อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษากายนครที่ปลอดภัย
สัทธรรมลำดับที่ : 589
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=589
ชื่อบทธรรม :- กายนครที่ปลอดภัย
เนื้อความทั้งหมด :-
--กายนครที่ปลอดภัย
--ภิกษุ ท. ! อริยสาวก ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ
และเป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
ซึ่งฌานทั้งสี่ อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม,
ในกาลใด ;
--ภิกษุ ท. ! ในกาลนั้น อริยสาวกนี้เรียกได้ว่า เป็นผู้ที่มารอันมีบาปกระทำอะไรไม่ได้.
--ภิกษุ ท. ! อริยสาวก ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการอย่างไรเล่า ?
+--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีเสาระเนียดอันมีรากลึก ฝังไว้ดี ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน
สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก,
นี้ฉันใด ;
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกก็มีสัทธา เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคตว่า
“แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.... ฯลฯ .... เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำแนกธรรม”
ดังนี้,
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มี ๑.สัทธา เป็นเสาระเนียด
ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษเจริญกรรมอันไม่มีโทษ
บริหารตนให้หมดจดอยู่. ฉันนั้นเหมือนกัน
: นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่หนึ่ง.
-
http://etipitaka.com/read/pali/23/110/?keywords=สทฺโธ+ตถาคต
--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีคูรอบทั้งลึกและกว้าง สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก,
นี้ฉันใด ;
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกก็มี ๒.หิริ
ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ละอายต่อการถึงพร้อมด้วยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย,
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีหิริเป็นคูล้อมรอบ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล
ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรม อันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่,
ฉันนั้นเหมือนกัน
: นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สอง.
http://etipitaka.com/read/pali/23/110/?keywords=หิริ
--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีเชิงเทินเดินรอบ
ทั้งสูงและกว้าง สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก,
นี้ฉันใด;
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกก็มี ๓.โอตตัปปะ
สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
สะดุ้งกลัวต่อความถึงพร้อมด้วยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย.
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้ มีโอตตัปปะเป็นเชิงเทินเดินรอบ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล
ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่, ฉันนั้นเหมือนกัน
: นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สาม.
http://etipitaka.com/read/pali/23/110/?keywords=โอตฺตปฺ
--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีอาวุธอันสั่งสมไว้เป็นอันมาก
ทั้งชนิดที่ใช้ประหารใกล้ตัวและประหารไกลตัว
สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก,
นี้ฉันใด;
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกก็มี ๔.สุตะ
อันตนสดับแล้วมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ,
ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ที่เป็นการประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะ,
ธรรมมีรูปเห็นปานนั้น อันเขาสดับแล้วมาก
ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ.
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้ มีสุตะเป็นอาวุธ
ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ
เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่, ฉันนั้นเหมือนกัน
: นี้ชื่อว่า ผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สี่.
-
http://etipitaka.com/read/pali/23/111/?keywords=สุตา+พหุสฺสุโต
--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีกองพลประจำอยู่เป็นอันมาก
คือกองช้าง กองม้า กองรถ กองธนู กองจัดธงประจำกอง กองเสนาธิการ กองพลาธิการ กองอุคคโยธี กองราชบุตร กองจู่โจมกองมหานาค กองคนกล้า กองโล้ไม้ กองเกราะโล้หนัง กองทาสกบุตร สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก,
นี้ฉันใด ;
+-ภิกษุ ท. ! อริยสาวกมี ๕.ความเพียร(วิริยะ)อันปรารภแล้ว
เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อยังกุศลธรรมทั้งหลายให้ถึงพร้อม
มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย,
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้ มีวิริยะเป็นพลกาย
ย่อมละอกุศลเจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ
เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่. ฉันนั้นเหมือนกัน
: นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่ห้า.
