• ‘อ.ต่อตระกูล ยมนาค’ ประกาศเลิกดูรายการ ‘เจาะลึกทั่วไทย’ หลัง ‘หมาแก่’ บอกเสียดาย ‘กิตติรัตน์’ ไม่ได้เป็น ปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ

    รองศาสตราจารย์ ต่อตระกูล ยมนาค นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า... “หมาแก่” ช่อง อสมท. ( MCOT 30 ) ออกมาประกาศ ช่วยสนับสนุน กิตติรัตน์ เป็นประธานแบงก์ชาติ โดยเอ่ยคำว่า “เสียดาย กิตติรัตน์” (ถ้าไม่ได้เป็น ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ )
    ‘อ.ต่อตระกูล ยมนาค’ ประกาศเลิกดูรายการ ‘เจาะลึกทั่วไทย’ หลัง ‘หมาแก่’ บอกเสียดาย ‘กิตติรัตน์’ ไม่ได้เป็น ปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ รองศาสตราจารย์ ต่อตระกูล ยมนาค นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า... “หมาแก่” ช่อง อสมท. ( MCOT 30 ) ออกมาประกาศ ช่วยสนับสนุน กิตติรัตน์ เป็นประธานแบงก์ชาติ โดยเอ่ยคำว่า “เสียดาย กิตติรัตน์” (ถ้าไม่ได้เป็น ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ )
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 55 มุมมอง 0 รีวิว
  • "จบข่าว"

    คณะกรรมการกฤษฎีกา 3 คณะได้มีมติไม่ผ่านคุณสมบัติของ "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" เป็นประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หลังจากการประชุมร่วมเมื่อวันที่ 24 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยพิจารณาคุณสมบัติในภาพรวมทั้งหมด ไม่ได้พิจารณาแยกเป็นข้อๆ ตามแหล่งข่าวจากคณะกรรมการกฤษฎีกา
    .
    กรรมการกฤษฎีกากล่าวว่า การพิจารณาคุณสมบัติของนายกิตติรัตน์ไม่ได้ดูข้อใดข้อหนึ่งเป็นพิเศษ แต่พิจารณาทั้งพฤติกรรมและการทำงานทั้งหมด จึงมีความเห็นว่าไม่ผ่านเกณฑ์สำหรับตำแหน่งประธานบอร์ด ธปท. ซึ่งถือเป็นการตัดสินที่สำคัญ

    https://www.thansettakij.com/business/615414
    "จบข่าว" คณะกรรมการกฤษฎีกา 3 คณะได้มีมติไม่ผ่านคุณสมบัติของ "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" เป็นประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หลังจากการประชุมร่วมเมื่อวันที่ 24 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยพิจารณาคุณสมบัติในภาพรวมทั้งหมด ไม่ได้พิจารณาแยกเป็นข้อๆ ตามแหล่งข่าวจากคณะกรรมการกฤษฎีกา . กรรมการกฤษฎีกากล่าวว่า การพิจารณาคุณสมบัติของนายกิตติรัตน์ไม่ได้ดูข้อใดข้อหนึ่งเป็นพิเศษ แต่พิจารณาทั้งพฤติกรรมและการทำงานทั้งหมด จึงมีความเห็นว่าไม่ผ่านเกณฑ์สำหรับตำแหน่งประธานบอร์ด ธปท. ซึ่งถือเป็นการตัดสินที่สำคัญ https://www.thansettakij.com/business/615414
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 109 มุมมอง 0 รีวิว
  • คดีพลิก!!
    นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการ ปัดพัลวัน!! ยังไม่สรุป “กิตติรัตน์” ขาดคุณสมบัตินั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติหรือไม่ ยังอยู่ระหว่างหารือ เผยเตรียมประชุมคณะกรรมการร่วม สอบคุณสมบัติ วันที่ 25 ธ.ค.67 นี้
    คดีพลิก!! นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการ ปัดพัลวัน!! ยังไม่สรุป “กิตติรัตน์” ขาดคุณสมบัตินั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติหรือไม่ ยังอยู่ระหว่างหารือ เผยเตรียมประชุมคณะกรรมการร่วม สอบคุณสมบัติ วันที่ 25 ธ.ค.67 นี้
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 93 มุมมอง 0 รีวิว
  • เลขาฯ กฤษฎีกา แจงยังไม่สรุป “กิตติรัตน์” ขาดคุณสมบัตินั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติหรือไม่ ยังอยู่ระหว่างหารือ เผยเตรียมประชุมคณะกรรมการร่วม สอบคุณสมบัติ วันที่ 25 ธ.ค.67 นี้

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000123414

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    เลขาฯ กฤษฎีกา แจงยังไม่สรุป “กิตติรัตน์” ขาดคุณสมบัตินั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติหรือไม่ ยังอยู่ระหว่างหารือ เผยเตรียมประชุมคณะกรรมการร่วม สอบคุณสมบัติ วันที่ 25 ธ.ค.67 นี้ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000123414 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    3
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 608 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายกฯ บอก “กิตติรัตน์” ไม่ผ่านคุณสมบัตินั่งประธานบอร์ด ธปท.ให้เป็นไปตามขั้นตอน ปัดตอบเรื่องค่าแรง 400 บาท มอบหมาย "สมคิด" คุย"สนธิ" ทวงคำตอบให้ยุติ MOU44

    วันนี้(24 ธ.ค.) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยก่อนเข้าประชุม ผู้สื่อข่าวได้สอบถามถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ไม่ผ่านคุณสมบัติที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ต้องว่ากันไปตามกระบวนการ

    เมื่อถามต่อว่าจะต้องล้มกระบวนการและมีการสรรหาใหม่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี ไม่ได้ตอบคำถาม

    ผู้สื่อข่าวจึงถามถึงมาตรการค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้หรือไม่ นายกรัฐมนตรีก็ไม่ตอบเช่นเดียวกัน

    ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะเดินเข้าตึกบัญชาการผู้สื่อข่าวจึงบอกว่าขอให้นายกรัฐมนตรี เตรียมคำตอบ เพราะวันนี้ครบกำหนดที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล จะทวงคำตอบเรื่องให้ยุติเอ็มโอยู 2544 ที่เคยยื่นไว้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยนายกรัฐมนตรีหันมาพร้อมผายมือไปที่นายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง พร้อมระบุว่า เดี๋ยวมีคนคุย

    #MGROnline #กิตติรัตน์ #ประธานบอร์ด #ธปท. #ค่าแรง #400บาท
    นายกฯ บอก “กิตติรัตน์” ไม่ผ่านคุณสมบัตินั่งประธานบอร์ด ธปท.ให้เป็นไปตามขั้นตอน ปัดตอบเรื่องค่าแรง 400 บาท มอบหมาย "สมคิด" คุย"สนธิ" ทวงคำตอบให้ยุติ MOU44 • วันนี้(24 ธ.ค.) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยก่อนเข้าประชุม ผู้สื่อข่าวได้สอบถามถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ไม่ผ่านคุณสมบัติที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ต้องว่ากันไปตามกระบวนการ • เมื่อถามต่อว่าจะต้องล้มกระบวนการและมีการสรรหาใหม่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี ไม่ได้ตอบคำถาม • ผู้สื่อข่าวจึงถามถึงมาตรการค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้หรือไม่ นายกรัฐมนตรีก็ไม่ตอบเช่นเดียวกัน • ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะเดินเข้าตึกบัญชาการผู้สื่อข่าวจึงบอกว่าขอให้นายกรัฐมนตรี เตรียมคำตอบ เพราะวันนี้ครบกำหนดที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล จะทวงคำตอบเรื่องให้ยุติเอ็มโอยู 2544 ที่เคยยื่นไว้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยนายกรัฐมนตรีหันมาพร้อมผายมือไปที่นายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง พร้อมระบุว่า เดี๋ยวมีคนคุย • #MGROnline #กิตติรัตน์ #ประธานบอร์ด #ธปท. #ค่าแรง #400บาท
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 171 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ กฤษฎีกาตีตก คุณสมบัติของกิตติรัตน์ ไม่เหมาะเป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติ หลังเคยเป็นที่ปรึกษาอดีตนายกฯ เศรษฐา อาจซ้ำรอยพิชิต ถุงขนม ที่ทำให้เศรษฐาถูกถอดถอน ล่มทั้งครม.
    #7ดอกจิก
    ♣ กฤษฎีกาตีตก คุณสมบัติของกิตติรัตน์ ไม่เหมาะเป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติ หลังเคยเป็นที่ปรึกษาอดีตนายกฯ เศรษฐา อาจซ้ำรอยพิชิต ถุงขนม ที่ทำให้เศรษฐาถูกถอดถอน ล่มทั้งครม. #7ดอกจิก
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 130 มุมมอง 0 รีวิว
  • สะพัดปลัดกระทรวงการคลังระบุ "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" ไม่ผ่านคุณสมบัติประธานบอร์แบงก์ชาติ แต่ให้ไปถาม "พิชัย" เอาเอง คาดขัดคุณสมบัติดำรงตำแหน่งทางการเมืองและพรรคการเมือง เผย 2 แนวทาง เลือก "กุลิศ สมบัติศิริ" อดีตปลัดพลังงาน 1 ในแคนดิเดตที่เหลือ หรือคัดเลือกกันใหม่ตั้งแต่ต้น
    .
    วันนี้ (24 ธ.ค.) หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้นธุรกิจ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าว นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้รับทราบผลการตีความทางกฎหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีต รมว.คลัง และอดีตผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่ผ่านคุณสมบัติที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่วนรายละเอียดในฐานะปลัดกระทรวงการคลังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ เนื่องจากเป็นอำนาจของนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เปิดเผยข้อมูล
    .
    “มีการคอนเฟิร์มแล้วว่า นายกิตติรัตน์ ไม่ผ่านคุณสมบัติ รายละเอียดต้องไปถามรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง” นายลวรณ กล่าว
    .
    ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กรณีดังกล่าวยังไม่เคยเกิดปัญหาแบบนี้มาก่อน ส่วนแนวทางการสรรหาประธานบอร์ดแบงก์ชาติขั้นตอนต่อไปอาจจะออกมาสองแนวทางคือ นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง และในฐานะประธานคัดเลือก ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย อาจจะเลือกนายกุลิศ สมบัติศิริ อดีตปลัดกระทรวงแรงงาน ให้ รมว.คลังพิจารณา หรืออีกแนวทางคือ เริ่มการคัดเลือกกันใหม่ตั้งแต่ต้น
    .
    รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า สำหรับรายชื่อที่เข้ารับการคัดเลือกประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย มี 3 ราย คือ นายกิตติรัตน์ เสนอโดยกระทรวงการคลัง นายกุลิศ เสนอโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และนายสุรพล นิติไกรพจน์ ศาสตราจารย์ประจำสาขากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
    .
    ปรากฎว่าที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาฯ เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2567 มีมติเลือกนายกิตติรัตน์เป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หลังการประชุมผ่านไป 5 ชั่วโมง แต่ไม่มีกรรมการคนใดออกมาให้สัมภาษณ์ รวมทั้งนายสถิตย์เอง ที่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่าจะออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ก็เดินทางกลับไปในทันที โดยไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ ซึ่งในวันดังกล่าวได้มีตัวแทนคณะศิษยานุศิษย์ที่น้อมนำธรรมองค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ยื่นหนังสือคัดค้านนายกิตติรัตน์ และมีผู้ชุมนุมจากกองทัพธรรม ร่วมกับเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ปักหลักชุมนุมหน้าธนาคารแห่งประเทศไทย บางขุนพรหม
    .
    ทั้งนี้ คาดว่าสาเหตุที่นายกิตติรัตน์ขาดคุณสมบัติ เนื่องจากเมื่อพิจารณาจาก คุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย 2485 ข้อ 4 ระบุไว้ว่า "ต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี" และข้อ 5 ระบุว่า "ต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้วหนึ่งปี"
    .
    หากพิจารณาจากตำแหน่งในทางการเมืองของนายกิตติรัตน์ ทั้งในบทบาทของประธานที่ปรึกษาของนายกฯ ในสมัยรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน และตำแหน่งประธานคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย จึงน่าจะเข้าข่ายขัดคุณสมบัติ และอาจจะกลายเป็นปัญหาหากมีผู้ร้องว่าเป็นการแต่งตั้งที่ขัดกฎหมายดังกล่าว
    .
    ก่อนหน้านี้ นายพิชัย ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2567 ว่า เรื่องดังกล่าวอาจล่าช้าและจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ในช่วงเดือน ม.ค. 2568
    ..............
    Sondhi X
    สะพัดปลัดกระทรวงการคลังระบุ "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" ไม่ผ่านคุณสมบัติประธานบอร์แบงก์ชาติ แต่ให้ไปถาม "พิชัย" เอาเอง คาดขัดคุณสมบัติดำรงตำแหน่งทางการเมืองและพรรคการเมือง เผย 2 แนวทาง เลือก "กุลิศ สมบัติศิริ" อดีตปลัดพลังงาน 1 ในแคนดิเดตที่เหลือ หรือคัดเลือกกันใหม่ตั้งแต่ต้น . วันนี้ (24 ธ.ค.) หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้นธุรกิจ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าว นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้รับทราบผลการตีความทางกฎหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีต รมว.คลัง และอดีตผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่ผ่านคุณสมบัติที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่วนรายละเอียดในฐานะปลัดกระทรวงการคลังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ เนื่องจากเป็นอำนาจของนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เปิดเผยข้อมูล . “มีการคอนเฟิร์มแล้วว่า นายกิตติรัตน์ ไม่ผ่านคุณสมบัติ รายละเอียดต้องไปถามรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง” นายลวรณ กล่าว . ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กรณีดังกล่าวยังไม่เคยเกิดปัญหาแบบนี้มาก่อน ส่วนแนวทางการสรรหาประธานบอร์ดแบงก์ชาติขั้นตอนต่อไปอาจจะออกมาสองแนวทางคือ นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง และในฐานะประธานคัดเลือก ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย อาจจะเลือกนายกุลิศ สมบัติศิริ อดีตปลัดกระทรวงแรงงาน ให้ รมว.คลังพิจารณา หรืออีกแนวทางคือ เริ่มการคัดเลือกกันใหม่ตั้งแต่ต้น . รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า สำหรับรายชื่อที่เข้ารับการคัดเลือกประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย มี 3 ราย คือ นายกิตติรัตน์ เสนอโดยกระทรวงการคลัง นายกุลิศ เสนอโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และนายสุรพล นิติไกรพจน์ ศาสตราจารย์ประจำสาขากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอโดยธนาคารแห่งประเทศไทย . ปรากฎว่าที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาฯ เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2567 มีมติเลือกนายกิตติรัตน์เป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หลังการประชุมผ่านไป 5 ชั่วโมง แต่ไม่มีกรรมการคนใดออกมาให้สัมภาษณ์ รวมทั้งนายสถิตย์เอง ที่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่าจะออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ก็เดินทางกลับไปในทันที โดยไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ ซึ่งในวันดังกล่าวได้มีตัวแทนคณะศิษยานุศิษย์ที่น้อมนำธรรมองค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ยื่นหนังสือคัดค้านนายกิตติรัตน์ และมีผู้ชุมนุมจากกองทัพธรรม ร่วมกับเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ปักหลักชุมนุมหน้าธนาคารแห่งประเทศไทย บางขุนพรหม . ทั้งนี้ คาดว่าสาเหตุที่นายกิตติรัตน์ขาดคุณสมบัติ เนื่องจากเมื่อพิจารณาจาก คุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย 2485 ข้อ 4 ระบุไว้ว่า "ต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี" และข้อ 5 ระบุว่า "ต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้วหนึ่งปี" . หากพิจารณาจากตำแหน่งในทางการเมืองของนายกิตติรัตน์ ทั้งในบทบาทของประธานที่ปรึกษาของนายกฯ ในสมัยรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน และตำแหน่งประธานคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย จึงน่าจะเข้าข่ายขัดคุณสมบัติ และอาจจะกลายเป็นปัญหาหากมีผู้ร้องว่าเป็นการแต่งตั้งที่ขัดกฎหมายดังกล่าว . ก่อนหน้านี้ นายพิชัย ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2567 ว่า เรื่องดังกล่าวอาจล่าช้าและจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ในช่วงเดือน ม.ค. 2568 .............. Sondhi X
    Like
    5
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 398 มุมมอง 0 รีวิว
  • ด่วน!
    กฤษฎีกาชี้ "กิตติรัตน์" ขาดคุณสมบัตินั่ง "ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ" เตรียมเปิดสรรหาใหม่เร็วๆ นี้

    ลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยเรื่องดังกล่าวว่า กระทรวงการคลังทราบผลการตีความทางกฎหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" ไม่ผ่านคุณสมบัติที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
    ขณะที่รายละเอียดต้องรอ พิชัย ชุณหวชิร รมว.คลัง ออกมาเปิดเผยอีกครั้งหนึ่ง
    ด่วน! กฤษฎีกาชี้ "กิตติรัตน์" ขาดคุณสมบัตินั่ง "ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ" เตรียมเปิดสรรหาใหม่เร็วๆ นี้ ลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยเรื่องดังกล่าวว่า กระทรวงการคลังทราบผลการตีความทางกฎหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" ไม่ผ่านคุณสมบัติที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขณะที่รายละเอียดต้องรอ พิชัย ชุณหวชิร รมว.คลัง ออกมาเปิดเผยอีกครั้งหนึ่ง
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 124 มุมมอง 0 รีวิว
  • กฤษฎีกาเผยคลังยังไม่ส่งชื่อ ว่าที่ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ตรวจสอบ 03/12/67 #กฤษฎีกา #กระทรวงการคลัง #ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ
    กฤษฎีกาเผยคลังยังไม่ส่งชื่อ ว่าที่ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ตรวจสอบ 03/12/67 #กฤษฎีกา #กระทรวงการคลัง #ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ
    Like
    Haha
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 762 มุมมอง 86 0 รีวิว
  • ตั้ง “กิตติรัตน์” นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ “นายกฯอิ๊งค์” เสี่ยงหลุด ซ้ำรอยเศรษฐา.“ธีระชัย” ฟันธง “กิตติรัตน์” ขาดคุณสมบัติ ไม่สามารถนั่ง “ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ” เหตุ “ที่ปรึกษาของนายก” ถือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะงานที่ทำไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของนายกฯเศรษฐา และเบิกค่าใช้จ่ายจากสำนักนายกฯ เตือน นำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯทั้งที่มีปัญหา เป็นเรื่องมิบังควร โป๊ะแตก ! “เสี่ยนิด” พูดเอง “โต้ง” ขาดคุณสมบัติ ด้าน “รศ.ดร.เจษฎ์” แจง หากมีผู้ร้อง “อุ๊งอิ๊งค์” อาจหลุดจากเก้าอี้นายกฯ เหมือนกรณีที่ “เศรษฐา” แต่งตั้ง พิชิต ชื่นบาน ลือสะพัด “เรืองไกร” เตรียมร้องเอาผิดคนเสนอชื่อ.หนึ่งในประเด็นร้อนขณะนี้ก็คือเรื่องการแต่งตั้ง “ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย” หรือประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ซึ่งมีกระแสข่าวยืนยันว่าในการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ เมื่อวันที่ 11 พ.ย.2567 ที่ผ่านมา คณะกรรมการตัดสินใจเลือก “โต้ง-กิตติรัตน์ ณ ระนอง” อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ตัวเต็งจากพรรคเพื่อไทย ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากหลายฝ่าย ด้วยเกรงว่าจะเป็นการส่งคนจากฝั่งการเมืองเข้าไปแทรกแซงการทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่สำคัญยังมีการทักท้วงว่านายกิตติรัตน์ขาดคุณสมบัติ เนื่องจากนายเขาเคยเป็น “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” นายเศรษฐา ทวีสิน โดยเพิ่งพ้นจากตำแหน่งมาไม่ถึง 1 ปี.แต่ทางด้าน นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ในฐานะประธานที่ทำหน้าที่คัดเลือกประธานบอร์ดและกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ถือเป็นตำแหน่งทางการเมือง แต่ตำแหน่งของกิตติรัตน์คือ “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” ถือเป็นตำแหน่งส่วนตัว ซึ่งมิได้เป็นคุณสมบัติต้องห้ามในการเป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติ.ขณะนี้สถานการณ์จึงยังอึมครึม คือเป็นการแต่งตั้งโดยไม่มีการประกาศรายชื่อ และจะเสนอรายชื่อดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรับทราบ ในวันที่ 19 พ.ย. 2567 เพื่อเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป.ส่วนว่า นายกิตติรัตน์ จะขาดคุณสมบัติหรือไม่ ? และหากขาดคุณสมบัติจะมีผลอย่างไรตามมา ? คงต้องไปฟังความเห็นจากผู้รู้.อ่านเพิ่มเติม>>https://mgronline.com/specialscoop/detail/9670000109902.#กิตติรัตน์ณระนอง #นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ #แบงก์ชาติ
    ตั้ง “กิตติรัตน์” นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ “นายกฯอิ๊งค์” เสี่ยงหลุด ซ้ำรอยเศรษฐา.“ธีระชัย” ฟันธง “กิตติรัตน์” ขาดคุณสมบัติ ไม่สามารถนั่ง “ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ” เหตุ “ที่ปรึกษาของนายก” ถือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะงานที่ทำไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของนายกฯเศรษฐา และเบิกค่าใช้จ่ายจากสำนักนายกฯ เตือน นำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯทั้งที่มีปัญหา เป็นเรื่องมิบังควร โป๊ะแตก ! “เสี่ยนิด” พูดเอง “โต้ง” ขาดคุณสมบัติ ด้าน “รศ.ดร.เจษฎ์” แจง หากมีผู้ร้อง “อุ๊งอิ๊งค์” อาจหลุดจากเก้าอี้นายกฯ เหมือนกรณีที่ “เศรษฐา” แต่งตั้ง พิชิต ชื่นบาน ลือสะพัด “เรืองไกร” เตรียมร้องเอาผิดคนเสนอชื่อ.หนึ่งในประเด็นร้อนขณะนี้ก็คือเรื่องการแต่งตั้ง “ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย” หรือประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ซึ่งมีกระแสข่าวยืนยันว่าในการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ เมื่อวันที่ 11 พ.ย.2567 ที่ผ่านมา คณะกรรมการตัดสินใจเลือก “โต้ง-กิตติรัตน์ ณ ระนอง” อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ตัวเต็งจากพรรคเพื่อไทย ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากหลายฝ่าย ด้วยเกรงว่าจะเป็นการส่งคนจากฝั่งการเมืองเข้าไปแทรกแซงการทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่สำคัญยังมีการทักท้วงว่านายกิตติรัตน์ขาดคุณสมบัติ เนื่องจากนายเขาเคยเป็น “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” นายเศรษฐา ทวีสิน โดยเพิ่งพ้นจากตำแหน่งมาไม่ถึง 1 ปี.แต่ทางด้าน นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ในฐานะประธานที่ทำหน้าที่คัดเลือกประธานบอร์ดและกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ถือเป็นตำแหน่งทางการเมือง แต่ตำแหน่งของกิตติรัตน์คือ “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” ถือเป็นตำแหน่งส่วนตัว ซึ่งมิได้เป็นคุณสมบัติต้องห้ามในการเป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติ.ขณะนี้สถานการณ์จึงยังอึมครึม คือเป็นการแต่งตั้งโดยไม่มีการประกาศรายชื่อ และจะเสนอรายชื่อดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรับทราบ ในวันที่ 19 พ.ย. 2567 เพื่อเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป.ส่วนว่า นายกิตติรัตน์ จะขาดคุณสมบัติหรือไม่ ? และหากขาดคุณสมบัติจะมีผลอย่างไรตามมา ? คงต้องไปฟังความเห็นจากผู้รู้.อ่านเพิ่มเติม>>https://mgronline.com/specialscoop/detail/9670000109902.#กิตติรัตน์ณระนอง #นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ #แบงก์ชาติ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 608 มุมมอง 0 รีวิว
  • ## ประธานบอร์ด แบงค์ชาติ ##
    ..
    ..
    ก็แต่งตั้งกันไปเรียบร้อยแล้วสำหรับ ประธานบอร์ด แบงค์ชาติ
    ตอนนี้ก็กำลังรอ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้ง...
    .
    ในขณะเดียวกัน ลูกศิษย์หลวงตามหาบัว ก็ออกมายื่นหนังสือคัดค้านเพราะเห็นว่า ท่านผู้นั้น ไม่มีจริยธรรม และ จรรยาบรรณด่างพร้อย
    .
    แหม่...จะว่าไป ท่านก็ การเมืองจ๋า สีแดง เป็นคนของ "คนที่คุณก็รู้ว่าใคร" ประมาณนั้น...
    .
    ซึ่ง อาจารย์ เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ก็บอกว่า...
    .
    บอร์ดแบงค์ชาติ มีอำนาจ อนุมัติให้ใช้ เงินสำรองระหว่างประเทศได้...!!!
    ...
    ...
    โอโห...!!!
    .
    แบบนี้ใครจะไม่กังวลหล่ะครับ...???
    .
    แล้ว จะว่าไป รัฐบาล เขาก็ประชานิยมจ๋ามาแต่ไหนแต่ไร ใครไม่รู้บ้าง...???


