ยุบพรรคก้าวไกล จะเกิดอะไรขึ้น?
7 สิงหาคม 2567 ศาลรัฐธรรมนูญนัดวินิจฉัยลงมติและอ่านคำวินิจฉัย คดีที่นายธีรยุทธ สุววรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อขอให้ศาลวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2562 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง (1) หลังการพิจารณาคดีใช้เวลา 4 เดือน
ที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญ ใช้วิธีรวบรวมพยานหลักฐานให้ผู้เกี่ยวข้องยื่นคำชี้แจง และให้พรรคก้าวไกลยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา โดยพรรคก้าวไกลได้ขอเลื่อนไปแล้ว 3 ครั้ง รวมระยะเวลา 60 วัน กระทั่งวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ สั่งยุติการไต่สวน เนื่องจากเห็นว่าคดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายมีพยานหลักฐานเพียงพอให้วินิจฉัยได้
หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไม่ยุบพรรคก้าวไกล หมายความว่าการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง และสังกัดของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ทุกอย่างยังเป็นไปตามปกติ แต่หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล จะมีผลตามมาดังต่อไปนี้
1. กรรมการบริหารพรรคในขณะที่กระทำความผิดถูกตัดสิทธิทางการเมือง 10 ปี มี 6 คนที่เป็น สส. ปัจจุบัน ประกอบด้วย นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคขณะนั้น นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคขณะนั้น น.ส.เบญจา แสงจันทร์ นายสุเทพ อู่อ้น นายอภิชาติ ศิริสุนทร และนายปดิพัทธ์ สันติภาดา สส.พิษณุโลก
ส่วน 5 คน ไม่ได้เป็น สส. พรรคแล้ว ประกอบด้วย น.ส.ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ เหรัญญิกพรรค นายณกรณ์พงศ์ ศุภนิมิตตระกูล นายทะเบียนสมาชิกพรรค นายสมชาย ฝั่งชลจิตร นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล และนายอภิสิทธิ์ พรมฤทธิ์ (ชุดที่นายชัยธวัชเป็นหัวหน้าพรรค)
2. สส.บัญชีรายชื่อ หายไป 5 คน จากเดิม 39 คน เหลือ 34 คน ไม่มีการเลื่อนบัญชีขึ้นมาทดแทน เนื่องจากพรรคถูกยุบ ส่วน สส.แบบแบ่งเขต 109 คน ต้องหาสังกัดใหม่ภายใน 60 วัน และจัดการเลือกตั้งซ่อม สส.พิษณุโลก เขต 1 แทนนายปดิพัทธ์ สันติภาดา ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง เท่ากับ สส. พรรคก้าวไกล ในฐานะฝ่ายค้านในสภาฯ ลดลงจาก 148 คน เหลือ 143 คน
(สส. ก้าวไกลลดลงจาก 151 คน เหลือ 148 คน เพราะมี สส. ที่ถูกขับออกจากพรรค 3 คน คือ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา, นายวุฒิพงศ์ ทองเหลา และนายไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์)
ไม่นับรวมมีข่าวว่า สส. บางคนไปสังกัดพรรคการเมืองอื่นแบบข้ามขั้ว ที่ไม่ใช่พรรคสำรองของพรรคก้าวไกล ตามที่นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ สส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล ออกมาให้ข่าวโดยอ้างว่ามีนักการเมืองรายหนึ่งเสนอซื้อตัว สส.งูเห่า 20-30 ล้านบาท หากพรรคก้าวไกลถูกยุบ
3. มีผลต่อกรณีที่นายธีรยุทธ ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อให้ตรวจสอบและเอาผิดจริยธรรมของพรรคก้าวไกล และ สส.พรรคก้าวไกล 44 คนในขณะนั้น ที่ร่วมลงชื่อเสนอแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 แต่ปัจจุบันเหลือ สส. ในสภาที่เคยลงชื่อเพียง 30 คน
#Newskit #ยุบพรรคก้าวไกล #ศาลรัฐธรรมนูญ ยุบพรรคก้าวไกล จะเกิดอะไรขึ้น?
