รัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่อกลับลำข้อเสนอของเขาเกี่ยวกับการเข้ายึดฉนวนกาซา หลังมันโหมกระพือเสียงโวยวายจากทั่วโลก ในนั้นรวมถึงเลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติที่เตือนเกี่ยวกับการ "ล้างเผ่าพันธุ์" ในฉนวนปาเลสไตน์
.
หลังถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นชุดๆ จากทั้งชาวปาเลสไตน์ บรรดารัฐบาลอาหรับและพวกผู้นำโลก ทาง มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ บอกว่าการย้ายชาวกาซาใดๆ จะเป็นเพียงชั่วคราว ในขณะที่ทำเนียบขาวยืนยันว่ายังไม่มีการรับปากว่าจะส่งทหารอเมริกาเข้าไปยังฉนวนแห่งนี้
.
อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ ยืนยันว่า "ทุกคนชอบแผนนี้" ซึ่งเขาเปิดเผยในเรื่องดังกล่าวระหว่างแถลงข่าวที่ทำเนียบขาว ร่วมกับผู้มาเยือนอย่าง เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมตรีอิสราเอล
.
ในถ้อยแถลงดังกล่าว ทรัมป์ ให้รายละเอียดเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับแนวทางที่สหรัฐฯ จะโยกย้ายชาวปาเลสไตน์กว่า 2 ล้านคนออกจากฉนวนกาซาหรือแนวทางเข้าควบคุมดินแดนที่ถูกสงครามฉีกเป็นชิ้นๆ แห่งนี้ โดยเขาเพียงประกาศในวันอังคาร (4 ก.พ.) ว่า "สหรัฐฯ จะยึดฉนวนกาซาและเราจะทำอะไรบางอย่างกับมันด้วย เราจะเป็นเจ้าของมัน"
.
รูบิโอ ชี้แจงว่าความคิดดังกล่าวไม่ได้มีเจตนาเป็นปรปักษ์ ให้คำจำกัดความว่ามันเป็นความเคลื่อนไหวใจกว้าง เสนอมอบการฟื้นฟูและรับหน้าที่ของการฟื้นฟู
.
ในเวลาต่อมา คาโรไลน์ เลวิตต์ เลขานุการฝ่ายสื่อสารมวลชนของทำเนียบขาว แถลงว่าวอชิงตันจะไม่ออกทุนฟื้นฟูกาซา ตามหลังดินแดนแห่งนี้ต้องเผชิญกับสงครามระหว่างอิสราเอล พันธมิตรของสหรัฐฯ และกลุ่มนักรบปาเลสไตน์ฮามาส ที่ลากยาวมานานกว่า 15 เดือน "ความเกี่ยวข้องของอเมริกาไม่ได้หมายถึงการส่งกองกำลังไปยังภาคพื้นหรือใช้เงินผู้เสียภาษีสหรัฐฯ เป็นทุนสำหรับความพยายามดังกล่าว"
.
คำชี้แจงของทำเนียบขาวมีขึ้นหลังจาก อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ ชี้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง "รูปแบบของการล้างเผ่าพันธุ์ใดๆ" ส่วนสเตฟาน ดูจาร์ริช โฆษก อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเห็นของเลขาธิการใหญ่รายนี้ ในเวลาต่อมาในวันพุธ (5 ก.พ.) บอกกับพวกผู้สื่อข่าวว่า "การบีบบังคับผู้คนโยกย้ายถิ่นฐาน เทียบเท่ากับเป็นการกวาดล้างเผ่าพันธุ์"
.
ในเวลาต่อมา เลวิตต์ บอกว่า ทรัมป์ เพียงต้องการให้ชาวปาเลสไตน์แค่ย้ายออกจากกาซาเป็นการชั่วคราว "เวลานี้มันกลายเป็นสถานที่ที่ถูกทำลายล้าง มันไม่ใช่สถานที่ที่เหมาะสำหรับการอยู่อาศัย"
.
