• สว.ยกมือพรึ่บ 153 เสียง ผ่าน พ.ร.บ.ประชามติ ฉบับกมธ.ร่วมฯ ยึดเสียงข้างมากสองชั้น “อังคนา” เชื่อ สส.ยึดหลักประชามติเสียงข้างมากชั้นเดียว แม้จะรอ 6 เดือน ขณะที่ “นันทนา”ซัดอย่าดัดจริต อย่าสองมาตรฐาน ที่ผ่านมาทั้งการเลือกตั้งระดับชาติและท้องถิ่นก็ใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว ด้าน “นอสตราดามุสแก้รธน.” ระบุ ร่างกม.ประชามติมีรูรั่ว สภาฯเสนอใช้แค่เสียงข้างมากชั้นเดียว ไม่ต้องยึดเกณฑ์ 2 ชั้น ฟันฉับ สสร.ไม่เกิด

    เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มี พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธานการประชุม วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ที่คณะกรรมาธิการร่วมกัน พิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งมีมติเห็นชอบร่างแก้ไขของวุฒิสภา ที่แก้ไขด้วยเกณฑ์ผ่านประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้เกณฑ์ผ่าน 2 ชั้น คือต้องมีผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสัยงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ใช้เสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามติ

    นายนรเศรษฐ์ ปรัชญากร สว.อภิปรายว่า การออกเสียงประชามติข้างมากชั้นเดียว เป็นที่นิยมในหลายประเทศ เพราะมีไม่กี่ประเทศที่ใช้กรออกเสียงประชามติ 2 ชั้นที่สร้างปัญหา มากกว่าข้อดี และรูปแบบรัฐเป็นสหพันธรัฐ เพื่อไม่ให้รัฐใหญ่ใช้พวกมาลากไป แต่ประเทศไทยเป็นรัฐเดียว จึงควรใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว พร้อมอ้างตัวอย่างการใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น เหมือนการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญ 2560 ในปี 2559 ที่กฎหมายเดิมใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก2 ชั้น ก่อนมีการเปลี่ยนเป็นเสียงข้างมากชั้นเดียว เพราะเสียงข้างมาก 2 ชั้น ถูกรณรงค์ให้คว่ำง่ายมาก เมื่อ คสช.อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)ผ่าน ก็มีการแก้ไขกฎหมาย กลับมาใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000120989

    #MGROnline #พรบประชามติ #ประชุมวุฒิสภา
    สว.ยกมือพรึ่บ 153 เสียง ผ่าน พ.ร.บ.ประชามติ ฉบับกมธ.ร่วมฯ ยึดเสียงข้างมากสองชั้น “อังคนา” เชื่อ สส.ยึดหลักประชามติเสียงข้างมากชั้นเดียว แม้จะรอ 6 เดือน ขณะที่ “นันทนา”ซัดอย่าดัดจริต อย่าสองมาตรฐาน ที่ผ่านมาทั้งการเลือกตั้งระดับชาติและท้องถิ่นก็ใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว ด้าน “นอสตราดามุสแก้รธน.” ระบุ ร่างกม.ประชามติมีรูรั่ว สภาฯเสนอใช้แค่เสียงข้างมากชั้นเดียว ไม่ต้องยึดเกณฑ์ 2 ชั้น ฟันฉับ สสร.ไม่เกิด • เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มี พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธานการประชุม วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ที่คณะกรรมาธิการร่วมกัน พิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งมีมติเห็นชอบร่างแก้ไขของวุฒิสภา ที่แก้ไขด้วยเกณฑ์ผ่านประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้เกณฑ์ผ่าน 2 ชั้น คือต้องมีผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสัยงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ใช้เสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามติ • นายนรเศรษฐ์ ปรัชญากร สว.อภิปรายว่า การออกเสียงประชามติข้างมากชั้นเดียว เป็นที่นิยมในหลายประเทศ เพราะมีไม่กี่ประเทศที่ใช้กรออกเสียงประชามติ 2 ชั้นที่สร้างปัญหา มากกว่าข้อดี และรูปแบบรัฐเป็นสหพันธรัฐ เพื่อไม่ให้รัฐใหญ่ใช้พวกมาลากไป แต่ประเทศไทยเป็นรัฐเดียว จึงควรใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว พร้อมอ้างตัวอย่างการใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น เหมือนการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญ 2560 ในปี 2559 ที่กฎหมายเดิมใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก2 ชั้น ก่อนมีการเปลี่ยนเป็นเสียงข้างมากชั้นเดียว เพราะเสียงข้างมาก 2 ชั้น ถูกรณรงค์ให้คว่ำง่ายมาก เมื่อ คสช.อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)ผ่าน ก็มีการแก้ไขกฎหมาย กลับมาใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9670000120989 • #MGROnline #พรบประชามติ #ประชุมวุฒิสภา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 90 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัฐบาลเร่งสอบเทวดาสคบ. ขีดเส้นขอเวลา 30 วัน พร้อมจัดการคนผิด
    .
