• ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์จีน #ความสุขของฉันอาจไม่เหมือนเธอ #ว่างว่างก็แวะมา
    ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์จีน #ความสุขของฉันอาจไม่เหมือนเธอ #ว่างว่างก็แวะมา
    0 Comments 0 Shares 114 Views 0 0 Reviews
  • ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์จีน #เพลงไทย #บอดี้สแลม #ความสุขของฉันอาจไม่เหมือนเธอ #ว่างว่างก็แวะมา
    ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์จีน #เพลงไทย #บอดี้สแลม #ความสุขของฉันอาจไม่เหมือนเธอ #ว่างว่างก็แวะมา
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 256 Views 2 0 Reviews
  • ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์จีน #เพลงไทย #ความสุขของฉันอาจไม่เหมือนเธอ #ว่างว่างก็แวะมา
    ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์จีน #เพลงไทย #ความสุขของฉันอาจไม่เหมือนเธอ #ว่างว่างก็แวะมา
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 236 Views 0 0 Reviews
  • ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์จีน #ความสุขของฉันอาจไม่เหมือนเธอ #ว่างว่างก็แวะมา
    ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์จีน #ความสุขของฉันอาจไม่เหมือนเธอ #ว่างว่างก็แวะมา
    0 Comments 0 Shares 200 Views 2 0 Reviews
  • ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #wetv #ซีรีส์จีน #เพลงไทย #ความสุขของฉันอาจไม่เหมือนเธอ #ว่างว่างก็แวะมา
    ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #wetv #ซีรีส์จีน #เพลงไทย #ความสุขของฉันอาจไม่เหมือนเธอ #ว่างว่างก็แวะมา
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 285 Views 1 0 Reviews
  • ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์จีน #wetv #ความสุขของฉันอาจไม่เหมือนเธอ #ว่างว่างก็แวะมา
    ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์จีน #wetv #ความสุขของฉันอาจไม่เหมือนเธอ #ว่างว่างก็แวะมา
    0 Comments 0 Shares 293 Views 2 0 Reviews
  • ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์จีน #เพลงไทย #ความสุขของฉันอาจไม่เหมือนเธอ #ว่างว่างก็แวะมา
    ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์จีน #เพลงไทย #ความสุขของฉันอาจไม่เหมือนเธอ #ว่างว่างก็แวะมา
    0 Comments 0 Shares 367 Views 2 0 Reviews
  • ‘กระดูกงดงาม’ จากวรรณกรรมโบราณ

    สวัสดีค่ะ วันนี้ Storyฯ มาเก็บตกเกร็ดหนึ่งจากนิยาย/ซีรีส์เรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> เพื่อนเพจที่ได้อ่านนิยายต้นฉบับหรือดูซีรีส์น่าจะจำได้ว่า มีหลายฉากที่เกริ่นถึงว่าพระเอกในภาคอดีตคือคนที่มีกระดูกงดงาม

    ...“กระดูกงดงาม คือความดีงามที่ฝังถึงเนื้อใน ผู้ที่มีกระดูกจะไม่มีผิวหนัง ผู้ที่มีผิวหนังจะไม่มีกระดูก”
    ...“คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก”
    - จาก <ทุกชาติภพ กระดูงดงาม> ผู้แต่ง ม่อเป่าเฟยเป่า และ ผู้แปล เสี่ยวหวา

    ประโยคแรกเป็นคำประพันธ์ของคุณม่อเป่าเฟยเป่า แต่ประโยคหลังยกมาจากบทประพันธ์โบราณซึ่งในนิยายกล่าวถึงว่าชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น)

    ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ เป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1627 มันเป็นบทประพันธ์รวบรวมเรื่องสั้นจากยุคสมัยก่อน แต่งขึ้นในลักษณะนักเขียนเล่าและชวนนักอ่านคุย (นึกภาพเหมือนฟังคนเล่านิทานในซีรีส์จีนที่พูดเองเออเองแต่เหมือนกับคุยกับคนฟังอยู่) โดยเนื้อหาของเรื่องสั้นเหล่านี้สอดแทรกคติธรรมสอนใจ และประโยคที่ว่า “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” (世人眼孔浅的多,只有皮相,没有骨相) นี้ปรากฏอยู่ในบทแรกที่มีชื่อว่า ‘สองนายอำเภอถกเรื่องการแต่งงานของสตรีกำพร้า’ (两县令竞义婚孤女)

    สตรีกำพร้าที่กล่าวถึงคือเยวี่ยเซียงผู้กำพร้าแม่แต่เด็ก พ่อคือสือปี้เป็นนายอำเภอ ต่อมาเกิดเหตุไฟไหม้คลังหลวง ซึ่งตามกฎหมายแล้วนายอำเภอต้องถูกปลดจากตำแหน่งและต้องนำเงินส่วนตัวมาชดเชยค่าเสียหาย แต่สือปี้เป็นขุนนางตงฉินฐานะไม่ดี ไม่มีปัญญาหาเงินมาชดใช้ เครียดจนล้มป่วยตายไป เยวี่ยเซียงและแม่นมจึงถูกทางการขายในฐานะครอบครัวของนักโทษทางการเพื่อเอาเงินมาชดใช้แทน ยังดีที่มีพ่อค้านามว่าเจี่ยชางที่เคยได้รับการช่วยชีวิตจากสือปี้มาซื้อตัวทั้งสองคนกลับไป เขารับเยวี่ยเซียงเป็นลูกบุญธรรมและให้ทุกคนดูแลนางดียิ่ง ทำให้ภรรยาของเจี่ยชางอิจฉาและแอบกดขี่ข่มเหงเยวี่ยเซียงในเวลาที่เขาไม่อยู่บ้าน แต่ไม่ว่านางจะกลั่นแกล้งอย่างไรเยวี่ยเซียงก็ทนและไม่เคยคิดแค้นเคืองเพราะสำนึกในบุญคุณของเจี่ยชาง ต่อมาภรรยาของเจี่ยชางฉวยโอกาสที่เจี่ยชางเดินทางไปค้าขายต่างเมืองจัดการขายเยวี่ยเซียงและแม่นมไป

    เป็นโชคดีครั้งที่สองที่เยวี่ยเซียงถูกครอบครัวของนายอำเภอคนใหม่ซื้อไปเพื่อจะให้ไปเป็นสาวใช้ที่ติดตามบุตรีของตนตอนออกเรือน ซึ่งบ้านพักของนายอำเภอจงหลีก็คือบ้านเดิมที่เยวี่ยเซียงเคยอยู่เมื่อครั้งที่พ่อของนางเป็นนายอำเภอ และต่อมานายอำเภอจงหลีทราบเรื่องราวของนางก็เห็นใจรับนางเป็นลูกบุญธรรม เขาเขียนจดหมายไปหานายอำเภอเกาซึ่งเป็นนายอำเภอของอีกอำเภอหนึ่งว่าอยากจะชะลอเรื่องงานแต่งงานของลูกสาวตนและลูกชายคนโตของนายอำเภอเกาไว้ เพราะอยากจัดการให้เยวี่ยเซียงเป็นฝั่งเป็นฝาไปก่อน คุยไปคุยมานายอำเภอเกาจึงให้ลูกชายคนโตแต่งงานกับลูกสาวของนายอำเภอจงหลี และให้ลูกชายคนรองแต่งงานกับเยวี่ยเซียง จบแบบสุขนิยมอารมณ์คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ และเป็นที่มาของชื่อนิทานเรื่องนี้

