ซึงพิเศษที่ผมปรับปรุงขึ้นมาใช้นี้มีความเป็นมายาวนานกว่า 15 ปี เริ่มจากตัวแรกให้ช่างทำซึงจากเชียงใหม่ ทำพิเศษให้ผมตามรูปที่วาดไว้ คือมีสาย Double Strings สามสายคู่ (หมายถึงแต่ละสายมีสายสองเส้น) ซึ่งปกติซึงล้านนาจะมีแค่ Double String สองสายคู่ แล้วก็ให้แกะสลักลายตามที่ผมวาดด้วย จากนั้นก็เอาไปให้พี่เชนอลิเซียทำ finger board แรกเริ่มก็วางเฟร็ตสเกลล้านนานั่นแหละ ผมยังขอให้ทำเฟร็ตช่องที่สองสามารถเลื่อนได้ในกรณีที่ต้องการเล่นจูนนิ่งแบบล้านนาสลับกับตะวันตก แต่เล่นไปเล่นมาหลายปี มีข้อจำกัดเรื่องคีย์ที่เป็นอุปสรรค อยากจะเล่นคีย์อื่นได้ ผมก็เติมเฟร็ตไปเรื่อยจนกระทั่งเต็มคอ เล่นได้ทุกคีย์ในที่สุด ในระหว่างนั้นก็เกิดความคิดที่จะปรับปรุงอีก อยากให้มันมี Harp ในตัวด้วย ก็เลยลองออกแบบสเก็ตช์ขึ้นมาตามที่เห็นในรูป แล้วส่งไปให้พี่เชนแห่งร้านกีต้าร์อลิเซียทำให้
.
อย่างที่เล่าให้ฟัง พี่เชน อลิเซียเป็นช่างกีต้าร์ที่ยอมทำอะไรประหลาดๆ ให้ผม เช่น พี่เชนโมดิไฟด์กระจับปี่ไทยให้ผม จนเสียงดีในแบบที่ผมต้องการ (ไม่ได้เสียงแบบดั้งเดิมที่ดังแฟ่ดๆ จากหย่องที่ผมไม่ชอบเลย) สามารถเลื่อนเฟร็ตได้ทั้งคอ เพราะ finger board มีร่องที่แต่ละเฟร็ตสามารถสไลด์ไปได้ อย่างที่เราต้องการ ผมซื้อเครื่องสายของภูฏานมาตัวหนึ่งมันเรียกว่า Dramnyen แต่เครื่องผลิตมาด้วยคุณภาพชาวบ้าน วัสดุเป็นไม้เนื้ออ่อนและไม่แข็งแรง ผมให้พี่เชนสร้างให้ใหม่ สวยงามมากและเกรดโปรมาก สามตัวที่เห็นในรูปเป็นฝีมือพี่เชนทั้งหมด
.
ซึงตัวที่พัฒนาล่าสุดนี้มี 11 สาย และคราวนี้เป็นโครมาติคเฟร็ตบน finger board ไม้มะเกลือ การใส่สายและตั้งสาย ส่วนของซึงจะเป็น Double Strings สามสายคู่เหมือนเดิม จูนนิ่ง C (.022) - G (.012) - D (.009) (สายบนลงล่าง) / ในส่วนของ harp มีแปดสาย จูนนิ่ง G (.045) - A (.035) - C (.035) - G (.035) - C (0.12) - D (0.12) - E (0.12) - G (0.12) (จากบนลงล่าง) ส่วนของ harp มีหย่องที่เลื่อนได้ เพิ่มเข้าไปเมื่อต้องการจาก default ที่เป็น Key C ขยับไป D > E > F ได้ สูงกว่านี้เสียงจะบางไปไม่ได้คุณภาพ
.
มันเป็นการพัฒนาที่ยาวไกลและจะว่าไปเป็นการปรับปรุงที่ได้ผลดีมากสำหรับผม และนี่น่าจะเป็นเครื่องดนตรีที่ผมจะเล่นในช่วงบั้นปลายชีวิต ใครอยากจะพัฒนาตามนี้ นี่คือข้อมูลสำหรับคุณ ผมยังมีคอร์ดชาร์ตสำหรับซึงรุ่นนี้ด้วย
.
