อุทยานแห่งชาติ ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
ภาพของขุนเขาสูงตั้งตระหง่านเรียงสลับซับซ้อน ณ อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 114 ของประเทศไทย คือสิ่งดึงดูดให้นักเดินทางหลายคนอยากมาสัมผัสด้วยตัวเองสักครั้ง รวมถึงมีจุดชมวิวที่เมื่อมองไปด้านหนึ่งเห็นทิวทัศน์ของขุนเขามากมาย ส่วนอีกด้านมองเห็นทะเลสาบเขื่อนวชิราลงกรณ สลับกับทิวเขาแทรกเป็นฉากหน้าและฉากหลัง และยังมีจุดกางเต็นท์ในชัยภูมิดีเยี่ยม เพราะล้อมรอบไปด้วยร่มไม้เขียวครึ้ม อากาศเย็นสบาย เป็นที่อาศัยของสัตว์น้อยใหญ่นานาชนิด วันนี้เราเลยจะพาไปทำความรู้จักกันให้มากขึ้น
อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยเขย่งและป่าเขาช้างเผือก ครอบคลุมพื้นที่อำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 700,000 ไร่ หรือ 1,120 ตารางกิโลเมตร โดยทิศเหนือจดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ทิศใต้จดอุทยานแห่งชาติไทรโยค ทิศตะวันออกจดอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ทิศตะวันตกจดเขตแดนไทย - เมียนมา
พื้นที่ส่วนใหญ่ภายในอุทยานแห่งชาติทองผาจะเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน โดยเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี ความสูงของพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-1,249 เมตร มี "เขาช้างเผือก" เป็นยอดเขาสูงสุด สูง 1,249 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง และด้วยเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของผืนป่าตะวันตกที่คงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ทำให้สามารถจำแนกประเภทแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่
ป่าดิบชื้น มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ตะเคียน ยางขาว ยางยูง ไก่เขียว เคี่ยม กันเกรา จำปาป่า มะหาด เนียง พืชพื้นล่างมีพวก หวาย เฟิน เตย และปาล์ม
ป่าดิบแล้ง มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ยางขาว ยางแดง ตะเคียน ยมหอม จำปีป่า กระบาก มะม่วงป่า มะแฟน แดงดง มะไฟป่า สมพง พืชพื้นล่างมีพวกปาล์ม ข่า และเฟิร์นต่าง ๆ
ป่าดิบเขา มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ก่อชนิดต่าง ๆ กำลังเสือโคร่ง มณฑาป่า พระเจ้าห้าพระองค์ กำยาน อบเชย ทะโล้ พืชพื้นล่าง ได้แก่ มอส เฟิร์นต่าง ๆ
ป่าเบญจพรรณ (พบมากที่สุด) มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ประดู่ แดง ตะแบก เสลา ส้าน มะค่าโมง อินทนิล ตุ้มเต๋น ตะคร้อ ตะคร่ำ กระพี้เขาควาย ขะเจ๊าะ มะเกลือ กาสามปีก สมอพิเภก กระบก มะกอก พืชพื้นล่างมีพวกไผ่ไร่ ไผ่ซาง ไผ่บง ไผ่ข้าวหลาม ไผ่รวก และพืชพวกไม้หนาม เป็นต้น
นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก เนื่องจากป่าเป็นผืนเดียวกันกับประเทศเมียนมา จึงมีการย้ายถิ่นฐานไปมาอยู่เป็นประจำ และเนื่องจากไม่มีราษฎรอยู่ในพื้นที่ป่ามากนัก ทำให้สัตว์ป่าไม่ถูกรบกวน
ภาพของขุนเขาสูงตั้งตระหง่านเรียงสลับซับซ้อน ณ อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 114 ของประเทศไทย คือสิ่งดึงดูดให้นักเดินทางหลายคนอยากมาสัมผัสด้วยตัวเองสักครั้ง รวมถึงมีจุดชมวิวที่เมื่อมองไปด้านหนึ่งเห็นทิวทัศน์ของขุนเขามากมาย ส่วนอีกด้านมองเห็นทะเลสาบเขื่อนวชิราลงกรณ สลับกับทิวเขาแทรกเป็นฉากหน้าและฉากหลัง และยังมีจุดกางเต็นท์ในชัยภูมิดีเยี่ยม เพราะล้อมรอบไปด้วยร่มไม้เขียวครึ้ม อากาศเย็นสบาย เป็นที่อาศัยของสัตว์น้อยใหญ่นานาชนิด วันนี้เราเลยจะพาไปทำความรู้จักกันให้มากขึ้น
อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยเขย่งและป่าเขาช้างเผือก ครอบคลุมพื้นที่อำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 700,000 ไร่ หรือ 1,120 ตารางกิโลเมตร โดยทิศเหนือจดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ทิศใต้จดอุทยานแห่งชาติไทรโยค ทิศตะวันออกจดอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ทิศตะวันตกจดเขตแดนไทย - เมียนมา
พื้นที่ส่วนใหญ่ภายในอุทยานแห่งชาติทองผาจะเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน โดยเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี ความสูงของพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-1,249 เมตร มี "เขาช้างเผือก" เป็นยอดเขาสูงสุด สูง 1,249 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง และด้วยเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของผืนป่าตะวันตกที่คงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ทำให้สามารถจำแนกประเภทแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่