    แต่จริงๆ แล้วในบทนี้แบ่งเป็นนิทานสองเรื่อง โดยเรื่องของเยวี่ยเซียงนี้เป็นเรื่องที่สองและเป็นเรื่องหลัก แต่มันถูกเกริ่นนำด้วยนิทานเรื่องแรกซึ่งเป็นเรื่องของชายผู้มีนามว่าหวางเฟิ่งและลูกสาวหลานสาว และประโยค “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” ปรากฏอยู่ในนิทานเรื่องแรกนี้

    ในเรื่องของหวางเฟิ่งนี้ เล่าถึงว่าพี่ชายของเขาก่อนสิ้นใจได้ฝากฝังลูกสาวคนเดียวที่กำพร้าแม่แต่เด็กให้หวางเฟิ่งช่วยดูแล พอได้อายุแต่งงานก็ให้แต่งไปตระกูลพานที่หมั้นหมายกันไว้แต่เด็ก โดยฝากเงินสินสอดทองหมั้นของลูกสาวเอาไว้ด้วย หวางเฟิ่งก็รับหลานสาวคือฉยงอิงไปเลี้ยงดูอย่างดีคู่กับลูกสาวคือฉยงเจิน อยู่มาวันหนึ่งคุณชายตระกูลพานคือพานหัวเดินทางมาเยี่ยมเยียนพร้อมกันกับเซียวหย่าซึ่งหมั้นหมายไว้แต่เด็กกับฉยงเจิน พานหัวหล่อเหลาร่ำรวย แต่เซียวหย่าฐานะยากจนและหน้าตาอัปลักษณ์ หวางเฟิ่งนั่งคิดนอนคิดก็ตัดสินใจสลับตัวเจ้าสาว ให้ฉยงเจินลูกสาวของตนแต่งไปกับพานหัว อีกทั้งยึดเอาสินสอดของฉยงอิงไปด้วย และให้ฉยงอิงแต่งงานกับเซียวหย่า

    พานหัวร่ำรวยแต่เละเทะไม่เอาการเอางาน ไม่ถึงสิบปีก็ผลาญทรัพย์สินของตระกูลจนหมด ไม่รู้จะเอาอะไรกินก็เลยจะพาเมียไปรับงานเป็นคนใช้ในบ้านคนอื่น หวางเฟิ่งรู้ข่าวจึงไปรับลูกสาวตนเองกลับมาและขับไล่พานหัวไป ส่วนเซียวหย่านั้น เอาการเอางาน สอบได้เป็นราชบัณฑิต ต่อมาไต่เต้าเป็นถึงเสนาบดีและฉยงอิงได้เป็นฟูเหรินขั้นที่หนึ่ง

    “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” จึงเป็นการกล่าวถึงหวางเฟิ่งเพื่อเป็นคติสอนใจให้มองคนที่เนื้อใน ส่วนเรื่องของเยวี่ยเซียงเป็นการเล่ากลับมุมเพื่อเป็นคติสอนใจให้ดำรงตนเป็นคนที่ดีจากเนื้อในนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sohu.com/a/489109778_100127948
    https://www.bella.tw/articles/movies&culture/31188
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/醒世恒言/768435
    https://baike.baidu.com/item/两县令竞义婚孤女/7878655
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=66907&remap=gb
    https://www.toutiao.com/article/7102754854845727236/