    ## ประธานบอร์ด แบงค์ชาติ ## .. .. ก็แต่งตั้งกันไปเรียบร้อยแล้วสำหรับ ประธานบอร์ด แบงค์ชาติ ตอนนี้ก็กำลังรอ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้ง... . ในขณะเดียวกัน ลูกศิษย์หลวงตามหาบัว ก็ออกมายื่นหนังสือคัดค้านเพราะเห็นว่า ท่านผู้นั้น ไม่มีจริยธรรม และ จรรยาบรรณด่างพร้อย . แหม่...จะว่าไป ท่านก็ การเมืองจ๋า สีแดง เป็นคนของ "คนที่คุณก็รู้ว่าใคร" ประมาณนั้น... . ซึ่ง อาจารย์ เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ก็บอกว่า... . บอร์ดแบงค์ชาติ มีอำนาจ อนุมัติให้ใช้ เงินสำรองระหว่างประเทศได้...!!! ... ... โอโห...!!! . แบบนี้ใครจะไม่กังวลหล่ะครับ...??? . แล้ว จะว่าไป รัฐบาล เขาก็ประชานิยมจ๋ามาแต่ไหนแต่ไร ใครไม่รู้บ้าง...???
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 243 มุมมอง 0 รีวิว
  • คณะกรรมการที่เลือก
    “กิตติรัตน์” เป็นปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ
    .
    #กิตติรัตน์ณระนอง #ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ #แบงก์ชาติ
    คณะกรรมการที่เลือก “กิตติรัตน์” เป็นปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ . #กิตติรัตน์ณระนอง #ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ #แบงก์ชาติ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 245 มุมมอง 0 รีวิว
  • "สถิตย์" ย้ำแบงก์ชาติมีความอิสระ !! ปลอดการเมืองแทรก กฎหมายปี 2551 กำหนดไว้ชัด ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ แทรกแซง 3 นโยบายสำคัญของ ธปท. และปลดผู้ว่าฯ ไม่ได้ ส่วนขั้นตอนต่อไป 19 พ.ย.นี้ จะส่งเรื่องให้ รมว.คลัง

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000108972

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    "สถิตย์" ย้ำแบงก์ชาติมีความอิสระ !! ปลอดการเมืองแทรก กฎหมายปี 2551 กำหนดไว้ชัด ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ แทรกแซง 3 นโยบายสำคัญของ ธปท. และปลดผู้ว่าฯ ไม่ได้ ส่วนขั้นตอนต่อไป 19 พ.ย.นี้ จะส่งเรื่องให้ รมว.คลัง อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000108972 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Sad
    Angry
    Love
    Haha
    26
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2267 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภูมิธรรมเมินกระแสต้าน กิตติรัตน์ นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ อยู่ที่กรรมการสรรหา 12/11/67 #ภูมิธรรม #กิตติรัตน์ #ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ
    ภูมิธรรมเมินกระแสต้าน กิตติรัตน์ นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ อยู่ที่กรรมการสรรหา 12/11/67 #ภูมิธรรม #กิตติรัตน์ #ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ
    Like
    Haha
    Love
    Sad
    9
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1038 มุมมอง 252 0 รีวิว
  • การประชุมสรรหาบอร์ดแบงก์ชาติเสร็จสิ้นลงแล้ว แต่กรรมการรวมถึงประธานคัดเลือกฯ ปิดปากเงียบ สะพัดเคาะ “กิตติรัตน์” นั่งประธานบอร์ดคนใหม่ ชง ครม.ก่อนทูลเกล้าฯ

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000108582

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    การประชุมสรรหาบอร์ดแบงก์ชาติเสร็จสิ้นลงแล้ว แต่กรรมการรวมถึงประธานคัดเลือกฯ ปิดปากเงียบ สะพัดเคาะ “กิตติรัตน์” นั่งประธานบอร์ดคนใหม่ ชง ครม.ก่อนทูลเกล้าฯ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000108582 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Angry
    Haha
    10
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1171 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣️ แบงก์ชาติ ถือฤกษ์ 11.11 เคาะประธานบอร์ดคนใหม่ ขออย่าได้คนโกหกสีขาว มาทำลายชาติซ้ำซาก
    #7ดอกจิก
    ♣️ แบงก์ชาติ ถือฤกษ์ 11.11 เคาะประธานบอร์ดคนใหม่ ขออย่าได้คนโกหกสีขาว มาทำลายชาติซ้ำซาก #7ดอกจิก
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 237 มุมมอง 0 รีวิว
  • จับตาเคาะประธาน ธปท.'กิตติรัตน์' ไปต่อหรือจบ แรงต้านแรงต่อเนื่อง

    ตลอดทั้งวันของวันที่ 11 พฤศจิกายน ต้องจับไปที่การประชุมคณะกรรมการคัดเลือกประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ที่มีนายสถิตย์ ลิ่มพงษ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ว่าจะสามารถเดินหน้าเลือบุคคลเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการธปท.ได้หรือไม่ หรือจะต้องเลื่อนออกไปอีกเป็นครั้งที่ 3
    .
    โดยแคนดิเดทประธานคณะกรรมการธปท.ยังคงมีด้วยกัน 3 คนตามรายชื่อเดิม คือ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถูกเสนอชื่อโดยกระทรวงการคลัง นายกุลิศ สมบัติศิริ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน อดีตอธิบดีกรมศุลกากร -อดีตผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) อดีตผู้ตรวจกระทรวงการคลัง และนายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งถูกเสนอชื่อโดยธปท.
    .
    ขณะที่แรงต่อต้านของการป้องกันไม่ให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซงการทำงานของธปท.ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะท่าทีจากอดีตผู้ว่าฯธปท.อย่างนายวิรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) โพสต์เฟซบุ๊ก “Veerathai Santiprabhob” ระบุว่า ขอย้ำอีกครั้งนะครับ ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของแบงก์ชาติ แต่เป็นเรื่องอนาคตของชาติ candidate ชื่ออะไรไม่สำคัญ แต่ถ้ามีประวัติเป็นคนการเมืองแบบแนบแน่น มีทัศนคติและวิธีคิดที่อยากแทรกแซงการทำงานของธนาคารกลางเพื่อตอบโจทย์การเมือง ก็ไม่สมควรครับ"
    .
    "ถ้าเรายอมให้ฝ่ายการเมืองส่งคนการเมืองเข้ามาครอบงำแบงก์ชาติได้โดยง่าย จะเป็นอันตรายยิ่งต่อการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจไทย ทำลายความน่าเชื่อถือของธนาคารกลาง และทำลายหน่วยงานหลักทางเศรษฐกิจของประเทศให้อ่อนแอจนไม่เหลือสักหน่วยงานเดียวที่จะทัดทานนโยบายเศรษฐกิจที่ไม่ถูกไม่ควรได้"
    .
    ด้าน คนในรัฐบาลก็ออกมาแสดงความคิดเห็นเรียกร้องให้ยุติการนำเรื่องนี้มาสร้างความขัดแย้ง เช่น นายศึกษิษฏ์ ศรีจอมขวัญ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ระบุว่า เรื่องตั้งประธานบอร์ดแบงก์ชาติและเรื่องตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูการบินไทยที่มีการปลุกระดมคัดค้านเหมือนจะเป็นคนละเรื่องดัน แต่เนื้อแท้แล้วมีความคล้ายคลังกันมา
    .
    "ทั้งสองตำแหน่งในแต่ละกรณี ไม่ใช่ตำแหน่งที่มีอำนาจบริหารโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติ หรือผู้บริหารแผนฟื้นฟูการบินไทย เป็นเพียงแค่ผู้กำกับดูแล ให้แนวทางการทำงานสอดคล้องประสานกับนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบันมากขึ้น การทำงานไปคนละทิศละทางกับรัฐบาลทุกเรื่อง หรือถึงกับคอยขัดขวางก้าวก่ายนโยบายเสริมของรัฐ ความหวังในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและความกินดีอยู่ของประชาชนก็เป็นไปได้ยาก" นายศึกษิษฏ์ ระบุ
    ..............
    Sondhi X
    จับตาเคาะประธาน ธปท.'กิตติรัตน์' ไปต่อหรือจบ แรงต้านแรงต่อเนื่อง ตลอดทั้งวันของวันที่ 11 พฤศจิกายน ต้องจับไปที่การประชุมคณะกรรมการคัดเลือกประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ที่มีนายสถิตย์ ลิ่มพงษ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ว่าจะสามารถเดินหน้าเลือบุคคลเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการธปท.ได้หรือไม่ หรือจะต้องเลื่อนออกไปอีกเป็นครั้งที่ 3 . โดยแคนดิเดทประธานคณะกรรมการธปท.ยังคงมีด้วยกัน 3 คนตามรายชื่อเดิม คือ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถูกเสนอชื่อโดยกระทรวงการคลัง นายกุลิศ สมบัติศิริ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน อดีตอธิบดีกรมศุลกากร -อดีตผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) อดีตผู้ตรวจกระทรวงการคลัง และนายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งถูกเสนอชื่อโดยธปท. . ขณะที่แรงต่อต้านของการป้องกันไม่ให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซงการทำงานของธปท.ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะท่าทีจากอดีตผู้ว่าฯธปท.อย่างนายวิรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) โพสต์เฟซบุ๊ก “Veerathai Santiprabhob” ระบุว่า ขอย้ำอีกครั้งนะครับ ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของแบงก์ชาติ แต่เป็นเรื่องอนาคตของชาติ candidate ชื่ออะไรไม่สำคัญ แต่ถ้ามีประวัติเป็นคนการเมืองแบบแนบแน่น มีทัศนคติและวิธีคิดที่อยากแทรกแซงการทำงานของธนาคารกลางเพื่อตอบโจทย์การเมือง ก็ไม่สมควรครับ" . "ถ้าเรายอมให้ฝ่ายการเมืองส่งคนการเมืองเข้ามาครอบงำแบงก์ชาติได้โดยง่าย จะเป็นอันตรายยิ่งต่อการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจไทย ทำลายความน่าเชื่อถือของธนาคารกลาง และทำลายหน่วยงานหลักทางเศรษฐกิจของประเทศให้อ่อนแอจนไม่เหลือสักหน่วยงานเดียวที่จะทัดทานนโยบายเศรษฐกิจที่ไม่ถูกไม่ควรได้" . ด้าน คนในรัฐบาลก็ออกมาแสดงความคิดเห็นเรียกร้องให้ยุติการนำเรื่องนี้มาสร้างความขัดแย้ง เช่น นายศึกษิษฏ์ ศรีจอมขวัญ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ระบุว่า เรื่องตั้งประธานบอร์ดแบงก์ชาติและเรื่องตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูการบินไทยที่มีการปลุกระดมคัดค้านเหมือนจะเป็นคนละเรื่องดัน แต่เนื้อแท้แล้วมีความคล้ายคลังกันมา . "ทั้งสองตำแหน่งในแต่ละกรณี ไม่ใช่ตำแหน่งที่มีอำนาจบริหารโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติ หรือผู้บริหารแผนฟื้นฟูการบินไทย เป็นเพียงแค่ผู้กำกับดูแล ให้แนวทางการทำงานสอดคล้องประสานกับนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบันมากขึ้น การทำงานไปคนละทิศละทางกับรัฐบาลทุกเรื่อง หรือถึงกับคอยขัดขวางก้าวก่ายนโยบายเสริมของรัฐ ความหวังในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและความกินดีอยู่ของประชาชนก็เป็นไปได้ยาก" นายศึกษิษฏ์ ระบุ .............. Sondhi X
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 865 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣️ จะเป็นให้ได้ เสี่ยโต้ง White Lie ยืมมือ
    วิทยาลัยตลาดทุน รุ่น 8 ซึ่งเป็น "กลุ่มเพื่อนกิตติรัตน์" ล่ารายชื่อสนับสนุนให้นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ
    #7ดอกจิก
    ♣️ จะเป็นให้ได้ เสี่ยโต้ง White Lie ยืมมือ วิทยาลัยตลาดทุน รุ่น 8 ซึ่งเป็น "กลุ่มเพื่อนกิตติรัตน์" ล่ารายชื่อสนับสนุนให้นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ #7ดอกจิก
    Angry
    Sad
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 404 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศึกชิง 'ประธานบอร์ดธปท.'เกมซ่อนกลล้วง'แบงก์ชาติ' : ข่าวลึกปมลับ 05/11/67
    ศึกชิง 'ประธานบอร์ดธปท.'เกมซ่อนกลล้วง'แบงก์ชาติ' : ข่าวลึกปมลับ 05/11/67
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 414 มุมมอง 115 0 รีวิว
  • ข่าว 4 พ.ย.

