• ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ก่อนหน้าวาระครบ 3 ปีแห่งการรุกรานของรัสเซีย ระบุเขาพร้อมลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดียูเครน หากมันหมายความว่านาโตจะอ้าแขนรับเคียฟเข้าสู่พันธมิตรทหารแห่งนี้
    .
    เซเลนสกี ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุเดือดจากรัฐบาลใหม่สหรัฐฯ บอกด้วยว่าเขาต้องการพูดคุยกับโดนัลด์ ทรัมป์ ก่อนหน้าที่ประธานาธิบดีอเมริกา จะมีการประชุมร่วมกับประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย
    .
    ที่ผ่านมา เซเลนสกี เรียกร้องให้ยูเครนได้รับการอนุมัติสถานภาพความเป็นสมาชิกของนาโต ส่วนหนึ่งในข้อตกลงใดๆ ในการยุติสงคราม แต่พันธมิตรทหารแห่งนี้ที่นำโดยวอชิงตันลังเลที่จะรับปากในเรื่องดังกล่าว "ถ้ามันก่อสันติภาพสำหรับยูเครน ถ้าคุณอยากให้ผมออกจากตำแหน่งของผมจริงๆ ผมก็พร้อม" เซเลสกีกล่าวระหว่างแถลงข่าวในกรุงเคียฟ "ผมสามารถแลกมันกับนาโต"
    .
    เซเลนสกีและทรัมป์ ทำสงครามน้ำลายกันมาตั้งแต่พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ และรัสเซียพบปะกันในซาอุดีอาระเบียเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ถือเป็นการพูดคุยในระดับสูงเป็นครั้งแรกระหว่าง 2 ชาติในรอบกว่า 3 ปี ความเคลื่อนไหวนี้บ่อนทำลายนโยบายโดดเดี่ยวเครมลินของตะวันตก และก่อความขุ่นเคืองแก่พวกผู้นำยูเครนและยุโรปที่ถูกกีดกันออกจากโต๊ะเจรจา
    .
    ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ทรัมป์ ตราหน้า เซเลนสกี ว่าเป็น "เผด็จการ" และกล่าวหายูเครนเป็นคนเริ่มสงคราม และอ้างว่าผู้นำยูเครนไม่เป็นที่นิยมนักในประเทศ
    .
    ประธานาธิบดีเซเลนสกี บอกว่าเขาไม่รู้สึกขุ่นเคืองต่อความเห็นของทรัมป์ และพร้อมทดสอบคะแนนนิยมของเขาในศึกเลือกตั้ง ครั้งที่กฎอัยการศึกสิ้นสุดลงในยูเครน "สิ่งที่ผมต้องการจากทรัมป์ คืออยากทำความเข้าใจกันและกัน" เขากล่าว พร้อมระบุว่า "การรับประกันความมั่นคง" จากประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก
    .
    ผู้นำยูเครนยังเรียกร้องขอประชุมร่วมกับทรัมป์ ก่อนที่ทรัมป์จะพูดคุยเจรจาใดๆ กับปูติน พร้อมอ้างว่ามีความคืบหน้าในข้อตกลงที่จะเปิดทางให้สหรัฐฯ เข้าถึงทรัพยากรสำคัญๆ ของยูเครน
    .
    ในวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) ดูเหมือนว่าพวกผู้นำยุโรปเริ่มปรับท่าทียอมรับความเป็นจริงที่เปลี่ยนแปลงไปในทางภูมิรัฐศาสตร์ ในนั้นรวมถึง ฟรีดริช แมร์ซ ผู้นำพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ที่คว้าชัยในศึกเลือกตั้งเยอรมนี บอกว่าเขาจะให้ความสำคัญลำดับต้นๆ กับศักยภาพการป้องกันตนเองของยุโรป
    .
    ส่วน มาร์ค รุตต์ เลขาธิการนาโต โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ ระบุว่าเขากำลังตั้งตาคอยทำงานร่วมกับ แมร์ซ ในช่วงเวลาสำคัญแห่งความมั่นคงร่วม "มันเป็นเรื่องสำคัญที่ยุโปต้องยกระดับการใช้จ่ายด้านการป้องกันตนเอง และความเป็นผู้นำของคุณจะเป็นกุญแจสำคัญ"
    .
    ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส และ เคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร จะเดินทางไปยังกรุงวอชิงตันในสัปดาห์นี้ เพื่อเรียกร้องให้เดินหน้าสนับสนุนยูเครนต่อไป
    .
    ก่อนหน้านี้ในวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) วังเครมลินยกย่องการเลียบเคียงทางการทูตระหว่างทรัมป์กับปูติน โดยทางโฆษก ดมิทรี เปสคอฟ เรียกการพูดคุยระหว่างประธานาธิบดีทั้ง 2 ว่ามีความหวัง "มันสำคัญที่ต้องไม่มีอะไรขัดขวางเราจากความเป็นจริงแห่งเจตจำนงทางการเมืองของผู้นำทั้ง 2"
    .
    อย่างไรก็ตาม เขาปฏิเสธความเป็นไปได้ใดๆ ที่จะยอมสละดินแดนที่อยู่ภายใต้การยึดครองของรัสเซีย ในขณะเดียวกันมอสโกก็ปฏิเสธซ้ำๆ เกี่ยวกับการเข้าเป็นสมาชิกนาโตของยูเครน "ประชาชนเหล่านี้ตัดสินใจเข้าร่วมรัสเซียนานแล้ว" อ้างถึงการลงประชามติที่จัดโดยรัสเซีย ในแคว้นต่างๆ ทางตะวันออกของยูเครน ที่ถูกเคียฟ ตะวันตกและพวกนักสังเกตการณ์นานาชาติประณามว่าเป็นประชามติจอมปลอม "ไม่มีใครจะขายดินแดนเหล่านี้ นี่คือสิ่งสำคัญที่สุด"
    .
    ในส่วนของปูติน ได้แสดงความคิดเห็นก่อนวาระครบ 3 ปีของปฏิบัติการพิเศษด้านการทหารของเขาในยูเครน บอกว่า "พระเจ้า" อยู่เบื้องหลังภารกิจปกป้องรัสเซีย "ชะตากรรมปรารถนาเช่นนั้น พระเจ้าก็ปรารถนาเช่นนั้น ผมก็อาจปรารถนาเช่นนั้นเหมือนกัน มันเป็นภารกิจที่ยากลำบากแต่เป็นภารกิจที่ทรงเกียรติในการปกป้องรัสเซีย มันเป็นภาระที่วางอยู่บนบ่าของเราและพวกคุณร่วมกัน" เขาบอกกับกำลังพลที่สู้รบในยูเครน
    .
    ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากกองทัพรัสเซียใช้โดรนโจมตียูเครน มากสุดเท่าที่เคยมีมา จำนวน 267 ลำ ในคืนวันเสาร์ (22 ก.พ.) จนถึงวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) จากคำกล่าวอ้างของกองกำลังเคียฟ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วถูกสอยร่วงหรือโดนสกัดไว้ได้ และไม่มีรายงานความเสียหายร้ายแรงใดๆ
    .
    สำนักข่าวทาสส์นิวส์ รายงานว่าคณะผู้แทนทูตสหรัฐฯ และรัสเซีย จะพบปะกันในสัปดาห์หน้า ตามด้วยการเจรจาในกรุงริยาด ระหว่าง เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประทศรัสเซีย และ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ นอกจากนี้แล้วมีรายงานด้วยว่าเวลานี้ ลาฟรอฟ ได้เดินทางถึงตุรกีแล้ว สำหรับพูดคุยกับ ฮาคาน ไฟซาน รัฐมนตรีต่างประเทศตุรกีในวันจันทร์ (24 ก.พ.)
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000017983
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ก่อนหน้าวาระครบ 3 ปีแห่งการรุกรานของรัสเซีย ระบุเขาพร้อมลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดียูเครน หากมันหมายความว่านาโตจะอ้าแขนรับเคียฟเข้าสู่พันธมิตรทหารแห่งนี้ . เซเลนสกี ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุเดือดจากรัฐบาลใหม่สหรัฐฯ บอกด้วยว่าเขาต้องการพูดคุยกับโดนัลด์ ทรัมป์ ก่อนหน้าที่ประธานาธิบดีอเมริกา จะมีการประชุมร่วมกับประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย . ที่ผ่านมา เซเลนสกี เรียกร้องให้ยูเครนได้รับการอนุมัติสถานภาพความเป็นสมาชิกของนาโต ส่วนหนึ่งในข้อตกลงใดๆ ในการยุติสงคราม แต่พันธมิตรทหารแห่งนี้ที่นำโดยวอชิงตันลังเลที่จะรับปากในเรื่องดังกล่าว "ถ้ามันก่อสันติภาพสำหรับยูเครน ถ้าคุณอยากให้ผมออกจากตำแหน่งของผมจริงๆ ผมก็พร้อม" เซเลสกีกล่าวระหว่างแถลงข่าวในกรุงเคียฟ "ผมสามารถแลกมันกับนาโต" . เซเลนสกีและทรัมป์ ทำสงครามน้ำลายกันมาตั้งแต่พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ และรัสเซียพบปะกันในซาอุดีอาระเบียเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ถือเป็นการพูดคุยในระดับสูงเป็นครั้งแรกระหว่าง 2 ชาติในรอบกว่า 3 ปี ความเคลื่อนไหวนี้บ่อนทำลายนโยบายโดดเดี่ยวเครมลินของตะวันตก และก่อความขุ่นเคืองแก่พวกผู้นำยูเครนและยุโรปที่ถูกกีดกันออกจากโต๊ะเจรจา . ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ทรัมป์ ตราหน้า เซเลนสกี ว่าเป็น "เผด็จการ" และกล่าวหายูเครนเป็นคนเริ่มสงคราม และอ้างว่าผู้นำยูเครนไม่เป็นที่นิยมนักในประเทศ . ประธานาธิบดีเซเลนสกี บอกว่าเขาไม่รู้สึกขุ่นเคืองต่อความเห็นของทรัมป์ และพร้อมทดสอบคะแนนนิยมของเขาในศึกเลือกตั้ง ครั้งที่กฎอัยการศึกสิ้นสุดลงในยูเครน "สิ่งที่ผมต้องการจากทรัมป์ คืออยากทำความเข้าใจกันและกัน" เขากล่าว พร้อมระบุว่า "การรับประกันความมั่นคง" จากประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก . ผู้นำยูเครนยังเรียกร้องขอประชุมร่วมกับทรัมป์ ก่อนที่ทรัมป์จะพูดคุยเจรจาใดๆ กับปูติน พร้อมอ้างว่ามีความคืบหน้าในข้อตกลงที่จะเปิดทางให้สหรัฐฯ เข้าถึงทรัพยากรสำคัญๆ ของยูเครน . ในวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) ดูเหมือนว่าพวกผู้นำยุโรปเริ่มปรับท่าทียอมรับความเป็นจริงที่เปลี่ยนแปลงไปในทางภูมิรัฐศาสตร์ ในนั้นรวมถึง ฟรีดริช แมร์ซ ผู้นำพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ที่คว้าชัยในศึกเลือกตั้งเยอรมนี บอกว่าเขาจะให้ความสำคัญลำดับต้นๆ กับศักยภาพการป้องกันตนเองของยุโรป . ส่วน มาร์ค รุตต์ เลขาธิการนาโต โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ ระบุว่าเขากำลังตั้งตาคอยทำงานร่วมกับ แมร์ซ ในช่วงเวลาสำคัญแห่งความมั่นคงร่วม "มันเป็นเรื่องสำคัญที่ยุโปต้องยกระดับการใช้จ่ายด้านการป้องกันตนเอง และความเป็นผู้นำของคุณจะเป็นกุญแจสำคัญ" . ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส และ เคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร จะเดินทางไปยังกรุงวอชิงตันในสัปดาห์นี้ เพื่อเรียกร้องให้เดินหน้าสนับสนุนยูเครนต่อไป . ก่อนหน้านี้ในวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) วังเครมลินยกย่องการเลียบเคียงทางการทูตระหว่างทรัมป์กับปูติน โดยทางโฆษก ดมิทรี เปสคอฟ เรียกการพูดคุยระหว่างประธานาธิบดีทั้ง 2 ว่ามีความหวัง "มันสำคัญที่ต้องไม่มีอะไรขัดขวางเราจากความเป็นจริงแห่งเจตจำนงทางการเมืองของผู้นำทั้ง 2" . อย่างไรก็ตาม เขาปฏิเสธความเป็นไปได้ใดๆ ที่จะยอมสละดินแดนที่อยู่ภายใต้การยึดครองของรัสเซีย ในขณะเดียวกันมอสโกก็ปฏิเสธซ้ำๆ เกี่ยวกับการเข้าเป็นสมาชิกนาโตของยูเครน "ประชาชนเหล่านี้ตัดสินใจเข้าร่วมรัสเซียนานแล้ว" อ้างถึงการลงประชามติที่จัดโดยรัสเซีย ในแคว้นต่างๆ ทางตะวันออกของยูเครน ที่ถูกเคียฟ ตะวันตกและพวกนักสังเกตการณ์นานาชาติประณามว่าเป็นประชามติจอมปลอม "ไม่มีใครจะขายดินแดนเหล่านี้ นี่คือสิ่งสำคัญที่สุด" . ในส่วนของปูติน ได้แสดงความคิดเห็นก่อนวาระครบ 3 ปีของปฏิบัติการพิเศษด้านการทหารของเขาในยูเครน บอกว่า "พระเจ้า" อยู่เบื้องหลังภารกิจปกป้องรัสเซีย "ชะตากรรมปรารถนาเช่นนั้น พระเจ้าก็ปรารถนาเช่นนั้น ผมก็อาจปรารถนาเช่นนั้นเหมือนกัน มันเป็นภารกิจที่ยากลำบากแต่เป็นภารกิจที่ทรงเกียรติในการปกป้องรัสเซีย มันเป็นภาระที่วางอยู่บนบ่าของเราและพวกคุณร่วมกัน" เขาบอกกับกำลังพลที่สู้รบในยูเครน . ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากกองทัพรัสเซียใช้โดรนโจมตียูเครน มากสุดเท่าที่เคยมีมา จำนวน 267 ลำ ในคืนวันเสาร์ (22 ก.พ.) จนถึงวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) จากคำกล่าวอ้างของกองกำลังเคียฟ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วถูกสอยร่วงหรือโดนสกัดไว้ได้ และไม่มีรายงานความเสียหายร้ายแรงใดๆ . สำนักข่าวทาสส์นิวส์ รายงานว่าคณะผู้แทนทูตสหรัฐฯ และรัสเซีย จะพบปะกันในสัปดาห์หน้า ตามด้วยการเจรจาในกรุงริยาด ระหว่าง เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประทศรัสเซีย และ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ นอกจากนี้แล้วมีรายงานด้วยว่าเวลานี้ ลาฟรอฟ ได้เดินทางถึงตุรกีแล้ว สำหรับพูดคุยกับ ฮาคาน ไฟซาน รัฐมนตรีต่างประเทศตุรกีในวันจันทร์ (24 ก.พ.) . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000017983 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 803 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยูเครนชนะกี่โมง? ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์"
    ฟันธงรัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ
    .
    ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์" ยอดนักวิเคราะห์ข่าวต่างประเทศสายส้ม วิเคราะห์สงครามยูเครนแบบมั่นหน้า ด้วยการฟันธงว่า รัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ ปูตินจะถูกรัฐประหารเงียบ จนชาวเน็ตผู้มาจากอนาคตเข้าไปรุมคอมเมนต์เดือด เตือนความทรงจำ ถามเมื่อไหร่รัสเซียจะแพ้-ยูเครนจะชนะ?
    .
    ในสถานการณ์ทางการเมืองโลกที่ผันผวนภายหลังการยกหูโทรศัพท์พูดคุยกันนานกว่า 90 นาทีระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย เมื่อวันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 โดยในประเด็นสงครามยูเครนนั้น นายทรัมป์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังว่า “ถึงเวลาแล้วที่จะยุติสงครามไร้สาระนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยการสังหารและการทำลายล้างที่ไม่จำเป็นเลย ขอพระเจ้าอวยพรประชาชนชาวรัสเซียและยูเครน!”
    .
    การเริ่มต้นพูดคุยระหว่าง ทรัมป์และปูติน อันนำมาสู่เหตุการณ์เมื่อ วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 สหรัฐฯ และรัสเซียนำโดย นายมาร์ค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ นายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งดำเนินการเปิดโต๊ะการเจรจาเกี่ยวกับยูเครนกันเพียง 2 ฝ่าย อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยปราศจากตัวแทนของยูเครน และชาติต่าง ๆ ในยุโรปร่วมโต๊ะเลย แม้แต่คนเดียว
    .
    สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความเดือดดาลให้กับนายโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนและผู้นำชาติต่างๆ ในยุโรปอย่างมาก เพราะการเปิดโต๊ะเจรจาดังกล่าวเป็นสัญญาณว่า ยูเครนและยุโรปน่าจะต้องตกเป็นเบี้ยล่าง และพ่ายแพ้ถูกทิ้งไว้ท่ามกลางซากปรักหักพัง รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่เข้ารุมเร้าทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ การแย่งชิงบีบบังคับเอาทรัพยากรเพื่อชดใช้เงินช่วยเหลือในสงคราม ความวุ่นวายทางการเมืองภายใน รวมไปถึงปัญหาสังคมและผู้อพยพ ฯลฯ
    .
    ในส่วนของผู้ที่ติดตามข่าวสารเรื่องสงครามยูเครนในประเทศไทยส่วนหนึ่ง ได้มีผู้ย้อนไปหยิบยกการวิเคราะห์สถานการณ์สงครามยูเครนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดย น.ส.พรรณิการ์ วานิช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคอนาคตใหม่ และอดีตเป็นพิธีกรรายการข่าวทางช่องวอยซ์ทีวี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโฆษกคณะก้าวหน้า ซึ่งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 หรือเกือบ 3 ปีที่แล้ว ได้วิเคราะห์เรื่องนี้เอาไว้ในยูทูปช่อง คณะก้าวหน้า - Progressive Movement ความยาวกว่า 25 นาที ในหัวเรื่องว่า "ช่อฟันธง! รัสเซียแพ้ย่อยยับ ปูตินชักศึกเข้าบ้าน!" (ลิงก์ >> https://www.youtube.com/watch?v=ytfIw1BHnEM)
    .
    ทั้งนี้ในรายการดังกล่าว "ช่อ พรรณิการ์" แห่งคณะก้าวหน้าได้กล่าวในตอนต้นว่า "ดิฉันขอฟันธง รัสเซียเธอแพ้แน่นอน นับวันแพ้ ทำไมถึงจะแพ้ เป็นเพราะอะไรเกิดอะไรขึ้น เป็นเพราะอะไร?"
    .
    จากนั้น อดีตโฆษกพรรคอนาคตใหม่ได้กล่าววิเคราะห์ต่อว่า สาเหตุที่รัสเซียจะพ่ายแพ้ต่อยูเครนและชาติพันธมิตรยุโรปนั้นมาจาก การบีบบังคับด้วยการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจ-การเงินต่อยุโรป
    "มาตรการหลัก ๆ ที่ตอนนี้นำโดยสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ใช้อยู่จริง ๆ คือ มาตรการการเงิน ซึ่งมากไปกว่า มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจการค้านะ แต่เรียกว่าเป็นการทุบค่าเงินและตัดตอนทางการเงินแบบขนานใหญ่ อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา นานาประเทศตัดรัสเซียออกจากระบบการโอนเงินระหว่างประเทศ S.W.I.F.T., ระบบการเงินของธนาคารต่าง ๆ, มีการฟรีซแอสเสท หรือสินทรัพย์ของรัสเซียที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงประกาศไม่ให้มีการค้าขายกับรัสเซีย ..." น.ส.พรรณิการ์กล่าว และวิเคราะห์ต่อว่า นี่เองเป็นสาเหตุที่ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียตกต่ำลงอย่างมาก จนแทบจะไม่มีค่า แทบจะกลายเป็นเศษกระดาษ
    .
    นอกจากนี้ ช่อ พรรณิการ์ ยังวิเคราะห์ต่ออย่างออกรสด้วยว่า ความเคลื่อนไหวที่สำคัญที่สุดคือ ท่าทีของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่เลือกจะทำตามมาตรการคว่ำบาตรของอียู คือ การอายัดทรัพย์สินของรัสเซียที่อยู่ในแบงก์สวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไม่ใช่แค่การอายัดเฉพาะทรัพย์สินของรัฐ แต่เป็นทรัพย์สินของเอกชน และมหาเศรษฐีต่าง ๆ ของรัสเซียที่เกี่ยวข้องกับนายปูตินด้วยจะเป็นปัจจัยชี้ขายให้รัสเซียและนายปูตินพ่ายแพ้อย่างแน่นอน
    .
    "ดิฉันคิดว่า เมื่อสวิตเซอร์แลนด์ทำขนาดนี้แล้ว ปูตินนับวันแพ้ได้เลยนะคะ" โฆษกคณะก้าวหน้าฟันธง
    .
    ล่วงเลยมาถึงวันนี้ เมื่อทีมงาน Sondhi X กลับไปสำรวจความเห็นของผู้ที่เข้ามาชมคลิปการวิเคราะห์สถานการณ์โลกดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ ทางยูทูปของคณะก้าวหน้าแล้วก็พบว่า มีผู้เข้าไปย้อนดูคลิปดังกล่าวและแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น
    • สวัสดีเรามาจากอนาคต 2025 ตอนนี้ทรัมป์กับปูตินเจรจากันแล้วนะเรื่องยูเครนโดยไม่มีไอ้กี้ หรือใช้คำว่าไม่เห็นหัวไอ้กี้ ก็คงไม่ผิดนัก ส่วนไอ้กี้ก็หัวซุกหัวซุนเกาะยุโรปที่เหลืออย่างแนบแน่น จริงแล้วตอนนี้ ยูเครนต้องเลือกปธน.ใหม่แล้วนะ แต่ไอ้กี้ไม่ยอม และไม่ฟังเสียงปชช.เลย โคจรหวงอำนาจเลย ยังไงรบกวนคุณช่อประท้วงแทนปชช.ชาวยูเครนด้วยนะ หรือส่งให้ว่าที่ เลขา UN ด้วยนะครับ
    • เมื่อไรจะแพ้ รออยู่นะคับ
    • ทายแค่ ซ้ายขวายังผิดยังคิดจะมาบริหารประเทศ อายมั้ยส้ม
    • 20-2-2025 ทายผิดจนขนลุก ยูเครนเละโดนรุมทึ้งแบ่งเค้กผลประโยชน์ของชาติ แถมไม่มีสิทธิแม้แต่เข้าร่วมเจรจาสันติภาพเลือกชะตากรรมของชาติตัวเอง 😂
    • ยูเครนชนะยังครับ รอจนเมื่อยแล้ว
    • สรุปทำไมวิเคราะห์ผิดหมดเลย ไม่มีข้อมูลเพียงพอรอบด้าน หรือไม่มีศักยภาพในการวิเคราะห์ ถ้าได้บริหารประเทศวิเคราะห์ผิดแบบนี้แย่แน่นอน
    • สวัสดีเรามาจากอนาคต สภาพ ผิดทุกเรื่องตรงข้ามทุกอย่าง 5555
    • วิเคราะห์มาถึงขนาดนี้ ปัจจุบันคุณเห็นหรือยังใครเป็นคนทำสงคราม นาโต้ทำสงครามกับรัสเซีย ยูเครนเป็นสนามรบ ผู้สนับสนุนหลักคืออเมริกา
    รัสเซียบุกยูเครน ก็เพราะนาโต้ขยายอาณาเขตเข้ามาในยูเครน รัสเซียแค่ป้องกันตนเองจากกลุ่มนาโต้ มีหัวเรือเป็นสหรัฐอเมริกา ตัวตลกยูเครนคือหุ่นเชิด
    • ธงหักหมดแล้ว จากคนเคยเลือกและลาขาด
    .
    สำหรับคลิปการวิเคราะห์ดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ เรื่องสงครามยูเครน นับถึงเวลา 20.00น. ที่ผ่านมาของวันที่ 20 ก.พ. 68 มีผู้เข้าชมแล้วกว่า 1.49 ล้านครั้ง
    ยูเครนชนะกี่โมง? ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์" ฟันธงรัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ . ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์" ยอดนักวิเคราะห์ข่าวต่างประเทศสายส้ม วิเคราะห์สงครามยูเครนแบบมั่นหน้า ด้วยการฟันธงว่า รัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ ปูตินจะถูกรัฐประหารเงียบ จนชาวเน็ตผู้มาจากอนาคตเข้าไปรุมคอมเมนต์เดือด เตือนความทรงจำ ถามเมื่อไหร่รัสเซียจะแพ้-ยูเครนจะชนะ? . ในสถานการณ์ทางการเมืองโลกที่ผันผวนภายหลังการยกหูโทรศัพท์พูดคุยกันนานกว่า 90 นาทีระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย เมื่อวันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 โดยในประเด็นสงครามยูเครนนั้น นายทรัมป์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังว่า “ถึงเวลาแล้วที่จะยุติสงครามไร้สาระนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยการสังหารและการทำลายล้างที่ไม่จำเป็นเลย ขอพระเจ้าอวยพรประชาชนชาวรัสเซียและยูเครน!” . การเริ่มต้นพูดคุยระหว่าง ทรัมป์และปูติน อันนำมาสู่เหตุการณ์เมื่อ วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 สหรัฐฯ และรัสเซียนำโดย นายมาร์ค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ นายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งดำเนินการเปิดโต๊ะการเจรจาเกี่ยวกับยูเครนกันเพียง 2 ฝ่าย อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยปราศจากตัวแทนของยูเครน และชาติต่าง ๆ ในยุโรปร่วมโต๊ะเลย แม้แต่คนเดียว . สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความเดือดดาลให้กับนายโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนและผู้นำชาติต่างๆ ในยุโรปอย่างมาก เพราะการเปิดโต๊ะเจรจาดังกล่าวเป็นสัญญาณว่า ยูเครนและยุโรปน่าจะต้องตกเป็นเบี้ยล่าง และพ่ายแพ้ถูกทิ้งไว้ท่ามกลางซากปรักหักพัง รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่เข้ารุมเร้าทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ การแย่งชิงบีบบังคับเอาทรัพยากรเพื่อชดใช้เงินช่วยเหลือในสงคราม ความวุ่นวายทางการเมืองภายใน รวมไปถึงปัญหาสังคมและผู้อพยพ ฯลฯ . ในส่วนของผู้ที่ติดตามข่าวสารเรื่องสงครามยูเครนในประเทศไทยส่วนหนึ่ง ได้มีผู้ย้อนไปหยิบยกการวิเคราะห์สถานการณ์สงครามยูเครนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดย น.ส.พรรณิการ์ วานิช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคอนาคตใหม่ และอดีตเป็นพิธีกรรายการข่าวทางช่องวอยซ์ทีวี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโฆษกคณะก้าวหน้า ซึ่งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 หรือเกือบ 3 ปีที่แล้ว ได้วิเคราะห์เรื่องนี้เอาไว้ในยูทูปช่อง คณะก้าวหน้า - Progressive Movement ความยาวกว่า 25 นาที ในหัวเรื่องว่า "ช่อฟันธง! รัสเซียแพ้ย่อยยับ ปูตินชักศึกเข้าบ้าน!" (ลิงก์ >> https://www.youtube.com/watch?v=ytfIw1BHnEM) . ทั้งนี้ในรายการดังกล่าว "ช่อ พรรณิการ์" แห่งคณะก้าวหน้าได้กล่าวในตอนต้นว่า "ดิฉันขอฟันธง รัสเซียเธอแพ้แน่นอน นับวันแพ้ ทำไมถึงจะแพ้ เป็นเพราะอะไรเกิดอะไรขึ้น เป็นเพราะอะไร?" . จากนั้น อดีตโฆษกพรรคอนาคตใหม่ได้กล่าววิเคราะห์ต่อว่า สาเหตุที่รัสเซียจะพ่ายแพ้ต่อยูเครนและชาติพันธมิตรยุโรปนั้นมาจาก การบีบบังคับด้วยการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจ-การเงินต่อยุโรป "มาตรการหลัก ๆ ที่ตอนนี้นำโดยสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ใช้อยู่จริง ๆ คือ มาตรการการเงิน ซึ่งมากไปกว่า มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจการค้านะ แต่เรียกว่าเป็นการทุบค่าเงินและตัดตอนทางการเงินแบบขนานใหญ่ อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา นานาประเทศตัดรัสเซียออกจากระบบการโอนเงินระหว่างประเทศ S.W.I.F.T., ระบบการเงินของธนาคารต่าง ๆ, มีการฟรีซแอสเสท หรือสินทรัพย์ของรัสเซียที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงประกาศไม่ให้มีการค้าขายกับรัสเซีย ..." น.ส.พรรณิการ์กล่าว และวิเคราะห์ต่อว่า นี่เองเป็นสาเหตุที่ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียตกต่ำลงอย่างมาก จนแทบจะไม่มีค่า แทบจะกลายเป็นเศษกระดาษ . นอกจากนี้ ช่อ พรรณิการ์ ยังวิเคราะห์ต่ออย่างออกรสด้วยว่า ความเคลื่อนไหวที่สำคัญที่สุดคือ ท่าทีของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่เลือกจะทำตามมาตรการคว่ำบาตรของอียู คือ การอายัดทรัพย์สินของรัสเซียที่อยู่ในแบงก์สวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไม่ใช่แค่การอายัดเฉพาะทรัพย์สินของรัฐ แต่เป็นทรัพย์สินของเอกชน และมหาเศรษฐีต่าง ๆ ของรัสเซียที่เกี่ยวข้องกับนายปูตินด้วยจะเป็นปัจจัยชี้ขายให้รัสเซียและนายปูตินพ่ายแพ้อย่างแน่นอน . "ดิฉันคิดว่า เมื่อสวิตเซอร์แลนด์ทำขนาดนี้แล้ว ปูตินนับวันแพ้ได้เลยนะคะ" โฆษกคณะก้าวหน้าฟันธง . ล่วงเลยมาถึงวันนี้ เมื่อทีมงาน Sondhi X กลับไปสำรวจความเห็นของผู้ที่เข้ามาชมคลิปการวิเคราะห์สถานการณ์โลกดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ ทางยูทูปของคณะก้าวหน้าแล้วก็พบว่า มีผู้เข้าไปย้อนดูคลิปดังกล่าวและแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น • สวัสดีเรามาจากอนาคต 2025 ตอนนี้ทรัมป์กับปูตินเจรจากันแล้วนะเรื่องยูเครนโดยไม่มีไอ้กี้ หรือใช้คำว่าไม่เห็นหัวไอ้กี้ ก็คงไม่ผิดนัก ส่วนไอ้กี้ก็หัวซุกหัวซุนเกาะยุโรปที่เหลืออย่างแนบแน่น จริงแล้วตอนนี้ ยูเครนต้องเลือกปธน.ใหม่แล้วนะ แต่ไอ้กี้ไม่ยอม และไม่ฟังเสียงปชช.เลย โคจรหวงอำนาจเลย ยังไงรบกวนคุณช่อประท้วงแทนปชช.ชาวยูเครนด้วยนะ หรือส่งให้ว่าที่ เลขา UN ด้วยนะครับ • เมื่อไรจะแพ้ รออยู่นะคับ • ทายแค่ ซ้ายขวายังผิดยังคิดจะมาบริหารประเทศ อายมั้ยส้ม • 20-2-2025 ทายผิดจนขนลุก ยูเครนเละโดนรุมทึ้งแบ่งเค้กผลประโยชน์ของชาติ แถมไม่มีสิทธิแม้แต่เข้าร่วมเจรจาสันติภาพเลือกชะตากรรมของชาติตัวเอง 😂 • ยูเครนชนะยังครับ รอจนเมื่อยแล้ว • สรุปทำไมวิเคราะห์ผิดหมดเลย ไม่มีข้อมูลเพียงพอรอบด้าน หรือไม่มีศักยภาพในการวิเคราะห์ ถ้าได้บริหารประเทศวิเคราะห์ผิดแบบนี้แย่แน่นอน • สวัสดีเรามาจากอนาคต สภาพ ผิดทุกเรื่องตรงข้ามทุกอย่าง 5555 • วิเคราะห์มาถึงขนาดนี้ ปัจจุบันคุณเห็นหรือยังใครเป็นคนทำสงคราม นาโต้ทำสงครามกับรัสเซีย ยูเครนเป็นสนามรบ ผู้สนับสนุนหลักคืออเมริกา รัสเซียบุกยูเครน ก็เพราะนาโต้ขยายอาณาเขตเข้ามาในยูเครน รัสเซียแค่ป้องกันตนเองจากกลุ่มนาโต้ มีหัวเรือเป็นสหรัฐอเมริกา ตัวตลกยูเครนคือหุ่นเชิด • ธงหักหมดแล้ว จากคนเคยเลือกและลาขาด . สำหรับคลิปการวิเคราะห์ดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ เรื่องสงครามยูเครน นับถึงเวลา 20.00น. ที่ผ่านมาของวันที่ 20 ก.พ. 68 มีผู้เข้าชมแล้วกว่า 1.49 ล้านครั้ง
    Haha
    Like
    6
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 558 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าวหา โดนัลด์ ทรัมป์ ว่า เอาแต่เชื่อฟัง “ข้อมูลข่าวสารเท็จ” ของฝ่ายรัสเซีย เป็นการตอบโต้ผู้นำสหรัฐฯ ที่พูดเมื่อ 1 วันก่อนหน้านั้น โจมตีประมุขเคียฟกลายๆ ว่า เขาเป็นต้นตอปล่อยให้ความขัดแย้งกับรัสเซียเริ่มต้นขึ้นมาและลุกลามบานปลายอย่างไม่จำเป็น การโจมตีใส่กันเช่นนี้ส่อแสดงให้เห็นว่ายูเครนกับคณะบริหารใหม่ของอเมริกายิ่งมองหน้ากันไม่ติด หลังจากคณะผู้แทนทางการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ และรัสเซียเปิดการหารือกันอย่างชื่นมื่นที่ซาอุดีอาระเบีย ในเรื่องหนทางยุติสงครามในยูเครนและการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างแดนอินทรีกับแดนหมีขาว โดยที่ไม่เชิญยูเครนหรือชาติยุโรปซึ่งหนุนหลังเคียฟเข้าร่วมด้วย
    .
    ระหว่างการแถลงข่าวสื่อมวลชนเมื่อวันอังคาร (18) ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวย้ำประเด็นจำนวนมากที่ฝ่ายรัสเซียได้พูดเอาไว้ในช่วง 3 ปีที่เกิดสงครามในยูเครน โดยประณามเคียฟว่าเป็นผู้เริ่มต้นทำให้เกิดการสู้รบขึ้นมาอย่างไม่จำเป็น พร้อมกับย้ำว่า บรรดาผู้นำในเคียฟไม่ควรปล่อยให้เกิดการสู้รบขัดแย้งขึ้นมาตั้งแต่แรก ทั้งนี้คำพูดเช่นนี้ของเขาอาจตีความได้ว่า เขาเห็นว่ายูเครนน่าจะยอมโอนอ่อนผ่อนตามแดนหมีขาว ก่อนที่รัสเซียจะยกทัพบุกเมื่อต้นปี 2022 นอกจากนั้น ทรัมป์ยังเสนอแนะว่าเซเลนสกีกำลังไม่เป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนชาวยูเครน
    .
    เซเลนสกีกล่าวตอบโต้กลับในวันพุธ โดยบอกว่า “โชคร้าย ท่านประธานาธิบดีทรัมป์ ผู้ซึ่งเรามีความเคารพอย่างใหญ่หลวงในฐานะเป็นผู้นำของประชาชนชาวอเมริกัน ... มีชีวิตอยู่ในท่ามกลางแวดวงข้อมูลข่าวสารเท็จเช่นนี้”
    .
    “ผมเชื่อว่าสหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือให้ปูตินสามารถทลายการถูกโดดเดี่ยวมาเป็นเวลาหลายปี” เซเลนสกี กล่าว
    .
    ในวันอังคาร ทรัมป์กล่าวตำหนิทางยูเครนที่ส่งเสียงคร่ำครวญกรณีถูกกีดกันออกจากการเจรจาของสหรัฐฯ กับรัสเซีย ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในวันเดียวกัน
    .
    "ผมผิดหวังอย่างมาก ผมได้ยินว่าพวกเขาอารมณ์เสียที่ไม่มีที่นั่งบนโต๊ะเจรจา" ทรัมป์บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่รีสอร์ตมาร์-อา-ลาโก ของเขาในฟลอริดา หลังถูกสอบถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาของยูเครน
    .
    "วันนี้ผมได้ยิน (ทางยูเครนพูด) ว่า โอ้ เราไม่ได้รับเชิญ ก็แน่นอนล่ะ คุณอยู่ตรงนั้นมา 3 ปี แต่คุณไม่เคยเริ่มมันเลย คุณควรทำข้อตกลง (กับรัสเซีย)" เขากล่าว
    .
    ในการแถลงข่าว ทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า อาจพบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ก่อนสิ้นเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบีย เวลาเดียวกันเขาก็เพิ่มความกดดันให้เซเลนสกีต้องจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องสำคัญของรัสเซีย ทั้งนี้ เนื่องจากเซเลนสกีรับตำแหน่งเกิน 5 ปีตามกำหนดวาระแล้ว แต่ยังไม่จัดการเลือกตั้งโดยอ้างว่า ยูเครนยังคงอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก
    .
    "พวกเขา (พวกผู้นำยูเครน) ต้องการเก้าอี้บนโต๊ะเจรจา แต่คุณสามารถพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชวยูเครน มันนานมาแล้วนะที่เขามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์ระบุ พร้อมกับกล่าวว่า "นี่ไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากเรา มาจากประเทศอื่นๆ"
    .
    ผู้นำสหรัฐฯ ยังบอกว่า มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า ตนเองมีอำนาจในการหยุดยั้งสงครามในยูเครน ภายหลังการหารือของคณะผู้แทนของสหรัฐฯ และรัสเซียที่กรุงริยาด ซึ่งเป็นการประชุมระดับสูงอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่รัสเซียยกทัพบุกยูเครนนั้น
    .
    ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า ในการหารือที่ริยาดที่ใช้เวลายาวนานราว 4 ชั่วโมงครึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายอเมริกา และรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ ของรัสเซีย ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะของฝ่ายแดนหมีขาว ได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อหารือกันถึงเกี่ยวกับวิธีการยุติสงครามในยูเครนโดยเร็วที่สุด แต่ยังไม่ระบุชัดเจนว่าจะประชุมกันครั้งแรกเมื่อใด
    .
    ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องสร้างกลไกการหารือเพื่อจัดการ “สิ่งที่สร้างความระคายเคือง” ต่อความสัมพันธ์สองประเทศ และวางรากฐานสำหรับการร่วมมือในอนาคต
    .
    ด้าน ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ ซึ่งร่วมเจรจาที่ริยาดด้วย เสริมว่า ประเด็นด้านดินแดนและการรับประกันความมั่นคงจะเป็นส่วนหนึ่งในการหารือ
    .
    สำหรับ คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจของรัสเซีย กล่าวว่า ความพยายามของตะวันตกในการโดดเดี่ยวรัสเซียล้มเหลวอย่างชัดเจน และเสริมว่า รัสเซียและอเมริกาควรพัฒนาโครงการพลังงานร่วมกัน ซึ่งรวมถึงในอาร์กติกและภูมิภาคอื่นๆ
    .
    ด้านลาฟรอฟแสดงความเชื่อมั่นว่า อเมริกาเข้าใจจุดยืนของรัสเซียดีขึ้น และยังย้ำว่า มอสโกคัดค้านการนำกองกำลังนาโตไปประจำการในยูเครนภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้นำยุโรปกำลังถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016776
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าวหา โดนัลด์ ทรัมป์ ว่า เอาแต่เชื่อฟัง “ข้อมูลข่าวสารเท็จ” ของฝ่ายรัสเซีย เป็นการตอบโต้ผู้นำสหรัฐฯ ที่พูดเมื่อ 1 วันก่อนหน้านั้น โจมตีประมุขเคียฟกลายๆ ว่า เขาเป็นต้นตอปล่อยให้ความขัดแย้งกับรัสเซียเริ่มต้นขึ้นมาและลุกลามบานปลายอย่างไม่จำเป็น การโจมตีใส่กันเช่นนี้ส่อแสดงให้เห็นว่ายูเครนกับคณะบริหารใหม่ของอเมริกายิ่งมองหน้ากันไม่ติด หลังจากคณะผู้แทนทางการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ และรัสเซียเปิดการหารือกันอย่างชื่นมื่นที่ซาอุดีอาระเบีย ในเรื่องหนทางยุติสงครามในยูเครนและการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างแดนอินทรีกับแดนหมีขาว โดยที่ไม่เชิญยูเครนหรือชาติยุโรปซึ่งหนุนหลังเคียฟเข้าร่วมด้วย . ระหว่างการแถลงข่าวสื่อมวลชนเมื่อวันอังคาร (18) ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวย้ำประเด็นจำนวนมากที่ฝ่ายรัสเซียได้พูดเอาไว้ในช่วง 3 ปีที่เกิดสงครามในยูเครน โดยประณามเคียฟว่าเป็นผู้เริ่มต้นทำให้เกิดการสู้รบขึ้นมาอย่างไม่จำเป็น พร้อมกับย้ำว่า บรรดาผู้นำในเคียฟไม่ควรปล่อยให้เกิดการสู้รบขัดแย้งขึ้นมาตั้งแต่แรก ทั้งนี้คำพูดเช่นนี้ของเขาอาจตีความได้ว่า เขาเห็นว่ายูเครนน่าจะยอมโอนอ่อนผ่อนตามแดนหมีขาว ก่อนที่รัสเซียจะยกทัพบุกเมื่อต้นปี 2022 นอกจากนั้น ทรัมป์ยังเสนอแนะว่าเซเลนสกีกำลังไม่เป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนชาวยูเครน . เซเลนสกีกล่าวตอบโต้กลับในวันพุธ โดยบอกว่า “โชคร้าย ท่านประธานาธิบดีทรัมป์ ผู้ซึ่งเรามีความเคารพอย่างใหญ่หลวงในฐานะเป็นผู้นำของประชาชนชาวอเมริกัน ... มีชีวิตอยู่ในท่ามกลางแวดวงข้อมูลข่าวสารเท็จเช่นนี้” . “ผมเชื่อว่าสหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือให้ปูตินสามารถทลายการถูกโดดเดี่ยวมาเป็นเวลาหลายปี” เซเลนสกี กล่าว . ในวันอังคาร ทรัมป์กล่าวตำหนิทางยูเครนที่ส่งเสียงคร่ำครวญกรณีถูกกีดกันออกจากการเจรจาของสหรัฐฯ กับรัสเซีย ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในวันเดียวกัน . "ผมผิดหวังอย่างมาก ผมได้ยินว่าพวกเขาอารมณ์เสียที่ไม่มีที่นั่งบนโต๊ะเจรจา" ทรัมป์บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่รีสอร์ตมาร์-อา-ลาโก ของเขาในฟลอริดา หลังถูกสอบถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาของยูเครน . "วันนี้ผมได้ยิน (ทางยูเครนพูด) ว่า โอ้ เราไม่ได้รับเชิญ ก็แน่นอนล่ะ คุณอยู่ตรงนั้นมา 3 ปี แต่คุณไม่เคยเริ่มมันเลย คุณควรทำข้อตกลง (กับรัสเซีย)" เขากล่าว . ในการแถลงข่าว ทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า อาจพบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ก่อนสิ้นเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบีย เวลาเดียวกันเขาก็เพิ่มความกดดันให้เซเลนสกีต้องจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องสำคัญของรัสเซีย ทั้งนี้ เนื่องจากเซเลนสกีรับตำแหน่งเกิน 5 ปีตามกำหนดวาระแล้ว แต่ยังไม่จัดการเลือกตั้งโดยอ้างว่า ยูเครนยังคงอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก . "พวกเขา (พวกผู้นำยูเครน) ต้องการเก้าอี้บนโต๊ะเจรจา แต่คุณสามารถพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชวยูเครน มันนานมาแล้วนะที่เขามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์ระบุ พร้อมกับกล่าวว่า "นี่ไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากเรา มาจากประเทศอื่นๆ" . ผู้นำสหรัฐฯ ยังบอกว่า มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า ตนเองมีอำนาจในการหยุดยั้งสงครามในยูเครน ภายหลังการหารือของคณะผู้แทนของสหรัฐฯ และรัสเซียที่กรุงริยาด ซึ่งเป็นการประชุมระดับสูงอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่รัสเซียยกทัพบุกยูเครนนั้น . ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า ในการหารือที่ริยาดที่ใช้เวลายาวนานราว 4 ชั่วโมงครึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายอเมริกา และรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ ของรัสเซีย ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะของฝ่ายแดนหมีขาว ได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อหารือกันถึงเกี่ยวกับวิธีการยุติสงครามในยูเครนโดยเร็วที่สุด แต่ยังไม่ระบุชัดเจนว่าจะประชุมกันครั้งแรกเมื่อใด . ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องสร้างกลไกการหารือเพื่อจัดการ “สิ่งที่สร้างความระคายเคือง” ต่อความสัมพันธ์สองประเทศ และวางรากฐานสำหรับการร่วมมือในอนาคต . ด้าน ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ ซึ่งร่วมเจรจาที่ริยาดด้วย เสริมว่า ประเด็นด้านดินแดนและการรับประกันความมั่นคงจะเป็นส่วนหนึ่งในการหารือ . สำหรับ คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจของรัสเซีย กล่าวว่า ความพยายามของตะวันตกในการโดดเดี่ยวรัสเซียล้มเหลวอย่างชัดเจน และเสริมว่า รัสเซียและอเมริกาควรพัฒนาโครงการพลังงานร่วมกัน ซึ่งรวมถึงในอาร์กติกและภูมิภาคอื่นๆ . ด้านลาฟรอฟแสดงความเชื่อมั่นว่า อเมริกาเข้าใจจุดยืนของรัสเซียดีขึ้น และยังย้ำว่า มอสโกคัดค้านการนำกองกำลังนาโตไปประจำการในยูเครนภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้นำยุโรปกำลังถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016776 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    17
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2246 มุมมอง 0 รีวิว
  • เซเลนสกี้กล่าวว่าทรัมป์อาศัยอยู่บน 'พื้นที่ข้อมูลบิดเบือน'