    #ทุกชาติภพ #กระดูกงดงาม #เฝิงเมิ่งหลง #วรรณกรรมจีนโบราณ
    ‘กระดูกงดงาม’ จากวรรณกรรมโบราณ สวัสดีค่ะ วันนี้ Storyฯ มาเก็บตกเกร็ดหนึ่งจากนิยาย/ซีรีส์เรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> เพื่อนเพจที่ได้อ่านนิยายต้นฉบับหรือดูซีรีส์น่าจะจำได้ว่า มีหลายฉากที่เกริ่นถึงว่าพระเอกในภาคอดีตคือคนที่มีกระดูกงดงาม ...“กระดูกงดงาม คือความดีงามที่ฝังถึงเนื้อใน ผู้ที่มีกระดูกจะไม่มีผิวหนัง ผู้ที่มีผิวหนังจะไม่มีกระดูก” ...“คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” - จาก <ทุกชาติภพ กระดูงดงาม> ผู้แต่ง ม่อเป่าเฟยเป่า และ ผู้แปล เสี่ยวหวา ประโยคแรกเป็นคำประพันธ์ของคุณม่อเป่าเฟยเป่า แต่ประโยคหลังยกมาจากบทประพันธ์โบราณซึ่งในนิยายกล่าวถึงว่าชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น) ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ เป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1627 มันเป็นบทประพันธ์รวบรวมเรื่องสั้นจากยุคสมัยก่อน แต่งขึ้นในลักษณะนักเขียนเล่าและชวนนักอ่านคุย (นึกภาพเหมือนฟังคนเล่านิทานในซีรีส์จีนที่พูดเองเออเองแต่เหมือนกับคุยกับคนฟังอยู่) โดยเนื้อหาของเรื่องสั้นเหล่านี้สอดแทรกคติธรรมสอนใจ และประโยคที่ว่า “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” (世人眼孔浅的多,只有皮相,没有骨相) นี้ปรากฏอยู่ในบทแรกที่มีชื่อว่า ‘สองนายอำเภอถกเรื่องการแต่งงานของสตรีกำพร้า’ (两县令竞义婚孤女) สตรีกำพร้าที่กล่าวถึงคือเยวี่ยเซียงผู้กำพร้าแม่แต่เด็ก พ่อคือสือปี้เป็นนายอำเภอ ต่อมาเกิดเหตุไฟไหม้คลังหลวง ซึ่งตามกฎหมายแล้วนายอำเภอต้องถูกปลดจากตำแหน่งและต้องนำเงินส่วนตัวมาชดเชยค่าเสียหาย แต่สือปี้เป็นขุนนางตงฉินฐานะไม่ดี ไม่มีปัญญาหาเงินมาชดใช้ เครียดจนล้มป่วยตายไป เยวี่ยเซียงและแม่นมจึงถูกทางการขายในฐานะครอบครัวของนักโทษทางการเพื่อเอาเงินมาชดใช้แทน ยังดีที่มีพ่อค้านามว่าเจี่ยชางที่เคยได้รับการช่วยชีวิตจากสือปี้มาซื้อตัวทั้งสองคนกลับไป เขารับเยวี่ยเซียงเป็นลูกบุญธรรมและให้ทุกคนดูแลนางดียิ่ง ทำให้ภรรยาของเจี่ยชางอิจฉาและแอบกดขี่ข่มเหงเยวี่ยเซียงในเวลาที่เขาไม่อยู่บ้าน แต่ไม่ว่านางจะกลั่นแกล้งอย่างไรเยวี่ยเซียงก็ทนและไม่เคยคิดแค้นเคืองเพราะสำนึกในบุญคุณของเจี่ยชาง ต่อมาภรรยาของเจี่ยชางฉวยโอกาสที่เจี่ยชางเดินทางไปค้าขายต่างเมืองจัดการขายเยวี่ยเซียงและแม่นมไป เป็นโชคดีครั้งที่สองที่เยวี่ยเซียงถูกครอบครัวของนายอำเภอคนใหม่ซื้อไปเพื่อจะให้ไปเป็นสาวใช้ที่ติดตามบุตรีของตนตอนออกเรือน ซึ่งบ้านพักของนายอำเภอจงหลีก็คือบ้านเดิมที่เยวี่ยเซียงเคยอยู่เมื่อครั้งที่พ่อของนางเป็นนายอำเภอ และต่อมานายอำเภอจงหลีทราบเรื่องราวของนางก็เห็นใจรับนางเป็นลูกบุญธรรม เขาเขียนจดหมายไปหานายอำเภอเกาซึ่งเป็นนายอำเภอของอีกอำเภอหนึ่งว่าอยากจะชะลอเรื่องงานแต่งงานของลูกสาวตนและลูกชายคนโตของนายอำเภอเกาไว้ เพราะอยากจัดการให้เยวี่ยเซียงเป็นฝั่งเป็นฝาไปก่อน คุยไปคุยมานายอำเภอเกาจึงให้ลูกชายคนโตแต่งงานกับลูกสาวของนายอำเภอจงหลี และให้ลูกชายคนรองแต่งงานกับเยวี่ยเซียง จบแบบสุขนิยมอารมณ์คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ และเป็นที่มาของชื่อนิทานเรื่องนี้ แต่จริงๆ แล้วในบทนี้แบ่งเป็นนิทานสองเรื่อง โดยเรื่องของเยวี่ยเซียงนี้เป็นเรื่องที่สองและเป็นเรื่องหลัก แต่มันถูกเกริ่นนำด้วยนิทานเรื่องแรกซึ่งเป็นเรื่องของชายผู้มีนามว่าหวางเฟิ่งและลูกสาวหลานสาว และประโยค “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” ปรากฏอยู่ในนิทานเรื่องแรกนี้ ในเรื่องของหวางเฟิ่งนี้ เล่าถึงว่าพี่ชายของเขาก่อนสิ้นใจได้ฝากฝังลูกสาวคนเดียวที่กำพร้าแม่แต่เด็กให้หวางเฟิ่งช่วยดูแล พอได้อายุแต่งงานก็ให้แต่งไปตระกูลพานที่หมั้นหมายกันไว้แต่เด็ก โดยฝากเงินสินสอดทองหมั้นของลูกสาวเอาไว้ด้วย หวางเฟิ่งก็รับหลานสาวคือฉยงอิงไปเลี้ยงดูอย่างดีคู่กับลูกสาวคือฉยงเจิน อยู่มาวันหนึ่งคุณชายตระกูลพานคือพานหัวเดินทางมาเยี่ยมเยียนพร้อมกันกับเซียวหย่าซึ่งหมั้นหมายไว้แต่เด็กกับฉยงเจิน พานหัวหล่อเหลาร่ำรวย แต่เซียวหย่าฐานะยากจนและหน้าตาอัปลักษณ์ หวางเฟิ่งนั่งคิดนอนคิดก็ตัดสินใจสลับตัวเจ้าสาว ให้ฉยงเจินลูกสาวของตนแต่งไปกับพานหัว อีกทั้งยึดเอาสินสอดของฉยงอิงไปด้วย และให้ฉยงอิงแต่งงานกับเซียวหย่า พานหัวร่ำรวยแต่เละเทะไม่เอาการเอางาน ไม่ถึงสิบปีก็ผลาญทรัพย์สินของตระกูลจนหมด ไม่รู้จะเอาอะไรกินก็เลยจะพาเมียไปรับงานเป็นคนใช้ในบ้านคนอื่น หวางเฟิ่งรู้ข่าวจึงไปรับลูกสาวตนเองกลับมาและขับไล่พานหัวไป ส่วนเซียวหย่านั้น เอาการเอางาน สอบได้เป็นราชบัณฑิต ต่อมาไต่เต้าเป็นถึงเสนาบดีและฉยงอิงได้เป็นฟูเหรินขั้นที่หนึ่ง “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” จึงเป็นการกล่าวถึงหวางเฟิ่งเพื่อเป็นคติสอนใจให้มองคนที่เนื้อใน ส่วนเรื่องของเยวี่ยเซียงเป็นการเล่ากลับมุมเพื่อเป็นคติสอนใจให้ดำรงตนเป็นคนที่ดีจากเนื้อในนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/489109778_100127948 https://www.bella.tw/articles/movies&culture/31188 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/醒世恒言/768435 https://baike.baidu.com/item/两县令竞义婚孤女/7878655 https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=66907&remap=gb https://www.toutiao.com/article/7102754854845727236/ #ทุกชาติภพ #กระดูกงดงาม #เฝิงเมิ่งหลง #วรรณกรรมจีนโบราณ
    0 Comments 0 Shares 270 Views 0 Reviews
  • ‘กระดูกงดงาม’ จากวรรณกรรมโบราณ

    สวัสดีค่ะ วันนี้ Storyฯ มาเก็บตกเกร็ดหนึ่งจากนิยาย/ซีรีส์เรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> เพื่อนเพจที่ได้อ่านนิยายต้นฉบับหรือดูซีรีส์น่าจะจำได้ว่า มีหลายฉากที่เกริ่นถึงว่าพระเอกในภาคอดีตคือคนที่มีกระดูกงดงาม

    ...“กระดูกงดงาม คือความดีงามที่ฝังถึงเนื้อใน ผู้ที่มีกระดูกจะไม่มีผิวหนัง ผู้ที่มีผิวหนังจะไม่มีกระดูก”
    ...“คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก”
    - จาก <ทุกชาติภพ กระดูงดงาม> ผู้แต่ง ม่อเป่าเฟยเป่า และ ผู้แปล เสี่ยวหวา

    ประโยคแรกเป็นคำประพันธ์ของคุณม่อเป่าเฟยเป่า แต่ประโยคหลังยกมาจากบทประพันธ์โบราณซึ่งในนิยายกล่าวถึงว่าชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น)

    ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ เป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1627 มันเป็นบทประพันธ์รวบรวมเรื่องสั้นจากยุคสมัยก่อน แต่งขึ้นในลักษณะนักเขียนเล่าและชวนนักอ่านคุย (นึกภาพเหมือนฟังคนเล่านิทานในซีรีส์จีนที่พูดเองเออเองแต่เหมือนกับคุยกับคนฟังอยู่) โดยเนื้อหาของเรื่องสั้นเหล่านี้สอดแทรกคติธรรมสอนใจ และประโยคที่ว่า “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” (世人眼孔浅的多,只有皮相,没有骨相) นี้ปรากฏอยู่ในบทแรกที่มีชื่อว่า ‘สองนายอำเภอถกเรื่องการแต่งงานของสตรีกำพร้า’ (两县令竞义婚孤女)

    สตรีกำพร้าที่กล่าวถึงคือเยวี่ยเซียงผู้กำพร้าแม่แต่เด็ก พ่อคือสือปี้เป็นนายอำเภอ ต่อมาเกิดเหตุไฟไหม้คลังหลวง ซึ่งตามกฎหมายแล้วนายอำเภอต้องถูกปลดจากตำแหน่งและต้องนำเงินส่วนตัวมาชดเชยค่าเสียหาย แต่สือปี้เป็นขุนนางตงฉินฐานะไม่ดี ไม่มีปัญญาหาเงินมาชดใช้ เครียดจนล้มป่วยตายไป เยวี่ยเซียงและแม่นมจึงถูกทางการขายในฐานะครอบครัวของนักโทษทางการเพื่อเอาเงินมาชดใช้แทน ยังดีที่มีพ่อค้านามว่าเจี่ยชางที่เคยได้รับการช่วยชีวิตจากสือปี้มาซื้อตัวทั้งสองคนกลับไป เขารับเยวี่ยเซียงเป็นลูกบุญธรรมและให้ทุกคนดูแลนางดียิ่ง ทำให้ภรรยาของเจี่ยชางอิจฉาและแอบกดขี่ข่มเหงเยวี่ยเซียงในเวลาที่เขาไม่อยู่บ้าน แต่ไม่ว่านางจะกลั่นแกล้งอย่างไรเยวี่ยเซียงก็ทนและไม่เคยคิดแค้นเคืองเพราะสำนึกในบุญคุณของเจี่ยชาง ต่อมาภรรยาของเจี่ยชางฉวยโอกาสที่เจี่ยชางเดินทางไปค้าขายต่างเมืองจัดการขายเยวี่ยเซียงและแม่นมไป

