจัยความปลอดภัยทางถนนมาเลเซีย เพื่อสืบสวนหาสาเหตุที่เกิดขึ้น โดยเห็นว่าเหตุการณ์นี้เป็นเรื่องร้ายแรงอย่างยิ่ง จึงสอบสวนหาสาเหตุดังกล่าว และหาทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก กระทั่งวันที่ 7 พ.ย. กระทรวงคมนาคมมาเลเซีย ประกาศไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารใช้ปลั๊กไฟบนรถทัวร์ และรถโดยสารทุกคันที่มีปลั๊กไฟถูกห้ามใช้ชั่วคราว จนกว่าการสอบสวนจะเสร็จสิ้น ทำให้ผู้ประกอบการรถทัวร์ในมาเลเซีย ต่างขอความร่วมมือผู้โดยสาร งดใช้ปลั๊กไฟบนรถเพื่อชาร์จโทรศัพท์มือถือชั่วคราว เช่น Causeway Link Express ผู้ประกอบการเดินรถระหว่างรัฐยะโฮร์กับกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประกาศระงับใช้ปลั๊กไฟภายในรถชั่วคราว จนกว่าจะมีมาตรการด้านความปลอดภัยออกมา อย่างไรก็ตาม สำหรับปลั๊กไฟบนเครื่องบินและรถไฟ ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ ย้อนกลับมาที่ประเทศไทย ปัจจุบันมีรถโดยสารทั้งที่เป็นรถประจำทาง (รถทัวร์) และรถรับจ้างไม่ประจำทาง (รถ 30) ผู้ประกอบการบางรายมีปลั๊กไฟหรือช่องเสียบ USB ให้บริการแก่ผู้โดยสาร หากกรมการขนส่งทางบกยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยออกมา วันหนึ่งเราอาจจะได้เห็นเหตุการณ์สลดใจเฉกเช่นประเทศเพื่อนบ้านก็เป็นได้ #Newskit
    Like
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1036 มุมมอง 0 รีวิว
  • อาหารไทยเฉิดฉาย มิชลินไกด์มาเลย์ฯ

    การประกาศรางวัลร้านอาหารมิชลินไกด์ กัวลาลัมเปอร์และปีนัง ปี 2025 (MICHELIN Guide Kuala Lumpur & Penang 2025) ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2567 มีร้านอาหารในกรุงกัวลาลัมเปอร์ และรัฐปีนังได้รับการคัดเลือก 143 แห่ง โดยมี 25 แห่ง ได้รับการคัดเลือกเป็นครั้งแรก พร้อมเปิดตัวร้านที่ได้รับรางวัล Green Star หรือรางวัลดาวมิชลินรักษ์โลกแห่งแรกในประเทศมาเลเซีย คือ ร้านเดวากาน (Dewakan) ที่นอกจากจะรักษารางวัลมิชลิน 2 ดาวด้วยเมนูอาหารที่โดดเด่นแล้ว ยังพยายามจัดหาวัตถุดิบในท้องถิ่นและใช้เป็นส่วนผสมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเสริมรสชาติแบบดั้งเดิมของมาเลเซีย วัตถุดิบส่วนเกินยังนำไปหมักเป็นซอสโฮมเมดเพื่อลดขยะ ถือเป็นแรงบันดาลใจให้ร้านอาหารอื่นนำแนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้

    ร้านใหม่ 2 แห่งได้รับรางวัลมิชลินสตาร์ 1 ดาว ได้แก่ ชิมบายเชฟหนุ่ม (Chim By Chef Noom) ร้านอาหารไทยร่วมสมัย สืบทอดอาหารไทยดั้งเดิม แต่มีการปรับเปลี่ยนเมนูที่สร้างสรรค์และการจัดจานอย่างมีสไตล์ อีกทั้งเชฟอัซมี อาหมัด กามาล ยังได้รับรางวัล Service Award อีกรางวัลหนึ่ง ส่วนอีกร้านหนึ่งคือ โมลินา (Molina) ที่มีเมนูสร้างสรรค์ที่ผสมผสานเทคนิคแบบฝรั่งเศส กลิ่นอายแบบนอร์ดิก และกลิ่นอายแบบเอเชียอย่างลงตัว โดยเชฟกีโยม เดอปูร์แตร์ ได้รับรางวัล Opening of the Year Award

    รางวัลบิบกรูมองด์ (Bib Gourmand) ร้านอาหารอร่อยและราคาสมเหตุสมผล มีร้านใหม่ 12 แห่ง ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ 5 แห่ง และปีนัง 7 แห่ง หนึ่งในนั้นคือร้าน BM Yam Rice ย่านบูกิตเมอร์ตาจัม ที่เลื่อนระดับขึ้นจาก MICHELIN Selected เมนูเด่นคือซุปหมูและเครื่องในหมูรสชาติเข้มข้น เสิร์ฟพร้อมข้าวแยมไรซ์ (Yam Rice) เป็นหนึ่งในร้านอาหารราคาจับต้องได้ที่โดดเด่นที่สุดในมาเลเซีย ส่วนร้านอาหารหมวดหมู่ MICHELIN Selected มีร้านใหม่เพิ่มเติม 10 ร้าน รวมเป็น 80 ร้าน

    สำหรับร้านชิมบายเชฟหนุ่ม ตั้งอยู่ในอาคาร TSLAW Tower ย่านตุน ราซัก เอ็กซ์เชนจ์ (Tun Razak Exchange) เจ้าของร้านคือเชฟหนุ่ม ธนินธร จันทรวรรณ แห่งร้านชิมบายสยามวิสดอม (Chim by Siam Wisdom) ย่านสามเสน กรุงเทพฯ โดยใช้วัตถุดิบคุณภาพจากญี่ปุ่น ร่วมกับเครื่องเทศ ผลไม้ และผักในท้องถิ่น เมนูเด่นของร้านคือ The Lost Recipe ต้มยำสูตรโบราณกว่า 200 ปี ที่มีรสชาติกลมกล่อมลงตัว

    อนึ่ง ในภูมิภาคอาเซียนมีการจัดทำคู่มือมิชลินไกด์แล้ว 4 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์เริ่มจากฉบับปี 2016 ประเทศไทยเริ่มจากฉบับปี 2018 มาเลเซียและและเวียดนาม เริ่มจากฉบับปี 2023

    #Newskit #MICHELINGuideMY #ChimbyChefNoom
    อาหารไทยเฉิดฉาย มิชลินไกด์มาเลย์ฯ การประกาศรางวัลร้านอาหารมิชลินไกด์ กัวลาลัมเปอร์และปีนัง ปี 2025 (MICHELIN Guide Kuala Lumpur & Penang 2025) ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2567 มีร้านอาหารในกรุงกัวลาลัมเปอร์ และรัฐปีนังได้รับการคัดเลือก 143 แห่ง โดยมี 25 แห่ง ได้รับการคัดเลือกเป็นครั้งแรก พร้อมเปิดตัวร้านที่ได้รับรางวัล Green Star หรือรางวัลดาวมิชลินรักษ์โลกแห่งแรกในประเทศมาเลเซีย คือ ร้านเดวากาน (Dewakan) ที่นอกจากจะรักษารางวัลมิชลิน 2 ดาวด้วยเมนูอาหารที่โดดเด่นแล้ว ยังพยายามจัดหาวัตถุดิบในท้องถิ่นและใช้เป็นส่วนผสมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเสริมรสชาติแบบดั้งเดิมของมาเลเซีย วัตถุดิบส่วนเกินยังนำไปหมักเป็นซอสโฮมเมดเพื่อลดขยะ ถือเป็นแรงบันดาลใจให้ร้านอาหารอื่นนำแนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ ร้านใหม่ 2 แห่งได้รับรางวัลมิชลินสตาร์ 1 ดาว ได้แก่ ชิมบายเชฟหนุ่ม (Chim By Chef Noom) ร้านอาหารไทยร่วมสมัย สืบทอดอาหารไทยดั้งเดิม แต่มีการปรับเปลี่ยนเมนูที่สร้างสรรค์และการจัดจานอย่างมีสไตล์ อีกทั้งเชฟอัซมี อาหมัด กามาล ยังได้รับรางวัล Service Award อีกรางวัลหนึ่ง ส่วนอีกร้านหนึ่งคือ โมลินา (Molina) ที่มีเมนูสร้างสรรค์ที่ผสมผสานเทคนิคแบบฝรั่งเศส กลิ่นอายแบบนอร์ดิก และกลิ่นอายแบบเอเชียอย่างลงตัว โดยเชฟกีโยม เดอปูร์แตร์ ได้รับรางวัล Opening of the Year Award รางวัลบิบกรูมองด์ (Bib Gourmand) ร้านอาหารอร่อยและราคาสมเหตุสมผล มีร้านใหม่ 12 แห่ง ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ 5 แห่ง และปีนัง 7 แห่ง หนึ่งในนั้นคือร้าน BM Yam Rice ย่านบูกิตเมอร์ตาจัม ที่เลื่อนระดับขึ้นจาก MICHELIN Selected เมนูเด่นคือซุปหมูและเครื่องในหมูรสชาติเข้มข้น เสิร์ฟพร้อมข้าวแยมไรซ์ (Yam Rice) เป็นหนึ่งในร้านอาหารราคาจับต้องได้ที่โดดเด่นที่สุดในมาเลเซีย ส่วนร้านอาหารหมวดหมู่ MICHELIN Selected มีร้านใหม่เพิ่มเติม 10 ร้าน รวมเป็น 80 ร้าน สำหรับร้านชิมบายเชฟหนุ่ม ตั้งอยู่ในอาคาร TSLAW Tower ย่านตุน ราซัก เอ็กซ์เชนจ์ (Tun Razak Exchange) เจ้าของร้านคือเชฟหนุ่ม ธนินธร จันทรวรรณ แห่งร้านชิมบายสยามวิสดอม (Chim by Siam Wisdom) ย่านสามเสน กรุงเทพฯ โดยใช้วัตถุดิบคุณภาพจากญี่ปุ่น ร่วมกับเครื่องเทศ ผลไม้ และผักในท้องถิ่น เมนูเด่นของร้านคือ The Lost Recipe ต้มยำสูตรโบราณกว่า 200 ปี ที่มีรสชาติกลมกล่อมลงตัว อนึ่ง ในภูมิภาคอาเซียนมีการจัดทำคู่มือมิชลินไกด์แล้ว 4 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์เริ่มจากฉบับปี 2016 ประเทศไทยเริ่มจากฉบับปี 2018 มาเลเซียและและเวียดนาม เริ่มจากฉบับปี 2023 #Newskit #MICHELINGuideMY #ChimbyChefNoom
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1634 มุมมอง 0 รีวิว
  • โรคเลื่อนรถไฟทางคู่ เกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู

    โครงการรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า เกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู (Gemas-Johor Bahru Electrified Double-Tracking Rail Project) หรือ Gemas-JB EDTP ประเทศมาเลเซีย ระยะทาง 192 กิโลเมตร แม้มีความคืบหน้าการก่อสร้าง แต่การขยายเส้นทางบริการรถไฟ ETS จากสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) รัฐปะลิส หรือสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ถึงสถานีเซกามัส (Segamat) ซึ่งเป็นสถานีแรกของรัฐยะโฮร์ ต้องถูกเลื่อนออกไปเป็นครั้งที่สอง

    เดิมการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) มีแผนที่จะขยายบริการรถไฟ ETS ไปยังสถานีเซกามัสในวันที่ 1 ก.ค. 2567 แต่ต้องเลื่อนออกไป คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือน ต.ค. 2567 แต่แล้วก็เลื่อนออกไปอีก ตามรายงานข่าวของสำนักข่าวเดอะสเตรทไทมส์ของมาเลเซีย ระบุแหล่งข่าวจากรัฐบาลมาเลเซียว่า เกิดจากบริษัท YTL Construction ผู้รับจ้างก่อสร้าง ไม่สามารถดำเนินการด้านเทคนิคของสายจ่ายกระแสไฟฟ้าที่สถานีควบคุมการเดินรถเกนวง (Genuang Operating Station) ส่งผลทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือศีรษะได้

    แม้ว่าการวางรางรถไฟช่วงสถานีเกอมัส ถึงรัฐยะโฮร์จะคืบหน้ากว่า 95% แต่งานด้านอื่นที่ยังดำเนินการอยู่ ได้แก่ การทดสอบเดินรถไฟฟ้า โดยที่ผ่านมาโครงการนี้ประสบปัญหาล่าช้ากว่า 3 ปี จากสถานการณ์โควิด 19 และการเวนคืนที่ดิน นอกจากนี้ ยังมีความล่าช้าในการส่งมอบขบวนรถโดยสารรุ่น KTM Class 94 หรือ ETS3 ขนาด 312 ที่นั่ง จำนวน 10 คัน จากบริษัท CRRC Zhuzhou Locomotive ประเทศจีน ซึ่งนายแอนโทนี่ ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย คาดว่าขบวนรถจะส่งมอบทั้งหมดภายในวันที่ 12 ส.ค. 2568

    อย่างไรก็ตาม คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือน เม.ย. 2568 และเปิดให้บริการในช่วงกลางปี 2568 ขณะที่การก่อสร้างสถานี Genuang, Segamat, Labis, Bekok และ Paloh เปิดให้ประชาชนใช้บริการได้แล้ว

    โครงการ Gemas-JB EDTP เริ่มต้นจากสถานีเกอมัส รัฐเนกรีเซมบีลัน เชื่อมกับรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ที่เปิดให้บริการเมื่อปี 2554 ถึงสถานีเจบีเซ็นทรัล (JB Sentral) รัฐยะโฮร์ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยลดเวลาการเดินทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ไปยังเมืองยะโฮร์บาห์รู จาก 7 ชั่วโมงเหลือ 4 ชั่วโมง 30 นาที คาดว่าจะให้บริการผู้โดยสารได้ 3,000 คนต่อวัน รวมทั้งยังใกล้กับโครงการรถไฟ RTS Link ไปยังประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีกำหนดเปิดให้บริการภายในเดือน ม.ค. 2570

    ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2567 มีผู้ใช้บริการรถไฟดีเซลราง KTM Intercity เส้นทางระหว่างเกอมัสถึงยะโฮร์บาห์รู จำนวน 63,607 คน

    #Newskit #Gemas #KTMB
    โรคเลื่อนรถไฟทางคู่ เกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู โครงการรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า เกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู (Gemas-Johor Bahru Electrified Double-Tracking Rail Project) หรือ Gemas-JB EDTP ประเทศมาเลเซีย ระยะทาง 192 กิโลเมตร แม้มีความคืบหน้าการก่อสร้าง แต่การขยายเส้นทางบริการรถไฟ ETS จากสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) รัฐปะลิส หรือสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ถึงสถานีเซกามัส (Segamat) ซึ่งเป็นสถานีแรกของรัฐยะโฮร์ ต้องถูกเลื่อนออกไปเป็นครั้งที่สอง เดิมการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) มีแผนที่จะขยายบริการรถไฟ ETS ไปยังสถานีเซกามัสในวันที่ 1 ก.ค. 2567 แต่ต้องเลื่อนออกไป คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือน ต.ค. 2567 แต่แล้วก็เลื่อนออกไปอีก ตามรายงานข่าวของสำนักข่าวเดอะสเตรทไทมส์ของมาเลเซีย ระบุแหล่งข่าวจากรัฐบาลมาเลเซียว่า เกิดจากบริษัท YTL Construction ผู้รับจ้างก่อสร้าง ไม่สามารถดำเนินการด้านเทคนิคของสายจ่ายกระแสไฟฟ้าที่สถานีควบคุมการเดินรถเกนวง (Genuang Operating Station) ส่งผลทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือศีรษะได้ แม้ว่าการวางรางรถไฟช่วงสถานีเกอมัส ถึงรัฐยะโฮร์จะคืบหน้ากว่า 95% แต่งานด้านอื่นที่ยังดำเนินการอยู่ ได้แก่ การทดสอบเดินรถไฟฟ้า โดยที่ผ่านมาโครงการนี้ประสบปัญหาล่าช้ากว่า 3 ปี จากสถานการณ์โควิด 19 และการเวนคืนที่ดิน นอกจากนี้ ยังมีความล่าช้าในการส่งมอบขบวนรถโดยสารรุ่น KTM Class 94 หรือ ETS3 ขนาด 312 ที่นั่ง จำนวน 10 คัน จากบริษัท CRRC Zhuzhou Locomotive ประเทศจีน ซึ่งนายแอนโทนี่ ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย คาดว่าขบวนรถจะส่งมอบทั้งหมดภายในวันที่ 12 ส.ค. 2568 อย่างไรก็ตาม คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือน เม.ย. 2568 และเปิดให้บริการในช่วงกลางปี 2568 ขณะที่การก่อสร้างสถานี Genuang, Segamat, Labis, Bekok และ Paloh เปิดให้ประชาชนใช้บริการได้แล้ว โครงการ Gemas-JB EDTP เริ่มต้นจากสถานีเกอมัส รัฐเนกรีเซมบีลัน เชื่อมกับรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ที่เปิดให้บริการเมื่อปี 2554 ถึงสถานีเจบีเซ็นทรัล (JB Sentral) รัฐยะโฮร์ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยลดเวลาการเดินทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ไปยังเมืองยะโฮร์บาห์รู จาก 7 ชั่วโมงเหลือ 4 ชั่วโมง 30 นาที คาดว่าจะให้บริการผู้โดยสารได้ 3,000 คนต่อวัน รวมทั้งยังใกล้กับโครงการรถไฟ RTS Link ไปยังประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีกำหนดเปิดให้บริการภายในเดือน ม.ค. 2570 ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2567 มีผู้ใช้บริการรถไฟดีเซลราง KTM Intercity เส้นทางระหว่างเกอมัสถึงยะโฮร์บาห์รู จำนวน 63,607 คน #Newskit #Gemas #KTMB
    Like
    Sad
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1324 มุมมอง 0 รีวิว
  • ☑️ เส้นทางภูเก็ต - ภูเก็ต เดินทางง่าย ขึ้น-ลง ประเทศไทย เรือ Costa Serena ที่ถูกออกแบบมาสำหรับผู้เดินทางทุกเพศทุกวัย และทุกคนในครอบครัว 💖
    🛳 แพ็คเกจเรือสำราญ Costa Serena, Cruise Only (ขึ้น-ลง ภูเก็ต) 4 วัน 3 คืน

    📍 เส้นทาง : ภูเก็ต, ไทย - พอร์ตคลัง, มาเลเซีย - ภูเก็ต, ไทย
    💬 วันที่ 5 - 8 / 8 - 11 ธ.ค. 67

    💸 ราคาเริ่มต้น : ฿17,800
    ⭕️ ห้องพักบนเรือ ห้องพักคู่ รวม 3 คืน (พักสองท่านต่อห้อง)
    ⭕️ อาหารทุกมื้อบนเรือ (ยกเว้นห้องอาหารพิเศษ)
    ⭕️ ภาษีท่าเรือ

    ➡️ รหัสแพคเกจทัวร์ : COSP-4D3N-HKT-HKT-2412081
    คลิกดูรายละเอียดโปรแกรม : 78s.me/e0fa53

    ✅ ดูแพ็คเกจเรือทั้งหมด
    https://cruisedomain.com/
    LINE ID: @CruiseDomain 78s.me/c54029
    Facebook: CruiseDomain 78s.me/b8a121
    Youtube : CruiseDomain 78s.me/8af620
    ☎️: 0 2116 9696 (Auto)
    #CostaSerena #ResortWorld #ภูเก็ต #ปีนัง #แพ็คเกจล่องเรือสำราญ #CruiseDomain
    ☑️ เส้นทางภูเก็ต - ภูเก็ต เดินทางง่าย ขึ้น-ลง ประเทศไทย เรือ Costa Serena ที่ถูกออกแบบมาสำหรับผู้เดินทางทุกเพศทุกวัย และทุกคนในครอบครัว 💖 🛳 แพ็คเกจเรือสำราญ Costa Serena, Cruise Only (ขึ้น-ลง ภูเก็ต) 4 วัน 3 คืน 📍 เส้นทาง : ภูเก็ต, ไทย - พอร์ตคลัง, มาเลเซีย - ภูเก็ต, ไทย 💬 วันที่ 5 - 8 / 8 - 11 ธ.ค. 67 💸 ราคาเริ่มต้น : ฿17,800 ⭕️ ห้องพักบนเรือ ห้องพักคู่ รวม 3 คืน (พักสองท่านต่อห้อง) ⭕️ อาหารทุกมื้อบนเรือ (ยกเว้นห้องอาหารพิเศษ) ⭕️ ภาษีท่าเรือ ➡️ รหัสแพคเกจทัวร์ : COSP-4D3N-HKT-HKT-2412081 คลิกดูรายละเอียดโปรแกรม : 78s.me/e0fa53 ✅ ดูแพ็คเกจเรือทั้งหมด https://cruisedomain.com/ LINE ID: @CruiseDomain 78s.me/c54029 Facebook: CruiseDomain 78s.me/b8a121 Youtube : CruiseDomain 78s.me/8af620 ☎️: 0 2116 9696 (Auto) #CostaSerena #ResortWorld #ภูเก็ต #ปีนัง #แพ็คเกจล่องเรือสำราญ #CruiseDomain
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1325 มุมมอง 0 รีวิว
  • ☑️ เส้นทางภูเก็ต - ภูเก็ต เดินทางง่าย ขึ้น-ลง ประเทศไทย เรือ Costa Serena ที่ถูกออกแบบมาสำหรับผู้เดินทางทุกเพศทุกวัย และทุกคนในครอบครัว 💖

