• อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​อัฏฐังคิกมรรค เป็นสัมมาปฏิปทา
    สัทธรรมลำดับที่ : 968
    ชื่อบทธรรม :- อัฏฐังคิกมรรค เป็นสัมมาปฏิปทา
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=968
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --อัฏฐังคิกมรรค เป็นสัมมาปฏิปทา
    --ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง มิจฉาปฏิปทา และสัมมาปฏิปทา แก่พวกเธอ.
    เธอทั้งหลาย จงฟังซึ่งข้อความนั้น.
    --ภิกษุ ท. ! มิจฉาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
    มิจฉาปฏิปทานี้คือ
    มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ
    มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ
    มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ.
    +--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า #มิจฉาปฏิปทา.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/22/?keywords=มิจฺฉาปฏิปทา

    --ภิกษุ ท. ! สัมมาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
    สัมมาปฏิปทานี้คือ
    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
    สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
    +--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า #สัมมาปฏิปทา.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/23/?keywords=สมฺมาปฏิปทา
    -
    [สูตรข้างบนนี้ ตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรคว่า สัมมาปฏิปทา ;
    ในสูตรอื่น
    (๑๙/๒๘/๘๙ - ๙๑
    http://etipitaka.com/read/pali/19/28/?keywords=%E0%B9%98%E0%B9%99
    )
    ตรัสเรียกว่า #สัมมาปฏิบัติ ก็มี.อนึ่ง สูตรข้างบนนั้นตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรค ว่า สัมมาปฏิทา
    ในสูตรบางแห่ง
    (นิทาน.สํ. ๑๖/๕/๑๙ - ๒๑
    http://etipitaka.com/read/pali/16/5/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%99
    )

    ตรัสเรียก #ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร ว่าเป็นสัมมาปฏิปทา ก็มี.

    (ตรัสเรียก ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร ว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ก็มี -
    ติก. อํ. ๒๐/๒๒๗/๔๐๑
    http://etipitaka.com/read/pali/20/227/?keywords=%E0%B9%94%E0%B9%90%E0%B9%91
    ).
    เป็นอันว่า
    ทั้งอริยอัฏฐังคิกมรรค และปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร
    ต่างก็เป็นสัมมาปฏิปทาด้วยกัน ;
    ควรที่นักศึกษาจะสนใจอย่างยิ่ง
    ]

