• ภาคใต้น้ำท่วม นายกฯไปเหนือ ขอโปรดเข้าใจ
    .
    สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ในภาพรวมถือว่ายังคงน่าเป็นห่วงพอสมควร โดนายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีน ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ทําให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากระหว่างวันที่ 22 พ.ย. - 1 ธันวาคม 67 ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ 1. นครศรีธรรมราช 2.พัทลุง 3.สตูล 4.สงขลา 5.ปัตตานี 6.ยะลา 7.นราธิวาส รวม 78 อำเภอ 508 ตำบล 3,387 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 617,386 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 12 ราย
    .
    ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้มีเพียงเฉพาะประชาชนเท่านั้น เพราะแม้แต่ปศุสัตว์ที่ประชาชนเลี้ยงไว้เพื่อทำการเกษตรก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่า มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 9 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา สตูล และตรัง จำนวน 71 อำเภอ 425 ตำบล 2,235 หมู่บ้าน มีเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ 117,400 ราย สัตว์ในพื้นที่น้ำท่วม 5,753,340 ตัว แบ่งเป็น โค 215,925 ตัว กระบือ 8,453 ตัว สุกร 75,164 ตัว แพะ/แกะ 135,775 ตัว และสัตว์ปีก 5,318,023 ตัว
    .
    ขณะที่ อีกด้านมีเสียงวิจารณ์ต่อท่าทีของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการเอาใจใส่ต่อการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ เนื่องจากระหว่างประชาชนทางตอนใต้ของประเทศกำลังรอคอยความช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่ปรากฎว่านายกฯยังคงความสำคัญกับการตรวจราชการในพื้นที่ตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พรรคเพื่อไทยมีฐานเสียง
    .
    ในเรื่องนี้ นายกฯ ชี้แจงว่า ตั้งแต่เกิดเหตุได้ส่งรองนายกฯและรัฐมนตรี ลงพื้นที่ และจากการลงพื้นที่เชียงรายวันนี้ได้พูดคุยกับธนาคารต่างๆ ถึงมาตรการช่วยเหลือภายหลังอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และจะนำมาตรการดังกล่าวไปใช้ช่วยเหลือในพื้นที่จังหวัดภาคใต้
    .
    “โอ๊ย คำว่าละเลยภาคใต้ สามีเป็นคนใต้ ครอบครัวสามีเป็นคนใต้ ถ้าละเลยคนใต้ ไม่รักคนใต้ แต่งงานคนใต้ไม่ได้ และวันที่เกิดเรื่อง แจกจ่ายงานประสานทั้งหมด ตั้งแต่กลางคืนไลน์คุยกัน โทรคุยกัน ทำทุกอย่าง แต่การมาการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) เราวางแผนกันเป็นเดือน เพื่อมาฟื้นฟูพื้นที่ภาคเหนือ ให้รู้ว่าเราพร้อมกลับไปเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ ซึ่งจำเป็นต้องมาเหมือนกัน" นายกฯ อธิบาย
    .............
    Sondhi X
    ภาคใต้น้ำท่วม นายกฯไปเหนือ ขอโปรดเข้าใจ . สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ในภาพรวมถือว่ายังคงน่าเป็นห่วงพอสมควร โดนายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีน ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ทําให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากระหว่างวันที่ 22 พ.ย. - 1 ธันวาคม 67 ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ 1. นครศรีธรรมราช 2.พัทลุง 3.สตูล 4.สงขลา 5.ปัตตานี 6.ยะลา 7.นราธิวาส รวม 78 อำเภอ 508 ตำบล 3,387 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 617,386 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 12 ราย . ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้มีเพียงเฉพาะประชาชนเท่านั้น เพราะแม้แต่ปศุสัตว์ที่ประชาชนเลี้ยงไว้เพื่อทำการเกษตรก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่า มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 9 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา สตูล และตรัง จำนวน 71 อำเภอ 425 ตำบล 2,235 หมู่บ้าน มีเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ 117,400 ราย สัตว์ในพื้นที่น้ำท่วม 5,753,340 ตัว แบ่งเป็น โค 215,925 ตัว กระบือ 8,453 ตัว สุกร 75,164 ตัว แพะ/แกะ 135,775 ตัว และสัตว์ปีก 5,318,023 ตัว . ขณะที่ อีกด้านมีเสียงวิจารณ์ต่อท่าทีของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการเอาใจใส่ต่อการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ เนื่องจากระหว่างประชาชนทางตอนใต้ของประเทศกำลังรอคอยความช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่ปรากฎว่านายกฯยังคงความสำคัญกับการตรวจราชการในพื้นที่ตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พรรคเพื่อไทยมีฐานเสียง . ในเรื่องนี้ นายกฯ ชี้แจงว่า ตั้งแต่เกิดเหตุได้ส่งรองนายกฯและรัฐมนตรี ลงพื้นที่ และจากการลงพื้นที่เชียงรายวันนี้ได้พูดคุยกับธนาคารต่างๆ ถึงมาตรการช่วยเหลือภายหลังอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และจะนำมาตรการดังกล่าวไปใช้ช่วยเหลือในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ . “โอ๊ย คำว่าละเลยภาคใต้ สามีเป็นคนใต้ ครอบครัวสามีเป็นคนใต้ ถ้าละเลยคนใต้ ไม่รักคนใต้ แต่งงานคนใต้ไม่ได้ และวันที่เกิดเรื่อง แจกจ่ายงานประสานทั้งหมด ตั้งแต่กลางคืนไลน์คุยกัน โทรคุยกัน ทำทุกอย่าง แต่การมาการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) เราวางแผนกันเป็นเดือน เพื่อมาฟื้นฟูพื้นที่ภาคเหนือ ให้รู้ว่าเราพร้อมกลับไปเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ ซึ่งจำเป็นต้องมาเหมือนกัน" นายกฯ อธิบาย ............. Sondhi X
    Like
    Sad
    Haha
    Angry
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 840 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยะลา - ยะลาฝนกระหน่ำวันที่ 2 กระทบ 5 อำเภอ ประชาชนเดือดร้อนแล้ว 107,741 คน ขณะที่น้ำโอบล้อมตัวเมืองตัดขาดการเดินทางออกนอกจังหวัด ด้าน ผบช.ภาค 9 ลงพื้นที่มอบอาหารน้ำดื่มช่วยเหลือในเบื้องต้น

