• “ฟิล์ม ธนภัทร” เป็นความรู้สึกแปลก เป็นครั้งแรกที่ดีใจที่คนเกลียด แฮปปี้คนอินบทวามน ลั่นไม่รับเปลือกทุเรียน ขอแต่เนื้อ ขอบคุณทุกการสนับสนุนแม้กระแสดรามาหนักแต่เรตติ้งละครกลับดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสวนทางกัน

    แม้ซีรีส์ แม่หยัว จะเจอกระแสดรามาโจมตีอย่างหนักมาตลอดทุกอีพี แต่ก็เรียกได้ว่าเรตติ้งดีวันดีคืนด้วยเช่นกัน เมื่อถาม “ฟิล์ม ธนภัทร กาวิละ” ถึงกระแสของอีพีที่ผ่านมา ที่วามน ได้ขึ้นเป็นขุนวรวงศาธิราช ทำคนเกลียดกันทั้งเมือง

    “ก็ขอบคุณคนดู แฟนละครที่ให้การสนับสนุนผลงานของพวกเรา เหลือตอนสุดท้าย บทสรุปจะจบลงแบบไหน พูดมากไม่ได้ พูดนิดนึงก็กลายเป็นสปอยแล้ว พอมีกระแสดรามาเรตติ้งละครกลับดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสวนทางกัน ก็ขอบคุณที่สนับสนุนพวกเรา งานชิ้นนี้เราตั้งใจทำกันมาก ก็รู้สึกขอบคุณในส่วนของที่ทำผิดพลาดเราก็น้อมรับและพร้อมที่จะปรับปรุง ส่วนเรตติ้งดีขึ้น ขอบคุณคนดูที่สนับสนุน เราตั้งใจทำกันมากๆ ถึงจะมีแค่ 10 ตอน มีช่วงพรีโปรดักชั่นที่ทุกคนทุ่มเทกันมากๆ กับผลงานนี้ รู้สึกขอบคุณจากใจที่ยังดูผลงานของพวกเรา ตอนจบไม่อยากให้ทุกคนพลาด เพราะบทสรุปใกล้ถึงแล้ว ต้องไปติดตามครับ”

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/entertainment/detail/9670000112610

    #MGROnline #ฟิล์มธนภัทร #แม่หยัว
    “ฟิล์ม ธนภัทร” เป็นความรู้สึกแปลก เป็นครั้งแรกที่ดีใจที่คนเกลียด แฮปปี้คนอินบทวามน ลั่นไม่รับเปลือกทุเรียน ขอแต่เนื้อ ขอบคุณทุกการสนับสนุนแม้กระแสดรามาหนักแต่เรตติ้งละครกลับดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสวนทางกัน • แม้ซีรีส์ แม่หยัว จะเจอกระแสดรามาโจมตีอย่างหนักมาตลอดทุกอีพี แต่ก็เรียกได้ว่าเรตติ้งดีวันดีคืนด้วยเช่นกัน เมื่อถาม “ฟิล์ม ธนภัทร กาวิละ” ถึงกระแสของอีพีที่ผ่านมา ที่วามน ได้ขึ้นเป็นขุนวรวงศาธิราช ทำคนเกลียดกันทั้งเมือง • “ก็ขอบคุณคนดู แฟนละครที่ให้การสนับสนุนผลงานของพวกเรา เหลือตอนสุดท้าย บทสรุปจะจบลงแบบไหน พูดมากไม่ได้ พูดนิดนึงก็กลายเป็นสปอยแล้ว พอมีกระแสดรามาเรตติ้งละครกลับดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสวนทางกัน ก็ขอบคุณที่สนับสนุนพวกเรา งานชิ้นนี้เราตั้งใจทำกันมาก ก็รู้สึกขอบคุณในส่วนของที่ทำผิดพลาดเราก็น้อมรับและพร้อมที่จะปรับปรุง ส่วนเรตติ้งดีขึ้น ขอบคุณคนดูที่สนับสนุน เราตั้งใจทำกันมากๆ ถึงจะมีแค่ 10 ตอน มีช่วงพรีโปรดักชั่นที่ทุกคนทุ่มเทกันมากๆ กับผลงานนี้ รู้สึกขอบคุณจากใจที่ยังดูผลงานของพวกเรา ตอนจบไม่อยากให้ทุกคนพลาด เพราะบทสรุปใกล้ถึงแล้ว ต้องไปติดตามครับ” • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/entertainment/detail/9670000112610 • #MGROnline #ฟิล์มธนภัทร #แม่หยัว
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 372 มุมมอง 0 รีวิว
  • เรียกว่ากลายเป็นประเด็นร้อนแรงที่ทำให้เหล่าคนรักสัตว์ออกมาเคลื่อนไหวถึงความไม่เหมาะสม กรณีที่มีฉาก “น้องแมวดำ” ถูกวางยาตาย ในละครเรื่อง “แม่หยัว” จนกระทั่งเกิดกระแสการแบนละครออกมา

    งานนี้ทำเอาประเด็นดังกล่าวลุกลามไปถึงนางเอกสาว "ใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่" ที่ชาวเน็ตแห่เข้าไปถามทำนองว่า ทำไมถึงไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับเรื่องนี้เลย แม้ "ใหม่" จะออกมาแสดงความคิดเห็นแล้วว่า ถ้าคนที่ตามใหม่ จะรู้อยู่แล้วว่าใหม่เลี้ยงสัตว์มาทั้งชีวิต ใหม่ไม่มีทางเห็นด้วยกับการทรมานสัตว์แน่นอน

    แต่เรื่องดังกล่าวก็ดูเหมือนยังไม่จบ ล่าสุด "ใหม่ ดาวิกา” ได้ออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง ด้วยการโพสต์ข้อความผ่านทางโลกออนไลน์ เตรียมฟ้องคนด่าแรงปมร้อนฉากวางยาสลบแมว ลั่นจำนำเงินที่ได้มาช่วยเหลือสัตว์

    "ทุกคนใหม่ปรึกษาค่ะ ใหม่กำลังคิดว่าใหม่ควรฟ้องคนที่ด่าใหม่เกินเหตุดีมั้ยคะแล้วใหม่จะเอาเงินทั้งหมดมาช่วยเหลือสัตว์...ใหม่ไม่เคยฟ้องมาก่อนส่วนตัวไม่อยากแต่ครั้งนี้คนรอบตัวขอให้ใหม่พิจารณาเรื่องนี้ค่ะ ทุกคนว่าไงดี??"

    “ฝากพี่ๆน้องๆใจดีส่งให้หน่อยนะคะแคปโพสที่คิดว่าแรงแล้ว DM มาที่ IG davikahchannel ขอบคุณค่ะ”

    พี่รู้ว่าแฟนคลับพี่อึดอัดมากๆและหลายครั้งพี่ขอโทษนะที่พี่ไม่เคยลงมืออย่างจริงจัง เพราะพี่คิดเสมอว่าการนิ่งเงียบจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด พี่ไม่ได้มีทนายที่ช่วยเหลือ ตอนนี้กำลังหาอยู่ค่ะ ยังไงจะมาอัพเดทนะคะ หาเงินช่วยสัตว์กันนะคะ”

    #MGROnline #น้องแมวดำ #วางยา #แม่หยัว
    เรียกว่ากลายเป็นประเด็นร้อนแรงที่ทำให้เหล่าคนรักสัตว์ออกมาเคลื่อนไหวถึงความไม่เหมาะสม กรณีที่มีฉาก “น้องแมวดำ” ถูกวางยาตาย ในละครเรื่อง “แม่หยัว” จนกระทั่งเกิดกระแสการแบนละครออกมา • งานนี้ทำเอาประเด็นดังกล่าวลุกลามไปถึงนางเอกสาว "ใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่" ที่ชาวเน็ตแห่เข้าไปถามทำนองว่า ทำไมถึงไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับเรื่องนี้เลย แม้ "ใหม่" จะออกมาแสดงความคิดเห็นแล้วว่า ถ้าคนที่ตามใหม่ จะรู้อยู่แล้วว่าใหม่เลี้ยงสัตว์มาทั้งชีวิต ใหม่ไม่มีทางเห็นด้วยกับการทรมานสัตว์แน่นอน • แต่เรื่องดังกล่าวก็ดูเหมือนยังไม่จบ ล่าสุด "ใหม่ ดาวิกา” ได้ออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง ด้วยการโพสต์ข้อความผ่านทางโลกออนไลน์ เตรียมฟ้องคนด่าแรงปมร้อนฉากวางยาสลบแมว ลั่นจำนำเงินที่ได้มาช่วยเหลือสัตว์ • "ทุกคนใหม่ปรึกษาค่ะ ใหม่กำลังคิดว่าใหม่ควรฟ้องคนที่ด่าใหม่เกินเหตุดีมั้ยคะแล้วใหม่จะเอาเงินทั้งหมดมาช่วยเหลือสัตว์...ใหม่ไม่เคยฟ้องมาก่อนส่วนตัวไม่อยากแต่ครั้งนี้คนรอบตัวขอให้ใหม่พิจารณาเรื่องนี้ค่ะ ทุกคนว่าไงดี??" • “ฝากพี่ๆน้องๆใจดีส่งให้หน่อยนะคะแคปโพสที่คิดว่าแรงแล้ว DM มาที่ IG davikahchannel ขอบคุณค่ะ” • พี่รู้ว่าแฟนคลับพี่อึดอัดมากๆและหลายครั้งพี่ขอโทษนะที่พี่ไม่เคยลงมืออย่างจริงจัง เพราะพี่คิดเสมอว่าการนิ่งเงียบจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด พี่ไม่ได้มีทนายที่ช่วยเหลือ ตอนนี้กำลังหาอยู่ค่ะ ยังไงจะมาอัพเดทนะคะ หาเงินช่วยสัตว์กันนะคะ” • #MGROnline #น้องแมวดำ #วางยา #แม่หยัว
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 372 มุมมอง 0 รีวิว
  • เรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถูกทำเป็น 'วัฒนธรรมป๊อป' มากที่สุดตอนหนึ่ง มีทั้งนิยาย ภาพยนต์ และล่าสุดคือละครหรือซีรีส์