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/17/65-67.
    http://etipitaka.com/read/thai/19/17/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%95
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๒/๖๕-๖๗.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/22/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%95
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=968
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=82&id=968
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=82
    ลำดับสาธยายธรรม : 82 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_82.mp3
    อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​อัฏฐังคิกมรรค เป็นสัมมาปฏิปทา สัทธรรมลำดับที่ : 968 ชื่อบทธรรม :- อัฏฐังคิกมรรค เป็นสัมมาปฏิปทา https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=968 เนื้อความทั้งหมด :- --อัฏฐังคิกมรรค เป็นสัมมาปฏิปทา --ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง มิจฉาปฏิปทา และสัมมาปฏิปทา แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลาย จงฟังซึ่งข้อความนั้น. --ภิกษุ ท. ! มิจฉาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? มิจฉาปฏิปทานี้คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ. +--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า #มิจฉาปฏิปทา. http://etipitaka.com/read/pali/19/22/?keywords=มิจฺฉาปฏิปทา --ภิกษุ ท. ! สัมมาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? สัมมาปฏิปทานี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. +--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า #สัมมาปฏิปทา. http://etipitaka.com/read/pali/19/23/?keywords=สมฺมาปฏิปทา - [สูตรข้างบนนี้ ตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรคว่า สัมมาปฏิปทา ; ในสูตรอื่น (๑๙/๒๘/๘๙ - ๙๑ http://etipitaka.com/read/pali/19/28/?keywords=%E0%B9%98%E0%B9%99 ) ตรัสเรียกว่า #สัมมาปฏิบัติ ก็มี.อนึ่ง สูตรข้างบนนั้นตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรค ว่า สัมมาปฏิทา ในสูตรบางแห่ง (นิทาน.สํ. ๑๖/๕/๑๙ - ๒๑ http://etipitaka.com/read/pali/16/5/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%99 ) ตรัสเรียก #ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร ว่าเป็นสัมมาปฏิปทา ก็มี. (ตรัสเรียก ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร ว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ก็มี - ติก. อํ. ๒๐/๒๒๗/๔๐๑ http://etipitaka.com/read/pali/20/227/?keywords=%E0%B9%94%E0%B9%90%E0%B9%91 ). เป็นอันว่า ทั้งอริยอัฏฐังคิกมรรค และปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร ต่างก็เป็นสัมมาปฏิปทาด้วยกัน ; ควรที่นักศึกษาจะสนใจอย่างยิ่ง ] #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/17/65-67. http://etipitaka.com/read/thai/19/17/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%95 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๒/๖๕-๖๗. http://etipitaka.com/read/pali/19/22/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%95 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=968 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=82&id=968 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=82 ลำดับสาธยายธรรม : 82 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_82.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - อัฏฐังคิกมรรค เป็นสัมมาปฏิปทา
    -(ผู้ศึกษาพึงทราบว่า คำว่า พรหมยาน เป็นคำสูงสุดในฝ่ายศาสนาพราหมณ์ พระอานนท์อยากจะมีคำเช่นนั้นในพระพุทธศาสนานี้บ้าง จึงทูลถาม; แต่พระองค์ตรัสตอบอย่างธัมมาธิษฐาน ระบุเอาอัฏฐังคิกมรรคเป็นพรหมยาน, และแถมยังมีคำว่า ธรรมยาน และอนุตตรสังคามวิชัย อีกด้วย. เราเห็นว่า คำว่า ธรรมยาน สำคัญกว่า จึงยกเอามาเป็นชื่อแห่งหัวข้อนี้. อนึ่ง อัฏฐังคิกมรรคนี้ จำแนกความหมายได้หลายอย่าง เช่นจำแนกเป็น วิเวกนิสฺสิตํ วิราคนิสฺสิตํ นิโรธนิสฺสิตํ โวสฺสคฺคปริณามี ดังในหัวข้อ ที่จัด อัฏฐังคิกมรรคเป็น กัลยาณมิตร เป็นต้น บ้าง, และในหัวข้อทรงจำแนกเป็น ราค - โทส - โมหวินย - ปริโยสานบ้าง, ในหัวข้อว่า “อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่เจริญแล้ว ทำกิจแห่งอริยสัจสี่พร้อมกันไปในตัว” เป็นต้น ซึ่งได้กล่าวไว้ในหมายเหตุท้ายหัวข้อนั้นๆ ที่หน้า ๑๔๑๙, ๑๔๒๑, ๑๔๕๘ แห่งหนังสือนี้ ทรงจำแนกว่า อมโตคธ อมตปรายน อมตปริโยสาน บ้าง, นิพฺพานนินฺน นิพฺพานโปณ นิพฺพานปพฺภาร บ้าง). อัฏฐังคิกมรรค เป็นสัมมาปฏิปทา ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง มิจฉาปฏิปทา และสัมมาปฏิปทา แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลาย จงฟังซึ่งข้อความนั้น. ภิกษุ ท. ! มิจฉาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? มิจฉาปฏิปทานี้คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา. ภิกษุ ท. ! สัมมาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? สัมมาปฏิปทานี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า สัมาปฏิปทา.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 98 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวก​พึงศึกษาพระอรหันต์ตายแล้วสูญหรือ?
    สัทธรรมลำดับที่ : 592
    ชื่อบทธรรม :- พระอรหันต์ตายแล้วสูญหรือ?
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=592
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --พระอรหันต์ตายแล้วสูญหรือ?
    --“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้ว จะไปเกิดในที่ใด ? พระเจ้าข้า !”
    --วัจฉะ ! ที่ใช้คำพูดว่า จะไปเกิด นั้น ไม่ควรเลย.
    --“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! ถ้าเช่นนั้น จะไม่ไปเกิดหรือ ?”
    --วัจฉะ ! ที่ใช้คำพูดว่า จะไม่ไปเกิด นั้นก็ไม่ควร.
    --“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าเช่นนั้น บางทีเกิด บางทีไม่เกิด กระนั้นหรือ ?”
    --วัจฉะ ! ที่ใช้คำพูดว่า บางทีเกิด บางทีไม่เกิด นั้น ก็ไม่ควร.
    --“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าเช่นนั้น ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้ว
    จะว่าไปเกิดก็ไม่ใช่ ไม่ไปเกิดก็ไม่ใช่ กระนั้นหรือ ?”
    --วัจฉะ ! ที่ใช้คำพูดว่า จะไปเกิดก็ไม่ใช่ ไม่ไปเกิดก็ไม่ใช่ แม้กระนั้นก็ไม่ควร.
    --“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้อที่พระองค์ตรัสตอบนี้
    ข้าพเจ้าไม่รู้เรื่องเสียแล้วทำให้ข้าพเจ้าวนเวียนเสียแล้ว
    แม้ความเลื่อมใสที่ข้าพเจ้ามีแล้ว ต่อพระองค์ในการตรัสไว้ตอนต้น ๆ
    บัดนี้ก็ได้ลางเลือนไปเสียแล้ว”.
    --วัจฉะ !
    ที่ท่านไม่รู้เรื่องนั้น ก็สมควรแล้ว
    ที่ท่านเกิดรู้สึกวนเวียนนั้น ก็สมควรแล้ว
    เพราะธรรมนี้เป็นของลุ่มลึก ยากที่จะเห็น ยากที่จะรู้ตาม,
    ธรรมนี้เป็นของสงบระงับ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งถึงได้ด้วยการตรึก,
    ธรรมนี้เป็นของละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้.
    -http://etipitaka.com/read/pali/13/246/?keywords=ปณฺฑิต
    เรื่องปริยายนี้ ตัวท่านมีความเห็นมาก่อนหน้านี้ เป็นอย่างอื่น
    มีความพอใจที่จะฟังให้เป็นอย่างอื่น
    มีความชอบใจจะให้พยากรณ์เป็นอย่างอื่น
    เคยปฏิบัติทำความเพียรเพื่อได้ผลเป็นอย่างอื่น
    ท่านเองได้มีครูบาอาจารย์เป็นอย่างอื่น,
    ฉะนั้นท่านจึงรู้ได้ยาก,
    --วัจฉะ ! ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านดู ท่านเห็นควรอย่างใด จงกล่าวแก้อย่างนั้น.
    --วัจฉะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน
    ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่าน ท่านจะพึงรู้ได้หรือ
    ว่าไฟนี้ลุกโพลง ๆ อยู่ต่อหน้าเรา ?”
    --“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าพึงรู้ได้ พระเจ้าข้า !”
    --วัจฉะ ! หากมีคนถามท่านว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้
    มันอาศัยอะไรจึงลุกได้ เมื่อถูกถามอย่างนี้
    ท่านจะกล่าวแก้เขาว่าอย่างไร ?
    --“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ไฟที่ลุกโพลงๆ อยู่ต่อหน้านี้
    มันอาศัยหญ้าหรือไม้เป็นเชื้อ
    มันจึงลุกอยู่ได้ พระเจ้าข้า !”
    --วัจฉะ ! หากไฟนั้นดับไปต่อหน้าท่าน
    ท่านจะพึงรู้หรือ ว่าไฟได้ดับไปต่อหน้าเรา ?
    --“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าพึงรู้ได้ พระเจ้าข้า !”
    --วัจฉะ ! หากมีคนถามท่านว่า
    ไฟที่ดับไปต่อหน้าท่านนั้น มันไปทางทิศไหนเสีย
    ทิศตะวันออกหรือตะวันตก ทิศเหนือหรือใต้
    เมื่อถูกถามอย่างนี้ ท่านจะกล่าวแก้เขาว่าอย่างไร ?
    “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้อนั้นไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
    เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อคือหญ้าหรือไม้จึงลุกขึ้นได้
    แต่ถ้าเชื้อนั้นมันสิ้นไปแล้ว ทั้งไม่มีอะไรอื่นเป็นเชื้ออีก
    ไฟนั้นก็ควรนับว่าไม่มีเชื้อ ดับไปแล้ว”.
    ฉันใดก็ฉันนั้นนั่นแล
    --วัจฉะ เอย ! เมื่อไปบัญญัติอะไรขึ้นมาให้เป็นสัตว์
    โดยถือเอา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ กลุ่มใดขึ้นมา มันก็ได้,
    แต่ความยึดถือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    สำหรับกลุ่มนี้ ตถาคต เองละได้ขาดแล้ว ถอนขึ้นได้จนถึงรากเง่าของมันแล้ว
    ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนเสียแล้ว ถึงความยกเลิกไม่มีอีก ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปแล้ว.
    --วัจฉะ เอย ! ตถาคตอยู่นอกเหนือ
    การนับว่าเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นเสียแล้ว
    มันเป็นเรื่องลึกซึ้ง ที่ใครๆ ไม่พึงประมาณได้ หยั่งถึงได้ยาก
    เหมือนดั่งห้วงมหาสมุทรฉะนั้น.
    --วัจฉะ เอย ! ข้อนี้จึง
    ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด
    ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด
    ไม่ควรจะกล่าวว่าบางทีก็เกิด บางทีก็ไม่เกิด และ
    ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็ไม่ใช่ ไม่เกิดก็ไม่ใช่
    ดังนี้แล.-

    #ทุกขนิโรธ #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/245-247/248-251.
    http://etipitaka.com/read/thai/13/190/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%94%E0%B9%98
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๒๔๕-๒๔๗/๒๔๘-๒๕๑.
    http://etipitaka.com/read/pali/13/245/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%94%E0%B9%98
    ศึกษาเพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=592
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=40&id=592
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=40
    ลำดับสาธยายธรรม : 40​ ฟังเสียง...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_40.mp3
    อริยสาวก​พึงศึกษาพระอรหันต์ตายแล้วสูญหรือ? สัทธรรมลำดับที่ : 592 ชื่อบทธรรม :- พระอรหันต์ตายแล้วสูญหรือ? https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=592 เนื้อความทั้งหมด :- --พระอรหันต์ตายแล้วสูญหรือ? --“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้ว จะไปเกิดในที่ใด ? พระเจ้าข้า !” --วัจฉะ ! ที่ใช้คำพูดว่า จะไปเกิด นั้น ไม่ควรเลย. --“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! ถ้าเช่นนั้น จะไม่ไปเกิดหรือ ?” --วัจฉะ ! ที่ใช้คำพูดว่า จะไม่ไปเกิด นั้นก็ไม่ควร. --“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าเช่นนั้น บางทีเกิด บางทีไม่เกิด กระนั้นหรือ ?” --วัจฉะ ! ที่ใช้คำพูดว่า บางทีเกิด บางทีไม่เกิด นั้น ก็ไม่ควร. --“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าเช่นนั้น ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้ว จะว่าไปเกิดก็ไม่ใช่ ไม่ไปเกิดก็ไม่ใช่ กระนั้นหรือ ?” --วัจฉะ ! ที่ใช้คำพูดว่า จะไปเกิดก็ไม่ใช่ ไม่ไปเกิดก็ไม่ใช่ แม้กระนั้นก็ไม่ควร. --“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้อที่พระองค์ตรัสตอบนี้ ข้าพเจ้าไม่รู้เรื่องเสียแล้วทำให้ข้าพเจ้าวนเวียนเสียแล้ว แม้ความเลื่อมใสที่ข้าพเจ้ามีแล้ว ต่อพระองค์ในการตรัสไว้ตอนต้น ๆ บัดนี้ก็ได้ลางเลือนไปเสียแล้ว”. --วัจฉะ ! ที่ท่านไม่รู้เรื่องนั้น ก็สมควรแล้ว ที่ท่านเกิดรู้สึกวนเวียนนั้น ก็สมควรแล้ว เพราะธรรมนี้เป็นของลุ่มลึก ยากที่จะเห็น ยากที่จะรู้ตาม, ธรรมนี้เป็นของสงบระงับ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งถึงได้ด้วยการตรึก, ธรรมนี้เป็นของละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้. -http://etipitaka.com/read/pali/13/246/?keywords=ปณฺฑิต เรื่องปริยายนี้ ตัวท่านมีความเห็นมาก่อนหน้านี้ เป็นอย่างอื่น มีความพอใจที่จะฟังให้เป็นอย่างอื่น มีความชอบใจจะให้พยากรณ์เป็นอย่างอื่น เคยปฏิบัติทำความเพียรเพื่อได้ผลเป็นอย่างอื่น ท่านเองได้มีครูบาอาจารย์เป็นอย่างอื่น, ฉะนั้นท่านจึงรู้ได้ยาก, --วัจฉะ ! ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านดู ท่านเห็นควรอย่างใด จงกล่าวแก้อย่างนั้น. --วัจฉะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่าน ท่านจะพึงรู้ได้หรือ ว่าไฟนี้ลุกโพลง ๆ อยู่ต่อหน้าเรา ?” --“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าพึงรู้ได้ พระเจ้าข้า !” --วัจฉะ ! หากมีคนถามท่านว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ มันอาศัยอะไรจึงลุกได้ เมื่อถูกถามอย่างนี้ ท่านจะกล่าวแก้เขาว่าอย่างไร ? --“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ไฟที่ลุกโพลงๆ อยู่ต่อหน้านี้ มันอาศัยหญ้าหรือไม้เป็นเชื้อ มันจึงลุกอยู่ได้ พระเจ้าข้า !” --วัจฉะ ! หากไฟนั้นดับไปต่อหน้าท่าน ท่านจะพึงรู้หรือ ว่าไฟได้ดับไปต่อหน้าเรา ? --“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าพึงรู้ได้ พระเจ้าข้า !” --วัจฉะ ! หากมีคนถามท่านว่า ไฟที่ดับไปต่อหน้าท่านนั้น มันไปทางทิศไหนเสีย ทิศตะวันออกหรือตะวันตก ทิศเหนือหรือใต้ เมื่อถูกถามอย่างนี้ ท่านจะกล่าวแก้เขาว่าอย่างไร ? “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้อนั้นไม่ควรกล่าวอย่างนั้น เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อคือหญ้าหรือไม้จึงลุกขึ้นได้ แต่ถ้าเชื้อนั้นมันสิ้นไปแล้ว ทั้งไม่มีอะไรอื่นเป็นเชื้ออีก ไฟนั้นก็ควรนับว่าไม่มีเชื้อ ดับไปแล้ว”. ฉันใดก็ฉันนั้นนั่นแล --วัจฉะ เอย ! เมื่อไปบัญญัติอะไรขึ้นมาให้เป็นสัตว์ โดยถือเอา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ กลุ่มใดขึ้นมา มันก็ได้, แต่ความยึดถือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สำหรับกลุ่มนี้ ตถาคต เองละได้ขาดแล้ว ถอนขึ้นได้จนถึงรากเง่าของมันแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนเสียแล้ว ถึงความยกเลิกไม่มีอีก ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปแล้ว. --วัจฉะ เอย ! ตถาคตอยู่นอกเหนือ การนับว่าเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นเสียแล้ว มันเป็นเรื่องลึกซึ้ง ที่ใครๆ ไม่พึงประมาณได้ หยั่งถึงได้ยาก เหมือนดั่งห้วงมหาสมุทรฉะนั้น. --วัจฉะ เอย ! ข้อนี้จึง ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าบางทีก็เกิด บางทีก็ไม่เกิด และ ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็ไม่ใช่ ไม่เกิดก็ไม่ใช่ ดังนี้แล.- #ทุกขนิโรธ #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/245-247/248-251. http://etipitaka.com/read/thai/13/190/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%94%E0%B9%98 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๒๔๕-๒๔๗/๒๔๘-๒๕๑. http://etipitaka.com/read/pali/13/245/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%94%E0%B9%98 ศึกษาเพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=592 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=40&id=592 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=40 ลำดับสาธยายธรรม : 40​ ฟังเสียง... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_40.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - พระอรหันต์ตายแล้วสูญหรือ?
    -พระอรหันต์ตายแล้วสูญหรือ? “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้ว จะไปเกิดในที่ใด ? พระเจ้าข้า !” วัจฉะ ! ที่ใช้คำพูดว่า จะไปเกิด นั้น ไม่ควรเลย. “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! ถ้าเช่นนั้น จะไม่ไปเกิดหรือ ?” วัจฉะ ! ที่ใช้คำพูดว่า จะไม่ไปเกิด นั้นก็ไม่ควร. “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าเช่นนั้น บางทีเกิด บางทีไม่เกิด กระนั้นหรือ ?” วัจฉะ ! ที่ใช้คำพูดว่า บางทีเกิด บางทีไม่เกิด นั้น ก็ไม่ควร. “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าเช่นนั้น ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้ว จะว่าไปเกิดก็ไม่ใช่ ไม่ไปเกิดก็ไม่ใช่ กระนั้นหรือ ?” วัจฉะ ! ที่ใช้คำพูดว่า จะไปเกิดก็ไม่ใช่ ไม่ไปเกิดก็ไม่ใช่ แม้กระนั้นก็ไม่ควร. “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้อที่พระองค์ตรัสตอบนี้ ข้าพเจ้าไม่รู้เรื่องเสียแล้วทำให้ข้าพเจ้าวนเวียนเสียแล้ว แม้ความเลื่อมใสที่ข้าพเจ้ามีแล้ว ต่อพระองค์ในการตรัสไว้ตอนต้น ๆ บัดนี้ก็ได้ลางเลือนไปเสียแล้ว”. วัจฉะ ! ที่ท่านไม่รู้เรื่องนั้น ก็สมควรแล้ว ที่ท่านเกิดรู้สึกวนเวียนนั้น ก็สมควรแล้ว เพราะธรรมนี้เป็นของลุ่มลึก ยากที่จะเห็น ยากที่จะรู้ตาม, ธรรมนี้เป็นของสงบระงับ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งถึงได้ด้วยการตรึก, ธรรมนี้เป็นของละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้. เรื่องปริยายนี้ ตัวท่านมีความเห็นมาก่อนหน้านี้ เป็นอย่างอื่น มีความพอใจที่จะฟังให้เป็นอย่างอื่น มีความชอบใจ จะให้พยากรณ์เป็นอย่างอื่น เคยปฏิบัติทำความเพียรเพื่อได้ผลเป็นอย่างอื่น ท่านเองได้มีครูบาอาจารย์เป็นอย่างอื่น, ฉะนั้นท่านจึงรู้ได้ยาก, วัจฉะ ! ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านดู ท่านเห็นควรอย่างใด จงกล่าวแก้อย่างนั้น. วัจฉะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่าน ท่านจะพึงรู้ได้หรือ ว่าไฟนี้ลุกโพลง ๆ อยู่ต่อหน้าเรา ?” “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าพึงรู้ได้ พระเจ้าข้า !” วัจฉะ ! หากมีคนถามท่านว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ มันอาศัยอะไรจึงลุกได้ เมื่อถูกถามอย่างนี้ ท่านจะกล่าวแก้เขาว่าอย่างไร ? “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ไฟที่ลุกโพลงๆ อยู่ต่อหน้านี้ มันอาศัยหญ้าหรือไม้เป็นเชื้อ มันจึงลุกอยู่ได้ พระเจ้าข้า !” วัจฉะ ! หากไฟนั้นดับไปต่อหน้าท่าน ท่านจะพึงรู้หรือ ว่าไฟได้ดับไปต่อหน้าเรา ? “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าพึงรู้ได้ พระเจ้าข้า !” วัจฉะ ! หากมีคนถามท่านว่า ไฟที่ดับไปต่อหน้าท่านนั้น มันไปทางทิศไหนเสีย ทิศตะวันออกหรือตะวันตก ทิศเหนือหรือใต้ เมื่อถูกถามอย่างนี้ ท่านจะกล่าวแก้เขาว่าอย่างไร ? “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้อนั้นไม่ควรกล่าวอย่างนั้น เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อคือหญ้าหรือไม้จึงลุกขึ้นได้ แต่ถ้าเชื้อนั้นมันสิ้นไปแล้ว ทั้งไม่มีอะไรอื่นเป็นเชื้ออีก ไฟนั้นก็ควรนับว่าไม่มีเชื้อ ดับไปแล้ว”. ฉันใดก็ฉันนั้นนั่นแล วัจฉะเอย ! เมื่อไปบัญญัติอะไรขึ้นมาให้เป็นสัตว์ (ตถาคต) โดยถือเอา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ กลุ่มใดขึ้นมา มันก็ได้, แต่ความยึดถือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สำหรับกลุ่มนี้ ตถาคตเองละได้ขาดแล้ว ถอนขึ้นได้จนถึงรากเง่าของมันแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนเสียแล้ว ถึงความยกเลิกไม่มีอีก ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปแล้ว. วัจฉะเอย ! ตถาคตอยู่นอกเหนือการนับว่าเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นเสียแล้ว มันเป็นเรื่องลึกซึ้ง ที่ใครๆ ไม่พึงประมาณได้ หยั่งถึงได้ยาก เหมือนดั่งห้วงมหาสมุทรฉะนั้น. วัจฉะเอย ! ข้อนี้จึงไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าบางทีก็เกิด บางทีก็ไม่เกิด และไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็ไม่ใช่ ไม่เกิดก็ไม่ใช่ ดังนี้แล.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 249 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาว่าบุคคลผู้ปฏิบัติเปรียบด้วยนักรบผู้เชี่ยวชาญการยิงศร
    สัทธรรมลำดับที่ : 560
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=560
    ชื่อบทธรรม :- ผู้ปฏิบัติเปรียบด้วยนักรบผู้เชี่ยวชาญการยิงศร
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --ผู้ปฏิบัติเปรียบด้วยนักรบผู้เชี่ยวชาญการยิงศร
    ...
    --สาฬ๎หะ ! เปรียบเหมือน ถ้านักรบรู้จักการใช้ลูกศรชั้นเลิศเป็นอันมาก
    เขาเป็นผู้ควรแก่พระราชา
    เป็นผู้รับใช้พระราชา
    ถึงการนับว่าเป็นอังคาพยพแห่งพระราชา โดยฐานะสาม.
    ฐานะสามอย่างไรกันเล่า ? ฐานะสาม คือ
    ๑.เป็นผู้ยิงได้ไกล
    ๒.เป็นผู้ยิงได้แม่นยำ
    ๓.เป็นผู้สามารถทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้.
    --สาฬ๎หะ ! นักรบผู้ยิงได้ไกล เป็นฉันใด
    อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาสมาธิก็เป็นฉันนั้น
    : อริยสาวกผู้มีสัมมาสมาธิ
    ย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้
    http://etipitaka.com/read/pali/21/274/?keywords=ยถาภูตํ+สมฺมปฺปญฺญาย
    ว่า
    “รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบัน ที่เป็น
    ภายในหรือภายนอกก็ดี
    หยาบหรือละเอียดก็ดี เลวหรือประณีตก็ดี
    ไกลหรือใกล้ก็ดี รูปทั้งหมดนั้น
    #ไม่ใช่ของเรา #ไม่ใช่เป็นเรา #ไม่ใช่อัตตาของเรา”
    http://etipitaka.com/read/pali/21/274/?keywords=เนตํ+มม+เนโสหมสฺมิ+น+เมโส+อตฺตาติ
    ดังนี้ ;

    (ในกรณีแห่งเวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกัน).

    --สาฬ๎หะ ! นักรบผู้ยิงได้แม่นยำ เป็นฉันใด
    อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ก็เป็นฉันนั้น
    : อริยสาวกผู้มี สัมมาทิฏฐิ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า
    “นี้ทุกข์
    นี้ทุกขสมุทัย
    นี้ทุกขนิโรธ
    นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
    ดังนี้.
    --สาฬ๎หะ ! นักรบผู้สามารถทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้ เป็นฉันใด
    อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาวิมุตติ ก็เป็นฉันนั้น :
    อริยสาวกผู้ มี #สัมมาวิมุตติ
    ย่อมทำลายกองแห่งอวิชชาอันใหญ่ได้.-

    #สัมมาทิฏฐิ
    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - จกตุกฺก. อํ. 21/190/196.
    http://etipitaka.com/read/thai/21/190/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%99%E0%B9%96
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จกตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๗๔/๑๙๖.
    http://etipitaka.com/read/pali/21/274/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%99%E0%B9%96
    ศึกษาเพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=560
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=36&id=560
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=36
    ลำดับสาธยายธรรม : 36​ ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_36.mp3
    อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาว่าบุคคลผู้ปฏิบัติเปรียบด้วยนักรบผู้เชี่ยวชาญการยิงศร สัทธรรมลำดับที่ : 560 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=560 ชื่อบทธรรม :- ผู้ปฏิบัติเปรียบด้วยนักรบผู้เชี่ยวชาญการยิงศร เนื้อความทั้งหมด :- --ผู้ปฏิบัติเปรียบด้วยนักรบผู้เชี่ยวชาญการยิงศร ... --สาฬ๎หะ ! เปรียบเหมือน ถ้านักรบรู้จักการใช้ลูกศรชั้นเลิศเป็นอันมาก เขาเป็นผู้ควรแก่พระราชา เป็นผู้รับใช้พระราชา ถึงการนับว่าเป็นอังคาพยพแห่งพระราชา โดยฐานะสาม. ฐานะสามอย่างไรกันเล่า ? ฐานะสาม คือ ๑.เป็นผู้ยิงได้ไกล ๒.เป็นผู้ยิงได้แม่นยำ ๓.เป็นผู้สามารถทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้. --สาฬ๎หะ ! นักรบผู้ยิงได้ไกล เป็นฉันใด อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาสมาธิก็เป็นฉันนั้น : อริยสาวกผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้ http://etipitaka.com/read/pali/21/274/?keywords=ยถาภูตํ+สมฺมปฺปญฺญาย ว่า “รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบัน ที่เป็น ภายในหรือภายนอกก็ดี หยาบหรือละเอียดก็ดี เลวหรือประณีตก็ดี ไกลหรือใกล้ก็ดี รูปทั้งหมดนั้น #ไม่ใช่ของเรา #ไม่ใช่เป็นเรา #ไม่ใช่อัตตาของเรา” http://etipitaka.com/read/pali/21/274/?keywords=เนตํ+มม+เนโสหมสฺมิ+น+เมโส+อตฺตาติ ดังนี้ ; (ในกรณีแห่งเวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกัน). --สาฬ๎หะ ! นักรบผู้ยิงได้แม่นยำ เป็นฉันใด อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ก็เป็นฉันนั้น : อริยสาวกผู้มี สัมมาทิฏฐิ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้. --สาฬ๎หะ ! นักรบผู้สามารถทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้ เป็นฉันใด อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาวิมุตติ ก็เป็นฉันนั้น : อริยสาวกผู้ มี #สัมมาวิมุตติ ย่อมทำลายกองแห่งอวิชชาอันใหญ่ได้.- #สัมมาทิฏฐิ #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - จกตุกฺก. อํ. 21/190/196. http://etipitaka.com/read/thai/21/190/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%99%E0%B9%96 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จกตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๗๔/๑๙๖. http://etipitaka.com/read/pali/21/274/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%99%E0%B9%96 ศึกษาเพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=560 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=36&id=560 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=36 ลำดับสาธยายธรรม : 36​ ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_36.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - ผู้ปฏิบัติเปรียบด้วยนักรบผู้เชี่ยวชาญการยิงศร
    -ผู้ปฏิบัติเปรียบด้วยนักรบผู้เชี่ยวชาญการยิงศร สาฬ๎หะ ! เปรียบเหมือน ถ้านักรบรู้จักการใช้ลูกศรชั้นเลิศเป็นอันมาก เขาเป็นผู้ควรแก่พระราชา เป็นผู้รับใช้พระราชา ถึงการนับว่าเป็นอังคาพยพแห่งพระราชา โดยฐานะสาม. ฐานะสามอย่างไรกันเล่า ? ฐานะสาม คือ เป็นผู้ยิงได้ไกล เป็นผู้ยิงได้แม่นยำ เป็นผู้สามารถทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้. สาฬ๎หะ ! นักรบผู้ยิงได้ไกลเป็นฉันใดอริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาสมาธิก็เป็นฉันนั้น : อริยสาวกผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า “รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบัน ที่เป็น ภายในหรือภายนอกก็ดี หยาบหรือละเอียดก็ดี เลวหรือประณีตก็ดี ไกลหรือใกล้ก็ดี รูปทั้งหมดนั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่อัตตาของเรา” ดังนี้ ; (ในกรณีแห่งเวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกัน). สาฬ๎หะ ! นักรบผู้ยิงได้แม่นยำเป็นฉันใด อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ก็เป็นฉันนั้น : อริยสาวกผู้มี สัมมาทิฏฐิ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้. สาฬ๎หะ ! นักรบผู้สามารถทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้ เป็นฉันใดอริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาวิมุตติ ก็เป็นฉันนั้น : อริยสาวกผู้ มีสัมมาวิมุตติ ย่อมทำลายกองแห่งอวิชชาอันใหญ่ได้.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 592 มุมมอง 0 รีวิว
  • วิชชา ๓

    1. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ - ระลึกชาติย้อนไปในอดีตได้
    2. จุตูปปาตญาณ -ความรู้การจุติ(เคลื่อน-การเกิด) และการอุบัติของสัตว์
    3. อาสวักขยญาณ - รู้การทำอาสวะให้หมดสิ้นไป


    อภิญญา ๖

    1. อิทธิวิธิ - มีฤทธิ์ เช่น หายตัว เหาะได้ เดินบนน้ำ ดำดินได้
    2. ทิพพโสต - มีหูทิพย์ ได้ยินเสียงทิพย์ เสียงเทวดา
    3. เจโตปริยญาณ - รู้ใจผู้อื่น รู้ความคิดผู้อื่นได้
    4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ - ระลึกชาติย้อนไปในอดีตได้
    5. ทิพพจักขุ - มีตาทิพย์ เห็นภพของสัตว์ในอนาคต
    6. อาสวักขยญาณ - รู้การทำอาสวะให้หมดสิ้นไป


    วิโมกข์ ๘
    1. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป
    2. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก
    3. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณ เป็นของงาม
    4. ผู้บรรลุ อากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้
    5. ผู้ที่บรรลุ วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
    6. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
    7. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ
    8. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ



    วิชชา ๘

    1 วิปัสสนาญาณ
    จิตเป็นสมาธิ ไม่มีกิเลส ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว เปรียบเหมือนช่างเจียรใน ที่เจียรแก้วอัน งามสมส่วนบริสุทธิ์ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ ญาณทัสนะ

    2 มโนมยิทธิญาณ
    ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ย่อมตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ นิรมิตรูป คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เหมือนบุรุษชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดว่า นี้ดาบ นี้ฝัก

    3 อิทธิวิธญาณ
    มีฤทธิ์ไม่มีประมาณ เหมือนช่างทองจะขึ้นรูปแบบใดก็ทำได้ เมื่อจิตเป็นสมาธิไม่หวั่น ไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี คือ คนเดียวเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ทำให้ปรากฏได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ ไม่ติดขัด

    4 ทิพยโสตญาณ
    หูทิพย์ ได้ยินเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ไม่มีประมาณ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ย่อมตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้

    5 เจโตปริยญาณ
    เมื่อจิตเป็นสมาธิตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ เจโตปริยญาณ ย่อมรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่น คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมี โทสะ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตเป็นจิตหลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น

    6 ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
    รู้อดีตชาติไม่มีประมาณ รู้อายุแต่ละภพ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก ชาติหนึ่ง.. แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัป ว่าในภพโน้นเรามีโคตรอย่างนั้น

    7 จุตูปปาตญาณ
    ทิพย์จักษุ-เห็นการจุติและอุบัติ หรือตกทุกข์ เข้าถึงนรกหรือสววรค์ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ตั้งมั่น ย่อมน้อมจิตไป เพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เห็นหมู่สัตว์ที่ กำลัง จุติ กำลังอุปบัติ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

    8 อาสวักขยญาณ
    รู้ชัดซึ่งทุกข์ สมุทัยนิโรธ รู้ว่าจิตหลุดพ้น รู้ว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เมื่อจิตเป็นสมาธิ ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตาม เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    วิชชา ๓ 1. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ - ระลึกชาติย้อนไปในอดีตได้ 2. จุตูปปาตญาณ -ความรู้การจุติ(เคลื่อน-การเกิด) และการอุบัติของสัตว์ 3. อาสวักขยญาณ - รู้การทำอาสวะให้หมดสิ้นไป อภิญญา ๖ 1. อิทธิวิธิ - มีฤทธิ์ เช่น หายตัว เหาะได้ เดินบนน้ำ ดำดินได้ 2. ทิพพโสต - มีหูทิพย์ ได้ยินเสียงทิพย์ เสียงเทวดา 3. เจโตปริยญาณ - รู้ใจผู้อื่น รู้ความคิดผู้อื่นได้ 4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ - ระลึกชาติย้อนไปในอดีตได้ 5. ทิพพจักขุ - มีตาทิพย์ เห็นภพของสัตว์ในอนาคต 6. อาสวักขยญาณ - รู้การทำอาสวะให้หมดสิ้นไป วิโมกข์ ๘ 1. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป 2. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก 3. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณ เป็นของงาม 4. ผู้บรรลุ อากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ 5. ผู้ที่บรรลุ วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ 6. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร 7. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ 8. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ วิชชา ๘ 1 วิปัสสนาญาณ จิตเป็นสมาธิ ไม่มีกิเลส ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว เปรียบเหมือนช่างเจียรใน ที่เจียรแก้วอัน งามสมส่วนบริสุทธิ์ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ ญาณทัสนะ 2 มโนมยิทธิญาณ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ย่อมตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ นิรมิตรูป คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เหมือนบุรุษชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดว่า นี้ดาบ นี้ฝัก 3 อิทธิวิธญาณ มีฤทธิ์ไม่มีประมาณ เหมือนช่างทองจะขึ้นรูปแบบใดก็ทำได้ เมื่อจิตเป็นสมาธิไม่หวั่น ไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี คือ คนเดียวเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ทำให้ปรากฏได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ ไม่ติดขัด 4 ทิพยโสตญาณ หูทิพย์ ได้ยินเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ไม่มีประมาณ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ย่อมตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ 5 เจโตปริยญาณ เมื่อจิตเป็นสมาธิตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ เจโตปริยญาณ ย่อมรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่น คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมี โทสะ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตเป็นจิตหลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น 6 ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ รู้อดีตชาติไม่มีประมาณ รู้อายุแต่ละภพ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก ชาติหนึ่ง.. แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัป ว่าในภพโน้นเรามีโคตรอย่างนั้น 7 จุตูปปาตญาณ ทิพย์จักษุ-เห็นการจุติและอุบัติ หรือตกทุกข์ เข้าถึงนรกหรือสววรค์ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ตั้งมั่น ย่อมน้อมจิตไป เพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เห็นหมู่สัตว์ที่ กำลัง จุติ กำลังอุปบัติ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ 8 อาสวักขยญาณ รู้ชัดซึ่งทุกข์ สมุทัยนิโรธ รู้ว่าจิตหลุดพ้น รู้ว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เมื่อจิตเป็นสมาธิ ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตาม เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 391 มุมมอง 0 รีวิว
  • ญาณ ๓ วิชชา ๓ อภิญญา 6 วิชชา ๘
    (เนื้อหาพอสังเขป)

    ญาณ ๓ วิชชา ๓
    1. ปุพเพนิวาสา - ระลึกชาติในอดีตได้
    2. จุตูปปาตญาณ -ความรู้การอุบัติของสัตว์
    3. อาสวักขยญาณ - รู้การทำให้สิ้นอาสวะ

    อภิญญา ๖
    1. อิทธิวิธิ - มีฤทธิ์ หายตัวได้ เดินบนน้ำ ดำดินได้
    2. ทิพพโสต - มีหูทิพย์ ได้ยินเสียงทิพย์ เสียงเทวดา
    3. เจโตปริยญาณ - รู้ใจผู้อื่น รู้ความคิดผู้อื่นได้
    4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ - ระลึกชาติย้อนไปในอดีตได้
    5. ทิพยจักขุ - มีตาทิพย์ เห็นภพของสัตว์ในอนาคต
    6. อาสวักขยญาณ - รู้การทำอาสวะให้หมดสิ้นไป

    วิโมกข์ ๘
    1. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป
    2. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก
    3. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณ เป็นของงาม
    4. ผู้บรรลุ อากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้
    5. ผู้ที่บรรลุ วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
    6. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
    7. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ
    8. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ

    วิชชา ๘
    1 วิปัสสนาญาณ
    จิตเป็นสมาธิ ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ ญาณทัสนะ

    2 มโนมยิทธิญาณ
    จิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ย่อมตั้งมั่น ย่อมน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูป คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง

    3 อิทธิวิธญาณ
    มีฤทธิ์ไม่มีประมาณ คนเดียวเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ทำให้ปรากฏได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุกำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด

    4 ทิพยโสตญาณ
    หูทิพย์ ได้ยินเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ไม่มีประมาณ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ย่อมตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ

    5 เจโตปริยญาณ
    เมื่อจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้ใจของสัตว์ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตเป็นจิต หลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น

    6 ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
    รู้อดีตชาติไม่มีประมาณ รู้อายุแต่ละภพ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อระลึกชาติก่อนได้ ชาติหนึ่ง.. แสนชาติบ้าง.. ว่าในภพโน้นเรามีชื่อ มีโคตรอย่างนั้น

    7 จุตูปปาตญาณ
    ทิพย์จักษุ-เห็นการจุติและอุบัติ หรือตกทุกข์ เข้าถึงนรก หรือ สววรค์ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

    8 อาสวักขยญาณ
    รู้ชัดซึ่งทุกข์ สมุทัยนิโรธ รู้ว่าจิตหลุดพ้น รู้ว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    ญาณ ๓ วิชชา ๓ อภิญญา 6 วิชชา ๘ (เนื้อหาพอสังเขป) ญาณ ๓ วิชชา ๓ 1. ปุพเพนิวาสา - ระลึกชาติในอดีตได้ 2. จุตูปปาตญาณ -ความรู้การอุบัติของสัตว์ 3. อาสวักขยญาณ - รู้การทำให้สิ้นอาสวะ อภิญญา ๖ 1. อิทธิวิธิ - มีฤทธิ์ หายตัวได้ เดินบนน้ำ ดำดินได้ 2. ทิพพโสต - มีหูทิพย์ ได้ยินเสียงทิพย์ เสียงเทวดา 3. เจโตปริยญาณ - รู้ใจผู้อื่น รู้ความคิดผู้อื่นได้ 4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ - ระลึกชาติย้อนไปในอดีตได้ 5. ทิพยจักขุ - มีตาทิพย์ เห็นภพของสัตว์ในอนาคต 6. อาสวักขยญาณ - รู้การทำอาสวะให้หมดสิ้นไป วิโมกข์ ๘ 1. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป 2. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก 3. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณ เป็นของงาม 4. ผู้บรรลุ อากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ 5. ผู้ที่บรรลุ วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ 6. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร 7. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ 8. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ วิชชา ๘ 1 วิปัสสนาญาณ จิตเป็นสมาธิ ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ ญาณทัสนะ 2 มโนมยิทธิญาณ จิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ย่อมตั้งมั่น ย่อมน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูป คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง 3 อิทธิวิธญาณ มีฤทธิ์ไม่มีประมาณ คนเดียวเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ทำให้ปรากฏได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุกำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด 4 ทิพยโสตญาณ หูทิพย์ ได้ยินเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ไม่มีประมาณ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ย่อมตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ 5 เจโตปริยญาณ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้ใจของสัตว์ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตเป็นจิต หลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น 6 ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ รู้อดีตชาติไม่มีประมาณ รู้อายุแต่ละภพ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อระลึกชาติก่อนได้ ชาติหนึ่ง.. แสนชาติบ้าง.. ว่าในภพโน้นเรามีชื่อ มีโคตรอย่างนั้น 7 จุตูปปาตญาณ ทิพย์จักษุ-เห็นการจุติและอุบัติ หรือตกทุกข์ เข้าถึงนรก หรือ สววรค์ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ 8 อาสวักขยญาณ รู้ชัดซึ่งทุกข์ สมุทัยนิโรธ รู้ว่าจิตหลุดพ้น รู้ว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 391 มุมมอง 0 รีวิว

  • มหาสติปัฏฐานสูตร ฉบับ บาลีอักษรไทย(แปล)

    สัจจบรรพ

    (นำ) หันทะ มะยัง อะริยะสัจจะปัพพะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ

    (รับ) ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ
    - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง

    ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
    - ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

    จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
    - คือ อริยสัจ ๔

    กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
    - ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

    จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
    - คือ อริยสัจ ๔ เป็นอย่างไรเล่า?

    อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
    - ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    อิทัง ทุกขันติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ
    - ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์

    อะยัง ทุกขะสะมุทะโยติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ
    - ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกขสมุทัย

    อะยัง ทุกขะนิโรโธติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ
    - ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกขนิโรธ

    อะยัง ทุกขะนิโรคะคามินี ปะฏิปะทาติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ
    - ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

    กะตะมัญจะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
    - ภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า?

    ชาติปิ ทุกขา
    - แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์

    ชะราปิ ทุกขา
    - แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์

    มะระณัมปิ ทุกขัง
    - แม้ความตายก็เป็นทุกข์

    โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา
    - แม้ความโศกความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย
    ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์

    อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
    - ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์

    ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
    - ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์

    ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
    - มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์

    สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
    - โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้า เป็นตัวทุกข์

    กะตะมา จะ ภิกขะเว ชาติ
    - ภิกษุทั้งหลาย ชาติ เป็นอย่างไรเล่า?

    ยาเตสัง เตสัง สัตตานิ ตัมหิ ตัมหิ สัตตะนิกาเย, ชาติ สัญชาติ โอกกันติ นิพพัตติ
    อะภินิพพัตติ ขันธานัง, ปาตุภาโว อายะตะนานัง ปะฏิลาโภ
    - การเกิด การกำเนิด การก้าวลง การเกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์
    การได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์เหล่านั้นๆ

    อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ชาติ
    - ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ชาติ
    มหาสติปัฏฐานสูตร ฉบับ บาลีอักษรไทย(แปล) สัจจบรรพ (นำ) หันทะ มะยัง อะริยะสัจจะปัพพะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ (รับ) ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ - คือ อริยสัจ ๔ กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ - คือ อริยสัจ ๔ เป็นอย่างไรเล่า? อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อิทัง ทุกขันติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ - ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ อะยัง ทุกขะสะมุทะโยติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ - ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกขสมุทัย อะยัง ทุกขะนิโรโธติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ - ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกขนิโรธ อะยัง ทุกขะนิโรคะคามินี ปะฏิปะทาติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ - ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา กะตะมัญจะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง - ภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า? ชาติปิ ทุกขา - แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ ชะราปิ ทุกขา - แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ มะระณัมปิ ทุกขัง - แม้ความตายก็เป็นทุกข์ โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา - แม้ความโศกความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข - ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข - ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง - มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์ สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา - โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้า เป็นตัวทุกข์ กะตะมา จะ ภิกขะเว ชาติ - ภิกษุทั้งหลาย ชาติ เป็นอย่างไรเล่า? ยาเตสัง เตสัง สัตตานิ ตัมหิ ตัมหิ สัตตะนิกาเย, ชาติ สัญชาติ โอกกันติ นิพพัตติ อะภินิพพัตติ ขันธานัง, ปาตุภาโว อายะตะนานัง ปะฏิลาโภ - การเกิด การกำเนิด การก้าวลง การเกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ การได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์เหล่านั้นๆ อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ชาติ - ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ชาติ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 109 มุมมอง 0 รีวิว
  • สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม เนื่องในวันอาสาฬหบูชา วันเสาร์ ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ความว่า

    “ดิถีอาสาฬหบูชาได้เวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่งแล้ว ควรที่สาธุชนจักได้น้อมรำลึกถึงเหตุการณ์ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ ณ อิสิปตนมฤคทายวัน อันเป็นการเริ่มประกาศพระศาสนา กระทั่งบังเกิดมีพระอริยสงฆ์ ครบถ้วนพร้อมเป็น “พระรัตนตรัย” ซึ่งเป็นสรณะนำทางชีวิตของพุทธบริษัท ให้มุ่งหน้าดำเนินไปสู่หนทางดับเพลิงกิเลสกองทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง

    ปฐมเทศนาที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้นั้น คือ “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” ทรงประกาศวิถีทางดับทุกข์ด้วยมรรคมีองค์ ๘ ที่เรียกอีกอย่างว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ทั้งนี้ ท่ามกลางสถานการณ์โลกปัจจุบัน อันเต็มไปด้วยมิจฉาชีพ มีการฉ้อโกง หลอกลวง ประทุษร้ายกัน ประกอบกับเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มิจฉาชีพจึงสบช่องทำอันตรายต่อผู้คนในสังคมทุกระดับอย่างอย่างรวดเร็วและร้ายแรงมากขึ้น ท่านทั้งหลายควรเร่งหันมาศึกษาพิจารณาธรรมะหมวด “อริยมรรค” โดยดำเนินไปบนหนทางแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุประการหนึ่ง กล่าวคือ การปลูกฝังสั่งสมให้สมาชิกในสังคม มีค่านิยมในการครอง “สัมมาอาชีวะ” ซึ่งหมายถึง “การเลี้ยงชีพชอบ” ไว้ให้ได้อย่างมั่นคง ขอให้ช่วยกันเชิดชูสุจริตชนผู้แสวงหาปัจจัยมาบริโภคโดยชอบ ขอให้งดเว้นการคิดคดโกง หลอกลวง ประจบสอพลอ บีบบังคับขู่เข็ญ และต่อลาภด้วยลาภโดยไม่ประกอบด้วยความเพียร ไม่อาศัยกำลังกายและกำลังปัญญาของตน ขอให้หยุดและเลิกการกระทำบนพื้นฐานของความโลภที่เกินประมาณ ถึงขั้นทำลายวัฒนธรรม ศีลธรรมอันดีงาม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนสวัสดิภาพของส่วนรวม อันจัดเข้าข่ายว่าเป็นมิจฉาชีพทั้งสิ้น

    วันอาสาฬหบูชา นอกจากจะเตือนใจให้รำลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อันเป็นสรณะสูงสุดของพุทธบริษัทแล้ว ยังอาจเตือนใจให้ทุกท่าน ตระหนักแน่วแน่ในอริยมรรคข้อ “สัมมาอาชีวะ” เพราะฉะนั้น หากท่านประสงค์ให้สังคมไทยร่มเย็นเป็นสุข จงหมั่นเพียรศึกษาอบรมและปฏิบัติธรรมะ มีน้ำใจกล้าหาญที่จะละทิ้งความเป็นมิจฉาชีพ แล้วสู้อุตสาหะประกอบสัมมาชีพด้วยกันทุกคน เพื่อให้ทุกครอบครัว และทุกชุมชน เป็นสถานที่ปลอดจากทุจริตชน นับเป็นการเกื้อกูลตนเอง และสรรพชีวิตทั่วหน้า ให้สามารถพ้นจากภยันตราย ได้สมตามความมุ่งมาดปรารถนาอย่างแท้จริง อนึ่ง ขอความเจริญงอกงามในพระสัทธรรม จงพลันบังเกิดมีแด่สาธุชนผู้เลี้ยงชีพชอบ โดยทั่วหน้ากัน เทอญ.”

    #thaitimes
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม เนื่องในวันอาสาฬหบูชา วันเสาร์ ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ความว่า “ดิถีอาสาฬหบูชาได้เวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่งแล้ว ควรที่สาธุชนจักได้น้อมรำลึกถึงเหตุการณ์ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ ณ อิสิปตนมฤคทายวัน อันเป็นการเริ่มประกาศพระศาสนา กระทั่งบังเกิดมีพระอริยสงฆ์ ครบถ้วนพร้อมเป็น “พระรัตนตรัย” ซึ่งเป็นสรณะนำทางชีวิตของพุทธบริษัท ให้มุ่งหน้าดำเนินไปสู่หนทางดับเพลิงกิเลสกองทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง ปฐมเทศนาที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้นั้น คือ “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” ทรงประกาศวิถีทางดับทุกข์ด้วยมรรคมีองค์ ๘ ที่เรียกอีกอย่างว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ทั้งนี้ ท่ามกลางสถานการณ์โลกปัจจุบัน อันเต็มไปด้วยมิจฉาชีพ มีการฉ้อโกง หลอกลวง ประทุษร้ายกัน ประกอบกับเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มิจฉาชีพจึงสบช่องทำอันตรายต่อผู้คนในสังคมทุกระดับอย่างอย่างรวดเร็วและร้ายแรงมากขึ้น ท่านทั้งหลายควรเร่งหันมาศึกษาพิจารณาธรรมะหมวด “อริยมรรค” โดยดำเนินไปบนหนทางแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุประการหนึ่ง กล่าวคือ การปลูกฝังสั่งสมให้สมาชิกในสังคม มีค่านิยมในการครอง “สัมมาอาชีวะ” ซึ่งหมายถึง “การเลี้ยงชีพชอบ” ไว้ให้ได้อย่างมั่นคง ขอให้ช่วยกันเชิดชูสุจริตชนผู้แสวงหาปัจจัยมาบริโภคโดยชอบ ขอให้งดเว้นการคิดคดโกง หลอกลวง ประจบสอพลอ บีบบังคับขู่เข็ญ และต่อลาภด้วยลาภโดยไม่ประกอบด้วยความเพียร ไม่อาศัยกำลังกายและกำลังปัญญาของตน ขอให้หยุดและเลิกการกระทำบนพื้นฐานของความโลภที่เกินประมาณ ถึงขั้นทำลายวัฒนธรรม ศีลธรรมอันดีงาม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนสวัสดิภาพของส่วนรวม อันจัดเข้าข่ายว่าเป็นมิจฉาชีพทั้งสิ้น วันอาสาฬหบูชา นอกจากจะเตือนใจให้รำลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อันเป็นสรณะสูงสุดของพุทธบริษัทแล้ว ยังอาจเตือนใจให้ทุกท่าน ตระหนักแน่วแน่ในอริยมรรคข้อ “สัมมาอาชีวะ” เพราะฉะนั้น หากท่านประสงค์ให้สังคมไทยร่มเย็นเป็นสุข จงหมั่นเพียรศึกษาอบรมและปฏิบัติธรรมะ มีน้ำใจกล้าหาญที่จะละทิ้งความเป็นมิจฉาชีพ แล้วสู้อุตสาหะประกอบสัมมาชีพด้วยกันทุกคน เพื่อให้ทุกครอบครัว และทุกชุมชน เป็นสถานที่ปลอดจากทุจริตชน นับเป็นการเกื้อกูลตนเอง และสรรพชีวิตทั่วหน้า ให้สามารถพ้นจากภยันตราย ได้สมตามความมุ่งมาดปรารถนาอย่างแท้จริง อนึ่ง ขอความเจริญงอกงามในพระสัทธรรม จงพลันบังเกิดมีแด่สาธุชนผู้เลี้ยงชีพชอบ โดยทั่วหน้ากัน เทอญ.” #thaitimes
    Love
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 848 มุมมอง 0 รีวิว