• 30 ธันวาคม 2567-สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เผยแพร่มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. เสียงเอกฉันท์ ตีตกข้อกล่าวหา เรืออากาศโทณรุจ โกมลารชุน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนปฏิบัติการ (DO-V) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) สละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายต่อบริษัท Global Airworks Inc. โดยยกเลิกสัญญา PURCHASE TERMS AGREEMENT PTA 070225-08 เป็นเหตุให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้รับความเสียหาย หลังก่อนหน้านี้ถูกชี้มูลความผิดกรณีการจัดซื้ออุปกรณ์ห้องนักบินเอื้อประโยชน์เอกชนโดยมิชอบ ทำรัฐสูญเสีย 147 ล้านบาท ไปแล้ว

    สำนักงาน ป.ป.ช.ระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่ากระทำผิดโดยสรุป ว่า สืบเนื่องจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการจัดซื้ออุปกรณ์ในห้องนักบิน เพื่อรองรับข้อมูลปฏิบัติการบินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และระบบกล้องวงจรปิดสำหรับตรวจสอบบริเวณห้องนักบิน (Electronic Flight Bag/Cockpit Door Surveillance System, EFB/CDSS) ไม่เป็นไปตามระเบียบบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติเห็นชอบว่าการกระทำของเรืออากาศโท อภินันทน์ สุมนะเศรณี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (DD) กับพวก รวม 3 ราย ในกรณีดังกล่าวมีมูลความผิดทางอาญา และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง จึงมีมติให้ส่งรายงาน สำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน สำเนาอิเล็กทรอนิกส์ และคำวินิจฉัยไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญา พร้อมทั้งส่งรายงาน สำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน สำเนาอิเล็กทรอนิกส์ และคำวินิจฉัยไปยังผู้บังคับบัญชา เพื่อดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 91(1) และ (2)

    อนึ่ง จากการไต่สวนข้อเท็จจริงมีหลักฐานปรากฏชัดแจ้งว่า บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยเรืออากาศโท อภินันทน์ สุมนะเศรณี ได้ลงนามในสัญญา Purchase Terms Agreement PTA 070225-08 MAY 17, 2007 กับบริษัท Global Airwork Inc. เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 หลังจากนั้น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการตรวจรับและชำระเงินให้แก่บริษัท Global Airwork Inc ไปจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 147,395,028.586 บาท แต่ปรากฏว่าบริษัทดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการตามสัญญาได้ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จึงทำการเลิกสัญญา (Terminate) กับบริษัท Global Airworks Inc. และเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2551 ได้ทำข้อตกลงว่าจ้างบริษัท Airworks International Inc. ให้ดำเนินการตามสัญญา Purchase Terms Agreement PTA 070225-08 ต่อไป ซึ่งเป็นการสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายต่อบริษัท Global Airworks Inc. ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขที่ทำให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เสียประโยชน์ ทั้งที่บริษัทดังกล่าวเป็นฝ่ายผิดสัญญา ซึ่งในทางกฎหมาย บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ว่าจ้าง ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ตามสัญญานั้น

    ผลการพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ระบุว่า ทางไต่สวนปรากฏข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานรับฟังได้เป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง คดีหมายเลขดำที่ อท 113/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อท 123/2565 ว่า การจัดหาระบบอุปกรณ์ในห้องนักบินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบกล้องวงจรปิดสำหรับตรวจสอบบริเวณห้องนักบิน (Electronic Flight Bag/Cockpit Door Surveillance System หรือ EFB/CDSS) เป็นเรื่องที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยในบริเวณส่วนของผู้ประจำหน้าที่ภาคอากาศ ถือเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการจัดหาโดยเร็วอันเข้ากรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งตามระเบียบบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 ข้อ 127 และข้อ 128 แต่เมื่อการจัดหาโครงการ EFB/CDSS ครั้งนี้ ฝ่ายปฏิบัติการ (DO) ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ใช้ไม่ได้เป็นผู้ขออนุมัติในหลักการเพื่อจัดซื้อจัดจ้างเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาตามลำดับชั้นมาแต่แรก เนื่องจากเป็นกรณีที่คณะกรรมการบริหารบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ใช้อำนาจในทางบริหารพิจารณาอนุมัติในหลักการให้ฝ่ายปฏิบัติการ (DO) ไปดำเนินการจัดหาตามโครงการ EFB/CDSS โดยเร็ว เพราะเห็นว่าโครงการ EFB/CDSS เป็นข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยในบริเวณส่วนของผู้ประจำหน้าที่ภาคอากาศที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จะต้องถือปฏิบัติตาม

    กล่าวคือเป็นการพิจารณาสั่งการจากระดับบนสู่ระดับล่าง มิใช่กรณีที่หน่วยงานผู้ใช้เป็นผู้จัดซื้อจัดจ้างและทำรายงานหรือทำคำขออนุมัติในหลักการเพื่อจัดหาพัสดุตามข้อ 16 กรณีจึงไม่จำต้องขออนุมัติหลักการจัดหาพัสดุและเสนอตั้งคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างต่อผู้บังคับบัญชาตามระเบียบบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 ข้อ 128 ประกอบข้อ 16 และข้อ 24 ก่อน และหลังจากลงนามในสัญญา PURCHASE TERMS AGREEMENT (PTA) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 แล้ว วันที่ 28 เมษายน 2552 ฝ่ายปฏิบัติการ (DO) ก็ได้รายงานผลการดำเนินโครงการจัดหา EFB/CDSS ให้ที่ประชุมฝ่ายบริหารงานนโยบายบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 22/2552 ทราบ ถือเป็นการรายงานความคืบหน้าและรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้มีอำนาจอนุมัติด้วยวิธีกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งตามข้อ 127 แล้ว
    สำหรับกรณีที่หลังจากลงนามในสัญญาซื้อขายที่ 070225-08 (Purchase Terms Agreement PTA 070225-08) และข้อตกลงนอกสัญญาฉบับที่ 1 ของสัญญาการซื้อขายที่ 070225-08 (Side Agreement No.1 To Purchase Terms Agreement PTA 070225-08) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 แล้ว ปรากฏข้อเท็จจริงว่า บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท โกลบอล แอร์เวิร์ค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (Global Airworks Inc.) ได้ร่วมกันทำข้อตกลงนอกสัญญาฉบับที่ 2 (Side Agreement No.2 To Purchase Terms Agreement PTA 070225-08) และข้อตกลงนอกสัญญาฉบับที่ 3 (Side Agreement No.3 To Purchase Terms Agreement PTA 070225-08) รวมถึงลงนามในหนังสือการสิ้นสุดแห่งสัญญาจัดซื้อ (TERMINATION OF PURCHASE TERMS AGREEMENT) ฉบับลงวันที่ 2 ธันวาคม 2551 เพื่อยกเลิกการดำเนินการตามสัญญาการซื้อขายที่ 070225-08 (PURCHASE TERMS AGREEMENT PTA 070225-08) พร้อมด้วยข้อตกลงนอกสัญญาฉบับที่ 1 ถึงฉบับที่ 3 และลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MEMORANDUM OF UNDERSTANDING : MOU) ฉบับวันที่ 16 ธันวาคม 2551 กับบริษัท Airworks International Inc. ให้เข้าเป็นคู่สัญญาตามสัญญาซื้อขายที่ 070225-08 และข้อตกลงนอกสัญญาทั้งสามฉบับ ในฐานะผู้รับเหมาหลัก นั้น ทางไต่สวนรับฟังได้ตามถ้อยคำของหัวหน้าฝ่ายบริหารการจัดซื้อหมวดหมู่การบริการองค์กรและเทคโนโลยี (WP) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่า ตามระเบียบบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 หมวด 14 การจัดหาพัสดุ การจ้างซ่อมชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องบินในกิจการฝ่ายช่าง มิได้กำหนดเกี่ยวกับการจัดทำสัญญาและบริหารสัญญาไว้ โดยข้อ 128 กำหนดให้นำความตามข้อกำหนดในหมวด 2 และหมวด 12 มาใช้บังคับกับการพัสดุในหมวดนี้ ดังนั้น การจัดทำสัญญาและการบริหารสัญญาการจัดหาระบบ EFB/CDSS ดังกล่าวข้างต้น