• รวมพลังแผ่นดินยึดอำนาจโดยมวลมหาพลังชนคนแผ่นดินไทยเลย,วิจัยสัก10-20ปีว่ารูปแบบบริหารจัดการโดยภาคประชาชนเป็นผู้นำประเทศจะเป็นแบบใด,ดีกว่านักการเมืองบริหารราชการหรือภาคประชาชนบริหารราชการไทยดีกว่า,อนาคตกฎหมายอะไรที่ออกมาแล้วที่ผ่านๆมาจากกฎกระทรวงทบวงกรมเขียนออกเองแล้วเหี้ยๆมากมายสามารถฉีกทิ้งได้เลยด้วยทีมเฉพาะพิเศษของภาคประชาชนมาดูเรื่องนี้โดยเฉพาะ,เช่นกฎหมายที่ดินมากมายที่นายทุนทั้งในและต่างประเทศใช้กฎหมายบัดสบนั้นย่ำยีอธิปไตยในที่ดินชาติไทยมานานยึดครองแทนประชาชนคนไทยไปเป็นอันมากโดยอาศัยกฎหมายนั้นๆเขียนเอื้ออำนวยสร้างให้พวกมันจะจัดการใหม่ทั้งหมด เมื่อภาคประชาชนยึดอำนาจได้แล้ว สิ้นสุดสถาบันนักการเมือง มาเป็นสถาบันของประชาชนเลยปกครองเอง เขียนกฎหมายที่ดำรงไว้เพื่อประชาชนจริงมิใช่เพื่อคนต่างชาติต่างประเทศเพื่อนายทุนซึ่งส่วนใหญ่คืออีลิทdeep stateต้องการปกครองประชาชนคนไทยผ่านลักษณะภาคการเมืองและภาคกิจการบริษัทการยึดกิจการผูกขาดต่างๆภายในประเทศ ชาวไทยเรากำหนดราคาสินค้าที่เหมาะสมไม่ได้เลย,เช่นสินค้าทุกๆชนิดต้องขึ้นลงตามราคาทองคำเพราะทองคำยังอ้างอิงใช้เป็นหลักค้ำประกันการพิมพ์พันธบัตรได้หรือค้ำประกันตังดิจิดัลของรัฐบาลตนก็ว่า,สามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อทันทีได้,ตลอดเงินเดือนค่าแรงงานคนไทยต้องอ้างอิงราคาทองคำเรียลไทม์ด้วยเช่นกันเพื่อสามารถชนะค่าครองชีพให้ทันความเป็นจริง,ราคาสินค้า100บาทต่อชิ้น,เงินเดือนยัง9,000บาทต่อเดือนมันใข่เหรอ,จาก100บาทเคยซื้อของได้5-6ชิ้นหรือมากกว่า,หรือ15,000บาทต่อเดือนก็ตาม,แต่สถานะค่าดำรงชีพจริงและการใช้จ่ายไทบ้านประชาชนปกติธรรมดายังหาตังหารายได้ได้น้อยกว่าที่เป็นจริง,หรือสูงกว่ารายได้,หรือค่าใช้จ่ายต่างๆทั่วชุมชนส่งคมรอบๆตนแพงสูงขึ้นนั้นเอง,การปกครองหากแก้ต้นเหตุได้จะจบสิ้นทันที,ทุกๆอย่างหากควบคุมที่ต้นเหตุได้จริง คนไทยเราจะใช้ชีวิตไม่ลำบากมาถึงทุกๆวันนี้เพราะสถาบันภาคนักการเมืองเสื่อมสถานะแล้วขาดคุณสมบัติให้บริหารชาติปกครองประเทศอีกต่อไปโดยสิ้นเชิง,อบต.ต้องยุบทั่วประเทศสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน,เรามีข้าราชการมากเกินไปและเป็นระบบอุปถัมภ์เสียมาก,พี่น้องวงศ์ตระกูลทั้งสิ้นเสียมากต่างฝาดต่างให้คะแนนผ่านสอบกัน,หายุติธรรมลำบาก,เป็นไปด้วยการทุจริตใต้โต๊ะโดยมากโดยผู้หลักผู้ใหญ่ภายในองค์กรคัดเลือกนี้เอง,เงินกว่า60-70%ของงบประเทศจะเป็นไปเพื่อค่าสาระพัดต่างๆที่เสียไปแก่คนในระบบราชการนี้,เงินเดือนไม่พอ มีสวัสดิการ ค่าเบี้ยเลี้ยงเบี้ยประชุมสัมมนาอีกไม่รวมโบนัสค่าตำแหน่งค่าน้ำมันรถค่าบ้านค่าไฟเบิกหลวงทางอ้อมได้หมดนอกจากทางตรงแค่ตังเงินเดือน,ส่วนประชาชนกินแกลบเสียค่าปรับค่าธรรมเนียมค่าบำรุงคนของข้าราชการรัฐตรึมภาษีสาระพัดค่าใบอนุญาตจิปาถะ ,พื้นๆไปดูโรงเรียนเลย เก็บค่านั้นนี้กับผู้ปกครองเด็กๆสาระพัด ค่ากิจกรรมต่างๆอีก เรี่ยไรสร้างสาระพัดสิ่งในโรงเรียนอีก,เคสสถานศึกษาดูง่ายที่สุด.
    ..คือประเทศไทยต้องเปลี่ยนแปลงต้องพลิกประเทศจริงๆ,มีบ่อน้ำมันเต็มประเทศบ่อทองคำมากล้นเป็นสายทางแร่ แต่จากการปกครองผ่านมาหลายทศวรรษพิสูจน์แล้วว่าเหี้ยหมด,ตกประเมินก็ได้,ขาดคุณสมบัติก็ด้วย,ล้มเหลวทางการปกครองยิ่งชัด,ดูได้ชัดเจนจากสถาบันภาคการเมืองบริหารปกครองระบบราชการไม่ดี ปล่อยบ่อน้ำมันให้ตกไปแก่เอกชนต่างชาติและเอกชนภายในประเทศที่ถูกครอบงำจากคนไม่ดีไปตกแก่พวกนี้เกือบ100% รัฐบาลเองโดยสถาบันภาคนักการเมืองต้องบริหารอย่างซื่อสัตย์สุจริตใจต่อประชาชนต่อประเทศต่ออธิปไตยตนเองเพราะแน่นอนบ่อน้ำมันนั้นหากเขาได้ไปจะเสียสิทธิ์ทางอธิปไตยพื้นที่สัมปทานไปทันทีคือแปลงที่ดินนั้นเขาได้สิทธิเหนือกฎหมายอธิปไตยชาติไทยทันที,สะดวกต่อกิจกรรมใดๆเอกชนนั้นทันที,กว่าเสียอธิปไตยพรมแดนเขมรอีกที่เป็นเรื่องในตอนนี้,สัมปทานไปกว่า21ครั้งแล้ว เสียพื้นที่บริหารจัดการทางที่ดินไปกี่ล้านไร่แล้วทั่วประเทศ,ชาวบ้านขุดเจอน้ำมันบนที่ดินตนเองปกติสมควรเป็นของส่วนรวมแต่เหี้ยเอกชนนั้นๆมันมายึดครองทันที เช่นแปลงสัมปทานที่มันได้กินพื้นที่อุดร สกล หนองคาย หากชาวบ้านขุดบ่อบาดาลแล้วเจอน้ำมัน พวกมันมายึดไปขุดแทนที่ทันที,นี้คือกฎหมายและสัมปทานขายอธิปไตยความมั่นคงทางพลังงานและอธิปไตยเหนือที่ดินประชาชนชาวไทยเราทันที,ต้องฉีกทิ้งกฎหมายนี้ทั้งหมดทันทีเช่นกัน ,นี้คือหน้าที่ภาคประชาชนคนไทยต้องจบในรุ่นยุคเราให้ได้,มันบัดสบพอแล้ว,อิหร่านมีบ่อน้ำมันมีโรงกลั่นน้ำมันน้อยกว่าไทยเสือกขายน้ำมันภายในประเทศอิหร่านแค่ลิตรละ1-2บาทได้,นั้นแสดงว่าวิถีปกครองเรามีปัญหาและคือตัวถ่วงความอยู่ดีมีสุขของประชาชนคนไทยเราทั้งประเทศจริง,และตัวการใหญ่ที่ทำไมจึงตั้งใจปกครองให้ประชาชนโง่ไม่ให้รู้ความจริงตรงนีัและอัดสถานะเพิ่มบัตรคนจนให้มากๆคงความมั่นคงทางความยากจนความจนให้คนไทยมากๆ.
    ..เราต้องการเห็นภาคประชาชนชนะและยึดอำนาจรัฐบาลจริงจังได้เสียที,ไล่ออกรัฐบาลสมคบคิดต่อศัตรูภัยอธิปไตยชาติไทยตนเองภัยคุกคามแผ่นดินไทยตนเองทันทีแล้วทำให้สุดซอยยึดอำนาจโดยภาคประชาชนเลยเคียงคู่ทหารไทยเราที่ยืนเคียงข้างประชาชนคนไทยตนเองเพราะทหารทุกๆคนก็ประชาชนคนไทยเรานี้ไปเป็นทหารในชื่อว่าทหารแทนชื่ิอว่าประชาชนคนไทยคนหนึ่งเท่านั้น,ประเทศไทยถึงเวลาเปลี่ยนแปลงกันอย่างจริงจังครั่งใหญ่แล้ว,เพราะนี้คือสงครามย่อยบทท้าทายเบื้องต้นแค่นั่น,รัฐบาลที่มาจากภาคประชาชนยึดอำนาจปกครองเองที่มิใช่ทหาร ประเทศทั่วโลกไหนจะเหี้ยประนามเรา,เราสมควรเลิกชุมนุมแล้วให้ทหารรับกรรมว่ายึดอำนาจรัฐประหารเถอะ,เรา..ประชาชนยึดอำนาจเองเลย ทำให้สุดซอยเลย,ไม่มีใครผิดกฎหมายในกระบวนการยึดอำนาจจริงคืนมาจากตัวแทนที่เลวชั่วใช้อำนาจเราไปทางที่ชั่วเลวนั่นเองจนสู่ภัยคุกคามที่ร้ายแรงถึงอธิปไตยชาติไทยตนเองจะปล่อยไว้ทำซากอะไรให้เนินนานขนาดนี้.