7 สิงหาคม 2567 ศาลรัฐธรรมนูญนัดวินิจฉัยลงมติและอ่านคำวินิจฉัย คดีที่นายธีรยุทธ สุววรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อขอให้ศาลวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2562 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง (1) หลังการพิจารณาคดีใช้เวลา 4 เดือน
ที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญ ใช้วิธีรวบรวมพยานหลักฐานให้ผู้เกี่ยวข้องยื่นคำชี้แจง และให้พรรคก้าวไกลยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา โดยพรรคก้าวไกลได้ขอเลื่อนไปแล้ว 3 ครั้ง รวมระยะเวลา 60 วัน กระทั่งวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ สั่งยุติการไต่สวน เนื่องจากเห็นว่าคดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายมีพยานหลักฐานเพียงพอให้วินิจฉัยได้
หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไม่ยุบพรรคก้าวไกล หมายความว่าการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง และสังกัดของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ทุกอย่างยังเป็นไปตามปกติ แต่หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล จะมีผลตามมาดังต่อไปนี้
1. กรรมการบริหารพรรคในขณะที่กระทำความผิดถูกตัดสิทธิทางการเมือง 10 ปี มี 6 คนที่เป็น สส. ปัจจุบัน ประกอบด้วย นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคขณะนั้น นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคขณะนั้น น.ส.เบญจา แสงจันทร์ นายสุเทพ อู่อ้น นายอภิชาติ ศิริสุนทร และนายปดิพัทธ์ สันติภาดา สส.พิษณุโลก
ส่วน 5 คน ไม่ได้เป็น สส. พรรคแล้ว ประกอบด้วย น.ส.ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ เหรัญญิกพรรค นายณกรณ์พงศ์ ศุภนิมิตตระกูล นายทะเบียนสมาชิกพรรค นายสมชาย ฝั่งชลจิตร นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล และนายอภิสิทธิ์ พรมฤทธิ์ (ชุดที่นายชัยธวัชเป็นหัวหน้าพรรค)
2. สส.บัญชีรายชื่อ หายไป 5 คน จากเดิม 39 คน เหลือ 34 คน ไม่มีการเลื่อนบัญชีขึ้นมาทดแทน เนื่องจากพรรคถูกยุบ ส่วน สส.แบบแบ่งเขต 109 คน ต้องหาสังกัดใหม่ภายใน 60 วัน และจัดการเลือกตั้งซ่อม สส.พิษณุโลก เขต 1 แทนนายปดิพัทธ์ สันติภาดา ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง เท่ากับ สส. พรรคก้าวไกล ในฐานะฝ่ายค้านในสภาฯ ลดลงจาก 148 คน เหลือ 143 คน
(สส. ก้าวไกลลดลงจาก 151 คน เหลือ 148 คน เพราะมี สส. ที่ถูกขับออกจากพรรค 3 คน คือ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา, นายวุฒิพงศ์ ทองเหลา และนายไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์)
ไม่นับรวมมีข่าวว่า สส. บางคนไปสังกัดพรรคการเมืองอื่นแบบข้ามขั้ว ที่ไม่ใช่พรรคสำรองของพรรคก้าวไกล ตามที่นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ สส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล ออกมาให้ข่าวโดยอ้างว่ามีนักการเมืองรายหนึ่งเสนอซื้อตัว สส.งูเห่า 20-30 ล้านบาท หากพรรคก้าวไกลถูกยุบ
3. มีผลต่อกรณีที่นายธีรยุทธ ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อให้ตรวจสอบและเอาผิดจริยธรรมของพรรคก้าวไกล และ สส.พรรคก้าวไกล 44 คนในขณะนั้น ที่ร่วมลงชื่อเสนอแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 แต่ปัจจุบันเหลือ สส. ในสภาที่เคยลงชื่อเพียง 30 คน
#Newskit #ยุบพรรคก้าวไกล #ศาลรัฐธรรมนูญ