• 'เพื่อไทย'ไม่รับความจริง 'ทักษิณ' มนต์เสื่อม 'โทษรัฐราชการ-เศรษฐกิจไม่ดี'
    .
    หากพรรคประชาชนอ้างว่าการเลือกตั้งในวันเสาร์เป็นปัจจัยที่ทำให้ไม่ได้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามเป้าหมาย ข้ออ้างถึงความพ่ายแพ้ของพรรคเพื่อไทยก็คงมีไม่ต่างกัน โดยนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟชบุ๊ก ถึงผลการเลือกตั้งนายก อบจ.ระบุว่า "รอบนี้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของคะแนนไม่มอบตัวเป็นของง่ายของใคร ทุกพรรคมีบทเรียนสำคัญให้ต้องสรุป และมีการบ้านข้อใหญ่ให้ต้องแก้ไข ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เพื่อจะเป็นอันดับ 1 ในการเลือกตั้งใหญ่"
    .
    "เพื่อไทยส่ง 16 ได้ 10 จังหวัด (บางสื่อว่าได้ 18 รวมคนในเครือข่ายของพรรคด้วย)ไม่คิดว่าจะแพ้ที่เชียงรายกับลำพูน ศรีสะเกษเรารู้ดีว่าไม่ง่าย แต่คิดว่าถ้าชนะก็สูสี หรือหากแพ้คะแนนน่าจะใกล้กันกว่านี้
    พรรคประชาชนส่ง 17 ได้ 1 จังหวัด พื้นที่ซึ่งมีส.ส.ยกจังหวัดแพ้ทุกที่ น่าสนใจว่าส่วนนำจะวิเคราะห์ผลอย่างไร พรรคอนุรักษ์นิยมไม่ได้เปิดตัวชัด แต่รู้กันในทีว่าไผเป็นไผ เสียแชมป์ก็มี ป้องกันแชมป์ได้ก็เห็น แต่ถ้าคิดว่านี่เป็นขาขึ้น มองดีๆผมว่าไม่ใช่ เชื่อว่าคนทำงานต้องอ่านสัญญาณกันละเอียดเช่นกัน"
    .
    "ทักษิณสิ้นมนต์ขลัง? นายกทักษิณและพรรคตั้งแต่ไทยรักไทยถึงเพื่อไทย ไม่เคยชนะเลือกตั้งด้วยเวทมนต์ แต่สำเร็จด้วยผลงานและนโยบายที่ทำได้จริง ประชาชนที่เลือกเล่าได้เป็นฉากๆว่าเลือกเพราะอะไร นโยบายไหนโดนใจ การว่างเว้นจากการเป็นรัฐบาลยาวนานร่วมทศวรรษทำให้จุดแข็งนี้พร่าเลือนไป กลับมาเป็นรัฐบาลผสมภายใต้แรงกดดันทางการเมือง เผชิญกับรัฐราชการที่รัฐบาลก่อนปักหมุดไว้ สภาพเศรษฐกิจที่ดำดิ่งต่อเนื่อง การผลักดันนโยบายจึงไม่ง่าย การบุกเบิกจากรัฐบาลเศรษฐาถึงรัฐบาลแพทองธาร ทำให้เนื้องานที่วางไว้เริ่มผลิดอกออกผล แต่ยังแตกต่างถ้าเทียบกับความสำเร็จยุคไทยรักไทย และยังพูดว่าสำเร็จไม่ได้จนกว่าจะมีรูปธรรมที่ชัดเจนกว่านี้ ซึ่ง 2568 คือปีสำคัญ ชี้ขาดโดยหลายนโยบายที่กำลังเดินหน้าอยู่ ถ้าผลงานออกชัด งานในสนามเลือกตั้งของเพื่อไทยจะลดความยากลง
    .