    อาจเป็นเพราะเรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์ให้อารมณ์หวาบหวิวจากการแอบลอบคบชู้กับพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) ทำให้มีการขยายความตอนนี้เป็นพิเศษ ทั้งๆ ประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้บอกอะไรมากนักเรื่องนี้เพียง

    ในเวลาต่อมาคอนเทนท์บันเทิงบางยุคเริ่มมีการใช้คำว่า 'แม่หยัว' เรียกท้าวศรีสุดาจันทร์ ทำให้คนเข้าใจผิดไม่น้อยว่า 'แม่หยัว' น่าจะหมายถึงอาการยั่วยวนเรื่องกามราคะ แต่ความจริง 'แม่หยัว' หมายถึง 'แม่อยู่หัว' ที่หมายถึงมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน

    คำว่าแม่อยู่หัวนั้นในบันทึกโบราณเรียกเพี้ยนเป็น แม่อยัว แม่หญัว แม่อยั่ว ฯลฯ แต่พอตอนนี้ของประวัติศาสตร์ถูกวัฒนธรรมป๊อปปั้นภาพลักษณ์ยั่วยวนของท้าวศรีสุดาจันทร์ขึ้นมา ทำให้คนเข้าใจคำว่า 'แม่หยัว' ผิดไป

    แต่นั้นมาคำว่า 'แม่หยัว' ก็กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์ เพียงแต่มันเกิดจากภาพจำผิดๆ ที่ 'นิยายอิงประวัติศาสตร์' สร้างขึ้นมา

    ย้ำอีกครั้งว่าเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นมีเนื้อหาไม่มากนักในทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นถ้าจะทำเป็นคอนเทนต์บันเทิง จึงหลีกกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้อง "มโนเอาเอง" กันบ้าง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับการสร้างคอนเทนต์บันเทิงกับบุคคลทางประวัติศาสตร์บางคนด้วย

    ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อจะเท้าความ 'กรณีพิพาท' ระหว่างที่คนคิดว่าการทำละครอิงประวัติศาสตร์แบบเรื่อง 'แม่หยัว' ไม่เห็นจะต้องทำให้ตรงประวัติศาสตร์เป๊ะๆ กับฝ่ายที่ย้ำว่าไม่ควรที่จะมโนกันเกินไป

    ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการทำ Historical fiction เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า มันมี "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" (Historically Accurate) แค่ไหน? เพราะนิยายอิงประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยการมโนในสัดส่วนที่มากพอสมควร เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ผู้เสพ

    ในกรณีของแม่หยัว อย่าไปถามเรื่อง "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" เพราะเนื้อหาในประวัติศาสตร์มีนิดเดียว ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้จินตนาการได้มากมาย

    แต่การมโนก็ต้องดูสภาพแวดล้อมของทางประวัติศาสตร์ด้วย ไม่อย่างนั้นมันจะไม่เนียน เช่น ท้างศรีสุดาจันทร์เป็นเหตุการณ์สมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ถ้าไปจับแม่อยู่หัวไปสวมมงกุฏสมัยละโว้มันก็หาได้เนียนไม่ เพราะเมื่อถึงยุค 'แม่หยัว' เขาเลิกใส่เครื่องหัวแบบนั้นกันแล้ว แล้วยังมีกฎมณเฑียรบาลที่ตราไว้ในสมัยอยุธยาตอนนั้นระบุการแต่งกายของแม่อยู่หัวเอาไว้แล้ว และยังมีภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา (ที่ผมเชื่อว่าคัดมาจากต้นฉบับสมัยอยุธยาตอนต้น) ชี้ทางเอาไว้แล้วว่าสตรีชั้นสูงยุคนั้นแต่งตัวอย่างไร

    ความไม่เนียนแบบนี้เองที่จะทำให้ Historical fiction กลายเป็น Historical fantasy ซึ่งมีความเป็นประวัติศาสตร์อย่างเดียวคือฉากย้อนยุค ส่วนเรื่องอื่นๆ มโนตามใจฉัน

    แต่ในเมืองไทยเรื่องความเนียนไม่เนียนทางประวัติศาสตร์ยังไม่เรื่องใหญ่ระดับชาติ เพราะประวัติศาสร์บ้านเรากระท่อนกระแท่นและคนไทยแคร์ประวัติศาสตร์มากเท่ากับคนในประเทศเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ประเทศพวกนี้นอกจากต้องทำละครให้เนียนแบบ Historically Accurate แล้ว ยังต้องทำให้ถูกต้องในแบบ Politically correct ด้วย

    ผมจะยกตัวอย่างการสังเกตส่วนตัวจากกรณีของเกาหลีใต้ที่สร้างซีรีส์ย้อนยุคอยู่บ่อยๆ และมักเกิดกรณี "ซีรีส์เรื่องนี้บิดเบือนประวัติศาสตร์"

    ตัวอย่างเช่นซีรีส์เรื่อง Queen Seondeok ในปี 2009 ซึ่งสร้างจากยุคที่บันทึกประวัติศาสตร์ไม่ละเอียดมากนัก แต่สามารถยืดออกได้มากถึง 62 ตอน ในแง่ของความถูกต้องทางประวัติศาสตร์มีน้อย แถมคอสตูมยังไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ถูกตำหนิในเกาหลีว่า "มโนประวัติศาสตร์" มากเกินไป และยังอ้างบันทึกประวัติศาสตร์ที่ถูกกล่าวหาว่าถูกปลอมขึ้นมา

    Queen Seondeok ถูกผู้มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ตำหนิอย่างมาก เพราะแม้ว่าบันทึกสมัยชิลลาจะมีไม่มาก แต่มันก็เป็นบันทึกที่เที่ยงแท้ในทางประวัติศาสร์ การจะบิดเบือนความสัมพันธ์ของ 'ตัวละคร' หรือพฤติกรรมที่ถูกบันทึกไว้จริงๆ จึงไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่มันก็เกิดขึ้น ความจริงแล้ว Queen Seondeok ควรจะเดินตามเส้นตรงของประวัติศาสตร์ เพราะโอกาสที่จะออกนอกประวัติศาสตร์มีแต่บทสนทนาเท่านั้น

    โปรดสังเกตว่าเรื่องนี้สร้างก่อนยุคโซเชียลจะแพร่หลาย

    พอโซเชียลมีเดียทรงพลังขึ้นมา การโจมตีซีรีส์อิงประวัติศาสตร์เริ่มจะสะเปะสะปะขึ้นทุกวัน เพราะแทนที่จะโจมตีความถูกต้อง กลับไปโจมตีเรื่องการเมือง

    ตัวอย่างเช่น Joseon Exorcist เมื่อปี 2021 ที่ฉายได้แค่ 2 ตอนก็แท้งซะก่อน เพราะถูกตำหนิว่าใช้ฉากประกอบที่อ้างว่าไม่ตรงกับความจริงทางประวัติศาสตร์ เช่น ใช้ อุปกรณ์ของจีนในเกาหลีโบราณ

    ในปี 2022 เกิดกรณี Under the Queen's Umbrella ถูกตำหนิว่า บิดเบือนประวัติศาสตร์ เพราะใช้ตัวอักษรจีนแบบตัวย่อ (ที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นในยุคสมัยใหม่ ส่วนเกาหลีใช้อักษรจีนตัวเต็ม)

    ในปี 2024 มีกรณี Queen Woo ถูกตำหนิว่าเครื่องแต่งกายของตัวละครมีความเป็นจีนมากเกินไป ไม่น่าจะสอดคล้องกับคนเกาหลีในยุคโคกูรยอ (ทั้งที่โคกูรยอก็รับวัฒนธรรมจากจีน)

    กรณีเหล่านี้มีอะไรเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ 'กระแสต่อต้านจีน' ในเกาหลีใต้ ทั้งๆ ที่เกาหลีเป็นเขตอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนมาแต่โบราณ แค่เรื่องนี้เป็น 'อคติ' ของผู้ชมเกาหลีใต้เองที่เกลียด เหยียด และกลัวจีนมากขึ้น

    แต่ในแง่เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ กรณีพวกนี้เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ เกิดขึ้นในยุคโชซอน ซึ่งมีการบันทึกประวัติศาสตร์ทางการอย่างละเอียด กระทั่งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์ตรัสถ้อยคำไว้อย่างไร