    🛳 แพ็คเกจเรือสำราญ Costa Serena, Cruise Only (ขึ้น-ลง ภูเก็ต) 4 วัน 3 คืน

    📍 เส้นทาง : ภูเก็ต, ไทย - พอร์ตคลัง, มาเลเซีย - ภูเก็ต, ไทย

    💬 วันที่ 5 - 8 / 8 - 11 ธ.ค. 67

    💸 ราคาเริ่มต้น : ฿17,800

    ⭕️ ห้องพักบนเรือ ห้องพักคู่ รวม 3 คืน (พักสองท่านต่อห้อง)
    ⭕️ อาหารทุกมื้อบนเรือ (ยกเว้นห้องอาหารพิเศษ)
    ⭕️ ภาษีท่าเรือ

    ➡️ รหัสแพคเกจทัวร์ : COSP-4D3N-HKT-HKT-2412081
    คลิกดูรายละเอียดโปรแกรม : 78s.me/e0fa53

    ✅ ดูแพ็คเกจเรือทั้งหมด
    https://cruisedomain.com/
    LINE ID: @CruiseDomain 78s.me/c54029
    Facebook: CruiseDomain 78s.me/b8a121
    Youtube : CruiseDomain 78s.me/8af620
    ☎️: 0 2116 9696 (Auto)

