• ธรณีสงฆ์อัลไพน์ถึงเขากระโดงในเกมการเมือง.การออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนของรัฐมนตรีหลายคนที่เกี่ยวกับที่ดินเขากระโดงในช่วงนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ .จู่ๆ หลังจากนายอนุทิน ชาญวีรกูล ไปลงนามข้อตกลงกับกัมพูชาหลายเรื่อง ในการนำผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไปประชุมกัมพูชานั้น ในข้อที่ 8 ของข้อตกลง มีข้อความชัดเจนว่ารัฐบาลของสองประเทศจะเร่งรัดคณะกรรมการปักปันเขตแดนเจรจาทำการปักปันเขตแดนกันต่อไปโดยเร็ว ข้อตกลงดังกล่าวจึงกระเทือนแกนนำพรรคเพื่อไทยอย่างร้ายแรง .แผลลึกแผลนี้ยังไม่ทันสมาน ก็เกิดแผลสองขึ้น จู่ๆ กระทรวงมหาดไทยในอำนาจของหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย คือ นายอนุทิน ชาญวีรกูล และ นายชาดา ไทยเศรษฐ์ แกนนำคนสำคัญของพรรคภูมิใจไทย มีคำสั่งให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินมรดก "ยายเนื่อม" เสียทั้งสิ้น ซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองทางกฎหมาย เป็นผลทำให้บรรดาผู้ที่ซื้อที่ดินและบ้านหลายร้อยราย รวมทั้งบริษัท อัลไพน์ กอล์ฟ ซึ่งเป็นเจ้าของสนามกอล์ฟอัลไพน์ และนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ เป็นกรรมการมาก่อน ต้องอยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายที่ต้องฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ขอให้เพิกถอนคำสั่งนี้เสียภายใน 90 วัน มิฉะนั้นแล้วจะถือว่าเป็นอันยุติว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ธรณีสงฆ์ จะเป็นผลทำให้นายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ ต้องตกเก้าอี้และยังถูกเพิกถอนสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิต.แผลใจแผลนี้นับว่าเจ็บมาก ดังนั้น ไม่ถึง 3 วันต่อมา พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ก็ออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่าคำพิพากษาคดีเขากระโดงของศาลฎีกา และศาลปกครองสูงสุดถือเป็นที่สุดแล้ว ผูกพันทุกส่วนราชการที่จะต้องเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง 5,083 ไร่ ให้เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามคำพิพากษานั้น เป็นการแถลงกระทบถึงใครที่กำลังสั่งการอธิบดีกรมที่ดินอย่างแน่นอน.พอ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงไม่ขาดคำ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ก็เปิดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนทันที ว่าได้มีคำสั่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการตามคำพิพากษา เข้าครอบครองที่ดินเขากระโดง ซึ่งเป็นของการรถไฟฯ ตามคำพิพากษา.เมื่อสองรัฐมนตรีแถลงไปในแนวทางเดียวกัน ย่อมกระเทือนกระทรวงมหาดไทย กรมที่ดิน ท่ามกลางเสียงเฮ และความทุเรศทุรังที่ประชาชนมีต่อกระทรวงมหาดไทย.วันถัดมา นายอนุทิน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รีบออกมาแถลง แถว่าจะไม่มีการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์เขากระโดง หมายความว่าที่ดินเขากระโดง 5,083 ไร่ ที่รัชกาลที่ 5 พระราชทานแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการรถไฟ และรัชกาลที่ 6 ได้ตราพระราชกฤษฎีกามอบที่ดินนี้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ซ้ำเข้าไปอีก เป็นอันว่าใช้บังคับไม่ได้ ท่านผู้ชมว่ามันทุเรศไหม .มีประเด็นหนึ่งที่น่าสงสัย คือ ท่าทีขึงขังและแข็งกร้าวของสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นการเล่นสงครามประสาททางการเมืองหรือเปล่า พุ่งเป้าไปที่พรรคภูมิใจไทยโดยตรง เนื่องจากเวลานี้พรรคภูมิใจไทยเอง อยู่ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลที่ขี่คอพรรคเพื่อไทยอยู่ ยิ่งพรรคภูมิใจไทยใหญ่คับรัฐบาลมากเท่าไร พรรคเพื่อไทยก็ต้องตกที่นั่งลำบากเท่านั้น.ไม่ทราบว่าท่านรองนายกฯ อนุทิน ชาญวีรกูล ได้รับทราบปัญหานี้หรือเปล่า เพราะคุณเองเป็นคนที่อยู่นอกวงการ แต่ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ จุลจอมเกล้า นี่คุณกำลังตบหน้าพระราชกฤษฎีกาที่รัชกาลที่ 6 ออกมาประกาศว่าที่ดินนี้เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย
    ธรณีสงฆ์อัลไพน์ถึงเขากระโดงในเกมการเมือง.การออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนของรัฐมนตรีหลายคนที่เกี่ยวกับที่ดินเขากระโดงในช่วงนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ .จู่ๆ หลังจากนายอนุทิน ชาญวีรกูล ไปลงนามข้อตกลงกับกัมพูชาหลายเรื่อง ในการนำผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไปประชุมกัมพูชานั้น ในข้อที่ 8 ของข้อตกลง มีข้อความชัดเจนว่ารัฐบาลของสองประเทศจะเร่งรัดคณะกรรมการปักปันเขตแดนเจรจาทำการปักปันเขตแดนกันต่อไปโดยเร็ว ข้อตกลงดังกล่าวจึงกระเทือนแกนนำพรรคเพื่อไทยอย่างร้ายแรง .แผลลึกแผลนี้ยังไม่ทันสมาน ก็เกิดแผลสองขึ้น จู่ๆ กระทรวงมหาดไทยในอำนาจของหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย คือ นายอนุทิน ชาญวีรกูล และ นายชาดา ไทยเศรษฐ์ แกนนำคนสำคัญของพรรคภูมิใจไทย มีคำสั่งให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินมรดก "ยายเนื่อม" เสียทั้งสิ้น ซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองทางกฎหมาย เป็นผลทำให้บรรดาผู้ที่ซื้อที่ดินและบ้านหลายร้อยราย รวมทั้งบริษัท อัลไพน์ กอล์ฟ ซึ่งเป็นเจ้าของสนามกอล์ฟอัลไพน์ และนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ เป็นกรรมการมาก่อน ต้องอยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายที่ต้องฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ขอให้เพิกถอนคำสั่งนี้เสียภายใน 90 วัน มิฉะนั้นแล้วจะถือว่าเป็นอันยุติว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ธรณีสงฆ์ จะเป็นผลทำให้นายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ ต้องตกเก้าอี้และยังถูกเพิกถอนสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิต.แผลใจแผลนี้นับว่าเจ็บมาก ดังนั้น ไม่ถึง 3 วันต่อมา พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ก็ออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่าคำพิพากษาคดีเขากระโดงของศาลฎีกา และศาลปกครองสูงสุดถือเป็นที่สุดแล้ว ผูกพันทุกส่วนราชการที่จะต้องเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง 5,083 ไร่ ให้เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามคำพิพากษานั้น เป็นการแถลงกระทบถึงใครที่กำลังสั่งการอธิบดีกรมที่ดินอย่างแน่นอน.พอ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงไม่ขาดคำ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ก็เปิดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนทันที ว่าได้มีคำสั่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการตามคำพิพากษา เข้าครอบครองที่ดินเขากระโดง ซึ่งเป็นของการรถไฟฯ ตามคำพิพากษา.เมื่อสองรัฐมนตรีแถลงไปในแนวทางเดียวกัน ย่อมกระเทือนกระทรวงมหาดไทย กรมที่ดิน ท่ามกลางเสียงเฮ และความทุเรศทุรังที่ประชาชนมีต่อกระทรวงมหาดไทย.วันถัดมา นายอนุทิน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รีบออกมาแถลง แถว่าจะไม่มีการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์เขากระโดง หมายความว่าที่ดินเขากระโดง 5,083 ไร่ ที่รัชกาลที่ 5 พระราชทานแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการรถไฟ และรัชกาลที่ 6 ได้ตราพระราชกฤษฎีกามอบที่ดินนี้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ซ้ำเข้าไปอีก เป็นอันว่าใช้บังคับไม่ได้ ท่านผู้ชมว่ามันทุเรศไหม .มีประเด็นหนึ่งที่น่าสงสัย คือ ท่าทีขึงขังและแข็งกร้าวของสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นการเล่นสงครามประสาททางการเมืองหรือเปล่า พุ่งเป้าไปที่พรรคภูมิใจไทยโดยตรง เนื่องจากเวลานี้พรรคภูมิใจไทยเอง อยู่ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลที่ขี่คอพรรคเพื่อไทยอยู่ ยิ่งพรรคภูมิใจไทยใหญ่คับรัฐบาลมากเท่าไร พรรคเพื่อไทยก็ต้องตกที่นั่งลำบากเท่านั้น.ไม่ทราบว่าท่านรองนายกฯ อนุทิน ชาญวีรกูล ได้รับทราบปัญหานี้หรือเปล่า เพราะคุณเองเป็นคนที่อยู่นอกวงการ แต่ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ จุลจอมเกล้า นี่คุณกำลังตบหน้าพระราชกฤษฎีกาที่รัชกาลที่ 6 ออกมาประกาศว่าที่ดินนี้เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 116 มุมมอง 0 รีวิว
  • #บางปะหัน #เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ #พรรคภูมิใจไทย รีบรุดรับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านถนนพัง 10 ปี ไร้การแก้ไข

    https://www.facebook.com/share/15Mw37aZZo
    #บางปะหัน #เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ #พรรคภูมิใจไทย รีบรุดรับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านถนนพัง 10 ปี ไร้การแก้ไข https://www.facebook.com/share/15Mw37aZZo
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 110 มุมมอง 0 รีวิว
  • เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พรรคภูมิใจไทย รีบรุดรับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านถนนพัง 10 ปี ไร้การแก้ไข

    https://youtu.be/L8zC3asmywk
    เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พรรคภูมิใจไทย รีบรุดรับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านถนนพัง 10 ปี ไร้การแก้ไข https://youtu.be/L8zC3asmywk
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 94 มุมมอง 0 รีวิว
  • อำนาจภายใต้การเมืองสีน้ำเงิน
    โดย: สุรวิชช์ วีรวรรณ https://www.facebook.com/surawich.verawan

    การที่อธิบดีกรมที่ดินที่อยู่ภายใต้พรรคภูมิใจไทย ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า “คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินการรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดงเนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็นที่ข้อยุติว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของ รฟท.จึงเห็นควรยุติเรื่องในกรณีนี้”

    กำลังท้าทายกับกระแสสังคมและกระบวนการยุติธรรมที่เป็นบรรทัดฐานของประเทศ เข้าใจครับว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวแต่งตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองในคดีที่การรถไฟฯ ฟ้องกรมที่ดิน แต่นัยของคำสั่งนั้นหากอ่านคำพิพากษาของศาลปกครองแล้ว จะพบว่า ศาลต้องการให้ตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อเพิกถอนสิทธิการถือครองที่ดินตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ผู้ถือครองที่ดินเขากระโดงจำนวน 37 แปลงฟ้องการรถไฟฯ (คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8027/2561 และ 842-876/260 ) แต่คำพิพากษาศาลฎีกาชี้ชัดว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯ ซึ่งศาลปกครองหมายรวมถึงแปลงอื่นที่อยู่นอกเหนือแปลงที่นำขึ้นสู่ศาลฎีกาด้วย

    แต่กรมที่ดินซึ่งตั้งกรรมการขึ้นตามคำสั่งศาลปกครองกลับมีมติว่า การรถไฟฯ ไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินเขากระโดงทั้งที่ศาลฎีกาชี้แล้วว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯแม้ว่า อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย บอกว่า ไม่ได้สั่งการอะไรกรมที่ดิน แต่คำถามว่า มีใครบ้างที่จะเชื่อ

    อนุทินอ้างว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองตั้งขึ้นมาก่อนที่พรรคภูมิใจไทยและตัวเองจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย แต่จุดหมายสำคัญก็คือ กรรมการชุดนี้สามารถมีมติได้ในวันที่พรรคภูมิใจไทยมีอำนาจในกระทรวงมหาดไทย และอนุทินมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีและเมื่อไม่นานมานี้อธิบดีกรมที่ดินคนหนึ่งก็ได้ชิงลาออกไป ซึ่งกล่าวขานกันว่า เพราะปมที่ดินเขากระโดงนั่นเอง

    เป็นที่รู้กันว่า ในจำนวนที่ดิน 800 กว่าแปลงในพื้นที่เขากระโดงนั้น ผู้ถือครองรายใหญ่ก็คือ ตระกูลชิดชอบ ไปถามพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ก็รู้เรื่องนี้ดีเพราะเคยอภิปรายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในสภาฯ เพียงแต่วันนี้ พ.ต.อ.ทวีอยู่ในพรรคร่วมรัฐบาลเดียวกับพรรคภูมิใจไทยเท่านั้น แน่นอนถึงตอนนี้พ.ต.อ.ทวีก็ต้องการรักษาสายสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาล ต่างกับที่เคยหวงแหนสมบัติของชาติในขณะที่เป็นฝ่ายค้าน

    และเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าคนที่อยู่เบื้องหลังพรรคภูมิใจไทยก็คือนายเนวิน ชิดชอบ ที่เป็นเจ้าของพรรคตัวจริงในทางพฤตินัย จะเห็นได้ว่าในงานวันเกิดของนายเนวินนั้นข้าราชการระดับสูงที่อยู่ภายใต้กระทรวงที่พรรคภูมิใจไทยกำกับนั้นจะต้องเข้าไปร่วมงานถึงบุรีรัมย์เพื่อแสดงตัวให้เห็น เพราะเขารู้ว่าใครคือ คนที่ให้คุณให้โทษได้ และในหมู่ข้าราชการก็รู้กันว่า การโยกย้ายตำแหน่งต่างๆ ในกระทรวงของพรรคภูมิใจไทยนั้นคนที่มีบทบาทสำคัญคือใคร

    ก็ต้องรอดูต่อไปว่า ระหว่างอำนาจทางการเมืองกับความยุติธรรมทางกฎหมายที่เป็นขื่อแปของบ้านเมืองอย่างไหนจะศักดิ์สิทธิ์กว่ากัน คำสั่งของกรมที่ดินจะใหญ่กว่าคำพิพากษาของศาลฎีกาไหม

    แต่ต้องยอมรับนะครับว่า การเล่นการเมืองอยู่หลังม่านของคนคนหนึ่งวันนี้นั้นทำให้กระบวนการตรวจสอบคนที่อยู่ในอำนาจทางการเมืองไม่สามารถทำได้ เพราะไม่ได้มีตำแหน่งใดในรัฐบาล หรือแม้แต่เป็นผู้บริหารพรรค เพียงแต่เป็นสมาชิกของพรรคที่สามารถเตะตูดหัวหน้าพรรคได้เท่านั้น ทำให้กลายเป็นช่องโหว่ที่ทำให้ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นการเมืองอยู่หลังฉาก แต่มีอำนาจสั่งการทุกกระทรวงที่อยู่ภายใต้อำนาจของพรรคที่ข้าราชการทุกคนต้องเกรงใจและหวั่นกลัว

    มาที่เรื่อง สว.นอกจากในวันนี้พรรคภูมิใจไทยจะเป็นพรรคอันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร แต่เป็นที่รู้กันว่า สว.กว่า 150 คนนั้นอยู่ภายใต้การกำกับของใครที่เรียกว่ากันว่า สว.สีน้ำเงินนั่นเอง แล้วอำนาจที่สำคัญของ สว.ก็คือ การแต่งตั้งองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช. กกต. ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ฯลฯ ซึ่งทำให้หากใครจะขึ้นสู่ตำแหน่งดังกล่าวก็จะต้องวิ่งเข้าหาเจ้าของ สว.เพื่อให้ สว.ยกมือให้ หากผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาเข้าสู่วุฒิสภามา

    ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าตระหนกและเป็นอันตรายมากหากอำนาจการแต่งตั้งองค์กรอิสระอยู่ในอำนาจของใครบางคนหรือคนเพียงคนเดียวในทางพฤตินัย

    และหากมีการประชุมรัฐสภาคือประชุมร่วมระหว่าง สส. และ สว.เสียงของพรรคภูมิใจไทยและ สว.จะรวมกันเป็นเสียงข้างมากในรัฐสภา และการดำเนินการใดที่จะต้องผ่านรัฐสภาเช่น การแก้รัฐธรรมนูญก็จะตกอยู่ภายใต้การกำกับของเจ้าของสว.ที่จะต้องการให้เป็นไปในทิศทางไหนก็ได้

    วันนี้พรรคภูมิใจไทยแม้ว่าจะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลอันดับสอง แต่ก็มีอิทธิพลเหนือพรรคเพื่อไทยที่เป็นแกนนำรัฐบาลไปแล้ว แม้ว่า เราจะเห็นอนุทินนอบน้อมต่ออุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพร้อมจะยืนเป็นวอลเปเปอร์หรือพี่เลี้ยงของอุ๊งอิ๊งค์ตลอดเวลาก็ตาม พรรคภูมิใจไทยจึงขบเหลี่ยมอยู่กับพรรคเพื่อไทยหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกัญชา เรื่องเอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ รวมถึงการทำประชามติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ เพราะรู้ว่าอย่างไรเสียพรรคเพื่อไทยก็ไม่สามารถสลัดพรรคภูมิใจไทยออกจากพรรคร่วมรัฐบาลได้

    แล้วคอยดูว่า กรณีที่ดินเขากระโดง แม้ว่านายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม จากพรรคเพื่อไทยซึ่งกำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทยจะแสดงให้เห็นว่า ไม่อาจยอมรับคำสั่งของคณะกรรมการของกรมที่ดินในกรณีที่ดินเขากระโดงได้ แต่ก็ต้องดูว่า สุดท้ายแล้วเป็นเพียงการแสดงออกไปตามบทบาทที่ตัวเองเล่นอยู่ แต่จะรุกไล่เอาจริงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศจนสุดทางไหม หรือเป็นเพียงการแสดงอำนาจออกมาให้เห็นเพียงเพื่อคะคานแลกเปลี่ยนต่อรองผลประโยชน์กันทางการเมืองเท่านั้นเอง

    อิทธิพลของคนโตแห่งบุรีรัมย์ยังสะท้อนอยู่ในองค์กรอิสระอย่าง กกต. เห็นไหมว่า เมื่อไม่นานอยู่ดีๆ นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.ก็ออกมาบอกว่า กรณีของพรรคภูมิใจไทยที่ถูกร้องเรียนในลักษณะความผิดที่คล้ายคลึงกับพรรคก้าวไกลที่ถูกศาลวินิจฉัยยุบพรรคนั้น ไม่ได้เป็นความผิดแห่งการยุบพรรคการเมืองเลยไม่เป็นเหตุแห่งการยุบพรรคการเมือง ทั้งที่บอกว่ายังอยู่ในระหว่างการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนที่ตั้งขึ้นยังไม่มีบทสรุปออกมา จึงไม่ใช่เรื่องที่เลขาธิการ กกต.จะออกมาแถลงชี้นำหรือออกมาแถลงแม้หลายคนจะตั้งคำถามว่า การสอบสวนกรณีดังกล่าวของพรรคภูมิใจไทยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะใช้เวลานานมากก็ตาม

    วันนี้เราคงเห็นแล้วว่า สำหรับนักการเมืองแล้วระหว่างผลประโยชน์ของประเทศชาติกับผลประโยชน์ของตัวเองนั้นอย่างไหนสำคัญกว่าในบทบาทของคนที่เข้ามาเล่นการเมือง จะมีคนกี่คนที่เข้ามาเล่นการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของชาติอย่างแท้จริง และมีกฎเกณฑ์กติกาไหนที่จะตรวจสอบนักการเมืองที่มุ่งแต่จะแสวงหาผลประโยชน์เพื่อส่วนตัวและพวกพ้องได้อย่างแท้จริง

    วันนี้เราคงเข้าใจแล้วว่า ทำไมพรรคภูมิใจไทยพรรคสีน้ำเงินจึงเล่นการเมืองเพื่อเป็นรัฐบาลเท่านั้น


