8 เม.ย. ฟังคำพิพากษา!
“ไตรรัตน์” ฟ้อง 4 กสทช. ลงมติปลด ”กลั่นแกล้ง?“
ไม่ใช่แค่เรื่องใครถูก-ผิด แต่สะท้อนความเหลวแหลกของระบบ!
วันที่ 8 เมษายน 2568 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง นัดฟังคำพิพากษาคดีที่ นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล ฟ้องกรรมการ กสทช. 4 ราย ประกอบด้วย
พล.อ.ท. ดร. ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ
รศ.ดร. ศุภัช ศุภชลาศัย
รศ.ดร. สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์
และ ศ.กิตติคุณ ดร. พิรงรอง รามสูต
ในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีมีมติปลดเขาออกจากตำแหน่งรักษาการเลขาธิการ กสทช.
ดูเผิน ๆ อาจคิดว่าเป็นความขัดแย้งภายในระหว่าง รักษาการเลขาฯ กับ 4 กรรมการกสทช.เสียงข้างมาก แต่คดีนี้ไม่ใช่แค่เรื่องบุคคล มันกำลังฉายภาพโครงสร้างองค์กรที่พังจากภายใน และระบบที่ออกแบบให้ “ไม่มีใครสอบใครได้จริง”
⸻
เมื่อเสียงข้างมากพยายามสอบปัญหา… แต่ระบบไม่อนุญาตให้สอบ
ต้นเรื่องเริ่มจากการอุดหนุนเงิน 600 ล้านบาท จากกองทุน กทปส.
เพื่อให้ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2022
โดยมีข้อตกลงใน MOU ว่า ผู้รับใบอนุญาตทุกประเภทต้องได้รับสิทธิเท่าเทียม
แต่ภายหลัง กกท. กลับไปทำ MOU แยกกับกลุ่มทรู โดยให้สิทธิพิเศษเฉพาะบางแพลตฟอร์ม นำไปสู่ เหตุการณ์ “จอดำ” ทั่วประเทศ และการตั้งคำถามเรื่องความไม่เท่าเทียมทางการออกอากาศ
ในรายงานตรวจสอบข้อเท็จจริง ระบุชัดว่า
การดำเนินการของสำนักงาน กสทช. อาจเข้าข่ายฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ และมติบอร์ด และ ชื่อของนายไตรรัตน์ ซึ่งทำหน้าที่รักษาการเลขาฯ ปรากฏอยู่ในกระบวนการรับรู้และอนุมัติ
กรรมการ กสทช. 4 คน จึงมีมติให้ตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัย
แต่กลับพบว่าตามระเบียบ กสทช. ผู้ที่มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการสอบสวนคือ “เลขาธิการ กสทช.” ซึ่งในขณะนั้นก็คือ… นายไตรรัตน์ ที่นั่งรักษาการฯ อยู่ และประธานบอร์ด กสทช. ไม่ลงนาม กลายเป็นประเด็นที่ใช้โต้แย้งและนำไปสู่การฟ้องคดีว่า 4 กสทช.ใช้อำนาจมิชอบกลั่นแกล้ง
แต่ถามว่าถ้าระเบียบเป็นแบบนี้แล้วใครจะสอบรักษาการเลขาฯ ได้ ยิ่งถ้าประธาน กสทช.กับเลขาฯ เป็นคอหอยกับลูกกระเดือก กลไกการตรวจสอบภายในของสำนักงาน กสทช. จะเดินหน้าได้อย่างไร?
ที่มา :
https://thepublisherth.com/070468-1/ 8 เม.ย. ฟังคำพิพากษา!
“ไตรรัตน์” ฟ้อง 4 กสทช. ลงมติปลด ”กลั่นแกล้ง?“
ไม่ใช่แค่เรื่องใครถูก-ผิด แต่สะท้อนความเหลวแหลกของระบบ!
วันที่ 8 เมษายน 2568 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง นัดฟังคำพิพากษาคดีที่ นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล ฟ้องกรรมการ กสทช. 4 ราย ประกอบด้วย
พล.อ.ท. ดร. ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ
รศ.ดร. ศุภัช ศุภชลาศัย
รศ.ดร. สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์
และ ศ.กิตติคุณ ดร. พิรงรอง รามสูต
ในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีมีมติปลดเขาออกจากตำแหน่งรักษาการเลขาธิการ กสทช.
ดูเผิน ๆ อาจคิดว่าเป็นความขัดแย้งภายในระหว่าง รักษาการเลขาฯ กับ 4 กรรมการกสทช.เสียงข้างมาก แต่คดีนี้ไม่ใช่แค่เรื่องบุคคล มันกำลังฉายภาพโครงสร้างองค์กรที่พังจากภายใน และระบบที่ออกแบบให้ “ไม่มีใครสอบใครได้จริง”
⸻
เมื่อเสียงข้างมากพยายามสอบปัญหา… แต่ระบบไม่อนุญาตให้สอบ
ต้นเรื่องเริ่มจากการอุดหนุนเงิน 600 ล้านบาท จากกองทุน กทปส.
เพื่อให้ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2022
โดยมีข้อตกลงใน MOU ว่า ผู้รับใบอนุญาตทุกประเภทต้องได้รับสิทธิเท่าเทียม
แต่ภายหลัง กกท. กลับไปทำ MOU แยกกับกลุ่มทรู โดยให้สิทธิพิเศษเฉพาะบางแพลตฟอร์ม นำไปสู่ เหตุการณ์ “จอดำ” ทั่วประเทศ และการตั้งคำถามเรื่องความไม่เท่าเทียมทางการออกอากาศ
ในรายงานตรวจสอบข้อเท็จจริง ระบุชัดว่า
การดำเนินการของสำนักงาน กสทช. อาจเข้าข่ายฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ และมติบอร์ด และ ชื่อของนายไตรรัตน์ ซึ่งทำหน้าที่รักษาการเลขาฯ ปรากฏอยู่ในกระบวนการรับรู้และอนุมัติ
กรรมการ กสทช. 4 คน จึงมีมติให้ตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัย
แต่กลับพบว่าตามระเบียบ กสทช. ผู้ที่มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการสอบสวนคือ “เลขาธิการ กสทช.” ซึ่งในขณะนั้นก็คือ… นายไตรรัตน์ ที่นั่งรักษาการฯ อยู่ และประธานบอร์ด กสทช. ไม่ลงนาม กลายเป็นประเด็นที่ใช้โต้แย้งและนำไปสู่การฟ้องคดีว่า 4 กสทช.ใช้อำนาจมิชอบกลั่นแกล้ง
แต่ถามว่าถ้าระเบียบเป็นแบบนี้แล้วใครจะสอบรักษาการเลขาฯ ได้ ยิ่งถ้าประธาน กสทช.กับเลขาฯ เป็นคอหอยกับลูกกระเดือก กลไกการตรวจสอบภายในของสำนักงาน กสทช. จะเดินหน้าได้อย่างไร?
ที่มา : https://thepublisherth.com/070468-1/