    https://youtu.be/MGtFbJDl1lc?si=EXDyGbqUgRSqHBov
    รวมพลังแผ่นดินยึดอำนาจโดยมวลมหาพลังชนคนแผ่นดินไทยเลย,วิจัยสัก10-20ปีว่ารูปแบบบริหารจัดการโดยภาคประชาชนเป็นผู้นำประเทศจะเป็นแบบใด,ดีกว่านักการเมืองบริหารราชการหรือภาคประชาชนบริหารราชการไทยดีกว่า,อนาคตกฎหมายอะไรที่ออกมาแล้วที่ผ่านๆมาจากกฎกระทรวงทบวงกรมเขียนออกเองแล้วเหี้ยๆมากมายสามารถฉีกทิ้งได้เลยด้วยทีมเฉพาะพิเศษของภาคประชาชนมาดูเรื่องนี้โดยเฉพาะ,เช่นกฎหมายที่ดินมากมายที่นายทุนทั้งในและต่างประเทศใช้กฎหมายบัดสบนั้นย่ำยีอธิปไตยในที่ดินชาติไทยมานานยึดครองแทนประชาชนคนไทยไปเป็นอันมากโดยอาศัยกฎหมายนั้นๆเขียนเอื้ออำนวยสร้างให้พวกมันจะจัดการใหม่ทั้งหมด เมื่อภาคประชาชนยึดอำนาจได้แล้ว สิ้นสุดสถาบันนักการเมือง มาเป็นสถาบันของประชาชนเลยปกครองเอง เขียนกฎหมายที่ดำรงไว้เพื่อประชาชนจริงมิใช่เพื่อคนต่างชาติต่างประเทศเพื่อนายทุนซึ่งส่วนใหญ่คืออีลิทdeep stateต้องการปกครองประชาชนคนไทยผ่านลักษณะภาคการเมืองและภาคกิจการบริษัทการยึดกิจการผูกขาดต่างๆภายในประเทศ ชาวไทยเรากำหนดราคาสินค้าที่เหมาะสมไม่ได้เลย,เช่นสินค้าทุกๆชนิดต้องขึ้นลงตามราคาทองคำเพราะทองคำยังอ้างอิงใช้เป็นหลักค้ำประกันการพิมพ์พันธบัตรได้หรือค้ำประกันตังดิจิดัลของรัฐบาลตนก็ว่า,สามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อทันทีได้,ตลอดเงินเดือนค่าแรงงานคนไทยต้องอ้างอิงราคาทองคำเรียลไทม์ด้วยเช่นกันเพื่อสามารถชนะค่าครองชีพให้ทันความเป็นจริง,ราคาสินค้า100บาทต่อชิ้น,เงินเดือนยัง9,000บาทต่อเดือนมันใข่เหรอ,จาก100บาทเคยซื้อของได้5-6ชิ้นหรือมากกว่า,หรือ15,000บาทต่อเดือนก็ตาม,แต่สถานะค่าดำรงชีพจริงและการใช้จ่ายไทบ้านประชาชนปกติธรรมดายังหาตังหารายได้ได้น้อยกว่าที่เป็นจริง,หรือสูงกว่ารายได้,หรือค่าใช้จ่ายต่างๆทั่วชุมชนส่งคมรอบๆตนแพงสูงขึ้นนั้นเอง,การปกครองหากแก้ต้นเหตุได้จะจบสิ้นทันที,ทุกๆอย่างหากควบคุมที่ต้นเหตุได้จริง คนไทยเราจะใช้ชีวิตไม่ลำบากมาถึงทุกๆวันนี้เพราะสถาบันภาคนักการเมืองเสื่อมสถานะแล้วขาดคุณสมบัติให้บริหารชาติปกครองประเทศอีกต่อไปโดยสิ้นเชิง,อบต.ต้องยุบทั่วประเทศสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน,เรามีข้าราชการมากเกินไปและเป็นระบบอุปถัมภ์เสียมาก,พี่น้องวงศ์ตระกูลทั้งสิ้นเสียมากต่างฝาดต่างให้คะแนนผ่านสอบกัน,หายุติธรรมลำบาก,เป็นไปด้วยการทุจริตใต้โต๊ะโดยมากโดยผู้หลักผู้ใหญ่ภายในองค์กรคัดเลือกนี้เอง,เงินกว่า60-70%ของงบประเทศจะเป็นไปเพื่อค่าสาระพัดต่างๆที่เสียไปแก่คนในระบบราชการนี้,เงินเดือนไม่พอ มีสวัสดิการ ค่าเบี้ยเลี้ยงเบี้ยประชุมสัมมนาอีกไม่รวมโบนัสค่าตำแหน่งค่าน้ำมันรถค่าบ้านค่าไฟเบิกหลวงทางอ้อมได้หมดนอกจากทางตรงแค่ตังเงินเดือน,ส่วนประชาชนกินแกลบเสียค่าปรับค่าธรรมเนียมค่าบำรุงคนของข้าราชการรัฐตรึมภาษีสาระพัดค่าใบอนุญาตจิปาถะ ,พื้นๆไปดูโรงเรียนเลย เก็บค่านั้นนี้กับผู้ปกครองเด็กๆสาระพัด ค่ากิจกรรมต่างๆอีก เรี่ยไรสร้างสาระพัดสิ่งในโรงเรียนอีก,เคสสถานศึกษาดูง่ายที่สุด. ..คือประเทศไทยต้องเปลี่ยนแปลงต้องพลิกประเทศจริงๆ,มีบ่อน้ำมันเต็มประเทศบ่อทองคำมากล้นเป็นสายทางแร่ แต่จากการปกครองผ่านมาหลายทศวรรษพิสูจน์แล้วว่าเหี้ยหมด,ตกประเมินก็ได้,ขาดคุณสมบัติก็ด้วย,ล้มเหลวทางการปกครองยิ่งชัด,ดูได้ชัดเจนจากสถาบันภาคการเมืองบริหารปกครองระบบราชการไม่ดี ปล่อยบ่อน้ำมันให้ตกไปแก่เอกชนต่างชาติและเอกชนภายในประเทศที่ถูกครอบงำจากคนไม่ดีไปตกแก่พวกนี้เกือบ100% รัฐบาลเองโดยสถาบันภาคนักการเมืองต้องบริหารอย่างซื่อสัตย์สุจริตใจต่อประชาชนต่อประเทศต่ออธิปไตยตนเองเพราะแน่นอนบ่อน้ำมันนั้นหากเขาได้ไปจะเสียสิทธิ์ทางอธิปไตยพื้นที่สัมปทานไปทันทีคือแปลงที่ดินนั้นเขาได้สิทธิเหนือกฎหมายอธิปไตยชาติไทยทันที,สะดวกต่อกิจกรรมใดๆเอกชนนั้นทันที,กว่าเสียอธิปไตยพรมแดนเขมรอีกที่เป็นเรื่องในตอนนี้,สัมปทานไปกว่า21ครั้งแล้ว เสียพื้นที่บริหารจัดการทางที่ดินไปกี่ล้านไร่แล้วทั่วประเทศ,ชาวบ้านขุดเจอน้ำมันบนที่ดินตนเองปกติสมควรเป็นของส่วนรวมแต่เหี้ยเอกชนนั้นๆมันมายึดครองทันที เช่นแปลงสัมปทานที่มันได้กินพื้นที่อุดร สกล หนองคาย หากชาวบ้านขุดบ่อบาดาลแล้วเจอน้ำมัน พวกมันมายึดไปขุดแทนที่ทันที,นี้คือกฎหมายและสัมปทานขายอธิปไตยความมั่นคงทางพลังงานและอธิปไตยเหนือที่ดินประชาชนชาวไทยเราทันที,ต้องฉีกทิ้งกฎหมายนี้ทั้งหมดทันทีเช่นกัน ,นี้คือหน้าที่ภาคประชาชนคนไทยต้องจบในรุ่นยุคเราให้ได้,มันบัดสบพอแล้ว,อิหร่านมีบ่อน้ำมันมีโรงกลั่นน้ำมันน้อยกว่าไทยเสือกขายน้ำมันภายในประเทศอิหร่านแค่ลิตรละ1-2บาทได้,นั้นแสดงว่าวิถีปกครองเรามีปัญหาและคือตัวถ่วงความอยู่ดีมีสุขของประชาชนคนไทยเราทั้งประเทศจริง,และตัวการใหญ่ที่ทำไมจึงตั้งใจปกครองให้ประชาชนโง่ไม่ให้รู้ความจริงตรงนีัและอัดสถานะเพิ่มบัตรคนจนให้มากๆคงความมั่นคงทางความยากจนความจนให้คนไทยมากๆ. ..เราต้องการเห็นภาคประชาชนชนะและยึดอำนาจรัฐบาลจริงจังได้เสียที,ไล่ออกรัฐบาลสมคบคิดต่อศัตรูภัยอธิปไตยชาติไทยตนเองภัยคุกคามแผ่นดินไทยตนเองทันทีแล้วทำให้สุดซอยยึดอำนาจโดยภาคประชาชนเลยเคียงคู่ทหารไทยเราที่ยืนเคียงข้างประชาชนคนไทยตนเองเพราะทหารทุกๆคนก็ประชาชนคนไทยเรานี้ไปเป็นทหารในชื่อว่าทหารแทนชื่ิอว่าประชาชนคนไทยคนหนึ่งเท่านั้น,ประเทศไทยถึงเวลาเปลี่ยนแปลงกันอย่างจริงจังครั่งใหญ่แล้ว,เพราะนี้คือสงครามย่อยบทท้าทายเบื้องต้นแค่นั่น,รัฐบาลที่มาจากภาคประชาชนยึดอำนาจปกครองเองที่มิใช่ทหาร ประเทศทั่วโลกไหนจะเหี้ยประนามเรา,เราสมควรเลิกชุมนุมแล้วให้ทหารรับกรรมว่ายึดอำนาจรัฐประหารเถอะ,เรา..ประชาชนยึดอำนาจเองเลย ทำให้สุดซอยเลย,ไม่มีใครผิดกฎหมายในกระบวนการยึดอำนาจจริงคืนมาจากตัวแทนที่เลวชั่วใช้อำนาจเราไปทางที่ชั่วเลวนั่นเองจนสู่ภัยคุกคามที่ร้ายแรงถึงอธิปไตยชาติไทยตนเองจะปล่อยไว้ทำซากอะไรให้เนินนานขนาดนี้. https://youtu.be/MGtFbJDl1lc?si=EXDyGbqUgRSqHBov
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 262 มุมมอง 0 รีวิว
  • 12 พฤษภาคม 2568- รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์สำคัญเรื่อง การเลือกตั้งเทศบาลในปี 2568 สะท้อนให้เห็นถึงพลวัตของการเมืองท้องถิ่นในประเทศไทยที่ยังคงมีลักษณะผสมผสานระหว่างความต่อเนื่องของโครงสร้างอำนาจเดิมและสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มปรากฏในบางพื้นที่ จากข้อมูลสามารถวิเคราะห์เบื้องต้นได้ดังนี้

    ภาพรวมพฤติกรรมการเลือกตั้ง

    1 ความต่อเนื่องของระบบอุปถัมภ์และบ้านใหญ่

    พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนส่วนใหญ่ยังคงยึดโยงกับนักการเมืองท้องถิ่นที่มีอิทธิพล หรือ “บ้านใหญ่” ซึ่งใช้อำนาจผ่านระบบอุปถัมภ์ (patronage system) และการซื้อเสียงเพื่อรักษาฐานอำนาจ

    ผลการเลือกตั้งแสดงให้เห็นว่า “แชมป์เก่า” หรือผู้ดำรงตำแหน่งเดิมส่วนใหญ่ยังคงรักษาเก้าอี้ได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีตระกูลการเมืองครอบงำมายาวนาน