    ในยุคสมัยที่บันทึกละเอียดแบบนี้การมโนจึงทำไม่ได้ เพราะไม่มีพื้นที่ว่างให้จินตนาการได้อีก ตรงกันข้ามกับเรื่อง Queen Woo ซึ่งเกิดในยุคโคกูรยอ ซึ่งมีประวัติศาสตร์บันทึกกระท่อนกระแท่นเหมือนประวัติศาสตร์ไทย ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้มโนได้มากตามใจปรารถนา

    แต่ถึงจะมโนได้มาก แต่อารมณ์ชาตินิยมที่รุนแรงในเกาหลีใต้ไม่อนุญาตให้มโนได้ตามใจชอบอีก ไม่ใช่เพราะผู้สร้างบิดเบือนประวัติศาสตร์ แต่ทำงานออกมาไม่ถูกใจพวกชาตินิยมสุดโต่งต่างหาก

    ดังนั้น ในโลกของนิยายอิงประวัติศาสตร์ จึงไม่มีคำว่าถูกต้องเป๊ะๆ ยิ่งในปัจจุบันมีแต่คำว่า "ถูกใจคนดูหรือไม่" โดยที่ความถูกใจของคนดูไม่ใช่ถูกใจเพราะดาราแสดงดี หรือเครื่องแต่งกายสวย แต่ยังต้องคล้องจองกับ 'วาระทางการเมือง' ของคนดูด้วย

    ยกตัวอย่างจีน ซึ่งบางคนยังเชื่อว่าจีนทำซีรีส์พีเรียดมากมายเพราะอนุญาตให้มโนได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด

    สังคมจีนและสถาบันรัฐจีน (ที่ชาตินิยมขึ้นทุกวัน) ไม่ได้อนุญาตให้มโนประวัติศาสตร์ได้ สิ่งที่คนไทยเห็นว่าจีนจินตนาการประวัติศาสตร์นั้น คือ สิ่งที่เรียกว่า Historical fantasy คือใช้ฉากย้อนยุคที่กำกวม ใช้คอสตูมที่อาจจะอยู่ในยุคที่คาดเดาได้ แต่ไม่มีเหตุการณ์นั้นจริงๆ เช่นเรื่อง Nirvana In Fire เมื่อปี 2015 ที่ทำให้เชื่อว่าอยู่ในยุคหนานเป่ยเฉา แต่เอาจริงๆ มันไม่มีสถานการณ์จริงและตัวบุคคลจริงอยู่เลย

    หากมีซีรีส์ที่ทำเนื้อหาจริงๆ ทางประวัติศาสตร์ หากเลินเล่อเกินไปก็จะถูกโจมตีอย่างหนัก เช่น Legend of Miyue ที่อิงประวัติศาสตร์ยุคจ้านกั๋ว แต่ถูกวิจารณ์เรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เรื่องนี้มีความเห็นที่น่าสนใจจาก หลีเสี่ยวเหว่ย บรรณาธิการบริหารของ "จงกั๋วชิงเหนียนหว่าง" (中国青年网) ของทางการจีน ตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้ถูกตำหนิ เขากล่าวว่า

    "จักรพรรดินีองค์แรกของจีนในเรื่อง "Legend of Miyue" ซีรีส์ทางทีวีใช้ตัวละครและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง แต่ไม่ได้ติดตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พื้นฐาน และถึงกับแต่งเรื่องขึ้นมาด้วยซ้ำ ปรากฏการณ์นี้ช่างน่าเป็นห่วง ประการแรก มันจะนำพาผู้คนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และก่อให้เกิดข่าวลือ ประการที่สอง นี่คือทิศทางที่ผิดปกติของการพัฒนาละครประวัติศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด"

    ในเรื่องนี้ทางเกาหลีก็เห็นด้วยกับจีน

    จากกรณีของ Queen Seondeok อีจองโฮ ผู้สื่อข่าวของ "ยอนเซ ชุนชู" (연세춘추) สื่อของมหาวิทยาลัยยอนเซ ถึงกับบอกว่า "Queen Seondeok คือเรื่องโกหก" และได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งชี้แนะว่า"ตามที่ศาสตราจารย์ ชาฮเยวอน (ภาควิชาศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงของจีน) กล่าวไว้ ละครประวัติศาสตร์จีนมักจะมีความเที่ยงตรงต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งแตกต่างจากละครประวัติศาสตร์เกาหลี ความจริงของละครประวัติศาสตร์เกาหลีคือความจริงทางประวัติศาสตร์ถูกละเลยเพื่อความบันเทิงและเรตติ้งผู้ชม เพื่อแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องมีการไตร่ตรองภายในอุตสาหกรรมการออกอากาศ"

    แม้ว่าประเทศไทยจะมีประวัติศาสตร์ที่เบาบางต่างจากจีนและเกาหลี แต่เราสามารถใช้มาตรฐานแบบนี้ได้เหมือนกัน สิ่งที่ต้องเป๊ะคือแกนหลักในประวัติศาสตร์ อย่าตีความมากเกินไปเพราะต้องเคารพ "ผู้ที่ตายไปแล้วซึ่งไม่มีโอกาสร้องอุทรณ์แก้ต่างให้ตัวเอง" ด้วย ส่วนสิ่งที่จินตนาการได้ก็ควรทำให้ตรงกับบริบทแวดล้อมของยุคนั้น

    หากทำเอาสนุกอย่างเดียว ก็ "จะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด"

    บทความทัศนะโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร และบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better
    ภาพโปสเตอร์โปรโมทซีรีส์เรื่อง แม่หยัว และ Queen Seondeok

    ที่มา https://www.thebetter.co.th/news/world/23351?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3w6ch-KVjjFiWzTmp8gh2-HSMqAh7UX0lxC3jm2_5RD0J97vIDxYCrljo_aem_wMoYw4S-NqnmnAfELQfeSA