    #CostaSerena #ResortWorld #ภูเก็ต #ปีนัง #แพ็คเกจล่องเรือสำราญ #CruiseDomain #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    ☑️ เส้นทางภูเก็ต - ภูเก็ต เดินทางง่าย ขึ้น-ลง ประเทศไทย เรือ Costa Serena ที่ถูกออกแบบมาสำหรับผู้เดินทางทุกเพศทุกวัย และทุกคนในครอบครัว 💖 🛳 แพ็คเกจเรือสำราญ Costa Serena, Cruise Only (ขึ้น-ลง ภูเก็ต) 4 วัน 3 คืน 📍 เส้นทาง : ภูเก็ต, ไทย - พอร์ตคลัง, มาเลเซีย - ภูเก็ต, ไทย 💬 วันที่ 5 - 8 / 8 - 11 ธ.ค. 67 💸 ราคาเริ่มต้น : ฿17,800 ⭕️ ห้องพักบนเรือ ห้องพักคู่ รวม 3 คืน (พักสองท่านต่อห้อง) ⭕️ อาหารทุกมื้อบนเรือ (ยกเว้นห้องอาหารพิเศษ) ⭕️ ภาษีท่าเรือ ➡️ รหัสแพคเกจทัวร์ : COSP-4D3N-HKT-HKT-2412081 คลิกดูรายละเอียดโปรแกรม : 78s.me/e0fa53 ✅ ดูแพ็คเกจเรือทั้งหมด https://cruisedomain.com/ LINE ID: @CruiseDomain 78s.me/c54029 Facebook: CruiseDomain 78s.me/b8a121 Youtube : CruiseDomain 78s.me/8af620 ☎️: 0 2116 9696 (Auto) #CostaSerena #ResortWorld #ภูเก็ต #ปีนัง #แพ็คเกจล่องเรือสำราญ #CruiseDomain #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2611 มุมมอง 0 รีวิว
  • หม่อมโจ้
    สิ่งที่ควรรู้เรื่องอิสราเอลหม่อมโจ้ โต้ทูตอิสราเอล ยันต้องเปิดความจริง ช่วยคนไทยพ้นภาวะทาส
    เพื่อนๆคงจะรู้จัก คุณปุ๊ก อาภัสรา หงสกุล อดีตนางงามจักรวาลชาวไทยคนแรก ที่เรียกว่ามิสยูนิเวอร์ส คุณอาภัสราจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ.3) ปี 2506 จาก ร.ร.ศึกษาวิทยา ถนนสีลม แล้วไปเรียนอาชีวศึกษาที่ ร.ร.เลขานุการที่นครรัฐปีนัง ในมาเลเซีย จบชั้นปีที่ 2 เธอมาประกวดนางสาวไทย ได้ตำแหน่งปี 2507 จากนั้นไปเรียนต่อแล้วกลับมาปี 2508 เดินทางไปประกวดมิสยูนิเวอร์สที่นครไมอามี่ รัฐฟลอริด้า สหรัฐอเมริกา ได้ตำแหน่งขณะมีอายุ18ปี คุณปุ๊กเกิดวันที่16 มกราคม 2490 ปีกุนปีเดียวกับผม ปี 2510 ขณะมีอายุ 20ปีได้สมรสครั้งแรกกับหม่อมราชวงศ์เกียรติคุณ กิติยากร มีบุตรชายคนแรกคือหม่อมหลวงรุ่งคุณ กิติยากร
    ปัจจุบัน หม่อมโจ้ บุตรชายคนแรกของคุณปุ๊ก อายุได้ 53 ปีแล้ว หม่อมโจ้เรียนจบจากต่างประเทศที่สหรัฐอเมริกาในระดับปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจเคยทำงานบริษัทต่างประเทศจนได้ลาออกไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุในสายวัดป่าอยู่หลายปีได้มาซื้อที่ดินที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 45 ไร่ ปลูกพืชและผลไม้สายพันธุ์ของต่างประเทศที่ไม่มีใครทำมาก่อนจนผลไม้ขายได้ในราคาสูง หม่อมหลวงรุ่งคุณได้ศึกษาและวิเคราะห์เขียนหนังสือหลายเรื่องเกี่ยวกับอิสราเอล ไว้มากจนเป็นข่าวตอบโต้กับเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยดังนี้
    เรียน ท่านเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย นายไซม่อน โรดเด็ด
    ข้าพเจ้ารับทราบถึงความไม่พอใจของท่านกับบทความของข้าพเจ้า ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่ข้าพเจ้าได้เขียน เป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าโดยบริสุทธิ์ใจ อันเป็นสิทธิที่ข้าพเจ้าจะแสดงได้ โดยความเห็นของข้าพเจ้านั้น เป็นไปตามข้อมูลหลักฐานอันมีจริงทางประวัติศาสตร์ที่ได้มีความพยายามในการกลบและบิดเบือน
    แม้กระนั้น ท่านอาจแปลกใจคิดว่า แล้วไฉนทั้งที่ข้าพเจ้าและประเทศไทยที่ไม่ได้มีส่วนได้เสีย ข้าพเจ้าจึงต้องไปเขียนในเรื่องราวสร้างความบาดหมางให้แก่ท่าน ข้าพเจ้าจึงใคร่ที่จะชี้แจงตรงนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้เขียนเพื่อที่จะก่อความบาดหมางให้แก่ท่านหรือแก่ผู้ใด และ เรื่องราวที่ข้าพเจ้าเขียนนั้น มีความเกี่ยวข้องกับข้าพเจ้าและต่อประเทศไทยอย่างไรบ้าง
    อย่างแรก 'กลุ่มทุนธนาคารยิว Zionist' ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ากล่าวถึงคนเพียงกลุ่มหนึ่ง มิใช่ชาวยิวทั้งหมด โดยคำว่า 'Zionist' แม้แต่ชาวยิวแท้ Orthodox Jews ที่ยึดมั่นใน Torah จำนวนมากก็ไม่ได้เห็นด้วยเลย ดังที่พวกเขาได้ออกมาประท้วง ประกาศว่า 'Zionism' ไม่ใช่ 'Judaism' เอง ท่านทูตน่าจะพอทราบอยู่ เพราะใน Israel ก็มีการจับชาวยิวแท้ ที่มีอัธยาศัยดีเหล่านี้ ไปจำคุกอยู่จำนวนหนึ่ง
    'ทุนธนาคาร Zionist' ที่ข้าพเจ้าพูดถึง หมายถึงกลุ่มทุนธนาคารที่เป็นผู้มีอำนาจที่สุดในโลก มีอำนาจเหนือรัฐหลายรัฐ รวมถึงมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา เขาคุมการเงินโดยกลุ่มของเขาเอง เป็นเจ้าของ Federal Reserve Bank ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา ที่พิมพ์เงินให้รัฐบาลสหรัฐฯต้องกู้ มิใช่ของประชาชนชาวอเมริกันตามที่ควรจะเป็นแต่อย่างใด กลุ่มทุนธนาคารของเขาเป็นหุ้นใหญ่ในบริษัทยักษ์ใหญ่แทบทั้งสิ้นทั่วโลก รวมถึง 6 บริษัทที่คุม 90% ของสื่อในสหรัฐอเมริกา เขาคุมแหล่งนํ้ามันและก๊าซหลัก ๆ ทั่วโลก และกำลังรุกเพื่อควบคุมผูกขาดอาหารของโลกโดยการผลิต GMO แม้แต่องค์กรโลก เช่น UN ที่ให้กำเนิด World Bank และ IMF ล้วนเป็นองค์กรที่พวกเขาจัดตั้งขึ้น และควบคุมทั้งสิ้น
    ชื่อตระกูลที่โดดเด่นมีอิทธิพลสูงสุดใน 'ทุนธนาคาร Zionist' นี้ ได้แก่ 'Rothschild' และ 'Rockefeller' ชื่อ 'Rothschild' ท่านทูตย่อมรู้จักเป็นอย่างดี โดยใน 'Independence Hall' ที่ Tel Aviv เมืองหลวงของท่านเอง ก็มีนิทรรศการเอกสารชิ้นสำคัญมากชิ้นหนึ่งเรียกว่า 'The Balfour Declaration' เป็นจดหมายจากรัฐบาลอังกฤษ จ่าหัวถึง 'Lord Rothschild' ใน 1917 แสดงถึงการที่รัฐบาลอังกฤษสนับสนุนให้เกิด บ้านอยู่ (national home) ของชาวยิว ที่ Palestine แก่ 'Lord Rothschild' Baron Edmond (Abraham Benjamin) Rothschild จึงมีสถานะเป็น "the Father of the Settlements" (Avi ha-Yishuv) หรือบิดาแห่งอิสราเอล
    ใน4บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก หรือ 'The Four Horsemen of Oil' ที่อยู่เบื้องหลังนโยบายการครอบครองน้ำมันของสหรัฐฯ 2 บริษัท คือ BP Amoco และ Royal Dutch/Shell อยู่ภายใต้การควบคุมของตระกูล Rothschild ที่ถือหุ้นใหญ่ ส่วน อีกสอง Exxon Mobil และ Chevron คือ บริษัทที่มาจาก Standard Oil ของ John D. Rockefeller โดยกรรมการของบริษัทน้ำมันเหล่านี้จำนวนหนึ่ง ไขว้กันเองเป็นใย และไขว้เป็นกรรมการของธนาคารยักษ์ใหญ่ เช่น JP Morgan Chase ของ Rockefeller และ Citigroup, Bank of America, Wells Fargo, N. M. Rothschild & Sons โดยตระกูล Rothschild ควบคุม และมีการเชื่อมโยงถือหุ้นไขว้กันกับกลุ่มทุนนอมินียักษ์ เช่น BlackRock, State Street, Vanguard และ Fidelity ที่ถือหุ้นใหญ่บริษัทยักษ์ใหญ่ แทบทั้งหมดในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย
    ในการสร้างอำนาจเหนือรัฐต่าง ๆ 'ทุนธนาคาร Zionist' เหล่านี้ ได้จัดตั้งองค์กร Front ของเขา เช่น The Bilderberg Group, Council on Foreign Relations (CFR) และ The Trilateral Commission (TC) โดยองค์กรเหล่านี้จะรวมกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' และบรรดาผู้มีอิทธิผล เช่น อดีตประธานาธิบดี บริวารมือขวาของเขา Henry Kissinger นักการเมืองทุกขั้ว ทหาร หัวหน้าหน่วยงานลับ ของประเทศสำคัญในยุโรป และสหรัฐฯ โดยใน Trilateral Commission จะมีสมาชิกเป็นบุคคลสำคัญของประเทศในทวีปเอเชียต่าง ๆ ที่รับใช้พวกเขา 'ทุนธนาคาร Zionist' จึงมีอิทธิพลอำนาจเหนือรัฐ เช่นมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา
    ด้วยความละโมบของพวกเขา ในการล่าอาณานิคมยุคใหม่ โดยกำลังก็ดี โดยวิธีแห่งการให้สินบนแก่ผู้ขายชาติตนเองก็ดี โดยการบีบบังคับด้วยหนี้สินก็ดี โดยการแทรกแซงการเมืองภายในก็ดี 'ทุนธนาคาร Zionist' เหล่านี้ ได้เข้ายึดครองทรัพยากร พลังงาน เศรษฐกิจ และการเงิน ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทำให้ประชาชนของประเทศนั้น ๆ ตกเป็นทาสของพวกเขา โดยในประเทศไทยเอง ปรากฏหลักฐานชัดเจนถึงการกระทำ ที่ 'ทุนธนาคาร Zionist' พร้อมการร่วมมือของ 'คนไทย' ที่ได้ขายตัวขายจิตวิญญาณให้พวกเขา ได้ร่วมกระทำ ดังต่อไปนี้ (1) การปล้นโกงน้ำมันและก๊าซ จากประชาชนคนไทย (2) การทำให้ประเทศไทยเป็นหนี้ ตามด้วยการยึดครองเศรษฐกิจการเงิน (3) การชักใยอยู่เบื้องหลังทุกฝ่าย ในการสร้างความแตกแยก ตามยุทธศาสตร์ 'แบ่งแยกแล้วปกครอง' เพื่อการยึดครองประเทศเป็นเมืองขึ้นยิ่งขึ้นไป มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ :
    (1) การปล้นโกงน้ำมันและก๊าซ จากประชาชนคนไทย โดย 'ทุนธนาคาร Zionist'