    เป็นโชคดีครั้งที่สองที่เยวี่ยเซียงถูกครอบครัวของนายอำเภอคนใหม่ซื้อไปเพื่อจะให้ไปเป็นสาวใช้ที่ติดตามบุตรีของตนตอนออกเรือน ซึ่งบ้านพักของนายอำเภอจงหลีก็คือบ้านเดิมที่เยวี่ยเซียงเคยอยู่เมื่อครั้งที่พ่อของนางเป็นนายอำเภอ และต่อมานายอำเภอจงหลีทราบเรื่องราวของนางก็เห็นใจรับนางเป็นลูกบุญธรรม เขาเขียนจดหมายไปหานายอำเภอเกาซึ่งเป็นนายอำเภอของอีกอำเภอหนึ่งว่าอยากจะชะลอเรื่องงานแต่งงานของลูกสาวตนและลูกชายคนโตของนายอำเภอเกาไว้ เพราะอยากจัดการให้เยวี่ยเซียงเป็นฝั่งเป็นฝาไปก่อน คุยไปคุยมานายอำเภอเกาจึงให้ลูกชายคนโตแต่งงานกับลูกสาวของนายอำเภอจงหลี และให้ลูกชายคนรองแต่งงานกับเยวี่ยเซียง จบแบบสุขนิยมอารมณ์คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ และเป็นที่มาของชื่อนิทานเรื่องนี้

    แต่จริงๆ แล้วในบทนี้แบ่งเป็นนิทานสองเรื่อง โดยเรื่องของเยวี่ยเซียงนี้เป็นเรื่องที่สองและเป็นเรื่องหลัก แต่มันถูกเกริ่นนำด้วยนิทานเรื่องแรกซึ่งเป็นเรื่องของชายผู้มีนามว่าหวางเฟิ่งและลูกสาวหลานสาว และประโยค “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” ปรากฏอยู่ในนิทานเรื่องแรกนี้

    ในเรื่องของหวางเฟิ่งนี้ เล่าถึงว่าพี่ชายของเขาก่อนสิ้นใจได้ฝากฝังลูกสาวคนเดียวที่กำพร้าแม่แต่เด็กให้หวางเฟิ่งช่วยดูแล พอได้อายุแต่งงานก็ให้แต่งไปตระกูลพานที่หมั้นหมายกันไว้แต่เด็ก โดยฝากเงินสินสอดทองหมั้นของลูกสาวเอาไว้ด้วย หวางเฟิ่งก็รับหลานสาวคือฉยงอิงไปเลี้ยงดูอย่างดีคู่กับลูกสาวคือฉยงเจิน อยู่มาวันหนึ่งคุณชายตระกูลพานคือพานหัวเดินทางมาเยี่ยมเยียนพร้อมกันกับเซียวหย่าซึ่งหมั้นหมายไว้แต่เด็กกับฉยงเจิน พานหัวหล่อเหลาร่ำรวย แต่เซียวหย่าฐานะยากจนและหน้าตาอัปลักษณ์ หวางเฟิ่งนั่งคิดนอนคิดก็ตัดสินใจสลับตัวเจ้าสาว ให้ฉยงเจินลูกสาวของตนแต่งไปกับพานหัว อีกทั้งยึดเอาสินสอดของฉยงอิงไปด้วย และให้ฉยงอิงแต่งงานกับเซียวหย่า

    พานหัวร่ำรวยแต่เละเทะไม่เอาการเอางาน ไม่ถึงสิบปีก็ผลาญทรัพย์สินของตระกูลจนหมด ไม่รู้จะเอาอะไรกินก็เลยจะพาเมียไปรับงานเป็นคนใช้ในบ้านคนอื่น หวางเฟิ่งรู้ข่าวจึงไปรับลูกสาวตนเองกลับมาและขับไล่พานหัวไป ส่วนเซียวหย่านั้น เอาการเอางาน สอบได้เป็นราชบัณฑิต ต่อมาไต่เต้าเป็นถึงเสนาบดีและฉยงอิงได้เป็นฟูเหรินขั้นที่หนึ่ง

    “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” จึงเป็นการกล่าวถึงหวางเฟิ่งเพื่อเป็นคติสอนใจให้มองคนที่เนื้อใน ส่วนเรื่องของเยวี่ยเซียงเป็นการเล่ากลับมุมเพื่อเป็นคติสอนใจให้ดำรงตนเป็นคนที่ดีจากเนื้อในนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sohu.com/a/489109778_100127948
    https://www.bella.tw/articles/movies&culture/31188
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/醒世恒言/768435
    https://baike.baidu.com/item/两县令竞义婚孤女/7878655
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=66907&remap=gb
    https://www.toutiao.com/article/7102754854845727236/