    ท่ามกลางความสนใจของสังคมที่มีต่อกรณีของบริษัท ดิ ไอคอน กรุ๊ป จำกัด มีอีกเรื่องหนึ่งที่เกือบลืมไปแล้ว คือ กรณีของผู้บริหารระดับสูงในสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเรียกรับประโยชน์ หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า เทวดาสคบ. ปรากฎว่าในที่ประชุมวุฒิสภาได้มีการตั้งกระทู้สอบถามถึงความคืบหน้าเรื่องดังกล่าว โดยมีนางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มาเป็นผู้ตอบคำถาม
    .
    นายสุนทร พฤกษพิพัฒน์ ส.ว.ในฐานะผู้เสนอกระทู้ได้อภิปรายและสอบถามว่า ในกรณีดิไอคอน ล่าสุดนี้ มีคำว่าเทวดา ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นเทวดาตบทรัพย์หรืออย่างไร หรือเป็นซาตาน ผีปอบ สุดท้ายเราไม่รู้ว่าเทวดาจะหนีรอดอีกหรือไม่ มาจนถึงพระ หลอกลงทุนไปที่แชร์แครอท ต้องบอกว่าถึงเวลาที่จริงจังหรือยัง ทำอย่างไรไม่ให้เกิดเรื่องเหล่านี้ขึ้นมา ไม่ใช่ปล่อยให้เกิดขึ้นมาแล้วไปไล่จับ ทุกกรณีมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง มีคนมีศักดิ์มีศรีเข้าไปเกี่ยวข้อง รัฐบาลมีวิธีการจัดการอย่างไร เทวดามีจริงหรือไม่ และมีแนวทางการป้องกันก่อนเกิดเหตุอย่างไร
    .
    นางสาวจิราพร ชี้แจงว่า นายกฯ ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง โดยได้มีข้อสั่งการถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน เพื่อช่วยเร่งสางปมคดีที่เกิดขึ้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ได้เปิดศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา เปิดให้ทุก สน.รับแจ้งข้อหา ได้ระดมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ช่วยร่วมสนับสนุนข้อมูลให้สอบสวนโดยเร็ว ส่วนเรื่องเทวดา สคบ.นั้น ยืนยันว่าไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยมีการเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่ามีกรณีนี้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ มีการปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ ได้เสนอเรื่องไปยังนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลอยู่ ซึ่งได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง
    .
    "ถ้าท่านดูไทม์ไลน์ จะเห็นว่าใช้ระยะเวลาไม่ถึง 1 อาทิตย์ ในการตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเด็นนี้ ซึ่งตามโครงสร้างของคณะกรรมการนี้จะเห็นได้ว่าเป็นคนนอกทั้งหมด เราไม่ได้ให้คนในตรวจกันเอง เราใช้กรรมการจากคนนอกที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะอาญาเข้ามาอยู่ในโครงสร้าง มีทั้งตัวแทน อัยการ ปปง. ดีเอสไอ ตร. เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรมกับทุกฝ่ายมากที่สุด ระหว่างกรอบเวลาที่จะสืบหาข้อเท็จจริงนี้ 30 วัน และคณะกรรมการก็ประชุมทันที โดยคณะกรรมการชุดนี้ยังตั้งอนุกรรมการขึ้นมา 2 คณะ ได้แก่ คณะในการสืบหาข้อเท็จจริง และคณะที่ศึกษาปัญหาข้อจำกัดในการทำธุรกิจขายตรงหรือแบบตรง ซึ่งจะเข้ามาดูตั้งแต่ขั้นตอนการขอใบอนุญาต ข้อบังคับต่างๆ" นางสาวจิราพร กล่าว
    .......
    Sondhi X
    รัฐบาลเร่งสอบเทวดาสคบ. ขีดเส้นขอเวลา 30 วัน พร้อมจัดการคนผิด . ท่ามกลางความสนใจของสังคมที่มีต่อกรณีของบริษัท ดิ ไอคอน กรุ๊ป จำกัด มีอีกเรื่องหนึ่งที่เกือบลืมไปแล้ว คือ กรณีของผู้บริหารระดับสูงในสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเรียกรับประโยชน์ หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า เทวดาสคบ. ปรากฎว่าในที่ประชุมวุฒิสภาได้มีการตั้งกระทู้สอบถามถึงความคืบหน้าเรื่องดังกล่าว โดยมีนางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มาเป็นผู้ตอบคำถาม . นายสุนทร พฤกษพิพัฒน์ ส.ว.ในฐานะผู้เสนอกระทู้ได้อภิปรายและสอบถามว่า ในกรณีดิไอคอน ล่าสุดนี้ มีคำว่าเทวดา ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นเทวดาตบทรัพย์หรืออย่างไร หรือเป็นซาตาน ผีปอบ สุดท้ายเราไม่รู้ว่าเทวดาจะหนีรอดอีกหรือไม่ มาจนถึงพระ หลอกลงทุนไปที่แชร์แครอท ต้องบอกว่าถึงเวลาที่จริงจังหรือยัง ทำอย่างไรไม่ให้เกิดเรื่องเหล่านี้ขึ้นมา ไม่ใช่ปล่อยให้เกิดขึ้นมาแล้วไปไล่จับ ทุกกรณีมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง มีคนมีศักดิ์มีศรีเข้าไปเกี่ยวข้อง รัฐบาลมีวิธีการจัดการอย่างไร เทวดามีจริงหรือไม่ และมีแนวทางการป้องกันก่อนเกิดเหตุอย่างไร . นางสาวจิราพร ชี้แจงว่า นายกฯ ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง โดยได้มีข้อสั่งการถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน เพื่อช่วยเร่งสางปมคดีที่เกิดขึ้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ได้เปิดศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา เปิดให้ทุก สน.รับแจ้งข้อหา ได้ระดมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ช่วยร่วมสนับสนุนข้อมูลให้สอบสวนโดยเร็ว ส่วนเรื่องเทวดา สคบ.นั้น ยืนยันว่าไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยมีการเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่ามีกรณีนี้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ มีการปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ ได้เสนอเรื่องไปยังนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลอยู่ ซึ่งได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง . "ถ้าท่านดูไทม์ไลน์ จะเห็นว่าใช้ระยะเวลาไม่ถึง 1 อาทิตย์ ในการตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเด็นนี้ ซึ่งตามโครงสร้างของคณะกรรมการนี้จะเห็นได้ว่าเป็นคนนอกทั้งหมด เราไม่ได้ให้คนในตรวจกันเอง เราใช้กรรมการจากคนนอกที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะอาญาเข้ามาอยู่ในโครงสร้าง มีทั้งตัวแทน อัยการ ปปง. ดีเอสไอ ตร. เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรมกับทุกฝ่ายมากที่สุด ระหว่างกรอบเวลาที่จะสืบหาข้อเท็จจริงนี้ 30 วัน และคณะกรรมการก็ประชุมทันที โดยคณะกรรมการชุดนี้ยังตั้งอนุกรรมการขึ้นมา 2 คณะ ได้แก่ คณะในการสืบหาข้อเท็จจริง และคณะที่ศึกษาปัญหาข้อจำกัดในการทำธุรกิจขายตรงหรือแบบตรง ซึ่งจะเข้ามาดูตั้งแต่ขั้นตอนการขอใบอนุญาต ข้อบังคับต่างๆ" นางสาวจิราพร กล่าว ....... Sondhi X
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1040 มุมมอง 0 รีวิว
  • 'วุฒิสภา' ยื้อประชามติ ดึงเกมแก้ รธน.รัฐบาลทำใจอาจใช้เวลา
    .
    การเดินเกมทางการเมืองของวุฒิสภาชุดนี้ภายใต้การนำของส.ว.สายสีน้ำเงินเริ่มมีความลึกลับและแหลมคมมากขึ้น ภายหลังคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่…) พ.ศ… มีมติแก้ไขเนื้อหาที่สำคัญ คือ การใช้ระบบเสียงข้างมากแบบสองชั้น กล่าวคือ กำหนดให้การทำประชามติเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องที่ทำประชามติ
    .
    โดยตามขั้นตอนเมื่อมีการแก้ไขแล้วจะต้องมีการพิจารณากันในที่ประชุมวุฒิสภาวันที่ 30 กันยายน ต่อไป โดยนำมาซึ่งเสียงวิจารณ์เป็นอย่างมากถึงการกำหนดรูปแบบการออกเสียงดังกล่าว อย่างนางอังคณา นีละไพจิตร สว. กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยตั้งแต่แรก เพราะการใช้เสียงข้างมากสองชั้นนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะช่วงที่ทุกคนเห็นร่วมกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความจำเป็นต้องแก้ไข แต่กลับมีคนเสนอมติดังกล่าว ทำให้สงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น สว.มีอิสระจริงหรือไม่
    .
