• "ดีเอสไอ" เข้าค้น 4 เป้าหมาย "สำนักงานใหญ่ บินลิง วู - บริษัทในนามกิจการร่วมค้า PKW" เก็บหลักฐานขยายผลผู้ควบคุมงานตึก สตง.ถล่ม

    วันนี้ (17 เม.ย.) พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผอ.กองคดีคุ้มครองผู้บริโภค ในฐานะรองหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีนอมินี บ.ไชน่า เรลเวย์ฯ เปิดเผยถึงความคืบหน้าคดีพิเศษเลขที่ 32/2568 กรณีตึกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม ว่า ในส่วนเรื่องสัญญา 4 ฉบับที่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริง อันประกอบด้วย 1.สัญญาการออกแบบโครงสร้าง (ซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมือง ไม่ได้เป็นผู้ออกแบบ แต่มีบริษัทเอกชนเป็นผู้ออกแบบ) 2.สัญญาควบคุมงาน 3.สัญญาการก่อสร้าง และ 4.สัญญาการเปลี่ยนแบบ หรือสัญญาขอแก้ไขเพิ่มเติมแบบ ซึ่งมันคือส่วนควบของสัญญาก่อสร้าง และสัญญาการออกแบบโครงสร้างก็ได้ เนื่องจากมีการแก้แบบระหว่างทาง เพราะการแก้ไขแบบก็ต้องให้คนออกแบบเป็นผู้อนุมัติ

    "ดังนั้น บริษัทที่เกี่ยวข้องจะเป็นบริษัทผู้ออกแบบ คือ บริษัท ฟอ-รัม อาร์คิเทค และบริษัท ไมนฮาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งตามขั้นตอนแล้ว มันต้องเริ่มตั้งแต่ผู้รับเหมา เสนอไปที่ผู้ควบคุมงาน จากนั้นหากผู้ควบคุมงานเห็นด้วย ก็เสนอไปยังผู้ออกแบบว่าอนุมัติหรือไม่ หากผู้ออกแบบอนุมัติว่าทำแล้วไม่กระทบกับโครงสร้างก็เสนอไปยังคณะกรรมการเพื่อตรวจการจ้างฯ ทั้งนี้ ส่วนการออกแบบและการแก้ไขแบบจะต้องมีผู้แทนของ สตง. อนุมัติหรือไม่นั้น ทราบว่าจะมีคณะกรรมการบริหารเรื่องสัญญาจ้างอยู่ แต่ตามหลักการแล้ว อะไรที่รัฐเซ็นไปแล้ว รัฐต้องได้ประโยชน์"