    #ทุกชาติภพ #กระดูกงดงาม #เฝิงเมิ่งหลง #วรรณกรรมจีนโบราณ
    ‘กระดูกงดงาม’ จากวรรณกรรมโบราณ สวัสดีค่ะ วันนี้ Storyฯ มาเก็บตกเกร็ดหนึ่งจากนิยาย/ซีรีส์เรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> เพื่อนเพจที่ได้อ่านนิยายต้นฉบับหรือดูซีรีส์น่าจะจำได้ว่า มีหลายฉากที่เกริ่นถึงว่าพระเอกในภาคอดีตคือคนที่มีกระดูกงดงาม ...“กระดูกงดงาม คือความดีงามที่ฝังถึงเนื้อใน ผู้ที่มีกระดูกจะไม่มีผิวหนัง ผู้ที่มีผิวหนังจะไม่มีกระดูก” ...“คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” - จาก <ทุกชาติภพ กระดูงดงาม> ผู้แต่ง ม่อเป่าเฟยเป่า และ ผู้แปล เสี่ยวหวา ประโยคแรกเป็นคำประพันธ์ของคุณม่อเป่าเฟยเป่า แต่ประโยคหลังยกมาจากบทประพันธ์โบราณซึ่งในนิยายกล่าวถึงว่าชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น) ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ เป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1627 มันเป็นบทประพันธ์รวบรวมเรื่องสั้นจากยุคสมัยก่อน แต่งขึ้นในลักษณะนักเขียนเล่าและชวนนักอ่านคุย (นึกภาพเหมือนฟังคนเล่านิทานในซีรีส์จีนที่พูดเองเออเองแต่เหมือนกับคุยกับคนฟังอยู่) โดยเนื้อหาของเรื่องสั้นเหล่านี้สอดแทรกคติธรรมสอนใจ และประโยคที่ว่า “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” (世人眼孔浅的多,只有皮相,没有骨相) นี้ปรากฏอยู่ในบทแรกที่มีชื่อว่า ‘สองนายอำเภอถกเรื่องการแต่งงานของสตรีกำพร้า’ (两县令竞义婚孤女) สตรีกำพร้าที่กล่าวถึงคือเยวี่ยเซียงผู้กำพร้าแม่แต่เด็ก พ่อคือสือปี้เป็นนายอำเภอ ต่อมาเกิดเหตุไฟไหม้คลังหลวง ซึ่งตามกฎหมายแล้วนายอำเภอต้องถูกปลดจากตำแหน่งและต้องนำเงินส่วนตัวมาชดเชยค่าเสียหาย แต่สือปี้เป็นขุนนางตงฉินฐานะไม่ดี ไม่มีปัญญาหาเงินมาชดใช้ เครียดจนล้มป่วยตายไป เยวี่ยเซียงและแม่นมจึงถูกทางการขายในฐานะครอบครัวของนักโทษทางการเพื่อเอาเงินมาชดใช้แทน ยังดีที่มีพ่อค้านามว่าเจี่ยชางที่เคยได้รับการช่วยชีวิตจากสือปี้มาซื้อตัวทั้งสองคนกลับไป เขารับเยวี่ยเซียงเป็นลูกบุญธรรมและให้ทุกคนดูแลนางดียิ่ง ทำให้ภรรยาของเจี่ยชางอิจฉาและแอบกดขี่ข่มเหงเยวี่ยเซียงในเวลาที่เขาไม่อยู่บ้าน แต่ไม่ว่านางจะกลั่นแกล้งอย่างไรเยวี่ยเซียงก็ทนและไม่เคยคิดแค้นเคืองเพราะสำนึกในบุญคุณของเจี่ยชาง ต่อมาภรรยาของเจี่ยชางฉวยโอกาสที่เจี่ยชางเดินทางไปค้าขายต่างเมืองจัดการขายเยวี่ยเซียงและแม่นมไป เป็นโชคดีครั้งที่สองที่เยวี่ยเซียงถูกครอบครัวของนายอำเภอคนใหม่ซื้อไปเพื่อจะให้ไปเป็นสาวใช้ที่ติดตามบุตรีของตนตอนออกเรือน ซึ่งบ้านพักของนายอำเภอจงหลีก็คือบ้านเดิมที่เยวี่ยเซียงเคยอยู่เมื่อครั้งที่พ่อของนางเป็นนายอำเภอ และต่อมานายอำเภอจงหลีทราบเรื่องราวของนางก็เห็นใจรับนางเป็นลูกบุญธรรม เขาเขียนจดหมายไปหานายอำเภอเกาซึ่งเป็นนายอำเภอของอีกอำเภอหนึ่งว่าอยากจะชะลอเรื่องงานแต่งงานของลูกสาวตนและลูกชายคนโตของนายอำเภอเกาไว้ เพราะอยากจัดการให้เยวี่ยเซียงเป็นฝั่งเป็นฝาไปก่อน คุยไปคุยมานายอำเภอเกาจึงให้ลูกชายคนโตแต่งงานกับลูกสาวของนายอำเภอจงหลี และให้ลูกชายคนรองแต่งงานกับเยวี่ยเซียง จบแบบสุขนิยมอารมณ์คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ และเป็นที่มาของชื่อนิทานเรื่องนี้ แต่จริงๆ แล้วในบทนี้แบ่งเป็นนิทานสองเรื่อง โดยเรื่องของเยวี่ยเซียงนี้เป็นเรื่องที่สองและเป็นเรื่องหลัก แต่มันถูกเกริ่นนำด้วยนิทานเรื่องแรกซึ่งเป็นเรื่องของชายผู้มีนามว่าหวางเฟิ่งและลูกสาวหลานสาว และประโยค “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” ปรากฏอยู่ในนิทานเรื่องแรกนี้ ในเรื่องของหวางเฟิ่งนี้ เล่าถึงว่าพี่ชายของเขาก่อนสิ้นใจได้ฝากฝังลูกสาวคนเดียวที่กำพร้าแม่แต่เด็กให้หวางเฟิ่งช่วยดูแล พอได้อายุแต่งงานก็ให้แต่งไปตระกูลพานที่หมั้นหมายกันไว้แต่เด็ก โดยฝากเงินสินสอดทองหมั้นของลูกสาวเอาไว้ด้วย หวางเฟิ่งก็รับหลานสาวคือฉยงอิงไปเลี้ยงดูอย่างดีคู่กับลูกสาวคือฉยงเจิน อยู่มาวันหนึ่งคุณชายตระกูลพานคือพานหัวเดินทางมาเยี่ยมเยียนพร้อมกันกับเซียวหย่าซึ่งหมั้นหมายไว้แต่เด็กกับฉยงเจิน พานหัวหล่อเหลาร่ำรวย แต่เซียวหย่าฐานะยากจนและหน้าตาอัปลักษณ์ หวางเฟิ่งนั่งคิดนอนคิดก็ตัดสินใจสลับตัวเจ้าสาว ให้ฉยงเจินลูกสาวของตนแต่งไปกับพานหัว อีกทั้งยึดเอาสินสอดของฉยงอิงไปด้วย และให้ฉยงอิงแต่งงานกับเซียวหย่า พานหัวร่ำรวยแต่เละเทะไม่เอาการเอางาน ไม่ถึงสิบปีก็ผลาญทรัพย์สินของตระกูลจนหมด ไม่รู้จะเอาอะไรกินก็เลยจะพาเมียไปรับงานเป็นคนใช้ในบ้านคนอื่น หวางเฟิ่งรู้ข่าวจึงไปรับลูกสาวตนเองกลับมาและขับไล่พานหัวไป ส่วนเซียวหย่านั้น เอาการเอางาน สอบได้เป็นราชบัณฑิต ต่อมาไต่เต้าเป็นถึงเสนาบดีและฉยงอิงได้เป็นฟูเหรินขั้นที่หนึ่ง “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” จึงเป็นการกล่าวถึงหวางเฟิ่งเพื่อเป็นคติสอนใจให้มองคนที่เนื้อใน ส่วนเรื่องของเยวี่ยเซียงเป็นการเล่ากลับมุมเพื่อเป็นคติสอนใจให้ดำรงตนเป็นคนที่ดีจากเนื้อในนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/489109778_100127948 https://www.bella.tw/articles/movies&culture/31188 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/醒世恒言/768435 https://baike.baidu.com/item/两县令竞义婚孤女/7878655 https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=66907&remap=gb https://www.toutiao.com/article/7102754854845727236/ #ทุกชาติภพ #กระดูกงดงาม #เฝิงเมิ่งหลง #วรรณกรรมจีนโบราณ
    0 Comments 0 Shares 384 Views 0 Reviews
  • 👇🏽https://www.readawrite.com/c/f9ed0301fcd686b354f4afa5aba56e28.✍🏽เปิดฉากตอนแรกแล้วค่า ไม่ต้องรอกลางเดือนหน้าแล้วค่าาา.เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ 3 ในชุดซีรีส์โรมานซ์-อีโรติก (แนวซีรีส์จีน)ตลกฮา พระเอก-นางเอก โก๊ะบ้าบอที่สุด อลเวงว้าวุ่น แนว light novel.สนุกเอามันส์ หวานน้ำตาลหยด กระตุ้นหัวใจนะ จบภายในเดือนครึ่ง ไปต่อนิยายแห่งปีหน้า 2525 เครียดกับนิยายพีเรียดเรื่องต่อไป.https://www.readawrite.com/c/f9ed0301fcd686b354f4afa5aba56e28
    👇🏽https://www.readawrite.com/c/f9ed0301fcd686b354f4afa5aba56e28.✍🏽เปิดฉากตอนแรกแล้วค่า ไม่ต้องรอกลางเดือนหน้าแล้วค่าาา.เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ 3 ในชุดซีรีส์โรมานซ์-อีโรติก (แนวซีรีส์จีน)ตลกฮา พระเอก-นางเอก โก๊ะบ้าบอที่สุด อลเวงว้าวุ่น แนว light novel.สนุกเอามันส์ หวานน้ำตาลหยด กระตุ้นหัวใจนะ จบภายในเดือนครึ่ง ไปต่อนิยายแห่งปีหน้า 2525 เครียดกับนิยายพีเรียดเรื่องต่อไป.https://www.readawrite.com/c/f9ed0301fcd686b354f4afa5aba56e28
    1 Comments 0 Shares 286 Views 2 0 Reviews
  • เพลง 不染 (อ่านว่า "ปู้หรั่น")
    .
    ขับร้องโดย Zhang Bichen ในงาน All Star Night 2023
    .
    เพลงเปิด (OP) ประกอบซีรีส์จีนเรื่อง "มธุรสหวานล้ำ สลายเป็นเถ้าราวเกล็ดน้ำค้าง" หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า "Ashes of Love"
    .
    不染 (ปู้หรั่น) แปลว่า "ไม่แปดเปื้อน" หรือ "ไม่ถูกทำให้มัวหมอง"
    .
    ความหมายของเพลง...
    .
    เพลงนี้มีเนื้อหาที่สื่อถึง ความรักที่บริสุทธิ์ และ ยืนหยัด ซึ่งแม้จะต้องผ่านความทุกข์และอุปสรรค แต่ยังคงยึดมั่นในความรักและความดีงาม เหมือนกับการไม่ถูกทำให้แปดเปื้อน แม้จะเผชิญกับความเจ็บปวดหรือเรื่องร้ายใด ๆ ก็ตาม
    .
    https://youtu.be/sQwwTUfISR0?si=KFsi-OMr-i13-C9Y
    เพลง 不染 (อ่านว่า "ปู้หรั่น") . ขับร้องโดย Zhang Bichen ในงาน All Star Night 2023 . เพลงเปิด (OP) ประกอบซีรีส์จีนเรื่อง "มธุรสหวานล้ำ สลายเป็นเถ้าราวเกล็ดน้ำค้าง" หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า "Ashes of Love" . 不染 (ปู้หรั่น) แปลว่า "ไม่แปดเปื้อน" หรือ "ไม่ถูกทำให้มัวหมอง" . ความหมายของเพลง... . เพลงนี้มีเนื้อหาที่สื่อถึง ความรักที่บริสุทธิ์ และ ยืนหยัด ซึ่งแม้จะต้องผ่านความทุกข์และอุปสรรค แต่ยังคงยึดมั่นในความรักและความดีงาม เหมือนกับการไม่ถูกทำให้แปดเปื้อน แม้จะเผชิญกับความเจ็บปวดหรือเรื่องร้ายใด ๆ ก็ตาม . https://youtu.be/sQwwTUfISR0?si=KFsi-OMr-i13-C9Y
    Like
    Wow
    2
    0 Comments 0 Shares 335 Views 0 Reviews
  • เจ่าโต้ว สบู่จีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจะฟินจิกหมอนไม่น้อยกับฉากอาบน้ำของพระเอกนางเอก ในซีรีส์ไม่ได้พูดถึง แต่ในนิยายตอนที่องค์หญิงหลี่หรงสั่งให้สาวใช้เตรียมของใช้สำหรับอาบน้ำจังหวะนี้ นอกจากกลีบดอกไม้แล้ว ยังมีสิ่งที่เรียกว่า ‘เจ่าโต้ว’ (澡豆) แปลตรงตัวว่าถั่วอาบน้ำ ซึ่งก็คือสบู่โบราณนั่นเอง วันนี้เรามาคุยกันเรื่องนี้