    ทั้งที่ประเทศไทย มีอธิปไตยของตนเอง โดยอธิปไตย นั้นเป็นของปวงชนชาวไทย อันหมายความว่าทรัพยากรของชาตินั้นเป็นของประชาชนคนไทย แต่ปรากฏว่า กฎหมายว่าด้วยน้ำมันและก๊าซ (พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514) มิได้มีการเขียนขึ้นไม่ว่าจะ 'โดย' ประชาชน หรือ 'เพื่อ' ประชาชน แต่อย่างใด แต่ได้ถูกเขียนขึ้นโดย Walter James Levi สมาชิกทั้ง CFR และ The Trilateral Commission ผู้ทำงานให้รัฐบาลสหรัฐฯ ขั้นขึ้นชื่อว่าเป็น หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์พลังงานของสหรัฐอเมริกา (the dean of United States oil economists) และ ได้เป็นผู้บริหารบริษัทของตระกูล Rockefeller เองคือ Standard Oil Company of New York หรือ Socony (ปัจจุบันคือ Exxon) คนที่เขียนกฎหมายนี้ของประเทศไทย ไม่ใช่คนไทย แต่คือคนของ 'ทุนธนาคาร Zionist'
    เนื้อหาของกฎหมายดังกล่าวเอง ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ของ 'ทุนธนาคาร Zionist' โดยมีลักษณะของกฎหมายสำหรับเมืองขึ้นอันไม่เป็นธรรม คือ น้ำมันและก๊าซทั้งหมดเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับสัมปทาน การได้สัมปทานเป็นไปโดยไม่มีการประมูลอย่างโปร่งใส ค่าตอบแทนเป็นไปอย่างต่ำ และ ประชาชนคนไทยที่เป็นเจ้าของโดยแท้จริง ไม่สามารถตรวจสอบรับทราบความจริงได้เลย โดยวิธีที่สามารถจะเรียกว่าโปร่งใสได้ ว่าปริมาณทรัพยากรที่มีการขุดไปนั้นมีปริมาณที่แท้จริงมากน้อยเพียงใด ประเทศไทยมีพลังงานมากน้อยแค่ไหนโดยต้องยอมรับตามตัวเลข ที่บริษัทพลังงานต่าง ๆ แจ้งเท่านั้น
    การปล้นอธิปไตยโดย 'ทุนธนาคาร Zionist' เป็นไปได้ด้วยการข่มขู่ไม่ให้ความร่วมมือ พร้อมการให้สินบนแก่ 'คนไทยที่ขายชาติตัวเอง' ซึ่งจากนั้นมา การรุกครอบครองน้ำมันและก๊าซของประชาชนคนไทย โดยวิธีการดังกล่าวได้ขยายไปเรื่อย ๆ มีการแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติม ให้เอื้ออำนวยแก่ผู้รับสัมปทานอย่างล้นพ้นโดยภายหลังจะเห็นได้ชัดเจนถึงผู้เข้ามามีอำนาจในไทย ไม่ว่าขั้วไหน เข้ามาด้วยวิธีใด ได้สานต่อไปในทาง 'ขายชาติตัวเอง' ให้แก่ 'ทุนธนาคาร Zionist' เหล่านี้เพื่อค่าคอมมิสชั่น ถึงขั้นร่วมกันชง ส่งลูกกันข้ามรัฐบาล ยกดินแดนไทยให้กัมพูชา อันส่งผลให้พื้นที่ไทยในทะเลอ่าวไทย 27,000 ตารางกิโลเมตรอันอุดมด้วยน้ำมันและก๊าซที่สุดแห่งหนึ่ง ต้องตกกลายเป็นพื้นที่พิพาท ระหว่างไทยกับกัมพูชา
    ซึ่งในพื้นที่นี้ บริษัท Chevron คือบริษัทที่จ่อล็อกจะถือสัมปทานจากทั้ง 2 ประเทศ ในกรณีนี้ที่มีการพิพาทเรื่องพื้นที่ในอ่าวไทย หากไทยและกัมพูชา ให้สัมปทานในพื้นที่นี้ ผู้ที่จะมีอิทธิพลสูงสุดในการครอบครอง ย่อมมิใช่ไทยหรือกัมพูชาอีกทั้งนั้น แต่จะเป็นสหรัฐอเมริกาภายใต้กลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' เพราะสัมปทานจะเป็นของ Chevron โดยเอกฉันท์ ฝ่ายใดที่ให้ประโยชน์แก่สหรัฐฯ สูงสุด สหรัฐฯ ย่อมสนับสนุนฝ่ายนั้น
    ในปัจจุบัน การถูกปล้นอธิปไตย การตกเป็นอาณานิคมของ 'ทุนธนาคาร Zionist' อย่างเต็มรูปแบบในเรื่องพลังงาน ก็ประจักษ์ชัดเจนอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยในปัจจุบัน นาย ณรงค์ชัย อัครเศรณี ผู้เข้ามาดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ก่อนเข้ามารับตำแหน่ง ได้เป็นสมาชิก The Trilateral Commission (TC) องค์กรของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' ยาวนานถึง 30 ปี โดยเมื่อเข้ามาแล้ว ก็ไม่รีรอที่จะประกาศผลักดันเปิดสัมปทานในพื้นที่ดังกล่าวอย่างเต็มที่ โดยไม่สนใจ และไม่มีการชี้แจงอันใดเกี่ยวกับการเสียดินแดนของประเทศไทย ทั้งที่มีการคัดค้าน
    ด้วยประการฉะนี้ การปล้นโกงน้ำมันและก๊าซ โดย 'ทุนธนาคาร Zionist' จึงมิได้ครอบคลุมเพียงแค่น้ำมันและก๊าซอีกต่อไป แต่ได้ขยายไปเป็นการปล้นดินแดนไทย จากประชาชนคนไทย ไปโดยเรียบร้อย
    (2) การทำให้ประเทศไทยเป็นหนี้ ตามด้วยการยึดครองเศรษฐกิจการเงินของประเทศ
    การที่เถ้าแก่สามานย์รายใดจะต้องการยึดที่ดินสวย ๆ ของชาวนา วิธีที่เขาจะกระทำคือ ให้ชาวนากู้เงิน ทำให้จ่ายหนี้ไม่ได้ เมื่อจ่ายช้าก็อายัดที่ดินนั้น บังคับขายในราคาต่ำกว่าจริงสิบเท่า แล้วเข้าซื้อเอง
    วิธีการของ 'ทุนธนาคาร Zionist' ก็เป็นเช่นนั้น ทำให้ประเทศเป็นหนี้ หลังการปล่อยกู้เงินให้แก่ประเทศไทยจำนวนมากให้คน น้อยกว่า 1% อย่างฟุ่มเฟือย George Soros สมาชิกอาวุโส CFR ได้นำกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' มาโจมตีค่าเงินบาท จาก 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ กลายเป็น 56 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ เพราะกู้เงินจากต่างชาติมามาก เศรษฐกิจไทยได้เข้าสู่วิกฤต มีการล่มสลายของธุรกิจจำนวนมาก(ในปี 2540 – 2542)
    ต่อมาก็เป็นไปตามแบบแผนวิธีการของ IMF และ World Bank ที่ 51% เป็นของ US Treasury ควบคุมโดย 'ทุนธนาคาร Zionist' ของ Rothschild ตามขั้นตอนที่ Joseph Stiglitz ผู้เป็นอดีตประธานที่ปรึกษาทีมเศรษฐกิจของ President Bill Clinton อดีตรองประธาน และ Chief Economist ของ World Bank ได้เปิดโปงให้แก่หนังสือ The Observer และ Newsweek หลังมีเอกสารลับหลุดออกมาจาก World Bank คือในการขอความช่วยเหลือทางการเงิน จำต้องเซ็นสัญญา โดยในสัญญาจะตกลงใน (a) Privatization การแปรรูป โดยรัฐจะต้องยินยอมขายสมบัติของชาติเกี่ยวเนื่องกับสิ่งจำเป็น เช่น น้ำ ไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซ (b) Capital Market Liberalization การเปิดให้ทุนไหลเข้าออก โดยส่วนใหญ่มักจะไหลออก (c) Market-based pricing การขึ้นราคา อาหาร ไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซ โดยอ้างว่าเป็นราคาตลาดโลก (d) Free Trade การค้าเสรี ตามกฎของ WTO และ World Bank
    Stiglitz ได้ระบุในการสัมภาษณ์อย่างชัดเจนว่า การยินยอมในการตกลงนั้นเกิดขึ้นไม่ยากโดย (ก) World Bank IMF สามารถสั่ง Financial Blockage การกีดกันทางการเงินหากไม่ร่วมมือ และ (ข) นักการเมืองในประเทศนั้น ๆ ยินดีที่จะยกบริษัท น้ำ ไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซ ให้โดย 'เขาจะตาโตกันเลย เมือเขานึกถึงค่าคอมมิสชั่นที่เขาจะได้กัน จากการลดราคาเป็นพัน ๆ ล้านในการแปรรูป' โดยเขาจะสามารถใช้ข้ออ้างว่า ถูก World Bank IMF บังคับ
    แล้วการออกกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ ก็ได้ตามมา พร้อมการขายสมบัติชาติแบบล็อกสเปคในราคาที่ต่ำกว่าทุนถึง 5 เท่า ตามด้วยการแปรรูปบริษัทน้ำมัน-ก๊าซของชาติ โดยสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่าไม่ว่าจะในกรณี การยกดินแดนให้ต่างชาติ หรือ การแปรรูป จะเกิดขึ้นโดยการร่วมมือของมากกว่าหนึ่งรัฐบาล โดยฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายชง อีกฝ่ายเป็นฝ่ายจัดการ ทั้งนี้ทั้งนั้น เป็นไปเพื่อการสามารถโยนความผิดกันไปมาได้ โดยไม่มีใครผิดเต็ม ๆ โดยในกรณีนี้ แม้ขั้วนักการเมืองกลุ่มที่รับข้อตกลงรับรายละเอียดในการออกกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับจาก 'ทุนธนาคาร Zionist' นี้พยายามจะโยนความผิดให้ผู้ริเริ่มการตกลง แต่ก็ปรากฏให้เห็นได้ถึงการตอบแทน เมื่อคนของเขาได้ไปนั่งเป็นผู้อำนวยการใหญ่ WTO
    โดยการโจมตีค่าเงิน การบีบข่มขู่ การให้สินบนแก่ผู้เข้ามามีอำนาจทุกขั้ว ที่ร่วมกันขายชาติตนเอง 'ทุนธนาคาร Zionist' เช่น JP Morgan Chase, BlackRock, State Street, Vanguard และ Fidelity ได้เข้ามายึดครองควบคุม บริษัทน้ำมันก๊าซ ธนาคาร และ เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทย ไปจากคนไทย และยังรุกคืบยิ่ง ณ ปัจจุบัน ตามข่าวการแปรรูปที่ปรากฏอยู่
    (3) การชักใยอยู่เบื้องหลัง ในการสร้างความแตกแยก ตามยุทธศาสตร์ 'แบ่งแยกแล้วปกครอง' (Divide and Conquer) เพื่อการยึดครองประเทศอย่างเบ็ดเสร็จ
    เป็นที่ประจักษ์ว่าไม่ว่าจะขั้วไหน เข้ามาด้วยวิธีใด ที่เข้ามามีอำนาจ ล้วนให้ความร่วมมือกับ 'ทุนธนาคาร Zionist' ในการขายทำลายชาติ โดยมีค่าคอมมิสชั่น ทั้งในทรัพยากรและในการแปรรูป เป็นตัวเชื่อม สามารถควบคุม ชักใยได้ทุกฝ่าย ยุทธศาสตร์ แบ่งแยกแล้วปกครอง เป็นยุทธศาสตร์ที่มีตัวอย่างเห็นได้ในโลกปัจจุบันมากมายในการเข้ายึดครองประเทศต่าง ๆ ของ 'ทุนธนาคาร Zionist' โดยการยุยงให้เหยื่อตีกันเอง บางกรณีให้อาวุธทั้ง 2 ฝ่าย ทำลายภูมิคุ้มกันความสามัคคีของชนชาตินั้น ๆ สร้างความแตกแยก โดยเมื่อมีรอยแตก ก็สามารถจะแทรกเข้าไป ยึดครองประเทศนั้น ๆ
    ความแตกแยก ปัญหาความขัดแย้งเสื้อสี ที่ปรากฏอยู่ในประเทศไทย ล้วนมีการชักใย มีการสนับสนุน ทั้ง 2 ฝ่ายการเมือง โดยมีกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' เป็นผู้อยู่เบื้องหลังนักการเมืองทั้ง 2 ขั้ว โดยทั้ง 2 ขั้ว นั้นล้วนมีผลประโยชน์ในเรื่องคอมมิสชั่น จากกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' และถูกชักใยให้ปลุกปั่นประชาชน ให้มาตีกันเองโดยการรู้ไม่เท่าทันของประชาชน ว่าโดยแท้จริงแล้ว นักการเมืองและผู้มีอำนาจ ไม่ว่าจะขั้วไหน เข้ามาด้วยวิธีใด ล้วนให้ความร่วมมือ ขายชาติตนเองแก่ 'ทุนธนาคาร Zionist' ทั้งสิ้น
