• ละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> เห็นมีคนถามหาหนังสือนิยายเรื่องนี้กัน วันนี้เลยมาคุยถึงบทประพันธ์ดั้งเดิมที่มีคนเขียนถึงไปแล้วบ้าง แต่หวังว่าจะให้มุมมองได้ในอีกแง่มุม

    จริงๆ แล้วไม่มีนิยายค่ะ ซีรีส์เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากบทละครโบราณสมัยราชวงศ์หยวน

    เรียกว่า ‘ละคร’ เพื่อนเพจอาจนึกภาพไม่ออก จริงๆ แล้วละครในสมัยนั้นคือสิ่งที่ปัจจุบันเราเรียกว่าอุปรากรจีนหรืองิ้วนั่นเอง ในสมัยราชวงศ์หยวนเรียกบทละครเหล่านี้ว่า ‘หยวนฉวี่’ (元曲 / เพลงงิ้วสมัยหยวน)

    บทงิ้วเรื่องนี้มีชื่อว่า < จ้าวพ่านเอ๋อร์เฟิงเยวี่ยจิ้วเฟิงเฉิน> (赵盼儿风月救风尘 แปลได้ประมาณว่า จ้าวพ่านเอ๋อร์ใช้มารยาสวาทช่วยหญิงคณิกา) หรือเรียกสั้นๆ ว่า <จิ้วเฟิงเฉิน> เป็นผลงานหนึ่งในกว่าหกสิบชิ้นของนักเขียนบทละครนามว่า ‘กวนฮ่านชิง’ (关汉卿 ปีค.ศ. 1222-1300) โดยปัจจุบันยังมีการแสดงอุปรากรจีนเรื่องนี้อยู่เรื่อยๆ (ดูรูปประกอบ)

    กวนฮ่านชิงถูกยกย่องให้เป็นที่หนึ่งของสี่ยอดนักเขียนบทอุปรากรจีนสมัยหยวน (元曲四大家) เขามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและก่อตั้งโรงเรียนและโรงละครหลายแห่ง เขาไม่ได้มีฐานะดี ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมชนชั้นล่าง บทละครของเขาจึงมีความสมจริงและมีหลากหลายอรรถรส ตีแผ่ด้านมืดของสังคม แต่ในขณะเดียวกันก็ให้ความหวังว่าชีวิตจะดีขึ้น กวนฮ่านชิงเก่งเรื่องร้องรำทำเพลงและมีฝีมือด้านการดนตรี ดังนั้นละครของเขาส่วนใหญ่เป็น ‘จ๋าจวี้’ (杂剧 / Mixed Play) เรื่อง ‘จิ้วเฟิงเฉิน’ นี้ก็เช่นกัน

    อะไรคือ ‘จ๋าจวี้’? มันคือการแสดงละครที่มีการเอาบทพูดและบทกลอน การร้องเพลง ดนตรี การเต้นรำ และแม้กระทั่งบทบู๊มารวมกันในละครเรื่องเดียวกัน เป็นรูปแบบที่มีขึ้นตั้งแต่สมัยปลายราชวงศ์ถัง และนิยมเป็นอย่างมากในสมัยซ่งและหยวน

    <จิ้วเฟิงเฉิน> มีทั้งหมด 4 องค์ มีฉากหลังเป็นยุคสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ เรื่องราวโดยย่อก็คือนางคณิกา ‘จ้าวพ่านเอ๋อร์’ มีเพื่อนสนิทเป็นนางคณิกานามว่า ‘ซ่งอิ่งจาง’ ซึ่งเดิมมีคนที่ตกลงปลงใจด้วยอยู่แล้วแต่มาหลงคารมชายที่ร่ำรวยแต่เจ้าชู้นามว่า ‘โจวเส่อ’ จึงแต่งงานไปกับเขา แต่ชีวิตหลังแต่งงานขมขื่นนัก ถูกโจวเส่อด่าทอทุบตีเป็นประจำจนเจียนตาย จ้าวพ่านเอ๋อร์จึงมาช่วย นางใช้เสน่ห์และมารยาหญิงหลอกล่อจนโจวเส่อลุ่มหลงยอมเซ็นใบหย่ากับซ่งอิ่งจางเพื่อมาแต่งงานกับนาง แต่เมื่อนางได้หนังสือหย่าก็ช่วยซ่งอิ่งจางหนีไป โจวเส่อไปฟ้องร้องว่าโดนหลอกเลยถูกฟ้องกลับว่าเขาเป็นคนหลอกภรรยาคนอื่นมา สุดท้ายโจวเส่อถูกศาลตัดสินลงโทษ

    ทำไมละคร <จิ้วเฟิงเฉิน> เรื่องนี้จึงเป็นที่นิยมและโด่งดังมาก? Storyฯ จับใจความได้ดังนี้
     หลากหลายอรรถรส: เพราะเป็นละครแบบ ‘จ๋าจวี้’ จึงมีหลากหลายอรรถรส มีความรันทดของชีวิตหญิงคณิกาและชนชั้นล่าง แต่ก็มีการสอดแทรกมุขตลกไปเป็นระยะ อีกทั้งยังมีมุมมองของสังคมที่สมจริงและคนส่วนใหญ่สัมผัสได้
     ชัยชนะของชนชั้นล่าง: เป็นการชิงไหวชิงพริบและอาศัยความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญของจ้าวพ่านเอ๋อร์ซึ่งเป็นตัวแทนของชนชั้นล่างและสตรีเพศที่ต่ำต้อย เอาชนะโจวเส่อซึ่งเป็นตัวแทนของชนชั้นกดขี่ เป็นเรื่องราวที่สอดแทรกความเป็นฮีโร่เข้าไปในบุคคลธรรมดา
     เป็นบทเรียนต่อชนรุ่นหลัง: ผลงานของเขาเป็นอีกหนึ่งแหล่งความรู้ให้ชนรุ่นหลังเข้าใจถึงวัฒธรรมและสภาพสังคมในสมัยซ่งและหยวนได้ดี

    เท่าที่อ่านเรื่องย่อมา <สามบุปผาลิขิตฝัน> ดัดแปลงจาก <จิ้วเฟิงเฉิน> ไปมาก เช่น นางเอกในเรื่อง <จิ้วเฟิงเฉิน> เป็นนางคณิกาขายตัวจริงๆ และไม่ปรากฏรายละเอียดเรื่องราวความรักกับพระเอกเหมือนที่ดัดแปลงออกมาเป็นซีรีส์ <สามบุปผาลิขิตฝัน> แต่เห็นว่าซีรีส์ลงรายละเอียดวิถีชีวิตสมัยซ่งได้ดี และมีคนเอาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับซีรีส์เรื่องนี้มาเขียนเล่ากันไม่น้อย เพื่อนเพจที่เห็นอะไรน่าสนใจมาแบ่งปันกันฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://culture.qianlong.com/2020/1223/5179821.shtml
    http://www.518yp.com/jitexingzhang/3873.html
    http://www.xinhuanet.com/ent/20220606/a7a1df7f71fb4466a7aa39849e0c513e/c.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.52lishi.com/article/64952.html
    http://www.hwjyw.com/zhwh/ctwh/zgwx/zmzj/ydzj/200709/t20070929_8194.shtml
    https://www.hao86.com/shiren_view_9bb64f43ac9bb64f/
    https://www.toutiao.com/article/6808002291593904654/?&source=m_redirect&wid=1655353365341

    #สามบุปผาลิขิตฝัน #จ้าวพ่านเอ๋อร์ #เจ้าพานเอ๋อร์ #จิ้วเฟิงเฉิน #อุปรากรจีน #จ๋าจวี้ #ราชวงศ์หยวน #กวงฮั่นชิง #หยวนฉวี่
    ละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> เห็นมีคนถามหาหนังสือนิยายเรื่องนี้กัน วันนี้เลยมาคุยถึงบทประพันธ์ดั้งเดิมที่มีคนเขียนถึงไปแล้วบ้าง แต่หวังว่าจะให้มุมมองได้ในอีกแง่มุม จริงๆ แล้วไม่มีนิยายค่ะ ซีรีส์เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากบทละครโบราณสมัยราชวงศ์หยวน เรียกว่า ‘ละคร’ เพื่อนเพจอาจนึกภาพไม่ออก จริงๆ แล้วละครในสมัยนั้นคือสิ่งที่ปัจจุบันเราเรียกว่าอุปรากรจีนหรืองิ้วนั่นเอง ในสมัยราชวงศ์หยวนเรียกบทละครเหล่านี้ว่า ‘หยวนฉวี่’ (元曲 / เพลงงิ้วสมัยหยวน) บทงิ้วเรื่องนี้มีชื่อว่า < จ้าวพ่านเอ๋อร์เฟิงเยวี่ยจิ้วเฟิงเฉิน> (赵盼儿风月救风尘 แปลได้ประมาณว่า จ้าวพ่านเอ๋อร์ใช้มารยาสวาทช่วยหญิงคณิกา) หรือเรียกสั้นๆ ว่า <จิ้วเฟิงเฉิน> เป็นผลงานหนึ่งในกว่าหกสิบชิ้นของนักเขียนบทละครนามว่า ‘กวนฮ่านชิง’ (关汉卿 ปีค.ศ. 1222-1300) โดยปัจจุบันยังมีการแสดงอุปรากรจีนเรื่องนี้อยู่เรื่อยๆ (ดูรูปประกอบ) กวนฮ่านชิงถูกยกย่องให้เป็นที่หนึ่งของสี่ยอดนักเขียนบทอุปรากรจีนสมัยหยวน (元曲四大家) เขามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและก่อตั้งโรงเรียนและโรงละครหลายแห่ง เขาไม่ได้มีฐานะดี ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมชนชั้นล่าง บทละครของเขาจึงมีความสมจริงและมีหลากหลายอรรถรส ตีแผ่ด้านมืดของสังคม แต่ในขณะเดียวกันก็ให้ความหวังว่าชีวิตจะดีขึ้น กวนฮ่านชิงเก่งเรื่องร้องรำทำเพลงและมีฝีมือด้านการดนตรี ดังนั้นละครของเขาส่วนใหญ่เป็น ‘จ๋าจวี้’ (杂剧 / Mixed Play) เรื่อง ‘จิ้วเฟิงเฉิน’ นี้ก็เช่นกัน อะไรคือ ‘จ๋าจวี้’? มันคือการแสดงละครที่มีการเอาบทพูดและบทกลอน การร้องเพลง ดนตรี การเต้นรำ และแม้กระทั่งบทบู๊มารวมกันในละครเรื่องเดียวกัน เป็นรูปแบบที่มีขึ้นตั้งแต่สมัยปลายราชวงศ์ถัง และนิยมเป็นอย่างมากในสมัยซ่งและหยวน <จิ้วเฟิงเฉิน> มีทั้งหมด 4 องค์ มีฉากหลังเป็นยุคสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ เรื่องราวโดยย่อก็คือนางคณิกา ‘จ้าวพ่านเอ๋อร์’ มีเพื่อนสนิทเป็นนางคณิกานามว่า ‘ซ่งอิ่งจาง’ ซึ่งเดิมมีคนที่ตกลงปลงใจด้วยอยู่แล้วแต่มาหลงคารมชายที่ร่ำรวยแต่เจ้าชู้นามว่า ‘โจวเส่อ’ จึงแต่งงานไปกับเขา แต่ชีวิตหลังแต่งงานขมขื่นนัก ถูกโจวเส่อด่าทอทุบตีเป็นประจำจนเจียนตาย จ้าวพ่านเอ๋อร์จึงมาช่วย นางใช้เสน่ห์และมารยาหญิงหลอกล่อจนโจวเส่อลุ่มหลงยอมเซ็นใบหย่ากับซ่งอิ่งจางเพื่อมาแต่งงานกับนาง แต่เมื่อนางได้หนังสือหย่าก็ช่วยซ่งอิ่งจางหนีไป โจวเส่อไปฟ้องร้องว่าโดนหลอกเลยถูกฟ้องกลับว่าเขาเป็นคนหลอกภรรยาคนอื่นมา สุดท้ายโจวเส่อถูกศาลตัดสินลงโทษ ทำไมละคร <จิ้วเฟิงเฉิน> เรื่องนี้จึงเป็นที่นิยมและโด่งดังมาก? Storyฯ จับใจความได้ดังนี้  หลากหลายอรรถรส: เพราะเป็นละครแบบ ‘จ๋าจวี้’ จึงมีหลากหลายอรรถรส มีความรันทดของชีวิตหญิงคณิกาและชนชั้นล่าง แต่ก็มีการสอดแทรกมุขตลกไปเป็นระยะ อีกทั้งยังมีมุมมองของสังคมที่สมจริงและคนส่วนใหญ่สัมผัสได้  ชัยชนะของชนชั้นล่าง: เป็นการชิงไหวชิงพริบและอาศัยความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญของจ้าวพ่านเอ๋อร์ซึ่งเป็นตัวแทนของชนชั้นล่างและสตรีเพศที่ต่ำต้อย เอาชนะโจวเส่อซึ่งเป็นตัวแทนของชนชั้นกดขี่ เป็นเรื่องราวที่สอดแทรกความเป็นฮีโร่เข้าไปในบุคคลธรรมดา  เป็นบทเรียนต่อชนรุ่นหลัง: ผลงานของเขาเป็นอีกหนึ่งแหล่งความรู้ให้ชนรุ่นหลังเข้าใจถึงวัฒธรรมและสภาพสังคมในสมัยซ่งและหยวนได้ดี เท่าที่อ่านเรื่องย่อมา <สามบุปผาลิขิตฝัน> ดัดแปลงจาก <จิ้วเฟิงเฉิน> ไปมาก เช่น นางเอกในเรื่อง <จิ้วเฟิงเฉิน> เป็นนางคณิกาขายตัวจริงๆ และไม่ปรากฏรายละเอียดเรื่องราวความรักกับพระเอกเหมือนที่ดัดแปลงออกมาเป็นซีรีส์ <สามบุปผาลิขิตฝัน> แต่เห็นว่าซีรีส์ลงรายละเอียดวิถีชีวิตสมัยซ่งได้ดี และมีคนเอาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับซีรีส์เรื่องนี้มาเขียนเล่ากันไม่น้อย เพื่อนเพจที่เห็นอะไรน่าสนใจมาแบ่งปันกันฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://culture.qianlong.com/2020/1223/5179821.shtml http://www.518yp.com/jitexingzhang/3873.html http://www.xinhuanet.com/ent/20220606/a7a1df7f71fb4466a7aa39849e0c513e/c.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.52lishi.com/article/64952.html http://www.hwjyw.com/zhwh/ctwh/zgwx/zmzj/ydzj/200709/t20070929_8194.shtml https://www.hao86.com/shiren_view_9bb64f43ac9bb64f/ https://www.toutiao.com/article/6808002291593904654/?&source=m_redirect&wid=1655353365341 #สามบุปผาลิขิตฝัน #จ้าวพ่านเอ๋อร์ #เจ้าพานเอ๋อร์ #จิ้วเฟิงเฉิน #อุปรากรจีน #จ๋าจวี้ #ราชวงศ์หยวน #กวงฮั่นชิง #หยวนฉวี่
    北昆《救风尘》亮相长安大戏院 且看赵盼儿“雪夜行路”-千龙网·中国首都网
    北昆《救风尘》亮相长安大戏院 且看赵盼儿“雪夜行路”
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 187 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์ที่แล้วเปรียบเทียบสิทธิของภรรยาเอกและอนุภรรยาโดยยกตัวอย่างจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> วันนี้มาคุยกันต่อว่าจีนโบราณแบ่งแยกเมียหลวงและเมียน้อยเป็นกี่ประเภท

    ก่อนอื่น พูดกันถึงภรรยาเอก ตามที่ Storyฯ เล่าไปสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนสมัยราชวงศ์ชิงนั้น กฎหมายกำหนดให้มีภรรยาเอกได้คนเดียว และจำนวนอนุภรรยานั้นเป็นไปตามบรรดาศักดิ์ของผู้ชาย ภรรยาเอกนี้มีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น เจิ้งชี (ภรรยาหลัก) เจี๋ยฟ่าชี (ภรรยาผูกปมผม) หยวนเพ่ยชี (ภรรยาดั้งเดิม) เจิ้งฝาง (ห้องหลัก) ฯลฯ หากภรรยาเอกเสียชีวิตไปแล้วจึงจะสามารถแต่งภรรยาเอกเข้ามาใหม่ได้อีกคน ภรรยาทดแทนคนนี้เรียกว่า ‘จี้ซื่อ’ (继室 แปลตรงตัวว่า สืบทอด+ห้อง) ตามธรรมเนียมแล้ว คนที่กราบไหว้ฟ้าดินด้วยกันมีเพียงภรรยาเอกเท่านั้น

    ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงมีธรรมเนียมที่ว่า หากบ้านใดไม่มีบุตรชายสืบสกุล สามารถให้หลาน (ลูกของลุงหรือน้า สกุลเดียวกัน) มาเป็นทายาทสืบสกุลตามกฎหมายได้ ดังนั้นเขามีหน้าที่สืบสกุลให้กับสองบ้านและสามารถแต่งภรรยาเอกได้สองคน เรียกว่า ‘เจี๊ยนเที้ยว’ (兼祧) และภรรยาเอกทั้งสองคนจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน

    นอกจากกรณีข้างต้นแล้ว เมียอื่นๆ จัดเป็นเมียน้อยหมด และจัดกลุ่มได้ตามนี้
    1. กลุ่มที่หนึ่งเป็นญาติพี่น้องของภรรยาเอกที่ถูกเลือกให้ติดตามไปกับเจ้าสาวตอนแต่งเข้าไปเรือนฝ่ายชาย (หมายเหตุ คนที่ตามเจ้าสาวมาอยู่บ้านฝ่ายชายทั้งหมดเรียกว่า เผยเจี้ย /陪嫁 ซึ่งรวมถึงบ่าวไพร่) แต่เป็นกรณีที่เจ้าสาวมาจากตระกูลสูงศักดิ์ ดังนั้นอนุภรรยากลุ่มนี้จะมีสถานะสูงกว่าอนุภรรยาอื่นๆ สามารถเข้าร่วมรับประทานอาหารหรืองานเลี้ยงกับสามีได้ และอาจถูกบันทึกชื่อเข้าไปในหนังสือตระกูลของฝ่ายชายได้เพราะนางมาจากตระกูลที่สูงศักดิ์มากเช่นกัน และโดยปกติฝ่ายชายมักยกระดับขึ้นเป็นภรรยาเอกได้เมื่อภรรยาเอกคนเดิมเสียชีวิตไป ในกลุ่มนี้จำแนกได้เป็นอีกสี่แบบ (เรียงจากสูงศักดิ์ที่สุดไปต่ำ) คือ
    a. อิ้ง (媵) หรือ อิ้งเฉี้ย – เป็นพี่สาวหรือน้องสาวที่เกิดจากพ่อคนเดียวกันกับเจ้าสาว แต่เจ้าสาวมีแม่เป็นภรรยาเอกในขณะที่พี่หรือน้องสาวที่แต่งตามไปจะเกิดจากอนุภรรยาของพ่อ
    b. เช่อซึ (侧室 แปลตรงตัวว่าห้องข้าง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เช่อซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของพ่อ (ถือนามสกุลเดียวกันกับเจ้าสาว)
    c. ฟู่ซึ (副室 แปลตรงตัวว่าห้องรอง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า ฟู่ซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของแม่ (ถือนามสกุลเดิมของแม่เจ้าสาว)
    d. เพียนซึ (偏室 แปลตรงตัวว่าห้องเบี่ยง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เพียนซึ เป็นลูกจากอนุภรรยาในตระกูลเดิมของแม่ ใช้นามสกุลเดียวกับแม่ มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเจ้าสาวแต่จริงๆ แล้วไม่มีความเกี่ยวพันทางสายเลือดกับเจ้าสาวเลย
    2. กลุ่มที่สองคือ เฉี้ย (妾) หรือ เพียนฝาง (偏房) คืออนุภรรยาทั่วไปที่ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับภรรยาเอก แบ่งเป็นระดับได้อีก คือ
    a. กุ้ยเฉี้ย (贵妾) เป็นอนุที่มาจากตระกูลใหญ่หรือตระกูลขุนนางแต่อาจเป็นลูกที่เกิดจากอนุภรรยาในตระกูลนั้นๆ หากฝ่ายชายเป็นบุตรจากภรรยาเอกในตระกูลสูงศักดิ์ โดยปกตินางผู้เป็นลูกอนุจะไม่มีคุณสมบัติพอที่จะนั่งตำแหน่งภรรยาเอกของเขาได้
    b. เหลียงเฉี้ย (良妾) เป็นอนุที่มาจากครอบครัวชาวบ้านทั่วไป เช่น ครอบครัวค้าขายหรือชาวไร่ชาวสวน ระดับความรู้การศึกษาก็จะแตกต่างกันไป
    c. เจี้ยนเฉี้ย (贱妾) เป็นอนุที่มีชาติตระกูลหรือสถานะที่ต่ำต้อยมาก เช่น นางรำ นางคณิกา นักแสดงละคร ฯลฯ พวกนี้ส่วนใหญ่อ่านเขียนได้และมีวิชาศิลปะติดตัว
    d. เผยฝาง (陪房) หมายถึงสาวใช้ของภรรยาเอกที่ติดตามมาเป็นเผยเจี้ยและช่วยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงให้ฝ่ายชายตามคำสั่งของภรรยาเอก โดยปกติชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดีเพราะภรรยาเอกจะส่งเสริมเพื่อให้ช่วยมัดใจสามีโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีพิษมีภัยเพราะเอกสารสำหรับสัญญาซื้อขายสาวใช้คนนี้จะอยู่ในมือของภรรยาเอกเอง
    e. ซื่อเฉี้ย (侍妾) หมายถึงสาวใช้ในบ้านฝ่ายชายที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแล้วถูกยกขึ้นเป็นอนุ
    f. ปี้เฉี้ย (婢妾) หมายถึงลูกของนักโทษทางการที่ถูกซื้อเข้ามาเป็นทาสในบ้านและยกขึ้นเป็นอนุ
    3. กลุ่มสุดท้ายไม่นับเป็นอนุภรรยา เป็นช่องทางที่ฝ่ายชายใช้ระบายความใคร่ได้อย่างไม่ต้องกลัวผิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องจำนวนอนุภรรยา แบ่งได้อีกเป็น
    a. ทงฝาง (通房) คือสาวใช้ในเรือนที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแต่ไม่ได้รับการยกขึ้นเป็นอนุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสาวใช้ที่ถูกคัดเลือกมาเพื่อ ‘เปิดประสบการณ์’ ให้แก่คุณชายในตระกูลใหญ่ที่กำลังโตขึ้นเป็นหนุ่ม
    b. ไว่ซึ (外室) หมายถึงเมียเก็บนอกบ้าน ชีวิตความเป็นอยู่อาจจะดีเพราะฝ่ายชายอาจซื้อบ้านให้อยู่มีคนคอยรับใช้ ไม่ต้องมาคอยปรนนิบัติแม่สามีหรือเมียหลวง และไม่โดนโขกสับ แต่ก็คือไม่ได้ถูกรับรองเป็นอนุภรรยา บุตรที่เกิดมาก็ไม่ถูกยอมรับว่าเป็นลูกหลานของตระกูลฝ่ายชาย

    เป็นอย่างไรคะ? ซับซ้อนและแบ่งแยกไว้ละเอียดกว่าที่คิดใช่ไหม? ทีนี้เพื่อนเพจคงเข้าใจในบริบทแล้วว่า ทำไมเป็นอนุภรรยาเหมือนกันยังสามารถข่มกันได้ และทำไมการยกอนุภรรยาขึ้นเป็นภรรยาเอกหลังจากคนเดิมเสียไปจึงเป็นเรื่องที่ยาก เพราะไม่ใช่อนุภรรยาทุกประเภทมีความพร้อมทางชาติตระกูลและการศึกษาที่จะมาปกครองเป็นนายหญิงของบ้านได้

    Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าละครหรือนิยายแปลมีการแบ่งแยกในรายละเอียดหรือไม่ หากมีใครเคยผ่านหูผ่านตาก็บอกกล่าวกันได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802
    https://kknews.cc/zh-cn/entertainment/x48b2bg.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://new.qq.com/rain/a/20200223A0A37000
    http://m.qulishi.com//article/201905/335331.html
    https://www.sohu.com/a/251827031_100152441

    #ร้อยรักปักดวงใจ #อนุภรรยา #ภรรยาเอก #หยวนเพ่ย #ภรรยาผูกปมผม #เจิ้งฝาง #จี้ซื่อ #จี้สื้อ #เชี่ยซื่อ #เชี่ยสื้อ #เฉี้ย #อิ้งเฉี้ย #เช่อซึ #ฟู่ซึ #เพียนซึ #เพียนฝาง #กุ้ยเฉี้ย #เหลียงเฉี้ย #เจี้ยนเฉี้ย #ปี้เฉี้ย #ทงฝาง #ไว่ซึ
    สัปดาห์ที่แล้วเปรียบเทียบสิทธิของภรรยาเอกและอนุภรรยาโดยยกตัวอย่างจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> วันนี้มาคุยกันต่อว่าจีนโบราณแบ่งแยกเมียหลวงและเมียน้อยเป็นกี่ประเภท ก่อนอื่น พูดกันถึงภรรยาเอก ตามที่ Storyฯ เล่าไปสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนสมัยราชวงศ์ชิงนั้น กฎหมายกำหนดให้มีภรรยาเอกได้คนเดียว และจำนวนอนุภรรยานั้นเป็นไปตามบรรดาศักดิ์ของผู้ชาย ภรรยาเอกนี้มีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น เจิ้งชี (ภรรยาหลัก) เจี๋ยฟ่าชี (ภรรยาผูกปมผม) หยวนเพ่ยชี (ภรรยาดั้งเดิม) เจิ้งฝาง (ห้องหลัก) ฯลฯ หากภรรยาเอกเสียชีวิตไปแล้วจึงจะสามารถแต่งภรรยาเอกเข้ามาใหม่ได้อีกคน ภรรยาทดแทนคนนี้เรียกว่า ‘จี้ซื่อ’ (继室 แปลตรงตัวว่า สืบทอด+ห้อง) ตามธรรมเนียมแล้ว คนที่กราบไหว้ฟ้าดินด้วยกันมีเพียงภรรยาเอกเท่านั้น ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงมีธรรมเนียมที่ว่า หากบ้านใดไม่มีบุตรชายสืบสกุล สามารถให้หลาน (ลูกของลุงหรือน้า สกุลเดียวกัน) มาเป็นทายาทสืบสกุลตามกฎหมายได้ ดังนั้นเขามีหน้าที่สืบสกุลให้กับสองบ้านและสามารถแต่งภรรยาเอกได้สองคน เรียกว่า ‘เจี๊ยนเที้ยว’ (兼祧) และภรรยาเอกทั้งสองคนจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน นอกจากกรณีข้างต้นแล้ว เมียอื่นๆ จัดเป็นเมียน้อยหมด และจัดกลุ่มได้ตามนี้ 1. กลุ่มที่หนึ่งเป็นญาติพี่น้องของภรรยาเอกที่ถูกเลือกให้ติดตามไปกับเจ้าสาวตอนแต่งเข้าไปเรือนฝ่ายชาย (หมายเหตุ คนที่ตามเจ้าสาวมาอยู่บ้านฝ่ายชายทั้งหมดเรียกว่า เผยเจี้ย /陪嫁 ซึ่งรวมถึงบ่าวไพร่) แต่เป็นกรณีที่เจ้าสาวมาจากตระกูลสูงศักดิ์ ดังนั้นอนุภรรยากลุ่มนี้จะมีสถานะสูงกว่าอนุภรรยาอื่นๆ สามารถเข้าร่วมรับประทานอาหารหรืองานเลี้ยงกับสามีได้ และอาจถูกบันทึกชื่อเข้าไปในหนังสือตระกูลของฝ่ายชายได้เพราะนางมาจากตระกูลที่สูงศักดิ์มากเช่นกัน และโดยปกติฝ่ายชายมักยกระดับขึ้นเป็นภรรยาเอกได้เมื่อภรรยาเอกคนเดิมเสียชีวิตไป ในกลุ่มนี้จำแนกได้เป็นอีกสี่แบบ (เรียงจากสูงศักดิ์ที่สุดไปต่ำ) คือ a. อิ้ง (媵) หรือ อิ้งเฉี้ย – เป็นพี่สาวหรือน้องสาวที่เกิดจากพ่อคนเดียวกันกับเจ้าสาว แต่เจ้าสาวมีแม่เป็นภรรยาเอกในขณะที่พี่หรือน้องสาวที่แต่งตามไปจะเกิดจากอนุภรรยาของพ่อ b. เช่อซึ (侧室 แปลตรงตัวว่าห้องข้าง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เช่อซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของพ่อ (ถือนามสกุลเดียวกันกับเจ้าสาว) c. ฟู่ซึ (副室 แปลตรงตัวว่าห้องรอง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า ฟู่ซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของแม่ (ถือนามสกุลเดิมของแม่เจ้าสาว) d. เพียนซึ (偏室 แปลตรงตัวว่าห้องเบี่ยง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เพียนซึ เป็นลูกจากอนุภรรยาในตระกูลเดิมของแม่ ใช้นามสกุลเดียวกับแม่ มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเจ้าสาวแต่จริงๆ แล้วไม่มีความเกี่ยวพันทางสายเลือดกับเจ้าสาวเลย 2. กลุ่มที่สองคือ เฉี้ย (妾) หรือ เพียนฝาง (偏房) คืออนุภรรยาทั่วไปที่ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับภรรยาเอก แบ่งเป็นระดับได้อีก คือ a. กุ้ยเฉี้ย (贵妾) เป็นอนุที่มาจากตระกูลใหญ่หรือตระกูลขุนนางแต่อาจเป็นลูกที่เกิดจากอนุภรรยาในตระกูลนั้นๆ หากฝ่ายชายเป็นบุตรจากภรรยาเอกในตระกูลสูงศักดิ์ โดยปกตินางผู้เป็นลูกอนุจะไม่มีคุณสมบัติพอที่จะนั่งตำแหน่งภรรยาเอกของเขาได้ b. เหลียงเฉี้ย (良妾) เป็นอนุที่มาจากครอบครัวชาวบ้านทั่วไป เช่น ครอบครัวค้าขายหรือชาวไร่ชาวสวน ระดับความรู้การศึกษาก็จะแตกต่างกันไป c. เจี้ยนเฉี้ย (贱妾) เป็นอนุที่มีชาติตระกูลหรือสถานะที่ต่ำต้อยมาก เช่น นางรำ นางคณิกา นักแสดงละคร ฯลฯ พวกนี้ส่วนใหญ่อ่านเขียนได้และมีวิชาศิลปะติดตัว d. เผยฝาง (陪房) หมายถึงสาวใช้ของภรรยาเอกที่ติดตามมาเป็นเผยเจี้ยและช่วยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงให้ฝ่ายชายตามคำสั่งของภรรยาเอก โดยปกติชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดีเพราะภรรยาเอกจะส่งเสริมเพื่อให้ช่วยมัดใจสามีโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีพิษมีภัยเพราะเอกสารสำหรับสัญญาซื้อขายสาวใช้คนนี้จะอยู่ในมือของภรรยาเอกเอง e. ซื่อเฉี้ย (侍妾) หมายถึงสาวใช้ในบ้านฝ่ายชายที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแล้วถูกยกขึ้นเป็นอนุ f. ปี้เฉี้ย (婢妾) หมายถึงลูกของนักโทษทางการที่ถูกซื้อเข้ามาเป็นทาสในบ้านและยกขึ้นเป็นอนุ 3. กลุ่มสุดท้ายไม่นับเป็นอนุภรรยา เป็นช่องทางที่ฝ่ายชายใช้ระบายความใคร่ได้อย่างไม่ต้องกลัวผิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องจำนวนอนุภรรยา แบ่งได้อีกเป็น a. ทงฝาง (通房) คือสาวใช้ในเรือนที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแต่ไม่ได้รับการยกขึ้นเป็นอนุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสาวใช้ที่ถูกคัดเลือกมาเพื่อ ‘เปิดประสบการณ์’ ให้แก่คุณชายในตระกูลใหญ่ที่กำลังโตขึ้นเป็นหนุ่ม b. ไว่ซึ (外室) หมายถึงเมียเก็บนอกบ้าน ชีวิตความเป็นอยู่อาจจะดีเพราะฝ่ายชายอาจซื้อบ้านให้อยู่มีคนคอยรับใช้ ไม่ต้องมาคอยปรนนิบัติแม่สามีหรือเมียหลวง และไม่โดนโขกสับ แต่ก็คือไม่ได้ถูกรับรองเป็นอนุภรรยา บุตรที่เกิดมาก็ไม่ถูกยอมรับว่าเป็นลูกหลานของตระกูลฝ่ายชาย เป็นอย่างไรคะ? ซับซ้อนและแบ่งแยกไว้ละเอียดกว่าที่คิดใช่ไหม? ทีนี้เพื่อนเพจคงเข้าใจในบริบทแล้วว่า ทำไมเป็นอนุภรรยาเหมือนกันยังสามารถข่มกันได้ และทำไมการยกอนุภรรยาขึ้นเป็นภรรยาเอกหลังจากคนเดิมเสียไปจึงเป็นเรื่องที่ยาก เพราะไม่ใช่อนุภรรยาทุกประเภทมีความพร้อมทางชาติตระกูลและการศึกษาที่จะมาปกครองเป็นนายหญิงของบ้านได้ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าละครหรือนิยายแปลมีการแบ่งแยกในรายละเอียดหรือไม่ หากมีใครเคยผ่านหูผ่านตาก็บอกกล่าวกันได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802 https://kknews.cc/zh-cn/entertainment/x48b2bg.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://new.qq.com/rain/a/20200223A0A37000 http://m.qulishi.com//article/201905/335331.html https://www.sohu.com/a/251827031_100152441 #ร้อยรักปักดวงใจ #อนุภรรยา #ภรรยาเอก #หยวนเพ่ย #ภรรยาผูกปมผม #เจิ้งฝาง #จี้ซื่อ #จี้สื้อ #เชี่ยซื่อ #เชี่ยสื้อ #เฉี้ย #อิ้งเฉี้ย #เช่อซึ #ฟู่ซึ #เพียนซึ #เพียนฝาง #กุ้ยเฉี้ย #เหลียงเฉี้ย #เจี้ยนเฉี้ย #ปี้เฉี้ย #ทงฝาง #ไว่ซึ
    WWW.POPDAILY.COM.TW
    《錦心似玉》鍾漢良、譚松韵先婚後愛!2021最甜寵的宅鬥古裝劇 | PopDaily 波波黛莉
    受封2021最甜寵宅鬥古裝劇的《錦心似玉》,改編自作者吱吱的原著小說《庶女攻略》,鍾漢良飾演的永平侯徐令宜娶了於徐家有恩的羅家嫡女羅元娘為妻,後因羅元娘死前所託續弦娶了譚松韵飾演的羅家庶女羅十一娘,自此展開一段本不相愛,因被迫成婚而先婚後愛的宅鬥古裝偶像劇。
    Like
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 265 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผู้ว่าการ สตง. หายไปเดือนนึงเพื่อไปแต่งนิยายตามเอกสารที่มี ปัดความรับผิดชอบทุกเรื่อง โยนทุกปัญหาให้ผู้รับจ้าง โยนเรื่องแบบและการคุมงานให้วิศวกร แถมชี้แจงปัดสวะเรื่องคุณภาพคอนกรีต โยนให้ผู้ก่อสร้าง ต่อไปมันก็คงปัดสวะเรื่องเหล็ก เรื่องสัญญา เรื่องเฟอร์นิเจอร์หรู พัสดุครุภัณฑ์แพง
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #ผู้ว่าสตง
    ผู้ว่าการ สตง. หายไปเดือนนึงเพื่อไปแต่งนิยายตามเอกสารที่มี ปัดความรับผิดชอบทุกเรื่อง โยนทุกปัญหาให้ผู้รับจ้าง โยนเรื่องแบบและการคุมงานให้วิศวกร แถมชี้แจงปัดสวะเรื่องคุณภาพคอนกรีต โยนให้ผู้ก่อสร้าง ต่อไปมันก็คงปัดสวะเรื่องเหล็ก เรื่องสัญญา เรื่องเฟอร์นิเจอร์หรู พัสดุครุภัณฑ์แพง #คิงส์โพธิ์แดง #ผู้ว่าสตง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 82 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้กลับมาคุยกันต่อกับเรื่องราวที่ Storyฯ เห็นจากละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ในตอนที่มีการรับลูกนอกสมรสกลับเข้าตระกูล

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ถึงกาลมงคล พิธีรับเข้าตระกูลของตระกูลสวี อัญเชิญหนังสือตระกูล” เสียงประกาศเริ่มพิธีดังขึ้น สวีลิ่งเซวียนคุกเข่าลงต่อหน้าป้ายบูชาบรรพบุรุษแล้วกล่าว “สวีซื่อเจี้ย เดิมเป็นบุตรที่ร่อนเร่อาศัยอยู่ข้างนอกของตระกูลเรา ตอนนี้รับกลับเข้าตระกูลเป็นบุตรของสวีลิ่งอัน ขอบรรพบุรุษปกป้องลูกหลานสกุลสวี”...
    - ถอดบทสนทนาจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> (ตามซับไทยเลยจ้า)

    ในละครข้างต้น ก่อนจะมาถึงพิธีการนี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงความคิดของตัวละครต่างๆ ที่ถกกันว่าจะรับเด็กมาเป็นลูกใครดี? ความเดิมของบทสนทนาในภาษาจีนคือ “จะบันทึกชื่อเด็กคนนี้ใต้ชื่อใคร?” ซึ่งการคุยในลักษณะนี้เป็นการสะท้อนถึงความสำคัญของหนังสือตระกูล วันนี้เลยมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับหนังสือตระกูลหรือที่เรียกว่า ‘เจียผู่’ (家谱) หรือ ‘จู๋ผู่’ (族谱) นี้

    การบันทึกข้อมูลในเจียผู่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เว่ย และเนื่องจากสมัยนั้นมีการแตกสกุลมาจากเชื้อพระวงศ์เป็นจำนวนมาก ทางการจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลและปรับปรุงเจียผู่ของตระกูลเหล่านั้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือบันทึกสายสกุลเพื่อประโยชน์ในการคัดสรรและแต่งตั้งขุนนาง ต่อมาเมื่อผ่านพ้นราชวงศ์ถัง ข้อมูลเหล่านี้สูญหายไปในสงครามเสียเป็นส่วนใหญ่ และการเข้ารับราชการก็ดำเนินการผ่านการสอบราชบัณฑิต อีกทั้งอำนาจของเหล่าสื้อเจียตระกูลขุนนางก็เสื่อมลง ทางการจึงไม่ได้เข้ามายุ่งเรื่องการทำเจียผู่อีก ดังนั้นนับแต่สมัยซ่งมา เจียผู่ส่วนใหญ่ถูกจัดทำขึ้นมาใหม่และอยู่ในการดูแลของคนในตระกูลเอง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนเกี่ยวกับสื้อเจียไปแล้ว หาอ่านย้อนหลังนะคะ)

    เพื่อนเพจอาจนึกภาพว่าเจียผู่เป็นพงศาวลีหรือผังลำดับญาติ แต่คนที่เคยลองวาดผังแบบนี้จะรู้ว่า หากจะวาดให้ดีต้องรู้ว่าควรเผื่อเนื้อที่ตรงไหนอย่างไร แต่เจียผู่เป็นบันทึกจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นการบันทึกจริงๆ คือเขียนข้อมูลเติมไปแต่ละรุ่น (ดูตัวอย่างตามรูปประกอบ หน้านี้บันทึกการสืบเชื้อสายของบุตรชายคนโต) หากมีการวาดผังลำดับญาติโดยปกติจะวาดเพียง 5 รุ่นแล้วก็ขึ้นผังใหม่

    แล้วเจียผู่บันทึกอะไรบ้าง?