    แต่ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงวัฒนธรรมการอาบน้ำ ปัจจุบันการอาบน้ำทั่วไปเรียกว่า ‘สีเจ่า’ (洗澡) แต่ถ้าอาบแบบแช่น้ำในอ่างทั้งตัวเรียกเป็น ‘มู่อวี้’ (沐浴) ซึ่งคำว่า ‘มู่อวี้’ นี้เป็นศัพท์ที่มีมาแต่โบราณและคำว่าห้องอาบน้ำ (浴室/อวี้ซึ) ปรากฏเป็นอักขระบนกระดูกโบราณมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง ดังนั้น วัฒนธรรมการอาบน้ำมีมาอย่างน้อยสามพันกว่าปีในประเทศจีน

    ในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นระบุจำแนกไว้ว่า ‘มู่’ คือการสระผม ‘อวี้’ คือการอาบชำระร่างกาย ‘สี่’ คือการล้างเท้า และ ‘เจ่า’ คือการล้างมือ ต่อมาคำว่า ‘เจ่า’ จึงค่อยๆ ถูกใช้สำหรับการชำระล้างส่วนอื่นๆ ด้วย

    การอาบน้ำแบบโบราณหรือมู่อวี้ โดยทั่วไปคือการอาบน้ำอุ่นในถังอาบน้ำ อาจแช่ทั้งตัวหรือนั่งราดอาบก็ได้ ดังที่เราเห็นในซีรีส์จีนว่าต้องมีการต้มน้ำไปใส่อ่าง หรืออย่างในวังจะมีสระน้ำร้อนให้ใช้ และชาวจีนโบราณก็ไม่ได้อาบน้ำทุกวัน (จะว่าไปแล้ว ชาติอื่นก็เหมือนกัน) โดยหลักปฏิบัติคือสามวันให้สระผมหนึ่งครั้ง ห้าวันอาบน้ำหนึ่งครั้ง ในสมัยฮั่นถึงกับกำหนดเป็นกฎที่ต้องปฏิบัติของข้าราชการโดยจะหยุดพักงานทุกห้าวัน เป็นนัยว่าหยุดเพื่อให้อยู่บ้านอาบน้ำ และวันหยุดนี้เรียกว่า ‘ซิวมู่’ (休沐 แปลตรงตัวว่าพักอาบน้ำ)

    นอกจากนี้ ก่อนเข้าร่วมพิธีสำคัญก็ต้องอาบน้ำโดยเฉพาะพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ต่างๆ เพื่อเป็นการชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากกาย โดยในเอกสารโบราณมีระบุรายละเอียดเพิ่มเติมถึงขั้นตอนการอาบน้ำ เป็นต้นว่า การอาบน้ำนั้น ท่อนบนของร่างกายใช้ผ้าใยเนื้อละเอียดเช็ดถู ท่อนล่างใช้ผ้าใยเนื้อหยาบ สุดท้ายคือยืนล้าง (ขัด) เท้าบนเสื่อหญ้าหยาบ เมื่อเช็ดแห้งเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วให้ดื่มชาหรือน้ำเพื่อปรับอุณภูมิในร่างกายและชดเชยการเสียเหงื่อด้วย

    ในช่วงสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ปรากฏว่าตามวัดพุทธมีการขุดบ่อเป็นสระอาบน้ำรวมให้พระภิกษุใช้อาบทุกวันก่อนไหว้พระ และเนื่องจากในสมัยโบราณชาวบ้านนิยมเที่ยววัด จึงค่อยๆ กลายเป็นว่าชาวบ้านหรือข้าราชการก็ไปใช้บริการอาบน้ำที่วัด เสร็จแล้วก็นั่งดื่มชาสนทนากัน ต่อมาวัฒนธรรมการอาบน้ำรวมนี้เป็นที่นิยมมาก ในสมัยซ่งมีสระอาบน้ำสาธารณะในเมืองที่ชาวบ้านสามารถมาจ่ายเงินใช้บริการได้โดยแบ่งเป็นสระน้ำอุ่นและสระน้ำเย็นให้เลือกใช้ได้ตามใจชอบ และในสมัยหมิงถึงกับมีคนรับจ้างช่วยถูหลังสระผมตัดเล็บเลยทีเดียว