    #Thaitimes
    เรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถูกทำเป็น 'วัฒนธรรมป๊อป' มากที่สุดตอนหนึ่ง มีทั้งนิยาย ภาพยนต์ และล่าสุดคือละครหรือซีรีส์ อาจเป็นเพราะเรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์ให้อารมณ์หวาบหวิวจากการแอบลอบคบชู้กับพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) ทำให้มีการขยายความตอนนี้เป็นพิเศษ ทั้งๆ ประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้บอกอะไรมากนักเรื่องนี้เพียง ในเวลาต่อมาคอนเทนท์บันเทิงบางยุคเริ่มมีการใช้คำว่า 'แม่หยัว' เรียกท้าวศรีสุดาจันทร์ ทำให้คนเข้าใจผิดไม่น้อยว่า 'แม่หยัว' น่าจะหมายถึงอาการยั่วยวนเรื่องกามราคะ แต่ความจริง 'แม่หยัว' หมายถึง 'แม่อยู่หัว' ที่หมายถึงมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน คำว่าแม่อยู่หัวนั้นในบันทึกโบราณเรียกเพี้ยนเป็น แม่อยัว แม่หญัว แม่อยั่ว ฯลฯ แต่พอตอนนี้ของประวัติศาสตร์ถูกวัฒนธรรมป๊อปปั้นภาพลักษณ์ยั่วยวนของท้าวศรีสุดาจันทร์ขึ้นมา ทำให้คนเข้าใจคำว่า 'แม่หยัว' ผิดไป แต่นั้นมาคำว่า 'แม่หยัว' ก็กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์ เพียงแต่มันเกิดจากภาพจำผิดๆ ที่ 'นิยายอิงประวัติศาสตร์' สร้างขึ้นมา ย้ำอีกครั้งว่าเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นมีเนื้อหาไม่มากนักในทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นถ้าจะทำเป็นคอนเทนต์บันเทิง จึงหลีกกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้อง "มโนเอาเอง" กันบ้าง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับการสร้างคอนเทนต์บันเทิงกับบุคคลทางประวัติศาสตร์บางคนด้วย ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อจะเท้าความ 'กรณีพิพาท' ระหว่างที่คนคิดว่าการทำละครอิงประวัติศาสตร์แบบเรื่อง 'แม่หยัว' ไม่เห็นจะต้องทำให้ตรงประวัติศาสตร์เป๊ะๆ กับฝ่ายที่ย้ำว่าไม่ควรที่จะมโนกันเกินไป ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการทำ Historical fiction เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า มันมี "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" (Historically Accurate) แค่ไหน? เพราะนิยายอิงประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยการมโนในสัดส่วนที่มากพอสมควร เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ผู้เสพ ในกรณีของแม่หยัว อย่าไปถามเรื่อง "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" เพราะเนื้อหาในประวัติศาสตร์มีนิดเดียว ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้จินตนาการได้มากมาย แต่การมโนก็ต้องดูสภาพแวดล้อมของทางประวัติศาสตร์ด้วย ไม่อย่างนั้นมันจะไม่เนียน เช่น ท้างศรีสุดาจันทร์เป็นเหตุการณ์สมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ถ้าไปจับแม่อยู่หัวไปสวมมงกุฏสมัยละโว้มันก็หาได้เนียนไม่ เพราะเมื่อถึงยุค 'แม่หยัว' เขาเลิกใส่เครื่องหัวแบบนั้นกันแล้ว แล้วยังมีกฎมณเฑียรบาลที่ตราไว้ในสมัยอยุธยาตอนนั้นระบุการแต่งกายของแม่อยู่หัวเอาไว้แล้ว และยังมีภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา (ที่ผมเชื่อว่าคัดมาจากต้นฉบับสมัยอยุธยาตอนต้น) ชี้ทางเอาไว้แล้วว่าสตรีชั้นสูงยุคนั้นแต่งตัวอย่างไร ความไม่เนียนแบบนี้เองที่จะทำให้ Historical fiction กลายเป็น Historical fantasy ซึ่งมีความเป็นประวัติศาสตร์อย่างเดียวคือฉากย้อนยุค ส่วนเรื่องอื่นๆ มโนตามใจฉัน แต่ในเมืองไทยเรื่องความเนียนไม่เนียนทางประวัติศาสตร์ยังไม่เรื่องใหญ่ระดับชาติ เพราะประวัติศาสร์บ้านเรากระท่อนกระแท่นและคนไทยแคร์ประวัติศาสตร์มากเท่ากับคนในประเทศเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ประเทศพวกนี้นอกจากต้องทำละครให้เนียนแบบ Historically Accurate แล้ว ยังต้องทำให้ถูกต้องในแบบ Politically correct ด้วย ผมจะยกตัวอย่างการสังเกตส่วนตัวจากกรณีของเกาหลีใต้ที่สร้างซีรีส์ย้อนยุคอยู่บ่อยๆ และมักเกิดกรณี "ซีรีส์เรื่องนี้บิดเบือนประวัติศาสตร์" ตัวอย่างเช่นซีรีส์เรื่อง Queen Seondeok ในปี 2009 ซึ่งสร้างจากยุคที่บันทึกประวัติศาสตร์ไม่ละเอียดมากนัก แต่สามารถยืดออกได้มากถึง 62 ตอน ในแง่ของความถูกต้องทางประวัติศาสตร์มีน้อย แถมคอสตูมยังไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ถูกตำหนิในเกาหลีว่า "มโนประวัติศาสตร์" มากเกินไป และยังอ้างบันทึกประวัติศาสตร์ที่ถูกกล่าวหาว่าถูกปลอมขึ้นมา Queen Seondeok ถูกผู้มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ตำหนิอย่างมาก เพราะแม้ว่าบันทึกสมัยชิลลาจะมีไม่มาก แต่มันก็เป็นบันทึกที่เที่ยงแท้ในทางประวัติศาสร์ การจะบิดเบือนความสัมพันธ์ของ 'ตัวละคร' หรือพฤติกรรมที่ถูกบันทึกไว้จริงๆ จึงไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่มันก็เกิดขึ้น ความจริงแล้ว Queen Seondeok ควรจะเดินตามเส้นตรงของประวัติศาสตร์ เพราะโอกาสที่จะออกนอกประวัติศาสตร์มีแต่บทสนทนาเท่านั้น โปรดสังเกตว่าเรื่องนี้สร้างก่อนยุคโซเชียลจะแพร่หลาย พอโซเชียลมีเดียทรงพลังขึ้นมา การโจมตีซีรีส์อิงประวัติศาสตร์เริ่มจะสะเปะสะปะขึ้นทุกวัน เพราะแทนที่จะโจมตีความถูกต้อง กลับไปโจมตีเรื่องการเมือง ตัวอย่างเช่น Joseon Exorcist เมื่อปี 2021 ที่ฉายได้แค่ 2 ตอนก็แท้งซะก่อน เพราะถูกตำหนิว่าใช้ฉากประกอบที่อ้างว่าไม่ตรงกับความจริงทางประวัติศาสตร์ เช่น ใช้ อุปกรณ์ของจีนในเกาหลีโบราณ ในปี 2022 เกิดกรณี Under the Queen's Umbrella ถูกตำหนิว่า บิดเบือนประวัติศาสตร์ เพราะใช้ตัวอักษรจีนแบบตัวย่อ (ที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นในยุคสมัยใหม่ ส่วนเกาหลีใช้อักษรจีนตัวเต็ม) ในปี 2024 มีกรณี Queen Woo ถูกตำหนิว่าเครื่องแต่งกายของตัวละครมีความเป็นจีนมากเกินไป ไม่น่าจะสอดคล้องกับคนเกาหลีในยุคโคกูรยอ (ทั้งที่โคกูรยอก็รับวัฒนธรรมจากจีน) กรณีเหล่านี้มีอะไรเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ 'กระแสต่อต้านจีน' ในเกาหลีใต้ ทั้งๆ ที่เกาหลีเป็นเขตอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนมาแต่โบราณ แค่เรื่องนี้เป็น 'อคติ' ของผู้ชมเกาหลีใต้เองที่เกลียด เหยียด และกลัวจีนมากขึ้น แต่ในแง่เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ กรณีพวกนี้เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ เกิดขึ้นในยุคโชซอน ซึ่งมีการบันทึกประวัติศาสตร์ทางการอย่างละเอียด กระทั่งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์ตรัสถ้อยคำไว้อย่างไร ในยุคสมัยที่บันทึกละเอียดแบบนี้การมโนจึงทำไม่ได้ เพราะไม่มีพื้นที่ว่างให้จินตนาการได้อีก ตรงกันข้ามกับเรื่อง Queen Woo ซึ่งเกิดในยุคโคกูรยอ ซึ่งมีประวัติศาสตร์บันทึกกระท่อนกระแท่นเหมือนประวัติศาสตร์ไทย ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้มโนได้มากตามใจปรารถนา แต่ถึงจะมโนได้มาก แต่อารมณ์ชาตินิยมที่รุนแรงในเกาหลีใต้ไม่อนุญาตให้มโนได้ตามใจชอบอีก ไม่ใช่เพราะผู้สร้างบิดเบือนประวัติศาสตร์ แต่ทำงานออกมาไม่ถูกใจพวกชาตินิยมสุดโต่งต่างหาก ดังนั้น ในโลกของนิยายอิงประวัติศาสตร์ จึงไม่มีคำว่าถูกต้องเป๊ะๆ ยิ่งในปัจจุบันมีแต่คำว่า "ถูกใจคนดูหรือไม่" โดยที่ความถูกใจของคนดูไม่ใช่ถูกใจเพราะดาราแสดงดี หรือเครื่องแต่งกายสวย แต่ยังต้องคล้องจองกับ 'วาระทางการเมือง' ของคนดูด้วย ยกตัวอย่างจีน ซึ่งบางคนยังเชื่อว่าจีนทำซีรีส์พีเรียดมากมายเพราะอนุญาตให้มโนได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด สังคมจีนและสถาบันรัฐจีน (ที่ชาตินิยมขึ้นทุกวัน) ไม่ได้อนุญาตให้มโนประวัติศาสตร์ได้ สิ่งที่คนไทยเห็นว่าจีนจินตนาการประวัติศาสตร์นั้น คือ สิ่งที่เรียกว่า Historical fantasy คือใช้ฉากย้อนยุคที่กำกวม ใช้คอสตูมที่อาจจะอยู่ในยุคที่คาดเดาได้ แต่ไม่มีเหตุการณ์นั้นจริงๆ เช่นเรื่อง Nirvana In Fire เมื่อปี 2015 ที่ทำให้เชื่อว่าอยู่ในยุคหนานเป่ยเฉา แต่เอาจริงๆ มันไม่มีสถานการณ์จริงและตัวบุคคลจริงอยู่เลย หากมีซีรีส์ที่ทำเนื้อหาจริงๆ ทางประวัติศาสตร์ หากเลินเล่อเกินไปก็จะถูกโจมตีอย่างหนัก เช่น Legend of Miyue ที่อิงประวัติศาสตร์ยุคจ้านกั๋ว แต่ถูกวิจารณ์เรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เรื่องนี้มีความเห็นที่น่าสนใจจาก หลีเสี่ยวเหว่ย บรรณาธิการบริหารของ "จงกั๋วชิงเหนียนหว่าง" (中国青年网) ของทางการจีน ตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้ถูกตำหนิ เขากล่าวว่า "จักรพรรดินีองค์แรกของจีนในเรื่อง "Legend of Miyue" ซีรีส์ทางทีวีใช้ตัวละครและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง แต่ไม่ได้ติดตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พื้นฐาน และถึงกับแต่งเรื่องขึ้นมาด้วยซ้ำ ปรากฏการณ์นี้ช่างน่าเป็นห่วง ประการแรก มันจะนำพาผู้คนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และก่อให้เกิดข่าวลือ ประการที่สอง นี่คือทิศทางที่ผิดปกติของการพัฒนาละครประวัติศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด" ในเรื่องนี้ทางเกาหลีก็เห็นด้วยกับจีน จากกรณีของ Queen Seondeok อีจองโฮ ผู้สื่อข่าวของ "ยอนเซ ชุนชู" (연세춘추) สื่อของมหาวิทยาลัยยอนเซ ถึงกับบอกว่า "Queen Seondeok คือเรื่องโกหก" และได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งชี้แนะว่า"ตามที่ศาสตราจารย์ ชาฮเยวอน (ภาควิชาศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงของจีน) กล่าวไว้ ละครประวัติศาสตร์จีนมักจะมีความเที่ยงตรงต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งแตกต่างจากละครประวัติศาสตร์เกาหลี ความจริงของละครประวัติศาสตร์เกาหลีคือความจริงทางประวัติศาสตร์ถูกละเลยเพื่อความบันเทิงและเรตติ้งผู้ชม เพื่อแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องมีการไตร่ตรองภายในอุตสาหกรรมการออกอากาศ" แม้ว่าประเทศไทยจะมีประวัติศาสตร์ที่เบาบางต่างจากจีนและเกาหลี แต่เราสามารถใช้มาตรฐานแบบนี้ได้เหมือนกัน สิ่งที่ต้องเป๊ะคือแกนหลักในประวัติศาสตร์ อย่าตีความมากเกินไปเพราะต้องเคารพ "ผู้ที่ตายไปแล้วซึ่งไม่มีโอกาสร้องอุทรณ์แก้ต่างให้ตัวเอง" ด้วย ส่วนสิ่งที่จินตนาการได้ก็ควรทำให้ตรงกับบริบทแวดล้อมของยุคนั้น หากทำเอาสนุกอย่างเดียว ก็ "จะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด" บทความทัศนะโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร และบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better ภาพโปสเตอร์โปรโมทซีรีส์เรื่อง แม่หยัว และ Queen Seondeok ที่มา https://www.thebetter.co.th/news/world/23351?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3w6ch-KVjjFiWzTmp8gh2-HSMqAh7UX0lxC3jm2_5RD0J97vIDxYCrljo_aem_wMoYw4S-NqnmnAfELQfeSA #Thaitimes
    WWW.THEBETTER.CO.TH
    ความไม่เนียนของ'ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์' ต้องเป๊ะประวัติศาสตร์แค่ไหน?
    ความไม่เนียนของ'ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์' ต้องเป๊ะประวัติศาสตร์แค่ไหน?
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1130 มุมมอง 0 รีวิว
  • อย่าปล่อยให้การทารุณสัตว์ในสื่อบันเทิงไทย....กลายเป็นเรื่องธรรมดา
    เมื่อไม่นานมานี้เกิดกรณีดราม่าที่มีละครซีรี่ย์เรื่อง “แม่หยัว” ของช่อง ONE 31 ได้ถ่ายทำฉากใน EP.5 ที่มี "แมวดำ" กินน้ำผสมยาพิษ หลังจากนั้นแมวตัวดังกล่าว มีอาการชักกระตุกหลายครั้ง ขย้อนอาหารออกจากปาก ตาเบิกโพลง มีลักษณะเกร็งตัวและนอนแน่นิ่งไป
    โดยการถ่ายทำฉากดังกล่าว เป็นการใช้แมวจริงที่ถูกวางยาสลบ โดยนาย สันต์ ศรีแก้วหล่อ ผู้กำกับการแสดง ได้ออกมาชี้แจงใน Facebook ของตนในภายหลังว่า เป็นการถ่ายทำที่มีผู้เชี่ยวชาญควบคุมดูแลอย่างดีในทุกขั้นตอน แต่ทว่าภาพที่สื่อออกมากลับสะท้อนถึงความทุกข์ทรมานของสัตว์ ซึ่งเข้าข่ายการทารุณกรรมสัตว์อย่างชัดเจน กรณีนี้ก่อให้เกิดกระแสในสังคมออนไลน์เรียกร้องให้บุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง รวมไปถึงสถานีโทรทัศน์แสดงความรับผิดชอบ และเกิดการเคลื่อนไหวให้ "แบน" ละครดังกล่าวในวงกว้าง
    การนำสัตว์เข้าฉากเพื่อแสดงความเจ็บปวดหรือการวางยาสลบจริง ๆ ไม่เพียงแต่แสดงถึงการขาดความรับผิดชอบทางศีลธรรมและความเห็นใจต่อสัตว์ แต่ยังส่งผลกระทบต่อการรับรู้ของสังคมในด้านการปฏิบัติต่อสัตว์ในวงการบันเทิง กรณีนี้ถือเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สะท้อนถึงความละเลยและขาดมาตรฐานด้านจริยธรรมและการดูแลสัตว์ในกระบวนการผลิตของสื่อบันเทิงไทย โดยเฉพาะเมื่อละครดังกล่าวออกอากาศในวงกว้างและมีผู้ชมหลายกลุ่มอายุรวมไปถึงเยาวชน ย่อมส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อวงการบันเทิงไทยโดยรวม และอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบในหมู่เยาวชน
    ปัจจุบัน ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ซึ่งครอบคลุมถึงการกระทำที่ถือเป็นการทารุณสัตว์ทุกประเภท โดยเฉพาะกรณีการทำร้ายสัตว์จนเกิดความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งตามมาตรา 20 ของ พ.ร.บ. นี้ ระบุว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันควร" การทำให้สัตว์ทุกข์ทรมานหรือเจ็บปวดจนเสียชีวิตหรือได้รับความเสียหาย “อย่างไม่จำเป็น” ถือว่าเข้าข่ายการทารุณกรรม กรณีของการวางยาสลบสัตว์จริงโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอ จึงถือเป็นความไม่จำเป็นและอาจเข้าข่ายเป็นการการละเมิดกฎหมาย ซึ่งมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    เมื่อพิจารณาจากถ้อยคำของนายสันต์ ผู้กำกับการแสดง จึงอดสงสัยไม่ได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญที่ว่าคือใคร ใช่สัตว์แพทย์หรือไม่ และเจ้าของที่ว่าคือเจ้าของจริงที่แท้จริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่ผู้ควบคุมและเลี้ยงดูสัตว์เหล่านั้นไว้เพียงเพื่อประโยชน์ทางการค้า และแมวตัวที่นำมากล่าวอ้างว่าปัจจุบันสุขกายสบายดีนั้น แท้จริงแล้วใช่แมวตัวเดียวกันกับที่ถ่ายทำหรือไม่ จะพิสูจน์อย่างไร และกรณีแมวดำเป็นกรณีแรกหรือไม่ หรือว่ามีกรณีอื่นๆก่อนหน้านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เพียงแต่ไม่เคยถูกตรวจสอบ และจะเป็นไปได้หรือไม่ว่าที่ผ่านมา มีการทารุณกรรมสัตว์ในการถ่ายทำ จนกลายเป็นปกติประเพณีไปแล้ว ประชาชนตั้งคำถามและประชาชน.......ต้องการคำตอบ
    แม้ตัวบทกฎหมายจะกล่าวเอาไว้ว่า “ผู้ใดกล่าวหา ผู้นั้นพิสูจน์” แต่ในกรณีนี้ คงไม่ใช่การเดินหมากที่ฉลาดนักของผู้บริหารช่องฯรวมไปถึงกลุ่มคนที่มีส่วนร่วม และควรต้องรีบชี้แจ้งข้อเท็จจริงโดยละเอียดให้เร็วที่สุด เพื่อแสดงความโปร่งใส และควรบอกแต่ความจริงเท่านั้น
    ดังนั้น การชี้แจ้งและกล่าวเพียงคำขอโทษผ่าน Instragram ของช่อง one31thailand เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา จึงไม่แสดงถึงความจริงใจ ไม่เพียงพอและไม่ได้สัดส่วนต่อสิ่งที่ได้กระทำขึ้น
    คำถามสำคัญที่พวกเราทุกคนต้องช่วยกันคบคิดต่อไปก็คือ แม้เราจะมีกฎหมาย แต่กฎหมายกลับไม่ได้กำหนดมาตรการการควบคุมที่เฉพาะเจาะจงในกรณีที่มีการใช้สัตว์ในงานบันเทิง เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายและบทลงโทษในต่างประเทศ พบว่าในต่างประเทศมีกฎหมายที่คุ้มครองสัตว์เข้มงวดกว่าประเทศไทยมาก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมบันเทิง เช่น ในสหรัฐอเมริกา มีกฎหมาย Animal Welfare Act (AWA) ที่มีการกำหนดมาตรฐานสูงในการใช้สัตว์ในงานบันเทิง โดยกำหนดให้ต้องมีการขอใบอนุญาตและผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียดทุกขั้นตอน รวมถึงการมีองค์กรอย่าง American Humane Association (AHA) ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมการใช้สัตว์ในวงการภาพยนตร์โดยเฉพาะ หากพบว่ามีการละเมิด อาจถูกปรับเป็นเงินจำนวนมากและอาจถูกห้ามไม่ให้ใช้สัตว์ในสื่อบันเทิงอีกต่อไป
    หรืออย่างในประเทษอังกฤษ มี The Animal Welfare Act 2006 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ครอบคลุมการดูแลสัตว์ในวงการบันเทิง โดยห้ามการใช้วิธีการที่ทำให้สัตว์เจ็บปวดโดยไม่จำเป็น และหากพบการกระทำที่เป็นการทารุณกรรมสัตว์ จะมีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี รวมถึงปรับเงินตามความร้ายแรงของกรณี ดังนั้น เมื่อเทียบกับบทลงโทษของไทย ยังถือว่าเบากว่าต่างประเทศหลายเท่านัก
    สำหรับประเทศไทย กรมปศุสัตว์มีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์และป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ ดังนั้น ในการแก้ปัญหาการใช้สัตว์อย่างไม่เหมาะสม กรมปศุสัตว์ควรพิจารณามาตรการ เช่น การจัดทำมาตรฐานแนวทางการใช้สัตว์ในสื่อบันเทิง ควรจัดทำคู่มือและข้อกำหนดที่ชัดเจนสำหรับการใช้สัตว์ในการถ่ายทำภาพยนตร์ ละคร และสื่อบันเทิงต่าง ๆ รวมถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสวัสดิภาพสัตว์ การตรวจสอบสุขภาพสัตว์ก่อนและหลัง และการปฏิบัติต่อสัตว์ที่ปลอดภัยตลอดกระบวนการถ่ายทำ โดยอาจนำตัวอย่างแนวทางจากต่างประเทศ เช่น American Humane Association ของสหรัฐอเมริกามาปรับใช้
    กรมปศุสัตว์ควรเสนอให้เพิ่มบทลงโทษสำหรับการทารุณกรรมสัตว์ โดยเพิ่มค่าปรับหรือโทษจำคุกที่หนักขึ้น เพื่อให้ผู้ผลิตสื่อเกิดความยับยั้งชั่งใจและมีความรับผิดชอบในการใช้สัตว์ อีกทั้งควรมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและติดตามผลหลังจากที่มีการลงโทษเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ซ้ำ และควรร่วมมือกับองค์กรที่มีประสบการณ์ในการคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ เช่น มูลนิธิต่างๆ และหน่วยงานอื่น ๆ ในการติดตามและตรวจสอบการใช้สัตว์ในวงการบันเทิง
    จากใจแม่ที่มีลูกเป็นหมาสองตัว อย่าปล่อยให้การทารุณสัตว์ในสื่อบันเทิงไทย....กลายเป็นเรื่องธรรมดา เพราะฉะนั้น เรื่องนี้กรมปศุสัตว์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง........ต้องไปให้สุดซอย ! ส่วนเราในฐานะภาคประชาชน ก็ทำหน้าที่ตรวจสอบในแบบที่เราถนัดต่อไป คือ การค้นหาความจริง และ การจับโกหก
    เพราะความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น (อ.สนธิ และ ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน กล่าวไว้)