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/crime/detail/9680000036195

    #MGROnline #ดีเอสไอ #ไชน่าเรลเวย์
    "ดีเอสไอ" เข้าค้น 4 เป้าหมาย "สำนักงานใหญ่ บินลิง วู - บริษัทในนามกิจการร่วมค้า PKW" เก็บหลักฐานขยายผลผู้ควบคุมงานตึก สตง.ถล่ม • วันนี้ (17 เม.ย.) พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผอ.กองคดีคุ้มครองผู้บริโภค ในฐานะรองหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีนอมินี บ.ไชน่า เรลเวย์ฯ เปิดเผยถึงความคืบหน้าคดีพิเศษเลขที่ 32/2568 กรณีตึกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม ว่า ในส่วนเรื่องสัญญา 4 ฉบับที่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริง อันประกอบด้วย 1.สัญญาการออกแบบโครงสร้าง (ซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมือง ไม่ได้เป็นผู้ออกแบบ แต่มีบริษัทเอกชนเป็นผู้ออกแบบ) 2.สัญญาควบคุมงาน 3.สัญญาการก่อสร้าง และ 4.สัญญาการเปลี่ยนแบบ หรือสัญญาขอแก้ไขเพิ่มเติมแบบ ซึ่งมันคือส่วนควบของสัญญาก่อสร้าง และสัญญาการออกแบบโครงสร้างก็ได้ เนื่องจากมีการแก้แบบระหว่างทาง เพราะการแก้ไขแบบก็ต้องให้คนออกแบบเป็นผู้อนุมัติ • "ดังนั้น บริษัทที่เกี่ยวข้องจะเป็นบริษัทผู้ออกแบบ คือ บริษัท ฟอ-รัม อาร์คิเทค และบริษัท ไมนฮาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งตามขั้นตอนแล้ว มันต้องเริ่มตั้งแต่ผู้รับเหมา เสนอไปที่ผู้ควบคุมงาน จากนั้นหากผู้ควบคุมงานเห็นด้วย ก็เสนอไปยังผู้ออกแบบว่าอนุมัติหรือไม่ หากผู้ออกแบบอนุมัติว่าทำแล้วไม่กระทบกับโครงสร้างก็เสนอไปยังคณะกรรมการเพื่อตรวจการจ้างฯ ทั้งนี้ ส่วนการออกแบบและการแก้ไขแบบจะต้องมีผู้แทนของ สตง. อนุมัติหรือไม่นั้น ทราบว่าจะมีคณะกรรมการบริหารเรื่องสัญญาจ้างอยู่ แต่ตามหลักการแล้ว อะไรที่รัฐเซ็นไปแล้ว รัฐต้องได้ประโยชน์" • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/crime/detail/9680000036195 • #MGROnline #ดีเอสไอ #ไชน่าเรลเวย์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 209 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้ได้เสพบรรยากาศทำงานในวันหยุดกับทีมงานที่ผมชื่นชอบทั้งวัน แต่คืนนี้นอนบ้าน กลับค่ำหน่อย นึกว่างานจะหนักตอนเย็น เห้อ นึกว่างานจะเข้าเสียแล้ว Microsoft Office License ศิษย์เก่า สจล.ดันใช้ไม่ได้ซะงั้น จะใช้ Canva แทนเลยดีไหม ส่วนตัวผมว่าจะใช้ Canva ทำงานกราฟฟิกเผื่อองค์กรเขาใช้ Canva กันทั้งองค์กร และวันนี้ก็ได้ความรู้ใหม่และเทคนิคใหม่ๆที่จะช่วยให้ผมซึมซับความสุขที่ขาดหายไปได้มากขึ้นและหาทางที่ไม่ต้องมาทรมานเครื่องให้ร้อนจนเกินไป ไม่ได้เปลี่ยนซิลิโคนโน้ตบุ๊กนานละ แต่ก็อยากไปให้ร้านแกะเครื่องล้างฝุ่นเปลี่ยนซิลิโคนและเปลี่ยนการ์ดไวไฟแบบอัพเกรดให้ดีกว่าเดิม จะได้หากินกับ Livestream หมดกังวลไวไฟหลุด เพราะไวไฟชอบหลุดตอน Livestream เพราะอัพเดทหลังๆนี้ผมรู้สึกไม่ไว้ใจวินโดว์ได้ บางทีเจ็บใจที่ต้องทำงานกับองค์กรที่เข้มงวดกับสิ่งที่ผมไม่ได้เรียนจบมาและผมไม่ได้ชอบเท่านั้นไม่พอ ผมรังเกียจอีกด้วย คืองานเอกสารวนลูป ซ้ำๆเดิมๆ ซ้ำซากจนจะเบิร์นเอาต์มามากเกินเบอร์ละ ส่วนฟรีแลนซ์ผมว่าควรรับงานลูกค้าที่อยากได้เวอร์ชั่นล่าสุด ถ้าให้เปลี่ยนเป็นเวอร์ชั่นเก่ากูไม่รับแม่งหรอก ยิ่งคิดยิ่งเจ็บใจ สูญเปล่าชิบหาย สูญเปล่าเหี้ยๆ วันนี้เจอสตูดิโอชื่อดังแล้วผมนี่มีไฟขึ้นมาทันที แรงบันดาลใจไม่ต้อง แต่ถ้าแรงบัาลใจตลอดกาลก็ขอเชื่อมั่นในศักยภาพและความสามารถของเราก็พอแล้ว แต่ก็ต้องพัฒนาอีกยาวไกล ให้ทำงานเทศบาลนครรังสิตพอรับได้ แต่ให้ทำงาน กทม. สพฐ. โรงเรียน กกต. ปปช. สตง. ผผ. คงไม่ได้ เพราะผมไม่ชอบสภาพแวดล้อมแบบนั้น ถ้ายิ่งโรงเรียนครูเหมือนจะไม่ค่อยรับฟังเด็กๆ รับฟังแต่ทางฝ่ายบริหาร ผมละหัวจะปวด อย่าเป็นครูเลย เพราะสภาพจิตใจบวกกับความต้องการนั้นยังไม่ตรงความต้องการของผมเลย ส่วน ปค. อันนี้ผมไม่แน่ใจ แต่ ปค. ดีขึ้นเยอะเลย บรรยากาศก็พอๆกับ พช. ปภ. และกรมโยธาธิการและผังเมือง
    วันนี้ได้เสพบรรยากาศทำงานในวันหยุดกับทีมงานที่ผมชื่นชอบทั้งวัน แต่คืนนี้นอนบ้าน กลับค่ำหน่อย นึกว่างานจะหนักตอนเย็น เห้อ นึกว่างานจะเข้าเสียแล้ว Microsoft Office License ศิษย์เก่า สจล.ดันใช้ไม่ได้ซะงั้น จะใช้ Canva แทนเลยดีไหม ส่วนตัวผมว่าจะใช้ Canva ทำงานกราฟฟิกเผื่อองค์กรเขาใช้ Canva กันทั้งองค์กร และวันนี้ก็ได้ความรู้ใหม่และเทคนิคใหม่ๆที่จะช่วยให้ผมซึมซับความสุขที่ขาดหายไปได้มากขึ้นและหาทางที่ไม่ต้องมาทรมานเครื่องให้ร้อนจนเกินไป ไม่ได้เปลี่ยนซิลิโคนโน้ตบุ๊กนานละ แต่ก็อยากไปให้ร้านแกะเครื่องล้างฝุ่นเปลี่ยนซิลิโคนและเปลี่ยนการ์ดไวไฟแบบอัพเกรดให้ดีกว่าเดิม จะได้หากินกับ Livestream หมดกังวลไวไฟหลุด เพราะไวไฟชอบหลุดตอน Livestream เพราะอัพเดทหลังๆนี้ผมรู้สึกไม่ไว้ใจวินโดว์ได้ บางทีเจ็บใจที่ต้องทำงานกับองค์กรที่เข้มงวดกับสิ่งที่ผมไม่ได้เรียนจบมาและผมไม่ได้ชอบเท่านั้นไม่พอ ผมรังเกียจอีกด้วย คืองานเอกสารวนลูป ซ้ำๆเดิมๆ ซ้ำซากจนจะเบิร์นเอาต์มามากเกินเบอร์ละ ส่วนฟรีแลนซ์ผมว่าควรรับงานลูกค้าที่อยากได้เวอร์ชั่นล่าสุด ถ้าให้เปลี่ยนเป็นเวอร์ชั่นเก่ากูไม่รับแม่งหรอก ยิ่งคิดยิ่งเจ็บใจ สูญเปล่าชิบหาย สูญเปล่าเหี้ยๆ วันนี้เจอสตูดิโอชื่อดังแล้วผมนี่มีไฟขึ้นมาทันที แรงบันดาลใจไม่ต้อง แต่ถ้าแรงบัาลใจตลอดกาลก็ขอเชื่อมั่นในศักยภาพและความสามารถของเราก็พอแล้ว แต่ก็ต้องพัฒนาอีกยาวไกล ให้ทำงานเทศบาลนครรังสิตพอรับได้ แต่ให้ทำงาน กทม. สพฐ. โรงเรียน กกต. ปปช. สตง. ผผ. คงไม่ได้ เพราะผมไม่ชอบสภาพแวดล้อมแบบนั้น ถ้ายิ่งโรงเรียนครูเหมือนจะไม่ค่อยรับฟังเด็กๆ รับฟังแต่ทางฝ่ายบริหาร ผมละหัวจะปวด อย่าเป็นครูเลย เพราะสภาพจิตใจบวกกับความต้องการนั้นยังไม่ตรงความต้องการของผมเลย ส่วน ปค. อันนี้ผมไม่แน่ใจ แต่ ปค. ดีขึ้นเยอะเลย บรรยากาศก็พอๆกับ พช. ปภ. และกรมโยธาธิการและผังเมือง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 249 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยกเคสตึก สตง. ถล่ม สู้ธุรกิจศูนย์เหรียญ : [NEWS UPDATE]
    นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรมว.อุตสาหกรรม และโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เผยถึงการตรวจสอบเหล็กที่ใช้ก่อสร้างอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ของบริษัท ซินเคอหยวน สตีล จำกัด ไม่ได้ต่ออายุใบอนุญาต มอก. ตามที่เผยแพร่บนสื่อออนไลน์ เรียงลำดับหน่วยงานเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ คิวแรกกรมโยธาธิการและผังเมือง ส่วน สมอ. จะเก็บตัวอย่างเหล็กในที่เกิดเหตุเพิ่มวันที่ 11 เม.ย. นี้ เพื่อตรวจสอบว่าเหล็กมีคุณภาพจริง หรือเจือปนวัตถุอื่นๆ ขณะเดียวกัน จะเอาผิดโรงงานผลิตเหล็กดังกล่าวตามกฏหมายของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) สามารถรับเป็นคดีพิเศษได้ เนื่องจากมีความซับซ้อน กระทบเศรษฐกิจในภาพรวม และจะนำกรณีนี้เป็นต้นแบบการทำงานของหน่วยงานรัฐ เพื่อสู้กับธุรกิจศูนย์เหรียญในไทย



