เฮ! กรมการแพทย์ ยอมคืนฟ้าทะลายโจรให้กับผู้ป่วยโควิด-19 แล้ว /ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

ช่วงบ่ายเมื่อวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2567 ได้มีการประชุมคณะกรรมการโควิด-19 ปรากฏว่ามีผู้เข้าร่วมประชุมน้อยมาก…

เนื่องด้วยมีกรรมการหลายท่านชิงตัดหน้าลาออกก่อนวันประชุมและไม่เข้าประชุม

ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อหวังทำให้องค์ประชุมไม่ครบ?

หรือทำให้ไม่สามารถคืนฟ้าทะลายโจรได้สำเร็จ?

หรือเป็นการประท้วงต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่จะเอาฟ้าทะลายโจรกลับคืนมา?

หรือเป็นการแสดงความรับผิดชอบในความผิดของตัวเอง?

หรือจะเป็นไปเพื่อหนีปัญหาไม่ต้องการตอบคำถามหนังสือร้องเรียนเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 ของ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก และ อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก ร่วมกับคุณรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภาที่สอบถามถึงความผิดปกติในการตัดฟ้าทะลายโจรออกจากทุกขั้นตอนในคู่มือแพทย์ที่เรียกว่า

“แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สําหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 28 วันที่ 5 มิถุนายน 2567”[1]

โดยในการประชุมวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2567 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้มาเป็นประธานในที่ประชุมด้วยตัวเอง โดยการดำเนินการประชุมเป็นไปโดยรวดเร็ว ใช้เวลาไม่นาน เพื่อสรุปแจ้งต่อที่ประชุมให้ทราบว่า

1.เนื่องด้วยมติที่ประชุมกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2567 ได้ยกเลิกแนวเวชปฏิบัติในการรักษาโควิด-19 ที่ประกาศโดยกรมการแพทย์ฉบับประกาศเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2567 แล้ว ด้วยเพราะไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของ “EOC” หรือ ศูนย์ปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉิน จึงย่อมไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากกระทรวงสาธารณสุข จึงขอให้กลับไปใช้แนวเวชปฏิบัติในการรักษาโควิด-19 ฉบับเดิมก่อนหน้า คือฉบับปรับปรุงครั้งที่ 27 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566

ซึ่งการย้อนกลับไปใช้แนวเวชปฏิบัติในการรักษาโควิด-19 ฉบับวันที่ 18 เมษายน 2566 นั้น ได้มียาฟ้าทะลายโจรอยู่ในขั้นตอนการรักษาในตารางที่ 2 ระบุในส่วนของยาฟ้าทะลายโจรว่า

“เริ่มยาเร็วที่สุดหลังการติดเชื้อ SARS-CoV-2“[2]

2.นอกจากนั้นที่ประชุมจึงได้ขอให้ รศ.นพ. ภิรุญ มุตสิกพันธุ์ นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย อนุสาขาวิชาโรคติดเชื้อและเวชศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้คัดสรรคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดใหม่แทนผู้ที่ลาออกไปทั้งหมด

ต่อมาในเวลากลางคืน เว็บไซต์ของกรมการแพทย์ ที่เคยเผยแพร่แนวเวชปฏิบัติ ฉบับเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2567 ในลิงค์เดิมเมื่อกดเข้าไปดูก็พบว่า แนวเวชปฏิบัติฉบับนี้ที่ได้ตัดฟ้าทะลายโจรออกตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2567 นั้น ได้มีการขึ้นข้อมูลที่มีการคาดตัวอักษรแดงลงข้อความทุกหน้าเป็นครั้งแรกในรอบ 58 วัน ความว่า

“ยกเลิกตามมติที่ประชุมกระทรวงสาธารณสุข Tuesday Morning Meeting (TMM) วันที่ 30 ก.ค.2567 ขอให้ใช้ดูแลรักษา ฉบับวันที่ 18 เมษายน 2566 แทน“ ตามลิงค์ด้านล่างนี้

https://eid.dms.go.th/Content/Select_Eid_Landding_page?contentId=182&bannerId=1

แปลว่านับตั้งแต่เย็นวันที่ 2 สิงหาคม 2567 ฟ้าทะลายโจรได้กลับคืนสู่แนวเวชปฏิบัติสำหรับโรคโควิด-19 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 27 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 ในโรงพยาบาลทั่วประเทศแล้ว หลังจากที่ผู้ป่วยเสียโอกาสในการได้รับยาฟ้าทะลายโจรที่หายไปจากเวชปฏิบัตินานถึง “58 วัน”

