อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาว่าเวทนาคือทางไปแห่งจิตของสัตว์
สัทธรรมลำดับที่ : 147
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=147
ชื่อบทธรรม :- เวทนาคือทางไปแห่งจิตของสัตว์
เนื้อความทั้งหมด :-
--เวทนาคือทางไปแห่งจิตของสัตว์
--ภิกษุ ท. ! คำที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ ๓๖ อย่าง”
ดังนี้นั้น,
ข้อนั้น เรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์อะไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์คือ
ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง,
ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง,
ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง,
ความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง,
อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง,
อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง.
--ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น,
ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
+--ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรามองเห็นการได้ซึ่ง รูป อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ น่ารื่นรมย์ใจ อันเนื่องในความเป็นเหยื่อโลก ในทางตา ว่า เป็นสิ่งที่ตนกำลังได้อยู่ก็ตาม,
หรือว่าเมื่อระลึกถึง รูป เช่นนั้น อันตนเคยได้แล้วแต่กาลก่อน ซึ่งล่วงแล้ว ดับสิ้น แปรปรวนไปแล้วก็ตาม แล้วเกิดความโสมนัสขึ้น.
ความโสมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ ความโสมนัสนี้ เรียกว่า
ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน (เคหสิตโสมนัส).
http://etipitaka.com/read/pali/14/402/?keywords=เคหสิตานิ+โสมนสฺสานิ
(ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป
ผิดกันแต่ชื่อ เท่านั้น).
+--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ ความโสมนัสเนื่องด้วย เหย้าเรือน ๖ อย่าง.
--ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น,
ความโสมนัสเนื่องด้วย การหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
+--ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรารู้แจ้งถึงความเป็นของไม่เที่ยงของรูปทั้งหลาย
ความแปรปรวน ความจางคลายความกำหนัดยินดี
และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลายเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ
ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า
“รูปทั้งหลาย ในกาลก่อนหรือในบัดนี้ก็ตามรูปทั้งหมดเหล่านั้น
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา”
ดังนี้ แล้วเกิดความโสมนัสขึ้น.
ความโสมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ ความโสมนัสนี้ เรียกว่า
ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน (เนกขัมมสิตโสมนัส).
http://etipitaka.com/read/pali/14/402/?keywords=เนกฺขมฺมสิตานิ+โสมนสฺสานิ
(ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับ ข้อว่า รูป
ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).
+--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีก ออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง.
--ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น,
ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
+-ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรามองเห็นการไม่ได้ซึ่งรูป
อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ น่ารื่นรมย์ใจ
อันเนื่องในความเป็นเหยื่อโลกในทางตา ว่า เป็นสิ่งที่ตนไม่ได้ก็ตาม,
หรือว่า เมื่อระลึกถึง รูป เช่นนั้น อันตนยังไม่เคยได้แต่กาลก่อน
ซึ่งล่วงลับ ดับสิ้นแปรปรวนไปแล้วก็ตาม แล้วเกิดความโทมนัสขึ้น.
ความโทมนัสใดมีลักษณะเช่นนี้ ความโทมนัสนี้ เรียกว่า
ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน (เคหสิตโทมนัส).
(ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์
อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).
+--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง.
--ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น,
ความโทมนัสเนื่องด้วย การหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
+--ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรารู้แจ้งถึงความเป็นของไม่เที่ยงของรูปทั้งหลาย
ความแปรปรวน ความจางคลายความกำหนัดยินดี
และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลาย เห็นอยู่ด้วยปัญญา
อันชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า
“รูปทั้งหลาย ในกาลก่อนหรือในบัดนี้ ก็ตาม รูปทั้งหมดเหล่านั้น
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา”
ดังนี้แล้ว
เขาย่อมเข้าไปตั้งไว้ ซึ่งความกระหยิ่ม ในอนุตตรวิโมกข์
ทั้งหลายว่า “เมื่อไรหนอ ! เราจักเข้าถึงซึ่งอายตนะนั้น แล้วแลอยู่
อันเป็นอายตนะที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย เข้าถึงซึ่งอายตนะนั้นแล้วแลอยู่ ในบัดนี้ ”
ดังนี้.
เมื่อเขาเข้าไปตั้งไว้ ซึ่งความกระหยิ่ม ในอนุตตรวิโมกข์ทั้งหลาย อยู่ดังนี้
ย่อมเกิดความโทมนัสขึ้น เพราะความกระหยิ่มนั้นเป็นปัจจัย.
ความโทมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ ความโทมนัสนี้ เรียกว่า
ความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน (เนกขัมมสิตโทมนัส)
(ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง
ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).
+--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ ความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง.
--ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น,
อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน (เคหสิตอุเบกขา) ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
+--ภิกษุ ท. ! เพราะเห็นรูปด้วยตาแล้วอุเบกขาก็เกิดขึ้นแก่
คนพาล ผู้หลง ผู้เขลา ผู้บุถุชน ผู้ยังไม่ชนะกิเลส ผู้ยังไม่ชนะวิบาก
ผู้ไม่เห็นโทษ ผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง.
อุเบกขาใด ซึ่งเป็นอุเบกขาของบุถุชน อุเบกขานั้น
ไม่อาจจะเป็นไปล่วง ซึ่งวิสัยแห่งรูป
เพราะเหตุนั้น เราเรียกอุเบกขานั้น ว่า
อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน.
(ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง
ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ ชื่อเรียกเท่านั้น).
+--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง.
--ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น,
อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
+--ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรารู้แจ้งถึงความเป็นของไม่เที่ยงของรูปทั้งหลาย
ความแปรปรวน ความจางคลายความกำหนัดยินดี
และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลาย เห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ
ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า
“รูปทั้งหลาย ในกาลก่อน หรือในบัดนี้ ก็ตาม รูปทั้งหมดเหล่านั้น
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา”
ดังนี้
แล้วเกิดอุเบกขาขึ้น. อุเบกขาใด มีลักษณะเช่นนี้
อุเบกขานั้น ไม่อาจจะเป็นไปล่วง ซึ่งวิสัยแห่งรูป
เพราะเหตุนั้น เราเรียกอุเบกขานั้น ว่า
อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน (เนกขัมมสิตอุเบกขา).
http://etipitaka.com/read/pali/14/402/?keywords=เนกฺขมฺมสิตานิ+อุเปกฺขา
(ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์
อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเรียกเท่านั้น).
+--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่างแล.
--ภิกษุ ท. ! คำใดที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ ๓๖ อย่าง”
ดังนี้นั้น, คำนั้น เรากล่าวอาศัยความข้อนี้แล.-
#ทุกข์ #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/302-305/624-630.
http://etipitaka.com/read/thai/14/302/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%92%E0%B9%94
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๔๐๒-๔๐๕/๖๒๔-๖๓๐.
http://etipitaka.com/read/pali/14/402/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%92%E0%B9%94
ศึกษาเพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=147 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=11&id=147
หรือ
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=11
ลำดับสาธยายธรรม : 11 ฟังเสียงอ่าน...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_11.mp3 อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาว่าเวทนาคือทางไปแห่งจิตของสัตว์
สัทธรรมลำดับที่ : 147
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=147
ชื่อบทธรรม :- เวทนาคือทางไปแห่งจิตของสัตว์
เนื้อความทั้งหมด :-
--เวทนาคือทางไปแห่งจิตของสัตว์
--ภิกษุ ท. ! คำที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ ๓๖ อย่าง”
ดังนี้นั้น,
ข้อนั้น เรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์อะไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์คือ
ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง,
ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง,
ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง,
ความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง,
อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง,
อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง.
--ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น,
ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
+--ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรามองเห็นการได้ซึ่ง รูป อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ น่ารื่นรมย์ใจ อันเนื่องในความเป็นเหยื่อโลก ในทางตา ว่า เป็นสิ่งที่ตนกำลังได้อยู่ก็ตาม,
หรือว่าเมื่อระลึกถึง รูป เช่นนั้น อันตนเคยได้แล้วแต่กาลก่อน ซึ่งล่วงแล้ว ดับสิ้น แปรปรวนไปแล้วก็ตาม แล้วเกิดความโสมนัสขึ้น.
ความโสมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ ความโสมนัสนี้ เรียกว่า
ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน (เคหสิตโสมนัส).
http://etipitaka.com/read/pali/14/402/?keywords=เคหสิตานิ+โสมนสฺสานิ
(ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป
ผิดกันแต่ชื่อ เท่านั้น).
+--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ ความโสมนัสเนื่องด้วย เหย้าเรือน ๖ อย่าง.
--ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น,
ความโสมนัสเนื่องด้วย การหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
+--ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรารู้แจ้งถึงความเป็นของไม่เที่ยงของรูปทั้งหลาย
ความแปรปรวน ความจางคลายความกำหนัดยินดี
และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลายเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ
ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า
“รูปทั้งหลาย ในกาลก่อนหรือในบัดนี้ก็ตามรูปทั้งหมดเหล่านั้น
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา”
ดังนี้ แล้วเกิดความโสมนัสขึ้น.
ความโสมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ ความโสมนัสนี้ เรียกว่า
ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน (เนกขัมมสิตโสมนัส).
http://etipitaka.com/read/pali/14/402/?keywords=เนกฺขมฺมสิตานิ+โสมนสฺสานิ
(ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับ ข้อว่า รูป
ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).