    เลื่อนเคาะเลือกประธาน ธปท. 'กิตติรัตน์' ตัวเต็งแต่มีชนัก เหตุคดีขายข้าวติดตัว
    .
    วันที่ 4 พฤศจิกายน เป็นวันที่บรรดาคนในแวดวงการเงินการธนาคารต่างจับตาไปที่การประชุมคณะกรรมการสรรหาประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนใหม่ เนื่องจากมีชื่อของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นตัวเต็งคนสำคัญที่มีโอกาสคว้าเก้าอี้ตัวนี้ไปครอง
    .
    นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหาฯ เปิดเผยว่า คณะกรรมการสรรหาฯ จะมีการประชุมในวันจันทร์ที่ 4 พ.ย.นี้เวลา 14.00 น.เพื่อประชุมลงมติว่าจะคัดเลือกบุคคลใดเป็นประธานบอร์ดธปท.คนใหม่ ซึ่งยืนยันว่ากรรมการสรรหาฯแต่ละคนมีความคิดเป็นอิสระของตัวเอง และต้องเป็นไปตามหลักการ คือ บุคคลที่จะได้รับเลือกมีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่ และมีลักษณะต้องห้ามหรือไม่ มีส่วนได้เสียอย่างมีนัยยะสำคัญกับธปท.หรือไม่ โดยลักษณะต้องห้ามนั้นมีหลายกรณี เช่น ต้องไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือมีตำแหน่งในคณะทำงานของพรรคการเมือง ส่วนเรื่องคุณสมบัติ จะต้องมีความรู้ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับกิจการของธปท.และต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือขัดแย้งทางผลประโยชน์กับธปท.
    .
    ทั้งนี้ มีรายงานข่าวว่าคณะกรรมการสรรหาฯ ได้มีการให้เจ้าหน้าที่และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสรรหาฯไปตรวจสอบหาข้อมูลคุณสมบัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้งสามคน คือนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกฯและอดีตรมว.คลัง ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกุลิศ สมบัติศิริ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน อดีตอธิบดีกรมศุลกากร -อดีตผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) อดีตผู้ตรวจกระทรวงการคลัง และนายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยผลการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามต่างๆ เบื้องต้นพบว่าทั้งสามคนยังไม่มีกรณีต้องห้ามตามกฎหมาย แม้ว่าในกรณีของทั้งนายกุลิศ และ นายกิตติรัตน์ จะต่างเคยเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในอดีตมาก่อนก็ตาม เนื่องจากเป็นเพียงที่ปรึกษาทั่วไปไม่มีเงินเดือน และไม่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินเหมือนกับข้าราชการเมืองตามกฎหมาย อีกทั้งนายกิตติรัตน์ได้พ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยแล้ว
    .
    อย่างไรก็ตาม ในกรณีของนายกิตติรัตน์นั้นมีประเด็นที่คณะกรรมการสรรหาฯต้องพิจารณาเป็นพิเศษ คือ ก่อนหน้านี้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.มีมติให้อุทธรณ์คดีขายข้าวอินโดนีเซียหรือคดี BULOG อินโดนีเซีย ที่นายกิตติรัตน์เคยตกเป็นจำเลยต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของอัยการสูงสุดในฐานะโจทก์ฟ้องคดีว่าจะเห็นด้วยกับป.ป.ช.หรือไม่ จึงต้องรอดูว่าคณะกรรมการสรรหาฯจะมีมุมมองต่อเรื่องนี้อย่างไร
    .
    ข่าวแจ้งว่า นายสถิตย์ ได้สั่งเลือกประชุมกรรมการสรรหาจากบ่าย2โมงวันนี้ ไปก่อน
    ..............
    Sondhi X
    ข่าว 4 พ.ย. เลื่อนเคาะเลือกประธาน ธปท. 'กิตติรัตน์' ตัวเต็งแต่มีชนัก เหตุคดีขายข้าวติดตัว . วันที่ 4 พฤศจิกายน เป็นวันที่บรรดาคนในแวดวงการเงินการธนาคารต่างจับตาไปที่การประชุมคณะกรรมการสรรหาประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนใหม่ เนื่องจากมีชื่อของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นตัวเต็งคนสำคัญที่มีโอกาสคว้าเก้าอี้ตัวนี้ไปครอง . นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหาฯ เปิดเผยว่า คณะกรรมการสรรหาฯ จะมีการประชุมในวันจันทร์ที่ 4 พ.ย.นี้เวลา 14.00 น.เพื่อประชุมลงมติว่าจะคัดเลือกบุคคลใดเป็นประธานบอร์ดธปท.คนใหม่ ซึ่งยืนยันว่ากรรมการสรรหาฯแต่ละคนมีความคิดเป็นอิสระของตัวเอง และต้องเป็นไปตามหลักการ คือ บุคคลที่จะได้รับเลือกมีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่ และมีลักษณะต้องห้ามหรือไม่ มีส่วนได้เสียอย่างมีนัยยะสำคัญกับธปท.หรือไม่ โดยลักษณะต้องห้ามนั้นมีหลายกรณี เช่น ต้องไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือมีตำแหน่งในคณะทำงานของพรรคการเมือง ส่วนเรื่องคุณสมบัติ จะต้องมีความรู้ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับกิจการของธปท.และต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือขัดแย้งทางผลประโยชน์กับธปท. . ทั้งนี้ มีรายงานข่าวว่าคณะกรรมการสรรหาฯ ได้มีการให้เจ้าหน้าที่และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสรรหาฯไปตรวจสอบหาข้อมูลคุณสมบัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้งสามคน คือนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกฯและอดีตรมว.คลัง ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกุลิศ สมบัติศิริ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน อดีตอธิบดีกรมศุลกากร -อดีตผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) อดีตผู้ตรวจกระทรวงการคลัง และนายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยผลการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามต่างๆ เบื้องต้นพบว่าทั้งสามคนยังไม่มีกรณีต้องห้ามตามกฎหมาย แม้ว่าในกรณีของทั้งนายกุลิศ และ นายกิตติรัตน์ จะต่างเคยเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในอดีตมาก่อนก็ตาม เนื่องจากเป็นเพียงที่ปรึกษาทั่วไปไม่มีเงินเดือน และไม่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินเหมือนกับข้าราชการเมืองตามกฎหมาย อีกทั้งนายกิตติรัตน์ได้พ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยแล้ว . อย่างไรก็ตาม ในกรณีของนายกิตติรัตน์นั้นมีประเด็นที่คณะกรรมการสรรหาฯต้องพิจารณาเป็นพิเศษ คือ ก่อนหน้านี้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.มีมติให้อุทธรณ์คดีขายข้าวอินโดนีเซียหรือคดี BULOG อินโดนีเซีย ที่นายกิตติรัตน์เคยตกเป็นจำเลยต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของอัยการสูงสุดในฐานะโจทก์ฟ้องคดีว่าจะเห็นด้วยกับป.ป.ช.หรือไม่ จึงต้องรอดูว่าคณะกรรมการสรรหาฯจะมีมุมมองต่อเรื่องนี้อย่างไร . ข่าวแจ้งว่า นายสถิตย์ ได้สั่งเลือกประชุมกรรมการสรรหาจากบ่าย2โมงวันนี้ ไปก่อน .............. Sondhi X
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 980 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ อดีตผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ธาริษา ค้านแต้งตั้ง อดีตนักการเมืองฉายา "โกหกสีขาว" หรือ White Lies ที่จะมานั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติเพื่อบดขยี้ผู้ว่าฯเศรษฐพุฒ เพราะในอดีต คนๆ นี้ รับใช้รัฐบาลนายกฯปู น้องสาวทักษิณ ด้วยการโกหกคำโตถึง 2 ครั้ง โกหกสีขาวเรื่องแรกคือ เป้าการส่งออกปี 2555 แต่โกหกสีขาวเรื่องสอง คือกรอบวเงินกู้ทะลุเพดานมาใช้ในโครงการจำนำข้าว การตั้งคนแบบนี้มาคุมแบงก์ชาติ เพื่อเขี่ยทิ้งผู้ว่าฯ ก็เหมือนการทำร้ายประเทศในทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ สุดท้ายคนที่เดือดร้อนสุดก็คือประชาชน
    #7ดอกจิก
    ♣ อดีตผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ธาริษา ค้านแต้งตั้ง อดีตนักการเมืองฉายา "โกหกสีขาว" หรือ White Lies ที่จะมานั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติเพื่อบดขยี้ผู้ว่าฯเศรษฐพุฒ เพราะในอดีต คนๆ นี้ รับใช้รัฐบาลนายกฯปู น้องสาวทักษิณ ด้วยการโกหกคำโตถึง 2 ครั้ง โกหกสีขาวเรื่องแรกคือ เป้าการส่งออกปี 2555 แต่โกหกสีขาวเรื่องสอง คือกรอบวเงินกู้ทะลุเพดานมาใช้ในโครงการจำนำข้าว การตั้งคนแบบนี้มาคุมแบงก์ชาติ เพื่อเขี่ยทิ้งผู้ว่าฯ ก็เหมือนการทำร้ายประเทศในทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ สุดท้ายคนที่เดือดร้อนสุดก็คือประชาชน #7ดอกจิก
    Like
    Haha
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 338 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไม่ต้องฟูมฟายไปนะคะ ติ่งขา………พี่ปูคมทั้งในฝักและนอกฝักเชียว……!!!