    การซื้อเสียงยังคงเป็นประเด็นสำคัญ โดยมีการร้องเรียนและหลักฐานที่ปรากฏในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีรายงานการจ่ายเงินหัวละ 3,000 บาท การซื้อเสียงนี้ถูกมองว่าเป็น “ความปกติ” ในบริบทการเลือกตั้งท้องถิ่นไทย

    2 สัญญาณการเปลี่ยนแปลง

    แม้ระบบบ้านใหญ่จะยังครองอำนาจ แต่บางพื้นที่เริ่มแสดงถึงความต้องการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่สนับสนุนพรรคประชาชน (เดิมคือพรรคก้าวไกล) ซึ่งมีฐานจากคนรุ่นใหม่และผู้ที่ไม่พอใจกับการเมืองแบบเดิม

    พรรคประชาชนได้รับชัยชนะในเทศบาลเมือง 5 แห่ง และเทศบาลตำบล 9 แห่ง จากทั้งหมด 95 แห่งที่ส่งผู้สมัคร คิดเป็นประมาณ 15% ของพื้นที่ที่ลงแข่ง

    ชัยชนะของพรรคประชาชนในบางพื้นที่ เช่น สมุทรปราการ สะท้อนถึงฐานสนับสนุนที่แข็งแกร่ง ซึ่งสอดคล้องกับผลการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2566 ที่พรรคนี้มีคะแนนนิยมสูง

    3 ความท้าทายของพรรคประชาชน

    ผลการเลือกตั้งที่ได้เพียง 15% จากพื้นที่ที่ลงสมัคร แสดงว่าพรรคประชาชนยังเผชิญความท้าทายในการเจาะฐานคะแนนในพื้นที่ที่มีระบบอุปถัมภ์ฝังรากลึก

    การเลือกตั้งท้องถิ่นเน้นที่ตัวบุคคลและความสัมพันธ์ในชุมชนมากกว่านโยบายระดับชาติ ซึ่งพรรคประชาชนอาจต้องใช้เวลาในการสร้างความยึดโยงกับชุมชนให้มากขึ้น

    4 ข้อสังเกตและแนวโน้มในอนาคต
    พฤติกรรมการเลือกตั้งแบบคู่ขนาน: ประชาชนบางส่วนแยกการตัดสินใจระหว่างการเลือกตั้งระดับชาติ (เน้นพรรคและนโยบาย) และระดับท้องถิ่น (เน้นตัวบุคคลและผลงาน) ส่งผลให้พรรคที่แข็งแกร่งในระดับชาติ เช่น พรรคประชาชน อาจไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในระดับท้องถิ่น

    สัญญาณการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มต้น: การที่พรรคประชาชนได้รับชัยชนะใน 14 เทศบาลจาก 95 แห่งที่ลงสมัคร แม้จะไม่ถึงเป้าหมาย แต่ก็แสดงถึงการเริ่มต้นของการท้าทายอำนาจเดิม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีฐานสนับสนุนจากคนรุ่นใหม่และผู้ที่ต่อต้านการเมืองบ้านใหญ่

    การซื้อเสียง: การซื้อเสียงยังคงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นที่โปร่งใส การร้องเรียนในพื้นที่อย่างกาฬสินธุ์และสงขลา บ่งชี้ถึงความจำเป็นในการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดขึ้น