    อุทิศกุศล-สร้างกำลังใจ

    "ภูมิใจไทย"ต้องเคลียร์

    สภาเดือดทิ้งท้ายสมัยประชุม

    ใกล้ได้ใช้รถไฟฟ้า 20 บ.
    ยกเคสตึก สตง. ถล่ม สู้ธุรกิจศูนย์เหรียญ : [NEWS UPDATE] นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรมว.อุตสาหกรรม และโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เผยถึงการตรวจสอบเหล็กที่ใช้ก่อสร้างอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ของบริษัท ซินเคอหยวน สตีล จำกัด ไม่ได้ต่ออายุใบอนุญาต มอก. ตามที่เผยแพร่บนสื่อออนไลน์ เรียงลำดับหน่วยงานเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ คิวแรกกรมโยธาธิการและผังเมือง ส่วน สมอ. จะเก็บตัวอย่างเหล็กในที่เกิดเหตุเพิ่มวันที่ 11 เม.ย. นี้ เพื่อตรวจสอบว่าเหล็กมีคุณภาพจริง หรือเจือปนวัตถุอื่นๆ ขณะเดียวกัน จะเอาผิดโรงงานผลิตเหล็กดังกล่าวตามกฏหมายของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) สามารถรับเป็นคดีพิเศษได้ เนื่องจากมีความซับซ้อน กระทบเศรษฐกิจในภาพรวม และจะนำกรณีนี้เป็นต้นแบบการทำงานของหน่วยงานรัฐ เพื่อสู้กับธุรกิจศูนย์เหรียญในไทย อุทิศกุศล-สร้างกำลังใจ "ภูมิใจไทย"ต้องเคลียร์ สภาเดือดทิ้งท้ายสมัยประชุม ใกล้ได้ใช้รถไฟฟ้า 20 บ.
    Haha
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 875 มุมมอง 28 0 รีวิว
  • เก็บเหล็กตึกสตง.ตรวจเพิ่ม ชงดีเอสไอรับคดีพิเศษ : [THE MESSAGE]
    นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรมว.อุตสาหกรรม และโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เผยถึงการตรวจสอบเหล็กที่ใช้ก่อสร้างอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) บริษัท ซินเคอหยวน สตีล จำกัด ถูกแจ้งเตือนก่อนสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามมาตรา 40 ตามมาตรฐานห้ามผลิต ห้ามจำหน่าย สินค้าเหล็กเส้นที่ทดสอบไม่ผ่านมาตรฐาน ลงวันที่ 20 ก.พ. 2568 ไม่ได้มีการต่ออายุใบอนุญาต มอก. ตามที่เผยแพร่บนสื่อออนไลน์ จากนี้ได้เรียงลำดับหน่วยงานที่จะเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ คิวแรก เป็นของกรมโยธาธิการและผังเมือง ซึ่ง สมอ. จะเก็บตัวอย่างเหล็กในที่เกิดเหตุเพิ่มในวันที่ 11 เม.ย. นี้ เพื่อตรวจสอบว่าเหล็กมีคุณภาพจริงหรือไม่ หรือเจือปนวัตถุอื่นๆ ขณะเดียวกัน จะเอาผิดโรงงานผลิตเหล็กดังกล่าวตามกฏหมายของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) สามารถรับเป็นคดีพิเศษได้ เนื่องจากมีความซับซ้อน กระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวม
    เก็บเหล็กตึกสตง.ตรวจเพิ่ม ชงดีเอสไอรับคดีพิเศษ : [THE MESSAGE] นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรมว.อุตสาหกรรม และโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เผยถึงการตรวจสอบเหล็กที่ใช้ก่อสร้างอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) บริษัท ซินเคอหยวน สตีล จำกัด ถูกแจ้งเตือนก่อนสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามมาตรา 40 ตามมาตรฐานห้ามผลิต ห้ามจำหน่าย สินค้าเหล็กเส้นที่ทดสอบไม่ผ่านมาตรฐาน ลงวันที่ 20 ก.พ. 2568 ไม่ได้มีการต่ออายุใบอนุญาต มอก. ตามที่เผยแพร่บนสื่อออนไลน์ จากนี้ได้เรียงลำดับหน่วยงานที่จะเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ คิวแรก เป็นของกรมโยธาธิการและผังเมือง ซึ่ง สมอ. จะเก็บตัวอย่างเหล็กในที่เกิดเหตุเพิ่มในวันที่ 11 เม.ย. นี้ เพื่อตรวจสอบว่าเหล็กมีคุณภาพจริงหรือไม่ หรือเจือปนวัตถุอื่นๆ ขณะเดียวกัน จะเอาผิดโรงงานผลิตเหล็กดังกล่าวตามกฏหมายของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) สามารถรับเป็นคดีพิเศษได้ เนื่องจากมีความซับซ้อน กระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวม
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 781 มุมมอง 18 0 รีวิว
  • #นายกฯ ดึง 4 สถาบันวิศวะ จับมือกรมโยธาธิการและผังเมือง ร่วมทำโมเดลเหตุตึก สตง.แห่งใหม่ถล่ม ขีดเส้น 90 วัน ลั่นต้องมีผู้รับผิดชอบแน่นอน พร้อมฟันระหว่างทางถ้าพบทำผิดกฎหมาย สั่งตรวจตึกทั้งรัฐและเอกชนใหม่ทั้งหมดให้พร้อมรับแผ่นดินไหว

    วันนี้(8 เม.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมติดตามผลการสืบสวนข้อเท็จจริงอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแห่งใหม่ถล่มนานกว่า 1 ชั่วโมงว่า การประชุมวันนี้ได้ข้อสรุปหลายข้อ เรื่องแรกขอให้ความมั่นใจกับประชาชนก่อนว่า กฎหมายที่ออกมาใช้ควบคุมการก่อสร้างอาคาร สร้างตึก เพื่อให้สามารถรองรับ กับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ถ้าเกิดแผ่นดินไหวเท่าเดิม จะไม่ทำให้ตึกถล่มมากขึ้น แต่ทุกตึกต้องทำตามที่กฎหมายกำหนดด้วย และเท่าที่เห็นยังไม่เห็นว่ามีตึกไหนที่ได้รับความเสียหายมาก มีปัญหาบ้างเช่นการกระเทาะ แต่ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ส่วนตึก สตง.ที่ถล่มเป็นตึกเดียวที่เราเอามาดู ในข้อเท็จจริงว่า เกิดอะไรขึ้น

    จากการพูดคุยพบข้อสงสัยหลายเรื่อง ที่เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากตั้งแต่เริ่มต้น และในกระบวนการก่อสร้าง แต่ประเด็นคือต้องใช้เวลาในการเคลียร์ไซส์งานที่เกิดเหตุ ซึ่งได้รับรายงานว่าต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือน นับจากวันที่เกิดเหตุเพื่อเคลียร์สถานที่ ซึ่งที่ประชุมมีข้อสรุปว่าจะใช้ 4 สถาบัน เข้ามาศึกษา บวกกับกรมโยธาธิการและผังเมือง โดยแต่ละคนจะจัดทำโมเดลแยกกันเพื่อจำลอง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของตึกที่ถล่ม เพื่อจะได้ทราบสาเหตุว่ามีอะไรที่ทำให้ถล่ม และการที่จะวิเคราะห์ทำโมเดลของแต่ละสถาบัน จะใช้เวลาประมาณ 90 วัน ตนจึงบอกว่าขอให้ทำเร็วกว่านี้ได้หรือไม่ ได้รับคำตอบว่าเป็นเรื่องของรายละเอียดว่ามีอะไรบ้างที่ทำให้ตึกถล่ม ไม่สามารถสรุป หรือชี้ได้เลยในวันนี้ว่าเป็นเพราะสาเหตุนี้หนึ่ง หัวข้อทำให้ถล่ม เพราะสาเหตุประกอบจากหลายหัวข้อ จึงต้องใช้เวลาเพื่อให้เกิดความชัดเจน ทั้งนี้การใช้ 4 สถาบันเพื่อให้เกิดความร่วมมือ มีความโปร่งใส ทำให้ประชาชนเข้าใจว่า เราใช้คณะวิศวะจาก 4 สถาบัน เพื่อให้ข้อสรุปที่ชัดเจนและเกิดความมั่นใจได้