หน่วยงานผู้บริหารสัญญาดังกล่าวซึ่งประสงค์จะแก้ไขสัญญาจะต้องดำเนินการตามข้อ 52 วรรคหนึ่ง และยกเลิกสัญญาดังกล่าวจะต้องดำเนินการตามข้อ 57 สำหรับกรณีการลงนามหนังสือการสิ้นสุดแห่งสัญญาจัดซื้อ (TERMINATION OF PURCHASE TERMS AGREEMENT) เพื่อยกเลิกการดำเนินการตามสัญญาการซื้อขายที่ 070225-08 พร้อมด้วยบันทึกข้อตกลงนอกสัญญาฉบับที่ 1 ถึงฉบับที่ 3 กับบริษัท Global Airworks Inc. และจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อเปลี่ยนคู่สัญญาเป็นบริษัท Airworks International Inc. นั้น เห็นว่าต้องพิจารณาเจตนารมณ์ของหน่วยงานผู้บริหารสัญญาหรือผู้รับผิดชอบสัญญาว่า ประสงค์จะบอกเลิกสัญญาเดิมเพื่อดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างรายใหม่หรือไม่ หากประสงค์จะจัดหาผู้รับจ้างรายใหม่จะต้องดำเนินการจัดหาตามขั้นตอนและระเบียบฯ ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการและทำให้งานจ้างสะดุดหยุดลงและไม่ต่อเนื่อง แต่หากมีความต้องการดำเนินงานจ้างต่อเนื่องเพราะมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน เพียงแต่มีเหตุจำเป็นต้องที่จะต้องเปลี่ยนแปลงคู่สัญญาและผู้ที่จะเข้ามาเป็นคู่สัญญาใหม่เป็นผู้ดำเนินการตามสัญญาเดิมอยู่แล้ว ก็ต้องไปพิจารณาตามข้อ 52 วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546

    เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า เรืออากาศโท ณรุจ โกมลารชุน ผู้ถูกกล่าวหา ได้รายงานการดำเนินการในโครงการติดตั้งระบบ CDSS/EFB (Cockpit Door Surveillance System/Electronic Flight Bag ให้ที่ประชุมฝ่ายบริหารงานนโยบายบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 22/2552 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2552 และที่ประชุมคณะกรรมการบริหารบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 5/2552 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2552 ทราบ โดยสรุปได้ว่า โครงการฯ ได้ดำเนินมาถึงขั้นตอนการทำ First Article Inspection (FAI) และได้ผ่านการตรวจรับจากคณะกรรมการ FOIS แล้ว ซึ่งตามแผนกำหนดการได้วางแผนติดตั้งใน Simulator ในช่วงเดือนเมษายน 2551 ที่ผ่านมา แต่การดำเนินการได้เกิดความล่าช้าและหยุดชะงักลง เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2551 เนื่องจากบริษัท Global Airworks Inc. ซึ่งเป็นบริษัทคู่สัญญายังไม่ได้จ่ายเงินงวดล่าสุดให้แก่บริษัท Airworks International Inc. ทำให้บริษัทดังกล่าวประสบปัญหาขาดทุนเพื่อใช้ในการพัฒนาระบบต่อไป ดังนั้น เพื่อให้โครงการฯ สามารถดำเนินการต่อไปได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และเสร็จสิ้นก่อนวันที่ 31 ตุลาคม 2552 ตามข้อบังคับเรื่อง CDSS ของกรมการขนส่งทางอากาศ คณะกรรมการโครงการ FOIS ได้พิจารณาถึงความคุ้มค่าและความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น จึงเห็นควรให้ทำการโอนย้ายสัญญาจากบริษัทคู่สัญญา คือ บริษัท Global Airworks Inc. ให้เป็นบริษัท Airworks International Inc. ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในระบบเป็นอย่างดี ให้เป็นผู้ดำเนินการโครงการฯ เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คณะทำงานฯ ได้ดำเนินการพัฒนาโครงการ FOIS ร่วมกับบริษัท Airworks International Inc. มาโดยตลอด โดยคณะทำงานฯ ได้ปรึกษาผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายบริหารทั่วไป (DW) และรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายทรัพยากรบุคคลและบริหารทั่วไป (DB) ถึงความเป็นไปได้ที่จะโอนย้ายสัญญาจากบริษัท Global Airworks Inc. ไปเป็นบริษัท Airworks International Inc. และดำเนินการตรวจสอบข้อสัญญาดังกล่าวกับสำนักกฎหมาย Ohashi & Priver ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทฯ ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย (California) แล้ว