    "บางคนถามว่าทักษิณมาเองได้แค่นี้หรือ? ผมว่าต้องถามใหม่คือ ถ้าทักษิณไม่ลงพื้นที่จะได้ขนาดนี้หรือไม่?นายกทักษิณยังคงมีพลังทางการเมือง ส่งผลบวกอย่างยิ่งต่อฐานคะแนนของพรรคเพื่อไทย 10 จาก 16 ที่ถือว่าผ่าน ได้มากกว่าทุกพรรคด้วย" นายณัฐวุฒิ ระบุ
    .
    ด้าน นายวรชัย เหมะ อดีตสส.สมุทรปราการ ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงเลือกตั้งนายกฯอบจ.เชียงใหม่ แสดงทัศนะว่า การเลือกตั้งท้องถิ่นกับการเลือกตั้งระดับชาติแตกต่างกัน แต่เฉพาะพื้นที่เชียงใหม่ตนมองว่าการหาเสียงครั้งนี้ไม่ต่างจากการเลือกตั้งใหญ่ แต่การเลือกตั้งนายกฯอบจ.ครั้งนี้ เราทำงานกันอย่างหนัก ประชาชนเริ่มเข้าใจหลักการทำงานของพรรคเพื่อไทย จนทำให้กลับมาเป็นสีแดงเหมือนเดิม ทำให้เชื่อว่าภาพการเมืองใหญ่ที่เหลือเวลา 2 ปีกว่าจะมีการเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยมียุทธศาสตร์ที่ถูกต้องแดงที่เปลี่ยนไปเลือกส้มจะกลับมาเป็นแดงเหมือนเดิมแล้วเพื่อไทยจะกลับมาเป็นอันดับหนึ่งอย่างแน่นอน
    ..............
    Sondhi X
    'เพื่อไทย'ไม่รับความจริง 'ทักษิณ' มนต์เสื่อม 'โทษรัฐราชการ-เศรษฐกิจไม่ดี' . หากพรรคประชาชนอ้างว่าการเลือกตั้งในวันเสาร์เป็นปัจจัยที่ทำให้ไม่ได้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามเป้าหมาย ข้ออ้างถึงความพ่ายแพ้ของพรรคเพื่อไทยก็คงมีไม่ต่างกัน โดยนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟชบุ๊ก ถึงผลการเลือกตั้งนายก อบจ.ระบุว่า "รอบนี้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของคะแนนไม่มอบตัวเป็นของง่ายของใคร ทุกพรรคมีบทเรียนสำคัญให้ต้องสรุป และมีการบ้านข้อใหญ่ให้ต้องแก้ไข ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เพื่อจะเป็นอันดับ 1 ในการเลือกตั้งใหญ่" . "เพื่อไทยส่ง 16 ได้ 10 จังหวัด (บางสื่อว่าได้ 18 รวมคนในเครือข่ายของพรรคด้วย)ไม่คิดว่าจะแพ้ที่เชียงรายกับลำพูน ศรีสะเกษเรารู้ดีว่าไม่ง่าย แต่คิดว่าถ้าชนะก็สูสี หรือหากแพ้คะแนนน่าจะใกล้กันกว่านี้ พรรคประชาชนส่ง 17 ได้ 1 จังหวัด พื้นที่ซึ่งมีส.ส.ยกจังหวัดแพ้ทุกที่ น่าสนใจว่าส่วนนำจะวิเคราะห์ผลอย่างไร พรรคอนุรักษ์นิยมไม่ได้เปิดตัวชัด แต่รู้กันในทีว่าไผเป็นไผ เสียแชมป์ก็มี ป้องกันแชมป์ได้ก็เห็น แต่ถ้าคิดว่านี่เป็นขาขึ้น มองดีๆผมว่าไม่ใช่ เชื่อว่าคนทำงานต้องอ่านสัญญาณกันละเอียดเช่นกัน" . "ทักษิณสิ้นมนต์ขลัง? นายกทักษิณและพรรคตั้งแต่ไทยรักไทยถึงเพื่อไทย ไม่เคยชนะเลือกตั้งด้วยเวทมนต์ แต่สำเร็จด้วยผลงานและนโยบายที่ทำได้จริง ประชาชนที่เลือกเล่าได้เป็นฉากๆว่าเลือกเพราะอะไร นโยบายไหนโดนใจ การว่างเว้นจากการเป็นรัฐบาลยาวนานร่วมทศวรรษทำให้จุดแข็งนี้พร่าเลือนไป กลับมาเป็นรัฐบาลผสมภายใต้แรงกดดันทางการเมือง เผชิญกับรัฐราชการที่รัฐบาลก่อนปักหมุดไว้ สภาพเศรษฐกิจที่ดำดิ่งต่อเนื่อง การผลักดันนโยบายจึงไม่ง่าย การบุกเบิกจากรัฐบาลเศรษฐาถึงรัฐบาลแพทองธาร ทำให้เนื้องานที่วางไว้เริ่มผลิดอกออกผล แต่ยังแตกต่างถ้าเทียบกับความสำเร็จยุคไทยรักไทย และยังพูดว่าสำเร็จไม่ได้จนกว่าจะมีรูปธรรมที่ชัดเจนกว่านี้ ซึ่ง 2568 คือปีสำคัญ ชี้ขาดโดยหลายนโยบายที่กำลังเดินหน้าอยู่ ถ้าผลงานออกชัด งานในสนามเลือกตั้งของเพื่อไทยจะลดความยากลง . "บางคนถามว่าทักษิณมาเองได้แค่นี้หรือ? ผมว่าต้องถามใหม่คือ ถ้าทักษิณไม่ลงพื้นที่จะได้ขนาดนี้หรือไม่?นายกทักษิณยังคงมีพลังทางการเมือง ส่งผลบวกอย่างยิ่งต่อฐานคะแนนของพรรคเพื่อไทย 10 จาก 16 ที่ถือว่าผ่าน ได้มากกว่าทุกพรรคด้วย" นายณัฐวุฒิ ระบุ . ด้าน นายวรชัย เหมะ อดีตสส.สมุทรปราการ ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงเลือกตั้งนายกฯอบจ.เชียงใหม่ แสดงทัศนะว่า การเลือกตั้งท้องถิ่นกับการเลือกตั้งระดับชาติแตกต่างกัน แต่เฉพาะพื้นที่เชียงใหม่ตนมองว่าการหาเสียงครั้งนี้ไม่ต่างจากการเลือกตั้งใหญ่ แต่การเลือกตั้งนายกฯอบจ.ครั้งนี้ เราทำงานกันอย่างหนัก ประชาชนเริ่มเข้าใจหลักการทำงานของพรรคเพื่อไทย จนทำให้กลับมาเป็นสีแดงเหมือนเดิม ทำให้เชื่อว่าภาพการเมืองใหญ่ที่เหลือเวลา 2 ปีกว่าจะมีการเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยมียุทธศาสตร์ที่ถูกต้องแดงที่เปลี่ยนไปเลือกส้มจะกลับมาเป็นแดงเหมือนเดิมแล้วเพื่อไทยจะกลับมาเป็นอันดับหนึ่งอย่างแน่นอน .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    25
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1484 มุมมอง 0 รีวิว
  • สมรภูมิชิง 47 เก้าอี้นายกฯอบจ. แดง-ส้ม-น้ำเงิน แชร์เก้าอี้ : ถอนหมุดข่าว 23/12/67
    สมรภูมิชิง 47 เก้าอี้นายกฯอบจ. แดง-ส้ม-น้ำเงิน แชร์เก้าอี้ : ถอนหมุดข่าว 23/12/67
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 368 มุมมอง 11 0 รีวิว
  • "พิพัฒน์" ปัดฮั้ว รทสช.ส่ง "ถาวร" ชิงนายกฯอบจ. 29/11/67 #พิพัฒน์ #นายกฯอบจ. #ถาวร #การเมือง
    "พิพัฒน์" ปัดฮั้ว รทสช.ส่ง "ถาวร" ชิงนายกฯอบจ. 29/11/67 #พิพัฒน์ #นายกฯอบจ. #ถาวร #การเมือง
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1309 มุมมอง 63 0 รีวิว
  • 25 พ.ย.2567 - นายแก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง ปัญหา “ความเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง”ของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง มีเนื้อหาดังนี้