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9680000033313

    #MGROnline #สถาบันวิศวะ #กรมโยธาธิการและผังเมือง #แผ่นดินไหว #ตึกถล่ม #สตง.
    #นายกฯ ดึง 4 สถาบันวิศวะ จับมือกรมโยธาธิการและผังเมือง ร่วมทำโมเดลเหตุตึก สตง.แห่งใหม่ถล่ม ขีดเส้น 90 วัน ลั่นต้องมีผู้รับผิดชอบแน่นอน พร้อมฟันระหว่างทางถ้าพบทำผิดกฎหมาย สั่งตรวจตึกทั้งรัฐและเอกชนใหม่ทั้งหมดให้พร้อมรับแผ่นดินไหว • วันนี้(8 เม.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมติดตามผลการสืบสวนข้อเท็จจริงอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแห่งใหม่ถล่มนานกว่า 1 ชั่วโมงว่า การประชุมวันนี้ได้ข้อสรุปหลายข้อ เรื่องแรกขอให้ความมั่นใจกับประชาชนก่อนว่า กฎหมายที่ออกมาใช้ควบคุมการก่อสร้างอาคาร สร้างตึก เพื่อให้สามารถรองรับ กับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ถ้าเกิดแผ่นดินไหวเท่าเดิม จะไม่ทำให้ตึกถล่มมากขึ้น แต่ทุกตึกต้องทำตามที่กฎหมายกำหนดด้วย และเท่าที่เห็นยังไม่เห็นว่ามีตึกไหนที่ได้รับความเสียหายมาก มีปัญหาบ้างเช่นการกระเทาะ แต่ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ส่วนตึก สตง.ที่ถล่มเป็นตึกเดียวที่เราเอามาดู ในข้อเท็จจริงว่า เกิดอะไรขึ้น • จากการพูดคุยพบข้อสงสัยหลายเรื่อง ที่เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากตั้งแต่เริ่มต้น และในกระบวนการก่อสร้าง แต่ประเด็นคือต้องใช้เวลาในการเคลียร์ไซส์งานที่เกิดเหตุ ซึ่งได้รับรายงานว่าต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือน นับจากวันที่เกิดเหตุเพื่อเคลียร์สถานที่ ซึ่งที่ประชุมมีข้อสรุปว่าจะใช้ 4 สถาบัน เข้ามาศึกษา บวกกับกรมโยธาธิการและผังเมือง โดยแต่ละคนจะจัดทำโมเดลแยกกันเพื่อจำลอง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของตึกที่ถล่ม เพื่อจะได้ทราบสาเหตุว่ามีอะไรที่ทำให้ถล่ม และการที่จะวิเคราะห์ทำโมเดลของแต่ละสถาบัน จะใช้เวลาประมาณ 90 วัน ตนจึงบอกว่าขอให้ทำเร็วกว่านี้ได้หรือไม่ ได้รับคำตอบว่าเป็นเรื่องของรายละเอียดว่ามีอะไรบ้างที่ทำให้ตึกถล่ม ไม่สามารถสรุป หรือชี้ได้เลยในวันนี้ว่าเป็นเพราะสาเหตุนี้หนึ่ง หัวข้อทำให้ถล่ม เพราะสาเหตุประกอบจากหลายหัวข้อ จึงต้องใช้เวลาเพื่อให้เกิดความชัดเจน ทั้งนี้การใช้ 4 สถาบันเพื่อให้เกิดความร่วมมือ มีความโปร่งใส ทำให้ประชาชนเข้าใจว่า เราใช้คณะวิศวะจาก 4 สถาบัน เพื่อให้ข้อสรุปที่ชัดเจนและเกิดความมั่นใจได้ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9680000033313 • #MGROnline #สถาบันวิศวะ #กรมโยธาธิการและผังเมือง #แผ่นดินไหว #ตึกถล่ม #สตง.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 218 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมื่อเสียงสมน้ำหน้า เคล้าก่นด่า ดังกว่า... ตึก สตง. ถล่ม! วิกฤตศรัทธาหน่วยตรวจ ลืมสำรวจตัวเอง? ไม่ใช่แค่ตึกที่พัง แต่ความเชื่อมั่น ในกระบวนการของภาครัฐเอง ก็สั่นสะเทือนไปทั่วประเทศ 😓

    🏢 เหตุการณ์ถล่ม ของตึกเดียวในประเทศไทย จากแผ่นดินไหว จุดชนวนคำถามถึงความโปร่งใส ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ และทำให้หน่วยงาน “ผู้ตรวจ” กลายเป็น “ผู้ถูกตรวจสอบ” เสียเอง

    🔎 เมื่อคำถามไม่ได้มีแค่ “ทำไมตึกถล่ม” แต่เป็น “ใครจะรับผิดชอบ?” 28 มีนาคม 2568 เวลา 14.37 น. กรุงเทพฯ สะเทือนจากแรงแผ่นดินไหวขนาด 8.2 แมกนิจูด ศูนย์กลางที่เมียนมา 🌏 ในขณะที่อาคารสูงทั่วกรุงเทพฯ แกว่งไกวเล็กน้อยเพียงชั่วครู่ แต่กลับมีตึกหนึ่งที่ “พังลงทั้งหลัง” 😱 ตึกแห่งนั้นคือ อาคารสำนักงานแห่งใหม่ของ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

    เสียงระเบิดของโครงสร้างถล่มลงมา เสียงผู้รอดชีวิตร้องขอความช่วยเหลือ... และเสียง “ประชาชน” ที่เริ่มตั้งคำถามดังยิ่งกว่าเสียงไหน ๆ

    ทำไมตึกเดียวในไทยถึงถล่มทั้งหลัง?

    สตง. ไม่ตรวจสอบโครงการของตนเองหรือ?

    หรือระบบรัฐไทยล้มเหลวในระดับโครงสร้าง... ทั้งจริง ๆ และเชิงเปรียบเทียบ?

    📘 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หรือ Office of the Auditor General of Thailand คือหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ 🇹🇭 มีภารกิจสำคัญในการตรวจสอบ การใช้เงินของภาครัฐให้ถูกต้อง โปร่งใส และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

    📌 ภารกิจหลักของ สตง.
    1. ตรวจสอบงบประมาณหน่วยงานรัฐ (Financial Audit)
    2. ตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย (Compliance Audit)
    3. ตรวจสอบประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Performance Audit)

    นอกจากบทบาทในการตรวจสอบ สตง. ยังเสนอแนะการบริหาร และใช้จ่ายงบประมาณ พร้อมจัดทำรายงานประจำปีต่อรัฐสภา และประชาชนผ่านเว็บไซต์ www.audit.go.th เพื่อให้เกิด “ธรรมาภิบาล” ที่แท้จริง

    สตง. ทำหน้าที่เป็น “ผู้ตรวจสอบความโปร่งใสของรัฐ” แต่เมื่อสำนักงานของตัวเองถล่ม... ใครจะตรวจสอบ “ผู้ตรวจสอบ”?

    🧱 โครงการตึกใหม่ สตง. ต้นทุน 2,560 ล้านบาท แลกกับภาพลักษณ์องค์กร

    🏗️ ข้อมูลโครงการ
    สร้างที่:ถนนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

    ขนาดอาคาร 30 ชั้น บนพื้นที่ 11 ไร่

    งบประมาณรวม 2,560 ล้านบาท

    ผู้รับเหมาคือ กิจการร่วมค้า ITD-CREC เป็นบริษัทร่วมลงทุนระหว่างบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) และบริษัทไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด

    บริษัทควบคุมงานคือ กิจการร่วมค้าพีเคดับเบิลยู (PKW) ที่ร่วมทุนระหว่างบริษัทพี เอ็น ซิงค์โครไนซ์ จํากัด, บริษัท ว.และ สหาย คอนซัลแตนตส์ จํากัด และบริษัท เคพี คอนซัลแทนส์ แอนด์ แมเนจเม้น จํากัด

    การก่อสร้างเริ่มตั้งแต่ปี 2563 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2569 โดยตั้งเป้าเป็นอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รองรับการขยายตัวขององค์กรในอนาคต 🌱

    แต่ในวันที่ 28 มีนาคม 2568 หลังจากสร้างมาได้เพียง 30%... ตึกก็ถล่มทั้งหลัง 😰

    💣 สาเหตุ? อุบัติเหตุ? หรือสะท้อนปัญหาลึกของระบบ?

    📍 แรงแผ่นดินไหว หรือโครงสร้างอ่อนแอ? แม้แผ่นดินไหวขนาด 8.2 จะถือว่ารุนแรง แต่บริเวณกรุงเทพฯ โดยเฉพาะจตุจักร ได้รับแรงสั่นสะเทือนประมาณ 5.1 เท่านั้น ซึ่งถือว่า ไม่แรงพอที่จะทำให้อาคารพังราบทั้งหลัง ตามมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมือง

    แล้วอะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาคารพัง?

    วัสดุก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน? 🧱

    โครงสร้างไม่รองรับแรงสั่น?