+--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีก ออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง.
--ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น,
ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
+-ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรามองเห็นการไม่ได้ซึ่งรูป
อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ น่ารื่นรมย์ใจ
อันเนื่องในความเป็นเหยื่อโลกในทางตา ว่า เป็นสิ่งที่ตนไม่ได้ก็ตาม,
หรือว่า เมื่อระลึกถึง รูป เช่นนั้น อันตนยังไม่เคยได้แต่กาลก่อน
ซึ่งล่วงลับ ดับสิ้นแปรปรวนไปแล้วก็ตาม แล้วเกิดความโทมนัสขึ้น.
ความโทมนัสใดมีลักษณะเช่นนี้ ความโทมนัสนี้ เรียกว่า
ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน (เคหสิตโทมนัส).
(ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์
อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).
+--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง.
--ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น,
ความโทมนัสเนื่องด้วย การหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
+--ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรารู้แจ้งถึงความเป็นของไม่เที่ยงของรูปทั้งหลาย
ความแปรปรวน ความจางคลายความกำหนัดยินดี
และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลาย เห็นอยู่ด้วยปัญญา
อันชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า
“รูปทั้งหลาย ในกาลก่อนหรือในบัดนี้ ก็ตาม รูปทั้งหมดเหล่านั้น
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา”
ดังนี้แล้ว
เขาย่อมเข้าไปตั้งไว้ ซึ่งความกระหยิ่ม ในอนุตตรวิโมกข์
ทั้งหลายว่า “เมื่อไรหนอ ! เราจักเข้าถึงซึ่งอายตนะนั้น แล้วแลอยู่
อันเป็นอายตนะที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย เข้าถึงซึ่งอายตนะนั้นแล้วแลอยู่ ในบัดนี้ ”
ดังนี้.
เมื่อเขาเข้าไปตั้งไว้ ซึ่งความกระหยิ่ม ในอนุตตรวิโมกข์ทั้งหลาย อยู่ดังนี้
ย่อมเกิดความโทมนัสขึ้น เพราะความกระหยิ่มนั้นเป็นปัจจัย.
ความโทมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ ความโทมนัสนี้ เรียกว่า
ความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน (เนกขัมมสิตโทมนัส)
(ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง
ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).
+--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ ความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง.
--ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น,
อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน (เคหสิตอุเบกขา) ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
+--ภิกษุ ท. ! เพราะเห็นรูปด้วยตาแล้วอุเบกขาก็เกิดขึ้นแก่
คนพาล ผู้หลง ผู้เขลา ผู้บุถุชน ผู้ยังไม่ชนะกิเลส ผู้ยังไม่ชนะวิบาก
ผู้ไม่เห็นโทษ ผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง.
อุเบกขาใด ซึ่งเป็นอุเบกขาของบุถุชน อุเบกขานั้น
ไม่อาจจะเป็นไปล่วง ซึ่งวิสัยแห่งรูป
เพราะเหตุนั้น เราเรียกอุเบกขานั้น ว่า
อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน.
(ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง
ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ ชื่อเรียกเท่านั้น).
+--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง.
--ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น,
อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
+--ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรารู้แจ้งถึงความเป็นของไม่เที่ยงของรูปทั้งหลาย
ความแปรปรวน ความจางคลายความกำหนัดยินดี
และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลาย เห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ
ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า
“รูปทั้งหลาย ในกาลก่อน หรือในบัดนี้ ก็ตาม รูปทั้งหมดเหล่านั้น
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา”
ดังนี้
แล้วเกิดอุเบกขาขึ้น. อุเบกขาใด มีลักษณะเช่นนี้
อุเบกขานั้น ไม่อาจจะเป็นไปล่วง ซึ่งวิสัยแห่งรูป
เพราะเหตุนั้น เราเรียกอุเบกขานั้น ว่า
อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน (เนกขัมมสิตอุเบกขา).
http://etipitaka.com/read/pali/14/402/?keywords=เนกฺขมฺมสิตานิ+อุเปกฺขา
(ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์
อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเรียกเท่านั้น).
+--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่างแล.
--ภิกษุ ท. ! คำใดที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ ๓๖ อย่าง”
ดังนี้นั้น, คำนั้น เรากล่าวอาศัยความข้อนี้แล.-
#ทุกข์ #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/302-305/624-630.
http://etipitaka.com/read/thai/14/302/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%92%E0%B9%94
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๔๐๒-๔๐๕/๖๒๔-๖๓๐.
http://etipitaka.com/read/pali/14/402/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%92%E0%B9%94
ศึกษาเพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=147
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=11&id=147
หรือ
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=11
ลำดับสาธยายธรรม : 11 ฟังเสียงอ่าน...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_11.mp3