เจ้าหน้าที่ปาเลสไตน์ พวกผู้นำโลกอาหรับและกลุ่มสิทธิมนุษยชนทั้งหลายออกมาประณามความคิดเห็นของทรัมป์อย่างรวดเร็ว ส่วน ฮามาส ที่ยึดครองควบคุมกาซาในปี 2007 ปฏิเสธข้อเสนอนี้ ตราหน้ามันว่าเป็นการเหยียดเชื้อชาติ รุกรานและซ้ำเติมสถานการณ์
.
สงครามที่โหมกระพือขึ้นจากการที่พวกฮามาสบุกโจมตีเล่นงานอิสราเอลแบบสายฟ้าแลบเมื่อเดือนตุลาคม 2023 ทำลายล้างพื้นที่ส่วนใหญ่ของฉนวนกาซา ในขณะที่ ทรัมป์ อ้างกล่าวความดีความชอบซ้ำๆ สำหรับการบรรลุข้อตกลงหยุดยิงที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนที่แล้ว
.
เนทันยาฮู ซึ่งอยู่ระหว่างเยือนวอชิงตัน สำหรับพูดคุยเกี่ยวกับขั้นที่ 2 ของข้อตกลงหยุดยิง ขานรับด้วยความยินดีต่อความคิดของทรัมป์ บอกว่ามันจะเปลี่ยนประวัติศาสตร์และควรค่าได้รับความสนใจ
.
ทรัมป์ ซึ่งบ่งชี้ด้วยว่าเขาอาจเดินทางเยือนกาซา ดูเหมือนจะพูดเป็นนัยว่าการฟื้นฟูฉนวนแห่งนี้ จะไม่ใช่สำหรับชาวปาเลสไตน์ แต่ทาง เลวิตต์ ชี้แจงว่า "ประธานาธิบดีมีความชัดเจนมากๆ ต่อกรณีคาดหมายว่าบรรดาพันธมิตรของเราในภูมิภาค โดยเฉพาะอียิปต์และจอร์แดน จะอ้าแขนรับผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์เป็นการชั่วคราว เพื่อเราจะสามารถบูรณะฟื้นฟูบ้านของพวกเขา"
.
อย่างไรก็ตาม มาห์มูด อับบาส ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ ปฏิเสธข้อเสนอนี้ เรียกมันว่าเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง และยืนกรานว่าสิทธิที่ชอบธรรมตามกฎหมายของชาวปาเลสไตน์ไม่อาจต่อรองได้
.
ไม่ใช่ครั้งแรกที่ ทรัมป์ ชี้แนะให้ชาวปาเลสไตน์ออกจากกาซา โดยในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เขาได้กล่าวอ้างถึงอียิปต์และจอร์แดน ในฐานะดินแดนจุดหมายปลายทางที่เป็นไปได้ แต่ประชาชนชาวปาเลสไตน์ ประกาศกร้าวว่าพวกเขาจะไม่ออกจากฉนวนกาซา
.
ขณะเดียวกัน อียิปต์ และ จอร์แดน ก็ปฏิเสธอนุญาตให้มีการตั้งรกรากใดๆ ของชาวกาซา โดย บาดร์ อับเดลลัตตี รัฐมนตรีต่างประเทศอียิปต์ เรียกร้องฟื้นฟูฉนวนแห่งนี้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องให้ชาวปาเลสไตน์อพยพออกมา ส่วนกษัตริย์อับดุลลาห์ที่สองแห่งจอร์แดน ตรัสหลังจากพบปะกับอับบาส ปฏิเสธความพยายามใดๆ ในการควบคุมดินแดนของปาเลสไตน์และโยกย้านถิ่นฐานผู้คน
.