    ขั้นตอนตรวจสอบขาดความรัดกุม?

    จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า เหล็กเส้นที่ใช้ในอาคารส่วนใหญ่ มาจากบริษัทต่างชาติ ที่ถูกสั่งปิดโรงงานในปลายปี 2567 เนื่องจากไม่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัย ‼️

    🧪 ตรวจสอบวัสดุจริง กับข้อเท็จจริงที่น่าหวั่นใจ กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ สวทช. และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ได้เข้าตรวจสอบเหล็กเส้น จากสถานที่เกิดเหตุ พบว่า เหล็ก 5 จาก 6 ประเภท มาจากโรงงานเดียวกัน โรงงานนี้เคยมีประวัติการระเบิด และเครนหล่น อีกทั้งยังเคยถูกสั่งปิดชั่วคราว จากเหตุผลด้านความปลอดภัย

    ❗ คำถามคือ เหล็กจากแหล่งที่ไม่มีคุณภาพเหล่านี้ ผ่านการอนุมัติเข้าโครงการระดับพันล้าน ได้อย่างไร?

    🧠 เมื่อ “ผู้ตรวจ” ลืม “ตรวจสอบตัวเอง”? กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐไทย แม้จะมีกฎหมายและระเบียบที่รัดกุม แต่ในทางปฏิบัติ กลับพบว่า…

    การประมูลมักให้น้ำหนักกับ “ราคาถูก” มากกว่าคุณภาพ ผู้รับเหมาจึงใช้วัสดุราคาต่ำกว่ามาตรฐาน การกำกับดูแลไม่ทั่วถึง เพราะผู้ควบคุมโครงการ ก็อยู่ภายใต้งบจำกัด

    น่าเจ็บปวดที่เหตุการณ์นี้เกิดกับ “สตง.” ผู้ที่ควรจะเป็นต้นแบบของความโปร่งใส

    ⚖️ การเมืองในองค์กรอิสระ: อิสระจริง หรือเลือกกันเอง? โครงสร้าง คตง. และการสรรหา คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) มาจากการสรรหาโดย ส.ว. ปัจจุบันผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ได้รับการแต่งตั้งโดย ส.ว. ชุดพิเศษ การแต่งตั้งกรรมการหลายคน มีข้อครหาว่าไม่โปร่งใส และถูกฟ้องต่อศาลปกครอง

    ⛔ จุดนี้เองที่ทำให้ประชาชนเริ่มตั้งคำถามถึง “อิสรภาพ” ขององค์กรที่ควรเป็นอิสระจากการเมือง

    📣 กระแสโซเชียล & ประชาชน “เสียงสมน้ำหน้า” ดังยิ่งกว่าความเศร้า ในขณะที่ครอบครัวผู้เสียชีวิต ยังรอการกู้ร่างในซากตึก โลกออนไลน์กลับเต็มไปด้วยเสียงแดกดัน เช่น

    “ผู้ตรวจ ลืมตรวจตึกตัวเอง”

    “สมน้ำหน้าที่พังเพราะไม่โปร่งใส”

    “เงินภาษีคนไทยพังลงต่อหน้า”

    คำพูดเหล่านี้อาจดูโหดร้าย แต่ก็สะท้อนความรู้สึกของคนจำนวนมาก ที่รู้สึกว่า “แม้แต่หน่วยงานตรวจสอบ ก็ยังไม่รอดจากระบบที่พัง”

    📉 วิกฤตศรัทธา & บทเรียนราคาแพง สิ่งที่สูญเสียไม่ใช่แค่งบประมาณ หรือชีวิต… แต่คือ ความเชื่อมั่นต่อระบบรัฐ

    🚨 บทเรียนสำคัญที่รัฐต้องรับให้ได้ การคัดเลือกผู้รับเหมา ควรมีระบบที่ยึด “คุณภาพ” เป็นหลัก ต้องมีการตรวจสอบหลายชั้น โดยอิสระจริง ๆ ปฏิรูประบบจัดซื้อจัดจ้าง ให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพิ่มบทลงโทษกรณีวัสดุหรือผู้รับเหมาไม่ได้มาตรฐาน

    📌 จากตึกถล่ม สู่การตรวจสอบศรัทธาประชาชน เหตุการณ์ตึก สตง. ถล่ม อาจเป็นจุดเปลี่ยนที่เจ็บปวดของประเทศไทย 🕯️ แต่ในขณะเดียวกัน... นี่อาจเป็นโอกาสในการทบทวนระบบราชการ และการบริหารงบประมาณของรัฐอย่างแท้จริง

    อย่าให้เสียง “สมน้ำหน้า” ดังกลบเสียงของผู้เสียชีวิต อย่าให้ตึกที่พัง เป็นเพียงข่าวแค่ไม่กี่วัน แต่ให้มันเป็นบทเรียนที่สร้าง “การเปลี่ยนแปลง”