๑.ข้อเท็จจริง นายกิตติรัตน์ ถือได้ว่าเป็นมือไม้ทำงานทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยโดยแท้ พ้นจาก กลต.แล้ว ก็รับงานเป็นรัฐมนตรีทั้งคลังและพาณิชย์ ให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ แม้ช่วงพรรคเพื่อไทยต้องหยุดงานการเมืองสมัย คสช. นายกิตติรัตน์ก็ไปรับเป็นที่ปรึกษา ให้ นายกฯอบจ.เชียงใหม่ เมื่อเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาล นายกฯเศรษฐา ก็ตั้งให้เป็นประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และพ้นตำแหน่งตามนายกฯเศรษฐาไปในที่สุด๒. พรรคเพื่อไทยกับธนาคารกลาง แนวทางเศรษฐกิจ “ทักษิโณมิคส์” ของทักษิณเน้นการอัดฉีดเงินเข้าระบบมาโดยตลอด ทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดกับผู้บริหารธนาคารกลางเป็นระยะเรื่อยมา ทั้งนโยบายดอกเบี้ย และการจัดการเงินเฟ้อ จนมาถึงปัจจุบันที่เศรษฐกิจไทยพบปัญหาสภาพคล่องอย่างรุนแรงนี้ นโยบายแจกเงินดิจิตอลก็บานปลายเป็นปัญหาขัดแย้งระหว่างฐานคิดทางการเมือง กับฐานคิดในเรื่องความมั่นคงทางการเงินของชาติอย่างชัดเจนยิ่ง มีรัฐมนตรีของพรรคออกมาตำหนิติเตียนธนาคารกลางอย่างเปิดเผยกร้าวร้าวเป็นระยะ ดังตัวนายกิตติรัตน์เองก็เคยประกาศเมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีคลังว่า เฝ้าคิดจะปลดผู้ว่าธนาคารกลางอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเลยทีเดียว๓. พฤติการณ์ “ยึดครองส่วนราชการ” ของ “ระบอบทักษิณ” ระบอบนี้ไม่เคยยอมรับและเคารพในอิสระของราชการประจำที่ต้องยึดมั่นในระเบียบแบบแผนและเหตุผลเป็นหลัก เหตุเพราะพรรคชินวัตรนี้เป็น “เผด็จการพรรคการเมืองนายทุน” มุ่งเอาเงินมาสร้างอำนาจและเอาอำนาจมาสร้างเงินตลอดเวลา ครองอำนาจเมื่อใดก็จะหาทางยึดครองส่วนราชการมาเป็นเบ๊ทุกครั้งไป ทั้งกระทรวงทบวงกรม รัฐวิสาหกิจ ธนาคารของรัฐ ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร จนปัจจุบันก็ได้สร้างคดีความให้เจ้าหน้าที่กับลูกมือของพรรคต้องโทษติดคุกมากมายหลายคน ซึ่งตัวทักษิณเอง ก็ได้ยอมรับความผิดนานาของตนในคำขอพระราชทานอภัยโทษมาแล้วเช่นกัน ด้วยพฤติการณ์ยึดครองอันเป็นนิสัยฝังลึกเช่นนี้นี่เอง ที่ทำให้การส่งนายกิตติรัตน์ผ่านกระบวนการสรรหาจนสำเร็จ ผ่านเป็นรายชื่อเสนอต่อ ครม. เพื่อพิจารณาเห็นชอบให้เป็นประธานคณะกรรมการธนาคารกลางในครั้งนี้ ต้องถูกมองว่า เป็นก้าวแรกของการแทรกซึมเข้ายึดครองการบริหารโดยเด็ดขาดต่อไป ทั้งในการแต่งตั้งผู้ว่าการธนาคาร และคณะกรรมการสำคัญสามคณะ ที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ แล้วกลายเป็นเหตุให้เกิดกระแสคัดค้านต่อต้านขึ้นทั่วไป จนทุกวันนี้ในที่สุด๔. ความผิดพลาดในการแต่งตั้งนายกิตติรัตน์ เป็นประธานธนาคารกลาง ระยะห่างจากการเมืองของธนาคารกลางเป็นหลักการสากลที่ปฏิเสธไม่ได้ และกฎหมายธนาคารชาติก็พยายามวางหลักประกันไว้หลายมาตรการด้วยกัน โดยเฉพาะในการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญทุกตำแหน่งนั้น ก็กำหนดไว้ว่า จะต้องไม่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หากเคยเป็น ก็ต้องพ้นตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี ซึ่งก็ทำให้กรณีของนายกิตติรัตน์ เกิดปัญหาเป็นข้อพิจารณาสองประการดังนี้๔.๑) ความขัดแย้งต่อกฎหมาย มีข้อพิจารณาว่า การที่นายกิตติรัตน์ พ้นตำแหน่ง “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” ในสมัยนายกฯเศรษฐามาไม่ถึง ๑ ปี นั้น ตำแหน่งนี้เป็น “ตำแหน่งทางการเมือง”ที่ต้องห้ามตาม มาตรา ๑๘ ของ พรบ.ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไม่ ต่อปัญหานี้มีแนววินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ ๔๘๑/๒๕๓๕ เคยวางไว้เป็นบรรทัดฐานแล้วว่า คำนี้ครอบคลุมถึง “ผู้ช่วยรัฐมนตรี”ด้วย ทั้งๆที่ตำแหน่งนี้มิใช่ตำแหน่งตามกฎหมายฉบับใด สำหรับเหตุผลนั้นกฤษฎีกาก็อธิบายว่า เป็นคำที่กว้างกว่า “ข้าราชการการเมือง” หมายมุ่งให้ครอบคลุมบุคลากรทั้งหมดที่มีหน้าที่หรือมีส่วนร่วมในการอำนวยการปกครองประเทศ ดังนั้นหากยึดถือตามความหมายอย่างกว้างนี้ ตำแหน่ง “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” ที่นายกฯใช้อำนาจตามกฎหมายแต่งตั้งขึ้น แล้วกำหนดให้ทุกส่วนราชการให้ความร่วมมือตามที่ท่านสั่งการนั้น จึงอยู่ในวิสัยที่จะตีความให้ถือเป็น “ตำแหน่งทางการเมือง”ได้ ซึ่งหาก ครม.นี้ ด่วนมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งและนำความขึ้นกราบบังคมทูลแล้ว กรณีก็อาจเป็นปัญหาโต้แย้งขึ้นมาได้ในภายหลัง หนทางที่รัดกุมที่สุดจึงควรที่จะมีมติให้นำปัญหานี้ปรึกษาคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อน เพื่อที่หากภายหลังมีผู้นำคดีขึ้นสู่ศาลปกครองแล้ว รัฐบาลก็จะมีความเห็นทางกฎหมายที่รัดกุมอธิบายได้เสมอ๔.๒) การใช้ดุลพินิจโดยผิดพลาด ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่นายกฯรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานั้น อาจเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีอิสระทางความคิดเคารพตนเอง หรืออาจเป็นเพียงมือไม้ที่คอยรับใช้คิดอ่านให้ตามที่พรรคการเมืองต้องการเท่านั้นก็ได้ ดังนั้นแม้กรรมการสรรหาจะเห็นว่าตำแหน่งนี้ไม่ใช่ “ตำแหน่งทางการเมือง”ก็ตาม กรรมการก็ยังจำเป็นต้องพิจารณาถึงระยะห่างจากพรรคการเมือง ของนายกิตติรัตน์อยู่ดี ซึ่งหากไม่ผ่านเกณฑ์ในข้อนี้แล้ว ก็ไม่ควรที่จะสนับสนุนเลยแม้แต่น้อยด้วยเหตุนี้หากคณะกรรมการสรรหาละทิ้งไม่พิจารณาประเด็นนี้ เพราะเห็นว่านายกิตติรัตน์ ผ่านด่านทางกฎหมายแล้ว ตนจะสรรหาอย่างไรก็ได้ไม่ต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติความใกล้ชิดพรรคการเมืองอีกต่อไป จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ผิดพลาดยิ่ง และจำเป็นที่ ครม.พึงจะต้องเล็งเห็นถึงปัญหาความไม่เหมาะสมในข้อนี้ให้ถี่ถ้วนด้วยเช่นกัน