ในวอชิงตัน เนทันยาฮู ยกย่อง ทรัมป์ ว่าเป็นพันธมิตรยอดเยี่ยมที่สุดของอิสราเอล และยกย่องผู้นำสหรัฐฯ เกี่ยวกับการคิดนอกกรอบ นอกจากนี้ เขายังแสดงความมั่นใจว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงกับซาอุดีอาระเบีย ในการคืนความสัมพันธ์กันเป็นปกติระหว่างกัน
.
อย่างไรก็ตาม ริยาด บอกว่าพวกเขาจะไม่มีความสัมพันธ์อันเป็นปกติกับอิสราเอล หากปราศจากความเป็นรัฐของปาเลสไตน์ และปฏิเสธความพยายามใดๆ ที่จะโยกย้ายชาวปาเลสไตน์ออกจากแผ่นดินของพวกเขา
.
สหภาพยุโรปเน้นย้ำว่ากาซาเป็นส่วนสำคัญสำหรับรัฐปาเลสไตน์หนึ่งๆ ในอนาคต ในขณะที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปฏิเสธความพยายามโยกย้ายถิ่นฐานใดๆ โดยบอกว่าเสถียรภาพในภูมิภาคจะบรรลุได้ผ่านทางออก 2 รัฐคู่ขนานเท่านั้น ส่วนโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน บอกว่า "เราคัดค้านการบีบบังคับโยกย้ายพลเมืองของกาซา" ขณะที่สันนิบาตอาหรับ เรียกข้อเสนอของทรัมป์ว่าเป็น "สูตรแห่งความไร้เสถียรภาพ"
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000011933
..............
Sondhi X
.
หลังถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นชุดๆ จากทั้งชาวปาเลสไตน์ บรรดารัฐบาลอาหรับและพวกผู้นำโลก ทาง มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ บอกว่าการย้ายชาวกาซาใดๆ จะเป็นเพียงชั่วคราว ในขณะที่ทำเนียบขาวยืนยันว่ายังไม่มีการรับปากว่าจะส่งทหารอเมริกาเข้าไปยังฉนวนแห่งนี้
.
อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ ยืนยันว่า "ทุกคนชอบแผนนี้" ซึ่งเขาเปิดเผยในเรื่องดังกล่าวระหว่างแถลงข่าวที่ทำเนียบขาว ร่วมกับผู้มาเยือนอย่าง เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมตรีอิสราเอล
.
ในถ้อยแถลงดังกล่าว ทรัมป์ ให้รายละเอียดเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับแนวทางที่สหรัฐฯ จะโยกย้ายชาวปาเลสไตน์กว่า 2 ล้านคนออกจากฉนวนกาซาหรือแนวทางเข้าควบคุมดินแดนที่ถูกสงครามฉีกเป็นชิ้นๆ แห่งนี้ โดยเขาเพียงประกาศในวันอังคาร (4 ก.พ.) ว่า "สหรัฐฯ จะยึดฉนวนกาซาและเราจะทำอะไรบางอย่างกับมันด้วย เราจะเป็นเจ้าของมัน"
.
รูบิโอ ชี้แจงว่าความคิดดังกล่าวไม่ได้มีเจตนาเป็นปรปักษ์ ให้คำจำกัดความว่ามันเป็นความเคลื่อนไหวใจกว้าง เสนอมอบการฟื้นฟูและรับหน้าที่ของการฟื้นฟู
.
ในเวลาต่อมา คาโรไลน์ เลวิตต์ เลขานุการฝ่ายสื่อสารมวลชนของทำเนียบขาว แถลงว่าวอชิงตันจะไม่ออกทุนฟื้นฟูกาซา ตามหลังดินแดนแห่งนี้ต้องเผชิญกับสงครามระหว่างอิสราเอล พันธมิตรของสหรัฐฯ และกลุ่มนักรบปาเลสไตน์ฮามาส ที่ลากยาวมานานกว่า 15 เดือน "ความเกี่ยวข้องของอเมริกาไม่ได้หมายถึงการส่งกองกำลังไปยังภาคพื้นหรือใช้เงินผู้เสียภาษีสหรัฐฯ เป็นทุนสำหรับความพยายามดังกล่าว"
.
