รีโพสต์เพจมูลนิธิบูรณะนิเวศ 4 เมษายน 2568 พิรุธใหม่ “ซินเคอหยวน” ซุก “ฝุ่นแดง” เกือบครึ่งแสนตัน.จากกรณีการเกิดแผ่นดินไหวจนอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ถล่มลง ชื่อของบริษัททุนจีนที่ปรากฏเป็นข่าวและถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง นอกจากบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) แล้ว ยังมีชื่อของบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด เคียงคู่มาด้วย ในฐานะเจ้าของผลิตภัณฑ์เหล็กเส้นยี่ห้อ SKY.ทั้งนี้ เหล็กข้ออ้อยขนาด 20 และ 32 มิลลิเมตรที่กระทรวงอุตสาหกรรมเก็บตัวอย่างมาจากตึก สตง. ซึ่งทดสอบแล้วพบว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ก็คือเหล็ก SKY นั่นเอง.จากผลการตรวจพบข้อเท็จจริงดังกล่าว ทำให้เมื่อวันที่ 2 เมษายน ที่ผ่านมา คณะตรวจการสุดซอยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร่วมกับตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เข้าตรวจสอบโรงงานซินเคอหยวน ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง โดยตั้งเป้าตรวจสอบใน 2 ประเด็นหลัก.นั่นคือ 1. ตรวจสอบว่าเหล็กตกมาตรฐานของบริษัทที่เคยถูกยึดอายัดไว้เดือนธันวาคม 2567 ยังอยู่ครบหรือไม่ 2. บริษัทซึ่งถูกสั่งปิดปรับปรุงตั้งแต่ปลายปีนั้น มีการลักลอบประกอบกิจการหรือไม่.ผลการตรวจสอบในประเด็นแรกพบว่า เหล็กของกลางที่เจ้าหน้าที่ได้ทำการยึดอายัดไว้ยังอยู่ครบถ้วน ไม่มีการเคลื่อนย้าย ส่วนการตรวจในประเด็นที่ 2 ในวันที่ลงตรวจก็ไม่พบการประกอบกิจการ.อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มสื่อมวลชนที่ติดตามประเด็น ต่างตั้งข้อสังเกตว่า สภาพโรงงานดู “สะอาดเรียบร้อย” พร้อมรับการตรวจราวทราบล่วงหน้า รวมทั้งผู้เป็นตัวแทนบริษัทได้แสดงความมั่นใจ และบางช่วงได้ทักทายผู้สื่อข่าวด้วยสีหน้ายิ้มแย้มว่า “เป็นไงนักข่าวได้ข่าวอะไรไหม”.กระนั้นก็ตาม จากการที่คณะตรวจการสุดซอยฯ ตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าในโรงงานจากบิลค่าไฟ แม้พบว่า ค่าไฟในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2568 จะลดลงอย่างมาก จากค่าเฉลี่ยเดิมที่ประมาณเดือนละ 150 ล้านบาท คงเหลือที่ 1.2 ล้านบาท 0.64 ล้านบาท และ 6.4 ล้านบาท ตามลำดับ แต่ตัวเลขของเดือนล่าสุดก็ยังมีความน่าสงสัย.แต่สำหรับประเด็นชวนกังขาที่แท้จริงกลับอยู่ที่ “ฝุ่นแดง” ที่ทางบริษัทมีอยู่ในครอบครอง ซึ่งเจ้าหน้าที่ประเมินว่าน่าจะมีจำนวนมากกว่า 43,000 ตัน ในขณะที่จำนวนที่บริษัทแจ้งต่อภาครัฐมีเพียง 2,245 ตันต่อปี อีกทั้งในปี 2567 บริษัทฯ ไม่มีการแจ้งหรือรายงานการกักเก็บฝุ่นแดงแต่อย่างใด .อนึ่ง ฝุ่นแดงคือฝุ่นที่เกิดจากเตาหลอมเหล็ก ซึ่งในระดับนานาชาติถือว่าเป็นของเสียอันตรายที่ต้องควบคุมการก่อเกิด การเคลื่อนย้าย และการกำจัดอย่างเข้มงวด เนื่องจากมีส่วนประกอบเป็นโลหะหนักที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม.การมีฝุ่นแดงในครอบครองในกรณีของซินเคอหยวนจึงถือว่าเป็นเรื่องปกติ ในฐานะของเสียจากกระบวนการผลิต เพียงแต่ปริมาณที่แตกต่างมหาศาล จากระดับ 2,000 ตัน กลายเป็น 40,000 ตัน ก่อให้เกิดคำถามใหญ่และสำคัญว่า ฝุ่นแดงส่วนเกินนั้นมาจากไหน และฝุ่นแดงเหล่านั้นเข้ามาอยู่ในโรงงานของบริษัทในฐานะอะไร เรื่องนี้จึงถือว่าเป็นข้อพิรุธใหญ่ที่จำเป็นต้องมีการสืบสวนสอบสวนต่ออย่างเอาจริงเอาจัง.เท่าที่เจ้าหน้าที่มูลนิธิบูรณะนิเวศสังเกตดูกองถุงบิ๊กแบกบรรจุฝุ่นแดงภายในโรงงานของซินเคอหยวน พบว่าลักษณะของถุงมีความแตกต่างกัน ส่วนที่กองอยู่ในฟากหนึ่งเป็นถุงสีขาวออกน้ำตาลที่มีดูหมองและเก่า หลายจุดมีมีหยากไย่เกาะปกคลุม .ในขณะที่อีกฟากมีถุงบิ๊กแบกสีดำที่มีอักษรจีนกำกับ ซึ่งลักษณะดูใหม่กว่า และส่วนใหญ่จะวางทับถุงสีขาวน้ำตาล คล้ายกับว่าถุงเหล่านี้ถูกนำหรือเคลื่อนย้ายเข้ามาทีหลัง.สำหรับถุงบิ๊กแบกสีดำที่ที่มีอักษรจีนเป็นแบบเดียวกับเราเคยพบมาก่อนจากการลงพื้นที่โรงงานในจังหวัดสมุทรสาคร โดยเป็นถุงบรรจุฝุ่นแดงเช่นเดียวกัน.ทั้งนี้ เมื่อวานนี้ (3 เมษายน 2568) ทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้ประสานดีเอสไอรับประเด็นเรื่องฝุ่นแดงกรณีบริษัทซินเคอหยวนนี้เป็นคดีพิเศษแล้ว ซึ่งทางเพจจะนำเสนอประเด็นเกี่ยวเนื่องอื่นๆ และความคืบหน้าต่อไป......เรื่องและภาพโดย นราธิป ทองถนอม มูลนิธิบูรณะนิเวศ
รีโพสต์เพจมูลนิธิบูรณะนิเวศ 4 เมษายน 2568 พิรุธใหม่ “ซินเคอหยวน” ซุก “ฝุ่นแดง” เกือบครึ่งแสนตัน.จากกรณีการเกิดแผ่นดินไหวจนอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ถล่มลง ชื่อของบริษัททุนจีนที่ปรากฏเป็นข่าวและถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง นอกจากบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) แล้ว ยังมีชื่อของบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด เคียงคู่มาด้วย ในฐานะเจ้าของผลิตภัณฑ์เหล็กเส้นยี่ห้อ SKY.ทั้งนี้ เหล็กข้ออ้อยขนาด 20 และ 32 มิลลิเมตรที่กระทรวงอุตสาหกรรมเก็บตัวอย่างมาจากตึก สตง. ซึ่งทดสอบแล้วพบว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ก็คือเหล็ก SKY นั่นเอง.จากผลการตรวจพบข้อเท็จจริงดังกล่าว ทำให้เมื่อวันที่ 2 เมษายน ที่ผ่านมา คณะตรวจการสุดซอยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร่วมกับตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เข้าตรวจสอบโรงงานซินเคอหยวน ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง โดยตั้งเป้าตรวจสอบใน 2 ประเด็นหลัก.นั่นคือ 1. ตรวจสอบว่าเหล็กตกมาตรฐานของบริษัทที่เคยถูกยึดอายัดไว้เดือนธันวาคม 2567 ยังอยู่ครบหรือไม่ 2. บริษัทซึ่งถูกสั่งปิดปรับปรุงตั้งแต่ปลายปีนั้น มีการลักลอบประกอบกิจการหรือไม่.ผลการตรวจสอบในประเด็นแรกพบว่า เหล็กของกลางที่เจ้าหน้าที่ได้ทำการยึดอายัดไว้ยังอยู่ครบถ้วน ไม่มีการเคลื่อนย้าย ส่วนการตรวจในประเด็นที่ 2 ในวันที่ลงตรวจก็ไม่พบการประกอบกิจการ.อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มสื่อมวลชนที่ติดตามประเด็น ต่างตั้งข้อสังเกตว่า สภาพโรงงานดู “สะอาดเรียบร้อย” พร้อมรับการตรวจราวทราบล่วงหน้า รวมทั้งผู้เป็นตัวแทนบริษัทได้แสดงความมั่นใจ และบางช่วงได้ทักทายผู้สื่อข่าวด้วยสีหน้ายิ้มแย้มว่า “เป็นไงนักข่าวได้ข่าวอะไรไหม”.กระนั้นก็ตาม จากการที่คณะตรวจการสุดซอยฯ ตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าในโรงงานจากบิลค่าไฟ แม้พบว่า ค่าไฟในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2568 จะลดลงอย่างมาก จากค่าเฉลี่ยเดิมที่ประมาณเดือนละ 150 ล้านบาท คงเหลือที่ 1.2 ล้านบาท 0.64 ล้านบาท และ 6.4 ล้านบาท ตามลำดับ แต่ตัวเลขของเดือนล่าสุดก็ยังมีความน่าสงสัย.แต่สำหรับประเด็นชวนกังขาที่แท้จริงกลับอยู่ที่ “ฝุ่นแดง” ที่ทางบริษัทมีอยู่ในครอบครอง ซึ่งเจ้าหน้าที่ประเมินว่าน่าจะมีจำนวนมากกว่า 43,000 ตัน ในขณะที่จำนวนที่บริษัทแจ้งต่อภาครัฐมีเพียง 2,245 ตันต่อปี อีกทั้งในปี 2567 บริษัทฯ ไม่มีการแจ้งหรือรายงานการกักเก็บฝุ่นแดงแต่อย่างใด .อนึ่ง ฝุ่นแดงคือฝุ่นที่เกิดจากเตาหลอมเหล็ก ซึ่งในระดับนานาชาติถือว่าเป็นของเสียอันตรายที่ต้องควบคุมการก่อเกิด การเคลื่อนย้าย และการกำจัดอย่างเข้มงวด เนื่องจากมีส่วนประกอบเป็นโลหะหนักที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม.การมีฝุ่นแดงในครอบครองในกรณีของซินเคอหยวนจึงถือว่าเป็นเรื่องปกติ ในฐานะของเสียจากกระบวนการผลิต เพียงแต่ปริมาณที่แตกต่างมหาศาล จากระดับ 2,000 ตัน กลายเป็น 40,000 ตัน ก่อให้เกิดคำถามใหญ่และสำคัญว่า ฝุ่นแดงส่วนเกินนั้นมาจากไหน และฝุ่นแดงเหล่านั้นเข้ามาอยู่ในโรงงานของบริษัทในฐานะอะไร เรื่องนี้จึงถือว่าเป็นข้อพิรุธใหญ่ที่จำเป็นต้องมีการสืบสวนสอบสวนต่ออย่างเอาจริงเอาจัง.เท่าที่เจ้าหน้าที่มูลนิธิบูรณะนิเวศสังเกตดูกองถุงบิ๊กแบกบรรจุฝุ่นแดงภายในโรงงานของซินเคอหยวน พบว่าลักษณะของถุงมีความแตกต่างกัน ส่วนที่กองอยู่ในฟากหนึ่งเป็นถุงสีขาวออกน้ำตาลที่มีดูหมองและเก่า หลายจุดมีมีหยากไย่เกาะปกคลุม .ในขณะที่อีกฟากมีถุงบิ๊กแบกสีดำที่มีอักษรจีนกำกับ ซึ่งลักษณะดูใหม่กว่า และส่วนใหญ่จะวางทับถุงสีขาวน้ำตาล คล้ายกับว่าถุงเหล่านี้ถูกนำหรือเคลื่อนย้ายเข้ามาทีหลัง.สำหรับถุงบิ๊กแบกสีดำที่ที่มีอักษรจีนเป็นแบบเดียวกับเราเคยพบมาก่อนจากการลงพื้นที่โรงงานในจังหวัดสมุทรสาคร โดยเป็นถุงบรรจุฝุ่นแดงเช่นเดียวกัน.ทั้งนี้ เมื่อวานนี้ (3 เมษายน 2568) ทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้ประสานดีเอสไอรับประเด็นเรื่องฝุ่นแดงกรณีบริษัทซินเคอหยวนนี้เป็นคดีพิเศษแล้ว ซึ่งทางเพจจะนำเสนอประเด็นเกี่ยวเนื่องอื่นๆ และความคืบหน้าต่อไป......เรื่องและภาพโดย นราธิป ทองถนอม มูลนิธิบูรณะนิเวศ
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
10 มุมมอง
0 รีวิว