    ที่มา https://mgronline.com/daily/detail/9670000109483

    #Thaitimes
    อำนาจภายใต้การเมืองสีน้ำเงิน โดย: สุรวิชช์ วีรวรรณ https://www.facebook.com/surawich.verawan การที่อธิบดีกรมที่ดินที่อยู่ภายใต้พรรคภูมิใจไทย ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า “คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินการรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดงเนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็นที่ข้อยุติว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของ รฟท.จึงเห็นควรยุติเรื่องในกรณีนี้” กำลังท้าทายกับกระแสสังคมและกระบวนการยุติธรรมที่เป็นบรรทัดฐานของประเทศ เข้าใจครับว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวแต่งตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองในคดีที่การรถไฟฯ ฟ้องกรมที่ดิน แต่นัยของคำสั่งนั้นหากอ่านคำพิพากษาของศาลปกครองแล้ว จะพบว่า ศาลต้องการให้ตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อเพิกถอนสิทธิการถือครองที่ดินตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ผู้ถือครองที่ดินเขากระโดงจำนวน 37 แปลงฟ้องการรถไฟฯ (คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8027/2561 และ 842-876/260 ) แต่คำพิพากษาศาลฎีกาชี้ชัดว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯ ซึ่งศาลปกครองหมายรวมถึงแปลงอื่นที่อยู่นอกเหนือแปลงที่นำขึ้นสู่ศาลฎีกาด้วย แต่กรมที่ดินซึ่งตั้งกรรมการขึ้นตามคำสั่งศาลปกครองกลับมีมติว่า การรถไฟฯ ไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินเขากระโดงทั้งที่ศาลฎีกาชี้แล้วว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯแม้ว่า อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย บอกว่า ไม่ได้สั่งการอะไรกรมที่ดิน แต่คำถามว่า มีใครบ้างที่จะเชื่อ อนุทินอ้างว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองตั้งขึ้นมาก่อนที่พรรคภูมิใจไทยและตัวเองจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย แต่จุดหมายสำคัญก็คือ กรรมการชุดนี้สามารถมีมติได้ในวันที่พรรคภูมิใจไทยมีอำนาจในกระทรวงมหาดไทย และอนุทินมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีและเมื่อไม่นานมานี้อธิบดีกรมที่ดินคนหนึ่งก็ได้ชิงลาออกไป ซึ่งกล่าวขานกันว่า เพราะปมที่ดินเขากระโดงนั่นเอง เป็นที่รู้กันว่า ในจำนวนที่ดิน 800 กว่าแปลงในพื้นที่เขากระโดงนั้น ผู้ถือครองรายใหญ่ก็คือ ตระกูลชิดชอบ ไปถามพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ก็รู้เรื่องนี้ดีเพราะเคยอภิปรายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในสภาฯ เพียงแต่วันนี้ พ.ต.อ.ทวีอยู่ในพรรคร่วมรัฐบาลเดียวกับพรรคภูมิใจไทยเท่านั้น แน่นอนถึงตอนนี้พ.ต.อ.ทวีก็ต้องการรักษาสายสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาล ต่างกับที่เคยหวงแหนสมบัติของชาติในขณะที่เป็นฝ่ายค้าน และเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าคนที่อยู่เบื้องหลังพรรคภูมิใจไทยก็คือนายเนวิน ชิดชอบ ที่เป็นเจ้าของพรรคตัวจริงในทางพฤตินัย จะเห็นได้ว่าในงานวันเกิดของนายเนวินนั้นข้าราชการระดับสูงที่อยู่ภายใต้กระทรวงที่พรรคภูมิใจไทยกำกับนั้นจะต้องเข้าไปร่วมงานถึงบุรีรัมย์เพื่อแสดงตัวให้เห็น เพราะเขารู้ว่าใครคือ คนที่ให้คุณให้โทษได้ และในหมู่ข้าราชการก็รู้กันว่า การโยกย้ายตำแหน่งต่างๆ ในกระทรวงของพรรคภูมิใจไทยนั้นคนที่มีบทบาทสำคัญคือใคร ก็ต้องรอดูต่อไปว่า ระหว่างอำนาจทางการเมืองกับความยุติธรรมทางกฎหมายที่เป็นขื่อแปของบ้านเมืองอย่างไหนจะศักดิ์สิทธิ์กว่ากัน คำสั่งของกรมที่ดินจะใหญ่กว่าคำพิพากษาของศาลฎีกาไหม แต่ต้องยอมรับนะครับว่า การเล่นการเมืองอยู่หลังม่านของคนคนหนึ่งวันนี้นั้นทำให้กระบวนการตรวจสอบคนที่อยู่ในอำนาจทางการเมืองไม่สามารถทำได้ เพราะไม่ได้มีตำแหน่งใดในรัฐบาล หรือแม้แต่เป็นผู้บริหารพรรค เพียงแต่เป็นสมาชิกของพรรคที่สามารถเตะตูดหัวหน้าพรรคได้เท่านั้น ทำให้กลายเป็นช่องโหว่ที่ทำให้ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นการเมืองอยู่หลังฉาก แต่มีอำนาจสั่งการทุกกระทรวงที่อยู่ภายใต้อำนาจของพรรคที่ข้าราชการทุกคนต้องเกรงใจและหวั่นกลัว มาที่เรื่อง สว.นอกจากในวันนี้พรรคภูมิใจไทยจะเป็นพรรคอันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร แต่เป็นที่รู้กันว่า สว.กว่า 150 คนนั้นอยู่ภายใต้การกำกับของใครที่เรียกว่ากันว่า สว.สีน้ำเงินนั่นเอง แล้วอำนาจที่สำคัญของ สว.ก็คือ การแต่งตั้งองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช. กกต. ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ฯลฯ ซึ่งทำให้หากใครจะขึ้นสู่ตำแหน่งดังกล่าวก็จะต้องวิ่งเข้าหาเจ้าของ สว.เพื่อให้ สว.ยกมือให้ หากผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาเข้าสู่วุฒิสภามา ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าตระหนกและเป็นอันตรายมากหากอำนาจการแต่งตั้งองค์กรอิสระอยู่ในอำนาจของใครบางคนหรือคนเพียงคนเดียวในทางพฤตินัย และหากมีการประชุมรัฐสภาคือประชุมร่วมระหว่าง สส. และ สว.เสียงของพรรคภูมิใจไทยและ สว.จะรวมกันเป็นเสียงข้างมากในรัฐสภา และการดำเนินการใดที่จะต้องผ่านรัฐสภาเช่น การแก้รัฐธรรมนูญก็จะตกอยู่ภายใต้การกำกับของเจ้าของสว.ที่จะต้องการให้เป็นไปในทิศทางไหนก็ได้ วันนี้พรรคภูมิใจไทยแม้ว่าจะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลอันดับสอง แต่ก็มีอิทธิพลเหนือพรรคเพื่อไทยที่เป็นแกนนำรัฐบาลไปแล้ว แม้ว่า เราจะเห็นอนุทินนอบน้อมต่ออุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพร้อมจะยืนเป็นวอลเปเปอร์หรือพี่เลี้ยงของอุ๊งอิ๊งค์ตลอดเวลาก็ตาม พรรคภูมิใจไทยจึงขบเหลี่ยมอยู่กับพรรคเพื่อไทยหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกัญชา เรื่องเอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ รวมถึงการทำประชามติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ เพราะรู้ว่าอย่างไรเสียพรรคเพื่อไทยก็ไม่สามารถสลัดพรรคภูมิใจไทยออกจากพรรคร่วมรัฐบาลได้ แล้วคอยดูว่า กรณีที่ดินเขากระโดง แม้ว่านายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม จากพรรคเพื่อไทยซึ่งกำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทยจะแสดงให้เห็นว่า ไม่อาจยอมรับคำสั่งของคณะกรรมการของกรมที่ดินในกรณีที่ดินเขากระโดงได้ แต่ก็ต้องดูว่า สุดท้ายแล้วเป็นเพียงการแสดงออกไปตามบทบาทที่ตัวเองเล่นอยู่ แต่จะรุกไล่เอาจริงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศจนสุดทางไหม หรือเป็นเพียงการแสดงอำนาจออกมาให้เห็นเพียงเพื่อคะคานแลกเปลี่ยนต่อรองผลประโยชน์กันทางการเมืองเท่านั้นเอง อิทธิพลของคนโตแห่งบุรีรัมย์ยังสะท้อนอยู่ในองค์กรอิสระอย่าง กกต. เห็นไหมว่า เมื่อไม่นานอยู่ดีๆ นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.ก็ออกมาบอกว่า กรณีของพรรคภูมิใจไทยที่ถูกร้องเรียนในลักษณะความผิดที่คล้ายคลึงกับพรรคก้าวไกลที่ถูกศาลวินิจฉัยยุบพรรคนั้น ไม่ได้เป็นความผิดแห่งการยุบพรรคการเมืองเลยไม่เป็นเหตุแห่งการยุบพรรคการเมือง ทั้งที่บอกว่ายังอยู่ในระหว่างการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนที่ตั้งขึ้นยังไม่มีบทสรุปออกมา จึงไม่ใช่เรื่องที่เลขาธิการ กกต.จะออกมาแถลงชี้นำหรือออกมาแถลงแม้หลายคนจะตั้งคำถามว่า การสอบสวนกรณีดังกล่าวของพรรคภูมิใจไทยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะใช้เวลานานมากก็ตาม วันนี้เราคงเห็นแล้วว่า สำหรับนักการเมืองแล้วระหว่างผลประโยชน์ของประเทศชาติกับผลประโยชน์ของตัวเองนั้นอย่างไหนสำคัญกว่าในบทบาทของคนที่เข้ามาเล่นการเมือง จะมีคนกี่คนที่เข้ามาเล่นการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของชาติอย่างแท้จริง และมีกฎเกณฑ์กติกาไหนที่จะตรวจสอบนักการเมืองที่มุ่งแต่จะแสวงหาผลประโยชน์เพื่อส่วนตัวและพวกพ้องได้อย่างแท้จริง วันนี้เราคงเข้าใจแล้วว่า ทำไมพรรคภูมิใจไทยพรรคสีน้ำเงินจึงเล่นการเมืองเพื่อเป็นรัฐบาลเท่านั้น ที่มา https://mgronline.com/daily/detail/9670000109483 #Thaitimes
    MGRONLINE.COM
    อำนาจภายใต้การเมืองสีน้ำเงิน
    การที่อธิบดีกรมที่ดินที่อยู่ภายใต้พรรคภูมิใจไทย ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า “คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินการรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดงเนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 825 มุมมอง 0 รีวิว
  • เขาบอกว่า หากใครมีประเด็นก็ไปฟ้องศาล พื้นที่เขากระโดงมีพื้นที่กว่า 5 พันไร่ เท่าที่ทราบตระกูลชิดชอบมีอยู่ 300 ไร่ แล้วอีก 4,700 ไร่ จะผิดแค่ 300 ไร่ได้อย่างไร หากเป็นอย่างนั้นก็ไปพิสูจน์เอา ไม่เกี่ยวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่อำนาจในการเพิกถอนหรืออนุญาต อยากจะยุ่งก็ยุ่งไม่ได้เพราะไม่มีอำนาจ

    ด้านนายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่ายังมีรายละเอียดอีกเยอะที่หลายคนไม่รู้ ซึ่ง รฟท.หรือประชาชนเองต้องทำการพิสูจน์สิทธิให้ชัดเจน ตนไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ให้ลองคิดดูว่าในประเทศไทยมีพื้นที่ใดที่กันรางรถไฟออกไป 1 กิโลเมตร ตรงไหนบ้างที่ไม่ใช่ชุมทาง แต่เป็นสถานีใหญ่ๆ มีหรือไม่ หากมี มีที่ไหนบ้างช่วยตอบหน่อย แล้วทำไมต้องเป็นแค่พื้นที่ตรงนี้ รฟท.จะเอาที่ดินไปทำอะไร

    เขาบอกว่า โดยส่วนตัวได้ติดตามเรื่องนี้มาพอสมควร และมองว่าน่าจะมีแผนที่บางตอนที่หายไป ซึ่งแผนที่ที่นำมาแสดงตนดูแล้วมีคลาดเคลื่อนอยู่ประมาณ 500 เมตร ซึ่งมองว่าน่าจะมีความขัดแย้งกัน แต่ทั้งนี้เราได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 61 ซึ่งได้มีการพิจารณาไปแล้วว่า กรมที่ดินยังไม่ได้เพิกถอนโฉนดพื้นที่เขากระโดง แต่ก็ไม่ได้ตัดสิทธิ์การรถไฟฯ แต่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น เพราะการรถไฟฯ ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนที่จะทำให้คณะกรรมการสามารถเพิกถอนได้ ครั้งนี้ก็เป็นสิทธิ์ของการรถไฟฯ ที่จะไปฟ้องร้องตามกฎหมายต่อไป

    เมื่อถามว่า พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ก็ระบุว่าพื้นที่เขากระโดงต้องเป็นของการรถไฟฯ เพราะถือว่าคำตัดสินของศาลฎีกาเป็นที่สิ้นสุด รมช.มหาดไทยตอบว่า ส่วนตัวมองว่าคำพิพากษาของศาลฎีกา หากอ่านดีๆ จะพบว่ามีฎีกาทับฎีกาอยู่เสมอ ในโอกาสที่จะมีหลักฐานใหม่เข้ามา เพื่อให้เกิดความรอบคอบและความเป็นธรรมกับพี่น้องประชาชน

    เมื่อถามถึงข้อกังขาว่า หนึ่งในคณะกรรมการตรวจสอบเป็นคนในกลุ่มเพื่อนเนวิน นายทรงศักดิ์กล่าวว่า คิดมากไป ทุกคนที่มาเป็นคณะกรรมการก็มีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว หากการทำหน้าที่ทำอะไรผิดไปและมีคนติดใจ ก็ต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย จะไปมองว่าคนนั้นคนนี้เป็นใครไม่ได้ เพราะการทำงานของแต่ละคนก็มีบรรทัดฐานตามกรอบอยู่แล้ว

    ซักว่า ในพื้นที่เขากระโดงปรากฏว่ามีการถือครองที่ดินจากคนในตระกูลชิดชอบอยู่กว่า 20 แปลง ได้มีการตรวจสอบอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ นายทรงศักดิ์กล่าวว่า การได้มาของที่ดินเขากระโดงก็ได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน ได้สิทธิ์ตามกฎหมายอยู่แล้ว ส่วนในอนาคตจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของกระบวนการ จะจำกัดว่าตระกูลหนึ่ง จะไม่มีสิทธิ์ไปครอบครองที่ดินเลยก็คงไม่ได้ มีกฎหมายตรงไหนที่ห้ามตระกูลหนึ่งเข้าไปถือสิทธิที่ดินตามกฎหมาย มีหรือไม่ มันไม่มี เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์กัน

    ขณะที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน ชี้แจง งานในส่วนของกรมที่ดินว่าทำอยู่ 3 ส่วน โดยส่วนแรกทำตามคำสั่งศาลปกครอง ส่วนที่สองทำตามข้อกฎหมาย ไม่มีส่วนใดใช้เรื่องดุลยพินิจ และส่วนที่สามทำไปตามข้อเท็จจริงที่มีพยานหลักฐานและกฎหมายที่ชัดเจน เพราะฉะนั้นทุกอย่างสามารถตรวจสอบในเรื่องการดำเนินการได้

    เมื่อถามต่อว่า ผู้บริหารของกระทรวงมหาดไทยอยู่ในพรรคภูมิใจไทย จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นการฟอกขาว อธิบดีกรมที่ดินยืนยันว่า กระบวนการที่ดำเนินมาทำตั้งแต่ก่อนที่นายอนุทินจะเข้ามา การตั้งคณะกรรมการมีการตั้งก่อน และการหาเอกสารพยานหลักฐานในการดำเนินการก็ทำมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด ตนจึงยืนยันว่า ทุกอย่างเป็นไปตามคำสั่งศาลปกครอง ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

    อย่างไรก็ตาม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องนี้มีความสำคัญ หากเป็นที่ดินของ รฟท.แม้กระทั่งตารางวาก็จะเสียไปไม่ได้ จึงให้ รฟท.ไปเช็กดู ซึ่งได้รับรายงานว่าวันที่ 10 พ.ย.นี้ รฟท.ได้ยื่นขอต่อศาลปกครองกลาง แจ้งว่าอธิบดีกรมที่ดินปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ครบถ้วน ขอให้ศาลปกครองพิจารณาหรือไต่สวนกำหนดวิธีการดำเนินการ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ในการร่วมกันชี้แนวเขตที่ดินของ รฟท. และให้พิจารณามีคำสั่งในประเด็นต่างๆ ต่อไป ซึ่งผู้ว่าฯ รฟท.ได้ทำหนังสือถึงกรมที่ดินเพื่อยื่นคัดค้านหนังสือของอธิบดีกรมที่ดิน ตามมาตรา 44 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง ซึ่งในนั้นระบุว่าเราต้องยื่นภายใน 15 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 12 พ.ย. และเราส่งไปเรียบร้อยแล้ววันที่ 11 พ.ย. รฟท.รู้กฎหมายอยู่ จะไปหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินกว่า 900 แปลง ซึ่งขั้นตอนตรงนี้ยังมีเวลา ยืนยันว่าจะดูให้รอบคอบ

    ถามว่า เรื่องนี้เรื้อรังมานานจะเคลียร์ให้จบภายในช่วงที่เป็นรัฐมนตรีหรือไม่ รมว.คมนาคมตอบว่า เรื่องนี้ต้องดำเนินการตามกฎหมาย มันไม่ช้าอยู่แล้ว

    ซักว่า จำเป็นต้องพูดคุยกับนายอนุทินหรือไม่ นายสุริยะชี้แจงว่า เป็นระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ เมื่อกรมที่ดินบอกว่าเป็นที่ของเขา ไม่ได้เป็นที่ของ รฟท. เพราะมีหลักฐานไม่เพียงพอ แต่ รฟท.เชื่อว่ามีหลักฐานเพียงพอ ก็ได้ดำเนินการไป

    เมื่อถามว่า มีการมองว่าที่ดินหลายแปลงในเขากระโดงเป็นของตระกูลชิดชอบ นายสุริยะกล่าวว่า ไม่อยากให้เรื่องขยายเป็นประเด็นการเมือง อยากให้ว่าไปตามกระบวนการ หรือ รฟท.เห็นว่าเรื่องนี้เป็นอย่างไรเมื่ออธิบดีกรมที่ดินชี้มาแบบนี้ รฟท.เห็นว่าไม่ใช่ก็ต้องพยายามรักษาสิทธิ์ของ รฟท.ไว้

    "คิดว่าเป็นเรื่องที่ปฏิบัติตามกฎหมาย อย่าไปมองว่าใครอยู่พรรคไหนหรือมีความขัดแย้งกัน" รมว.คมนาคมกล่าว.