อยากให้น้องๆ รุ่นใหม่ อย่าได้ลังเลที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเครื่องดนตรีไทยให้ดีขึ้น บรรพาจารย์ทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้วจะยินดีที่เกิดการพัฒนาอย่างแน่นอน ใครที่ต่อต้านการพัฒนา ย่อมเป็นผู้ถ่วงความเจริญครับ
.
.
อย่างที่เล่าให้ฟัง พี่เชน อลิเซียเป็นช่างกีต้าร์ที่ยอมทำอะไรประหลาดๆ ให้ผม เช่น พี่เชนโมดิไฟด์กระจับปี่ไทยให้ผม จนเสียงดีในแบบที่ผมต้องการ (ไม่ได้เสียงแบบดั้งเดิมที่ดังแฟ่ดๆ จากหย่องที่ผมไม่ชอบเลย) สามารถเลื่อนเฟร็ตได้ทั้งคอ เพราะ finger board มีร่องที่แต่ละเฟร็ตสามารถสไลด์ไปได้ อย่างที่เราต้องการ ผมซื้อเครื่องสายของภูฏานมาตัวหนึ่งมันเรียกว่า Dramnyen แต่เครื่องผลิตมาด้วยคุณภาพชาวบ้าน วัสดุเป็นไม้เนื้ออ่อนและไม่แข็งแรง ผมให้พี่เชนสร้างให้ใหม่ สวยงามมากและเกรดโปรมาก สามตัวที่เห็นในรูปเป็นฝีมือพี่เชนทั้งหมด
.
ซึงตัวที่พัฒนาล่าสุดนี้มี 11 สาย และคราวนี้เป็นโครมาติคเฟร็ตบน finger board ไม้มะเกลือ การใส่สายและตั้งสาย ส่วนของซึงจะเป็น Double Strings สามสายคู่เหมือนเดิม จูนนิ่ง C (.022) - G (.012) - D (.009) (สายบนลงล่าง) / ในส่วนของ harp มีแปดสาย จูนนิ่ง G (.045) - A (.035) - C (.035) - G (.035) - C (0.12) - D (0.12) - E (0.12) - G (0.12) (จากบนลงล่าง) ส่วนของ harp มีหย่องที่เลื่อนได้ เพิ่มเข้าไปเมื่อต้องการจาก default ที่เป็น Key C ขยับไป D > E > F ได้ สูงกว่านี้เสียงจะบางไปไม่ได้คุณภาพ
.
มันเป็นการพัฒนาที่ยาวไกลและจะว่าไปเป็นการปรับปรุงที่ได้ผลดีมากสำหรับผม และนี่น่าจะเป็นเครื่องดนตรีที่ผมจะเล่นในช่วงบั้นปลายชีวิต ใครอยากจะพัฒนาตามนี้ นี่คือข้อมูลสำหรับคุณ ผมยังมีคอร์ดชาร์ตสำหรับซึงรุ่นนี้ด้วย
.
อยากให้น้องๆ รุ่นใหม่ อย่าได้ลังเลที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเครื่องดนตรีไทยให้ดีขึ้น บรรพาจารย์ทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้วจะยินดีที่เกิดการพัฒนาอย่างแน่นอน ใครที่ต่อต้านการพัฒนา ย่อมเป็นผู้ถ่วงความเจริญครับ
.