    “ยืนยันชัดเจนว่าดิฉันไม่อาจจะเห็นด้วยได้ เพราะการกลับมติที่เคยมี การไม่เห็นด้วยกับร่างสส. จะทำให้ร่างพ.ร.บ.ประชามติล่าช้า ไม่ทันการเลือกตั้ง อบจ.เดือนกุมภาพันธ์ ไม่ทันการแก้ไขรัฐธรรมนูญในรัฐบาลชุดนี้ที่แถลงไว้ชัดเจนว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่หากตั้งแต่จุดเริ่มต้นคือพ.ร.บ.ประชามติไม่ผ่านก็จบ ถามว่าประชาชนจะได้ประโยชน์อะไร” นางอังคณา กล่าว
    .
    ไม่เว้นแม้แต่ฝ่ายรัฐบาลที่ก็มองว่าอาจต้องเพิ่มกระบวนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติเข้าไปอีก โดยนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ระบุว่า ส่วนตัวไม่ขอวิจารณ์การทำงานของส.ว. แต่หากที่สุดแล้วที่ประชุมส.ว.มีมติอะไรต่างจากร่างกฎหมายที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอ ก็ต้องตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันทั้งสองสภา เพื่อให้ได้กฎหมายที่มีความเห็นร่วมของทั้งสองสภา อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้การดำเนินการอะไรในสภาฯ ต้องให้หัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลคุยกันก่อน เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าจะเสนอกฎหมายอะไร อย่างไร เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จากนั้นจึงนำเข้าสู่ที่ประชุมวิปรัฐบาลเพื่อเป็นมติ จะได้ไม่มีปัญหาอีก แต่ตนเชื่อว่าทุกอย่างจะจบได้ด้วยการเจรจา
    ............
    Sondhi X
    'วุฒิสภา' ยื้อประชามติ ดึงเกมแก้ รธน.รัฐบาลทำใจอาจใช้เวลา . การเดินเกมทางการเมืองของวุฒิสภาชุดนี้ภายใต้การนำของส.ว.สายสีน้ำเงินเริ่มมีความลึกลับและแหลมคมมากขึ้น ภายหลังคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่…) พ.ศ… มีมติแก้ไขเนื้อหาที่สำคัญ คือ การใช้ระบบเสียงข้างมากแบบสองชั้น กล่าวคือ กำหนดให้การทำประชามติเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องที่ทำประชามติ . โดยตามขั้นตอนเมื่อมีการแก้ไขแล้วจะต้องมีการพิจารณากันในที่ประชุมวุฒิสภาวันที่ 30 กันยายน ต่อไป โดยนำมาซึ่งเสียงวิจารณ์เป็นอย่างมากถึงการกำหนดรูปแบบการออกเสียงดังกล่าว อย่างนางอังคณา นีละไพจิตร สว. กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยตั้งแต่แรก เพราะการใช้เสียงข้างมากสองชั้นนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะช่วงที่ทุกคนเห็นร่วมกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความจำเป็นต้องแก้ไข แต่กลับมีคนเสนอมติดังกล่าว ทำให้สงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น สว.มีอิสระจริงหรือไม่ . “ยืนยันชัดเจนว่าดิฉันไม่อาจจะเห็นด้วยได้ เพราะการกลับมติที่เคยมี การไม่เห็นด้วยกับร่างสส. จะทำให้ร่างพ.ร.บ.ประชามติล่าช้า ไม่ทันการเลือกตั้ง อบจ.เดือนกุมภาพันธ์ ไม่ทันการแก้ไขรัฐธรรมนูญในรัฐบาลชุดนี้ที่แถลงไว้ชัดเจนว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่หากตั้งแต่จุดเริ่มต้นคือพ.ร.บ.ประชามติไม่ผ่านก็จบ ถามว่าประชาชนจะได้ประโยชน์อะไร” นางอังคณา กล่าว . ไม่เว้นแม้แต่ฝ่ายรัฐบาลที่ก็มองว่าอาจต้องเพิ่มกระบวนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติเข้าไปอีก โดยนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ระบุว่า ส่วนตัวไม่ขอวิจารณ์การทำงานของส.ว. แต่หากที่สุดแล้วที่ประชุมส.ว.มีมติอะไรต่างจากร่างกฎหมายที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอ ก็ต้องตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันทั้งสองสภา เพื่อให้ได้กฎหมายที่มีความเห็นร่วมของทั้งสองสภา อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้การดำเนินการอะไรในสภาฯ ต้องให้หัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลคุยกันก่อน เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าจะเสนอกฎหมายอะไร อย่างไร เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จากนั้นจึงนำเข้าสู่ที่ประชุมวิปรัฐบาลเพื่อเป็นมติ จะได้ไม่มีปัญหาอีก แต่ตนเชื่อว่าทุกอย่างจะจบได้ด้วยการเจรจา ............ Sondhi X
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1079 มุมมอง 0 รีวิว