    จากการตรวจสอบพบว่า บริษัทฯ สามารถยกเลิกสัญญากับบริษัท Global Airworks Inc. ได้ ซึ่งบริษัท Global Airworks Inc. ได้ลงนามใน Termination of Purchase Term Agreement (ยุติสัญญา) มีผลตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2551 และบริษัท Airworks International Inc. ได้ลงนามในบันทึก MOU (MEMORANDUM OF UNDERSTANDING) เพื่อใช้เป็นสัญญาในการว่าจ้างต่อไป โดยยึดถือสัญญาและข้อตกลงนอกสัญญาฉบับที่ 1 ถึงฉบับที่ 3 เป็นหลัก ซึ่งจะไม่เป็นภาระเพิ่มเติมกับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) อีกทั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง คดีหมายเลขดำที่ อท 113/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อท 123/2565 ได้วินิจฉัยแล้วว่า ความเสียหายที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้รับจากการดำเนินการโครงการดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาของบริษัทคู่สัญญาหาใช่เป็นผลโดยตรงที่เกิดจากการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาแต่ประการใด

    ดังนั้น จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น กรณีจึงยังฟังไม่ได้ว่า ผู้ถูกกล่าวหาใช้อำนาจในหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตยกเลิกสัญญา PURCHASE TERMS AGREEMENT PTA 070225-08 ในโครงการจัดหาระบบอุปกรณ์ในห้องนักบินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบกล้องวงจรปิดสำหรับตรวจสอบบริเวณห้องนักบิน (Electronic Flight Bag/Cockpit Door Surveillance System หรือ EFB/CDSS) อันมีผลเป็นการสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายต่อบริษัท Global Airworks Inc. เป็นเหตุให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้รับความเสียหาย ตามที่กล่าวหา เห็นว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูล เห็นควรให้ข้อกล่าวหาตกไป

    คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุมครั้งที่ 95/2567 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 ที่ประชุมพิจารณาแล้ว มีมติเป็นเอกฉันท์ ด้วยคะแนนเสียง 5 เสียง เห็นชอบตามความเห็นของคณะไต่สวนเบื้องต้น ว่า ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่จะฟังได้ว่า เรืออากาศโท ณรุจ โกมลารชุน ผู้ถูกกล่าวหา ได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหา ข้อกล่าวหาไม่มีมูล เห็นควรให้ข้อกล่าวหาตกไป

    ที่มา https://www.isranews.org/article/isranews/134601-invesplsas.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR1kI0-fnUDE9ajVg12WB5mv5DGZ3ZKlsaLfqJpzUQtP4llITQyiR18Wh0k_aem_DhSs6GDSfpKfTQf95GOygQ#oqivacefs2fkm2lmydk45pwsq9fj9qdcf
    30 ธันวาคม 2567-สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เผยแพร่มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. เสียงเอกฉันท์ ตีตกข้อกล่าวหา เรืออากาศโทณรุจ โกมลารชุน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนปฏิบัติการ (DO-V) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) สละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายต่อบริษัท Global Airworks Inc. โดยยกเลิกสัญญา PURCHASE TERMS AGREEMENT PTA 070225-08 เป็นเหตุให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้รับความเสียหาย หลังก่อนหน้านี้ถูกชี้มูลความผิดกรณีการจัดซื้ออุปกรณ์ห้องนักบินเอื้อประโยชน์เอกชนโดยมิชอบ ทำรัฐสูญเสีย 147 ล้านบาท ไปแล้ว สำนักงาน ป.ป.ช.ระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่ากระทำผิดโดยสรุป ว่า สืบเนื่องจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการจัดซื้ออุปกรณ์ในห้องนักบิน เพื่อรองรับข้อมูลปฏิบัติการบินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และระบบกล้องวงจรปิดสำหรับตรวจสอบบริเวณห้องนักบิน (Electronic Flight Bag/Cockpit Door Surveillance System, EFB/CDSS) ไม่เป็นไปตามระเบียบบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติเห็นชอบว่าการกระทำของเรืออากาศโท อภินันทน์ สุมนะเศรณี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (DD) กับพวก รวม 3 ราย ในกรณีดังกล่าวมีมูลความผิดทางอาญา และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง จึงมีมติให้ส่งรายงาน สำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน สำเนาอิเล็กทรอนิกส์ และคำวินิจฉัยไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญา พร้อมทั้งส่งรายงาน สำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน สำเนาอิเล็กทรอนิกส์ และคำวินิจฉัยไปยังผู้บังคับบัญชา เพื่อดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 91(1) และ (2) อนึ่ง จากการไต่สวนข้อเท็จจริงมีหลักฐานปรากฏชัดแจ้งว่า บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยเรืออากาศโท อภินันทน์ สุมนะเศรณี ได้ลงนามในสัญญา Purchase Terms Agreement PTA 070225-08 MAY 17, 2007 กับบริษัท Global Airwork Inc. เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 หลังจากนั้น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการตรวจรับและชำระเงินให้แก่บริษัท Global Airwork Inc ไปจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 147,395,028.586 บาท แต่ปรากฏว่าบริษัทดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการตามสัญญาได้ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จึงทำการเลิกสัญญา (Terminate) กับบริษัท Global Airworks Inc. และเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2551 ได้ทำข้อตกลงว่าจ้างบริษัท Airworks International Inc. ให้ดำเนินการตามสัญญา Purchase Terms Agreement PTA 070225-08 ต่อไป ซึ่งเป็นการสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายต่อบริษัท Global Airworks Inc. ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขที่ทำให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เสียประโยชน์ ทั้งที่บริษัทดังกล่าวเป็นฝ่ายผิดสัญญา ซึ่งในทางกฎหมาย บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ว่าจ้าง ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ตามสัญญานั้น ผลการพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ระบุว่า ทางไต่สวนปรากฏข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานรับฟังได้เป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง คดีหมายเลขดำที่ อท 113/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อท 123/2565 ว่า การจัดหาระบบอุปกรณ์ในห้องนักบินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบกล้องวงจรปิดสำหรับตรวจสอบบริเวณห้องนักบิน (Electronic Flight Bag/Cockpit Door Surveillance System หรือ EFB/CDSS) เป็นเรื่องที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยในบริเวณส่วนของผู้ประจำหน้าที่ภาคอากาศ ถือเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการจัดหาโดยเร็วอันเข้ากรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งตามระเบียบบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 ข้อ 127 และข้อ 128 แต่เมื่อการจัดหาโครงการ EFB/CDSS ครั้งนี้ ฝ่ายปฏิบัติการ (DO) ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ใช้ไม่ได้เป็นผู้ขออนุมัติในหลักการเพื่อจัดซื้อจัดจ้างเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาตามลำดับชั้นมาแต่แรก เนื่องจากเป็นกรณีที่คณะกรรมการบริหารบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ใช้อำนาจในทางบริหารพิจารณาอนุมัติในหลักการให้ฝ่ายปฏิบัติการ (DO) ไปดำเนินการจัดหาตามโครงการ EFB/CDSS โดยเร็ว เพราะเห็นว่าโครงการ EFB/CDSS เป็นข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยในบริเวณส่วนของผู้ประจำหน้าที่ภาคอากาศที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จะต้องถือปฏิบัติตาม กล่าวคือเป็นการพิจารณาสั่งการจากระดับบนสู่ระดับล่าง มิใช่กรณีที่หน่วยงานผู้ใช้เป็นผู้จัดซื้อจัดจ้างและทำรายงานหรือทำคำขออนุมัติในหลักการเพื่อจัดหาพัสดุตามข้อ 16 กรณีจึงไม่จำต้องขออนุมัติหลักการจัดหาพัสดุและเสนอตั้งคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างต่อผู้บังคับบัญชาตามระเบียบบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 ข้อ 128 ประกอบข้อ 16 และข้อ 24 ก่อน และหลังจากลงนามในสัญญา PURCHASE TERMS AGREEMENT (PTA) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 แล้ว