จุดเปลี่ยนวิทยุชุมชน สู่ระบบใบอนุญาต
ในห้วงเดือน พ.ย. 2567 เป็นช่วงจุดเปลี่ยนสำคัญของผู้ทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียงในระบบเอฟเอ็ม หรือผู้ประกอบการวิทยุชุมชน ทั้งประเภทธุรกิจ 2,982 สถานี ประเภทสาธารณะ 548 สถานี และประเภทชุมชน 145 สถานี รวม 3,675 สถานี เพราะหลังวันที่ 31 ธ.ค. 2567 เป็นต้นไป ผู้ประกอบการรายเดิมหลังจากส่งผังรายการและแบบรายงานทางเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว จะได้รับสิทธิทดลองออกอากาศต่อตามบทเฉพาะกาลไปก่อน จนกว่า กสทช. จะสั่งไม่ออกใบอนุญาตหรือสั่งเป็นอย่างอื่น
โดยผู้ประกอบการวิทยุชุมชนทั้งเก่าและใหม่ ต้องเข้าสู่การขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ระบบเอฟเอ็ม สำหรับการให้บริการกระจายเสียง โดยประเภทกิจการบริการสาธารณะ 137 สถานี ต้องเป็นนิติบุคคลประเภทกระทรวง ทบวง กรม องค์กรอิสระ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน สมาคม มูลนิธิ แบบไม่แสวงหากำไร สถาบันอุดมศึกษา
ส่วนประเภทกิจการบริการชุมชน 148 สถานี ต้องเป็นสมาคม มูลนิธิ นิติบุคคลที่ไม่แสวงหาผลกำไร หรือกลุ่มคนในท้องถิ่นจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าได้สร้างความเข้มแข็งในชุมชนที่ตั้งสถานีมาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยต้องยื่นภายในวันที่ 30 พ.ย. 2567 ผ่านระบบออนไลน์ที่เรียกว่า e-BCS ของสำนักงาน กสทช.
ส่วนประเภทกิจการทางธุรกิจ ระดับท้องถิ่น 2,507 สถานี ต้องยื่นภายในวันที่ 27 ธ.ค. 2567 พร้อมชำระค่าธรรมเนียมคำขอ 5,350 บาทต่อคลื่นความถี่ กับหลักประกันการประมูล 10% หรือ 2,500 บาท ของราคาขั้นต่ำของคลื่นความถี่ กำหนดที่ 25,000 บาท โดยต้องเป็นนิติบุคคลที่มีบุคคลผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งมีผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นมีภูมิลำเนาภายในจังหวัดนั้น และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
กำหนดให้ 1 นิติบุคคล ยื่นคำขอได้สูงสุดไม่เกิน 2 คลื่นความถี่ภายในจังหวัดเดียวกัน เมื่อสิ้นสุดการประมูล สามารถเลือกได้เพียง 1 คลื่นความถี่เท่านั้น เมื่อชนะการประมูล ต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เท่ากับราคาที่ชนะการประมูล รวมทั้งแจ้งความพร้อมในการให้บริการและแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับสถานีวิทยุกระจายเสียง ภายใน 30 วัน
ผลกระทบจากการจัดระเบียบวิทยุชุมชนของ กสทช. ที่ให้ลดกำลังส่ง ทำให้รัศมีการออกอากาศลดลง ผู้ประกอบการส่วนหนึ่งล้มหายตายจาก แต่ก็ยังมีผู้ประกอบการอีกส่วนหนึ่งอยู่รอด สำหรับต่างจังหวัด วิทยุชุมชนยังคงเป็นสื่อหลักที่เข้าถึงผู้ฟังระดับพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท แม้จะไม่เท่ากับวิทยุกระจายเสียงประเภทกิจการทางธุรกิจ ที่มีรัศมีการออกอากาศ 70-80 ตารางกิโลเมตรก็ตาม