    5 สรุป
    การเลือกตั้งเทศบาล 2568 แสดงให้เห็นถึงความทนทานของโครงสร้างอำนาจแบบบ้านใหญ่และระบบอุปถัมภ์ที่ยังครองการเมืองท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม สัญญาณของการเปลี่ยนแปลงเริ่มปรากฏผ่านชัยชนะของพรรคประชาชนในบางพื้นที่ ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการของผู้มีสิทธิเลือกตั้งบางกลุ่มที่มองหาทางเลือกใหม่ การเปลี่ยนแปลงนี้อาจต้องใช้เวลาและการทำงานในระดับชุมชนที่เข้มข้นขึ้นเพื่อทลายโครงสร้างอำนาจเดิม ในอนาคต การเลือกตั้งท้องถิ่นจะยังคงเป็นเวทีสำคัญที่สะท้อนพลวัตระหว่างความเก่ากับความใหม่ของการเมืองไทย
    12 พฤษภาคม 2568- รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์สำคัญเรื่อง การเลือกตั้งเทศบาลในปี 2568 สะท้อนให้เห็นถึงพลวัตของการเมืองท้องถิ่นในประเทศไทยที่ยังคงมีลักษณะผสมผสานระหว่างความต่อเนื่องของโครงสร้างอำนาจเดิมและสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มปรากฏในบางพื้นที่ จากข้อมูลสามารถวิเคราะห์เบื้องต้นได้ดังนี้ ภาพรวมพฤติกรรมการเลือกตั้ง 1 ความต่อเนื่องของระบบอุปถัมภ์และบ้านใหญ่ พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนส่วนใหญ่ยังคงยึดโยงกับนักการเมืองท้องถิ่นที่มีอิทธิพล หรือ “บ้านใหญ่” ซึ่งใช้อำนาจผ่านระบบอุปถัมภ์ (patronage system) และการซื้อเสียงเพื่อรักษาฐานอำนาจ ผลการเลือกตั้งแสดงให้เห็นว่า “แชมป์เก่า” หรือผู้ดำรงตำแหน่งเดิมส่วนใหญ่ยังคงรักษาเก้าอี้ได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีตระกูลการเมืองครอบงำมายาวนาน การซื้อเสียงยังคงเป็นประเด็นสำคัญ โดยมีการร้องเรียนและหลักฐานที่ปรากฏในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีรายงานการจ่ายเงินหัวละ 3,000 บาท การซื้อเสียงนี้ถูกมองว่าเป็น “ความปกติ” ในบริบทการเลือกตั้งท้องถิ่นไทย 2 สัญญาณการเปลี่ยนแปลง แม้ระบบบ้านใหญ่จะยังครองอำนาจ แต่บางพื้นที่เริ่มแสดงถึงความต้องการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่สนับสนุนพรรคประชาชน (เดิมคือพรรคก้าวไกล) ซึ่งมีฐานจากคนรุ่นใหม่และผู้ที่ไม่พอใจกับการเมืองแบบเดิม พรรคประชาชนได้รับชัยชนะในเทศบาลเมือง 5 แห่ง และเทศบาลตำบล 9 แห่ง จากทั้งหมด 95 แห่งที่ส่งผู้สมัคร คิดเป็นประมาณ 15% ของพื้นที่ที่ลงแข่ง ชัยชนะของพรรคประชาชนในบางพื้นที่ เช่น สมุทรปราการ สะท้อนถึงฐานสนับสนุนที่แข็งแกร่ง ซึ่งสอดคล้องกับผลการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2566 ที่พรรคนี้มีคะแนนนิยมสูง 3 ความท้าทายของพรรคประชาชน ผลการเลือกตั้งที่ได้เพียง 15% จากพื้นที่ที่ลงสมัคร แสดงว่าพรรคประชาชนยังเผชิญความท้าทายในการเจาะฐานคะแนนในพื้นที่ที่มีระบบอุปถัมภ์ฝังรากลึก การเลือกตั้งท้องถิ่นเน้นที่ตัวบุคคลและความสัมพันธ์ในชุมชนมากกว่านโยบายระดับชาติ ซึ่งพรรคประชาชนอาจต้องใช้เวลาในการสร้างความยึดโยงกับชุมชนให้มากขึ้น 4 ข้อสังเกตและแนวโน้มในอนาคต พฤติกรรมการเลือกตั้งแบบคู่ขนาน: ประชาชนบางส่วนแยกการตัดสินใจระหว่างการเลือกตั้งระดับชาติ (เน้นพรรคและนโยบาย) และระดับท้องถิ่น (เน้นตัวบุคคลและผลงาน) ส่งผลให้พรรคที่แข็งแกร่งในระดับชาติ เช่น พรรคประชาชน อาจไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในระดับท้องถิ่น สัญญาณการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มต้น: การที่พรรคประชาชนได้รับชัยชนะใน 14 เทศบาลจาก 95 แห่งที่ลงสมัคร แม้จะไม่ถึงเป้าหมาย แต่ก็แสดงถึงการเริ่มต้นของการท้าทายอำนาจเดิม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีฐานสนับสนุนจากคนรุ่นใหม่และผู้ที่ต่อต้านการเมืองบ้านใหญ่ การซื้อเสียง: การซื้อเสียงยังคงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นที่โปร่งใส การร้องเรียนในพื้นที่อย่างกาฬสินธุ์และสงขลา บ่งชี้ถึงความจำเป็นในการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดขึ้น 5 สรุป การเลือกตั้งเทศบาล 2568 แสดงให้เห็นถึงความทนทานของโครงสร้างอำนาจแบบบ้านใหญ่และระบบอุปถัมภ์ที่ยังครองการเมืองท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม สัญญาณของการเปลี่ยนแปลงเริ่มปรากฏผ่านชัยชนะของพรรคประชาชนในบางพื้นที่ ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการของผู้มีสิทธิเลือกตั้งบางกลุ่มที่มองหาทางเลือกใหม่ การเปลี่ยนแปลงนี้อาจต้องใช้เวลาและการทำงานในระดับชุมชนที่เข้มข้นขึ้นเพื่อทลายโครงสร้างอำนาจเดิม ในอนาคต การเลือกตั้งท้องถิ่นจะยังคงเป็นเวทีสำคัญที่สะท้อนพลวัตระหว่างความเก่ากับความใหม่ของการเมืองไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 523 มุมมอง 0 รีวิว
  • รีโพสต์บทความของ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ “คานงัดประเทศไทยหลายประเทศมีการผลักดัน “การปฏิรูปเชิงโครงสร้าง” อย่างจริงจังและต่อเนื่อง จนสามารถพลิกฟื้นตัวเองจากรัฐที่ตามหลัง (Following State) สู่รัฐที่ล้ำหน้า (Forefront State) อย่างจีน สิงค์โปร์ หรือ เกาหลีใต้ ผิดกับประเทศไทย ที่ปัจจุบันยังเป็นเพียงรัฐที่ตามหลัง และกำลังมีแนวโน้มถดถอยไปสู่รัฐที่กำลังล้มเหลว (Falling State)ที่ผ่านมา ประเทศไทยนั้นมีการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง (Great Reform) เพียงครั้งเดียว คือในสมัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 แต่เงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลงในสมัยนั้นกับในยุคปัจจุบันมีความแตกต่างกัน ทั้งเงื่อนไขที่มาจากปัจจัยภายในและภายนอก ในสมัยล้นเกล้าฯ รัชการที่ 5 น้ำหนักจะอยู่ที่การพัฒนาเพื่อไปสู่ความทันสมัย เพื่อที่จะแสดงให้ประชาคมโลกตระหนักว่าประเทศของเรานั้นไม่ได้ล้าหลัง เนื่องจากต้องเผชิญกับการล่าอาณานิคม ประเด็นท้าทายในยุคปัจจุบัน คือจะมุ่งการพัฒนาเพื่อไปสู่ความยั่งยืน ความเท่าเทียมในสังคม และความเท่าทันเทคโนโลยี ได้อย่างไร~แรงเฉื่อยต่อการเปลี่ยนแปลงหลังกระแสการล่าอาณานิคมผ่านพ้นไป ประเทศไทยไม่เคยต้องเผชิญกับแรงกดดันอย่างรุนแรง เราเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 1 แล 2 น้อยมาก ดังนั้น ระบบและโครงสร้างเก่า แนวคิดและจารีตนิยมจึงไม่ได้ถูกทำลาย ทำให้อิทธิพลของระบบอุปถัมภ์ อำนาจนิยม และอภิสิทธิชนยังคงอยู่ ระบบคุณค่าดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อการพลิกโฉมประเทศไปสู่สังคมสมัยใหม่ ที่เน้นความเป็นระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ ตระหนักในหน้าที่พลเมือง มีจิตอาสา กล้าที่จะเสนอความเห็น มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และความเสมอภาคระบบอุปถัมภ์ อำนาจนิยม และอภิสิทธิชน ยังได้หล่อหลอมคนไทยให้เป็น “ปัจเจกบุคคลที่ไร้บรรทัดฐานและคุณค่าร่วมในสังคม” (Anomic Individualism) สะท้อนผ่านพฤติกรรมตัวใครตัวมัน ไม่ชอบถูกบังคับ ไร้ระเบียบวินัย และขาดความรับผิดชอบ ผลข้างเคียงที่ตามมา คือคนไทยโดยส่วนใหญ่จะเรียกร้องสิทธิมากกว่าหน้าที่ เน้นถูกใจมากกว่าถูกต้อง เน้นมองเพื่อตัวเองมากกว่ามองเพื่อส่วนรวม เน้นชิงสุกก่อนห่ามมากกว่าอดเปรี้ยวไว้กินหวาน เน้นรูปแบบมากกว่าสาระ เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ เน้นมูลค่ามากกว่าคุณค่า และเน้นคอนเนคชั่นมากกว่าเนื้องานความไร้บรรทัดฐานและคุณค่าร่วมในสังคม ทำให้คนไทยโดยส่วนใหญ่มักตัดสินใจเลือกเส้นทางหรือวิธีการที่ “มักง่าย” ทำให้เรื่องที่ “ผิดปกติ” กลายเป็นเรื่อง “ไม่ผิดปกติ” และกระทำลงไปโดยปราศจาก “ความรู้สึกผิด” อาทิ นักการเมืองโกงกินไม่เป็นไร ขอเพียงให้มีผลงานบ้าง การทำปฏิวัติรัฐประหาร การใช้กำลังยุติความขัดแย้ง เชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ ไสยศาสตร์ และความมหัศจรรย์ ไม่รักษาเวลา ขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ ทิ้งงานโดยไม่มีเหตุผล เป็นต้น ~ค้นหาจุดคานงัด ทลายวงจรอุบาทว์หากพวกเราไม่คิดแก้ไขปรับเปลี่ยนค่านิยมและพฤติกรรมเหล่านี้ ก็ยากที่ประเทศไทยจะยืนเคียงบ่าเคียงไหล่ประเทศอื่น ๆ ในประชาคมโลกในศตวรรษที่ 21 นี้ได้ในการทลายวงจรอุบาทว์เชิงซ้อน จุดคานงัดของการเปลี่ยนแปลง (Leveraging Point) อาจจะอยู่ทึ่ “การปฏิรูประบบคุณค่า” (Value System Reform) ครั้งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในค่านิยม 2 ชุดหลักด้วยกัน คือชุดที่ 1: อุปถัมภ์นิยม อำนาจนิยม และอภิสิทธินิยมชุดที่ 2: บริโภคนิยม วัตถุนิยม และสุขนิยมบริโภคนิยม วัตถุนิยม และสุขนิยม เป็นด้านลบของระบอบทุนนิยม แต่ในด้านบวกของระบอบทุนนิยม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแข่งขันอย่างเสรี การยึดธรรมาภิบาล กฎกติกา กลับไม่ได้ถูกสังคมไทยนำมาใช้อย่างเต็มที่ เพราะถูกอิทธิพลของระบบอุปถัมภ์ อำนาจนิยม และอภิสิทธินิยมเข้าบดบังระบบคุณค่าทั้ง 2 ชุด ยังคงแทรกซึมลึกอยู่ในเกือบทุกอณูของสังคมไทย เป็น Counter-Productive Value ที่นอกจากจะไม่สอดรับกับรูปแบบการพัฒนาและโครงสร้างเศรษฐกิจสังคมในโลกปัจจุบัน ยังเป็นอุปสรรคตัวสำคัญที่สุดของการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า ระบบคุณค่าทั้งสองชุดได้ทำให้ธรรมาภิบาล โครงสร้าง ตลอดจนพฤติกรรมของผู้คนในสังคม เกิดการบิดเบี้ยวเชิงระบบ ไม่ว่าจะเป็น• การบิดเบี้ยวเชิงการเมือง ที่ก่อให้เกิดการเมืองที่มีผู้มีอิทธิพลครอบงำ และก่อให้เกิดระบอบธนาธิปไตย และระบอบอมาตยาธิปไตย แทนที่จะเป็นระบอบประชาธิปไตย • การบิดเบี้ยวเชิงบริหารราชการแผ่นดิน ที่การบริหารจัดการภาครัฐถูกแทรกแซง บิดเบือน ไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและระบบคุณธรรม • การบิดเบี้ยวเชิงสังคม ที่ก่อให้เกิด Contra-Individuals มากกว่า Collective Individuals รวมถึงเกิดความกระชับแน่นของคนในกลุ่มเดียวกัน (Bonding) เพิ่มขึ้น ในขณะที่ความสัมพันธ์ของคนต่างกลุ่ม (Bridging) ลดลง เกิดเป็น “สังคมของพวกกู” มากกว่า “สังคมของพวกเรา”• ความบิดเบี้ยวเชิงเศรษฐกิจ ที่ก่อให้เกิดระบบทุนนิยมแบบพวกพ้อง (Crony Capitalism) นำมาสู่ระบบเศรษฐกิจปรสิต (Parasite Economy) และสังคมพึ่งพิงประชานิยม (Dependent Society) • ความบิดเบี้ยวของผู้นำ ที่ก่อให้เกิดการขาดแคลนผู้นำที่เป็นต้นแบบที่ดี มีแต่ผู้นำที่คิดอย่าง พูดอย่าง ทำอย่างอยู่มากมาย