    วันนี้ (28 พ.ย.) สถานการณ์อุทกภัยจังหวัดยะลา สืบเนื่องจากปริมาณฝนตกหนักถึงหนักมากมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ปริมาณฝนสะสม 2 วัน อยู่ที่ 579.8 มิลลิเมตร ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำลันตลิ่ง และดินโคลนถล่มในหลายพื้นที่จังหวัดยะลา ล่าสุด ยังมีฝนตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่อง โดยพื้นที่ตำบลรอบนอกในเขตตัวเมืองยะลา ทั้ง 10 ตำบล มีน้ำท่วมโอบล้อมเมืองในเขตเทศบาลนครยะลา ซึ่งขณะนี้มีประชาชนได้รับผลกระทบแล้ว 5 อำเภอ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/south/detail/9670000114539

    #MGROnline #สถานการณ์อุทกภัย #จังหวัดยะลา #ฝนตกหนัก #ปริมาณฝนสะสม #น้ำท่วมฉับพลัน #น้ำป่าไหลหลาก #น้ำลันตลิ่ง #ดินโคลนถล่ม
    ยะลา - ยะลาฝนกระหน่ำวันที่ 2 กระทบ 5 อำเภอ ประชาชนเดือดร้อนแล้ว 107,741 คน ขณะที่น้ำโอบล้อมตัวเมืองตัดขาดการเดินทางออกนอกจังหวัด ด้าน ผบช.ภาค 9 ลงพื้นที่มอบอาหารน้ำดื่มช่วยเหลือในเบื้องต้น • วันนี้ (28 พ.ย.) สถานการณ์อุทกภัยจังหวัดยะลา สืบเนื่องจากปริมาณฝนตกหนักถึงหนักมากมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ปริมาณฝนสะสม 2 วัน อยู่ที่ 579.8 มิลลิเมตร ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำลันตลิ่ง และดินโคลนถล่มในหลายพื้นที่จังหวัดยะลา ล่าสุด ยังมีฝนตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่อง โดยพื้นที่ตำบลรอบนอกในเขตตัวเมืองยะลา ทั้ง 10 ตำบล มีน้ำท่วมโอบล้อมเมืองในเขตเทศบาลนครยะลา ซึ่งขณะนี้มีประชาชนได้รับผลกระทบแล้ว 5 อำเภอ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/south/detail/9670000114539 • #MGROnline #สถานการณ์อุทกภัย #จังหวัดยะลา #ฝนตกหนัก #ปริมาณฝนสะสม #น้ำท่วมฉับพลัน #น้ำป่าไหลหลาก #น้ำลันตลิ่ง #ดินโคลนถล่ม
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 340 มุมมอง 0 รีวิว
  • นราธิวาส - สถานการณ์อุทุกภัยยังหนัก กระทบทั้ง 13 อำเภอ น้ำยังท่วมและเอ่อล้นตลิ่งต่อเนื่อง ประชาชนได้รับผลกระทบ 42,285 ครัวเรือน 154,535คน โรงเรียนประกาศปิดแล้ว 68 แห่ง