    โวโลดิมีร์ เซเลนสกี กล่าวหาโดนัลด์ ทรัมป์ว่าให้ข้อมูลเท็จซ้ำแล้วซ้ำเล่า หนึ่งวันหลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวหายูเครนอย่างเท็จว่าเริ่มสงครามกับรัสเซีย

    - ความคิดเห็นของเซเลนสกี้ เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่กำลังก่อตัวเป็นการแลกเปลี่ยนข้อกล่าวหาต่อสาธารณะมากที่สุดระหว่างเคียฟและวอชิงตัน นับตั้งแต่สงครามเต็มรูปแบบเริ่มต้นขึ้นเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน
    .
    - เมื่อพูดคุยกับผู้สื่อข่าวในกรุงเคียฟ เซเลนสกีได้โต้แย้งคำกล่าวอ้างที่ไม่มีมูลความจริงหลายกรณีที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันอังคาร ขณะเดียวกันก็ย้ำจุดยืนของยูเครนว่าข้อตกลงยุติสงครามต้องได้รับการมีส่วนร่วมจากยูเครน
    .
    - “น่าเสียดายที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ผมเคารพเขามากในฐานะผู้นำของประเทศที่เราเคารพนับถืออย่างยิ่ง ประชาชนชาวอเมริกันที่สนับสนุนเราเสมอ น่าเสียดายที่เขาต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งข้อมูลบิดเบือน” เซเลนสกีกล่าว
    .
    - เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ และรัสเซียได้จัดการเจรจาระดับสูงเพื่อยุติสงครามในยูเครน ณ กรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันอังคาร โดยการประชุมครั้งนี้ไม่ได้จัดขึ้นที่กรุงเคียฟ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องแต่งตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อเจรจายุติสงคราม และกล่าวว่าพวกเขากำลังดำเนินการเพื่อสร้างช่องทางการทูตขึ้นใหม่
    .
    - เซเลนสกีกล่าวว่า แม้ประเทศใดๆ ก็มีสิทธิที่จะหารือเรื่องปัญหาทวิภาคีกับซาอุดีอาระเบีย แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าสหรัฐฯ จัดการเจรจาโดยตรงกับรัสเซียนั้น “ช่วยให้ปูตินพ้นจากความโดดเดี่ยวอันยาวนานได้”
    .
    - การร้องเรียนของเคียฟเรื่องการถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าร่วมการเจรจาเป็นชนวนให้ทรัมป์ออกมาโจมตีด้วยความเท็จในวันอังคาร
    .
    - ทรัมป์กล่าวเมื่อช่วงดึกของวันอังคารว่า “วันนี้ผมได้ยินว่า ‘โอ้ เราไม่ได้รับเชิญเลย คุณอยู่ที่นั่นมาสามปีแล้ว คุณควรยุติเรื่องนี้หลังจากสามปี คุณไม่ควรเริ่มเรื่องนี้เลย คุณควรทำข้อตกลงได้แล้ว”
    .
    - ความคิดเห็นของทรัมป์ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในกรุงมอสโก โดยที่รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ ชื่นชมประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่สะท้อนคำพูดของเครมลิน และกล่าวต่อรัฐสภารัสเซีย หรือดูมา ว่าทรัมป์ดูเหมือนจะ "เข้าใจจุดยืนของพวกเรา"
    .
    - “ผมคิดว่าทรัมป์เป็นผู้นำตะวันตกคนแรกที่ออกมาพูดต่อสาธารณะว่าสาเหตุของความขัดแย้งในยูเครนคือความพยายามของรัฐบาลชุดก่อนที่จะขยายนาโต” ลาฟรอฟกล่าวกับสมาชิกรัฐสภาเมื่อวันพุธ “ไม่มีผู้นำตะวันตกคนใดเคยพูดแบบนั้นมาก่อน ดังนั้น นั่นจึงเป็นสัญญาณว่าเขาเข้าใจจุดยืนของเราแล้ว”
    .
    - รัสเซียโต้แย้งมานานแล้วว่าการขยายตัวของนาโต้ไปทางตะวันออกทำให้ความมั่นคงของประเทศตกอยู่ในอันตราย โดยผู้นำนาโต้สัญญากับรัสเซียว่าพันธมิตรป้องกันประเทศจะไม่ขยายตัวหลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลง นาโต้มีนโยบายเปิดประตูต้อนรับรัฐในยุโรปทุกรัฐให้เข้าร่วมตราบใดที่รัฐเหล่านั้นตรงตามเกณฑ์การเข้าร่วม
    .
    - แต่ทรัมป์ไม่ได้หยุดเพียงแค่ตั้งคำถามว่าใครเป็นคนเริ่มสงครามในยูเครน โดยทรัมป์ยังคงตั้งคำถามถึงความชอบธรรมของเซเลนสกี โดยเขาพูดซ้ำแนวทางที่เครมลินมักจะเสนออยู่เสมอ
    .
    - เมื่อวันพุธที่ผ่านมา เซเลนสกีระบุโดยเฉพาะว่าการอ้างว่าคะแนนนิยมของเขาอยู่ที่ 4% มาจากรัสเซีย และเคียฟก็มีหลักฐานบางอย่างที่บ่งชี้ว่าตัวเลขดังกล่าวได้รับการหารือกันระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียแล้ว
    -------
    CNN
    เซเลนสกี้กล่าวว่าทรัมป์อาศัยอยู่บน 'พื้นที่ข้อมูลบิดเบือน' โวโลดิมีร์ เซเลนสกี กล่าวหาโดนัลด์ ทรัมป์ว่าให้ข้อมูลเท็จซ้ำแล้วซ้ำเล่า หนึ่งวันหลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวหายูเครนอย่างเท็จว่าเริ่มสงครามกับรัสเซีย - ความคิดเห็นของเซเลนสกี้ เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่กำลังก่อตัวเป็นการแลกเปลี่ยนข้อกล่าวหาต่อสาธารณะมากที่สุดระหว่างเคียฟและวอชิงตัน นับตั้งแต่สงครามเต็มรูปแบบเริ่มต้นขึ้นเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน . - เมื่อพูดคุยกับผู้สื่อข่าวในกรุงเคียฟ เซเลนสกีได้โต้แย้งคำกล่าวอ้างที่ไม่มีมูลความจริงหลายกรณีที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันอังคาร ขณะเดียวกันก็ย้ำจุดยืนของยูเครนว่าข้อตกลงยุติสงครามต้องได้รับการมีส่วนร่วมจากยูเครน . - “น่าเสียดายที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ผมเคารพเขามากในฐานะผู้นำของประเทศที่เราเคารพนับถืออย่างยิ่ง ประชาชนชาวอเมริกันที่สนับสนุนเราเสมอ น่าเสียดายที่เขาต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งข้อมูลบิดเบือน” เซเลนสกีกล่าว . - เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ และรัสเซียได้จัดการเจรจาระดับสูงเพื่อยุติสงครามในยูเครน ณ กรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันอังคาร โดยการประชุมครั้งนี้ไม่ได้จัดขึ้นที่กรุงเคียฟ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องแต่งตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อเจรจายุติสงคราม และกล่าวว่าพวกเขากำลังดำเนินการเพื่อสร้างช่องทางการทูตขึ้นใหม่ . - เซเลนสกีกล่าวว่า แม้ประเทศใดๆ ก็มีสิทธิที่จะหารือเรื่องปัญหาทวิภาคีกับซาอุดีอาระเบีย แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าสหรัฐฯ จัดการเจรจาโดยตรงกับรัสเซียนั้น “ช่วยให้ปูตินพ้นจากความโดดเดี่ยวอันยาวนานได้” . - การร้องเรียนของเคียฟเรื่องการถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าร่วมการเจรจาเป็นชนวนให้ทรัมป์ออกมาโจมตีด้วยความเท็จในวันอังคาร . - ทรัมป์กล่าวเมื่อช่วงดึกของวันอังคารว่า “วันนี้ผมได้ยินว่า ‘โอ้ เราไม่ได้รับเชิญเลย คุณอยู่ที่นั่นมาสามปีแล้ว คุณควรยุติเรื่องนี้หลังจากสามปี คุณไม่ควรเริ่มเรื่องนี้เลย คุณควรทำข้อตกลงได้แล้ว” . - ความคิดเห็นของทรัมป์ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในกรุงมอสโก โดยที่รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ ชื่นชมประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่สะท้อนคำพูดของเครมลิน และกล่าวต่อรัฐสภารัสเซีย หรือดูมา ว่าทรัมป์ดูเหมือนจะ "เข้าใจจุดยืนของพวกเรา" . - “ผมคิดว่าทรัมป์เป็นผู้นำตะวันตกคนแรกที่ออกมาพูดต่อสาธารณะว่าสาเหตุของความขัดแย้งในยูเครนคือความพยายามของรัฐบาลชุดก่อนที่จะขยายนาโต” ลาฟรอฟกล่าวกับสมาชิกรัฐสภาเมื่อวันพุธ “ไม่มีผู้นำตะวันตกคนใดเคยพูดแบบนั้นมาก่อน ดังนั้น นั่นจึงเป็นสัญญาณว่าเขาเข้าใจจุดยืนของเราแล้ว” . - รัสเซียโต้แย้งมานานแล้วว่าการขยายตัวของนาโต้ไปทางตะวันออกทำให้ความมั่นคงของประเทศตกอยู่ในอันตราย โดยผู้นำนาโต้สัญญากับรัสเซียว่าพันธมิตรป้องกันประเทศจะไม่ขยายตัวหลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลง นาโต้มีนโยบายเปิดประตูต้อนรับรัฐในยุโรปทุกรัฐให้เข้าร่วมตราบใดที่รัฐเหล่านั้นตรงตามเกณฑ์การเข้าร่วม . - แต่ทรัมป์ไม่ได้หยุดเพียงแค่ตั้งคำถามว่าใครเป็นคนเริ่มสงครามในยูเครน โดยทรัมป์ยังคงตั้งคำถามถึงความชอบธรรมของเซเลนสกี โดยเขาพูดซ้ำแนวทางที่เครมลินมักจะเสนออยู่เสมอ . - เมื่อวันพุธที่ผ่านมา เซเลนสกีระบุโดยเฉพาะว่าการอ้างว่าคะแนนนิยมของเขาอยู่ที่ 4% มาจากรัสเซีย และเคียฟก็มีหลักฐานบางอย่างที่บ่งชี้ว่าตัวเลขดังกล่าวได้รับการหารือกันระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียแล้ว ------- CNN
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 399 มุมมอง 0 รีวิว
  • คีธ เคลล็อกก์ ผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประจำยูเครน เดินทางมาถึงกรุงเคียฟเพื่อหารือกับเซเลนสกี และเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลังจากการเจรจาระหว่างสหรัฐกับรัสเซียที่ซาอุดีอาระเบียเมื่อวานนี้

