• ดอลลาร์สหรัฐจะเสื่อมค่าลง ถึงแม้จะพยายามก่อสงครามและโรคระบาดก็ตาม / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    สถานการณ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในปัญหาความไม่เชื่อมั่นต่อ ดอลลาร์สหรัฐ มี 2 เรื่องสำคัญ คือ 1.การพิมพ์แบงค์ก่อหนี้ไม่หยุดและไม่สามารถชำระหนี้ได้ และ 2. การยึดทุนสำรองระหว่างประเทศของรัสเซีย ทำให้ทั่วโลกกำลังหาสินทรัพย์อย่างอื่น

    อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงจุดที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาไม่สามารถใช้นโยบายดอกเบี้ยสูงได้ต่อไป ก็ยิ่งทำให้เงินทั่วโลกเทขายพันธบัตรและเงินดอลลาร์หันไปลงทุนสินทรัพย์อย่างอื่น โดยเฉพาะตลาดหุ้นในเอเชีย (ซึ่งแปลงเป็นเงินสกุลอื่น) คริปโตเคอเรนซี่ และทองคำ ประเทศใดไม่ทันระวังตัว หลงเพลินกับดัชนีราคาหุ้นที่สูงขึ้น ก็อาจจะได้รับผลกระทบทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศเสื่อมค่าลงด้วยเพราะดอลลาร์ที่ท่วมในทุนสำรองระหว่างประเทศกำลังเสื่อมค่าลงเช่นกั

    ด้วยเหตุผลนี้ธนาคารกลางของหลายประเทศที่มีเงินทุนไหลเข้าจำนวนมาก ก็มีแนวโน้มจะซื้อทองคำมากขึ้น เพื่อรักษามูลค่าของทุนสำรองระหว่างประเทศให้มั่นคง กว่าการมีสินทรัพย์ที่มีเงินดอลลาร์มากเกินไป

    ด้วยเหตุผลนี้ทองคำมีแนวโน้มจะมีราคาสูงขึ้นต่อไปเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอเมริกา

    ดังนั้นในรอบหลายปีที่ผ่านมา การระบาดของโรคโควิด-19 ได้ช่วยทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกได้รับความเสียหาย อีกทั้งต้องสั่งซื้อวัคซีนและยารักษาโรคในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐจากอเมริกา และยุโรป

    การก่อหนี้สาธารณอันมหาศาลเพื่อรับมือกับโรคโควิด-19 ในการหาซื้อยา วัคซีน เวชภัณฑ์ รวมถึงการเยียวยาความเสียหายทางเศรษฐกิจ ทำให้หลายประเทศต่อก่อหนี้เพิ่มมากขึ้น บางประเทศที่ขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่แล้ว ก็ต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF มากขึ้น

    และการที่ประเทศที่ได้รับความเสียหายจากสงครามหรือโรคระบาดที่ต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศมากขึ้น ก็คือการรักษาความต้องการเงินดอลลาร์ให้ยังคงอยู่ต่อไป และต้องถูกแลกมาด้วยการสูบทรัพยากรจากประเทศลูกหนี้เหล่านั้นให้มาชดใช้หนี้ด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาและยุโรป

    และนี่คือเหตุผลสำคัญที่กระทรวงกลาโหมต้องออกมาปล่อยข่าวปลอมในการใส่ร้ายและทำลายวัคซีนจากจีน เพื่อต้องการสูบความมั่งคั่งจากทั่วโลกให้มาเพิ่งเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อไป

    อย่างไรก็ตาม เมื่อมาถึงจุดที่นโยบายดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาไม่สามารถจะดำรงได้ต่อไป จึงถูกสถานการณ์ทางเศรษฐกิจบีบคั้นให้ลดอัตราดอกเบี้ยและมีแนวโน้มจะลดลงไปเรื่อยๆ โดยหวังว่าทำให้เศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาเดินหน้าต่อไป

    แต่การลดดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ก็แลกกลับมาด้วยเงินทุนไหลออกจากดอลลาร์สหรัฐอย่างรวดเร็ว ไปสู่สินทรัพย์อื่นที่ปลอดภัยมากกว่าอย่างรวดเร็ว ทั้งทองคำ เงินดิจิตอลคริปโตเคอเรนซี่ หุ้นในประเทศในเอเชีย

    ส่งผลทำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มจะเสื่อมค่าลงเรื่อยๆ

    เมื่อนโยบายอัตราดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาไม่สามารถจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาดอลลาร์อย่างสันติวิธีได้ ประชาคมโลกจึงมีความเสี่ยงที่จะได้เห็นปรากฏการณ์เร่งทำสงครามให้บานปลายมากขึ้น หรืออาจมีความเสี่ยงการก่อโรคระบาดใหม่ได้มากขึ้น

    เพราะการก่อสงครามของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ไม่ได้ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องเผชิญความเสี่ยงในการสูญเสียในสมรภูมิสงครามโดยตรง ทำให้หลายประเทศต้องซื้ออาวุธสงครามด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐมากขึ้น

    และการปฏิบัติการด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ต่อสู้กันนั้น ก็ย่อมทำให้ต้องการใช้น้ำมันมากขึ้น ดังนั้นน้ำมันที่เพิ่มมูลค่ามากขึ้น ย่อมทำให้สหรัฐอเมริกาได้รับประโยชน์ทำกำไรมากขึ้น และรักษาเงินดอลลาร์ได้มากขึ้นเช่นกัน เพราะทำให้สหรัฐอเมริการมีรายได้มาช่วยชำระหนี้มากขึ้น

    ยังไม่นับความเสี่ยงประเทศคู่กรณีกับสหรัฐอเมริกา ก็อาจจะถูกประเทศสหรัฐอเมริกาชักดาบ ไม่ต้องชำระหนี้พันธบัตรสหรัฐ และยึดทุนสำรองระหว่างประเทศมาชดใช้หนี้ให้สหรัฐอเมริการหรือให้มาซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ของสหรัฐอเมริกาได้ด้วย

    กรณีศึกษาที่ชัดเจนว่าฝ่ายรักษาเงินดอลลาร์ที่ได้ทำลายการขนส่งก๊าซของรัสเซียในยุโรปก็ดี การมีเป้าหมายทำลายบ่อน้ำมันหรือโรงกลั่นน้ำมันของอิหร่านก็ดี มีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการทำลายปิโตรเลียมของชาติอื่นๆ ที่จะไม่ใช้เงินดอลลาร์สหรัฐในการซื้อขายน้ำมัน(ปิโตรดอลลาร์) เพื่อหวังจะทำให้ปิโตรเลียมที่ค้าขายด้วยดอลลาร์สหรัฐเท่านั้นที่จะครองสัดส่วนหลักของโลกได้ต่อไป ซึ่งเป็นวิธีดิ้นเฮือกสุดท้ายที่มีความเสี่ยงสูง เป็นการเดิมพันเพื่อรักษาเงินดอลลาร์เอาไว้ให้ได้

    นั่นหมายความว่า “ราคาน้ำมัน” มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นต่อไปด้วย

    ดังนั้นลักษณะสงครามโลก หรือหากจะมีสงครามโรคเพื่อรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐนั้น มีแนวโน้มที่จะเป็นไปในลักษณะ “จำกัดพื้นที่” และ “ยืดเยื้อ”ไม่ให้เป็นสงครามที่มีผลกระทบต่อแผ่นดินของสหรัฐอเมริกา

    แต่ก็ใช่ว่าแนวทางรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาที่ไม่ใช่แนวทางสันติวิธีแบบนี้จะทำได้ตามอำเภอใจ เพราะประเทศคู่กรณีอย่างจีน รัสเซีย ที่มีสมาชิก BRICS เข้าร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ ที่กำลังลดการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐให้ลดน้อยลง

    จีน รัสเซีย เกาหลีเหนือ อิหร่าน อินเดีย ซึ่งกำลังทยอยลดการถือครองสินทรัพย์ที่เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ต่างมีอาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยี ที่ไม่เพียงจะไม่แพ้สหรัฐอเมริกาและยุโรปเท่านั้น แต่ยังอาจจะเหนือกว่าสหรัฐอเมริกาแล้วด้วย

    ดังนั้นการทำสงครามแบบ “จำกัดพื้นที่” และ “ยืดเยื้อ” อาจถูกโต้กลับด้วยแสนยานุภาพทำให้สงครามสิ้นสุดลงได้เช่นกัน

    ในขณะที่การทำสงครามโรคระบาดก็อาจจะไม่ง่ายอีกเช่นกัน เพราะหลังจากการเกิดโรคระบาดโควิด-19 เริ่มทำให้หลายประเทศได้ตระหนักถึงความเสียหายรอบด้าน และมีการเตรียมความพร้อมมากขึ้น ทั้งยารักษาโรค การพึ่งพาตัวเองได้สมุนไพร การเร่งรัดงานวิจัย หรือแม้กระทั่งการผลิตวัคซีน