    ที่มา https://www.thaipost.net/one-newspaper/688793/

    #Thaitimes
    เขาบอกว่า หากใครมีประเด็นก็ไปฟ้องศาล พื้นที่เขากระโดงมีพื้นที่กว่า 5 พันไร่ เท่าที่ทราบตระกูลชิดชอบมีอยู่ 300 ไร่ แล้วอีก 4,700 ไร่ จะผิดแค่ 300 ไร่ได้อย่างไร หากเป็นอย่างนั้นก็ไปพิสูจน์เอา ไม่เกี่ยวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่อำนาจในการเพิกถอนหรืออนุญาต อยากจะยุ่งก็ยุ่งไม่ได้เพราะไม่มีอำนาจ ด้านนายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่ายังมีรายละเอียดอีกเยอะที่หลายคนไม่รู้ ซึ่ง รฟท.หรือประชาชนเองต้องทำการพิสูจน์สิทธิให้ชัดเจน ตนไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ให้ลองคิดดูว่าในประเทศไทยมีพื้นที่ใดที่กันรางรถไฟออกไป 1 กิโลเมตร ตรงไหนบ้างที่ไม่ใช่ชุมทาง แต่เป็นสถานีใหญ่ๆ มีหรือไม่ หากมี มีที่ไหนบ้างช่วยตอบหน่อย แล้วทำไมต้องเป็นแค่พื้นที่ตรงนี้ รฟท.จะเอาที่ดินไปทำอะไร เขาบอกว่า โดยส่วนตัวได้ติดตามเรื่องนี้มาพอสมควร และมองว่าน่าจะมีแผนที่บางตอนที่หายไป ซึ่งแผนที่ที่นำมาแสดงตนดูแล้วมีคลาดเคลื่อนอยู่ประมาณ 500 เมตร ซึ่งมองว่าน่าจะมีความขัดแย้งกัน แต่ทั้งนี้เราได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 61 ซึ่งได้มีการพิจารณาไปแล้วว่า กรมที่ดินยังไม่ได้เพิกถอนโฉนดพื้นที่เขากระโดง แต่ก็ไม่ได้ตัดสิทธิ์การรถไฟฯ แต่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น เพราะการรถไฟฯ ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนที่จะทำให้คณะกรรมการสามารถเพิกถอนได้ ครั้งนี้ก็เป็นสิทธิ์ของการรถไฟฯ ที่จะไปฟ้องร้องตามกฎหมายต่อไป เมื่อถามว่า พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ก็ระบุว่าพื้นที่เขากระโดงต้องเป็นของการรถไฟฯ เพราะถือว่าคำตัดสินของศาลฎีกาเป็นที่สิ้นสุด รมช.มหาดไทยตอบว่า ส่วนตัวมองว่าคำพิพากษาของศาลฎีกา หากอ่านดีๆ จะพบว่ามีฎีกาทับฎีกาอยู่เสมอ ในโอกาสที่จะมีหลักฐานใหม่เข้ามา เพื่อให้เกิดความรอบคอบและความเป็นธรรมกับพี่น้องประชาชน เมื่อถามถึงข้อกังขาว่า หนึ่งในคณะกรรมการตรวจสอบเป็นคนในกลุ่มเพื่อนเนวิน นายทรงศักดิ์กล่าวว่า คิดมากไป ทุกคนที่มาเป็นคณะกรรมการก็มีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว หากการทำหน้าที่ทำอะไรผิดไปและมีคนติดใจ ก็ต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย จะไปมองว่าคนนั้นคนนี้เป็นใครไม่ได้ เพราะการทำงานของแต่ละคนก็มีบรรทัดฐานตามกรอบอยู่แล้ว ซักว่า ในพื้นที่เขากระโดงปรากฏว่ามีการถือครองที่ดินจากคนในตระกูลชิดชอบอยู่กว่า 20 แปลง ได้มีการตรวจสอบอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ นายทรงศักดิ์กล่าวว่า การได้มาของที่ดินเขากระโดงก็ได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน ได้สิทธิ์ตามกฎหมายอยู่แล้ว ส่วนในอนาคตจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของกระบวนการ จะจำกัดว่าตระกูลหนึ่ง จะไม่มีสิทธิ์ไปครอบครองที่ดินเลยก็คงไม่ได้ มีกฎหมายตรงไหนที่ห้ามตระกูลหนึ่งเข้าไปถือสิทธิที่ดินตามกฎหมาย มีหรือไม่ มันไม่มี เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์กัน ขณะที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน ชี้แจง งานในส่วนของกรมที่ดินว่าทำอยู่ 3 ส่วน โดยส่วนแรกทำตามคำสั่งศาลปกครอง ส่วนที่สองทำตามข้อกฎหมาย ไม่มีส่วนใดใช้เรื่องดุลยพินิจ และส่วนที่สามทำไปตามข้อเท็จจริงที่มีพยานหลักฐานและกฎหมายที่ชัดเจน เพราะฉะนั้นทุกอย่างสามารถตรวจสอบในเรื่องการดำเนินการได้ เมื่อถามต่อว่า ผู้บริหารของกระทรวงมหาดไทยอยู่ในพรรคภูมิใจไทย จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นการฟอกขาว อธิบดีกรมที่ดินยืนยันว่า กระบวนการที่ดำเนินมาทำตั้งแต่ก่อนที่นายอนุทินจะเข้ามา การตั้งคณะกรรมการมีการตั้งก่อน และการหาเอกสารพยานหลักฐานในการดำเนินการก็ทำมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด ตนจึงยืนยันว่า ทุกอย่างเป็นไปตามคำสั่งศาลปกครอง ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย อย่างไรก็ตาม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องนี้มีความสำคัญ หากเป็นที่ดินของ รฟท.แม้กระทั่งตารางวาก็จะเสียไปไม่ได้ จึงให้ รฟท.ไปเช็กดู ซึ่งได้รับรายงานว่าวันที่ 10 พ.ย.นี้ รฟท.ได้ยื่นขอต่อศาลปกครองกลาง แจ้งว่าอธิบดีกรมที่ดินปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ครบถ้วน ขอให้ศาลปกครองพิจารณาหรือไต่สวนกำหนดวิธีการดำเนินการ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ในการร่วมกันชี้แนวเขตที่ดินของ รฟท. และให้พิจารณามีคำสั่งในประเด็นต่างๆ ต่อไป ซึ่งผู้ว่าฯ รฟท.ได้ทำหนังสือถึงกรมที่ดินเพื่อยื่นคัดค้านหนังสือของอธิบดีกรมที่ดิน ตามมาตรา 44 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง ซึ่งในนั้นระบุว่าเราต้องยื่นภายใน 15 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 12 พ.ย. และเราส่งไปเรียบร้อยแล้ววันที่ 11 พ.ย. รฟท.รู้กฎหมายอยู่ จะไปหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินกว่า 900 แปลง ซึ่งขั้นตอนตรงนี้ยังมีเวลา ยืนยันว่าจะดูให้รอบคอบ ถามว่า เรื่องนี้เรื้อรังมานานจะเคลียร์ให้จบภายในช่วงที่เป็นรัฐมนตรีหรือไม่ รมว.คมนาคมตอบว่า เรื่องนี้ต้องดำเนินการตามกฎหมาย มันไม่ช้าอยู่แล้ว ซักว่า จำเป็นต้องพูดคุยกับนายอนุทินหรือไม่ นายสุริยะชี้แจงว่า เป็นระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ เมื่อกรมที่ดินบอกว่าเป็นที่ของเขา ไม่ได้เป็นที่ของ รฟท. เพราะมีหลักฐานไม่เพียงพอ แต่ รฟท.เชื่อว่ามีหลักฐานเพียงพอ ก็ได้ดำเนินการไป เมื่อถามว่า มีการมองว่าที่ดินหลายแปลงในเขากระโดงเป็นของตระกูลชิดชอบ นายสุริยะกล่าวว่า ไม่อยากให้เรื่องขยายเป็นประเด็นการเมือง อยากให้ว่าไปตามกระบวนการ หรือ รฟท.เห็นว่าเรื่องนี้เป็นอย่างไรเมื่ออธิบดีกรมที่ดินชี้มาแบบนี้ รฟท.เห็นว่าไม่ใช่ก็ต้องพยายามรักษาสิทธิ์ของ รฟท.ไว้ "คิดว่าเป็นเรื่องที่ปฏิบัติตามกฎหมาย อย่าไปมองว่าใครอยู่พรรคไหนหรือมีความขัดแย้งกัน" รมว.คมนาคมกล่าว. ที่มา https://www.thaipost.net/one-newspaper/688793/ #Thaitimes
    WWW.THAIPOST.NET
    มท.ปัดเอื้อที่ดินเขากระโดง ‘สุริยะ’ลั่นรฟท.ไม่ยอมแน่!
    "อนุทิน" ยัน “คดีเขากระโดง” ไม่มีแทรกแซง ไม่มีช่วยเพื่อน ทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 483 มุมมอง 0 รีวิว
  • หมดเวลาหาแสง สอบสวนกลางห้ามใช้แถลงข่าว

    กรณีที่นายธรรมราช สาระปัญญา ทนายความ ถูกผู้ก่อเหตุนำโดยนายจารุเวศ พงษ์ฉวี อายุ 28 ปี บุกทำร้ายร่างกายระหว่างแถลงข่าวดำเนินคดีกับ "อาจารย์เบียร์ คนตื่นธรรม" อินฟลูเอนเซอร์ ในข้อหาเหยียดหยามศาสนา ที่หน้าศูนย์รับแจ้งความ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2567 ทำให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประสานไปยังกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ให้ออกระเบียบห้ามบุคคลหรือคณะบุคคลมาใช้สถานที่ในการแถลงข่าวโดยเด็ดขาด

    สืบเนื่องจากปัจจุบัน มีบุคคลหลายกลุ่มหลายคณะ มาใช้สถานที่ศูนย์แจ้งความร้องทุกข์ของตำรวจสอบส่วนกลางจำนวนมาก หลายครั้งเกิดเหตุการณ์รุนแรง มีการใช้กำลัง ทำให้ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของหน่วยงานราชการ เพื่อความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยจึงต้องออกกฎระเบียบดังกล่าว ประกอบด้วย 1. ห้ามบุคคลหรือคณะบุคคลมาใช้สถานที่ในการแถลงข่าวที่หน้าศูนย์แจ้งความตำรวจสอบสวนกลางโดยเด็ดขาด 2. หากเป็นการให้ข่าวหรือให้สัมภาษณ์ ให้ไปใช้สถานที่ด้านนอก

    3. ประชาชนที่จะเข้ามาแจ้งความร้องทุกข์ สามารถเดินทางเข้าร้องเรียนกับพนักงานสอบสวนของตำรวจสอบสวนกลางได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านคนกลางหรือตัวแทน เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวงซ้ำซ้อน และ 4. ห้ามมาใช้สถานที่ถ่ายทำไลฟ์สด ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน หากจะถ่ายทำให้ขออนุญาตเป็นกรณี

    ก่อนหน้านี้ พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง แถลงข่าวเมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2567 ในตอนหนึ่งกล่าวถึงกรณีที่นายเอกภพ เหลืองประเสริฐ ผู้ก่อตั้งเพจสายไหมต้องรอด นักการเมืองพรรคภูมิใจไทย นำพยานรายหนึ่ง อ้างว่า 1 ใน 18 บอสคดีดิไอคอน ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินไปเป็นคริปโตเคอร์เรนซี ปรากฎว่าพยานสารภาพว่าข้อมูลมั่ว ไม่มีที่มา เป็นการอุปโลกน์ขึ้นมา โดยอ้างว่าถามจากเพื่อนและเสิร์ชหาทางเว็บไซต์โดยที่ไม่มีข้อเท็จจริง คาดว่าอยากเรียกร้องความสนใจ

    “ขอบคุณผู้ที่มีจิตอาสาทุกคนที่เข้าช่วยเหลือพี่น้องประชาชน แต่ไม่อยากให้เข้ามาเพื่อหาแสง เพราะตอนนี้กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางแสงมันจ้าไปหมด คนถึงเข้ามากัน จึงขอเตือนบางคน ข้อมูลต่างๆ ถ้าคิดว่าจะช่วยเหลือสังคมจะต้องแม่นกฎหมาย ต้องรู้ว่าการกระทำจะไม่หมิ่นเหม่ในข้อกฎหมาย หากเข้ามาแล้วสร้างความวุ่นวาย สร้างความไขว้เขว อันนี้ต้องว่ากัน”

    สำหรับศูนย์รับแจ้งความ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ตั้งอยู่ที่กองปราบปราม ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ เปิดเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2565 ตามนโยบายของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง รวบรวมหน่วยงานในสังกัด 6 หน่วยงานมารวมกันที่นี่

    #Newskit #ตำรวจสอบสวนกลาง
    หมดเวลาหาแสง สอบสวนกลางห้ามใช้แถลงข่าว กรณีที่นายธรรมราช สาระปัญญา ทนายความ ถูกผู้ก่อเหตุนำโดยนายจารุเวศ พงษ์ฉวี อายุ 28 ปี บุกทำร้ายร่างกายระหว่างแถลงข่าวดำเนินคดีกับ "อาจารย์เบียร์ คนตื่นธรรม" อินฟลูเอนเซอร์ ในข้อหาเหยียดหยามศาสนา ที่หน้าศูนย์รับแจ้งความ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2567 ทำให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประสานไปยังกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ให้ออกระเบียบห้ามบุคคลหรือคณะบุคคลมาใช้สถานที่ในการแถลงข่าวโดยเด็ดขาด สืบเนื่องจากปัจจุบัน มีบุคคลหลายกลุ่มหลายคณะ มาใช้สถานที่ศูนย์แจ้งความร้องทุกข์ของตำรวจสอบส่วนกลางจำนวนมาก หลายครั้งเกิดเหตุการณ์รุนแรง มีการใช้กำลัง ทำให้ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของหน่วยงานราชการ เพื่อความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยจึงต้องออกกฎระเบียบดังกล่าว ประกอบด้วย 1. ห้ามบุคคลหรือคณะบุคคลมาใช้สถานที่ในการแถลงข่าวที่หน้าศูนย์แจ้งความตำรวจสอบสวนกลางโดยเด็ดขาด 2. หากเป็นการให้ข่าวหรือให้สัมภาษณ์ ให้ไปใช้สถานที่ด้านนอก 3. ประชาชนที่จะเข้ามาแจ้งความร้องทุกข์ สามารถเดินทางเข้าร้องเรียนกับพนักงานสอบสวนของตำรวจสอบสวนกลางได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านคนกลางหรือตัวแทน เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวงซ้ำซ้อน และ 4. ห้ามมาใช้สถานที่ถ่ายทำไลฟ์สด ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน หากจะถ่ายทำให้ขออนุญาตเป็นกรณี ก่อนหน้านี้ พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง แถลงข่าวเมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2567 ในตอนหนึ่งกล่าวถึงกรณีที่นายเอกภพ เหลืองประเสริฐ ผู้ก่อตั้งเพจสายไหมต้องรอด นักการเมืองพรรคภูมิใจไทย นำพยานรายหนึ่ง อ้างว่า 1 ใน 18 บอสคดีดิไอคอน ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินไปเป็นคริปโตเคอร์เรนซี ปรากฎว่าพยานสารภาพว่าข้อมูลมั่ว ไม่มีที่มา เป็นการอุปโลกน์ขึ้นมา โดยอ้างว่าถามจากเพื่อนและเสิร์ชหาทางเว็บไซต์โดยที่ไม่มีข้อเท็จจริง คาดว่าอยากเรียกร้องความสนใจ “ขอบคุณผู้ที่มีจิตอาสาทุกคนที่เข้าช่วยเหลือพี่น้องประชาชน แต่ไม่อยากให้เข้ามาเพื่อหาแสง เพราะตอนนี้กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางแสงมันจ้าไปหมด คนถึงเข้ามากัน จึงขอเตือนบางคน ข้อมูลต่างๆ ถ้าคิดว่าจะช่วยเหลือสังคมจะต้องแม่นกฎหมาย ต้องรู้ว่าการกระทำจะไม่หมิ่นเหม่ในข้อกฎหมาย หากเข้ามาแล้วสร้างความวุ่นวาย สร้างความไขว้เขว อันนี้ต้องว่ากัน” สำหรับศูนย์รับแจ้งความ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ตั้งอยู่ที่กองปราบปราม ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ เปิดเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2565 ตามนโยบายของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง รวบรวมหน่วยงานในสังกัด 6 หน่วยงานมารวมกันที่นี่ #Newskit #ตำรวจสอบสวนกลาง
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 637 มุมมอง 0 รีวิว
  • ณ บ้านพระอาทิตย์
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    การประกาศขีดเส้นเขตไหล่ทวีป และทะเลอาณาเขตของกัมพูชาในปี พ.ศ. 2515 ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากลนั้น ได้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยทางทะเลของราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจน และส่งผลทำให้ราชอาณาจักรไทยได้ “ปฏิเสธ” การประกาศขีดเส้นที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชาไปแล้ว ด้วยการมีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516



    นอกจากนั้นในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย

    โดยมีรายละเอียด ดังนี้

    พระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันตกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียว ซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 อีกด้วย โดยมีผลตามมาดังนี้

    1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 จึงเป็นการละเมิดเส้นแบ่งที่ระยะทางเท่ากันระหว่างไทยและกัมพูชา (Equidistant Line)

    อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรไทยได้เคย “ปฏิเสธ” การขีดเส้นทางทะเลของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลไปแล้วในเวลาต่อมา

    โดยราชอาณาจักรไทยได้มีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

    “พระบรมราชโองการ” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Royal Command” ซึ่งมีความหมายว่า “คำสั่งราชการของพระมหากษัตริย์”

    พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระราชอำนาจภายใต้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ที่เกี่ยวพันกับสถานภาพกำหนดเขตแดนทางทะเลของ “ราชอาณาจักรไทย” กับ “จอมทัพไทย” และองค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนี้

    “มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้

    พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย

    มาตรา 18 บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ”

    ดังนั้น พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน จึงมีผลตามกฎหมายและต้องมีการบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องมีการแก้ไขด้วยพระบรมราชโองการเช่นกัน ดังนั้นจะอาศัยนักการเมืองไปตกลงกันเองตามอำเภอใจโดยขัดต่อพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้

    ความสำคัญของพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะมีความหมายถึงการ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่รุกล้ำราชอาณาเขตทะเลไทยแล้ว ยังได้ประกาศถึงเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ” อย่างชัดเจนดังปรากฏเป็นข้อความในพระบรมราชโองการความว่า



    “เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทยในการสำรวจและการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของแต่ละจุดที่ประกอบเป็นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย“

    อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการฉบับนี้เป็นเวลา 2 ปี คือปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2515 รัฐบาลราชอาณาจักรไทยได้ทำการให้สัมปทานปิโตรเลียมให้กับต่างชาติไปแล้วหลายแปลง โดยเฉพาะกลุ่มทุนจาก สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ที่ยึดถือการซื้อขายปิโตรเลียมเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือที่เรียกว่า ปิโตรดอลลาร์

    ดังนั้น การที่กัมพูชาตราพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ย่อมทำให้ผู้รับสัมปทานในประเทศไทยยังไม่สามารถดำเนินการให้สำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยได้ และอาจทำให้แหล่งปิโตรเลียมของราชอาณาจักรไทยกลายเป็นของกัมพูชาได้ด้วย

    ประกอบกับในเวลานั้นประเทศไทยได้ผ่านบทเรียนราคาแพงมาเป็นเวลา 10 ปีที่ได้สูญเสียปราสาทพระวิหารไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ที่คำตัดสินของศาลโลกให้ประเทศไทยแพ้คดีด้วยเพราะ “กฎหมายปิดปาก” โดยอ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยไม่ปฏิเสธต่อแผนที่ฝรั่งเศส อ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยต่อการสำแดงอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งๆ ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนยอดหน้าผาฝั่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติที่ชัดเจน

    ดังนั้น ประเทศไทยจะดำเนินการปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาฉบับปี พ.ศ. 2515 จึงต้องมีความรอบคอบ รัดกุม และคำนึงถึงการปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ ไม่ให้ถูกแย่งชิงแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยให้ไปเป็นของกัมพูชา ไม่ให้ซ้ำรอยการสูญเสียปราสาทพระวิหารของไทยในปี พ.ศ. 2505 ด้วย

    ดังนั้น เพื่อความสมบูรณ์และชอบธรรมในการ “ปฏิเสธ” แผนที่เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่กระทำการตามกฎหมายทะเลสากล พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงอยู่บน “มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล” ดังความปรากฎในพระบรมราชโองการว่า

    “ในการกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511”

    แม้ราชอาณาจักรไทยจะมีพระบรมราชโองการประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปที่อยู่บนมูลฐานของกฎหมายสากล แต่ก็ยังมีความตระหนักด้วยว่าอาจจะต้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ในอนาคต” กับเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาอย่างแน่นอน

    ราชอาณาจักรไทยจึงได้ประกาศโดยพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปนั้น ได้วางหลักในอนาคตว่าหากจะมีการตกลงกันในวันข้างหน้าจะต้องใช้มูลฐานของกฎหมายสากลเท่านั้น

    ซึ่งแปลว่าฝ่ายราชอาณาจักรไทยนอกจากจะประกาศ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 แล้ว ยังจะต้อง “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลทุกกรณีใน “อนาคต” ด้วย ดังข้อความปรากฏในพระบรมราชโองการความว่า

    “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“



    หมายความว่าหากราชอาณาจักรไทยมีข้อพิพาทในอาณาเขตใกล้เคียงกันแล้วก็เปิดทางให้ตกลงกันได้ แต่ต้อง “ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958” เท่านั้น

    ดังเช่นกรณีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างเส้นเขตไหล่ทวีปของประเทศตัวเองให้ได้เปรียบที่สุด

    แต่เมื่อทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงกันโดยอาศัยมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล จึงสามารถยอมรับการอ้างสิทธิทับซ้อนเหลื่อมล้ำกันของพื้นที่ซึ่งกันและกันได้ และยังคงเป็นการดำเนินรอยตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516

    ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียในการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม โดยการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของไทย-มาเลเซียในอ่าวไทย

    แต่เมื่อจะมีบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทยแล้ว ก็ยังต้องอาศัยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้บันทีกความเข้าใจฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 และรับสนองพระบรมราชโองการโดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี

    แต่กรณีของเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บนฐานของมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล ซึ่งราชอาณาจักรไทย ได้ “ปฏิเสธ” ไปแล้วโดยมีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และได้ “ปฏิเสธ” การตกลงกันในอนาคตด้วย เพราะการขีดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาดังกล่าวไม่ได้อยู่บนมูลฐานของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของกฎหมายทะเลสากล

    ดังนั้น บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ“ เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย มากลายเป็น “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของประเทศกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล

    การที่ประเทศไทย “ไม่ปฏิเสธ” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชา ย่อมเท่ากับประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสุ่มเสี่ยงที่ถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็นการยอมรับการเกิดพื้นที่ไม่แน่ชัดเหลื่อมซ้อนกันระหว่างการลากเส้นตามกฎหมายสากลของราชอาณาจักรไทย กับการลากเส้นตามอำเภอใจของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย

    MOU 2544 จึงอาจเข้าข่ายการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เนื่องด้วยมีการ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การอ้างสิทธิทับซ้อนโดยอาศัยการขีดเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บน ”มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล“

    เรากำลังขาดสติเดินตามรอย “กฎหมายปิดปาก”เสี่ยงสูญเสียเกาะกูดในอนาคตได้เหมือนการสูญเสียปราสาทพระวิหารในอดีตหรือไม่?

    ความสุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้เคยเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันอย่างมากระหว่างรัฐบาลไทยและภาคประชาชนต่อเนื่องมาก่อนแล้วเมื่อ 16 ปีก่อน

    จนในที่สุดในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้ว ดังปรากฏหลักฐานของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ได้ตอบกระทู้ของนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ความตอนหนึ่งว่า

    “ขอกราบเรียนดังนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2554 แต่โดยที่เรื่องดังกล่าวต้องนำเสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ

    จึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาข้อกฎหมายให้รอบคอบก่อนดำเนินการต่อไป แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกำลังดำเนินการศึกษาและพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แล้วก็เพื่อเสนอต่อรัฐสภาต่อไป”

    โดยพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นที่เห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคมาตุภูมิ

    จริงอยู่ที่ว่าการยกเลิก MOU 2544 จนปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ แต่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างแน่นอน และยังมีผลจนถึงปัจจุบันหากยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น

    ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทุกกระทรวงจะดำเนินการไปในหลักการอื่นโดยฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จะทำต่อไปได้อย่างไร ยกเว้นเสียแต่ว่ามีการขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเสียใหม่ จริงหรือไม่?

    ดังนั้น การเดินหน้าในการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาตาม MOU 2544 ต่อไป อาจเข้าข่ายไม่เพียงเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น แต่ยังฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย

    สำหรับ นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนที่จะมากล่าวหาว่าประชาชนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเดินหน้า MOU 2544 ว่าเป็นพวกคลั่งชาตินั้น ก็ควรจะสำรวจรัฐบาลตัวเองด้วยว่ากำลังขายชาติอยู่หรือไม่