วันที่ 28 เมษายน 2552 ฝ่ายปฏิบัติการ (DO) ก็ได้รายงานผลการดำเนินโครงการจัดหา EFB/CDSS ให้ที่ประชุมฝ่ายบริหารงานนโยบายบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 22/2552 ทราบ ถือเป็นการรายงานความคืบหน้าและรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้มีอำนาจอนุมัติด้วยวิธีกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งตามข้อ 127 แล้ว สำหรับกรณีที่หลังจากลงนามในสัญญาซื้อขายที่ 070225-08 (Purchase Terms Agreement PTA 070225-08) และข้อตกลงนอกสัญญาฉบับที่ 1 ของสัญญาการซื้อขายที่ 070225-08 (Side Agreement No.1 To Purchase Terms Agreement PTA 070225-08) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 แล้ว ปรากฏข้อเท็จจริงว่า บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท โกลบอล แอร์เวิร์ค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (Global Airworks Inc.) ได้ร่วมกันทำข้อตกลงนอกสัญญาฉบับที่ 2 (Side Agreement No.2 To Purchase Terms Agreement PTA 070225-08) และข้อตกลงนอกสัญญาฉบับที่ 3 (Side Agreement No.3 To Purchase Terms Agreement PTA 070225-08) รวมถึงลงนามในหนังสือการสิ้นสุดแห่งสัญญาจัดซื้อ (TERMINATION OF PURCHASE TERMS AGREEMENT) ฉบับลงวันที่ 2 ธันวาคม 2551 เพื่อยกเลิกการดำเนินการตามสัญญาการซื้อขายที่ 070225-08 (PURCHASE TERMS AGREEMENT PTA 070225-08) พร้อมด้วยข้อตกลงนอกสัญญาฉบับที่ 1 ถึงฉบับที่ 3 และลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MEMORANDUM OF UNDERSTANDING : MOU) ฉบับวันที่ 16 ธันวาคม 2551 กับบริษัท Airworks International Inc. ให้เข้าเป็นคู่สัญญาตามสัญญาซื้อขายที่ 070225-08 และข้อตกลงนอกสัญญาทั้งสามฉบับ ในฐานะผู้รับเหมาหลัก นั้น ทางไต่สวนรับฟังได้ตามถ้อยคำของหัวหน้าฝ่ายบริหารการจัดซื้อหมวดหมู่การบริการองค์กรและเทคโนโลยี (WP) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่า ตามระเบียบบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 หมวด 14 การจัดหาพัสดุ การจ้างซ่อมชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องบินในกิจการฝ่ายช่าง มิได้กำหนดเกี่ยวกับการจัดทำสัญญาและบริหารสัญญาไว้ โดยข้อ 128 กำหนดให้นำความตามข้อกำหนดในหมวด 2 และหมวด 12 มาใช้บังคับกับการพัสดุในหมวดนี้ ดังนั้น การจัดทำสัญญาและการบริหารสัญญาการจัดหาระบบ EFB/CDSS ดังกล่าวข้างต้น หน่วยงานผู้บริหารสัญญาดังกล่าวซึ่งประสงค์จะแก้ไขสัญญาจะต้องดำเนินการตามข้อ 52 วรรคหนึ่ง และยกเลิกสัญญาดังกล่าวจะต้องดำเนินการตามข้อ 57 สำหรับกรณีการลงนามหนังสือการสิ้นสุดแห่งสัญญาจัดซื้อ (TERMINATION OF PURCHASE TERMS AGREEMENT) เพื่อยกเลิกการดำเนินการตามสัญญาการซื้อขายที่ 070225-08 พร้อมด้วยบันทึกข้อตกลงนอกสัญญาฉบับที่ 1 ถึงฉบับที่ 3 กับบริษัท Global Airworks Inc. และจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อเปลี่ยนคู่สัญญาเป็นบริษัท Airworks International Inc. นั้น เห็นว่าต้องพิจารณาเจตนารมณ์ของหน่วยงานผู้บริหารสัญญาหรือผู้รับผิดชอบสัญญาว่า ประสงค์จะบอกเลิกสัญญาเดิมเพื่อดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างรายใหม่หรือไม่ หากประสงค์จะจัดหาผู้รับจ้างรายใหม่จะต้องดำเนินการจัดหาตามขั้นตอนและระเบียบฯ ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการและทำให้งานจ้างสะดุดหยุดลงและไม่ต่อเนื่อง แต่หากมีความต้องการดำเนินงานจ้างต่อเนื่องเพราะมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน เพียงแต่มีเหตุจำเป็นต้องที่จะต้องเปลี่ยนแปลงคู่สัญญาและผู้ที่จะเข้ามาเป็นคู่สัญญาใหม่เป็นผู้ดำเนินการตามสัญญาเดิมอยู่แล้ว ก็ต้องไปพิจารณาตามข้อ 52 วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า เรืออากาศโท ณรุจ โกมลารชุน ผู้ถูกกล่าวหา ได้รายงานการดำเนินการในโครงการติดตั้งระบบ CDSS/EFB (Cockpit Door Surveillance System/Electronic Flight Bag ให้ที่ประชุมฝ่ายบริหารงานนโยบายบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 22/2552 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2552 และที่ประชุมคณะกรรมการบริหารบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 5/2552 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2552 ทราบ โดยสรุปได้ว่า โครงการฯ ได้ดำเนินมาถึงขั้นตอนการทำ First Article Inspection (FAI) และได้ผ่านการตรวจรับจากคณะกรรมการ FOIS แล้ว ซึ่งตามแผนกำหนดการได้วางแผนติดตั้งใน Simulator ในช่วงเดือนเมษายน 2551 ที่ผ่านมา แต่การดำเนินการได้เกิดความล่าช้าและหยุดชะงักลง เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2551 เนื่องจากบริษัท Global Airworks Inc. ซึ่งเป็นบริษัทคู่สัญญายังไม่ได้จ่ายเงินงวดล่าสุดให้แก่บริษัท Airworks International Inc. ทำให้บริษัทดังกล่าวประสบปัญหาขาดทุนเพื่อใช้ในการพัฒนาระบบต่อไป ดังนั้น เพื่อให้โครงการฯ สามารถดำเนินการต่อไปได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และเสร็จสิ้นก่อนวันที่ 31 ตุลาคม 2552 ตามข้อบังคับเรื่อง CDSS ของกรมการขนส่งทางอากาศ คณะกรรมการโครงการ FOIS ได้พิจารณาถึงความคุ้มค่าและความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น จึงเห็นควรให้ทำการโอนย้ายสัญญาจากบริษัทคู่สัญญา คือ บริษัท Global Airworks Inc. ให้เป็นบริษัท Airworks International Inc. ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในระบบเป็นอย่างดี ให้เป็นผู้ดำเนินการโครงการฯ เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คณะทำงานฯ ได้ดำเนินการพัฒนาโครงการ FOIS ร่วมกับบริษัท Airworks International Inc. มาโดยตลอด โดยคณะทำงานฯ ได้ปรึกษาผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายบริหารทั่วไป (DW) และรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายทรัพยากรบุคคลและบริหารทั่วไป (DB) ถึงความเป็นไปได้ที่จะโอนย้ายสัญญาจากบริษัท Global Airworks Inc. ไปเป็นบริษัท Airworks International Inc. และดำเนินการตรวจสอบข้อสัญญาดังกล่าวกับสำนักกฎหมาย Ohashi & Priver ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทฯ ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย (California) แล้ว จากการตรวจสอบพบว่า บริษัทฯ สามารถยกเลิกสัญญากับบริษัท Global Airworks Inc. ได้ ซึ่งบริษัท Global Airworks Inc. ได้ลงนามใน Termination of Purchase Term Agreement (ยุติสัญญา) มีผลตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2551 และบริษัท Airworks International Inc. ได้ลงนามในบันทึก MOU (MEMORANDUM OF UNDERSTANDING) เพื่อใช้เป็นสัญญาในการว่าจ้างต่อไป โดยยึดถือสัญญาและข้อตกลงนอกสัญญาฉบับที่ 1 ถึงฉบับที่ 3 เป็นหลัก ซึ่งจะไม่เป็นภาระเพิ่มเติมกับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) อีกทั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง คดีหมายเลขดำที่ อท 113/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อท 123/2565 ได้วินิจฉัยแล้วว่า ความเสียหายที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้รับจากการดำเนินการโครงการดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาของบริษัทคู่สัญญาหาใช่เป็นผลโดยตรงที่เกิดจากการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาแต่ประการใด ดังนั้น จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น กรณีจึงยังฟังไม่ได้ว่า ผู้ถูกกล่าวหาใช้อำนาจในหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตยกเลิกสัญญา PURCHASE TERMS AGREEMENT PTA 070225-08 ในโครงการจัดหาระบบอุปกรณ์ในห้องนักบินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบกล้องวงจรปิดสำหรับตรวจสอบบริเวณห้องนักบิน (Electronic Flight Bag/Cockpit Door Surveillance System หรือ EFB/CDSS) อันมีผลเป็นการสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายต่อบริษัท Global Airworks Inc. เป็นเหตุให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้รับความเสียหาย ตามที่กล่าวหา เห็นว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูล เห็นควรให้ข้อกล่าวหาตกไป คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุมครั้งที่ 95/2567 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 ที่ประชุมพิจารณาแล้ว มีมติเป็นเอกฉันท์ ด้วยคะแนนเสียง 5 เสียง เห็นชอบตามความเห็นของคณะไต่สวนเบื้องต้น ว่า ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่จะฟังได้ว่า เรืออากาศโท ณรุจ โกมลารชุน ผู้ถูกกล่าวหา ได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหา ข้อกล่าวหาไม่มีมูล เห็นควรให้ข้อกล่าวหาตกไป ที่มา https://www.isranews.org/article/isranews/134601-invesplsas.