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนได้ถ่วงอำนาจทางเศรษฐกิจไปทั่วโลก ด้วยการปล่อยกู้และลงทุนอันมหาศาลให้กับหลายประเทศที่ติดหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ อีกทั้งยังขยายบทบาทการพึ่งพาทางเศรษฐกิจให้กับหลายประเทศทั่วโลกมากกว่าสหรัฐอเมริกา และทำให้ความจำเป็นในการพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐอเมริกาลดลงไปด้วย และยังลงทุนก่อสร้างไปในธุรกิจพลังงาน และเหมืองแร่ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสินทรัพย์ที่เป็นตัวเปลี่ยนเทคโนโลยีของจีน ที่เหนือกว่าการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐ

    จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น แนวโน้มดอลลาร์สหรัฐจะไม่สามารถรักษามูลค่าต่อไปได้ ต่อให้ปั่นกระแสข่าวการทำสงคราม การขึ้นภาษีกีดกันทางการค้า ต่างก็มีข้อจำกัดด้วยแสนยานุภาพของประเทศมหาอำนาจคู่กรณี

    ในสถานการณ์เช่นนี้ประเทศไทยจะต้องคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้

    1.ความมั่นคงในทุนสำรองระหว่างประเทศที่จะต้องปรับเปลี่ยนสัดส่วนของสินทรัพย์ให้ทันพลวัตต่อเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

    2.ต้องมีการบริหารจัดการรักษา “เสถียรภาพ” ค่าเงินบาทไม่ให้เกิดการ “ผันผวน” ผิดปกติเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มเดียวกัน ควบคู่ไปกับการพิจารณาเรื่องเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ กับความสามารถในการแข่งขันในเวทีการส่งออกและการนำเข้าระหว่างประเทศ

    3.ต้องบริหารจัดการให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานเพื่อการพึ่งพาตัวเอง ในภาวะสงครามทั่วโลก โดยเฉพาะการส่งเสริมโซลาร์เซลล์ และรถไฟฟ้าทั่วไทยอย่างจริงจัง

    4.ต้องเร่งสร้างความมั่นคงทางอาหารให้พึ่งพาตัวเองได้ ในภาวะสงครามทั่วโลก

    5.ต้องเร่งสร้างความมั่นคงทางยาด้านสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตัวเอง ในภาวะสงครามทั่วโลก

    แต่จนถึงวันนี้ก็ยังไม่เห็นรัฐบาลได้ตระหนักหรือมีวิสัยทัศน์กับปัญหาเหล่านี้เลย

    คงเหลือแต่ประชาชนเท่านั้นที่ได้อ่านบทความนี้ต้องเริ่มแสวงหาแนวทางการพึ่งพาตัวเองให้มากขึ้น ทั้งการพึ่งพาตัวเองด้านพลังงาน อาหาร และสมุนไพร หรือปรัชญาพระราชทานเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9