คำชี้แจงของทำเนียบขาวมีขึ้นหลังจาก อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ ชี้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง "รูปแบบของการล้างเผ่าพันธุ์ใดๆ" ส่วนสเตฟาน ดูจาร์ริช โฆษก อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเห็นของเลขาธิการใหญ่รายนี้ ในเวลาต่อมาในวันพุธ (5 ก.พ.) บอกกับพวกผู้สื่อข่าวว่า "การบีบบังคับผู้คนโยกย้ายถิ่นฐาน เทียบเท่ากับเป็นการกวาดล้างเผ่าพันธุ์"
.
ในเวลาต่อมา เลวิตต์ บอกว่า ทรัมป์ เพียงต้องการให้ชาวปาเลสไตน์แค่ย้ายออกจากกาซาเป็นการชั่วคราว "เวลานี้มันกลายเป็นสถานที่ที่ถูกทำลายล้าง มันไม่ใช่สถานที่ที่เหมาะสำหรับการอยู่อาศัย"
.
เจ้าหน้าที่ปาเลสไตน์ พวกผู้นำโลกอาหรับและกลุ่มสิทธิมนุษยชนทั้งหลายออกมาประณามความคิดเห็นของทรัมป์อย่างรวดเร็ว ส่วน ฮามาส ที่ยึดครองควบคุมกาซาในปี 2007 ปฏิเสธข้อเสนอนี้ ตราหน้ามันว่าเป็นการเหยียดเชื้อชาติ รุกรานและซ้ำเติมสถานการณ์
.
สงครามที่โหมกระพือขึ้นจากการที่พวกฮามาสบุกโจมตีเล่นงานอิสราเอลแบบสายฟ้าแลบเมื่อเดือนตุลาคม 2023 ทำลายล้างพื้นที่ส่วนใหญ่ของฉนวนกาซา ในขณะที่ ทรัมป์ อ้างกล่าวความดีความชอบซ้ำๆ สำหรับการบรรลุข้อตกลงหยุดยิงที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนที่แล้ว
.
เนทันยาฮู ซึ่งอยู่ระหว่างเยือนวอชิงตัน สำหรับพูดคุยเกี่ยวกับขั้นที่ 2 ของข้อตกลงหยุดยิง ขานรับด้วยความยินดีต่อความคิดของทรัมป์ บอกว่ามันจะเปลี่ยนประวัติศาสตร์และควรค่าได้รับความสนใจ
.
ทรัมป์ ซึ่งบ่งชี้ด้วยว่าเขาอาจเดินทางเยือนกาซา ดูเหมือนจะพูดเป็นนัยว่าการฟื้นฟูฉนวนแห่งนี้ จะไม่ใช่สำหรับชาวปาเลสไตน์ แต่ทาง เลวิตต์ ชี้แจงว่า "ประธานาธิบดีมีความชัดเจนมากๆ ต่อกรณีคาดหมายว่าบรรดาพันธมิตรของเราในภูมิภาค โดยเฉพาะอียิปต์และจอร์แดน จะอ้าแขนรับผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์เป็นการชั่วคราว เพื่อเราจะสามารถบูรณะฟื้นฟูบ้านของพวกเขา"
.
อย่างไรก็ตาม มาห์มูด อับบาส ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ ปฏิเสธข้อเสนอนี้ เรียกมันว่าเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง และยืนกรานว่าสิทธิที่ชอบธรรมตามกฎหมายของชาวปาเลสไตน์ไม่อาจต่อรองได้
.
ไม่ใช่ครั้งแรกที่ ทรัมป์ ชี้แนะให้ชาวปาเลสไตน์ออกจากกาซา โดยในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เขาได้กล่าวอ้างถึงอียิปต์และจอร์แดน ในฐานะดินแดนจุดหมายปลายทางที่เป็นไปได้ แต่ประชาชนชาวปาเลสไตน์ ประกาศกร้าวว่าพวกเขาจะไม่ออกจากฉนวนกาซา
.