เกิดผู้นำที่ใส่ใจในวาระซ่อนเร้นของตน มากกว่า วาระของชาติ• ความบิดเบี้ยวเชิงสถาบัน ที่สถาบันต่าง ๆ ไม่ได้ทำหน้าที่ตามภารกิจอย่างเป็นอิสระ อย่างที่สังคมคาดหวังที่สำคัญ ระบบอุปถัมภ์ อำนาจนิยม และอภิสิทธิชน ยังก่อให้เกิดความย้อนแย้งระหว่างอำนาจที่แท้จริงและอำนาจทางการ หรือที่เรียกว่า “Power Paradox” กล่าวคือ การที่เรายังมองประชาชนเป็นผู้ถูกปกครอง โดยมีผู้ปกครองคือรัฐ ทั้งที่จริง ๆ แล้วรัฐต้องเป็นผู้รับใช้ประชาชน เป็นความย้อนแย้งระหว่างพฤตินัยและนิตินัยดังนั้น หากปราศจากการปรับเปลี่ยนระบบคุณค่า เพื่อทำให้เกิดความสอดคล้องกับธรรมาภิบาลและโครงสร้างส่วนอื่นๆของสังคม วาระการปฎิรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปการเมือง ปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูประบบเศรษฐกิจ จะไม่มีทางตอบโจทย์ประเด็นปัญหาฐานรากที่เกิดขึ้นในสังคมไทย~ประชาธิปไตยเทียม ทุนนิยมพวกพ้อง ระบบเศรษฐกิจปรสิต และสังคมพึ่งพิงรัฐระบบคุณค่าทั้ง 2 ชุด: อุปถัมภ์นิยม อำนาจนิยม และอภิสิทธินิยม; บริโภคนิยม วัตถุนิยม และสุขนิยม เป็นปฐมบทของการเกิดโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองแบบ Extractive Political Economy ที่มีผู้คนเพียงบางกลุ่ม ได้ประโยชน์จากอำนาจการปกครองและอำนาจทางเศรษฐกิจ โดยความพยายามที่จะกีดกั้น เอารัดเอาเปรียบ และทำให้เกิดการกระจุกตัวของอำนาจและความมั่งคั่ง และนำพาสู่การอุบัติขึ้นของ ประชาธิปไตยเทียม ทุนนิยมพวกพ้อง ระบบเศรษฐกิจปรสิต และสังคมพึ่งพิงรัฐ ในที่สุดโครงสร้าง Extractive Political Economy ได้นำพาประเทศไทยสู่ “ทศวรรษแห่งความสูญเปล่า” เกิดสังคมที่ไม่ Clean & Clear ไม่ Free & Fair และไม่ Care & Share สังคมดังกล่าวนำมาซึ่งความเสื่อมถอยของทุนทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นทุนมนุษย์ที่อ่อนแอ ทุนเศรษฐกิจที่อ่อนด้อย ทุนสังคมที่เปราะบาง ทุนคุณธรรมจริยธรรมที่เสื่อมทราม และทุนทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมถึงเวลาปฎิรูประบบคุณค่า เพื่อใช้เป็นจุดคานงัดในการก้าวพ้นกับดัก และปรับเปลี่ยนไทยสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วในโลกที่หนึ่ง”
    รีโพสต์บทความของ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ “คานงัดประเทศไทยหลายประเทศมีการผลักดัน “การปฏิรูปเชิงโครงสร้าง” อย่างจริงจังและต่อเนื่อง จนสามารถพลิกฟื้นตัวเองจากรัฐที่ตามหลัง (Following State) สู่รัฐที่ล้ำหน้า (Forefront State) อย่างจีน สิงค์โปร์ หรือ เกาหลีใต้ ผิดกับประเทศไทย ที่ปัจจุบันยังเป็นเพียงรัฐที่ตามหลัง และกำลังมีแนวโน้มถดถอยไปสู่รัฐที่กำลังล้มเหลว (Falling State)ที่ผ่านมา ประเทศไทยนั้นมีการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง (Great Reform) เพียงครั้งเดียว คือในสมัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 แต่เงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลงในสมัยนั้นกับในยุคปัจจุบันมีความแตกต่างกัน ทั้งเงื่อนไขที่มาจากปัจจัยภายในและภายนอก ในสมัยล้นเกล้าฯ รัชการที่ 5 น้ำหนักจะอยู่ที่การพัฒนาเพื่อไปสู่ความทันสมัย เพื่อที่จะแสดงให้ประชาคมโลกตระหนักว่าประเทศของเรานั้นไม่ได้ล้าหลัง เนื่องจากต้องเผชิญกับการล่าอาณานิคม ประเด็นท้าทายในยุคปัจจุบัน คือจะมุ่งการพัฒนาเพื่อไปสู่ความยั่งยืน ความเท่าเทียมในสังคม และความเท่าทันเทคโนโลยี ได้อย่างไร~แรงเฉื่อยต่อการเปลี่ยนแปลงหลังกระแสการล่าอาณานิคมผ่านพ้นไป ประเทศไทยไม่เคยต้องเผชิญกับแรงกดดันอย่างรุนแรง เราเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 1 แล 2 น้อยมาก ดังนั้น ระบบและโครงสร้างเก่า แนวคิดและจารีตนิยมจึงไม่ได้ถูกทำลาย ทำให้อิทธิพลของระบบอุปถัมภ์ อำนาจนิยม และอภิสิทธิชนยังคงอยู่ ระบบคุณค่าดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อการพลิกโฉมประเทศไปสู่สังคมสมัยใหม่ ที่เน้นความเป็นระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ ตระหนักในหน้าที่พลเมือง มีจิตอาสา กล้าที่จะเสนอความเห็น มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และความเสมอภาคระบบอุปถัมภ์ อำนาจนิยม และอภิสิทธิชน ยังได้หล่อหลอมคนไทยให้เป็น “ปัจเจกบุคคลที่ไร้บรรทัดฐานและคุณค่าร่วมในสังคม” (Anomic Individualism) สะท้อนผ่านพฤติกรรมตัวใครตัวมัน ไม่ชอบถูกบังคับ ไร้ระเบียบวินัย และขาดความรับผิดชอบ ผลข้างเคียงที่ตามมา คือคนไทยโดยส่วนใหญ่จะเรียกร้องสิทธิมากกว่าหน้าที่ เน้นถูกใจมากกว่าถูกต้อง เน้นมองเพื่อตัวเองมากกว่ามองเพื่อส่วนรวม เน้นชิงสุกก่อนห่ามมากกว่าอดเปรี้ยวไว้กินหวาน เน้นรูปแบบมากกว่าสาระ เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ เน้นมูลค่ามากกว่าคุณค่า และเน้นคอนเนคชั่นมากกว่าเนื้องานความไร้บรรทัดฐานและคุณค่าร่วมในสังคม ทำให้คนไทยโดยส่วนใหญ่มักตัดสินใจเลือกเส้นทางหรือวิธีการที่ “มักง่าย” ทำให้เรื่องที่ “ผิดปกติ” กลายเป็นเรื่อง “ไม่ผิดปกติ” และกระทำลงไปโดยปราศจาก “ความรู้สึกผิด” อาทิ นักการเมืองโกงกินไม่เป็นไร ขอเพียงให้มีผลงานบ้าง การทำปฏิวัติรัฐประหาร การใช้กำลังยุติความขัดแย้ง เชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ ไสยศาสตร์ และความมหัศจรรย์ ไม่รักษาเวลา ขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ ทิ้งงานโดยไม่มีเหตุผล เป็นต้น ~ค้นหาจุดคานงัด ทลายวงจรอุบาทว์หากพวกเราไม่คิดแก้ไขปรับเปลี่ยนค่านิยมและพฤติกรรมเหล่านี้ ก็ยากที่ประเทศไทยจะยืนเคียงบ่าเคียงไหล่ประเทศอื่น ๆ ในประชาคมโลกในศตวรรษที่ 21 นี้ได้ในการทลายวงจรอุบาทว์เชิงซ้อน จุดคานงัดของการเปลี่ยนแปลง (Leveraging Point) อาจจะอยู่ทึ่ “การปฏิรูประบบคุณค่า” (Value System Reform) ครั้งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในค่านิยม 2 ชุดหลักด้วยกัน คือชุดที่ 1: อุปถัมภ์นิยม อำนาจนิยม และอภิสิทธินิยมชุดที่ 2: บริโภคนิยม วัตถุนิยม และสุขนิยมบริโภคนิยม วัตถุนิยม และสุขนิยม เป็นด้านลบของระบอบทุนนิยม แต่ในด้านบวกของระบอบทุนนิยม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแข่งขันอย่างเสรี การยึดธรรมาภิบาล กฎกติกา กลับไม่ได้ถูกสังคมไทยนำมาใช้อย่างเต็มที่ เพราะถูกอิทธิพลของระบบอุปถัมภ์ อำนาจนิยม และอภิสิทธินิยมเข้าบดบังระบบคุณค่าทั้ง 2 ชุด ยังคงแทรกซึมลึกอยู่ในเกือบทุกอณูของสังคมไทย เป็น Counter-Productive Value ที่นอกจากจะไม่สอดรับกับรูปแบบการพัฒนาและโครงสร้างเศรษฐกิจสังคมในโลกปัจจุบัน ยังเป็นอุปสรรคตัวสำคัญที่สุดของการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า ระบบคุณค่าทั้งสองชุดได้ทำให้ธรรมาภิบาล โครงสร้าง ตลอดจนพฤติกรรมของผู้คนในสังคม เกิดการบิดเบี้ยวเชิงระบบ ไม่ว่าจะเป็น• การบิดเบี้ยวเชิงการเมือง ที่ก่อให้เกิดการเมืองที่มีผู้มีอิทธิพลครอบงำ และก่อให้เกิดระบอบธนาธิปไตย และระบอบอมาตยาธิปไตย แทนที่จะเป็นระบอบประชาธิปไตย • การบิดเบี้ยวเชิงบริหารราชการแผ่นดิน ที่การบริหารจัดการภาครัฐถูกแทรกแซง บิดเบือน ไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและระบบคุณธรรม • การบิดเบี้ยวเชิงสังคม ที่ก่อให้เกิด Contra-Individuals มากกว่า Collective Individuals รวมถึงเกิดความกระชับแน่นของคนในกลุ่มเดียวกัน (Bonding) เพิ่มขึ้น ในขณะที่ความสัมพันธ์ของคนต่างกลุ่ม (Bridging) ลดลง เกิดเป็น “สังคมของพวกกู” มากกว่า “สังคมของพวกเรา”• ความบิดเบี้ยวเชิงเศรษฐกิจ ที่ก่อให้เกิดระบบทุนนิยมแบบพวกพ้อง (Crony Capitalism) นำมาสู่ระบบเศรษฐกิจปรสิต (Parasite Economy) และสังคมพึ่งพิงประชานิยม (Dependent Society) • ความบิดเบี้ยวของผู้นำ ที่ก่อให้เกิดการขาดแคลนผู้นำที่เป็นต้นแบบที่ดี มีแต่ผู้นำที่คิดอย่าง พูดอย่าง ทำอย่างอยู่มากมาย เกิดผู้นำที่ใส่ใจในวาระซ่อนเร้นของตน มากกว่า วาระของชาติ• ความบิดเบี้ยวเชิงสถาบัน ที่สถาบันต่าง ๆ ไม่ได้ทำหน้าที่ตามภารกิจอย่างเป็นอิสระ อย่างที่สังคมคาดหวังที่สำคัญ ระบบอุปถัมภ์ อำนาจนิยม และอภิสิทธิชน ยังก่อให้เกิดความย้อนแย้งระหว่างอำนาจที่แท้จริงและอำนาจทางการ หรือที่เรียกว่า “Power Paradox” กล่าวคือ การที่เรายังมองประชาชนเป็นผู้ถูกปกครอง โดยมีผู้ปกครองคือรัฐ ทั้งที่จริง ๆ แล้วรัฐต้องเป็นผู้รับใช้ประชาชน เป็นความย้อนแย้งระหว่างพฤตินัยและนิตินัยดังนั้น หากปราศจากการปรับเปลี่ยนระบบคุณค่า เพื่อทำให้เกิดความสอดคล้องกับธรรมาภิบาลและโครงสร้างส่วนอื่นๆของสังคม วาระการปฎิรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปการเมือง ปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูประบบเศรษฐกิจ จะไม่มีทางตอบโจทย์ประเด็นปัญหาฐานรากที่เกิดขึ้นในสังคมไทย~ประชาธิปไตยเทียม ทุนนิยมพวกพ้อง ระบบเศรษฐกิจปรสิต และสังคมพึ่งพิงรัฐระบบคุณค่าทั้ง 2 ชุด: อุปถัมภ์นิยม อำนาจนิยม และอภิสิทธินิยม; บริโภคนิยม วัตถุนิยม และสุขนิยม เป็นปฐมบทของการเกิดโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองแบบ Extractive Political Economy ที่มีผู้คนเพียงบางกลุ่ม ได้ประโยชน์จากอำนาจการปกครองและอำนาจทางเศรษฐกิจ โดยความพยายามที่จะกีดกั้น เอารัดเอาเปรียบ และทำให้เกิดการกระจุกตัวของอำนาจและความมั่งคั่ง และนำพาสู่การอุบัติขึ้นของ ประชาธิปไตยเทียม ทุนนิยมพวกพ้อง ระบบเศรษฐกิจปรสิต และสังคมพึ่งพิงรัฐ ในที่สุดโครงสร้าง Extractive Political Economy ได้นำพาประเทศไทยสู่ “ทศวรรษแห่งความสูญเปล่า” เกิดสังคมที่ไม่ Clean & Clear ไม่ Free & Fair และไม่ Care & Share สังคมดังกล่าวนำมาซึ่งความเสื่อมถอยของทุนทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นทุนมนุษย์ที่อ่อนแอ ทุนเศรษฐกิจที่อ่อนด้อย ทุนสังคมที่เปราะบาง ทุนคุณธรรมจริยธรรมที่เสื่อมทราม และทุนทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมถึงเวลาปฎิรูประบบคุณค่า เพื่อใช้เป็นจุดคานงัดในการก้าวพ้นกับดัก และปรับเปลี่ยนไทยสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วในโลกที่หนึ่ง”
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 981 มุมมอง 0 รีวิว
  • การเมืองไทยมีความซับซ้อนและมีปัญหาหลายด้านที่ต้องแก้ไขเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ปัญหาหลักๆ และแนวทางการแก้ไขอาจรวมถึง以下几个方面:

    ### 1. **ปัญหาความแตกแยกและความขัดแย้งทางการเมือง**
    - **สาเหตุ**: ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองต่าง ๆ เช่น คณะรัฐประหาร ประชาชน และพรรคการเมือง
    - **แนวทางแก้ไข**:
    - ส่งเสริม **การเจรจาและปรองดอง** ระหว่างกลุ่มการเมืองที่ขัดแย้งกัน
    - ลดการใช้อำนาจรัฐเพื่อปราบปรามฝ่ายตรงข้าม
    - สร้างกลไกแก้ไขความขัดแย้งที่เป็นกลาง เช่น คณะกรรมการอิสระ

    ### 2. **ระบบเลือกตั้งที่ไม่สมบูรณ์**
    - **สาเหตุ**: ระบบเลือกตั้งอาจไม่สะท้อนเสียงประชาชนอย่างแท้จริง เช่น การแบ่งเขตเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม หรือกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้พรรคใหญ่
    - **แนวทางแก้ไข**:
    - ปรับปรุง **ระบบเลือกตั้ง** ให้มีความโปร่งใสและเป็นธรรมมากขึ้น เช่น ใช้ระบบสัดส่วนผสม (Mixed-Member Proportional: MMP)
    - เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองขนาดเล็กมีส่วนร่วมในสภา
    - ป้องกันการทุจริตเลือกตั้งด้วยเทคโนโลยีและกลไกตรวจสอบ

    ### 3. **ปัญหาอำนาจนอกระบบ (อำนาจนอกการเมือง)**
    - **สาเหตุ**: การแทรกแซงทางการเมืองโดยสถาบันอื่นที่ไม่ใช่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
    - **แนวทางแก้ไข**:
    - เสริมสร้าง **หลักนิติธรรม** และลดบทบาทของอำนาจนอกระบบในการเมือง
    - ปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้กองทัพและองค์กรอิสระอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน

    ### 4. **การทุจริตและระบบอุปถัมภ์**
    - **สาเหตุ**: การคอร์รัปชันในวงราชการและระบบอุปถัมภ์ที่ทำให้การเมืองไทยไม่โปร่งใส
    - **แนวทางแก้ไข**:
    - เสริมสร้าง **กลไกตรวจสอบ** เช่น ปรับปรุงสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.)
    - เปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data) เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบได้
    - ส่งเสริมวัฒนธรรมการต่อต้านคอร์รัปชันตั้งแต่ระดับการศึกษา

    ### 5. **การกระจายอำนาจที่ไม่ทั่วถึง**
    - **สาเหตุ**: อำนาจยังรวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพฯ และรัฐบาลกลาง ทำให้ท้องถิ่นขาดอิสระ
    - **แนวทางแก้ไข**:
    - **กระจายอำนาจการปกครอง** ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น
    - ให้ท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดเก็บภาษีและบริหารงบประมาณเอง

    ### 6. **ปัญหาการเซ็นเซอร์และเสรีภาพสื่อ**
    - **สาเหตุ**: การควบคุมสื่อโดยรัฐ และการใช้กฎหมายเช่น พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เพื่อจำกัดเสรีภาพ
    - **แนวทางแก้ไข**:
    - ยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพสื่อ
    - ส่งเสริมสื่ออิสระและปลอดจากการแทรกแซงของรัฐ

    ### 7. **การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม**
    - **สาเหตุ**: กระบวนการยุติธรรมอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง
    - **แนวทางแก้ไข**:
    - ปรับปรุงระบบตุลาการให้เป็นอิสระและเป็นกลาง
    - ตรวจสอบการใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม

    ### 8. **การมีส่วนร่วมของประชาชน**
    - **แนวทางแก้ไข**:
    - ส่งเสริม **ประชาธิปไตยทางตรง** เช่น การลงประชามติในประเด็นสำคัญ
    - ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อรับฟังความเห็นประชาชน (E-Participation)

    ### **สรุป**
    การเมืองไทยต้องการการปฏิรูปหลายด้าน ทั้งระบบเลือกตั้ง การลดอำนาจนอกระบบ การต่อต้านคอร์รัปชัน การกระจายอำนาจ และการส่งเสริมเสรีภาพ หากแก้ไขได้อย่างเป็นระบบ จะช่วยให้การเมืองไทยมีความมั่นคงและเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

    คุณคิดว่าประเด็นไหนสำคัญที่สุดหรือควรเริ่มแก้ไขก่อน?
    การเมืองไทยมีความซับซ้อนและมีปัญหาหลายด้านที่ต้องแก้ไขเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ปัญหาหลักๆ และแนวทางการแก้ไขอาจรวมถึง以下几个方面: ### 1. **ปัญหาความแตกแยกและความขัดแย้งทางการเมือง** - **สาเหตุ**: ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองต่าง ๆ เช่น คณะรัฐประหาร ประชาชน และพรรคการเมือง - **แนวทางแก้ไข**: - ส่งเสริม **การเจรจาและปรองดอง** ระหว่างกลุ่มการเมืองที่ขัดแย้งกัน - ลดการใช้อำนาจรัฐเพื่อปราบปรามฝ่ายตรงข้าม - สร้างกลไกแก้ไขความขัดแย้งที่เป็นกลาง เช่น คณะกรรมการอิสระ ### 2. **ระบบเลือกตั้งที่ไม่สมบูรณ์** - **สาเหตุ**: ระบบเลือกตั้งอาจไม่สะท้อนเสียงประชาชนอย่างแท้จริง เช่น การแบ่งเขตเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม หรือกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้พรรคใหญ่ - **แนวทางแก้ไข**: - ปรับปรุง **ระบบเลือกตั้ง** ให้มีความโปร่งใสและเป็นธรรมมากขึ้น เช่น ใช้ระบบสัดส่วนผสม (Mixed-Member Proportional: MMP) - เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองขนาดเล็กมีส่วนร่วมในสภา - ป้องกันการทุจริตเลือกตั้งด้วยเทคโนโลยีและกลไกตรวจสอบ ### 3. **ปัญหาอำนาจนอกระบบ (อำนาจนอกการเมือง)** - **สาเหตุ**: การแทรกแซงทางการเมืองโดยสถาบันอื่นที่ไม่ใช่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง - **แนวทางแก้ไข**: - เสริมสร้าง **หลักนิติธรรม** และลดบทบาทของอำนาจนอกระบบในการเมือง - ปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้กองทัพและองค์กรอิสระอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน ### 4. **การทุจริตและระบบอุปถัมภ์** - **สาเหตุ**: การคอร์รัปชันในวงราชการและระบบอุปถัมภ์ที่ทำให้การเมืองไทยไม่โปร่งใส - **แนวทางแก้ไข**: - เสริมสร้าง **กลไกตรวจสอบ** เช่น ปรับปรุงสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) - เปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data) เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบได้ - ส่งเสริมวัฒนธรรมการต่อต้านคอร์รัปชันตั้งแต่ระดับการศึกษา ### 5. **การกระจายอำนาจที่ไม่ทั่วถึง** - **สาเหตุ**: อำนาจยังรวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพฯ และรัฐบาลกลาง ทำให้ท้องถิ่นขาดอิสระ - **แนวทางแก้ไข**: - **กระจายอำนาจการปกครอง** ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น - ให้ท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดเก็บภาษีและบริหารงบประมาณเอง ### 6. **ปัญหาการเซ็นเซอร์และเสรีภาพสื่อ** - **สาเหตุ**: การควบคุมสื่อโดยรัฐ และการใช้กฎหมายเช่น พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เพื่อจำกัดเสรีภาพ - **แนวทางแก้ไข**: - ยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพสื่อ - ส่งเสริมสื่ออิสระและปลอดจากการแทรกแซงของรัฐ ### 7. **การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม** - **สาเหตุ**: กระบวนการยุติธรรมอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง - **แนวทางแก้ไข**: - ปรับปรุงระบบตุลาการให้เป็นอิสระและเป็นกลาง - ตรวจสอบการใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม ### 8. **การมีส่วนร่วมของประชาชน** - **แนวทางแก้ไข**: - ส่งเสริม **ประชาธิปไตยทางตรง** เช่น การลงประชามติในประเด็นสำคัญ - ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อรับฟังความเห็นประชาชน (E-Participation) ### **สรุป** การเมืองไทยต้องการการปฏิรูปหลายด้าน ทั้งระบบเลือกตั้ง การลดอำนาจนอกระบบ การต่อต้านคอร์รัปชัน การกระจายอำนาจ และการส่งเสริมเสรีภาพ หากแก้ไขได้อย่างเป็นระบบ จะช่วยให้การเมืองไทยมีความมั่นคงและเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น คุณคิดว่าประเด็นไหนสำคัญที่สุดหรือควรเริ่มแก้ไขก่อน?
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 741 มุมมอง 0 รีวิว
  • 15 ปี สิ้น “จ่าเพียร ขาเหล็ก” ผู้กำกับนักสู้แห่งเทือกเขาบูโด ตำนานย้ายยากเย็น เซ่นสลับบัญชี โชคร้ายตายก่อนขึ้นรองผู้การ

    “คงอยากจะขอยศพันตำรวจเอกให้ผม ตอนที่ผมตายแล้ว” คำพูดที่ยังคงก้องในหัวใจคนไทยหลายคน…

    ตำนานที่ยังไม่ลืม ผ่านมากว่า 15 ปี แล้ว... แต่เรื่องราวของ “จ่าเพียร ขาเหล็ก” หรือ พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา ผกก.สภ.บันนังสตา ภ.จว.ยะลา ยังถูกเล่าขานในฐานะ “นักสู้แห่งเทือกเขาบูโด” ผู้ทุ่มเทชีวิตเพื่อความสงบสุขของแผ่นดินปลายด้ามขวาน แม้จะแลกด้วยความเหน็ดเหนื่อย เจ็บปวด และสุดท้าย... ชีวิต

    “สมเพียร เอกสมญา” หรือชื่อเล่นว่า “เนี้ยบ” เกิดเมื่อปี 2493 ในครอบครัวยากจนที่จังหวัดสงขลา ชีวิตในวัยเด็กเต็มไปด้วยความลำบาก ต้องช่วยพ่อแม่กรีดยาง เพื่อหารายได้จุนเจือครอบครัว แต่ความยากจน ไม่สามารถปิดกั้นความฝันได้

    หลังเรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 สมเพียรตัดสินใจเป็นศิษย์วัดเพื่อเรียนต่อ และก้าวขึ้นสู่การเป็นนักเรียนตำรวจ ต้องเปลี่ยนนามสกุลจาก “แซ่เจ่ง” เป็น “เอกสมญา” เพื่อเข้ารับราชการในยุคนั้น

    จุดเริ่มต้นของนักรบแดนใต้ ปี 2513 สมเพียรเริ่มต้นอาชีพตำรวจที่ สถานีตำรวจภูธรบันนังสตา ภ.จว.ยะลา ในช่วงเวลาที่ภาคใต้ร้อนระอุ จากความขัดแย้งของพรรคคอมมิวนิสต์มลายา (พคม.) และกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดน

    ชีวิตของสมเพียร ไม่ใช่แค่การจับผู้ร้ายทั่วไป แต่ต้องเผชิญหน้ากับสงครามกองโจร และการลอบสังหารเกือบทุกวัน

    วีรกรรมและตำนาน “ขาเหล็ก” เหตุการณ์ปะทะที่เกือบเอาชีวิตไม่รอด ปี 2519 ขณะที่ครองยศ "จ่าสิบตำรวจ" ได้เข้าปะทะกับขบวนการก่อการไม่สงบ ที่จับตำรวจและครอบครัวเป็นตัวประกัน บนเขาเจาะปันตัง เหตุการณ์นั้นทำให้ จ่าเพียรเกือบเสียขาข้างซ้าย ต้องใส่เหล็กดามขามาตลอดชีวิต จนได้ฉายาว่า “จ่าเพียร ขาเหล็ก”

    “ผมไม่อยากเป็นวีรบุรุษ และจะไม่ขอตายในชุดนักรบ” พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา

    ปฏิบัติการ “ยูงทอง” ชุดปฏิบัติการปราบปราม กลุ่มก่อการไม่สงบในบันนังสตา มีชื่อเสียงอย่างมากภาย ใต้การนำของจ่าเพียร เคยนำทีมเข้าปะทะกองกำลังกว่า 30 คน ในปี 2526 แม้ตัวเองจะโดนยิงที่ต้นขาขวา แต่ยังสู้ไม่ถอย

    ความฝันสุดท้ายของจ่าเพียร อยากกลับบ้าน...แค่ใช้ชีวิตกับครอบครัว ในช่วงสุดท้ายของชีวิต พ.ต.อ.สมเพียร ยื่นเรื่องขอย้ายกลับไปอยู่ สภ.กันตัง จ.ตรัง บ้านเกิดของภรรยา เพื่อใช้ชีวิตเงียบสงบช่วง 18 เดือนก่อนเกษียณ แต่การโยกย้ายกลับไม่เกิดขึ้น แม้ว่าจะมีชื่อติดในโผโยกย้ายตั้งแต่แรก แต่ในขั้นตอนสุดท้าย กลับถูกสับเปลี่ยนชื่อ สลับบัญชี เพื่อหลีกทางให้คนของนักการเมือง

    จ่าเพียรไม่ยอมรับโผอัปยศ จึงเดินทางจากชายแดนใต้สู่กรุงเทพฯ ไปทวงถามความเป็นธรรม ถึงทำเนียบรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งได้รับคำปลอบใจว่า จะเยียวยาโดยให้ขึ้นตำแหน่ง "รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด" ก่อนที่จะเกษียณอายุราชการ

    “ไม่มีการแต่งตั้งตำรวจครั้งไหนที่แย่เท่าครั้งนี้อีกแล้ว” แม้ว่าจ่าเพยีจะพูดด้วยน้ำตา แต่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

    วันแห่งความสูญเสีย ปฏิบัติการสุดท้ายที่บ้านทับช้าง ในเช้าวันศุกร์ที่ 12 มีนาคม 2553 จ่าเพียร พร้อมด้วยลูกน้อง 4 นาย และ อส.คนสนิทอีก 1 นาย นั่งรถยนต์ปิกอัพ โตโยต้าไฮลักซ์วีโก้ 4 ประตู สีน้ำตาล หมายเลขทะเบียน กข 9302 ยะลา และอส.คนสนิท อีก 1 นาย ออกลาดตระเวนในพื้นที่บ้านทับช้าง แต่ถูกกลุ่มก่อการไม่สงบ กดระเบิด และกราดยิงด้วยอาวุธสงครามอย่างหนัก จ่าเพียรได้รับบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา ลูกน้องได้รับบาดเจ็บสาหัส 3 นาย และอีก 1 นายเสียชีวิต

    อายุ 59 ปี สิ้นสุดเส้นทางของนักรบผู้ภักดีต่อหน้าที่ บทเรียนชีวิตและความจริงที่เจ็บปวด การต่อสู้ของจ่าเพียร ไม่ใช่แค่ศึกในสนามรบ แต่ยังเป็นศึกในระบบราชการที่ซับซ้อน และมีปัญหาเรื่องอุปถัมภ์ จ่าเพียรไม่ได้รับโอกาสเลื่อนยศหรือโยกย้าย จนกว่าจะเสียชีวิตแล้ว ถึงได้เลื่อนยศ 7 ขั้น เป็น "พลตำรวจเอก"

    ระบบที่ควรตอบแทนคนทุ่มเท กลับถูกแทนที่ด้วยสายสัมพันธ์และอำนาจ มรดกและแรงบันดาลใจ
    หลังจากการเสียชีวิตของจ่าเพียร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มอบเงินช่วยเหลือครอบครัวจำนวน 3 ล้านบาท และรับผิดชอบการศึกษาของลูก จนจบปริญญาตรี แต่สิ่งที่จ่าเพียรทิ้งไว้ไม่ใช่แค่เงินทอง

    “จ่าเพียร ขาเหล็ก” กลายเป็นสัญลักษณ์ของตำรวจที่ทุ่มเท และไม่ยอมแพ้ต่ออุปถัมภ์

    คำพูดสุดท้ายที่ยังตราตรึง "ผมไม่ได้อยากย้ายเพื่อความก้าวหน้า แต่อยากกลับไปอยู่กับครอบครัว ผมทำงานมา 40 ปี แทบไม่มีเวลาให้พวกเขาเลย"

    คำถามที่ยังไร้คำตอบ แม้เวลาจะผ่านไป 15 ปี แต่เรื่องราวของจ่าเพียร ยังเป็นกระจกสะท้อนปัญหาระบบราชการไทย หลายคนยังสงสัยว่า…

    - ทำไมตำรวจน้ำดี ต้องตายก่อนจึงได้รับการยกย่อง?
    - ทำไมระบบโยกย้าย ถึงเต็มไปด้วยข้อครหา?
    - ใครจะปกป้องผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ที่ไม่มีเส้นสาย?

    เสียงจากคนในพื้นที่ “จ่าเพียรกลับมาแล้ว” ไม่ใช่แค่ตำรวจ แต่เป็นที่พึ่งของชาวบ้าน

    “กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ยะลา ปัตตานี นราธิวาส รู้จักจ่าเพียรในฐานะคนที่ไม่เคยทิ้งพื้นที่”

    "คนที่เคยเป็นเยาวชนไม่มีอนาคต กลายมาเป็นอาสาสมัครในทีมของจ่าเพียร ด้วยศรัทธาและความเชื่อมั่น"

    ตำนานที่ไม่ควรจางหาย ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่ชื่อ "สมเพียร เอกสมญา" ไม่ได้ตายเพราะกระสุนหรือระเบิด แต่เพราะระบบที่ล้มเหลวในการดูแลคนดี

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 121155 มี.ค. 2568

    #จ่าเพียรขาเหล็ก #ฮีโร่แดนใต้ #ผู้กำกับนักสู้ #สมเพียรเอกสมญา #ชายแดนใต้ #นักรบแห่งบูโด #ตำรวจไทย #ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ #วีรบุรุษแดนใต้ #ระบบอุปถัมภ์