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 021119 เม.ย. 2568

    📢#ตึกสตงถล่ม #ผู้ตรวจถูกตรวจ #แผ่นดินไหว2568 #ข่าวด่วน #เหล็กไม่ได้มาตรฐาน #สตงคือใคร #ความโปร่งใสภาครัฐ #อาคารถล่มกรุงเทพ #ITDCREC #ข่าวไทย
    เมื่อเสียงสมน้ำหน้า เคล้าก่นด่า ดังกว่า... ตึก สตง. ถล่ม! วิกฤตศรัทธาหน่วยตรวจ ลืมสำรวจตัวเอง? ไม่ใช่แค่ตึกที่พัง แต่ความเชื่อมั่น ในกระบวนการของภาครัฐเอง ก็สั่นสะเทือนไปทั่วประเทศ 😓 🏢 เหตุการณ์ถล่ม ของตึกเดียวในประเทศไทย จากแผ่นดินไหว จุดชนวนคำถามถึงความโปร่งใส ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ และทำให้หน่วยงาน “ผู้ตรวจ” กลายเป็น “ผู้ถูกตรวจสอบ” เสียเอง 🔎 เมื่อคำถามไม่ได้มีแค่ “ทำไมตึกถล่ม” แต่เป็น “ใครจะรับผิดชอบ?” 28 มีนาคม 2568 เวลา 14.37 น. กรุงเทพฯ สะเทือนจากแรงแผ่นดินไหวขนาด 8.2 แมกนิจูด ศูนย์กลางที่เมียนมา 🌏 ในขณะที่อาคารสูงทั่วกรุงเทพฯ แกว่งไกวเล็กน้อยเพียงชั่วครู่ แต่กลับมีตึกหนึ่งที่ “พังลงทั้งหลัง” 😱 ตึกแห่งนั้นคือ อาคารสำนักงานแห่งใหม่ของ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เสียงระเบิดของโครงสร้างถล่มลงมา เสียงผู้รอดชีวิตร้องขอความช่วยเหลือ... และเสียง “ประชาชน” ที่เริ่มตั้งคำถามดังยิ่งกว่าเสียงไหน ๆ ทำไมตึกเดียวในไทยถึงถล่มทั้งหลัง? สตง. ไม่ตรวจสอบโครงการของตนเองหรือ? หรือระบบรัฐไทยล้มเหลวในระดับโครงสร้าง... ทั้งจริง ๆ และเชิงเปรียบเทียบ? 📘 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หรือ Office of the Auditor General of Thailand คือหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ 🇹🇭 มีภารกิจสำคัญในการตรวจสอบ การใช้เงินของภาครัฐให้ถูกต้อง โปร่งใส และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน 📌 ภารกิจหลักของ สตง. 1. ตรวจสอบงบประมาณหน่วยงานรัฐ (Financial Audit) 2. ตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย (Compliance Audit) 3. ตรวจสอบประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Performance Audit) นอกจากบทบาทในการตรวจสอบ สตง. ยังเสนอแนะการบริหาร และใช้จ่ายงบประมาณ พร้อมจัดทำรายงานประจำปีต่อรัฐสภา และประชาชนผ่านเว็บไซต์ www.audit.go.th เพื่อให้เกิด “ธรรมาภิบาล” ที่แท้จริง สตง. ทำหน้าที่เป็น “ผู้ตรวจสอบความโปร่งใสของรัฐ” แต่เมื่อสำนักงานของตัวเองถล่ม... ใครจะตรวจสอบ “ผู้ตรวจสอบ”? 🧱 โครงการตึกใหม่ สตง. ต้นทุน 2,560 ล้านบาท แลกกับภาพลักษณ์องค์กร 🏗️ ข้อมูลโครงการ สร้างที่:ถนนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ขนาดอาคาร 30 ชั้น บนพื้นที่ 11 ไร่ งบประมาณรวม 2,560 ล้านบาท ผู้รับเหมาคือ กิจการร่วมค้า ITD-CREC เป็นบริษัทร่วมลงทุนระหว่างบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) และบริษัทไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทควบคุมงานคือ กิจการร่วมค้าพีเคดับเบิลยู (PKW) ที่ร่วมทุนระหว่างบริษัทพี เอ็น ซิงค์โครไนซ์ จํากัด, บริษัท ว.และ สหาย คอนซัลแตนตส์ จํากัด และบริษัท เคพี คอนซัลแทนส์ แอนด์ แมเนจเม้น จํากัด การก่อสร้างเริ่มตั้งแต่ปี 2563 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2569 โดยตั้งเป้าเป็นอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รองรับการขยายตัวขององค์กรในอนาคต 🌱 แต่ในวันที่ 28 มีนาคม 2568 หลังจากสร้างมาได้เพียง 30%... ตึกก็ถล่มทั้งหลัง 😰 💣 สาเหตุ? อุบัติเหตุ? หรือสะท้อนปัญหาลึกของระบบ? 📍 แรงแผ่นดินไหว หรือโครงสร้างอ่อนแอ? แม้แผ่นดินไหวขนาด 8.2 จะถือว่ารุนแรง แต่บริเวณกรุงเทพฯ โดยเฉพาะจตุจักร ได้รับแรงสั่นสะเทือนประมาณ 5.1 เท่านั้น ซึ่งถือว่า ไม่แรงพอที่จะทำให้อาคารพังราบทั้งหลัง ตามมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมือง แล้วอะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาคารพัง? วัสดุก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน? 🧱 โครงสร้างไม่รองรับแรงสั่น? ขั้นตอนตรวจสอบขาดความรัดกุม? จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า เหล็กเส้นที่ใช้ในอาคารส่วนใหญ่ มาจากบริษัทต่างชาติ ที่ถูกสั่งปิดโรงงานในปลายปี 2567 เนื่องจากไม่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัย ‼️ 🧪 ตรวจสอบวัสดุจริง กับข้อเท็จจริงที่น่าหวั่นใจ กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ สวทช. และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ได้เข้าตรวจสอบเหล็กเส้น จากสถานที่เกิดเหตุ พบว่า เหล็ก 5 จาก 6 ประเภท มาจากโรงงานเดียวกัน โรงงานนี้เคยมีประวัติการระเบิด และเครนหล่น อีกทั้งยังเคยถูกสั่งปิดชั่วคราว จากเหตุผลด้านความปลอดภัย ❗ คำถามคือ เหล็กจากแหล่งที่ไม่มีคุณภาพเหล่านี้ ผ่านการอนุมัติเข้าโครงการระดับพันล้าน ได้อย่างไร? 🧠 เมื่อ “ผู้ตรวจ” ลืม “ตรวจสอบตัวเอง”? กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐไทย แม้จะมีกฎหมายและระเบียบที่รัดกุม แต่ในทางปฏิบัติ กลับพบว่า… การประมูลมักให้น้ำหนักกับ “ราคาถูก” มากกว่าคุณภาพ ผู้รับเหมาจึงใช้วัสดุราคาต่ำกว่ามาตรฐาน การกำกับดูแลไม่ทั่วถึง เพราะผู้ควบคุมโครงการ ก็อยู่ภายใต้งบจำกัด น่าเจ็บปวดที่เหตุการณ์นี้เกิดกับ “สตง.” ผู้ที่ควรจะเป็นต้นแบบของความโปร่งใส ⚖️ การเมืองในองค์กรอิสระ: อิสระจริง หรือเลือกกันเอง? โครงสร้าง คตง. และการสรรหา คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) มาจากการสรรหาโดย ส.ว. ปัจจุบันผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ได้รับการแต่งตั้งโดย ส.ว. ชุดพิเศษ การแต่งตั้งกรรมการหลายคน มีข้อครหาว่าไม่โปร่งใส และถูกฟ้องต่อศาลปกครอง ⛔ จุดนี้เองที่ทำให้ประชาชนเริ่มตั้งคำถามถึง “อิสรภาพ” ขององค์กรที่ควรเป็นอิสระจากการเมือง 📣 กระแสโซเชียล & ประชาชน “เสียงสมน้ำหน้า” ดังยิ่งกว่าความเศร้า ในขณะที่ครอบครัวผู้เสียชีวิต ยังรอการกู้ร่างในซากตึก โลกออนไลน์กลับเต็มไปด้วยเสียงแดกดัน เช่น “ผู้ตรวจ ลืมตรวจตึกตัวเอง” “สมน้ำหน้าที่พังเพราะไม่โปร่งใส” “เงินภาษีคนไทยพังลงต่อหน้า” คำพูดเหล่านี้อาจดูโหดร้าย แต่ก็สะท้อนความรู้สึกของคนจำนวนมาก ที่รู้สึกว่า “แม้แต่หน่วยงานตรวจสอบ ก็ยังไม่รอดจากระบบที่พัง” 📉 วิกฤตศรัทธา & บทเรียนราคาแพง สิ่งที่สูญเสียไม่ใช่แค่งบประมาณ หรือชีวิต… แต่คือ ความเชื่อมั่นต่อระบบรัฐ 🚨 บทเรียนสำคัญที่รัฐต้องรับให้ได้ การคัดเลือกผู้รับเหมา ควรมีระบบที่ยึด “คุณภาพ” เป็นหลัก ต้องมีการตรวจสอบหลายชั้น โดยอิสระจริง ๆ ปฏิรูประบบจัดซื้อจัดจ้าง ให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพิ่มบทลงโทษกรณีวัสดุหรือผู้รับเหมาไม่ได้มาตรฐาน 📌 จากตึกถล่ม สู่การตรวจสอบศรัทธาประชาชน เหตุการณ์ตึก สตง. ถล่ม อาจเป็นจุดเปลี่ยนที่เจ็บปวดของประเทศไทย 🕯️ แต่ในขณะเดียวกัน... นี่อาจเป็นโอกาสในการทบทวนระบบราชการ และการบริหารงบประมาณของรัฐอย่างแท้จริง อย่าให้เสียง “สมน้ำหน้า” ดังกลบเสียงของผู้เสียชีวิต อย่าให้ตึกที่พัง เป็นเพียงข่าวแค่ไม่กี่วัน แต่ให้มันเป็นบทเรียนที่สร้าง “การเปลี่ยนแปลง” ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 021119 เม.ย. 2568 📢#ตึกสตงถล่ม #ผู้ตรวจถูกตรวจ #แผ่นดินไหว2568 #ข่าวด่วน #เหล็กไม่ได้มาตรฐาน #สตงคือใคร #ความโปร่งใสภาครัฐ #อาคารถล่มกรุงเทพ #ITDCREC #ข่าวไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 715 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตามหาความจริง ตึกถล่มจตุจักร