    ด้วยความปรารถนาดี
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    10 ตุลาคม 2567
    ดอลลาร์สหรัฐจะเสื่อมค่าลง ถึงแม้จะพยายามก่อสงครามและโรคระบาดก็ตาม / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ สถานการณ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในปัญหาความไม่เชื่อมั่นต่อ ดอลลาร์สหรัฐ มี 2 เรื่องสำคัญ คือ 1.การพิมพ์แบงค์ก่อหนี้ไม่หยุดและไม่สามารถชำระหนี้ได้ และ 2. การยึดทุนสำรองระหว่างประเทศของรัสเซีย ทำให้ทั่วโลกกำลังหาสินทรัพย์อย่างอื่น อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงจุดที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาไม่สามารถใช้นโยบายดอกเบี้ยสูงได้ต่อไป ก็ยิ่งทำให้เงินทั่วโลกเทขายพันธบัตรและเงินดอลลาร์หันไปลงทุนสินทรัพย์อย่างอื่น โดยเฉพาะตลาดหุ้นในเอเชีย (ซึ่งแปลงเป็นเงินสกุลอื่น) คริปโตเคอเรนซี่ และทองคำ ประเทศใดไม่ทันระวังตัว หลงเพลินกับดัชนีราคาหุ้นที่สูงขึ้น ก็อาจจะได้รับผลกระทบทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศเสื่อมค่าลงด้วยเพราะดอลลาร์ที่ท่วมในทุนสำรองระหว่างประเทศกำลังเสื่อมค่าลงเช่นกั ด้วยเหตุผลนี้ธนาคารกลางของหลายประเทศที่มีเงินทุนไหลเข้าจำนวนมาก ก็มีแนวโน้มจะซื้อทองคำมากขึ้น เพื่อรักษามูลค่าของทุนสำรองระหว่างประเทศให้มั่นคง กว่าการมีสินทรัพย์ที่มีเงินดอลลาร์มากเกินไป ด้วยเหตุผลนี้ทองคำมีแนวโน้มจะมีราคาสูงขึ้นต่อไปเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ดังนั้นในรอบหลายปีที่ผ่านมา การระบาดของโรคโควิด-19 ได้ช่วยทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกได้รับความเสียหาย อีกทั้งต้องสั่งซื้อวัคซีนและยารักษาโรคในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐจากอเมริกา และยุโรป การก่อหนี้สาธารณอันมหาศาลเพื่อรับมือกับโรคโควิด-19 ในการหาซื้อยา วัคซีน เวชภัณฑ์ รวมถึงการเยียวยาความเสียหายทางเศรษฐกิจ ทำให้หลายประเทศต่อก่อหนี้เพิ่มมากขึ้น บางประเทศที่ขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่แล้ว ก็ต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF มากขึ้น และการที่ประเทศที่ได้รับความเสียหายจากสงครามหรือโรคระบาดที่ต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศมากขึ้น ก็คือการรักษาความต้องการเงินดอลลาร์ให้ยังคงอยู่ต่อไป และต้องถูกแลกมาด้วยการสูบทรัพยากรจากประเทศลูกหนี้เหล่านั้นให้มาชดใช้หนี้ด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาและยุโรป และนี่คือเหตุผลสำคัญที่กระทรวงกลาโหมต้องออกมาปล่อยข่าวปลอมในการใส่ร้ายและทำลายวัคซีนจากจีน เพื่อต้องการสูบความมั่งคั่งจากทั่วโลกให้มาเพิ่งเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อไป อย่างไรก็ตาม เมื่อมาถึงจุดที่นโยบายดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาไม่สามารถจะดำรงได้ต่อไป จึงถูกสถานการณ์ทางเศรษฐกิจบีบคั้นให้ลดอัตราดอกเบี้ยและมีแนวโน้มจะลดลงไปเรื่อยๆ โดยหวังว่าทำให้เศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาเดินหน้าต่อไป แต่การลดดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ก็แลกกลับมาด้วยเงินทุนไหลออกจากดอลลาร์สหรัฐอย่างรวดเร็ว ไปสู่สินทรัพย์อื่นที่ปลอดภัยมากกว่าอย่างรวดเร็ว ทั้งทองคำ เงินดิจิตอลคริปโตเคอเรนซี่ หุ้นในประเทศในเอเชีย ส่งผลทำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มจะเสื่อมค่าลงเรื่อยๆ เมื่อนโยบายอัตราดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาไม่สามารถจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาดอลลาร์อย่างสันติวิธีได้ ประชาคมโลกจึงมีความเสี่ยงที่จะได้เห็นปรากฏการณ์เร่งทำสงครามให้บานปลายมากขึ้น หรืออาจมีความเสี่ยงการก่อโรคระบาดใหม่ได้มากขึ้น เพราะการก่อสงครามของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ไม่ได้ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องเผชิญความเสี่ยงในการสูญเสียในสมรภูมิสงครามโดยตรง ทำให้หลายประเทศต้องซื้ออาวุธสงครามด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐมากขึ้น และการปฏิบัติการด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ต่อสู้กันนั้น ก็ย่อมทำให้ต้องการใช้น้ำมันมากขึ้น ดังนั้นน้ำมันที่เพิ่มมูลค่ามากขึ้น ย่อมทำให้สหรัฐอเมริกาได้รับประโยชน์ทำกำไรมากขึ้น และรักษาเงินดอลลาร์ได้มากขึ้นเช่นกัน เพราะทำให้สหรัฐอเมริการมีรายได้มาช่วยชำระหนี้มากขึ้น ยังไม่นับความเสี่ยงประเทศคู่กรณีกับสหรัฐอเมริกา ก็อาจจะถูกประเทศสหรัฐอเมริกาชักดาบ ไม่ต้องชำระหนี้พันธบัตรสหรัฐ และยึดทุนสำรองระหว่างประเทศมาชดใช้หนี้ให้สหรัฐอเมริการหรือให้มาซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ของสหรัฐอเมริกาได้ด้วย กรณีศึกษาที่ชัดเจนว่าฝ่ายรักษาเงินดอลลาร์ที่ได้ทำลายการขนส่งก๊าซของรัสเซียในยุโรปก็ดี การมีเป้าหมายทำลายบ่อน้ำมันหรือโรงกลั่นน้ำมันของอิหร่านก็ดี มีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการทำลายปิโตรเลียมของชาติอื่นๆ ที่จะไม่ใช้เงินดอลลาร์สหรัฐในการซื้อขายน้ำมัน(ปิโตรดอลลาร์) เพื่อหวังจะทำให้ปิโตรเลียมที่ค้าขายด้วยดอลลาร์สหรัฐเท่านั้นที่จะครองสัดส่วนหลักของโลกได้ต่อไป ซึ่งเป็นวิธีดิ้นเฮือกสุดท้ายที่มีความเสี่ยงสูง เป็นการเดิมพันเพื่อรักษาเงินดอลลาร์เอาไว้ให้ได้ นั่นหมายความว่า “ราคาน้ำมัน” มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นต่อไปด้วย ดังนั้นลักษณะสงครามโลก หรือหากจะมีสงครามโรคเพื่อรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐนั้น มีแนวโน้มที่จะเป็นไปในลักษณะ “จำกัดพื้นที่” และ “ยืดเยื้อ”ไม่ให้เป็นสงครามที่มีผลกระทบต่อแผ่นดินของสหรัฐอเมริกา แต่ก็ใช่ว่าแนวทางรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาที่ไม่ใช่แนวทางสันติวิธีแบบนี้จะทำได้ตามอำเภอใจ เพราะประเทศคู่กรณีอย่างจีน รัสเซีย ที่มีสมาชิก BRICS เข้าร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ ที่กำลังลดการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐให้ลดน้อยลง จีน รัสเซีย เกาหลีเหนือ อิหร่าน อินเดีย ซึ่งกำลังทยอยลดการถือครองสินทรัพย์ที่เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ต่างมีอาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยี ที่ไม่เพียงจะไม่แพ้สหรัฐอเมริกาและยุโรปเท่านั้น แต่ยังอาจจะเหนือกว่าสหรัฐอเมริกาแล้วด้วย ดังนั้นการทำสงครามแบบ “จำกัดพื้นที่” และ “ยืดเยื้อ” อาจถูกโต้กลับด้วยแสนยานุภาพทำให้สงครามสิ้นสุดลงได้เช่นกัน ในขณะที่การทำสงครามโรคระบาดก็อาจจะไม่ง่ายอีกเช่นกัน เพราะหลังจากการเกิดโรคระบาดโควิด-19 เริ่มทำให้หลายประเทศได้ตระหนักถึงความเสียหายรอบด้าน และมีการเตรียมความพร้อมมากขึ้น ทั้งยารักษาโรค การพึ่งพาตัวเองได้สมุนไพร การเร่งรัดงานวิจัย หรือแม้กระทั่งการผลิตวัคซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนได้ถ่วงอำนาจทางเศรษฐกิจไปทั่วโลก ด้วยการปล่อยกู้และลงทุนอันมหาศาลให้กับหลายประเทศที่ติดหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ อีกทั้งยังขยายบทบาทการพึ่งพาทางเศรษฐกิจให้กับหลายประเทศทั่วโลกมากกว่าสหรัฐอเมริกา และทำให้ความจำเป็นในการพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐอเมริกาลดลงไปด้วย และยังลงทุนก่อสร้างไปในธุรกิจพลังงาน และเหมืองแร่ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสินทรัพย์ที่เป็นตัวเปลี่ยนเทคโนโลยีของจีน ที่เหนือกว่าการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐ จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น แนวโน้มดอลลาร์สหรัฐจะไม่สามารถรักษามูลค่าต่อไปได้ ต่อให้ปั่นกระแสข่าวการทำสงคราม การขึ้นภาษีกีดกันทางการค้า ต่างก็มีข้อจำกัดด้วยแสนยานุภาพของประเทศมหาอำนาจคู่กรณี ในสถานการณ์เช่นนี้ประเทศไทยจะต้องคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้ 1.ความมั่นคงในทุนสำรองระหว่างประเทศที่จะต้องปรับเปลี่ยนสัดส่วนของสินทรัพย์ให้ทันพลวัตต่อเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 2.ต้องมีการบริหารจัดการรักษา “เสถียรภาพ” ค่าเงินบาทไม่ให้เกิดการ “ผันผวน” ผิดปกติเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มเดียวกัน ควบคู่ไปกับการพิจารณาเรื่องเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ กับความสามารถในการแข่งขันในเวทีการส่งออกและการนำเข้าระหว่างประเทศ 3.ต้องบริหารจัดการให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานเพื่อการพึ่งพาตัวเอง ในภาวะสงครามทั่วโลก โดยเฉพาะการส่งเสริมโซลาร์เซลล์ และรถไฟฟ้าทั่วไทยอย่างจริงจัง 4.ต้องเร่งสร้างความมั่นคงทางอาหารให้พึ่งพาตัวเองได้ ในภาวะสงครามทั่วโลก 5.ต้องเร่งสร้างความมั่นคงทางยาด้านสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตัวเอง ในภาวะสงครามทั่วโลก แต่จนถึงวันนี้ก็ยังไม่เห็นรัฐบาลได้ตระหนักหรือมีวิสัยทัศน์กับปัญหาเหล่านี้เลย คงเหลือแต่ประชาชนเท่านั้นที่ได้อ่านบทความนี้ต้องเริ่มแสวงหาแนวทางการพึ่งพาตัวเองให้มากขึ้น ทั้งการพึ่งพาตัวเองด้านพลังงาน อาหาร และสมุนไพร หรือปรัชญาพระราชทานเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ด้วยความปรารถนาดี ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 10 ตุลาคม 2567
    Like
    Love
    Yay
    Sad
    108
    4 ความคิดเห็น 9 การแบ่งปัน 2013 มุมมอง 5 รีวิว
  • #ภัยธรรมชาติ #กสิกรรมธรรมชาติ #ความมั่นคงทางอาหาร #ความมั่นคงทางยา #พอเพียง #สามัคคีคือพลังค้ำจุนแผ่นดินไทย #ศิษย์ยักษ์ #ทำตามพ่อสอน
    ://youtu.be/t2zQID7UocQ
    #ภัยธรรมชาติ #กสิกรรมธรรมชาติ #ความมั่นคงทางอาหาร #ความมั่นคงทางยา #พอเพียง #สามัคคีคือพลังค้ำจุนแผ่นดินไทย #ศิษย์ยักษ์ #ทำตามพ่อสอน ://youtu.be/t2zQID7UocQ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 179 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยิ่งไม่สามารถใช้ดอกเบี้ยสูงตรึงเงินดอลลาร์ได้ ยิ่งเร่งสงครามโลกและสงครามโรคเร็วขึ้น/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    ความขัดแย้งกันในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์นั้น ต้องพิจารณาในยุคนี้ด้วยว่า นอกจากมาตรการตอบโต้กันทางด้านการเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ สงครรามทุนระหว่างประเทศ สงครามค่าเงิน ถึงขนาดที่เรียกว่าเรื่องนี้อาจมีจุดจบที่ต้องมีฝ่ายใดแพ้หรือฝ่ายใดชนะกันไปข้างหนึ่ง

    โดยเฉพาะสถานภาพของเงินสกุลสหรัฐอเมริกา ก็ไม่สามารถดำรงสถานภาพเป็นเงินสกุลหลักของโลกได้เหมือนเดิมอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าขายปิโตรเลียมที่ไม่ได้ยึถถือเงินสกุลดอลลาร์ (ปิโตรดอลลาร์)แต่เพียงสกุลเดียวได้เหมือนเดิม แต่ถึงกระนั้นสหรัฐอเมริกาก็เลือกหนทางในการทำให้เกิดการโจมตีแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช่พันธมิตรอเมริกาทั่วโลก เพื่อให้ราคาปิโตรเลียมของธุรกิจในเครือสหรัฐอเมริกายังคงดำรงสถานภาพปิโตรดอลลาร์ต่อไป

    อย่างไรก็ตามการเปลี่ยแปลงเงินสกุลหลักของโลกแม้จะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ก็ยังมีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงแบบยืดเยื้อ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ยังคงใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเครื่องมือเป็นเงินกู้เข้าแทรกแซงช่วยเหลืออยู่หลายประเทศ โดยสถานภาพของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นเจ้าหนี้ของประเทศต่างๆที่มีพันธะผูกพันจำนวน 94 ประเทศ มีมูลค่าหนี้คงค้างกว่า 112 ล้านเหรียญสหรัฐ[1]

    นอกจากนั้นทุนสำรองระหว่างประเทศของทุกประเทศทั่วโลกยังคงเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกามากถึงร้อยละ 54.06[2] โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปพันธบัตรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็กลายเป็นประเทศที่ออกพันธบัตรก่อหนี้มหาศาลมากถึง 35 ล้านล้านเหรียญสหรัฐแล้ว[3] โดยยังไม่เพียงแค่ปัญหาว่าสหรัฐอเมริกาจะมีทางว่าจะชำระหนี้คืนได้อย่างไรเท่านั้น แต่ยังไม่มีแนวโน้มว่าสหรัฐอเมริกาจะหยุดการก่อหนี้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร

    การที่สหรัฐอเมริกาก่อหนี้อย่างมหาศาล อีกทั้งธนาคารกลางหลายประเทศเทขายพันธบัตรสหรัฐอเมริกา ส่งผลทำให้ปริมาณอุปทานเงินดอลลาร์สหรัฐล้นระบบเกินความต้องการของอุปสงค์เงินดอลลาร์สหรัฐในตลาดเงิน และทำให้ธนาคารกลางได้เพิ่มสัดส่วนเงินสกุลของคู่ค้าประเทศอื่นๆและทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ

    ปัญหาที่แท้จริงในเรื่องนี้คือปัญหา “ความไม่เชื่อมั่น” ในเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ที่ก่อหนี้ไม่หยุด หรือไม่หยุดการพิมพ์ธนบัตรดอลลาร์ออกมาโดยที่ไม่มีอะไรหนุนหลัง

    ส่งผลทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐเสื่อมค่าลง ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ข้าวยากหมากแพง และทำให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาต้องตัดสินใจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลานานในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อดึงเงินจากทั่วโลกให้ยังคงรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐให้เป็นที่ต้องการในทุนสำรองระหว่างประเทศต่อไป

    แต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงของสหรัฐอเมริกา กลับทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจอีกด้านหนึ่ง ด้วยเพราะทำให้ธุรกิจเอกชนในสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง หนี้สินครัวเรือน และหนี้สินส่วนบุคคลเพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่การก่อหนี้เสีย ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อสถานภาพธนาคารในสหรัฐอเมริกาด้วย

    ปรากฏการณ์เพียงแค่ธนาคารกลางผ่อนปรนลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคาคารกลางลงเท่านั้น เม็ดเงินทั่วโลกก็ได้ทยอยเทขายทรัพย์สินในเงินดอลลาร์สหรัฐไหลไปสู่ทรัพย์สินที่มั่นคงกว่าทันที และทำให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอ่อนลงฉับพลันและยังมีแนวโน้มว่าจะเสื่อมค่าอย่างต่อเนื่องด้วย

    และนั่นทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐถูกเปลี่ยนมาลงทุนหุ้นในภูมิภาคเอเชีย และทำให้ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง ค่าเงินสกุลหลายประเทศในเอเชียจึงแข็งค่าขึ้น

    โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีธนาคารแห่งประเทศไทยใช้นโยบายเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศติดอันดับโลก ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นเป็นเป้าหมายในการลงทุนไปด้วย ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นทะยานต่อเนื่อง และค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือเงินดอลลาร์ที่กำลังเสื่อมค่าถูกนำมาแปลงสภาพผ่านทุนเคลื่อนย้ายสุทธิเข้าในตลาดหุ้น กองทุน หรือพันธบัตรในเอเชีย ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางของประเทศที่เป็นเป้าหมายในการลงทุนกลับยิ่งมีเงินดอลลาร์ในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางต้องเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินทองคำเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

    ราคาทองคำจึงมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์

    และเมื่อมีแนวโน้มว่าอิสราเอลจะตั้งเป้าโจมตีทำลายแหล่งปิโตรเลียมอิหร่าน ก็ยิ่งทำให้ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั่วโลกราคาเพิ่มสูงขึ้น

    อย่างไรก็ตาม ด้วยเพราะธนาคารกลางของหลายประเทศทั่วโลกพยายามจะได้พยายามลดการถือครองพันธบัตร เพื่อหวังจะทำให้การเปลี่ยนสัดส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศจากเงินดอลลาร์สหรัฐให้น้อยลง แล้วเปลี่ยนเป็นสกุลเงินอื่นๆ หรือทองคำนั้นให้มากขึ้นนั้น เป็นการคิดพร้อมๆกันของหลายประเทศทั่วโลก จึงทำให้หลายประเทศไม่สามารถจะเปลี่ยนได้ตามใจชอบ

    อย่างไรก็ตามประเทศใดมีทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีเงินดอลลาร์สหรัฐมากขึ้นเท่าไหร่ ย่อมเท่ากับว่าประเทศนั้นถือครองทรัพย์สินที่อ่อนค่าลงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งก็ย่อมทำให้สกุลเงินในประเทศที่มีทรัพย์สินเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐด้อยค่าไปด้วยอยู่ดี

    เมื่อถึงสถานการณ์ที่นโยบายดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางกลายเป็นข้อจำกัด และถูกบีบให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง หากสหรัฐอเมริกาจะยังคงสถานภาพเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อไปได้ ก็ต่อเมื่อต้องบีบให้ทุกประเทศทั่วโลกมีความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาให้มากที่สุด

    สถานการณ์ใกล้ตีบตันแล้ว จึงเหลือหนทางแค่ 2 ทางเท่านั้น

    หนทางที่หนึ่ง คือ “ก่อสงคราม” เพื่อทำให้ประเทศที่มีสงครามต้องสั่งซื้อ สั่งผลิต อาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐอเมริกาให้มากขึ้น และเมื่ออาวุธ ยุทโธปกรณ์เหล่านี้ขายในรูปของดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นผลทำให้ประเทศคู่ขัดแย้งมีความต้องการเงินดอลลาร์ศหรัฐมากขึ้น

    การสร้างสถานการณ์เพื่อทำให้เกิดสงครามยังจะเป็นผลทำให้ราคาปิโตรเลียมทั่วโลกราคาสูงขึ้น และทำให้ดึงความมั่งคั่งของโลกมาซื้อทรัพยากรปิโตรเลียมของสหรัฐอเมริกามากขึ้น

    ตัวอย่างสมรภูมิที่เกิดขึ้นระหว่างยูเครน กับรัสเซีย ชี้ชัดว่าสหรัฐอเมริการสามารถทำกำไรอย่างมหาศาลทั้งจากธุรกิจอาวุธ ยุทโธปกรณ์ และธุรกิจน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการสมรู้ร่วมคิดสนับสนุนอิสราเอลเพื่อก่อสงครามในตะวันออกลาง ก็เพื่อเร่งการซื้ออาวุธ ยุทโธปกรณ์ ให้มากขึ้น

    อย่างไรก็ตามแสนยานุภาพของมหาอำนาจหลายขั้วอยู่ในระดับที่ไม่แพ้กัน ทำให้การก่อสงครามด้วยสหรัฐอเมริกาเป็นลักษณะของการจำกัดพื้นที่ ”ในประเทศอื่นๆ“ และให้มีความยืดเยื้อ และมีเป้าหมายในการทำลายแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ

    หนทางที่สอง “ก่อโรคระบาดใหม่” เพื่อทำให้ทุกประเทศต้องก่อหนี้สินมหาศาลในการช่วยเหลือประชาชน หากล้มละลาย และยังเป็นการดูดความมั่งคั่งเหล่านี้ไปซื้อวัคซีน และยารักษาโรคจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป

    หากประเทศเหล่านั้นยากจนเงินไม่เพียงพอ ก็ต้องให้มีการกู้ยืมเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งก็เป็นหนทางในการบีบให้ต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐในประเทศนั้นๆอยู่ดี

    และเป็นที่แน่ชัดว่า เมื่อธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินดอลลาร์สหรัฐ ย่อมเท่ากับยอมรับว่าไม่สามารถใช้อัตราดอกเบี้ยสูงในการรักษาการยอมรับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา “แบบสันติวิธี” ได้นานกว่านี้ได้แล้ว

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้อมูลของดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐได้พิสูจน์ว่าสถานการณ์ความขัดแย้งในระดับที่ก่อสงคราม หรือการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลทำให้เกิดการก่อหนี้อันมหาศาลของหลายประเทศนั้น ได้ส่งผลดำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สูงขึ้นอย่างชัดเจน และยังคงเป็นยุทธวิธีที่ดำรงสถานภาพของเงินดอลลาร์สหรัฐได้[4]

    โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง[4] สถานการณ์นี้เป็นตัวนบีบเงื่อนไขในรักษาเงินดอลลาร์ “มีเวลาน้อยลง” เรื่อยๆ

    ดังนั้นโลกกำลังเข้าสู่ความเสี่ยงในการเร่งทำสงครามจำกัดพื้นที่แต่ยืดเยื้ออย่างชัดเจนขึ้น โดยมีเป้าหมายในการทำลาายแหล่งปิโตรเลียมของประเทศที่ออกจากการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ

    แต่หากความเสียหายเกิดขึ้นเกินกว่าที่ประเทศที่ถูกอิสราเอลหรือนาโต้จะรับได้ ทั้งต่อประเทศในตะวันออกกลางคู่ขัดแย้งกับอิสราเอล หรือ การทำสงครามรัสเซียกับยูเครนก็ตาม “ความยืดเยื้อ” ในระหว่างประเทศอาจถูกทำให้ยุติ ได้ด้วยการตอบโต้ที่รุนแรงและเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงในการทำสงครามด้วยอาวุธนิวเคลียร์ด้วย

    ซึ่งเชื่อว่าประเทศมหาอำนาจทั่วโลกพยายามยับยั้งชั่งใจไม่ให้สถานการณ์บานปลายไปสู่สงครามที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์​

    เพราะหากถึงจุดนั้น ก็เท่ากับสงครามต้อง “หมดยก” และต้องยุติลงด้วยชัยชนะหรือพ่ายแพ้กันไปข้างหนึ่ง และทำให้สงครามเศรษฐกิจที่เพิ่มความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐต้องยุติลงฉับพลันเช่นกัน

    เมื่อสถานการณ์การเร่งสถานการณ์สงครามมีความเสี่ยงที่ทุกฝ่ายต้องยับยั้งชั่งใจในมิติการก่อสงคราม จึงเหลืออีกหนทางหนึ่งคือ “การก่อโรคระบาด” ที่อาจจะเป็นหนทางสุดท้ายที่ทำให้ทั่วโลกต้องมาหาเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกามาซื้อวัคซีนหรือยารักษาโรคที่มีราคาแพงจากสหรัฐอเมริกา

    ในสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์-เศรษฐกิจเป็นเช่นนี้ ประเทศไทยควรจะมีผู้นำที่มาชี้นำทางความคิดในการเตรียมตัวในการรับมือกับสถานการณสงครามโลก สงครามโรค ในสงครามความโลภทั้งหลาย

    โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมทางด้าน ”ความมั่นคงทางพลังงาน, ความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงทางยาสมุนไพรเพื่อการพี่งพาตนเอง“

    เอาจริงๆแล้วยังไม่เห็นรัฐบาลเตรียมความพร้อมในเรื่องเหล่านี้เลย

    ด้วยความปรารถนาดี
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    4 ตุลาคม 2567

    อ้างอิง
    [1] INTERNATIONAL MONETARY FUND, Total IMF Credit Outstanding �Movement From September 01, 2024 to October 01
    https://www.imf.org/external/np/fin/tad/balmov2.aspx?type=TOTAL

    [2] INTERNATIONAL MONETARY FUND, Currency Composition of Official Foreign Exchange Reserve (COFER), World allocated Reserves by Currency for 2023 Q2
    https://data.imf.org/?sk=e6a5f467-c14b-4aa8-9f6d-5a09ec4e62a4

    [3] Peterson G. Foundation, What is the National Debt Today?,
    https://www.pgpf.org/national-debt-clock?gad_source=1&gbraid=0AAAAABdefgYCJ8Ko6Ivna9fcfHx0Y_lqt&gclid=EAIaIQobChMIhbGExczxiAMVyqpLBR2NuhvEEAAYASAAEgJXjvD_BwE

    [4] marketwatch, US Dollar Index(DXY)
    https://www.marketwatch.com/investing/index/dxy
    ยิ่งไม่สามารถใช้ดอกเบี้ยสูงตรึงเงินดอลลาร์ได้ ยิ่งเร่งสงครามโลกและสงครามโรคเร็วขึ้น/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ความขัดแย้งกันในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์นั้น ต้องพิจารณาในยุคนี้ด้วยว่า นอกจากมาตรการตอบโต้กันทางด้านการเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ สงครรามทุนระหว่างประเทศ สงครามค่าเงิน ถึงขนาดที่เรียกว่าเรื่องนี้อาจมีจุดจบที่ต้องมีฝ่ายใดแพ้หรือฝ่ายใดชนะกันไปข้างหนึ่ง โดยเฉพาะสถานภาพของเงินสกุลสหรัฐอเมริกา ก็ไม่สามารถดำรงสถานภาพเป็นเงินสกุลหลักของโลกได้เหมือนเดิมอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าขายปิโตรเลียมที่ไม่ได้ยึถถือเงินสกุลดอลลาร์ (ปิโตรดอลลาร์)แต่เพียงสกุลเดียวได้เหมือนเดิม แต่ถึงกระนั้นสหรัฐอเมริกาก็เลือกหนทางในการทำให้เกิดการโจมตีแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช่พันธมิตรอเมริกาทั่วโลก เพื่อให้ราคาปิโตรเลียมของธุรกิจในเครือสหรัฐอเมริกายังคงดำรงสถานภาพปิโตรดอลลาร์ต่อไป อย่างไรก็ตามการเปลี่ยแปลงเงินสกุลหลักของโลกแม้จะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ก็ยังมีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงแบบยืดเยื้อ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ยังคงใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเครื่องมือเป็นเงินกู้เข้าแทรกแซงช่วยเหลืออยู่หลายประเทศ โดยสถานภาพของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นเจ้าหนี้ของประเทศต่างๆที่มีพันธะผูกพันจำนวน 94 ประเทศ มีมูลค่าหนี้คงค้างกว่า 112 ล้านเหรียญสหรัฐ[1] นอกจากนั้นทุนสำรองระหว่างประเทศของทุกประเทศทั่วโลกยังคงเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกามากถึงร้อยละ 54.06[2] โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปพันธบัตรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็กลายเป็นประเทศที่ออกพันธบัตรก่อหนี้มหาศาลมากถึง 35 ล้านล้านเหรียญสหรัฐแล้ว[3] โดยยังไม่เพียงแค่ปัญหาว่าสหรัฐอเมริกาจะมีทางว่าจะชำระหนี้คืนได้อย่างไรเท่านั้น แต่ยังไม่มีแนวโน้มว่าสหรัฐอเมริกาจะหยุดการก่อหนี้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร การที่สหรัฐอเมริกาก่อหนี้อย่างมหาศาล อีกทั้งธนาคารกลางหลายประเทศเทขายพันธบัตรสหรัฐอเมริกา ส่งผลทำให้ปริมาณอุปทานเงินดอลลาร์สหรัฐล้นระบบเกินความต้องการของอุปสงค์เงินดอลลาร์สหรัฐในตลาดเงิน และทำให้ธนาคารกลางได้เพิ่มสัดส่วนเงินสกุลของคู่ค้าประเทศอื่นๆและทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาที่แท้จริงในเรื่องนี้คือปัญหา “ความไม่เชื่อมั่น” ในเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ที่ก่อหนี้ไม่หยุด หรือไม่หยุดการพิมพ์ธนบัตรดอลลาร์ออกมาโดยที่ไม่มีอะไรหนุนหลัง ส่งผลทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐเสื่อมค่าลง ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ข้าวยากหมากแพง และทำให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาต้องตัดสินใจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลานานในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อดึงเงินจากทั่วโลกให้ยังคงรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐให้เป็นที่ต้องการในทุนสำรองระหว่างประเทศต่อไป แต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงของสหรัฐอเมริกา กลับทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจอีกด้านหนึ่ง ด้วยเพราะทำให้ธุรกิจเอกชนในสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง หนี้สินครัวเรือน และหนี้สินส่วนบุคคลเพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่การก่อหนี้เสีย ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อสถานภาพธนาคารในสหรัฐอเมริกาด้วย ปรากฏการณ์เพียงแค่ธนาคารกลางผ่อนปรนลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคาคารกลางลงเท่านั้น เม็ดเงินทั่วโลกก็ได้ทยอยเทขายทรัพย์สินในเงินดอลลาร์สหรัฐไหลไปสู่ทรัพย์สินที่มั่นคงกว่าทันที และทำให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอ่อนลงฉับพลันและยังมีแนวโน้มว่าจะเสื่อมค่าอย่างต่อเนื่องด้วย และนั่นทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐถูกเปลี่ยนมาลงทุนหุ้นในภูมิภาคเอเชีย และทำให้ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง ค่าเงินสกุลหลายประเทศในเอเชียจึงแข็งค่าขึ้น โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีธนาคารแห่งประเทศไทยใช้นโยบายเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศติดอันดับโลก ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นเป็นเป้าหมายในการลงทุนไปด้วย ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นทะยานต่อเนื่อง และค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือเงินดอลลาร์ที่กำลังเสื่อมค่าถูกนำมาแปลงสภาพผ่านทุนเคลื่อนย้ายสุทธิเข้าในตลาดหุ้น กองทุน หรือพันธบัตรในเอเชีย ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางของประเทศที่เป็นเป้าหมายในการลงทุนกลับยิ่งมีเงินดอลลาร์ในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางต้องเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินทองคำเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ราคาทองคำจึงมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และเมื่อมีแนวโน้มว่าอิสราเอลจะตั้งเป้าโจมตีทำลายแหล่งปิโตรเลียมอิหร่าน ก็ยิ่งทำให้ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั่วโลกราคาเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ด้วยเพราะธนาคารกลางของหลายประเทศทั่วโลกพยายามจะได้พยายามลดการถือครองพันธบัตร เพื่อหวังจะทำให้การเปลี่ยนสัดส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศจากเงินดอลลาร์สหรัฐให้น้อยลง แล้วเปลี่ยนเป็นสกุลเงินอื่นๆ หรือทองคำนั้นให้มากขึ้นนั้น เป็นการคิดพร้อมๆกันของหลายประเทศทั่วโลก จึงทำให้หลายประเทศไม่สามารถจะเปลี่ยนได้ตามใจชอบ อย่างไรก็ตามประเทศใดมีทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีเงินดอลลาร์สหรัฐมากขึ้นเท่าไหร่ ย่อมเท่ากับว่าประเทศนั้นถือครองทรัพย์สินที่อ่อนค่าลงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งก็ย่อมทำให้สกุลเงินในประเทศที่มีทรัพย์สินเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐด้อยค่าไปด้วยอยู่ดี เมื่อถึงสถานการณ์ที่นโยบายดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางกลายเป็นข้อจำกัด และถูกบีบให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง หากสหรัฐอเมริกาจะยังคงสถานภาพเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อไปได้ ก็ต่อเมื่อต้องบีบให้ทุกประเทศทั่วโลกมีความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาให้มากที่สุด สถานการณ์ใกล้ตีบตันแล้ว จึงเหลือหนทางแค่ 2 ทางเท่านั้น หนทางที่หนึ่ง คือ “ก่อสงคราม” เพื่อทำให้ประเทศที่มีสงครามต้องสั่งซื้อ สั่งผลิต อาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐอเมริกาให้มากขึ้น และเมื่ออาวุธ ยุทโธปกรณ์เหล่านี้ขายในรูปของดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นผลทำให้ประเทศคู่ขัดแย้งมีความต้องการเงินดอลลาร์ศหรัฐมากขึ้น การสร้างสถานการณ์เพื่อทำให้เกิดสงครามยังจะเป็นผลทำให้ราคาปิโตรเลียมทั่วโลกราคาสูงขึ้น และทำให้ดึงความมั่งคั่งของโลกมาซื้อทรัพยากรปิโตรเลียมของสหรัฐอเมริกามากขึ้น ตัวอย่างสมรภูมิที่เกิดขึ้นระหว่างยูเครน กับรัสเซีย ชี้ชัดว่าสหรัฐอเมริการสามารถทำกำไรอย่างมหาศาลทั้งจากธุรกิจอาวุธ ยุทโธปกรณ์ และธุรกิจน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการสมรู้ร่วมคิดสนับสนุนอิสราเอลเพื่อก่อสงครามในตะวันออกลาง ก็เพื่อเร่งการซื้ออาวุธ ยุทโธปกรณ์ ให้มากขึ้น อย่างไรก็ตามแสนยานุภาพของมหาอำนาจหลายขั้วอยู่ในระดับที่ไม่แพ้กัน ทำให้การก่อสงครามด้วยสหรัฐอเมริกาเป็นลักษณะของการจำกัดพื้นที่ ”ในประเทศอื่นๆ“ และให้มีความยืดเยื้อ และมีเป้าหมายในการทำลายแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หนทางที่สอง “ก่อโรคระบาดใหม่” เพื่อทำให้ทุกประเทศต้องก่อหนี้สินมหาศาลในการช่วยเหลือประชาชน หากล้มละลาย และยังเป็นการดูดความมั่งคั่งเหล่านี้ไปซื้อวัคซีน และยารักษาโรคจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป หากประเทศเหล่านั้นยากจนเงินไม่เพียงพอ ก็ต้องให้มีการกู้ยืมเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งก็เป็นหนทางในการบีบให้ต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐในประเทศนั้นๆอยู่ดี และเป็นที่แน่ชัดว่า เมื่อธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินดอลลาร์สหรัฐ ย่อมเท่ากับยอมรับว่าไม่สามารถใช้อัตราดอกเบี้ยสูงในการรักษาการยอมรับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา “แบบสันติวิธี” ได้นานกว่านี้ได้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้อมูลของดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐได้พิสูจน์ว่าสถานการณ์ความขัดแย้งในระดับที่ก่อสงคราม หรือการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลทำให้เกิดการก่อหนี้อันมหาศาลของหลายประเทศนั้น ได้ส่งผลดำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สูงขึ้นอย่างชัดเจน และยังคงเป็นยุทธวิธีที่ดำรงสถานภาพของเงินดอลลาร์สหรัฐได้[4] โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง[4] สถานการณ์นี้เป็นตัวนบีบเงื่อนไขในรักษาเงินดอลลาร์ “มีเวลาน้อยลง” เรื่อยๆ ดังนั้นโลกกำลังเข้าสู่ความเสี่ยงในการเร่งทำสงครามจำกัดพื้นที่แต่ยืดเยื้ออย่างชัดเจนขึ้น โดยมีเป้าหมายในการทำลาายแหล่งปิโตรเลียมของประเทศที่ออกจากการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ แต่หากความเสียหายเกิดขึ้นเกินกว่าที่ประเทศที่ถูกอิสราเอลหรือนาโต้จะรับได้ ทั้งต่อประเทศในตะวันออกกลางคู่ขัดแย้งกับอิสราเอล หรือ การทำสงครามรัสเซียกับยูเครนก็ตาม “ความยืดเยื้อ” ในระหว่างประเทศอาจถูกทำให้ยุติ ได้ด้วยการตอบโต้ที่รุนแรงและเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงในการทำสงครามด้วยอาวุธนิวเคลียร์ด้วย ซึ่งเชื่อว่าประเทศมหาอำนาจทั่วโลกพยายามยับยั้งชั่งใจไม่ให้สถานการณ์บานปลายไปสู่สงครามที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์​ เพราะหากถึงจุดนั้น ก็เท่ากับสงครามต้อง “หมดยก” และต้องยุติลงด้วยชัยชนะหรือพ่ายแพ้กันไปข้างหนึ่ง และทำให้สงครามเศรษฐกิจที่เพิ่มความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐต้องยุติลงฉับพลันเช่นกัน เมื่อสถานการณ์การเร่งสถานการณ์สงครามมีความเสี่ยงที่ทุกฝ่ายต้องยับยั้งชั่งใจในมิติการก่อสงคราม จึงเหลืออีกหนทางหนึ่งคือ “การก่อโรคระบาด” ที่อาจจะเป็นหนทางสุดท้ายที่ทำให้ทั่วโลกต้องมาหาเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกามาซื้อวัคซีนหรือยารักษาโรคที่มีราคาแพงจากสหรัฐอเมริกา ในสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์-เศรษฐกิจเป็นเช่นนี้ ประเทศไทยควรจะมีผู้นำที่มาชี้นำทางความคิดในการเตรียมตัวในการรับมือกับสถานการณสงครามโลก สงครามโรค ในสงครามความโลภทั้งหลาย โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมทางด้าน ”ความมั่นคงทางพลังงาน, ความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงทางยาสมุนไพรเพื่อการพี่งพาตนเอง“ เอาจริงๆแล้วยังไม่เห็นรัฐบาลเตรียมความพร้อมในเรื่องเหล่านี้เลย ด้วยความปรารถนาดี ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 4 ตุลาคม 2567 อ้างอิง [1] INTERNATIONAL MONETARY FUND, Total IMF Credit Outstanding �Movement From September 01, 2024 to October 01 https://www.imf.org/external/np/fin/tad/balmov2.aspx?type=TOTAL [2] INTERNATIONAL MONETARY FUND, Currency Composition of Official Foreign Exchange Reserve (COFER), World allocated Reserves by Currency for 2023 Q2 https://data.imf.org/?sk=e6a5f467-c14b-4aa8-9f6d-5a09ec4e62a4 [3] Peterson G. Foundation, What is the National Debt Today?, https://www.pgpf.org/national-debt-clock?gad_source=1&gbraid=0AAAAABdefgYCJ8Ko6Ivna9fcfHx0Y_lqt&gclid=EAIaIQobChMIhbGExczxiAMVyqpLBR2NuhvEEAAYASAAEgJXjvD_BwE [4] marketwatch, US Dollar Index(DXY) https://www.marketwatch.com/investing/index/dxy
    Like
    Love
    Yay
    85
    7 ความคิดเห็น 5 การแบ่งปัน 2250 มุมมอง 1 รีวิว
  • เฮ! กรมการแพทย์ ยอมคืนฟ้าทะลายโจรให้กับผู้ป่วยโควิด-19 แล้ว /ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    ช่วงบ่ายเมื่อวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2567 ได้มีการประชุมคณะกรรมการโควิด-19 ปรากฏว่ามีผู้เข้าร่วมประชุมน้อยมาก…

    เนื่องด้วยมีกรรมการหลายท่านชิงตัดหน้าลาออกก่อนวันประชุมและไม่เข้าประชุม

    ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อหวังทำให้องค์ประชุมไม่ครบ?

    หรือทำให้ไม่สามารถคืนฟ้าทะลายโจรได้สำเร็จ?

    หรือเป็นการประท้วงต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่จะเอาฟ้าทะลายโจรกลับคืนมา?

    หรือเป็นการแสดงความรับผิดชอบในความผิดของตัวเอง?

    หรือจะเป็นไปเพื่อหนีปัญหาไม่ต้องการตอบคำถามหนังสือร้องเรียนเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 ของ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก และ อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก ร่วมกับคุณรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภาที่สอบถามถึงความผิดปกติในการตัดฟ้าทะลายโจรออกจากทุกขั้นตอนในคู่มือแพทย์ที่เรียกว่า

    “แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สําหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 28 วันที่ 5 มิถุนายน 2567”[1]

    โดยในการประชุมวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2567 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้มาเป็นประธานในที่ประชุมด้วยตัวเอง โดยการดำเนินการประชุมเป็นไปโดยรวดเร็ว ใช้เวลาไม่นาน เพื่อสรุปแจ้งต่อที่ประชุมให้ทราบว่า

    1.เนื่องด้วยมติที่ประชุมกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2567 ได้ยกเลิกแนวเวชปฏิบัติในการรักษาโควิด-19 ที่ประกาศโดยกรมการแพทย์ฉบับประกาศเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2567 แล้ว ด้วยเพราะไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของ “EOC” หรือ ศูนย์ปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉิน จึงย่อมไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากกระทรวงสาธารณสุข จึงขอให้กลับไปใช้แนวเวชปฏิบัติในการรักษาโควิด-19 ฉบับเดิมก่อนหน้า คือฉบับปรับปรุงครั้งที่ 27 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566

    ซึ่งการย้อนกลับไปใช้แนวเวชปฏิบัติในการรักษาโควิด-19 ฉบับวันที่ 18 เมษายน 2566 นั้น ได้มียาฟ้าทะลายโจรอยู่ในขั้นตอนการรักษาในตารางที่ 2 ระบุในส่วนของยาฟ้าทะลายโจรว่า

    “เริ่มยาเร็วที่สุดหลังการติดเชื้อ SARS-CoV-2“[2]

    2.นอกจากนั้นที่ประชุมจึงได้ขอให้ รศ.นพ. ภิรุญ มุตสิกพันธุ์ นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย อนุสาขาวิชาโรคติดเชื้อและเวชศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้คัดสรรคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดใหม่แทนผู้ที่ลาออกไปทั้งหมด

    ต่อมาในเวลากลางคืน เว็บไซต์ของกรมการแพทย์ ที่เคยเผยแพร่แนวเวชปฏิบัติ ฉบับเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2567 ในลิงค์เดิมเมื่อกดเข้าไปดูก็พบว่า แนวเวชปฏิบัติฉบับนี้ที่ได้ตัดฟ้าทะลายโจรออกตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2567 นั้น ได้มีการขึ้นข้อมูลที่มีการคาดตัวอักษรแดงลงข้อความทุกหน้าเป็นครั้งแรกในรอบ 58 วัน ความว่า

    “ยกเลิกตามมติที่ประชุมกระทรวงสาธารณสุข Tuesday Morning Meeting (TMM) วันที่ 30 ก.ค.2567 ขอให้ใช้ดูแลรักษา ฉบับวันที่ 18 เมษายน 2566 แทน“ ตามลิงค์ด้านล่างนี้

    https://eid.dms.go.th/Content/Select_Eid_Landding_page?contentId=182&bannerId=1

    แปลว่านับตั้งแต่เย็นวันที่ 2 สิงหาคม 2567 ฟ้าทะลายโจรได้กลับคืนสู่แนวเวชปฏิบัติสำหรับโรคโควิด-19 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 27 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 ในโรงพยาบาลทั่วประเทศแล้ว หลังจากที่ผู้ป่วยเสียโอกาสในการได้รับยาฟ้าทะลายโจรที่หายไปจากเวชปฏิบัตินานถึง “58 วัน”

    นับตั้งแต่เช้าวันที่ 3 สิงหาคม 2567 ผู้ป่วยทุกคนสามารถทวงสิทธิของตัวเองในการได้รับยาฟ้าทะลายโจรที่ต้อง “เริ่มยาเร็วที่สุดหลังการติดเชื้อโควิด-19“

    ในโอกาสนี้จึงต้องขอขอบคุณนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายกองตรี ดร. ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบาย อันเป็นผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

    ขอขอบคุณแพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์ ที่แม้จะเป็นผู้ที่ได้ออกประกาศแนวเวชปฏิบัติฉบับวันที่ 5 มิถุนายน 2567 ให้ตัดฟ้าทะลายโจรออกจากทุกขั้นตอนการรักษาโควิด-19 เป็นเวลานานถึง 58 วันภายใต้แรงกดดันรอบด้านก็ตาม แต่ในท้ายที่สุดก็เป็นผู้ที่ยอมแก้ไขเปลี่ยนแนวเวชปฏิบัติคืนฟ้าทะลายโจรให้ผู้ป่วยได้เมื่อคืนนี้

    ขอขอบคุณศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก คุณรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา รวมถึงทีมงานทุกคนใน บริษัท กฎหมายอรุณอัมรินทร์ จำกัด ที่ร่วมประชุม หารือการออกแบบขั้นตอนทางเอกสารและทางกฎหมาย และการให้ความรู้ประชาชนเพื่อนำไปสู่การกดดันทวงคืนฟ้าทะลายโจรจนประสบความสำเร็จในครั้งนี้

    อีกทั้งยังต้องขอบคุณพี่น้องประชาชนและทีมงานวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ได้ช่วยเตรียมงานและมาให้กำลังใจในการยื่นหนังสือจนบรรลุภารกิจครั้งนี้ด้วย

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังต้องขอขอบคุณนักวิชาการ นักวิจัย รวมถึงข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุข“จำนวนมาก” ที่มีจิตใจที่เป็นธรรมต่อพี่น้องประชาชนและประเทศชาติ แม้จะเปิดเผยตัวไม่ได้ แต่ก็คอยให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้และความจริง จนทำให้เกิดความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ทีมงานสนธิทอล์ค ผู้เป็นปากกระบอกเสียงออกแรงที่วิพากษ์วิจารณ์และด่าอย่างหนักในเรื่องนี้แทนพวกเราอย่างต่อเนื่องหลายสัปดาห์ จนสั่นสะเทือนต่อผู้เกี่ยวข้องและมีผลอย่างมีนัยยะสำคัญทำให้เกิดการเปลี่ยนในวันนี้

    ยังไม่นับสื่อมวลชนทุกท่านที่ได้นำเสนอข่าว ที่พวกผมได้มายื่นหนังสือการทวงคืนฟ้าทะลายโจรตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นมา

    ความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะยังคงมีสมุนไพรที่เป็นความมั่นคงทางยาในการพึ่งพาตัวเอง ที่จะไม่ยินยอมให้ใครมาทำลายได้โดยง่าย และจะเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อทำให้ประเทศไทยได้ตระหนักรู้ ในการรักษาและพัฒนาภูมิปัญญาของชาติเพื่อนำพาประเทศให้รอดพ้นจากการล่าอาณานิคมทางเศรษฐกิจสุขภาพในวันข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    3 สิงหาคม 2567
    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1024251249068575/?

    อ้างอิง
    [1] กรมการแพทย์, แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สําหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 28, วันที่ 5 มิถุนายน 2567
    https://eid.dms.go.th/Content/Select_Eid_Landding_page?contentId=182&bannerId=1