ขณะเดียวกัน อียิปต์ และ จอร์แดน ก็ปฏิเสธอนุญาตให้มีการตั้งรกรากใดๆ ของชาวกาซา โดย บาดร์ อับเดลลัตตี รัฐมนตรีต่างประเทศอียิปต์ เรียกร้องฟื้นฟูฉนวนแห่งนี้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องให้ชาวปาเลสไตน์อพยพออกมา ส่วนกษัตริย์อับดุลลาห์ที่สองแห่งจอร์แดน ตรัสหลังจากพบปะกับอับบาส ปฏิเสธความพยายามใดๆ ในการควบคุมดินแดนของปาเลสไตน์และโยกย้านถิ่นฐานผู้คน
.
ในวอชิงตัน เนทันยาฮู ยกย่อง ทรัมป์ ว่าเป็นพันธมิตรยอดเยี่ยมที่สุดของอิสราเอล และยกย่องผู้นำสหรัฐฯ เกี่ยวกับการคิดนอกกรอบ นอกจากนี้ เขายังแสดงความมั่นใจว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงกับซาอุดีอาระเบีย ในการคืนความสัมพันธ์กันเป็นปกติระหว่างกัน
.
อย่างไรก็ตาม ริยาด บอกว่าพวกเขาจะไม่มีความสัมพันธ์อันเป็นปกติกับอิสราเอล หากปราศจากความเป็นรัฐของปาเลสไตน์ และปฏิเสธความพยายามใดๆ ที่จะโยกย้ายชาวปาเลสไตน์ออกจากแผ่นดินของพวกเขา
.
สหภาพยุโรปเน้นย้ำว่ากาซาเป็นส่วนสำคัญสำหรับรัฐปาเลสไตน์หนึ่งๆ ในอนาคต ในขณะที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปฏิเสธความพยายามโยกย้ายถิ่นฐานใดๆ โดยบอกว่าเสถียรภาพในภูมิภาคจะบรรลุได้ผ่านทางออก 2 รัฐคู่ขนานเท่านั้น ส่วนโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน บอกว่า "เราคัดค้านการบีบบังคับโยกย้ายพลเมืองของกาซา" ขณะที่สันนิบาตอาหรับ เรียกข้อเสนอของทรัมป์ว่าเป็น "สูตรแห่งความไร้เสถียรภาพ"
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000011933
..............
Sondhi X
รัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่อกลับลำข้อเสนอของเขาเกี่ยวกับการเข้ายึดฉนวนกาซา หลังมันโหมกระพือเสียงโวยวายจากทั่วโลก ในนั้นรวมถึงเลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติที่เตือนเกี่ยวกับการ "ล้างเผ่าพันธุ์" ในฉนวนปาเลสไตน์
.
หลังถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นชุดๆ จากทั้งชาวปาเลสไตน์ บรรดารัฐบาลอาหรับและพวกผู้นำโลก ทาง มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ บอกว่าการย้ายชาวกาซาใดๆ จะเป็นเพียงชั่วคราว ในขณะที่ทำเนียบขาวยืนยันว่ายังไม่มีการรับปากว่าจะส่งทหารอเมริกาเข้าไปยังฉนวนแห่งนี้
.
อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ ยืนยันว่า "ทุกคนชอบแผนนี้" ซึ่งเขาเปิดเผยในเรื่องดังกล่าวระหว่างแถลงข่าวที่ทำเนียบขาว ร่วมกับผู้มาเยือนอย่าง เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมตรีอิสราเอล
.