    นักศึกษากฎหมายระบายทุกข์

    ที่มา :
    Thai PBS
    Instagram : one31thailand
    The Animal Welfare Act (AWA) 1966
    The Animal Welfare Act 2006
    The American Humane Association
    พ.ร.บ. ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 มาตรา 20
    อย่าปล่อยให้การทารุณสัตว์ในสื่อบันเทิงไทย....กลายเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อไม่นานมานี้เกิดกรณีดราม่าที่มีละครซีรี่ย์เรื่อง “แม่หยัว” ของช่อง ONE 31 ได้ถ่ายทำฉากใน EP.5 ที่มี "แมวดำ" กินน้ำผสมยาพิษ หลังจากนั้นแมวตัวดังกล่าว มีอาการชักกระตุกหลายครั้ง ขย้อนอาหารออกจากปาก ตาเบิกโพลง มีลักษณะเกร็งตัวและนอนแน่นิ่งไป โดยการถ่ายทำฉากดังกล่าว เป็นการใช้แมวจริงที่ถูกวางยาสลบ โดยนาย สันต์ ศรีแก้วหล่อ ผู้กำกับการแสดง ได้ออกมาชี้แจงใน Facebook ของตนในภายหลังว่า เป็นการถ่ายทำที่มีผู้เชี่ยวชาญควบคุมดูแลอย่างดีในทุกขั้นตอน แต่ทว่าภาพที่สื่อออกมากลับสะท้อนถึงความทุกข์ทรมานของสัตว์ ซึ่งเข้าข่ายการทารุณกรรมสัตว์อย่างชัดเจน กรณีนี้ก่อให้เกิดกระแสในสังคมออนไลน์เรียกร้องให้บุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง รวมไปถึงสถานีโทรทัศน์แสดงความรับผิดชอบ และเกิดการเคลื่อนไหวให้ "แบน" ละครดังกล่าวในวงกว้าง การนำสัตว์เข้าฉากเพื่อแสดงความเจ็บปวดหรือการวางยาสลบจริง ๆ ไม่เพียงแต่แสดงถึงการขาดความรับผิดชอบทางศีลธรรมและความเห็นใจต่อสัตว์ แต่ยังส่งผลกระทบต่อการรับรู้ของสังคมในด้านการปฏิบัติต่อสัตว์ในวงการบันเทิง กรณีนี้ถือเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สะท้อนถึงความละเลยและขาดมาตรฐานด้านจริยธรรมและการดูแลสัตว์ในกระบวนการผลิตของสื่อบันเทิงไทย โดยเฉพาะเมื่อละครดังกล่าวออกอากาศในวงกว้างและมีผู้ชมหลายกลุ่มอายุรวมไปถึงเยาวชน ย่อมส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อวงการบันเทิงไทยโดยรวม และอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบในหมู่เยาวชน ปัจจุบัน ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ซึ่งครอบคลุมถึงการกระทำที่ถือเป็นการทารุณสัตว์ทุกประเภท โดยเฉพาะกรณีการทำร้ายสัตว์จนเกิดความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งตามมาตรา 20 ของ พ.ร.บ. นี้ ระบุว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันควร" การทำให้สัตว์ทุกข์ทรมานหรือเจ็บปวดจนเสียชีวิตหรือได้รับความเสียหาย “อย่างไม่จำเป็น” ถือว่าเข้าข่ายการทารุณกรรม กรณีของการวางยาสลบสัตว์จริงโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอ จึงถือเป็นความไม่จำเป็นและอาจเข้าข่ายเป็นการการละเมิดกฎหมาย ซึ่งมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อพิจารณาจากถ้อยคำของนายสันต์ ผู้กำกับการแสดง จึงอดสงสัยไม่ได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญที่ว่าคือใคร ใช่สัตว์แพทย์หรือไม่ และเจ้าของที่ว่าคือเจ้าของจริงที่แท้จริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่ผู้ควบคุมและเลี้ยงดูสัตว์เหล่านั้นไว้เพียงเพื่อประโยชน์ทางการค้า และแมวตัวที่นำมากล่าวอ้างว่าปัจจุบันสุขกายสบายดีนั้น แท้จริงแล้วใช่แมวตัวเดียวกันกับที่ถ่ายทำหรือไม่ จะพิสูจน์อย่างไร และกรณีแมวดำเป็นกรณีแรกหรือไม่ หรือว่ามีกรณีอื่นๆก่อนหน้านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เพียงแต่ไม่เคยถูกตรวจสอบ และจะเป็นไปได้หรือไม่ว่าที่ผ่านมา มีการทารุณกรรมสัตว์ในการถ่ายทำ จนกลายเป็นปกติประเพณีไปแล้ว ประชาชนตั้งคำถามและประชาชน.......ต้องการคำตอบ แม้ตัวบทกฎหมายจะกล่าวเอาไว้ว่า “ผู้ใดกล่าวหา ผู้นั้นพิสูจน์” แต่ในกรณีนี้ คงไม่ใช่การเดินหมากที่ฉลาดนักของผู้บริหารช่องฯรวมไปถึงกลุ่มคนที่มีส่วนร่วม และควรต้องรีบชี้แจ้งข้อเท็จจริงโดยละเอียดให้เร็วที่สุด เพื่อแสดงความโปร่งใส และควรบอกแต่ความจริงเท่านั้น ดังนั้น การชี้แจ้งและกล่าวเพียงคำขอโทษผ่าน Instragram ของช่อง one31thailand เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา จึงไม่แสดงถึงความจริงใจ ไม่เพียงพอและไม่ได้สัดส่วนต่อสิ่งที่ได้กระทำขึ้น คำถามสำคัญที่พวกเราทุกคนต้องช่วยกันคบคิดต่อไปก็คือ แม้เราจะมีกฎหมาย แต่กฎหมายกลับไม่ได้กำหนดมาตรการการควบคุมที่เฉพาะเจาะจงในกรณีที่มีการใช้สัตว์ในงานบันเทิง เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายและบทลงโทษในต่างประเทศ พบว่าในต่างประเทศมีกฎหมายที่คุ้มครองสัตว์เข้มงวดกว่าประเทศไทยมาก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมบันเทิง เช่น ในสหรัฐอเมริกา มีกฎหมาย Animal Welfare Act (AWA) ที่มีการกำหนดมาตรฐานสูงในการใช้สัตว์ในงานบันเทิง โดยกำหนดให้ต้องมีการขอใบอนุญาตและผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียดทุกขั้นตอน รวมถึงการมีองค์กรอย่าง American Humane Association (AHA) ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมการใช้สัตว์ในวงการภาพยนตร์โดยเฉพาะ หากพบว่ามีการละเมิด อาจถูกปรับเป็นเงินจำนวนมากและอาจถูกห้ามไม่ให้ใช้สัตว์ในสื่อบันเทิงอีกต่อไป หรืออย่างในประเทษอังกฤษ มี The Animal Welfare Act 2006 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ครอบคลุมการดูแลสัตว์ในวงการบันเทิง โดยห้ามการใช้วิธีการที่ทำให้สัตว์เจ็บปวดโดยไม่จำเป็น และหากพบการกระทำที่เป็นการทารุณกรรมสัตว์ จะมีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี รวมถึงปรับเงินตามความร้ายแรงของกรณี ดังนั้น เมื่อเทียบกับบทลงโทษของไทย ยังถือว่าเบากว่าต่างประเทศหลายเท่านัก สำหรับประเทศไทย กรมปศุสัตว์มีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์และป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ ดังนั้น ในการแก้ปัญหาการใช้สัตว์อย่างไม่เหมาะสม กรมปศุสัตว์ควรพิจารณามาตรการ เช่น การจัดทำมาตรฐานแนวทางการใช้สัตว์ในสื่อบันเทิง ควรจัดทำคู่มือและข้อกำหนดที่ชัดเจนสำหรับการใช้สัตว์ในการถ่ายทำภาพยนตร์ ละคร และสื่อบันเทิงต่าง ๆ รวมถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสวัสดิภาพสัตว์ การตรวจสอบสุขภาพสัตว์ก่อนและหลัง และการปฏิบัติต่อสัตว์ที่ปลอดภัยตลอดกระบวนการถ่ายทำ โดยอาจนำตัวอย่างแนวทางจากต่างประเทศ เช่น American Humane Association ของสหรัฐอเมริกามาปรับใช้ กรมปศุสัตว์ควรเสนอให้เพิ่มบทลงโทษสำหรับการทารุณกรรมสัตว์ โดยเพิ่มค่าปรับหรือโทษจำคุกที่หนักขึ้น เพื่อให้ผู้ผลิตสื่อเกิดความยับยั้งชั่งใจและมีความรับผิดชอบในการใช้สัตว์ อีกทั้งควรมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและติดตามผลหลังจากที่มีการลงโทษเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ซ้ำ และควรร่วมมือกับองค์กรที่มีประสบการณ์ในการคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ เช่น มูลนิธิต่างๆ และหน่วยงานอื่น ๆ ในการติดตามและตรวจสอบการใช้สัตว์ในวงการบันเทิง จากใจแม่ที่มีลูกเป็นหมาสองตัว อย่าปล่อยให้การทารุณสัตว์ในสื่อบันเทิงไทย....กลายเป็นเรื่องธรรมดา เพราะฉะนั้น เรื่องนี้กรมปศุสัตว์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง........ต้องไปให้สุดซอย ! ส่วนเราในฐานะภาคประชาชน ก็ทำหน้าที่ตรวจสอบในแบบที่เราถนัดต่อไป คือ การค้นหาความจริง และ การจับโกหก เพราะความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น (อ.สนธิ และ ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน กล่าวไว้) นักศึกษากฎหมายระบายทุกข์ ที่มา : Thai PBS Instagram : one31thailand The Animal Welfare Act (AWA) 1966 The Animal Welfare Act 2006 The American Humane Association พ.ร.บ. ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 มาตรา 20
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 874 มุมมอง 0 รีวิว
  • ชาวเน็ตไม่เชื่อ! แมวดำ!ตัวเดียวกัน (10/11/67) #news1 #ข่าววันนี้ #ดราม่าละครไทย #แมวดำโดนวางยาสลบ #แม่หยัว
    ชาวเน็ตไม่เชื่อ! แมวดำ!ตัวเดียวกัน (10/11/67) #news1 #ข่าววันนี้ #ดราม่าละครไทย #แมวดำโดนวางยาสลบ #แม่หยัว
    Like
    Sad
    Love
    12
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1238 มุมมอง 562 0 รีวิว
  • กลายเป็นกระแสร้อนแรงในโซเชียลที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก หลังฉากแมวดำ ในละคร "แม่หยัว" โดนวางยา ซึ่งแมวตัวดังกล่าวมีอาการกระตุกและขย้อนอาหารออกมา ทำให้หลายคนมองว่าเป็นทารุณกรรมสัตว์

