• Mar-a-Lago Accord พลิกโฉมเศรษฐกิจโลก!! : [Biz Talk]
    สัญญาณเตือนถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของระบบเศรษฐกิจโลก ‘Mar-a-Lago Accord’ เป็นแนวทางแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าอย่างเรื้อรัง และหนี้สาธารณะที่พุ่งสูงขึ้นของสหรัฐฯ ภายใต้ข้อตกลงนี้ สหรัฐฯเสนอให้ประเทศที่ต้องการเก็บ ดอลลาร์ฯ เป็นทุนสำรอง และไม่ต้องการโดนภาษีการค้า ให้ถือดอลลาร์ในรูปของพันธบัตรรัฐบาล 100 ปีแทน ทำให้ไม่ต้องถือดอลลาร์โดยตรง ช่วยให้ดอลลาร์อ่อนค่าลง และยังช่วยลดมูลค่าหนี้ของสหรัฐด้วย
    Mar-a-Lago Accord พลิกโฉมเศรษฐกิจโลก!! : [Biz Talk] สัญญาณเตือนถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของระบบเศรษฐกิจโลก ‘Mar-a-Lago Accord’ เป็นแนวทางแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าอย่างเรื้อรัง และหนี้สาธารณะที่พุ่งสูงขึ้นของสหรัฐฯ ภายใต้ข้อตกลงนี้ สหรัฐฯเสนอให้ประเทศที่ต้องการเก็บ ดอลลาร์ฯ เป็นทุนสำรอง และไม่ต้องการโดนภาษีการค้า ให้ถือดอลลาร์ในรูปของพันธบัตรรัฐบาล 100 ปีแทน ทำให้ไม่ต้องถือดอลลาร์โดยตรง ช่วยให้ดอลลาร์อ่อนค่าลง และยังช่วยลดมูลค่าหนี้ของสหรัฐด้วย
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 311 มุมมอง 20 0 รีวิว
  • ภาษีทรัมป์ปิดฉากยุคโลกาภิวัตน์ โลกย้อนกลับสู่ระบบพหุนิยม : คนเคาะข่าว 08-04-68
    : ทนง ขันทอง ผู้เชี่ยวชาญข่าวต่างประเทศ
    ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์

    #คนเคาะข่าว #ภาษีทรัมป์ #โลกาภิวัตน์ #พหุนิยม #สงครามการค้า #นโยบายทรัมป์ #เศรษฐกิจโลก #ทนงขันทอง #นงวดีถนิมมาลย์ #ข่าวต่างประเทศ #การเมืองโลก #วิเคราะห์เศรษฐกิจ #Geopolitics #thaitimes #ระบบเศรษฐกิจโลก
    ภาษีทรัมป์ปิดฉากยุคโลกาภิวัตน์ โลกย้อนกลับสู่ระบบพหุนิยม : คนเคาะข่าว 08-04-68 : ทนง ขันทอง ผู้เชี่ยวชาญข่าวต่างประเทศ ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์ #คนเคาะข่าว #ภาษีทรัมป์ #โลกาภิวัตน์ #พหุนิยม #สงครามการค้า #นโยบายทรัมป์ #เศรษฐกิจโลก #ทนงขันทอง #นงวดีถนิมมาลย์ #ข่าวต่างประเทศ #การเมืองโลก #วิเคราะห์เศรษฐกิจ #Geopolitics #thaitimes #ระบบเศรษฐกิจโลก
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 234 มุมมอง 6 0 รีวิว
  • พวกผู้เชี่ยวชาญชี้ แผนการลงทุนมูลค่า 100,000 ล้านดอลลาร์ในอเมริกาของทีเอสเอ็มซี บริษัทไต้หวันที่เป็นผู้ผลิตชิปใหญ่ที่สุดของโลก อาจส่งผลให้ “โล่ซิลิคอน” ของไทเปอ่อนแอลง เปิดทางให้ทรัมป์เข้าควบคุมการผลิตชิปของทีเอสเอ็มซี หรือในทางกลับกันอาจทำให้ไต้หวัน “ปลอดภัยขึ้น” และสร้างความไว้วางใจระหว่างไทเปกับวอชิงตัน
    .
    ไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟกเจอริง (ทีเอสเอ็มซี) ซึ่งเวลานี้มีฐานะเป็นผู้ผลิตเทคโนโลยีสำคัญ ที่กลายเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจโลก
    .
    ในสัปดาห์นี้ การประกาศลงทุนครั้งมหึมาในสหรัฐฯ ทำให้มูลค่าการลงทุนทั้งหมดของทีเอสเอ็มซีในอเมริกาเพิ่มเป็น 165,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งบริษัทบอกว่า เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่มีมูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์อเมริกัน
    .
    ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวหาไต้หวันขโมยอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา พร้อมขู่รีดภาษี 100% และไทเปต้องรีบตอบสนองโดยให้สัญญาว่า จะลงทุนในอเมริกาเพิ่ม
    .
    เอเอฟพีเสนอรายงานที่ระบุว่า การลงทุนของทีเอสเอ็มซีครั้งนี้อาจมีนัยสำคัญสำหรับไต้หวัน ดังต่อไปนี้
    .
    โล่ซิลิคอน
    .
    ชิปเซมิคอนดักเตอร์ในปัจจุบันเป็นส่วนประกอบอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่สมาร์ทโฟนไปจนถึงทีวี รถยนต์ไฟฟ้า และขีปนาวุธ และชิปเหล่านี้กว่าครึ่งผลิตในไต้หวัน
    .
    การผลิตชิปที่กระจุกตัวอยู่ในไต้หวันถูกมองมานานแล้วว่าเป็น “โล่ซิลิคอน” ที่ปกป้องไต้หวันจากการรุกรานหรือการปิดล้อมของจีน อีกทั้งยังเป็นแรงจูงใจให้อเมริกากางปีกปกป้องไทเป
    .
    ช่วงหลายปีมานี้จีนเพิ่มความกดดันทางทหารต่อไต้หวันเพื่อผลักดันการอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือเกาะแห่งนี้ ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่และโรงงานผลิตชิปมากมายหลายแห่งของทีเอสเอ็มซี
    .
    ความเคลื่อนไหวของจีนทำให้มีเสียงเรียกร้องให้ทีเอสเอ็มซีย้ายการผลิตออกจากไต้หวันเพื่อป้องกันการชะงักงันด้านอุปทานหากถูกจีนโจมตี
    .
    เมื่อไม่นานมานี้ ทรัมป์เตือนว่า อาจเรียกเก็บภาษีชิปที่ผลิตนอกสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 25% หรือมากกว่านั้น ซึ่งนักวิเคราะห์คนหนึ่งระบุว่า อาจทำให้อุตสาหกรรมชิปเผชิญภาวะถดถอย
    .
    แม้การลงทุนล่าสุดคราวนี้ของทีเอสเอ็มซี น่าจะสามารถหลบเลี่ยงจากการข่มขู่รีดภาษีศุลกากรเช่นว่านี้ แต่ยังมีความกังวลว่า การดำเนินการดังกล่าวอาจกระทบต่อเศรษฐกิจไต้หวันและทำให้ “โล่ซิลิคอน” ความมั่นคงของไต้หวันอ่อนแอลง
    .
    โก จูชุน สมาชิกรัฐสภาจากพรรคก๊กมินตั๋งซึ่งเป็นแกนนำฝ่ายค้าน ชี้ว่า ยิ่งทีเอสเอ็มซีออกไปผลิตในอเมริกามากเท่าไหร่ ไต้หวันยิ่งหมดความสำคัญในแง่ภูมิรัฐศาสตร์มากขึ้นเท่านั้น รวมทั้งยังลดแรงจูงใจต่ออเมริกาในการให้ความช่วยเหลือไต้หวันในอนาคต
    .
    การควบคุมทีเอสเอ็มซี
    .
    ผู้นำไต้หวันตระหนักดีถึงความเสี่ยงขณะพยายามรักษาการสนับสนุนจากวอชิงตัน ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนด้านความมั่นคงที่สำคัญที่สุด และปกป้องสถานะผู้ทรงอิทธิพลในการผลิตชิปของไต้หวัน
    .
    สำนักงานของประธานาธิบดีไล่ ชิงเต๋อ แถลงเมื่อวันอังคาร (4 มี.ค.) ว่า รัฐบาลจะตรวจสอบข้อตกลงของทีเอสเอ็มซีว่า สอดคล้องกับกฎหมายของไต้หวันหรือไม่ และทำให้แน่ใจว่า กระบวนการผลิตชิปขั้นสูงสุดจะยังคงอยู่ในไต้หวัน
    .