    ตอนเจ็ด………ตำแหน่งที่ได้รับ……ไม่ได้มาจากโชคหรือการจับฉลาก……แต่ด้วยความสามารถและความอุตสาหะล้วนๆ

    ที่ปูตินลังเลนั้น……เขาเพียงแต่ห่วงว่าครอบครัวจะปรับชีวิตและความเป็นอยู่ได้มากน้อยแค่ไหน เพราะสังคมที่มอสโคว์กับกรุงเซนต์ต่างกันมากมาย
    แต่เมื่อได้คุยกับลุดมิลา เธอและลูกๆไม่มีปัญหาอะไร ไปไหนก็ได้เพราะอำนาจในการตัดสินก็อยู่ที่ช้างเท้าหน้าคือปูตินอยู่แล้ว และตัวเธอเองก็จะได้มีอิสระกับสายตาของแม่สามีไปเสียบ้าง

    สาเหตุก็เพราะรัฐบาลของเยลซินต้องการ”น้ำใหม่”มาแทนที่น้ำเสียที่รวมกันกันเป็นกระจุกอยู่ในเครมลิน เพราะความผิดพลาดในเรื่องการทำสงครามปราบปรามที่ Chechen ในปี 1994 ที่ทุกคนคิดว่า
    วันสองวันก็คงจบ……แต่ที่ไหนได้ มาลากถ่วงยาวมาจนตอนนี้
    รวมทั้งสุขภาพที่ลดถอยของเยลซินเอง ที่เป็นโรคหัวใจกำเริบในตอนต้นปี 1995 ที่ทำให้เขาไม่ได้ปรากฏตัวออกสู่สายตาของประชาชน

    นี่คือเหตุผลที่ปูตินได้เข้ามาเป็นน้ำใหม่ในมอสโคว์ ในเดือนกันยายน 1996 และได้รับบ้านประจำตำแหน่งที่ค่อนข้างหรูหราอยู่ใกล้ๆกับเครมลิน
    เขาได้นำเพื่อนคู่ใจมาช่วยงานด้วยสองคน จากเซนต์ ปีเตอร์เบอร์ก คือ Sergei Chemezov**และ Igor Sechin***

    เจ้านายของเขา ปาเวล ได้มอบหมายงานให้เป็นฝ่ายดูแลอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด จะต้องมีการคัดกรอง บริหารที่ดิน ตึกอาคารกันใหม่ เพราะในยุคของโซเวียต ทุกอย่างเป็นของรัฐบาล แต่ตอนนี้ก่อนที่จะมีการจำหน่าย หรือ จัดสรร ออกโฉนดจะต้องทำการประเมิน
    ซึ่งมันหมายถึงงานที่มากมายมหาศาล เพราะพื้นที่ที่จะต้องดูแลทั้งหมด คือ 78 เขตจังหวัด และ ต่างประเทศ(ในความควบคุมของโซเวียต) อื่นๆ เช่น อาคารที่ตั้งสถานทูต โรงเรียน
    รวมทั้งที่ยูเครน

    เรียกได้ว่า งานนี้ ทำให้ปูตินได้รู้หมดถึงทรัพย์สินของรัสเซียว่าอยู่ที่ไหน และ มีค่าเท่าใด
    และยิ่งค้นไป……เขาได้เห็นความไม่ชอบมาพากลหลายๆอย่าง เช่นพื้นที่สำคัญหลายแห่งถูกปล่อยให้เช่า แม้แต่ทรัพย์สินที่มีในสวิสเซอร์แลนด์ก็เช่นกัน ที่ขายไปในราคาที่เหมือนจะให้ฟรี จากชื่อบริษัท หรือ องค์กรประหลาดๆ
    ยิ่งค้นไปก็เจอว่าเป็นการ”ลักไก่” จากในหมู่ข้าราชการด้วยกัน

    เขาได้ทำรายงานให้กับทางต้นสังกัดให้ทราบเป็นเอกสารอย่างครบถ้วน เพื่อที่จะจัดการกันต่อไป เพราะเขาถือว่า
    หน้าที่ของเขา คือ การรวบรวมเอกสารและข้อมูล
    ส่วนการพิจารณาโทษ……เป็นหน้าที่ของหน่วยที่เกี่ยวข้อง

    แต่การดำเนินการล่าช้าจนเกินเหตุเพราะในช่วงนั้น มีสงครามที่เชเชน ที่มีแม่ทัพผู้อำนวยการ คือ นายพล Alexandr Lebed จอมยะโสคนนั้น
    ที่ได้สร้างผลงานให้อับอายไปทั่ว คือ แทนที่จะสยบเชเชน ดินแดนชายแดนขนาดเล็กแค่นั้น แต่ทำไม่สำเร็จ (สิงหาคม 1996)
    แถมจะยอมเจรจาสงบศึกทำสนธิสัญญาที่เสียเปรียบเข้าไปอีก
    งานนี้ทำให้เกิดกระแสที่เสียหายกับรัฐบาลของเยลซิน
    เหล่าคณะมนตรีเริ่มลุกขึ้นมาทะเลาะกันลั่นสภา
    หลายคนเรียก นายพล Alexandr Lebed ว่าเป็น “Little Napoleon” (คือ ปากดี ทีเหลว) หรือ “ไอ้กองทัพไม่มีน้ำยา”
    กระแสโกรธแค้นของประชาชนเริ่มทวีขึ้น
    จนไม่กี่วันต่อมา เยลซินต้องทำการปลดท่านนายพลออกจากตำแหน่ง

    การปรับเปลี่ยนตำแน่งได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง ปูตินได้ขึ้นมาเป็นผู้อำนวยการแห่งองค์กรรวม ( Chief of Staff) ที่เทียบเท่ากับ
    อธิบดี ที่ไม่กี่วันต่อมาหลังจากที่ได้รับตำแหน่ง สภาได้ออกกฏหมายใหม่ เพิ่มอำนาจให้กับเขาอีก ในการขยายวงสอบสวนการทุจริต ยักยอก รวมไปถึงการคอร์รัปชั่นที่ทำให้ประเทศสูญเสียรายได้ ไม่ว่าจะเป็น ข้าราชการ, พนักงานลูกจ้าง และการสัมปทานต่างๆ
    งานนี้ ปูตินได้เจอะเจองานช้างเข้าหลายงาน เช่น อดีตนายพล Paval Grachev คนสนิทของเยลซิน ที่ควบคุมกองทัพในคอร์เคซัส ตั้งแต่ปี 1993-1996 ได้นำรถถังและอาวุธต่างๆที่มีมูลค่ากว่า หนึ่งพันล้านดอลล่าร์ ไปให้กับกองทัพของอาร์เมเนี่ยน ในสงครามกับ อาร์เซอร์ไบจาน
    ซึ่งเป็นการกระทำที่ถือว่าขายชาติ เพราะ รัสเซียอยู่ฝ่ายสนับสนุนอาเซอร์ไบจาน

    แต่…ทุกอย่างได้ผ่านไปก่อนที่ปูตินจะก้าวเข้ามา เขาจะไปทำอะไรได้ นอกจากจะต้องเลี้ยงนายพลคนนี้ต่อไป เนื่องจากว่าเป็นนายพลระดับวงในของเยลซที่เปรียบเหมือนตัวอันตราย ถ้าบีบคั้น……
    ก็อาจจะตกไปอยู่ในมือของชาติอื่นที่ต้องการล้วงความลับ
    ดังนั้น จึงต้องใช้วิธีเลี้ยงเอาไว้ แล้วใส่ปลอกคอล่ามโซ่ให้สั้น
    โดยที่เขาใช้วิธีให้สัมภาษณ์กับนักข่าว
    ในเวลาที่ถูกถามถึงเรื่อง
    “นายพล เมอร์ซิเดส” เพราะนายพลคนนี้ชอบใช้รถหรูเกินฐานะ
    ว่า เรื่องการตรวจสอบคอร์รัปชั่นค้าอาวุธกับฝ่ายตรงข้ามนั้นไปถึงไหนแล้ว
    ปูตินตอบเรียบๆว่า “เราได้เอกสารพร้อมทุกอย่างแล้ว ข้อมูลครบ จะส่งขึ้นไปให้ฝ่ายกฎหมายต่อไป”
    นักข่าวถามต่อว่า
    “นายพลเมอร์ซิเดสได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่..??”
    “ก็ไม่มีนะ ไม่มีชื่อของ Gen. Pavel Grachev มาเกี่ยวข้องด้วย “

    นี่คือการทำงานของปูตินที่ต้องรักษาภาพลักษณ์ให้กับเยลซิน
    แต่มืออีกข้างหนึ่งเขาได้จัดการไปตามกฏหมายเอาผิด ใช้เวลาถึงสิบปี ที่ได้เอานายพลและคณะออกจากตำแหน่งได้สำเร็จ (2007)
    หรืองานคอร์รัปชั่นในหน่วยสร้างทางที่เป็นเงินมหาศาลที่มีข้าราชการเกี่ยวข้องทำผิดถึง 260 คน (ในเมษายน ปี 1997)
    หรือใน Stavropol เชือดไปอีก 450 คน (ในกันยายน 1997)

    เรื่องนายพลที่ต้องล่าช้านานขนาดนั้น เพราะปูตินไม่มีอำนาจในบทลงโทษที่เป็นงานส่วนตุลาการ
    เขาทำได้แค่ชี้มูลความผิดพร้อมหลักฐานที่หนาแน่น

    เพราะการทำงานไล่บี้การยักยอกนั้น ทำให้ปูตินต้องเข้าติดต่อกับงานเดิมอีก คือ KGB ที่ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น FSB (แต่อาคารที่ทำงานยังอยู่ที่เดิม) อยู่บ่อยๆ เท่ากับว่าเขาได้กลับไปเยือนบรรยากาศเก่าๆอีกครั้ง

    และจากงานที่ต้องมาดูพื้นที่และทรัพยากรของชาติ ที่เขาได้ทำงานอย่างไหลลื่นนั้น ก็ไม่ใช่ว่าเขาเหนือมนุษย์……
    หากแต่มันเป็นเรื่องบังเอิญอย่างที่สุด ที่เขาเกิดความสนใจในเรื่องเศรษฐศาสตร์ เพราะจากงานที่ทำอยู่ในสภาเทศบาลที่กรุงเซนต์ ปีเตอร์สเบอร์ก ในช่วงที่อนาโตลีได้แพ้เลือกตั้ง
    ปูตินเริ่มมีเวลาว่าง เพราะมีหน้าที่เพียงแต่อำนวยความสะดวกให้กับทีมใหม่
    เขาใช้เวลานั้น ไปลงเรียนวิชาบริหารเหมืองแร่และทรัพยากรน้ำมัน ที่ Georgi Plekhanov Mining Institute
    แทนที่จะไปเรียนต่อทางด้านกฎหมาย
    และไม่ได้ไปเรียนคนเดียว เขาเอาเพื่อนรักทั้งสอง Viktor Zubkov กับ Igor Sechin ไปนั่งเรียนกันด้วย

    ปลายปี 1996 (เข้าเรียนกลางปี 1995) ที่ปูตินสามารถส่งแฟ้ม Thesis ที่หนากว่า 250 หน้า ในเรื่องทรัพยากรแร่ธาตุที่เปรียบเสมือนทองคำของประเทศ
    ได้สำเร็จสวยงาม เพราะเขาได้ติวเตอร์คนสำคัญมาช่วย
    นั่นคือ Vladimir Litvenenko ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญเหมืองแร่ ที่ไปค้นคว้าหาตำราจากยุโรปมาแปลให้เป็นภาษารัสเซีย
    เรื่องนี้ ปูตินและเพื่อนๆที่พากันไปเรียนก็ไม่ได้ไปโอ้อวดที่ไหน ตอนนั้นที่ไปลงเรียน ก็เพราะมีเวลาว่าง
    เขาเพียงแต่คิดว่า……ในสายงานทางกฎหมายของเขาควรจะต้องรู้เรื่องทรัพยาการที่เป็นธุรกิจหลักของประเทศให้ดีขึ้น