    เคลล็อกก์ กล่าวว่าการมาครั้งนี้เพื่อรับฟังทุกสิ่งเกี่ยวกับยูเครน ก่อนจะสรุปให้ทรัมป์ทราบถึงขั้นตอนต่อไป
    คีธ เคลล็อกก์ ผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประจำยูเครน เดินทางมาถึงกรุงเคียฟเพื่อหารือกับเซเลนสกี และเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลังจากการเจรจาระหว่างสหรัฐกับรัสเซียที่ซาอุดีอาระเบียเมื่อวานนี้ เคลล็อกก์ กล่าวว่าการมาครั้งนี้เพื่อรับฟังทุกสิ่งเกี่ยวกับยูเครน ก่อนจะสรุปให้ทรัมป์ทราบถึงขั้นตอนต่อไป
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 253 มุมมอง 16 0 รีวิว
  • รายงานล่าสุด เซเลนสกี จะเดินทางเยือนเยือนซาอุดีอาระเบียในวันที่ 10 มีนาคม จากเดิมกำหนดจะจัดขึ้นในวันนี้ แต่ถูกขัดขวางจากสหรัฐและรัสเซีย
    รายงานล่าสุด เซเลนสกี จะเดินทางเยือนเยือนซาอุดีอาระเบียในวันที่ 10 มีนาคม จากเดิมกำหนดจะจัดขึ้นในวันนี้ แต่ถูกขัดขวางจากสหรัฐและรัสเซีย
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 122 มุมมอง 0 รีวิว
  • Trump แถลงผลการเจรจากับรัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย พร้อมกดดันให้ยูเครนจัดการเลือกตั้ง

    ประธานาธิบดีทรัมป์ ระบุว่ายูเครนจำเป็นต้องจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่ แม้ว่าเซเลนสกีจะมีคะแนนนิยมเหลือเพียง 4% พร้อมกับวิจารณ์ว่ายูเครนไม่ควรเริ่มสงครามตั้งแต่แรก และควรทำ “ข้อตกลง” กับรัสเซียให้เสร็จสิ้น ตั้งแต่ที่รัสเซียเริ่มการบุกเมื่อปี 2022 แล้ว

    นอกจากนี้ ทรัมป์ยังแสดงความ "ไม่พอใจอย่างมาก" ต่อการกระทำของไบเดน ที่สนบัสนุนยูเครน โดยยืนยันอีกครั้งว่าหากเขาเป็นประธานาธิบดีตอนนั้น สงครามจะ "ไม่เกิดขึ้น" และสามารถ "ช่วยชีวิตคนนับล้าน" และยังป้องกันสงครามโลกครั้งที่ 3 ไว้อีกด้วย

    ทรัมป์ยังวิจารณ์สหภาพยุโรปที่ไม่ทำอะไรเลยเพื่อยุติสงครามและทำข้อตกลงสันติภาพในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งน่าจะช่วยรักษาดินแดนยูเครนและชีวิตผู้คนไว้ได้

    "ที่ผ่านมา 3 ปี พวกคุณอยู่ไหน? ไม่จำเป็นต้องเริ่มเรื่องนี้ เลยเวลาทำข้อตกลงมานานแล้ว" ทรัมป์ฝากคำถามไปถึงประเทศที่ไม่พอใจที่ไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมเจรจาที่ซาอุฯ