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต

    https://mgronline.com/daily/detail/9670000105530

    #Thaitimes
    ณ บ้านพระอาทิตย์ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ การประกาศขีดเส้นเขตไหล่ทวีป และทะเลอาณาเขตของกัมพูชาในปี พ.ศ. 2515 ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากลนั้น ได้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยทางทะเลของราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจน และส่งผลทำให้ราชอาณาจักรไทยได้ “ปฏิเสธ” การประกาศขีดเส้นที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชาไปแล้ว ด้วยการมีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากนั้นในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย โดยมีรายละเอียด ดังนี้ พระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันตกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียว ซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 อีกด้วย โดยมีผลตามมาดังนี้ 1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 จึงเป็นการละเมิดเส้นแบ่งที่ระยะทางเท่ากันระหว่างไทยและกัมพูชา (Equidistant Line) อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรไทยได้เคย “ปฏิเสธ” การขีดเส้นทางทะเลของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลไปแล้วในเวลาต่อมา โดยราชอาณาจักรไทยได้มีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ “พระบรมราชโองการ” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Royal Command” ซึ่งมีความหมายว่า “คำสั่งราชการของพระมหากษัตริย์” พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระราชอำนาจภายใต้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ที่เกี่ยวพันกับสถานภาพกำหนดเขตแดนทางทะเลของ “ราชอาณาจักรไทย” กับ “จอมทัพไทย” และองค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนี้ “มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย มาตรา 18 บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ” ดังนั้น พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน จึงมีผลตามกฎหมายและต้องมีการบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องมีการแก้ไขด้วยพระบรมราชโองการเช่นกัน ดังนั้นจะอาศัยนักการเมืองไปตกลงกันเองตามอำเภอใจโดยขัดต่อพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้ ความสำคัญของพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะมีความหมายถึงการ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่รุกล้ำราชอาณาเขตทะเลไทยแล้ว ยังได้ประกาศถึงเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ” อย่างชัดเจนดังปรากฏเป็นข้อความในพระบรมราชโองการความว่า “เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทยในการสำรวจและการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของแต่ละจุดที่ประกอบเป็นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย“ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการฉบับนี้เป็นเวลา 2 ปี คือปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2515 รัฐบาลราชอาณาจักรไทยได้ทำการให้สัมปทานปิโตรเลียมให้กับต่างชาติไปแล้วหลายแปลง โดยเฉพาะกลุ่มทุนจาก สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ที่ยึดถือการซื้อขายปิโตรเลียมเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือที่เรียกว่า ปิโตรดอลลาร์ ดังนั้น การที่กัมพูชาตราพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ย่อมทำให้ผู้รับสัมปทานในประเทศไทยยังไม่สามารถดำเนินการให้สำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยได้ และอาจทำให้แหล่งปิโตรเลียมของราชอาณาจักรไทยกลายเป็นของกัมพูชาได้ด้วย ประกอบกับในเวลานั้นประเทศไทยได้ผ่านบทเรียนราคาแพงมาเป็นเวลา 10 ปีที่ได้สูญเสียปราสาทพระวิหารไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ที่คำตัดสินของศาลโลกให้ประเทศไทยแพ้คดีด้วยเพราะ “กฎหมายปิดปาก” โดยอ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยไม่ปฏิเสธต่อแผนที่ฝรั่งเศส อ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยต่อการสำแดงอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งๆ ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนยอดหน้าผาฝั่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติที่ชัดเจน ดังนั้น ประเทศไทยจะดำเนินการปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาฉบับปี พ.ศ. 2515 จึงต้องมีความรอบคอบ รัดกุม และคำนึงถึงการปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ ไม่ให้ถูกแย่งชิงแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยให้ไปเป็นของกัมพูชา ไม่ให้ซ้ำรอยการสูญเสียปราสาทพระวิหารของไทยในปี พ.ศ. 2505 ด้วย ดังนั้น เพื่อความสมบูรณ์และชอบธรรมในการ “ปฏิเสธ” แผนที่เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่กระทำการตามกฎหมายทะเลสากล พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงอยู่บน “มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล” ดังความปรากฎในพระบรมราชโองการว่า “ในการกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511” แม้ราชอาณาจักรไทยจะมีพระบรมราชโองการประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปที่อยู่บนมูลฐานของกฎหมายสากล แต่ก็ยังมีความตระหนักด้วยว่าอาจจะต้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ในอนาคต” กับเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาอย่างแน่นอน ราชอาณาจักรไทยจึงได้ประกาศโดยพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปนั้น ได้วางหลักในอนาคตว่าหากจะมีการตกลงกันในวันข้างหน้าจะต้องใช้มูลฐานของกฎหมายสากลเท่านั้น ซึ่งแปลว่าฝ่ายราชอาณาจักรไทยนอกจากจะประกาศ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 แล้ว ยังจะต้อง “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลทุกกรณีใน “อนาคต” ด้วย ดังข้อความปรากฏในพระบรมราชโองการความว่า “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ หมายความว่าหากราชอาณาจักรไทยมีข้อพิพาทในอาณาเขตใกล้เคียงกันแล้วก็เปิดทางให้ตกลงกันได้ แต่ต้อง “ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958” เท่านั้น ดังเช่นกรณีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างเส้นเขตไหล่ทวีปของประเทศตัวเองให้ได้เปรียบที่สุด แต่เมื่อทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงกันโดยอาศัยมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล จึงสามารถยอมรับการอ้างสิทธิทับซ้อนเหลื่อมล้ำกันของพื้นที่ซึ่งกันและกันได้ และยังคงเป็นการดำเนินรอยตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียในการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม โดยการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของไทย-มาเลเซียในอ่าวไทย แต่เมื่อจะมีบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทยแล้ว ก็ยังต้องอาศัยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้บันทีกความเข้าใจฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 และรับสนองพระบรมราชโองการโดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี แต่กรณีของเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บนฐานของมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล ซึ่งราชอาณาจักรไทย ได้ “ปฏิเสธ” ไปแล้วโดยมีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และได้ “ปฏิเสธ” การตกลงกันในอนาคตด้วย เพราะการขีดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาดังกล่าวไม่ได้อยู่บนมูลฐานของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของกฎหมายทะเลสากล ดังนั้น บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ“ เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย มากลายเป็น “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของประเทศกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล การที่ประเทศไทย “ไม่ปฏิเสธ” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชา ย่อมเท่ากับประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสุ่มเสี่ยงที่ถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็นการยอมรับการเกิดพื้นที่ไม่แน่ชัดเหลื่อมซ้อนกันระหว่างการลากเส้นตามกฎหมายสากลของราชอาณาจักรไทย กับการลากเส้นตามอำเภอใจของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย MOU 2544 จึงอาจเข้าข่ายการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เนื่องด้วยมีการ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การอ้างสิทธิทับซ้อนโดยอาศัยการขีดเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บน ”มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล“ เรากำลังขาดสติเดินตามรอย “กฎหมายปิดปาก”เสี่ยงสูญเสียเกาะกูดในอนาคตได้เหมือนการสูญเสียปราสาทพระวิหารในอดีตหรือไม่? ความสุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้เคยเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันอย่างมากระหว่างรัฐบาลไทยและภาคประชาชนต่อเนื่องมาก่อนแล้วเมื่อ 16 ปีก่อน จนในที่สุดในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้ว ดังปรากฏหลักฐานของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ได้ตอบกระทู้ของนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ความตอนหนึ่งว่า “ขอกราบเรียนดังนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2554 แต่โดยที่เรื่องดังกล่าวต้องนำเสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ จึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาข้อกฎหมายให้รอบคอบก่อนดำเนินการต่อไป แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกำลังดำเนินการศึกษาและพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แล้วก็เพื่อเสนอต่อรัฐสภาต่อไป” โดยพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นที่เห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคมาตุภูมิ จริงอยู่ที่ว่าการยกเลิก MOU 2544 จนปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ แต่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างแน่นอน และยังมีผลจนถึงปัจจุบันหากยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทุกกระทรวงจะดำเนินการไปในหลักการอื่นโดยฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จะทำต่อไปได้อย่างไร ยกเว้นเสียแต่ว่ามีการขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเสียใหม่ จริงหรือไม่? ดังนั้น การเดินหน้าในการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาตาม MOU 2544 ต่อไป อาจเข้าข่ายไม่เพียงเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น แต่ยังฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย สำหรับ นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนที่จะมากล่าวหาว่าประชาชนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเดินหน้า MOU 2544 ว่าเป็นพวกคลั่งชาตินั้น ก็ควรจะสำรวจรัฐบาลตัวเองด้วยว่ากำลังขายชาติอยู่หรือไม่ ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต https://mgronline.com/daily/detail/9670000105530 #Thaitimes
    Like
    Love
    8
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 809 มุมมอง 0 รีวิว
  • กกต.เริ่มไล่เชือด ส.ว.ประเดิม 'สมชาย เล่งหลัก' 'หมอเกศ' จ่อคิวต่อไป
    .
    วุฒิสภาชุดปัจจุบันที่เริ่มทำงานมาได้สักระยะ เวลานี้มีเรื่องให้ส.ว.บางคนร้อนๆหนาวๆกันบ้างแล้ว ภายหลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ให้สมาชิกภาพความเป็น ส.ว.ของนายสมชาย เล่งหลัก สิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรคสี่ หรือไม่
    .
    โดยเป็นผลมาจากกรณีศาลฎีกามีคำพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 10 ปี เมื่อครั้งนายสมชาย ซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.สงขลา เขต 9 พรรคภูมิใจไทย รู้เห็นสนับสนุนให้มีการแจกเงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อจงใจให้ลงคะแนนให้แก่ตน ด้วยเหตุนี้กกต.จึงเห็นว่านายสมชาย เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่ง ส.ว. โดยขณะนี้อยู่ระหว่าง กกต.จัดทำคำวินิจฉัยและยกร่างคำร้องก่อนที่จะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไป
    .
    อีกคนที่ต้องลุ้นเช่นกัน คือ พ.ญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย ส.ว.กลุ่ม19 (กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ) โดยกกต.เตรียมพิจารณาว่าความถูกต้องของประวัติการศึกษาที่ระบุว่าเป็นศาสตราจารย์ จบปริญญาเอกจาก California University ในใบเอกสารแนะนำตัวสมาชิกวุฒิสภา (สว.3) เข้าข่ายเป็นการกระทำหลอกลวง จูงใจให้บุคคลอื่นเข้าใจผิดในคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถ หรือชื่อเสียงเกียรติคุณเพื่อให้ผู้สมัครหรือผู้มีสิทธิเลือกลงคะแนนให้แก่ตนตามมาตรา 77 (4) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา 2561 หรือไม่ ในสัปดาห์หน้า
    ..............
    Sondhi X
    กกต.เริ่มไล่เชือด ส.ว.ประเดิม 'สมชาย เล่งหลัก' 'หมอเกศ' จ่อคิวต่อไป . วุฒิสภาชุดปัจจุบันที่เริ่มทำงานมาได้สักระยะ เวลานี้มีเรื่องให้ส.ว.บางคนร้อนๆหนาวๆกันบ้างแล้ว ภายหลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ให้สมาชิกภาพความเป็น ส.ว.ของนายสมชาย เล่งหลัก สิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรคสี่ หรือไม่ . โดยเป็นผลมาจากกรณีศาลฎีกามีคำพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 10 ปี เมื่อครั้งนายสมชาย ซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.สงขลา เขต 9 พรรคภูมิใจไทย รู้เห็นสนับสนุนให้มีการแจกเงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อจงใจให้ลงคะแนนให้แก่ตน ด้วยเหตุนี้กกต.จึงเห็นว่านายสมชาย เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่ง ส.ว. โดยขณะนี้อยู่ระหว่าง กกต.จัดทำคำวินิจฉัยและยกร่างคำร้องก่อนที่จะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไป . อีกคนที่ต้องลุ้นเช่นกัน คือ พ.ญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย ส.ว.กลุ่ม19 (กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ) โดยกกต.เตรียมพิจารณาว่าความถูกต้องของประวัติการศึกษาที่ระบุว่าเป็นศาสตราจารย์ จบปริญญาเอกจาก California University ในใบเอกสารแนะนำตัวสมาชิกวุฒิสภา (สว.3) เข้าข่ายเป็นการกระทำหลอกลวง จูงใจให้บุคคลอื่นเข้าใจผิดในคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถ หรือชื่อเสียงเกียรติคุณเพื่อให้ผู้สมัครหรือผู้มีสิทธิเลือกลงคะแนนให้แก่ตนตามมาตรา 77 (4) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา 2561 หรือไม่ ในสัปดาห์หน้า .............. Sondhi X
    Like
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 822 มุมมอง 0 รีวิว
  • สนธิไขปม “ทักษิณ” กินข้าว “เนวิน” รับมือคดี-อุ๊งอิ๊งขึ้นศาลรธน. ชงอนุทินนายกฯ คนต่อไป
    .
    วันนี้ (9 ต.ค.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล กล่าวในรายการสนธิเล่าเรื่อง กรณีที่นายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ไปกินข้าวกับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตนักโทษคดีทุจริต และนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า จรัญสนิทวงศ์ 69 เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ว่า เรื่องนี้ต้องโทษนายทักษิณ ตนไม่อยากพูดถึงเพราะนายทักษิณกำลังรับเวรกรรมอยู่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลูกสาวนายทักษิณจะเอาตัวรอดเปล่าไม่รู้ และนายทักษิณกำลังถูกรุกหนัก ถึงขั้นถ้าเรื่องถึงศาลและชี้ว่ามีมูล เท่ากับว่าจะต้องถูกตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงประกบตลอดเวลา และมีการคาดคะเนว่านายทักษิณอาจต้องหนีออกนอกประเทศอีกครั้ง ตนไม่รู้ว่าจริงหรือไม่จริง คนที่เกลียดนายทักษิณตั้งข้อสังเกตเยอะแยะ ตนไม่ได้เกลียดนายทักษิณ แต่ขณะนี้เขาต้องรับเวรรับกรรม และขณะนี้รับเวรกรรมอยู่อย่างมาก
    .
    ทั้งนี้ เมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา นายทักษิณเงียบสนิทไม่ออกไปไหน มีแต่เรียกรัฐมนตรีที่ตัวเองสั่งการได้เข้าไปพบ บางกรณีไปดุด่าว่าอนุมัติโครงการบางโครงการได้อย่างไร แม้กระทั่งมีข่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อยู่หลังม่านอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีคนวิ่งเต้นเข้าหาตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นผู้ว่าฯ ท่าอากาศยานไทย แม้กระทั่งหลายคนต้องการเลื่อนตำแหน่งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ ปตท. ถึงขั้นโทรศัพท์ไปหาผู้บริหาร ปตท. ขอให้ซื้อโฆษณาสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวีเพิ่ม ซึ่งนายทักษิณได้มอบหมายดูแล 2 กระทรวง คือ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) และกระทรวงยุติธรรม ที่กำลังโยกย้ายแต่งตั้ง เพราะต้องดูว่าใครช่วยนายทักษิณ
    .
    นายสนธิ กล่าวว่า นายเนวินเคยสนิทสนมกับนายทักษิณ เคยเป็นมือให้นายทักษิณทำงานทุกงาน ออกมาปะฉะดะ แม้กระทั่งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เคยถูกนายเนวินกลั่นแกล้งตลอดเวลา เคยให้นายศุภชัย ใจสมุทร แจ้งความจับตนในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ตำแหน่งสำคัญของนายเนวินหลุดออกไป เป็นทำให้นายเนวินหักหลังนายทักษิณ และจัดตั้งรัฐบาลที่ค่ายทหาร ให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็น รมว.กลาโหม โดยนายเนวินเจรจากับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เพื่อให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ทำให้กลุ่มนายเนวินมีอำนาจขึ้นมา เส้นทางการเมืองนายทักษิณอยู่ต่างประเทศ นายเนวินกับนายอนุทินตั้งพรรคภูมิใจไทยขึ้นมา
    .
    นายสนธิเห็นว่า การที่นายเนวินและนายอนุทินกินข้าวกับนายทักษิณ เพราะเวรกรรมกำลังเข้ามาที่นายทักษิณ ทั้งกรมราชทัณฑ์กำลังจะถูกสอบ เจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์อาจมีส่วนร่วมกระทำความผิดด้วย แม้กระทั่ง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ในฐานะ รมว.ยุติธรรม ที่ออกมาให้ความช่วยเหลือนายทักษิณในเรื่องชั้น 14 เพราะฉะนั้นตอนนี้กรมราชทัณฑ์เริ่มระส่ำระส่ายอย่างมาก คนที่เคยช่วยนายทักษิณเพราะหวังได้เลื่อนตำแหน่ง และหลายคนได้เลื่อนตำแหน่งเพราะการช่วยนายทักษิณ เช่น อธิบดีกรมราชทัณฑ์ได้ขึ้นตำแหน่งเต็มตัวเพราะช่วยนายทักษิณ และเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ 5-6 คน ใช้วิชามารและหลักการช่วยนายทักษิณ จึงถูกนายจตุพร พรหมพันธุ์ และนายนิติธร ล้ำเหลือ เคลื่อนไหวเอาผิด
    .
    ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีคนต่อว่าทำไมไม่พูดถึงนายทักษิณเลย ตนตอบว่า ไม่จำเป็นต้องพูดถึงเขาแล้ว เพราะเขากำลังรับเวรกรรม มีโจทก์เต็มไปหมด ไล่ล่านายทักษิณตลอดเวลา นายทักษิณไม่รู้จะทำอย่างไรในขณะนี้ ซึ่งเรื่องร้องเรียนไปทุกช่องทาง ทั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดิน สำนักงาน ปปช. ไปกระทั่งหน่วยงานองค์กรอิสระนั้นไม่เพิกเฉยต่อคำร้องเหล่านี้ได้ แต่ละองค์กรจึงมีการตั้งเรื่องเพื่อสืบเสาะข้อกล่าวหาที่แต่ละคนกล่าวหาทุกช่องทาง ล่าสุดได้ข่าวว่านายทักษิณกำลังจะถูกแจ้งข้อกล่าวหา
    .
    ขณะเดียวกัน น.ส.แพทองธาร กำลังจะถูกดำเนินคดีถือหุ้นในบริษัท อัลไพน์ฯ มีรายงานการประชุมชัดเจน มีชื่อ น.ส.แพทองธารประชุมอยู่ด้วย และโยงไปถึง คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร มารดา น.ส.แพทองธาร หาก น.ส.แพทองธารเป็นนายกฯ แล้วเรื่องนี้ถูกส่งไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ ถ้าชี้ว่า น.ส.แพทองธารมีความผิด ไม่ใช่แค่ลาออกอย่างเดียว ยังถูกดำเนินคดีอาญาด้วย แต่ถ้าก่อนศาลรัฐธรรมนูญพิพากษา น.ส.แพทองธารลาออกไปก่อน คดีนี้ก็จบไป จึงเป็นที่มาของการกินข้าวครั้งนี้
    .
    "ขณะนี้พรรคภูมิใจไทยได้เปรียบกว่าพรรคเพื่อไทยและทักษิณ เป็นพรรคที่คุม สว. เสียงข้างมากในวุฒิสภา ด้วยเหตุนี้ เนวินถือไพ่ตรงนี้เหนือกว่าทักษิณ ในขณะเดียวกัน ทักษิณก็ยังถือเสียง 140 เสียงของพรรคเพื่อไทยอยู่ ซึ่งถ้าเนวินต้องการให้อนุทินขึ้นมาเป็นนายกฯ ก็ต้องพึ่งเสียงของทักษิณ ผมเชื่อว่าเป็นการทำความเข้าใจถึงสถานการณ์ร่วมกัน และเจรจากันอย่างเงียบๆ ว่าถ้าสมมติอุ๊งอิ๊งจำเป็นต้องออก ก้าวข้าม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ไปได้เลย เพราะพรรคพลังประชารัฐมีเสียง สส. อยู่ 40 เสียง 20 กว่าเสียงอยู่กับ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เสียงของพรรคพลังประชารัฐมีจริงๆ ก็แค่ 10 กว่าเสียง ตีให้ตายชาติหน้า พล.อ.ปนระวิตร ก็เป็นนายกฯ ไม่ได้ คิวต่อไปก็เป็นอนุทิน ชาญวีรกูล ถ้าอนุทินเป็นนายกฯ แล้วไม่มีเสียงของทักษิณสนับสนุน ก็ไม่รู้จะทำยังไง นั่นคือที่มาของการกินข้าว คือการปูทางก่อน ทำความเข้าใจ ก่อนละครลิเกโรงใหญ่" นายสนธิ กล่าว
    .
    ทั้งนี้ หลายคนบอกว่าเหตุการณ์นี้จะเริ่มต้นช่วงต้นเดือน ธ.ค. 2567 แต่ตนเห็นว่าอย่างเร็วที่สุดต้นปี 2568 เพราะนายทักษิณอยากให้ น.ส.แพทองธาร ลากต่อไป จนกระทั่งถึงวินาทีสุดท้าย ถ้ายังอยู่ต่อต้องถูกศาลพิพากษาแน่ ถ้าลาออกตอนนี้แล้วเรื่องก็จบ ไม่มีแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญก็แทงเรื่องว่าจบ ปิดคดี เพราะคนที่ถูกกล่าวหาเป็นนายกฯ โดยมิชอบต้องลาออกแล้ว ข้อกล่าวหาก็ต้องตกไปเป็นเรื่องธรรมดา ส่วนที่นายดนัย เอกมหาสวัสดิ์ กล่าวว่า กลางเดือนนี้จะมีนายกฯ คนนอก คือนายวีรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่าการ ธปท. ลูกชาย พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ ตนดูการเมืองเมืองไทยกว่า 50 ปีแล้วยังดูไม่ออกเลย นายดนัยก็ดูไม่ออกแต่เชื่อ ทฤษฎีนายดนัยต้องฟังหูไว้หู ตนไม่ประหลาดใจว่ากลางเดือนนี้ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ที่แน่ๆ กระบวนการไล่ล่า น.ส.แพทองธารและนายทักษิณยังคงดำเนินต่อไป
    .
    ส่วนการที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีตแกนนำ นปช. มาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ปกป้อง น.ส.แพทองธาร นั้น วันนี้กับสมัยก่อนไม่เหมือนกัน สมัยก่อนมีนายจตุพร พรหมพันธุ์ ร่วมรบ แต่วันนี้ นายจตุพรเป็นศัตรูกับนายทักษิณ นายณัฐวุฒิเข้ามาให้สัมภาษณ์ไป โกหกทุกเรื่อง กระทั่งโซเชียลมีเดียตัดคลิปในอดีตออกมา นายณัฐวุฒิอ้างว่าไม่เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าว ก็เอาคลิปเก่าที่เคยพูดเรื่องจำนำข้าวมาจี้นายณัฐวุฒิ สรุปแล้วเป็นนักการเมืองที่โกหกเก่งคนหนึ่ง ตนไม่เห็นว่านายณัฐวุฒิจะมาปกป้องอะไรนายกฯ ได้เลยแม้แต่นิดเดียว สรุปแล้วเดือนตุลาคมเป็นเดือนตุลาอาถรรพ์ และอาถรรพ์ถึงสิ้นปีนี้ ทั้งหมดถ้ามองย้อนหลังเป็นละคร ลิเกโรงใหญ่ ต่างฝ่ายต่างมีผลประโยชน์แลกกัน เป็นการจับมือสองฝ่ายที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน นายทักษิณทางเลือกมีน้อยมาก เหมือนหลังชนกำแพงแล้ว
    ..............
    Sondhi X
    สนธิไขปม “ทักษิณ” กินข้าว “เนวิน” รับมือคดี-อุ๊งอิ๊งขึ้นศาลรธน. ชงอนุทินนายกฯ คนต่อไป . วันนี้ (9 ต.ค.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล กล่าวในรายการสนธิเล่าเรื่อง กรณีที่นายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ไปกินข้าวกับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตนักโทษคดีทุจริต และนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า จรัญสนิทวงศ์ 69 เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ว่า เรื่องนี้ต้องโทษนายทักษิณ ตนไม่อยากพูดถึงเพราะนายทักษิณกำลังรับเวรกรรมอยู่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลูกสาวนายทักษิณจะเอาตัวรอดเปล่าไม่รู้ และนายทักษิณกำลังถูกรุกหนัก ถึงขั้นถ้าเรื่องถึงศาลและชี้ว่ามีมูล เท่ากับว่าจะต้องถูกตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงประกบตลอดเวลา และมีการคาดคะเนว่านายทักษิณอาจต้องหนีออกนอกประเทศอีกครั้ง ตนไม่รู้ว่าจริงหรือไม่จริง คนที่เกลียดนายทักษิณตั้งข้อสังเกตเยอะแยะ ตนไม่ได้เกลียดนายทักษิณ แต่ขณะนี้เขาต้องรับเวรรับกรรม และขณะนี้รับเวรกรรมอยู่อย่างมาก . ทั้งนี้ เมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา นายทักษิณเงียบสนิทไม่ออกไปไหน มีแต่เรียกรัฐมนตรีที่ตัวเองสั่งการได้เข้าไปพบ บางกรณีไปดุด่าว่าอนุมัติโครงการบางโครงการได้อย่างไร แม้กระทั่งมีข่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อยู่หลังม่านอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีคนวิ่งเต้นเข้าหาตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นผู้ว่าฯ ท่าอากาศยานไทย แม้กระทั่งหลายคนต้องการเลื่อนตำแหน่งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ ปตท. ถึงขั้นโทรศัพท์ไปหาผู้บริหาร ปตท. ขอให้ซื้อโฆษณาสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวีเพิ่ม ซึ่งนายทักษิณได้มอบหมายดูแล 2 กระทรวง คือ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) และกระทรวงยุติธรรม ที่กำลังโยกย้ายแต่งตั้ง เพราะต้องดูว่าใครช่วยนายทักษิณ . นายสนธิ กล่าวว่า นายเนวินเคยสนิทสนมกับนายทักษิณ เคยเป็นมือให้นายทักษิณทำงานทุกงาน ออกมาปะฉะดะ แม้กระทั่งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เคยถูกนายเนวินกลั่นแกล้งตลอดเวลา เคยให้นายศุภชัย ใจสมุทร แจ้งความจับตนในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ตำแหน่งสำคัญของนายเนวินหลุดออกไป เป็นทำให้นายเนวินหักหลังนายทักษิณ และจัดตั้งรัฐบาลที่ค่ายทหาร ให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็น รมว.กลาโหม โดยนายเนวินเจรจากับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เพื่อให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ทำให้กลุ่มนายเนวินมีอำนาจขึ้นมา เส้นทางการเมืองนายทักษิณอยู่ต่างประเทศ นายเนวินกับนายอนุทินตั้งพรรคภูมิใจไทยขึ้นมา . นายสนธิเห็นว่า การที่นายเนวินและนายอนุทินกินข้าวกับนายทักษิณ เพราะเวรกรรมกำลังเข้ามาที่นายทักษิณ ทั้งกรมราชทัณฑ์กำลังจะถูกสอบ เจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์อาจมีส่วนร่วมกระทำความผิดด้วย แม้กระทั่ง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ในฐานะ รมว.ยุติธรรม ที่ออกมาให้ความช่วยเหลือนายทักษิณในเรื่องชั้น 14 เพราะฉะนั้นตอนนี้กรมราชทัณฑ์เริ่มระส่ำระส่ายอย่างมาก คนที่เคยช่วยนายทักษิณเพราะหวังได้เลื่อนตำแหน่ง และหลายคนได้เลื่อนตำแหน่งเพราะการช่วยนายทักษิณ เช่น อธิบดีกรมราชทัณฑ์ได้ขึ้นตำแหน่งเต็มตัวเพราะช่วยนายทักษิณ และเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ 5-6 คน ใช้วิชามารและหลักการช่วยนายทักษิณ จึงถูกนายจตุพร พรหมพันธุ์ และนายนิติธร ล้ำเหลือ เคลื่อนไหวเอาผิด . ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีคนต่อว่าทำไมไม่พูดถึงนายทักษิณเลย ตนตอบว่า ไม่จำเป็นต้องพูดถึงเขาแล้ว เพราะเขากำลังรับเวรกรรม มีโจทก์เต็มไปหมด ไล่ล่านายทักษิณตลอดเวลา นายทักษิณไม่รู้จะทำอย่างไรในขณะนี้ ซึ่งเรื่องร้องเรียนไปทุกช่องทาง ทั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดิน สำนักงาน ปปช. ไปกระทั่งหน่วยงานองค์กรอิสระนั้นไม่เพิกเฉยต่อคำร้องเหล่านี้ได้ แต่ละองค์กรจึงมีการตั้งเรื่องเพื่อสืบเสาะข้อกล่าวหาที่แต่ละคนกล่าวหาทุกช่องทาง ล่าสุดได้ข่าวว่านายทักษิณกำลังจะถูกแจ้งข้อกล่าวหา . ขณะเดียวกัน น.ส.แพทองธาร กำลังจะถูกดำเนินคดีถือหุ้นในบริษัท อัลไพน์ฯ มีรายงานการประชุมชัดเจน มีชื่อ น.ส.แพทองธารประชุมอยู่ด้วย และโยงไปถึง คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร มารดา น.ส.แพทองธาร หาก น.ส.แพทองธารเป็นนายกฯ แล้วเรื่องนี้ถูกส่งไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ ถ้าชี้ว่า น.ส.แพทองธารมีความผิด ไม่ใช่แค่ลาออกอย่างเดียว ยังถูกดำเนินคดีอาญาด้วย แต่ถ้าก่อนศาลรัฐธรรมนูญพิพากษา น.ส.แพทองธารลาออกไปก่อน คดีนี้ก็จบไป จึงเป็นที่มาของการกินข้าวครั้งนี้ . "ขณะนี้พรรคภูมิใจไทยได้เปรียบกว่าพรรคเพื่อไทยและทักษิณ เป็นพรรคที่คุม สว. เสียงข้างมากในวุฒิสภา ด้วยเหตุนี้ เนวินถือไพ่ตรงนี้เหนือกว่าทักษิณ ในขณะเดียวกัน ทักษิณก็ยังถือเสียง 140 เสียงของพรรคเพื่อไทยอยู่ ซึ่งถ้าเนวินต้องการให้อนุทินขึ้นมาเป็นนายกฯ ก็ต้องพึ่งเสียงของทักษิณ ผมเชื่อว่าเป็นการทำความเข้าใจถึงสถานการณ์ร่วมกัน และเจรจากันอย่างเงียบๆ ว่าถ้าสมมติอุ๊งอิ๊งจำเป็นต้องออก ก้าวข้าม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ไปได้เลย เพราะพรรคพลังประชารัฐมีเสียง สส. อยู่ 40 เสียง 20 กว่าเสียงอยู่กับ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เสียงของพรรคพลังประชารัฐมีจริงๆ ก็แค่ 10 กว่าเสียง ตีให้ตายชาติหน้า พล.อ.ปนระวิตร ก็เป็นนายกฯ ไม่ได้ คิวต่อไปก็เป็นอนุทิน ชาญวีรกูล ถ้าอนุทินเป็นนายกฯ แล้วไม่มีเสียงของทักษิณสนับสนุน ก็ไม่รู้จะทำยังไง นั่นคือที่มาของการกินข้าว คือการปูทางก่อน ทำความเข้าใจ ก่อนละครลิเกโรงใหญ่" นายสนธิ กล่าว . ทั้งนี้ หลายคนบอกว่าเหตุการณ์นี้จะเริ่มต้นช่วงต้นเดือน ธ.ค. 2567 แต่ตนเห็นว่าอย่างเร็วที่สุดต้นปี 2568 เพราะนายทักษิณอยากให้ น.ส.แพทองธาร ลากต่อไป จนกระทั่งถึงวินาทีสุดท้าย ถ้ายังอยู่ต่อต้องถูกศาลพิพากษาแน่ ถ้าลาออกตอนนี้แล้วเรื่องก็จบ ไม่มีแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญก็แทงเรื่องว่าจบ ปิดคดี เพราะคนที่ถูกกล่าวหาเป็นนายกฯ โดยมิชอบต้องลาออกแล้ว ข้อกล่าวหาก็ต้องตกไปเป็นเรื่องธรรมดา ส่วนที่นายดนัย เอกมหาสวัสดิ์ กล่าวว่า กลางเดือนนี้จะมีนายกฯ คนนอก คือนายวีรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่าการ ธปท. ลูกชาย พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ ตนดูการเมืองเมืองไทยกว่า 50 ปีแล้วยังดูไม่ออกเลย นายดนัยก็ดูไม่ออกแต่เชื่อ ทฤษฎีนายดนัยต้องฟังหูไว้หู ตนไม่ประหลาดใจว่ากลางเดือนนี้ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ที่แน่ๆ กระบวนการไล่ล่า น.ส.แพทองธารและนายทักษิณยังคงดำเนินต่อไป . ส่วนการที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีตแกนนำ นปช. มาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ปกป้อง น.ส.แพทองธาร นั้น วันนี้กับสมัยก่อนไม่เหมือนกัน สมัยก่อนมีนายจตุพร พรหมพันธุ์ ร่วมรบ แต่วันนี้ นายจตุพรเป็นศัตรูกับนายทักษิณ นายณัฐวุฒิเข้ามาให้สัมภาษณ์ไป โกหกทุกเรื่อง กระทั่งโซเชียลมีเดียตัดคลิปในอดีตออกมา นายณัฐวุฒิอ้างว่าไม่เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าว ก็เอาคลิปเก่าที่เคยพูดเรื่องจำนำข้าวมาจี้นายณัฐวุฒิ สรุปแล้วเป็นนักการเมืองที่โกหกเก่งคนหนึ่ง ตนไม่เห็นว่านายณัฐวุฒิจะมาปกป้องอะไรนายกฯ ได้เลยแม้แต่นิดเดียว สรุปแล้วเดือนตุลาคมเป็นเดือนตุลาอาถรรพ์ และอาถรรพ์ถึงสิ้นปีนี้ ทั้งหมดถ้ามองย้อนหลังเป็นละคร ลิเกโรงใหญ่ ต่างฝ่ายต่างมีผลประโยชน์แลกกัน เป็นการจับมือสองฝ่ายที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน นายทักษิณทางเลือกมีน้อยมาก เหมือนหลังชนกำแพงแล้ว .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Wow
    21
    0 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 1710 มุมมอง 0 รีวิว
  • คลอดโผมหาดไทย สายสิงห์ดำ-เด็กเนวิน ผงาด
    .
    โผแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยหลังเลื่อนไม่เอาเข้าครม.มาสองสัปดาห์ เพราะติดขัดปัญหาบางประการในการจัดสรรตำแหน่งให้ลงตัว รอบนี้ อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ลงมาดูโผทุกรายชื่อและมีการตรวจสอบประวัติการทำงาน ผลงาน อย่างละเอียด โดยเฉพาะในตำแหน่งอธิบดีและผู้ว่าฯจังหวัดสำคัญ ซึ่งสุดท้าย อนุทิน และนายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ก็ได้ชงโผมหาดไทยเข้าครม.วันนี้ (8ต.ค.) และที่ประชุม เห็นชอบ
    .
    รายชื่อส่วนใหญ่ ก็เป็นไปตามที่มีข่าวก่อนหน้านี้ ที่ก็พบว่าเครือข่ายสิงห์ดำ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ กับปลัดมหาดไทย อรรษิษฐ์ ได้เข้าสู่ตำแหน่งสำคัญกันหลายคน รวมถึงเครือข่ายสิงห์มหาดไทยสายใกล้ชิดเครือข่ายบ้านใหญ่บุรีรัมย์ ก็ได้ดิบได้ดีกันหลายคน เช่น นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ ที่จะเกษียณปีหน้า ก็โยกจากอธิบดี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ไปเป็น อธิบดีกรมการปกครอง หรือนายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ จาก ผวจ.บุรีรัมย์ ฐานที่มั่นของเนวิน ชิดชอบ และพรรคภูมิใจไทย ก็ได้เป็น อธิบดี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น
    .
    โดยรายละเอียดของโผมหาดไทยมีดังนี้
    น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล โฆษกกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า  ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 8 ต.ค. 67 มีมติเห็นชอบการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง สังกัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 25 ราย ดังนี้  
     .
    1.นายขจร ศรีชวโนทัย พ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง
     .
    2.นายสันติธร ยิ้มละมัย พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดลำพูน และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง
     .
    3.นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดอุบลราชธานี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
     .
    4.นายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดจังหวัดพังงา และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
     .
    5.นายอดิเทพ กมลเวชช์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดพิจิตร และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
     .
    6.นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ พ้นจากตำแหน่งอธิบดี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมการปกครอง
     .
    7.นายภาสกร บุญญลักษม์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดปทุมธานี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
     .
    8.นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมโยธาธิการและผังเมือง
     .
    9.นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดบุรีรัมย์ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
     .
    10.นายอังกูร ศีลาเทวากูล พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดกระบี่
     .
    11.นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดนครศรีธรรมราช และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดฉะเชิงเทรา
     .
    12.นายชรินทร์ ทองสุข พันจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดยโสธร และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดเชียงราย 
     .
    13.นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดราชบุรี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดนนทบุรี
     .
    14. นายสมคิด จันทมฤก พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดปทุมธานี
     .
    15.นายวีระพันธ์ ดีอ่อน พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดปราจีนบุรี
     .
    16. นายทวี เสริมภักดีกุล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดนครสวรรค์ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดพิษณุโลก
     .
    17.นายศรัณยู มีทองคำ พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดเพชรบูรณ์
     .
    18.นายชุติเดช มีจันทร์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดแพร่ และแต่งตั้งที่ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดลำปาง 
     .
    19.นายโชตินรินทร์ เกิดสม พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่งผู้ว่าราชการจังหวัด  จังหวัดสงขลา
     .
    20.นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดพัทลุง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดสมุทรสงคราม
     .
    21.นายนริศ นิรามัยวงศ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดระนอง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด  จังหวัดสุทรสาคร
     .
    22.นายพิริยะ ฉันทดิลก พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดอ่างทอง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดสุพรรณบุรี
     .
    23.นายชำนาญ ชื่นตา พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดสุรินทร์
     .
    24.นายราชันย์ ซุ้นหั้ว พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด  จังหวัดอุดรธานี
     .
    25.ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดอำนาจเจริญ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดอุบลราชธานี
    ..............
    Sondhi X
    คลอดโผมหาดไทย สายสิงห์ดำ-เด็กเนวิน ผงาด . โผแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยหลังเลื่อนไม่เอาเข้าครม.มาสองสัปดาห์ เพราะติดขัดปัญหาบางประการในการจัดสรรตำแหน่งให้ลงตัว รอบนี้ อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ลงมาดูโผทุกรายชื่อและมีการตรวจสอบประวัติการทำงาน ผลงาน อย่างละเอียด โดยเฉพาะในตำแหน่งอธิบดีและผู้ว่าฯจังหวัดสำคัญ ซึ่งสุดท้าย อนุทิน และนายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ก็ได้ชงโผมหาดไทยเข้าครม.วันนี้ (8ต.ค.) และที่ประชุม เห็นชอบ . รายชื่อส่วนใหญ่ ก็เป็นไปตามที่มีข่าวก่อนหน้านี้ ที่ก็พบว่าเครือข่ายสิงห์ดำ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ กับปลัดมหาดไทย อรรษิษฐ์ ได้เข้าสู่ตำแหน่งสำคัญกันหลายคน รวมถึงเครือข่ายสิงห์มหาดไทยสายใกล้ชิดเครือข่ายบ้านใหญ่บุรีรัมย์ ก็ได้ดิบได้ดีกันหลายคน เช่น นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ ที่จะเกษียณปีหน้า ก็โยกจากอธิบดี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ไปเป็น อธิบดีกรมการปกครอง หรือนายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ จาก ผวจ.บุรีรัมย์ ฐานที่มั่นของเนวิน ชิดชอบ และพรรคภูมิใจไทย ก็ได้เป็น อธิบดี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น . โดยรายละเอียดของโผมหาดไทยมีดังนี้ น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล โฆษกกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า  ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 8 ต.ค. 67 มีมติเห็นชอบการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง สังกัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 25 ราย ดังนี้    . 1.นายขจร ศรีชวโนทัย พ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง  . 2.นายสันติธร ยิ้มละมัย พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดลำพูน และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง  . 3.นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดอุบลราชธานี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง  . 4.นายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดจังหวัดพังงา และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง  . 5.นายอดิเทพ กมลเวชช์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดพิจิตร และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง  . 6.นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ พ้นจากตำแหน่งอธิบดี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมการปกครอง  . 7.นายภาสกร บุญญลักษม์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดปทุมธานี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  . 8.นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมโยธาธิการและผังเมือง  . 9.นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดบุรีรัมย์ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  . 10.นายอังกูร ศีลาเทวากูล พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดกระบี่  . 11.นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดนครศรีธรรมราช และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดฉะเชิงเทรา  . 12.นายชรินทร์ ทองสุข พันจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดยโสธร และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดเชียงราย   . 13.นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดราชบุรี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดนนทบุรี  . 14. นายสมคิด จันทมฤก พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดปทุมธานี  . 15.นายวีระพันธ์ ดีอ่อน พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดปราจีนบุรี  . 16. นายทวี เสริมภักดีกุล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดนครสวรรค์ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดพิษณุโลก  . 17.นายศรัณยู มีทองคำ พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดเพชรบูรณ์  . 18.นายชุติเดช มีจันทร์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดแพร่ และแต่งตั้งที่ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดลำปาง   . 19.นายโชตินรินทร์ เกิดสม พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่งผู้ว่าราชการจังหวัด  จังหวัดสงขลา  . 20.นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดพัทลุง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดสมุทรสงคราม  . 21.นายนริศ นิรามัยวงศ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดระนอง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด  จังหวัดสุทรสาคร  . 22.นายพิริยะ ฉันทดิลก พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดอ่างทอง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดสุพรรณบุรี  . 23.นายชำนาญ ชื่นตา พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดสุรินทร์  . 24.นายราชันย์ ซุ้นหั้ว พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด  จังหวัดอุดรธานี  . 25.ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดอำนาจเจริญ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดอุบลราชธานี .............. Sondhi X
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 928 มุมมอง 0 รีวิว
  • “เอกราช ช่างเหลา” สส.พรรคภูมิใจไทย แถลงต่อศาลจังหวัดขอนแก่น ปฏิเสธข้อหาในส่วนคดีอาญา และปฏิเสธที่จะชำระหลักทรัพย์ 130 ล้านบาท หรือจ่ายเงินสด 100 ล้านบาท ซึ่งครบกำหนดชำระในงวดเดือน พ.ย.นี้อีก 50 ล้านบาท อ้างว่ารอขายที่ดินทำเลทองบริเวณร้านแสงทองเดิม (ใกล้ศาลหลักเมือง) มูลค่ากว่า 300 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ณ ขณะนี้ศาลยังไม่มีคำตัดสินจากศาลออกมา