    วันนี้ (28 พ.ย.) สถานการณ์อุทุกภัยในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ล่าสุด มีพื้นที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างแล้วทั้ง 13 อำเภอ รวมจำนวน 76 ตำบล 511 หมู่บ้าน 38 ชุมชน มีประชาชนได้รับผลกระทบ 42,285 ครัวเรือน 154,535 คน โรงเรียนประกาศปิดแล้ว 68 แห่ง ขณะที่เส้นทางคมนาคมเส้นทางรถไฟประกาศหยุดให้บริการเดินรถชั่วคราว

    ทั้งนี้ ยังมีปริมาณฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องและมีน้ำล้นตลิ่ง น้ำป่าไหลหลาก ทำให้หลายพื้นที่ต้องอพยพประชาชนไปอยู่ที่ปลอดภัยโดยเฉพาะในพื้นที่ ต.บาโงสโต ต.ตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เจ้าหน้าที่เร่งช่วยประชาชนอย่างเร่งด่วน เนื่องจากมีระดับน้ำสูงและไหลแรง ต้องนำผู้สูงอายุและเด็กออกจากพื้นที่ก่อน

    ส่วนในพื้นที่ที่ติดแนวทะเล บ้านปูลากาปะ ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง มีน้ำทะเลหนุน ทำให้น้ำในแม่น้ำบางนราสูงขึ้นเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนตามแนวห่างจากริมคลองกว่า 300 เมตร โดยระดับน้ำสูงกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ที่เข้าท่วม

    อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่เขตเมืองนราธิวาส มีการแจ้งเตือนผ่านโซเชียลตลอดถึงระดับน้ำที่อาจจะท่วม โดยขอให้ประชาชนเตรียมความพร้อม เพราะหลาบพื้นที่เพิ่งจะเคยประสบสถานการณ์อุทกภัยครั้งแรก

    #MGROnline #น้ำป่าไหลหลาก #นราธิวาส
    นราธิวาส - สถานการณ์อุทุกภัยยังหนัก กระทบทั้ง 13 อำเภอ น้ำยังท่วมและเอ่อล้นตลิ่งต่อเนื่อง ประชาชนได้รับผลกระทบ 42,285 ครัวเรือน 154,535คน โรงเรียนประกาศปิดแล้ว 68 แห่ง • วันนี้ (28 พ.ย.) สถานการณ์อุทุกภัยในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ล่าสุด มีพื้นที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างแล้วทั้ง 13 อำเภอ รวมจำนวน 76 ตำบล 511 หมู่บ้าน 38 ชุมชน มีประชาชนได้รับผลกระทบ 42,285 ครัวเรือน 154,535 คน โรงเรียนประกาศปิดแล้ว 68 แห่ง ขณะที่เส้นทางคมนาคมเส้นทางรถไฟประกาศหยุดให้บริการเดินรถชั่วคราว • ทั้งนี้ ยังมีปริมาณฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องและมีน้ำล้นตลิ่ง น้ำป่าไหลหลาก ทำให้หลายพื้นที่ต้องอพยพประชาชนไปอยู่ที่ปลอดภัยโดยเฉพาะในพื้นที่ ต.บาโงสโต ต.ตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เจ้าหน้าที่เร่งช่วยประชาชนอย่างเร่งด่วน เนื่องจากมีระดับน้ำสูงและไหลแรง ต้องนำผู้สูงอายุและเด็กออกจากพื้นที่ก่อน • ส่วนในพื้นที่ที่ติดแนวทะเล บ้านปูลากาปะ ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง มีน้ำทะเลหนุน ทำให้น้ำในแม่น้ำบางนราสูงขึ้นเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนตามแนวห่างจากริมคลองกว่า 300 เมตร โดยระดับน้ำสูงกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ที่เข้าท่วม • อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่เขตเมืองนราธิวาส มีการแจ้งเตือนผ่านโซเชียลตลอดถึงระดับน้ำที่อาจจะท่วม โดยขอให้ประชาชนเตรียมความพร้อม เพราะหลาบพื้นที่เพิ่งจะเคยประสบสถานการณ์อุทกภัยครั้งแรก • #MGROnline #น้ำป่าไหลหลาก #นราธิวาส
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 294 มุมมอง 0 รีวิว
  • แอ่วเหนือ 400 คนภาคอื่นไม่คุ้ม