    25 พ.ย.2567 - นายแก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง ปัญหา “ความเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง”ของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง มีเนื้อหาดังนี้

๑.ข้อเท็จจริง นายกิตติรัตน์ ถือได้ว่าเป็นมือไม้ทำงานทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยโดยแท้ พ้นจาก กลต.แล้ว ก็รับงานเป็นรัฐมนตรีทั้งคลังและพาณิชย์ ให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ แม้ช่วงพรรคเพื่อไทยต้องหยุดงานการเมืองสมัย คสช. นายกิตติรัตน์ก็ไปรับเป็นที่ปรึกษา ให้ นายกฯอบจ.เชียงใหม่ เมื่อเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาล นายกฯเศรษฐา ก็ตั้งให้เป็นประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และพ้นตำแหน่งตามนายกฯเศรษฐาไปในที่สุด๒. พรรคเพื่อไทยกับธนาคารกลาง แนวทางเศรษฐกิจ “ทักษิโณมิคส์” ของทักษิณเน้นการอัดฉีดเงินเข้าระบบมาโดยตลอด ทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดกับผู้บริหารธนาคารกลางเป็นระยะเรื่อยมา ทั้งนโยบายดอกเบี้ย และการจัดการเงินเฟ้อ จนมาถึงปัจจุบันที่เศรษฐกิจไทยพบปัญหาสภาพคล่องอย่างรุนแรงนี้ นโยบายแจกเงินดิจิตอลก็บานปลายเป็นปัญหาขัดแย้งระหว่างฐานคิดทางการเมือง กับฐานคิดในเรื่องความมั่นคงทางการเงินของชาติอย่างชัดเจนยิ่ง มีรัฐมนตรีของพรรคออกมาตำหนิติเตียนธนาคารกลางอย่างเปิดเผยกร้าวร้าวเป็นระยะ ดังตัวนายกิตติรัตน์เองก็เคยประกาศเมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีคลังว่า เฝ้าคิดจะปลดผู้ว่าธนาคารกลางอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเลยทีเดียว๓. พฤติการณ์ “ยึดครองส่วนราชการ” ของ “ระบอบทักษิณ” ระบอบนี้ไม่เคยยอมรับและเคารพในอิสระของราชการประจำที่ต้องยึดมั่นในระเบียบแบบแผนและเหตุผลเป็นหลัก เหตุเพราะพรรคชินวัตรนี้เป็น “เผด็จการพรรคการเมืองนายทุน” มุ่งเอาเงินมาสร้างอำนาจและเอาอำนาจมาสร้างเงินตลอดเวลา ครองอำนาจเมื่อใดก็จะหาทางยึดครองส่วนราชการมาเป็นเบ๊ทุกครั้งไป ทั้งกระทรวงทบวงกรม รัฐวิสาหกิจ ธนาคารของรัฐ ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร จนปัจจุบันก็ได้สร้างคดีความให้เจ้าหน้าที่กับลูกมือของพรรคต้องโทษติดคุกมากมายหลายคน ซึ่งตัวทักษิณเอง ก็ได้ยอมรับความผิดนานาของตนในคำขอพระราชทานอภัยโทษมาแล้วเช่นกัน ด้วยพฤติการณ์ยึดครองอันเป็นนิสัยฝังลึกเช่นนี้นี่เอง ที่ทำให้การส่งนายกิตติรัตน์ผ่านกระบวนการสรรหาจนสำเร็จ ผ่านเป็นรายชื่อเสนอต่อ ครม. เพื่อพิจารณาเห็นชอบให้เป็นประธานคณะกรรมการธนาคารกลางในครั้งนี้ ต้องถูกมองว่า เป็นก้าวแรกของการแทรกซึมเข้ายึดครองการบริหารโดยเด็ดขาดต่อไป ทั้งในการแต่งตั้งผู้ว่าการธนาคาร และคณะกรรมการสำคัญสามคณะ ที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ แล้วกลายเป็นเหตุให้เกิดกระแสคัดค้านต่อต้านขึ้นทั่วไป จนทุกวันนี้ในที่สุด๔. ความผิดพลาดในการแต่งตั้งนายกิตติรัตน์ เป็นประธานธนาคารกลาง ระยะห่างจากการเมืองของธนาคารกลางเป็นหลักการสากลที่ปฏิเสธไม่ได้ และกฎหมายธนาคารชาติก็พยายามวางหลักประกันไว้หลายมาตรการด้วยกัน โดยเฉพาะในการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญทุกตำแหน่งนั้น ก็กำหนดไว้ว่า จะต้องไม่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หากเคยเป็น ก็ต้องพ้นตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี ซึ่งก็ทำให้กรณีของนายกิตติรัตน์ เกิดปัญหาเป็นข้อพิจารณาสองประการดังนี้๔.๑) ความขัดแย้งต่อกฎหมาย มีข้อพิจารณาว่า การที่นายกิตติรัตน์ พ้นตำแหน่ง “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” ในสมัยนายกฯเศรษฐามาไม่ถึง ๑ ปี นั้น ตำแหน่งนี้เป็น “ตำแหน่งทางการเมือง”ที่ต้องห้ามตาม มาตรา ๑๘ ของ พรบ.ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไม่ ต่อปัญหานี้มีแนววินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ ๔๘๑/๒๕๓๕ เคยวางไว้เป็นบรรทัดฐานแล้วว่า คำนี้ครอบคลุมถึง “ผู้ช่วยรัฐมนตรี”ด้วย ทั้งๆที่ตำแหน่งนี้มิใช่ตำแหน่งตามกฎหมายฉบับใด สำหรับเหตุผลนั้นกฤษฎีกาก็อธิบายว่า เป็นคำที่กว้างกว่า “ข้าราชการการเมือง” หมายมุ่งให้ครอบคลุมบุคลากรทั้งหมดที่มีหน้าที่หรือมีส่วนร่วมในการอำนวยการปกครองประเทศ ดังนั้นหากยึดถือตามความหมายอย่างกว้างนี้ ตำแหน่ง “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” ที่นายกฯใช้อำนาจตามกฎหมายแต่งตั้งขึ้น แล้วกำหนดให้ทุกส่วนราชการให้ความร่วมมือตามที่ท่านสั่งการนั้น จึงอยู่ในวิสัยที่จะตีความให้ถือเป็น “ตำแหน่งทางการเมือง”ได้ ซึ่งหาก ครม.นี้ ด่วนมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งและนำความขึ้นกราบบังคมทูลแล้ว กรณีก็อาจเป็นปัญหาโต้แย้งขึ้นมาได้ในภายหลัง หนทางที่รัดกุมที่สุดจึงควรที่จะมีมติให้นำปัญหานี้ปรึกษาคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อน เพื่อที่หากภายหลังมีผู้นำคดีขึ้นสู่ศาลปกครองแล้ว รัฐบาลก็จะมีความเห็นทางกฎหมายที่รัดกุมอธิบายได้เสมอ๔.๒) การใช้ดุลพินิจโดยผิดพลาด ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่นายกฯรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานั้น อาจเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีอิสระทางความคิดเคารพตนเอง หรืออาจเป็นเพียงมือไม้ที่คอยรับใช้คิดอ่านให้ตามที่พรรคการเมืองต้องการเท่านั้นก็ได้ ดังนั้นแม้กรรมการสรรหาจะเห็นว่าตำแหน่งนี้ไม่ใช่ “ตำแหน่งทางการเมือง”ก็ตาม กรรมการก็ยังจำเป็นต้องพิจารณาถึงระยะห่างจากพรรคการเมือง ของนายกิตติรัตน์อยู่ดี ซึ่งหากไม่ผ่านเกณฑ์ในข้อนี้แล้ว ก็ไม่ควรที่จะสนับสนุนเลยแม้แต่น้อยด้วยเหตุนี้หากคณะกรรมการสรรหาละทิ้งไม่พิจารณาประเด็นนี้ เพราะเห็นว่านายกิตติรัตน์ ผ่านด่านทางกฎหมายแล้ว ตนจะสรรหาอย่างไรก็ได้ไม่ต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติความใกล้ชิดพรรคการเมืองอีกต่อไป จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ผิดพลาดยิ่ง และจำเป็นที่ ครม.พึงจะต้องเล็งเห็นถึงปัญหาความไม่เหมาะสมในข้อนี้ให้ถี่ถ้วนด้วยเช่นกัน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 807 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมื่อคะแนนนิยมตกต่ำ พรรคปะชาชวยจึงไม่ส่งอดีตสส.ก้าวไกล ลงชิงนายกฯอบจ.สุโขทัยในนามพรรค เพราะกลัวยิ่งเสียภาพรวมของพรรค ให้ลงสมัครในนามอิสระแทน ถุยยยยยยย!!!!
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    เมื่อคะแนนนิยมตกต่ำ พรรคปะชาชวยจึงไม่ส่งอดีตสส.ก้าวไกล ลงชิงนายกฯอบจ.สุโขทัยในนามพรรค เพราะกลัวยิ่งเสียภาพรวมของพรรค ให้ลงสมัครในนามอิสระแทน ถุยยยยยยย!!!! #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    Like
    Haha
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 858 มุมมอง 0 รีวิว
  • พรรคประชาชวย ถลุงเงินบริจาคของสาวก เพื่อให้ร้ายบ้านเกิด เพียงเพื่อให้ได้อำนาจเป็น นายกฯอบจ. ขนาดท้องถิ่นยังเล่นแบบนี้ ระดับประเทศก็ไม่พ้นจ้องล้มล้าง
    #คิงส์โพธิ์แดง
    พรรคประชาชวย ถลุงเงินบริจาคของสาวก เพื่อให้ร้ายบ้านเกิด เพียงเพื่อให้ได้อำนาจเป็น นายกฯอบจ. ขนาดท้องถิ่นยังเล่นแบบนี้ ระดับประเทศก็ไม่พ้นจ้องล้มล้าง #คิงส์โพธิ์แดง
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 265 มุมมอง 0 รีวิว
  • ช่วยเลือกพรรคประชาชนเป็นนายกฯอบจ.ราชบุรี จะได้พิสูจน์สักทีว่าดีแต่ด่าคนอื่นหาเสียงไหม?
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #ราชบุรี
    ช่วยเลือกพรรคประชาชนเป็นนายกฯอบจ.ราชบุรี จะได้พิสูจน์สักทีว่าดีแต่ด่าคนอื่นหาเสียงไหม? #คิงส์โพธิ์แดง #ราชบุรี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 255 มุมมอง 12 0 รีวิว