    ก่อนอื่นคือต้องมีการเขียน ‘ขอบเขต’ - ใครเป็นต้นตระกูล? เราเป็นสายใดของตระกูล? ตราสัญลักษณ์ของตระกูล (ถ้ามี) ภูมิลำเนาเดิม ประวัติของสกุล ที่ตั้งและแผนผังของวัดบรรพบุรุษ เป็นต้น

    จากนั้นก็เป็นบันทึกเกี่ยวกับคนในแต่ละรุ่น ซึ่งจะระบุว่าเป็นรุ่นที่เท่าไหร่ ลำดับในรุ่น ชื่อ วันเดือนปีเกิดและตาย สรุปชีวประวัติ ลักษณะเด่นหรือวีรกรรมโดยคร่าว (เช่น เคยไปรบชนะสร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูลในศึกไหน?) บรรดาศักดิ์หรือรางวัลเกียรติยศที่เคยได้รับ ชื่อคู่สมรสและบุตรชาย ฯลฯ ในบางเจียผู่จะมีการกล่าวถึงสินทรัพย์อันเป็นมรดกตกทอดของตระกูล เช่น ที่ตั้งและขนาดของที่ดินและอาคารบ้านเรือน และการบริหารสินทรัพย์ ฯลฯ

    แต่... ไม่ใช่บุตรและภรรยาทุกคนจะได้รับการบันทึกชื่อลงในเจียผู่ ใครบ้างที่ไม่มีชื่อ?
    1. ลูกสาว – ในวัฒนธรรมจีนโบราณ ลูกสาวเมื่อแต่งงานออกไปก็ถือว่าเป็นคนของครอบครัวอื่น จึงไม่มีการบันทึกชื่อลูกสาวในเจียผู่ของตัวเอง ลูกสาวที่แต่งออกไปก็จะไปมีชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามี (แต่จากตัวอย่างที่ Storyฯ เห็น จะบันทึกเพียงสกุลเดิมไม่มีชื่อ เช่น นางสกุลหลี่) ธรรมเนียมนี้มีมาจนถึงสมัยจีนยุคใหม่ (หลังราชวงศ์ชิง) จึงมีการใส่ชื่อลูกสาวเข้าไป
    2. อนุภรรยา – สตรีที่แต่งงานไปจะถูกบันทึกชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามีเฉพาะคนที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น คนที่เป็นอนุจะไม่มีการบันทึกถึง ยกเว้นในกรณีที่ต่อมาบุตรชายของนางมีคุณงามความชอบอย่างโดดเด่น สร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูล จึงจะมีการแก้ไขเอาชื่อของเขาเข้าเจียผู่และจะมีการบันทึกชื่อผู้เป็นมารดาด้วย (ป.ล. หากเพื่อนเพจได้ดูละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> ในฉากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าสตรีที่เข้าร่วมพิธีที่เกี่ยวกับหนังสือตระกูลนั้น มีเพียงสะใภ้ที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น)
    3. ลูกอนุ - สายของอนุทั้งสายจะไม่ได้ลงบันทึกไว้ เว้นแต่กรณีที่กล่าวมาข้างต้นว่ามีการแก้ไขบันทึกย้อนหลัง

    เห็นแล้วก็พอจะเข้าใจถึงหัวอกของบรรดาอนุและลูกอนุ เราจึงเห็นเรื่องราวในนิยายและละครจีนโบราณไม่น้อยที่มีปูมหลังมาจากความน้อยเนื้อต่ำใจหรือความทะเยอทะยานของเหล่าอนุและลูกอนุทั้งหลาย Storyฯ เชื่อว่าเพื่อนเพจเข้าใจในบริบทนี้แล้วจะดูละคร/อ่านนิยายจีนโบราณได้มีอรรถรสยิ่งขึ้นค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/452104168_114988
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.52lishi.com/article/65523.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/30411974
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/54546409
    https://www.163.com/dy/article/H14J0MG10552QJB7.html

    #ร้อยรักปักดวงใจ #เจียผู่ #จู๋ผู่ #หนังสือตระกูล #บันทึกตระกูลจีนโบราณ #พงศาวลีจีนโบราณ
    วันนี้กลับมาคุยกันต่อกับเรื่องราวที่ Storyฯ เห็นจากละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ในตอนที่มีการรับลูกนอกสมรสกลับเข้าตระกูล ความมีอยู่ว่า ... “ถึงกาลมงคล พิธีรับเข้าตระกูลของตระกูลสวี อัญเชิญหนังสือตระกูล” เสียงประกาศเริ่มพิธีดังขึ้น สวีลิ่งเซวียนคุกเข่าลงต่อหน้าป้ายบูชาบรรพบุรุษแล้วกล่าว “สวีซื่อเจี้ย เดิมเป็นบุตรที่ร่อนเร่อาศัยอยู่ข้างนอกของตระกูลเรา ตอนนี้รับกลับเข้าตระกูลเป็นบุตรของสวีลิ่งอัน ขอบรรพบุรุษปกป้องลูกหลานสกุลสวี”... - ถอดบทสนทนาจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> (ตามซับไทยเลยจ้า) ในละครข้างต้น ก่อนจะมาถึงพิธีการนี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงความคิดของตัวละครต่างๆ ที่ถกกันว่าจะรับเด็กมาเป็นลูกใครดี? ความเดิมของบทสนทนาในภาษาจีนคือ “จะบันทึกชื่อเด็กคนนี้ใต้ชื่อใคร?” ซึ่งการคุยในลักษณะนี้เป็นการสะท้อนถึงความสำคัญของหนังสือตระกูล วันนี้เลยมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับหนังสือตระกูลหรือที่เรียกว่า ‘เจียผู่’ (家谱) หรือ ‘จู๋ผู่’ (族谱) นี้ การบันทึกข้อมูลในเจียผู่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เว่ย และเนื่องจากสมัยนั้นมีการแตกสกุลมาจากเชื้อพระวงศ์เป็นจำนวนมาก ทางการจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลและปรับปรุงเจียผู่ของตระกูลเหล่านั้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือบันทึกสายสกุลเพื่อประโยชน์ในการคัดสรรและแต่งตั้งขุนนาง ต่อมาเมื่อผ่านพ้นราชวงศ์ถัง ข้อมูลเหล่านี้สูญหายไปในสงครามเสียเป็นส่วนใหญ่ และการเข้ารับราชการก็ดำเนินการผ่านการสอบราชบัณฑิต อีกทั้งอำนาจของเหล่าสื้อเจียตระกูลขุนนางก็เสื่อมลง ทางการจึงไม่ได้เข้ามายุ่งเรื่องการทำเจียผู่อีก ดังนั้นนับแต่สมัยซ่งมา เจียผู่ส่วนใหญ่ถูกจัดทำขึ้นมาใหม่และอยู่ในการดูแลของคนในตระกูลเอง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนเกี่ยวกับสื้อเจียไปแล้ว หาอ่านย้อนหลังนะคะ) เพื่อนเพจอาจนึกภาพว่าเจียผู่เป็นพงศาวลีหรือผังลำดับญาติ แต่คนที่เคยลองวาดผังแบบนี้จะรู้ว่า หากจะวาดให้ดีต้องรู้ว่าควรเผื่อเนื้อที่ตรงไหนอย่างไร แต่เจียผู่เป็นบันทึกจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นการบันทึกจริงๆ คือเขียนข้อมูลเติมไปแต่ละรุ่น (ดูตัวอย่างตามรูปประกอบ หน้านี้บันทึกการสืบเชื้อสายของบุตรชายคนโต) หากมีการวาดผังลำดับญาติโดยปกติจะวาดเพียง 5 รุ่นแล้วก็ขึ้นผังใหม่ แล้วเจียผู่บันทึกอะไรบ้าง? ก่อนอื่นคือต้องมีการเขียน ‘ขอบเขต’ - ใครเป็นต้นตระกูล? เราเป็นสายใดของตระกูล? ตราสัญลักษณ์ของตระกูล (ถ้ามี) ภูมิลำเนาเดิม ประวัติของสกุล ที่ตั้งและแผนผังของวัดบรรพบุรุษ เป็นต้น จากนั้นก็เป็นบันทึกเกี่ยวกับคนในแต่ละรุ่น ซึ่งจะระบุว่าเป็นรุ่นที่เท่าไหร่ ลำดับในรุ่น ชื่อ วันเดือนปีเกิดและตาย สรุปชีวประวัติ ลักษณะเด่นหรือวีรกรรมโดยคร่าว (เช่น เคยไปรบชนะสร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูลในศึกไหน?) บรรดาศักดิ์หรือรางวัลเกียรติยศที่เคยได้รับ ชื่อคู่สมรสและบุตรชาย ฯลฯ ในบางเจียผู่จะมีการกล่าวถึงสินทรัพย์อันเป็นมรดกตกทอดของตระกูล เช่น ที่ตั้งและขนาดของที่ดินและอาคารบ้านเรือน และการบริหารสินทรัพย์ ฯลฯ แต่... ไม่ใช่บุตรและภรรยาทุกคนจะได้รับการบันทึกชื่อลงในเจียผู่ ใครบ้างที่ไม่มีชื่อ? 1. ลูกสาว – ในวัฒนธรรมจีนโบราณ ลูกสาวเมื่อแต่งงานออกไปก็ถือว่าเป็นคนของครอบครัวอื่น จึงไม่มีการบันทึกชื่อลูกสาวในเจียผู่ของตัวเอง ลูกสาวที่แต่งออกไปก็จะไปมีชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามี (แต่จากตัวอย่างที่ Storyฯ เห็น จะบันทึกเพียงสกุลเดิมไม่มีชื่อ เช่น นางสกุลหลี่) ธรรมเนียมนี้มีมาจนถึงสมัยจีนยุคใหม่ (หลังราชวงศ์ชิง) จึงมีการใส่ชื่อลูกสาวเข้าไป 2. อนุภรรยา – สตรีที่แต่งงานไปจะถูกบันทึกชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามีเฉพาะคนที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น คนที่เป็นอนุจะไม่มีการบันทึกถึง ยกเว้นในกรณีที่ต่อมาบุตรชายของนางมีคุณงามความชอบอย่างโดดเด่น สร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูล จึงจะมีการแก้ไขเอาชื่อของเขาเข้าเจียผู่และจะมีการบันทึกชื่อผู้เป็นมารดาด้วย (ป.ล. หากเพื่อนเพจได้ดูละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> ในฉากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าสตรีที่เข้าร่วมพิธีที่เกี่ยวกับหนังสือตระกูลนั้น มีเพียงสะใภ้ที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น) 3. ลูกอนุ - สายของอนุทั้งสายจะไม่ได้ลงบันทึกไว้ เว้นแต่กรณีที่กล่าวมาข้างต้นว่ามีการแก้ไขบันทึกย้อนหลัง เห็นแล้วก็พอจะเข้าใจถึงหัวอกของบรรดาอนุและลูกอนุ เราจึงเห็นเรื่องราวในนิยายและละครจีนโบราณไม่น้อยที่มีปูมหลังมาจากความน้อยเนื้อต่ำใจหรือความทะเยอทะยานของเหล่าอนุและลูกอนุทั้งหลาย Storyฯ เชื่อว่าเพื่อนเพจเข้าใจในบริบทนี้แล้วจะดูละคร/อ่านนิยายจีนโบราณได้มีอรรถรสยิ่งขึ้นค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/452104168_114988 https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.52lishi.com/article/65523.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/30411974 https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773 https://zhuanlan.zhihu.com/p/54546409 https://www.163.com/dy/article/H14J0MG10552QJB7.html #ร้อยรักปักดวงใจ #เจียผู่ #จู๋ผู่ #หนังสือตระกูล #บันทึกตระกูลจีนโบราณ #พงศาวลีจีนโบราณ
    WWW.SOHU.COM
    钟汉良谭松韵领衔主演《锦心似玉》定档2月26日_荻雁
    新京报讯 2月23日,钟汉良、谭松韵领衔主演的电视剧《锦心似玉》宣布定档。该剧将于2月26日起在腾讯视频全网独播,周五至周三连续六天,每日20点更新2集;3月1日起每周一、二、三20点更新2集,会员抢先看。 …
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 215 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตำนานประวัติศาสตร์ EP.1: Little Round Top กลยุทธ์พลิกเกมของพันเอกอาจารย์มหาวิทยาลัยสายวาทศาสตร์

    เรื่องราวเกิดขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ.1863 (พ.ศ.2406) ในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกา วันที่สองของสมรภูมิเก็ตตี้เบิร์ก ยุทธการนองเลือดที่จะตัดสินชะตากรรมของสหรัฐอเมริกา ณ บริเวณเนินลิตเติ้ลราวด์ท็อปกรมทหารราบรัฐเมนที่ 20 ภายใต้การนำของพันเอกโจชัวร์ ลอว์เรน แชมเบอร์เลน (Joshua Lawrence Chamberlain) ได้เข้ามาตั้งรับในบริเวณปีกซ้ายสุดของกองทัพโพโต (Army of Potomac) แมคภายใต้การนำของนายพลจอร์จ กอร์ดอน มีด (George Gordon Meades) หากเสียที่มั่นตรงนี้ไป กองทัพโพโตแมคที่เหลือจะถูกกวาดล้างโดยกองทัพเวอร์จิเนียเหนือ (Army of Northern Virginia) แห่งสมาพันธรัฐภายใต้การนำของนายพลโรเบิร์ต อี. ลี (Roberts E. Lee) ผู้เป็นตำนาน

    ในการสู้รบของวันนั้นกรมทหารราบรัฐเมนที่ 20 ภายใต้การนำของเขาได้เผชิญหน้ากับกรมทหารราบรัฐอะแลบามาที่ 15 ภายใต้การนำของพันเอกวิลเลี่ยม ซี. โอทส์ (William C. Oates) พวกเขาต่อสู้กับทหารข้าศึกจนกระสุนเริ่มร่อยหรอลง จนหมดลงในที่สุด ในทีแรกนายทหารคนสนิทของเขา…ร้อยเอกเอลลิส สเปียร์ (Ellis Spear) จะขอให้เขาถอนกำลัง แต่พวกเขาคือที่มั่นสุดท้ายแล้ว เพราะหากพวกเขาถอยทัพและกองทัพฝ่ายเหนือทั้งหมดถูกกวาดล้าง กองทัพฝ่ายใต้จะเคลื่อนพลสู่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

    พันเอกแชมเบอร์เลนจึงตัดสินใจสั่งให้ทหารที่เหลือทั้งหมดติดดาบปลายปืนเพื่อเตรียมเข้าชาร์จศัตรู โดยเขาได้นำหลักตรรกะศาสตร์ที่เขาถนัดมาใช้ด้วยเขาเรียกว่า “กลยุทธ์บานพับประตู” โดยให้กองร้อยปีกซ้ายภายใต้การนำของร้อยเอกสเปียร์โจมตีจากทางด้านข้าง (Flanking Maneuver) ขณะที่เขาและน้องชายของเขา…ร้อยโทโธมัส เดวี่ แชมเบอร์เลน (Thomas Davee Chamberlain) ได้นำกองร้อยปีกขวาโจมตีข้าศึกจากด้านหน้า (Frontal Assault)

    สาเหตุที่พันเอกแชมเบอร์เลนใช้วิธีนี้เพราะว่ากองทหารข้าศึกที่เข้าโจมตีพวกเขานั้นรบติดพันกับพวกเขามาทั้งวันและน่าจะเหนื่อยจากการเดินทัพขึ้นเนินเข้ามาตีพวกเขา (ตามบันทึกประวัติศาสตร์จากยุทธการเก็ตตี้เบิร์ก กรมทหารราบรัฐอะแลบามาที่ 15 เดินทางมาถึงสนามรบในวันที่สองของการรบและถูกส่งเข้าตีปีกซ้ายของกองทัพสหภาพในทันทีตามคำสั่งของนายพลลี โดยที่พวกเขาส่วนใหญ่ยังไม่ได้แม้แต่เติมน้ำดื่มก่อนออกรบเลย) ผลของการรบ…กรมทหารราบรัฐเมนที่ 20 สามารถขับไล่กองทหารฝ่ายใต้ออกไปได้และสามารถจับเชลยศึกที่ตกตะลึงกับการบุกและหมดแรงเกินกว่าจะหนีได้เป็นจำนวนมาก ในช่วงของการบุกพันเอกแชมเบอร์เลนเกือบถูกยิงด้วยปืนลูกโม่จากนายทหารฝ่ายใต้นายนึง สุดท้ายเขาจับนายทหารคนนั้นและยึดปืนของเขามาได้

    จากวีรกรรมของเขาในครั้งนี้ทำให้เขาได้รับเหรียญกล้าหาญ Medal of Honor ซึ่งเป็นเครื่องอิสริยาภรณ์สำหรับทหารที่มีชื่อเสียงเกียรติยศและระดับสูงสุดในสหรัฐอเมริกาซึ่งอาจเป็นการปูนบำเหน็จเพื่อยกย่องแก่ทหารในกองทัพสหรัฐที่มีชื่อเสียงโดดเด่น

    ภายหลังสงครามจบลง แชมเบอร์เลนออกจากกองทัพ และด้วยชื่อเสียงของเขา เขาได้ลงสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐเมน เขาชนะการเลือกตั้งถึงสี่สมัย ตั้งแต่ปี ค.ศ.1866-1869 (พ.ศ.2409-2412) โดยเขาสังกัดพรรครีพับลิกัน และในปี ค.ศ.1871 (พ.ศ.2414) เขาได้กลายมาเป็นอธิการบดีแห่งวิทยาลัยโบว์ดินที่เขาเคยสอนอยู่

    พันเอกโจชัวร์ ลอว์เรน แชมเบอร์เลนเสียชีวิตลงในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) ในวัย 85ปี ที่เมืองพอร์ทแลนด์, รัฐเมน, สหรัฐฯ เป็นอันปิดตำนานของพันเอกอาจารย์มหาวิทยาลัยสายวาทศาสตร์

    เรื่องราวของเขาและน้องชายของเขาได้ถูกนำไปตีแผ่ลงในนิยายเรื่อง The Killer Angels (1974) โดยนักเขียนนวนิยายอิงประวัติศาสตร์นาม…ไมเคิล ชารา ซึ่งต่อมาได้ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์เรื่อง Gettysburg (1993) และอีกครั้งในนวนิยายเรื่อง God and Generals (1996) ที่ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ในปี 2003 ในชื่อเดียวกัน ทั้งสองเรื่องนักแสดงผู้รับบทพันเอกแชมเบอร์เลนคือ เจฟ แดเนียล

    (เพิ่มเติม: ฉากการต่อสู้ที่เนินลิตเติ้ลราวด์ท็อปในภาพยนตร์ Gettysburg 1993 แอดบอกได้เลยว่าสนุกมาก)
    ตำนานประวัติศาสตร์ EP.1: Little Round Top กลยุทธ์พลิกเกมของพันเอกอาจารย์มหาวิทยาลัยสายวาทศาสตร์ เรื่องราวเกิดขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ.1863 (พ.ศ.2406) ในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกา วันที่สองของสมรภูมิเก็ตตี้เบิร์ก ยุทธการนองเลือดที่จะตัดสินชะตากรรมของสหรัฐอเมริกา ณ บริเวณเนินลิตเติ้ลราวด์ท็อปกรมทหารราบรัฐเมนที่ 20 ภายใต้การนำของพันเอกโจชัวร์ ลอว์เรน แชมเบอร์เลน (Joshua Lawrence Chamberlain) ได้เข้ามาตั้งรับในบริเวณปีกซ้ายสุดของกองทัพโพโต (Army of Potomac) แมคภายใต้การนำของนายพลจอร์จ กอร์ดอน มีด (George Gordon Meades) หากเสียที่มั่นตรงนี้ไป กองทัพโพโตแมคที่เหลือจะถูกกวาดล้างโดยกองทัพเวอร์จิเนียเหนือ (Army of Northern Virginia) แห่งสมาพันธรัฐภายใต้การนำของนายพลโรเบิร์ต อี. ลี (Roberts E. Lee) ผู้เป็นตำนาน ในการสู้รบของวันนั้นกรมทหารราบรัฐเมนที่ 20 ภายใต้การนำของเขาได้เผชิญหน้ากับกรมทหารราบรัฐอะแลบามาที่ 15 ภายใต้การนำของพันเอกวิลเลี่ยม ซี. โอทส์ (William C. Oates) พวกเขาต่อสู้กับทหารข้าศึกจนกระสุนเริ่มร่อยหรอลง จนหมดลงในที่สุด ในทีแรกนายทหารคนสนิทของเขา…ร้อยเอกเอลลิส สเปียร์ (Ellis Spear) จะขอให้เขาถอนกำลัง แต่พวกเขาคือที่มั่นสุดท้ายแล้ว เพราะหากพวกเขาถอยทัพและกองทัพฝ่ายเหนือทั้งหมดถูกกวาดล้าง กองทัพฝ่ายใต้จะเคลื่อนพลสู่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. พันเอกแชมเบอร์เลนจึงตัดสินใจสั่งให้ทหารที่เหลือทั้งหมดติดดาบปลายปืนเพื่อเตรียมเข้าชาร์จศัตรู โดยเขาได้นำหลักตรรกะศาสตร์ที่เขาถนัดมาใช้ด้วยเขาเรียกว่า “กลยุทธ์บานพับประตู” โดยให้กองร้อยปีกซ้ายภายใต้การนำของร้อยเอกสเปียร์โจมตีจากทางด้านข้าง (Flanking Maneuver) ขณะที่เขาและน้องชายของเขา…ร้อยโทโธมัส เดวี่ แชมเบอร์เลน (Thomas Davee Chamberlain) ได้นำกองร้อยปีกขวาโจมตีข้าศึกจากด้านหน้า (Frontal Assault) สาเหตุที่พันเอกแชมเบอร์เลนใช้วิธีนี้เพราะว่ากองทหารข้าศึกที่เข้าโจมตีพวกเขานั้นรบติดพันกับพวกเขามาทั้งวันและน่าจะเหนื่อยจากการเดินทัพขึ้นเนินเข้ามาตีพวกเขา (ตามบันทึกประวัติศาสตร์จากยุทธการเก็ตตี้เบิร์ก กรมทหารราบรัฐอะแลบามาที่ 15 เดินทางมาถึงสนามรบในวันที่สองของการรบและถูกส่งเข้าตีปีกซ้ายของกองทัพสหภาพในทันทีตามคำสั่งของนายพลลี โดยที่พวกเขาส่วนใหญ่ยังไม่ได้แม้แต่เติมน้ำดื่มก่อนออกรบเลย) ผลของการรบ…กรมทหารราบรัฐเมนที่ 20 สามารถขับไล่กองทหารฝ่ายใต้ออกไปได้และสามารถจับเชลยศึกที่ตกตะลึงกับการบุกและหมดแรงเกินกว่าจะหนีได้เป็นจำนวนมาก ในช่วงของการบุกพันเอกแชมเบอร์เลนเกือบถูกยิงด้วยปืนลูกโม่จากนายทหารฝ่ายใต้นายนึง สุดท้ายเขาจับนายทหารคนนั้นและยึดปืนของเขามาได้ จากวีรกรรมของเขาในครั้งนี้ทำให้เขาได้รับเหรียญกล้าหาญ Medal of Honor ซึ่งเป็นเครื่องอิสริยาภรณ์สำหรับทหารที่มีชื่อเสียงเกียรติยศและระดับสูงสุดในสหรัฐอเมริกาซึ่งอาจเป็นการปูนบำเหน็จเพื่อยกย่องแก่ทหารในกองทัพสหรัฐที่มีชื่อเสียงโดดเด่น ภายหลังสงครามจบลง แชมเบอร์เลนออกจากกองทัพ และด้วยชื่อเสียงของเขา เขาได้ลงสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐเมน เขาชนะการเลือกตั้งถึงสี่สมัย ตั้งแต่ปี ค.ศ.1866-1869 (พ.ศ.2409-2412) โดยเขาสังกัดพรรครีพับลิกัน และในปี ค.ศ.1871 (พ.ศ.2414) เขาได้กลายมาเป็นอธิการบดีแห่งวิทยาลัยโบว์ดินที่เขาเคยสอนอยู่ พันเอกโจชัวร์ ลอว์เรน แชมเบอร์เลนเสียชีวิตลงในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) ในวัย 85ปี ที่เมืองพอร์ทแลนด์, รัฐเมน, สหรัฐฯ เป็นอันปิดตำนานของพันเอกอาจารย์มหาวิทยาลัยสายวาทศาสตร์ เรื่องราวของเขาและน้องชายของเขาได้ถูกนำไปตีแผ่ลงในนิยายเรื่อง The Killer Angels (1974) โดยนักเขียนนวนิยายอิงประวัติศาสตร์นาม…ไมเคิล ชารา ซึ่งต่อมาได้ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์เรื่อง Gettysburg (1993) และอีกครั้งในนวนิยายเรื่อง God and Generals (1996) ที่ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ในปี 2003 ในชื่อเดียวกัน ทั้งสองเรื่องนักแสดงผู้รับบทพันเอกแชมเบอร์เลนคือ เจฟ แดเนียล (เพิ่มเติม: ฉากการต่อสู้ที่เนินลิตเติ้ลราวด์ท็อปในภาพยนตร์ Gettysburg 1993 แอดบอกได้เลยว่าสนุกมาก)
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 197 มุมมอง 0 รีวิว
  • เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ดูละครจีนหลายคนต้องเคยเห็นเสื้อที่ทำจากผ้าต่อหรือที่เรียกว่า ‘patchwork’ หรือบางคนอาจเรียกเล่นๆ แถวบ้านว่า ‘เสื้อพรรคกระยาจก’! วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับประเพณีดั้งเดิมที่เกี่ยวกับเสื้อที่ทำจากผ้าต่อและความหมายของมัน

    ในละครเรื่อง <นิติเวชสาวยอดนักสืบ> มีอยู่ตอนหนึ่งที่เซียวซ่ง ซื่อหลางแห่งกรมอาญา สืบเรื่องถึงหมอตำแยคนหนึ่งชื่อ เว่ยซื่อเหนียง จากบทสนทนากับลูกค้าของนางคนหนึ่งได้ความว่านางจะแนะนำให้เด็กแรกเกิดใส่เสื้อ ‘ไป่เจียอี’ โดยมีการพูดถึงว่าต้องใส่เป็นเวลาสามวัน ผ่านสามวันต้องทำพิธี ‘สี่ซานหลี่’ แล้วจึงจะถอดเสื้อนั้นออกได้ และในพิธีดังกล่าวต้องมีการเลี้ยงสุราและใช้เครื่องประดับทองคำ ซึ่งองค์ประกอบนี้กลายมาเป็นเบาะแสให้สืบต่อไป

    เสื้อ ‘ไป่เจียอี’ (百家衣) นั้นแปลตรงตัวว่า ‘เสื้อร้อยครอบครัว’ มีชื่อเรียกอื่นที่หลากหลาย เช่น ไป่ซุ่ยอี/百岁衣 ไป๋เป่าอี/百保衣 เป็นเสื้อที่ทำขึ้นจากผ้าที่เอาผ้าหลายชิ้นมาเย็บต่อกันขึ้นเป็นลวดลายสวยงาม มักมีสีสันฉูดฉาดเพราะเป็นเสื้อเด็ก

    ทำไมต้องใส่เสื้อไป่เจียอี? ในสมัยโบราณนั้น อัตราการตายของทารกและเด็กเล็กสูงมาก ดังนั้นจึงมีการแก้เคล็ดด้วยการเอาเสื้อผ้าเก่าของเด็กที่แข็งแรงจากหลายครอบครัวมาเย็บติดกันแล้วทำขึ้นเป็นเสื้อให้เด็กใส่ เพื่อว่าเด็กจะได้มีสุขภาพดีแคล้วคลาดจากโรคภัย

    ขออธิบายเพิ่มว่า แม้จะใช้คำว่า ‘ไป่’ ที่แปลว่าหนึ่งร้อย แต่จริงๆ แล้วไม่ได้หมายความว่าต้องนับให้ได้ถึงหนึ่งร้อยจริงๆ ค่ะ คำนี้เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของจีนที่ต้องการสื่อถึงความหมายว่ามีจำนวนมากจนนับไม่ถ้วน มักปรากฏในวลีในนิยายหรือคำคมจีนเช่น ผ้าปักร้อยอักษร รักกันร้อยปี ได้ยินร้อยครั้ง ฯลฯ

    ส่วน ‘สี่ซานหลี่’ (洗三礼)นั้นก็คือการทำพิธีอาบน้ำให้กับทารกในวันที่สามหลังจากเกิดมา พิธีนี้มีมาแต่เมื่อใดไม่แน่ชัด แต่ได้มีการกล่าวถึงไว้ในบทประพันธ์ต่างๆ สมัยถังและซ่ง สรุปพิธีโดยคร่าวคือ
    1. ญาติสนิทจะมาร่วมกันรับประทานอาหารกลางวัน อาหารจานหลักจะเป็นบะหมี่ (สัญลักษณ์ของความอายุยืน)
    2. เสร็จแล้วหมอตำแยจะเป็นคนเริ่มประกอบพิธี โดยเริ่มจากกราบไหว้เทพยดา (แน่นอนว่าจะต้องมีหลักการว่าเป็นเทพยดาองค์ใดบ้าง แต่ Storyฯ ขอไม่กล่าวถึงเพราะจะยาวมาก)
    3. จากนั้นญาติสนิทก็จะเติมน้ำคนละช้อนลงในกาละมังที่มีน้ำสมุนไพรอยู่แล้ว แล้วก็เติมของขวัญซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญทองและของมงคลอย่างเช่นเมล็ดพืชผลไม้ที่มีชื่อมงคลอย่างเช่นพุทราจีนลงไปในกาละมังเดียวกันนั้น (แต่หากเป็นตั๋วเงินให้วางแยก) ใครใส่อะไร หมอตำแยก็จะเอ่ยเป็นคำอวยพรที่พ้องเสียงกับของสิ่งนั้น
    4. เสร็จแล้วหมอตำแยก็จะใช้น้ำนั้นอาบน้ำให้ทารก ระหว่างอาบก็จะเอ่ยคำอวยพรไปตลอด
    5. เสร็จแล้วนำเครื่องประดับเงินทอง (หากไม่มีให้ใช้เครื่องประดับสีขาวสีเหลือง) มาวางทาบกับทารกเป็นนัยว่าให้อนาคตรุ่งเรืองร่ำรวย
    แน่นอนว่า Storyฯ เล่าอย่างซูเปอร์ย่อ พิธีกรรมจริงๆ ละเอียดกว่านี้มาก

    กลับมาที่ไป่เจียอีต่อ

    ว่ากันว่าไป่เจียอีนี้ เดิมเป็นชุดที่นักบวชนิยมใส่ (เรียกว่าไป่น่าอี) มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ต่อมาจึงนำมาทำเป็นเสื้อเด็ก เสื้อผู้ใหญ่ก็ยังนิยมอยู่ในกลุ่มนักบวช แต่ในสมัยหมิงและชิงกลายมาเป็นแฟชั่นที่นิยมมากในกลุ่มสตรีสามัญชน มีการปักเย็บลวดลายประณีตและสีสันสวยงาม เรียกว่าชุด ‘สุ่ยเถียนอี’ (水田衣 แปลตรงตัวว่า ‘ชุดนาข้าว’ ดูรูปขวา) ความนิยมนี้ว่ากันว่าเป็นเพราะองค์จูหยวนจาง (ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง) และพระมเหสีต่างทรงมีนิสัยมัธยัสถ์ ทรงเคยบริจาคผ้าห่มและเสื้อผ้าที่ตัดเย็บจากเส้นด้ายและผ้าที่เหลือใช้ แม้แต่องค์หญิงและสนมในวังยังเคยทรงพระราชทานให้ใส่ จึงทำให้สุ่ยเถียนอีเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ต่อมากลายเป็นการประชันความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบลายเสื้อของสตรี

    ธรรมเนียมการให้เด็กใส่เสื้อผ้าต่อไป่เจียอีนี้มีการกล่าวถึงตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง และปฏิบัติกันมาทุกระดับชนชั้น แม้แต่ในบันทึกเกี่ยวกับประวัติของฮ่องเต้สมัยราชวงศ์ชิงในยุคสมัยของคังซีและเฉียนหลงยังมีกล่าวถึงการให้องค์ชายและราชนิกูลสวมเสื้อไป่เจียอีในตอนเด็ก และธรรมเนียมนี้ยังมีอยู่ในปัจจุบัน เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นในหลายพื้นที่ของจีน

    เป็นอย่างไรบ้าง? ‘เสื้อพรรคกระยาจก’ เขาก็มีความเป็นมานะเออ! ของไทยมีอะไรคล้ายคลึงอย่างนี้บ้างไหมคะ? Storyฯ ไม่สันทัด หากเพื่อนเพจท่านใดผ่านตาก็เล่าสู่กันฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.myvideo.net.tw/details/3/12499
    https://nicecasio.pixnet.net/blog/post/467691023

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://kknews.cc/news/gpevjl.html
    https://www.lishiziliao.com/jiemi/21683.html
    https://www.hanspub.org/journal/PaperInformation.aspx?paperID=25060
    https://new.qq.com/omn/20200819/20200819A0D3IY00.html?pc
    https:// baike.baidu.com/item/洗三/912561

    #นิติเวชสาวยอดนักสืบ #นิติเวชสาวราชวงศ์ถัง #ผ้าต่อจีน #ผ้าปะจีน #ไป่ซุ่ยอี #ไป่น่าอี #สุ่ยเถียนอี #พิธีอาบน้ำทารก #สี่ซานหลี่
    เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ดูละครจีนหลายคนต้องเคยเห็นเสื้อที่ทำจากผ้าต่อหรือที่เรียกว่า ‘patchwork’ หรือบางคนอาจเรียกเล่นๆ แถวบ้านว่า ‘เสื้อพรรคกระยาจก’! วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับประเพณีดั้งเดิมที่เกี่ยวกับเสื้อที่ทำจากผ้าต่อและความหมายของมัน ในละครเรื่อง <นิติเวชสาวยอดนักสืบ> มีอยู่ตอนหนึ่งที่เซียวซ่ง ซื่อหลางแห่งกรมอาญา สืบเรื่องถึงหมอตำแยคนหนึ่งชื่อ เว่ยซื่อเหนียง จากบทสนทนากับลูกค้าของนางคนหนึ่งได้ความว่านางจะแนะนำให้เด็กแรกเกิดใส่เสื้อ ‘ไป่เจียอี’ โดยมีการพูดถึงว่าต้องใส่เป็นเวลาสามวัน ผ่านสามวันต้องทำพิธี ‘สี่ซานหลี่’ แล้วจึงจะถอดเสื้อนั้นออกได้ และในพิธีดังกล่าวต้องมีการเลี้ยงสุราและใช้เครื่องประดับทองคำ ซึ่งองค์ประกอบนี้กลายมาเป็นเบาะแสให้สืบต่อไป เสื้อ ‘ไป่เจียอี’ (百家衣) นั้นแปลตรงตัวว่า ‘เสื้อร้อยครอบครัว’ มีชื่อเรียกอื่นที่หลากหลาย เช่น ไป่ซุ่ยอี/百岁衣 ไป๋เป่าอี/百保衣 เป็นเสื้อที่ทำขึ้นจากผ้าที่เอาผ้าหลายชิ้นมาเย็บต่อกันขึ้นเป็นลวดลายสวยงาม มักมีสีสันฉูดฉาดเพราะเป็นเสื้อเด็ก ทำไมต้องใส่เสื้อไป่เจียอี? ในสมัยโบราณนั้น อัตราการตายของทารกและเด็กเล็กสูงมาก ดังนั้นจึงมีการแก้เคล็ดด้วยการเอาเสื้อผ้าเก่าของเด็กที่แข็งแรงจากหลายครอบครัวมาเย็บติดกันแล้วทำขึ้นเป็นเสื้อให้เด็กใส่ เพื่อว่าเด็กจะได้มีสุขภาพดีแคล้วคลาดจากโรคภัย ขออธิบายเพิ่มว่า แม้จะใช้คำว่า ‘ไป่’ ที่แปลว่าหนึ่งร้อย แต่จริงๆ แล้วไม่ได้หมายความว่าต้องนับให้ได้ถึงหนึ่งร้อยจริงๆ ค่ะ คำนี้เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของจีนที่ต้องการสื่อถึงความหมายว่ามีจำนวนมากจนนับไม่ถ้วน มักปรากฏในวลีในนิยายหรือคำคมจีนเช่น ผ้าปักร้อยอักษร รักกันร้อยปี ได้ยินร้อยครั้ง ฯลฯ ส่วน ‘สี่ซานหลี่’ (洗三礼)นั้นก็คือการทำพิธีอาบน้ำให้กับทารกในวันที่สามหลังจากเกิดมา พิธีนี้มีมาแต่เมื่อใดไม่แน่ชัด แต่ได้มีการกล่าวถึงไว้ในบทประพันธ์ต่างๆ สมัยถังและซ่ง สรุปพิธีโดยคร่าวคือ 1. ญาติสนิทจะมาร่วมกันรับประทานอาหารกลางวัน อาหารจานหลักจะเป็นบะหมี่ (สัญลักษณ์ของความอายุยืน) 2. เสร็จแล้วหมอตำแยจะเป็นคนเริ่มประกอบพิธี โดยเริ่มจากกราบไหว้เทพยดา (แน่นอนว่าจะต้องมีหลักการว่าเป็นเทพยดาองค์ใดบ้าง แต่ Storyฯ ขอไม่กล่าวถึงเพราะจะยาวมาก) 3. จากนั้นญาติสนิทก็จะเติมน้ำคนละช้อนลงในกาละมังที่มีน้ำสมุนไพรอยู่แล้ว แล้วก็เติมของขวัญซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญทองและของมงคลอย่างเช่นเมล็ดพืชผลไม้ที่มีชื่อมงคลอย่างเช่นพุทราจีนลงไปในกาละมังเดียวกันนั้น (แต่หากเป็นตั๋วเงินให้วางแยก) ใครใส่อะไร หมอตำแยก็จะเอ่ยเป็นคำอวยพรที่พ้องเสียงกับของสิ่งนั้น 4. เสร็จแล้วหมอตำแยก็จะใช้น้ำนั้นอาบน้ำให้ทารก ระหว่างอาบก็จะเอ่ยคำอวยพรไปตลอด 5. เสร็จแล้วนำเครื่องประดับเงินทอง (หากไม่มีให้ใช้เครื่องประดับสีขาวสีเหลือง) มาวางทาบกับทารกเป็นนัยว่าให้อนาคตรุ่งเรืองร่ำรวย แน่นอนว่า Storyฯ เล่าอย่างซูเปอร์ย่อ พิธีกรรมจริงๆ ละเอียดกว่านี้มาก กลับมาที่ไป่เจียอีต่อ ว่ากันว่าไป่เจียอีนี้ เดิมเป็นชุดที่นักบวชนิยมใส่ (เรียกว่าไป่น่าอี) มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ต่อมาจึงนำมาทำเป็นเสื้อเด็ก เสื้อผู้ใหญ่ก็ยังนิยมอยู่ในกลุ่มนักบวช แต่ในสมัยหมิงและชิงกลายมาเป็นแฟชั่นที่นิยมมากในกลุ่มสตรีสามัญชน มีการปักเย็บลวดลายประณีตและสีสันสวยงาม เรียกว่าชุด ‘สุ่ยเถียนอี’ (水田衣 แปลตรงตัวว่า ‘ชุดนาข้าว’ ดูรูปขวา) ความนิยมนี้ว่ากันว่าเป็นเพราะองค์จูหยวนจาง (ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง) และพระมเหสีต่างทรงมีนิสัยมัธยัสถ์ ทรงเคยบริจาคผ้าห่มและเสื้อผ้าที่ตัดเย็บจากเส้นด้ายและผ้าที่เหลือใช้ แม้แต่องค์หญิงและสนมในวังยังเคยทรงพระราชทานให้ใส่ จึงทำให้สุ่ยเถียนอีเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ต่อมากลายเป็นการประชันความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบลายเสื้อของสตรี ธรรมเนียมการให้เด็กใส่เสื้อผ้าต่อไป่เจียอีนี้มีการกล่าวถึงตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง และปฏิบัติกันมาทุกระดับชนชั้น แม้แต่ในบันทึกเกี่ยวกับประวัติของฮ่องเต้สมัยราชวงศ์ชิงในยุคสมัยของคังซีและเฉียนหลงยังมีกล่าวถึงการให้องค์ชายและราชนิกูลสวมเสื้อไป่เจียอีในตอนเด็ก และธรรมเนียมนี้ยังมีอยู่ในปัจจุบัน เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นในหลายพื้นที่ของจีน เป็นอย่างไรบ้าง? ‘เสื้อพรรคกระยาจก’ เขาก็มีความเป็นมานะเออ! ของไทยมีอะไรคล้ายคลึงอย่างนี้บ้างไหมคะ? Storyฯ ไม่สันทัด หากเพื่อนเพจท่านใดผ่านตาก็เล่าสู่กันฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.myvideo.net.tw/details/3/12499 https://nicecasio.pixnet.net/blog/post/467691023 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://kknews.cc/news/gpevjl.html https://www.lishiziliao.com/jiemi/21683.html https://www.hanspub.org/journal/PaperInformation.aspx?paperID=25060 https://new.qq.com/omn/20200819/20200819A0D3IY00.html?pc https:// baike.baidu.com/item/洗三/912561 #นิติเวชสาวยอดนักสืบ #นิติเวชสาวราชวงศ์ถัง #ผ้าต่อจีน #ผ้าปะจีน #ไป่ซุ่ยอี #ไป่น่าอี #สุ่ยเถียนอี #พิธีอาบน้ำทารก #สี่ซานหลี่
    WWW.MYVIDEO.NET.TW
    大唐女法醫線上看-陸劇、浪漫愛情劇-戲劇-MyVideo|陪你每一刻
    《大唐女法醫》描述18歲落魄貴女冉顏為了查明母親自殺真相,從小開始學習驗屍絕學,成人後巧遇刑部侍郎蕭頌、絕命殺手蘇伏和天才書生桑辰,解開一個又一個殺人情案,在探求真相的過程中遇到真愛的故事。大唐女法醫線上看-陸劇、浪漫愛情劇-戲劇-MyVideo|陪你每一刻 標籤:劇情,古裝,推理懸疑...
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 293 มุมมอง 0 รีวิว
  • 28 ปี คดีโหด “ศักดิ์ ปากรอ” ฆ่ายกครัว 5 ศพ ตระกูลบุญทวี นายหน้าค้าที่ดินแห่งสิงหนคร

    เรื่องจริงสุดสยอง คดีฆ่ายกครัว 5 ศพ ตระกูลบุญทวี สะเทือนขวัญสังคมไทยไม่เสื่อมคลาย แม้ผ่านมา 28 ปี! 🔥

    ✨ ย้อนกลับไปในวันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2540 ณ บ้านเลขที่ 162 หมู่ที่ 8 บ้านบ่อสระ ตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เกิดเหตุสะเทือนขวัญ ที่ทำให้ทั้งประเทศต้องตกตะลึง เมื่อครอบครัวบุญทวี ถูกฆ่ายกครัวถึง 5 ศพ ❗ เหตุการณ์ครั้งนั้นไม่เพียงแต่โหดเหี้ยม แต่ยังเต็มไปด้วยเงื่อนงำ ที่ทำให้ผู้คนขวัญผวานานนับสิบปี...