ป่าดิบชื้น มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ตะเคียน ยางขาว ยางยูง ไก่เขียว เคี่ยม กันเกรา จำปาป่า มะหาด เนียง พืชพื้นล่างมีพวก หวาย เฟิน เตย และปาล์ม
ป่าดิบแล้ง มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ยางขาว ยางแดง ตะเคียน ยมหอม จำปีป่า กระบาก มะม่วงป่า มะแฟน แดงดง มะไฟป่า สมพง พืชพื้นล่างมีพวกปาล์ม ข่า และเฟิร์นต่าง ๆ
ป่าดิบเขา มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ก่อชนิดต่าง ๆ กำลังเสือโคร่ง มณฑาป่า พระเจ้าห้าพระองค์ กำยาน อบเชย ทะโล้ พืชพื้นล่าง ได้แก่ มอส เฟิร์นต่าง ๆ
ป่าเบญจพรรณ (พบมากที่สุด) มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ประดู่ แดง ตะแบก เสลา ส้าน มะค่าโมง อินทนิล ตุ้มเต๋น ตะคร้อ ตะคร่ำ กระพี้เขาควาย ขะเจ๊าะ มะเกลือ กาสามปีก สมอพิเภก กระบก มะกอก พืชพื้นล่างมีพวกไผ่ไร่ ไผ่ซาง ไผ่บง ไผ่ข้าวหลาม ไผ่รวก และพืชพวกไม้หนาม เป็นต้น
นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก เนื่องจากป่าเป็นผืนเดียวกันกับประเทศเมียนมา จึงมีการย้ายถิ่นฐานไปมาอยู่เป็นประจำ และเนื่องจากไม่มีราษฎรอยู่ในพื้นที่ป่ามากนัก ทำให้สัตว์ป่าไม่ถูกรบกวน
อุทยานแห่งชาติ ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
ภาพของขุนเขาสูงตั้งตระหง่านเรียงสลับซับซ้อน ณ อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 114 ของประเทศไทย คือสิ่งดึงดูดให้นักเดินทางหลายคนอยากมาสัมผัสด้วยตัวเองสักครั้ง รวมถึงมีจุดชมวิวที่เมื่อมองไปด้านหนึ่งเห็นทิวทัศน์ของขุนเขามากมาย ส่วนอีกด้านมองเห็นทะเลสาบเขื่อนวชิราลงกรณ สลับกับทิวเขาแทรกเป็นฉากหน้าและฉากหลัง และยังมีจุดกางเต็นท์ในชัยภูมิดีเยี่ยม เพราะล้อมรอบไปด้วยร่มไม้เขียวครึ้ม อากาศเย็นสบาย เป็นที่อาศัยของสัตว์น้อยใหญ่นานาชนิด วันนี้เราเลยจะพาไปทำความรู้จักกันให้มากขึ้น
อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยเขย่งและป่าเขาช้างเผือก ครอบคลุมพื้นที่อำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 700,000 ไร่ หรือ 1,120 ตารางกิโลเมตร โดยทิศเหนือจดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ทิศใต้จดอุทยานแห่งชาติไทรโยค ทิศตะวันออกจดอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ทิศตะวันตกจดเขตแดนไทย - เมียนมา
พื้นที่ส่วนใหญ่ภายในอุทยานแห่งชาติทองผาจะเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน โดยเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี ความสูงของพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-1,249 เมตร มี "เขาช้างเผือก" เป็นยอดเขาสูงสุด สูง 1,249 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง และด้วยเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของผืนป่าตะวันตกที่คงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ทำให้สามารถจำแนกประเภทแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่
ป่าดิบชื้น มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ตะเคียน ยางขาว ยางยูง ไก่เขียว เคี่ยม กันเกรา จำปาป่า มะหาด เนียง พืชพื้นล่างมีพวก หวาย เฟิน เตย และปาล์ม
ป่าดิบแล้ง มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ยางขาว ยางแดง ตะเคียน ยมหอม จำปีป่า กระบาก มะม่วงป่า มะแฟน แดงดง มะไฟป่า สมพง พืชพื้นล่างมีพวกปาล์ม ข่า และเฟิร์นต่าง ๆ
ป่าดิบเขา มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ก่อชนิดต่าง ๆ กำลังเสือโคร่ง มณฑาป่า พระเจ้าห้าพระองค์ กำยาน อบเชย ทะโล้ พืชพื้นล่าง ได้แก่ มอส เฟิร์นต่าง ๆ
ป่าเบญจพรรณ (พบมากที่สุด) มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ประดู่ แดง ตะแบก เสลา ส้าน มะค่าโมง อินทนิล ตุ้มเต๋น ตะคร้อ ตะคร่ำ กระพี้เขาควาย ขะเจ๊าะ มะเกลือ กาสามปีก สมอพิเภก กระบก มะกอก พืชพื้นล่างมีพวกไผ่ไร่ ไผ่ซาง ไผ่บง ไผ่ข้าวหลาม ไผ่รวก และพืชพวกไม้หนาม เป็นต้น
นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก เนื่องจากป่าเป็นผืนเดียวกันกับประเทศเมียนมา จึงมีการย้ายถิ่นฐานไปมาอยู่เป็นประจำ และเนื่องจากไม่มีราษฎรอยู่ในพื้นที่ป่ามากนัก ทำให้สัตว์ป่าไม่ถูกรบกวน
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
137 มุมมอง
0 รีวิว