นับตั้งแต่เช้าวันที่ 3 สิงหาคม 2567 ผู้ป่วยทุกคนสามารถทวงสิทธิของตัวเองในการได้รับยาฟ้าทะลายโจรที่ต้อง “เริ่มยาเร็วที่สุดหลังการติดเชื้อโควิด-19“

ในโอกาสนี้จึงต้องขอขอบคุณนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายกองตรี ดร. ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบาย อันเป็นผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

ขอขอบคุณแพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์ ที่แม้จะเป็นผู้ที่ได้ออกประกาศแนวเวชปฏิบัติฉบับวันที่ 5 มิถุนายน 2567 ให้ตัดฟ้าทะลายโจรออกจากทุกขั้นตอนการรักษาโควิด-19 เป็นเวลานานถึง 58 วันภายใต้แรงกดดันรอบด้านก็ตาม แต่ในท้ายที่สุดก็เป็นผู้ที่ยอมแก้ไขเปลี่ยนแนวเวชปฏิบัติคืนฟ้าทะลายโจรให้ผู้ป่วยได้เมื่อคืนนี้

ขอขอบคุณศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก คุณรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา รวมถึงทีมงานทุกคนใน บริษัท กฎหมายอรุณอัมรินทร์ จำกัด ที่ร่วมประชุม หารือการออกแบบขั้นตอนทางเอกสารและทางกฎหมาย และการให้ความรู้ประชาชนเพื่อนำไปสู่การกดดันทวงคืนฟ้าทะลายโจรจนประสบความสำเร็จในครั้งนี้

อีกทั้งยังต้องขอบคุณพี่น้องประชาชนและทีมงานวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ได้ช่วยเตรียมงานและมาให้กำลังใจในการยื่นหนังสือจนบรรลุภารกิจครั้งนี้ด้วย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังต้องขอขอบคุณนักวิชาการ นักวิจัย รวมถึงข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุข“จำนวนมาก” ที่มีจิตใจที่เป็นธรรมต่อพี่น้องประชาชนและประเทศชาติ แม้จะเปิดเผยตัวไม่ได้ แต่ก็คอยให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้และความจริง จนทำให้เกิดความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ทีมงานสนธิทอล์ค ผู้เป็นปากกระบอกเสียงออกแรงที่วิพากษ์วิจารณ์และด่าอย่างหนักในเรื่องนี้แทนพวกเราอย่างต่อเนื่องหลายสัปดาห์ จนสั่นสะเทือนต่อผู้เกี่ยวข้องและมีผลอย่างมีนัยยะสำคัญทำให้เกิดการเปลี่ยนในวันนี้

ยังไม่นับสื่อมวลชนทุกท่านที่ได้นำเสนอข่าว ที่พวกผมได้มายื่นหนังสือการทวงคืนฟ้าทะลายโจรตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นมา

ความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะยังคงมีสมุนไพรที่เป็นความมั่นคงทางยาในการพึ่งพาตัวเอง ที่จะไม่ยินยอมให้ใครมาทำลายได้โดยง่าย และจะเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อทำให้ประเทศไทยได้ตระหนักรู้ ในการรักษาและพัฒนาภูมิปัญญาของชาติเพื่อนำพาประเทศให้รอดพ้นจากการล่าอาณานิคมทางเศรษฐกิจสุขภาพในวันข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน

ด้วยจิตคารวะ
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
3 สิงหาคม 2567
https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1024251249068575/?

อ้างอิง
[1] กรมการแพทย์, แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สําหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 28, วันที่ 5 มิถุนายน 2567
https://eid.dms.go.th/Content/Select_Eid_Landding_page?contentId=182&bannerId=1

[2]กรมการแพทย์, แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สําหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข, ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 27 วันที่ 18 เมษายน 2566
https://covid19.dms.go.th/backend///Content//Content_File/Covid_Health/Attach/25660418150721PM_CPG_COVID-19_v.27_n_18042023.pdf
เฮ! กรมการแพทย์ ยอมคืนฟ้าทะลายโจรให้กับผู้ป่วยโควิด-19 แล้ว /ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ช่วงบ่ายเมื่อวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2567 ได้มีการประชุมคณะกรรมการโควิด-19 ปรากฏว่ามีผู้เข้าร่วมประชุมน้อยมาก… เนื่องด้วยมีกรรมการหลายท่านชิงตัดหน้าลาออกก่อนวันประชุมและไม่เข้าประชุม ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อหวังทำให้องค์ประชุมไม่ครบ? หรือทำให้ไม่สามารถคืนฟ้าทะลายโจรได้สำเร็จ? หรือเป็นการประท้วงต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่จะเอาฟ้าทะลายโจรกลับคืนมา? หรือเป็นการแสดงความรับผิดชอบในความผิดของตัวเอง? หรือจะเป็นไปเพื่อหนีปัญหาไม่ต้องการตอบคำถามหนังสือร้องเรียนเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 ของ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก และ อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก ร่วมกับคุณรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภาที่สอบถามถึงความผิดปกติในการตัดฟ้าทะลายโจรออกจากทุกขั้นตอนในคู่มือแพทย์ที่เรียกว่า “แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สําหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 28 วันที่ 5 มิถุนายน 2567”[1] โดยในการประชุมวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2567 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้มาเป็นประธานในที่ประชุมด้วยตัวเอง โดยการดำเนินการประชุมเป็นไปโดยรวดเร็ว ใช้เวลาไม่นาน เพื่อสรุปแจ้งต่อที่ประชุมให้ทราบว่า 1.เนื่องด้วยมติที่ประชุมกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2567 ได้ยกเลิกแนวเวชปฏิบัติในการรักษาโควิด-19 ที่ประกาศโดยกรมการแพทย์ฉบับประกาศเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2567 แล้ว ด้วยเพราะไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของ “EOC” หรือ ศูนย์ปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉิน จึงย่อมไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากกระทรวงสาธารณสุข จึงขอให้กลับไปใช้แนวเวชปฏิบัติในการรักษาโควิด-19 ฉบับเดิมก่อนหน้า คือฉบับปรับปรุงครั้งที่ 27 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 ซึ่งการย้อนกลับไปใช้แนวเวชปฏิบัติในการรักษาโควิด-19 ฉบับวันที่ 18 เมษายน 2566 นั้น ได้มียาฟ้าทะลายโจรอยู่ในขั้นตอนการรักษาในตารางที่ 2 ระบุในส่วนของยาฟ้าทะลายโจรว่า “เริ่มยาเร็วที่สุดหลังการติดเชื้อ SARS-CoV-2“[2] 2.นอกจากนั้นที่ประชุมจึงได้ขอให้ รศ.นพ. ภิรุญ มุตสิกพันธุ์ นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย อนุสาขาวิชาโรคติดเชื้อและเวชศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้คัดสรรคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดใหม่แทนผู้ที่ลาออกไปทั้งหมด ต่อมาในเวลากลางคืน เว็บไซต์ของกรมการแพทย์ ที่เคยเผยแพร่แนวเวชปฏิบัติ ฉบับเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2567 ในลิงค์เดิมเมื่อกดเข้าไปดูก็พบว่า แนวเวชปฏิบัติฉบับนี้ที่ได้ตัดฟ้าทะลายโจรออกตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2567 นั้น ได้มีการขึ้นข้อมูลที่มีการคาดตัวอักษรแดงลงข้อความทุกหน้าเป็นครั้งแรกในรอบ 58 วัน ความว่า “ยกเลิกตามมติที่ประชุมกระทรวงสาธารณสุข Tuesday Morning Meeting (TMM) วันที่ 30 ก.ค.2567 ขอให้ใช้ดูแลรักษา ฉบับวันที่ 18 เมษายน 2566 แทน“ ตามลิงค์ด้านล่างนี้ https://eid.dms.go.th/Content/Select_Eid_Landding_page?contentId=182&bannerId=1 แปลว่านับตั้งแต่เย็นวันที่ 2 สิงหาคม 2567 ฟ้าทะลายโจรได้กลับคืนสู่แนวเวชปฏิบัติสำหรับโรคโควิด-19 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 27 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 ในโรงพยาบาลทั่วประเทศแล้ว หลังจากที่ผู้ป่วยเสียโอกาสในการได้รับยาฟ้าทะลายโจรที่หายไปจากเวชปฏิบัตินานถึง “58 วัน” นับตั้งแต่เช้าวันที่ 3 สิงหาคม 2567 ผู้ป่วยทุกคนสามารถทวงสิทธิของตัวเองในการได้รับยาฟ้าทะลายโจรที่ต้อง “เริ่มยาเร็วที่สุดหลังการติดเชื้อโควิด-19“ ในโอกาสนี้จึงต้องขอขอบคุณนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายกองตรี ดร. ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบาย อันเป็นผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ขอขอบคุณแพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์ ที่แม้จะเป็นผู้ที่ได้ออกประกาศแนวเวชปฏิบัติฉบับวันที่ 5 มิถุนายน 2567 ให้ตัดฟ้าทะลายโจรออกจากทุกขั้นตอนการรักษาโควิด-19 เป็นเวลานานถึง 58 วันภายใต้แรงกดดันรอบด้านก็ตาม แต่ในท้ายที่สุดก็เป็นผู้ที่ยอมแก้ไขเปลี่ยนแนวเวชปฏิบัติคืนฟ้าทะลายโจรให้ผู้ป่วยได้เมื่อคืนนี้ ขอขอบคุณศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก คุณรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา รวมถึงทีมงานทุกคนใน บริษัท กฎหมายอรุณอัมรินทร์ จำกัด ที่ร่วมประชุม หารือการออกแบบขั้นตอนทางเอกสารและทางกฎหมาย และการให้ความรู้ประชาชนเพื่อนำไปสู่การกดดันทวงคืนฟ้าทะลายโจรจนประสบความสำเร็จในครั้งนี้ อีกทั้งยังต้องขอบคุณพี่น้องประชาชนและทีมงานวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ได้ช่วยเตรียมงานและมาให้กำลังใจในการยื่นหนังสือจนบรรลุภารกิจครั้งนี้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังต้องขอขอบคุณนักวิชาการ นักวิจัย รวมถึงข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุข“จำนวนมาก” ที่มีจิตใจที่เป็นธรรมต่อพี่น้องประชาชนและประเทศชาติ แม้จะเปิดเผยตัวไม่ได้ แต่ก็คอยให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้และความจริง จนทำให้เกิดความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ทีมงานสนธิทอล์ค ผู้เป็นปากกระบอกเสียงออกแรงที่วิพากษ์วิจารณ์และด่าอย่างหนักในเรื่องนี้แทนพวกเราอย่างต่อเนื่องหลายสัปดาห์ จนสั่นสะเทือนต่อผู้เกี่ยวข้องและมีผลอย่างมีนัยยะสำคัญทำให้เกิดการเปลี่ยนในวันนี้ ยังไม่นับสื่อมวลชนทุกท่านที่ได้นำเสนอข่าว ที่พวกผมได้มายื่นหนังสือการทวงคืนฟ้าทะลายโจรตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นมา ความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะยังคงมีสมุนไพรที่เป็นความมั่นคงทางยาในการพึ่งพาตัวเอง ที่จะไม่ยินยอมให้ใครมาทำลายได้โดยง่าย และจะเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อทำให้ประเทศไทยได้ตระหนักรู้ ในการรักษาและพัฒนาภูมิปัญญาของชาติเพื่อนำพาประเทศให้รอดพ้นจากการล่าอาณานิคมทางเศรษฐกิจสุขภาพในวันข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 3 สิงหาคม 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1024251249068575/? อ้างอิง [1] กรมการแพทย์, แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สําหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 28, วันที่ 5 มิถุนายน 2567 https://eid.dms.go.th/Content/Select_Eid_Landding_page?contentId=182&bannerId=1 [2]กรมการแพทย์, แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สําหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข, ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 27 วันที่ 18 เมษายน 2566 https://covid19.dms.go.th/backend///Content//Content_File/Covid_Health/Attach/25660418150721PM_CPG_COVID-19_v.27_n_18042023.pdf
Like
4
0 Comments 0 Shares 979 Views 1 Reviews