    หลักฐานปรากฏชัดเจนว่าสมาชิก CFR ของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' อาทิ (a) Robert Blackville สมาชิก CFR มือขวาการต่างประเทศของ Henry Kissinger จาก Barbour Griffif & Rogers (CFR) (b) Keneth Adelman สมาชิก CFR อดีตทูต UN ของสหรัฐ จาก Baker & Botts Robert (CFR) (c) Robert Amsterdam จาก Amsterdam & Peroff (Chatham House) ได้ทำหน้าที่เป็น lobbyist ให้อดีตนักการเมืองที่หลบอยู่ที่ Dubai และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังขบวนการเสื้อแดง และองค์กร NED ได้ให้เงินสนับสนุน Website ของเสื้อแดงจำนวนมาก โดยต้องเป็นที่กล่าวว่า นักการเมืองไทยที่หลบหนีอยู่ที่ Dubai นั้น โดยแท้จริงแล้วเป็นเพียงหุ่นเชิด ที่ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' ชักใยอยู่เบื้องหลัง ซึ่งโดยลำพังเขาไม่สามารถที่จะทำเองได้เลย (นั่นคือทักษิณ ชินวัตร)
    ส่วนนักการเมืองผู้เข้ามามีอำนาจ ฝ่ายอื่น ๆ ที่โหน อ้าง ปกป้อง สถาบันสำคัญ ๆ ฝ่ายนี้ โดยการขายตัวขายชาติ การปรารถนาได้ค่าคอมมิสชั่น ทั้งในน้ำมันก๊าซ และในการแปรรูป เป็นตัวเชื่อม ก็ไม่พ้นการอยู่ภายใต้อำนาจการชักใยของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' ที่เป็นผู้กำกับการแสดง จูงทั้งสองสามฝ่าย ให้ชงและส่งลูกให้กัน เสี้ยมให้ชาติ ล่มสลาย เพื่อการปล้นยึดครองอย่างเบ็ดเสร็จ ในระหว่างที่สหรัฐ แขนขวาของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' สนับสนุนฝ่ายหนึ่ง แขนซ้าย ก็ทำตัวเข้าสนับสนุนอีกฝ่าย
    ข้าพเจ้าจึงจะประกาศ ณ ที่นี้ว่าข้าพเจ้ามิได้รังเกียจประชาชนของชนชาติใด จะเป็นชาวอเมริกันหรือชาวยิวหรือชาติใด ๆ ทั้งสิ้น แต่สิ่งที่ข้าพเจ้ารังเกียจ คือพฤติกรรม เอาเปรียบ เบียดเบียน แทรกแซง ปล้นทั้งทรัพยากรและดินแดน ทำลายชาติอื่น ที่ 'ทุนธนาคาร Zionist' นี้ได้กระทำทั่วโลก
    ดังนั้น กับคำกล่าวของท่านว่าข้าพเจ้าเหยียดชนชาติ เมื่อความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นข้าพเจ้าจึงไม่เดือดร้อนใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ว่าในโลกปัจจุบัน เท่าที่ข้าพเจ้าทราบ ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าจะมีค่ายนักโทษอันใดที่กระทำความทารุณโหดร้ายเท่ากับที่สถานที่ชื่อ Gaza และในเมื่อประเทศของท่านเองยังกระทำการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาว Palestine อย่างที่กระทำอยู่ ท่านยังจะกล้าบังอาจเรียกผู้ใดว่าเหยียดชนชาติได้เสียอย่างไร
    จะเรียกใครว่าอย่างไรท่านจงมองตัวเองบ้างเสียเถิด ท่านจงสำเหนียกเสียบ้างเถิดว่า พฤติกรรมร้องทำจะเป็นจะตายว่าพวกตนถูกทำร้าย ทั้งที่พวกตนนั่นแหละคือผู้ที่กระทำชำเราเขาไปทั่ว ท่านคิดว่าอย่างไร พฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมที่น่าสมเพชหรือไม่
    ไม่ว่าจะประชาชนชนชาติใด เขาก็ย่อมปรารถนาความสงบสุข เขาย่อมปรารถนาอธิปไตยในชาติของเขาเอง เขาย่อมปรารถนาที่จะตัดสินอนาคตเขาเอง เขาย่อมปรารถนาว่าทรัพยากรของเขาจะถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของเขาด้วยความเป็นธรรม เขาย่อมไม่ต้องการให้ใครมาเอาดินแดนของเขาไป แต่ในประเทศไทย ด้วยการชักใย การซื้อคนไทยที่ขายชาติตนเองทุกขั้ว การซื้อสื่อ การปลุกปั้นโดย 'ทุนธนาคาร Zionist' เป็นอยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น
    ผลคือ คนไทย แทนที่จะรักใครสามัคคีกัน แทนที่จะได้รับผลประโยชน์จากสมบัติอันมีค่าของเขา แทนที่จะมีรัฐสวัสดิการ การรักษาพยาบาล การศึกษา ที่มีคุณภาพ แทนที่จะมีชีวิตที่มีคุณภาพความสุขที่พวกเขาควรได้รับ เขากลับต้องมาเกลียดชังกันเอง ทะเลาะสู้กันเอง เขากลับต้องมาเป็นทาสของ 'ทุนธนาคาร Zionist' ต้องมาเป็นทาสที่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายสู้กันเอง แทนที่จะสามัคคีกันเพื่อปลดปล่อยพวกตนจากความเป็นทาส เพราะความไม่รู้เท่าทัน เพราะการหลอกลวงโดยนักการเมือง ผู้เข้ามามีอำนาจที่หิวโหย ที่ล้วนทำเพื่อตนเอง โดยรับใช้ ถูกชักใยจากนายคนเดียวกันคือ 'ทุนธนาคาร Zionist' ทั้งนั้น
    ข้าพเจ้าจึงมีความจำเป็นที่จะเปิดเผยความจริง ความจริงโดยรอบด้าน และความจริงที่จริงที่สุด โดย เมื่อประชาชนชาวไทยตื่นรู้กับความจริง การเป็นทาสที่ถูกหลอกให้สู้กันเองย่อมหมดไป ความสามัคคีย่อมกลับมา โดยสิ่งนี้สิ่งเดียว คือ การตื่นรู้เท่านั้น ที่จะทำให้ชนชาติไทยรอดพ้นภัยไปได้
    ทั้งนี้ทั้งนั้น มิใช่ว่าประชาชนชาวไทยจะต้องไปเป็นศัตรูกับใคร การตบมือข้างเดียวย่อมไม่ดังฉันใด และ เมื่อคนไทยตื่นรู้เลิกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายเป็นหนึ่งอันเดียวกัน รวมกันปราบปรามเหล่าคนไทยที่ขายชาติตนเองทั้งหลายแล้ว ประเทศและประชาชนชาวไทยย่อมพ้นจากการเป็นอาณานิคม พ้นจากการเป็นเป็นทาส ไม่ว่าจะเป็น ทาสของ 'ทุนธนาคาร Zionist' หรือ กลุ่มทุนอื่นใด
    จึงเรียนมาเพื่อทราบ
    ม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร
    หม่อมโจ้ สิ่งที่ควรรู้เรื่องอิสราเอลหม่อมโจ้ โต้ทูตอิสราเอล ยันต้องเปิดความจริง ช่วยคนไทยพ้นภาวะทาส เพื่อนๆคงจะรู้จัก คุณปุ๊ก อาภัสรา หงสกุล อดีตนางงามจักรวาลชาวไทยคนแรก ที่เรียกว่ามิสยูนิเวอร์ส คุณอาภัสราจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ.3) ปี 2506 จาก ร.ร.ศึกษาวิทยา ถนนสีลม แล้วไปเรียนอาชีวศึกษาที่ ร.ร.เลขานุการที่นครรัฐปีนัง ในมาเลเซีย จบชั้นปีที่ 2 เธอมาประกวดนางสาวไทย ได้ตำแหน่งปี 2507 จากนั้นไปเรียนต่อแล้วกลับมาปี 2508 เดินทางไปประกวดมิสยูนิเวอร์สที่นครไมอามี่ รัฐฟลอริด้า สหรัฐอเมริกา ได้ตำแหน่งขณะมีอายุ18ปี คุณปุ๊กเกิดวันที่16 มกราคม 2490 ปีกุนปีเดียวกับผม ปี 2510 ขณะมีอายุ 20ปีได้สมรสครั้งแรกกับหม่อมราชวงศ์เกียรติคุณ กิติยากร มีบุตรชายคนแรกคือหม่อมหลวงรุ่งคุณ กิติยากร ปัจจุบัน หม่อมโจ้ บุตรชายคนแรกของคุณปุ๊ก อายุได้ 53 ปีแล้ว หม่อมโจ้เรียนจบจากต่างประเทศที่สหรัฐอเมริกาในระดับปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจเคยทำงานบริษัทต่างประเทศจนได้ลาออกไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุในสายวัดป่าอยู่หลายปีได้มาซื้อที่ดินที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 45 ไร่ ปลูกพืชและผลไม้สายพันธุ์ของต่างประเทศที่ไม่มีใครทำมาก่อนจนผลไม้ขายได้ในราคาสูง หม่อมหลวงรุ่งคุณได้ศึกษาและวิเคราะห์เขียนหนังสือหลายเรื่องเกี่ยวกับอิสราเอล ไว้มากจนเป็นข่าวตอบโต้กับเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยดังนี้ เรียน ท่านเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย นายไซม่อน โรดเด็ด ข้าพเจ้ารับทราบถึงความไม่พอใจของท่านกับบทความของข้าพเจ้า ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่ข้าพเจ้าได้เขียน เป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าโดยบริสุทธิ์ใจ อันเป็นสิทธิที่ข้าพเจ้าจะแสดงได้ โดยความเห็นของข้าพเจ้านั้น เป็นไปตามข้อมูลหลักฐานอันมีจริงทางประวัติศาสตร์ที่ได้มีความพยายามในการกลบและบิดเบือน แม้กระนั้น ท่านอาจแปลกใจคิดว่า แล้วไฉนทั้งที่ข้าพเจ้าและประเทศไทยที่ไม่ได้มีส่วนได้เสีย ข้าพเจ้าจึงต้องไปเขียนในเรื่องราวสร้างความบาดหมางให้แก่ท่าน ข้าพเจ้าจึงใคร่ที่จะชี้แจงตรงนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้เขียนเพื่อที่จะก่อความบาดหมางให้แก่ท่านหรือแก่ผู้ใด และ เรื่องราวที่ข้าพเจ้าเขียนนั้น มีความเกี่ยวข้องกับข้าพเจ้าและต่อประเทศไทยอย่างไรบ้าง อย่างแรก 'กลุ่มทุนธนาคารยิว Zionist' ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ากล่าวถึงคนเพียงกลุ่มหนึ่ง มิใช่ชาวยิวทั้งหมด โดยคำว่า 'Zionist' แม้แต่ชาวยิวแท้ Orthodox Jews ที่ยึดมั่นใน Torah จำนวนมากก็ไม่ได้เห็นด้วยเลย ดังที่พวกเขาได้ออกมาประท้วง ประกาศว่า 'Zionism' ไม่ใช่ 'Judaism' เอง ท่านทูตน่าจะพอทราบอยู่ เพราะใน Israel ก็มีการจับชาวยิวแท้ ที่มีอัธยาศัยดีเหล่านี้ ไปจำคุกอยู่จำนวนหนึ่ง 'ทุนธนาคาร Zionist' ที่ข้าพเจ้าพูดถึง หมายถึงกลุ่มทุนธนาคารที่เป็นผู้มีอำนาจที่สุดในโลก มีอำนาจเหนือรัฐหลายรัฐ รวมถึงมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา เขาคุมการเงินโดยกลุ่มของเขาเอง เป็นเจ้าของ Federal Reserve Bank ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา ที่พิมพ์เงินให้รัฐบาลสหรัฐฯต้องกู้ มิใช่ของประชาชนชาวอเมริกันตามที่ควรจะเป็นแต่อย่างใด กลุ่มทุนธนาคารของเขาเป็นหุ้นใหญ่ในบริษัทยักษ์ใหญ่แทบทั้งสิ้นทั่วโลก รวมถึง 6 บริษัทที่คุม 90% ของสื่อในสหรัฐอเมริกา เขาคุมแหล่งนํ้ามันและก๊าซหลัก ๆ ทั่วโลก และกำลังรุกเพื่อควบคุมผูกขาดอาหารของโลกโดยการผลิต GMO แม้แต่องค์กรโลก เช่น UN ที่ให้กำเนิด World Bank และ IMF