ในถ้อยแถลงดังกล่าว ทรัมป์ ให้รายละเอียดเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับแนวทางที่สหรัฐฯ จะโยกย้ายชาวปาเลสไตน์กว่า 2 ล้านคนออกจากฉนวนกาซาหรือแนวทางเข้าควบคุมดินแดนที่ถูกสงครามฉีกเป็นชิ้นๆ แห่งนี้ โดยเขาเพียงประกาศในวันอังคาร (4 ก.พ.) ว่า "สหรัฐฯ จะยึดฉนวนกาซาและเราจะทำอะไรบางอย่างกับมันด้วย เราจะเป็นเจ้าของมัน"
.
รูบิโอ ชี้แจงว่าความคิดดังกล่าวไม่ได้มีเจตนาเป็นปรปักษ์ ให้คำจำกัดความว่ามันเป็นความเคลื่อนไหวใจกว้าง เสนอมอบการฟื้นฟูและรับหน้าที่ของการฟื้นฟู
.
ในเวลาต่อมา คาโรไลน์ เลวิตต์ เลขานุการฝ่ายสื่อสารมวลชนของทำเนียบขาว แถลงว่าวอชิงตันจะไม่ออกทุนฟื้นฟูกาซา ตามหลังดินแดนแห่งนี้ต้องเผชิญกับสงครามระหว่างอิสราเอล พันธมิตรของสหรัฐฯ และกลุ่มนักรบปาเลสไตน์ฮามาส ที่ลากยาวมานานกว่า 15 เดือน "ความเกี่ยวข้องของอเมริกาไม่ได้หมายถึงการส่งกองกำลังไปยังภาคพื้นหรือใช้เงินผู้เสียภาษีสหรัฐฯ เป็นทุนสำหรับความพยายามดังกล่าว"
.
คำชี้แจงของทำเนียบขาวมีขึ้นหลังจาก อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ ชี้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง "รูปแบบของการล้างเผ่าพันธุ์ใดๆ" ส่วนสเตฟาน ดูจาร์ริช โฆษก อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเห็นของเลขาธิการใหญ่รายนี้ ในเวลาต่อมาในวันพุธ (5 ก.พ.) บอกกับพวกผู้สื่อข่าวว่า "การบีบบังคับผู้คนโยกย้ายถิ่นฐาน เทียบเท่ากับเป็นการกวาดล้างเผ่าพันธุ์"
.
ในเวลาต่อมา เลวิตต์ บอกว่า ทรัมป์ เพียงต้องการให้ชาวปาเลสไตน์แค่ย้ายออกจากกาซาเป็นการชั่วคราว "เวลานี้มันกลายเป็นสถานที่ที่ถูกทำลายล้าง มันไม่ใช่สถานที่ที่เหมาะสำหรับการอยู่อาศัย"
.
เจ้าหน้าที่ปาเลสไตน์ พวกผู้นำโลกอาหรับและกลุ่มสิทธิมนุษยชนทั้งหลายออกมาประณามความคิดเห็นของทรัมป์อย่างรวดเร็ว ส่วน ฮามาส ที่ยึดครองควบคุมกาซาในปี 2007 ปฏิเสธข้อเสนอนี้ ตราหน้ามันว่าเป็นการเหยียดเชื้อชาติ รุกรานและซ้ำเติมสถานการณ์
.
สงครามที่โหมกระพือขึ้นจากการที่พวกฮามาสบุกโจมตีเล่นงานอิสราเอลแบบสายฟ้าแลบเมื่อเดือนตุลาคม 2023 ทำลายล้างพื้นที่ส่วนใหญ่ของฉนวนกาซา ในขณะที่ ทรัมป์ อ้างกล่าวความดีความชอบซ้ำๆ สำหรับการบรรลุข้อตกลงหยุดยิงที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนที่แล้ว
.
เนทันยาฮู ซึ่งอยู่ระหว่างเยือนวอชิงตัน สำหรับพูดคุยเกี่ยวกับขั้นที่ 2 ของข้อตกลงหยุดยิง ขานรับด้วยความยินดีต่อความคิดของทรัมป์ บอกว่ามันจะเปลี่ยนประวัติศาสตร์และควรค่าได้รับความสนใจ
.