-
http://etipitaka.com/read/pali/23/111/?keywords=วิริยพลกาโย
--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีนายทวาร
ที่เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา
ห้ามเข้าแก่คนที่ไม่รู้จัก ให้เข้าแก่คนที่รู้จัก
เพื่อคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก,
นี้ฉันใด;
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกเป็นผู้มี ๖.สติ
ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาอย่างยิ่ง
ระลึกถึงตามระลึกถึงซึ่งกิจที่กระทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้,
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้ มีสติเป็นนายทวาร ย่อมละอกุศล เจริญกุศล
ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน
: นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่หก.
http://etipitaka.com/read/pali/23/112/?keywords=สติโทวาริโก
--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีกำแพงทั้งสูงและกว้าง
สมบูรณ์ด้วยการก่อและการฉาบ เพื่อคุ้มภัยในและป้องกันในภายนอก,
นี้ฉันใด ;
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกเป็นผู้มี ๗.ปัญญา
ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องถึงธรรมสัจจะแห่งการตั้งขึ้นและการตั้งอยู่ไม่ได้
อันเป็นอริยะ เป็นเครื่องชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ,
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีปัญญาเป็นความสมบูรณ์ด้วยการก่อและการฉาบ
ย่อมละอกุศลเจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ
เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่,
ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่เจ็ด.
http://etipitaka.com/read/pali/23/112/?keywords=ปญฺญาย
--อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการเหล่านี้แล.
--ภิกษุ ท. ! อริยสาวก เป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก
ซึ่งฌานทั้งสี่(๔) อันประกอบในจิตอันยิ่ง
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เป็นอย่างไรเล่า ?
๑--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีหญ้า ไม้ และน้ำ สั่งสมไว้เป็นอันมาก
เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก,
นี้ฉันใด ;
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวก
สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน
อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่
เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตนเพื่อก้าวลงสู่นิพพาน,
ฉันนั้นเหมือนกัน.
-
http://etipitaka.com/read/pali/23/112/?keywords=นิพฺพานสฺส
๒--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีข้าวสาลีและข้าวยวะสะสมไว้เป็นอันมาก
เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก,
นี้ฉันใด ;
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวก
เพราะความเข้าไปสงบระงับแห่งวิตกและวิจาร เข้าถึงทุติยฌาน
อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่
เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน,
ฉันนั้นเหมือนกัน.
-
http://etipitaka.com/read/pali/23/113/?keywords=นิพฺพานสฺส
๓--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีอปรัณณชาติ คืองา ถั่วเขียว ถั่วราชมาส เป็นต้น สั่งสมไว้เป็นอันมาก
เพื่อความยินดีไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก,
นี้ฉันใด ;
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวก
เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปปชัญญะ
และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย อันชนิดที่พระอริยเจ้ากล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า
เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่
เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน,
ฉันนั้นเหมือนกัน.
-
http://etipitaka.com/read/pali/23/113/?keywords=นิพฺพานสฺส
๔--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีเภสัชสั่งสมไว้เป็นอันมาก คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และเกลือ
เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก,
นี้ฉันใด ;
--ภิกษุ ท. ! อริยสาวก
เพราะละสุขและละทุกข์เสียได้
เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสองในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน
ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่
เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน,
ฉันนั้นเหมือนกัน.
-
http://etipitaka.com/read/pali/23/113/?keywords=นิพฺพานสฺส
--อริยสาวก เป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก
ซึ่งฌานทั้งสี่อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม
เหล่านี้แล.
--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการเหล่านี้
และเป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก
ซึ่งฌานทั้งสี่(๔)อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม
เหล่านี้ด้วย, ในกาลใด ;
--ภิกษุ ท. ! ในกาลนั้น อริยสาวกนี้
เรียกได้ว่าเป็นผู้ที่มารอันมีบาป กระทำอะไรไม่ได้.-
(กายนี้ ได้ชื่อว่า กายนคร เพราะมีอะไร ๆ ที่ต้องจัดการรักษาป้องกันเหมือนกับนคร.
กายนครนี้มีมารคอยรังควาญอยู่ตลอดเวลา ;
เมื่ออริยสาวกประกอบอยู่ด้วยสัทธรรมทั้งเจ็ด และ
มีฌานทั้งสี่เป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุกแล้ว มารก็ทำอะไรไม่ได้
จัดเป็นกายนครที่ปลอดภัยด้วยข้อความเป็นอุปมาอุปไมยอย่างไพเราะมาก
แห่งพระบาลีนี้).
#ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. 23/87-93/64.
http://etipitaka.com/read/thai/23/87/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%94
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐๗-๑๑๓/๖๔.
http://etipitaka.com/read/pali/23/107/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%94
ศึกษาเพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=589 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=39&id=589
หรือ
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=39
ลำดับสาธยายธรรม : 39 ฟังเสียง...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_39.mp3 อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษากายนครที่ปลอดภัย
สัทธรรมลำดับที่ : 589
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=589
ชื่อบทธรรม :- กายนครที่ปลอดภัย
เนื้อความทั้งหมด :-
--กายนครที่ปลอดภัย
--ภิกษุ ท. ! อริยสาวก ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ
และเป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
ซึ่งฌานทั้งสี่ อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม,
ในกาลใด ;
--ภิกษุ ท. ! ในกาลนั้น อริยสาวกนี้เรียกได้ว่า เป็นผู้ที่มารอันมีบาปกระทำอะไรไม่ได้.
--ภิกษุ ท. ! อริยสาวก ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการอย่างไรเล่า ?
+--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีเสาระเนียดอันมีรากลึก ฝังไว้ดี ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน
สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก,
นี้ฉันใด ;
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกก็มีสัทธา เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคตว่า
“แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.... ฯลฯ .... เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำแนกธรรม”
ดังนี้,
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มี ๑.สัทธา เป็นเสาระเนียด
ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษเจริญกรรมอันไม่มีโทษ
บริหารตนให้หมดจดอยู่. ฉันนั้นเหมือนกัน
: นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่หนึ่ง.
-http://etipitaka.com/read/pali/23/110/?keywords=สทฺโธ+ตถาคต
--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีคูรอบทั้งลึกและกว้าง สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก,
นี้ฉันใด ;
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกก็มี ๒.หิริ
ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ละอายต่อการถึงพร้อมด้วยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย,
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีหิริเป็นคูล้อมรอบ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล
ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรม อันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่,
ฉันนั้นเหมือนกัน
: นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สอง.
http://etipitaka.com/read/pali/23/110/?keywords=หิริ
--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีเชิงเทินเดินรอบ
ทั้งสูงและกว้าง สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก,
นี้ฉันใด;
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกก็มี ๓.โอตตัปปะ
สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
สะดุ้งกลัวต่อความถึงพร้อมด้วยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย.
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้ มีโอตตัปปะเป็นเชิงเทินเดินรอบ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล
ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่, ฉันนั้นเหมือนกัน
: นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สาม.
http://etipitaka.com/read/pali/23/110/?keywords=โอตฺตปฺ
--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีอาวุธอันสั่งสมไว้เป็นอันมาก
ทั้งชนิดที่ใช้ประหารใกล้ตัวและประหารไกลตัว
สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก,
นี้ฉันใด;
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกก็มี ๔.สุตะ
อันตนสดับแล้วมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ,
ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ที่เป็นการประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะ,
ธรรมมีรูปเห็นปานนั้น อันเขาสดับแล้วมาก
ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ.
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้ มีสุตะเป็นอาวุธ
ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ
เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่, ฉันนั้นเหมือนกัน
: นี้ชื่อว่า ผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สี่.
-http://etipitaka.com/read/pali/23/111/?keywords=สุตา+พหุสฺสุโต
--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีกองพลประจำอยู่เป็นอันมาก
คือกองช้าง กองม้า กองรถ กองธนู กองจัดธงประจำกอง กองเสนาธิการ กองพลาธิการ กองอุคคโยธี กองราชบุตร กองจู่โจมกองมหานาค กองคนกล้า กองโล้ไม้ กองเกราะโล้หนัง กองทาสกบุตร สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก,
นี้ฉันใด ;
+-ภิกษุ ท. ! อริยสาวกมี ๕.ความเพียร(วิริยะ)อันปรารภแล้ว
เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อยังกุศลธรรมทั้งหลายให้ถึงพร้อม
มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย,
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้ มีวิริยะเป็นพลกาย
ย่อมละอกุศลเจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ
เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่. ฉันนั้นเหมือนกัน
: นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่ห้า.
-http://etipitaka.com/read/pali/23/111/?keywords=วิริยพลกาโย
--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีนายทวาร
ที่เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา
ห้ามเข้าแก่คนที่ไม่รู้จัก ให้เข้าแก่คนที่รู้จัก
เพื่อคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก,
นี้ฉันใด;
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกเป็นผู้มี ๖.สติ
ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาอย่างยิ่ง
ระลึกถึงตามระลึกถึงซึ่งกิจที่กระทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้,
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้ มีสติเป็นนายทวาร ย่อมละอกุศล เจริญกุศล
ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน
: นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่หก.
http://etipitaka.com/read/pali/23/112/?keywords=สติโทวาริโก
--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีกำแพงทั้งสูงและกว้าง
สมบูรณ์ด้วยการก่อและการฉาบ เพื่อคุ้มภัยในและป้องกันในภายนอก,
นี้ฉันใด ;
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกเป็นผู้มี ๗.ปัญญา
ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องถึงธรรมสัจจะแห่งการตั้งขึ้นและการตั้งอยู่ไม่ได้
อันเป็นอริยะ เป็นเครื่องชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ,
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีปัญญาเป็นความสมบูรณ์ด้วยการก่อและการฉาบ
ย่อมละอกุศลเจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ
เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่,
ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่เจ็ด.
http://etipitaka.com/read/pali/23/112/?keywords=ปญฺญาย
--อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการเหล่านี้แล.
--ภิกษุ ท. ! อริยสาวก เป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก
ซึ่งฌานทั้งสี่(๔) อันประกอบในจิตอันยิ่ง
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เป็นอย่างไรเล่า ?
๑--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีหญ้า ไม้ และน้ำ สั่งสมไว้เป็นอันมาก
เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก,
นี้ฉันใด ;
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวก
สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน
อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่
เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตนเพื่อก้าวลงสู่นิพพาน,
ฉันนั้นเหมือนกัน.
-http://etipitaka.com/read/pali/23/112/?keywords=นิพฺพานสฺส
๒--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีข้าวสาลีและข้าวยวะสะสมไว้เป็นอันมาก
เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก,
นี้ฉันใด ;
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวก
เพราะความเข้าไปสงบระงับแห่งวิตกและวิจาร เข้าถึงทุติยฌาน
อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่
เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน,
ฉันนั้นเหมือนกัน.
-http://etipitaka.com/read/pali/23/113/?keywords=นิพฺพานสฺส
๓--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีอปรัณณชาติ คืองา ถั่วเขียว ถั่วราชมาส เป็นต้น สั่งสมไว้เป็นอันมาก
เพื่อความยินดีไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก,
นี้ฉันใด ;
+--ภิกษุ ท. ! อริยสาวก
เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปปชัญญะ
และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย อันชนิดที่พระอริยเจ้ากล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า
เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่
เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน,
ฉันนั้นเหมือนกัน.
-http://etipitaka.com/read/pali/23/113/?keywords=นิพฺพานสฺส
๔--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีเภสัชสั่งสมไว้เป็นอันมาก คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และเกลือ
เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก,
นี้ฉันใด ;
--ภิกษุ ท. ! อริยสาวก
เพราะละสุขและละทุกข์เสียได้
เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสองในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน
ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่
เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน,
ฉันนั้นเหมือนกัน.
-http://etipitaka.com/read/pali/23/113/?keywords=นิพฺพานสฺส
--อริยสาวก เป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก
ซึ่งฌานทั้งสี่อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม
เหล่านี้แล.
--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการเหล่านี้
และเป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก
ซึ่งฌานทั้งสี่(๔)อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม
เหล่านี้ด้วย, ในกาลใด ;
--ภิกษุ ท. ! ในกาลนั้น อริยสาวกนี้
เรียกได้ว่าเป็นผู้ที่มารอันมีบาป กระทำอะไรไม่ได้.-
(กายนี้ ได้ชื่อว่า กายนคร เพราะมีอะไร ๆ ที่ต้องจัดการรักษาป้องกันเหมือนกับนคร.
กายนครนี้มีมารคอยรังควาญอยู่ตลอดเวลา ;
เมื่ออริยสาวกประกอบอยู่ด้วยสัทธรรมทั้งเจ็ด และ
มีฌานทั้งสี่เป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุกแล้ว มารก็ทำอะไรไม่ได้
จัดเป็นกายนครที่ปลอดภัยด้วยข้อความเป็นอุปมาอุปไมยอย่างไพเราะมาก
แห่งพระบาลีนี้).
#ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. 23/87-93/64.
http://etipitaka.com/read/thai/23/87/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%94
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐๗-๑๑๓/๖๔.
http://etipitaka.com/read/pali/23/107/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%94
ศึกษาเพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=589
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=39&id=589
หรือ
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=39
ลำดับสาธยายธรรม : 39 ฟังเสียง...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_39.mp3