    ล่าสุดนักร้องและนักแต่งเพลงชื่อดัง "ดี้ นิติพงษ์ ห่อนาค" ได้ออกมาโพสต์ข้อความร่วมต่อต้านทารุณสัตว์ และขอแสดงจุดยืน #แบนแม่หยัว โดยระบุว่า

    "#ในฐานะที่ฉันก็มีหมาดำ หมาแมวสีดำก็มีชีวิตจิตใจ การที่คุณบอกวางยาสลบแมวเพื่อเข้าฉาก โห...พูดไม่ออก ถ้านอกจากการรักษาไม่ควรเลย แล้วแมวมีเจ้าของคงไม่มีใครยอม(ถ้ายอมก็ยอมใจ)...ถ้าเอาแมวจรมาแปลว่าคุณก็ไม่สนว่ามันจะเป็นยังไง แล้วต้องมีผู้เชี่ยวชาญวางยาให้ใช่ไหม !? ...ฟื้นแล้วก็ปล่อยไปตามยถากรรมงั้นหรือ !?

    ผมขอ #ร่วมต่อต้านการทารุณกรรมสัตว์ ครั้งนี้ ถึงละครเรื่องนี้ผมจะไม่ได้ดูแต่ก็ขอแสดงจุดยืน และเป็นกระบอกเสียง #แบนแม่หยัว ครับ"

    #MGROnline #แบนแม่หยัว #แม่หยัวep5 #แม่หยัวฆ่าแมว
    กลายเป็นกระแสร้อนแรงในโซเชียลที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก หลังฉากแมวดำ ในละคร "แม่หยัว" โดนวางยา ซึ่งแมวตัวดังกล่าวมีอาการกระตุกและขย้อนอาหารออกมา ทำให้หลายคนมองว่าเป็นทารุณกรรมสัตว์ • ล่าสุดนักร้องและนักแต่งเพลงชื่อดัง "ดี้ นิติพงษ์ ห่อนาค" ได้ออกมาโพสต์ข้อความร่วมต่อต้านทารุณสัตว์ และขอแสดงจุดยืน #แบนแม่หยัว โดยระบุว่า • "#ในฐานะที่ฉันก็มีหมาดำ หมาแมวสีดำก็มีชีวิตจิตใจ การที่คุณบอกวางยาสลบแมวเพื่อเข้าฉาก โห...พูดไม่ออก ถ้านอกจากการรักษาไม่ควรเลย แล้วแมวมีเจ้าของคงไม่มีใครยอม(ถ้ายอมก็ยอมใจ)...ถ้าเอาแมวจรมาแปลว่าคุณก็ไม่สนว่ามันจะเป็นยังไง แล้วต้องมีผู้เชี่ยวชาญวางยาให้ใช่ไหม !? ...ฟื้นแล้วก็ปล่อยไปตามยถากรรมงั้นหรือ !? • ผมขอ #ร่วมต่อต้านการทารุณกรรมสัตว์ ครั้งนี้ ถึงละครเรื่องนี้ผมจะไม่ได้ดูแต่ก็ขอแสดงจุดยืน และเป็นกระบอกเสียง #แบนแม่หยัว ครับ" • #MGROnline #แบนแม่หยัว #แม่หยัวep5 #แม่หยัวฆ่าแมว
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 483 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประกาศขออภัย.jpg สูตรสำเร็จแก้วิกฤต

    บ่อยครั้งที่เมื่อมีวิกฤตเกิดขึ้นกับแบรนด์ อินโฟกราฟิก "ประกาศขออภัย" มักจะถูกนำมาใช้สื่อสารผ่านทางโซเชียลมีเดีย ตามหลักบริหารจัดการ การสื่อสารในภาวะวิกฤต (Crisis Management) เมื่อเกิดปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์กร พนักงาน โดยเฉพาะภาพลักษณ์ที่ส่งผลกระทบต่อรายได้ ชื่อเสียง เกียรติภูมิ และอาจรวมไปถึงผู้มีส่วนได้เสีย กรณีที่เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งอาจกระทบต่อผู้ถือหุ้น

    แต่บ่อยครั้งที่พบว่า ประกาศขออภัยมักจะไม่ระบุข้อความที่เป็นตัวหนังสือ หรือแคปชัน (Caption) กำกับลงไปด้วย แม้จะอ้างได้ว่าเพื่อให้สามารถกระจายได้หลายแพลตฟอร์ม และลดความซ้ำซ้อน แต่การไม่กำกับข้อความ อีกนัยยะหนึ่งคือการไม่พึงปรารถนาที่จะให้ข้อความดังกล่าว ถูกปรากฎและบันทึกเป็นร่องรอยดิจิทัล (Digital Footprint) ในอนาคต แม้อาจจะไม่ได้ผลเมื่อมีเทคโนโลยี แปลงภาพเป็นข้อความ และสำนักข่าวต่างๆ นำเนื้อหาประกาศขออภัยไปเผยแพร่ต่อ

    แถลงการณ์จากช่องวัน 31 ขอโทษกรณีความไม่เหมาะสมของฉากที่ใช้แมวร่วมแสดงในซีรีย์แม่หยัว ลงวันที่ 10 พ.ย. 2567 ก็เช่นกัน ระบุแคปชันว่า "แถลงการณ์จากช่องวัน31" แต่เนื้อหาของแถลงการณ์อยู่ในอินโฟกราฟิกทั้งหมด