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000095488

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “เอกราช ช่างเหลา” สส.พรรคภูมิใจไทย แถลงต่อศาลจังหวัดขอนแก่น ปฏิเสธข้อหาในส่วนคดีอาญา และปฏิเสธที่จะชำระหลักทรัพย์ 130 ล้านบาท หรือจ่ายเงินสด 100 ล้านบาท ซึ่งครบกำหนดชำระในงวดเดือน พ.ย.นี้อีก 50 ล้านบาท อ้างว่ารอขายที่ดินทำเลทองบริเวณร้านแสงทองเดิม (ใกล้ศาลหลักเมือง) มูลค่ากว่า 300 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ณ ขณะนี้ศาลยังไม่มีคำตัดสินจากศาลออกมา อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000095488 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Sad
    Haha
    Angry
    23
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1983 มุมมอง 0 รีวิว
  • โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง……“จากสนธิ ลิ้มทองกุล ถึงนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์"
    .
    ในรายการ "สนธิเล่าเรื่อง" เมื่อวันพุธที่2ตุลาคมที่ผ่านมา ผมพูดจาโดยตรงกับท่านนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ ที่ท่านพูดโอดครวญว่าทำงานยังไม่ถึงเดือนเลย ผมจะมาไล่ท่านแล้วหรือ ท่านใช้ความเป็นเด็ก ความน่าสงสาร ทำให้ตัวท่านเหมือนกับถูกผู้ใหญ่อย่างผมรังแก ฟังเสียก่อนแล้วจะรู้ว่าผมไม่ได้รังแกอะไรเขา เขาทำตัวเขาเองทั้งสิ้น
    .
    ท่านนายกฯ แพทองธารครับ ถึงเวลาแล้วที่ท่านจะต้องใช้สติปัญญาในการพิจารณาข้อความ เรื่องราวต่างๆ ของท่าน ท่านอย่าไปเที่ยวให้นักข่าวถามท่าน หรือว่าให้คนใกล้ชิดใส่ร้ายป้ายสี
    .
    ในรายการ "ความจริงมีหนึ่งเดียว" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน ผมบอกว่าผมจะทำ 3 เรื่อง -เรื่องแรกที่ผมจะทำก็คือว่า ไม่เกินสิ้นปีนี้ผมจะไปยื่นขอความเป็นธรรมกับกรณีที่ผมโดนลอบสังหาร เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2552 โดนยิง 200 นัด บาดเจ็บสาหัส จากวันนั้นถึงวันนี้คดีความไม่ไปไหนเลย
    .
    -เรื่องที่สอง เรื่องปริมาณพม่าลี้ภัยเข้ามาในเมืองไทยเยอะเหลือเกิน สมุทรปราการ มหาชัย แม่สอดกลายเป็นเมืองพม่า พม่าเริ่มเข้ามาเป็นเจ้าของกิจการหลายกิจการ อันนี้เป็นเรื่องที่อันตรายมาก เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ พรรคภูมิใจไทยมีส่วนเกี่ยวข้อง 3 แห่ง กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และ กระทรวงมหาดไทย แล้วเรามีพรรคการเมือง คือ พรรคประชาชน (พม่า) หนุนหลังพวกลี้ภัยพม่าพวกนี้ทั้งหมดเลย นี่คือความเป็นห่วงที่ผมมีอยู่ นั่นคือจดหมายคำร้องเรียนเรื่องที่สองที่จะตามไป
    .
    เรื่องสุดท้ายผมบอกว่าผมจะติดตามการทำงานของท่านนายกฯ แพทองธารตลอดเวลา แล้วถ้าท่านทำถูกต้อง ผมให้กำลังใจ แต่ถ้าทำอะไรไม่ถูกต้อง มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ขายชาติ ขายแผ่นดิน ยกเกาะกูดให้กับเขมร ซึ่งท่านนายกฯ แพทองธารก็ต้องรู้ว่า ตระกูล "ชินวัตร" โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณพ่อของท่าน มีความสนิทสนมกับสมเด็จฮุน เซน มาก
    .
    ตรงนี้ถ้าท่านนายกฯ ไม่ลงมาจัดการหรือระมัดระวังตัว แล้วเราต้องยกชาติยกแผ่นดิน ยกพื้นที่ให้กับเขมร ขโมยพื้นที่เกาะกูดไป รวมเบ็ดเสร็จ รวมทั้งฉ้อราษฎร์บังหลวง ช่วยเหลือผู้คนในเครือข่ายตัวเอง ผมบอกว่า ถ้ามันเป็นอย่างนี้ ผมจะขอลงถนนเพื่อที่จะไล่ท่าน แต่ผมไม่ได้บอกว่าทันที ผมบอกจะรอจนถึงปีหน้า ขึ้นอยู่กับการกระทำของท่านนายกฯ
    .
    แต่ถ้าท่านยังรักพ่อมากกว่ารักชาติ ซึ่งเป็นอย่างนั้นผมก็ไม่ประหลาดใจ ทิศทางมันน่าจะไปทางด้านนั้น แต่ผมบอกท่านนายกฯแล้วหลายเรื่องนะ การคอร์รัปชัน ความไม่โปร่งใสในการทำงาน ความที่ประชาชนไม่ได้รับความยุติธรรมที่ควรจะได้รับ เหมือนผมโดนยิงไปแล้ว 12 ปี ไม่ได้รับความยุติธรรม ผมกำลังจะทดสอบท่านว่าท่านจะหาความยุติธรรมให้ผมได้หรือเปล่า มีที่ไหน โดนลอบสังหารด้วยอาวุธสงคราม 200 นัด 12 ปีแล้ว เรื่องราวไม่ได้ไปไหนเลย
    .
    แต่ที่สำคัญที่สุด นอกเหนือกว่าสิ่งอื่นใด ท่านต้องไม่ขายชาติ ท่านต้องไม่ยกแผ่นดินเกาะกูดให้กับเขมร เพื่อแลกกับสิทธิในการขุดน้ำมันด้วยกัน พื้นที่ทับซ้อนในทะเลเขมรยอมรับว่าที่นี้เป็นที่ของไทย ไม่รุกเข้ามา เมื่อยอมรับแล้ว การเจรจาเพื่อที่จะลงทุนร่วมกันในที่นั้นย่อมเป็นไปได้ ถูกไหมท่านนายกฯ แต่ไม่ใช่มาตัดให้เขมรเพื่อให้เขมรมีสิทธิ์ นี่คือสิ่งที่ผมจะยอมให้ไม่ได้
    โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง……“จากสนธิ ลิ้มทองกุล ถึงนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์" . ในรายการ "สนธิเล่าเรื่อง" เมื่อวันพุธที่2ตุลาคมที่ผ่านมา ผมพูดจาโดยตรงกับท่านนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ ที่ท่านพูดโอดครวญว่าทำงานยังไม่ถึงเดือนเลย ผมจะมาไล่ท่านแล้วหรือ ท่านใช้ความเป็นเด็ก ความน่าสงสาร ทำให้ตัวท่านเหมือนกับถูกผู้ใหญ่อย่างผมรังแก ฟังเสียก่อนแล้วจะรู้ว่าผมไม่ได้รังแกอะไรเขา เขาทำตัวเขาเองทั้งสิ้น . ท่านนายกฯ แพทองธารครับ ถึงเวลาแล้วที่ท่านจะต้องใช้สติปัญญาในการพิจารณาข้อความ เรื่องราวต่างๆ ของท่าน ท่านอย่าไปเที่ยวให้นักข่าวถามท่าน หรือว่าให้คนใกล้ชิดใส่ร้ายป้ายสี . ในรายการ "ความจริงมีหนึ่งเดียว" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน ผมบอกว่าผมจะทำ 3 เรื่อง -เรื่องแรกที่ผมจะทำก็คือว่า ไม่เกินสิ้นปีนี้ผมจะไปยื่นขอความเป็นธรรมกับกรณีที่ผมโดนลอบสังหาร เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2552 โดนยิง 200 นัด บาดเจ็บสาหัส จากวันนั้นถึงวันนี้คดีความไม่ไปไหนเลย . -เรื่องที่สอง เรื่องปริมาณพม่าลี้ภัยเข้ามาในเมืองไทยเยอะเหลือเกิน สมุทรปราการ มหาชัย แม่สอดกลายเป็นเมืองพม่า พม่าเริ่มเข้ามาเป็นเจ้าของกิจการหลายกิจการ อันนี้เป็นเรื่องที่อันตรายมาก เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ พรรคภูมิใจไทยมีส่วนเกี่ยวข้อง 3 แห่ง กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และ กระทรวงมหาดไทย แล้วเรามีพรรคการเมือง คือ พรรคประชาชน (พม่า) หนุนหลังพวกลี้ภัยพม่าพวกนี้ทั้งหมดเลย นี่คือความเป็นห่วงที่ผมมีอยู่ นั่นคือจดหมายคำร้องเรียนเรื่องที่สองที่จะตามไป . เรื่องสุดท้ายผมบอกว่าผมจะติดตามการทำงานของท่านนายกฯ แพทองธารตลอดเวลา แล้วถ้าท่านทำถูกต้อง ผมให้กำลังใจ แต่ถ้าทำอะไรไม่ถูกต้อง มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ขายชาติ ขายแผ่นดิน ยกเกาะกูดให้กับเขมร ซึ่งท่านนายกฯ แพทองธารก็ต้องรู้ว่า ตระกูล "ชินวัตร" โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณพ่อของท่าน มีความสนิทสนมกับสมเด็จฮุน เซน มาก . ตรงนี้ถ้าท่านนายกฯ ไม่ลงมาจัดการหรือระมัดระวังตัว แล้วเราต้องยกชาติยกแผ่นดิน ยกพื้นที่ให้กับเขมร ขโมยพื้นที่เกาะกูดไป รวมเบ็ดเสร็จ รวมทั้งฉ้อราษฎร์บังหลวง ช่วยเหลือผู้คนในเครือข่ายตัวเอง ผมบอกว่า ถ้ามันเป็นอย่างนี้ ผมจะขอลงถนนเพื่อที่จะไล่ท่าน แต่ผมไม่ได้บอกว่าทันที ผมบอกจะรอจนถึงปีหน้า ขึ้นอยู่กับการกระทำของท่านนายกฯ . แต่ถ้าท่านยังรักพ่อมากกว่ารักชาติ ซึ่งเป็นอย่างนั้นผมก็ไม่ประหลาดใจ ทิศทางมันน่าจะไปทางด้านนั้น แต่ผมบอกท่านนายกฯแล้วหลายเรื่องนะ การคอร์รัปชัน ความไม่โปร่งใสในการทำงาน ความที่ประชาชนไม่ได้รับความยุติธรรมที่ควรจะได้รับ เหมือนผมโดนยิงไปแล้ว 12 ปี ไม่ได้รับความยุติธรรม ผมกำลังจะทดสอบท่านว่าท่านจะหาความยุติธรรมให้ผมได้หรือเปล่า มีที่ไหน โดนลอบสังหารด้วยอาวุธสงคราม 200 นัด 12 ปีแล้ว เรื่องราวไม่ได้ไปไหนเลย . แต่ที่สำคัญที่สุด นอกเหนือกว่าสิ่งอื่นใด ท่านต้องไม่ขายชาติ ท่านต้องไม่ยกแผ่นดินเกาะกูดให้กับเขมร เพื่อแลกกับสิทธิในการขุดน้ำมันด้วยกัน พื้นที่ทับซ้อนในทะเลเขมรยอมรับว่าที่นี้เป็นที่ของไทย ไม่รุกเข้ามา เมื่อยอมรับแล้ว การเจรจาเพื่อที่จะลงทุนร่วมกันในที่นั้นย่อมเป็นไปได้ ถูกไหมท่านนายกฯ แต่ไม่ใช่มาตัดให้เขมรเพื่อให้เขมรมีสิทธิ์ นี่คือสิ่งที่ผมจะยอมให้ไม่ได้
    Like
    Love
    25
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 2063 มุมมอง 0 รีวิว
  • ลุ้นระทึก! ชะตากรรมทางการเมือง “เอกราช ช่างเหลา" สส.พรรคภูมิใจไทย ศาลจังหวัดขอนแก่นนัดฟังคำพิพากษาตัดสินคดีบ่ายพรุ่งนี้(7 ต.ค.)ในคดียักยอกทรัพย์สหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่นกว่า 431 ล้านบาท หลังก่อนนี้ ป.ป.ช. ลงมติชี้มูล ส.ส.บัญชีรายชื่อรายนี้ของพรรคภูมิใจไทยฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรงกรณีถูกฟ้องคดีอาญาโกงสหกรณ์ครูฯ คดียังคาอยู่ที่ศาลฎีการอการวินิจฉัยตามขั้นตอนกฎหมาย

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000095000

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    ลุ้นระทึก! ชะตากรรมทางการเมือง “เอกราช ช่างเหลา" สส.พรรคภูมิใจไทย ศาลจังหวัดขอนแก่นนัดฟังคำพิพากษาตัดสินคดีบ่ายพรุ่งนี้(7 ต.ค.)ในคดียักยอกทรัพย์สหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่นกว่า 431 ล้านบาท หลังก่อนนี้ ป.ป.ช. ลงมติชี้มูล ส.ส.บัญชีรายชื่อรายนี้ของพรรคภูมิใจไทยฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรงกรณีถูกฟ้องคดีอาญาโกงสหกรณ์ครูฯ คดียังคาอยู่ที่ศาลฎีการอการวินิจฉัยตามขั้นตอนกฎหมาย อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000095000 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    Haha
    Angry
    Sad
    31
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 2470 มุมมอง 0 รีวิว
  • https://mgronline.com/politics/detail/9670000092959

    พระมหากรุณาธิคุณ ในหลวง-พระราชินีทรงรับผู้สูญเสียเหตุรถบัสนักเรียนไฟไหม้ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ประกันพร้อมจ่าย 1 ล้านบาทต่อราย
    เผยแพร่: 2 ต.ค. 2567 13:43 ปรับปรุง: 2 ต.ค. 2567 13:43 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

    เป็นพระมหากรุณาธิคุณ “ในหลวง-พระราชินี” ทรงห่วงใย ทรงสลดพระทัย รับผู้สูญเสีย เหตุการณ์รถบัสนักเรียนไฟไหม้ ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ มหาดไทยพร้อมเยียวยาสูงสุด สำนักงานประกันภัยมอบ 1 ล้านกว่าบาทต่อราย เห็นต่างยกเลิก “ทัศนศึกษา” ชี้ไม่ใช่มูลเหตุ แต่สาเหตุ คือ คุณภาพรถมาตรฐานของคนขับรถ และการจัดรูปขบวนในการเดินทาง ถามเห็นคาตา รถบัสทำไมมีถังแก๊สนับสิบ ชัดเจนอยู่แล้ว ว่ามีการละเมิด