    ทรัมป์ยังทวงเงินความช่วยเหลือของสหรัฐต่อเซเลนสกี ว่าความช่วยเหลือจากอเมริกากว่า 350,000 ล้านดอลลาร์ตอนนี้มันไปอยู่ที่ไหน "เงินทั้งหมดอยู่ไหน ไม่มีใครรู้ ยูเครนจะต้องจ่ายหรือต้องหาให้เจอว่าเงินไปไหน"
    Trump แถลงผลการเจรจากับรัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย พร้อมกดดันให้ยูเครนจัดการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีทรัมป์ ระบุว่ายูเครนจำเป็นต้องจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่ แม้ว่าเซเลนสกีจะมีคะแนนนิยมเหลือเพียง 4% พร้อมกับวิจารณ์ว่ายูเครนไม่ควรเริ่มสงครามตั้งแต่แรก และควรทำ “ข้อตกลง” กับรัสเซียให้เสร็จสิ้น ตั้งแต่ที่รัสเซียเริ่มการบุกเมื่อปี 2022 แล้ว นอกจากนี้ ทรัมป์ยังแสดงความ "ไม่พอใจอย่างมาก" ต่อการกระทำของไบเดน ที่สนบัสนุนยูเครน โดยยืนยันอีกครั้งว่าหากเขาเป็นประธานาธิบดีตอนนั้น สงครามจะ "ไม่เกิดขึ้น" และสามารถ "ช่วยชีวิตคนนับล้าน" และยังป้องกันสงครามโลกครั้งที่ 3 ไว้อีกด้วย ทรัมป์ยังวิจารณ์สหภาพยุโรปที่ไม่ทำอะไรเลยเพื่อยุติสงครามและทำข้อตกลงสันติภาพในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งน่าจะช่วยรักษาดินแดนยูเครนและชีวิตผู้คนไว้ได้ "ที่ผ่านมา 3 ปี พวกคุณอยู่ไหน? ไม่จำเป็นต้องเริ่มเรื่องนี้ เลยเวลาทำข้อตกลงมานานแล้ว" ทรัมป์ฝากคำถามไปถึงประเทศที่ไม่พอใจที่ไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมเจรจาที่ซาอุฯ ทรัมป์ยังทวงเงินความช่วยเหลือของสหรัฐต่อเซเลนสกี ว่าความช่วยเหลือจากอเมริกากว่า 350,000 ล้านดอลลาร์ตอนนี้มันไปอยู่ที่ไหน "เงินทั้งหมดอยู่ไหน ไม่มีใครรู้ ยูเครนจะต้องจ่ายหรือต้องหาให้เจอว่าเงินไปไหน"
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 314 มุมมอง 16 0 รีวิว
  • โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บ่งชี้ว่ายูเครนอาจจำเป็นต้องจัดเลือกตั้งใหม่ และเน้นย้ำว่า โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำโดยพฤตินัยของเคียฟในปัจจุบัน ไม่เป็นที่นิยมนัก
    .
    ทรัมป์ แสดงความคิดเห็นไม่กี่ชั่วโมงหลังจากคณะผู้เจรจาของสหรัฐฯและรัสเซีย พบปะกันในกรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย เพื่อหารือถึงแนวทางต่างๆในการยุติความขัดแย้งในยูเครน มันถือเป็นการพูดคุยกัยครั้งแรกนับตั้งแต่อดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำอเมริกาคนก่อนหน้าทรัมป์ ระงับการติดต่อทั้งหมดกับมอสโกในปี 2022
    .
    ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เน้นย้ำมาตลอดว่ามอสโกมองว่า เซเลนสกี ไม่มีความชอบธรรมทางกฎหมายมานานแล้ว สืบเนื่องจากวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปีของเขา สิ้นสุดลงไปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2024 และจนถึงตอนนี้ยังไม่มีการจัดเลือกตั้งใหม่ ก็เพราะกฎอัยการศึกที่ประกาศโดยเซเลนสกี
    .
    ระหว่างให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวในวันอังคาร(18ก.พ.) ทรัมป์เน้นย้ำว่าเซเลนสกี ไม่เป็นที่นิยมอย่างมากภายในประเทศของตนเอง "ผู้นำในยูเครน ผมไม่อยากพูดเลยว่า เขามีคะแนนนิยมลดต่ำอยู่แค่ระดับ 4%" ทรัมป์ระบุ
    .
    "ตอนที่พวกเขาบอกว่าต้องการเก้าอี้ในโต๊ะเจรจา คุณอาจพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชาวยูเครน มันนานมาแล้วนับตั้งแต่เรามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์เน้นย้ำ "มันไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากผม และออกมาจากประเทศอื่นๆหลายชาติเช่นกัน"
    .
    พวกเจ้าที่ยูเครนยืนยันว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะจัดการเลือกตั้งใหม่ในระหว่างที่ความขัดแย้งกับรัสเซียยังคงดำเนินอยู่
    .
    คะแนนิยมของเซเลนสกี พุ่งทะลุฟ้าแตะระดับ 90% ในช่วงเดือนแรกๆของความขัดแย้งในปี 2022 แต่นับตั้งแต่นั้นก็ร่วลงสู่ระดับ 50%
    .
    ตามหลังความพ่ายแพ้อย่างต่อเนื่องในสมรภูมิรบและปัญหารื้อรังในด้านเศรษฐกิจ เมื่อเดือนที่แล้ว สื่อมวลชนยูเครนอ้างผลสำรวจของสำนักโพล Socis poll พบว่าเหลือชาวยูเครนแค่ 40% ที่ยังคงเชื่อมั่นในเซเลนสกี ผิดกับ วาเลรี ซาลูซนีย์ อดีตนายพลแห่งกองทัพยูเครน ที่เวลานี้เป็นเอกอัครราชทูตประจำลอนดอน ที่ได้รับความเชื่อมั่นเกือบๆ 72%
    .
    ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกวังเครมลินบอกในวันอังคาร(18ก.พ.) ว่า ปูติน เปิดกว้างที่จะเจรจากับ เซเลนสกี แต่ก็ต่อเมื่อประเด็นเกี่ยวกับความชอบธรรมของผู้นำยูเครนได้รับการคลี่คลายแล้วเท่านั้น
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016369
    ..............
    Sondhi X
    โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บ่งชี้ว่ายูเครนอาจจำเป็นต้องจัดเลือกตั้งใหม่ และเน้นย้ำว่า โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำโดยพฤตินัยของเคียฟในปัจจุบัน ไม่เป็นที่นิยมนัก . ทรัมป์ แสดงความคิดเห็นไม่กี่ชั่วโมงหลังจากคณะผู้เจรจาของสหรัฐฯและรัสเซีย พบปะกันในกรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย เพื่อหารือถึงแนวทางต่างๆในการยุติความขัดแย้งในยูเครน มันถือเป็นการพูดคุยกัยครั้งแรกนับตั้งแต่อดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำอเมริกาคนก่อนหน้าทรัมป์ ระงับการติดต่อทั้งหมดกับมอสโกในปี 2022 . ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เน้นย้ำมาตลอดว่ามอสโกมองว่า เซเลนสกี ไม่มีความชอบธรรมทางกฎหมายมานานแล้ว สืบเนื่องจากวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปีของเขา สิ้นสุดลงไปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2024 และจนถึงตอนนี้ยังไม่มีการจัดเลือกตั้งใหม่ ก็เพราะกฎอัยการศึกที่ประกาศโดยเซเลนสกี . ระหว่างให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวในวันอังคาร(18ก.พ.) ทรัมป์เน้นย้ำว่าเซเลนสกี ไม่เป็นที่นิยมอย่างมากภายในประเทศของตนเอง "ผู้นำในยูเครน ผมไม่อยากพูดเลยว่า เขามีคะแนนนิยมลดต่ำอยู่แค่ระดับ 4%" ทรัมป์ระบุ . "ตอนที่พวกเขาบอกว่าต้องการเก้าอี้ในโต๊ะเจรจา คุณอาจพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชาวยูเครน มันนานมาแล้วนับตั้งแต่เรามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์เน้นย้ำ "มันไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากผม และออกมาจากประเทศอื่นๆหลายชาติเช่นกัน" . พวกเจ้าที่ยูเครนยืนยันว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะจัดการเลือกตั้งใหม่ในระหว่างที่ความขัดแย้งกับรัสเซียยังคงดำเนินอยู่ . คะแนนิยมของเซเลนสกี พุ่งทะลุฟ้าแตะระดับ 90% ในช่วงเดือนแรกๆของความขัดแย้งในปี 2022 แต่นับตั้งแต่นั้นก็ร่วลงสู่ระดับ 50% . ตามหลังความพ่ายแพ้อย่างต่อเนื่องในสมรภูมิรบและปัญหารื้อรังในด้านเศรษฐกิจ เมื่อเดือนที่แล้ว สื่อมวลชนยูเครนอ้างผลสำรวจของสำนักโพล Socis poll พบว่าเหลือชาวยูเครนแค่ 40% ที่ยังคงเชื่อมั่นในเซเลนสกี ผิดกับ วาเลรี ซาลูซนีย์ อดีตนายพลแห่งกองทัพยูเครน ที่เวลานี้เป็นเอกอัครราชทูตประจำลอนดอน ที่ได้รับความเชื่อมั่นเกือบๆ 72% . ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกวังเครมลินบอกในวันอังคาร(18ก.พ.) ว่า ปูติน เปิดกว้างที่จะเจรจากับ เซเลนสกี แต่ก็ต่อเมื่อประเด็นเกี่ยวกับความชอบธรรมของผู้นำยูเครนได้รับการคลี่คลายแล้วเท่านั้น . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016369 .............. Sondhi X
    Haha
    Like
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2083 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน วิพากษ์วิจารณ์การเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซีย ที่กีดกันไม่ให้เคียฟเข้าร่วม ระบุความพยายามยุติสงครามต้อง "ยุติธรรม" และบรรดาประเทศยุโรป ในนั้นรวมถึงตุรกี ควรมีส่วนร่วมด้วย
    .
    ความเห็นของเขามีขึ้นหลังจากวอชิงตันและมอสโก เผยว่าพวกเขาจะเปิดเผยชื่อคณะทำงานสำหรับเจรจาเส้นทางสู่การยุติสงครามในยูเครน ระหว่างการเจรจาอย่างเป็นทางการระดับสูงครั้งแรกของทั้ง 2 ฝ่าย นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน
    .
    ความเห็นอันเดือดดาลของผู้นำยูเครน มีขึ้นหลังจากเขาได้พบปะกับประธานาธิบดี เรเจป ตัยยิบ แอร์โดอัน แห่งตุรกี เป็นเวลาเกือบ 3 ชั่วโมง ในกรุงอังการา เมืองหลวงของตุรกี
    .
    "ยูเครนและยุโรปในสามัญสำนักอย่างกว้างๆ และนี่รวมถึงสหภาพยุโรป ตุรกีและสหราชอาณาจักร ควรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนทนาและก่อรูปร่างมาตรการรับประกันความมั่นคงที่จำเป็นร่วมกับอเมริกา ในเรื่องเกี่ยวกับชะตากรรมของเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลก" เซเลนสกีกล่าว
    .
    "ความพยายามเป็นคนกลางใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง ควรเป็นไปอย่างยุติธรรม" เขากล่าว ประณามเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย ในริยาด ก่อนหน้านี้ในวันอังคาร (18 ก.พ.) และเน้นย้ำจุดยืนคัดค้าน "การพูดคุยใดๆ ที่ปราศจากยูเครน เกี่ยวกับแนวทางยุติสงครามในยูเครน"
    .
    เซเลนสกีเผยว่าเขาไม่ได้รับเชิญให้ร่วมเจรจาในริยาด และตัดสินใจเลื่อนโปรแกรมเดินทางเยือนเมืองหลวงของซาดุอีอาระเบีย จากเดิมที่คาดหมายว่าจะมีขึ้นในวันพุธ (19 ก.พ.) ไปเป็นวันที่ 10 มีนาคม
    .
    การยกเครื่องนโยบายเกี่ยวกับรัสเซียของทรัมป์ โหมกระพือความกังวลว่าวอชิงตันกำลังเตรียมการบีบเคียฟให้ยอมเจรจาต่อรองบนเงื่อนไขของมอสโก
    .
    นอกเหนือจากการเจรจาในริยาดแล้ว ความกังวลนี้มีมากขึ้นไปอีก เมื่อ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย พบปะหารือกันในประเด็นความมั่นคงยุโรปและยูเครน โดยไม่มีตัวแทนใดๆ จากเคียฟหรือบรัสเซลส์เข้าร่วมด้วย
    .
    ในส่วนของแอร์โดอัน ที่ยืนอยู่ข้างๆ เซเลนสกี ระหว่างแถลงข่าว ได้เสนอให้ตุรกีเป็นเจ้าภาพการเจรจาใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง โดยย้อนให้นึกถึงครั้งที่ทั้ง 2 ฝ่าย พบปะกันในอิสตุนบูลในปี 2022 ไม่กี่สัปดาห์หลังรัสเซียรุกรานยูเครน
    .
    "ตุรกีจะเป็นเจ้าภาพในอุดมคติสำหรับความเป็นไปได้ในการเจรจาใดๆ ระหว่างรัสเซีย ยูเครนและอเมริกา ในอนาคตอันใกล้นี้" เขากล่าว พร้อมบอกว่าการเจรจาในอิสตันบูล "เป็นจุดอ้างอิงที่สำคัญและเป็นแพลตฟอร์มที่ฝ่ายต่างๆ เฉียดใกล้ได้ข้อตกลงหนึ่งมากที่สุดแล้ว"
    .
    การเดินทางครั้งนี้ของเซเลนสกี ถือเป็นครั้งที่ 3 แล้วที่เขาเดินทางเยือนตุรกี นับตั้งแต่รัสเซียรุกราน โดยคราวนี้เกิดขึ้นในขณะที่เขาพยายามค้ำยันสถานะของเคียฟ ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เอื้อมมือเข้าหามอสโก
    .
    ตุรกี ซึ่งเป็นชาติสมาชิกนาโต หาทางคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับ 2 ชาติเพื่อนบ้านคู่สงครามทะเลดำ โดยที่แอร์โดอัน วางสถานะของตนเองในฐานะคนกลางและผู้สร้างสันติระหว่าง 2 ฝ่าย
    .
    แม้อังการาจะมอบโดรนแก่ยูเครน แต่ขณะเดียวกัน พวกเขาก็เพิกเฉยปลีกตัวออกต่างจากมาตรการคว่ำบาตรที่นำโดยตะวันตก ที่กำหนดเล่นงานมอสโก
    .
    เช่นเดียวกับซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางตุรกีเล่นบทบาทสำคัญในการเป็นคนกลางแลกเปลี่ยนเชลยศึกหลายรายระหว่างรัสเซียกับยูเครน ข้อตกลงนี้พบเห็นนักโทษหลายร้อยคนถูกปล่อยตัวกลับมาตุภูมิ แม้ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไป
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016367
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน วิพากษ์วิจารณ์การเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซีย ที่กีดกันไม่ให้เคียฟเข้าร่วม ระบุความพยายามยุติสงครามต้อง "ยุติธรรม" และบรรดาประเทศยุโรป ในนั้นรวมถึงตุรกี ควรมีส่วนร่วมด้วย . ความเห็นของเขามีขึ้นหลังจากวอชิงตันและมอสโก เผยว่าพวกเขาจะเปิดเผยชื่อคณะทำงานสำหรับเจรจาเส้นทางสู่การยุติสงครามในยูเครน ระหว่างการเจรจาอย่างเป็นทางการระดับสูงครั้งแรกของทั้ง 2 ฝ่าย นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน . ความเห็นอันเดือดดาลของผู้นำยูเครน มีขึ้นหลังจากเขาได้พบปะกับประธานาธิบดี เรเจป ตัยยิบ แอร์โดอัน แห่งตุรกี เป็นเวลาเกือบ 3 ชั่วโมง ในกรุงอังการา เมืองหลวงของตุรกี . "ยูเครนและยุโรปในสามัญสำนักอย่างกว้างๆ และนี่รวมถึงสหภาพยุโรป ตุรกีและสหราชอาณาจักร ควรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนทนาและก่อรูปร่างมาตรการรับประกันความมั่นคงที่จำเป็นร่วมกับอเมริกา ในเรื่องเกี่ยวกับชะตากรรมของเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลก" เซเลนสกีกล่าว . "ความพยายามเป็นคนกลางใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง ควรเป็นไปอย่างยุติธรรม" เขากล่าว ประณามเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย ในริยาด ก่อนหน้านี้ในวันอังคาร (18 ก.พ.) และเน้นย้ำจุดยืนคัดค้าน "การพูดคุยใดๆ ที่ปราศจากยูเครน เกี่ยวกับแนวทางยุติสงครามในยูเครน" . เซเลนสกีเผยว่าเขาไม่ได้รับเชิญให้ร่วมเจรจาในริยาด และตัดสินใจเลื่อนโปรแกรมเดินทางเยือนเมืองหลวงของซาดุอีอาระเบีย จากเดิมที่คาดหมายว่าจะมีขึ้นในวันพุธ (19 ก.พ.) ไปเป็นวันที่ 10 มีนาคม . การยกเครื่องนโยบายเกี่ยวกับรัสเซียของทรัมป์ โหมกระพือความกังวลว่าวอชิงตันกำลังเตรียมการบีบเคียฟให้ยอมเจรจาต่อรองบนเงื่อนไขของมอสโก . นอกเหนือจากการเจรจาในริยาดแล้ว ความกังวลนี้มีมากขึ้นไปอีก เมื่อ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย พบปะหารือกันในประเด็นความมั่นคงยุโรปและยูเครน โดยไม่มีตัวแทนใดๆ จากเคียฟหรือบรัสเซลส์เข้าร่วมด้วย . ในส่วนของแอร์โดอัน ที่ยืนอยู่ข้างๆ เซเลนสกี ระหว่างแถลงข่าว ได้เสนอให้ตุรกีเป็นเจ้าภาพการเจรจาใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง โดยย้อนให้นึกถึงครั้งที่ทั้ง 2 ฝ่าย พบปะกันในอิสตุนบูลในปี 2022 ไม่กี่สัปดาห์หลังรัสเซียรุกรานยูเครน . "ตุรกีจะเป็นเจ้าภาพในอุดมคติสำหรับความเป็นไปได้ในการเจรจาใดๆ ระหว่างรัสเซีย ยูเครนและอเมริกา ในอนาคตอันใกล้นี้" เขากล่าว พร้อมบอกว่าการเจรจาในอิสตันบูล "เป็นจุดอ้างอิงที่สำคัญและเป็นแพลตฟอร์มที่ฝ่ายต่างๆ เฉียดใกล้ได้ข้อตกลงหนึ่งมากที่สุดแล้ว" . การเดินทางครั้งนี้ของเซเลนสกี ถือเป็นครั้งที่ 3 แล้วที่เขาเดินทางเยือนตุรกี นับตั้งแต่รัสเซียรุกราน โดยคราวนี้เกิดขึ้นในขณะที่เขาพยายามค้ำยันสถานะของเคียฟ ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เอื้อมมือเข้าหามอสโก . ตุรกี ซึ่งเป็นชาติสมาชิกนาโต หาทางคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับ 2 ชาติเพื่อนบ้านคู่สงครามทะเลดำ โดยที่แอร์โดอัน วางสถานะของตนเองในฐานะคนกลางและผู้สร้างสันติระหว่าง 2 ฝ่าย . แม้อังการาจะมอบโดรนแก่ยูเครน แต่ขณะเดียวกัน พวกเขาก็เพิกเฉยปลีกตัวออกต่างจากมาตรการคว่ำบาตรที่นำโดยตะวันตก ที่กำหนดเล่นงานมอสโก . เช่นเดียวกับซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางตุรกีเล่นบทบาทสำคัญในการเป็นคนกลางแลกเปลี่ยนเชลยศึกหลายรายระหว่างรัสเซียกับยูเครน ข้อตกลงนี้พบเห็นนักโทษหลายร้อยคนถูกปล่อยตัวกลับมาตุภูมิ แม้ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไป . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016367 .............. Sondhi X
    Haha
    Like
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2094 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐฯ กับรัสเซียเห็นพ้องกันที่จะเริ่มต้นทำงานเพื่อยุติสงครามในยูเครน และปรับปรุงสายสัมพันธ์ทางการทูตและทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ระบุภายหลังการเจรจากันของคณะผู้แทนสหรัฐฯ ที่นำโดยตัวเขา กับคณะของรัสเซียซึ่งมีรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ เป็นผู้นำ ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย โดยที่ไม่มีตัวแทนจากยูเครนหรือทางยุโรปเข้าร่วมด้วย
    .
    ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีภายหลังการเจรจากับฝ่ายรัสเซีย รูบิโอกล่าวว่าทั้งสองฝ่ายมีการตกลงกันอย่างกว้างๆ ที่จะมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ การหวนคืนในเรื่องการให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายได้กลับเข้าประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูตของกันและกันในกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโก การก่อตั้งทีมงานระดับสูงเพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพยูเครน และการสำรวจลู่ทางเพื่อให้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น
    .
    อย่างไรก็ดี เขาย้ำว่า การพูดจาคราวนี้ถือเป็นหลักหมายของการเริ่มต้นสนทนากัน และยังจำเป็นจะต้องทำงานกันต่อไปอีกมาก
    .
    ทั้งนี้ สายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียได้ตกลงมาสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปีระหว่างที่เกิดสงครามในยูเครน โดยที่สถานเอกอัครราชทูตของแต่ละฝ่ายซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวงของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างได้รับความกระทบกระเทือนหนักจากการที่ต่างฝ่ายต่างสั่งขับไล่นักการทูตของกันและกันเป็นจำนวนมากหลายๆ ระลอกในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา และจากการที่สหรัฐฯ จับมือกับยุโรปในการประกาศใช้มาตรการแซงก์ชันด้านต่างๆ กับรัสเซีย
    .
    รูบิโอ ยังกล่าวแสดงความหวังให้การสู้รบขัดแย้งในยูเครนเดินเข้าสู่จุดจบที่สามารถยอมรับกันได้ และสหรัฐฯ กับรัสเซียจะมีโอกาสอันน่าเชื่อถือที่จะจับมือกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ในประเด็นต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนในทางเศรษฐกิจด้วยประเด็นซึ่งจะเป็นผลดีต่อโลกและก็จะปรับปรุงความสัมพันธ์ของสองประเทศในระยะยาว
    .
    การหารือในวันอังคารคราวนี้ ยังมุ่งหมายที่จะแผ้วถางทางให้แก่การประชุมซัมมิตระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ทว่าภายหลังการเจรจาสิ้นสุดลง ยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการต่างประเทศของปูติน ซึ่งอยู่ในคณะของฝ่ายรัสเซีย บอกกับสถานีโทรทัศน์แชนเนลวัน ของรัสเซียว่า ยังไม่มีการกำหนดวันแน่นอนสำหรับซัมมิตดังที่ว่านี้ และ “ไม่น่าเป็นไปได้” ที่จะเกิดขึ้นมาในสัปดาห์หน้า
    .
    ในส่วนของ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เขากล่าวกับพวกผู้สื่อข่าวหลังการหารือว่า “การสนทนากันคราวนี้เป็นประโยชน์มาก” โดยที่เขาอ้างอิงถึงเป้าหมาย 3 ประการเช่นเดียวกับที่รูบิโอพูด และบอกว่าวอชิงตันกับมอสโกตกลงกันที่จะแต่งตั้งคณะตัวแทนที่จะดำเนินการ “การปรึกษาหารืออย่างเป็นประจำ” ในเรื่องยูเครนขึ้นมา
    .
    “เราไม่เพียงแค่รับฟัง แต่ยังได้ยินกันและกันอีกด้วย” ลาฟรอฟบอก “และผมมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าฝ่ายอเมริกันได้เริ่มต้นที่จะเข้าอกเข้าใจจุดยืนของเราดีขึ้นแล้ว ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราได้พูดสรุปโดยมีการลงรายละเอียด ใช้ตัวอย่างเฉพาะเจาะจงต่างๆ โดยยึดโยงอยู่กับคำปราศรัยครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีปูติน”
    .
    ก่อนหน้าการเจรจาคราวนี้ ทั้งสองฝ่ายดูจะมีความพยายามเน้นย้ำไมให้เกิดการตั้งความหวังมากจนเกินความเป็นจริง
    .
    ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงเมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า การหารือคราวนี้มุ่งเน้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโกเป็นหลัก ตลอดจนถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับยูเครน และการจัดเตรียมการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
    .
    ส่วน แทมมี บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า การประชุมที่ซาอุดีอาระเบียมีเป้าหมายในการพิจารณาว่า รัสเซียจริงจังกับข้อตกลงสันติภาพแค่ไหน และจะเริ่มต้นการเจรจาอย่างละเอียดได้หรือไม่
    .
    บรูซเสริมว่า แม้ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมการหารือในวันอังคาร แต่การเจรจาสันติภาพที่แท้จริงจะต้องมีเคียฟร่วมวงด้วย
    .