ล้วนเป็นองค์กรที่พวกเขาจัดตั้งขึ้น และควบคุมทั้งสิ้น ชื่อตระกูลที่โดดเด่นมีอิทธิพลสูงสุดใน 'ทุนธนาคาร Zionist' นี้ ได้แก่ 'Rothschild' และ 'Rockefeller' ชื่อ 'Rothschild' ท่านทูตย่อมรู้จักเป็นอย่างดี โดยใน 'Independence Hall' ที่ Tel Aviv เมืองหลวงของท่านเอง ก็มีนิทรรศการเอกสารชิ้นสำคัญมากชิ้นหนึ่งเรียกว่า 'The Balfour Declaration' เป็นจดหมายจากรัฐบาลอังกฤษ จ่าหัวถึง 'Lord Rothschild' ใน 1917 แสดงถึงการที่รัฐบาลอังกฤษสนับสนุนให้เกิด บ้านอยู่ (national home) ของชาวยิว ที่ Palestine แก่ 'Lord Rothschild' Baron Edmond (Abraham Benjamin) Rothschild จึงมีสถานะเป็น "the Father of the Settlements" (Avi ha-Yishuv) หรือบิดาแห่งอิสราเอล ใน4บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก หรือ 'The Four Horsemen of Oil' ที่อยู่เบื้องหลังนโยบายการครอบครองน้ำมันของสหรัฐฯ 2 บริษัท คือ BP Amoco และ Royal Dutch/Shell อยู่ภายใต้การควบคุมของตระกูล Rothschild ที่ถือหุ้นใหญ่ ส่วน อีกสอง Exxon Mobil และ Chevron คือ บริษัทที่มาจาก Standard Oil ของ John D. Rockefeller โดยกรรมการของบริษัทน้ำมันเหล่านี้จำนวนหนึ่ง ไขว้กันเองเป็นใย และไขว้เป็นกรรมการของธนาคารยักษ์ใหญ่ เช่น JP Morgan Chase ของ Rockefeller และ Citigroup, Bank of America, Wells Fargo, N. M. Rothschild & Sons โดยตระกูล Rothschild ควบคุม และมีการเชื่อมโยงถือหุ้นไขว้กันกับกลุ่มทุนนอมินียักษ์ เช่น BlackRock, State Street, Vanguard และ Fidelity ที่ถือหุ้นใหญ่บริษัทยักษ์ใหญ่ แทบทั้งหมดในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ในการสร้างอำนาจเหนือรัฐต่าง ๆ 'ทุนธนาคาร Zionist' เหล่านี้ ได้จัดตั้งองค์กร Front ของเขา เช่น The Bilderberg Group, Council on Foreign Relations (CFR) และ The Trilateral Commission (TC) โดยองค์กรเหล่านี้จะรวมกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' และบรรดาผู้มีอิทธิผล เช่น อดีตประธานาธิบดี บริวารมือขวาของเขา Henry Kissinger นักการเมืองทุกขั้ว ทหาร หัวหน้าหน่วยงานลับ ของประเทศสำคัญในยุโรป และสหรัฐฯ โดยใน Trilateral Commission จะมีสมาชิกเป็นบุคคลสำคัญของประเทศในทวีปเอเชียต่าง ๆ ที่รับใช้พวกเขา 'ทุนธนาคาร Zionist' จึงมีอิทธิพลอำนาจเหนือรัฐ เช่นมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา ด้วยความละโมบของพวกเขา ในการล่าอาณานิคมยุคใหม่ โดยกำลังก็ดี โดยวิธีแห่งการให้สินบนแก่ผู้ขายชาติตนเองก็ดี โดยการบีบบังคับด้วยหนี้สินก็ดี โดยการแทรกแซงการเมืองภายในก็ดี 'ทุนธนาคาร Zionist' เหล่านี้ ได้เข้ายึดครองทรัพยากร พลังงาน เศรษฐกิจ และการเงิน ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทำให้ประชาชนของประเทศนั้น ๆ ตกเป็นทาสของพวกเขา โดยในประเทศไทยเอง ปรากฏหลักฐานชัดเจนถึงการกระทำ ที่ 'ทุนธนาคาร Zionist' พร้อมการร่วมมือของ 'คนไทย' ที่ได้ขายตัวขายจิตวิญญาณให้พวกเขา ได้ร่วมกระทำ ดังต่อไปนี้ (1) การปล้นโกงน้ำมันและก๊าซ จากประชาชนคนไทย (2) การทำให้ประเทศไทยเป็นหนี้ ตามด้วยการยึดครองเศรษฐกิจการเงิน (3) การชักใยอยู่เบื้องหลังทุกฝ่าย ในการสร้างความแตกแยก ตามยุทธศาสตร์ 'แบ่งแยกแล้วปกครอง' เพื่อการยึดครองประเทศเป็นเมืองขึ้นยิ่งขึ้นไป มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ : (1) การปล้นโกงน้ำมันและก๊าซ จากประชาชนคนไทย โดย 'ทุนธนาคาร Zionist' ทั้งที่ประเทศไทย มีอธิปไตยของตนเอง โดยอธิปไตย นั้นเป็นของปวงชนชาวไทย อันหมายความว่าทรัพยากรของชาตินั้นเป็นของประชาชนคนไทย แต่ปรากฏว่า กฎหมายว่าด้วยน้ำมันและก๊าซ (พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514) มิได้มีการเขียนขึ้นไม่ว่าจะ 'โดย' ประชาชน หรือ 'เพื่อ' ประชาชน แต่อย่างใด แต่ได้ถูกเขียนขึ้นโดย Walter James Levi สมาชิกทั้ง CFR และ The Trilateral Commission ผู้ทำงานให้รัฐบาลสหรัฐฯ ขั้นขึ้นชื่อว่าเป็น หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์พลังงานของสหรัฐอเมริกา (the dean of United States oil economists) และ ได้เป็นผู้บริหารบริษัทของตระกูล Rockefeller เองคือ Standard Oil Company of New York หรือ Socony (ปัจจุบันคือ Exxon) คนที่เขียนกฎหมายนี้ของประเทศไทย ไม่ใช่คนไทย แต่คือคนของ 'ทุนธนาคาร Zionist' เนื้อหาของกฎหมายดังกล่าวเอง ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ของ 'ทุนธนาคาร Zionist' โดยมีลักษณะของกฎหมายสำหรับเมืองขึ้นอันไม่เป็นธรรม คือ น้ำมันและก๊าซทั้งหมดเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับสัมปทาน การได้สัมปทานเป็นไปโดยไม่มีการประมูลอย่างโปร่งใส ค่าตอบแทนเป็นไปอย่างต่ำ และ ประชาชนคนไทยที่เป็นเจ้าของโดยแท้จริง ไม่สามารถตรวจสอบรับทราบความจริงได้เลย โดยวิธีที่สามารถจะเรียกว่าโปร่งใสได้ ว่าปริมาณทรัพยากรที่มีการขุดไปนั้นมีปริมาณที่แท้จริงมากน้อยเพียงใด ประเทศไทยมีพลังงานมากน้อยแค่ไหนโดยต้องยอมรับตามตัวเลข ที่บริษัทพลังงานต่าง ๆ แจ้งเท่านั้น การปล้นอธิปไตยโดย 'ทุนธนาคาร Zionist' เป็นไปได้ด้วยการข่มขู่ไม่ให้ความร่วมมือ พร้อมการให้สินบนแก่ 'คนไทยที่ขายชาติตัวเอง' ซึ่งจากนั้นมา การรุกครอบครองน้ำมันและก๊าซของประชาชนคนไทย โดยวิธีการดังกล่าวได้ขยายไปเรื่อย ๆ มีการแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติม ให้เอื้ออำนวยแก่ผู้รับสัมปทานอย่างล้นพ้นโดยภายหลังจะเห็นได้ชัดเจนถึงผู้เข้ามามีอำนาจในไทย ไม่ว่าขั้วไหน เข้ามาด้วยวิธีใด ได้สานต่อไปในทาง 'ขายชาติตัวเอง' ให้แก่ 'ทุนธนาคาร Zionist' เหล่านี้เพื่อค่าคอมมิสชั่น ถึงขั้นร่วมกันชง ส่งลูกกันข้ามรัฐบาล ยกดินแดนไทยให้กัมพูชา อันส่งผลให้พื้นที่ไทยในทะเลอ่าวไทย 27,000 ตารางกิโลเมตรอันอุดมด้วยน้ำมันและก๊าซที่สุดแห่งหนึ่ง ต้องตกกลายเป็นพื้นที่พิพาท ระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งในพื้นที่นี้ บริษัท Chevron คือบริษัทที่จ่อล็อกจะถือสัมปทานจากทั้ง 2 ประเทศ ในกรณีนี้ที่มีการพิพาทเรื่องพื้นที่ในอ่าวไทย หากไทยและกัมพูชา ให้สัมปทานในพื้นที่นี้ ผู้ที่จะมีอิทธิพลสูงสุดในการครอบครอง ย่อมมิใช่ไทยหรือกัมพูชาอีกทั้งนั้น แต่จะเป็นสหรัฐอเมริกาภายใต้กลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' เพราะสัมปทานจะเป็นของ Chevron โดยเอกฉันท์ ฝ่ายใดที่ให้ประโยชน์แก่สหรัฐฯ สูงสุด สหรัฐฯ ย่อมสนับสนุนฝ่ายนั้น ในปัจจุบัน การถูกปล้นอธิปไตย การตกเป็นอาณานิคมของ 'ทุนธนาคาร Zionist' อย่างเต็มรูปแบบในเรื่องพลังงาน ก็ประจักษ์ชัดเจนอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยในปัจจุบัน นาย ณรงค์ชัย อัครเศรณี ผู้เข้ามาดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ก่อนเข้ามารับตำแหน่ง ได้เป็นสมาชิก The Trilateral Commission (TC) องค์กรของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' ยาวนานถึง 30 ปี โดยเมื่อเข้ามาแล้ว ก็ไม่รีรอที่จะประกาศผลักดันเปิดสัมปทานในพื้นที่ดังกล่าวอย่างเต็มที่ โดยไม่สนใจ และไม่มีการชี้แจงอันใดเกี่ยวกับการเสียดินแดนของประเทศไทย ทั้งที่มีการคัดค้าน ด้วยประการฉะนี้ การปล้นโกงน้ำมันและก๊าซ โดย 'ทุนธนาคาร Zionist' จึงมิได้ครอบคลุมเพียงแค่น้ำมันและก๊าซอีกต่อไป แต่ได้ขยายไปเป็นการปล้นดินแดนไทย จากประชาชนคนไทย ไปโดยเรียบร้อย (2) การทำให้ประเทศไทยเป็นหนี้ ตามด้วยการยึดครองเศรษฐกิจการเงินของประเทศ การที่เถ้าแก่สามานย์รายใดจะต้องการยึดที่ดินสวย ๆ ของชาวนา วิธีที่เขาจะกระทำคือ ให้ชาวนากู้เงิน ทำให้จ่ายหนี้ไม่ได้ เมื่อจ่ายช้าก็อายัดที่ดินนั้น บังคับขายในราคาต่ำกว่าจริงสิบเท่า แล้วเข้าซื้อเอง วิธีการของ 'ทุนธนาคาร Zionist' ก็เป็นเช่นนั้น ทำให้ประเทศเป็นหนี้ หลังการปล่อยกู้เงินให้แก่ประเทศไทยจำนวนมากให้คน น้อยกว่า 1% อย่างฟุ่มเฟือย George Soros สมาชิกอาวุโส CFR ได้นำกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' มาโจมตีค่าเงินบาท จาก 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ กลายเป็น 56 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ เพราะกู้เงินจากต่างชาติมามาก เศรษฐกิจไทยได้เข้าสู่วิกฤต มีการล่มสลายของธุรกิจจำนวนมาก(ในปี 2540 – 2542) ต่อมาก็เป็นไปตามแบบแผนวิธีการของ IMF และ World Bank ที่ 51% เป็นของ US Treasury ควบคุมโดย 'ทุนธนาคาร Zionist' ของ Rothschild ตามขั้นตอนที่ Joseph Stiglitz ผู้เป็นอดีตประธานที่ปรึกษาทีมเศรษฐกิจของ President Bill Clinton อดีตรองประธาน และ Chief Economist ของ World Bank ได้เปิดโปงให้แก่หนังสือ The Observer และ Newsweek หลังมีเอกสารลับหลุดออกมาจาก World Bank คือในการขอความช่วยเหลือทางการเงิน จำต้องเซ็นสัญญา โดยในสัญญาจะตกลงใน (a) Privatization การแปรรูป