    แผ่นดินไหวขนาด 8.2 ลึก 10 กิโลเมตร บริเวณเมืองลอยกอ ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา เมื่อเวลา 13.20 น. ของวันศุกร์ที่ 28 มี.ค. สั่นสะเทือนมาถึงกรุงเทพฯ และปริมณฑล หนึ่งในนั้นคือโครงการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ สูง 30 ชั้น บนถนนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร พังถล่มลงมา ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค.มีผู้เสียชีวิตที่เกิดเหตุ 11 ราย เสียชีวิตที่โรงพยาบาล 1 ราย บาดเจ็บ 18 ราย สูญหายอีกจำนวนมาก

    สังคมตั้งข้อสงสัยไปที่การก่อสร้างอาคารที่ไม่ได้คุณภาพ โครงการนี้ใช้งบประมาณ 2,136 ล้านบาท ผู้รับจ้างคือ กิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จํากัด ส่วนผู้ควบคุมงานก่อสร้างคือ กิจการร่วมค้าพีเคดับเบิลยู บริษัท พี เอ็น ซิงค์โครไนซ์ จํากัด, บริษัท ว.และสหาย คอนซัลแตนส์ จํากัด และ บริษัท เคพี คอนซัลแทนส์ แอนด์ แมเนจเม้น จํากัด งบประมาณ 74.653 ล้านบาท

    มีการตรวจสอบบริษัทผู้รับจ้างอย่างไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) พบความผิดปกติตรงที่เมื่อปี 2567 ได้โพสต์ภาพและข่าวการเฉลิมฉลองปิดงานก่อสร้างชั้นดาดฟ้า ในบัญชีโซเชียลมีเดียของบริษัทฯ นำเสนอว่าใช้ระบบโครงสร้างแบบแกนกลางรับแรง และพื้นไร้คาน พอเกิดเหตุได้ลบบทความทิ้ง ไม่นับรวมการตรวจสอบที่ตั้งบริษัท พบว่าเป็นตึกแถวธรรมดาในซอยพุทธบูชา 44 แยก 11 เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ

    ขณะที่ สตง.เจ้าของโครงการ ชี้แจงว่าได้ประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และเร่งตรวจสอบสาเหตุที่เกิดขึ้น ยืนยีนว่ากระบวนการดำเนินโครงการฯ เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการแก้แบบโครงสร้างให้เล็กลงเป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อน เพราะออกแบบให้เสาสี่เหลี่ยมด้านหน้าอาคารสูงสามชั้นมีขนาด 1.40 x 1.40 เมตร ส่วนชั้น 29 ถึงดาดฟ้า เป็นเสากลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.80 เมตร เพื่อรองรับหลังคาตึก เป็นไปตามที่ผู้ออกแบบกำหนดไว้ไม่มีการแก้ไข

    กระทรวงอุตสาหกรรมได้เก็บตัวอย่างเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างไปตรวจสอบที่สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่ามีเหล็กบางส่วนไม่ได้มาตรฐานมาจากบริษัทที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) สั่งปิดไปเมื่อเดือน ธ.ค.2567 เนื่องจากจำหน่ายเหล็กไม่ได้ตามมาตรฐาน

    ถึงบัดนี้นอกจากความรับผิดชอบของผู้รับจ้างแล้ว การค้นหาความจริงถึงสาเหตุตึกถล่มมาจากภัยธรรมชาติหรือการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานยังคงดำเนินต่อไป ตามที่ รมว.มหาดไทยตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงที่มีวิศวกรใหญ่กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นประธาน ซึ่งให้เวลาสืบสวนภายใน 7 วัน