#Newskit จุดเปลี่ยนวิทยุชุมชน สู่ระบบใบอนุญาต
ในห้วงเดือน พ.ย. 2567 เป็นช่วงจุดเปลี่ยนสำคัญของผู้ทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียงในระบบเอฟเอ็ม หรือผู้ประกอบการวิทยุชุมชน ทั้งประเภทธุรกิจ 2,982 สถานี ประเภทสาธารณะ 548 สถานี และประเภทชุมชน 145 สถานี รวม 3,675 สถานี เพราะหลังวันที่ 31 ธ.ค. 2567 เป็นต้นไป ผู้ประกอบการรายเดิมหลังจากส่งผังรายการและแบบรายงานทางเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว จะได้รับสิทธิทดลองออกอากาศต่อตามบทเฉพาะกาลไปก่อน จนกว่า กสทช. จะสั่งไม่ออกใบอนุญาตหรือสั่งเป็นอย่างอื่น
โดยผู้ประกอบการวิทยุชุมชนทั้งเก่าและใหม่ ต้องเข้าสู่การขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ระบบเอฟเอ็ม สำหรับการให้บริการกระจายเสียง โดยประเภทกิจการบริการสาธารณะ 137 สถานี ต้องเป็นนิติบุคคลประเภทกระทรวง ทบวง กรม องค์กรอิสระ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน สมาคม มูลนิธิ แบบไม่แสวงหากำไร สถาบันอุดมศึกษา
ส่วนประเภทกิจการบริการชุมชน 148 สถานี ต้องเป็นสมาคม มูลนิธิ นิติบุคคลที่ไม่แสวงหาผลกำไร หรือกลุ่มคนในท้องถิ่นจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าได้สร้างความเข้มแข็งในชุมชนที่ตั้งสถานีมาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยต้องยื่นภายในวันที่ 30 พ.ย. 2567 ผ่านระบบออนไลน์ที่เรียกว่า e-BCS ของสำนักงาน กสทช.
ส่วนประเภทกิจการทางธุรกิจ ระดับท้องถิ่น 2,507 สถานี ต้องยื่นภายในวันที่ 27 ธ.ค. 2567 พร้อมชำระค่าธรรมเนียมคำขอ 5,350 บาทต่อคลื่นความถี่ กับหลักประกันการประมูล 10% หรือ 2,500 บาท ของราคาขั้นต่ำของคลื่นความถี่ กำหนดที่ 25,000 บาท โดยต้องเป็นนิติบุคคลที่มีบุคคลผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งมีผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นมีภูมิลำเนาภายในจังหวัดนั้น และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
กำหนดให้ 1 นิติบุคคล ยื่นคำขอได้สูงสุดไม่เกิน 2 คลื่นความถี่ภายในจังหวัดเดียวกัน เมื่อสิ้นสุดการประมูล สามารถเลือกได้เพียง 1 คลื่นความถี่เท่านั้น เมื่อชนะการประมูล ต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เท่ากับราคาที่ชนะการประมูล รวมทั้งแจ้งความพร้อมในการให้บริการและแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับสถานีวิทยุกระจายเสียง ภายใน 30 วัน
ผลกระทบจากการจัดระเบียบวิทยุชุมชนของ กสทช. ที่ให้ลดกำลังส่ง ทำให้รัศมีการออกอากาศลดลง ผู้ประกอบการส่วนหนึ่งล้มหายตายจาก แต่ก็ยังมีผู้ประกอบการอีกส่วนหนึ่งอยู่รอด สำหรับต่างจังหวัด วิทยุชุมชนยังคงเป็นสื่อหลักที่เข้าถึงผู้ฟังระดับพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท แม้จะไม่เท่ากับวิทยุกระจายเสียงประเภทกิจการทางธุรกิจ ที่มีรัศมีการออกอากาศ 70-80 ตารางกิโลเมตรก็ตาม
#Newskit