    [2]กรมการแพทย์, แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สําหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข, ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 27 วันที่ 18 เมษายน 2566
    https://covid19.dms.go.th/backend///Content//Content_File/Covid_Health/Attach/25660418150721PM_CPG_COVID-19_v.27_n_18042023.pdf
    เฮ! กรมการแพทย์ ยอมคืนฟ้าทะลายโจรให้กับผู้ป่วยโควิด-19 แล้ว /ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ช่วงบ่ายเมื่อวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2567 ได้มีการประชุมคณะกรรมการโควิด-19 ปรากฏว่ามีผู้เข้าร่วมประชุมน้อยมาก… เนื่องด้วยมีกรรมการหลายท่านชิงตัดหน้าลาออกก่อนวันประชุมและไม่เข้าประชุม ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อหวังทำให้องค์ประชุมไม่ครบ? หรือทำให้ไม่สามารถคืนฟ้าทะลายโจรได้สำเร็จ? หรือเป็นการประท้วงต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่จะเอาฟ้าทะลายโจรกลับคืนมา? หรือเป็นการแสดงความรับผิดชอบในความผิดของตัวเอง? หรือจะเป็นไปเพื่อหนีปัญหาไม่ต้องการตอบคำถามหนังสือร้องเรียนเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 ของ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก และ อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก ร่วมกับคุณรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภาที่สอบถามถึงความผิดปกติในการตัดฟ้าทะลายโจรออกจากทุกขั้นตอนในคู่มือแพทย์ที่เรียกว่า “แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สําหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 28 วันที่ 5 มิถุนายน 2567”[1] โดยในการประชุมวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2567 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้มาเป็นประธานในที่ประชุมด้วยตัวเอง โดยการดำเนินการประชุมเป็นไปโดยรวดเร็ว ใช้เวลาไม่นาน เพื่อสรุปแจ้งต่อที่ประชุมให้ทราบว่า 1.เนื่องด้วยมติที่ประชุมกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2567 ได้ยกเลิกแนวเวชปฏิบัติในการรักษาโควิด-19 ที่ประกาศโดยกรมการแพทย์ฉบับประกาศเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2567 แล้ว ด้วยเพราะไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของ “EOC” หรือ ศูนย์ปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉิน จึงย่อมไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากกระทรวงสาธารณสุข จึงขอให้กลับไปใช้แนวเวชปฏิบัติในการรักษาโควิด-19 ฉบับเดิมก่อนหน้า คือฉบับปรับปรุงครั้งที่ 27 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 ซึ่งการย้อนกลับไปใช้แนวเวชปฏิบัติในการรักษาโควิด-19 ฉบับวันที่ 18 เมษายน 2566 นั้น ได้มียาฟ้าทะลายโจรอยู่ในขั้นตอนการรักษาในตารางที่ 2 ระบุในส่วนของยาฟ้าทะลายโจรว่า “เริ่มยาเร็วที่สุดหลังการติดเชื้อ SARS-CoV-2“[2] 2.นอกจากนั้นที่ประชุมจึงได้ขอให้ รศ.นพ. ภิรุญ มุตสิกพันธุ์ นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย อนุสาขาวิชาโรคติดเชื้อและเวชศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้คัดสรรคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดใหม่แทนผู้ที่ลาออกไปทั้งหมด ต่อมาในเวลากลางคืน เว็บไซต์ของกรมการแพทย์ ที่เคยเผยแพร่แนวเวชปฏิบัติ ฉบับเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2567 ในลิงค์เดิมเมื่อกดเข้าไปดูก็พบว่า แนวเวชปฏิบัติฉบับนี้ที่ได้ตัดฟ้าทะลายโจรออกตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2567 นั้น ได้มีการขึ้นข้อมูลที่มีการคาดตัวอักษรแดงลงข้อความทุกหน้าเป็นครั้งแรกในรอบ 58 วัน ความว่า “ยกเลิกตามมติที่ประชุมกระทรวงสาธารณสุข Tuesday Morning Meeting (TMM) วันที่ 30 ก.ค.2567 ขอให้ใช้ดูแลรักษา ฉบับวันที่ 18 เมษายน 2566 แทน“ ตามลิงค์ด้านล่างนี้ https://eid.dms.go.th/Content/Select_Eid_Landding_page?contentId=182&bannerId=1 แปลว่านับตั้งแต่เย็นวันที่ 2 สิงหาคม 2567 ฟ้าทะลายโจรได้กลับคืนสู่แนวเวชปฏิบัติสำหรับโรคโควิด-19 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 27 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 ในโรงพยาบาลทั่วประเทศแล้ว หลังจากที่ผู้ป่วยเสียโอกาสในการได้รับยาฟ้าทะลายโจรที่หายไปจากเวชปฏิบัตินานถึง “58 วัน” นับตั้งแต่เช้าวันที่ 3 สิงหาคม 2567 ผู้ป่วยทุกคนสามารถทวงสิทธิของตัวเองในการได้รับยาฟ้าทะลายโจรที่ต้อง “เริ่มยาเร็วที่สุดหลังการติดเชื้อโควิด-19“ ในโอกาสนี้จึงต้องขอขอบคุณนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายกองตรี ดร. ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบาย อันเป็นผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ขอขอบคุณแพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์ ที่แม้จะเป็นผู้ที่ได้ออกประกาศแนวเวชปฏิบัติฉบับวันที่ 5 มิถุนายน 2567 ให้ตัดฟ้าทะลายโจรออกจากทุกขั้นตอนการรักษาโควิด-19 เป็นเวลานานถึง 58 วันภายใต้แรงกดดันรอบด้านก็ตาม แต่ในท้ายที่สุดก็เป็นผู้ที่ยอมแก้ไขเปลี่ยนแนวเวชปฏิบัติคืนฟ้าทะลายโจรให้ผู้ป่วยได้เมื่อคืนนี้ ขอขอบคุณศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก คุณรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา รวมถึงทีมงานทุกคนใน บริษัท กฎหมายอรุณอัมรินทร์ จำกัด ที่ร่วมประชุม หารือการออกแบบขั้นตอนทางเอกสารและทางกฎหมาย และการให้ความรู้ประชาชนเพื่อนำไปสู่การกดดันทวงคืนฟ้าทะลายโจรจนประสบความสำเร็จในครั้งนี้ อีกทั้งยังต้องขอบคุณพี่น้องประชาชนและทีมงานวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ได้ช่วยเตรียมงานและมาให้กำลังใจในการยื่นหนังสือจนบรรลุภารกิจครั้งนี้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังต้องขอขอบคุณนักวิชาการ นักวิจัย รวมถึงข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุข“จำนวนมาก” ที่มีจิตใจที่เป็นธรรมต่อพี่น้องประชาชนและประเทศชาติ แม้จะเปิดเผยตัวไม่ได้ แต่ก็คอยให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้และความจริง จนทำให้เกิดความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ทีมงานสนธิทอล์ค ผู้เป็นปากกระบอกเสียงออกแรงที่วิพากษ์วิจารณ์และด่าอย่างหนักในเรื่องนี้แทนพวกเราอย่างต่อเนื่องหลายสัปดาห์ จนสั่นสะเทือนต่อผู้เกี่ยวข้องและมีผลอย่างมีนัยยะสำคัญทำให้เกิดการเปลี่ยนในวันนี้ ยังไม่นับสื่อมวลชนทุกท่านที่ได้นำเสนอข่าว ที่พวกผมได้มายื่นหนังสือการทวงคืนฟ้าทะลายโจรตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นมา ความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะยังคงมีสมุนไพรที่เป็นความมั่นคงทางยาในการพึ่งพาตัวเอง ที่จะไม่ยินยอมให้ใครมาทำลายได้โดยง่าย และจะเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อทำให้ประเทศไทยได้ตระหนักรู้ ในการรักษาและพัฒนาภูมิปัญญาของชาติเพื่อนำพาประเทศให้รอดพ้นจากการล่าอาณานิคมทางเศรษฐกิจสุขภาพในวันข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 3 สิงหาคม 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1024251249068575/? อ้างอิง [1] กรมการแพทย์, แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สําหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 28, วันที่ 5 มิถุนายน 2567 https://eid.dms.go.th/Content/Select_Eid_Landding_page?contentId=182&bannerId=1 [2]กรมการแพทย์, แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สําหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข, ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 27 วันที่ 18 เมษายน 2566 https://covid19.dms.go.th/backend///Content//Content_File/Covid_Health/Attach/25660418150721PM_CPG_COVID-19_v.27_n_18042023.pdf
    Like
    Love
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 3245 มุมมอง 1 รีวิว
  • #ตำรับยา #กัญชา #รักษาโรค
    #หมอที่ดีที่สุดคือตัวเราเอง #แพทย์แผนไทย #ความมั่นคงทางยา
    #ตำรับยา #กัญชา #รักษาโรค #หมอที่ดีที่สุดคือตัวเราเอง #แพทย์แผนไทย #ความมั่นคงทางยา
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 619 มุมมอง 0 รีวิว
  • ร่างประกาศ สธ.ฉบับ อ.ปานเทพ ปมกัญชากลับเป็นยาเสพติด 12/07/67
    #อ.ปานเทพ #กัญชา #ยาเสพติด #สาธารณสุข #แพทย์แผนไทย #สมุนไพร #ตำรับยา #ความมั่นคงทางยา #พึ่งตนเอง
    https://youtu.be/Aa-O3ywVhIk?si=gKZRxOIOg5s8TFts
    ร่างประกาศ สธ.ฉบับ อ.ปานเทพ ปมกัญชากลับเป็นยาเสพติด 12/07/67 #อ.ปานเทพ #กัญชา #ยาเสพติด #สาธารณสุข #แพทย์แผนไทย #สมุนไพร #ตำรับยา #ความมั่นคงทางยา #พึ่งตนเอง https://youtu.be/Aa-O3ywVhIk?si=gKZRxOIOg5s8TFts
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1759 มุมมอง 0 รีวิว