• ความมีอยู่ว่า...

    ... เว่ยอู๋เซี่ยนเอ่ย “หลานจ้าน! อย่า! เจ้าอย่ายอมถอย!”
    หากแต่หลานว่างจีถอยไปห้าก้าวแล้วอย่างไม่ลังเล จินกวงเหยาจึงกล่าว “ดีมาก ขั้นต่อมาก็คือขอให้ท่านนำกระบี่ปี้เฉินเก็บเข้าฝักด้วย”
    ในความเงียบ หลานว่างจีทำตามอย่างไม่ชักช้า เว่ยอู๋เซี่ยนกล่าว “เจ้าอย่าได้คืบเอาศอก!”
    จินกวงเหยากล่าว “เพียงเท่านี้ก็เรียกได้คืบเอาศอก? ข้าพเจ้ากำลังจะขอให้ท่านหานกวงจวินจี้สกัดจุดพลังของตนเองอยู่เชียว เช่นนั้นจะเรียกว่าอย่างไร?” ...

    - จากเรื่อง <ปรมาจารย์ลัทธิมาร>

    เพียงคนเดียวแต่กลับเรียกขานด้วยถึงสามชื่อ คือ หลานจ้าน หลานว่างจี และหานกวงจวิน ลูกเพจเคยสงสัยไหมคะว่าทำไม?

    ชื่อจีนในสมัยโบราณ มีคำว่า หมิง (名) จึ้อ (字) และอาจมี ฮ่าว (号)

    หมิง (名) คือชื่อที่ครอบครัวตั้งให้ มีทั้งที่มีความหมายดี หรือบางครั้งก็เป็นชื่อเรียกเล่นๆ ในที่นี่หลานจ้านของเรามีชื่อ (หรือหมิง) ว่า “จ้าน” ซึ่งแปลว่าความกระจ่างหรือความลึกซึ้ง

    ส่วน จึ้อ (字) คือชื่อรอง หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นชื่อที่ครูบาอาจารย์หรือผู้ใหญ่ที่นับถือตั้งให้สำหรับผู้ที่ได้ผ่านการเล่าเรียนมา โดยทั่วไปจะได้รับการตั้งชื่อเมื่อสตรีอายุครบสิบห้าปี (หรือวัยปักปิ่น) หรือเมื่อบุรุษอายุครบยี่สิบปี (หรือวัยครอบมงกฎผม) ซึ่งชื่อนี้มักเป็นชื่อที่บ่งบอกคุณธรรมประจำตัวของลูกศิษย์ที่อาจารย์ได้สังเกตเห็น เมื่อมีชื่อเป็นทางการนี้แล้ว คนทั่วไปจะต้องเรียกขานเขาผู้นั้นด้วยชื่อทางการนี้เพื่อแสดงการให้เกียรติ ในขณะที่ชื่อที่ครอบครัวตั้งให้จะมีเฉพาะคนในครอบครัวหรือคนที่สนิทจริงๆ จึงจะเรียกได้ โดยสังเกตได้จากในเนื้อเรื่องที่มีเพียงพระเอก(เว่ยอู๋เซี่ยน)และพี่ชายของหลานจ้านที่เรียกเขาด้วยนามนี้ ซึ่ง “ว่างจี” เป็นชื่อทางการ มีความหมายว่าลืมหรือปล่อยวางเล่ห์กลหรือความคิดไม่สุจริต

    ส่วนฮ่าว (号) ก็คือฉายา ซึ่งลูกเพจที่คุ้นเคยกับนิยายกำลังภายในจะคุ้นกับการมีฉายาบ้าง ในจีนโบราณไม่ใช่ทุกคนที่จะมีฉายา คนที่ได้รับการตั้งฉายาจะเป็นผู้ที่มีสถานะหรือตำแหน่งสูงส่ง เพราะเป็นการเรียกอย่างยกย่องยิ่ง หลานจ้านมีฉายาว่า “หานกวงจวิน” แปลได้ว่าผู้ซึ่งมีแสงสว่างอยู่ภายใน

    Credit รูปภาพจาก: https://filmdaily.co/obsessions/the-untamed-supporting-characters/
    Credit เนื้อหารวบรวมจาก:
    http://m.tianya999.com/question/2019/0902/18259581.html
    https://www.sohu.com/a/205641364_786465
    https://www.xingming.com/xmzs/1584.html