    และเขาก็ได้ใช้มันจริงๆที่มอสโคว์ เพราะเขาได้รู้ทันเจ้ากรมพลังงานที่มีการเล่นตลกกับใบสัมปทาน……แต่ก็พูดมากไปไม่ได้ เพราะนั่นคือกลุ่มคนในวงในของเยลซิน

    แต่ทีนี้ความไม่เป็นธรรมได้เกิดขึ้นกับคดีของอนาโตลี เจ้านายเก่า
    เพราะหลังจากที่อะนาโตลี ถูกกลุ่มวงในมอสโคว์”เท”จนไม่ได้รับการสนับสนุนเลือกตั้งนั้น เขาได้” โวย” กับเยลซิน
    ที่ได้รับการตอบสนอง คือ เยลซินเอาพวกนั้นออกไปเป็นแผงก็จริง ………แต่คนกลุ่มนั้นก็ไม่ได้ไปไหน หรือ รับโทษอะไร
    ยังวนเวียนเป็นที่ปรึกษาอยู่รอบตัวเยลซินเหมือนเดิม
    แถมอนาโตลี ได้มีศัตรูเพิ่มอย่างออกหน้าออกตาอีกต่างหาก
    การกลั่นแกล้งจึงได้เกิดขึ้น แบบชนิดให้ได้อาย
    เช่นอนาโตลีมีการประชุมกับคณะมนตรีจาก UNESCO
    จู่ๆก็มีตำรวจบุกไปกลางงาน ขอควบคุมตัวไปสอบสวนในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง เขากลายเป็นผู้ต้องหาที่มีหมายจับ
    จนเขาเครียดถึงกับล้มป่วย เข้าโรงพยาบาล
    ครอบครัวต้องการให้แพทย์จากมอสโคว์มารักษา

    ปูตินบินด่วนไปเยี่ยมทันที และจัดการส่งเขาเข้าโรงพยาบาลทหาร จัดการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาพร้อม
    และที่เขาทำมากกว่านั้น มากเกินอำนาจเขาไปอีก คือ จัดเช่าเครื่องบินส่วนตัวจากฟินแลนด์นำตัวเขาออกนอกประเทศไปยังกรุงปารีส
    โดยให้เหล่า KGB นำขบวนรถฉุกเฉินไปยังสนามบิน
    หมายจับอะไรก็ไม่สำคัญทั้งนั้น ทุกอย่างผ่านตลอด พาสปอร์ต
    ประทับตรา ผ่านศุลกากร

    การกล้าทำแบบนี้ ถือว่าเป็นการฉีกกฎหมายทิ้ง และเสี่ยงต่อการเสียอนาคตของปูตินที่กำลังจะไปได้สวย
    แต่……สำหรับอนาโตลีแล้ว ปูตินพร้อมแลกเพื่อที่จะช่วยเหลือตอบแทนผู้ที่เคยมีพระคุณ
    เพราะเขาได้เห็นมาตลอดว่า เรื่องราวนั้นเป็นอย่างไร ในประเทศที่กฎหมายไม่สามารถบังคับใช้อะไรได้ ความผิดของอนาโตลีนั้นเทียบเท่ากับเมล็ดทรายของคนหลายๆคนในเครมลิน

    คนที่ชื่นชมกับความกตัญญูและการกล้าตัดสินใจของปูติน ในครั้งนี้ คือ ท่านประธานธิบดี Boris Yentsin เพราะท่านว่า
    ถ้าเกิดขึ้นกับเรา…จะมีใครที่ไหนที่จะกล้ามาช่วยเราขนาดนี้หรือเปล่ายังไม่รู้เลย……?!!!

    ปูตินเริ่มเป็นที่จับตามองจากคณะท่านผู้นำ ในวันที่ 21 มีนาคม 1998 เยลซินได้เรียกให้นายกรัฐมนตรี Viktor Chernomydrin
    เข้ามาพบที่บ้านพักส่วนตัว เพื่อที่จะบอกว่า วิคเตอร์ทำหน้าที่นี้มานานถึงห้าปีแล้ว แต่ไม่มีอะไรดีขึ้น ทุกอย่างยังกวาดเข้าไปซุกอยู่ใต้พรม……เขาต้องการคนที่จะมา”ยกพรมขึ้น” แล้ว “กวาดขยะออกให้หมด” เพื่อบ้านจะได้น่าอยู่
    ฉะนั้น……ที่ให้มาพบในครั้งนี้ คือการไล่ออก……

    เยลซินได้เสนอชื่อ Sergei Kiriyenko อดีตนายธนาคารที่เป็นนักการเมืองหนุ่มวัย 35 ปี ต่อสภา……สภาไม่ผ่านทั้งสองครั้ง
    แต่ต่อมา……ด้วยแรงผลักดันของเยลซิน……ก็ผ่านฉลุย
    ส่วนอดีตนายกฯที่ถูกไล่ออกไป ก็ฮึ่มๆ ประกาศว่าเขาจะลงเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในสมัยหน้า จะได้รู้หมู่รู้จ่ากันไป.…

    นายทุนกระเป๋าหนัก Boris Berezovsky ที่สนับสนุนเยลซิน
    เพราะมีผลประโยชน์มหาศาลนั้น เริ่มเข้ามามีบทบาทช่วยเลือก
    เพราะกลุ่มคนวงในเก่าๆเท่าที่เห็น ต่างก็จะเข้ามาขวางทางการค้าของเขาทั้งสิ้น เพราะทุกคนต่างมีเส้นสายในกิจการสารพัดอยู่แล้ว

    ไม่ทันที่ใครจะคิดอ่านทำอะไร กระดานหุ้นรัสเซียตกฮวบ
    หุ้นบริษัทพลังงาน Rosneft ที่รัฐบาลถือหุ้นใหญ่ ตกดิ่ง
    บริษัทลงทุนจากต่างชาติได้พากันถอนหุ้น เงินรูเบิ้ลสูญเสียมูลค่าที่รัฐบาลก็เอาไม่อยู่
    การแทรกแซงจากต่างชาติเริ่มเข้ามา ทั้งจากภาคการเมือง
    และเศรษฐกิจ
    เยลซินเริ่มเห็นแล้วว่า สาเหตุที่เกิดเช่นนั้น เพราะฝีมือของกลุ่มพ่อมดทางการเงิน จากคนรอบตัว (Oligarchs) ของเขาเองที่ส่วนใหญ่แล้ว คือยิว ที่มาปั่นกระแสขาขึ้นให้ แล้วก็ถีบหัว ตบคว่ำ……

    เยลซินเริ่มโดดเดี่ยว เขาต้องหาคนที่จะคอยพิทักษ์ปกป้อง และจะเข้ามาช่วยขจัดเหลือบไรพวกนี้ให้ออกไปให้พ้นจากชาติบ้านเมืองได้ ก็มีอยู่องค์กรเดียว คือ FSB (KGB) ที่เขาไม่ได้สนใจ ใส่ใจดูแลมานานแสนนาน
    ซึ่งเข้าทาง Boris Berezovsky (ยิวหนึ่งใน Oligarchs) ได้เสนอชื่อ ปูติน เพราะเขาเล่าว่า ครั้งหนึ่งเขาเคยคิดที่จะเปิดบริษัทขายรถยนตร์ในเลนินกราด ได้ไปติดต่อกับปูตินเพื่อขอใบอนุญาตการค้า และได้ยื่นซองใต้โต๊ะให้
    แต่ถูกปฏิเสธ……ไม่รับ……!!!
    เยลซินเห็นด้วย (จากเรื่องของอนาโตลี) เขาบอกว่า……”ตอนแรกเราเห็นว่าปูตินเขาเป็นคนเฉยๆ เพราะเห็นเขาเงียบๆ ไม่ค่อยพูดอะไร แต่เพิ่งรู้เหมือนกัน ว่า เป็นคนที่คมในฝัก”

    นายกรัฐมนตรีคนใหม่หมาดๆ Sergei Kiriyenko ได้รับคำสั่งให้ที่มอสโคว์ เพื่อแจ้งข่าวกับปูติน
    ปูตินจึงไปรอรับท่านนายกฯ ที่สนามบิน ที่เขาคิดว่า เรื่องด่วนแบบนี้ ไม่น่าที่จะเป็นข่าวมงคล
    ทันทีที่ได้พบหน้ากัน ท่านนายกฯ ได้ปรี่เข้ามาจับมือขอแสดงความยินดี พร้อมกับบอกว่า “ดีใจด้วยนะ”
    “ดีใจอะไรหรือครับ..?”
    “ท่านประธานาธิบดีได้ทำการแต่งตั้งและลงนามให้นายเป็นผู้อำนวยการ FSB (KGB) น่ะซิ”

    ปูตินงงนิดหน่อย แต่เขาพอรู้มาบ้างแล้วว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงงานของเขาให้กลับไปอยู่ในสายงานเดิม แต่ไม่คิดว่า จะก้าวขึ้นไปเป็นผู้อำนวยการเลย…
    สิ่งแรกที่เขาทำ นั้นคือ ติดต่อไปยังลุดมิลาที่พาลูกๆไปพักผ่อน
    ที่ชายฝั่งทะเลบอลติด
    ด้วยข้อความที่ส่งแบบสายลับ คือ……
    “ฟังให้ดีนะ……ผมกำลังจะกลับไปในที่ที่ผมจากมา..”
    ลุดมิลาก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ……
    เขาจึงย้ำประโยคเดิมถึงสามครั้ง…ก่อนที่จะวางสายไป

    ลุดมิลาทำท่าเหนื่อยใจ……เธอบอกกับตัวเองว่า
    “ชั้นจะไปรู้เรื่องกับเธอไหม……ก็เปลี่ยนงานมานับสิบครั้งแล้วเนี่ยยย……?!!!

    ~~~ขยายความ

    Sergei Chemezov** เพื่อนรักของปูติน จากสถาบัน KGB
    ต่อมาคือ CEO ของบริษัท Rostec ที่สร้างอาวุธ และยุทโธปกรณ์ให้กับกองทัพของรัสเซีย

    Igor Sechin*** อีกหนึ่งศิษย์ร่วมสถาบัน KGB ปัจจุบัน คือ CEO ของ บริษัทน้ำมันและพลังงาน Rosneft

    ทั้งสองคนได้ถูกทางตะวันตกยึดเรือหรูมูลค่าพันล้านไปในทะเลเมติเตอเรเนียน พร้อมทั้งเป็นบุคคลที่โดนแซงชั่นในธนาคาร
    เมื่อถูกถามถึงความเห็น เขาสองคนหัวเราะ บอกว่า จิ๊บๆ
    แต่รอเขาจะฟ้องกลับเรียกค่าเสียหาย เพราะนั่นคือทรัพย์สินส่วนตัว และไม่ได้ล่วงล้ำในน่านน้ำเพราะมีเอกสารสิทธิ์ และมีการจ่ายค่าการท่าและภาษีอย่างถูกต้อง

    Viktor Zubkov**** เคยเป็นรองนายกรัฐมนตรีเมื่อปูตินเป็นนายกฯ ปัจจุบันนี้เป็นประธานบอร์ดของ บริษัท Gazprom
    คนนี้ก็โดนยึดเรือหรูไป ก็จิ๊บๆอีกเหมือนกัน

    ปูตินมีระบบดูแลคนใกล้ตัวที่ดียิ่ง เขาเลือกคนที่มีความสามารถเข้าไปนั่งในตำแหน่งบริหาร บอกว่า ไม่ต้องคอร์รัปชั่น
    เพราะแค่โบนัสหนึ่งเปอร์เซ็นต์ต่อปี ชาตินี้ก็ใช้ไม่หมด………

    แหม……………ก้อ…แต่ละบริษัทที่เอ่ยมากำไรปีละเป็นแสนล้าน ต่อให้ชาติหน้าชาติโน้นก็ใช้ไม่หมด………!!