ทรัมป์ ซึ่งบ่งชี้ด้วยว่าเขาอาจเดินทางเยือนกาซา ดูเหมือนจะพูดเป็นนัยว่าการฟื้นฟูฉนวนแห่งนี้ จะไม่ใช่สำหรับชาวปาเลสไตน์ แต่ทาง เลวิตต์ ชี้แจงว่า "ประธานาธิบดีมีความชัดเจนมากๆ ต่อกรณีคาดหมายว่าบรรดาพันธมิตรของเราในภูมิภาค โดยเฉพาะอียิปต์และจอร์แดน จะอ้าแขนรับผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์เป็นการชั่วคราว เพื่อเราจะสามารถบูรณะฟื้นฟูบ้านของพวกเขา"
.
อย่างไรก็ตาม มาห์มูด อับบาส ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ ปฏิเสธข้อเสนอนี้ เรียกมันว่าเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง และยืนกรานว่าสิทธิที่ชอบธรรมตามกฎหมายของชาวปาเลสไตน์ไม่อาจต่อรองได้
.
ไม่ใช่ครั้งแรกที่ ทรัมป์ ชี้แนะให้ชาวปาเลสไตน์ออกจากกาซา โดยในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เขาได้กล่าวอ้างถึงอียิปต์และจอร์แดน ในฐานะดินแดนจุดหมายปลายทางที่เป็นไปได้ แต่ประชาชนชาวปาเลสไตน์ ประกาศกร้าวว่าพวกเขาจะไม่ออกจากฉนวนกาซา
.
ขณะเดียวกัน อียิปต์ และ จอร์แดน ก็ปฏิเสธอนุญาตให้มีการตั้งรกรากใดๆ ของชาวกาซา โดย บาดร์ อับเดลลัตตี รัฐมนตรีต่างประเทศอียิปต์ เรียกร้องฟื้นฟูฉนวนแห่งนี้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องให้ชาวปาเลสไตน์อพยพออกมา ส่วนกษัตริย์อับดุลลาห์ที่สองแห่งจอร์แดน ตรัสหลังจากพบปะกับอับบาส ปฏิเสธความพยายามใดๆ ในการควบคุมดินแดนของปาเลสไตน์และโยกย้านถิ่นฐานผู้คน
.
ในวอชิงตัน เนทันยาฮู ยกย่อง ทรัมป์ ว่าเป็นพันธมิตรยอดเยี่ยมที่สุดของอิสราเอล และยกย่องผู้นำสหรัฐฯ เกี่ยวกับการคิดนอกกรอบ นอกจากนี้ เขายังแสดงความมั่นใจว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงกับซาอุดีอาระเบีย ในการคืนความสัมพันธ์กันเป็นปกติระหว่างกัน
.
อย่างไรก็ตาม ริยาด บอกว่าพวกเขาจะไม่มีความสัมพันธ์อันเป็นปกติกับอิสราเอล หากปราศจากความเป็นรัฐของปาเลสไตน์ และปฏิเสธความพยายามใดๆ ที่จะโยกย้ายชาวปาเลสไตน์ออกจากแผ่นดินของพวกเขา
.
สหภาพยุโรปเน้นย้ำว่ากาซาเป็นส่วนสำคัญสำหรับรัฐปาเลสไตน์หนึ่งๆ ในอนาคต ในขณะที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปฏิเสธความพยายามโยกย้ายถิ่นฐานใดๆ โดยบอกว่าเสถียรภาพในภูมิภาคจะบรรลุได้ผ่านทางออก 2 รัฐคู่ขนานเท่านั้น ส่วนโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน บอกว่า "เราคัดค้านการบีบบังคับโยกย้ายพลเมืองของกาซา" ขณะที่สันนิบาตอาหรับ เรียกข้อเสนอของทรัมป์ว่าเป็น "สูตรแห่งความไร้เสถียรภาพ"
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000011933
..............
Sondhi X
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
15 มุมมอง
0 รีวิว