    เหตุการณ์สลดที่ไม่มีใครคาดคิด 🧓 นางกิ้มอิ้น บุญทวี อายุ 71 ปี ตื่นขึ้นมาในเช้าวันหยุดสุดสัปดาห์ พร้อมกับความหวังว่าจะได้พบหลานๆ ทั้ง 3 คนตามปกติ แต่เช้าวันนั้นกลับผิดสังเกต ไม่มีหลานคนไหนโผล่มาเลย...

    เมื่อเดินไปที่บ้านของนายประภาส บุญทวี ลูกชาย ซึ่งอยู่ห่าง 150 เมตร เธอก็พบว่าประตูบ้านไม่ได้ล็อก ❗ และเมื่อเปิดเข้าไป ภาพที่เห็นทำให้เธอแทบเป็นลม...

    ภายในบ้าน มีศพแขวนเรียงรายอยู่ที่ราวบันได นายประภาส บุญทวี อายุ 42 ปี, ด.ช.กัมปนาท บุญทวี อายุ 13 ปี, ด.ช.ปราบ บุญทวี อายุ 12 ปี และ ด.ช.ชัชวาลย์ บุญทวี อายุ 10 ปี

    ในห้องนอนชั้นสอง ยังพบศพของ นางเจียมจิต บุญทวี ภรรยาของประภาส ถูกมัดมือเท้า ปิดปาก และรัดคอด้วยเนกไท 🧣

    เจ้าหน้าที่ชันสูตรพบว่า เหยื่อทั้ง 5 ราย ถูกทำร้ายร่างกายก่อนเสียชีวิต และ ไม่พบสารพิษหรือยานอนหลับ ในกระเพาะอาหารเลย...

    จุดเริ่มต้นการสืบสวน 🔎 เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งเดินทางมายังที่เกิดเหตุ และพบว่าภายในบ้านมีร่องรอยการรื้อค้น 📦 และทรัพย์สินหลายอย่างหายไป เช่น พระเครื่องจำนวนมาก ทรัพย์สินมีค่า ทองคำ

    จากการสอบปากคำญาติและเพื่อนบ้าน พบว่า นายประภาสเป็นคนมีฐานะดี จากการเป็นนายหน้าค้าที่ดิน มีทรัพย์สินจำนวนมาก 🏡💵 สมมติฐานแรก คือ คดีนี้น่าจะเป็นฆ่าชิงทรัพย์ แต่ทำไมต้องโหดเหี้ยมถึงขนาดนี้?

    🕵️ หลังจากการสืบสวนกว่า 23 วัน ตำรวจพบเบาะแสสำคัญ จากการขายพระเครื่อง ที่หายไปจากบ้านเหยื่อ ❗ ผู้ขายพระเครื่องให้ข้อมูลว่า ได้รับมาจาก "เรืองศักดิ์ ทองกุล" หรือ "ศักดิ์ ปากรอ" ชายวัย 22 ปี ชาวปากรอ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา 🧢

    ต่อมา วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมตัว "ศักดิ์ ปากรอ" ได้ที่จังหวัดกาญจนบุรี พร้อมของกลาง ได้แก่ พลอยแดง 9 เม็ด นิล 5 เม็ด เข็มกลัดสัญลักษณ์กระทรวงสาธารณสุข

    การสารภาพอันเลือดเย็น 😈 ศักดิ์ให้การรับสารภาพ อย่างไม่สะทกสะท้าน พร้อมกับยิ้มบางๆ 😐 ว่าวางแผนฆ่าครั้งนี้มาแล้วถึง 2 ครั้ง โดยมีผู้สมรู้ร่วมคิดคือ "สงกรานต์ แก้วอุบล" หรือ "จ้อง" เพื่อนซึ่งทำหน้าที่ดูต้นทาง

    วิธีการก่อเหตุ เย็นวันศุกร์ ศักดิ์ขับรถจักรยานยนต์มาซุ่ม เมื่อเห็นในบ้านมีเฉพาะเด็ก ๆ แค่ 3 คน จึงทำทีขอน้ำดื่ม แล้วใช้ปืนขู่ลูกๆ ของประภาส จับมัดมือ มัดเท้า ขังไว้ในห้อง รอจนพ่อแม่เด็กกลับมา แล้วจับตัวทั้งหมด

    ศักดิ์พยายามใช้ไฟฟ้าช็อตเหยื่อ แต่ไม่สำเร็จเพราะบ้านมีอุปกรณ์ตัดไฟเซฟทีคัท จึงเปลี่ยนแผนมาใช้ เชือกแขวนคอทีละคน บริเวณราวบันได นางเจียมจิตถูกฆ่าอย่างทารุณ หลังจากขัดขืนการล่วงละเมิดทางเพศ สาเหตุที่ต้องฆ่าเหยื่อทั้งหมด เพราะ “จำหน้าได้” ‼️

    คดีความ โทษที่ได้รับ ⚖️ ศาลชั้นต้นตัดสินประหารชีวิตศักดิ์ และจำคุกตลอดชีวิตจ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน แต่ศาลฎีกาลดโทษศักดิ์ เหลือจำคุกตลอดชีวิต เพราะให้การเป็นประโยชน์

    ศักดิ์ติดคุก 13 ปี ก่อนพ้นโทษในปี พ.ศ. 2553 หลังออกจากคุก ศักดิ์ชุบตัวใหม่ เปลี่ยนชื่อและนามสกุลเป็น "เนติราษฎร์ นพวงศ์" และเข้าไปพัวพันกับซุ้มมือปืนรับจ้าง 🏴‍☠️

    จุดจบของ "ศักดิ์ ปากรอ" 🚫 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เนติราษฎร์ถูกลอบยิงเสียชีวิต ที่หน้าบ้านพักในอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ขณะกำลังจะขึ้นรถจักรยานยนต์ 🏍️ คนร้ายใช้รถเก๋งสีขาวเข้ามาจอด และยิงใส่หลัง 2 นัด ก่อนหลบหนีไป ❗

    แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะสงสัยว่า เกี่ยวข้องกับธุรกิจผิดกฎหมายในพื้นที่ แต่จนถึงปัจจุบัน ก็ยังจับตัวคนร้ายไม่ได้

    อาวุธลับที่เชื่อมโยงศักดิ์กับคดีใหญ่ 🌪️ หลังการเสียชีวิตของศักดิ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจยังคงตามสืบคดีต่างๆ ที่เชื่อมโยงถึง 🚨

    วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ตำรวจเข้าตรวจค้นบ้านของ "พิมล ทองกุล" พี่ชายของศักดิ์ ที่ตำบลปากรอ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา และพบอาวุธสงครามจำนวนมาก เช่น ปืนอาก้า 1 กระบอก กระสุนปืนขนาด 5.56 มม. และ 7.62 มม. ปืนยาวติดกล้อง .22 แม็กกาซีน และซองกระสุน

    🛡️ "เพิ่มศีล" ผู้เป็นพี่ชายให้การว่า อาวุธทั้งหมดเป็นของศักดิ์ ไม่ใช่ของตนเอง

    อาวุธปืนที่เกี่ยวข้องกับอีกหนึ่งคดีฆ่า 🔥 การตรวจสอบพบว่า อาวุธปืนอาก้าที่ยึดมาได้ ตรงกับปืนที่ใช้ยิง "พงศกร หวานแก้ว" รองนายกเทศมนตรีตำบลนาสีทอง เสียชีวิตบนรถจี๊ปเชอโรกี ในปี พ.ศ. 2555 ❗

    ทำให้ตำรวจเริ่มสงสัยว่า ศักดิ์อาจมีเอี่ยวกับคดีฆาตกรรมรายนี้ด้วย แต่จนถึงวันนี้... 🕵️‍♂️ ตัวคนร้ายในคดียิงพงศกร ก็ยังคงลอยนวล

    🧠 หากพูดถึงคดีฆ่ายกครัวที่โหดเหี้ยมที่สุดในไทย คงไม่มีใครลืม "ศักดิ์ ปากรอ" ได้ ❗ ฆ่าเด็ก 3 คน ด้วยการแขวนคอ ฆ่าพ่อแม่ของเด็กอย่างทารุณ จิตใจแข็งกระด้าง ไม่สะทกสะท้านแม้ในวันทำแผน

    แม้จะผ่านไปเกือบ 3 ทศวรรษ ความโหดร้ายในวันนั้น ยังคงเป็นฝันร้ายของผู้ที่ได้ยินข่าวนี้อยู่เสมอ...

    สังคมไทยกับคดี "ฆ่ายกครัว" สะเทือนขวัญ 🩸 นอกจากคดี "ศักดิ์ ปากรอ" ไทยเรายังเคยมีคดีฆ่ายกครัว สะเทือนใจอื่นๆ เช่น

    คดีฆ่ายกครัวอ่าวลึก จ.กระบี่ ปี 2560 ตายหมู่ 8 ศพ

    คดีฆ่าโหด 5 ศพ ร้านอาหารไวท์เฮาส์ จ.สระบุรี ปี 2552

    คดีฆ่ายกครัว "หอมชง" ย่านบางแค กทม. ปี 2557

    แต่คดีของศักดิ์ โหดเหี้ยมแบบที่ใช้ "การแขวนคอ" เป็นวิธีฆ่าอย่างช้าๆ และทรมานที่สุด ซึ่งนับว่าเป็น 1 ในคดีสะเทือนขวัญที่สุดของประเทศไทย 🇹🇭

    🛑 เรื่องราวนี้สะท้อนให้เห็นว่า... ความโลภ ความโกรธ ความหลง สามารถผลักดันคนธรรมดา ให้กลายเป็นปีศาจ ในคราบมนุษย์ได้จริงๆ 🩸😈

    แม้ศักดิ์จะจบชีวิตไปแล้ว แต่บาดแผลในใจของผู้ที่สูญเสีย ยังคงอยู่ และเป็นบทเรียนราคาแพง ที่สังคมไทยไม่มีวันลืม...

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 260900 เม.ย. 2568

    📢 #ศักดิ์ปากรอ #ฆ่ายกครัว #ตระกูลบุญทวี #คดีฆ่ายกครัว #ฆ่าหมู่5ศพ #สิงหนคร #สงขลา #คดีโหด #ฆ่าแขวนคอ #เรื่องจริงไม่อิงนิยาย
    28 ปี คดีโหด “ศักดิ์ ปากรอ” ฆ่ายกครัว 5 ศพ ตระกูลบุญทวี นายหน้าค้าที่ดินแห่งสิงหนคร เรื่องจริงสุดสยอง คดีฆ่ายกครัว 5 ศพ ตระกูลบุญทวี สะเทือนขวัญสังคมไทยไม่เสื่อมคลาย แม้ผ่านมา 28 ปี! 🔥 ✨ ย้อนกลับไปในวันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2540 ณ บ้านเลขที่ 162 หมู่ที่ 8 บ้านบ่อสระ ตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เกิดเหตุสะเทือนขวัญ ที่ทำให้ทั้งประเทศต้องตกตะลึง เมื่อครอบครัวบุญทวี ถูกฆ่ายกครัวถึง 5 ศพ ❗ เหตุการณ์ครั้งนั้นไม่เพียงแต่โหดเหี้ยม แต่ยังเต็มไปด้วยเงื่อนงำ ที่ทำให้ผู้คนขวัญผวานานนับสิบปี... เหตุการณ์สลดที่ไม่มีใครคาดคิด 🧓 นางกิ้มอิ้น บุญทวี อายุ 71 ปี ตื่นขึ้นมาในเช้าวันหยุดสุดสัปดาห์ พร้อมกับความหวังว่าจะได้พบหลานๆ ทั้ง 3 คนตามปกติ แต่เช้าวันนั้นกลับผิดสังเกต ไม่มีหลานคนไหนโผล่มาเลย... เมื่อเดินไปที่บ้านของนายประภาส บุญทวี ลูกชาย ซึ่งอยู่ห่าง 150 เมตร เธอก็พบว่าประตูบ้านไม่ได้ล็อก ❗ และเมื่อเปิดเข้าไป ภาพที่เห็นทำให้เธอแทบเป็นลม... ภายในบ้าน มีศพแขวนเรียงรายอยู่ที่ราวบันได นายประภาส บุญทวี อายุ 42 ปี, ด.ช.กัมปนาท บุญทวี อายุ 13 ปี, ด.ช.ปราบ บุญทวี อายุ 12 ปี และ ด.ช.ชัชวาลย์ บุญทวี อายุ 10 ปี ในห้องนอนชั้นสอง ยังพบศพของ นางเจียมจิต บุญทวี ภรรยาของประภาส ถูกมัดมือเท้า ปิดปาก และรัดคอด้วยเนกไท 🧣 เจ้าหน้าที่ชันสูตรพบว่า เหยื่อทั้ง 5 ราย ถูกทำร้ายร่างกายก่อนเสียชีวิต และ ไม่พบสารพิษหรือยานอนหลับ ในกระเพาะอาหารเลย... จุดเริ่มต้นการสืบสวน 🔎 เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งเดินทางมายังที่เกิดเหตุ และพบว่าภายในบ้านมีร่องรอยการรื้อค้น 📦 และทรัพย์สินหลายอย่างหายไป เช่น พระเครื่องจำนวนมาก ทรัพย์สินมีค่า ทองคำ จากการสอบปากคำญาติและเพื่อนบ้าน พบว่า นายประภาสเป็นคนมีฐานะดี จากการเป็นนายหน้าค้าที่ดิน มีทรัพย์สินจำนวนมาก 🏡💵 สมมติฐานแรก คือ คดีนี้น่าจะเป็นฆ่าชิงทรัพย์ แต่ทำไมต้องโหดเหี้ยมถึงขนาดนี้? 🕵️ หลังจากการสืบสวนกว่า 23 วัน ตำรวจพบเบาะแสสำคัญ จากการขายพระเครื่อง ที่หายไปจากบ้านเหยื่อ ❗ ผู้ขายพระเครื่องให้ข้อมูลว่า ได้รับมาจาก "เรืองศักดิ์ ทองกุล" หรือ "ศักดิ์ ปากรอ" ชายวัย 22 ปี ชาวปากรอ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา 🧢 ต่อมา วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมตัว "ศักดิ์ ปากรอ" ได้ที่จังหวัดกาญจนบุรี พร้อมของกลาง ได้แก่ พลอยแดง 9 เม็ด นิล 5 เม็ด เข็มกลัดสัญลักษณ์กระทรวงสาธารณสุข การสารภาพอันเลือดเย็น 😈 ศักดิ์ให้การรับสารภาพ อย่างไม่สะทกสะท้าน พร้อมกับยิ้มบางๆ 😐 ว่าวางแผนฆ่าครั้งนี้มาแล้วถึง 2 ครั้ง โดยมีผู้สมรู้ร่วมคิดคือ "สงกรานต์ แก้วอุบล" หรือ "จ้อง" เพื่อนซึ่งทำหน้าที่ดูต้นทาง วิธีการก่อเหตุ เย็นวันศุกร์ ศักดิ์ขับรถจักรยานยนต์มาซุ่ม เมื่อเห็นในบ้านมีเฉพาะเด็ก ๆ แค่ 3 คน จึงทำทีขอน้ำดื่ม แล้วใช้ปืนขู่ลูกๆ ของประภาส จับมัดมือ มัดเท้า ขังไว้ในห้อง รอจนพ่อแม่เด็กกลับมา แล้วจับตัวทั้งหมด ศักดิ์พยายามใช้ไฟฟ้าช็อตเหยื่อ แต่ไม่สำเร็จเพราะบ้านมีอุปกรณ์ตัดไฟเซฟทีคัท จึงเปลี่ยนแผนมาใช้ เชือกแขวนคอทีละคน บริเวณราวบันได นางเจียมจิตถูกฆ่าอย่างทารุณ หลังจากขัดขืนการล่วงละเมิดทางเพศ สาเหตุที่ต้องฆ่าเหยื่อทั้งหมด เพราะ “จำหน้าได้” ‼️ คดีความ โทษที่ได้รับ ⚖️ ศาลชั้นต้นตัดสินประหารชีวิตศักดิ์ และจำคุกตลอดชีวิตจ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน แต่ศาลฎีกาลดโทษศักดิ์ เหลือจำคุกตลอดชีวิต เพราะให้การเป็นประโยชน์ ศักดิ์ติดคุก 13 ปี ก่อนพ้นโทษในปี พ.ศ. 2553 หลังออกจากคุก ศักดิ์ชุบตัวใหม่ เปลี่ยนชื่อและนามสกุลเป็น "เนติราษฎร์ นพวงศ์" และเข้าไปพัวพันกับซุ้มมือปืนรับจ้าง 🏴‍☠️ จุดจบของ "ศักดิ์ ปากรอ" 🚫 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เนติราษฎร์ถูกลอบยิงเสียชีวิต ที่หน้าบ้านพักในอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ขณะกำลังจะขึ้นรถจักรยานยนต์ 🏍️ คนร้ายใช้รถเก๋งสีขาวเข้ามาจอด และยิงใส่หลัง 2 นัด ก่อนหลบหนีไป ❗ แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะสงสัยว่า เกี่ยวข้องกับธุรกิจผิดกฎหมายในพื้นที่ แต่จนถึงปัจจุบัน ก็ยังจับตัวคนร้ายไม่ได้ อาวุธลับที่เชื่อมโยงศักดิ์กับคดีใหญ่ 🌪️ หลังการเสียชีวิตของศักดิ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจยังคงตามสืบคดีต่างๆ ที่เชื่อมโยงถึง 🚨 วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ตำรวจเข้าตรวจค้นบ้านของ "พิมล ทองกุล" พี่ชายของศักดิ์ ที่ตำบลปากรอ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา และพบอาวุธสงครามจำนวนมาก เช่น ปืนอาก้า 1 กระบอก กระสุนปืนขนาด 5.56 มม. และ 7.62 มม. ปืนยาวติดกล้อง .22 แม็กกาซีน และซองกระสุน 🛡️ "เพิ่มศีล" ผู้เป็นพี่ชายให้การว่า อาวุธทั้งหมดเป็นของศักดิ์ ไม่ใช่ของตนเอง อาวุธปืนที่เกี่ยวข้องกับอีกหนึ่งคดีฆ่า 🔥 การตรวจสอบพบว่า อาวุธปืนอาก้าที่ยึดมาได้ ตรงกับปืนที่ใช้ยิง "พงศกร หวานแก้ว" รองนายกเทศมนตรีตำบลนาสีทอง เสียชีวิตบนรถจี๊ปเชอโรกี ในปี พ.ศ. 2555 ❗ ทำให้ตำรวจเริ่มสงสัยว่า ศักดิ์อาจมีเอี่ยวกับคดีฆาตกรรมรายนี้ด้วย แต่จนถึงวันนี้... 🕵️‍♂️ ตัวคนร้ายในคดียิงพงศกร ก็ยังคงลอยนวล 🧠 หากพูดถึงคดีฆ่ายกครัวที่โหดเหี้ยมที่สุดในไทย คงไม่มีใครลืม "ศักดิ์ ปากรอ" ได้ ❗ ฆ่าเด็ก 3 คน ด้วยการแขวนคอ ฆ่าพ่อแม่ของเด็กอย่างทารุณ จิตใจแข็งกระด้าง ไม่สะทกสะท้านแม้ในวันทำแผน แม้จะผ่านไปเกือบ 3 ทศวรรษ ความโหดร้ายในวันนั้น ยังคงเป็นฝันร้ายของผู้ที่ได้ยินข่าวนี้อยู่เสมอ... สังคมไทยกับคดี "ฆ่ายกครัว" สะเทือนขวัญ 🩸 นอกจากคดี "ศักดิ์ ปากรอ" ไทยเรายังเคยมีคดีฆ่ายกครัว สะเทือนใจอื่นๆ เช่น คดีฆ่ายกครัวอ่าวลึก จ.กระบี่ ปี 2560 ตายหมู่ 8 ศพ คดีฆ่าโหด 5 ศพ ร้านอาหารไวท์เฮาส์ จ.สระบุรี ปี 2552 คดีฆ่ายกครัว "หอมชง" ย่านบางแค กทม. ปี 2557 แต่คดีของศักดิ์ โหดเหี้ยมแบบที่ใช้ "การแขวนคอ" เป็นวิธีฆ่าอย่างช้าๆ และทรมานที่สุด ซึ่งนับว่าเป็น 1 ในคดีสะเทือนขวัญที่สุดของประเทศไทย 🇹🇭 🛑 เรื่องราวนี้สะท้อนให้เห็นว่า... ความโลภ ความโกรธ ความหลง สามารถผลักดันคนธรรมดา ให้กลายเป็นปีศาจ ในคราบมนุษย์ได้จริงๆ 🩸😈 แม้ศักดิ์จะจบชีวิตไปแล้ว แต่บาดแผลในใจของผู้ที่สูญเสีย ยังคงอยู่ และเป็นบทเรียนราคาแพง ที่สังคมไทยไม่มีวันลืม... ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 260900 เม.ย. 2568 📢 #ศักดิ์ปากรอ #ฆ่ายกครัว #ตระกูลบุญทวี #คดีฆ่ายกครัว #ฆ่าหมู่5ศพ #สิงหนคร #สงขลา #คดีโหด #ฆ่าแขวนคอ #เรื่องจริงไม่อิงนิยาย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 408 มุมมอง 0 รีวิว
  • **การเนรเทศและการไถ่โทษในจีนโบราณ**

    สวัสดีค่ะ เชื่อว่าเพื่อนเพจแฟนซีรีส์และนิยายจีนโบราณจะคุ้นเคยกับการที่ตัวละครถูกเนรเทศไปอยู่ในพื้นที่กันดารเพื่อเป็นการลงโทษ ซึ่งส่วนใหญ่คือไปแล้วไม่กลับ หรือถ้ากลับก็คือเกิดเหตุการณ์ผันแปรทางอำนาจการเมือง แต่เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> จะเห็นว่าพล็อตสำคัญของเรื่องคือความพยายามของนางเอกที่จะเก็บเงินให้ได้พอเพียงต่อการไถ่ตัวคนในครอบครัวให้พ้นโทษเนรเทศกลับจากแดนเหนือ วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน

    การเนรเทศมีมาแต่โบราณแต่มีรายละเอียดหลากหลาย และโทษเนรเทศหรือที่เรียกว่า ‘หลิว’ หรือ ‘หลิวฟ่าง’ (流放) ถูกกำหนดความชัดเจนให้เป็นมาตรฐานและถูกบรรจุเป็นหนึ่งในห้าบทลงทัณฑ์ตามกฎหมายอย่างเป็นทางการในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ประมาณปีค.ศ. 386-534) ซึ่งในตอนนั้นใช้เป็นโทษทางการทหาร

    ต่อมามีการกำหนดห้าบทลงทัณฑ์ทั่วไปตามกฎหมายไว้คือ เฆี่ยนด้วยหวาย (笞/ชือ) โบยด้วยพลอง (杖/จ้าง) ทำงานหนัก (徙/ถู... นึกภาพเดินแบกหินสร้างเขื่อนสร้างกำแพง ฯลฯ) เนรเทศ (流/หลิว) และตาย (死/สื่อ) ทั้งนี้ มีการกำหนดความหนักเบาของการลงทัณฑ์ในรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย

    เป็นต้นว่า ในสมัยถังการเนรเทศมีกำหนดระยะทางสองพันหลี่ สองพันห้าร้อยหลี่และสามพันหลี่ เป็นต้น และมีรายละเอียดยิบย่อยมากขึ้นว่าด้วยข้อปฏิบัติระหว่างลงทัณฑ์ และว่ากันว่าเป็นยุคสมัยที่การลงทัณฑ์มีแนวปฏิบัติมากมายจนก่อให้เกิดความสับสน

    และต่อมาในสมัยซ่งมีการกำหนดบทลงทัณฑ์ทดแทนด้วยการโบย ยกเว้นโทษตายที่ทดแทนไม่ได้ เรียกว่า ‘เจ๋อจ้าง’ (折杖) เป็นต้นว่า โทษเนรเทศสามพันหลี่สามารถทดแทนได้ด้วยโทษทำงานหนักหนึ่งปีและโบยหลังยี่สิบพลอง (อนึ่ง การโบยส่วนต่างๆ ของร่างกายมีรายละเอียดอีก เพราะฉะนั้นอย่าคิดว่ายี่สิบพลองคือจิ๊บๆ แต่โบยหลังอาจตายหรือพิการได้เลย) นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มโทษเนรเทศขั้นสูงสุดเพื่อทดแทนโทษตาย เรียกว่า ‘เจียอี้หลิว’ (加役流) คือการเนรเทศไปดินแดนทุรกันดารไกลสามพันหลี่และให้ทำงานหนักด้วยเป็นเวลาสามปี

    บทลงทัณฑ์ห้าแบบนี้มีใช้ต่อเนื่องมาจนราชวงศ์รุ่นหลัง เพียงแต่ในแต่ละยุคสมัยมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนในรายละเอียดรวมถึงความหนักเบาและระยะเวลาของการลงทัณฑ์แต่ละแบบ

    การใช้เงินเป็นการไถ่โทษนั้นไม่ใช่เบี้ยปรับแต่เป็นการชำระเงินเพื่อทดแทนการรับโทษ ในเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> ซึ่งเป็นราชวงศ์สมมุตินั้น นางเอกต้องใช้เงินสูงถึงห้าแสนเฉียนเพื่อไถ่ถอนอิสรภาพให้กับคนในครอบครัวเพียงคนเดียว

    ในความเป็นจริงอัตราค่าไถ่โทษไม่ได้สูงขนาดนั้นและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ทั้งด้วยบทกฎหมายและด้วยค่าเงินเฟ้อ อีกทั้งในยุคสมัยแรกๆ สามารถใช้สิ่งของมีค่าอื่นเป็นเงินไถ่ถอนได้ เช่น ข้าวสารหรือผ้าไหม ตัวอย่างเช่น ค่าไถ่ตัวนักโทษเนรเทศในสมัยฮั่นคือแปดตำลึงทองหรือเทียบเท่า

    ในสมัยถัง การใช้เงินไถ่โทษกระทำได้เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่โทษหนักสิบประการ (เช่น กบฏ) และต้องเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก Storyฯ ขอไม่กล่าวถึง แต่หนึ่งในเงื่อนไขที่ว่านี้ก็คือผู้ต้องโทษเป็นครอบครัวของขุนนางขั้นที่เก้าหรือสูงกว่าและมีรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมในกรณีผู้ต้องโทษคือตัวขุนนางเองที่สามารถใช้เงินเดือนลดโทษได้ แต่โดยทั่วไปสำหรับโทษเนรเทศในสมัยถังนี้อัตราเงินไถ่ถอนคือ แปดสิบจินทองแดงสำหรับโทษสองพันหลี่ เก้าสิบจินสำหรับโทษสองพันห้าร้อยหลี่ และหนึ่งร้อยจินสำหรับโทษสามพันหลี่ (อนึ่ง ในสมัยนั้นน้ำหนัก 1 จินคือประมาณ 660กรัม เทียบเท่าเงิน 160 เฉียน)

    Storyฯ ไม่สามารถหารายละเอียดค่าไถ่ในยุคสมัยอื่นๆ มาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมด้วยข้อจำกัดทางเวลาและความลำบากในการแปลงค่าเงินและน้ำหนักในแต่ละยุคสมัย แต่หวังว่าเพื่อนเพจพอจะได้อรรถรสจากบทความข้างต้นแล้วว่า การใช้เงินไถ่โทษมีจริงในสมัยโบราณ ทั้งนี้ เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการเก็บเงินหรือเก็บทองแดงเข้าท้องพระคลังหลวงเพื่อใช้ผลิตเหรียญอีแปะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://girlstyle.com/my/article/203344
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.sdcourt.gov.cn/rzwlfy/405115/405122/18224559/index.html
    http://iolaw.cssn.cn/fxyjdt/201906/t20190618_4919774.shtml
    https://baike.baidu.com/item/加役流/6445998
    https://www.mongoose-report.com/mongoose/title_detail?title_id=3699
    http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/penal_liu.html
    http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/duliangheng.html
    http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/shuzui.html

    #ฮวาจื่อบุปผากลางภัย #เนรเทศ #ค่าไถ่ #การลงทัณฑ์จีนโบราณ #สาระจีน
    **การเนรเทศและการไถ่โทษในจีนโบราณ** สวัสดีค่ะ เชื่อว่าเพื่อนเพจแฟนซีรีส์และนิยายจีนโบราณจะคุ้นเคยกับการที่ตัวละครถูกเนรเทศไปอยู่ในพื้นที่กันดารเพื่อเป็นการลงโทษ ซึ่งส่วนใหญ่คือไปแล้วไม่กลับ หรือถ้ากลับก็คือเกิดเหตุการณ์ผันแปรทางอำนาจการเมือง แต่เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> จะเห็นว่าพล็อตสำคัญของเรื่องคือความพยายามของนางเอกที่จะเก็บเงินให้ได้พอเพียงต่อการไถ่ตัวคนในครอบครัวให้พ้นโทษเนรเทศกลับจากแดนเหนือ วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน การเนรเทศมีมาแต่โบราณแต่มีรายละเอียดหลากหลาย และโทษเนรเทศหรือที่เรียกว่า ‘หลิว’ หรือ ‘หลิวฟ่าง’ (流放) ถูกกำหนดความชัดเจนให้เป็นมาตรฐานและถูกบรรจุเป็นหนึ่งในห้าบทลงทัณฑ์ตามกฎหมายอย่างเป็นทางการในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ประมาณปีค.ศ. 386-534) ซึ่งในตอนนั้นใช้เป็นโทษทางการทหาร ต่อมามีการกำหนดห้าบทลงทัณฑ์ทั่วไปตามกฎหมายไว้คือ เฆี่ยนด้วยหวาย (笞/ชือ) โบยด้วยพลอง (杖/จ้าง) ทำงานหนัก (徙/ถู... นึกภาพเดินแบกหินสร้างเขื่อนสร้างกำแพง ฯลฯ) เนรเทศ (流/หลิว) และตาย (死/สื่อ) ทั้งนี้ มีการกำหนดความหนักเบาของการลงทัณฑ์ในรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย เป็นต้นว่า ในสมัยถังการเนรเทศมีกำหนดระยะทางสองพันหลี่ สองพันห้าร้อยหลี่และสามพันหลี่ เป็นต้น และมีรายละเอียดยิบย่อยมากขึ้นว่าด้วยข้อปฏิบัติระหว่างลงทัณฑ์ และว่ากันว่าเป็นยุคสมัยที่การลงทัณฑ์มีแนวปฏิบัติมากมายจนก่อให้เกิดความสับสน และต่อมาในสมัยซ่งมีการกำหนดบทลงทัณฑ์ทดแทนด้วยการโบย ยกเว้นโทษตายที่ทดแทนไม่ได้ เรียกว่า ‘เจ๋อจ้าง’ (折杖) เป็นต้นว่า โทษเนรเทศสามพันหลี่สามารถทดแทนได้ด้วยโทษทำงานหนักหนึ่งปีและโบยหลังยี่สิบพลอง (อนึ่ง การโบยส่วนต่างๆ ของร่างกายมีรายละเอียดอีก เพราะฉะนั้นอย่าคิดว่ายี่สิบพลองคือจิ๊บๆ แต่โบยหลังอาจตายหรือพิการได้เลย) นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มโทษเนรเทศขั้นสูงสุดเพื่อทดแทนโทษตาย เรียกว่า ‘เจียอี้หลิว’ (加役流) คือการเนรเทศไปดินแดนทุรกันดารไกลสามพันหลี่และให้ทำงานหนักด้วยเป็นเวลาสามปี บทลงทัณฑ์ห้าแบบนี้มีใช้ต่อเนื่องมาจนราชวงศ์รุ่นหลัง เพียงแต่ในแต่ละยุคสมัยมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนในรายละเอียดรวมถึงความหนักเบาและระยะเวลาของการลงทัณฑ์แต่ละแบบ การใช้เงินเป็นการไถ่โทษนั้นไม่ใช่เบี้ยปรับแต่เป็นการชำระเงินเพื่อทดแทนการรับโทษ ในเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> ซึ่งเป็นราชวงศ์สมมุตินั้น นางเอกต้องใช้เงินสูงถึงห้าแสนเฉียนเพื่อไถ่ถอนอิสรภาพให้กับคนในครอบครัวเพียงคนเดียว ในความเป็นจริงอัตราค่าไถ่โทษไม่ได้สูงขนาดนั้นและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ทั้งด้วยบทกฎหมายและด้วยค่าเงินเฟ้อ อีกทั้งในยุคสมัยแรกๆ สามารถใช้สิ่งของมีค่าอื่นเป็นเงินไถ่ถอนได้ เช่น ข้าวสารหรือผ้าไหม ตัวอย่างเช่น ค่าไถ่ตัวนักโทษเนรเทศในสมัยฮั่นคือแปดตำลึงทองหรือเทียบเท่า ในสมัยถัง การใช้เงินไถ่โทษกระทำได้เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่โทษหนักสิบประการ (เช่น กบฏ) และต้องเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก Storyฯ ขอไม่กล่าวถึง แต่หนึ่งในเงื่อนไขที่ว่านี้ก็คือผู้ต้องโทษเป็นครอบครัวของขุนนางขั้นที่เก้าหรือสูงกว่าและมีรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมในกรณีผู้ต้องโทษคือตัวขุนนางเองที่สามารถใช้เงินเดือนลดโทษได้ แต่โดยทั่วไปสำหรับโทษเนรเทศในสมัยถังนี้อัตราเงินไถ่ถอนคือ แปดสิบจินทองแดงสำหรับโทษสองพันหลี่ เก้าสิบจินสำหรับโทษสองพันห้าร้อยหลี่ และหนึ่งร้อยจินสำหรับโทษสามพันหลี่ (อนึ่ง ในสมัยนั้นน้ำหนัก 1 จินคือประมาณ 660กรัม เทียบเท่าเงิน 160 เฉียน) Storyฯ ไม่สามารถหารายละเอียดค่าไถ่ในยุคสมัยอื่นๆ มาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมด้วยข้อจำกัดทางเวลาและความลำบากในการแปลงค่าเงินและน้ำหนักในแต่ละยุคสมัย แต่หวังว่าเพื่อนเพจพอจะได้อรรถรสจากบทความข้างต้นแล้วว่า การใช้เงินไถ่โทษมีจริงในสมัยโบราณ ทั้งนี้ เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการเก็บเงินหรือเก็บทองแดงเข้าท้องพระคลังหลวงเพื่อใช้ผลิตเหรียญอีแปะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://girlstyle.com/my/article/203344 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.sdcourt.gov.cn/rzwlfy/405115/405122/18224559/index.html http://iolaw.cssn.cn/fxyjdt/201906/t20190618_4919774.shtml https://baike.baidu.com/item/加役流/6445998 https://www.mongoose-report.com/mongoose/title_detail?title_id=3699 http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/penal_liu.html http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/duliangheng.html http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/shuzui.html #ฮวาจื่อบุปผากลางภัย #เนรเทศ #ค่าไถ่ #การลงทัณฑ์จีนโบราณ #สาระจีน
    GIRLSTYLE.COM
    张婧仪 & 胡一天《惜花芷》扑开高走.热度破万!开播前被全网嘲「必扑」,靠「过硬剧情」扳回一城狠狠打脸酸民~ | GirlStyle 马来西亚女生日常
    张婧仪、胡一天主演的古装剧《惜花芷》站内热度破万啦!这部剧在开播之前无人看好,预告释出后更是嘲声一片,被看衰「一定会扑」!但是,《惜花芷》却靠剧情逆转口碑,收获许多“自来水”(真心喜欢而自愿帮宣传的观众)的喜爱,让收视率一路上升,杀出重围成为黑马!
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 358 มุมมอง 0 รีวิว
  • เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> จะเห็นว่าส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่องกล่าวถึงความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจเกี่ยวกับสถานะ ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’ ของตัวละคร ซ่งอิ่นจาง และความพยายามที่จะหลุดพ้นจากสถานะนี้

    วันนี้เรามาคุยกันเรื่องสถานะ ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’ ซึ่งในภาษาจีนอาจเรียกอย่างสุภาพว่า ‘เยวี่ยกง’ (乐工 แปลตรงตัวว่า เพลง/ดนตรี + แรงงาน) หรือเรียกอย่างไม่อ้อมค้อมว่า ‘เยวี่ยจี้’ หรือ ‘นางดนตรี’ (乐妓) ซึ่งเป็นคำเรียกรวมของสตรีที่อาศัยร้องรำทำเพลงยังชีพ ในสมัยโบราณจัดเป็นนางคณิกาประเภทหนึ่ง

    แล้วทำไมในละครจึงเรียกเป็น ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’? Storyฯ ไม่อาจคาดเดาความคิดของผู้แปลซับไทยในละคร แต่ในภาษาจีนสถานะนี้ผูกติดกับสิ่งที่เรียกว่า ‘เยวี่ยจี๋’ (乐籍 แปลตรงตัวว่า เพลง/ดนตรี + ทะเบียน) ซึ่ง Storyฯ ไม่เห็นมีแปลไว้ในซับไทยของละคร

    ‘เยวี่ยจี๋’ หรือทะเบียนนักดนตรีนี้คืออะไร?

    เพื่อนเพจที่เป็นแฟนนิยายและละครจีนโบราณอาจเคยเห็นฉากที่ขุนนางใหญ่ถูกลงทัณฑ์ทั้งบ้าน ทรัพย์สินถูกยึด คนในบ้านถูกจับไปเป็นทาส เยวี่ยจี๋นี้เป็นทะเบียนชื่อของลูกเมียของขุนนางที่ถูกลงทัณฑ์สถานหนัก พวกเขาเหล่านี้ถูกขึ้นชื่อเป็นทาสรับใช้ของหลวง มีหน้าที่ร้องรำทำเพลงปรนนิบัติขุนนางและแขกเหรื่อในงานรื่นเริง โดยได้รับเงินหลวง เขาเหล่านี้เมื่อโดนเรียกตัวต้องไปปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สามารถปฏิเสธได้ โดยมีหน้าที่แตกต่างกันไปและบางคนอาจถูกบังคับให้เป็นนางบำเรอกาม

    การลงทัณฑ์โดยขึ้นทะเบียนเยวี่ยจี๋นี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ค.ศ. 386-535) ในสมัยถัง-ซ่ง ‘เยวี่ยจี๋’ อยู่ภายใต้การบริหารงานของ ‘เจียวฟาง’/教坊 หรือที่ในละครแปลว่าสำนักการสังคีต

    คนที่มีชื่ออยู่ในเยวี่ยจี๋ถือว่ามีโทษติดตัวไม่มีอิสระ มีสถานะในสังคมต่ำต้อยเยี่ยงทาส จัดเป็น ‘ชนชั้นต่ำ’ หรือ ‘เจี้ยนหมิน’(贱民) ประเภทหนึ่ง (หมายเหตุ บ่าว ทาสและนักโทษจัดอยู่ในกลุ่มชนชั้นต่ำนี้) เมื่อมีลูก ลูกก็จะถูกบันทึกชื่อเข้าเยวี่ยจี๋ด้วย เรียกได้ว่าเป็นทาสที่มีโทษติดตัวไปทุกรุ่นเว้นแต่จะได้รับการเปลี่ยนสถานะ

    การเปลี่ยนสถานะทำได้สองแบบ แบบแรกคือการได้รับการอนุมัติจากทางการให้เปลี่ยนสถานะเป็นคนธรรมดาหรือที่เรียกว่า ‘เหลียงหมิน’/良民 (ตัวอย่างเช่นนางเอกในละครนี้) ซึ่งทำได้ไม่ง่าย และแบบที่สองคือมีพ่อค้ารับเป็นภรรยาหรือมีขุนนางรับเป็นอนุภรรยา ซึ่งจะมีการถอดถอนชื่อออกจากเยวี่ยจี๋ เมื่อคนเป็นแม่ได้ปรับสถานะแล้วบุตรจึงจะเป็นไทได้ (แต่อย่างที่ Storyฯ เคยเล่าเกี่ยวกับเรื่องประเภทของอนุภรรยา คนที่เคยมีโทษติดตัวหรือเป็นลูกนักโทษจะมีสถานะเป็นอนุชั้นต่ำ สามารถยกให้กันฟรีๆ หรือขายออกไปเมื่อไหร่ก็ได้ แต่อย่างน้อยลูกก็จะได้รับการยกย่องในระดับหนึ่งตามสถานะของบิดา)

    สรุปสั้นๆ ได้ว่า นางดนตรีที่มีชื่ออยู่ในเยวี่ยจี๋จัดเป็นชนชั้นต่ำที่เรียกว่า ‘เจี้ยนหมิน’ ไม่มีอิสระและไม่มีสิทธิใดๆ ทางสังคม แต่หากโชคดีก็จะได้เปลี่ยนสถานะกลับมาเป็นชนชั้นธรรมดาหรือที่เรียกว่า ‘เหลียงหมิน’

    ต่อมาในรัชสมัยขององค์ยงเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1723) ทรงมีพระราชโองการให้ทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนเจี้ยนหมินทุกชนิด (รวมถึงเยวี่ยจี๋ด้วย) ได้รับการปรับสถานะเป็นเหลียงหมิน ถือว่าได้เป็นไทแก่ตัว

    ขออภัยที่มีศัพท์จีนหลายคำไปหน่อย แต่ Storyฯ หวังว่าบทความนี้จะให้ความเข้าใจมากขึ้นถึงบริบทของชนชั้นทางสังคมที่เพื่อนเพจมักเห็นในละครและนิยายจีนโบราณหลายเรื่องค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://read01.com/zh-sg/DR3eMEa.html#.YxlwKnZBy5d
    https://min.news/zh-sg/culture/5b42ca6d45e1a79dcddf84da55d9dce2.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/%E4%B9%90%E7%B1%8D/10852116
    https://www.sohu.com/a/222355523_99902358
    https://www.163.com/dy/article/HACKL2VE0514R9P4.html

    #สามบุปผา #นางรับใช้ในวงดนตรี #เยวี่ยจี๋ #เจี้ยนหมิน #เหลียงหมิน
    เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> จะเห็นว่าส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่องกล่าวถึงความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจเกี่ยวกับสถานะ ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’ ของตัวละคร ซ่งอิ่นจาง และความพยายามที่จะหลุดพ้นจากสถานะนี้ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องสถานะ ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’ ซึ่งในภาษาจีนอาจเรียกอย่างสุภาพว่า ‘เยวี่ยกง’ (乐工 แปลตรงตัวว่า เพลง/ดนตรี + แรงงาน) หรือเรียกอย่างไม่อ้อมค้อมว่า ‘เยวี่ยจี้’ หรือ ‘นางดนตรี’ (乐妓) ซึ่งเป็นคำเรียกรวมของสตรีที่อาศัยร้องรำทำเพลงยังชีพ ในสมัยโบราณจัดเป็นนางคณิกาประเภทหนึ่ง แล้วทำไมในละครจึงเรียกเป็น ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’? Storyฯ ไม่อาจคาดเดาความคิดของผู้แปลซับไทยในละคร แต่ในภาษาจีนสถานะนี้ผูกติดกับสิ่งที่เรียกว่า ‘เยวี่ยจี๋’ (乐籍 แปลตรงตัวว่า เพลง/ดนตรี + ทะเบียน) ซึ่ง Storyฯ ไม่เห็นมีแปลไว้ในซับไทยของละคร ‘เยวี่ยจี๋’ หรือทะเบียนนักดนตรีนี้คืออะไร? เพื่อนเพจที่เป็นแฟนนิยายและละครจีนโบราณอาจเคยเห็นฉากที่ขุนนางใหญ่ถูกลงทัณฑ์ทั้งบ้าน ทรัพย์สินถูกยึด คนในบ้านถูกจับไปเป็นทาส เยวี่ยจี๋นี้เป็นทะเบียนชื่อของลูกเมียของขุนนางที่ถูกลงทัณฑ์สถานหนัก พวกเขาเหล่านี้ถูกขึ้นชื่อเป็นทาสรับใช้ของหลวง มีหน้าที่ร้องรำทำเพลงปรนนิบัติขุนนางและแขกเหรื่อในงานรื่นเริง โดยได้รับเงินหลวง เขาเหล่านี้เมื่อโดนเรียกตัวต้องไปปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สามารถปฏิเสธได้ โดยมีหน้าที่แตกต่างกันไปและบางคนอาจถูกบังคับให้เป็นนางบำเรอกาม การลงทัณฑ์โดยขึ้นทะเบียนเยวี่ยจี๋นี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ค.ศ. 386-535) ในสมัยถัง-ซ่ง ‘เยวี่ยจี๋’ อยู่ภายใต้การบริหารงานของ ‘เจียวฟาง’/教坊 หรือที่ในละครแปลว่าสำนักการสังคีต คนที่มีชื่ออยู่ในเยวี่ยจี๋ถือว่ามีโทษติดตัวไม่มีอิสระ มีสถานะในสังคมต่ำต้อยเยี่ยงทาส จัดเป็น ‘ชนชั้นต่ำ’ หรือ ‘เจี้ยนหมิน’(贱民) ประเภทหนึ่ง (หมายเหตุ บ่าว ทาสและนักโทษจัดอยู่ในกลุ่มชนชั้นต่ำนี้) เมื่อมีลูก ลูกก็จะถูกบันทึกชื่อเข้าเยวี่ยจี๋ด้วย เรียกได้ว่าเป็นทาสที่มีโทษติดตัวไปทุกรุ่นเว้นแต่จะได้รับการเปลี่ยนสถานะ การเปลี่ยนสถานะทำได้สองแบบ แบบแรกคือการได้รับการอนุมัติจากทางการให้เปลี่ยนสถานะเป็นคนธรรมดาหรือที่เรียกว่า ‘เหลียงหมิน’/良民 (ตัวอย่างเช่นนางเอกในละครนี้) ซึ่งทำได้ไม่ง่าย และแบบที่สองคือมีพ่อค้ารับเป็นภรรยาหรือมีขุนนางรับเป็นอนุภรรยา ซึ่งจะมีการถอดถอนชื่อออกจากเยวี่ยจี๋ เมื่อคนเป็นแม่ได้ปรับสถานะแล้วบุตรจึงจะเป็นไทได้ (แต่อย่างที่ Storyฯ เคยเล่าเกี่ยวกับเรื่องประเภทของอนุภรรยา คนที่เคยมีโทษติดตัวหรือเป็นลูกนักโทษจะมีสถานะเป็นอนุชั้นต่ำ สามารถยกให้กันฟรีๆ หรือขายออกไปเมื่อไหร่ก็ได้ แต่อย่างน้อยลูกก็จะได้รับการยกย่องในระดับหนึ่งตามสถานะของบิดา) สรุปสั้นๆ ได้ว่า นางดนตรีที่มีชื่ออยู่ในเยวี่ยจี๋จัดเป็นชนชั้นต่ำที่เรียกว่า ‘เจี้ยนหมิน’ ไม่มีอิสระและไม่มีสิทธิใดๆ ทางสังคม แต่หากโชคดีก็จะได้เปลี่ยนสถานะกลับมาเป็นชนชั้นธรรมดาหรือที่เรียกว่า ‘เหลียงหมิน’ ต่อมาในรัชสมัยขององค์ยงเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1723) ทรงมีพระราชโองการให้ทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนเจี้ยนหมินทุกชนิด (รวมถึงเยวี่ยจี๋ด้วย) ได้รับการปรับสถานะเป็นเหลียงหมิน ถือว่าได้เป็นไทแก่ตัว ขออภัยที่มีศัพท์จีนหลายคำไปหน่อย แต่ Storyฯ หวังว่าบทความนี้จะให้ความเข้าใจมากขึ้นถึงบริบทของชนชั้นทางสังคมที่เพื่อนเพจมักเห็นในละครและนิยายจีนโบราณหลายเรื่องค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://read01.com/zh-sg/DR3eMEa.html#.YxlwKnZBy5d https://min.news/zh-sg/culture/5b42ca6d45e1a79dcddf84da55d9dce2.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/%E4%B9%90%E7%B1%8D/10852116 https://www.sohu.com/a/222355523_99902358 https://www.163.com/dy/article/HACKL2VE0514R9P4.html #สามบุปผา #นางรับใช้ในวงดนตรี #เยวี่ยจี๋ #เจี้ยนหมิน #เหลียงหมิน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 309 มุมมอง 0 รีวิว
  • ..พวกมันสื่อสารบอกเรานานแล้วในการจะเริ่มลงมือทำจริงๆกับเรา.
    ..วัคซีนที่ๆคนไทยเรากว่า60ล้านคนฉีดไป รวมถึงต่างด้าวในไทย ต่างชาติเถื่อนๆอีกในไทยกว่า10-20ล้านคนอีก.ที่จึกๆไป ต่างมีเชื้อผีดิบนี้นะและพวกมันพร้อมถูกกระตุ้นจากการกดปุ่มของจริงที่ใครมันควบคุมคลื่น5Gนั้น.

    MSNBC: 'เมืองใดจะอยู่รอดจากเหตุการณ์ซอมบี้ครองโลก?'

    นักวิจัยได้จัดทำรายชื่อสถานที่ที่เลวร้ายที่สุดสำหรับการใช้ชีวิตในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ซอมบี้ครองโลก
    วันที่ออกอากาศ: 3 พฤศจิกายน 2015 ทาง MSNBC

    ในปี 2021 มีการเผยแพร่คู่มือการเตรียมตัวรับมือซอมบี้บนเว็บไซต์ของ CDC ซึ่งประกอบด้วย 'บล็อกการเตรียมตัวรับมือซอมบี้' 'การเตรียมตัวรับมือซอมบี้สำหรับนักการศึกษา' 'โปสเตอร์การเตรียมตัวรับมือซอมบี้' 'นิยายภาพการเตรียมตัวรับมือซอมบี้' แต่เนื้อหาเหล่านี้ถูกลบออกไปแล้ว เป็นเรื่องแปลก...

    https://www.cdc.gov/cpr/zombie/index.htm

    • CDC เสนอคำแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมตัวรับมือซอมบี้ในกรณีที่ Nostradamus พูดถูก

    https://nypost.com/2021/03/04/cdc-has-zombie-preparedness-tips-in-case-nostradamus-is-right/

    • นิยายภาพการเตรียมตัวรับมือซอมบี้ของ CDC

    🔗 วิดีโอ: Rumble

    https://rumble.com/v1cwtbp-msnbc-what-cities-will-survive-the-zombie-apocalypse.html
    ..พวกมันสื่อสารบอกเรานานแล้วในการจะเริ่มลงมือทำจริงๆกับเรา. ..วัคซีนที่ๆคนไทยเรากว่า60ล้านคนฉีดไป รวมถึงต่างด้าวในไทย ต่างชาติเถื่อนๆอีกในไทยกว่า10-20ล้านคนอีก.ที่จึกๆไป ต่างมีเชื้อผีดิบนี้นะและพวกมันพร้อมถูกกระตุ้นจากการกดปุ่มของจริงที่ใครมันควบคุมคลื่น5Gนั้น. MSNBC: 'เมืองใดจะอยู่รอดจากเหตุการณ์ซอมบี้ครองโลก?' นักวิจัยได้จัดทำรายชื่อสถานที่ที่เลวร้ายที่สุดสำหรับการใช้ชีวิตในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ซอมบี้ครองโลก วันที่ออกอากาศ: 3 พฤศจิกายน 2015 ทาง MSNBC ในปี 2021 มีการเผยแพร่คู่มือการเตรียมตัวรับมือซอมบี้บนเว็บไซต์ของ CDC ซึ่งประกอบด้วย 'บล็อกการเตรียมตัวรับมือซอมบี้' 'การเตรียมตัวรับมือซอมบี้สำหรับนักการศึกษา' 'โปสเตอร์การเตรียมตัวรับมือซอมบี้' 'นิยายภาพการเตรียมตัวรับมือซอมบี้' แต่เนื้อหาเหล่านี้ถูกลบออกไปแล้ว เป็นเรื่องแปลก... https://www.cdc.gov/cpr/zombie/index.htm • CDC เสนอคำแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมตัวรับมือซอมบี้ในกรณีที่ Nostradamus พูดถูก https://nypost.com/2021/03/04/cdc-has-zombie-preparedness-tips-in-case-nostradamus-is-right/ • นิยายภาพการเตรียมตัวรับมือซอมบี้ของ CDC 🔗 วิดีโอ: Rumble https://rumble.com/v1cwtbp-msnbc-what-cities-will-survive-the-zombie-apocalypse.html
    Page Not Found | CDC
    Page Not Found | CDC
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 260 มุมมอง 0 รีวิว
  • เพื่อนเพจคอนิยายกับละครจีนคงมักได้ยินการเปรียบเปรยถึงความรักด้วยดอกท้อหรือดอกบ๊วย เวลาเห็นฉากป่าท้อในละครจะรู้สึกว่ามันโรแมนติกมาก

    วันนี้จะมาคุยถึงสัญลักษณ์อีกอย่างของดอกท้อ ยกตัวอย่างมาจากละครเรื่อง <นิติเวชสาวยอดนักสืบ> ที่พระนางสืบตามรอยของตัวละครที่ชื่อว่า จูชี พบว่าเขาตายแล้วด้วยรอยยิ้มที่เหมือนกับว่าได้รับการปลดปล่อย และในที่พักของเขามีแต่รูปภาพของดอกท้อ พระเอกบรรยายไว้ในละครคร่าวๆ ว่า... ภาพวาดป่าท้อ ห่างจากริมฝั่งเพียงนับร้อยก้าว กลิ่นหอมกระจาย... ทำให้นางเอกนึกถึง ‘บันทึกดินแดนดอกท้อ’ (เถาฮวาหยวนจี้/桃花源记)
    (หมายเหตุ คำว่า ‘หยวน’โดยปกติแปลว่าต้นธารหรือต้นตอ แต่ในที่นี้ Storyฯ ใช้คำว่า ‘ดินแดน’ตามบริบท คล้ายกับที่เราเรียก ‘เฉ่าหยวน’ ว่าดินแดนแห่งทุ่งหญ้า)

    อะไรคือดินแดนดอกท้อ? ความนัยอยู่ในเถาฮวาหยวนจี้นี้ ซึ่งเป็นวรรณกรรมสมัยจิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420) ประพันธ์ขึ้นโดยเถายวนหมิง กวีและนักประพันธ์ชื่อดังในยุคนั้น

    เนื้อความสรุปโดยสั้นว่า ชายหาปลาคนหนึ่งล่องเรือหลงเข้าไปในหุบเขา ริมฝั่งเป็นป่าท้อ ลึกเข้าไปในป่าท้ออีกมีชาวบ้านอาศัยอยู่ ชาวบ้านให้การต้อนรับชายหาปลาอย่างดีพูดคุยจนจับใจความได้ว่าพวกเขาเป็นชาวฉินที่หนีสงครามมาหลบอยู่ในนี้ อยู่มานานไม่ได้ออกไปพบโลกภายนอกอีกเลย ชายหาปลาพบว่าที่นี่อยู่กันอย่างสุขสงบไม่แก่งแย่งชิงดีไม่คิดร้ายต่อกัน ชาวบ้านทำมาหากินกันอย่างขยันขันแข็ง ดูทุกคนมีความสุข เมื่อได้เวลาจากลา ชายหาปลาถูกกำชับว่าอย่าเอาสถานที่ลับนี้ไปบอกใคร แต่ชายหาปลากลับไปก็เล่าให้ผู้ปกครองเขตฟัง ผู้ปกครองเขตจัดกองกำลังทหารมาตามหา แต่สุดท้ายกลับหาสถานที่นี้ไม่พบ กลายเป็นดินแดนแห่งความสมบูรณ์ในตำนาน

    เรื่องนี้เป็นบทความที่ปัจจุบันยังเป็นผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในหลักสูตรการเรียนการสอนด้านวรรณกรรมของจีน ศึกษาทั้งในแง่ของความสละสลวยของภาษาและในแง่ของการที่ ‘เถาฮวาหยวน’ เป็นตัวแทนของดินแดนหรือสังคมในอุดมคติที่มนุษย์แสวงหา หรือที่ฝรั่งเรียกว่า Utopia และวรรณกรรมนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจของภาพป่าท้ออีกมากมายจากจิตรกรเลื่องชื่อในหลายยุคทุกสมัย

    ดังนั้น ในความโรแมนติกของดอกท้อที่เราเห็นในนิยายหรือละครจีน ในบางบริบทไม่ได้หมายถึงรักลึกล้ำ หากแต่หมายถึงความเพอร์เฟ็คหรือสมบูรณ์แบบนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.hk01.com/開罐/661940/大唐女法醫-日本爆紅-男二蘇伏人氣反超男主-這對cp最多人撐
    https://www.jianshu.com/p/dc818c821a0a
    http://www.zgyythy.com/thy/sdmj_show.aspx?wid=46&aid=257
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/桃花源记/105
    https://www.sohu.com/a/406770277_100034039
    https://www.kekeshici.com/zuozhe/taoyuanming/jianshang/57401.html
    http://www.gushicimingju.com/gushi/wenyanwen/520.html

    #นิติเวชสาวยอดนักสืบ #ป่าท้อ #ซื่อไว่เถาหยวน #เถาฮวาหยวน #ยูโทเปีย
    เพื่อนเพจคอนิยายกับละครจีนคงมักได้ยินการเปรียบเปรยถึงความรักด้วยดอกท้อหรือดอกบ๊วย เวลาเห็นฉากป่าท้อในละครจะรู้สึกว่ามันโรแมนติกมาก วันนี้จะมาคุยถึงสัญลักษณ์อีกอย่างของดอกท้อ ยกตัวอย่างมาจากละครเรื่อง <นิติเวชสาวยอดนักสืบ> ที่พระนางสืบตามรอยของตัวละครที่ชื่อว่า จูชี พบว่าเขาตายแล้วด้วยรอยยิ้มที่เหมือนกับว่าได้รับการปลดปล่อย และในที่พักของเขามีแต่รูปภาพของดอกท้อ พระเอกบรรยายไว้ในละครคร่าวๆ ว่า... ภาพวาดป่าท้อ ห่างจากริมฝั่งเพียงนับร้อยก้าว กลิ่นหอมกระจาย... ทำให้นางเอกนึกถึง ‘บันทึกดินแดนดอกท้อ’ (เถาฮวาหยวนจี้/桃花源记) (หมายเหตุ คำว่า ‘หยวน’โดยปกติแปลว่าต้นธารหรือต้นตอ แต่ในที่นี้ Storyฯ ใช้คำว่า ‘ดินแดน’ตามบริบท คล้ายกับที่เราเรียก ‘เฉ่าหยวน’ ว่าดินแดนแห่งทุ่งหญ้า) อะไรคือดินแดนดอกท้อ? ความนัยอยู่ในเถาฮวาหยวนจี้นี้ ซึ่งเป็นวรรณกรรมสมัยจิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420) ประพันธ์ขึ้นโดยเถายวนหมิง กวีและนักประพันธ์ชื่อดังในยุคนั้น เนื้อความสรุปโดยสั้นว่า ชายหาปลาคนหนึ่งล่องเรือหลงเข้าไปในหุบเขา ริมฝั่งเป็นป่าท้อ ลึกเข้าไปในป่าท้ออีกมีชาวบ้านอาศัยอยู่ ชาวบ้านให้การต้อนรับชายหาปลาอย่างดีพูดคุยจนจับใจความได้ว่าพวกเขาเป็นชาวฉินที่หนีสงครามมาหลบอยู่ในนี้ อยู่มานานไม่ได้ออกไปพบโลกภายนอกอีกเลย ชายหาปลาพบว่าที่นี่อยู่กันอย่างสุขสงบไม่แก่งแย่งชิงดีไม่คิดร้ายต่อกัน ชาวบ้านทำมาหากินกันอย่างขยันขันแข็ง ดูทุกคนมีความสุข เมื่อได้เวลาจากลา ชายหาปลาถูกกำชับว่าอย่าเอาสถานที่ลับนี้ไปบอกใคร แต่ชายหาปลากลับไปก็เล่าให้ผู้ปกครองเขตฟัง ผู้ปกครองเขตจัดกองกำลังทหารมาตามหา แต่สุดท้ายกลับหาสถานที่นี้ไม่พบ กลายเป็นดินแดนแห่งความสมบูรณ์ในตำนาน เรื่องนี้เป็นบทความที่ปัจจุบันยังเป็นผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในหลักสูตรการเรียนการสอนด้านวรรณกรรมของจีน ศึกษาทั้งในแง่ของความสละสลวยของภาษาและในแง่ของการที่ ‘เถาฮวาหยวน’ เป็นตัวแทนของดินแดนหรือสังคมในอุดมคติที่มนุษย์แสวงหา หรือที่ฝรั่งเรียกว่า Utopia และวรรณกรรมนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจของภาพป่าท้ออีกมากมายจากจิตรกรเลื่องชื่อในหลายยุคทุกสมัย ดังนั้น ในความโรแมนติกของดอกท้อที่เราเห็นในนิยายหรือละครจีน ในบางบริบทไม่ได้หมายถึงรักลึกล้ำ หากแต่หมายถึงความเพอร์เฟ็คหรือสมบูรณ์แบบนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.hk01.com/開罐/661940/大唐女法醫-日本爆紅-男二蘇伏人氣反超男主-這對cp最多人撐 https://www.jianshu.com/p/dc818c821a0a http://www.zgyythy.com/thy/sdmj_show.aspx?wid=46&aid=257 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/桃花源记/105 https://www.sohu.com/a/406770277_100034039 https://www.kekeshici.com/zuozhe/taoyuanming/jianshang/57401.html http://www.gushicimingju.com/gushi/wenyanwen/520.html #นิติเวชสาวยอดนักสืบ #ป่าท้อ #ซื่อไว่เถาหยวน #เถาฮวาหยวน #ยูโทเปีย
    WWW.HK01.COM
    香港01|hk01.com 倡議型媒體
    香港01是一家互聯網企業,核心業務為倡議型媒體,主要傳播平台是手機應用程式和網站。企業研發各種互動數碼平台,開發由知識與科技帶動的多元化生活。
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 383 มุมมอง 0 รีวิว
  • **เจาะลึกจิตวิญญาณและอารมณ์ของตัวละครหลัก**
    (ในนิยาย *The Seven Heirs: Bonds of the Compass*)

    ---

    ### **1. หลง เจี้ยน (จีน - ทิศเหนือ)**
    **จิตวิญญาณ :** *ผู้แบกรักเก่าในร่างนักรบ*
    - **ความเจ็บปวดซ่อนเร้น :** แผลเป็นรูปเกล็ดงูบนแก้มไม่ใช่แค่ร่องรอยคำสาป แต่เป็นสัญลักษณ์แห่ง "ความอัปยศ" ที่ปล่อยให้หยวนเยี่ยนต้องเป็นอมตะเพียงลำพัง
    - **การแสดงออก :** สื่อสารผ่านการกระทำมากกว่าคำพูด เวลาโกรธจะจัดระเบียบเข็มปักจักรวาลให้เรียงตัวเป็นรูปวงแหวน
    - **ความปรารถนาลึกๆ :** อยากใช้ชีวิตธรรมดาเป็นช่างซ่อมนาฬิกาในตรอกเล็กๆ ของปักกิ่ง โดยไม่ต้องสวมมงกุฎแห่งความรับผิดชอบ
    - **จุดแตกหักทางอารมณ์ :** การพบว่าหยวนเยี่ยนเลือกถูกสาปเพื่อให้เขาได้มีชีวิตต่อ...แทนที่จะปล่อยให้เขาตายตาม

    ---

    ### **2. ทาเคดะ ซากุระ (ญี่ปุ่น - ทิศตะวันออก)**
    **จิตวิญญาณ :** *ศิลปินผู้วาดภาพด้วยวิญญาณตนเอง*
    - **ความเปราะบาง :** รู้สึกเหมือนเป็น "ภาพวาดที่ยังไม่เสร็จ" เปรียบเทียบตัวเองกับพี่ชายที่สมบูรณ์แบบเสมอ
    - **พิธีกรรมส่วนตัว :** แอบเก็บเส้นผมของทุกคนที่วาดภาพไว้ในสมุดสีน้ำ เพื่อรู้สึกว่ายังควบคุมบางสิ่งได้
    - **ความฝันลับ :** อยากวาดภาพที่ไม่มีคำสาปซ่อนอยู่ แค่ภาพทุ่งซากุระกับพี่ชายที่ยิ้มได้อย่างอิสระ
    - **การเผชิญความจริง :** วันที่ต้องใช้พู่กันจุ่มเลือดตัวเองเพื่อวาดทางรอดให้ทุกคน

    ---

    ### **3. วีร ราชปุต (อินเดีย - ทิศตะวันตก)**
    **จิตวิญญาณ :** *มหาเศรษฐีผู้ห่อหุ้มหัวใจด้วยเงินตรา*
    - **ความกลัวที่ซ่อนอยู่ :** กลัวความเงียบ จึงใช้เสียงเพลง/การเจรจาเติมเต็มชีวิตตลอดเวลา
    - **พฤติกรรมย้ำคิด :** นับเม็ดพลอยในสร้อย 108 เม็ดทุกเช้า เพื่อยืนยันว่ายัง "เป็นปกติ"
    - **ความขัดแย้ง :** เกลียดความอ่อนแอ แต่แอบเก็บยาพิษที่อานยาทำไว้...ในกรณีที่ต้องฆ่าตัวตาย
    - **จุดเปลี่ยน :** การพบว่าแม่แท้ๆ ยังมีชีวิตอยู่ในร่างของศัตรู

    ---

    ### **4. คิม จีอู (เกาหลีใต้ - ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)**
    **จิตวิญญาณ :** *นกในกรงทองแห่งเสียงเพลง*
    - **ความทุกข์ระทม :** ได้ยินเสียงกระซิบจากไมโครโฟนเก่าๆ ที่พี่ชายให้มา เสียงนั้นบอกให้เธอ "ร้องให้ดังกว่านี้...แม้ต้องแลกด้วยชีวิต"
    - **การต่อรองกับชะตา :** ใช้ลิปสติกสีเลือดเขียนคำสาปบนกระจกห้องน้ำทุกครั้งก่อนขึ้นเวที
    - **ความฝันที่ถูกกดทับ :** อยากร้องเพลงกล่อมเด็กในหมู่บ้านเล็กๆ โดยไม่ต้องมีเอฟเฟกต์พิเศษ
    - **ความสัมพันธ์กับแทฮยอน :** รู้สึกเหมือนเป็น "นกขมิ้นในกรงทอง" ที่พี่ชายสวยงาม แต่กรงนั้นทำจากความผิดพลาดในอดีตของเขา

    ---

    ### **5. ณัฐ ศรีสุวรรณ (ไทย - ทิศใต้)**
    **จิตวิญญาณ :** *นักรบผู้สวมหน้ากากแห่งรอยยิ้ม*
    - **ความเจ็บปวดที่ซ่อนใต้รอยสัก :** สักคำว่า "อิสระ" ซ่อนไว้ใต้ลายนาคราช แต่รู้ตัวว่าตนเองถูกพันธนาการโดยความรักที่มีต่อน้องสาว
    - **พิธีกรรม :** ทุบกระจกในห้องฝึกมวยทุกครั้งที่รู้สึกอ่อนแอ
    - **ความฝันลึกๆ :** อยากพาพิมพ์ลดาไปเที่ยวทะเล โดยไม่ต้องคิดเรื่องคำสาปหรือพิธีกรรม
    - **จุดพลิกผัน :** วันที่พิมพ์ลดาเลือกเต้นระบำหน้ากากครั้งสุดท้าย...โดยไม่บอกเขา

    ---

    ### **6. เดีย วิชายา (อินโดนีเซีย - ทิศตะวันออกเฉียงใต้)**
    **จิตวิญญาณ :** *ราชินีเครื่องเทศผู้หลงกลิ่นอดีต*
    - **ความขัดแย้ง :** เกลียดเครื่องเทศเพราะถูกพ่อฝึกจนจมูกเสื่อม แต่กลับใช้มันเป็นอาวุธ
    - **ความทรงจำสุขสุด :** กลิ่นดินหลังฝนตกในวันที่พี่ชายพาไปตั้งแคมป์โดยไม่บอกแม่
    - **ความกลัว :** กลัวการถูกทิ้ง จึงแสร้งทำตัวแข็งกร้าวตลอดเวลา
    - **สัญลักษณ์ :** แก้วกาแฟร้าวที่พี่ชายให้...เก็บไว้เป็นเครื่องเตือนใจว่า "ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ"

    ---

    ### **7. เหงียน ลาน (เวียดนาม - ทิศตะวันตกเฉียงใต้)**
    **จิตวิญญาณ :** *เชฟผู้ปรุงรสชาติแห่งความทรงจำ*
    - **ความสามารถพิเศษ :** รู้รสชาติอารมณ์คนผ่านอาหาร แต่ไม่สามารถลิ้มรสอาหารที่ตัวเองปรุงได้
    - **พิธีกรรม :** แอบชิมน้ำตาตัวเองเวลาปรุงอาหารให้คนสำคัญ
    - **ความฝันที่ถูกเก็บไว้ :** อยากเปิดร้านอาหารเล็กๆ ที่เสิร์ฟแต่เมนูแห่งความสุข โดยไม่มีสูตรลับของตระกูล
    - **ความสัมพันธ์กับล็อง :** มองว่าพี่ชายคือ "สมุดบันทึกที่มีชีวิต" ที่เธอไม่อยากให้เขียนจบ
    **เจาะลึกจิตวิญญาณและอารมณ์ของตัวละครหลัก** (ในนิยาย *The Seven Heirs: Bonds of the Compass*) --- ### **1. หลง เจี้ยน (จีน - ทิศเหนือ)** **จิตวิญญาณ :** *ผู้แบกรักเก่าในร่างนักรบ* - **ความเจ็บปวดซ่อนเร้น :** แผลเป็นรูปเกล็ดงูบนแก้มไม่ใช่แค่ร่องรอยคำสาป แต่เป็นสัญลักษณ์แห่ง "ความอัปยศ" ที่ปล่อยให้หยวนเยี่ยนต้องเป็นอมตะเพียงลำพัง - **การแสดงออก :** สื่อสารผ่านการกระทำมากกว่าคำพูด เวลาโกรธจะจัดระเบียบเข็มปักจักรวาลให้เรียงตัวเป็นรูปวงแหวน - **ความปรารถนาลึกๆ :** อยากใช้ชีวิตธรรมดาเป็นช่างซ่อมนาฬิกาในตรอกเล็กๆ ของปักกิ่ง โดยไม่ต้องสวมมงกุฎแห่งความรับผิดชอบ - **จุดแตกหักทางอารมณ์ :** การพบว่าหยวนเยี่ยนเลือกถูกสาปเพื่อให้เขาได้มีชีวิตต่อ...แทนที่จะปล่อยให้เขาตายตาม --- ### **2. ทาเคดะ ซากุระ (ญี่ปุ่น - ทิศตะวันออก)** **จิตวิญญาณ :** *ศิลปินผู้วาดภาพด้วยวิญญาณตนเอง* - **ความเปราะบาง :** รู้สึกเหมือนเป็น "ภาพวาดที่ยังไม่เสร็จ" เปรียบเทียบตัวเองกับพี่ชายที่สมบูรณ์แบบเสมอ - **พิธีกรรมส่วนตัว :** แอบเก็บเส้นผมของทุกคนที่วาดภาพไว้ในสมุดสีน้ำ เพื่อรู้สึกว่ายังควบคุมบางสิ่งได้ - **ความฝันลับ :** อยากวาดภาพที่ไม่มีคำสาปซ่อนอยู่ แค่ภาพทุ่งซากุระกับพี่ชายที่ยิ้มได้อย่างอิสระ - **การเผชิญความจริง :** วันที่ต้องใช้พู่กันจุ่มเลือดตัวเองเพื่อวาดทางรอดให้ทุกคน --- ### **3. วีร ราชปุต (อินเดีย - ทิศตะวันตก)** **จิตวิญญาณ :** *มหาเศรษฐีผู้ห่อหุ้มหัวใจด้วยเงินตรา* - **ความกลัวที่ซ่อนอยู่ :** กลัวความเงียบ จึงใช้เสียงเพลง/การเจรจาเติมเต็มชีวิตตลอดเวลา - **พฤติกรรมย้ำคิด :** นับเม็ดพลอยในสร้อย 108 เม็ดทุกเช้า เพื่อยืนยันว่ายัง "เป็นปกติ" - **ความขัดแย้ง :** เกลียดความอ่อนแอ แต่แอบเก็บยาพิษที่อานยาทำไว้...ในกรณีที่ต้องฆ่าตัวตาย - **จุดเปลี่ยน :** การพบว่าแม่แท้ๆ ยังมีชีวิตอยู่ในร่างของศัตรู --- ### **4. คิม จีอู (เกาหลีใต้ - ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)** **จิตวิญญาณ :** *นกในกรงทองแห่งเสียงเพลง* - **ความทุกข์ระทม :** ได้ยินเสียงกระซิบจากไมโครโฟนเก่าๆ ที่พี่ชายให้มา เสียงนั้นบอกให้เธอ "ร้องให้ดังกว่านี้...แม้ต้องแลกด้วยชีวิต" - **การต่อรองกับชะตา :** ใช้ลิปสติกสีเลือดเขียนคำสาปบนกระจกห้องน้ำทุกครั้งก่อนขึ้นเวที - **ความฝันที่ถูกกดทับ :** อยากร้องเพลงกล่อมเด็กในหมู่บ้านเล็กๆ โดยไม่ต้องมีเอฟเฟกต์พิเศษ - **ความสัมพันธ์กับแทฮยอน :** รู้สึกเหมือนเป็น "นกขมิ้นในกรงทอง" ที่พี่ชายสวยงาม แต่กรงนั้นทำจากความผิดพลาดในอดีตของเขา --- ### **5. ณัฐ ศรีสุวรรณ (ไทย - ทิศใต้)** **จิตวิญญาณ :** *นักรบผู้สวมหน้ากากแห่งรอยยิ้ม* - **ความเจ็บปวดที่ซ่อนใต้รอยสัก :** สักคำว่า "อิสระ" ซ่อนไว้ใต้ลายนาคราช แต่รู้ตัวว่าตนเองถูกพันธนาการโดยความรักที่มีต่อน้องสาว - **พิธีกรรม :** ทุบกระจกในห้องฝึกมวยทุกครั้งที่รู้สึกอ่อนแอ - **ความฝันลึกๆ :** อยากพาพิมพ์ลดาไปเที่ยวทะเล โดยไม่ต้องคิดเรื่องคำสาปหรือพิธีกรรม - **จุดพลิกผัน :** วันที่พิมพ์ลดาเลือกเต้นระบำหน้ากากครั้งสุดท้าย...โดยไม่บอกเขา --- ### **6. เดีย วิชายา (อินโดนีเซีย - ทิศตะวันออกเฉียงใต้)** **จิตวิญญาณ :** *ราชินีเครื่องเทศผู้หลงกลิ่นอดีต* - **ความขัดแย้ง :** เกลียดเครื่องเทศเพราะถูกพ่อฝึกจนจมูกเสื่อม แต่กลับใช้มันเป็นอาวุธ - **ความทรงจำสุขสุด :** กลิ่นดินหลังฝนตกในวันที่พี่ชายพาไปตั้งแคมป์โดยไม่บอกแม่ - **ความกลัว :** กลัวการถูกทิ้ง จึงแสร้งทำตัวแข็งกร้าวตลอดเวลา - **สัญลักษณ์ :** แก้วกาแฟร้าวที่พี่ชายให้...เก็บไว้เป็นเครื่องเตือนใจว่า "ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ" --- ### **7. เหงียน ลาน (เวียดนาม - ทิศตะวันตกเฉียงใต้)** **จิตวิญญาณ :** *เชฟผู้ปรุงรสชาติแห่งความทรงจำ* - **ความสามารถพิเศษ :** รู้รสชาติอารมณ์คนผ่านอาหาร แต่ไม่สามารถลิ้มรสอาหารที่ตัวเองปรุงได้ - **พิธีกรรม :** แอบชิมน้ำตาตัวเองเวลาปรุงอาหารให้คนสำคัญ - **ความฝันที่ถูกเก็บไว้ :** อยากเปิดร้านอาหารเล็กๆ ที่เสิร์ฟแต่เมนูแห่งความสุข โดยไม่มีสูตรลับของตระกูล - **ความสัมพันธ์กับล็อง :** มองว่าพี่ชายคือ "สมุดบันทึกที่มีชีวิต" ที่เธอไม่อยากให้เขียนจบ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 522 มุมมอง 0 รีวิว
  • **นิยายเรื่อง *The Seven Heirs: Bonds of the Compass*

    ### **Prologue: เงามรณะบนพิธีกรรม
    **สถานที่ : วิหารลับใต้ภูเขาหลวงพระบาง, ลาว**
    **เวลา : 1632 ปีก่อน**

    หมอกควันพิษสีม่วงคลุ้งรอบแท่นบูชาหิน บรรพบุรุษแห่ง 7 ตระกูลยืนเป็นวงกลมรอบ **"ดวงแก้วจตุรภุช"** แสงแก้วสะท้อนภาพหญิงสาวในชุดขาวถูกมัดไว้กลางแท่น—เธอคือ **หยวนเยี่ยน** หญิงร่างวิญญาณอมตะ

    **"เลือดบริสุทธิ์ของเธอจะผนึกคำสาปให้เราชั่วนิรันดร์!"** หัวหน้าตระกูลหลงร้องประกาศ แต่แล้วดวงแก้วก็ระเบิดเป็นแสงวาบวับ ภาพสุดท้ายที่ทุกคนเห็นคือหยวนเยี่ยนยิ้มอย่างเศร้าสร้อย ก่อนวิญญาณทั้งหมดถูกดูดเข้าไปในประตูมิติ...

    ---

    ### **ตอนที่ 1 : เสี้ยวผลึกแก้วแห่งโชคชะตา**
    **สถานที่ : ปักกิ่ง, จีน**
    **เวลา : ปัจจุบัน - 3 วันหลังพิธีล่มสลาย**

    **หลงเหมย** ฝันเห็นแม่ตาบอดส่งเสียงร้องในความมืด เธอตื่นขึ้นมาในห้องแล็บใต้ดินของตระกูลหลง ที่แขนขวาถูกติดตั้งท่อส่งเลือดสีม่วงเชื่อมกับ **หลงเจี้ยน**

    **"เลือดของฉันมีพิษ...พี่จะตายเพราะช่วยฉัน!"** เหมยพยายามดึงสายยางออก
    เจี้ยนจับมือเธอไว้แน่น : **"นี่คือคำขอโทษ...สำหรับเรื่องที่พี่ทำกับหยวนเยี่ยน"**

    บนจอคอมพิวเตอร์ ภาพแผนที่ 7 ทิศเริ่มเชื่อมโยงกัน แสดงตำแหน่ง **"ผอบศิลาทิศเหนือ"** ซ่อนอยู่ใน **ห้องอ่านหนังสือต้องห้าม** ของพระราชวังโบราณ แต่แล้วสัญญาณก็ถูกขัดจังหวะด้วยข้อความจาก **อสรพิษดำ*(blakeMemba)
    *"ม้ามืดคือผู้อยู่เบื้องหลังทุกอย่าง...และเธอไว้ใจเขา!"*

    ---

    ### **ตอนที่ 2 : ดาบสลักรักที่เกียวโต**
    **สถานที่ : ปราสาทนินจาลับ, เกียวโต**
    **เวลา : ฤดูร้อนคืนจันทร์เสี้ยว**

    **ทาเคดะ ฮารุโตะ** ฝึกดาบกับเงาสีแดงที่ปรากฏในกระจก ทุกครั้งที่ฟันถูกต้อง เงาจะกลายเป็นภาพ **ซากุระ** น้องสาวตัวเองที่ถูกแทงกลางใจ

    **"หยุดเล่นละครเสียที!"** ซากุระกระโจนเข้ามาหยุดพี่ชาย พร้อมชูสมุดภาพวาดโบราณที่เพิ่งขโมยมาได้ : **"ดูสิ...ราชปุตกับทาเคดะเคยเป็นพันธมิตร!"**

    ภาพในสมุดแสดงพิธี **"สละสายเลือด"** เมื่อ 500 ปีก่อน หญิงชาวอินเดียในชุดกิโมโนกำลังตัดเส้นเลือดบนแขนสองเด็กชาย—ฮารุโตะจำได้ทันทีว่านั้นคือแม่ของเขา!

    ทันใดนั้น กระจกทุกบานในห้องแตกเป็นเสี่ยงๆ **วีร ราชปุต** ปรากฏตัวพร้อมปืนจ่อมาที่หัวฮารุโตะ :
    *"ยอมแพ้...หรืออยากรู้ความจริงว่าทำไมเลือดเราจึงดึงดูดกัน?"*

    ---

    ### **ตอนที่ 3 : ไฟใต้ธุลีวงเวียน**
    **สถานที่ : ตลาดเครื่องเทศมุมไบ, อินเดีย**
    **เวลา : ตอนเที่ยงวันที่แดดร้อนแรงที่สุด**

    **เดีย วิชายา** ซ่อนตัวอยู่หลังรถบรรทุกเครื่องเทศ ตามหาพยานหลักฐานที่เชื่อมโยง **อานยา** น้องสาวกับองค์กรอสรพิษดำ(blakeMemba) เธอใช้กล้องส่องเห็น **อานยา** กำลังเจาะห้องนิรภัยในตึกระฟ้า

    **"นั่นไม่ใช่น้องฉัน..."** เดียกระซิบด้วยความหวาดหวั่นเมื่อเห็นอานยาฉีดสารสีดำเข้าหลอดเลือดตัวเอง ก่อนที่ร่างเธอจะบิดเบี้ยวเหมือนงูยักษ์

    เดียรีบส่งข้อมูลให้ **อาริ** พี่ชายในบาหลี แต่กลับถูกจับกุมโดย **เหงียนล็อง** สถาปนิกหนุ่มผู้ถือพิมพ์เขียวประหลาด :
    *"คุณคือตัวเชื่อม...แผนที่ทุกอันชี้มาที่คุณ!"*

    ---

    ### **ตอนที่ 4 : ศึกสายฟ้าในสายฝน**
    **สถานที่ : เกาะภูเขาไฟบาหลี, อินโดนีเซีย**
    **เวลา : ขณะภูเขาไฟเริ่มคำรามปะทุ**

    **อาริ วิชายา** ต่อสู้กับปีศาจุตนุคลายเต่าตัวขนาดใหญ่มีเกล็ดแขงปกคลุมทั่วตัวที่หลุดมาจากพิธีกรรมโบราณ เขาใช้มีดกรีดแขนตัวเองให้เลือดไหลลงลาวา :
    *"กินฉันไป...แต่ปล่อยน้องสาวฉันด้วย!"*

    ปีศาจตนุหัวเราะคราง : *"มนุษย์จอมปลอม...เจ้าคือลูกหลานของข้าเอง!"*
    ภาพหลอนแสดงให้อาริเห็นว่า เขาคือทายาทรุ่นที่ 100 ของการผสมพันธุ์ระหว่างมนุษย์กับปีศาจ

    ท่ามกลางความสับสน **เหงียนลาน** ปรากฏตัวพร้อมกระทะไฟ :
    *"ช่วยกันทำอาหารปราบปีศาจศักดิ์สิทธิ์ไหม? สูตรนี้ต้องใช้เลือดคนรักแท้...ซึ่งเราทั้งคู่ไม่มี!"*

    ---

    ### **ตอนที่ 5 : เพลงคำสาปในวงวัตธจักรโคจร**
    **สถานที่ : ห้องสตูดิโอใต้ดินโซล, เกาหลีใต้**
    **เวลา : ตอนเที่ยงคืนตรง**

    **คิมจีอู** กำลังอัดเพลงลับ *"Starlight Requiem"** ในห้องซาวด์พรูฟที่เต็มไปด้วยเครื่องมือแพทย์ **แทฮยอน** นั่งเฝ้าอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่แฮ็กข้อมูลจากดาวเทียม

    **"Oppa...ฉันได้ยินเสียงแม่ในไมโครโฟน"** จีอูสะอื้นขณะเสียงประสานหลอนเริ่มดังขึ้น
    แทฮยอนสแกนคลื่นเสียงแล้วตกใจ : **"นี่ไม่ใช่เสียงแม่...มันเป็นคำสาปจากผลึกดวงแก้ว!"**

    จอคอมพิวเตอร์ระเบิดเป็นไฟสีคราม **อสรพิษดำ**(bmb) บุกเข้ามาพร้อมประกาศ :
    *"เราจะใช้เพลงนี้เปิดประตูมิติ...และนางจะตายในวันที่เสียงเพลงจบลง!"*

    ---

    ### **ตอนที่ 6 : ระบำไฟแห่งอาถรรพณ์**
    **สถานที่ : เรือนแพกลางแม่น้ำเจ้าพระยา, ไทย**
    **เวลา : งานสงกรานต์**

    **ณัฐ ศรีสุวรรณ** ต่อสู้กับนักมวยปริศนาบนสะพานเรือ ทุกหมัดที่ต่อยโดนทำให้เขามองเห็นภาพ **พิมพ์ลดา** น้องสาวกำลังเต้นระบำหน้ากากกลางไฟ

    **"นี่ไม่ใช่การต่อสู้...แต่เป็นการเซ่นสังเวย!"** ณัฐตะโกนขณะรอยสักนาคราชลุกเป็นไฟ
    เขาใช้หมัดสุดท้ายทุบแท่นบูชา จนชิ้นแก้วทิศใต้หลุดออกมา—แต่กลับพบศพ **เดีย วิชายา** ถูกมัดไว้ใต้แท่น!

    พิมพ์ลดาปรากฏตัวในร่างเทพธิดา :
    *"เลือกเถิด...ระหว่างชีวิตนาง กับพลังปราบอสรพิษ?"*

    ---

    ### **ตอนที่ 7 : จุดชนวนอรุณกรรม**
    **สถานที่ : ยอดเขาหลวงพระบาง**
    **เวลา : รุ่งสางวันที่ดวงอาทิตย์อ่อนแสง

    ทุกตระกูลมาบรรจบกันที่ปล่องไฟโบราณ **เหงียนล็อง** ต่อจิ๊กซอว์ชิ้นผลึกแก้วจนสมบูรณ์ แต่กลับพบว่าต้องการ **"เลือดบริสุทธิ์ 7 หยดจากผู้มีรักแท้"**

    - **เจี้ยนกับหยวนเยี่ยน** : แม้เป็นศัตรูแต่เลือดกลับเข้ากัน
    - **ฮารุโตะกับวีร** : พี่น้องต่างมารดาที่เกลียดชังกัน
    - **จีอูกับแทฮยอน** : ความรักพี่น้องที่เกินขอบเขต
    - **ณัฐกับพิมพ์ลดา** : รักที่ถูกสาปให้เป็นสายเลือด
    - **ล็องกับลาน** : ผู้เห็นความฝันร้ายของกันและกัน

    เมื่อเลือดหยดสุดท้ายถูกเติมเต็ม **ประตูมิติวิญญาณ** เปิดออก เผยให้เห็น **หยวนเยี่ยนตัวจริง** ที่ถูกกักขังมานับพันปี :
    *"ขอบคุณ...ที่ทำให้ฉันได้ตายอย่างมนุษย์คนหนึ่งเสียที*

    ---

    ### **Epilogue: สายลมใหม่แห่งเอเชีย**
    **1 ปีต่อมา**
    - **เจี้ยน** เปิดโรงเรียนสอนแพทย์แผนโบราณที่ปักกิ่ง โดยมี **เหมย** เป็นผู้ช่วย
    - **ฮารุโตะกับวีร** ร่วมกันสร้างพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ตระกูลที่เกียวโต
    - **จีอู** กลายเป็นครูสอนดนตรีให้เด็กด้อยโอกาส โดยมี **แทฮยอน** คอยปกป้อง
    - **ณัฐ** สร้างคณะระบำหน้ากากที่ใช้การเต้นรักษาคำสาป
    - **ล็องกับลาน** ค้นพบสูตรอาหารที่ช่วยลบความฝันร้าย

    บนยอดเขาหลวงพระบาง **ดวงแก้วจตุรภุช** ถูกแปรสภาพเป็นอนุสาวรีย์แก้วสีรุ้ง ที่ฐานเขียนไว้ว่า :
    *"ชะตากรรมไม่ใช่สิ่งที่กำหนดไว้...แต่คือสิ่งที่เราเลือกจะเชื่อ"*

    ---

    **Preview ตอนต่อไป :**
    - ความลับสุดท้ายของ "ม้ามืด" ที่แฝงตัวใน 7 ตระกูล
    - การกลับมาของพลังปีศาจตนุในร่างใหม่
    - ความสัมพันธ์ลึกลับระหว่างพิมพ์ลดากับจีอูข้ามชาติภพ...
    **นิยายเรื่อง *The Seven Heirs: Bonds of the Compass* ### **Prologue: เงามรณะบนพิธีกรรม **สถานที่ : วิหารลับใต้ภูเขาหลวงพระบาง, ลาว** **เวลา : 1632 ปีก่อน** หมอกควันพิษสีม่วงคลุ้งรอบแท่นบูชาหิน บรรพบุรุษแห่ง 7 ตระกูลยืนเป็นวงกลมรอบ **"ดวงแก้วจตุรภุช"** แสงแก้วสะท้อนภาพหญิงสาวในชุดขาวถูกมัดไว้กลางแท่น—เธอคือ **หยวนเยี่ยน** หญิงร่างวิญญาณอมตะ **"เลือดบริสุทธิ์ของเธอจะผนึกคำสาปให้เราชั่วนิรันดร์!"** หัวหน้าตระกูลหลงร้องประกาศ แต่แล้วดวงแก้วก็ระเบิดเป็นแสงวาบวับ ภาพสุดท้ายที่ทุกคนเห็นคือหยวนเยี่ยนยิ้มอย่างเศร้าสร้อย ก่อนวิญญาณทั้งหมดถูกดูดเข้าไปในประตูมิติ... --- ### **ตอนที่ 1 : เสี้ยวผลึกแก้วแห่งโชคชะตา** **สถานที่ : ปักกิ่ง, จีน** **เวลา : ปัจจุบัน - 3 วันหลังพิธีล่มสลาย** **หลงเหมย** ฝันเห็นแม่ตาบอดส่งเสียงร้องในความมืด เธอตื่นขึ้นมาในห้องแล็บใต้ดินของตระกูลหลง ที่แขนขวาถูกติดตั้งท่อส่งเลือดสีม่วงเชื่อมกับ **หลงเจี้ยน** **"เลือดของฉันมีพิษ...พี่จะตายเพราะช่วยฉัน!"** เหมยพยายามดึงสายยางออก เจี้ยนจับมือเธอไว้แน่น : **"นี่คือคำขอโทษ...สำหรับเรื่องที่พี่ทำกับหยวนเยี่ยน"** บนจอคอมพิวเตอร์ ภาพแผนที่ 7 ทิศเริ่มเชื่อมโยงกัน แสดงตำแหน่ง **"ผอบศิลาทิศเหนือ"** ซ่อนอยู่ใน **ห้องอ่านหนังสือต้องห้าม** ของพระราชวังโบราณ แต่แล้วสัญญาณก็ถูกขัดจังหวะด้วยข้อความจาก **อสรพิษดำ*(blakeMemba) *"ม้ามืดคือผู้อยู่เบื้องหลังทุกอย่าง...และเธอไว้ใจเขา!"* --- ### **ตอนที่ 2 : ดาบสลักรักที่เกียวโต** **สถานที่ : ปราสาทนินจาลับ, เกียวโต** **เวลา : ฤดูร้อนคืนจันทร์เสี้ยว** **ทาเคดะ ฮารุโตะ** ฝึกดาบกับเงาสีแดงที่ปรากฏในกระจก ทุกครั้งที่ฟันถูกต้อง เงาจะกลายเป็นภาพ **ซากุระ** น้องสาวตัวเองที่ถูกแทงกลางใจ **"หยุดเล่นละครเสียที!"** ซากุระกระโจนเข้ามาหยุดพี่ชาย พร้อมชูสมุดภาพวาดโบราณที่เพิ่งขโมยมาได้ : **"ดูสิ...ราชปุตกับทาเคดะเคยเป็นพันธมิตร!"** ภาพในสมุดแสดงพิธี **"สละสายเลือด"** เมื่อ 500 ปีก่อน หญิงชาวอินเดียในชุดกิโมโนกำลังตัดเส้นเลือดบนแขนสองเด็กชาย—ฮารุโตะจำได้ทันทีว่านั้นคือแม่ของเขา! ทันใดนั้น กระจกทุกบานในห้องแตกเป็นเสี่ยงๆ **วีร ราชปุต** ปรากฏตัวพร้อมปืนจ่อมาที่หัวฮารุโตะ : *"ยอมแพ้...หรืออยากรู้ความจริงว่าทำไมเลือดเราจึงดึงดูดกัน?"* --- ### **ตอนที่ 3 : ไฟใต้ธุลีวงเวียน** **สถานที่ : ตลาดเครื่องเทศมุมไบ, อินเดีย** **เวลา : ตอนเที่ยงวันที่แดดร้อนแรงที่สุด** **เดีย วิชายา** ซ่อนตัวอยู่หลังรถบรรทุกเครื่องเทศ ตามหาพยานหลักฐานที่เชื่อมโยง **อานยา** น้องสาวกับองค์กรอสรพิษดำ(blakeMemba) เธอใช้กล้องส่องเห็น **อานยา** กำลังเจาะห้องนิรภัยในตึกระฟ้า **"นั่นไม่ใช่น้องฉัน..."** เดียกระซิบด้วยความหวาดหวั่นเมื่อเห็นอานยาฉีดสารสีดำเข้าหลอดเลือดตัวเอง ก่อนที่ร่างเธอจะบิดเบี้ยวเหมือนงูยักษ์ เดียรีบส่งข้อมูลให้ **อาริ** พี่ชายในบาหลี แต่กลับถูกจับกุมโดย **เหงียนล็อง** สถาปนิกหนุ่มผู้ถือพิมพ์เขียวประหลาด : *"คุณคือตัวเชื่อม...แผนที่ทุกอันชี้มาที่คุณ!"* --- ### **ตอนที่ 4 : ศึกสายฟ้าในสายฝน** **สถานที่ : เกาะภูเขาไฟบาหลี, อินโดนีเซีย** **เวลา : ขณะภูเขาไฟเริ่มคำรามปะทุ** **อาริ วิชายา** ต่อสู้กับปีศาจุตนุคลายเต่าตัวขนาดใหญ่มีเกล็ดแขงปกคลุมทั่วตัวที่หลุดมาจากพิธีกรรมโบราณ เขาใช้มีดกรีดแขนตัวเองให้เลือดไหลลงลาวา : *"กินฉันไป...แต่ปล่อยน้องสาวฉันด้วย!"* ปีศาจตนุหัวเราะคราง : *"มนุษย์จอมปลอม...เจ้าคือลูกหลานของข้าเอง!"* ภาพหลอนแสดงให้อาริเห็นว่า เขาคือทายาทรุ่นที่ 100 ของการผสมพันธุ์ระหว่างมนุษย์กับปีศาจ ท่ามกลางความสับสน **เหงียนลาน** ปรากฏตัวพร้อมกระทะไฟ : *"ช่วยกันทำอาหารปราบปีศาจศักดิ์สิทธิ์ไหม? สูตรนี้ต้องใช้เลือดคนรักแท้...ซึ่งเราทั้งคู่ไม่มี!"* --- ### **ตอนที่ 5 : เพลงคำสาปในวงวัตธจักรโคจร** **สถานที่ : ห้องสตูดิโอใต้ดินโซล, เกาหลีใต้** **เวลา : ตอนเที่ยงคืนตรง** **คิมจีอู** กำลังอัดเพลงลับ *"Starlight Requiem"** ในห้องซาวด์พรูฟที่เต็มไปด้วยเครื่องมือแพทย์ **แทฮยอน** นั่งเฝ้าอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่แฮ็กข้อมูลจากดาวเทียม **"Oppa...ฉันได้ยินเสียงแม่ในไมโครโฟน"** จีอูสะอื้นขณะเสียงประสานหลอนเริ่มดังขึ้น แทฮยอนสแกนคลื่นเสียงแล้วตกใจ : **"นี่ไม่ใช่เสียงแม่...มันเป็นคำสาปจากผลึกดวงแก้ว!"** จอคอมพิวเตอร์ระเบิดเป็นไฟสีคราม **อสรพิษดำ**(bmb) บุกเข้ามาพร้อมประกาศ : *"เราจะใช้เพลงนี้เปิดประตูมิติ...และนางจะตายในวันที่เสียงเพลงจบลง!"* --- ### **ตอนที่ 6 : ระบำไฟแห่งอาถรรพณ์** **สถานที่ : เรือนแพกลางแม่น้ำเจ้าพระยา, ไทย** **เวลา : งานสงกรานต์** **ณัฐ ศรีสุวรรณ** ต่อสู้กับนักมวยปริศนาบนสะพานเรือ ทุกหมัดที่ต่อยโดนทำให้เขามองเห็นภาพ **พิมพ์ลดา** น้องสาวกำลังเต้นระบำหน้ากากกลางไฟ **"นี่ไม่ใช่การต่อสู้...แต่เป็นการเซ่นสังเวย!"** ณัฐตะโกนขณะรอยสักนาคราชลุกเป็นไฟ เขาใช้หมัดสุดท้ายทุบแท่นบูชา จนชิ้นแก้วทิศใต้หลุดออกมา—แต่กลับพบศพ **เดีย วิชายา** ถูกมัดไว้ใต้แท่น! พิมพ์ลดาปรากฏตัวในร่างเทพธิดา : *"เลือกเถิด...ระหว่างชีวิตนาง กับพลังปราบอสรพิษ?"* --- ### **ตอนที่ 7 : จุดชนวนอรุณกรรม** **สถานที่ : ยอดเขาหลวงพระบาง** **เวลา : รุ่งสางวันที่ดวงอาทิตย์อ่อนแสง ทุกตระกูลมาบรรจบกันที่ปล่องไฟโบราณ **เหงียนล็อง** ต่อจิ๊กซอว์ชิ้นผลึกแก้วจนสมบูรณ์ แต่กลับพบว่าต้องการ **"เลือดบริสุทธิ์ 7 หยดจากผู้มีรักแท้"** - **เจี้ยนกับหยวนเยี่ยน** : แม้เป็นศัตรูแต่เลือดกลับเข้ากัน - **ฮารุโตะกับวีร** : พี่น้องต่างมารดาที่เกลียดชังกัน - **จีอูกับแทฮยอน** : ความรักพี่น้องที่เกินขอบเขต - **ณัฐกับพิมพ์ลดา** : รักที่ถูกสาปให้เป็นสายเลือด - **ล็องกับลาน** : ผู้เห็นความฝันร้ายของกันและกัน เมื่อเลือดหยดสุดท้ายถูกเติมเต็ม **ประตูมิติวิญญาณ** เปิดออก เผยให้เห็น **หยวนเยี่ยนตัวจริง** ที่ถูกกักขังมานับพันปี : *"ขอบคุณ...ที่ทำให้ฉันได้ตายอย่างมนุษย์คนหนึ่งเสียที* --- ### **Epilogue: สายลมใหม่แห่งเอเชีย** **1 ปีต่อมา** - **เจี้ยน** เปิดโรงเรียนสอนแพทย์แผนโบราณที่ปักกิ่ง โดยมี **เหมย** เป็นผู้ช่วย - **ฮารุโตะกับวีร** ร่วมกันสร้างพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ตระกูลที่เกียวโต - **จีอู** กลายเป็นครูสอนดนตรีให้เด็กด้อยโอกาส โดยมี **แทฮยอน** คอยปกป้อง - **ณัฐ** สร้างคณะระบำหน้ากากที่ใช้การเต้นรักษาคำสาป - **ล็องกับลาน** ค้นพบสูตรอาหารที่ช่วยลบความฝันร้าย บนยอดเขาหลวงพระบาง **ดวงแก้วจตุรภุช** ถูกแปรสภาพเป็นอนุสาวรีย์แก้วสีรุ้ง ที่ฐานเขียนไว้ว่า : *"ชะตากรรมไม่ใช่สิ่งที่กำหนดไว้...แต่คือสิ่งที่เราเลือกจะเชื่อ"* --- **Preview ตอนต่อไป :** - ความลับสุดท้ายของ "ม้ามืด" ที่แฝงตัวใน 7 ตระกูล - การกลับมาของพลังปีศาจตนุในร่างใหม่ - ความสัมพันธ์ลึกลับระหว่างพิมพ์ลดากับจีอูข้ามชาติภพ...
    Yay
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 579 มุมมอง 0 รีวิว
  • Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ

    วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้
    ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน”
    สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น”
    - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์

    บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ

    แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร?

    ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น

    Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา)

    หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ

    อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29
    https://www.sohu.com/a/155060661_701638
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html
    https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645
    https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579
    http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf

    #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้ ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น” - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์ บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร? ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา) หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29 https://www.sohu.com/a/155060661_701638 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645 https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579 http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 526 มุมมอง 0 รีวิว
  • ✨ ทัวร์ไต้หวัน - TAIWAN FREE DAY 1 วันเต็มม!! ✨
    📅 4 วัน 3 คืน เดินทางโดยสายการบิน SL-ไทยไลอ้อนแอร์
    🗓 เดินทางช่วงวันหยุด 1-4 พ.ค. 68

    🎡 ไฮไลต์เด็ดห้ามพลาด!
    🏰 ชมปราสาทนีน่าข้อคโกแลต สุดน่ารัก เหมือนหลุดเข้าไปในเทพนิยาย
    🗼 สัมผัสความอลังการของตึกไทเป 101 แลนด์มาร์กระดับโลก

    ชิลล์เต็มวัน เที่ยวอิสระ ช้อปจุใจ กินจุกๆ ไม่ต้องรีบ! 😋🛍
    ทริปดีๆ แบบนี้ ห้ามพลาดเลยน้าา

    📌 รีบจองก่อนเต็ม!
    #ทัวร์ไต้หวัน #TaiwanFreeDay #เที่ยวไต้หวัน #วันหยุดยาว #ไทเป101 #ปราสาทช็อกโกแลต #ไทยไลอ้อนแอร์ #เที่ยวฟินกินเพลิน #รีบจองก่อนเต็ม

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
    https://78s.me/e0b61d

    ดูทัวร์ไต้หวันทั้งหมดได้ที่
    https://78s.me/b999ee

    LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307
    Facebook: etravelway 78s.me/8a4061
    Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5
    Tiktok : https://78s.me/543eb9
    📷: etravelway 78s.me/05e8da
    ☎️: 0 2116 6395
    ✨ ทัวร์ไต้หวัน - TAIWAN FREE DAY 1 วันเต็มม!! ✨ 📅 4 วัน 3 คืน เดินทางโดยสายการบิน SL-ไทยไลอ้อนแอร์ 🗓 เดินทางช่วงวันหยุด 1-4 พ.ค. 68 🎡 ไฮไลต์เด็ดห้ามพลาด! 🏰 ชมปราสาทนีน่าข้อคโกแลต สุดน่ารัก เหมือนหลุดเข้าไปในเทพนิยาย 🗼 สัมผัสความอลังการของตึกไทเป 101 แลนด์มาร์กระดับโลก ชิลล์เต็มวัน เที่ยวอิสระ ช้อปจุใจ กินจุกๆ ไม่ต้องรีบ! 😋🛍 ทริปดีๆ แบบนี้ ห้ามพลาดเลยน้าา 📌 รีบจองก่อนเต็ม! #ทัวร์ไต้หวัน #TaiwanFreeDay #เที่ยวไต้หวัน #วันหยุดยาว #ไทเป101 #ปราสาทช็อกโกแลต #ไทยไลอ้อนแอร์ #เที่ยวฟินกินเพลิน #รีบจองก่อนเต็ม ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://78s.me/e0b61d ดูทัวร์ไต้หวันทั้งหมดได้ที่ https://78s.me/b999ee LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307 Facebook: etravelway 78s.me/8a4061 Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5 Tiktok : https://78s.me/543eb9 📷: etravelway 78s.me/05e8da ☎️: 0 2116 6395
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 423 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขออภัยที่หายไปหนึ่งอาทิตย์ค่ะ วันนี้ Storyฯ เห็นว่าเรากำลังอยู่ในบรรยากาศการเลือกคนดีคนเก่งมาบริหารบ้านเมือง เลยลองมาคุยกันเรื่องปรัชญาจีนโบราณ (แม้ว่า Storyฯ จะไม่สันทัดเรื่องปรัชญาก็ตาม)

    เพื่อนเพจที่เคยอ่านนิยายของกิมย้งหรือดูหนังเรื่อง <กระบี่เย้ยยุทธจักร> ต้องคุ้นหูกับคำว่า ‘วิญญูชนจอมปลอม’ ซึ่งในภาษาจีนเรียกว่า ‘เหว่ยจวินจื่อ’ (伪君子) โดยคำว่า ‘จวินจื่อ’ นี้ปัจจุบันมักใช้คำแปลว่า ‘สุภาพชน’ (gentleman)

    แน่นอนว่าคำว่า ‘วิญญูชน’ และ ‘สุภาพชน’ มีนัยแตกต่าง คำถามที่ตามมาก็คือ: ‘จวินจื่อ’ (君子) คืออะไร? นี่เป็นคำถามในข้อสอบยอดฮิตในสมัยจีนโบราณ

    Storyฯ ขอยกตัวอย่างมาจากละครเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีฉากที่นางเอกต้องร่วมสอบและได้ต่อว่าคนที่กลั่นแกล้งนางและดูถูกพ่อของนางไว้ว่า “วิญญูชนไม่คิดอกุศล ข้าเดินได้อย่างผึ่งผาย นั่งได้อย่างหลังตรง มิเคยต้องกังวลลมปากของผู้ใด... วิญญูชนไม่แบ่งแยกสูงต่ำด้วยชาติกำเนิด” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ประโยคที่ว่า ‘วิญญูชนไม่คิดอกุศล’ หรือ ‘จวินจื่อซืออู๋เสีย’ (君子思无邪) นี้ เป็นการรวมสองปรัชญาจากคัมภีร์หลุนอวี่ (论语) เข้ามาด้วยกันในประโยคเดียว

    ปรัชญาแรกว่าด้วยเรื่องของ ‘จวินจื่อ’ ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก ‘จวิน’ ที่หมายถึงผู้เป็นประมุขหรือผู้มียศศักดิ์ และ ‘จื่อ’ ที่แปลว่าบุตรชาย ดังนั้นความหมายดั้งเดิมคือหมายถึง ‘Nobleman’ หรืออาจแปลเป็นไทยได้ว่าราชนิกุลหรือลูกหลานชนชั้นศักดินา ต่อมาหมายถึงผู้ที่มีศีลธรรมและคุณสมบัติสูงส่งอันเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่นได้ (‘A man of noble character’) เป็นส่วนประกอบสำคัญของปรัชญาขงจื๊อในการสร้างมาตรฐานสังคม โดยขงจื๊อมักใช้การเปรียบเทียบระหว่าง ‘จวินจื่อ’ กับ ‘เสี่ยวเหริน’ (小人 / ทุรชน) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ‘จวินจื่อ’ ควรมีคุณสมบัติอย่างไร Storyฯ สรุปมาไม่ได้หมด เลยยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพดังนี้:

    – จวินจื่อคำนึงถึงความเที่ยงธรรม (义) แต่เสี่ยวเหรินคำนึงถึงผลประโยชน์
    – จวินจื่ออยู่ร่วมได้ด้วยความต่าง แต่เสี่ยวเหรินแม้ไม่ต่างแต่ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ --- ประเด็นนี้ Storyฯ อาจแปลได้ไม่ดี ขอขยายความว่า จวินจื่อเมื่อเรียนรู้และตระหนักถึงสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าอาจมีแก่นความคิดที่แตกต่างกันไป แต่เพราะมีความเข้าใจในเนื้อแท้ของคนและเคารพยอมรับซึ่งกันและกันได้ ก็สามารถส่งเสริมเกื้อกูลหล่อหลอมเข้าด้วยกันได้ แต่ในทางกลับกัน เสี่ยวเหรินมีความเสแสร้งพยายามให้ดูกลมกลืน แต่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง สุดท้ายแม้อยู่ร่วมกันแต่ไม่สามารถหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกันได้
    – จวินจื่อเปิดเผยผึ่งผาย จึงไม่ต้องกังวลถึงความเห็นคนอื่น แต่เสี่ยวเหรินทำอะไรก็พะวงหน้าพะวงหลังกลัวคนมากลั่นแกล้ง
    – จวินจื่อพึ่งพาตนเอง แต่เสี่ยวเหรินพึ่งพาผู้อื่น
    – จวินจื่อส่งเสริมผู้อื่นในเรื่องที่ดีและไม่สนับสนุนในเรื่องที่ไม่ดี แต่เสี่ยวเหรินขัดผู้อื่นในเรื่องที่ดีและส่งเสริมในเรื่องที่ไม่ดี
    – จวินจื่อเปรียบเสมือนลม เสี่ยวเหรินเป็นเหมือนหญ้าที่ต้องเอนไหวศิโรราบให้เมื่อลมพัดผ่าน เป็นการอุปมาอุปไมยว่าคุณธรรมของจวินจื่อ สามารถเอาชนะความไม่ดีของเสี่ยวเหรินได้

    ปรัชญาที่สอง ‘ไม่คิดอกุศล’ (ซืออู๋เสีย/思无邪) โดยปรัชญานี้ขงจื๊อเคยใช้ในสองบริบท บริบทแรกในการวิจารณ์งานประพันธ์โดยหมายถึงว่า สิ่งที่นักประพันธ์สื่อผ่านตัวอักษรออกมานั้น ควรบ่งบอกจิตวิญญาณและความคิดที่แท้จริง พูดง่ายๆ คือซื่อตรงต่อตัวเอง ส่วนอีกบริบทหนึ่งนั้นคือเป็นการกล่าวถึงคุณสมบัติของคน โดยหมายถึงว่า อันความคิดที่ดี ย่อมไม่กลัวที่จะเปิดเผยให้ผู้ใดรับรู้

    คำว่า ‘จวินจื่อ’ ปรากฏอยู่บนงานประพันธ์และสำนวนจีนมากมาย และปรัชญาของขงจื๊อถูกศึกษามาหลายพันปีโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนงวิชาจำนวนนับไม่ถ้วน Storyฯ ไม่หาญกล้ามาเสวนามากมายในปรัชญาเหล่านี้ เพียงแต่เมื่อวันเลือกตั้งใกล้เข้ามา คำว่า ‘จวินจื่อ’ หรือ ‘วิญญูชน’ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ในสังคมทุกวันนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นวิญญูชน และใครเป็นวิญญูชนจอมปลอม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/467496758_120871225
    https://www.sohu.com/a/433221328_99929216
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/思无邪/5080
    https://guoxue.ifeng.com/c/7jUG4KBpiZC
    https://baike.baidu.com/item/君子/1389

    #ดุจฝันบันดาลใจ #จวินจื่อ #วิญญูชน #ขงจื๊อ
    ขออภัยที่หายไปหนึ่งอาทิตย์ค่ะ วันนี้ Storyฯ เห็นว่าเรากำลังอยู่ในบรรยากาศการเลือกคนดีคนเก่งมาบริหารบ้านเมือง เลยลองมาคุยกันเรื่องปรัชญาจีนโบราณ (แม้ว่า Storyฯ จะไม่สันทัดเรื่องปรัชญาก็ตาม) เพื่อนเพจที่เคยอ่านนิยายของกิมย้งหรือดูหนังเรื่อง <กระบี่เย้ยยุทธจักร> ต้องคุ้นหูกับคำว่า ‘วิญญูชนจอมปลอม’ ซึ่งในภาษาจีนเรียกว่า ‘เหว่ยจวินจื่อ’ (伪君子) โดยคำว่า ‘จวินจื่อ’ นี้ปัจจุบันมักใช้คำแปลว่า ‘สุภาพชน’ (gentleman) แน่นอนว่าคำว่า ‘วิญญูชน’ และ ‘สุภาพชน’ มีนัยแตกต่าง คำถามที่ตามมาก็คือ: ‘จวินจื่อ’ (君子) คืออะไร? นี่เป็นคำถามในข้อสอบยอดฮิตในสมัยจีนโบราณ Storyฯ ขอยกตัวอย่างมาจากละครเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีฉากที่นางเอกต้องร่วมสอบและได้ต่อว่าคนที่กลั่นแกล้งนางและดูถูกพ่อของนางไว้ว่า “วิญญูชนไม่คิดอกุศล ข้าเดินได้อย่างผึ่งผาย นั่งได้อย่างหลังตรง มิเคยต้องกังวลลมปากของผู้ใด... วิญญูชนไม่แบ่งแยกสูงต่ำด้วยชาติกำเนิด” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ประโยคที่ว่า ‘วิญญูชนไม่คิดอกุศล’ หรือ ‘จวินจื่อซืออู๋เสีย’ (君子思无邪) นี้ เป็นการรวมสองปรัชญาจากคัมภีร์หลุนอวี่ (论语) เข้ามาด้วยกันในประโยคเดียว ปรัชญาแรกว่าด้วยเรื่องของ ‘จวินจื่อ’ ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก ‘จวิน’ ที่หมายถึงผู้เป็นประมุขหรือผู้มียศศักดิ์ และ ‘จื่อ’ ที่แปลว่าบุตรชาย ดังนั้นความหมายดั้งเดิมคือหมายถึง ‘Nobleman’ หรืออาจแปลเป็นไทยได้ว่าราชนิกุลหรือลูกหลานชนชั้นศักดินา ต่อมาหมายถึงผู้ที่มีศีลธรรมและคุณสมบัติสูงส่งอันเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่นได้ (‘A man of noble character’) เป็นส่วนประกอบสำคัญของปรัชญาขงจื๊อในการสร้างมาตรฐานสังคม โดยขงจื๊อมักใช้การเปรียบเทียบระหว่าง ‘จวินจื่อ’ กับ ‘เสี่ยวเหริน’ (小人 / ทุรชน) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ‘จวินจื่อ’ ควรมีคุณสมบัติอย่างไร Storyฯ สรุปมาไม่ได้หมด เลยยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพดังนี้: – จวินจื่อคำนึงถึงความเที่ยงธรรม (义) แต่เสี่ยวเหรินคำนึงถึงผลประโยชน์ – จวินจื่ออยู่ร่วมได้ด้วยความต่าง แต่เสี่ยวเหรินแม้ไม่ต่างแต่ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ --- ประเด็นนี้ Storyฯ อาจแปลได้ไม่ดี ขอขยายความว่า จวินจื่อเมื่อเรียนรู้และตระหนักถึงสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าอาจมีแก่นความคิดที่แตกต่างกันไป แต่เพราะมีความเข้าใจในเนื้อแท้ของคนและเคารพยอมรับซึ่งกันและกันได้ ก็สามารถส่งเสริมเกื้อกูลหล่อหลอมเข้าด้วยกันได้ แต่ในทางกลับกัน เสี่ยวเหรินมีความเสแสร้งพยายามให้ดูกลมกลืน แต่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง สุดท้ายแม้อยู่ร่วมกันแต่ไม่สามารถหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ – จวินจื่อเปิดเผยผึ่งผาย จึงไม่ต้องกังวลถึงความเห็นคนอื่น แต่เสี่ยวเหรินทำอะไรก็พะวงหน้าพะวงหลังกลัวคนมากลั่นแกล้ง – จวินจื่อพึ่งพาตนเอง แต่เสี่ยวเหรินพึ่งพาผู้อื่น – จวินจื่อส่งเสริมผู้อื่นในเรื่องที่ดีและไม่สนับสนุนในเรื่องที่ไม่ดี แต่เสี่ยวเหรินขัดผู้อื่นในเรื่องที่ดีและส่งเสริมในเรื่องที่ไม่ดี – จวินจื่อเปรียบเสมือนลม เสี่ยวเหรินเป็นเหมือนหญ้าที่ต้องเอนไหวศิโรราบให้เมื่อลมพัดผ่าน เป็นการอุปมาอุปไมยว่าคุณธรรมของจวินจื่อ สามารถเอาชนะความไม่ดีของเสี่ยวเหรินได้ ปรัชญาที่สอง ‘ไม่คิดอกุศล’ (ซืออู๋เสีย/思无邪) โดยปรัชญานี้ขงจื๊อเคยใช้ในสองบริบท บริบทแรกในการวิจารณ์งานประพันธ์โดยหมายถึงว่า สิ่งที่นักประพันธ์สื่อผ่านตัวอักษรออกมานั้น ควรบ่งบอกจิตวิญญาณและความคิดที่แท้จริง พูดง่ายๆ คือซื่อตรงต่อตัวเอง ส่วนอีกบริบทหนึ่งนั้นคือเป็นการกล่าวถึงคุณสมบัติของคน โดยหมายถึงว่า อันความคิดที่ดี ย่อมไม่กลัวที่จะเปิดเผยให้ผู้ใดรับรู้ คำว่า ‘จวินจื่อ’ ปรากฏอยู่บนงานประพันธ์และสำนวนจีนมากมาย และปรัชญาของขงจื๊อถูกศึกษามาหลายพันปีโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนงวิชาจำนวนนับไม่ถ้วน Storyฯ ไม่หาญกล้ามาเสวนามากมายในปรัชญาเหล่านี้ เพียงแต่เมื่อวันเลือกตั้งใกล้เข้ามา คำว่า ‘จวินจื่อ’ หรือ ‘วิญญูชน’ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ในสังคมทุกวันนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นวิญญูชน และใครเป็นวิญญูชนจอมปลอม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/467496758_120871225 https://www.sohu.com/a/433221328_99929216 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/思无邪/5080 https://guoxue.ifeng.com/c/7jUG4KBpiZC https://baike.baidu.com/item/君子/1389 #ดุจฝันบันดาลใจ #จวินจื่อ #วิญญูชน #ขงจื๊อ
    WWW.SOHU.COM
    《雁归西窗月》是根据小说改编的吗 《雁归西窗月》结局是什么_赵孝
    《雁归西窗月》讲述了霸道郡王赵孝谦与率真少女谢小满的乌龙甜怼恋,两人从开始的欢喜冤家到逐渐相知相守,携手历经坎坷,冲破重重阻碍,最终收获了一段浪漫的爱情故事。 这部剧是先婚后爱的戏码,女主谢小满…
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 426 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องปรัชญาขงจื๊อว่าด้วย ‘วิญญูชน’ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับสำนวนจีนที่เกี่ยวข้อง

    เชื่อว่ามีเพื่อนเพจไม่น้อยที่เคยผ่านหูและผ่านตาในซีรีส์และนิยายจีนถึงสำนวน ‘เสาหลักของชาติ’ ซึ่งสำนวนนี้มีใช้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน วันนี้เลยมาพร้อมรูปกระกอบของเหล่าตัวละครที่ได้รับการขนานนามในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นเสาหลักของชาติ

    แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วในสำนวนจีนที่มีมาแต่โบราณนี้ เขาใช้คำว่า ‘คานหลัก’ ไม่ใช่ ‘เสาหลัก’?

    สำนวนนี้มักใช้ว่า ‘国之栋梁’(กั๋วจือโต้งเหลียง) ซึ่งเป็นสำนวนที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันสำนวนที่ถูกต้องคือ ‘国家栋梁’ (กั๋วเจียโต้งเหลียง) โดยคำว่า ‘โต้งเหลียง’นี้แปลว่าคานหลัก และมีสำนวนกล่าวชมคนที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในกิจการบ้านเมืองนั้นว่า ‘โต้งเหลียงจือฉาย’(栋梁之才)

    เหตุใดในสำนวนนี้จึงใช้คำว่า ‘คาน’ ไม่ใช่ ‘เสา’ เหมือนชาติอื่น? เรื่องนี้ไม่ปรากฏคำอธิบายชัดเจน Storyฯ เองก็ไม่ใช่วิศวกรหรือสถาปนิก แต่พอจะจับใจความได้ดังนี้ค่ะ: คานคือส่วนของบ้านที่รับน้ำหนักจากข้างบนลงมาแล้วค่อยกระจายไปตามเสา และยังเป็นตัวช่วยยึดให้เสาตั้งตรงไม่เอนเอียงไปตามกาลเวลา ในการออกแบบจะคำนวณการกระจายน้ำหนักจากบนลงล่าง (แม้ในการก่อสร้างจริงจะเริ่มจากล่างก่อน) และคานหลักเป็นคานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวหลักในการรับน้ำหนัก ในสมัยโบราณมีการทำพิธีบวงสรวงเวลายกคานหลักขึ้นตั้งด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในสายตาของคนโบราณ

    Storyฯ ลองคิดตามก็รู้สึก ‘เออ...ใช่!’ ด้วยวัฒนธรรมที่จัดลำดับความสำคัญจากบนลงล่าง การเปรียบคนคนหนึ่งเป็นเสมือนคานหลักของบ้านเป็นการอุปมาอุปไมยอย่างชัดเจนว่าคนคนนี้ต้องรับภาระอันมากมายและมีหน้าที่สำคัญในการดำรงไว้ซึ่งความสมดุลของบ้าน และมีหน้าที่กระจายน้ำหนักไปสู่ส่วนประกอบอื่นของบ้าน ... ซึ่ง Storyฯ คิดว่านี่ก็คือบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อดคิดไม่ได้ว่า สำนวนจีนเขาก็เปรียบเทียบได้ถูกต้องดี เพื่อนเพจว่าไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.tupianzj.com/mingxing/juzhao/20211209/236147.html
    https://www.pixnet.net/tags/我就是這般女子
    https://www.facebook.com/Nsplusengineering/posts/2897265593641850/
    https://ettchk.wordpress.com/2017/12/22/3175/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://chengyu.qianp.com/cy/%E6%A0%8B%E6%A2%81%E4%B9%8B%E6%89%8D
    http://chengyu.kaishicha.com/in8q.html
    https://baike.baidu.com/item/%E6%A0%8B%E6%A2%81/6433593

    #สำนวนจีน #เสาหลัก
    สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องปรัชญาขงจื๊อว่าด้วย ‘วิญญูชน’ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับสำนวนจีนที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่ามีเพื่อนเพจไม่น้อยที่เคยผ่านหูและผ่านตาในซีรีส์และนิยายจีนถึงสำนวน ‘เสาหลักของชาติ’ ซึ่งสำนวนนี้มีใช้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน วันนี้เลยมาพร้อมรูปกระกอบของเหล่าตัวละครที่ได้รับการขนานนามในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นเสาหลักของชาติ แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วในสำนวนจีนที่มีมาแต่โบราณนี้ เขาใช้คำว่า ‘คานหลัก’ ไม่ใช่ ‘เสาหลัก’? สำนวนนี้มักใช้ว่า ‘国之栋梁’(กั๋วจือโต้งเหลียง) ซึ่งเป็นสำนวนที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันสำนวนที่ถูกต้องคือ ‘国家栋梁’ (กั๋วเจียโต้งเหลียง) โดยคำว่า ‘โต้งเหลียง’นี้แปลว่าคานหลัก และมีสำนวนกล่าวชมคนที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในกิจการบ้านเมืองนั้นว่า ‘โต้งเหลียงจือฉาย’(栋梁之才) เหตุใดในสำนวนนี้จึงใช้คำว่า ‘คาน’ ไม่ใช่ ‘เสา’ เหมือนชาติอื่น? เรื่องนี้ไม่ปรากฏคำอธิบายชัดเจน Storyฯ เองก็ไม่ใช่วิศวกรหรือสถาปนิก แต่พอจะจับใจความได้ดังนี้ค่ะ: คานคือส่วนของบ้านที่รับน้ำหนักจากข้างบนลงมาแล้วค่อยกระจายไปตามเสา และยังเป็นตัวช่วยยึดให้เสาตั้งตรงไม่เอนเอียงไปตามกาลเวลา ในการออกแบบจะคำนวณการกระจายน้ำหนักจากบนลงล่าง (แม้ในการก่อสร้างจริงจะเริ่มจากล่างก่อน) และคานหลักเป็นคานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวหลักในการรับน้ำหนัก ในสมัยโบราณมีการทำพิธีบวงสรวงเวลายกคานหลักขึ้นตั้งด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในสายตาของคนโบราณ Storyฯ ลองคิดตามก็รู้สึก ‘เออ...ใช่!’ ด้วยวัฒนธรรมที่จัดลำดับความสำคัญจากบนลงล่าง การเปรียบคนคนหนึ่งเป็นเสมือนคานหลักของบ้านเป็นการอุปมาอุปไมยอย่างชัดเจนว่าคนคนนี้ต้องรับภาระอันมากมายและมีหน้าที่สำคัญในการดำรงไว้ซึ่งความสมดุลของบ้าน และมีหน้าที่กระจายน้ำหนักไปสู่ส่วนประกอบอื่นของบ้าน ... ซึ่ง Storyฯ คิดว่านี่ก็คือบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อดคิดไม่ได้ว่า สำนวนจีนเขาก็เปรียบเทียบได้ถูกต้องดี เพื่อนเพจว่าไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.tupianzj.com/mingxing/juzhao/20211209/236147.html https://www.pixnet.net/tags/我就是這般女子 https://www.facebook.com/Nsplusengineering/posts/2897265593641850/ https://ettchk.wordpress.com/2017/12/22/3175/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://chengyu.qianp.com/cy/%E6%A0%8B%E6%A2%81%E4%B9%8B%E6%89%8D http://chengyu.kaishicha.com/in8q.html https://baike.baidu.com/item/%E6%A0%8B%E6%A2%81/6433593 #สำนวนจีน #เสาหลัก
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 387 มุมมอง 0 รีวิว
  • วรรณกรรมประเภทหนึ่งที่ตอนนี้มีเยอะมากโดยเฉพาะจากฝั่งตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี) แต่ผมไม่ค่อยสนใจเท่าไร คือเรื่องแนวฟีลกู๊ดประเภทสถานที่เยียวยาจิตใจ ไม่ใช่เพราะผมเป็นพวกจิตใจหยาบกระด้างหรือชอบเสพแต่ความดาร์กและความสยอง แต่เพราะผมมองว่าตัวเองพอดักทางได้ว่าเรื่องพวกนั้นมี "สาร" อย่างไร ต้องการสอนผู้อ่านอย่างไร ทั้งนี้ก็จะมีบางเรื่องที่เป็นข้อยกเว้น หนึ่งในนั้นคือคาเฟ่ของแม่หมอมานูล

    'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' โดย อัตสึกิ โอโตะ เป็นนิยายแบบที่ผมคงไม่สนใจในแวบแรก ถ้าไม่ใช่เพราะโดนล่อตาล่อใจจากของแถมที่ทาง สนพ. บอกว่ามีเฉพาะในรอบพิมพ์ครั้งแรกเท่านั้น นั่นคือ ไพ่ทาโรต์ขนาดเล็ก ๆ 5 ใบที่เป็นภาพคุณมานูล แมวหมอดูตัวเอกประจำเรื่อง ข้อนี้เลยเป็นตัวแปรสำคัญให้ผมเปิดใจรับหนังสือเล่มนี้มาบรรจุเข้าชั้นที่บ้าน

    ไหน ๆ ก็พูดถึงหนังสือเล่มนี้แล้ว ผมก็เห็นว่ามันควรค่าแก่การรีวิวในแบบของไพ่เราเผาเรื่อง แต่รอบนี้จะต่างจากครั้งอื่น ๆ ตรงที่ผมจะไม่ใช้ไพ่ทาโรต์หรือไพ่พยากรณ์สำรับใด ๆ ในคลัง แต่จะใช้ไพ่แถม 5 ใบที่มากับหนังสือเล่มนี้เป็นเครื่องมือประกอบการ "เผาเรื่อง" โดยสับไพ่แล้วสุ่มหยิบตามลำดับ

    ขอเชิญรับชม #ไพ่เราเผาหนังสือ 'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' ด้วยไพ่แถมสุดน่ารักทั้ง 5 ใบ ได้ ณ บัดนี้ครับ

    ----------

    "เรื่องจบในตอนพร้อมข้อคิดดี ๆ"
    🃏The Sun + 🃏The World

    ในไพ่ทาโรต์ 78 ใบ The Sun เป็นไพ่ที่ความหมายดีรอบด้านในอันดับต้น ๆ แต่ไพ่ใบนี้ยังสื่อถึง "ความจริง" และ "ข้อคิดที่เป็นประโยชน์" ได้ด้วย ส่วน The World ในฐานะไพ่ใบสุดท้ายของไพ่ชุดหลัก (Major Arcana) จึงมักสื่อความถึง "จุดสิ้นสุด" และ "ความสมบูรณ์" แต่มันไม่ใช่การตัดจบแบบบริบูรณ์หรือ Happily Ever After ทว่าเป็นการจบลงของบทหนึ่งเพื่อที่จะเข้าสู่บทถัดไป

    'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' มีลักษณะการเขียนแบบที่มักเจอใน Fiction ประเภทสถานที่ที่ช่วยให้ผู้คนได้ฮีลใจ นั่นคือเป็นนวนิยายแบบเนื้อเรื่องจบในตอน (Episodic novel) โดยแต่ละตอนมักจะมีข้อคิดจรรโลงใจหรือมุมมองที่น่าสนใจแตกต่างกัน บางครั้งต่างตอนก็มีสารหรือข้อคิดสำหรับคนต่างกลุ่มต่างจำพวก

    หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อเรื่อง 5 บท แต่ละบทสามารถอ่านแยกในฐานะเรื่องสั้นที่จบสมบูรณ์ในตัวเองได้ แต่ตอนหลัง ๆ ก็จะมีรายละเอียดบางอย่างที่ต่อเนื่องจากตอนก่อน ๆ ตัวละครดำเนินเรื่องในแต่ละตอนมีช่วงอายุ บทบาท และปัญหาคาใจแตกต่างกัน มีทั้งเด็กมัธยมที่หาทาง fit in ในสังคมห้องเรียน อินฟลูเอนเซอร์สาว ซิงเกิลมัม ไปจนถึงวัยกลางคนที่กำลังสับสนกับทิศทางชีวิตและหน้าที่การงานของตัวเอง จากนั้นโชคชะตาหรือพล็อตเรื่องก็จะพาตัวละครไปเจอกับคุณมานูลและคาเฟมาร์เนิล

    คุณมานูล ศูนย์กลางของเรื่อง เดิมเคยเป็นมนุษย์ชื่อ คาวาตานิ ไอซาวะ แต่ด้วยสาเหตุบางอย่าง นางเลือก 'ลาออก' จากการเป็นมนุษย์ มาอยู่ในร่างของแมวมานูล (Manul) หรืออีกชื่อคือแมวพัลลาส (Pallas's cat) และรับดูดวงด้วยสารพัดวิธี ไม่ว่าจะใช้ไพ่ ลูกแก้ว หรือเครื่องเสี่ยงเซียมซีรูเลตต์ พร้อมทั้งเปิดคาเฟ่ร่วมกับคนที่น่าจะเป็นสามีและลูกสาว (ส่วนชื่อคาเฟ่ ทำไมถึงชื่อ "มาร์เนิล" แทนที่จะเป็น "มานูล" ตรงนี้ในหนังสือมีอธิบายไว้ แต่สั้น ๆ คือเป็นมุกที่เล่นกับตัวเขียนญี่ปุ่นแบบคาตาคานะ ซึ่งต้องขอชื่นชมผู้แปลที่พยายามเรียบเรียงเป็นไทยให้ใกล้เคียงโดยไม่เสียอรรถรสของต้นฉบับ)

    เนื้อเรื่องแต่ละตอนดำเนินไปอย่างค่อนข้างเป็นสูตรสำเร็จ เริ่มจากแนะนำตัวละครและชีวิตประจำวันที่เจ้าตัวไม่พึงพอใจเท่าไร จากนั้นตัวละครก็จะได้เจอคุณมานูลช่วยทำนายดวงชะตาพร้อมทั้งให้คำแนะนำแบบคร่าว ๆ เพื่อพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งตัวละครจะทำตามและอะไร ๆ ก็ดูจะดีขึ้นจริง ๆ แต่แล้วก็จะมีเหตุสักอย่างให้ชีวิตตัวละครกลับไปเป็นแบบตอนต้นเรื่องหรือเผลอ ๆ เหมือนจะดูแย่ลง และทำให้ตัวละครได้รับการชี้แนะจากคุณมานูลเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งคราวนี้เรื่องก็จะดูจบตอนแบบแฮปปี้เอนดิ้ง ชวนให้นึกถึงโดราเอมอนแแบบอนิเมะในทีวีที่ฉายเป็นตอน ๆ หรือการ์ตูนต่อสู้อย่างเซเลอร์มูนช่วงแรก ๆ ที่จะมีตัวร้ายประจำสัปดาห์ (Monster of the week) มาให้ตัวเอกปราบ

    นิยายประเภทสถานที่ฮีลใจมักมีตัวละครประจำตอนที่แแตกต่างกันทั้งช่วงอายุและอาชีพ เพื่อจะได้เป็นตัวแทนของคนอ่านในกลุ่มต่าง ๆ นิยายเล่มนี้ก็เช่นกัน ทั้ง 5 ตอนมีตัวละครตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยกลางคน ซึ่งก็น่าจะเป็นกลุ่มคนที่ผู้เขียนคคาดหวังว่าจะรวมอยู่ในหมู่คนอ่านหนังสือเล่มนี้ด้วย และถึงแม้ปัญหาที่ตัวละครในเรื่องเผชิญอาจไม่ตรงกับเรื่องที่คนอ่านในช่วงวัยเดียวกันเจอในชีวิตจริงทั้งหมด แต่ข้อคิดและคำแนะนำจากคุณมานููลในแต่ละตอนก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เช่นกัน

    ----------

    "เยียวยาจิตใจในสถานที่ที่มอบความสุข"
    🃏The Star + 🃏Ten of Cups

    The Star คือดวงดาว จึงเป็นไพ่ตัวแทนหลายสิ่งหลายอย่างที่คนเรามักเชื่อมโยงกับดาว ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียง ความโด่งดัง หรือความหวัง แต่มันก็มีอีกความหมายหนึ่ง นั่นคือ "การเยียวยา" ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ส่วนไพ่ 10 ถ้วย โดยทั่วไปมักหมายถึงบ้านหรือครอบครัว แต่บางกรณีก็สื่อถึง "ความสุขอย่างเต็มเปี่ยม" โดยเป็นความสุขที่มาจากกลุ่มคนที่อยู่กันสนิทชิดเชื้อเหมือนเป็นครอบครัว (แบบใน "แฟ้มเมอะหลี่" ของพี่ดอม ทอร์เรตโต แห่งซีรีส์ Fast & Furious) หรือจากาสถานที่มีผู้พร้อมจะส่งมอบความสุขให้ผู้อื่น

    คาเฟ่มาร์เนิลของคุณมานูลลงล็อกพอดีกับคำจำกัดความของสถานที่แบบที่ว่า แต่ก็อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ข้างบน ๆ นิยายเรื่องนี้ผลิตซ้ำ Trope ของสถานที่ที่ให้ความช่วยเหลือผู้คนในการแก้ปัญหาและเยียวยาจิตใจ ซึ่งเป็นเทรนด์ที่กำลังนิยมกันในวงการวรรณกรรมฝั่งเอเชียตะวันออก แต่ละเรื่องอาจมีสถานที่ต่างกันไป บางเรื่องเป็นคาเฟ่ บางเรื่องเป็นร้านเบเกอรี่ บ้างเรื่องเป็นร้านหนังสือหรือห้องสมุด แต่ทุกเรื่องจบลงที่ตัวละครซึ่งไปเยือนสถานที่นั้น ๆ ได้เยียวยาบาดแผลหรือปมปัญหาในใจ หรือได้ปลดล็อกอะไรสักอย่างที่ติดค้างอยู่

    น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่า ในชีวิตจริงซึ่งไม่ได้มีมนตร์วิเศษอยู่ (อย่างน้อยก็ในแบบที่มักเกิลอย่างเรา ๆ จับต้องและพิสูจน์ได้) คนเราก็มีสถานที่สำหรับเยียวยาจิตใจที่บอบช้ำและแตกร้าว นอกจากกลับบ้านไปหาครอบครัวแล้ว ที่อื่นที่คนมักไปเพื่อฮีลใจตัวเอง เช่น คาเฟ่ ซุ้มหมอดู (หรือบางคนก็ทักไปหาหมอดูทางออนไลน์) และที่ใดก็ตามที่มีแมวอยู่ กล่าวอีกอย่างคือ คาเฟ่ การดูดวง และแมว คือ Top 3 แห่งเครื่องเยียวยาจิตใจของมนุษย์ในปัจจุบัน (ซึ่งจะเรียกว่าเป็นยุคทุนนิยมหรือยุคโพสต์โมเดิร์นก็ตามแต่)

    และสามอย่างที่ว่านี้ นอกจากในนิยายซีรีส์ "ร้านกาแฟจันทร์เต็มดวง" แล้ว ก็มีคุณมานูลในนิยายเรื่องนี้ที่รวมทุกอย่างไว้ในตัว เหมือนผู้เขียนจงใจ หรือไม่ก็สร้างไว้ให้คนอ่านที่ชอบ Overanalyze ได้สังเกตและทึกทักเอา

    ----------

    "โชคชะตาไม่สำคัญเมื่อเธอนั้นกลายเป็นแมว"
    🃏Wheel of Fortune

    ไพ่วงล้อแห่งโชคชะตาเป็นใบหนึ่งที่ท้าทายสกิลการอ่านและตีความไพ่ของผู้อ่านไพ่มากที่สุด บางบริบท มันสื่อถึงการที่โชคชะตากำลังดำเนินไปในทางที่ดีขึ้น แต่ถ้าช่วงนั้นดวงกกำลังดี ๆ อยู่ มันก็อาจเป็นคำเตือนในระวังถึงขาลงของชีวิตที่ส่อแววมาแต่ไกล โดยรวมแล้ว ไพ่ใบนี้สื่อถึง "โชคชะตา" ในภาพรวม ซึ่งโดยตัวมันเองไม่มีดีหรือร้าย แต่ที่เรามองว่าดีหรือร้ายก็เพราะเรามองจากมุมมองของตัวเรา ถ้าเรามองเรื่องที่เกิดกับคนอื่น หรือมองตัวเองอย่างเป็นภววิสัย เราก็คงมองว่าททุกอย่างเป็นเรื่องของธรรมชาติ เดี๋ยวมีดี เดี๋ยวมีร้าย ไม่แน่ไม่นอน เผลอ ๆ คาดเดาไม่ได้ (หากเราเชื่อตาม Chaos Theory) และด้วยเหตุนี้ ไพ่ใบนี้จึงหมายรวมถึงการพยากรณ์ การดูดวง หรือการตรวจสอบดวงชะตาเช่นกัน

    ไม่รู้มีใครเป็นเหมือนผมไหม ตอนเห็นชื่อหนังสือฉบับแปลไทยครั้งแรก ก็คิดว่าคุณมานูลน่าจะเป็นตัวละครประเภทกวน ๆ ที่ทำนายดวงตรงมั่งมั่วมั่ง (แต่สุดท้ายก็ช่วยให้ตัวละครในแต่ละตอนได้มีความสุขอยู่ดี ตามแนวทางของนิยายฮีลใจแบบนี้) แต่พอได้อ่านจริงก็พบว่านางเป็นคาแรกเตอร์ประเภทกวน ๆ จริง กวนแบบน่ารัก ๆ ชนิดที่เชื่อว่าทุกคนน่าจะอยากมีเพื่อนสนิทแบบนี้สักคนสองคน ทว่าสิ่งที่ดูเหมือนจะหายไปคือการทำนายแบบมั่ว ๆ เพราะเท่าที่อ่านเจอในเรื่อง คุณมานูลไม่เคยทำนายดวงชะตาให้ตัวละครไหนแบบมั่ว ๆ เลย อย่างมากคือทำนายแบบส่งเดช พอให้เห็นว่ามีการใช้อุปกรณ์ทำนาย (อันนี้พูดในฐานะคนที่ทุกวันนี้รายรอบด้วยคนในวงการนักพยากรณ์ และเคยเจอหมอดูที่ทำนายแบบมั่วซั่วมาจนมากเกินจะนับด้วยนิ้วมือรวมนิ้วเท้าได้) อันที่จริงชื่อต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นของนิยายเรื่องนี้แปลตรงตัวแค่ว่า "คุณมานูลผู้ลาออกจากการเป็นมนุษย์จะทำนายดวงชะตาให้คุณ" ด้วยซ้ำ

    อย่างไรก็ตาม คุณมานูลตลอดทั้งเรื่องจะเล่นอีกบทบาทหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบาทที่หมอดูทุกศาสตร์ทุกแขนงควรเป็นในตัว (ถ้ายังไม่เป็นก็ควรฝึกตัวเองให้เป็น หรือไป take course เสียโดยด่วน โปรดรู้ว่าสังคมทุกวันนี้กำลังต้องการมาก) นั่นคือการเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านจิตใจและสังคม เนื้อเรื่องไม่เคยฟันธงว่าคุณมานูลดูดวงเป็นจริง ๆ หรือไม่ แต่เรื่องแสดงให้เห็นว่านางดูคนเป็น เข้าใจว่าแต่ละคนกำลังขาดหรือล้นเกินในเรื่องอะไร ซึ่งก็น่าจะเป็นทักษะที่ติดตัวมาตั้งแต่สมัยนางยังเป็นมนุษย์ และจากตรงนี้ นางจึงให้คำแนะนำแบบแมว ๆ ให้แต่ละตัวละครรับไปหาทางแก้ปัญหาของตัวเองอย่างตรงจุด

    เนื้อเรื่องไม่ได้บอกว่าเกิดอะไรขึ้นถึงทำให้คุณไอซาวะลาออกจากการเป็นมนุษย์แล้วผันตัวมาเป็นแมวมานูล แต่เมื่อดูจากคำใบ้ในแต่ละตอน (โดยเฉพาะตอนสุดท้าย) ผมมองว่านางคงเบื่อชีวิตมนุษย์ที่วัน ๆ ได้แต่ไหลไปตามสิ่งรอบข้างอย่างกระแสสังคม ความควาดหวังและแรงกดดันจากคนรอบข้าง (ซึ่งไป ๆ มา ๆ ก็กลายเป็นสิ่งที่เรารับมากระทำกับตัวเราเอง) ตลอดจนการยอมจำนนต่อ "โชคชะตา" เดี๋ยวดวงดี เดี๋ยวดวงซวย ช่วงนี้ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อหลีกเลี่ยงกาลกิณี ฯลฯ

    ในเมื่อมีแต่มนุษย์ที่ปวดหัววุ่นวายกับเรื่องเหล่านี้ แต่แมวใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องนำพาต่อสิ่งเหล่านี้ นางก็เลยเลิกเป็นมนุษย์แล้วเป็นแมวซะดื้อ ๆ แต่ครั้นจะเป็นแมวพันธุ์ธรรมดา ๆ พื้น ๆ ก็ไม่เอา เลยขอเป็นพันธุ์หายากอย่างแมวมานูล และพอเป็นแมวแล้ว นางเลยสามารถมองเรื่องราววุ่น ๆ ของมนุษย์ได้อย่างเป็นกลาง พร้อมทั้งให้คำแนะนำแบบชิล ๆ แต่ตรงประเด็นได้

    ถึงแม้นิยายเรื่องนี้จะขึ้นชื่อว่ามีหมอดูอยู่ แต่เนื้อเรื่องแทบไม่เกี่ยวกับการทำนายดวงชะตา (จริง ๆ) เลย กลับกัน มันแนะแนววิธีการใช้ชีวิตแบบไม่แคร์ดวง เหมือนที่แมวไม่แคร์วิถีชีวิตของมนุษย์ แต่พร้อมกันนั้น มันก็ให้คำแนะนำที่ดีอย่างยิ่งสำหรับคนที่เป็นหมอดูและอยากเป็นหมอดูครับ

    ----------

    Final Verdict: 🃏The Sun + 🃏The World + 🃏The Star + 🃏Ten of Cups + 🃏Wheel of Fortune

    'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' จะช่วยให้คุณเข้าใจความจริงว่า ต่อให้โลกนี้จะหมุนไปและชีวิตนำพาอะไรมาให้คุณ แต่คุณก็สามารถเฉิดฉายในแบบของตัวเองและมีความสุขทุกวันได้ ขอแค่คุณปล่อยจอยกับชีวิต คิดเสียว่าลาออกจากการมนุษย์แล้วทำตัวเหมือนเป็นแมวเสีย เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้แค่เวลาจำกัด แล้วทำไม เราต้องปล่อยให้เรื่องชั่วประเดี๋ยวประด๋าว (เมื่อเทียบกับเวลาของจักรวาล) มาขัดจังหวะการเก็บเกี่ยวความสุขในแต่ละวันของเราด้วย จริงไหม?

    🃏🃏🃏🃏🃏
    แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่งคาเฟมาร์เนิล (2025)
    • แปลจาก: 人間やめたマヌルさんが、あなたの人生占います (2023)
    • ผู้เขียน: ฮัตสึกิ โอโตะ
    • ผู้แปล: วิลาสินี จงสถิตวัฒนา
    • สำนักพิมพ์: Lumi (ในเครือนานมีบุ๊คส์)
    ไพ่ที่ใช้: ไพ่ทาโรต์แถมพิเศษเฉพาะฉบับพิมพ์ครั้งแรกของนิยายเรื่องนี้
    วรรณกรรมประเภทหนึ่งที่ตอนนี้มีเยอะมากโดยเฉพาะจากฝั่งตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี) แต่ผมไม่ค่อยสนใจเท่าไร คือเรื่องแนวฟีลกู๊ดประเภทสถานที่เยียวยาจิตใจ ไม่ใช่เพราะผมเป็นพวกจิตใจหยาบกระด้างหรือชอบเสพแต่ความดาร์กและความสยอง แต่เพราะผมมองว่าตัวเองพอดักทางได้ว่าเรื่องพวกนั้นมี "สาร" อย่างไร ต้องการสอนผู้อ่านอย่างไร ทั้งนี้ก็จะมีบางเรื่องที่เป็นข้อยกเว้น หนึ่งในนั้นคือคาเฟ่ของแม่หมอมานูล 'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' โดย อัตสึกิ โอโตะ เป็นนิยายแบบที่ผมคงไม่สนใจในแวบแรก ถ้าไม่ใช่เพราะโดนล่อตาล่อใจจากของแถมที่ทาง สนพ. บอกว่ามีเฉพาะในรอบพิมพ์ครั้งแรกเท่านั้น นั่นคือ ไพ่ทาโรต์ขนาดเล็ก ๆ 5 ใบที่เป็นภาพคุณมานูล แมวหมอดูตัวเอกประจำเรื่อง ข้อนี้เลยเป็นตัวแปรสำคัญให้ผมเปิดใจรับหนังสือเล่มนี้มาบรรจุเข้าชั้นที่บ้าน ไหน ๆ ก็พูดถึงหนังสือเล่มนี้แล้ว ผมก็เห็นว่ามันควรค่าแก่การรีวิวในแบบของไพ่เราเผาเรื่อง แต่รอบนี้จะต่างจากครั้งอื่น ๆ ตรงที่ผมจะไม่ใช้ไพ่ทาโรต์หรือไพ่พยากรณ์สำรับใด ๆ ในคลัง แต่จะใช้ไพ่แถม 5 ใบที่มากับหนังสือเล่มนี้เป็นเครื่องมือประกอบการ "เผาเรื่อง" โดยสับไพ่แล้วสุ่มหยิบตามลำดับ ขอเชิญรับชม #ไพ่เราเผาหนังสือ 'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' ด้วยไพ่แถมสุดน่ารักทั้ง 5 ใบ ได้ ณ บัดนี้ครับ ---------- "เรื่องจบในตอนพร้อมข้อคิดดี ๆ" 🃏The Sun + 🃏The World ในไพ่ทาโรต์ 78 ใบ The Sun เป็นไพ่ที่ความหมายดีรอบด้านในอันดับต้น ๆ แต่ไพ่ใบนี้ยังสื่อถึง "ความจริง" และ "ข้อคิดที่เป็นประโยชน์" ได้ด้วย ส่วน The World ในฐานะไพ่ใบสุดท้ายของไพ่ชุดหลัก (Major Arcana) จึงมักสื่อความถึง "จุดสิ้นสุด" และ "ความสมบูรณ์" แต่มันไม่ใช่การตัดจบแบบบริบูรณ์หรือ Happily Ever After ทว่าเป็นการจบลงของบทหนึ่งเพื่อที่จะเข้าสู่บทถัดไป 'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' มีลักษณะการเขียนแบบที่มักเจอใน Fiction ประเภทสถานที่ที่ช่วยให้ผู้คนได้ฮีลใจ นั่นคือเป็นนวนิยายแบบเนื้อเรื่องจบในตอน (Episodic novel) โดยแต่ละตอนมักจะมีข้อคิดจรรโลงใจหรือมุมมองที่น่าสนใจแตกต่างกัน บางครั้งต่างตอนก็มีสารหรือข้อคิดสำหรับคนต่างกลุ่มต่างจำพวก หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อเรื่อง 5 บท แต่ละบทสามารถอ่านแยกในฐานะเรื่องสั้นที่จบสมบูรณ์ในตัวเองได้ แต่ตอนหลัง ๆ ก็จะมีรายละเอียดบางอย่างที่ต่อเนื่องจากตอนก่อน ๆ ตัวละครดำเนินเรื่องในแต่ละตอนมีช่วงอายุ บทบาท และปัญหาคาใจแตกต่างกัน มีทั้งเด็กมัธยมที่หาทาง fit in ในสังคมห้องเรียน อินฟลูเอนเซอร์สาว ซิงเกิลมัม ไปจนถึงวัยกลางคนที่กำลังสับสนกับทิศทางชีวิตและหน้าที่การงานของตัวเอง จากนั้นโชคชะตาหรือพล็อตเรื่องก็จะพาตัวละครไปเจอกับคุณมานูลและคาเฟมาร์เนิล คุณมานูล ศูนย์กลางของเรื่อง เดิมเคยเป็นมนุษย์ชื่อ คาวาตานิ ไอซาวะ แต่ด้วยสาเหตุบางอย่าง นางเลือก 'ลาออก' จากการเป็นมนุษย์ มาอยู่ในร่างของแมวมานูล (Manul) หรืออีกชื่อคือแมวพัลลาส (Pallas's cat) และรับดูดวงด้วยสารพัดวิธี ไม่ว่าจะใช้ไพ่ ลูกแก้ว หรือเครื่องเสี่ยงเซียมซีรูเลตต์ พร้อมทั้งเปิดคาเฟ่ร่วมกับคนที่น่าจะเป็นสามีและลูกสาว (ส่วนชื่อคาเฟ่ ทำไมถึงชื่อ "มาร์เนิล" แทนที่จะเป็น "มานูล" ตรงนี้ในหนังสือมีอธิบายไว้ แต่สั้น ๆ คือเป็นมุกที่เล่นกับตัวเขียนญี่ปุ่นแบบคาตาคานะ ซึ่งต้องขอชื่นชมผู้แปลที่พยายามเรียบเรียงเป็นไทยให้ใกล้เคียงโดยไม่เสียอรรถรสของต้นฉบับ) เนื้อเรื่องแต่ละตอนดำเนินไปอย่างค่อนข้างเป็นสูตรสำเร็จ เริ่มจากแนะนำตัวละครและชีวิตประจำวันที่เจ้าตัวไม่พึงพอใจเท่าไร จากนั้นตัวละครก็จะได้เจอคุณมานูลช่วยทำนายดวงชะตาพร้อมทั้งให้คำแนะนำแบบคร่าว ๆ เพื่อพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งตัวละครจะทำตามและอะไร ๆ ก็ดูจะดีขึ้นจริง ๆ แต่แล้วก็จะมีเหตุสักอย่างให้ชีวิตตัวละครกลับไปเป็นแบบตอนต้นเรื่องหรือเผลอ ๆ เหมือนจะดูแย่ลง และทำให้ตัวละครได้รับการชี้แนะจากคุณมานูลเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งคราวนี้เรื่องก็จะดูจบตอนแบบแฮปปี้เอนดิ้ง ชวนให้นึกถึงโดราเอมอนแแบบอนิเมะในทีวีที่ฉายเป็นตอน ๆ หรือการ์ตูนต่อสู้อย่างเซเลอร์มูนช่วงแรก ๆ ที่จะมีตัวร้ายประจำสัปดาห์ (Monster of the week) มาให้ตัวเอกปราบ นิยายประเภทสถานที่ฮีลใจมักมีตัวละครประจำตอนที่แแตกต่างกันทั้งช่วงอายุและอาชีพ เพื่อจะได้เป็นตัวแทนของคนอ่านในกลุ่มต่าง ๆ นิยายเล่มนี้ก็เช่นกัน ทั้ง 5 ตอนมีตัวละครตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยกลางคน ซึ่งก็น่าจะเป็นกลุ่มคนที่ผู้เขียนคคาดหวังว่าจะรวมอยู่ในหมู่คนอ่านหนังสือเล่มนี้ด้วย และถึงแม้ปัญหาที่ตัวละครในเรื่องเผชิญอาจไม่ตรงกับเรื่องที่คนอ่านในช่วงวัยเดียวกันเจอในชีวิตจริงทั้งหมด แต่ข้อคิดและคำแนะนำจากคุณมานููลในแต่ละตอนก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เช่นกัน ---------- "เยียวยาจิตใจในสถานที่ที่มอบความสุข" 🃏The Star + 🃏Ten of Cups The Star คือดวงดาว จึงเป็นไพ่ตัวแทนหลายสิ่งหลายอย่างที่คนเรามักเชื่อมโยงกับดาว ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียง ความโด่งดัง หรือความหวัง แต่มันก็มีอีกความหมายหนึ่ง นั่นคือ "การเยียวยา" ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ส่วนไพ่ 10 ถ้วย โดยทั่วไปมักหมายถึงบ้านหรือครอบครัว แต่บางกรณีก็สื่อถึง "ความสุขอย่างเต็มเปี่ยม" โดยเป็นความสุขที่มาจากกลุ่มคนที่อยู่กันสนิทชิดเชื้อเหมือนเป็นครอบครัว (แบบใน "แฟ้มเมอะหลี่" ของพี่ดอม ทอร์เรตโต แห่งซีรีส์ Fast & Furious) หรือจากาสถานที่มีผู้พร้อมจะส่งมอบความสุขให้ผู้อื่น คาเฟ่มาร์เนิลของคุณมานูลลงล็อกพอดีกับคำจำกัดความของสถานที่แบบที่ว่า แต่ก็อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ข้างบน ๆ นิยายเรื่องนี้ผลิตซ้ำ Trope ของสถานที่ที่ให้ความช่วยเหลือผู้คนในการแก้ปัญหาและเยียวยาจิตใจ ซึ่งเป็นเทรนด์ที่กำลังนิยมกันในวงการวรรณกรรมฝั่งเอเชียตะวันออก แต่ละเรื่องอาจมีสถานที่ต่างกันไป บางเรื่องเป็นคาเฟ่ บางเรื่องเป็นร้านเบเกอรี่ บ้างเรื่องเป็นร้านหนังสือหรือห้องสมุด แต่ทุกเรื่องจบลงที่ตัวละครซึ่งไปเยือนสถานที่นั้น ๆ ได้เยียวยาบาดแผลหรือปมปัญหาในใจ หรือได้ปลดล็อกอะไรสักอย่างที่ติดค้างอยู่ น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่า ในชีวิตจริงซึ่งไม่ได้มีมนตร์วิเศษอยู่ (อย่างน้อยก็ในแบบที่มักเกิลอย่างเรา ๆ จับต้องและพิสูจน์ได้) คนเราก็มีสถานที่สำหรับเยียวยาจิตใจที่บอบช้ำและแตกร้าว นอกจากกลับบ้านไปหาครอบครัวแล้ว ที่อื่นที่คนมักไปเพื่อฮีลใจตัวเอง เช่น คาเฟ่ ซุ้มหมอดู (หรือบางคนก็ทักไปหาหมอดูทางออนไลน์) และที่ใดก็ตามที่มีแมวอยู่ กล่าวอีกอย่างคือ คาเฟ่ การดูดวง และแมว คือ Top 3 แห่งเครื่องเยียวยาจิตใจของมนุษย์ในปัจจุบัน (ซึ่งจะเรียกว่าเป็นยุคทุนนิยมหรือยุคโพสต์โมเดิร์นก็ตามแต่) และสามอย่างที่ว่านี้ นอกจากในนิยายซีรีส์ "ร้านกาแฟจันทร์เต็มดวง" แล้ว ก็มีคุณมานูลในนิยายเรื่องนี้ที่รวมทุกอย่างไว้ในตัว เหมือนผู้เขียนจงใจ หรือไม่ก็สร้างไว้ให้คนอ่านที่ชอบ Overanalyze ได้สังเกตและทึกทักเอา ---------- "โชคชะตาไม่สำคัญเมื่อเธอนั้นกลายเป็นแมว" 🃏Wheel of Fortune ไพ่วงล้อแห่งโชคชะตาเป็นใบหนึ่งที่ท้าทายสกิลการอ่านและตีความไพ่ของผู้อ่านไพ่มากที่สุด บางบริบท มันสื่อถึงการที่โชคชะตากำลังดำเนินไปในทางที่ดีขึ้น แต่ถ้าช่วงนั้นดวงกกำลังดี ๆ อยู่ มันก็อาจเป็นคำเตือนในระวังถึงขาลงของชีวิตที่ส่อแววมาแต่ไกล โดยรวมแล้ว ไพ่ใบนี้สื่อถึง "โชคชะตา" ในภาพรวม ซึ่งโดยตัวมันเองไม่มีดีหรือร้าย แต่ที่เรามองว่าดีหรือร้ายก็เพราะเรามองจากมุมมองของตัวเรา ถ้าเรามองเรื่องที่เกิดกับคนอื่น หรือมองตัวเองอย่างเป็นภววิสัย เราก็คงมองว่าททุกอย่างเป็นเรื่องของธรรมชาติ เดี๋ยวมีดี เดี๋ยวมีร้าย ไม่แน่ไม่นอน เผลอ ๆ คาดเดาไม่ได้ (หากเราเชื่อตาม Chaos Theory) และด้วยเหตุนี้ ไพ่ใบนี้จึงหมายรวมถึงการพยากรณ์ การดูดวง หรือการตรวจสอบดวงชะตาเช่นกัน ไม่รู้มีใครเป็นเหมือนผมไหม ตอนเห็นชื่อหนังสือฉบับแปลไทยครั้งแรก ก็คิดว่าคุณมานูลน่าจะเป็นตัวละครประเภทกวน ๆ ที่ทำนายดวงตรงมั่งมั่วมั่ง (แต่สุดท้ายก็ช่วยให้ตัวละครในแต่ละตอนได้มีความสุขอยู่ดี ตามแนวทางของนิยายฮีลใจแบบนี้) แต่พอได้อ่านจริงก็พบว่านางเป็นคาแรกเตอร์ประเภทกวน ๆ จริง กวนแบบน่ารัก ๆ ชนิดที่เชื่อว่าทุกคนน่าจะอยากมีเพื่อนสนิทแบบนี้สักคนสองคน ทว่าสิ่งที่ดูเหมือนจะหายไปคือการทำนายแบบมั่ว ๆ เพราะเท่าที่อ่านเจอในเรื่อง คุณมานูลไม่เคยทำนายดวงชะตาให้ตัวละครไหนแบบมั่ว ๆ เลย อย่างมากคือทำนายแบบส่งเดช พอให้เห็นว่ามีการใช้อุปกรณ์ทำนาย (อันนี้พูดในฐานะคนที่ทุกวันนี้รายรอบด้วยคนในวงการนักพยากรณ์ และเคยเจอหมอดูที่ทำนายแบบมั่วซั่วมาจนมากเกินจะนับด้วยนิ้วมือรวมนิ้วเท้าได้) อันที่จริงชื่อต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นของนิยายเรื่องนี้แปลตรงตัวแค่ว่า "คุณมานูลผู้ลาออกจากการเป็นมนุษย์จะทำนายดวงชะตาให้คุณ" ด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม คุณมานูลตลอดทั้งเรื่องจะเล่นอีกบทบาทหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบาทที่หมอดูทุกศาสตร์ทุกแขนงควรเป็นในตัว (ถ้ายังไม่เป็นก็ควรฝึกตัวเองให้เป็น หรือไป take course เสียโดยด่วน โปรดรู้ว่าสังคมทุกวันนี้กำลังต้องการมาก) นั่นคือการเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านจิตใจและสังคม เนื้อเรื่องไม่เคยฟันธงว่าคุณมานูลดูดวงเป็นจริง ๆ หรือไม่ แต่เรื่องแสดงให้เห็นว่านางดูคนเป็น เข้าใจว่าแต่ละคนกำลังขาดหรือล้นเกินในเรื่องอะไร ซึ่งก็น่าจะเป็นทักษะที่ติดตัวมาตั้งแต่สมัยนางยังเป็นมนุษย์ และจากตรงนี้ นางจึงให้คำแนะนำแบบแมว ๆ ให้แต่ละตัวละครรับไปหาทางแก้ปัญหาของตัวเองอย่างตรงจุด เนื้อเรื่องไม่ได้บอกว่าเกิดอะไรขึ้นถึงทำให้คุณไอซาวะลาออกจากการเป็นมนุษย์แล้วผันตัวมาเป็นแมวมานูล แต่เมื่อดูจากคำใบ้ในแต่ละตอน (โดยเฉพาะตอนสุดท้าย) ผมมองว่านางคงเบื่อชีวิตมนุษย์ที่วัน ๆ ได้แต่ไหลไปตามสิ่งรอบข้างอย่างกระแสสังคม ความควาดหวังและแรงกดดันจากคนรอบข้าง (ซึ่งไป ๆ มา ๆ ก็กลายเป็นสิ่งที่เรารับมากระทำกับตัวเราเอง) ตลอดจนการยอมจำนนต่อ "โชคชะตา" เดี๋ยวดวงดี เดี๋ยวดวงซวย ช่วงนี้ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อหลีกเลี่ยงกาลกิณี ฯลฯ ในเมื่อมีแต่มนุษย์ที่ปวดหัววุ่นวายกับเรื่องเหล่านี้ แต่แมวใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องนำพาต่อสิ่งเหล่านี้ นางก็เลยเลิกเป็นมนุษย์แล้วเป็นแมวซะดื้อ ๆ แต่ครั้นจะเป็นแมวพันธุ์ธรรมดา ๆ พื้น ๆ ก็ไม่เอา เลยขอเป็นพันธุ์หายากอย่างแมวมานูล และพอเป็นแมวแล้ว นางเลยสามารถมองเรื่องราววุ่น ๆ ของมนุษย์ได้อย่างเป็นกลาง พร้อมทั้งให้คำแนะนำแบบชิล ๆ แต่ตรงประเด็นได้ ถึงแม้นิยายเรื่องนี้จะขึ้นชื่อว่ามีหมอดูอยู่ แต่เนื้อเรื่องแทบไม่เกี่ยวกับการทำนายดวงชะตา (จริง ๆ) เลย กลับกัน มันแนะแนววิธีการใช้ชีวิตแบบไม่แคร์ดวง เหมือนที่แมวไม่แคร์วิถีชีวิตของมนุษย์ แต่พร้อมกันนั้น มันก็ให้คำแนะนำที่ดีอย่างยิ่งสำหรับคนที่เป็นหมอดูและอยากเป็นหมอดูครับ ---------- Final Verdict: 🃏The Sun + 🃏The World + 🃏The Star + 🃏Ten of Cups + 🃏Wheel of Fortune 'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' จะช่วยให้คุณเข้าใจความจริงว่า ต่อให้โลกนี้จะหมุนไปและชีวิตนำพาอะไรมาให้คุณ แต่คุณก็สามารถเฉิดฉายในแบบของตัวเองและมีความสุขทุกวันได้ ขอแค่คุณปล่อยจอยกับชีวิต คิดเสียว่าลาออกจากการมนุษย์แล้วทำตัวเหมือนเป็นแมวเสีย เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้แค่เวลาจำกัด แล้วทำไม เราต้องปล่อยให้เรื่องชั่วประเดี๋ยวประด๋าว (เมื่อเทียบกับเวลาของจักรวาล) มาขัดจังหวะการเก็บเกี่ยวความสุขในแต่ละวันของเราด้วย จริงไหม? 🃏🃏🃏🃏🃏 แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่งคาเฟมาร์เนิล (2025) • แปลจาก: 人間やめたマヌルさんが、あなたの人生占います (2023) • ผู้เขียน: ฮัตสึกิ โอโตะ • ผู้แปล: วิลาสินี จงสถิตวัฒนา • สำนักพิมพ์: Lumi (ในเครือนานมีบุ๊คส์) ไพ่ที่ใช้: ไพ่ทาโรต์แถมพิเศษเฉพาะฉบับพิมพ์ครั้งแรกของนิยายเรื่องนี้
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 600 มุมมอง 0 รีวิว
  • สำหรับผม ญี่ปุ่นและไทยคล้ายคลึงกันมากในปริมณฑลเรื่องเหนือธรรมชาติ ไทยเรามีภูตผีหลากหลายดีไซน์มากพอ ๆ กับโยไคของญี่ปุ่น ต่างกันแค่ผีญี่ปุ่นยังมีการรวมตัวเดินขบวนพาเหรดเป็น "ขบวนแห่ร้อยอสูร" (百鬼夜行 - เฮียกกิยาเกียว) จนเมื่อได้อ่านนิยายเล่มนี้เองที่ได้เจอเรื่องราวของขบวนแห่แบบที่ว่าในรูปผสมผสานสองเชื้อชาติ

    'เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง' โดย กันตชาต ชวนะวิรัช เป็นนวนิยายที่ได้รับคัดเลือกจาก บ.อมรินทร์ให้ตีพิมพ์ในโปรเจกต์ "ไทยเล่าไทยหลอน" เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในที่ที่เป็นไปได้มากว่าจะอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีตำนานท้องถิ่นกล่าวถึงขบวนแห่ร้อยผีที่มีผู้ร่วมขบวนทั้งผีไทยและผีญี่ปุ่น มีผู้นำขบวนคือ เทพอาคันตุกะ หรือนูราริเฮียง ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งโยไคของญี่ปุ่น เล่ากันว่าหากคนทั่วไปที่ไม่ได้มีสัมผัสพิเศษมองเห็นขบวนแห่ร้อยผีเข้า ก็จะโดนทั้งขบวนตามล่าเพื่อนำวิญญาณไปร่วมขบวนด้วย ในเนื้อเรื่อง อัญรินทร์เห็นขบวนแห่นี้และโดนหมายหัว อัคร น้องชายวัย ม.ปลาย ซึ่งมองเห็นวิญญาณได้ จึงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อพาพี่สาวหลบหนีจากขบวนแห่ร้อยผี แม้กระทั่งต้องเข้าไปซ่อนในบ้านเด็กกำพร้าผีสิงก็ตาม

    ถึงจะขึ้นชื่อว่าเป็นเรื่องผี มีคำว่า "ผี" อยู่ในชื่อเรื่อง แต่โทนเรื่องโดยรวมไม่ได้เน้นความน่ากลัวสยองขวัญเท่าไร (สำหรับผมอะนะ) ออกจะเป็นแฟนตาซีที่แฝงกลิ่นอายลึกลับแบบ Spirited Away ของสตูดิโอจิบลิมากกว่า คงเพราะมีผีญี่ปุ่นอยู่ในเรื่องด้วย (แต่ก็น่าเสียดายนิดหน่อยที่เอาจริง ๆ ถ้าเทียบแอร์ไทม์แล้ว ผีในขบวนแห่ร้อยผีกลับมีบทบาทน้อยกว่าผีที่ไม่ได้อยู่ในขบวนแห่เสียอีก) ทั้งนี้ ตอนจบทั้งสวยงามและปวดตับอย่างยิ่ง ต่อให้คุณพอจะคาดการณ์ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ผมเชื่อว่าบทสุดท้ายก็น่าจะกระชากอารมณ์คุณไม่มากก็น้อย ยกเว้นก็แต่คุณจะอารมณ์ตายด้านไปแล้วหรือไม่ก็เป็นไซโคพาธ อี๋ย์ ไปให้พ้น ชิ่ว ๆ

    อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่พื้นที่ที่ผมจะรีวิวหนังสือ แต่ผมจะให้ไพ่ทาโรต์หรือไพ่พยากรณ์ในคลังของผมกำหนดประเด็นที่จะรีวิว วิจารณ์ หรือหยิบยกมาพูด แล้วผมจะนำมาแปลและถ่ายทอดต่ออีกที โดยสุ่มจับไพ่ 4 ใบ และใช้ไพ่ใต้กองอีก 1 ใบ

    สำหรับนิยายเล่มนี้ ซึ่งมีภูตผีญี่ปุ่นมาเกี่ยวข้อง ผมก็คิดว่าน่าจะเหมาะสมถ้าใช้ไพ่ที่มีธีมเป็นผีญี่ปุ่นมาทำการ "เผาเรื่อง" นั่นคือไพ่ชุด 'Yokai Tarot' โดย สนพ.Lo Scarabeo จากอิตาลี

    ขอเชิญรับชม #ไพ่เราเผาหนังสือ 'เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง' ด้วย 'Yokai Tarot' ได้ ณ บัดนี้ครับ

    ----------

    "หลอกลวงคนอ่านอย่าง(เกือบ)แนบเนียน"
    🃏I-The Magician + 🃏XIV-Temperance

    ไพ่ Magician ของ Yokai Tarot เลือกหน้าไพ่เป็นปีศาจทานุกิ ซึ่งเป็นโยไคที่ขึ้นชื่อเรื่องการแปลงร่างไปหลอกลวงหรือแกล้งมนุษย์ ตรงกับความหมายในแง่ "การหลอกลวง" ของไพ่นักมายากล ส่วนไพ่ Temperance มีหน้าไพ่เป็น "นิงเกียว" หรือก็คือนางเงือกแบบญี่ปุ่น เชื่อกันว่าเนื้อของเงือกญี่ปุ่นจะทำให้อายุยืนยาวหรือถึงขั้นเป็นอมตะ แต่เฉพาะในบริบทของไพ่แห่งความพอดี เงือกคือตัวตนที่แสดงถึงความสอดประสานกันอย่างลงตัว กลมเกลียว และ "แนบเนียน" ระหว่างสิ่งตรงข้าม ไม่ว่าจะคนและปลา หรือบกและน้ำ

    'เฮียกกิยาเกียว' เป็นนิยายที่ไม่ได้ใส่ผีมาหลอกตัวละครในเรื่องอย่างเดียว แต่ตัวมันยังพยายามหลอกคนอ่านอย่างเราให้เข้าใจผิดเกือบตลอดเวลา ซึ่งก็มาพร้อมกับ Plot twists หรือการหักมุมหลายตลบ แต่ก็ไม่ได้เป็นการหักแบบคอพับ 180 องศาชนิดไม่มีปี่มีขลุ่ย ระหว่างทาง เนื้อเรื่องจะแอบหยอดรายละเอียดที่ค่อย ๆ นำไปสู่การเฉลยปมหักมุมแต่ละเรื่อง ดังนั้นสำหรับผู้อ่านที่ช่างสังเกตและช่างคิด รวมถึงมีชั่วโมงบินเยอะ ก็อาจคาดเดาจุดหักมุมแต่ละจุดได้ไม่ยาก รวมถึง Plot twist ใหญ่ในหน้า 226

    นอกจากนี้ ผมชอบเป็นพิเศษที่ไพ่ Temperance ขึ้นมาในหัวข้อนี้พอดี ความหมายหลักอย่างหนึ่งของไพ่ใบนี้คือ "ความกลมเกลียว" และ "การสอดประสานกันอย่างลงตัว" ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายได้ดีอย่างยิ่งกับความสัมพันธ์ระหว่างสังคมมนุษย์กับสังคมผีในนิยายเรื่องนี้ เนื้อเรื่องบรรยายว่าชุมชนในเรื่องเป็นที่ที่ผีและคนอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด จนบางครั้งพรมแดนระหว่าง 2 ภพก็พร่าเลือนโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรืออาจจะทั้ง 2 ฝ่ายไม่รู้ตัว ซึ่งนี่ก็เป็นกลวิธีอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนใช้หลอกลวงคนอ่านด้วย (แน่นอนว่าตรงนี้ไม่ได้สปอยล์สาระสำคัญของเรื่องแต่อย่างใด ;) )

    ----------

    "บูรณาการตำนาน(ผี)จากสองชาติ"
    🃏Queen of Coins (Queen of Pentacles) + 🃏3 of Coins (3 of Pentacles)

    โยไคบนหน้าไพ่ราชินีเหรียญของชุด Yokai Tarot คือ "ยามะฮิเมะ" (เจ้าหญิงแห่งขุนเขา) ซึ่งมีบทบาทคล้าย ๆ วิญญาณเจ้าป่าเจ้าเขาในไทยเรา เป็นผู้ปกปักรักษาสิ่งต่าง ๆ ในพื้นที่ภูเขาของตน ทั้งป่าดงพงไพร พืช สัตว์ รวมถึงมนุษย์ที่อาศัยในบริเวณนั้นและเคารพบูชานาง บทบาทตามตำนานความเชื่อของโยไคตนนี้ตรงกับความหมายของไพ่ราชินีเหรียญในแง่การเป็นผูปกปักรักษา บำรุงเลี้ยงดู ขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงกับความหมายด้านธรรมชาติของไพ่ใบนี้ด้วย ส่วนในบริบทของนิยายเรื่องนี้ ผมตีความว่าไพ่ใบนี้สื่อถึงสิ่งที่เป็นเสมือนธรรมชาติเก่าแก่ในชุมชนท้องที่ต่าง ๆ ซึ่งก็คือวัฒนธรรม ตำนาน คติชน และเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่มีมาแต่โบราณในท้องที่นั้น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในท้องถิ่นหวนแหนและดูแลสืบต่อไปยังชนรุ่นหลัง

    ส่วนไพ่ 3 เหรียญเป็นภาพของ "อิปปงดาตาระ" โยไคตาเดียวขาเดียวที่ว่ากันว่าเคยเป็นช่างฝีมือมาก่อน แต่แกทุ่มเทให้กับงานที่ทำมากเกินไปจนสูญเสียดวงตากับขาไปอย่างละข้าง ไพ่ชุดนี้นำโยไคตนนี้มาเชื่อมโยงกับไพ่ 3 เหรียญในแง่ที่ตัวมันเป็นภูตที่มีที่มาจากช่างฝีมือ ซึ่งเป็นความหมายหนึ่งของไพ่ใบนี้ ส่วนอีกความหมายที่รู้จักกันมากกว่าคือ "การร่วมมือ" (รวมถึงงานประเภทคอลแลบฯ ระหว่างศิลปิน) และ "การบูรณาการ"

    ไพ่สองใบนี้รวมกัน จึงสื่อถึง การบูรณาการของตำนานความเชื่อเก่าแก่ ซึ่งในบริบทของ 'เฮียกกิยาเกียว' มันก็คือการบูรณาการความเชื่อเกี่ยวกับภูตผีของไทยและญี่ปุ่น จนกลายมาเป็นขบวนแห่ร้อยผีประจำนิยายเรื่องนี้ ซึ่งเป็นจุดเด่นของเรื่องที่ต้องชื่นชมความช่างคิดของผู้เขียนจริง ๆ

    ในขบวนแห่ร้อยผี นอกจากจะมีโยไคญี่ปุ่นอย่างนูราริเฮียงแล้ว ยังมีผีไทยที่คนภาคกลางอาจไม่คุ้นเคยเท่าไร เช่น ผีม้าบ้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นครึ่งคนครึ่งม้าคล้ายเซนทอร์ของกรีก (ในนิยายเล่มนี้เรียกผีม้าบ้องว่า "เซนทอร์แห่งล้านนา" ด้วยซ้ำ) หรือแมวจะกละ แมวดำที่ทำให้มนุษย์ที่ได้สัมผัสร่างต้องพบความตายอย่างน่าสยดสยอง นอกจากนั้นยังมีผีบางตนที่มีอยู่ในทั้งเรื่องผีของไทยและญี่ปุ่นอย่างผีกระสือ ซึ่งเวอร์ชันของญี่ปุ่นเรียกว่า "นูเกะคูบิ"

    นอกจากนั้น นิยายเรื่องนี้ยังบูรณาการเรื่องจริงที่มีบันทึกในประวัติศาสตร์ไทยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องด้วย โดยเชื่อมโยงกับชีวิตของยามาดะ นางามาสะ หรือ ออกญาเสนาภิมุข (ซึ่งตรงนี้ทำให้ผมค่อนข้างเชื่อว่า ฉากท้องเรื่องของเรื่องนี้อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช)

    ----------

    "บางสิ่งที่ไม่อาจหนีพ้น"
    ใต้กอง: 🃏Judgement

    ไพ่ใต้กองของการเปิดไพ่ "เผาเรื่อง" ครั้งนี้คือไพ่ Judgement ซึ่งเป็นภาพของโยไคชื่อ "คิโยะฮิเมะ" นางเป็นปีศาจงูที่ไปตกหลุมรักพระรูปหนึ่งอย่างจัง แต่พระหนุ่มไม่เล่นด้วย ทิ้งนางอย่างไม่ไยดี นางจึงตามล่าพระหนุ่มไปทั่วญี่ปุ่น จนในที่สุด พระหนุ่มไปหลบซ่อนในระฆังวัด แต่นางก็หาเจอ และคลายขนดหางออกมารัดระฆัง ก่อนจะพ่นไฟออกมาย่างสดพระหนุ่ม โหดฉิบ แต่ใด ๆ คือ ไพ่ชุดนี้เลือกวีรกรรมการตามล่าเหยื่ออย่างไม่ลดไม่ละของนางมาเชื่อมโยงกับความหมายของไพ่ Judgement ในด้านการมาถึงของบางสิ่งที่เราไม่อาจหนีพ้น ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม อาจเป็นความจริงหรือสัจธรรมของจักรวาล

    การถูกตามล่าโดยบางสิ่งที่ไม่อาจหนีพ้น คือแก่นเรื่องของ 'เฮียกกิยาเกียว' ใครก็ตามที่มองเห็นขบวนแห่ร้อยผี (ยกเว้นผู้มีตาทิพย์หรือสัมผัสพิเศษ) จะต้องถูกตามล่าไปตลอดกาล จนกว่าภูตผีในขบวนจะจับตัวและพาไปร่วมขบวนได้ อาจมีบางช่วงเวลาหรือเงื่อนไขที่ช่วยให้ยืดเวลาหรือหลบหนีจากขบวนแห่ร้อยผีได้ แต่ก็ทำได้แค่ชั่วคราว

    เมื่ออ่านนิยายเล่มนี้ไปเรื่อย ๆ คนอ่านจะพบว่า ไม่ได้มีแค่อัครและอัญรินทร์ สองตัวละครเอกที่พยายามหนีจากขบวนแห่ร้อยผี มีคนอื่นที่เคยพบเจอและพยายามหนีจากพวกมันด้วย รวมทั้งมีตัวละครอื่นที่พยายามหลบหนีจากอะไรอย่างอื่น แต่ทุกสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่มีทางหลบหนีพ้น ดังนั้นจึงมีทางเลือกแค่หาทางหนีประวิงเวลาไปเรื่อย ๆ หรือยอมจำนน

    ----------

    Final Verdict: 🃏I-The Magician + 🃏XIV-Temperance + 🃏Queen of Coins (Queen of Pentacles) + 🃏3 of Coins (3 of Pentacles) + 🃏Judgement (ใต้กอง)

    'เฮียกกิยาเกียว' เป็นเรื่องที่นำตำนานความเชื่อและเรื่องเหล่าอันแตกต่างหลากหลายมาผสมผสานและบูรณาการเข้าด้วยกันอย่าชาญฉลาดและลงตัว พร้อมกับทำให้ปิดเล่มไปด้วยความจรรโลงใจและการตระหนักซึ่งในสัจธรรมบางประการ

    🃏🃏🃏🃏🃏
    เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง (2025)
    • ผู้เขียน: กันตชาต ชวนะวิรัช
    • สำนักพิมพ์: Prism (ในเครืออมรินทร์)
    ไพ่ที่ใช้: Yokai Tarot (2024) ผลิตและจัดจำหน่ายโดย Lo Scarabeo Tarot
    สำหรับผม ญี่ปุ่นและไทยคล้ายคลึงกันมากในปริมณฑลเรื่องเหนือธรรมชาติ ไทยเรามีภูตผีหลากหลายดีไซน์มากพอ ๆ กับโยไคของญี่ปุ่น ต่างกันแค่ผีญี่ปุ่นยังมีการรวมตัวเดินขบวนพาเหรดเป็น "ขบวนแห่ร้อยอสูร" (百鬼夜行 - เฮียกกิยาเกียว) จนเมื่อได้อ่านนิยายเล่มนี้เองที่ได้เจอเรื่องราวของขบวนแห่แบบที่ว่าในรูปผสมผสานสองเชื้อชาติ 'เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง' โดย กันตชาต ชวนะวิรัช เป็นนวนิยายที่ได้รับคัดเลือกจาก บ.อมรินทร์ให้ตีพิมพ์ในโปรเจกต์ "ไทยเล่าไทยหลอน" เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในที่ที่เป็นไปได้มากว่าจะอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีตำนานท้องถิ่นกล่าวถึงขบวนแห่ร้อยผีที่มีผู้ร่วมขบวนทั้งผีไทยและผีญี่ปุ่น มีผู้นำขบวนคือ เทพอาคันตุกะ หรือนูราริเฮียง ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งโยไคของญี่ปุ่น เล่ากันว่าหากคนทั่วไปที่ไม่ได้มีสัมผัสพิเศษมองเห็นขบวนแห่ร้อยผีเข้า ก็จะโดนทั้งขบวนตามล่าเพื่อนำวิญญาณไปร่วมขบวนด้วย ในเนื้อเรื่อง อัญรินทร์เห็นขบวนแห่นี้และโดนหมายหัว อัคร น้องชายวัย ม.ปลาย ซึ่งมองเห็นวิญญาณได้ จึงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อพาพี่สาวหลบหนีจากขบวนแห่ร้อยผี แม้กระทั่งต้องเข้าไปซ่อนในบ้านเด็กกำพร้าผีสิงก็ตาม ถึงจะขึ้นชื่อว่าเป็นเรื่องผี มีคำว่า "ผี" อยู่ในชื่อเรื่อง แต่โทนเรื่องโดยรวมไม่ได้เน้นความน่ากลัวสยองขวัญเท่าไร (สำหรับผมอะนะ) ออกจะเป็นแฟนตาซีที่แฝงกลิ่นอายลึกลับแบบ Spirited Away ของสตูดิโอจิบลิมากกว่า คงเพราะมีผีญี่ปุ่นอยู่ในเรื่องด้วย (แต่ก็น่าเสียดายนิดหน่อยที่เอาจริง ๆ ถ้าเทียบแอร์ไทม์แล้ว ผีในขบวนแห่ร้อยผีกลับมีบทบาทน้อยกว่าผีที่ไม่ได้อยู่ในขบวนแห่เสียอีก) ทั้งนี้ ตอนจบทั้งสวยงามและปวดตับอย่างยิ่ง ต่อให้คุณพอจะคาดการณ์ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ผมเชื่อว่าบทสุดท้ายก็น่าจะกระชากอารมณ์คุณไม่มากก็น้อย ยกเว้นก็แต่คุณจะอารมณ์ตายด้านไปแล้วหรือไม่ก็เป็นไซโคพาธ อี๋ย์ ไปให้พ้น ชิ่ว ๆ อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่พื้นที่ที่ผมจะรีวิวหนังสือ แต่ผมจะให้ไพ่ทาโรต์หรือไพ่พยากรณ์ในคลังของผมกำหนดประเด็นที่จะรีวิว วิจารณ์ หรือหยิบยกมาพูด แล้วผมจะนำมาแปลและถ่ายทอดต่ออีกที โดยสุ่มจับไพ่ 4 ใบ และใช้ไพ่ใต้กองอีก 1 ใบ สำหรับนิยายเล่มนี้ ซึ่งมีภูตผีญี่ปุ่นมาเกี่ยวข้อง ผมก็คิดว่าน่าจะเหมาะสมถ้าใช้ไพ่ที่มีธีมเป็นผีญี่ปุ่นมาทำการ "เผาเรื่อง" นั่นคือไพ่ชุด 'Yokai Tarot' โดย สนพ.Lo Scarabeo จากอิตาลี ขอเชิญรับชม #ไพ่เราเผาหนังสือ 'เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง' ด้วย 'Yokai Tarot' ได้ ณ บัดนี้ครับ ---------- "หลอกลวงคนอ่านอย่าง(เกือบ)แนบเนียน" 🃏I-The Magician + 🃏XIV-Temperance ไพ่ Magician ของ Yokai Tarot เลือกหน้าไพ่เป็นปีศาจทานุกิ ซึ่งเป็นโยไคที่ขึ้นชื่อเรื่องการแปลงร่างไปหลอกลวงหรือแกล้งมนุษย์ ตรงกับความหมายในแง่ "การหลอกลวง" ของไพ่นักมายากล ส่วนไพ่ Temperance มีหน้าไพ่เป็น "นิงเกียว" หรือก็คือนางเงือกแบบญี่ปุ่น เชื่อกันว่าเนื้อของเงือกญี่ปุ่นจะทำให้อายุยืนยาวหรือถึงขั้นเป็นอมตะ แต่เฉพาะในบริบทของไพ่แห่งความพอดี เงือกคือตัวตนที่แสดงถึงความสอดประสานกันอย่างลงตัว กลมเกลียว และ "แนบเนียน" ระหว่างสิ่งตรงข้าม ไม่ว่าจะคนและปลา หรือบกและน้ำ 'เฮียกกิยาเกียว' เป็นนิยายที่ไม่ได้ใส่ผีมาหลอกตัวละครในเรื่องอย่างเดียว แต่ตัวมันยังพยายามหลอกคนอ่านอย่างเราให้เข้าใจผิดเกือบตลอดเวลา ซึ่งก็มาพร้อมกับ Plot twists หรือการหักมุมหลายตลบ แต่ก็ไม่ได้เป็นการหักแบบคอพับ 180 องศาชนิดไม่มีปี่มีขลุ่ย ระหว่างทาง เนื้อเรื่องจะแอบหยอดรายละเอียดที่ค่อย ๆ นำไปสู่การเฉลยปมหักมุมแต่ละเรื่อง ดังนั้นสำหรับผู้อ่านที่ช่างสังเกตและช่างคิด รวมถึงมีชั่วโมงบินเยอะ ก็อาจคาดเดาจุดหักมุมแต่ละจุดได้ไม่ยาก รวมถึง Plot twist ใหญ่ในหน้า 226 นอกจากนี้ ผมชอบเป็นพิเศษที่ไพ่ Temperance ขึ้นมาในหัวข้อนี้พอดี ความหมายหลักอย่างหนึ่งของไพ่ใบนี้คือ "ความกลมเกลียว" และ "การสอดประสานกันอย่างลงตัว" ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายได้ดีอย่างยิ่งกับความสัมพันธ์ระหว่างสังคมมนุษย์กับสังคมผีในนิยายเรื่องนี้ เนื้อเรื่องบรรยายว่าชุมชนในเรื่องเป็นที่ที่ผีและคนอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด จนบางครั้งพรมแดนระหว่าง 2 ภพก็พร่าเลือนโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรืออาจจะทั้ง 2 ฝ่ายไม่รู้ตัว ซึ่งนี่ก็เป็นกลวิธีอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนใช้หลอกลวงคนอ่านด้วย (แน่นอนว่าตรงนี้ไม่ได้สปอยล์สาระสำคัญของเรื่องแต่อย่างใด ;) ) ---------- "บูรณาการตำนาน(ผี)จากสองชาติ" 🃏Queen of Coins (Queen of Pentacles) + 🃏3 of Coins (3 of Pentacles) โยไคบนหน้าไพ่ราชินีเหรียญของชุด Yokai Tarot คือ "ยามะฮิเมะ" (เจ้าหญิงแห่งขุนเขา) ซึ่งมีบทบาทคล้าย ๆ วิญญาณเจ้าป่าเจ้าเขาในไทยเรา เป็นผู้ปกปักรักษาสิ่งต่าง ๆ ในพื้นที่ภูเขาของตน ทั้งป่าดงพงไพร พืช สัตว์ รวมถึงมนุษย์ที่อาศัยในบริเวณนั้นและเคารพบูชานาง บทบาทตามตำนานความเชื่อของโยไคตนนี้ตรงกับความหมายของไพ่ราชินีเหรียญในแง่การเป็นผูปกปักรักษา บำรุงเลี้ยงดู ขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงกับความหมายด้านธรรมชาติของไพ่ใบนี้ด้วย ส่วนในบริบทของนิยายเรื่องนี้ ผมตีความว่าไพ่ใบนี้สื่อถึงสิ่งที่เป็นเสมือนธรรมชาติเก่าแก่ในชุมชนท้องที่ต่าง ๆ ซึ่งก็คือวัฒนธรรม ตำนาน คติชน และเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่มีมาแต่โบราณในท้องที่นั้น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในท้องถิ่นหวนแหนและดูแลสืบต่อไปยังชนรุ่นหลัง ส่วนไพ่ 3 เหรียญเป็นภาพของ "อิปปงดาตาระ" โยไคตาเดียวขาเดียวที่ว่ากันว่าเคยเป็นช่างฝีมือมาก่อน แต่แกทุ่มเทให้กับงานที่ทำมากเกินไปจนสูญเสียดวงตากับขาไปอย่างละข้าง ไพ่ชุดนี้นำโยไคตนนี้มาเชื่อมโยงกับไพ่ 3 เหรียญในแง่ที่ตัวมันเป็นภูตที่มีที่มาจากช่างฝีมือ ซึ่งเป็นความหมายหนึ่งของไพ่ใบนี้ ส่วนอีกความหมายที่รู้จักกันมากกว่าคือ "การร่วมมือ" (รวมถึงงานประเภทคอลแลบฯ ระหว่างศิลปิน) และ "การบูรณาการ" ไพ่สองใบนี้รวมกัน จึงสื่อถึง การบูรณาการของตำนานความเชื่อเก่าแก่ ซึ่งในบริบทของ 'เฮียกกิยาเกียว' มันก็คือการบูรณาการความเชื่อเกี่ยวกับภูตผีของไทยและญี่ปุ่น จนกลายมาเป็นขบวนแห่ร้อยผีประจำนิยายเรื่องนี้ ซึ่งเป็นจุดเด่นของเรื่องที่ต้องชื่นชมความช่างคิดของผู้เขียนจริง ๆ ในขบวนแห่ร้อยผี นอกจากจะมีโยไคญี่ปุ่นอย่างนูราริเฮียงแล้ว ยังมีผีไทยที่คนภาคกลางอาจไม่คุ้นเคยเท่าไร เช่น ผีม้าบ้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นครึ่งคนครึ่งม้าคล้ายเซนทอร์ของกรีก (ในนิยายเล่มนี้เรียกผีม้าบ้องว่า "เซนทอร์แห่งล้านนา" ด้วยซ้ำ) หรือแมวจะกละ แมวดำที่ทำให้มนุษย์ที่ได้สัมผัสร่างต้องพบความตายอย่างน่าสยดสยอง นอกจากนั้นยังมีผีบางตนที่มีอยู่ในทั้งเรื่องผีของไทยและญี่ปุ่นอย่างผีกระสือ ซึ่งเวอร์ชันของญี่ปุ่นเรียกว่า "นูเกะคูบิ" นอกจากนั้น นิยายเรื่องนี้ยังบูรณาการเรื่องจริงที่มีบันทึกในประวัติศาสตร์ไทยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องด้วย โดยเชื่อมโยงกับชีวิตของยามาดะ นางามาสะ หรือ ออกญาเสนาภิมุข (ซึ่งตรงนี้ทำให้ผมค่อนข้างเชื่อว่า ฉากท้องเรื่องของเรื่องนี้อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช) ---------- "บางสิ่งที่ไม่อาจหนีพ้น" ใต้กอง: 🃏Judgement ไพ่ใต้กองของการเปิดไพ่ "เผาเรื่อง" ครั้งนี้คือไพ่ Judgement ซึ่งเป็นภาพของโยไคชื่อ "คิโยะฮิเมะ" นางเป็นปีศาจงูที่ไปตกหลุมรักพระรูปหนึ่งอย่างจัง แต่พระหนุ่มไม่เล่นด้วย ทิ้งนางอย่างไม่ไยดี นางจึงตามล่าพระหนุ่มไปทั่วญี่ปุ่น จนในที่สุด พระหนุ่มไปหลบซ่อนในระฆังวัด แต่นางก็หาเจอ และคลายขนดหางออกมารัดระฆัง ก่อนจะพ่นไฟออกมาย่างสดพระหนุ่ม โหดฉิบ แต่ใด ๆ คือ ไพ่ชุดนี้เลือกวีรกรรมการตามล่าเหยื่ออย่างไม่ลดไม่ละของนางมาเชื่อมโยงกับความหมายของไพ่ Judgement ในด้านการมาถึงของบางสิ่งที่เราไม่อาจหนีพ้น ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม อาจเป็นความจริงหรือสัจธรรมของจักรวาล การถูกตามล่าโดยบางสิ่งที่ไม่อาจหนีพ้น คือแก่นเรื่องของ 'เฮียกกิยาเกียว' ใครก็ตามที่มองเห็นขบวนแห่ร้อยผี (ยกเว้นผู้มีตาทิพย์หรือสัมผัสพิเศษ) จะต้องถูกตามล่าไปตลอดกาล จนกว่าภูตผีในขบวนจะจับตัวและพาไปร่วมขบวนได้ อาจมีบางช่วงเวลาหรือเงื่อนไขที่ช่วยให้ยืดเวลาหรือหลบหนีจากขบวนแห่ร้อยผีได้ แต่ก็ทำได้แค่ชั่วคราว เมื่ออ่านนิยายเล่มนี้ไปเรื่อย ๆ คนอ่านจะพบว่า ไม่ได้มีแค่อัครและอัญรินทร์ สองตัวละครเอกที่พยายามหนีจากขบวนแห่ร้อยผี มีคนอื่นที่เคยพบเจอและพยายามหนีจากพวกมันด้วย รวมทั้งมีตัวละครอื่นที่พยายามหลบหนีจากอะไรอย่างอื่น แต่ทุกสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่มีทางหลบหนีพ้น ดังนั้นจึงมีทางเลือกแค่หาทางหนีประวิงเวลาไปเรื่อย ๆ หรือยอมจำนน ---------- Final Verdict: 🃏I-The Magician + 🃏XIV-Temperance + 🃏Queen of Coins (Queen of Pentacles) + 🃏3 of Coins (3 of Pentacles) + 🃏Judgement (ใต้กอง) 'เฮียกกิยาเกียว' เป็นเรื่องที่นำตำนานความเชื่อและเรื่องเหล่าอันแตกต่างหลากหลายมาผสมผสานและบูรณาการเข้าด้วยกันอย่าชาญฉลาดและลงตัว พร้อมกับทำให้ปิดเล่มไปด้วยความจรรโลงใจและการตระหนักซึ่งในสัจธรรมบางประการ 🃏🃏🃏🃏🃏 เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง (2025) • ผู้เขียน: กันตชาต ชวนะวิรัช • สำนักพิมพ์: Prism (ในเครืออมรินทร์) ไพ่ที่ใช้: Yokai Tarot (2024) ผลิตและจัดจำหน่ายโดย Lo Scarabeo Tarot
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 598 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มาคุยกันถึงวลีจีนที่พบเห็นได้บ่อย

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ท่านพ่อ แต่เรื่องนี้หากลู่อี้รู้เข้า พวกเราจะมีปัญหาหรือไม่?” หยางเยวี่ยเอ่ยอย่างไม่สบายใจ
    จินเซี่ยพยักหน้าหงึกหงัก “นั่นสิ เจ้าตัวร้ายผู้นั้นมิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน ยามแกล้งคนนั้นอำมหิตนัก”...
    - จากเรื่อง <เบื้องล่างของเสื้อแพร> ผู้แต่ง หลานเส้อซือ (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)
    (หมายเหตุ ละครเรื่องยอดองค์รักษ์เสื้อแพรดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    อะไรคือ ‘มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’?

    ก่อนอื่นก็ต้องมาทำความเข้าใจกับ ‘ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ หรือ ‘เสิ่งโหยวเติง’ (省油灯)

    ในซีรีย์จีนเรามักเห็นเขาจุดเทียนเพื่อแสงสว่างกัน หรือในบางเรื่องก็จะเห็นเป็นตะเกียงน้ำมันแบบที่ใช้จานหรือชามตื้นเป็นภาชนะ ว่ากันว่า เทียนไขแรกเริ่มปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์ฉิน (ปี 221-206 ก่อนคริสต์ศักราช) เมื่อมีการนำน้ำมันจากไขสัตว์ไปเทใส่ในหลอดหญ้าที่มีเชือกทิ้งปลายออกมาเป็นไส้เทียน

    แต่ไม่ว่าจะเป็นเทียนหรือตะเกียงน้ำมันล้วนจัดเป็นของแพง เพราะต้องใช้ไขมันสกัดมาทำเทียนไขหรือเผาเป็นน้ำมัน จึงเป็นของมีราคาสูงและหายาก ไม่สามารถใช้พร่ำเพรื่อ เดิมมีใช้กันเฉพาะในวังและจวนขุนนางระดับสูง จัดเป็นของมีค่าหนึ่งรายการที่นิยมพระราชทานเป็นรางวัลให้กับขุนนาง ส่วนชาวบ้านธรรมดาก็ใช้คบเพลิงที่ทำขึ้นเองซึ่งไม่ต้องใช้น้ำมันมากเพราะใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิง แต่จะมานั่งจุดคบกันทั้งคืนในห้องก็กระไรอยู่ เราจึงมักได้ยินถึงบทกวีหรือเห็นในละครที่บัณฑิตยากจนต้องนั่งอ่านหนังสือใต้แสงจันทร์

    ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งจึงเริ่มใช้เทียนไขกันอย่างแพร่หลายเพราะมีการสกัดไขมันพืชขึ้นซึ่งขึ้นรูปและอยู่ตัวได้ดีกว่าไขสัตว์ แต่ก็ยังจัดเป็นของฟุ่มเฟือย และแน่นอนว่าเทียนนั้นมีหลายเกรด มีบันทึกว่าในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ค.ศ. 1067-1085) นั้น เทียนไขเกรดสูงหนึ่งเล่มมีราคาสูงเป็นสิบเท่าของเทียนเกรดต่ำและคิดเป็นรายได้ประมาณสามวันของชาวบ้านธรรมดาเลยทีเดียว

    ในเมื่อไขมันสำหรับทำเทียนไขหรือตะเกียงน้ำมันล้วนเป็นของหายาก จึงเกิดสิ่งประดิษฐ์ขึ้นที่ประหยัดทรัพย์กว่าซึ่งก็คือตะเกียงประหยัดน้ำมัน บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยถังแต่ใช้แพร่หลายในสมัยซ่ง บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยซ่ง

    หลักการของเทคโนโลยีตะเกียงประหยัดน้ำมันนั้นง่ายจนน่าทึ่งว่าคนโบราณช่างฉลาดคิด คือเป็นการใส่น้ำไว้ในตะเกียงเพื่อลดความร้อนและรักษาอุณหภูมิไม่ให้ไขมันนั้นถูกเผาผลาญเร็วเกินไป และต้องใช้เป็นตะเกียงกระเบื้อง จะทรงสูงหรือเตี้ยก็ได้ แต่ไม่ใช้โลหะ ว่ากันว่าสามารถประหยัดน้ำมันได้ถึงครึ่งหนึ่งทีเดียว หน้าตาเป็นอย่างไรดูได้จากรูปประกอบ

    เข้าใจแล้วว่าตะเกียงประหยัดน้ำมันเป็นอย่างไร ก็คงเข้าใจความหมายของวลี ‘คนที่มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ ได้ไม่ยาก

    วลีนี้ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่ฉลาดหรือเก่งมากจนคนอื่น ‘เอาไม่อยู่’ หรือจัดการได้ยาก กว่าจะจัดการได้ต้องสิ้นเปลืองพลังงานมาก เป็นคนที่ไม่เคยเสียเปรียบใครเพราะฉลาดทันคน ฟังดูคล้ายเป็นการเปรียบเปรยเชิงลบ แต่จริงแล้วไม่ใช่ เพราะมันแฝงไว้ด้วยอาการยอมรับหรือเลื่อมใสอย่างเสียไม่ได้จากผู้ที่พูด

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://mercury0314.pixnet.net/blog/post/469082246-錦衣之下》任嘉倫、譚松韻、韓棟、葉青、
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=936cd571088453d061412ab3
    https://www.163.com/dy/article/F2QG74VJ05238DGE.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.baike.com/wikiid/4698842907576744062?view_id=3qk0zj0se7c000
    http://www.qulishi.com/article/201906/344431.html
    https://www.sohu.com/a/410514175_189939

    #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ตะเกียงน้ำมัน #ตะเกียงประหยัดน้ำมัน #เสิ่งโหยวเติง #วลีจีน
    วันนี้มาคุยกันถึงวลีจีนที่พบเห็นได้บ่อย ความมีอยู่ว่า ... “ท่านพ่อ แต่เรื่องนี้หากลู่อี้รู้เข้า พวกเราจะมีปัญหาหรือไม่?” หยางเยวี่ยเอ่ยอย่างไม่สบายใจ จินเซี่ยพยักหน้าหงึกหงัก “นั่นสิ เจ้าตัวร้ายผู้นั้นมิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน ยามแกล้งคนนั้นอำมหิตนัก”... - จากเรื่อง <เบื้องล่างของเสื้อแพร> ผู้แต่ง หลานเส้อซือ (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า) (หมายเหตุ ละครเรื่องยอดองค์รักษ์เสื้อแพรดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) อะไรคือ ‘มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’? ก่อนอื่นก็ต้องมาทำความเข้าใจกับ ‘ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ หรือ ‘เสิ่งโหยวเติง’ (省油灯) ในซีรีย์จีนเรามักเห็นเขาจุดเทียนเพื่อแสงสว่างกัน หรือในบางเรื่องก็จะเห็นเป็นตะเกียงน้ำมันแบบที่ใช้จานหรือชามตื้นเป็นภาชนะ ว่ากันว่า เทียนไขแรกเริ่มปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์ฉิน (ปี 221-206 ก่อนคริสต์ศักราช) เมื่อมีการนำน้ำมันจากไขสัตว์ไปเทใส่ในหลอดหญ้าที่มีเชือกทิ้งปลายออกมาเป็นไส้เทียน แต่ไม่ว่าจะเป็นเทียนหรือตะเกียงน้ำมันล้วนจัดเป็นของแพง เพราะต้องใช้ไขมันสกัดมาทำเทียนไขหรือเผาเป็นน้ำมัน จึงเป็นของมีราคาสูงและหายาก ไม่สามารถใช้พร่ำเพรื่อ เดิมมีใช้กันเฉพาะในวังและจวนขุนนางระดับสูง จัดเป็นของมีค่าหนึ่งรายการที่นิยมพระราชทานเป็นรางวัลให้กับขุนนาง ส่วนชาวบ้านธรรมดาก็ใช้คบเพลิงที่ทำขึ้นเองซึ่งไม่ต้องใช้น้ำมันมากเพราะใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิง แต่จะมานั่งจุดคบกันทั้งคืนในห้องก็กระไรอยู่ เราจึงมักได้ยินถึงบทกวีหรือเห็นในละครที่บัณฑิตยากจนต้องนั่งอ่านหนังสือใต้แสงจันทร์ ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งจึงเริ่มใช้เทียนไขกันอย่างแพร่หลายเพราะมีการสกัดไขมันพืชขึ้นซึ่งขึ้นรูปและอยู่ตัวได้ดีกว่าไขสัตว์ แต่ก็ยังจัดเป็นของฟุ่มเฟือย และแน่นอนว่าเทียนนั้นมีหลายเกรด มีบันทึกว่าในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ค.ศ. 1067-1085) นั้น เทียนไขเกรดสูงหนึ่งเล่มมีราคาสูงเป็นสิบเท่าของเทียนเกรดต่ำและคิดเป็นรายได้ประมาณสามวันของชาวบ้านธรรมดาเลยทีเดียว ในเมื่อไขมันสำหรับทำเทียนไขหรือตะเกียงน้ำมันล้วนเป็นของหายาก จึงเกิดสิ่งประดิษฐ์ขึ้นที่ประหยัดทรัพย์กว่าซึ่งก็คือตะเกียงประหยัดน้ำมัน บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยถังแต่ใช้แพร่หลายในสมัยซ่ง บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยซ่ง หลักการของเทคโนโลยีตะเกียงประหยัดน้ำมันนั้นง่ายจนน่าทึ่งว่าคนโบราณช่างฉลาดคิด คือเป็นการใส่น้ำไว้ในตะเกียงเพื่อลดความร้อนและรักษาอุณหภูมิไม่ให้ไขมันนั้นถูกเผาผลาญเร็วเกินไป และต้องใช้เป็นตะเกียงกระเบื้อง จะทรงสูงหรือเตี้ยก็ได้ แต่ไม่ใช้โลหะ ว่ากันว่าสามารถประหยัดน้ำมันได้ถึงครึ่งหนึ่งทีเดียว หน้าตาเป็นอย่างไรดูได้จากรูปประกอบ เข้าใจแล้วว่าตะเกียงประหยัดน้ำมันเป็นอย่างไร ก็คงเข้าใจความหมายของวลี ‘คนที่มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ ได้ไม่ยาก วลีนี้ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่ฉลาดหรือเก่งมากจนคนอื่น ‘เอาไม่อยู่’ หรือจัดการได้ยาก กว่าจะจัดการได้ต้องสิ้นเปลืองพลังงานมาก เป็นคนที่ไม่เคยเสียเปรียบใครเพราะฉลาดทันคน ฟังดูคล้ายเป็นการเปรียบเปรยเชิงลบ แต่จริงแล้วไม่ใช่ เพราะมันแฝงไว้ด้วยอาการยอมรับหรือเลื่อมใสอย่างเสียไม่ได้จากผู้ที่พูด (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://mercury0314.pixnet.net/blog/post/469082246-錦衣之下》任嘉倫、譚松韻、韓棟、葉青、 https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=936cd571088453d061412ab3 https://www.163.com/dy/article/F2QG74VJ05238DGE.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.baike.com/wikiid/4698842907576744062?view_id=3qk0zj0se7c000 http://www.qulishi.com/article/201906/344431.html https://www.sohu.com/a/410514175_189939 #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ตะเกียงน้ำมัน #ตะเกียงประหยัดน้ำมัน #เสิ่งโหยวเติง #วลีจีน
    MERCURY0314.PIXNET.NET
    《錦衣之下》分集劇情+心得分享(第1-55集大結局劇情)任嘉倫、譚松韻、韓棟、葉青、姚奕辰、路宏主演,劇情角色演員介紹,根據藍色獅的同名小說改編,將「懸疑推理」與「古裝言情」相結合,一下夫婦劇中高甜互動,十分引人期待!
    錦衣之下 任嘉倫譚松韻主演 2019年末古裝大劇接連播出, 真的是讓人追劇追到上頭了, 這不又有一波優質古裝劇要開播, 那就是任嘉倫、譚松韻主演的 《錦衣之下》。 其實這部早在2018年
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 553 มุมมอง 0 รีวิว
  • เคยบอกรักฉันทุกวัน
    จับมือกันแล้วสัญญา
    เธอบอกจะไม่มีวันลา
    แต่สุดท้ายก็มาเปลี่ยนไป
    หรือรักของฉันยังไม่พอ
    เธอจึงไม่รอใช่ไหม
    เธอจึงเลือกเดินจากไป
    ปล่อยทิ้งฉันไว้เพียงลำพัง
    เขาดีกว่าฉันตรงไหน
    จึงมาทำให้ฉันสิ้นหวัง
    เจ็บจนหัวใจเจียนจะพัง
    น้ำตารินหลั่งมิใช่เบา
    ภาพวันวานยังคงฝังใจ
    แต่วันนี้เธอเดินไปกับเขา
    ยิ้มของเธอที่เคยเป็นของเรา
    ตอนนี้ได้เขาไปครอง
    รักฉันมันไม่ดีพอ
    ไม่ได้ไปต่อนสุดเศร้าหมอง
    นับวันน้ำตาจะเนืองนอง
    ร่ำร้องเหมือนในนิยาย
    เขาดีกว่าฉันตรงไหน
    รักของฉันจึงไร้ความหมาย
    ทำเธอเปลี่ยนใจง่ายดาย
    ใจฉันสลายแล้วเธอ
    สุดท้ายฉันคงต้องยอมรับ
    โศกเศร้าอยู่กับความเซ่อ
    พ่ายรักให้เขากับเธอ
    ขออย่าได้เจอกันอีกเลย
    เคยบอกรักฉันทุกวัน จับมือกันแล้วสัญญา เธอบอกจะไม่มีวันลา แต่สุดท้ายก็มาเปลี่ยนไป หรือรักของฉันยังไม่พอ เธอจึงไม่รอใช่ไหม เธอจึงเลือกเดินจากไป ปล่อยทิ้งฉันไว้เพียงลำพัง เขาดีกว่าฉันตรงไหน จึงมาทำให้ฉันสิ้นหวัง เจ็บจนหัวใจเจียนจะพัง น้ำตารินหลั่งมิใช่เบา ภาพวันวานยังคงฝังใจ แต่วันนี้เธอเดินไปกับเขา ยิ้มของเธอที่เคยเป็นของเรา ตอนนี้ได้เขาไปครอง รักฉันมันไม่ดีพอ ไม่ได้ไปต่อนสุดเศร้าหมอง นับวันน้ำตาจะเนืองนอง ร่ำร้องเหมือนในนิยาย เขาดีกว่าฉันตรงไหน รักของฉันจึงไร้ความหมาย ทำเธอเปลี่ยนใจง่ายดาย ใจฉันสลายแล้วเธอ สุดท้ายฉันคงต้องยอมรับ โศกเศร้าอยู่กับความเซ่อ พ่ายรักให้เขากับเธอ ขออย่าได้เจอกันอีกเลย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 190 มุมมอง 0 รีวิว
  • เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นหูคุ้นตากับ ‘คทาหรูอี้’ (หรูอี้/如意 แปลตรงตัวได้ว่า สมดังปรารถนา) บริบทที่เรามักเห็นในนิยาย/ละครจีนบ่อยๆ คือ ฮ่องเต้พระราชทานคทาหรูอี้หยกให้เป็นรางวัลต่อขุนนาง หรือบุรุษสูงศักดิ์มอบคทาหรูอี้ให้สตรีที่ถูกเลือกเป็นภรรยา อย่างเช่นตัวอย่างภาพประกอบยกมาจากละคร <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ตอนที่องค์ชายหงอี้ทรงเลือกชิงอิงเป็นพระชายา (รูปประกอบ1 ซ้าย) หรือเป็นวัตถุมงคลเหมาะกับการมอบให้เป็นของขวัญ

    เคยมีคนเขียนถึงคทาหรูอี้มาแล้วบ้าง ด้วยความหมายที่กล่าวถึงข้างต้น และเพื่อนเพจอาจเคยคุ้นกับการที่มีคทาหรูอี้ปรากฏในรูปภาพและรูปปั้นเทพเจ้าจีน และนักบวชนิยมถือคทาหรูอี้ยามสวดมนต์ ว่ากันว่าการใช้คทาหรูอี้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนานั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโบราณ

    แต่วันนี้ Storyฯ มาคุยเกี่ยวกับคทาหรูอี้ในอีกแง่มุมหนึ่ง... เพื่อนเพจเคยสงสัยเหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า เข้าใจล่ะว่าชื่อเป็นมงคล แต่คทาหรูอี้ออกจะเทอะทะ... มันไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากตั้งโชว์หรือถือไว้เท่ๆ เลยหรือ?

    จากภาพวาดโบราณ (รูปประกอบ 1 ขวา) จะเห็นว่าคทาหรูอี้เป็นของใช้ติดมือของชาวบ้าน โดยเฉพาะผู้แก่ผู้เฒ่า... แสดงว่ามันต้องมีประโยชน์สิน่ะ เพื่อนเพจพอจะเดากันออกหรือไม่?

    จากข้อมูลที่ทางพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามรวบรวมได้ คทาหรูอี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 206 ก่อนคริสตศักราช - ปีค.ศ. 220) เดิมถูกใช้เป็นไม้เกาหลัง เรียกว่า ‘หรูอี้’ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘ไม่ง้อใคร’ (不求人/ปู้ฉิวเหริน) แรกเริ่มมีรูปทรงคล้ายมือ โดยในบันทึกสมัยราชวงศ์ชิง (事物异名录/ซื่ออู้อี้หมิงลู่) ได้เขียนไว้ว่า “หรูอี้นั้นไซร้ เป็นไม้กรงเล็บ”

    นอกจากนี้ ยังมีบทความสมัยราชวงศ์เหนือใต้ว่ามีการใช้คทาหรูอี้เป็นไม้ส่งสัญญาณเคลื่อนทัพในยามศึก นัยว่าเพื่อให้ชนะศึกได้ดังใจหมาย

    คทาหรูอี้กลายเป็นวัตถุประจำตัวที่คนนิยมพกพาเพราะชื่อเป็นมงคลและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวก็ได้ จึงพัฒนารูปแบบให้สวยงามมากขึ้น ว่ากันว่าในสมัยราชวงศ์เหนือใต้นั้นใช้กันแพร่หลายในหลายแคว้นทั้งในวังและนอกวัง โดยสมัยนั้นนิยมให้ด้ามจับโค้งเป็นทรงกลุ่มดาวจระเข้ ตัวด้ามกลมมนเพื่อให้จับถนัดมือ ทำจากไม้ ไม้ไผ่หรือโลหะ มีใช้กันตั้งแต่ในวังยันชาวบ้านธรรมดานอกวัง ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังจึงทำด้ามจับให้แบนลงและเป็นเส้นตรง โค้งที่ปลายหัว

    นานวันเข้า เมื่อถึงสมัยหมิงและชิง คทาหรูอี้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในฐานะวัตถุมงคลที่ใช้ประดับบ้านเรือนหรือของขวัญ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรมีในสินสอดของหมั้นของแต่งงาน จึงมีรูปแบบที่วิจิตรขึ้น รูปทรงที่เราคุ้นตาคือหัวเป็นทรงเห็ดหลินจือ โดยเฉพาะในยุคสมัยชิงนั้น คทาหรูอี้เป็นที่นิยมมากในวัง ไม่ว่าจะในงานราชประเพณี การแต่งตั้งขุนนาง การรับทูตจากต่างแดน ฯลฯ ล้วนต้องมีการถือคทาหรูอี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล

    ปัจจุบันในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามมีการเก็บรักษาคทาหรูอี้โบราณไว้กว่าสองพันชิ้นโดยส่วนใหญ่เป็นของสมัยชิง วัสดุที่ใช้ทำคทาหรูอี้นั้นหลากหลาย มีทั้งหยกชนิดต่างๆ ปะการัง ทองคำ เงิน ทองเหลือง งาช้าง ไม้ไผ่และไม้ชนิดต่างๆ และมีการแกะสลักลวดลายมากมายลงบนคทา

    Storyฯ เคยไปเที่ยวเมื่อนานมากแล้ว จำไม่ได้เลยว่าได้เคยเห็นอะไรในพิพิธภัณฑ์นี้บ้าง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาก็มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.jianshu.com/p/faa99f5d9868
    https://new.qq.com/rain/a/20211210A027EU00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.mct.gov.cn/whzx/zsdw/ggbwy/202102/t20210210_921534.htm
    https://www.sohu.com/a/508658629_322551
    https://baike.baidu.com/item/如意/254746
    https://new.qq.com/rain/a/20220728A054CG00

    #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #คทาหรูอี้ #วัตถุมงคลจีน #ไม้เกาหลัง
    เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นหูคุ้นตากับ ‘คทาหรูอี้’ (หรูอี้/如意 แปลตรงตัวได้ว่า สมดังปรารถนา) บริบทที่เรามักเห็นในนิยาย/ละครจีนบ่อยๆ คือ ฮ่องเต้พระราชทานคทาหรูอี้หยกให้เป็นรางวัลต่อขุนนาง หรือบุรุษสูงศักดิ์มอบคทาหรูอี้ให้สตรีที่ถูกเลือกเป็นภรรยา อย่างเช่นตัวอย่างภาพประกอบยกมาจากละคร <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ตอนที่องค์ชายหงอี้ทรงเลือกชิงอิงเป็นพระชายา (รูปประกอบ1 ซ้าย) หรือเป็นวัตถุมงคลเหมาะกับการมอบให้เป็นของขวัญ เคยมีคนเขียนถึงคทาหรูอี้มาแล้วบ้าง ด้วยความหมายที่กล่าวถึงข้างต้น และเพื่อนเพจอาจเคยคุ้นกับการที่มีคทาหรูอี้ปรากฏในรูปภาพและรูปปั้นเทพเจ้าจีน และนักบวชนิยมถือคทาหรูอี้ยามสวดมนต์ ว่ากันว่าการใช้คทาหรูอี้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนานั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโบราณ แต่วันนี้ Storyฯ มาคุยเกี่ยวกับคทาหรูอี้ในอีกแง่มุมหนึ่ง... เพื่อนเพจเคยสงสัยเหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า เข้าใจล่ะว่าชื่อเป็นมงคล แต่คทาหรูอี้ออกจะเทอะทะ... มันไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากตั้งโชว์หรือถือไว้เท่ๆ เลยหรือ? จากภาพวาดโบราณ (รูปประกอบ 1 ขวา) จะเห็นว่าคทาหรูอี้เป็นของใช้ติดมือของชาวบ้าน โดยเฉพาะผู้แก่ผู้เฒ่า... แสดงว่ามันต้องมีประโยชน์สิน่ะ เพื่อนเพจพอจะเดากันออกหรือไม่? จากข้อมูลที่ทางพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามรวบรวมได้ คทาหรูอี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 206 ก่อนคริสตศักราช - ปีค.ศ. 220) เดิมถูกใช้เป็นไม้เกาหลัง เรียกว่า ‘หรูอี้’ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘ไม่ง้อใคร’ (不求人/ปู้ฉิวเหริน) แรกเริ่มมีรูปทรงคล้ายมือ โดยในบันทึกสมัยราชวงศ์ชิง (事物异名录/ซื่ออู้อี้หมิงลู่) ได้เขียนไว้ว่า “หรูอี้นั้นไซร้ เป็นไม้กรงเล็บ” นอกจากนี้ ยังมีบทความสมัยราชวงศ์เหนือใต้ว่ามีการใช้คทาหรูอี้เป็นไม้ส่งสัญญาณเคลื่อนทัพในยามศึก นัยว่าเพื่อให้ชนะศึกได้ดังใจหมาย คทาหรูอี้กลายเป็นวัตถุประจำตัวที่คนนิยมพกพาเพราะชื่อเป็นมงคลและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวก็ได้ จึงพัฒนารูปแบบให้สวยงามมากขึ้น ว่ากันว่าในสมัยราชวงศ์เหนือใต้นั้นใช้กันแพร่หลายในหลายแคว้นทั้งในวังและนอกวัง โดยสมัยนั้นนิยมให้ด้ามจับโค้งเป็นทรงกลุ่มดาวจระเข้ ตัวด้ามกลมมนเพื่อให้จับถนัดมือ ทำจากไม้ ไม้ไผ่หรือโลหะ มีใช้กันตั้งแต่ในวังยันชาวบ้านธรรมดานอกวัง ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังจึงทำด้ามจับให้แบนลงและเป็นเส้นตรง โค้งที่ปลายหัว นานวันเข้า เมื่อถึงสมัยหมิงและชิง คทาหรูอี้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในฐานะวัตถุมงคลที่ใช้ประดับบ้านเรือนหรือของขวัญ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรมีในสินสอดของหมั้นของแต่งงาน จึงมีรูปแบบที่วิจิตรขึ้น รูปทรงที่เราคุ้นตาคือหัวเป็นทรงเห็ดหลินจือ โดยเฉพาะในยุคสมัยชิงนั้น คทาหรูอี้เป็นที่นิยมมากในวัง ไม่ว่าจะในงานราชประเพณี การแต่งตั้งขุนนาง การรับทูตจากต่างแดน ฯลฯ ล้วนต้องมีการถือคทาหรูอี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล ปัจจุบันในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามมีการเก็บรักษาคทาหรูอี้โบราณไว้กว่าสองพันชิ้นโดยส่วนใหญ่เป็นของสมัยชิง วัสดุที่ใช้ทำคทาหรูอี้นั้นหลากหลาย มีทั้งหยกชนิดต่างๆ ปะการัง ทองคำ เงิน ทองเหลือง งาช้าง ไม้ไผ่และไม้ชนิดต่างๆ และมีการแกะสลักลวดลายมากมายลงบนคทา Storyฯ เคยไปเที่ยวเมื่อนานมากแล้ว จำไม่ได้เลยว่าได้เคยเห็นอะไรในพิพิธภัณฑ์นี้บ้าง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาก็มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.jianshu.com/p/faa99f5d9868 https://new.qq.com/rain/a/20211210A027EU00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.mct.gov.cn/whzx/zsdw/ggbwy/202102/t20210210_921534.htm https://www.sohu.com/a/508658629_322551 https://baike.baidu.com/item/如意/254746 https://new.qq.com/rain/a/20220728A054CG00 #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #คทาหรูอี้ #วัตถุมงคลจีน #ไม้เกาหลัง
    WWW.JIANSHU.COM
    【如懿传|如懿】年少情深,也可以走到相看两厌
    一出墙头马上,两心相许。山河依旧,唯人兰因絮果。 如懿的一生都把真心付给了自己的少年郎,年少时的扶持,无人之巅的陪伴,病榻前的守护,相比于甄嬛,她更加令人心疼。 执着勇敢是她...
    Like
    1
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 759 มุมมอง 0 รีวิว
  • “รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา” (ฉิงปู้จื๊อสัวฉี่ อี้หว่างเอ๋อร์เซิ้น / 情不知所起,一往而深)

    ต้อนรับสัปดาห์แห่งความรักกันด้วยอีกหนึ่งวลีสุดฮิตเกี่ยวกับความรัก ที่ Storyฯ เชื่อว่าแฟนนิยายจีนต้องเคยผ่านตายามตัวละครบอกรักกัน (แต่อาจแปลแตกต่างกันบ้างแล้วแต่ผู้แปล)

    ตัวอย่างจากในซีรีส์ก็มี อย่างเช่นในเรื่อง <เจินหวน จอมนางคู่แผ่นดิน> ในฉากที่เหล่ามเหสีชายาและสนมนั่งชมละครงิ้วในวังหลัง นางเอกเมื่อยังเป็นว่านกุ้ยเหรินได้พูดว่า “ในบทประพันธ์ <ศาลาโบตั๋น> มีเขียนไว้ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’...” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ละครเรื่องนี้แฝงบทกวีเลื่องชื่อไว้ในคำสนทนาหลายบท วลีที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นวลีจากบทประพันธ์ ‘ศาลาโบตั๋น’ (หมู่ตานถิง / 牡丹亭) (ค.ศ. 1598) ของทังเสียนจู่ นักอักษรและนักประพันธ์บทงิ้วที่เลื่องชื่อในสมัยราชวงศ์หมิง เป็นบทประพันธ์ที่โด่งดังเพราะเป็นเรื่องราวความรักกินใจและเพราะความสละสลวยของภาษา มีทั้งสิ้น 55 ตอน ว่ากันว่า ถ้าแสดงชุดเต็ม ละครงิ้วนี้อาจกินเวลานานถึง 22 ชั่วโมง!

    ปัจจุบัน ‘ศาลาโบตั๋น’ ยังคงเป็นหนึ่งในงิ้วสุดนิยมและได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ของบทประพันธ์ละครงิ้วโบราณที่ดีที่สุดของจีน ได้รับการแปลไปหลายภาษาเช่น อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น ฯลฯ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ‘ฝันคืนวิญญาณ’ (还魂梦)

    ‘ศาลาโบตั๋น’ เป็นเรื่องราวของตู้ลี่เหนียง สตรีลูกขุนนางที่งามเพียบพร้อม วันหนึ่งนางหลับอยู่ในอุทยานในเรือนแล้วฝันว่าได้พบรักกับบัณฑิตหนุ่มนามว่าหลิ่วเมิ่งเหมย เป็นรักที่ตราตรึงใจทำให้นางโหยหาแม้เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว สุดท้ายนางเฝ้ารอแต่ชายในฝันจนตรอมใจตายไป ก่อนตายนางได้ให้คนวาดภาพนางไว้ และสามปีให้หลัง ปรากฏว่ามีบัณฑิตหนุ่มชื่อหลิ่วเมิ่งเหมยเข้าเมืองมาสอบราชบัณฑิต ได้เห็นรูปของนางก็หลงรักและฝันถึง ในฝันนั้นนางบอกเขาว่า หากเขาขุดศพของนางที่ถูกฝังอยู่ในอุทยานขึ้นมา นางจะฟื้นคืนชีพ หลิ่วเมิ่งเหมยทำตามคำบอกของนางก็พบว่าศพของนางยังไม่เน่าเปื่อยและนางก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมาจริงๆ เขาทั้งสองจึงครองรักกันต่อไป

    จึงเป็นที่มาของวรรคที่ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’ และเป็นวลีที่ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งเพื่อสะท้อนความหมายของมันว่า รักนั้น บางทีก็หาเหตุผลและจุดเริ่มต้นไม่ได้ คนที่ถลำลงไปในรักสามารถตายเพื่อรักได้ และรักก็สามารถสร้างปาฏิหารย์ให้คนตายฟื้นคืนชีพได้

    เป็นประโยคที่ผ่านตา Storyฯ บ่อยมากจนจำไม่ได้แล้วว่ามีในละครหรือนิยายเรื่องไหนอีกที่กล่าวถึงวลีนี้ เท่าที่พอจะจำได้ ก็มีเรื่อง ‘ความฝันในหอแดง’ หากเพื่อนเพจคุ้นหูคุ้นตาจากซีรีส์หรือนิยายเรื่องอื่นก็เม้นท์มาบอกกันได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://new.qq.com/rain/a/20210820A0E6Z100
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e1f2a8e8bf19704ecbbbff47
    https://baike.baidu.com/item/情不知所起一往而深
    https://www.ximalaya.com/ask/q142274?source=m_jump

    #เจินหวน #หมู่ตานถิง #ศาลาโบตั๋น #วลีรักจีน #ทังเสียนจู่
    “รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา” (ฉิงปู้จื๊อสัวฉี่ อี้หว่างเอ๋อร์เซิ้น / 情不知所起,一往而深) ต้อนรับสัปดาห์แห่งความรักกันด้วยอีกหนึ่งวลีสุดฮิตเกี่ยวกับความรัก ที่ Storyฯ เชื่อว่าแฟนนิยายจีนต้องเคยผ่านตายามตัวละครบอกรักกัน (แต่อาจแปลแตกต่างกันบ้างแล้วแต่ผู้แปล) ตัวอย่างจากในซีรีส์ก็มี อย่างเช่นในเรื่อง <เจินหวน จอมนางคู่แผ่นดิน> ในฉากที่เหล่ามเหสีชายาและสนมนั่งชมละครงิ้วในวังหลัง นางเอกเมื่อยังเป็นว่านกุ้ยเหรินได้พูดว่า “ในบทประพันธ์ <ศาลาโบตั๋น> มีเขียนไว้ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’...” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ละครเรื่องนี้แฝงบทกวีเลื่องชื่อไว้ในคำสนทนาหลายบท วลีที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นวลีจากบทประพันธ์ ‘ศาลาโบตั๋น’ (หมู่ตานถิง / 牡丹亭) (ค.ศ. 1598) ของทังเสียนจู่ นักอักษรและนักประพันธ์บทงิ้วที่เลื่องชื่อในสมัยราชวงศ์หมิง เป็นบทประพันธ์ที่โด่งดังเพราะเป็นเรื่องราวความรักกินใจและเพราะความสละสลวยของภาษา มีทั้งสิ้น 55 ตอน ว่ากันว่า ถ้าแสดงชุดเต็ม ละครงิ้วนี้อาจกินเวลานานถึง 22 ชั่วโมง! ปัจจุบัน ‘ศาลาโบตั๋น’ ยังคงเป็นหนึ่งในงิ้วสุดนิยมและได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ของบทประพันธ์ละครงิ้วโบราณที่ดีที่สุดของจีน ได้รับการแปลไปหลายภาษาเช่น อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น ฯลฯ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ‘ฝันคืนวิญญาณ’ (还魂梦) ‘ศาลาโบตั๋น’ เป็นเรื่องราวของตู้ลี่เหนียง สตรีลูกขุนนางที่งามเพียบพร้อม วันหนึ่งนางหลับอยู่ในอุทยานในเรือนแล้วฝันว่าได้พบรักกับบัณฑิตหนุ่มนามว่าหลิ่วเมิ่งเหมย เป็นรักที่ตราตรึงใจทำให้นางโหยหาแม้เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว สุดท้ายนางเฝ้ารอแต่ชายในฝันจนตรอมใจตายไป ก่อนตายนางได้ให้คนวาดภาพนางไว้ และสามปีให้หลัง ปรากฏว่ามีบัณฑิตหนุ่มชื่อหลิ่วเมิ่งเหมยเข้าเมืองมาสอบราชบัณฑิต ได้เห็นรูปของนางก็หลงรักและฝันถึง ในฝันนั้นนางบอกเขาว่า หากเขาขุดศพของนางที่ถูกฝังอยู่ในอุทยานขึ้นมา นางจะฟื้นคืนชีพ หลิ่วเมิ่งเหมยทำตามคำบอกของนางก็พบว่าศพของนางยังไม่เน่าเปื่อยและนางก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมาจริงๆ เขาทั้งสองจึงครองรักกันต่อไป จึงเป็นที่มาของวรรคที่ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’ และเป็นวลีที่ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งเพื่อสะท้อนความหมายของมันว่า รักนั้น บางทีก็หาเหตุผลและจุดเริ่มต้นไม่ได้ คนที่ถลำลงไปในรักสามารถตายเพื่อรักได้ และรักก็สามารถสร้างปาฏิหารย์ให้คนตายฟื้นคืนชีพได้ เป็นประโยคที่ผ่านตา Storyฯ บ่อยมากจนจำไม่ได้แล้วว่ามีในละครหรือนิยายเรื่องไหนอีกที่กล่าวถึงวลีนี้ เท่าที่พอจะจำได้ ก็มีเรื่อง ‘ความฝันในหอแดง’ หากเพื่อนเพจคุ้นหูคุ้นตาจากซีรีส์หรือนิยายเรื่องอื่นก็เม้นท์มาบอกกันได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://new.qq.com/rain/a/20210820A0E6Z100 https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e1f2a8e8bf19704ecbbbff47 https://baike.baidu.com/item/情不知所起一往而深 https://www.ximalaya.com/ask/q142274?source=m_jump #เจินหวน #หมู่ตานถิง #ศาลาโบตั๋น #วลีรักจีน #ทังเสียนจู่
    腾讯网
    腾讯网从2003年创立至今,已经成为集新闻信息,区域垂直生活服务、社会化媒体资讯和产品为一体的互联网媒体平台。腾讯网下设新闻、科技、财经、娱乐、体育、汽车、时尚等多个频道,充分满足用户对不同类型资讯的需求。同时专注不同领域内容,打造精品栏目,并顺应技术发展趋势,推出网络直播等创新形式,改变了用户获取资讯的方式和习惯。
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 696 มุมมอง 0 รีวิว
  • จุดจบวัฒนธรรมพิการ ศาลสั่งประหาร! “อั้ม-อนาวิน แก้วเก็บ” มือยิง “ครูเจี๊ยบ-น้องหยอด”

    ✍️ จากวัฒนธรรมรับน้องผิดเพี้ยน สู่บทสรุปคดีสะเทือนขวัญ วัยรุ่นไทยควรได้บทเรียนอะไร จากโศกนาฏกรรมนี้? ศาลสั่งประหาร “อั้ม-อนาวิน” คดียิง “ครูเจี๊ยบ-น้องหยอด” สะเทือนใจทั้งประเทศ จุดจบวัฒนธรรมพิการต้องจบที่รุ่นเรา เหยื่อบริสุทธิ์จากวัฒนธรรมรับน้องผิดๆ จุดเริ่มต้นของการล้มล้างความรุนแรง แฝงในระบบการศึกษาไทย

    🔵 ความสูญเสียที่ต้องไม่สูญเปล่า วันที่ 28 มีนาคม 2568 กลายเป็นวันที่หลายคนจดจำ เมื่อศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำพิพากษาชั้นต้นให้ “ประหารชีวิตนายอนาวิน แก้วเก็บ” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “อั้ม” มือยิงผู้บริสุทธิ์สองราย ได้แก่ “ครูเจี๊ยบ” และ “น้องหยอด” จากเหตุการณ์เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2566

    เหตุการณ์นี้ไม่ใช่แค่ “คดีฆาตกรรม” แต่สะท้อนปัญหาฝังลึกในสังคม คือ “วัฒนธรรมรับน้องอันรุนแรง” ที่ปลูกฝังความเชื่อผิดๆ และส่งต่อกันมาโดยไร้การตรวจสอบ ❌

    🔴 “ครูเจี๊ยบ-น้องหยอด” ผู้บริสุทธิ์ที่ไม่มีวันกลับมา คดีเริ่มต้นจากความตั้งใจของกลุ่มอดีตเด็กช่าง ที่ต้องการ “สร้างผลงาน” เพื่อไปอวดในวันรับน้องของสถาบันแห่งหนึ่ง โดยนายอนาวิน วางแผนมาก่อนแล้วว่า จะก่อเหตุในวันที่ 11 พ.ย. 2566 ซึ่งเป็นวันก่อนวันรับน้อง 1 วัน

    📍 สถานที่เกิดเหตุ หน้าธนาคาร TTB สาขาคลองเตย ใจกลางกรุงเทพฯ

    🔫 เหยื่อ
    - นางสาวศิรดา สินประเสริฐ หรือครูเจี๊ยบ อายุ 45 ปี ครูสอนคอมพิวเตอร์ โรงเรียนพระหฤทัยคอนเวนต์
    - นายธนสรณ์ ห้องสวัสดิ์ หรือน้องหยอด อายุ 19 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย

    การยิงเกิดจาก “กระสุนพลาดเป้า” ซึ่งเดิมทีตั้งใจจะยิงน้องหยอด แต่กลับทำให้ครูเจี๊ยบเสียชีวิตทันที 😢

    🟠 บทเรียนจากการล่า 24 ผู้ต้องหา ปฏิบัติการ “ปิดเมือง” หลังเกิดเหตุ ตำรวจเปิดปฏิบัติการครั้งใหญ่ “ปิดเมืองล่ามือยิง” ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ใช้เวลากว่า 1 เดือน กว่าจะจับตัวผู้ต้องหาทั้งหมด 24 คนจาก 26 หมายจับ 💣

    🔍 ตรวจสอบกล้องวงจรกว่า 1,000 ตัว
    🚔 ปิดล้อม 14 จุดทั่วกรุงและปริมณฑล
    🔫 ตรวจสอบกลุ่มแชตลับ 103 คน มีแผนฆ่า มีระบบดูแลคนใน
    📱 ใช้ไลน์กลุ่มลับ 84 คน วางแผนคล้าย "องค์กรอาชญากรรม"

    หนึ่งในตำรวจสืบสวนเล่าว่า การไล่ล่าครั้งนี้ “ยิ่งกว่านิยายไล่ล่าตี๋ใหญ่” เพราะผู้ต้องหาหนีอย่างแนบเนียน เปลี่ยนสีรถ, เปลี่ยนทะเบียน, เปลี่ยนเสื้อผ้า, วางจุดลวงสับสนเจ้าหน้าที่

    🟡 จุดแตกหัก จับกุม “อั้ม-อนาวิน” บนดอยปุย 🎯 หลังไล่ล่าจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ตำรวจไล่ติดตามจนกระทั่งพบตัว “อนาวิน” พร้อม “กฤติ” เพื่อนร่วมขบวนการ ที่กำลังนอนอยู่ในเต็นท์บนดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงเช้าของวันที่ 19 ธันวาคม 2566

    👮‍♂️ ตำรวจคุกเข่าร้องไห้ด้วยความดีใจ หลังจากตามล่ามา 1 เดือนเต็ม 🥹

    🟢 ศาลตัดสิน “ประหารชีวิต” เพื่อยุติวัฏจักร วันที่ 28 มีนาคม 2568 ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษา “ประหารชีวิตนายอนาวิน แก้วเก็บ” พร้อมสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหาย แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต 6 ล้านบาท

    👉 ความผิดตามกฎหมาย
    - ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
    - มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
    - ยิงปืนในที่ชุมชน
    - สมคบก่ออาชญากรรม

    🔵 วัฒนธรรมรับน้อง = จุดเริ่มของโศกนาฏกรรม จากการสอบปากคำ “อั้ม-อนาวิน” ยอมรับว่า ต้องการสร้าง “ผลงาน” เพื่อเอาไปโชว์ในวันรับน้อง ซึ่งมาจากการปลูกฝังของรุ่นพี่ 💣

    พร้อมมีการพูดคุยผ่านไลน์กลุ่มลับว่า “ใครฆ่าอริได้ จะเป็นฮีโร่ของกลุ่ม”

    “ขอแสดงความยินดีกับน้อง ช.ก... ที่พาน้องไปเกิดได้อย่างสมศักดิ์ศรีช่างกล” นี่คือคำพูดในแชตลับที่ชวนให้ขนลุก 😨
    มันไม่ใช่แค่ “การแกล้ง” หรือ “กิจกรรมรุ่นพี่-รุ่นน้อง” อีกต่อไป แต่เป็นการหล่อหลอมความรุนแรง

    🔴 จุดจบของ “วัฒนธรรมพิการ” ต้องจบที่รุ่นเรา คดีนี้เป็น ภาพสะท้อนของปัญหาสังคมไทย ที่สั่งสมมานาน
    วัฒนธรรมรับน้องที่ขาดจรรยาบรรณ สร้างเงื่อนไขของการยอมรับผ่านความรุนแรง อวดอำนาจเหนือผู้อื่น

    🧠 คำถามที่ต้องถามคือ...

    👉 วัฒนธรรมที่ต้องมีคนตาย ถึงจะได้รับการยอมรับ เราจะยังเรียกมันว่า “วัฒนธรรม” ได้อีกหรือ?

    🟣 บทสรุป ความยุติธรรม และภารกิจต่อไปของสังคม คดีนี้ไม่เพียงปิดฉากด้วย “คำสั่งประหารชีวิต” แต่มันคือเสียงร้องของสังคมที่ว่า…

    🔊 ถึงเวลา “ล้มล้างวัฒนธรรมพิการ”
    🔊 ถึงเวลาทบทวนระบบสถาบัน ที่หล่อหลอมความรุนแรงให้เป็นเรื่องปกติ
    🔊 ถึงเวลาสร้างสังคมที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 281803 มี.ค. 2568

    📢 #จุดจบวัฒนธรรมพิการ #คดีครูเจี๊ยบ #น้องหยอดอุเทน #อนาวินแก้วเก็บ #ประหารชีวิต #อาชญากรรมไทย #ยิงกลางกรุง #รับน้องผิดๆ #ยุติธรรมไทย #ตำรวจไทยไล่ล่า
    จุดจบวัฒนธรรมพิการ ศาลสั่งประหาร! “อั้ม-อนาวิน แก้วเก็บ” มือยิง “ครูเจี๊ยบ-น้องหยอด” ✍️ จากวัฒนธรรมรับน้องผิดเพี้ยน สู่บทสรุปคดีสะเทือนขวัญ วัยรุ่นไทยควรได้บทเรียนอะไร จากโศกนาฏกรรมนี้? ศาลสั่งประหาร “อั้ม-อนาวิน” คดียิง “ครูเจี๊ยบ-น้องหยอด” สะเทือนใจทั้งประเทศ จุดจบวัฒนธรรมพิการต้องจบที่รุ่นเรา เหยื่อบริสุทธิ์จากวัฒนธรรมรับน้องผิดๆ จุดเริ่มต้นของการล้มล้างความรุนแรง แฝงในระบบการศึกษาไทย 🔵 ความสูญเสียที่ต้องไม่สูญเปล่า วันที่ 28 มีนาคม 2568 กลายเป็นวันที่หลายคนจดจำ เมื่อศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำพิพากษาชั้นต้นให้ “ประหารชีวิตนายอนาวิน แก้วเก็บ” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “อั้ม” มือยิงผู้บริสุทธิ์สองราย ได้แก่ “ครูเจี๊ยบ” และ “น้องหยอด” จากเหตุการณ์เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2566 เหตุการณ์นี้ไม่ใช่แค่ “คดีฆาตกรรม” แต่สะท้อนปัญหาฝังลึกในสังคม คือ “วัฒนธรรมรับน้องอันรุนแรง” ที่ปลูกฝังความเชื่อผิดๆ และส่งต่อกันมาโดยไร้การตรวจสอบ ❌ 🔴 “ครูเจี๊ยบ-น้องหยอด” ผู้บริสุทธิ์ที่ไม่มีวันกลับมา คดีเริ่มต้นจากความตั้งใจของกลุ่มอดีตเด็กช่าง ที่ต้องการ “สร้างผลงาน” เพื่อไปอวดในวันรับน้องของสถาบันแห่งหนึ่ง โดยนายอนาวิน วางแผนมาก่อนแล้วว่า จะก่อเหตุในวันที่ 11 พ.ย. 2566 ซึ่งเป็นวันก่อนวันรับน้อง 1 วัน 📍 สถานที่เกิดเหตุ หน้าธนาคาร TTB สาขาคลองเตย ใจกลางกรุงเทพฯ 🔫 เหยื่อ - นางสาวศิรดา สินประเสริฐ หรือครูเจี๊ยบ อายุ 45 ปี ครูสอนคอมพิวเตอร์ โรงเรียนพระหฤทัยคอนเวนต์ - นายธนสรณ์ ห้องสวัสดิ์ หรือน้องหยอด อายุ 19 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย การยิงเกิดจาก “กระสุนพลาดเป้า” ซึ่งเดิมทีตั้งใจจะยิงน้องหยอด แต่กลับทำให้ครูเจี๊ยบเสียชีวิตทันที 😢 🟠 บทเรียนจากการล่า 24 ผู้ต้องหา ปฏิบัติการ “ปิดเมือง” หลังเกิดเหตุ ตำรวจเปิดปฏิบัติการครั้งใหญ่ “ปิดเมืองล่ามือยิง” ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ใช้เวลากว่า 1 เดือน กว่าจะจับตัวผู้ต้องหาทั้งหมด 24 คนจาก 26 หมายจับ 💣 🔍 ตรวจสอบกล้องวงจรกว่า 1,000 ตัว 🚔 ปิดล้อม 14 จุดทั่วกรุงและปริมณฑล 🔫 ตรวจสอบกลุ่มแชตลับ 103 คน มีแผนฆ่า มีระบบดูแลคนใน 📱 ใช้ไลน์กลุ่มลับ 84 คน วางแผนคล้าย "องค์กรอาชญากรรม" หนึ่งในตำรวจสืบสวนเล่าว่า การไล่ล่าครั้งนี้ “ยิ่งกว่านิยายไล่ล่าตี๋ใหญ่” เพราะผู้ต้องหาหนีอย่างแนบเนียน เปลี่ยนสีรถ, เปลี่ยนทะเบียน, เปลี่ยนเสื้อผ้า, วางจุดลวงสับสนเจ้าหน้าที่ 🟡 จุดแตกหัก จับกุม “อั้ม-อนาวิน” บนดอยปุย 🎯 หลังไล่ล่าจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ตำรวจไล่ติดตามจนกระทั่งพบตัว “อนาวิน” พร้อม “กฤติ” เพื่อนร่วมขบวนการ ที่กำลังนอนอยู่ในเต็นท์บนดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงเช้าของวันที่ 19 ธันวาคม 2566 👮‍♂️ ตำรวจคุกเข่าร้องไห้ด้วยความดีใจ หลังจากตามล่ามา 1 เดือนเต็ม 🥹 🟢 ศาลตัดสิน “ประหารชีวิต” เพื่อยุติวัฏจักร วันที่ 28 มีนาคม 2568 ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษา “ประหารชีวิตนายอนาวิน แก้วเก็บ” พร้อมสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหาย แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต 6 ล้านบาท 👉 ความผิดตามกฎหมาย - ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน - มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต - ยิงปืนในที่ชุมชน - สมคบก่ออาชญากรรม 🔵 วัฒนธรรมรับน้อง = จุดเริ่มของโศกนาฏกรรม จากการสอบปากคำ “อั้ม-อนาวิน” ยอมรับว่า ต้องการสร้าง “ผลงาน” เพื่อเอาไปโชว์ในวันรับน้อง ซึ่งมาจากการปลูกฝังของรุ่นพี่ 💣 พร้อมมีการพูดคุยผ่านไลน์กลุ่มลับว่า “ใครฆ่าอริได้ จะเป็นฮีโร่ของกลุ่ม” “ขอแสดงความยินดีกับน้อง ช.ก... ที่พาน้องไปเกิดได้อย่างสมศักดิ์ศรีช่างกล” นี่คือคำพูดในแชตลับที่ชวนให้ขนลุก 😨 มันไม่ใช่แค่ “การแกล้ง” หรือ “กิจกรรมรุ่นพี่-รุ่นน้อง” อีกต่อไป แต่เป็นการหล่อหลอมความรุนแรง 🔴 จุดจบของ “วัฒนธรรมพิการ” ต้องจบที่รุ่นเรา คดีนี้เป็น ภาพสะท้อนของปัญหาสังคมไทย ที่สั่งสมมานาน วัฒนธรรมรับน้องที่ขาดจรรยาบรรณ สร้างเงื่อนไขของการยอมรับผ่านความรุนแรง อวดอำนาจเหนือผู้อื่น 🧠 คำถามที่ต้องถามคือ... 👉 วัฒนธรรมที่ต้องมีคนตาย ถึงจะได้รับการยอมรับ เราจะยังเรียกมันว่า “วัฒนธรรม” ได้อีกหรือ? 🟣 บทสรุป ความยุติธรรม และภารกิจต่อไปของสังคม คดีนี้ไม่เพียงปิดฉากด้วย “คำสั่งประหารชีวิต” แต่มันคือเสียงร้องของสังคมที่ว่า… 🔊 ถึงเวลา “ล้มล้างวัฒนธรรมพิการ” 🔊 ถึงเวลาทบทวนระบบสถาบัน ที่หล่อหลอมความรุนแรงให้เป็นเรื่องปกติ 🔊 ถึงเวลาสร้างสังคมที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 281803 มี.ค. 2568 📢 #จุดจบวัฒนธรรมพิการ #คดีครูเจี๊ยบ #น้องหยอดอุเทน #อนาวินแก้วเก็บ #ประหารชีวิต #อาชญากรรมไทย #ยิงกลางกรุง #รับน้องผิดๆ #ยุติธรรมไทย #ตำรวจไทยไล่ล่า
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 996 มุมมอง 0 รีวิว
  • **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน

    เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’

    ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา

    ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร

    กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี

    เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น

    เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง

    บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ)

    Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน)

    เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล

    เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง

    ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน

    บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://news.agentm.tw/310261/
    https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00
    https://www.yeeyi.com/news/details/629504/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/李白/1043
    https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719
    http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259
    https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904
    https://www.sohu.com/a/538839040_355475
    http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211#

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ) Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน) เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223 Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.agentm.tw/310261/ https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00 https://www.yeeyi.com/news/details/629504/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/李白/1043 https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719 http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259 https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904 https://www.sohu.com/a/538839040_355475 http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211# #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1071 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts