• #ดื้อด้าน #ขายชาติ ไหม? #ไทย #กัมพูชา #เขมร #เชฟรอน #น้ำมัน #อเมริกา #เกาะกูด
    #ดื้อด้าน #ขายชาติ ไหม? #ไทย #กัมพูชา #เขมร #เชฟรอน #น้ำมัน #อเมริกา #เกาะกูด
    0 Comments 0 Shares 47 Views 0 Reviews
  • ปฏิญญา BRICS นับหนึ่งระเบียบโลกหลายขั้ว
    .
    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ระหว่างวันที่ 22-24 ตุลาคม ที่ผ่านมา ที่เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย มีการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม BRICS ขึ้น โดยประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เป็นเจ้าภาพ กลุ่ม BRICS กำลังสร้างระเบียบโลกใหม่ขึ้นอีกระบบหนึ่งที่มีขั้วอำนาจหลายขั้ว ที่นำโดย 5 ประเทศก่อตั้ง คือ จีน รัสเซีย แอฟริกาใต้ บราซิล และ อินเดีย กับสมาชิกถาวรอีก 4 ประเทศ คือ อิหร่าน อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ เอธิโอเปีย ได้จับมือรวมกลุ่มกับประเทศซีกโลกใต้ ที่เขาเรียกว่า Global South ที่เป็นประเทศพันธมิตรหุ้นส่วนอีก 13 ประเทศ มีแอลจีเรีย เบราลุส โบลิเวีย คิวบา อินโดนีเซีย คาซัคสถาน มาเลเซีย ไนจีเรีย ตุรกี ยูกันดา อุซเบกินสถาน เวียดนาม และ ประเทศไทย
    .
    ด้วยเหตุนี้ นักประวัติศาสตร์และสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส นายเอ็มมานูเอล ทอดด์ ได้เรียกการประชุมสุดยอด BRICS ครั้งที่ 16 นี้ว่าเป็นชัยชนะของรัสเซีย และเป็นความพ่ายแพ้ย่อยยับของตะวันตก ซึ่งขณะนี้ก็ยังดื้อด้าน ไม่ยอมรับ และแสดงอำนาจบาตรใหญ่ คว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ของประเทศที่แสดงความปรารถนาจะใกล้ชิดกับรัสเซีย
    .
    ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน พูดถึงระเบียบโลกใหม่ที่BRICS สร้างเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มความร่วมมือที่หลากหลายในหลายมิติ ไม่ใช่การแสวงหาประโยชน์หรือบูรณาการเฉพาะทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ ให้ความสำคัญ Global South โลกใต้ที่เป็นประเทศตลาดเกิดใหม่ เข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน,BRICS Peaceใช้กลไกสันติภาพยุติสงครามความขัดแย้ง,นวัตกรรมของBRICS Innovationเพื่ออนาคตเปิดพรมแดนใหม่ๆเพื่อมนุษยชาติ,Green BRICS ซึ่งจีนเป็นเจ้าโลกเทคโนโลยีสีเขียวและรถไฟฟ้าตอบโจทย์แก้โลกร้อน Climate Change และประเด็น Justices&Humanity BRICSที่ผู้นำจีนเสนอควรต้องให้แต้มต่อประเทศยากจนถึงจะเป็นธรรม
    .
    การประชุมสุดยอดของผู้นำ BRICS ปิดฉากลงด้วยการรับรองปฏิญญาคาซาน 2024 ซึ่งเป็นคำประกาศแถลงการณ์ร่วมของสมาชิก BRICS โดยมีแผนที่จะยื่นเอกสารดังกล่าวต่อสหประชาชาติด้วย เนื้อหาระบุไว้4หัวข้อหลัก
    .
    หนึ่ง-ความจำเป็นในการปฏิรูปสถาบันระดับโลกเช่นองค์การการค้าโลก คัดค้านมาตรการฝ่ายเดียวที่เลือกปฏิบัติและการคุ้มครองทางการค้า รวมทั้งเสนอให้คณะมนตรีความมั่นคงฯ ให้เป็นตัวแทนประเทศทั่วโลกมากขึ้น
    .
    สอง-โครงการของ BRICS ริเริ่มใหม่ (BRICS Initiative) ด้านศักยภาพเทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัลและเปลี่ยนแปลงเพิ่มบทบาทธนาคารพัฒนาแห่งใหม่ (NDB)ของBRICS แทนธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟที่ล้มเหลวต่อการพัฒนาประเทศ Global South รวมถึงการทำแพลตฟอร์มใหม่ๆพัฒนาเศรษฐกิจ ระบบชำระเงินระหว่างประเทศ BRICS ClearแทนระบบSWIFTของตะวันตก และร่วมมือการพัฒนายารักษาโรครวมทั้งวัคซีนและโครงการ เวชศาสตร์นิวเคลียร์
    .
    สาม-การขยายความร่วมมือของ BRICS โดยการใช้สกุลเงินท้องถิ่นประจำชาติในการทำธุรกรรมระหว่างสมาชิก BRICS+ และพันธมิตรทางการค้า ดำเนินยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
    .
    สี่-วิกฤตการณ์โลกที่ BRICS ต่อต้าน ประณามการใช้มาตรการคว่ำบาตรที่เลือกปฏิบัติ คัดค้านการนำอาวุธไปใช้ในอวกาศ และสนับสนุนการเสริมสร้างระบอบการไม่แพร่ขยายอาวุธ รวมถึงปฏิบัติตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิกอย่างเต็มตัวของปาเลสไตน์ในสหประชาชาติและข้อเสนอในการไกล่เกลี่ยยุติความขัดแย้งโดยผ่านการเจรจาเท่านั้น
    .
    ทั้งหมดนี้ จีน รัสเซีย ในฐานะแกนนำมหาอำนาจขั้วโลกใหม่ จะเป็นผู้นำวางกฎระเบียบโลกใหม่ และได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนถึงยุทธศาสตร์เชิงภูมิเศรษฐศาสตร์และภูมิรัฐศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงสภาพการขับเคี่ยวกันทางภูมิรัฐศาสตร์ที่จะทวีความรุนแรงขึ้นระหว่างเศรษฐกิจกลุ่ม Global North และ Global South สิ่งที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นการนับหนึ่งที่กำลังจะสั่นสะเทือนอนาคตของระเบียบโลกเก่า
    ปฏิญญา BRICS นับหนึ่งระเบียบโลกหลายขั้ว . เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ระหว่างวันที่ 22-24 ตุลาคม ที่ผ่านมา ที่เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย มีการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม BRICS ขึ้น โดยประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เป็นเจ้าภาพ กลุ่ม BRICS กำลังสร้างระเบียบโลกใหม่ขึ้นอีกระบบหนึ่งที่มีขั้วอำนาจหลายขั้ว ที่นำโดย 5 ประเทศก่อตั้ง คือ จีน รัสเซีย แอฟริกาใต้ บราซิล และ อินเดีย กับสมาชิกถาวรอีก 4 ประเทศ คือ อิหร่าน อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ เอธิโอเปีย ได้จับมือรวมกลุ่มกับประเทศซีกโลกใต้ ที่เขาเรียกว่า Global South ที่เป็นประเทศพันธมิตรหุ้นส่วนอีก 13 ประเทศ มีแอลจีเรีย เบราลุส โบลิเวีย คิวบา อินโดนีเซีย คาซัคสถาน มาเลเซีย ไนจีเรีย ตุรกี ยูกันดา อุซเบกินสถาน เวียดนาม และ ประเทศไทย . ด้วยเหตุนี้ นักประวัติศาสตร์และสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส นายเอ็มมานูเอล ทอดด์ ได้เรียกการประชุมสุดยอด BRICS ครั้งที่ 16 นี้ว่าเป็นชัยชนะของรัสเซีย และเป็นความพ่ายแพ้ย่อยยับของตะวันตก ซึ่งขณะนี้ก็ยังดื้อด้าน ไม่ยอมรับ และแสดงอำนาจบาตรใหญ่ คว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ของประเทศที่แสดงความปรารถนาจะใกล้ชิดกับรัสเซีย . ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน พูดถึงระเบียบโลกใหม่ที่BRICS สร้างเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มความร่วมมือที่หลากหลายในหลายมิติ ไม่ใช่การแสวงหาประโยชน์หรือบูรณาการเฉพาะทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ ให้ความสำคัญ Global South โลกใต้ที่เป็นประเทศตลาดเกิดใหม่ เข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน,BRICS Peaceใช้กลไกสันติภาพยุติสงครามความขัดแย้ง,นวัตกรรมของBRICS Innovationเพื่ออนาคตเปิดพรมแดนใหม่ๆเพื่อมนุษยชาติ,Green BRICS ซึ่งจีนเป็นเจ้าโลกเทคโนโลยีสีเขียวและรถไฟฟ้าตอบโจทย์แก้โลกร้อน Climate Change และประเด็น Justices&Humanity BRICSที่ผู้นำจีนเสนอควรต้องให้แต้มต่อประเทศยากจนถึงจะเป็นธรรม . การประชุมสุดยอดของผู้นำ BRICS ปิดฉากลงด้วยการรับรองปฏิญญาคาซาน 2024 ซึ่งเป็นคำประกาศแถลงการณ์ร่วมของสมาชิก BRICS โดยมีแผนที่จะยื่นเอกสารดังกล่าวต่อสหประชาชาติด้วย เนื้อหาระบุไว้4หัวข้อหลัก . หนึ่ง-ความจำเป็นในการปฏิรูปสถาบันระดับโลกเช่นองค์การการค้าโลก คัดค้านมาตรการฝ่ายเดียวที่เลือกปฏิบัติและการคุ้มครองทางการค้า รวมทั้งเสนอให้คณะมนตรีความมั่นคงฯ ให้เป็นตัวแทนประเทศทั่วโลกมากขึ้น . สอง-โครงการของ BRICS ริเริ่มใหม่ (BRICS Initiative) ด้านศักยภาพเทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัลและเปลี่ยนแปลงเพิ่มบทบาทธนาคารพัฒนาแห่งใหม่ (NDB)ของBRICS แทนธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟที่ล้มเหลวต่อการพัฒนาประเทศ Global South รวมถึงการทำแพลตฟอร์มใหม่ๆพัฒนาเศรษฐกิจ ระบบชำระเงินระหว่างประเทศ BRICS ClearแทนระบบSWIFTของตะวันตก และร่วมมือการพัฒนายารักษาโรครวมทั้งวัคซีนและโครงการ เวชศาสตร์นิวเคลียร์ . สาม-การขยายความร่วมมือของ BRICS โดยการใช้สกุลเงินท้องถิ่นประจำชาติในการทำธุรกรรมระหว่างสมาชิก BRICS+ และพันธมิตรทางการค้า ดำเนินยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ . สี่-วิกฤตการณ์โลกที่ BRICS ต่อต้าน ประณามการใช้มาตรการคว่ำบาตรที่เลือกปฏิบัติ คัดค้านการนำอาวุธไปใช้ในอวกาศ และสนับสนุนการเสริมสร้างระบอบการไม่แพร่ขยายอาวุธ รวมถึงปฏิบัติตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิกอย่างเต็มตัวของปาเลสไตน์ในสหประชาชาติและข้อเสนอในการไกล่เกลี่ยยุติความขัดแย้งโดยผ่านการเจรจาเท่านั้น . ทั้งหมดนี้ จีน รัสเซีย ในฐานะแกนนำมหาอำนาจขั้วโลกใหม่ จะเป็นผู้นำวางกฎระเบียบโลกใหม่ และได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนถึงยุทธศาสตร์เชิงภูมิเศรษฐศาสตร์และภูมิรัฐศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงสภาพการขับเคี่ยวกันทางภูมิรัฐศาสตร์ที่จะทวีความรุนแรงขึ้นระหว่างเศรษฐกิจกลุ่ม Global North และ Global South สิ่งที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นการนับหนึ่งที่กำลังจะสั่นสะเทือนอนาคตของระเบียบโลกเก่า
    Like
    3
    0 Comments 0 Shares 899 Views 0 Reviews