    การเจรจาคราวนี้จัดขึ้นที่ที่พระราชวังดิริยาห์ในกรุงริยาด โดยคณะของฝ่ายของสหรัฐฯ นอกจากรัฐมนตรีต่างประเทาศรูบิโอ แล้ว ยังมี ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลาง ขณะที่ฝ่ายรัสเซีย ได้แก่ เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยอาวุโสของปูติน
    .
    รายงานข่าวระบุว่า การหารือเริ่มต้นขึ้นโดยไม่มีการจับมือหรือการแถลงใดๆ แต่มีเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาร์ฮัน และมูซาอัด บิน โมฮัมหมัด อัล-ไอบาน รัฐมนตรีต่างประเทศและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของซาอุดีอาระเบียตามลำดับร่วมอยู่ด้วย
    .
    การหารือครั้งนี้ถือเป็นการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสองชาติครั้งแรกนับจากที่รัสเซียบุกยูเครน และยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกา
    .
    เปสคอฟแถลงเมื่อวันอังคารระหว่างที่การหารือในริยาดดำเนินอยู่ว่า การแก้ไขวิกฤตยูเครนอย่างยั่งยืนไม่มีทางเป็นไปได้หากไม่พิจารณาสถานการณ์ความมั่นคงของยุโรป และสำทับว่า ยูเครนมีสิทธิอธิปไตยในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่รัสเซียคัดค้านการเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ของเคียฟ
    .
    โฆษกเครมลินเสริมว่า ปูตินพร้อมคุยกับเซเลนสกีถ้าจำเป็น
    .
    รัสเซียยังระบุก่อนการหารือว่า ปูตินและทรัมป์ต้องการออกจาก “ความสัมพันธ์ที่ผิดปกติ” และไม่เห็นความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องร่วมเจรจาใดๆ
    .
    คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจและประธานกองทุนการลงทุนโดยตรงของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์สถานีทีวีของทางการรัสเซียเมื่อวันอังคารว่า เขาคาดหวังว่า จะมีความคืบหน้าภายในเวลา 2-3 เดือน
    .
    ในส่วนความคืบหน้าที่อาจนำไปสู่ข้อตกลงหยุดยิงในยูเครนนั้นยังไม่มีความชัดเจน โดยทั้งอเมริกาและรัสเซียต่างออกตัวว่า การหารือในวันอังคารเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยาวนานเท่านั้น
    .
    บรูซ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การหารือที่ริยาดไม่ควรถูกคาดหวังว่า จะมีรายละเอียดหรือมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาหยุดยิง
    .
    ขณะที่อูชาคอฟให้สัมภาษณ์สื่อของทางการรัสเซียว่า การพูดคุยในวันอังคารเป็นเพียงการหารือถึงวิธีเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016365
    ..............
    Sondhi X
    สหรัฐฯ กับรัสเซียเห็นพ้องกันที่จะเริ่มต้นทำงานเพื่อยุติสงครามในยูเครน และปรับปรุงสายสัมพันธ์ทางการทูตและทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ระบุภายหลังการเจรจากันของคณะผู้แทนสหรัฐฯ ที่นำโดยตัวเขา กับคณะของรัสเซียซึ่งมีรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ เป็นผู้นำ ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย โดยที่ไม่มีตัวแทนจากยูเครนหรือทางยุโรปเข้าร่วมด้วย . ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีภายหลังการเจรจากับฝ่ายรัสเซีย รูบิโอกล่าวว่าทั้งสองฝ่ายมีการตกลงกันอย่างกว้างๆ ที่จะมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ การหวนคืนในเรื่องการให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายได้กลับเข้าประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูตของกันและกันในกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโก การก่อตั้งทีมงานระดับสูงเพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพยูเครน และการสำรวจลู่ทางเพื่อให้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น . อย่างไรก็ดี เขาย้ำว่า การพูดจาคราวนี้ถือเป็นหลักหมายของการเริ่มต้นสนทนากัน และยังจำเป็นจะต้องทำงานกันต่อไปอีกมาก . ทั้งนี้ สายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียได้ตกลงมาสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปีระหว่างที่เกิดสงครามในยูเครน โดยที่สถานเอกอัครราชทูตของแต่ละฝ่ายซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวงของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างได้รับความกระทบกระเทือนหนักจากการที่ต่างฝ่ายต่างสั่งขับไล่นักการทูตของกันและกันเป็นจำนวนมากหลายๆ ระลอกในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา และจากการที่สหรัฐฯ จับมือกับยุโรปในการประกาศใช้มาตรการแซงก์ชันด้านต่างๆ กับรัสเซีย . รูบิโอ ยังกล่าวแสดงความหวังให้การสู้รบขัดแย้งในยูเครนเดินเข้าสู่จุดจบที่สามารถยอมรับกันได้ และสหรัฐฯ กับรัสเซียจะมีโอกาสอันน่าเชื่อถือที่จะจับมือกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ในประเด็นต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนในทางเศรษฐกิจด้วยประเด็นซึ่งจะเป็นผลดีต่อโลกและก็จะปรับปรุงความสัมพันธ์ของสองประเทศในระยะยาว . การหารือในวันอังคารคราวนี้ ยังมุ่งหมายที่จะแผ้วถางทางให้แก่การประชุมซัมมิตระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ทว่าภายหลังการเจรจาสิ้นสุดลง ยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการต่างประเทศของปูติน ซึ่งอยู่ในคณะของฝ่ายรัสเซีย บอกกับสถานีโทรทัศน์แชนเนลวัน ของรัสเซียว่า ยังไม่มีการกำหนดวันแน่นอนสำหรับซัมมิตดังที่ว่านี้ และ “ไม่น่าเป็นไปได้” ที่จะเกิดขึ้นมาในสัปดาห์หน้า . ในส่วนของ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เขากล่าวกับพวกผู้สื่อข่าวหลังการหารือว่า “การสนทนากันคราวนี้เป็นประโยชน์มาก” โดยที่เขาอ้างอิงถึงเป้าหมาย 3 ประการเช่นเดียวกับที่รูบิโอพูด และบอกว่าวอชิงตันกับมอสโกตกลงกันที่จะแต่งตั้งคณะตัวแทนที่จะดำเนินการ “การปรึกษาหารืออย่างเป็นประจำ” ในเรื่องยูเครนขึ้นมา . “เราไม่เพียงแค่รับฟัง แต่ยังได้ยินกันและกันอีกด้วย” ลาฟรอฟบอก “และผมมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าฝ่ายอเมริกันได้เริ่มต้นที่จะเข้าอกเข้าใจจุดยืนของเราดีขึ้นแล้ว ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราได้พูดสรุปโดยมีการลงรายละเอียด ใช้ตัวอย่างเฉพาะเจาะจงต่างๆ โดยยึดโยงอยู่กับคำปราศรัยครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีปูติน” . ก่อนหน้าการเจรจาคราวนี้ ทั้งสองฝ่ายดูจะมีความพยายามเน้นย้ำไมให้เกิดการตั้งความหวังมากจนเกินความเป็นจริง . ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงเมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า การหารือคราวนี้มุ่งเน้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโกเป็นหลัก ตลอดจนถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับยูเครน และการจัดเตรียมการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ . ส่วน แทมมี บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า การประชุมที่ซาอุดีอาระเบียมีเป้าหมายในการพิจารณาว่า รัสเซียจริงจังกับข้อตกลงสันติภาพแค่ไหน และจะเริ่มต้นการเจรจาอย่างละเอียดได้หรือไม่ . บรูซเสริมว่า แม้ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมการหารือในวันอังคาร แต่การเจรจาสันติภาพที่แท้จริงจะต้องมีเคียฟร่วมวงด้วย . การเจรจาคราวนี้จัดขึ้นที่ที่พระราชวังดิริยาห์ในกรุงริยาด โดยคณะของฝ่ายของสหรัฐฯ นอกจากรัฐมนตรีต่างประเทาศรูบิโอ แล้ว ยังมี ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลาง ขณะที่ฝ่ายรัสเซีย ได้แก่ เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยอาวุโสของปูติน . รายงานข่าวระบุว่า การหารือเริ่มต้นขึ้นโดยไม่มีการจับมือหรือการแถลงใดๆ แต่มีเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาร์ฮัน และมูซาอัด บิน โมฮัมหมัด อัล-ไอบาน รัฐมนตรีต่างประเทศและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของซาอุดีอาระเบียตามลำดับร่วมอยู่ด้วย . การหารือครั้งนี้ถือเป็นการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสองชาติครั้งแรกนับจากที่รัสเซียบุกยูเครน และยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกา . เปสคอฟแถลงเมื่อวันอังคารระหว่างที่การหารือในริยาดดำเนินอยู่ว่า การแก้ไขวิกฤตยูเครนอย่างยั่งยืนไม่มีทางเป็นไปได้หากไม่พิจารณาสถานการณ์ความมั่นคงของยุโรป และสำทับว่า ยูเครนมีสิทธิอธิปไตยในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่รัสเซียคัดค้านการเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ของเคียฟ . โฆษกเครมลินเสริมว่า ปูตินพร้อมคุยกับเซเลนสกีถ้าจำเป็น . รัสเซียยังระบุก่อนการหารือว่า ปูตินและทรัมป์ต้องการออกจาก “ความสัมพันธ์ที่ผิดปกติ” และไม่เห็นความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องร่วมเจรจาใดๆ . คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจและประธานกองทุนการลงทุนโดยตรงของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์สถานีทีวีของทางการรัสเซียเมื่อวันอังคารว่า เขาคาดหวังว่า จะมีความคืบหน้าภายในเวลา 2-3 เดือน . ในส่วนความคืบหน้าที่อาจนำไปสู่ข้อตกลงหยุดยิงในยูเครนนั้นยังไม่มีความชัดเจน โดยทั้งอเมริกาและรัสเซียต่างออกตัวว่า การหารือในวันอังคารเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยาวนานเท่านั้น . บรูซ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การหารือที่ริยาดไม่ควรถูกคาดหวังว่า จะมีรายละเอียดหรือมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาหยุดยิง . ขณะที่อูชาคอฟให้สัมภาษณ์สื่อของทางการรัสเซียว่า การพูดคุยในวันอังคารเป็นเพียงการหารือถึงวิธีเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016365 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2128 มุมมอง 0 รีวิว
  • พวกผู้นำยุโรปที่ร่วมประชุมฉุกเฉินในกรุงปารีส มองต่างมุมเกี่ยวกับการหาวิธีรับมือการกลับลำนโยบายต่อยูเครนของทรัมป์ ฝรั่งเศสและอังกฤษพยายามผลักดันการรับประกันความมั่นคงของเคียฟ โดยที่ผู้นำลอนดอนยอมรับต้องรออเมริกาออกหน้าก่อน แต่เยอรมนีค้านข้อเสนอส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครน
    .
    ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เป็นเจ้าภาพจัดประชุมฉุกเฉินที่ปารีสในวันจันทร์ ขณะที่ยุโรปกังวลว่า ตนเองจะถูกตัดออกจากการเจรจาสันติภาพในยูเครน ซึ่งแม้แต่เคียฟก็ยังถูกเทเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปประชุมกับคณะเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นในวันอังคาร (18 ก.พ.) โดยที่ทั้งเคียฟและยุโรปไม่ได้รับเชิญ
    .
    บรรดาผู้นำยุโรปถกเถียงกันในปารีสเกี่ยวกับการเพิ่มงบประมาณกลาโหมเพื่อลดการพึ่งพิงอเมริกา การรับประกันความมั่นคงของยูเครน ตลอดจนการจัดส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครนหากมีทำข้อตกลงหยุดยิงกับรัสเซีย
    .
    มาครงเผยเมื่อเช้าวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า ได้หารือทางโทรศัพท์กับทรัมป์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี และได้เรียกร้องการรับประกันความมั่นคงที่เข้มแข็งและเชื่อถือได้สำหรับยูเครน เพื่อให้ข้อตกลงสันติภาพไม่จบแบบเดียวกับข้อตกลงมินสก์ในปี 2014 และ 2015 ที่ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในดินแดนด้านตะวันออกของยูเครนได้
    .
    ผู้นำฝรั่งเศสบอกว่า การกลับสู่ทำเนียบขาวของทรัมป์เทียบได้กับการช็อตด้วยไฟฟ้า แต่เตือนว่าข้อตกลงสันติภาพไม่ควรจบลงที่การยอมจำนน
    .
    ด้านเซเลนสกีประกาศว่า ยูเครนจะไม่ยอมรับข้อตกลงสันติภาพใดๆ ที่มีการหารือลับหลังโดยที่เคียฟไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
    .
    สำหรับนายกรัฐมนตรีดิค ชูฟ ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเข้าร่วมประชุมที่ปารีสด้วย โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า ทุกประเทศรับรู้ถึงความจำเป็นเร่งด่วน และในช่วงเวลาที่สำคัญต่อความมั่นคงของยุโรปขณะนี้ ยุโรปต้องสนับสนุนยูเครนต่อไปด้วยการเป็นแกนนำในการรับประกันข้อตกลงใดๆ ก่อนสำทับว่า การร่วมมือกับอเมริกามีความสำคัญเช่นเดียวกัน
    .
    กระนั้น ยังไม่ชัดเจนว่ายุโรปจะโน้มน้าววอชิงตันอย่างไร หลังจากที่ทรัมป์ทำยูเครนและพันธมิตรยุโรปอึ้งไปตามๆ กันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการโทรศัพท์คุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่ถูกตะวันตกโดดเดี่ยวมาหลายปี โดยไม่ปรึกษาใครในยุโรปเลย
    .
    นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษที่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาประกาศว่า พร้อมส่งทหารอังกฤษไปยูเครนถ้าจำเป็น ล่าสุดกลับแบะท่าว่า อเมริกาต้องรับประกันความปลอดภัยก่อน ยุโรปจึงจะสามารถส่งกองกำลังไปยูเครนได้
    .
    ทว่า ภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ของเยอรมนี ตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะถกเถียงกันเกี่ยวกับการส่งกองกำลังสันติภาพไปยูเครน เนื่องจากยังคงมีการสู้รบกันอยู่
    .
    สำหรับนายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสค์ของโปแลนด์ กล่าวว่า ทุกคนในที่ประชุมรับรู้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและอเมริกาได้ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ ขณะที่ตัวเขาเองพูดไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าประชุมว่า โปแลนด์จะไม่ส่งทหารเข้าไปในดินแดนยูเครน โดย "โปแลนด์จะสนับสนุนยูเครนแบบเดียวกับที่ทำมาจนถึงตอนนี้ โปแลนด์ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับศักยภาพทางการเงินของเรา ทั้งในแง่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและด้านการทหาร" เขากล่าว
    .
    อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู ระบุว่า ยูเครนสมควรมีสันติภาพด้วยสถานะที่เข้มแข็ง รวมทั้งได้รับการรับประกันความมั่นคง นอกจากนั้น ความเป็นเอกราช อธิปไตย และบูรณาภาพแห่งดินแดนของยูเครนควรได้รับการเคารพ
    .
    มาร์ค รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ประกาศว่า ยุโรปมีความมุ่งมั่นชัดเจนในการสนับสนุนยูเครน
    .
    นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมตเทอ เฟรเดริกเซิน กล่าวว่า เดนมาร์กเปิดกว้างในประเด็นการส่งทหารไปยูเครน แต่เตือนว่า คำถามสำคัญคืออเมริกาจะสนับสนุนเรื่องนี้หรือไม่ พร้อมสำทับว่า รัสเซียกำลังคุกคามยุโรปทั้งหมด และเตือนวอชิงตันว่า การเร่งรัดข้อตกลงหยุดยิงจะเปิดโอกาสให้มอสโกระดมพลอีกครั้งเพื่อกลับไปโจมตียูเครนหรือประเทศอื่นในยุโรป
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016364
    ..............
    Sondhi X
    พวกผู้นำยุโรปที่ร่วมประชุมฉุกเฉินในกรุงปารีส มองต่างมุมเกี่ยวกับการหาวิธีรับมือการกลับลำนโยบายต่อยูเครนของทรัมป์ ฝรั่งเศสและอังกฤษพยายามผลักดันการรับประกันความมั่นคงของเคียฟ โดยที่ผู้นำลอนดอนยอมรับต้องรออเมริกาออกหน้าก่อน แต่เยอรมนีค้านข้อเสนอส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครน . ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เป็นเจ้าภาพจัดประชุมฉุกเฉินที่ปารีสในวันจันทร์ ขณะที่ยุโรปกังวลว่า ตนเองจะถูกตัดออกจากการเจรจาสันติภาพในยูเครน ซึ่งแม้แต่เคียฟก็ยังถูกเทเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปประชุมกับคณะเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นในวันอังคาร (18 ก.พ.) โดยที่ทั้งเคียฟและยุโรปไม่ได้รับเชิญ . บรรดาผู้นำยุโรปถกเถียงกันในปารีสเกี่ยวกับการเพิ่มงบประมาณกลาโหมเพื่อลดการพึ่งพิงอเมริกา การรับประกันความมั่นคงของยูเครน ตลอดจนการจัดส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครนหากมีทำข้อตกลงหยุดยิงกับรัสเซีย . มาครงเผยเมื่อเช้าวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า ได้หารือทางโทรศัพท์กับทรัมป์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี และได้เรียกร้องการรับประกันความมั่นคงที่เข้มแข็งและเชื่อถือได้สำหรับยูเครน เพื่อให้ข้อตกลงสันติภาพไม่จบแบบเดียวกับข้อตกลงมินสก์ในปี 2014 และ 2015 ที่ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในดินแดนด้านตะวันออกของยูเครนได้ . ผู้นำฝรั่งเศสบอกว่า การกลับสู่ทำเนียบขาวของทรัมป์เทียบได้กับการช็อตด้วยไฟฟ้า แต่เตือนว่าข้อตกลงสันติภาพไม่ควรจบลงที่การยอมจำนน . ด้านเซเลนสกีประกาศว่า ยูเครนจะไม่ยอมรับข้อตกลงสันติภาพใดๆ ที่มีการหารือลับหลังโดยที่เคียฟไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง . สำหรับนายกรัฐมนตรีดิค ชูฟ ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเข้าร่วมประชุมที่ปารีสด้วย โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า ทุกประเทศรับรู้ถึงความจำเป็นเร่งด่วน และในช่วงเวลาที่สำคัญต่อความมั่นคงของยุโรปขณะนี้ ยุโรปต้องสนับสนุนยูเครนต่อไปด้วยการเป็นแกนนำในการรับประกันข้อตกลงใดๆ ก่อนสำทับว่า การร่วมมือกับอเมริกามีความสำคัญเช่นเดียวกัน . กระนั้น ยังไม่ชัดเจนว่ายุโรปจะโน้มน้าววอชิงตันอย่างไร หลังจากที่ทรัมป์ทำยูเครนและพันธมิตรยุโรปอึ้งไปตามๆ กันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการโทรศัพท์คุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่ถูกตะวันตกโดดเดี่ยวมาหลายปี โดยไม่ปรึกษาใครในยุโรปเลย . นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษที่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาประกาศว่า พร้อมส่งทหารอังกฤษไปยูเครนถ้าจำเป็น ล่าสุดกลับแบะท่าว่า อเมริกาต้องรับประกันความปลอดภัยก่อน ยุโรปจึงจะสามารถส่งกองกำลังไปยูเครนได้ . ทว่า ภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ของเยอรมนี ตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะถกเถียงกันเกี่ยวกับการส่งกองกำลังสันติภาพไปยูเครน เนื่องจากยังคงมีการสู้รบกันอยู่ . สำหรับนายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสค์ของโปแลนด์ กล่าวว่า ทุกคนในที่ประชุมรับรู้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและอเมริกาได้ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ ขณะที่ตัวเขาเองพูดไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าประชุมว่า โปแลนด์จะไม่ส่งทหารเข้าไปในดินแดนยูเครน โดย "โปแลนด์จะสนับสนุนยูเครนแบบเดียวกับที่ทำมาจนถึงตอนนี้ โปแลนด์ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับศักยภาพทางการเงินของเรา ทั้งในแง่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและด้านการทหาร" เขากล่าว . อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู ระบุว่า ยูเครนสมควรมีสันติภาพด้วยสถานะที่เข้มแข็ง รวมทั้งได้รับการรับประกันความมั่นคง นอกจากนั้น ความเป็นเอกราช อธิปไตย และบูรณาภาพแห่งดินแดนของยูเครนควรได้รับการเคารพ . มาร์ค รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ประกาศว่า ยุโรปมีความมุ่งมั่นชัดเจนในการสนับสนุนยูเครน . นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมตเทอ เฟรเดริกเซิน กล่าวว่า เดนมาร์กเปิดกว้างในประเด็นการส่งทหารไปยูเครน แต่เตือนว่า คำถามสำคัญคืออเมริกาจะสนับสนุนเรื่องนี้หรือไม่ พร้อมสำทับว่า รัสเซียกำลังคุกคามยุโรปทั้งหมด และเตือนวอชิงตันว่า การเร่งรัดข้อตกลงหยุดยิงจะเปิดโอกาสให้มอสโกระดมพลอีกครั้งเพื่อกลับไปโจมตียูเครนหรือประเทศอื่นในยุโรป . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016364 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2066 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐและรัสเซียคัดค้านการเชิญยูเครนเข้าร่วมการเจรจาในวันนี้ แม้จะมีข้อเสนอจากซาอุดีอาระเบียก็ตาม
    สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานโดยอ้างแหล่งข่าว
    สหรัฐและรัสเซียคัดค้านการเชิญยูเครนเข้าร่วมการเจรจาในวันนี้ แม้จะมีข้อเสนอจากซาอุดีอาระเบียก็ตาม สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานโดยอ้างแหล่งข่าว
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 154 มุมมอง 0 รีวิว
  • มีรายงานว่าเซเลนสกีได้ยกเลิกการเดินทางไปยังซาอุดีอาระเบียอย่างกะทันหัน โดยเขาจะเดินทางออกจากกรุงอังการา ประเทศตุรกี เพื่อกลับเคียฟทันที