    ก่อนหน้านี้ ทีเอสเอ็มซีประกาศลงทุนมูลค่ากว่า 65,000 ล้านดอลลาร์ในการจัดตั้งโรงงาน 3 แห่งในรัฐแอริโซนาของอเมริกา โดยที่โรงงานแห่งแรกเริ่มต้นผลิตตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
    .
    สำหรับการลงทุน 100,000 ล้านดอลลาร์ซึ่งประกาศในสัปดาห์นี้ จะเป็นการขยายโครงการในอเมริกาด้วยการจัดตั้งโรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ 3 แห่ง โรงงานบรรจุภัณฑ์ขั้นสูง 2 แห่ง และศูนย์วิจัยและพัฒนา
    .
    ริชาร์ด หู รองผู้อำนวยการของกลุ่มคลังสมอง ที่ใช้ชื่อว่า ศูนย์เพื่อการศึกษาด้านความมั่นคงของไต้หวัน ให้ความเห็นว่า ทรัมป์ต้องการป้องกันไม่ให้ทีเอสเอ็มซีตกอยู่ในมือจีน และทำให้บริษัทแห่งนี้เป็นสินทรัพย์ด้านเทคโนโลยีของอเมริกา
    .
    หูเสริมว่า เป้าหมายสูงสุดของทรัมป์คือ อเมริกาจะสามารถควบคุมการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของทีเอสเอ็มซีทั้งหมดหรืออย่างมีนัยสำคัญ และทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา
    .
    การรับประกันความมั่นคง
    .
    อย่างไรก็ตาม ซู จื๋ออวิ๋น นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงจากสถาบันเพื่อการวิจัยด้านกลาโหมและความมั่นคงแห่งชาติของไทเป มองโลกในแง่ดีมากกว่า โดยบอกว่า การลงทุนในสหรัฐฯ ของทีเอสเอ็มซีน่าจะทำให้ไต้หวัน “ปลอดภัยขึ้น” และช่วยส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมชิป อีกทั้งยังสร้างความไว้วางใจระหว่างไทเปกับวอชิงตัน และลดความกังวลของทรัมป์เกี่ยวกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของอเมริกา
    .
    ซูเสริมว่า ไต้หวันไม่ได้มีความสำคัญเพราะมีทีเอสเอ็มซีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านภูมิยุทธศาสตร์ โดยตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความสำคัญของเส้นทางขนส่งสินค้าทางทะเลของโลกที่อยู่ใกล้ไต้หวัน
    .
    ทว่า เจมส์ อี้ฟาน เฉิน จากมหาวิทยาลัยตั้นเจียง เสนอมุมมองอีกด้านหนึ่งว่า ต้นทุนการผลิตในอเมริกาที่สูงกว่าอาจทำให้ราคาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ชิปทีเอสเอ็มซีแพงขึ้น
    .
    นอกจากนั้น ยังไม่มีการรับประกันว่า การลงทุนจะทำให้ทรัมป์ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ มีความโน้มเอียงมากขึ้นจริงๆ ที่จะปกป้องไต้หวัน
    .
    เหวิน ตี้ซุง นักวิชาการจากโกลบัล ไชน่า ฮับ ของกลุ่มคลังสมองในสหรัฐฯ แอตแลนติก เคาน์ซิล บอกว่า ผลลัพธ์จากข้อตกลงนี้ในแง่ความเต็มใจของอเมริกาในการปกป้องไต้หวันนั้นต้องพูดว่ายังไม่มีความชัดเจน โดยขึ้นอยู่กับความรู้สึกของทรัมป์ ณ ขณะนั้นมากกว่า รวมทั้งขึ้นอยู่กับว่า ปักกิ่งจะพยายามยื่นข้อเสนอที่น่าสนใจกว่าไต้หวันหรือไม่
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000021621
    ..............
    Sondhi X
    พวกผู้เชี่ยวชาญชี้ แผนการลงทุนมูลค่า 100,000 ล้านดอลลาร์ในอเมริกาของทีเอสเอ็มซี บริษัทไต้หวันที่เป็นผู้ผลิตชิปใหญ่ที่สุดของโลก อาจส่งผลให้ “โล่ซิลิคอน” ของไทเปอ่อนแอลง เปิดทางให้ทรัมป์เข้าควบคุมการผลิตชิปของทีเอสเอ็มซี หรือในทางกลับกันอาจทำให้ไต้หวัน “ปลอดภัยขึ้น” และสร้างความไว้วางใจระหว่างไทเปกับวอชิงตัน . ไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟกเจอริง (ทีเอสเอ็มซี) ซึ่งเวลานี้มีฐานะเป็นผู้ผลิตเทคโนโลยีสำคัญ ที่กลายเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจโลก . ในสัปดาห์นี้ การประกาศลงทุนครั้งมหึมาในสหรัฐฯ ทำให้มูลค่าการลงทุนทั้งหมดของทีเอสเอ็มซีในอเมริกาเพิ่มเป็น 165,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งบริษัทบอกว่า เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่มีมูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์อเมริกัน . ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวหาไต้หวันขโมยอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา พร้อมขู่รีดภาษี 100% และไทเปต้องรีบตอบสนองโดยให้สัญญาว่า จะลงทุนในอเมริกาเพิ่ม . เอเอฟพีเสนอรายงานที่ระบุว่า การลงทุนของทีเอสเอ็มซีครั้งนี้อาจมีนัยสำคัญสำหรับไต้หวัน ดังต่อไปนี้ . โล่ซิลิคอน . ชิปเซมิคอนดักเตอร์ในปัจจุบันเป็นส่วนประกอบอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่สมาร์ทโฟนไปจนถึงทีวี รถยนต์ไฟฟ้า และขีปนาวุธ และชิปเหล่านี้กว่าครึ่งผลิตในไต้หวัน . การผลิตชิปที่กระจุกตัวอยู่ในไต้หวันถูกมองมานานแล้วว่าเป็น “โล่ซิลิคอน” ที่ปกป้องไต้หวันจากการรุกรานหรือการปิดล้อมของจีน อีกทั้งยังเป็นแรงจูงใจให้อเมริกากางปีกปกป้องไทเป . ช่วงหลายปีมานี้จีนเพิ่มความกดดันทางทหารต่อไต้หวันเพื่อผลักดันการอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือเกาะแห่งนี้ ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่และโรงงานผลิตชิปมากมายหลายแห่งของทีเอสเอ็มซี . ความเคลื่อนไหวของจีนทำให้มีเสียงเรียกร้องให้ทีเอสเอ็มซีย้ายการผลิตออกจากไต้หวันเพื่อป้องกันการชะงักงันด้านอุปทานหากถูกจีนโจมตี . เมื่อไม่นานมานี้ ทรัมป์เตือนว่า อาจเรียกเก็บภาษีชิปที่ผลิตนอกสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 25% หรือมากกว่านั้น ซึ่งนักวิเคราะห์คนหนึ่งระบุว่า อาจทำให้อุตสาหกรรมชิปเผชิญภาวะถดถอย . แม้การลงทุนล่าสุดคราวนี้ของทีเอสเอ็มซี น่าจะสามารถหลบเลี่ยงจากการข่มขู่รีดภาษีศุลกากรเช่นว่านี้ แต่ยังมีความกังวลว่า การดำเนินการดังกล่าวอาจกระทบต่อเศรษฐกิจไต้หวันและทำให้ “โล่ซิลิคอน” ความมั่นคงของไต้หวันอ่อนแอลง . โก จูชุน สมาชิกรัฐสภาจากพรรคก๊กมินตั๋งซึ่งเป็นแกนนำฝ่ายค้าน ชี้ว่า ยิ่งทีเอสเอ็มซีออกไปผลิตในอเมริกามากเท่าไหร่ ไต้หวันยิ่งหมดความสำคัญในแง่ภูมิรัฐศาสตร์มากขึ้นเท่านั้น รวมทั้งยังลดแรงจูงใจต่ออเมริกาในการให้ความช่วยเหลือไต้หวันในอนาคต . การควบคุมทีเอสเอ็มซี . ผู้นำไต้หวันตระหนักดีถึงความเสี่ยงขณะพยายามรักษาการสนับสนุนจากวอชิงตัน ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนด้านความมั่นคงที่สำคัญที่สุด และปกป้องสถานะผู้ทรงอิทธิพลในการผลิตชิปของไต้หวัน . สำนักงานของประธานาธิบดีไล่ ชิงเต๋อ แถลงเมื่อวันอังคาร (4 มี.