    ว่ากันว่า แรกเริ่มเลยในสมัยซางและฮั่น คนโบราณใช้น้ำซาวข้าวอาบน้ำสระผม ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการพัฒนาใช้เครื่องหอมต่างๆ จึงสันนิษฐานว่าสบู่โบราณเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นในสมัยนั้นเช่นกัน แต่ว่าแรกเริ่มมันเป็นของหรูที่มีใช้ในวังเท่านั้นและใช้สำหรับล้างมือ ต่อมาจึงแพร่สู่ชาวบ้านธรรมดา ใช้ได้ทั้งอาบน้ำสระผมล้างหน้าล้างมือล้างเท้า และใช้ซักเสื้อผ้าอีกด้วย

    สบู่เจ่าโต้วนี้ถูกเรียกว่า ‘ถั่วอาบน้ำ’ เพราะว่าส่วนผสมหลักของมันก็คือถั่วหรือธัญพืชบดละเอียด ผสมด้วย เครื่องหอม เครื่องเทศและยาสมุนไพรหลากหลาย และสูตรโบราณนี้นอกจากจะเป็นสครับขัดผิวให้ขาวเนียนและบำรุงผิวพรรณได้ดีแล้ว ยังล้างคราบได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคราบดินโคลน คราบมัน คราบเลือด และคราบเครื่องสำอาง ต่อมาภายหลังจึงใช้หันไปใช้ขี้เถ้าไม้และไขมันสัตว์เป็นส่วนผสมหลักเรียกว่า ‘อี๋จื่อ’ (胰子) ซึ่งเป็นพัฒนากลายมาเป็นสบู่ปัจจุบัน

    สูตรการทำเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นอย่างหลากหลาย แต่สามารถสรุปรวมได้ดังนี้ คือ (1) ธัญพืชและถั่วสารพัดชนิด บ้างต้มสุกบ้างใช้ถั่วดิบ บดละเอียด (2) สมุนไพรหรือเครื่องเทศบดละเอียด เช่น กานพลู การบูร อบเชย (3) เครื่องหอมที่ต้องการ เช่นไม้หอมอบแห้ง กลีบดอกไม้แห้ง บดละเอียดหรือหากเป็นดอกไม้อาจบดหยาบ (4) น้ำหรือน้ำแร่ ต้มเคี่ยวกับน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง (5) เอาส่วนผสมทั้งหมดผสมแล้วคลุกให้สม่ำเสมอ ปั้นเป็นลูกกลอนแล้วเอาไปตากแห้งหลายๆ วัน เป็นอันจบขั้นตอน เวลาจะใช้ก็ชุบน้ำให้เปียกแล้วบี้แตกถูตามร่างกาย

    Storyฯ ผ่านตาคลิปของพ่อหนุ่มที่ทำสบู่โบราณนี้ เป็นคนเดียวกับที่เคยทำกระบอกจุดไฟและกระโปรงหม่าเมี่ยนที่ Storyฯ เคยเขียนถึง (ค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญ) เข้าไปดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่างค่ะ

    จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วเจ่าโต้วทำไม่ยาก แต่สาเหตุที่เดิมเป็นของฟุ่มเฟือยเพราะส่วนผสมหลายอย่างมีราคาสูงเกินกว่าที่ชาวบ้านธรรมดาจะนำมาใช้ในกิจวัตรประจำวัน สู้ใช้พวกดินโคลนหินทรายจะง่ายกว่าและประหยัดทรัพย์ โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่าส่วนผสมของเจ่าโต้วนี้ดูน่าใช้กว่าสบู่รุ่นหลังที่ทำจากไขมันสัตว์และขี้เถ้าไม้เสียอีก แต่ยังไม่ได้ทดลองทำดูนะ ใครลองทำแล้วได้ผลอย่างไรอย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะคะ หรือถ้าใครรู้ว่าภูมิปัญญาไทยโบราณใช้อะไรทำสบู่ แตกต่างมากน้อยอย่างไรกับเจ่าโต้วนี้ ก็มาเล่าให้ฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    คลิปสาธิตการทำเจ่าโต้ว: https://www.youtube.com/watch?v=kuCYk0hoAdY
    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://k.sina.cn/article_2277596227_87c15c4304001633w.html
    https://kknews.cc/zh-my/history/p6b6orj.html
    https://baike.sogou.com/v8330278.htm
    https://zabar.pixnet.net/blog/post/64707721
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_23937607
    https://baike.baidu.com/item/澡豆/687918
    https://kknews.cc/zh-cn/history/qxyaj9b.html
    https://k.sina.cn/article_6395568294_17d34a0a600100cs21.html
    https://baike.baidu.com/item/胰子/5249378