    หลังจากทราบว่าการเจรจาระหว่างจากรัสเซียสหรัฐอเมริกาเสร็จสิ้นลง ไม่มีท่าทีเชิญให้เขาเข้าร่วมอีกครั้ง

    “เราไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมระหว่างรัสเซียและสหรัฐฯ ในซาอุดีอาระเบีย ถือเป็นเรื่องเซอร์ไพรส์สำหรับเรา ผมไม่ชอบเรื่องบังเอิญ ดังนั้น ผมคิดว่าจะไม่ไปซาอุดีอาระเบีย” เซเลนสกีกล่าวระหว่างการบรรยายสรุปหลังการประชุมกับประธานาธิบดีเรเซป เออร์โดกันของตุรกี
    มีรายงานว่าเซเลนสกีได้ยกเลิกการเดินทางไปยังซาอุดีอาระเบียอย่างกะทันหัน โดยเขาจะเดินทางออกจากกรุงอังการา ประเทศตุรกี เพื่อกลับเคียฟทันที หลังจากทราบว่าการเจรจาระหว่างจากรัสเซียสหรัฐอเมริกาเสร็จสิ้นลง ไม่มีท่าทีเชิญให้เขาเข้าร่วมอีกครั้ง “เราไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมระหว่างรัสเซียและสหรัฐฯ ในซาอุดีอาระเบีย ถือเป็นเรื่องเซอร์ไพรส์สำหรับเรา ผมไม่ชอบเรื่องบังเอิญ ดังนั้น ผมคิดว่าจะไม่ไปซาอุดีอาระเบีย” เซเลนสกีกล่าวระหว่างการบรรยายสรุปหลังการประชุมกับประธานาธิบดีเรเซป เออร์โดกันของตุรกี
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 209 มุมมอง 0 รีวิว
  • เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เปิดเผยผลการเจรจาระหว่างรัสเซียและสหรัฐฯ ที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ดังนี้:
    - มีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าฝ่ายอเมริกาเริ่มรับฟังจุดยืนของรัสเซียมากขึ้น: การสนทนามีประโยชน์มาก

    - ทั้งสองตกลงที่จะแต่งตั้งเอกอัครราชทูตเข้ามาทำหน้าที่อย่างรวดเร็วเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต

    - ตกลงที่จะขจัดอุปสรรคที่รัฐบาลไบเดนสร้างขึ้นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งขัดขวางการทำงานของคณะผู้แทนทางการทูตของทั้งสอง

    - อุปสรรคต่างๆ ที่ถูกสร้างโดยรัฐบาลของไบเดน ซึ่งทำให้การทำงานของนักการทูตประสบความยากลำบากนั้น จะต้องได้รับการกำจัดออกไป ซึ่งรวมถึงการยึดทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง

    - ตกลงที่จะจัดตั้งกระบวนการแก้ไขข้อขัดแย้งในยูเครน โดยจะมีการแต่งตั้งทีมเจรจาในอนาคตอันใกล้นี้ เพื่อทำงานเกี่ยวกับข้อตกลงยูเครนอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ

    - ตกลงที่จะสร้างเงื่อนไขสำหรับการฟื้นคืนความร่วมมือทวิภาคีควบคู่ไปกับการแก้ไขวิกฤตยูเครน

    - รัสเซียแจ้งโดยตรงต่อสหรัฐว่า การที่ยูเครนเข้าเป็นสมาชิก NATO คือภัยคุกคามโดยตรง และการมีทหารจากประเทศสมาชิก NATO แม้จะอยู่ภายใต้ธงประเทศในสหภาพยุโรปหรือธงอื่นๆ ถือเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้

    - สหรัฐอเมริกา ต้องการให้ยกเลิกเป้าหมายในการโจมตีโครงสร้างด้านพลังงานทั้งในรัสเซียและยูเครนในช่วงระหว่างขั้นตอนการเจรจา

    - แต่ละประเทศล้วนชี้นำโดยผลประโยชน์ของชาติของตนเอง ทำให้ความเข้าใจระหว่างรัสเซียและสหรัฐในบางเรื่อง อาจมีความเห็นต่างกัน สิ่งสำคัญคือการหารือร่วมกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า
    เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เปิดเผยผลการเจรจาระหว่างรัสเซียและสหรัฐฯ ที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ดังนี้: - มีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าฝ่ายอเมริกาเริ่มรับฟังจุดยืนของรัสเซียมากขึ้น: การสนทนามีประโยชน์มาก - ทั้งสองตกลงที่จะแต่งตั้งเอกอัครราชทูตเข้ามาทำหน้าที่อย่างรวดเร็วเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต - ตกลงที่จะขจัดอุปสรรคที่รัฐบาลไบเดนสร้างขึ้นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งขัดขวางการทำงานของคณะผู้แทนทางการทูตของทั้งสอง - อุปสรรคต่างๆ ที่ถูกสร้างโดยรัฐบาลของไบเดน ซึ่งทำให้การทำงานของนักการทูตประสบความยากลำบากนั้น จะต้องได้รับการกำจัดออกไป ซึ่งรวมถึงการยึดทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง - ตกลงที่จะจัดตั้งกระบวนการแก้ไขข้อขัดแย้งในยูเครน โดยจะมีการแต่งตั้งทีมเจรจาในอนาคตอันใกล้นี้ เพื่อทำงานเกี่ยวกับข้อตกลงยูเครนอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ - ตกลงที่จะสร้างเงื่อนไขสำหรับการฟื้นคืนความร่วมมือทวิภาคีควบคู่ไปกับการแก้ไขวิกฤตยูเครน - รัสเซียแจ้งโดยตรงต่อสหรัฐว่า การที่ยูเครนเข้าเป็นสมาชิก NATO คือภัยคุกคามโดยตรง และการมีทหารจากประเทศสมาชิก NATO แม้จะอยู่ภายใต้ธงประเทศในสหภาพยุโรปหรือธงอื่นๆ ถือเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ - สหรัฐอเมริกา ต้องการให้ยกเลิกเป้าหมายในการโจมตีโครงสร้างด้านพลังงานทั้งในรัสเซียและยูเครนในช่วงระหว่างขั้นตอนการเจรจา - แต่ละประเทศล้วนชี้นำโดยผลประโยชน์ของชาติของตนเอง ทำให้ความเข้าใจระหว่างรัสเซียและสหรัฐในบางเรื่อง อาจมีความเห็นต่างกัน สิ่งสำคัญคือการหารือร่วมกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 291 มุมมอง 0 รีวิว
  • มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ
    ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ
    สตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษประจำตะวันออกกลางของทำเนียบขาว
    ร่วมกันเปิดเผยรายละเอียดบางส่วนเกี่ยวกับการเจรจาครั้งสำคัญระหว่างสหรัฐและรัสเซีย:

    - การเจรจากับรัสเซียในซาอุดีอาระเบียถือเป็น "ก้าวสำคัญที่พัฒนาไปข้างหน้า"

    - ทั้งสองประเทศตกลงที่จะวางรากฐานสำหรับความร่วมมือในอนาคตในประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และโอกาสการลงทุนเมื่อความขัดแย้งในยูเครนสิ้นสุดลง

    - สหรัฐและรัสเซีย ให้คำมั่นที่จะมีส่วนร่วมเพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการดำเนินไปอย่างทันท่วงทีและสร้างสรรค์

    - การทำงานเพื่อยุติความขัดแย้งในยูเครนจะต้องใช้ "การทูตที่ซับซ้อนและเข้มข้น" และต้องใช้ระยะเวลา "ซึ่งต้องอาศัยการประนีประนอมจากทุกฝ่าย" (พุ่งเป้าไปที่รัสเซีย) และเงื่อนไขจะต้อง "ยอมรับได้"

    - ยังไม่ได้มีการกำหนดวัน ของการพบปะกันระหว่างผู้นำทั้งสอง แต่เชื่อว่าประธานาธิบดีทั้งสองได้สนทนากันถึงการพบกันแล้ว ซึ่งคาดว่าจะได้พบกันในที่สุด - ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐกล่าว

    - อนาคตของการเจรจาขึ้นอยู่กับความเต็มใจของทั้งสองฝ่ายที่จะ "ทำตามสัญญา" ซึ่งเป็นการทดสอบในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

    - ทรัมป์ตั้งเป้าหมายที่จะหาทางแก้ไขอย่างยุติธรรม เพื่อหลีกเลี่ยงการกลับมาสร้างความขัดแย้งในอีก 2-3 ปี ข้างหน้า

    - การฟื้นฟูทางการทูตระหว่างกันอาจทำได้ในเร็วๆนี้ หลังจากไม่ได้ติดต่อสื่อสารกันอย่างมีนัยสำคัญมาเกือบสามปีแล้ว

    - มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียเป็นผลจากความขัดแย้ง และอาจยกเลิกได้เมื่อความขัดแย้งสิ้นสุดลง
    มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ สตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษประจำตะวันออกกลางของทำเนียบขาว ร่วมกันเปิดเผยรายละเอียดบางส่วนเกี่ยวกับการเจรจาครั้งสำคัญระหว่างสหรัฐและรัสเซีย: - การเจรจากับรัสเซียในซาอุดีอาระเบียถือเป็น "ก้าวสำคัญที่พัฒนาไปข้างหน้า" - ทั้งสองประเทศตกลงที่จะวางรากฐานสำหรับความร่วมมือในอนาคตในประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และโอกาสการลงทุนเมื่อความขัดแย้งในยูเครนสิ้นสุดลง - สหรัฐและรัสเซีย ให้คำมั่นที่จะมีส่วนร่วมเพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการดำเนินไปอย่างทันท่วงทีและสร้างสรรค์ - การทำงานเพื่อยุติความขัดแย้งในยูเครนจะต้องใช้ "การทูตที่ซับซ้อนและเข้มข้น" และต้องใช้ระยะเวลา "ซึ่งต้องอาศัยการประนีประนอมจากทุกฝ่าย" (พุ่งเป้าไปที่รัสเซีย) และเงื่อนไขจะต้อง "ยอมรับได้" - ยังไม่ได้มีการกำหนดวัน ของการพบปะกันระหว่างผู้นำทั้งสอง แต่เชื่อว่าประธานาธิบดีทั้งสองได้สนทนากันถึงการพบกันแล้ว ซึ่งคาดว่าจะได้พบกันในที่สุด - ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐกล่าว - อนาคตของการเจรจาขึ้นอยู่กับความเต็มใจของทั้งสองฝ่ายที่จะ "ทำตามสัญญา" ซึ่งเป็นการทดสอบในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า - ทรัมป์ตั้งเป้าหมายที่จะหาทางแก้ไขอย่างยุติธรรม เพื่อหลีกเลี่ยงการกลับมาสร้างความขัดแย้งในอีก 2-3 ปี ข้างหน้า - การฟื้นฟูทางการทูตระหว่างกันอาจทำได้ในเร็วๆนี้ หลังจากไม่ได้ติดต่อสื่อสารกันอย่างมีนัยสำคัญมาเกือบสามปีแล้ว - มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียเป็นผลจากความขัดแย้ง และอาจยกเลิกได้เมื่อความขัดแย้งสิ้นสุดลง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 269 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยประธานาธิบดีรัสเซียด้านนโยบายต่างประเทศ พูดถึงการเจรจาระหว่างรัสเซียกับสหรัฐฯ ในซาอุดีอาระเบีย หลังการเจรจาสิ้นสุดลง:

    🔴การเจรจาระหว่างรัสเซียกับสหรัฐฯ ดำเนินไปด้วยดี
    🔴รัสเซียและสหรัฐฯ ตกลงที่จะพิจารณาผลประโยชน์ของกันและกัน
    🔴แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศกำลังดีขึ้นหรือไม่ แต่อย่างน้อยเราได้เริ่มหารือกันแล้ว
    🔴ยังไม่สามารถกำหนดวันที่ชัดเจนสำหรับการประชุมระหว่างปูตินกับทรัมป์ซึ่งยังไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะเวลานี้ หรือสัปดาห์หน้า
    🔴คณะผู้แทนได้มีการหารือกันอย่างจริงจังในประเด็นต่างๆ
    🔴การเจรจากับยูเครนจะเป็นการตัดสินใจโดยประธานาธิบดี
    ยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยประธานาธิบดีรัสเซียด้านนโยบายต่างประเทศ พูดถึงการเจรจาระหว่างรัสเซียกับสหรัฐฯ ในซาอุดีอาระเบีย หลังการเจรจาสิ้นสุดลง: 🔴การเจรจาระหว่างรัสเซียกับสหรัฐฯ ดำเนินไปด้วยดี 🔴รัสเซียและสหรัฐฯ ตกลงที่จะพิจารณาผลประโยชน์ของกันและกัน 🔴แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศกำลังดีขึ้นหรือไม่ แต่อย่างน้อยเราได้เริ่มหารือกันแล้ว 🔴ยังไม่สามารถกำหนดวันที่ชัดเจนสำหรับการประชุมระหว่างปูตินกับทรัมป์ซึ่งยังไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะเวลานี้ หรือสัปดาห์หน้า 🔴คณะผู้แทนได้มีการหารือกันอย่างจริงจังในประเด็นต่างๆ 🔴การเจรจากับยูเครนจะเป็นการตัดสินใจโดยประธานาธิบดี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 315 มุมมอง 14 0 รีวิว
  • การเจรจาระหว่างรัสเซียและสหรัฐฯ ที่ริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ใช้เวลาประมาณ 4.5 ชั่วโมง สิ้นสุดลงแล้ว
    การเจรจาระหว่างรัสเซียและสหรัฐฯ ที่ริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ใช้เวลาประมาณ 4.5 ชั่วโมง สิ้นสุดลงแล้ว
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 143 มุมมอง 0 รีวิว
  • เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เดินทางถึงซาอุดีอาระเบียแล้ว เพื่อหารือกับสหรัฐเกี่ยวกับการยุติสงครามยูเครน

    คณะผู้แทนระดับสูงของรัสเซีย รวมถึงนายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และนายยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยเครมลิน

    อูชาคอฟกล่าวว่า “สิ่งสำคัญในครั้งนี้ คือการเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นปกติและไว้ใจกันอย่างแท้จริงระหว่างเราและวอชิงตัน”
    เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เดินทางถึงซาอุดีอาระเบียแล้ว เพื่อหารือกับสหรัฐเกี่ยวกับการยุติสงครามยูเครน คณะผู้แทนระดับสูงของรัสเซีย รวมถึงนายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และนายยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยเครมลิน อูชาคอฟกล่าวว่า “สิ่งสำคัญในครั้งนี้ คือการเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นปกติและไว้ใจกันอย่างแท้จริงระหว่างเราและวอชิงตัน”
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 153 มุมมอง 10 0 รีวิว
  • เครมลินแถลงเอง เซียร์เก ราฟลอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาด้านนโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน จะนำคณะเจรจาหารือกับทีมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอเมริกาที่นำโดยมาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งจะเริ่มต้นวันอังคาร (18 ก.พ.) ที่กรุงริยาด ของซาอุดีอาระเบีย ขณะที่รูบิโอพยายามคลายความกังวลโดยยืนยันว่า ยูเครนและยุโรปจะยังมีส่วนร่วมในการเจรจาข้อตกลงสันติภาพ หากการหารือระหว่างวอชิงตัน-มอสโกคืบหน้า
    .
    การหารือที่เมืองหลวงซาอุดีอาระเบียคราวนี้ เกิดขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ พูดคุยทางโทรศัพท์กับปูตินเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากนั้นเขาแถลงว่าน่าจะได้พบปะแบบพบหน้ากับผู้นำเครมลินในเร็วๆ นี้ โดยอาจจะเป็นที่ซาอุดีอาระเบีย นอกจากนั้นทางสหรัฐฯยังเคลื่อนไหวแต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่จะไปหารือกับฝ่ายรัสเซีย โดยเห็นกันว่าเพื่อปูทางสำหรับการประชุมซัมมิตทรัมป์-ปูติน เวลาเดียวกันก็เป็นการเริ่มต้นเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งในยูเครนตามที่ทรัมป์เคยหาเสียงไว้ ทั้งนี้ความเคลื่อนไหวคราวนี้ของทรัมป์ ยังถือเป็นการสิ้นสุดการโดดเดี่ยวมอสโกจากกรณีบุกยูเครนเมื่อวันที่ 22 ก.พ.2022
    .
    คณะของสหรัฐฯ นั้น นอกจากรูบิโอที่เดินทางถึงกรุงริยาดตั้งแต่ค่ำวันอาทิตย์ (16) แล้ว ยังประกอบด้วย ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลางของทำเนียบขาว
    .
    รูบิโอกล่าวกับทีวีสหรัฐฯเมื่อวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) ว่า ช่วงไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์นับจากนี้ จะตัดสินว่า ปูตินจริงจังกับการสร้างสันติภาพหรือไม่
    .
    ด้านวิตคอฟฟ์ให้สัมภาษณ์รายการ “ซันเดย์ มอร์นิง ฟิวเจอร์” ของฟ็อกซ์ นิวส์ว่า ตนและวอลซ์จะดำเนินการประชุมตามแนวทางที่ทรัมป์กำหนด และหวังว่าจะมีความคืบหน้าบางอย่างเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน
    .
    ในอีกด้านหนึ่ง ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงในวันจันทร์ว่า ราฟลอฟและอูชาคอฟจะร่วมหารือกับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เกี่ยวกับการจัดเตรียมการหารือระหว่างปูตินกับทรัมป์ และเรื่องเกี่ยวกับข้อตกลงสันติภาพในยูเครนที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงฟื้นความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโก
    .
    อย่างไรก็ดี เปสคอฟปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นว่า ปูตินกับทรัมป์จะพบกันปลายเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบียหรือไม่ ขณะที่เมื่อวันอาทิตย์ ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ว่า ยังไม่ได้กำหนดวันเวลาที่จะพบกับผู้นำรัสเซีย แต่น่าจะเป็นเร็วๆ นี้
    .
    ในส่วนประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีของยูเครนนั้น รายงานระบุว่าได้ เดินทางถึงสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ตั้งแต่วันอาทิตย์ รวมทั้งเล็งเยือนซาอุดีอาระเบียและตุรกีต่อ แต่ยืนยันว่า ไม่มีแผนพบกับเจ้าหน้าที่รัสเซียหรือสหรัฐฯ ขณะที่เชื่อกันว่า ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมหารือที่ซาอุดีอาระเบียเป็นเจ้าภาพ
    .
    แอนดริว เยอร์แมค ที่ปรึกษาระดับสูงของเซเลนสกี เปิดเผยเมื่อวันอาทิตย์ว่า ไม่มีความเป็นไปได้ที่เจ้าหน้าที่ยูเครนกับรัสเซียจะประชุมกันโดยตรงในอนาคตอันใกล้ อย่างน้อยจนกว่ายูเครนจะร่างแผนการเพื่อยุติสงครามและสร้างสันติภาพเสร็จสิ้น
    .
    การหารือระหว่างคณะเจ้าหน้าที่อเมริกาและรัสเซียยังเกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลว่า ยูเครนและยุโรปกำลังถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก คีธ เคลล็อก ผู้แทนพิเศษด้านยูเครนและรัสเซียของทรัมป์ ประกาศชัดเจนเมื่อวันเสาร์ (15 ก.พ.) ว่า ยุโรปจะไม่มีส่วนร่วมในการเจรจาสันติภาพ
    .
    กระนั้น เมื่อวันอาทิตย์ รูบิโอได้พยายามคลายความกังวลเรื่องนี้โดยบอกว่า ทั้งเคียฟและยุโรปจะมีส่วนร่วมใน “การเจรจาจริง” ที่จะเกิดขึ้นมา หากการหารือระหว่างอเมริกากับรัสเซียมีความคืบหน้า และสำทับว่า การหารือในขณะนี้เป็นแค่โอกาสในการหยั่งเชิงว่า รัสเซียจะจริงจังแค่ไหน
    .
    นอกจากนั้น วิตคอฟฟ์ยังตั้งข้อสังเกตว่า เจ้าหน้าที่ยูเครนได้พบกับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ หลายคนระหว่างการประชุมความมั่นคงที่มิวนิกเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ทรัมป์ก็ได้พูดคุยกับเซเลนสกีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015972
    ..............
    Sondhi X
    เครมลินแถลงเอง เซียร์เก ราฟลอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาด้านนโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน จะนำคณะเจรจาหารือกับทีมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอเมริกาที่นำโดยมาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งจะเริ่มต้นวันอังคาร (18 ก.พ.) ที่กรุงริยาด ของซาอุดีอาระเบีย ขณะที่รูบิโอพยายามคลายความกังวลโดยยืนยันว่า ยูเครนและยุโรปจะยังมีส่วนร่วมในการเจรจาข้อตกลงสันติภาพ หากการหารือระหว่างวอชิงตัน-มอสโกคืบหน้า . การหารือที่เมืองหลวงซาอุดีอาระเบียคราวนี้ เกิดขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ พูดคุยทางโทรศัพท์กับปูตินเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากนั้นเขาแถลงว่าน่าจะได้พบปะแบบพบหน้ากับผู้นำเครมลินในเร็วๆ นี้ โดยอาจจะเป็นที่ซาอุดีอาระเบีย นอกจากนั้นทางสหรัฐฯยังเคลื่อนไหวแต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่จะไปหารือกับฝ่ายรัสเซีย โดยเห็นกันว่าเพื่อปูทางสำหรับการประชุมซัมมิตทรัมป์-ปูติน เวลาเดียวกันก็เป็นการเริ่มต้นเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งในยูเครนตามที่ทรัมป์เคยหาเสียงไว้ ทั้งนี้ความเคลื่อนไหวคราวนี้ของทรัมป์ ยังถือเป็นการสิ้นสุดการโดดเดี่ยวมอสโกจากกรณีบุกยูเครนเมื่อวันที่ 22 ก.พ.2022 . คณะของสหรัฐฯ นั้น นอกจากรูบิโอที่เดินทางถึงกรุงริยาดตั้งแต่ค่ำวันอาทิตย์ (16) แล้ว ยังประกอบด้วย ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลางของทำเนียบขาว . รูบิโอกล่าวกับทีวีสหรัฐฯเมื่อวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) ว่า ช่วงไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์นับจากนี้ จะตัดสินว่า ปูตินจริงจังกับการสร้างสันติภาพหรือไม่ . ด้านวิตคอฟฟ์ให้สัมภาษณ์รายการ “ซันเดย์ มอร์นิง ฟิวเจอร์” ของฟ็อกซ์ นิวส์ว่า ตนและวอลซ์จะดำเนินการประชุมตามแนวทางที่ทรัมป์กำหนด และหวังว่าจะมีความคืบหน้าบางอย่างเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน . ในอีกด้านหนึ่ง ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงในวันจันทร์ว่า ราฟลอฟและอูชาคอฟจะร่วมหารือกับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เกี่ยวกับการจัดเตรียมการหารือระหว่างปูตินกับทรัมป์ และเรื่องเกี่ยวกับข้อตกลงสันติภาพในยูเครนที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงฟื้นความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโก . อย่างไรก็ดี เปสคอฟปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นว่า ปูตินกับทรัมป์จะพบกันปลายเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบียหรือไม่ ขณะที่เมื่อวันอาทิตย์ ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ว่า ยังไม่ได้กำหนดวันเวลาที่จะพบกับผู้นำรัสเซีย แต่น่าจะเป็นเร็วๆ นี้ . ในส่วนประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีของยูเครนนั้น รายงานระบุว่าได้ เดินทางถึงสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ตั้งแต่วันอาทิตย์ รวมทั้งเล็งเยือนซาอุดีอาระเบียและตุรกีต่อ แต่ยืนยันว่า ไม่มีแผนพบกับเจ้าหน้าที่รัสเซียหรือสหรัฐฯ ขณะที่เชื่อกันว่า ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมหารือที่ซาอุดีอาระเบียเป็นเจ้าภาพ . แอนดริว เยอร์แมค ที่ปรึกษาระดับสูงของเซเลนสกี เปิดเผยเมื่อวันอาทิตย์ว่า ไม่มีความเป็นไปได้ที่เจ้าหน้าที่ยูเครนกับรัสเซียจะประชุมกันโดยตรงในอนาคตอันใกล้ อย่างน้อยจนกว่ายูเครนจะร่างแผนการเพื่อยุติสงครามและสร้างสันติภาพเสร็จสิ้น . การหารือระหว่างคณะเจ้าหน้าที่อเมริกาและรัสเซียยังเกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลว่า ยูเครนและยุโรปกำลังถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก คีธ เคลล็อก ผู้แทนพิเศษด้านยูเครนและรัสเซียของทรัมป์ ประกาศชัดเจนเมื่อวันเสาร์ (15 ก.พ.) ว่า ยุโรปจะไม่มีส่วนร่วมในการเจรจาสันติภาพ . กระนั้น เมื่อวันอาทิตย์ รูบิโอได้พยายามคลายความกังวลเรื่องนี้โดยบอกว่า ทั้งเคียฟและยุโรปจะมีส่วนร่วมใน “การเจรจาจริง” ที่จะเกิดขึ้นมา หากการหารือระหว่างอเมริกากับรัสเซียมีความคืบหน้า และสำทับว่า การหารือในขณะนี้เป็นแค่โอกาสในการหยั่งเชิงว่า รัสเซียจะจริงจังแค่ไหน . นอกจากนั้น วิตคอฟฟ์ยังตั้งข้อสังเกตว่า เจ้าหน้าที่ยูเครนได้พบกับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ หลายคนระหว่างการประชุมความมั่นคงที่มิวนิกเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ทรัมป์ก็ได้พูดคุยกับเซเลนสกีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015972 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1476 มุมมอง 0 รีวิว
  • เจ้าชายไฟศ็อล บิน ฟัรฮาน อาล ซะอูด (Prince Faisal bin Farhan Al Saud) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ให้การต้อนรับ มาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ

    ในวันพรุ่งนี้ เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย จะเดินทางมาถึง เพื่อร่วมประชุมเกี่ยวกับสันติภาพในยูเครน

    สำหรับเซเลนสกี มีรายงานว่า เขาได้รับอนุญาตให้เดินทางมายังซาอุดีอาระเบียในวันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ หนึ่งวันหลังจากการประชุมของตัวแทนสหรัฐและรัสเซียจบลงในวันแรก

    มีรายงานเพิ่มเติมว่า สาเหตุที่เซเลนสกีมีโอกาสได้เดินทางไปซาอุดิอาระเบีย เนื่องจากประธษนาธิบดีทรัมป์ อนุญาตให้เขามีส่วนร่วมในการเจรจาด้วย
    เจ้าชายไฟศ็อล บิน ฟัรฮาน อาล ซะอูด (Prince Faisal bin Farhan Al Saud) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ให้การต้อนรับ มาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ในวันพรุ่งนี้ เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย จะเดินทางมาถึง เพื่อร่วมประชุมเกี่ยวกับสันติภาพในยูเครน สำหรับเซเลนสกี มีรายงานว่า เขาได้รับอนุญาตให้เดินทางมายังซาอุดีอาระเบียในวันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ หนึ่งวันหลังจากการประชุมของตัวแทนสหรัฐและรัสเซียจบลงในวันแรก มีรายงานเพิ่มเติมว่า สาเหตุที่เซเลนสกีมีโอกาสได้เดินทางไปซาอุดิอาระเบีย เนื่องจากประธษนาธิบดีทรัมป์ อนุญาตให้เขามีส่วนร่วมในการเจรจาด้วย
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 215 มุมมอง 22 0 รีวิว
  • มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เดินทางถึงซาอุดีอาระเบียแล้ว เพื่อเตรียมหารือเรื่องแผนการสันติภาพในยูเครนร่วมกับเจ้าหน้าที่รัสเซีย

    ไมเคิล วอลทซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ และ สตีฟ วิทคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษ จะเป็นหนึ่งในทีมสหรัฐที่เข้าร่วมเจรจาในครั้งนี้ด้วย
    มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เดินทางถึงซาอุดีอาระเบียแล้ว เพื่อเตรียมหารือเรื่องแผนการสันติภาพในยูเครนร่วมกับเจ้าหน้าที่รัสเซีย ไมเคิล วอลทซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ และ สตีฟ วิทคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษ จะเป็นหนึ่งในทีมสหรัฐที่เข้าร่วมเจรจาในครั้งนี้ด้วย
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 215 มุมมอง 14 0 รีวิว
  • เซเลนสกี้เดินทางมาสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) โดยอ้างว่า มาเพื่อเจรจาการแลกเปลี่ยนตัวเชลยสงคราม ซึ่งปกติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มักทำหน้าที่เป็นคนกลางในการเจรจาเรื่องนี้กับรัสเซีย แต่ทุกครั้งเซเลนสกี ไม่เคยต้องเดินทางมาเอง!

    เซเลนสกียังกล่าวอีกว่า เขาอาจจะเดินทางไปยังซาอุดีอาระเบีย เป็นสถานที่ต่อไป ซึ่งเขา "อาจจะ" เข้าร่วมการเจรจาระหว่างสหรัฐและรัสเซีย

    คำพูดของเซเลนสกี บ่งบอกว่าเขายังไม่รู้อนาคตของตัวเอง และแน่นอนว่าเขายังคงเป็นลูกน้องของสหรัฐ เพื่อรอรับคำสั่งว่าต้องทำอะไรต่อจากนี้
    เซเลนสกี้เดินทางมาสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) โดยอ้างว่า มาเพื่อเจรจาการแลกเปลี่ยนตัวเชลยสงคราม ซึ่งปกติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มักทำหน้าที่เป็นคนกลางในการเจรจาเรื่องนี้กับรัสเซีย แต่ทุกครั้งเซเลนสกี ไม่เคยต้องเดินทางมาเอง! เซเลนสกียังกล่าวอีกว่า เขาอาจจะเดินทางไปยังซาอุดีอาระเบีย เป็นสถานที่ต่อไป ซึ่งเขา "อาจจะ" เข้าร่วมการเจรจาระหว่างสหรัฐและรัสเซีย คำพูดของเซเลนสกี บ่งบอกว่าเขายังไม่รู้อนาคตของตัวเอง และแน่นอนว่าเขายังคงเป็นลูกน้องของสหรัฐ เพื่อรอรับคำสั่งว่าต้องทำอะไรต่อจากนี้
    Like
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 253 มุมมอง 13 0 รีวิว
  • ผู้นำยุโรปว้าวุ่นหนัก หวั่นถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วมในการเจรจายุติสงครามยูเครน ขณะที่อเมริกาประกาศชัดยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการหารือดังกล่าว แถมยังประกาศรายชื่อทีมเจ้าหน้าที่อาวุโสไปประชุมกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟในซาอุดีอาระเบีย ในอีกด้านหนึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกา-รัสเซีย ก็โทรศัพท์หารือกัน โดยระบุว่าคุยกันทั้งเรื่องสถานการณ์ในยูเครน และการหาทางปรับปรุงความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศ
    .
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้ยุโรปปั่นป่วนหนัก เมื่อประกาศในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย แถมยังระบุว่าเขาน่าจะได้พบปะแบบเจอตัวกับปูตินเร็วๆ นี้ เพื่อเริ่มการหารือยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน โดยที่การพูดจากับผู้นำรัสเซียนี้ ทรัมป์ไม่เคยบอกกล่าวกับพวกผู้นำของยุโรปมาก่อนเลย จึงทำให้เหล่าพันธมิตรของสหรัฐฯ ในยุโรปกลุ้มหนักว่า ผลประโยชน์ของพวกตนอาจถูกละเลยเพิกเฉย เมื่อวอชิงตันกับมอสโกจะคุยกันโดยตรง ไม่เอายุโรปเข้าร่วมด้วยเช่นนี้
    .
    ต่อมาในวันเสาร์ (15 ก.พ.) เจ้าหน้าที่สหรัฐฯหลายรายเผยว่า มาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลางของทรัมป์ จะเดินทางไปซาอุดีอาระเบียเพื่อหารือเกี่ยวกับการทำความตกลงหยุดยิงในยูเครนกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟ
    .
    ยังไม่มีการระบุชัดเจนว่า การประชุมเช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อใ ดหรือกำหนดเวลาที่ทีมเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะออกเดินทาง แต่เฉพาะตัวรัฐมนตรีต่างประเทศรูบิโอนั้น ได้ออกเดินทางไปยังตะวันออกกลางแล้ว โดยไปถึงอิสราเอลในวันเสาร์ (15) อีกทั้งมีกำหนดการที่จะไปเยือนซาอุดีอาระเบียด้วย
    .
    ในวันเสาร์เช่นกัน รูบิโอได้หารือทางโทรศัพท์กับเซียร์เก ราฟลอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งต่อมากระทรวงการต่างประเทศรัสเซียแถลงว่า มีการตกลงคงการติดต่อเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความสัมพันธ์ การขจัดอุปสรรคฝ่ายเดียวที่ตกทอดมาจากคณะบริหารชุดก่อนของสหรัฐฯ สำหรับความร่วมมือด้านการค้า เศรษฐกิจ และการลงทุนที่เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย ทั้งสองชาติยังแสดงความกระตือรือร้นในการดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ในตะวันออกกลาง
    .
    ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า รูบิโอยืนยันความมุ่งมั่นของทรัมป์ในการหาทางยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน และหารือเกี่ยวกับโอกาสในการร่วมมือกันในประเด็นปัญหาทวิภาคีอื่นๆ
    .
    ส่วนที่มิวนิก มาร์ก รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) กล่าวในที่ประชุมผู้วางนโยบายระดับสูงเมื่อวันเสาร์ว่า ยุโรปต้องมี “ข้อเสนอที่ดี” เพื่อรับประกันสันติภาพในยูเครน หากต้องการเข้าร่วมการเจรจาที่อเมริกาเป็นแกนนำ
    .
    รึตเตอเสริมว่า จะเดินทางไปปารีสในวันจันทร์ (17 ก.พ.) เพื่อร่วมการประชุมผู้นำยุโรปที่จัดโดยประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ซึ่งจะมีการหารือเกี่ยวกับ “การประชุมอย่างไม่เป็นทางการที่อาจเกิดขึ้น”
    .
    นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษ ขานรับว่า ยุโรปต้องรับบทบาทมากขึ้นในนาโต และร่วมมือกับอเมริกาเพื่อปกป้องอนาคตของยูเครน
    .
    ทางด้านประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าว เรียกร้องในงานประชุมความมั่นคงมิวนิกให้สร้างกองทัพยุโรป เนื่องจากยุโรปอาจไม่สามารถพึ่งพิงอเมริกาได้อีกต่อไป
    .
    ทั้งนี้ แนวคิดเช่นนี้เคยมีการถกเถียงมาแล้วเมื่อหลายปีก่อนโดยปราศจากความคืบหน้าใดๆ และดูเหมือนการเรียกร้องของเซเลนสกีไม่มีน้ำหนักพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
    .
    การเรียกร้องดังกล่าวมีขึ้นหลังจากเมื่อวันศุกร์ (14) เซเลนสกีได้พบกับรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ของอเมริกา และพยายามขอความมั่นใจว่า เคียฟจะไม่ถูกทิ้งระหว่างที่ทรัมป์เจรจากับปูติน
    .
    เซเลนสกียังยืนกรานว่า จะไม่ยอมรับข้อตกลงใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยที่ยูเครนไม่มีส่วนร่วมด้วย รวมทั้งจะต้องไม่มีการตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับยุโรปที่ยุโรปไม่มีส่วนร่วม
    .
    ทว่า คีธ เคลล็อกก์ ผู้แทนพิเศษรับผิดชอบเรื่องยูเครน-รัสเซีย ของทรัมป์ กล่าวชัดเจนในเวทีเดียวกันว่า ยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเจรจาหยุดยิงในยูเครน
    .
    นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ยังพยายามยืนยันว่า ยูเครนจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยแวนซ์กล่าวกับเซเลนสกีว่า อเมริกาต้องการให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืนที่จะไม่นำไปสู่การนองเลือดซ้ำสองในอนาคต
    .
    กระนั้น พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศว่า ยูเครนจะไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต หรือได้ดินแดนคืนจากรัสเซียแต่อย่างใด
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015540
    ..............
    Sondhi X
    ผู้นำยุโรปว้าวุ่นหนัก หวั่นถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วมในการเจรจายุติสงครามยูเครน ขณะที่อเมริกาประกาศชัดยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการหารือดังกล่าว แถมยังประกาศรายชื่อทีมเจ้าหน้าที่อาวุโสไปประชุมกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟในซาอุดีอาระเบีย ในอีกด้านหนึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกา-รัสเซีย ก็โทรศัพท์หารือกัน โดยระบุว่าคุยกันทั้งเรื่องสถานการณ์ในยูเครน และการหาทางปรับปรุงความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศ . ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้ยุโรปปั่นป่วนหนัก เมื่อประกาศในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย แถมยังระบุว่าเขาน่าจะได้พบปะแบบเจอตัวกับปูตินเร็วๆ นี้ เพื่อเริ่มการหารือยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน โดยที่การพูดจากับผู้นำรัสเซียนี้ ทรัมป์ไม่เคยบอกกล่าวกับพวกผู้นำของยุโรปมาก่อนเลย จึงทำให้เหล่าพันธมิตรของสหรัฐฯ ในยุโรปกลุ้มหนักว่า ผลประโยชน์ของพวกตนอาจถูกละเลยเพิกเฉย เมื่อวอชิงตันกับมอสโกจะคุยกันโดยตรง ไม่เอายุโรปเข้าร่วมด้วยเช่นนี้ . ต่อมาในวันเสาร์ (15 ก.พ.) เจ้าหน้าที่สหรัฐฯหลายรายเผยว่า มาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลางของทรัมป์ จะเดินทางไปซาอุดีอาระเบียเพื่อหารือเกี่ยวกับการทำความตกลงหยุดยิงในยูเครนกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟ . ยังไม่มีการระบุชัดเจนว่า การประชุมเช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อใ ดหรือกำหนดเวลาที่ทีมเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะออกเดินทาง แต่เฉพาะตัวรัฐมนตรีต่างประเทศรูบิโอนั้น ได้ออกเดินทางไปยังตะวันออกกลางแล้ว โดยไปถึงอิสราเอลในวันเสาร์ (15) อีกทั้งมีกำหนดการที่จะไปเยือนซาอุดีอาระเบียด้วย . ในวันเสาร์เช่นกัน รูบิโอได้หารือทางโทรศัพท์กับเซียร์เก ราฟลอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งต่อมากระทรวงการต่างประเทศรัสเซียแถลงว่า มีการตกลงคงการติดต่อเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความสัมพันธ์ การขจัดอุปสรรคฝ่ายเดียวที่ตกทอดมาจากคณะบริหารชุดก่อนของสหรัฐฯ สำหรับความร่วมมือด้านการค้า เศรษฐกิจ และการลงทุนที่เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย ทั้งสองชาติยังแสดงความกระตือรือร้นในการดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ในตะวันออกกลาง . ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า รูบิโอยืนยันความมุ่งมั่นของทรัมป์ในการหาทางยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน และหารือเกี่ยวกับโอกาสในการร่วมมือกันในประเด็นปัญหาทวิภาคีอื่นๆ . ส่วนที่มิวนิก มาร์ก รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) กล่าวในที่ประชุมผู้วางนโยบายระดับสูงเมื่อวันเสาร์ว่า ยุโรปต้องมี “ข้อเสนอที่ดี” เพื่อรับประกันสันติภาพในยูเครน หากต้องการเข้าร่วมการเจรจาที่อเมริกาเป็นแกนนำ . รึตเตอเสริมว่า จะเดินทางไปปารีสในวันจันทร์ (17 ก.พ.) เพื่อร่วมการประชุมผู้นำยุโรปที่จัดโดยประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ซึ่งจะมีการหารือเกี่ยวกับ “การประชุมอย่างไม่เป็นทางการที่อาจเกิดขึ้น” . นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษ ขานรับว่า ยุโรปต้องรับบทบาทมากขึ้นในนาโต และร่วมมือกับอเมริกาเพื่อปกป้องอนาคตของยูเครน . ทางด้านประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าว เรียกร้องในงานประชุมความมั่นคงมิวนิกให้สร้างกองทัพยุโรป เนื่องจากยุโรปอาจไม่สามารถพึ่งพิงอเมริกาได้อีกต่อไป . ทั้งนี้ แนวคิดเช่นนี้เคยมีการถกเถียงมาแล้วเมื่อหลายปีก่อนโดยปราศจากความคืบหน้าใดๆ และดูเหมือนการเรียกร้องของเซเลนสกีไม่มีน้ำหนักพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง . การเรียกร้องดังกล่าวมีขึ้นหลังจากเมื่อวันศุกร์ (14) เซเลนสกีได้พบกับรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ของอเมริกา และพยายามขอความมั่นใจว่า เคียฟจะไม่ถูกทิ้งระหว่างที่ทรัมป์เจรจากับปูติน . เซเลนสกียังยืนกรานว่า จะไม่ยอมรับข้อตกลงใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยที่ยูเครนไม่มีส่วนร่วมด้วย รวมทั้งจะต้องไม่มีการตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับยุโรปที่ยุโรปไม่มีส่วนร่วม . ทว่า คีธ เคลล็อกก์ ผู้แทนพิเศษรับผิดชอบเรื่องยูเครน-รัสเซีย ของทรัมป์ กล่าวชัดเจนในเวทีเดียวกันว่า ยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเจรจาหยุดยิงในยูเครน . นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ยังพยายามยืนยันว่า ยูเครนจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยแวนซ์กล่าวกับเซเลนสกีว่า อเมริกาต้องการให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืนที่จะไม่นำไปสู่การนองเลือดซ้ำสองในอนาคต . กระนั้น พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศว่า ยูเครนจะไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต หรือได้ดินแดนคืนจากรัสเซียแต่อย่างใด . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015540 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1312 มุมมอง 0 รีวิว
  • เซเลนสกี ยืนยันอีกครั้งกับ NBC News ว่า "ไม่ยอมรับการตัดสินใจใดๆ ระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซียเกี่ยวกับยูเครนเด็ดขาด"

    เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากที่ยูเครนไม่ได้รับคำเชิญให้เข้าร่วมการเจรจาสันติภาพที่ซาอุดีอาระเบียร่วมกับฝ่ายรัสเซียและสหรัฐอเมริกาในสัปดาห์หน้า
    เซเลนสกี ยืนยันอีกครั้งกับ NBC News ว่า "ไม่ยอมรับการตัดสินใจใดๆ ระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซียเกี่ยวกับยูเครนเด็ดขาด" เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากที่ยูเครนไม่ได้รับคำเชิญให้เข้าร่วมการเจรจาสันติภาพที่ซาอุดีอาระเบียร่วมกับฝ่ายรัสเซียและสหรัฐอเมริกาในสัปดาห์หน้า
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 199 มุมมอง 13 0 รีวิว
  • เซเลนสกียอมรับว่าตัวเขายังไม่เห็นคำเชิญหรือเอกสารใดๆให้ยูเครนเข้าร่วมเจรจาสันติภาพในซาอุดีอาระเบียเลย

    ตามรายงานข่าว การประชุมจะมีขึ้นระหว่างทรัมป์และปูตินที่กำหนดไว้ในสัปดาห์หน้า
    เซเลนสกียอมรับว่าตัวเขายังไม่เห็นคำเชิญหรือเอกสารใดๆให้ยูเครนเข้าร่วมเจรจาสันติภาพในซาอุดีอาระเบียเลย ตามรายงานข่าว การประชุมจะมีขึ้นระหว่างทรัมป์และปูตินที่กำหนดไว้ในสัปดาห์หน้า
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 321 มุมมอง 27 0 รีวิว
Pages Boosts