ค.) ว่า รัฐบาลจะตรวจสอบข้อตกลงของทีเอสเอ็มซีว่า สอดคล้องกับกฎหมายของไต้หวันหรือไม่ และทำให้แน่ใจว่า กระบวนการผลิตชิปขั้นสูงสุดจะยังคงอยู่ในไต้หวัน . ก่อนหน้านี้ ทีเอสเอ็มซีประกาศลงทุนมูลค่ากว่า 65,000 ล้านดอลลาร์ในการจัดตั้งโรงงาน 3 แห่งในรัฐแอริโซนาของอเมริกา โดยที่โรงงานแห่งแรกเริ่มต้นผลิตตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว . สำหรับการลงทุน 100,000 ล้านดอลลาร์ซึ่งประกาศในสัปดาห์นี้ จะเป็นการขยายโครงการในอเมริกาด้วยการจัดตั้งโรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ 3 แห่ง โรงงานบรรจุภัณฑ์ขั้นสูง 2 แห่ง และศูนย์วิจัยและพัฒนา . ริชาร์ด หู รองผู้อำนวยการของกลุ่มคลังสมอง ที่ใช้ชื่อว่า ศูนย์เพื่อการศึกษาด้านความมั่นคงของไต้หวัน ให้ความเห็นว่า ทรัมป์ต้องการป้องกันไม่ให้ทีเอสเอ็มซีตกอยู่ในมือจีน และทำให้บริษัทแห่งนี้เป็นสินทรัพย์ด้านเทคโนโลยีของอเมริกา . หูเสริมว่า เป้าหมายสูงสุดของทรัมป์คือ อเมริกาจะสามารถควบคุมการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของทีเอสเอ็มซีทั้งหมดหรืออย่างมีนัยสำคัญ และทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา . การรับประกันความมั่นคง . อย่างไรก็ตาม ซู จื๋ออวิ๋น นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงจากสถาบันเพื่อการวิจัยด้านกลาโหมและความมั่นคงแห่งชาติของไทเป มองโลกในแง่ดีมากกว่า โดยบอกว่า การลงทุนในสหรัฐฯ ของทีเอสเอ็มซีน่าจะทำให้ไต้หวัน “ปลอดภัยขึ้น” และช่วยส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมชิป อีกทั้งยังสร้างความไว้วางใจระหว่างไทเปกับวอชิงตัน และลดความกังวลของทรัมป์เกี่ยวกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของอเมริกา . ซูเสริมว่า ไต้หวันไม่ได้มีความสำคัญเพราะมีทีเอสเอ็มซีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านภูมิยุทธศาสตร์ โดยตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความสำคัญของเส้นทางขนส่งสินค้าทางทะเลของโลกที่อยู่ใกล้ไต้หวัน . ทว่า เจมส์ อี้ฟาน เฉิน จากมหาวิทยาลัยตั้นเจียง เสนอมุมมองอีกด้านหนึ่งว่า ต้นทุนการผลิตในอเมริกาที่สูงกว่าอาจทำให้ราคาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ชิปทีเอสเอ็มซีแพงขึ้น . นอกจากนั้น ยังไม่มีการรับประกันว่า การลงทุนจะทำให้ทรัมป์ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ มีความโน้มเอียงมากขึ้นจริงๆ ที่จะปกป้องไต้หวัน . เหวิน ตี้ซุง นักวิชาการจากโกลบัล ไชน่า ฮับ ของกลุ่มคลังสมองในสหรัฐฯ แอตแลนติก เคาน์ซิล บอกว่า ผลลัพธ์จากข้อตกลงนี้ในแง่ความเต็มใจของอเมริกาในการปกป้องไต้หวันนั้นต้องพูดว่ายังไม่มีความชัดเจน โดยขึ้นอยู่กับความรู้สึกของทรัมป์ ณ ขณะนั้นมากกว่า รวมทั้งขึ้นอยู่กับว่า ปักกิ่งจะพยายามยื่นข้อเสนอที่น่าสนใจกว่าไต้หวันหรือไม่ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000021621 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    14
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2465 มุมมอง 0 รีวิว