    #องค์หญิงใหญ่ #เจ่าโต้ว #สบู่จีนโบราณ #อาบน้ำจีนโบราณ #สาระจีน

    เจ่าโต้ว สบู่จีนโบราณ สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจะฟินจิกหมอนไม่น้อยกับฉากอาบน้ำของพระเอกนางเอก ในซีรีส์ไม่ได้พูดถึง แต่ในนิยายตอนที่องค์หญิงหลี่หรงสั่งให้สาวใช้เตรียมของใช้สำหรับอาบน้ำจังหวะนี้ นอกจากกลีบดอกไม้แล้ว ยังมีสิ่งที่เรียกว่า ‘เจ่าโต้ว’ (澡豆) แปลตรงตัวว่าถั่วอาบน้ำ ซึ่งก็คือสบู่โบราณนั่นเอง วันนี้เรามาคุยกันเรื่องนี้ แต่ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงวัฒนธรรมการอาบน้ำ ปัจจุบันการอาบน้ำทั่วไปเรียกว่า ‘สีเจ่า’ (洗澡) แต่ถ้าอาบแบบแช่น้ำในอ่างทั้งตัวเรียกเป็น ‘มู่อวี้’ (沐浴) ซึ่งคำว่า ‘มู่อวี้’ นี้เป็นศัพท์ที่มีมาแต่โบราณและคำว่าห้องอาบน้ำ (浴室/อวี้ซึ) ปรากฏเป็นอักขระบนกระดูกโบราณมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง ดังนั้น วัฒนธรรมการอาบน้ำมีมาอย่างน้อยสามพันกว่าปีในประเทศจีน ในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นระบุจำแนกไว้ว่า ‘มู่’ คือการสระผม ‘อวี้’ คือการอาบชำระร่างกาย ‘สี่’ คือการล้างเท้า และ ‘เจ่า’ คือการล้างมือ ต่อมาคำว่า ‘เจ่า’ จึงค่อยๆ ถูกใช้สำหรับการชำระล้างส่วนอื่นๆ ด้วย การอาบน้ำแบบโบราณหรือมู่อวี้ โดยทั่วไปคือการอาบน้ำอุ่นในถังอาบน้ำ อาจแช่ทั้งตัวหรือนั่งราดอาบก็ได้ ดังที่เราเห็นในซีรีส์จีนว่าต้องมีการต้มน้ำไปใส่อ่าง หรืออย่างในวังจะมีสระน้ำร้อนให้ใช้ และชาวจีนโบราณก็ไม่ได้อาบน้ำทุกวัน (จะว่าไปแล้ว ชาติอื่นก็เหมือนกัน) โดยหลักปฏิบัติคือสามวันให้สระผมหนึ่งครั้ง ห้าวันอาบน้ำหนึ่งครั้ง ในสมัยฮั่นถึงกับกำหนดเป็นกฎที่ต้องปฏิบัติของข้าราชการโดยจะหยุดพักงานทุกห้าวัน เป็นนัยว่าหยุดเพื่อให้อยู่บ้านอาบน้ำ และวันหยุดนี้เรียกว่า ‘ซิวมู่’ (休沐 แปลตรงตัวว่าพักอาบน้ำ) นอกจากนี้ ก่อนเข้าร่วมพิธีสำคัญก็ต้องอาบน้ำโดยเฉพาะพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ต่างๆ เพื่อเป็นการชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากกาย โดยในเอกสารโบราณมีระบุรายละเอียดเพิ่มเติมถึงขั้นตอนการอาบน้ำ เป็นต้นว่า การอาบน้ำนั้น ท่อนบนของร่างกายใช้ผ้าใยเนื้อละเอียดเช็ดถู ท่อนล่างใช้ผ้าใยเนื้อหยาบ สุดท้ายคือยืนล้าง (ขัด) เท้าบนเสื่อหญ้าหยาบ เมื่อเช็ดแห้งเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วให้ดื่มชาหรือน้ำเพื่อปรับอุณภูมิในร่างกายและชดเชยการเสียเหงื่อด้วย ในช่วงสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ปรากฏว่าตามวัดพุทธมีการขุดบ่อเป็นสระอาบน้ำรวมให้พระภิกษุใช้อาบทุกวันก่อนไหว้พระ และเนื่องจากในสมัยโบราณชาวบ้านนิยมเที่ยววัด จึงค่อยๆ กลายเป็นว่าชาวบ้านหรือข้าราชการก็ไปใช้บริการอาบน้ำที่วัด เสร็จแล้วก็นั่งดื่มชาสนทนากัน ต่อมาวัฒนธรรมการอาบน้ำรวมนี้เป็นที่นิยมมาก ในสมัยซ่งมีสระอาบน้ำสาธารณะในเมืองที่ชาวบ้านสามารถมาจ่ายเงินใช้บริการได้โดยแบ่งเป็นสระน้ำอุ่นและสระน้ำเย็นให้เลือกใช้ได้ตามใจชอบ และในสมัยหมิงถึงกับมีคนรับจ้างช่วยถูหลังสระผมตัดเล็บเลยทีเดียว ว่ากันว่า แรกเริ่มเลยในสมัยซางและฮั่น คนโบราณใช้น้ำซาวข้าวอาบน้ำสระผม ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการพัฒนาใช้เครื่องหอมต่างๆ จึงสันนิษฐานว่าสบู่โบราณเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นในสมัยนั้นเช่นกัน แต่ว่าแรกเริ่มมันเป็นของหรูที่มีใช้ในวังเท่านั้นและใช้สำหรับล้างมือ ต่อมาจึงแพร่สู่ชาวบ้านธรรมดา ใช้ได้ทั้งอาบน้ำสระผมล้างหน้าล้างมือล้างเท้า และใช้ซักเสื้อผ้าอีกด้วย สบู่เจ่าโต้วนี้ถูกเรียกว่า ‘ถั่วอาบน้ำ’ เพราะว่าส่วนผสมหลักของมันก็คือถั่วหรือธัญพืชบดละเอียด ผสมด้วย เครื่องหอม เครื่องเทศและยาสมุนไพรหลากหลาย และสูตรโบราณนี้นอกจากจะเป็นสครับขัดผิวให้ขาวเนียนและบำรุงผิวพรรณได้ดีแล้ว ยังล้างคราบได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคราบดินโคลน คราบมัน คราบเลือด และคราบเครื่องสำอาง ต่อมาภายหลังจึงใช้หันไปใช้ขี้เถ้าไม้และไขมันสัตว์เป็นส่วนผสมหลักเรียกว่า ‘อี๋จื่อ’ (胰子) ซึ่งเป็นพัฒนากลายมาเป็นสบู่ปัจจุบัน สูตรการทำเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นอย่างหลากหลาย แต่สามารถสรุปรวมได้ดังนี้ คือ (1) ธัญพืชและถั่วสารพัดชนิด บ้างต้มสุกบ้างใช้ถั่วดิบ บดละเอียด (2) สมุนไพรหรือเครื่องเทศบดละเอียด เช่น กานพลู การบูร อบเชย (3) เครื่องหอมที่ต้องการ เช่นไม้หอมอบแห้ง กลีบดอกไม้แห้ง บดละเอียดหรือหากเป็นดอกไม้อาจบดหยาบ (4) น้ำหรือน้ำแร่ ต้มเคี่ยวกับน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง (5) เอาส่วนผสมทั้งหมดผสมแล้วคลุกให้สม่ำเสมอ ปั้นเป็นลูกกลอนแล้วเอาไปตากแห้งหลายๆ วัน เป็นอันจบขั้นตอน เวลาจะใช้ก็ชุบน้ำให้เปียกแล้วบี้แตกถูตามร่างกาย Storyฯ ผ่านตาคลิปของพ่อหนุ่มที่ทำสบู่โบราณนี้ เป็นคนเดียวกับที่เคยทำกระบอกจุดไฟและกระโปรงหม่าเมี่ยนที่ Storyฯ เคยเขียนถึง (ค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญ) เข้าไปดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่างค่ะ จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วเจ่าโต้วทำไม่ยาก แต่สาเหตุที่เดิมเป็นของฟุ่มเฟือยเพราะส่วนผสมหลายอย่างมีราคาสูงเกินกว่าที่ชาวบ้านธรรมดาจะนำมาใช้ในกิจวัตรประจำวัน สู้ใช้พวกดินโคลนหินทรายจะง่ายกว่าและประหยัดทรัพย์ โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่าส่วนผสมของเจ่าโต้วนี้ดูน่าใช้กว่าสบู่รุ่นหลังที่ทำจากไขมันสัตว์และขี้เถ้าไม้เสียอีก แต่ยังไม่ได้ทดลองทำดูนะ ใครลองทำแล้วได้ผลอย่างไรอย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะคะ หรือถ้าใครรู้ว่าภูมิปัญญาไทยโบราณใช้อะไรทำสบู่ แตกต่างมากน้อยอย่างไรกับเจ่าโต้วนี้ ก็มาเล่าให้ฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) คลิปสาธิตการทำเจ่าโต้ว: https://www.youtube.com/watch?v=kuCYk0hoAdY Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://k.sina.cn/article_2277596227_87c15c4304001633w.html https://kknews.cc/zh-my/history/p6b6orj.html https://baike.sogou.com/v8330278.htm https://zabar.pixnet.net/blog/post/64707721 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_23937607 https://baike.baidu.com/item/澡豆/687918 https://kknews.cc/zh-cn/history/qxyaj9b.html https://k.sina.cn/article_6395568294_17d34a0a600100cs21.html https://baike.baidu.com/item/胰子/5249378 #องค์หญิงใหญ่ #เจ่าโต้ว #สบู่จีนโบราณ #อาบน้ำจีนโบราณ #สาระจีน
    0 Comments 0 Shares 804 Views 0 Reviews