    เมื่อเวลา 11.38 น. วันที่ 2 ต.ค.67 ที่กระทรวงมหาดไทย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) กล่าวถึงเหตุการณ์ไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษาของคณะครูและนักเรียนโรงเรียนวัดเขาพระยา จ.อุทัยธานี เมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จนต้องประกาศภัยพิบัติ จะพิจารณาเงินเยียวยาอย่างไรว่ า เหตุการณ์นี้ เรื่องของการช่วยเหลือตามพ.ร.บ.อุบัติภัย มีอยู่ ว่าเราจะช่วยเรื่องการทำขวัญ โดยสำนักงานประกันภัย ได้รายงานเบื้องต้นว่า จะมีเงินที่ชดเชยความเสียหายเหล่านี้ อยู่ที่ประมาณ 1 ล้านกว่าบาทต่อราย ตนถามย้ำไปว่าต้องไม่มีเงื่อนไขอะไรอีก เพราะเท่าไหร่ก็ไม่คุ้มกับการสูญเสีย แต่เราต้องเร่ง จ่ายเงินเยียวยานี้ ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีได้สั่งการว่าเรื่องนี้มีความเสียหายมาก เป็นเรื่องที่มีระดับความรุนแรงอยู่ในระดับสูง ดังนั้นเกณฑ์การเยียวยาจะต้องหาทางที่จะเยียวยาในระดับสูงสุด

    เมื่อถามถึง งตัวเลขอายุการใช้งานรถบัสที่เกิดเหตุ ที่ระบุว่ามีอายุ 54 ปี นั้น นายอนุทิน กล่าวว่า เป็นเรื่องของทางกระทรวงคมนาคม ส่วนของกระทรวงมหาดไทย ดูในเรื่องของการให้การดูแลครอบครัวการจัดงานให้สมเกียรติ ในการนี้ เราได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ตนได้รับการแจ้งล่วงหน้ามาว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ทรงมีความห่วงใย และทรงสลดพระทัย ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและได้แจ้งมาว่าพระองค์ท่านจะรับการจัดการเรื่องงานทั้งหมด ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ จะมีการพระราชทานเพลิงให้กับผู้ที่สูญเสียชีวิตไป โดยกระทรวงมหาดไทย ถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณ และตนได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี ไปจัดการหน้างานให้สมเกียรติกับผู้วายชนม์ ซึ่งมีทั้งครู และนักเรียน

    เมื่อถามว่า ขณะนี้มี มีข้อถกเถียง เรื่องของการยกเลิกการทัศนศึกษา ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ที่พรรคภูมิใจไทย กำกับดูแลอยู่จะทำอย่างไร นายอนุทิน กล่าวว่า ตนได้ยินคำนี้มาหลายครั้งแล้ว เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น ซึ่งตนคิดว่าการไปทัศนศึกษา มันไม่ใช่มูลเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุนี้ขึ้น สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุนี้คือเรื่องมาตรฐานของคนขับรถ มาตรฐานการจัดรูปขบวนในการเดินทาง คุณภาพของรถ อย่างกรณีนี้ เราต้องไปดู เพราะตนเห็นกับตาทำไมรถบัส 1คัน ถังแก๊สเยอะขนาดนี้นับๆดูเป็น 10 ถัง ซึ่งตนก็ไม่ทราบ เพราะไม่เคยอยู่กรมขนส่ง ก็ต้องไปดูก่อนว่ากฎหมายเขากำหนดไว้อย่างไร มีถังแก๊ซตั้งแต่หน้ารถ กลางรถ ท้ายรถ ข้างรถ จะเดินทางอะไรกันกะจะแบบไม่ต้องพักผ่อนกันเลยหรือ

    “โดยมองจากสายตา ที่ผมเคยเป็นวิศวกรคุมงานมาก่อน มองว่าควรจะมีแผ่นเหล็ก ที่คอยกั้นไม่ให้ประกายไฟถึงตัว คือจะต้องเซฟตี้มากกว่านี้ เป็นพื้นที่นิรภัย ผมมั่นใจว่ามาตรฐานของกรมขนส่งทางบก ของเรามีอยู่แล้ว แต่เราไม่รู้ว่ารถคันนี้ผ่านการตรวจสภาพมาอย่างไร ตำรวจก็คงจะต้องทำหน้าที่การสืบขยายผล แต่ที่เห็นถามว่าปลอดภัยหรือไม่ ยืนยันว่าไม่ปลอดภัยแน่นอน”นายอนุทิน กล่าว

    เมื่อถามว่า ในฐานะหัวหน้าพรรคการเมือง จะขับเคลื่อนเรื่องนี้แก้กฎหมายในสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ นายอนุทิน กล่าวย้ำว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องการเมือง เป็นหน้าที่ของทุกคน เราต้องช่วยกันทำให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด กับลูก หลานของเราอย่างที่บอกการไปทัศนศึกษา เป็นสิ่งที่ดีไม่อย่างนั้นเด็กก็อยู่แต่ในห้องเรียน เห็นทุกอย่างจากรูป ไม่เห็นของจริง แต่การจัดรูปแบบทำอย่างไรให้ดีจริงๆ ก็มีกฎอยู่สามารถที่จะประสานขอรถตำรวจนำได้ รถทางหลวงนำได้ ต้องกำหนดเรื่องของความเร็วเรื่องของผู้ใหญ่ที่อยู่ในรถที่จะสามารถคอยให้การช่วยเหลือเด็กๆ และกำหนดจำนวนคนขับรถ อย่างกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ต.ค. ก็คือรถ 1 คัน คน 1 คน ไม่มีอะไรเลย ไม่มีผู้ช่วยคนขับ ไม่มีเจ้าหน้าที่ที่รู้จักรถเลย มีแต่ครูกับนักเรียน พอเกิดเหตุการณ์ คนขับก็วิ่งลงมาดูก่อน ไม่มีผู้ช่วยลงมาคอยปลดล็อคเปิดประตูฉุกเฉิน ถีบหน้าต่างเป็นช่องทางฉุกเฉินเลย มันชัดเจนอยู่แล้ว ว่ามีการละเมิด
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000092959 พระมหากรุณาธิคุณ ในหลวง-พระราชินีทรงรับผู้สูญเสียเหตุรถบัสนักเรียนไฟไหม้ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ประกันพร้อมจ่าย 1 ล้านบาทต่อราย เผยแพร่: 2 ต.ค. 2567 13:43 ปรับปรุง: 2 ต.ค. 2567 13:43 โดย: ผู้จัดการออนไลน์ เป็นพระมหากรุณาธิคุณ “ในหลวง-พระราชินี” ทรงห่วงใย ทรงสลดพระทัย รับผู้สูญเสีย เหตุการณ์รถบัสนักเรียนไฟไหม้ ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ มหาดไทยพร้อมเยียวยาสูงสุด สำนักงานประกันภัยมอบ 1 ล้านกว่าบาทต่อราย เห็นต่างยกเลิก “ทัศนศึกษา” ชี้ไม่ใช่มูลเหตุ แต่สาเหตุ คือ คุณภาพรถมาตรฐานของคนขับรถ และการจัดรูปขบวนในการเดินทาง ถามเห็นคาตา รถบัสทำไมมีถังแก๊สนับสิบ ชัดเจนอยู่แล้ว ว่ามีการละเมิด เมื่อเวลา 11.38 น. วันที่ 2 ต.ค.67 ที่กระทรวงมหาดไทย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) กล่าวถึงเหตุการณ์ไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษาของคณะครูและนักเรียนโรงเรียนวัดเขาพระยา จ.อุทัยธานี เมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จนต้องประกาศภัยพิบัติ จะพิจารณาเงินเยียวยาอย่างไรว่ า เหตุการณ์นี้ เรื่องของการช่วยเหลือตามพ.ร.บ.อุบัติภัย มีอยู่ ว่าเราจะช่วยเรื่องการทำขวัญ โดยสำนักงานประกันภัย ได้รายงานเบื้องต้นว่า จะมีเงินที่ชดเชยความเสียหายเหล่านี้ อยู่ที่ประมาณ 1 ล้านกว่าบาทต่อราย ตนถามย้ำไปว่าต้องไม่มีเงื่อนไขอะไรอีก เพราะเท่าไหร่ก็ไม่คุ้มกับการสูญเสีย แต่เราต้องเร่ง จ่ายเงินเยียวยานี้ ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีได้สั่งการว่าเรื่องนี้มีความเสียหายมาก เป็นเรื่องที่มีระดับความรุนแรงอยู่ในระดับสูง ดังนั้นเกณฑ์การเยียวยาจะต้องหาทางที่จะเยียวยาในระดับสูงสุด เมื่อถามถึง งตัวเลขอายุการใช้งานรถบัสที่เกิดเหตุ ที่ระบุว่ามีอายุ 54 ปี นั้น นายอนุทิน กล่าวว่า เป็นเรื่องของทางกระทรวงคมนาคม ส่วนของกระทรวงมหาดไทย ดูในเรื่องของการให้การดูแลครอบครัวการจัดงานให้สมเกียรติ ในการนี้ เราได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ตนได้รับการแจ้งล่วงหน้ามาว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ทรงมีความห่วงใย และทรงสลดพระทัย ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและได้แจ้งมาว่าพระองค์ท่านจะรับการจัดการเรื่องงานทั้งหมด ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ จะมีการพระราชทานเพลิงให้กับผู้ที่สูญเสียชีวิตไป โดยกระทรวงมหาดไทย ถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณ และตนได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี ไปจัดการหน้างานให้สมเกียรติกับผู้วายชนม์ ซึ่งมีทั้งครู และนักเรียน เมื่อถามว่า ขณะนี้มี มีข้อถกเถียง เรื่องของการยกเลิกการทัศนศึกษา ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ที่พรรคภูมิใจไทย กำกับดูแลอยู่จะทำอย่างไร นายอนุทิน กล่าวว่า ตนได้ยินคำนี้มาหลายครั้งแล้ว เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น ซึ่งตนคิดว่าการไปทัศนศึกษา มันไม่ใช่มูลเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุนี้ขึ้น สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุนี้คือเรื่องมาตรฐานของคนขับรถ มาตรฐานการจัดรูปขบวนในการเดินทาง คุณภาพของรถ อย่างกรณีนี้ เราต้องไปดู เพราะตนเห็นกับตาทำไมรถบัส 1คัน ถังแก๊สเยอะขนาดนี้นับๆดูเป็น 10 ถัง ซึ่งตนก็ไม่ทราบ เพราะไม่เคยอยู่กรมขนส่ง ก็ต้องไปดูก่อนว่ากฎหมายเขากำหนดไว้อย่างไร มีถังแก๊ซตั้งแต่หน้ารถ กลางรถ ท้ายรถ ข้างรถ จะเดินทางอะไรกันกะจะแบบไม่ต้องพักผ่อนกันเลยหรือ “โดยมองจากสายตา ที่ผมเคยเป็นวิศวกรคุมงานมาก่อน มองว่าควรจะมีแผ่นเหล็ก ที่คอยกั้นไม่ให้ประกายไฟถึงตัว คือจะต้องเซฟตี้มากกว่านี้ เป็นพื้นที่นิรภัย ผมมั่นใจว่ามาตรฐานของกรมขนส่งทางบก ของเรามีอยู่แล้ว แต่เราไม่รู้ว่ารถคันนี้ผ่านการตรวจสภาพมาอย่างไร ตำรวจก็คงจะต้องทำหน้าที่การสืบขยายผล แต่ที่เห็นถามว่าปลอดภัยหรือไม่ ยืนยันว่าไม่ปลอดภัยแน่นอน”นายอนุทิน กล่าว เมื่อถามว่า ในฐานะหัวหน้าพรรคการเมือง จะขับเคลื่อนเรื่องนี้แก้กฎหมายในสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ นายอนุทิน กล่าวย้ำว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องการเมือง เป็นหน้าที่ของทุกคน เราต้องช่วยกันทำให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด กับลูก หลานของเราอย่างที่บอกการไปทัศนศึกษา เป็นสิ่งที่ดีไม่อย่างนั้นเด็กก็อยู่แต่ในห้องเรียน เห็นทุกอย่างจากรูป ไม่เห็นของจริง แต่การจัดรูปแบบทำอย่างไรให้ดีจริงๆ ก็มีกฎอยู่สามารถที่จะประสานขอรถตำรวจนำได้ รถทางหลวงนำได้ ต้องกำหนดเรื่องของความเร็วเรื่องของผู้ใหญ่ที่อยู่ในรถที่จะสามารถคอยให้การช่วยเหลือเด็กๆ และกำหนดจำนวนคนขับรถ อย่างกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ต.ค. ก็คือรถ 1 คัน คน 1 คน ไม่มีอะไรเลย ไม่มีผู้ช่วยคนขับ ไม่มีเจ้าหน้าที่ที่รู้จักรถเลย มีแต่ครูกับนักเรียน พอเกิดเหตุการณ์ คนขับก็วิ่งลงมาดูก่อน ไม่มีผู้ช่วยลงมาคอยปลดล็อคเปิดประตูฉุกเฉิน ถีบหน้าต่างเป็นช่องทางฉุกเฉินเลย มันชัดเจนอยู่แล้ว ว่ามีการละเมิด
    MGRONLINE.COM
    พระมหากรุณาธิคุณ ในหลวง-พระราชินีทรงรับผู้สูญเสียเหตุรถบัสนักเรียนไฟไหม้ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ประกันพร้อมจ่าย 1 ล้านบาทต่อราย
    เป็นพระมหากรุณาธิคุณ “ในหลวง-พระราชินี” ทรงห่วงใย ทรงสลดพระทัย รับผู้สูญเสีย เหตุการณ์รถบัสนักเรียนไฟไหม้ ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ มหาดไทยพร้อมเยียวยาสูงสุด สำนักงานประกันภัยมอบ 1 ล้านกว่าบาทต่อราย เห็นต่างยกเลิก “ทัศนศึกษา” ชี้ไ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 247 มุมมอง 0 รีวิว
  • "สนธิ" ลั่นจับตา "อุ๊งอิ๊ง" ทำงาน ห่วงเรื่องคอรัปชัน-พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล เตือนเป็นตัวของตัวเอง อย่าให้พ่อครอบงำ
    .
    วันนี้ (2 ต.ค.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล กล่าวในรายการสนธิเล่าเรื่อง ทาง ยูทูป Sondhitalk ถึงกรณีที่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่าไม่พร้อมจะมีเรื่อง อย่าเพิ่งลงถนนไล่ เพราะทำงานได้เดือนเดียว พร้อมคุยทุกภาคส่วนเพื่อให้ประเทศสงบสุข ว่า ต้องใช้สติปัญญาพิจารณาข้อความ อย่าไปให้นักข่าวถามหรือคนใกล้ชิดใส่ร้ายป้ายสี ตนประกาศว่ามี 3 เรื่องที่จะทำ คือ
    .
    1. ขอความเป็นธรรมกรณีถูกลอบสังหารเมื่อ 17 เม.ย. 2552 บาดเจ็บสาหัส แต่คดีไม่คืบหน้าทั้งที่จะขาดอายุความ
    .
    2. ร้องเรียนเรื่องผู้ลี้ภัยชาวพม่าเข้ามาจำนวนมากปรากฎตัวตามที่ต่างๆ พยายามมีบุตรหลานเพื่อให้ได้สัญชาติไทย ประกอบอาชีพเป็นเจ้าของกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีการตั้งโรงเรียนโดยกลุ่มเอ็นจีโอ ร้องเพลงชาติพม่า ซึ่งเกี่ยวกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นของพรรคภูมิใจไทย
    .
    ส่วนข้อ 3. จะติดตามการทำงานของนายกฯ ตลอดเวลา ถ้าทำถูกต้องผมให้กำลังใจ แต่ถ้าทำอะไรไม่ถูกต้อง มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ขายชาติขายแผ่นดิน ยกเกาะกูดให้กัมพูชา นายกฯ ต้องรู้ว่าตระกูลชินวัตรโดยเฉพาะนายทักษิณ ชินวัตร บิดา มีความสนิทสนมกับสมเด็จฯ ฮุน เซน อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เรื่องเกาะกูดและพื้นที่ทับซ้อนในทะเลมีการคุยกันระหว่างนายทักษิณ สมเด็จฯ ฮุน เซน และสมเด็จฯ ฮุน มาแนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
    .
    "ถ้านายกฯ ไม่ลงมาจัดการ หรือระมัดระวังตัว แล้วเราต้องยกชาติยกแผ่นดิน ยกพื้นที่ให้กับเขมร ขโมยพื้นที่เกาะกูดไป รวมทั้งฉ้อราษฎร์บังหลวง ช่วยเหลือผู้คนในเครือข่ายตัวเอง ผมบอกว่าถ้ามันเป็นอย่างนี้ ผมจะขอลงถนนเพื่อที่จะไล่ท่าน แต่ผมไม่ได้บอกว่าทันที ผมบอกจะรอจนถึงปีหน้า ผมเป็นผู้ใหญ่แล้ว ผมเป็นคนมีเหตุผล นายกฯ อาจจะได้รับการเสี้ยมสอนให้พูดจาแบบนี้ เพื่อทำให้ผมดูเป็นผู้ใหญ่ที่รังแกเด็ก นี่คือข้อเท็จจริงที่แท้จริง ถ้านายกฯ เข้าใจที่ผมพูดจะเห็นว่าผมไม่ได้ใส่รองเท้าผ้าใบแล้วบอกว่าไปไล่นายกฯ ไม่ใช่" นายสนธิ กล่าว
    .
    คลิกอ่านทั้งหมด >> https://sondhitalk.com/detail/9670000092924
    "สนธิ" ลั่นจับตา "อุ๊งอิ๊ง" ทำงาน ห่วงเรื่องคอรัปชัน-พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล เตือนเป็นตัวของตัวเอง อย่าให้พ่อครอบงำ . วันนี้ (2 ต.ค.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล กล่าวในรายการสนธิเล่าเรื่อง ทาง ยูทูป Sondhitalk ถึงกรณีที่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่าไม่พร้อมจะมีเรื่อง อย่าเพิ่งลงถนนไล่ เพราะทำงานได้เดือนเดียว พร้อมคุยทุกภาคส่วนเพื่อให้ประเทศสงบสุข ว่า ต้องใช้สติปัญญาพิจารณาข้อความ อย่าไปให้นักข่าวถามหรือคนใกล้ชิดใส่ร้ายป้ายสี ตนประกาศว่ามี 3 เรื่องที่จะทำ คือ . 1. ขอความเป็นธรรมกรณีถูกลอบสังหารเมื่อ 17 เม.ย. 2552 บาดเจ็บสาหัส แต่คดีไม่คืบหน้าทั้งที่จะขาดอายุความ . 2. ร้องเรียนเรื่องผู้ลี้ภัยชาวพม่าเข้ามาจำนวนมากปรากฎตัวตามที่ต่างๆ พยายามมีบุตรหลานเพื่อให้ได้สัญชาติไทย ประกอบอาชีพเป็นเจ้าของกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีการตั้งโรงเรียนโดยกลุ่มเอ็นจีโอ ร้องเพลงชาติพม่า ซึ่งเกี่ยวกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นของพรรคภูมิใจไทย . ส่วนข้อ 3. จะติดตามการทำงานของนายกฯ ตลอดเวลา ถ้าทำถูกต้องผมให้กำลังใจ แต่ถ้าทำอะไรไม่ถูกต้อง มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ขายชาติขายแผ่นดิน ยกเกาะกูดให้กัมพูชา นายกฯ ต้องรู้ว่าตระกูลชินวัตรโดยเฉพาะนายทักษิณ ชินวัตร บิดา มีความสนิทสนมกับสมเด็จฯ ฮุน เซน อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เรื่องเกาะกูดและพื้นที่ทับซ้อนในทะเลมีการคุยกันระหว่างนายทักษิณ สมเด็จฯ ฮุน เซน และสมเด็จฯ ฮุน มาแนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา . "ถ้านายกฯ ไม่ลงมาจัดการ หรือระมัดระวังตัว แล้วเราต้องยกชาติยกแผ่นดิน ยกพื้นที่ให้กับเขมร ขโมยพื้นที่เกาะกูดไป รวมทั้งฉ้อราษฎร์บังหลวง ช่วยเหลือผู้คนในเครือข่ายตัวเอง ผมบอกว่าถ้ามันเป็นอย่างนี้ ผมจะขอลงถนนเพื่อที่จะไล่ท่าน แต่ผมไม่ได้บอกว่าทันที ผมบอกจะรอจนถึงปีหน้า ผมเป็นผู้ใหญ่แล้ว ผมเป็นคนมีเหตุผล นายกฯ อาจจะได้รับการเสี้ยมสอนให้พูดจาแบบนี้ เพื่อทำให้ผมดูเป็นผู้ใหญ่ที่รังแกเด็ก นี่คือข้อเท็จจริงที่แท้จริง ถ้านายกฯ เข้าใจที่ผมพูดจะเห็นว่าผมไม่ได้ใส่รองเท้าผ้าใบแล้วบอกว่าไปไล่นายกฯ ไม่ใช่" นายสนธิ กล่าว . คลิกอ่านทั้งหมด >> https://sondhitalk.com/detail/9670000092924
    SONDHITALK.COM
    "สนธิ" ลั่นจับตา "อุ๊งอิ๊ง" ทำงาน ห่วงเรื่องคอรัปชัน-พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล เตือนเป็นตัวของตัวเอง อย่าให้พ่อครอบงำ
    วันนี้ (2 ต.ค.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล กล่าวในรายการสนธิเล่าเรื่อง ทางยูทูบ sondhitalk ถึงกรณีที่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่าไม่พร้อมจะมีเรื่อง อย่าเพิ่งลงถนนไล่ เพราะทำงานได้เดือนเดียว พร้อมคุยทุกภาคส่วนเพื่อให้ป
    Like
    Love
    Wow
    35
    1 ความคิดเห็น 3 การแบ่งปัน 1689 มุมมอง 0 รีวิว
  • อัปเกรดเทศบาลนครบุรีรัมย์ ดึงอาณาจักรปราสาทสายฟ้า

    การประกาศเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เป็นเทศบาลนครบุรีรัมย์ ของกระทรวงมหาดไทย ที่ลงนามโดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ตีพิมพ์ลงในราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ 6 ก.ย. 2567 และมีผลตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค. 2567 ถือว่าเป็นไปตามแผนการยกอาณาจักร "ปราสาทสายฟ้า" ในพื้นที่ตำบลอิสาณ ได้แก่ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต สนามช้างอารีนา โรงแรมบริคบอกซ์โฮเทลบุรีรัมย์ โรงแรมอมารี บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และโรงโม่หินศิลาชัย ไปรวมกับตัวเมืองบุรีรัมย์

    เดิมเทศบาลเมืองบุรีรัมย์จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2479 มีพื้นที่เพียง 6 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 2.2 หมื่นคนจาก 18 ชุมชน แต่ได้นำเทศบาลตำบลอิสาณ พื้นที่ 36 ตารางกิโลเมตร ประชากร 2.2 หมื่นคนจาก 18 หมู่บ้าน และอีก 4 หมู่บ้านในตำบลเสม็ด ประชากรราว 5.5 พันคน มารวมกับเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เพื่อให้มีประชากรรวมกันเกิน 50,000 คน ตามหลักเกณฑ์พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496

    ตำบลอิสาณ ที่โอบล้อมรอบเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ หรือตำบลในเมือง นอกจากเป็นที่ตั้งของบริษัทในเครือบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดแล้ว ยังมีห้างบิ๊กซี แม็คโคร โฮมโปร และทวีกิจ ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ ส่วน 4 หมู่บ้านของตำบลเสม็ด มีวนอุทยานเขากระโดง ศูนย์ราชการจังหวัดบุรีรัมย์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ สนามกีฬาบุรีรัมย์ซิตี้สเตเดียม โรงเรียนภัทรบพิตร แขวงทางหลวงบุรีรัมย์ มณฑลทหารบกที่ 26 ค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ และแคมป์บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เขากระโดง

    ในการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมืองบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2567 ที่ผ่านมา นายวิกรม สมจิตต์อารี อดีตนายกเทศมนตรีปี 2547-2551 และอดีตประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์ ชนะการเลือกตั้ง ซึ่งมีความใกล้ชิดกับนายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แม้นายเนวินเลิกเล่นการเมืองมาตั้งแต่ปี 2555 หันมาเอาดีกับธุรกิจกีฬา แต่ก็มีบริวารโลดแล่นบนสนามการเมืองในนามพรรคภูมิใจไทย ที่มีนายอนุทินเป็นหัวหน้าพรรค

    การแถลงนโยบายของนายวิกรม มีทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ 1. ปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหาร และการบริการประชาชน 2. ปรับปรุงตลาดสด และตลาดไนท์บาซาร์ 3. เพิ่มต้นไม้ และพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง 4. จัดตั้งและพัฒนาเขตเศรษฐกิจในเมือง และ 5. เตรียมพร้อมกับการยกฐานะเป็นเทศบาลนครบุรีรัมย์ นับจากนี้เมืองบุรีรัมย์อาจได้เห็นการเปลี่ยนแปลง ในฐานะองค์กรปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่ขึ้น มีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น และได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลเพิ่มขึ้น

    #Newskit #บุรีรัมย์ #เทศบาลนครบุรีรัมย์
    อัปเกรดเทศบาลนครบุรีรัมย์ ดึงอาณาจักรปราสาทสายฟ้า การประกาศเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เป็นเทศบาลนครบุรีรัมย์ ของกระทรวงมหาดไทย ที่ลงนามโดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ตีพิมพ์ลงในราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ 6 ก.ย. 2567 และมีผลตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค. 2567 ถือว่าเป็นไปตามแผนการยกอาณาจักร "ปราสาทสายฟ้า" ในพื้นที่ตำบลอิสาณ ได้แก่ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต สนามช้างอารีนา โรงแรมบริคบอกซ์โฮเทลบุรีรัมย์ โรงแรมอมารี บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และโรงโม่หินศิลาชัย ไปรวมกับตัวเมืองบุรีรัมย์ เดิมเทศบาลเมืองบุรีรัมย์จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2479 มีพื้นที่เพียง 6 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 2.2 หมื่นคนจาก 18 ชุมชน แต่ได้นำเทศบาลตำบลอิสาณ พื้นที่ 36 ตารางกิโลเมตร ประชากร 2.2 หมื่นคนจาก 18 หมู่บ้าน และอีก 4 หมู่บ้านในตำบลเสม็ด ประชากรราว 5.5 พันคน มารวมกับเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เพื่อให้มีประชากรรวมกันเกิน 50,000 คน ตามหลักเกณฑ์พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ตำบลอิสาณ ที่โอบล้อมรอบเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ หรือตำบลในเมือง นอกจากเป็นที่ตั้งของบริษัทในเครือบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดแล้ว ยังมีห้างบิ๊กซี แม็คโคร โฮมโปร และทวีกิจ ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ ส่วน 4 หมู่บ้านของตำบลเสม็ด มีวนอุทยานเขากระโดง ศูนย์ราชการจังหวัดบุรีรัมย์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ สนามกีฬาบุรีรัมย์ซิตี้สเตเดียม โรงเรียนภัทรบพิตร แขวงทางหลวงบุรีรัมย์ มณฑลทหารบกที่ 26 ค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ และแคมป์บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เขากระโดง ในการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมืองบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2567 ที่ผ่านมา นายวิกรม สมจิตต์อารี อดีตนายกเทศมนตรีปี 2547-2551 และอดีตประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์ ชนะการเลือกตั้ง ซึ่งมีความใกล้ชิดกับนายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แม้นายเนวินเลิกเล่นการเมืองมาตั้งแต่ปี 2555 หันมาเอาดีกับธุรกิจกีฬา แต่ก็มีบริวารโลดแล่นบนสนามการเมืองในนามพรรคภูมิใจไทย ที่มีนายอนุทินเป็นหัวหน้าพรรค การแถลงนโยบายของนายวิกรม มีทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ 1. ปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหาร และการบริการประชาชน 2. ปรับปรุงตลาดสด และตลาดไนท์บาซาร์ 3. เพิ่มต้นไม้ และพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง 4. จัดตั้งและพัฒนาเขตเศรษฐกิจในเมือง และ 5. เตรียมพร้อมกับการยกฐานะเป็นเทศบาลนครบุรีรัมย์ นับจากนี้เมืองบุรีรัมย์อาจได้เห็นการเปลี่ยนแปลง ในฐานะองค์กรปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่ขึ้น มีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น และได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลเพิ่มขึ้น #Newskit #บุรีรัมย์ #เทศบาลนครบุรีรัมย์
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 980 มุมมอง 0 รีวิว
  • สะพัด 'ชัยเกษม' นายกรัฐมนตรีคนที่ 31

    หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 5 ต่อ 4 วินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ จากกรณีนําความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่นายพิชิตเคยถูกศาลฎีกาสั่งจําคุกเป็นเวลา 6 เดือน ในความผิดฐานละเมิดอํานาจศาล เป็นบุคคลที่กระทําการอันไม่ซื่อสัตย์สุจริต และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามรัฐธรรมนูญ

    นับเป็นการปิดฉากนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย จากนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สู่นักการเมือง หลังดำรงตำแหน่งได้เพียง 358 วัน นับตั้งแต่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค. 2566 ที่ผ่านมา

    เมื่อพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล ไม่ปล่อยให้บรรยากาศทางการเมืองตกอยู่ในภาวะสูญญากาศ การหารือระหว่างแกนนำพรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาล ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เกิดขึ้นเมื่อเย็นวันที่ 14 ส.ค. โดยมีรายงานว่า พรรคเพื่อไทย จะเสนอชื่อนายชัยเกษม นิติสิริ ซึ่งเป็นหนึ่งในแคนดิเดต เป็นนายกรัฐมนตรี

    ด้านนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร มีคำสั่งให้นัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นพิเศษ ในวันศุกร์ที่ 16 ส.ค. 2567 เวลา 10.00 น. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญ โดยก่อนหน้านี้ประธานสภาผู้แทนราษฎร แจ้งต่อที่ประชุมเมื่อวันที่ 8 ส.ค. ว่า จำนวน สส.ในสภาปัจจุบันเท่าที่มีและปฏิบัติหน้าที่ได้ มีจำนวน 493 คน องค์ประชุมกึ่งหนึ่งคือ 247 คน หลังจากพรรคก้าวไกลถูกยุบและตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค

    ปัจจุบันเสียง สส.ฝ่ายรัฐบาล รวม 315 เสียง ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย 141 เสียง พรรคภูมิใจไทย 71 เสียง พรรคพลังประชารัฐ 40 เสียง พรรครวมไทยสร้างชาติ 36 เสียง พรรคชาติไทยพัฒนา 10 เสียง พรรคประชาชาติ 9 เสียง พรรคชาติพัฒนา 3 เสียง พรรคไทรวมพลัง 2 เสียง พรรคเสรีรวมไทย พรรคพลังสังคมใหม่ และพรรคท้องที่ไทย พรรคละ 1 เสียง หากเป็นไปในทิศทางเดียวกันย่อมได้เสียงสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่งไม่ยาก เว้นเสียแต่การเมืองไทยอะไรก็เกิดขึ้นได้

    สำหรับนายชัยเกษม นิติสิริ อายุ 75 ปี จบการศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท กฎหมายระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา เคยเป็นอดีตประธาน ก.ล.ต. อดีตอัยการสูงสุด อดีต รมว.ยุติธรรม ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมือง พรรคเพื่อไทย และประธานคณะกรรมการด้านประชาธิปไตย กระบวนการยุติธรรม และความเสมอภาคเท่าเทียม พรรคเพื่อไทย

    ก่อนหน้านี้นายชัยเกษมมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ป่วยกะทันหันหลังจากลงพื้นที่หาเสียงช่วยผู้สมัคร ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ที่ จ.น่าน เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2566 เมื่อตรวจซีทีสแกนพบว่ามีก้อนเลือดแห้งอยู่ในสมอง เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช แต่นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการนายกรัฐมนตรี ระบุว่า สุขภาพกลับมาแข็งแรงแล้ว ที่ผ่านมาก็เข้ามาช่วยทำงานกับพรรคมาโดยตลอด

    #Newskit #ชัยเกษม #นายกรัฐมนตรี
    สะพัด 'ชัยเกษม' นายกรัฐมนตรีคนที่ 31 หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 5 ต่อ 4 วินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ จากกรณีนําความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่นายพิชิตเคยถูกศาลฎีกาสั่งจําคุกเป็นเวลา 6 เดือน ในความผิดฐานละเมิดอํานาจศาล เป็นบุคคลที่กระทําการอันไม่ซื่อสัตย์สุจริต และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามรัฐธรรมนูญ นับเป็นการปิดฉากนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย จากนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สู่นักการเมือง หลังดำรงตำแหน่งได้เพียง 358 วัน นับตั้งแต่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค. 2566 ที่ผ่านมา เมื่อพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล ไม่ปล่อยให้บรรยากาศทางการเมืองตกอยู่ในภาวะสูญญากาศ การหารือระหว่างแกนนำพรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาล ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เกิดขึ้นเมื่อเย็นวันที่ 14 ส.ค. โดยมีรายงานว่า พรรคเพื่อไทย จะเสนอชื่อนายชัยเกษม นิติสิริ ซึ่งเป็นหนึ่งในแคนดิเดต เป็นนายกรัฐมนตรี ด้านนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร มีคำสั่งให้นัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นพิเศษ ในวันศุกร์ที่ 16 ส.ค. 2567 เวลา 10.00 น. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญ โดยก่อนหน้านี้ประธานสภาผู้แทนราษฎร แจ้งต่อที่ประชุมเมื่อวันที่ 8 ส.ค. ว่า จำนวน สส.ในสภาปัจจุบันเท่าที่มีและปฏิบัติหน้าที่ได้ มีจำนวน 493 คน องค์ประชุมกึ่งหนึ่งคือ 247 คน หลังจากพรรคก้าวไกลถูกยุบและตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค ปัจจุบันเสียง สส.ฝ่ายรัฐบาล รวม 315 เสียง ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย 141 เสียง พรรคภูมิใจไทย 71 เสียง พรรคพลังประชารัฐ 40 เสียง พรรครวมไทยสร้างชาติ 36 เสียง พรรคชาติไทยพัฒนา 10 เสียง พรรคประชาชาติ 9 เสียง พรรคชาติพัฒนา 3 เสียง พรรคไทรวมพลัง 2 เสียง พรรคเสรีรวมไทย พรรคพลังสังคมใหม่ และพรรคท้องที่ไทย พรรคละ 1 เสียง หากเป็นไปในทิศทางเดียวกันย่อมได้เสียงสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่งไม่ยาก เว้นเสียแต่การเมืองไทยอะไรก็เกิดขึ้นได้ สำหรับนายชัยเกษม นิติสิริ อายุ 75 ปี จบการศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท กฎหมายระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา เคยเป็นอดีตประธาน ก.ล.ต. อดีตอัยการสูงสุด อดีต รมว.ยุติธรรม ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมือง พรรคเพื่อไทย และประธานคณะกรรมการด้านประชาธิปไตย กระบวนการยุติธรรม และความเสมอภาคเท่าเทียม พรรคเพื่อไทย ก่อนหน้านี้นายชัยเกษมมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ป่วยกะทันหันหลังจากลงพื้นที่หาเสียงช่วยผู้สมัคร ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ที่ จ.น่าน เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2566 เมื่อตรวจซีทีสแกนพบว่ามีก้อนเลือดแห้งอยู่ในสมอง เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช แต่นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการนายกรัฐมนตรี ระบุว่า สุขภาพกลับมาแข็งแรงแล้ว ที่ผ่านมาก็เข้ามาช่วยทำงานกับพรรคมาโดยตลอด #Newskit #ชัยเกษม #นายกรัฐมนตรี
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1023 มุมมอง 0 รีวิว
  • ”สิงหาสับ“ นิด้าสำรวจความเห็นประชาชน เรื่อง “Believe It or Not! ทางการเมืองไทย ตอน เดือนพิพากษา” เดือนแห่งการตัดสินผู้มีกรรมหนักคดีใหญ่ ในประเด็นร้อนโพลความเห็นทางการเมือง เรื่องเศรษฐากับการเปลี่ยนนายกฯ,ยุบพรรคก้าวไกลหรือไม่และทักษิณพ้นโทษจะช่วยพรรคเพื่อไทยทำงานดีขึ้นหรือไม่?

    4 สิงหาคม 2567-ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “Believe It or Not! ทางการเมืองไทย ตอน เดือนพิพากษา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม ถึง 1 สิงหาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในเดือนสิงหาคม 2567 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

    จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 45.42 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 29.62 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 15.27 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 8.63 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 1.06 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

    เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า เชื่อมากและค่อนข้างเชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ (จำนวน 313 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับบุคคลที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่จากพรรคร่วมรัฐบาล หากมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 31.95 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) รองลงมา ร้อยละ 30.99 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) ร้อยละ 11.82 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) ร้อยละ 8.31 ระบุว่าเป็น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) ร้อยละ 2.23 ระบุว่าเป็น นายชัยเกษม นิติสิริ (พรรคเพื่อไทย) และร้อยละ 14.70 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

    ด้านความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 32.44 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 27.94 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 24.20 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 13.44 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 1.98 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

    เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า เชื่อมากและค่อนข้างเชื่อว่าจะมีการยุบพรรคการเมืองในเดือนสิงหาคมนี้ (จำนวน 493 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ สส. จากพรรคการเมืองที่ถูกยุบ จะไปสังกัดกับพรรคร่วมรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.97 ระบุว่า ค่อนข้างเป็นไปได้ รองลงมา ร้อยละ 27.99 ระบุว่า เป็นไปได้มาก ร้อยละ 16.84 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย และร้อยละ 14.20 ระบุว่า ไม่ค่อยเป็นไปได้

    ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการพ้นโทษของคุณทักษิณ ชินวัตร จะทำให้รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.83 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 26.87 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 19.01 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 11.45 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 0.84 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

    ที่มา : นิด้าโพล

    #Thaitimes
    ”สิงหาสับ“ นิด้าสำรวจความเห็นประชาชน เรื่อง “Believe It or Not! ทางการเมืองไทย ตอน เดือนพิพากษา” เดือนแห่งการตัดสินผู้มีกรรมหนักคดีใหญ่ ในประเด็นร้อนโพลความเห็นทางการเมือง เรื่องเศรษฐากับการเปลี่ยนนายกฯ,ยุบพรรคก้าวไกลหรือไม่และทักษิณพ้นโทษจะช่วยพรรคเพื่อไทยทำงานดีขึ้นหรือไม่? 4 สิงหาคม 2567-ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “Believe It or Not! ทางการเมืองไทย ตอน เดือนพิพากษา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม ถึง 1 สิงหาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในเดือนสิงหาคม 2567 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0 จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 45.42 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 29.62 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 15.27 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 8.63 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 1.06 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า เชื่อมากและค่อนข้างเชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ (จำนวน 313 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับบุคคลที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่จากพรรคร่วมรัฐบาล หากมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 31.95 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) รองลงมา ร้อยละ 30.99 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) ร้อยละ 11.82 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) ร้อยละ 8.31 ระบุว่าเป็น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) ร้อยละ 2.23 ระบุว่าเป็น นายชัยเกษม นิติสิริ (พรรคเพื่อไทย) และร้อยละ 14.70 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ด้านความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 32.44 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 27.94 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 24.20 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 13.44 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 1.98 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า เชื่อมากและค่อนข้างเชื่อว่าจะมีการยุบพรรคการเมืองในเดือนสิงหาคมนี้ (จำนวน 493 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ สส. จากพรรคการเมืองที่ถูกยุบ จะไปสังกัดกับพรรคร่วมรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.97 ระบุว่า ค่อนข้างเป็นไปได้ รองลงมา ร้อยละ 27.99 ระบุว่า เป็นไปได้มาก ร้อยละ 16.84 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย และร้อยละ 14.20 ระบุว่า ไม่ค่อยเป็นไปได้ ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการพ้นโทษของคุณทักษิณ ชินวัตร จะทำให้รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.83 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 26.87 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 19.01 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 11.45 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 0.84 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ที่มา : นิด้าโพล #Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 786 มุมมอง 0 รีวิว