    #ปรมาจารย์ลัทธิมาร #ชื่อแซ่จีน StoryfromStory
    ความมีอยู่ว่า... ... เว่ยอู๋เซี่ยนเอ่ย “หลานจ้าน! อย่า! เจ้าอย่ายอมถอย!” หากแต่หลานว่างจีถอยไปห้าก้าวแล้วอย่างไม่ลังเล จินกวงเหยาจึงกล่าว “ดีมาก ขั้นต่อมาก็คือขอให้ท่านนำกระบี่ปี้เฉินเก็บเข้าฝักด้วย” ในความเงียบ หลานว่างจีทำตามอย่างไม่ชักช้า เว่ยอู๋เซี่ยนกล่าว “เจ้าอย่าได้คืบเอาศอก!” จินกวงเหยากล่าว “เพียงเท่านี้ก็เรียกได้คืบเอาศอก? ข้าพเจ้ากำลังจะขอให้ท่านหานกวงจวินจี้สกัดจุดพลังของตนเองอยู่เชียว เช่นนั้นจะเรียกว่าอย่างไร?” ... - จากเรื่อง <ปรมาจารย์ลัทธิมาร> เพียงคนเดียวแต่กลับเรียกขานด้วยถึงสามชื่อ คือ หลานจ้าน หลานว่างจี และหานกวงจวิน ลูกเพจเคยสงสัยไหมคะว่าทำไม? ชื่อจีนในสมัยโบราณ มีคำว่า หมิง (名) จึ้อ (字) และอาจมี ฮ่าว (号) หมิง (名) คือชื่อที่ครอบครัวตั้งให้ มีทั้งที่มีความหมายดี หรือบางครั้งก็เป็นชื่อเรียกเล่นๆ ในที่นี่หลานจ้านของเรามีชื่อ (หรือหมิง) ว่า “จ้าน” ซึ่งแปลว่าความกระจ่างหรือความลึกซึ้ง ส่วน จึ้อ (字) คือชื่อรอง หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นชื่อที่ครูบาอาจารย์หรือผู้ใหญ่ที่นับถือตั้งให้สำหรับผู้ที่ได้ผ่านการเล่าเรียนมา โดยทั่วไปจะได้รับการตั้งชื่อเมื่อสตรีอายุครบสิบห้าปี (หรือวัยปักปิ่น) หรือเมื่อบุรุษอายุครบยี่สิบปี (หรือวัยครอบมงกฎผม) ซึ่งชื่อนี้มักเป็นชื่อที่บ่งบอกคุณธรรมประจำตัวของลูกศิษย์ที่อาจารย์ได้สังเกตเห็น เมื่อมีชื่อเป็นทางการนี้แล้ว คนทั่วไปจะต้องเรียกขานเขาผู้นั้นด้วยชื่อทางการนี้เพื่อแสดงการให้เกียรติ ในขณะที่ชื่อที่ครอบครัวตั้งให้จะมีเฉพาะคนในครอบครัวหรือคนที่สนิทจริงๆ จึงจะเรียกได้ โดยสังเกตได้จากในเนื้อเรื่องที่มีเพียงพระเอก(เว่ยอู๋เซี่ยน)และพี่ชายของหลานจ้านที่เรียกเขาด้วยนามนี้ ซึ่ง “ว่างจี” เป็นชื่อทางการ มีความหมายว่าลืมหรือปล่อยวางเล่ห์กลหรือความคิดไม่สุจริต ส่วนฮ่าว (号) ก็คือฉายา ซึ่งลูกเพจที่คุ้นเคยกับนิยายกำลังภายในจะคุ้นกับการมีฉายาบ้าง ในจีนโบราณไม่ใช่ทุกคนที่จะมีฉายา คนที่ได้รับการตั้งฉายาจะเป็นผู้ที่มีสถานะหรือตำแหน่งสูงส่ง เพราะเป็นการเรียกอย่างยกย่องยิ่ง หลานจ้านมีฉายาว่า “หานกวงจวิน” แปลได้ว่าผู้ซึ่งมีแสงสว่างอยู่ภายใน Credit รูปภาพจาก: https://filmdaily.co/obsessions/the-untamed-supporting-characters/ Credit เนื้อหารวบรวมจาก: http://m.tianya999.com/question/2019/0902/18259581.html https://www.sohu.com/a/205641364_786465 https://www.xingming.com/xmzs/1584.html #ปรมาจารย์ลัทธิมาร #ชื่อแซ่จีน StoryfromStory
    FILMDAILY.CO
    'The Untamed': Don't overlook these amazing supporting characters – Film Daily
    Here are some of the best supporting characters in 'The Untamed' that cannot go overlooked in this C-drama fantasy.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 123 มุมมอง 0 รีวิว
  • เพื่อนเพจหลายคนคงทราบว่าการปักปิ่นนั้น เป็นสัญลักษณ์ว่าสตรีได้เติบใหญ่สามารถครองเรือนได้แล้ว และอายุทั่วไปของการปักปิ่นคือ 15 ปี แต่หากได้รับการหมั้นหมายก่อนอายุ 15 ปีก็สามารถทำพิธีปักปิ่นได้เลย หรือหากยังไม่ได้ทำพิธีและยังไม่ได้แต่งงานก็ให้ทำพิธีปักปิ่นได้เมื่ออายุ 20 ปี

    Storyฯ ได้เห็นฉากพิธีปักปิ่นในละครเรื่อง <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์> ที่ดูแปลกประหลาดนัก มีการเจิมหน้าผากแต้มชาดที่หางตา (ดูรูป 1) และมีแขกผู้ชายเพียบ เลยต้องรีบไปค้นหนังสือนิยายมาอ่านว่าต้นฉบับบรรยายไว้อย่างไร คัดมาบางส่วนดังนี้

    ความมีอยู่ว่า
    ...พิธีปักปิ่นของข้ามีพระเชษฐภคินีจิ้นหมิ่นเป็นประธานดำเนินพิธี มีองค์ฮองเฮาเป็นแขกกิตติมศักดิ์
    ผู้ที่มาร่วมเป็นสักขีพยานมีทั้งเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในและบรรดาฝ่ายในของเหล่าตระกูลสูงศักดิ์ ... ข้าสวมชุดสีสันสดใส ผมเกล้ามวยคู่ ... พระชายาในองค์ชายรัชทายาท (ไท่จื่อเฟย) ประทับอยู่ด้านตะวันตก ... ไท่จื่อเฟยทรงแกะมวยคู่ของข้าออกหวีผมให้ ... พระมารดาของข้าหวีผมเกล้าขึ้นให้ ... ประดับปิ่นแรก สวมหรู่ฉวิน ... ประดับปิ่นสอง สวมชุดยาวชวีจวี ... ประดับปิ่นสาม สวมชุดแขนกว้างเต็มพิธีการ ... สามประดับสามคำนับ เสร็จพิธีการ...
    - จากเรื่อง <มังกรผู้พิชิต หงส์คู่บัลลังก์> ผู้แต่ง เม่ยอวี๋เจ่อ (ชื่อตามฉบับแปล แต่บทความ Storyฯ แปลเอง) หมายเหตุ ละคร <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้

    พิธีปักปิ่นมีปรากฏในบันทึก ‘หลี่จี้ เน่ยเจ๋อ’ (礼记·内则) ซึ่งเป็นหนึ่งในบันทึกประเพณีที่เก่าแก่ที่สุดของจีนโดยพูดถึงพิธีการสมัยราชวงศ์โจวเป็นหลัก และเป็นหลักปฏิบัติที่ใช้สืบทอดกันมาหลายยุคสมัย พิธีมีรายละเอียดมาก Storyฯ สรุปได้ว่า

    1. ผู้ที่เข้าร่วม: พิธีปักปิ่นจัดเป็นงาน ‘ฝ่ายใน’ และผู้เข้าร่วมงานต้องเป็นสตรีเท่านั้น ยกเว้นบุรุษในครอบครัวและญาติสนิท (เช่นพ่อ พี่ชาย น้องชาย ลุง อา) โดยปกติประธานในพิธีคือแม่ และผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือ ‘แขกกิตติมศักดิ์’ ซึ่งจะเป็นญาติผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงดีงาม เธอมีหน้าที่ปักปิ่นและตั้งชื่อรองให้ตัวเอกของเรา นอกจากนี้ยังมีผู้ช่วยดำเนินการ ซึ่งอาจมีหลายคนไว้ทำหลายอย่างเช่น เชิญแขกเหรื่อ ประกาศขั้นตอน ประเคนของ ช่วยตัวเอกเปลี่ยนเสื้อผ้า ฯลฯ และมีนักดนตรีที่บรรเลงดนตรีประกอบพิธีการเป็นช่วงๆ

    2. สถานที่ (ดูรูปประกอบ 2): พื้นที่แบ่งสองส่วน ส่วนที่ใช้ดำเนินพิธีมีการยกพื้น หากไม่มียกพื้นให้ใช้วาดแบ่งเขตให้ชัดเจน ทิศที่สำคัญคือทิศเหนือ มีป้ายบรรพบุรุษหรือที่นิยมคือรูปของขงจื้อ ทิศตะวันออกถือเป็นทิศของตัวเอก จะมีการใช้ฉากกั้นเป็นห้องไว้ให้นางเปลี่ยนเสื้อ แขกกิตติมศักดิ์จะนั่งอยู่ทิศตะวันตกหันหน้าเข้าทิศตะวันออก ขั้นตอนต่างๆ จะมีการกำหนดเส้นทางที่ใช้เดินและจุดยืน/นั่งที่ชัดเจน

    3. พิธี: โดยหลักมี ‘สามประดับ สามคำนับ’ ซึ่ง ‘สามประดับ’ นี้หมายถึงการปักปิ่นและการเปลี่ยนชุด และเนื่องจากการแต่งกายของสตรีเปลี่ยนไปตามยุคสมัย Storyฯ ใช้ตัวอย่างสมัยราชวงศ์หมิงมาให้ดู (รูป 3)

    3.1 ประดับแรก: ตัวเอกแรกเริ่มอยู่ในชุดเด็ก ผมมัดเป็นมวยคู่ ขั้นตอนนี้คือปลดมวยคู่ออกแล้วหวีผมใหม่เกล้าขึ้นแบบผู้ใหญ่ แล้วแขกกิตติมศักดิ์ก็จะปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรเป็นสัญลักษณ์ของการเติบใหญ่แล้ว ปิ่นนี้เรียกว่า ‘จี’ หรือ ‘จาน’ เป็นปิ่นขาเดียว เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเสื้อเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุด ‘หรู่ฉวิน’ สีขาวหรือสีสุภาพ หรือในสมัยหมิงใช้ชุด ‘เอ่าฉวิน’ เสร็จแล้วจึงกลับออกมาบริเวณทำพิธีอีกครั้ง

    3.2 ประดับสอง: แขกกิตติมศักดิ์ปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรอีกครั้ง โดยอาจใช้ปิ่นก้านเดียวหรือปิ่นสองก้านที่เรียกว่า ‘ไช้’ เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุด ‘ชวีจวี’ หรือในสมัยหมิงใช้ชุด ‘เอ่าฉวินแบบยาว’ ซึ่งในสมัยอื่นๆ ก็จะเป็นชุดที่ค่อนข้างทางการแต่ไม่ใช่ชุดเต็มยศ

    3.3 ประดับสาม: แขกกิตติมศักดิ์จะปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรอีกครั้ง รอบนี้บ้างใช้เป็นมงกุฎผมหรือปิ่นแบบที่เรียกว่า ‘ไช้ก้วน’ คือดูเหมือนมงกุฎแต่ก้านเป็นปิ่น เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุดแขนกว้างแบบเต็มยศหรือในสมัยหมิงเรียกว่าชุดคลุม ‘พีเฟิง’

    3.4 พิธีการก่อนสามคำนับ: ภายหลังจากตัวเอกเปลี่ยนชุดเสร็จแล้ว จะมีการคำนับขงจื้อหรือป้ายบรรพบุรุษที่จัดไว้ทางทิศเหนือ เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงที่จะทำสิ่งดีมีคุณประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง และเป็นวาระที่จะมีการตั้งชื่อรองให้ (Storyฯ เคยเขียนเรื่องชื่อเอกชื่อรองไว้นานมากแล้วตอนคุยถึงละครเรื่อง <ปรมาจารย์ลัทธิมาร> ลองหาอ่านดูนะคะ) และมีพิธีการอื่นเช่นเทเหล้าเซ่นไหว้

    3.4 เสร็จแล้วตัวเอกต้องคำนับสามครั้ง ครั้งแรกคำนับพ่อแม่เพื่อแสดงความกตัญญูรู้คุณ ครั้งที่สองคือเปรียบเป็นการคำนับครูบาอาจารย์ แล้วครั้งสุดท้ายคือคำนับบรรพบุรุษ เสร็จแล้วบิดามารดาให้โอวาท ก็เป็นอันเสร็จพิธีและตัวเอกคำนับขอบคุณแขกที่มาร่วมงาน

    แน่นอนว่าคนที่ดำเนินพิธีอาจปรับเปลี่ยนตามญาติของตัวเอกที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ขั้นตอนจะเป็นไปตามข้างต้น จะเห็นว่าพิธีการนี้ได้รับความสำคัญและมีรายละเอียดมาก จากข้อมูลที่หาได้ แม้เป็นองค์หญิงแต่พิธีการหลักของ ‘สามประดับสามคำนับ’ นั้นยังคงเดิม ความแตกต่างจะอยู่ที่เครื่องแต่งกาย เช่นใช้มงกุฎลายหงส์ห้าสี เป็นต้น

    อ่านถึงตรงนี้เพื่อนเพจคงพอเห็นภาพว่าทำไม Storyฯ จึงเกิดอาการ ‘อึ้ง’ ไปเมื่อได้เห็นพิธีนี้ในละคร ซ่างหยางฯ! ใครได้เห็นพิธีปักปิ่นในละครหรือนิยายเรื่องอื่น มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.laoziliao.net/tv/info/46887006
    http://www.cunman.com/new/4b9474b18da54ca59d78d567fd0d323e
    https://www.sohu.com/a/203002032_790378
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.cunman.com/new/4b9474b18da54ca59d78d567fd0d323e
    http://www.chinakongzi.org/zt/zhonghualiyue/201905/t20190510_194759.htm
    http://www.qulishi.com/article/202104/501662.html
    https://baike.sogou.com/v193017.htm
    #พิธีปักปิ่น #จีหลี่ #ซ่างหยาง #สตรีวัยสิบห้า #ปิ่นจีน
    เพื่อนเพจหลายคนคงทราบว่าการปักปิ่นนั้น เป็นสัญลักษณ์ว่าสตรีได้เติบใหญ่สามารถครองเรือนได้แล้ว และอายุทั่วไปของการปักปิ่นคือ 15 ปี แต่หากได้รับการหมั้นหมายก่อนอายุ 15 ปีก็สามารถทำพิธีปักปิ่นได้เลย หรือหากยังไม่ได้ทำพิธีและยังไม่ได้แต่งงานก็ให้ทำพิธีปักปิ่นได้เมื่ออายุ 20 ปี Storyฯ ได้เห็นฉากพิธีปักปิ่นในละครเรื่อง <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์> ที่ดูแปลกประหลาดนัก มีการเจิมหน้าผากแต้มชาดที่หางตา (ดูรูป 1) และมีแขกผู้ชายเพียบ เลยต้องรีบไปค้นหนังสือนิยายมาอ่านว่าต้นฉบับบรรยายไว้อย่างไร คัดมาบางส่วนดังนี้ ความมีอยู่ว่า ...พิธีปักปิ่นของข้ามีพระเชษฐภคินีจิ้นหมิ่นเป็นประธานดำเนินพิธี มีองค์ฮองเฮาเป็นแขกกิตติมศักดิ์ ผู้ที่มาร่วมเป็นสักขีพยานมีทั้งเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในและบรรดาฝ่ายในของเหล่าตระกูลสูงศักดิ์ ... ข้าสวมชุดสีสันสดใส ผมเกล้ามวยคู่ ... พระชายาในองค์ชายรัชทายาท (ไท่จื่อเฟย) ประทับอยู่ด้านตะวันตก ... ไท่จื่อเฟยทรงแกะมวยคู่ของข้าออกหวีผมให้ ... พระมารดาของข้าหวีผมเกล้าขึ้นให้ ... ประดับปิ่นแรก สวมหรู่ฉวิน ... ประดับปิ่นสอง สวมชุดยาวชวีจวี ... ประดับปิ่นสาม สวมชุดแขนกว้างเต็มพิธีการ ... สามประดับสามคำนับ เสร็จพิธีการ... - จากเรื่อง <มังกรผู้พิชิต หงส์คู่บัลลังก์> ผู้แต่ง เม่ยอวี๋เจ่อ (ชื่อตามฉบับแปล แต่บทความ Storyฯ แปลเอง) หมายเหตุ ละคร <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้ พิธีปักปิ่นมีปรากฏในบันทึก ‘หลี่จี้ เน่ยเจ๋อ’ (礼记·内则) ซึ่งเป็นหนึ่งในบันทึกประเพณีที่เก่าแก่ที่สุดของจีนโดยพูดถึงพิธีการสมัยราชวงศ์โจวเป็นหลัก และเป็นหลักปฏิบัติที่ใช้สืบทอดกันมาหลายยุคสมัย พิธีมีรายละเอียดมาก Storyฯ สรุปได้ว่า 1. ผู้ที่เข้าร่วม: พิธีปักปิ่นจัดเป็นงาน ‘ฝ่ายใน’ และผู้เข้าร่วมงานต้องเป็นสตรีเท่านั้น ยกเว้นบุรุษในครอบครัวและญาติสนิท (เช่นพ่อ พี่ชาย น้องชาย ลุง อา) โดยปกติประธานในพิธีคือแม่ และผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือ ‘แขกกิตติมศักดิ์’ ซึ่งจะเป็นญาติผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงดีงาม เธอมีหน้าที่ปักปิ่นและตั้งชื่อรองให้ตัวเอกของเรา นอกจากนี้ยังมีผู้ช่วยดำเนินการ ซึ่งอาจมีหลายคนไว้ทำหลายอย่างเช่น เชิญแขกเหรื่อ ประกาศขั้นตอน ประเคนของ ช่วยตัวเอกเปลี่ยนเสื้อผ้า ฯลฯ และมีนักดนตรีที่บรรเลงดนตรีประกอบพิธีการเป็นช่วงๆ 2. สถานที่ (ดูรูปประกอบ 2): พื้นที่แบ่งสองส่วน ส่วนที่ใช้ดำเนินพิธีมีการยกพื้น หากไม่มียกพื้นให้ใช้วาดแบ่งเขตให้ชัดเจน ทิศที่สำคัญคือทิศเหนือ มีป้ายบรรพบุรุษหรือที่นิยมคือรูปของขงจื้อ ทิศตะวันออกถือเป็นทิศของตัวเอก จะมีการใช้ฉากกั้นเป็นห้องไว้ให้นางเปลี่ยนเสื้อ แขกกิตติมศักดิ์จะนั่งอยู่ทิศตะวันตกหันหน้าเข้าทิศตะวันออก ขั้นตอนต่างๆ จะมีการกำหนดเส้นทางที่ใช้เดินและจุดยืน/นั่งที่ชัดเจน 3. พิธี: โดยหลักมี ‘สามประดับ สามคำนับ’ ซึ่ง ‘สามประดับ’ นี้หมายถึงการปักปิ่นและการเปลี่ยนชุด และเนื่องจากการแต่งกายของสตรีเปลี่ยนไปตามยุคสมัย Storyฯ ใช้ตัวอย่างสมัยราชวงศ์หมิงมาให้ดู (รูป 3) 3.1 ประดับแรก: ตัวเอกแรกเริ่มอยู่ในชุดเด็ก ผมมัดเป็นมวยคู่ ขั้นตอนนี้คือปลดมวยคู่ออกแล้วหวีผมใหม่เกล้าขึ้นแบบผู้ใหญ่ แล้วแขกกิตติมศักดิ์ก็จะปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรเป็นสัญลักษณ์ของการเติบใหญ่แล้ว ปิ่นนี้เรียกว่า ‘จี’ หรือ ‘จาน’ เป็นปิ่นขาเดียว เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเสื้อเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุด ‘หรู่ฉวิน’ สีขาวหรือสีสุภาพ หรือในสมัยหมิงใช้ชุด ‘เอ่าฉวิน’ เสร็จแล้วจึงกลับออกมาบริเวณทำพิธีอีกครั้ง 3.2 ประดับสอง: แขกกิตติมศักดิ์ปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรอีกครั้ง โดยอาจใช้ปิ่นก้านเดียวหรือปิ่นสองก้านที่เรียกว่า ‘ไช้’ เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุด ‘ชวีจวี’ หรือในสมัยหมิงใช้ชุด ‘เอ่าฉวินแบบยาว’ ซึ่งในสมัยอื่นๆ ก็จะเป็นชุดที่ค่อนข้างทางการแต่ไม่ใช่ชุดเต็มยศ 3.3 ประดับสาม: แขกกิตติมศักดิ์จะปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรอีกครั้ง รอบนี้บ้างใช้เป็นมงกุฎผมหรือปิ่นแบบที่เรียกว่า ‘ไช้ก้วน’ คือดูเหมือนมงกุฎแต่ก้านเป็นปิ่น เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุดแขนกว้างแบบเต็มยศหรือในสมัยหมิงเรียกว่าชุดคลุม ‘พีเฟิง’ 3.4 พิธีการก่อนสามคำนับ: ภายหลังจากตัวเอกเปลี่ยนชุดเสร็จแล้ว จะมีการคำนับขงจื้อหรือป้ายบรรพบุรุษที่จัดไว้ทางทิศเหนือ เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงที่จะทำสิ่งดีมีคุณประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง และเป็นวาระที่จะมีการตั้งชื่อรองให้ (Storyฯ เคยเขียนเรื่องชื่อเอกชื่อรองไว้นานมากแล้วตอนคุยถึงละครเรื่อง <ปรมาจารย์ลัทธิมาร> ลองหาอ่านดูนะคะ) และมีพิธีการอื่นเช่นเทเหล้าเซ่นไหว้ 3.4 เสร็จแล้วตัวเอกต้องคำนับสามครั้ง ครั้งแรกคำนับพ่อแม่เพื่อแสดงความกตัญญูรู้คุณ ครั้งที่สองคือเปรียบเป็นการคำนับครูบาอาจารย์ แล้วครั้งสุดท้ายคือคำนับบรรพบุรุษ เสร็จแล้วบิดามารดาให้โอวาท ก็เป็นอันเสร็จพิธีและตัวเอกคำนับขอบคุณแขกที่มาร่วมงาน แน่นอนว่าคนที่ดำเนินพิธีอาจปรับเปลี่ยนตามญาติของตัวเอกที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ขั้นตอนจะเป็นไปตามข้างต้น จะเห็นว่าพิธีการนี้ได้รับความสำคัญและมีรายละเอียดมาก จากข้อมูลที่หาได้ แม้เป็นองค์หญิงแต่พิธีการหลักของ ‘สามประดับสามคำนับ’ นั้นยังคงเดิม ความแตกต่างจะอยู่ที่เครื่องแต่งกาย เช่นใช้มงกุฎลายหงส์ห้าสี เป็นต้น อ่านถึงตรงนี้เพื่อนเพจคงพอเห็นภาพว่าทำไม Storyฯ จึงเกิดอาการ ‘อึ้ง’ ไปเมื่อได้เห็นพิธีนี้ในละคร ซ่างหยางฯ! ใครได้เห็นพิธีปักปิ่นในละครหรือนิยายเรื่องอื่น มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.laoziliao.net/tv/info/46887006 http://www.cunman.com/new/4b9474b18da54ca59d78d567fd0d323e https://www.sohu.com/a/203002032_790378 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.cunman.com/new/4b9474b18da54ca59d78d567fd0d323e http://www.chinakongzi.org/zt/zhonghualiyue/201905/t20190510_194759.htm http://www.qulishi.com/article/202104/501662.html https://baike.sogou.com/v193017.htm #พิธีปักปิ่น #จีหลี่ #ซ่างหยาง #สตรีวัยสิบห้า #ปิ่นจีน
    《上陽賦》被嘲“夕陽賦”,高開低走收視撲街 - 老資料网
    在婦女節來臨前,國際影星章子怡領銜主演的瑪麗蘇巨制權謀大戲《上陽賦》迎來了大結局。該劇從開拍就引起了極大的關注,各種通稿爭相報道,國際章要從大銀幕轉戰電視劇,老戲骨加盟,大制作大手筆,改編小說《帝凰業》,是一部大型權謀大劇,引人關注。從官宣到開拍再到路透,
    3 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 367 มุมมอง 0 รีวิว