    ไม่ปังอย่างที่คิด สำหรับโครงการแอ่วเหนือคนละครึ่ง ที่รัฐบาลโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดแคมเปญเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวภาคเหนือหลังสถานการณ์อุทกภัย โดยใช้งบประมาณ 4 ล้านบาท มอบส่วนลด 50% รวมไม่เกิน 400 บาท จำนวน 10,000 สิทธิ์แก่นักท่องเที่ยวที่ลงทะเบียนผ่าน QR Code จากโรงแรมที่พักที่เข้าร่วมโครงการในภาคเหนือ 17 จังหวัด ก่อนใช้สิทธิ์กับสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ อาทิ โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร สปา ภายใน 3 วัน (72 ชั่วโมง) มีเสียงวิจารณ์ว่า นอกจากไปพ้องกับโครงการคนละครึ่ง สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาแล้ว ยังทำได้แย่กว่า

    จากเดิมที่นายอภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ ททท.คาดว่า 10,000 สิทธิ์จะหมดทันทีในวันแรก ปรากฎว่าผ่านไป 2 วัน มีผู้มาใช้สิทธิ์ส่วนลดแค่ 1,814 สิทธิ์ คงเหลือ 8,186 สิทธิ์ แต่ด้วยระยะเวลาใช้จ่ายโครงการถึง 31 ธ.ค. 2567 คาดว่าสิทธิ์จะค่อยลดลงอย่างช้าๆ ในวันธรรมดา และเพิ่มขึ้นในวันหยุดราชการ ถึงกระนั้น ในมุมมองนักท่องเที่ยวถือว่าไม่คุ้ม เพราะให้ส่วนลด 50% เพียงแค่ 400 บาท และยังต้องใช้สิทธิ์เมื่อถึงปลายทาง ลงทะเบียนก่อนได้รับสิทธิ์ก่อน (First Come First Served) ไม่สามารถจองสิทธิ์ล่วงหน้าได้ ไม่จูงใจมากพอที่คนภาคอื่นจะมาเที่ยว

    ยิ่งเดือน พ.ย. เป็นฤดูกาลท่องเที่ยวภาคเหนือช่วงฤดูหนาว ราคาที่พักสูงกว่าช่วงอื่น นักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งจองห้องพักล่วงหน้าไปแล้วไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ อีกส่วนหนึ่งใช้สิทธิ์ส่วนลดค่าที่พักหมดแล้ว ก็ไม่ถึงมือร้านอาหาร สปา และผู้ประกอบการอื่น แถมมีโรงแรมบางแห่งจำกัดวันละ 5 สิทธิ์ต่อวัน คนมาที่หลังต้องจ่ายราคาเต็ม ซึ่งมุมมองของผู้ประกอบการ ต้องแบกรับภาระต้นทุนลูกค้าห้องละ 400 บาท หากมีลูกค้าใช้สิทธิ์ 100 ห้อง ต้องแบกภาระสูงถึง 40,000 บาท จนกว่ารัฐบาลจะจ่ายเงินภายในวันที่ 15 ม.ค. 2568 ซึ่งไม่แน่นอนหากพบการทุจริต

    ย้อนกลับมาที่โครงการเราเที่ยวด้วยกัน 5 เฟส ตั้งแต่ปี 2563-2566 มอบส่วนลด 40% สูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อห้องหรือต่อคืน ทำให้จองห้องพักหรูได้ในราคาที่ถูกลง ใช้สิทธิ์ได้ 10-15 ห้องหรือคืน และจองล่วงหน้าได้ เมื่อเช็กอินแล้วยังมีคูปอง e-voucher ค่าอาหาร ค่าเข้าสถานที่ท่องเที่ยว 600-900 บาทต่อวัน และสามารถเบิกค่าตั๋วเครื่องบิน 40% ของราคาตั๋วเครื่องบิน แต่ไม่เกิน 3,000 บาทสำหรับจังหวัดท่องเที่ยว และ 2,000 บาทสำหรับจังหวัดอื่นๆ โครงการนี้ใช้งบประมาณ 24,016 ล้านบาท แต่เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 58,621 ล้านบาท

    #Newskit #แอ่วเหนือคนละครึ่ง #เราเที่ยวด้วยกัน
    แอ่วเหนือ 400 คนภาคอื่นไม่คุ้ม ไม่ปังอย่างที่คิด สำหรับโครงการแอ่วเหนือคนละครึ่ง ที่รัฐบาลโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดแคมเปญเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวภาคเหนือหลังสถานการณ์อุทกภัย โดยใช้งบประมาณ 4 ล้านบาท มอบส่วนลด 50% รวมไม่เกิน 400 บาท จำนวน 10,000 สิทธิ์แก่นักท่องเที่ยวที่ลงทะเบียนผ่าน QR Code จากโรงแรมที่พักที่เข้าร่วมโครงการในภาคเหนือ 17 จังหวัด ก่อนใช้สิทธิ์กับสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ อาทิ โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร สปา ภายใน 3 วัน (72 ชั่วโมง) มีเสียงวิจารณ์ว่า นอกจากไปพ้องกับโครงการคนละครึ่ง สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาแล้ว ยังทำได้แย่กว่า จากเดิมที่นายอภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ ททท.คาดว่า 10,000 สิทธิ์จะหมดทันทีในวันแรก ปรากฎว่าผ่านไป 2 วัน มีผู้มาใช้สิทธิ์ส่วนลดแค่ 1,814 สิทธิ์ คงเหลือ 8,186 สิทธิ์ แต่ด้วยระยะเวลาใช้จ่ายโครงการถึง 31 ธ.ค. 2567 คาดว่าสิทธิ์จะค่อยลดลงอย่างช้าๆ ในวันธรรมดา และเพิ่มขึ้นในวันหยุดราชการ ถึงกระนั้น ในมุมมองนักท่องเที่ยวถือว่าไม่คุ้ม เพราะให้ส่วนลด 50% เพียงแค่ 400 บาท และยังต้องใช้สิทธิ์เมื่อถึงปลายทาง ลงทะเบียนก่อนได้รับสิทธิ์ก่อน (First Come First Served) ไม่สามารถจองสิทธิ์ล่วงหน้าได้ ไม่จูงใจมากพอที่คนภาคอื่นจะมาเที่ยว ยิ่งเดือน พ.ย. เป็นฤดูกาลท่องเที่ยวภาคเหนือช่วงฤดูหนาว ราคาที่พักสูงกว่าช่วงอื่น นักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งจองห้องพักล่วงหน้าไปแล้วไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ อีกส่วนหนึ่งใช้สิทธิ์ส่วนลดค่าที่พักหมดแล้ว ก็ไม่ถึงมือร้านอาหาร สปา และผู้ประกอบการอื่น แถมมีโรงแรมบางแห่งจำกัดวันละ 5 สิทธิ์ต่อวัน คนมาที่หลังต้องจ่ายราคาเต็ม ซึ่งมุมมองของผู้ประกอบการ ต้องแบกรับภาระต้นทุนลูกค้าห้องละ 400 บาท หากมีลูกค้าใช้สิทธิ์ 100 ห้อง ต้องแบกภาระสูงถึง 40,000 บาท จนกว่ารัฐบาลจะจ่ายเงินภายในวันที่ 15 ม.ค. 2568 ซึ่งไม่แน่นอนหากพบการทุจริต ย้อนกลับมาที่โครงการเราเที่ยวด้วยกัน 5 เฟส ตั้งแต่ปี 2563-2566 มอบส่วนลด 40% สูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อห้องหรือต่อคืน ทำให้จองห้องพักหรูได้ในราคาที่ถูกลง ใช้สิทธิ์ได้ 10-15 ห้องหรือคืน และจองล่วงหน้าได้ เมื่อเช็กอินแล้วยังมีคูปอง e-voucher ค่าอาหาร ค่าเข้าสถานที่ท่องเที่ยว 600-900 บาทต่อวัน และสามารถเบิกค่าตั๋วเครื่องบิน 40% ของราคาตั๋วเครื่องบิน แต่ไม่เกิน 3,000 บาทสำหรับจังหวัดท่องเที่ยว และ 2,000 บาทสำหรับจังหวัดอื่นๆ โครงการนี้ใช้งบประมาณ 24,016 ล้านบาท แต่เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 58,621 ล้านบาท #Newskit #แอ่วเหนือคนละครึ่ง #เราเที่ยวด้วยกัน
    Like
    Haha
    7
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 606 มุมมอง 0 รีวิว
  • แอ่วเหนือคนละครึ่ง อย่าให้มีนักท่องเที่ยวผี

    โครงการแอ่วเหนือคนละครึ่ง ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดแคมเปญเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวภาคเหนือ หลังสถานการณ์อุทกภัย โดยใช้งบประมาณ 4 ล้านบาท มอบส่วนลด 50% รวมไม่เกิน 400 บาท จำนวน 10,000 สิทธิ์แก่นักท่องเที่ยวที่ลงทะเบียนผ่าน QR Code จากโรงแรมที่พักที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัด ก่อนใช้สิทธิ์กับสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ อาทิ โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร สปา ภายใน 3 วัน (72 ชั่วโมง)

    สถานประกอบการที่เข้าร่วมแคมเปญมีทั้งหมด 554 แห่ง แบ่งเป็นโรงแรมที่พัก 326 แห่ง ร้านอาหาร คาเฟ่ 160 แห่ง ร้านของฝากของที่ระลึก 38 แห่ง และอื่นๆ เช่น แหล่งท่องเที่ยวชุมชน สปา 30 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2567 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป จนกว่าจะครบจำนวนสิทธิ์ หรือไม่เกินวันที่ 31 ธ.ค. 2567 ลงทะเบียนก่อนได้รับสิทธิ์ก่อน (First Come First Served) ไม่สามารถจองสิทธิ์ล่วงหน้าได้

    แม้รัฐบาลและ ททท.คาดการณ์ว่าจะสร้างรายได้หมุนเวียนทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 44.34 ล้านบาท แต่พบว่าจำนวนสิทธิมีเพียงแค่ 10,000 สิทธิเท่านั้น ในขณะที่ช่วงเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป เป็นฤดูการท่องเที่ยวหรือไฮซีซันของภาคเหนือ ส่วนมากที่พักจะเต็ม คนที่จองห้องพักไปแล้วไม่สามารถใช้สิทธิ์เพื่อเป็นส่วนลดค่าที่พักได้ แต่สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ในโรงแรมที่ร่วมโครงการก่อน เพื่อให้นำสิทธิ์ไปใช้ในสถานประกอบการอื่นๆ ได้

    นอกจากเสียงวิจารณ์ว่าชื่อโครงการไปพ้องกับ "โครงการคนละครึ่ง" สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาแล้ว สิ่งที่ต้องระมัดระวังก็คือ การทุจริต เพราะมีเพียงให้ผู้ประกอบการถ่ายภาพใบเสร็จหรือบิลเงินสด แล้วอัปโหลดลงในระบบทุกครั้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานเท่านั้น ไม่มีการตรวจสอบว่านักท่องเที่ยวมาสแกนใช้สิทธิส่วนลด เป็นนักท่องเที่ยวตัวจริงหรือนักท่องเที่ยวผี อีกทั้งส่วนลดเพียงแค่ 400 บาท หากใช้กับโรงแรมที่พักราคาเกิน 800 บาทขึ้นไป ก็ไม่เหลือใช้กับร้านอาหาร ร้านของฝากแล้ว

    ที่ผ่านมาเคยมีการทุจริตโครงการเราเที่ยวด้วยกัน โดยใช้วิธีชักชวนให้จองห้องพักราคาสูง เพื่อรับเงินส่วนต่างที่รัฐบาลสนับสนุน โดยไม่ได้เข้าพักจริง หรือการนำคูปองสำหรับใช้จ่ายร้านค้า ร้านอาหารไปสแกนใช้จ่าย แต่ไม่มีการซื้อสินค้าและบริการจริง มีการจับกุมผู้ร่วมขบวนการทุจริตไปหลายราย ทำให้ภายหลังต้องออกมาตรการที่เข้มงวด เช่น ให้โรงแรมสแกนใบหน้าผู้เข้าพัก หากไม่สามารถป้องกันปัญหาทุจริตที่จะเกิดขึ้นได้ ก็จะกระทบความเชื่อมั่นกับโครงการอื่นๆ เช่น ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทในอนาคต

    #Newskit #แอ่วเหนือคนละครึ่ง #ททท
    แอ่วเหนือคนละครึ่ง อย่าให้มีนักท่องเที่ยวผี โครงการแอ่วเหนือคนละครึ่ง ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดแคมเปญเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวภาคเหนือ หลังสถานการณ์อุทกภัย โดยใช้งบประมาณ 4 ล้านบาท มอบส่วนลด 50% รวมไม่เกิน 400 บาท จำนวน 10,000 สิทธิ์แก่นักท่องเที่ยวที่ลงทะเบียนผ่าน QR Code จากโรงแรมที่พักที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัด ก่อนใช้สิทธิ์กับสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ อาทิ โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร สปา ภายใน 3 วัน (72 ชั่วโมง) สถานประกอบการที่เข้าร่วมแคมเปญมีทั้งหมด 554 แห่ง แบ่งเป็นโรงแรมที่พัก 326 แห่ง ร้านอาหาร คาเฟ่ 160 แห่ง ร้านของฝากของที่ระลึก 38 แห่ง และอื่นๆ เช่น แหล่งท่องเที่ยวชุมชน สปา 30 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2567 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป จนกว่าจะครบจำนวนสิทธิ์ หรือไม่เกินวันที่ 31 ธ.ค. 2567 ลงทะเบียนก่อนได้รับสิทธิ์ก่อน (First Come First Served) ไม่สามารถจองสิทธิ์ล่วงหน้าได้ แม้รัฐบาลและ ททท.คาดการณ์ว่าจะสร้างรายได้หมุนเวียนทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 44.34 ล้านบาท แต่พบว่าจำนวนสิทธิมีเพียงแค่ 10,000 สิทธิเท่านั้น ในขณะที่ช่วงเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป เป็นฤดูการท่องเที่ยวหรือไฮซีซันของภาคเหนือ ส่วนมากที่พักจะเต็ม คนที่จองห้องพักไปแล้วไม่สามารถใช้สิทธิ์เพื่อเป็นส่วนลดค่าที่พักได้ แต่สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ในโรงแรมที่ร่วมโครงการก่อน เพื่อให้นำสิทธิ์ไปใช้ในสถานประกอบการอื่นๆ ได้ นอกจากเสียงวิจารณ์ว่าชื่อโครงการไปพ้องกับ "โครงการคนละครึ่ง" สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาแล้ว สิ่งที่ต้องระมัดระวังก็คือ การทุจริต เพราะมีเพียงให้ผู้ประกอบการถ่ายภาพใบเสร็จหรือบิลเงินสด แล้วอัปโหลดลงในระบบทุกครั้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานเท่านั้น ไม่มีการตรวจสอบว่านักท่องเที่ยวมาสแกนใช้สิทธิส่วนลด เป็นนักท่องเที่ยวตัวจริงหรือนักท่องเที่ยวผี อีกทั้งส่วนลดเพียงแค่ 400 บาท หากใช้กับโรงแรมที่พักราคาเกิน 800 บาทขึ้นไป ก็ไม่เหลือใช้กับร้านอาหาร ร้านของฝากแล้ว ที่ผ่านมาเคยมีการทุจริตโครงการเราเที่ยวด้วยกัน โดยใช้วิธีชักชวนให้จองห้องพักราคาสูง เพื่อรับเงินส่วนต่างที่รัฐบาลสนับสนุน โดยไม่ได้เข้าพักจริง หรือการนำคูปองสำหรับใช้จ่ายร้านค้า ร้านอาหารไปสแกนใช้จ่าย แต่ไม่มีการซื้อสินค้าและบริการจริง มีการจับกุมผู้ร่วมขบวนการทุจริตไปหลายราย ทำให้ภายหลังต้องออกมาตรการที่เข้มงวด เช่น ให้โรงแรมสแกนใบหน้าผู้เข้าพัก หากไม่สามารถป้องกันปัญหาทุจริตที่จะเกิดขึ้นได้ ก็จะกระทบความเชื่อมั่นกับโครงการอื่นๆ เช่น ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทในอนาคต #Newskit #แอ่วเหนือคนละครึ่ง #ททท
    Like
    Haha
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 687 มุมมอง 0 รีวิว