ซึงพิเศษที่ผมปรับปรุงขึ้นมาใช้นี้มีความเป็นมายาวนานกว่า 15 ปี เริ่มจากตัวแรกให้ช่างทำซึงจากเชียงใหม่ ทำพิเศษให้ผมตามรูปที่วาดไว้ คือมีสาย Double Strings สามสายคู่ (หมายถึงแต่ละสายมีสายสองเส้น) ซึ่งปกติซึงล้านนาจะมีแค่ Double String สองสายคู่ แล้วก็ให้แกะสลักลายตามที่ผมวาดด้วย จากนั้นก็เอาไปให้พี่เชนอลิเซียทำ finger board แรกเริ่มก็วางเฟร็ตสเกลล้านนานั่นแหละ ผมยังขอให้ทำเฟร็ตช่องที่สองสามารถเลื่อนได้ในกรณีที่ต้องการเล่นจูนนิ่งแบบล้านนาสลับกับตะวันตก แต่เล่นไปเล่นมาหลายปี มีข้อจำกัดเรื่องคีย์ที่เป็นอุปสรรค อยากจะเล่นคีย์อื่นได้ ผมก็เติมเฟร็ตไปเรื่อยจนกระทั่งเต็มคอ เล่นได้ทุกคีย์ในที่สุด ในระหว่างนั้นก็เกิดความคิดที่จะปรับปรุงอีก อยากให้มันมี Harp ในตัวด้วย ก็เลยลองออกแบบสเก็ตช์ขึ้นมาตามที่เห็นในรูป แล้วส่งไปให้พี่เชนแห่งร้านกีต้าร์อลิเซียทำให้
.
อย่างที่เล่าให้ฟัง พี่เชน อลิเซียเป็นช่างกีต้าร์ที่ยอมทำอะไรประหลาดๆ ให้ผม เช่น พี่เชนโมดิไฟด์กระจับปี่ไทยให้ผม จนเสียงดีในแบบที่ผมต้องการ (ไม่ได้เสียงแบบดั้งเดิมที่ดังแฟ่ดๆ จากหย่องที่ผมไม่ชอบเลย) สามารถเลื่อนเฟร็ตได้ทั้งคอ เพราะ finger board มีร่องที่แต่ละเฟร็ตสามารถสไลด์ไปได้ อย่างที่เราต้องการ ผมซื้อเครื่องสายของภูฏานมาตัวหนึ่งมันเรียกว่า Dramnyen แต่เครื่องผลิตมาด้วยคุณภาพชาวบ้าน วัสดุเป็นไม้เนื้ออ่อนและไม่แข็งแรง ผมให้พี่เชนสร้างให้ใหม่ สวยงามมากและเกรดโปรมาก สามตัวที่เห็นในรูปเป็นฝีมือพี่เชนทั้งหมด
.
ซึงตัวที่พัฒนาล่าสุดนี้มี 11 สาย และคราวนี้เป็นโครมาติคเฟร็ตบน finger board ไม้มะเกลือ การใส่สายและตั้งสาย ส่วนของซึงจะเป็น Double Strings สามสายคู่เหมือนเดิม จูนนิ่ง C (.022) - G (.012) - D (.009) (สายบนลงล่าง) / ในส่วนของ harp มีแปดสาย จูนนิ่ง G (.045) - A (.035) - C (.035) - G (.035) - C (0.12) - D (0.12) - E (0.12) - G (0.12) (จากบนลงล่าง) ส่วนของ harp มีหย่องที่เลื่อนได้ เพิ่มเข้าไปเมื่อต้องการจาก default ที่เป็น Key C ขยับไป D > E > F ได้ สูงกว่านี้เสียงจะบางไปไม่ได้คุณภาพ
.
มันเป็นการพัฒนาที่ยาวไกลและจะว่าไปเป็นการปรับปรุงที่ได้ผลดีมากสำหรับผม และนี่น่าจะเป็นเครื่องดนตรีที่ผมจะเล่นในช่วงบั้นปลายชีวิต ใครอยากจะพัฒนาตามนี้ นี่คือข้อมูลสำหรับคุณ ผมยังมีคอร์ดชาร์ตสำหรับซึงรุ่นนี้ด้วย
.
อยากให้น้องๆ รุ่นใหม่ อย่าได้ลังเลที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเครื่องดนตรีไทยให้ดีขึ้น บรรพาจารย์ทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้วจะยินดีที่เกิดการพัฒนาอย่างแน่นอน ใครที่ต่อต้านการพัฒนา ย่อมเป็นผู้ถ่วงความเจริญครับ
.
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
126 มุมมอง
0 รีวิว