    15 ปี สิ้น “จ่าเพียร ขาเหล็ก” ผู้กำกับนักสู้แห่งเทือกเขาบูโด ตำนานย้ายยากเย็น เซ่นสลับบัญชี โชคร้ายตายก่อนขึ้นรองผู้การ 🚔 “คงอยากจะขอยศพันตำรวจเอกให้ผม ตอนที่ผมตายแล้ว” คำพูดที่ยังคงก้องในหัวใจคนไทยหลายคน… 🕊️ 🌿 ตำนานที่ยังไม่ลืม ผ่านมากว่า 15 ปี แล้ว... แต่เรื่องราวของ “จ่าเพียร ขาเหล็ก” หรือ พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา ผกก.สภ.บันนังสตา ภ.จว.ยะลา ยังถูกเล่าขานในฐานะ “นักสู้แห่งเทือกเขาบูโด” ผู้ทุ่มเทชีวิตเพื่อความสงบสุขของแผ่นดินปลายด้ามขวาน 🗡️ แม้จะแลกด้วยความเหน็ดเหนื่อย เจ็บปวด และสุดท้าย... ชีวิต 👮‍♂️ “สมเพียร เอกสมญา” หรือชื่อเล่นว่า “เนี้ยบ” เกิดเมื่อปี 2493 ในครอบครัวยากจนที่จังหวัดสงขลา ชีวิตในวัยเด็กเต็มไปด้วยความลำบาก ต้องช่วยพ่อแม่กรีดยาง เพื่อหารายได้จุนเจือครอบครัว แต่ความยากจน ไม่สามารถปิดกั้นความฝันได้ 🎓 หลังเรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 สมเพียรตัดสินใจเป็นศิษย์วัดเพื่อเรียนต่อ และก้าวขึ้นสู่การเป็นนักเรียนตำรวจ ต้องเปลี่ยนนามสกุลจาก “แซ่เจ่ง” เป็น “เอกสมญา” เพื่อเข้ารับราชการในยุคนั้น จุดเริ่มต้นของนักรบแดนใต้ ปี 2513 สมเพียรเริ่มต้นอาชีพตำรวจที่ สถานีตำรวจภูธรบันนังสตา ภ.จว.ยะลา ในช่วงเวลาที่ภาคใต้ร้อนระอุ จากความขัดแย้งของพรรคคอมมิวนิสต์มลายา (พคม.) และกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดน ชีวิตของสมเพียร ไม่ใช่แค่การจับผู้ร้ายทั่วไป แต่ต้องเผชิญหน้ากับสงครามกองโจร และการลอบสังหารเกือบทุกวัน 😔 🔥 วีรกรรมและตำนาน “ขาเหล็ก” เหตุการณ์ปะทะที่เกือบเอาชีวิตไม่รอด ปี 2519 ขณะที่ครองยศ "จ่าสิบตำรวจ" ได้เข้าปะทะกับขบวนการก่อการไม่สงบ ที่จับตำรวจและครอบครัวเป็นตัวประกัน บนเขาเจาะปันตัง เหตุการณ์นั้นทำให้ จ่าเพียรเกือบเสียขาข้างซ้าย ต้องใส่เหล็กดามขามาตลอดชีวิต จนได้ฉายาว่า “จ่าเพียร ขาเหล็ก” 🦿 🦾 “ผมไม่อยากเป็นวีรบุรุษ และจะไม่ขอตายในชุดนักรบ” พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา 🦅 ปฏิบัติการ “ยูงทอง” ชุดปฏิบัติการปราบปราม กลุ่มก่อการไม่สงบในบันนังสตา มีชื่อเสียงอย่างมากภาย ใต้การนำของจ่าเพียร เคยนำทีมเข้าปะทะกองกำลังกว่า 30 คน ในปี 2526 แม้ตัวเองจะโดนยิงที่ต้นขาขวา แต่ยังสู้ไม่ถอย ✊ 🏡 ความฝันสุดท้ายของจ่าเพียร อยากกลับบ้าน...แค่ใช้ชีวิตกับครอบครัว ในช่วงสุดท้ายของชีวิต พ.ต.อ.สมเพียร ยื่นเรื่องขอย้ายกลับไปอยู่ สภ.กันตัง จ.ตรัง บ้านเกิดของภรรยา เพื่อใช้ชีวิตเงียบสงบช่วง 18 เดือนก่อนเกษียณ แต่การโยกย้ายกลับไม่เกิดขึ้น แม้ว่าจะมีชื่อติดในโผโยกย้ายตั้งแต่แรก แต่ในขั้นตอนสุดท้าย กลับถูกสับเปลี่ยนชื่อ สลับบัญชี เพื่อหลีกทางให้คนของนักการเมือง 🍃 จ่าเพียรไม่ยอมรับโผอัปยศ จึงเดินทางจากชายแดนใต้สู่กรุงเทพฯ ไปทวงถามความเป็นธรรม ถึงทำเนียบรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งได้รับคำปลอบใจว่า จะเยียวยาโดยให้ขึ้นตำแหน่ง "รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด" ก่อนที่จะเกษียณอายุราชการ 💬 “ไม่มีการแต่งตั้งตำรวจครั้งไหนที่แย่เท่าครั้งนี้อีกแล้ว” แม้ว่าจ่าเพยีจะพูดด้วยน้ำตา แต่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง 💔 วันแห่งความสูญเสีย ปฏิบัติการสุดท้ายที่บ้านทับช้าง ในเช้าวันศุกร์ที่ 12 มีนาคม 2553 จ่าเพียร พร้อมด้วยลูกน้อง 4 นาย และ อส.คนสนิทอีก 1 นาย นั่งรถยนต์ปิกอัพ โตโยต้าไฮลักซ์วีโก้ 4 ประตู สีน้ำตาล หมายเลขทะเบียน กข 9302 ยะลา และอส.คนสนิท อีก 1 นาย ออกลาดตระเวนในพื้นที่บ้านทับช้าง แต่ถูกกลุ่มก่อการไม่สงบ กดระเบิด และกราดยิงด้วยอาวุธสงครามอย่างหนัก จ่าเพียรได้รับบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา ลูกน้องได้รับบาดเจ็บสาหัส 3 นาย และอีก 1 นายเสียชีวิต 🔫 ⚰️ อายุ 59 ปี สิ้นสุดเส้นทางของนักรบผู้ภักดีต่อหน้าที่ บทเรียนชีวิตและความจริงที่เจ็บปวด การต่อสู้ของจ่าเพียร ไม่ใช่แค่ศึกในสนามรบ แต่ยังเป็นศึกในระบบราชการที่ซับซ้อน และมีปัญหาเรื่องอุปถัมภ์ จ่าเพียรไม่ได้รับโอกาสเลื่อนยศหรือโยกย้าย จนกว่าจะเสียชีวิตแล้ว ถึงได้เลื่อนยศ 7 ขั้น เป็น "พลตำรวจเอก" 🕊️ ⚖️ ระบบที่ควรตอบแทนคนทุ่มเท กลับถูกแทนที่ด้วยสายสัมพันธ์และอำนาจ มรดกและแรงบันดาลใจ หลังจากการเสียชีวิตของจ่าเพียร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มอบเงินช่วยเหลือครอบครัวจำนวน 3 ล้านบาท และรับผิดชอบการศึกษาของลูก จนจบปริญญาตรี แต่สิ่งที่จ่าเพียรทิ้งไว้ไม่ใช่แค่เงินทอง ❤️ “จ่าเพียร ขาเหล็ก” กลายเป็นสัญลักษณ์ของตำรวจที่ทุ่มเท และไม่ยอมแพ้ต่ออุปถัมภ์ 🗣️ คำพูดสุดท้ายที่ยังตราตรึง "ผมไม่ได้อยากย้ายเพื่อความก้าวหน้า แต่อยากกลับไปอยู่กับครอบครัว ผมทำงานมา 40 ปี แทบไม่มีเวลาให้พวกเขาเลย" ❓ คำถามที่ยังไร้คำตอบ แม้เวลาจะผ่านไป 15 ปี แต่เรื่องราวของจ่าเพียร ยังเป็นกระจกสะท้อนปัญหาระบบราชการไทย หลายคนยังสงสัยว่า… - ทำไมตำรวจน้ำดี ต้องตายก่อนจึงได้รับการยกย่อง? - ทำไมระบบโยกย้าย ถึงเต็มไปด้วยข้อครหา? - ใครจะปกป้องผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ที่ไม่มีเส้นสาย? 🤝 เสียงจากคนในพื้นที่ “จ่าเพียรกลับมาแล้ว” ไม่ใช่แค่ตำรวจ แต่เป็นที่พึ่งของชาวบ้าน 🕊️ “กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ยะลา ปัตตานี นราธิวาส รู้จักจ่าเพียรในฐานะคนที่ไม่เคยทิ้งพื้นที่” 🌳 "คนที่เคยเป็นเยาวชนไม่มีอนาคต กลายมาเป็นอาสาสมัครในทีมของจ่าเพียร ด้วยศรัทธาและความเชื่อมั่น" 🕯️ ตำนานที่ไม่ควรจางหาย ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่ชื่อ "สมเพียร เอกสมญา" ไม่ได้ตายเพราะกระสุนหรือระเบิด แต่เพราะระบบที่ล้มเหลวในการดูแลคนดี 💐 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 121155 มี.ค. 2568 #จ่าเพียรขาเหล็ก #ฮีโร่แดนใต้ #ผู้กำกับนักสู้ #สมเพียรเอกสมญา #ชายแดนใต้ #นักรบแห่งบูโด #ตำรวจไทย #ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ #วีรบุรุษแดนใต้ #ระบบอุปถัมภ์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1624 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศธ. ยืนหยัดต่อต้านคอร์รัปชัน “MOE Zero Tolerance” ก้าวข้ามค่านิยมระบบอุปถัมภ์ สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน
    https://www.facebook.com/pradenrath/posts/1246824666915395
    ศธ. ยืนหยัดต่อต้านคอร์รัปชัน “MOE Zero Tolerance” ก้าวข้ามค่านิยมระบบอุปถัมภ์ สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน https://www.facebook.com/pradenrath/posts/1246824666915395
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 267 มุมมอง 0 รีวิว
  • ระบบราชการเป็นระบบอุปถัมภ์ ยิ่งมีนักการเมืองเข้ามาต้องเรียกว่ามหาอุปถัมภ์..
    ระบบราชการเป็นระบบอุปถัมภ์ ยิ่งมีนักการเมืองเข้ามาต้องเรียกว่ามหาอุปถัมภ์..
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 186 มุมมอง 0 รีวิว
  • หลักสูตรบรรลัย อบรมต่างชาติ : Sondhitalk EP275 VDO

    อบรมฉาว เปิดช่องทางหากินในระบบอุปถัมภ์ สะเทือนวงการสีกากีและสีเขียว

    #sondhitalk #สนธิลิ้มทองกุล #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Sondhi #หลักสูตรอาสาตำรวจ #อบรมอาสาตำรวจจีน #อาสาตำรวจ #คนจีน

    ThaiTimes คือแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ช่วยให้คุณ:
    - แพลตฟอร์มที่ไม่โดนปิดกั้น
    - แชร์รูปภาพและวิดีโอ
    - ติดตามข่าวสารล่าสุดจากคนที่คุณติดตาม
    แอป Thaitimes มีให้ Download ได้แล้วทั้งใน iOS และใน android
    iOS : https://apps.apple.com/th/app/thaitimes-social/id6502225132
    Google Play :https://play.google.com/store/apps/details...
    และ https://thaitimes.co
    หลักสูตรบรรลัย อบรมต่างชาติ : Sondhitalk EP275 VDO อบรมฉาว เปิดช่องทางหากินในระบบอุปถัมภ์ สะเทือนวงการสีกากีและสีเขียว #sondhitalk #สนธิลิ้มทองกุล #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Sondhi #หลักสูตรอาสาตำรวจ #อบรมอาสาตำรวจจีน #อาสาตำรวจ #คนจีน ThaiTimes คือแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ช่วยให้คุณ: - แพลตฟอร์มที่ไม่โดนปิดกั้น - แชร์รูปภาพและวิดีโอ - ติดตามข่าวสารล่าสุดจากคนที่คุณติดตาม แอป Thaitimes มีให้ Download ได้แล้วทั้งใน iOS และใน android iOS : https://apps.apple.com/th/app/thaitimes-social/id6502225132 Google Play :https://play.google.com/store/apps/details... และ https://thaitimes.co
    Like
    Angry
    Love
    Yay
    27
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 4645 มุมมอง 100 1 รีวิว
  • คณะกรรมาธิการสวัสดิการสังคม ที่มีไอ่ณัฐชาเป็นประธาน หนีบอีเจี๊ยบเที่ยวฟรีกินฟรีบินฟรี ร่วมคณะไปจีน นี่มันระบบอุปถัมภ์พวกพ้องที่เมิงต่อต้านกันนะเว้ย
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง-2
    คณะกรรมาธิการสวัสดิการสังคม ที่มีไอ่ณัฐชาเป็นประธาน หนีบอีเจี๊ยบเที่ยวฟรีกินฟรีบินฟรี ร่วมคณะไปจีน นี่มันระบบอุปถัมภ์พวกพ้องที่เมิงต่อต้านกันนะเว้ย #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง-2
    Haha
    Like
    Angry
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 555 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ เผยไส้เน่าพรรคประชาชนหลังพ่ายยับ แกนนำพรรคชี้สาเหตุแพ้ 1 ชัยรัตน์หลุดด้อยค่าราชบุรี 2 เท้งไม่ช่วยน้ำท่วมแต่อ้างระบบอุปถัมภ์ 3 พิธาขาลง ยิ่งขายคนยิ่งสะอิดสะเอียน
    #7ดอกจิก
    ♣ เผยไส้เน่าพรรคประชาชนหลังพ่ายยับ แกนนำพรรคชี้สาเหตุแพ้ 1 ชัยรัตน์หลุดด้อยค่าราชบุรี 2 เท้งไม่ช่วยน้ำท่วมแต่อ้างระบบอุปถัมภ์ 3 พิธาขาลง ยิ่งขายคนยิ่งสะอิดสะเอียน #7ดอกจิก
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 801 มุมมอง 0 รีวิว
  • อาฟเตอร์ช็อก ระบบอุปถัมภ์ไอ่เท้ง พรรคปชช..สาดกันยับ
    #คิงส์โพธิ์แดง
    อาฟเตอร์ช็อก ระบบอุปถัมภ์ไอ่เท้ง พรรคปชช..สาดกันยับ #คิงส์โพธิ์แดง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 445 มุมมอง 26 0 รีวิว
  • ♣ แบงก์รัฐ ตอกหน้าพรรคประชาชน การช่วยเหลือชาวบ้านที่เป็นลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เป็นการลดภาระทางการเงิน ลดความลำบากในการฟื้นฟูชีวิตจากน้ำท่วม มิใช่การสร้างบุญคุณ หรือระบบอุปถัมภ์
    #7ดอกจิก
    #ระบบอุมถัมภ์
    ♣ แบงก์รัฐ ตอกหน้าพรรคประชาชน การช่วยเหลือชาวบ้านที่เป็นลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เป็นการลดภาระทางการเงิน ลดความลำบากในการฟื้นฟูชีวิตจากน้ำท่วม มิใช่การสร้างบุญคุณ หรือระบบอุปถัมภ์ #7ดอกจิก #ระบบอุมถัมภ์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 552 มุมมอง 0 รีวิว