    Wiwanda W. Vichit
    ไม่ต้องฟูมฟายไปนะคะ ติ่งขา………พี่ปูคมทั้งในฝักและนอกฝักเชียว……!!! ตอนเจ็ด………ตำแหน่งที่ได้รับ……ไม่ได้มาจากโชคหรือการจับฉลาก……แต่ด้วยความสามารถและความอุตสาหะล้วนๆ ที่ปูตินลังเลนั้น……เขาเพียงแต่ห่วงว่าครอบครัวจะปรับชีวิตและความเป็นอยู่ได้มากน้อยแค่ไหน เพราะสังคมที่มอสโคว์กับกรุงเซนต์ต่างกันมากมาย แต่เมื่อได้คุยกับลุดมิลา เธอและลูกๆไม่มีปัญหาอะไร ไปไหนก็ได้เพราะอำนาจในการตัดสินก็อยู่ที่ช้างเท้าหน้าคือปูตินอยู่แล้ว และตัวเธอเองก็จะได้มีอิสระกับสายตาของแม่สามีไปเสียบ้าง สาเหตุก็เพราะรัฐบาลของเยลซินต้องการ”น้ำใหม่”มาแทนที่น้ำเสียที่รวมกันกันเป็นกระจุกอยู่ในเครมลิน เพราะความผิดพลาดในเรื่องการทำสงครามปราบปรามที่ Chechen ในปี 1994 ที่ทุกคนคิดว่า วันสองวันก็คงจบ……แต่ที่ไหนได้ มาลากถ่วงยาวมาจนตอนนี้ รวมทั้งสุขภาพที่ลดถอยของเยลซินเอง ที่เป็นโรคหัวใจกำเริบในตอนต้นปี 1995 ที่ทำให้เขาไม่ได้ปรากฏตัวออกสู่สายตาของประชาชน นี่คือเหตุผลที่ปูตินได้เข้ามาเป็นน้ำใหม่ในมอสโคว์ ในเดือนกันยายน 1996 และได้รับบ้านประจำตำแหน่งที่ค่อนข้างหรูหราอยู่ใกล้ๆกับเครมลิน เขาได้นำเพื่อนคู่ใจมาช่วยงานด้วยสองคน จากเซนต์ ปีเตอร์เบอร์ก คือ Sergei Chemezov**และ Igor Sechin*** เจ้านายของเขา ปาเวล ได้มอบหมายงานให้เป็นฝ่ายดูแลอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด จะต้องมีการคัดกรอง บริหารที่ดิน ตึกอาคารกันใหม่ เพราะในยุคของโซเวียต ทุกอย่างเป็นของรัฐบาล แต่ตอนนี้ก่อนที่จะมีการจำหน่าย หรือ จัดสรร ออกโฉนดจะต้องทำการประเมิน ซึ่งมันหมายถึงงานที่มากมายมหาศาล เพราะพื้นที่ที่จะต้องดูแลทั้งหมด คือ 78 เขตจังหวัด และ ต่างประเทศ(ในความควบคุมของโซเวียต) อื่นๆ เช่น อาคารที่ตั้งสถานทูต โรงเรียน รวมทั้งที่ยูเครน เรียกได้ว่า งานนี้ ทำให้ปูตินได้รู้หมดถึงทรัพย์สินของรัสเซียว่าอยู่ที่ไหน และ มีค่าเท่าใด และยิ่งค้นไป……เขาได้เห็นความไม่ชอบมาพากลหลายๆอย่าง เช่นพื้นที่สำคัญหลายแห่งถูกปล่อยให้เช่า แม้แต่ทรัพย์สินที่มีในสวิสเซอร์แลนด์ก็เช่นกัน ที่ขายไปในราคาที่เหมือนจะให้ฟรี จากชื่อบริษัท หรือ องค์กรประหลาดๆ ยิ่งค้นไปก็เจอว่าเป็นการ”ลักไก่” จากในหมู่ข้าราชการด้วยกัน เขาได้ทำรายงานให้กับทางต้นสังกัดให้ทราบเป็นเอกสารอย่างครบถ้วน เพื่อที่จะจัดการกันต่อไป เพราะเขาถือว่า หน้าที่ของเขา คือ การรวบรวมเอกสารและข้อมูล ส่วนการพิจารณาโทษ……เป็นหน้าที่ของหน่วยที่เกี่ยวข้อง แต่การดำเนินการล่าช้าจนเกินเหตุเพราะในช่วงนั้น มีสงครามที่เชเชน ที่มีแม่ทัพผู้อำนวยการ คือ นายพล Alexandr Lebed จอมยะโสคนนั้น ที่ได้สร้างผลงานให้อับอายไปทั่ว คือ แทนที่จะสยบเชเชน ดินแดนชายแดนขนาดเล็กแค่นั้น แต่ทำไม่สำเร็จ (สิงหาคม 1996) แถมจะยอมเจรจาสงบศึกทำสนธิสัญญาที่เสียเปรียบเข้าไปอีก งานนี้ทำให้เกิดกระแสที่เสียหายกับรัฐบาลของเยลซิน เหล่าคณะมนตรีเริ่มลุกขึ้นมาทะเลาะกันลั่นสภา หลายคนเรียก นายพล Alexandr Lebed ว่าเป็น “Little Napoleon” (คือ ปากดี ทีเหลว) หรือ “ไอ้กองทัพไม่มีน้ำยา” กระแสโกรธแค้นของประชาชนเริ่มทวีขึ้น จนไม่กี่วันต่อมา เยลซินต้องทำการปลดท่านนายพลออกจากตำแหน่ง การปรับเปลี่ยนตำแน่งได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง ปูตินได้ขึ้นมาเป็นผู้อำนวยการแห่งองค์กรรวม ( Chief of Staff) ที่เทียบเท่ากับ อธิบดี ที่ไม่กี่วันต่อมาหลังจากที่ได้รับตำแหน่ง สภาได้ออกกฏหมายใหม่ เพิ่มอำนาจให้กับเขาอีก ในการขยายวงสอบสวนการทุจริต ยักยอก รวมไปถึงการคอร์รัปชั่นที่ทำให้ประเทศสูญเสียรายได้ ไม่ว่าจะเป็น ข้าราชการ, พนักงานลูกจ้าง และการสัมปทานต่างๆ งานนี้ ปูตินได้เจอะเจองานช้างเข้าหลายงาน เช่น อดีตนายพล Paval Grachev คนสนิทของเยลซิน ที่ควบคุมกองทัพในคอร์เคซัส ตั้งแต่ปี 1993-1996 ได้นำรถถังและอาวุธต่างๆที่มีมูลค่ากว่า หนึ่งพันล้านดอลล่าร์ ไปให้กับกองทัพของอาร์เมเนี่ยน ในสงครามกับ อาร์เซอร์ไบจาน ซึ่งเป็นการกระทำที่ถือว่าขายชาติ เพราะ รัสเซียอยู่ฝ่ายสนับสนุนอาเซอร์ไบจาน แต่…ทุกอย่างได้ผ่านไปก่อนที่ปูตินจะก้าวเข้ามา เขาจะไปทำอะไรได้ นอกจากจะต้องเลี้ยงนายพลคนนี้ต่อไป เนื่องจากว่าเป็นนายพลระดับวงในของเยลซที่เปรียบเหมือนตัวอันตราย ถ้าบีบคั้น…… ก็อาจจะตกไปอยู่ในมือของชาติอื่นที่ต้องการล้วงความลับ ดังนั้น จึงต้องใช้วิธีเลี้ยงเอาไว้ แล้วใส่ปลอกคอล่ามโซ่ให้สั้น โดยที่เขาใช้วิธีให้สัมภาษณ์กับนักข่าว ในเวลาที่ถูกถามถึงเรื่อง “นายพล เมอร์ซิเดส” เพราะนายพลคนนี้ชอบใช้รถหรูเกินฐานะ ว่า เรื่องการตรวจสอบคอร์รัปชั่นค้าอาวุธกับฝ่ายตรงข้ามนั้นไปถึงไหนแล้ว ปูตินตอบเรียบๆว่า “เราได้เอกสารพร้อมทุกอย่างแล้ว ข้อมูลครบ จะส่งขึ้นไปให้ฝ่ายกฎหมายต่อไป” นักข่าวถามต่อว่า “นายพลเมอร์ซิเดสได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่..??” “ก็ไม่มีนะ ไม่มีชื่อของ Gen. Pavel Grachev มาเกี่ยวข้องด้วย “ นี่คือการทำงานของปูตินที่ต้องรักษาภาพลักษณ์ให้กับเยลซิน แต่มืออีกข้างหนึ่งเขาได้จัดการไปตามกฏหมายเอาผิด ใช้เวลาถึงสิบปี ที่ได้เอานายพลและคณะออกจากตำแหน่งได้สำเร็จ (2007) หรืองานคอร์รัปชั่นในหน่วยสร้างทางที่เป็นเงินมหาศาลที่มีข้าราชการเกี่ยวข้องทำผิดถึง 260 คน (ในเมษายน ปี 1997) หรือใน Stavropol เชือดไปอีก 450 คน (ในกันยายน 1997) เรื่องนายพลที่ต้องล่าช้านานขนาดนั้น เพราะปูตินไม่มีอำนาจในบทลงโทษที่เป็นงานส่วนตุลาการ เขาทำได้แค่ชี้มูลความผิดพร้อมหลักฐานที่หนาแน่น เพราะการทำงานไล่บี้การยักยอกนั้น ทำให้ปูตินต้องเข้าติดต่อกับงานเดิมอีก คือ KGB ที่ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น FSB (แต่อาคารที่ทำงานยังอยู่ที่เดิม) อยู่บ่อยๆ เท่ากับว่าเขาได้กลับไปเยือนบรรยากาศเก่าๆอีกครั้ง และจากงานที่ต้องมาดูพื้นที่และทรัพยากรของชาติ ที่เขาได้ทำงานอย่างไหลลื่นนั้น ก็ไม่ใช่ว่าเขาเหนือมนุษย์…… หากแต่มันเป็นเรื่องบังเอิญอย่างที่สุด ที่เขาเกิดความสนใจในเรื่องเศรษฐศาสตร์ เพราะจากงานที่ทำอยู่ในสภาเทศบาลที่กรุงเซนต์ ปีเตอร์สเบอร์ก ในช่วงที่อนาโตลีได้แพ้เลือกตั้ง ปูตินเริ่มมีเวลาว่าง เพราะมีหน้าที่เพียงแต่อำนวยความสะดวกให้กับทีมใหม่ เขาใช้เวลานั้น ไปลงเรียนวิชาบริหารเหมืองแร่และทรัพยากรน้ำมัน ที่ Georgi Plekhanov Mining Institute แทนที่จะไปเรียนต่อทางด้านกฎหมาย และไม่ได้ไปเรียนคนเดียว เขาเอาเพื่อนรักทั้งสอง Viktor Zubkov กับ Igor Sechin ไปนั่งเรียนกันด้วย ปลายปี 1996 (เข้าเรียนกลางปี 1995) ที่ปูตินสามารถส่งแฟ้ม Thesis ที่หนากว่า 250 หน้า ในเรื่องทรัพยากรแร่ธาตุที่เปรียบเสมือนทองคำของประเทศ ได้สำเร็จสวยงาม เพราะเขาได้ติวเตอร์คนสำคัญมาช่วย นั่นคือ Vladimir Litvenenko ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญเหมืองแร่ ที่ไปค้นคว้าหาตำราจากยุโรปมาแปลให้เป็นภาษารัสเซีย เรื่องนี้ ปูตินและเพื่อนๆที่พากันไปเรียนก็ไม่ได้ไปโอ้อวดที่ไหน ตอนนั้นที่ไปลงเรียน ก็เพราะมีเวลาว่าง เขาเพียงแต่คิดว่า……ในสายงานทางกฎหมายของเขาควรจะต้องรู้เรื่องทรัพยาการที่เป็นธุรกิจหลักของประเทศให้ดีขึ้น และเขาก็ได้ใช้มันจริงๆที่มอสโคว์ เพราะเขาได้รู้ทันเจ้ากรมพลังงานที่มีการเล่นตลกกับใบสัมปทาน……แต่ก็พูดมากไปไม่ได้ เพราะนั่นคือกลุ่มคนในวงในของเยลซิน แต่ทีนี้ความไม่เป็นธรรมได้เกิดขึ้นกับคดีของอนาโตลี เจ้านายเก่า เพราะหลังจากที่อะนาโตลี ถูกกลุ่มวงในมอสโคว์”เท”จนไม่ได้รับการสนับสนุนเลือกตั้งนั้น เขาได้” โวย” กับเยลซิน ที่ได้รับการตอบสนอง คือ เยลซินเอาพวกนั้นออกไปเป็นแผงก็จริง ………แต่คนกลุ่มนั้นก็ไม่ได้ไปไหน หรือ รับโทษอะไร ยังวนเวียนเป็นที่ปรึกษาอยู่รอบตัวเยลซินเหมือนเดิม แถมอนาโตลี ได้มีศัตรูเพิ่มอย่างออกหน้าออกตาอีกต่างหาก การกลั่นแกล้งจึงได้เกิดขึ้น แบบชนิดให้ได้อาย เช่นอนาโตลีมีการประชุมกับคณะมนตรีจาก UNESCO จู่ๆก็มีตำรวจบุกไปกลางงาน ขอควบคุมตัวไปสอบสวนในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง เขากลายเป็นผู้ต้องหาที่มีหมายจับ จนเขาเครียดถึงกับล้มป่วย เข้าโรงพยาบาล ครอบครัวต้องการให้แพทย์จากมอสโคว์มารักษา ปูตินบินด่วนไปเยี่ยมทันที และจัดการส่งเขาเข้าโรงพยาบาลทหาร จัดการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาพร้อม และที่เขาทำมากกว่านั้น มากเกินอำนาจเขาไปอีก คือ จัดเช่าเครื่องบินส่วนตัวจากฟินแลนด์นำตัวเขาออกนอกประเทศไปยังกรุงปารีส โดยให้เหล่า KGB นำขบวนรถฉุกเฉินไปยังสนามบิน หมายจับอะไรก็ไม่สำคัญทั้งนั้น ทุกอย่างผ่านตลอด พาสปอร์ต ประทับตรา ผ่านศุลกากร การกล้าทำแบบนี้ ถือว่าเป็นการฉีกกฎหมายทิ้ง และเสี่ยงต่อการเสียอนาคตของปูตินที่กำลังจะไปได้สวย แต่……สำหรับอนาโตลีแล้ว ปูตินพร้อมแลกเพื่อที่จะช่วยเหลือตอบแทนผู้ที่เคยมีพระคุณ เพราะเขาได้เห็นมาตลอดว่า เรื่องราวนั้นเป็นอย่างไร ในประเทศที่กฎหมายไม่สามารถบังคับใช้อะไรได้ ความผิดของอนาโตลีนั้นเทียบเท่ากับเมล็ดทรายของคนหลายๆคนในเครมลิน คนที่ชื่นชมกับความกตัญญูและการกล้าตัดสินใจของปูติน ในครั้งนี้ คือ ท่านประธานธิบดี Boris Yentsin เพราะท่านว่า ถ้าเกิดขึ้นกับเรา…จะมีใครที่ไหนที่จะกล้ามาช่วยเราขนาดนี้หรือเปล่ายังไม่รู้เลย……?!!! ปูตินเริ่มเป็นที่จับตามองจากคณะท่านผู้นำ ในวันที่ 21 มีนาคม 1998 เยลซินได้เรียกให้นายกรัฐมนตรี Viktor Chernomydrin เข้ามาพบที่บ้านพักส่วนตัว เพื่อที่จะบอกว่า วิคเตอร์ทำหน้าที่นี้มานานถึงห้าปีแล้ว แต่ไม่มีอะไรดีขึ้น ทุกอย่างยังกวาดเข้าไปซุกอยู่ใต้พรม……เขาต้องการคนที่จะมา”ยกพรมขึ้น” แล้ว “กวาดขยะออกให้หมด” เพื่อบ้านจะได้น่าอยู่ ฉะนั้น……ที่ให้มาพบในครั้งนี้ คือการไล่ออก…… เยลซินได้เสนอชื่อ Sergei Kiriyenko อดีตนายธนาคารที่เป็นนักการเมืองหนุ่มวัย 35 ปี ต่อสภา……สภาไม่ผ่านทั้งสองครั้ง แต่ต่อมา……ด้วยแรงผลักดันของเยลซิน……ก็ผ่านฉลุย ส่วนอดีตนายกฯที่ถูกไล่ออกไป ก็ฮึ่มๆ ประกาศว่าเขาจะลงเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในสมัยหน้า จะได้รู้หมู่รู้จ่ากันไป.… นายทุนกระเป๋าหนัก Boris Berezovsky ที่สนับสนุนเยลซิน เพราะมีผลประโยชน์มหาศาลนั้น เริ่มเข้ามามีบทบาทช่วยเลือก เพราะกลุ่มคนวงในเก่าๆเท่าที่เห็น ต่างก็จะเข้ามาขวางทางการค้าของเขาทั้งสิ้น เพราะทุกคนต่างมีเส้นสายในกิจการสารพัดอยู่แล้ว ไม่ทันที่ใครจะคิดอ่านทำอะไร กระดานหุ้นรัสเซียตกฮวบ หุ้นบริษัทพลังงาน Rosneft ที่รัฐบาลถือหุ้นใหญ่ ตกดิ่ง บริษัทลงทุนจากต่างชาติได้พากันถอนหุ้น เงินรูเบิ้ลสูญเสียมูลค่าที่รัฐบาลก็เอาไม่อยู่ การแทรกแซงจากต่างชาติเริ่มเข้ามา ทั้งจากภาคการเมือง และเศรษฐกิจ เยลซินเริ่มเห็นแล้วว่า สาเหตุที่เกิดเช่นนั้น เพราะฝีมือของกลุ่มพ่อมดทางการเงิน จากคนรอบตัว (Oligarchs) ของเขาเองที่ส่วนใหญ่แล้ว คือยิว ที่มาปั่นกระแสขาขึ้นให้ แล้วก็ถีบหัว ตบคว่ำ…… เยลซินเริ่มโดดเดี่ยว เขาต้องหาคนที่จะคอยพิทักษ์ปกป้อง และจะเข้ามาช่วยขจัดเหลือบไรพวกนี้ให้ออกไปให้พ้นจากชาติบ้านเมืองได้ ก็มีอยู่องค์กรเดียว คือ FSB (KGB) ที่เขาไม่ได้สนใจ ใส่ใจดูแลมานานแสนนาน ซึ่งเข้าทาง Boris Berezovsky (ยิวหนึ่งใน Oligarchs) ได้เสนอชื่อ ปูติน เพราะเขาเล่าว่า ครั้งหนึ่งเขาเคยคิดที่จะเปิดบริษัทขายรถยนตร์ในเลนินกราด ได้ไปติดต่อกับปูตินเพื่อขอใบอนุญาตการค้า และได้ยื่นซองใต้โต๊ะให้ แต่ถูกปฏิเสธ……ไม่รับ……!!! เยลซินเห็นด้วย (จากเรื่องของอนาโตลี) เขาบอกว่า……”ตอนแรกเราเห็นว่าปูตินเขาเป็นคนเฉยๆ เพราะเห็นเขาเงียบๆ ไม่ค่อยพูดอะไร แต่เพิ่งรู้เหมือนกัน ว่า เป็นคนที่คมในฝัก” นายกรัฐมนตรีคนใหม่หมาดๆ Sergei Kiriyenko ได้รับคำสั่งให้ที่มอสโคว์ เพื่อแจ้งข่าวกับปูติน ปูตินจึงไปรอรับท่านนายกฯ ที่สนามบิน ที่เขาคิดว่า เรื่องด่วนแบบนี้ ไม่น่าที่จะเป็นข่าวมงคล ทันทีที่ได้พบหน้ากัน ท่านนายกฯ ได้ปรี่เข้ามาจับมือขอแสดงความยินดี พร้อมกับบอกว่า “ดีใจด้วยนะ” “ดีใจอะไรหรือครับ..?” “ท่านประธานาธิบดีได้ทำการแต่งตั้งและลงนามให้นายเป็นผู้อำนวยการ FSB (KGB) น่ะซิ” ปูตินงงนิดหน่อย แต่เขาพอรู้มาบ้างแล้วว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงงานของเขาให้กลับไปอยู่ในสายงานเดิม แต่ไม่คิดว่า จะก้าวขึ้นไปเป็นผู้อำนวยการเลย… สิ่งแรกที่เขาทำ นั้นคือ ติดต่อไปยังลุดมิลาที่พาลูกๆไปพักผ่อน ที่ชายฝั่งทะเลบอลติด ด้วยข้อความที่ส่งแบบสายลับ คือ…… “ฟังให้ดีนะ……ผมกำลังจะกลับไปในที่ที่ผมจากมา..” ลุดมิลาก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ…… เขาจึงย้ำประโยคเดิมถึงสามครั้ง…ก่อนที่จะวางสายไป ลุดมิลาทำท่าเหนื่อยใจ……เธอบอกกับตัวเองว่า “ชั้นจะไปรู้เรื่องกับเธอไหม……ก็เปลี่ยนงานมานับสิบครั้งแล้วเนี่ยยย……?!!! ~~~ขยายความ Sergei Chemezov** เพื่อนรักของปูติน จากสถาบัน KGB ต่อมาคือ CEO ของบริษัท Rostec ที่สร้างอาวุธ และยุทโธปกรณ์ให้กับกองทัพของรัสเซีย Igor Sechin*** อีกหนึ่งศิษย์ร่วมสถาบัน KGB ปัจจุบัน คือ CEO ของ บริษัทน้ำมันและพลังงาน Rosneft ทั้งสองคนได้ถูกทางตะวันตกยึดเรือหรูมูลค่าพันล้านไปในทะเลเมติเตอเรเนียน พร้อมทั้งเป็นบุคคลที่โดนแซงชั่นในธนาคาร เมื่อถูกถามถึงความเห็น เขาสองคนหัวเราะ บอกว่า จิ๊บๆ แต่รอเขาจะฟ้องกลับเรียกค่าเสียหาย เพราะนั่นคือทรัพย์สินส่วนตัว และไม่ได้ล่วงล้ำในน่านน้ำเพราะมีเอกสารสิทธิ์ และมีการจ่ายค่าการท่าและภาษีอย่างถูกต้อง Viktor Zubkov**** เคยเป็นรองนายกรัฐมนตรีเมื่อปูตินเป็นนายกฯ ปัจจุบันนี้เป็นประธานบอร์ดของ บริษัท Gazprom คนนี้ก็โดนยึดเรือหรูไป ก็จิ๊บๆอีกเหมือนกัน ปูตินมีระบบดูแลคนใกล้ตัวที่ดียิ่ง เขาเลือกคนที่มีความสามารถเข้าไปนั่งในตำแหน่งบริหาร บอกว่า ไม่ต้องคอร์รัปชั่น เพราะแค่โบนัสหนึ่งเปอร์เซ็นต์ต่อปี ชาตินี้ก็ใช้ไม่หมด……… แหม……………ก้อ…แต่ละบริษัทที่เอ่ยมากำไรปีละเป็นแสนล้าน ต่อให้ชาติหน้าชาติโน้นก็ใช้ไม่หมด………!! Wiwanda W. Vichit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2984 มุมมอง 0 รีวิว