โดยรัฐจะต้องยินยอมขายสมบัติของชาติเกี่ยวเนื่องกับสิ่งจำเป็น เช่น น้ำ ไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซ (b) Capital Market Liberalization การเปิดให้ทุนไหลเข้าออก โดยส่วนใหญ่มักจะไหลออก (c) Market-based pricing การขึ้นราคา อาหาร ไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซ โดยอ้างว่าเป็นราคาตลาดโลก (d) Free Trade การค้าเสรี ตามกฎของ WTO และ World Bank Stiglitz ได้ระบุในการสัมภาษณ์อย่างชัดเจนว่า การยินยอมในการตกลงนั้นเกิดขึ้นไม่ยากโดย (ก) World Bank IMF สามารถสั่ง Financial Blockage การกีดกันทางการเงินหากไม่ร่วมมือ และ (ข) นักการเมืองในประเทศนั้น ๆ ยินดีที่จะยกบริษัท น้ำ ไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซ ให้โดย 'เขาจะตาโตกันเลย เมือเขานึกถึงค่าคอมมิสชั่นที่เขาจะได้กัน จากการลดราคาเป็นพัน ๆ ล้านในการแปรรูป' โดยเขาจะสามารถใช้ข้ออ้างว่า ถูก World Bank IMF บังคับ แล้วการออกกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ ก็ได้ตามมา พร้อมการขายสมบัติชาติแบบล็อกสเปคในราคาที่ต่ำกว่าทุนถึง 5 เท่า ตามด้วยการแปรรูปบริษัทน้ำมัน-ก๊าซของชาติ โดยสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่าไม่ว่าจะในกรณี การยกดินแดนให้ต่างชาติ หรือ การแปรรูป จะเกิดขึ้นโดยการร่วมมือของมากกว่าหนึ่งรัฐบาล โดยฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายชง อีกฝ่ายเป็นฝ่ายจัดการ ทั้งนี้ทั้งนั้น เป็นไปเพื่อการสามารถโยนความผิดกันไปมาได้ โดยไม่มีใครผิดเต็ม ๆ โดยในกรณีนี้ แม้ขั้วนักการเมืองกลุ่มที่รับข้อตกลงรับรายละเอียดในการออกกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับจาก 'ทุนธนาคาร Zionist' นี้พยายามจะโยนความผิดให้ผู้ริเริ่มการตกลง แต่ก็ปรากฏให้เห็นได้ถึงการตอบแทน เมื่อคนของเขาได้ไปนั่งเป็นผู้อำนวยการใหญ่ WTO โดยการโจมตีค่าเงิน การบีบข่มขู่ การให้สินบนแก่ผู้เข้ามามีอำนาจทุกขั้ว ที่ร่วมกันขายชาติตนเอง 'ทุนธนาคาร Zionist' เช่น JP Morgan Chase, BlackRock, State Street, Vanguard และ Fidelity ได้เข้ามายึดครองควบคุม บริษัทน้ำมันก๊าซ ธนาคาร และ เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทย ไปจากคนไทย และยังรุกคืบยิ่ง ณ ปัจจุบัน ตามข่าวการแปรรูปที่ปรากฏอยู่ (3) การชักใยอยู่เบื้องหลัง ในการสร้างความแตกแยก ตามยุทธศาสตร์ 'แบ่งแยกแล้วปกครอง' (Divide and Conquer) เพื่อการยึดครองประเทศอย่างเบ็ดเสร็จ เป็นที่ประจักษ์ว่าไม่ว่าจะขั้วไหน เข้ามาด้วยวิธีใด ที่เข้ามามีอำนาจ ล้วนให้ความร่วมมือกับ 'ทุนธนาคาร Zionist' ในการขายทำลายชาติ โดยมีค่าคอมมิสชั่น ทั้งในทรัพยากรและในการแปรรูป เป็นตัวเชื่อม สามารถควบคุม ชักใยได้ทุกฝ่าย ยุทธศาสตร์ แบ่งแยกแล้วปกครอง เป็นยุทธศาสตร์ที่มีตัวอย่างเห็นได้ในโลกปัจจุบันมากมายในการเข้ายึดครองประเทศต่าง ๆ ของ 'ทุนธนาคาร Zionist' โดยการยุยงให้เหยื่อตีกันเอง บางกรณีให้อาวุธทั้ง 2 ฝ่าย ทำลายภูมิคุ้มกันความสามัคคีของชนชาตินั้น ๆ สร้างความแตกแยก โดยเมื่อมีรอยแตก ก็สามารถจะแทรกเข้าไป ยึดครองประเทศนั้น ๆ ความแตกแยก ปัญหาความขัดแย้งเสื้อสี ที่ปรากฏอยู่ในประเทศไทย ล้วนมีการชักใย มีการสนับสนุน ทั้ง 2 ฝ่ายการเมือง โดยมีกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' เป็นผู้อยู่เบื้องหลังนักการเมืองทั้ง 2 ขั้ว โดยทั้ง 2 ขั้ว นั้นล้วนมีผลประโยชน์ในเรื่องคอมมิสชั่น จากกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' และถูกชักใยให้ปลุกปั่นประชาชน ให้มาตีกันเองโดยการรู้ไม่เท่าทันของประชาชน ว่าโดยแท้จริงแล้ว นักการเมืองและผู้มีอำนาจ ไม่ว่าจะขั้วไหน เข้ามาด้วยวิธีใด ล้วนให้ความร่วมมือ ขายชาติตนเองแก่ 'ทุนธนาคาร Zionist' ทั้งสิ้น หลักฐานปรากฏชัดเจนว่าสมาชิก CFR ของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' อาทิ (a) Robert Blackville สมาชิก CFR มือขวาการต่างประเทศของ Henry Kissinger จาก Barbour Griffif & Rogers (CFR) (b) Keneth Adelman สมาชิก CFR อดีตทูต UN ของสหรัฐ จาก Baker & Botts Robert (CFR) (c) Robert Amsterdam จาก Amsterdam & Peroff (Chatham House) ได้ทำหน้าที่เป็น lobbyist ให้อดีตนักการเมืองที่หลบอยู่ที่ Dubai และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังขบวนการเสื้อแดง และองค์กร NED ได้ให้เงินสนับสนุน Website ของเสื้อแดงจำนวนมาก โดยต้องเป็นที่กล่าวว่า นักการเมืองไทยที่หลบหนีอยู่ที่ Dubai นั้น โดยแท้จริงแล้วเป็นเพียงหุ่นเชิด ที่ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' ชักใยอยู่เบื้องหลัง ซึ่งโดยลำพังเขาไม่สามารถที่จะทำเองได้เลย (นั่นคือทักษิณ ชินวัตร) ส่วนนักการเมืองผู้เข้ามามีอำนาจ ฝ่ายอื่น ๆ ที่โหน อ้าง ปกป้อง สถาบันสำคัญ ๆ ฝ่ายนี้ โดยการขายตัวขายชาติ การปรารถนาได้ค่าคอมมิสชั่น ทั้งในน้ำมันก๊าซ และในการแปรรูป เป็นตัวเชื่อม ก็ไม่พ้นการอยู่ภายใต้อำนาจการชักใยของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' ที่เป็นผู้กำกับการแสดง จูงทั้งสองสามฝ่าย ให้ชงและส่งลูกให้กัน เสี้ยมให้ชาติ ล่มสลาย เพื่อการปล้นยึดครองอย่างเบ็ดเสร็จ ในระหว่างที่สหรัฐ แขนขวาของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' สนับสนุนฝ่ายหนึ่ง แขนซ้าย ก็ทำตัวเข้าสนับสนุนอีกฝ่าย ข้าพเจ้าจึงจะประกาศ ณ ที่นี้ว่าข้าพเจ้ามิได้รังเกียจประชาชนของชนชาติใด จะเป็นชาวอเมริกันหรือชาวยิวหรือชาติใด ๆ ทั้งสิ้น แต่สิ่งที่ข้าพเจ้ารังเกียจ คือพฤติกรรม เอาเปรียบ เบียดเบียน แทรกแซง ปล้นทั้งทรัพยากรและดินแดน ทำลายชาติอื่น ที่ 'ทุนธนาคาร Zionist' นี้ได้กระทำทั่วโลก ดังนั้น กับคำกล่าวของท่านว่าข้าพเจ้าเหยียดชนชาติ เมื่อความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นข้าพเจ้าจึงไม่เดือดร้อนใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ว่าในโลกปัจจุบัน เท่าที่ข้าพเจ้าทราบ ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าจะมีค่ายนักโทษอันใดที่กระทำความทารุณโหดร้ายเท่ากับที่สถานที่ชื่อ Gaza และในเมื่อประเทศของท่านเองยังกระทำการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาว Palestine อย่างที่กระทำอยู่ ท่านยังจะกล้าบังอาจเรียกผู้ใดว่าเหยียดชนชาติได้เสียอย่างไร จะเรียกใครว่าอย่างไรท่านจงมองตัวเองบ้างเสียเถิด ท่านจงสำเหนียกเสียบ้างเถิดว่า พฤติกรรมร้องทำจะเป็นจะตายว่าพวกตนถูกทำร้าย ทั้งที่พวกตนนั่นแหละคือผู้ที่กระทำชำเราเขาไปทั่ว ท่านคิดว่าอย่างไร พฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมที่น่าสมเพชหรือไม่ ไม่ว่าจะประชาชนชนชาติใด เขาก็ย่อมปรารถนาความสงบสุข เขาย่อมปรารถนาอธิปไตยในชาติของเขาเอง เขาย่อมปรารถนาที่จะตัดสินอนาคตเขาเอง เขาย่อมปรารถนาว่าทรัพยากรของเขาจะถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของเขาด้วยความเป็นธรรม เขาย่อมไม่ต้องการให้ใครมาเอาดินแดนของเขาไป แต่ในประเทศไทย ด้วยการชักใย การซื้อคนไทยที่ขายชาติตนเองทุกขั้ว การซื้อสื่อ การปลุกปั้นโดย 'ทุนธนาคาร Zionist' เป็นอยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น ผลคือ คนไทย แทนที่จะรักใครสามัคคีกัน แทนที่จะได้รับผลประโยชน์จากสมบัติอันมีค่าของเขา แทนที่จะมีรัฐสวัสดิการ การรักษาพยาบาล การศึกษา ที่มีคุณภาพ แทนที่จะมีชีวิตที่มีคุณภาพความสุขที่พวกเขาควรได้รับ เขากลับต้องมาเกลียดชังกันเอง ทะเลาะสู้กันเอง เขากลับต้องมาเป็นทาสของ 'ทุนธนาคาร Zionist' ต้องมาเป็นทาสที่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายสู้กันเอง แทนที่จะสามัคคีกันเพื่อปลดปล่อยพวกตนจากความเป็นทาส เพราะความไม่รู้เท่าทัน เพราะการหลอกลวงโดยนักการเมือง ผู้เข้ามามีอำนาจที่หิวโหย ที่ล้วนทำเพื่อตนเอง โดยรับใช้ ถูกชักใยจากนายคนเดียวกันคือ 'ทุนธนาคาร Zionist' ทั้งนั้น ข้าพเจ้าจึงมีความจำเป็นที่จะเปิดเผยความจริง ความจริงโดยรอบด้าน และความจริงที่จริงที่สุด โดย เมื่อประชาชนชาวไทยตื่นรู้กับความจริง การเป็นทาสที่ถูกหลอกให้สู้กันเองย่อมหมดไป ความสามัคคีย่อมกลับมา โดยสิ่งนี้สิ่งเดียว คือ การตื่นรู้เท่านั้น ที่จะทำให้ชนชาติไทยรอดพ้นภัยไปได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น มิใช่ว่าประชาชนชาวไทยจะต้องไปเป็นศัตรูกับใคร การตบมือข้างเดียวย่อมไม่ดังฉันใด และ เมื่อคนไทยตื่นรู้เลิกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายเป็นหนึ่งอันเดียวกัน รวมกันปราบปรามเหล่าคนไทยที่ขายชาติตนเองทั้งหลายแล้ว ประเทศและประชาชนชาวไทยย่อมพ้นจากการเป็นอาณานิคม พ้นจากการเป็นเป็นทาส ไม่ว่าจะเป็น ทาสของ 'ทุนธนาคาร Zionist' หรือ กลุ่มทุนอื่นใด จึงเรียนมาเพื่อทราบ ม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2207 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts