25 พ.ย.2567 - นายแก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง ปัญหา “ความเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง”ของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง มีเนื้อหาดังนี้
๑.ข้อเท็จจริง นายกิตติรัตน์ ถือได้ว่าเป็นมือไม้ทำงานทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยโดยแท้ พ้นจาก กลต.แล้ว ก็รับงานเป็นรัฐมนตรีทั้งคลังและพาณิชย์ ให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ แม้ช่วงพรรคเพื่อไทยต้องหยุดงานการเมืองสมัย คสช. นายกิตติรัตน์ก็ไปรับเป็นที่ปรึกษา ให้ นายกฯอบจ.เชียงใหม่ เมื่อเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาล นายกฯเศรษฐา ก็ตั้งให้เป็นประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และพ้นตำแหน่งตามนายกฯเศรษฐาไปในที่สุด๒. พรรคเพื่อไทยกับธนาคารกลาง แนวทางเศรษฐกิจ “ทักษิโณมิคส์” ของทักษิณเน้นการอัดฉีดเงินเข้าระบบมาโดยตลอด ทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดกับผู้บริหารธนาคารกลางเป็นระยะเรื่อยมา ทั้งนโยบายดอกเบี้ย และการจัดการเงินเฟ้อ จนมาถึงปัจจุบันที่เศรษฐกิจไทยพบปัญหาสภาพคล่องอย่างรุนแรงนี้ นโยบายแจกเงินดิจิตอลก็บานปลายเป็นปัญหาขัดแย้งระหว่างฐานคิดทางการเมือง กับฐานคิดในเรื่องความมั่นคงทางการเงินของชาติอย่างชัดเจนยิ่ง มีรัฐมนตรีของพรรคออกมาตำหนิติเตียนธนาคารกลางอย่างเปิดเผยกร้าวร้าวเป็นระยะ ดังตัวนายกิตติรัตน์เองก็เคยประกาศเมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีคลังว่า เฝ้าคิดจะปลดผู้ว่าธนาคารกลางอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเลยทีเดียว๓. พฤติการณ์ “ยึดครองส่วนราชการ” ของ “ระบอบทักษิณ” ระบอบนี้ไม่เคยยอมรับและเคารพในอิสระของราชการประจำที่ต้องยึดมั่นในระเบียบแบบแผนและเหตุผลเป็นหลัก เหตุเพราะพรรคชินวัตรนี้เป็น “เผด็จการพรรคการเมืองนายทุน” มุ่งเอาเงินมาสร้างอำนาจและเอาอำนาจมาสร้างเงินตลอดเวลา ครองอำนาจเมื่อใดก็จะหาทางยึดครองส่วนราชการมาเป็นเบ๊ทุกครั้งไป ทั้งกระทรวงทบวงกรม รัฐวิสาหกิจ ธนาคารของรัฐ ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร จนปัจจุบันก็ได้สร้างคดีความให้เจ้าหน้าที่กับลูกมือของพรรคต้องโทษติดคุกมากมายหลายคน ซึ่งตัวทักษิณเอง ก็ได้ยอมรับความผิดนานาของตนในคำขอพระราชทานอภัยโทษมาแล้วเช่นกัน ด้วยพฤติการณ์ยึดครองอันเป็นนิสัยฝังลึกเช่นนี้นี่เอง ที่ทำให้การส่งนายกิตติรัตน์ผ่านกระบวนการสรรหาจนสำเร็จ ผ่านเป็นรายชื่อเสนอต่อ ครม. เพื่อพิจารณาเห็นชอบให้เป็นประธานคณะกรรมการธนาคารกลางในครั้งนี้ ต้องถูกมองว่า เป็นก้าวแรกของการแทรกซึมเข้ายึดครองการบริหารโดยเด็ดขาดต่อไป ทั้งในการแต่งตั้งผู้ว่าการธนาคาร และคณะกรรมการสำคัญสามคณะ ที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ แล้วกลายเป็นเหตุให้เกิดกระแสคัดค้านต่อต้านขึ้นทั่วไป จนทุกวันนี้ในที่สุด๔. ความผิดพลาดในการแต่งตั้งนายกิตติรัตน์ เป็นประธานธนาคารกลาง ระยะห่างจากการเมืองของธนาคารกลางเป็นหลักการสากลที่ปฏิเสธไม่ได้ และกฎหมายธนาคารชาติก็พยายามวางหลักประกันไว้หลายมาตรการด้วยกัน โดยเฉพาะในการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญทุกตำแหน่งนั้น ก็กำหนดไว้ว่า จะต้องไม่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หากเคยเป็น ก็ต้องพ้นตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี ซึ่งก็ทำให้กรณีของนายกิตติรัตน์ เกิดปัญหาเป็นข้อพิจารณาสองประการดังนี้๔.๑) ความขัดแย้งต่อกฎหมาย มีข้อพิจารณาว่า การที่นายกิตติรัตน์ พ้นตำแหน่ง “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” ในสมัยนายกฯเศรษฐามาไม่ถึง ๑ ปี นั้น ตำแหน่งนี้เป็น “ตำแหน่งทางการเมือง”ที่ต้องห้ามตาม มาตรา ๑๘ ของ พรบ.ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไม่ ต่อปัญหานี้มีแนววินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ ๔๘๑/๒๕๓๕ เคยวางไว้เป็นบรรทัดฐานแล้วว่า คำนี้ครอบคลุมถึง “ผู้ช่วยรัฐมนตรี”ด้วย ทั้งๆที่ตำแหน่งนี้มิใช่ตำแหน่งตามกฎหมายฉบับใด สำหรับเหตุผลนั้นกฤษฎีกาก็อธิบายว่า เป็นคำที่กว้างกว่า “ข้าราชการการเมือง” หมายมุ่งให้ครอบคลุมบุคลากรทั้งหมดที่มีหน้าที่หรือมีส่วนร่วมในการอำนวยการปกครองประเทศ ดังนั้นหากยึดถือตามความหมายอย่างกว้างนี้ ตำแหน่ง “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” ที่นายกฯใช้อำนาจตามกฎหมายแต่งตั้งขึ้น แล้วกำหนดให้ทุกส่วนราชการให้ความร่วมมือตามที่ท่านสั่งการนั้น จึงอยู่ในวิสัยที่จะตีความให้ถือเป็น “ตำแหน่งทางการเมือง”ได้ ซึ่งหาก ครม.นี้ ด่วนมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งและนำความขึ้นกราบบังคมทูลแล้ว กรณีก็อาจเป็นปัญหาโต้แย้งขึ้นมาได้ในภายหลัง หนทางที่รัดกุมที่สุดจึงควรที่จะมีมติให้นำปัญหานี้ปรึกษาคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อน เพื่อที่หากภายหลังมีผู้นำคดีขึ้นสู่ศาลปกครองแล้ว รัฐบาลก็จะมีความเห็นทางกฎหมายที่รัดกุมอธิบายได้เสมอ๔.๒) การใช้ดุลพินิจโดยผิดพลาด ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่นายกฯรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานั้น อาจเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีอิสระทางความคิดเคารพตนเอง หรืออาจเป็นเพียงมือไม้ที่คอยรับใช้คิดอ่านให้ตามที่พรรคการเมืองต้องการเท่านั้นก็ได้ ดังนั้นแม้กรรมการสรรหาจะเห็นว่าตำแหน่งนี้ไม่ใช่ “ตำแหน่งทางการเมือง”ก็ตาม กรรมการก็ยังจำเป็นต้องพิจารณาถึงระยะห่างจากพรรคการเมือง ของนายกิตติรัตน์อยู่ดี ซึ่งหากไม่ผ่านเกณฑ์ในข้อนี้แล้ว ก็ไม่ควรที่จะสนับสนุนเลยแม้แต่น้อยด้วยเหตุนี้หากคณะกรรมการสรรหาละทิ้งไม่พิจารณาประเด็นนี้ เพราะเห็นว่านายกิตติรัตน์ ผ่านด่านทางกฎหมายแล้ว ตนจะสรรหาอย่างไรก็ได้ไม่ต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติความใกล้ชิดพรรคการเมืองอีกต่อไป จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ผิดพลาดยิ่ง และจำเป็นที่ ครม.พึงจะต้องเล็งเห็นถึงปัญหาความไม่เหมาะสมในข้อนี้ให้ถี่ถ้วนด้วยเช่นกัน
25 พ.ย.2567 - นายแก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง ปัญหา “ความเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง”ของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง มีเนื้อหาดังนี้
๑.ข้อเท็จจริง นายกิตติรัตน์ ถือได้ว่าเป็นมือไม้ทำงานทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยโดยแท้ พ้นจาก กลต.แล้ว ก็รับงานเป็นรัฐมนตรีทั้งคลังและพาณิชย์ ให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ แม้ช่วงพรรคเพื่อไทยต้องหยุดงานการเมืองสมัย คสช. นายกิตติรัตน์ก็ไปรับเป็นที่ปรึกษา ให้ นายกฯอบจ.เชียงใหม่ เมื่อเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาล นายกฯเศรษฐา ก็ตั้งให้เป็นประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และพ้นตำแหน่งตามนายกฯเศรษฐาไปในที่สุด๒. พรรคเพื่อไทยกับธนาคารกลาง แนวทางเศรษฐกิจ “ทักษิโณมิคส์” ของทักษิณเน้นการอัดฉีดเงินเข้าระบบมาโดยตลอด ทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดกับผู้บริหารธนาคารกลางเป็นระยะเรื่อยมา ทั้งนโยบายดอกเบี้ย และการจัดการเงินเฟ้อ จนมาถึงปัจจุบันที่เศรษฐกิจไทยพบปัญหาสภาพคล่องอย่างรุนแรงนี้ นโยบายแจกเงินดิจิตอลก็บานปลายเป็นปัญหาขัดแย้งระหว่างฐานคิดทางการเมือง กับฐานคิดในเรื่องความมั่นคงทางการเงินของชาติอย่างชัดเจนยิ่ง มีรัฐมนตรีของพรรคออกมาตำหนิติเตียนธนาคารกลางอย่างเปิดเผยกร้าวร้าวเป็นระยะ ดังตัวนายกิตติรัตน์เองก็เคยประกาศเมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีคลังว่า เฝ้าคิดจะปลดผู้ว่าธนาคารกลางอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเลยทีเดียว๓. พฤติการณ์ “ยึดครองส่วนราชการ” ของ “ระบอบทักษิณ” ระบอบนี้ไม่เคยยอมรับและเคารพในอิสระของราชการประจำที่ต้องยึดมั่นในระเบียบแบบแผนและเหตุผลเป็นหลัก เหตุเพราะพรรคชินวัตรนี้เป็น “เผด็จการพรรคการเมืองนายทุน” มุ่งเอาเงินมาสร้างอำนาจและเอาอำนาจมาสร้างเงินตลอดเวลา ครองอำนาจเมื่อใดก็จะหาทางยึดครองส่วนราชการมาเป็นเบ๊ทุกครั้งไป ทั้งกระทรวงทบวงกรม รัฐวิสาหกิจ ธนาคารของรัฐ ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร จนปัจจุบันก็ได้สร้างคดีความให้เจ้าหน้าที่กับลูกมือของพรรคต้องโทษติดคุกมากมายหลายคน ซึ่งตัวทักษิณเอง ก็ได้ยอมรับความผิดนานาของตนในคำขอพระราชทานอภัยโทษมาแล้วเช่นกัน ด้วยพฤติการณ์ยึดครองอันเป็นนิสัยฝังลึกเช่นนี้นี่เอง ที่ทำให้การส่งนายกิตติรัตน์ผ่านกระบวนการสรรหาจนสำเร็จ ผ่านเป็นรายชื่อเสนอต่อ ครม. เพื่อพิจารณาเห็นชอบให้เป็นประธานคณะกรรมการธนาคารกลางในครั้งนี้ ต้องถูกมองว่า เป็นก้าวแรกของการแทรกซึมเข้ายึดครองการบริหารโดยเด็ดขาดต่อไป ทั้งในการแต่งตั้งผู้ว่าการธนาคาร และคณะกรรมการสำคัญสามคณะ ที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ แล้วกลายเป็นเหตุให้เกิดกระแสคัดค้านต่อต้านขึ้นทั่วไป จนทุกวันนี้ในที่สุด๔. ความผิดพลาดในการแต่งตั้งนายกิตติรัตน์ เป็นประธานธนาคารกลาง ระยะห่างจากการเมืองของธนาคารกลางเป็นหลักการสากลที่ปฏิเสธไม่ได้ และกฎหมายธนาคารชาติก็พยายามวางหลักประกันไว้หลายมาตรการด้วยกัน โดยเฉพาะในการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญทุกตำแหน่งนั้น ก็กำหนดไว้ว่า จะต้องไม่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หากเคยเป็น ก็ต้องพ้นตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี ซึ่งก็ทำให้กรณีของนายกิตติรัตน์ เกิดปัญหาเป็นข้อพิจารณาสองประการดังนี้๔.๑) ความขัดแย้งต่อกฎหมาย มีข้อพิจารณาว่า การที่นายกิตติรัตน์ พ้นตำแหน่ง “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” ในสมัยนายกฯเศรษฐามาไม่ถึง ๑ ปี นั้น ตำแหน่งนี้เป็น “ตำแหน่งทางการเมือง”ที่ต้องห้ามตาม มาตรา ๑๘ ของ พรบ.ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไม่ ต่อปัญหานี้มีแนววินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ ๔๘๑/๒๕๓๕ เคยวางไว้เป็นบรรทัดฐานแล้วว่า คำนี้ครอบคลุมถึง “ผู้ช่วยรัฐมนตรี”ด้วย ทั้งๆที่ตำแหน่งนี้มิใช่ตำแหน่งตามกฎหมายฉบับใด สำหรับเหตุผลนั้นกฤษฎีกาก็อธิบายว่า เป็นคำที่กว้างกว่า “ข้าราชการการเมือง” หมายมุ่งให้ครอบคลุมบุคลากรทั้งหมดที่มีหน้าที่หรือมีส่วนร่วมในการอำนวยการปกครองประเทศ ดังนั้นหากยึดถือตามความหมายอย่างกว้างนี้ ตำแหน่ง “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” ที่นายกฯใช้อำนาจตามกฎหมายแต่งตั้งขึ้น แล้วกำหนดให้ทุกส่วนราชการให้ความร่วมมือตามที่ท่านสั่งการนั้น จึงอยู่ในวิสัยที่จะตีความให้ถือเป็น “ตำแหน่งทางการเมือง”ได้ ซึ่งหาก ครม.นี้ ด่วนมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งและนำความขึ้นกราบบังคมทูลแล้ว กรณีก็อาจเป็นปัญหาโต้แย้งขึ้นมาได้ในภายหลัง หนทางที่รัดกุมที่สุดจึงควรที่จะมีมติให้นำปัญหานี้ปรึกษาคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อน เพื่อที่หากภายหลังมีผู้นำคดีขึ้นสู่ศาลปกครองแล้ว รัฐบาลก็จะมีความเห็นทางกฎหมายที่รัดกุมอธิบายได้เสมอ๔.๒) การใช้ดุลพินิจโดยผิดพลาด ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่นายกฯรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานั้น อาจเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีอิสระทางความคิดเคารพตนเอง หรืออาจเป็นเพียงมือไม้ที่คอยรับใช้คิดอ่านให้ตามที่พรรคการเมืองต้องการเท่านั้นก็ได้ ดังนั้นแม้กรรมการสรรหาจะเห็นว่าตำแหน่งนี้ไม่ใช่ “ตำแหน่งทางการเมือง”ก็ตาม กรรมการก็ยังจำเป็นต้องพิจารณาถึงระยะห่างจากพรรคการเมือง ของนายกิตติรัตน์อยู่ดี ซึ่งหากไม่ผ่านเกณฑ์ในข้อนี้แล้ว ก็ไม่ควรที่จะสนับสนุนเลยแม้แต่น้อยด้วยเหตุนี้หากคณะกรรมการสรรหาละทิ้งไม่พิจารณาประเด็นนี้ เพราะเห็นว่านายกิตติรัตน์ ผ่านด่านทางกฎหมายแล้ว ตนจะสรรหาอย่างไรก็ได้ไม่ต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติความใกล้ชิดพรรคการเมืองอีกต่อไป จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ผิดพลาดยิ่ง และจำเป็นที่ ครม.พึงจะต้องเล็งเห็นถึงปัญหาความไม่เหมาะสมในข้อนี้ให้ถี่ถ้วนด้วยเช่นกัน