    ระบุว่า "ตามที่มีกระแสข่าวถึงความไม่เหมาะสมของฉากที่ใช้แมวร่วมแสดง ในซีรีส์ “แม่หยั่ว” จนเกิดความไม่สบายใจของผู้ชมนั้น ช่องวัน 31 ขอชี้แจงว่า ทางเราคํานึงถึงสวัสดิภาพและความปลอดภัย ของสัตว์เป็นสําคัญ โดยแมวที่นํามาถ่ายทํานั้นมาจากบริษัทโมเดลลิ่งสัตว์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการนําสัตว์ร่วมถ่ายทําละครและภาพยนตร์โดยเฉพาะ มากว่า 10 ปี และเป็นเจ้าของแมวตัวดังกล่าว รวมถึงเป็นผู้ดูแลแมวตลอด ระยะเวลาการถ่ายท่าในทุกขั้นตอน

    ช่องวัน 31 รู้สึกเสียใจและขอโทษกับเหตุการณ์ครั้งนี้ ที่ทําให้ผู้ชม เกิดความรู้สึกที่ไม่สบายใจ เราจะนําข้อชี้แนะ ความคิดเห็น กลับไปพิจารณา ในการทํางานร่วมกับสัตว์ และระมัดระวังไม่ให้เหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก ช่องวัน 31 ขอน้อมรับ และขอขอบคุณทุกความคิดเห็นมา ณ ที่นี้"

    ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของ "ประกาศขออภัย.jpg" แบบไม่ระบุแคปชัน ที่กลายเป็นสูตรสำเร็จในการจัดการกับภาวะวิกฤต ในหลายองค์กร ซึ่งในสายตาของผู้รับสารอาจตีความได้หลากหลาย ส่วนจะเป็นการขอโทษอย่างจริงใจหรือไม่ ผู้รับสารจะเป็นผู้ตัดสิน ซึ่งต้องพิจารณาหลายองค์ประกอบ เช่น การตอบสนองต่อเหตุการณ์ในภาวะวิกฤตว่า ใช้เวลาชี้แจงกับสังคมนานเพียงใด ความคืบหน้าในการจัดการกับปัญหาโดยที่ผู้รับสารเห็นภาพ การแก้ไขปัญหาและการป้องกันในอนาคตที่ไม่ใช่แค่คำมั่นสัญญา เป็นต้น

    #Newskit #ประกาศขออภัย
    ประกาศขออภัย.jpg สูตรสำเร็จแก้วิกฤต บ่อยครั้งที่เมื่อมีวิกฤตเกิดขึ้นกับแบรนด์ อินโฟกราฟิก "ประกาศขออภัย" มักจะถูกนำมาใช้สื่อสารผ่านทางโซเชียลมีเดีย ตามหลักบริหารจัดการ การสื่อสารในภาวะวิกฤต (Crisis Management) เมื่อเกิดปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์กร พนักงาน โดยเฉพาะภาพลักษณ์ที่ส่งผลกระทบต่อรายได้ ชื่อเสียง เกียรติภูมิ และอาจรวมไปถึงผู้มีส่วนได้เสีย กรณีที่เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งอาจกระทบต่อผู้ถือหุ้น แต่บ่อยครั้งที่พบว่า ประกาศขออภัยมักจะไม่ระบุข้อความที่เป็นตัวหนังสือ หรือแคปชัน (Caption) กำกับลงไปด้วย แม้จะอ้างได้ว่าเพื่อให้สามารถกระจายได้หลายแพลตฟอร์ม และลดความซ้ำซ้อน แต่การไม่กำกับข้อความ อีกนัยยะหนึ่งคือการไม่พึงปรารถนาที่จะให้ข้อความดังกล่าว ถูกปรากฎและบันทึกเป็นร่องรอยดิจิทัล (Digital Footprint) ในอนาคต แม้อาจจะไม่ได้ผลเมื่อมีเทคโนโลยี แปลงภาพเป็นข้อความ และสำนักข่าวต่างๆ นำเนื้อหาประกาศขออภัยไปเผยแพร่ต่อ แถลงการณ์จากช่องวัน 31 ขอโทษกรณีความไม่เหมาะสมของฉากที่ใช้แมวร่วมแสดงในซีรีย์แม่หยัว ลงวันที่ 10 พ.ย. 2567 ก็เช่นกัน ระบุแคปชันว่า "แถลงการณ์จากช่องวัน31" แต่เนื้อหาของแถลงการณ์อยู่ในอินโฟกราฟิกทั้งหมด ระบุว่า "ตามที่มีกระแสข่าวถึงความไม่เหมาะสมของฉากที่ใช้แมวร่วมแสดง ในซีรีส์ “แม่หยั่ว” จนเกิดความไม่สบายใจของผู้ชมนั้น ช่องวัน 31 ขอชี้แจงว่า ทางเราคํานึงถึงสวัสดิภาพและความปลอดภัย ของสัตว์เป็นสําคัญ โดยแมวที่นํามาถ่ายทํานั้นมาจากบริษัทโมเดลลิ่งสัตว์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการนําสัตว์ร่วมถ่ายทําละครและภาพยนตร์โดยเฉพาะ มากว่า 10 ปี และเป็นเจ้าของแมวตัวดังกล่าว รวมถึงเป็นผู้ดูแลแมวตลอด ระยะเวลาการถ่ายท่าในทุกขั้นตอน ช่องวัน 31 รู้สึกเสียใจและขอโทษกับเหตุการณ์ครั้งนี้ ที่ทําให้ผู้ชม เกิดความรู้สึกที่ไม่สบายใจ เราจะนําข้อชี้แนะ ความคิดเห็น กลับไปพิจารณา ในการทํางานร่วมกับสัตว์ และระมัดระวังไม่ให้เหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก ช่องวัน 31 ขอน้อมรับ และขอขอบคุณทุกความคิดเห็นมา ณ ที่นี้" ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของ "ประกาศขออภัย.jpg" แบบไม่ระบุแคปชัน ที่กลายเป็นสูตรสำเร็จในการจัดการกับภาวะวิกฤต ในหลายองค์กร ซึ่งในสายตาของผู้รับสารอาจตีความได้หลากหลาย ส่วนจะเป็นการขอโทษอย่างจริงใจหรือไม่ ผู้รับสารจะเป็นผู้ตัดสิน ซึ่งต้องพิจารณาหลายองค์ประกอบ เช่น การตอบสนองต่อเหตุการณ์ในภาวะวิกฤตว่า ใช้เวลาชี้แจงกับสังคมนานเพียงใด ความคืบหน้าในการจัดการกับปัญหาโดยที่ผู้รับสารเห็นภาพ การแก้ไขปัญหาและการป้องกันในอนาคตที่ไม่ใช่แค่คำมั่นสัญญา เป็นต้น #Newskit #ประกาศขออภัย
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 656 มุมมอง 0 รีวิว
  • #แบนแม่หยัว ติดเทรนด์x "ผกก.สันต์"โร่แจง-อัพเดตอาการแมวดำ! 09/11/67 #แบนแม่หยัว #ผกก.สันต์ #ทาสแมว #แมวดำ #ละครแม่หยัว
    #แบนแม่หยัว ติดเทรนด์x "ผกก.สันต์"โร่แจง-อัพเดตอาการแมวดำ! 09/11/67 #แบนแม่หยัว #ผกก.สันต์ #ทาสแมว #แมวดำ #ละครแม่หยัว
    Like
    Haha
    Angry
    7
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1389 มุมมอง 657 0 รีวิว
  • ทาสแมวของขึ้น! ฉาก"วางยาแมว"ทารุณสัตว์หรือไม่? 09/11/67 #ทาสแมว #แมวดำ #ละครแม่หยัว #ทารุณสัตว์ #วางยาแมว
    ทาสแมวของขึ้น! ฉาก"วางยาแมว"ทารุณสัตว์หรือไม่? 09/11/67 #ทาสแมว #แมวดำ #ละครแม่หยัว #ทารุณสัตว์ #วางยาแมว
    Like
    Angry
    Yay
    Sad
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1204 มุมมอง 358 0 รีวิว
  • #หายหัวไปก่อนที่หัวจะหาย
    ใครหาก็ไม่พบ ที่แท้ก็แอบไปฝึกท่าพับกบ
    เตรียมความพร้อมก่อนเข้าซังงเต
    เพราะทั้งพราก ทั้งฉุด ทั้งรุม
    เรื่องแบบนี้คนในนั้นเค้ารับไม่ได้หรอกนะ
    มันก็ต้องเตรียมความพร้อมกันหน่อยนะ
    อันนี้ ไม่ใช่แม่หยัวนะ
    แต่เป็น แม่ตั้มราเบิดถังขรรี้
    ไอ่ฉัด
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #หายหัวไปก่อนที่หัวจะหาย ใครหาก็ไม่พบ ที่แท้ก็แอบไปฝึกท่าพับกบ เตรียมความพร้อมก่อนเข้าซังงเต เพราะทั้งพราก ทั้งฉุด ทั้งรุม เรื่องแบบนี้คนในนั้นเค้ารับไม่ได้หรอกนะ มันก็ต้องเตรียมความพร้อมกันหน่อยนะ อันนี้ ไม่ใช่แม่หยัวนะ แต่เป็น แม่ตั้มราเบิดถังขรรี้ ไอ่ฉัด #คิงส์โพธิ์แดง
    Haha
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 467 มุมมอง 0 รีวิว