    #Newskit
    ตามหาความจริง ตึกถล่มจตุจักร แผ่นดินไหวขนาด 8.2 ลึก 10 กิโลเมตร บริเวณเมืองลอยกอ ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา เมื่อเวลา 13.20 น. ของวันศุกร์ที่ 28 มี.ค. สั่นสะเทือนมาถึงกรุงเทพฯ และปริมณฑล หนึ่งในนั้นคือโครงการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ สูง 30 ชั้น บนถนนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร พังถล่มลงมา ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค.มีผู้เสียชีวิตที่เกิดเหตุ 11 ราย เสียชีวิตที่โรงพยาบาล 1 ราย บาดเจ็บ 18 ราย สูญหายอีกจำนวนมาก สังคมตั้งข้อสงสัยไปที่การก่อสร้างอาคารที่ไม่ได้คุณภาพ โครงการนี้ใช้งบประมาณ 2,136 ล้านบาท ผู้รับจ้างคือ กิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จํากัด ส่วนผู้ควบคุมงานก่อสร้างคือ กิจการร่วมค้าพีเคดับเบิลยู บริษัท พี เอ็น ซิงค์โครไนซ์ จํากัด, บริษัท ว.และสหาย คอนซัลแตนส์ จํากัด และ บริษัท เคพี คอนซัลแทนส์ แอนด์ แมเนจเม้น จํากัด งบประมาณ 74.653 ล้านบาท มีการตรวจสอบบริษัทผู้รับจ้างอย่างไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) พบความผิดปกติตรงที่เมื่อปี 2567 ได้โพสต์ภาพและข่าวการเฉลิมฉลองปิดงานก่อสร้างชั้นดาดฟ้า ในบัญชีโซเชียลมีเดียของบริษัทฯ นำเสนอว่าใช้ระบบโครงสร้างแบบแกนกลางรับแรง และพื้นไร้คาน พอเกิดเหตุได้ลบบทความทิ้ง ไม่นับรวมการตรวจสอบที่ตั้งบริษัท พบว่าเป็นตึกแถวธรรมดาในซอยพุทธบูชา 44 แยก 11 เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ ขณะที่ สตง.เจ้าของโครงการ ชี้แจงว่าได้ประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และเร่งตรวจสอบสาเหตุที่เกิดขึ้น ยืนยีนว่ากระบวนการดำเนินโครงการฯ เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการแก้แบบโครงสร้างให้เล็กลงเป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อน เพราะออกแบบให้เสาสี่เหลี่ยมด้านหน้าอาคารสูงสามชั้นมีขนาด 1.40 x 1.40 เมตร ส่วนชั้น 29 ถึงดาดฟ้า เป็นเสากลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.80 เมตร เพื่อรองรับหลังคาตึก เป็นไปตามที่ผู้ออกแบบกำหนดไว้ไม่มีการแก้ไข กระทรวงอุตสาหกรรมได้เก็บตัวอย่างเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างไปตรวจสอบที่สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่ามีเหล็กบางส่วนไม่ได้มาตรฐานมาจากบริษัทที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) สั่งปิดไปเมื่อเดือน ธ.ค.2567 เนื่องจากจำหน่ายเหล็กไม่ได้ตามมาตรฐาน ถึงบัดนี้นอกจากความรับผิดชอบของผู้รับจ้างแล้ว การค้นหาความจริงถึงสาเหตุตึกถล่มมาจากภัยธรรมชาติหรือการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานยังคงดำเนินต่อไป ตามที่ รมว.มหาดไทยตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงที่มีวิศวกรใหญ่กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นประธาน ซึ่งให้เวลาสืบสวนภายใน 7 วัน #Newskit
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 575 มุมมอง 0 รีวิว
  • คลอดโผมหาดไทย สายสิงห์ดำ-เด็กเนวิน ผงาด
    .
    โผแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยหลังเลื่อนไม่เอาเข้าครม.มาสองสัปดาห์ เพราะติดขัดปัญหาบางประการในการจัดสรรตำแหน่งให้ลงตัว รอบนี้ อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ลงมาดูโผทุกรายชื่อและมีการตรวจสอบประวัติการทำงาน ผลงาน อย่างละเอียด โดยเฉพาะในตำแหน่งอธิบดีและผู้ว่าฯจังหวัดสำคัญ ซึ่งสุดท้าย อนุทิน และนายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ก็ได้ชงโผมหาดไทยเข้าครม.วันนี้ (8ต.ค.) และที่ประชุม เห็นชอบ
    .
    รายชื่อส่วนใหญ่ ก็เป็นไปตามที่มีข่าวก่อนหน้านี้ ที่ก็พบว่าเครือข่ายสิงห์ดำ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ กับปลัดมหาดไทย อรรษิษฐ์ ได้เข้าสู่ตำแหน่งสำคัญกันหลายคน รวมถึงเครือข่ายสิงห์มหาดไทยสายใกล้ชิดเครือข่ายบ้านใหญ่บุรีรัมย์ ก็ได้ดิบได้ดีกันหลายคน เช่น นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ ที่จะเกษียณปีหน้า ก็โยกจากอธิบดี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ไปเป็น อธิบดีกรมการปกครอง หรือนายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ จาก ผวจ.บุรีรัมย์ ฐานที่มั่นของเนวิน ชิดชอบ และพรรคภูมิใจไทย ก็ได้เป็น อธิบดี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น
    .
    โดยรายละเอียดของโผมหาดไทยมีดังนี้
    น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล โฆษกกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า  ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 8 ต.ค. 67 มีมติเห็นชอบการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง สังกัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 25 ราย ดังนี้  
     .
    1.นายขจร ศรีชวโนทัย พ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง
     .
    2.นายสันติธร ยิ้มละมัย พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดลำพูน และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง
     .
    3.นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดอุบลราชธานี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
     .
    4.นายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดจังหวัดพังงา และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
     .
    5.นายอดิเทพ กมลเวชช์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดพิจิตร และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
     .
    6.นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ พ้นจากตำแหน่งอธิบดี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมการปกครอง
     .
    7.นายภาสกร บุญญลักษม์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดปทุมธานี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
     .
    8.นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมโยธาธิการและผังเมือง
     .
    9.นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดบุรีรัมย์ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
     .
    10.นายอังกูร ศีลาเทวากูล พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดกระบี่
     .
    11.นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดนครศรีธรรมราช และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดฉะเชิงเทรา
     .
    12.นายชรินทร์ ทองสุข พันจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดยโสธร และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดเชียงราย 
     .
    13.นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดราชบุรี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดนนทบุรี
     .
    14. นายสมคิด จันทมฤก พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดปทุมธานี
     .
    15.นายวีระพันธ์ ดีอ่อน พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดปราจีนบุรี
     .
    16. นายทวี เสริมภักดีกุล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดนครสวรรค์ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดพิษณุโลก
     .
    17.นายศรัณยู มีทองคำ พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดเพชรบูรณ์
     .
    18.นายชุติเดช มีจันทร์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดแพร่ และแต่งตั้งที่ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดลำปาง 
     .
    19.นายโชตินรินทร์ เกิดสม พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่งผู้ว่าราชการจังหวัด  จังหวัดสงขลา
     .
    20.นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดพัทลุง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดสมุทรสงคราม
     .
    21.นายนริศ นิรามัยวงศ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดระนอง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด  จังหวัดสุทรสาคร
     .
    22.นายพิริยะ ฉันทดิลก พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดอ่างทอง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดสุพรรณบุรี
     .
    23.นายชำนาญ ชื่นตา พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดสุรินทร์
     .
    24.นายราชันย์ ซุ้นหั้ว พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด  จังหวัดอุดรธานี
     .
    25.ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดอำนาจเจริญ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดอุบลราชธานี
    ..............
    Sondhi X
    คลอดโผมหาดไทย สายสิงห์ดำ-เด็กเนวิน ผงาด . โผแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยหลังเลื่อนไม่เอาเข้าครม.มาสองสัปดาห์ เพราะติดขัดปัญหาบางประการในการจัดสรรตำแหน่งให้ลงตัว รอบนี้ อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ลงมาดูโผทุกรายชื่อและมีการตรวจสอบประวัติการทำงาน ผลงาน อย่างละเอียด โดยเฉพาะในตำแหน่งอธิบดีและผู้ว่าฯจังหวัดสำคัญ ซึ่งสุดท้าย อนุทิน และนายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ก็ได้ชงโผมหาดไทยเข้าครม.วันนี้ (8ต.ค.) และที่ประชุม เห็นชอบ . รายชื่อส่วนใหญ่ ก็เป็นไปตามที่มีข่าวก่อนหน้านี้ ที่ก็พบว่าเครือข่ายสิงห์ดำ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ กับปลัดมหาดไทย อรรษิษฐ์ ได้เข้าสู่ตำแหน่งสำคัญกันหลายคน รวมถึงเครือข่ายสิงห์มหาดไทยสายใกล้ชิดเครือข่ายบ้านใหญ่บุรีรัมย์ ก็ได้ดิบได้ดีกันหลายคน เช่น นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ ที่จะเกษียณปีหน้า ก็โยกจากอธิบดี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ไปเป็น อธิบดีกรมการปกครอง หรือนายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ จาก ผวจ.บุรีรัมย์ ฐานที่มั่นของเนวิน ชิดชอบ และพรรคภูมิใจไทย ก็ได้เป็น อธิบดี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น . โดยรายละเอียดของโผมหาดไทยมีดังนี้ น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล โฆษกกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า  ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 8 ต.ค. 67 มีมติเห็นชอบการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง สังกัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 25 ราย ดังนี้    . 1.นายขจร ศรีชวโนทัย พ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง  . 2.นายสันติธร ยิ้มละมัย พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดลำพูน และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง  . 3.นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดอุบลราชธานี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง  . 4.นายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดจังหวัดพังงา และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง  . 5.นายอดิเทพ กมลเวชช์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดพิจิตร และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง  . 6.นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ พ้นจากตำแหน่งอธิบดี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมการปกครอง  . 7.นายภาสกร บุญญลักษม์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดปทุมธานี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  . 8.นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมโยธาธิการและผังเมือง  . 9.นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดบุรีรัมย์ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  . 10.นายอังกูร ศีลาเทวากูล พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดกระบี่  . 11.นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดนครศรีธรรมราช และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดฉะเชิงเทรา  . 12.นายชรินทร์ ทองสุข พันจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดยโสธร และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดเชียงราย   . 13.นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดราชบุรี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดนนทบุรี  . 14. นายสมคิด จันทมฤก พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดปทุมธานี  . 15.นายวีระพันธ์ ดีอ่อน พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดปราจีนบุรี  . 16. นายทวี เสริมภักดีกุล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดนครสวรรค์ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดพิษณุโลก  . 17.นายศรัณยู มีทองคำ พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดเพชรบูรณ์  . 18.นายชุติเดช มีจันทร์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดแพร่ และแต่งตั้งที่ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดลำปาง   . 19.นายโชตินรินทร์ เกิดสม พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่งผู้ว่าราชการจังหวัด  จังหวัดสงขลา  . 20.นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดพัทลุง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดสมุทรสงคราม  . 21.นายนริศ นิรามัยวงศ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดระนอง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด  จังหวัดสุทรสาคร  . 22.นายพิริยะ ฉันทดิลก พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดอ่างทอง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดสุพรรณบุรี  . 23.นายชำนาญ ชื่นตา พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดสุรินทร์  . 24.นายราชันย์ ซุ้นหั้ว พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด  จังหวัดอุดรธานี  . 25.ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดอำนาจเจริญ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดอุบลราชธานี .............. Sondhi X
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1971 มุมมอง 0 รีวิว