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR1kI0-fnUDE9ajVg12WB5mv5DGZ3ZKlsaLfqJpzUQtP4llITQyiR18Wh0k_aem_DhSs6GDSfpKfTQf95GOygQ#oqivacefs2fkm2lmydk45pwsq9fj9qdcf
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 360 มุมมอง 0 รีวิว
  • BMW R1200/1250GS/RT/K1600/R18
    F750GS/F850GS/GSA F900R/XR R9T
    - ทำไดนามิคอัพเกรดไม่ใช่การเปลี่ยนหน้าจอแต่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพรถในทั้งระบบ
    - หน้าจอแบบ sport เพื่อความสวยงามและความเป็นสปอร์ทเท่านั้น
    -
    ไดนามิคอัพเกรดเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพรถทั้งระบบ (ฟังดูครอบจักรวาลแต่มันก็คือเรื่องจริงครับ😂)
    สิ่งที่ได้ในรถ adventure จะมี
    ✅1. พละกำลังที่เพิ่มขึ้น
    ✅2. อัตราเร่งที่ไวขึ้นคันเร่งไม่หน่วงไม่ดีเลย
    ✅3. อัตราการส่งกำลัง มีความต่อเนื่องและละเอียดขึ้นไม่สะดุดไม่กระตุก เกียร์ละเอียดละสมูธขึ้น
    ✅4. ระบบเบรค ABS ทำงานได้สมูทขึ้นจับเบรคได้ดีขึ้นระยะสั้นลงชัดเจน
    ✅5. ระบบ traction control ทำงานได้ละเอียดขึ้นสมูทขึ้นการตัดทำให้รถไม่เสียอาการ
    ✅6. ช่วงล่างทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นหนึบขึ้นเฟิร์มขึ้นเหมือนได้โช๊คแต่งรุ่นดีๆเลย แต่ยังเป็นปรับไฟฟ้าที่ละเอียดละเฟิร์มมากขึ้น

    #สิ่งที่จะได้เพิ่มเติม
    ✅1. หน้าจอแบบ m sport 1+3 จอกันเลยทีเดียว(สำหรับรถจอ TFT เฉพาะ GS,GSA)
    ✅2. ไฟ Cruising light หรือไฟหรี่ไฟเลี้ยว
    ✅3. setting on go หรือการตั้งค่าขณะการขับขี่สามารถทำได้ด้วย(จอTFT)
    ✅4. ปรับระบบอุ่นมือเป็น 6 step มีความละเอียดมากขึ้น
    ✅5. ปลดล็อค top speed
    ✅6. อัพเกรดซอฟต์แวร์ให้เป็นเวอร์ชั่นปัจจุบัน

    ถ้าสนใจ dynamic อัพเกรดสามารถติดต่อเข้ามาได้ครับ 📱084-668-3699 มี LINE ครับ
    #DynamicUpgrade #MakelifeaRide #BMWMotorrad #R1200GS #R1250GS #R1300GS #R1200RT #R1250RT #K1600 #R18 #F750GS #F850GSA #F850GS #F900XR #F900R
    #PhadMotorrad
    BMW R1200/1250GS/RT/K1600/R18 F750GS/F850GS/GSA F900R/XR R9T - ทำไดนามิคอัพเกรดไม่ใช่การเปลี่ยนหน้าจอแต่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพรถในทั้งระบบ - หน้าจอแบบ sport เพื่อความสวยงามและความเป็นสปอร์ทเท่านั้น - ไดนามิคอัพเกรดเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพรถทั้งระบบ (ฟังดูครอบจักรวาลแต่มันก็คือเรื่องจริงครับ😂) สิ่งที่ได้ในรถ adventure จะมี ✅1. พละกำลังที่เพิ่มขึ้น ✅2. อัตราเร่งที่ไวขึ้นคันเร่งไม่หน่วงไม่ดีเลย ✅3. อัตราการส่งกำลัง มีความต่อเนื่องและละเอียดขึ้นไม่สะดุดไม่กระตุก เกียร์ละเอียดละสมูธขึ้น ✅4. ระบบเบรค ABS ทำงานได้สมูทขึ้นจับเบรคได้ดีขึ้นระยะสั้นลงชัดเจน ✅5. ระบบ traction control ทำงานได้ละเอียดขึ้นสมูทขึ้นการตัดทำให้รถไม่เสียอาการ ✅6. ช่วงล่างทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นหนึบขึ้นเฟิร์มขึ้นเหมือนได้โช๊คแต่งรุ่นดีๆเลย แต่ยังเป็นปรับไฟฟ้าที่ละเอียดละเฟิร์มมากขึ้น #สิ่งที่จะได้เพิ่มเติม ✅1. หน้าจอแบบ m sport 1+3 จอกันเลยทีเดียว(สำหรับรถจอ TFT เฉพาะ GS,GSA) ✅2. ไฟ Cruising light หรือไฟหรี่ไฟเลี้ยว ✅3. setting on go หรือการตั้งค่าขณะการขับขี่สามารถทำได้ด้วย(จอTFT) ✅4. ปรับระบบอุ่นมือเป็น 6 step มีความละเอียดมากขึ้น ✅5. ปลดล็อค top speed ✅6. อัพเกรดซอฟต์แวร์ให้เป็นเวอร์ชั่นปัจจุบัน ถ้าสนใจ dynamic อัพเกรดสามารถติดต่อเข้ามาได้ครับ 📱084-668-3699 มี LINE ครับ #DynamicUpgrade #MakelifeaRide #BMWMotorrad #R1200GS #R1250GS #R1300GS #R1200RT #R1250RT #K1600 #R18 #F750GS #F850GSA #F850GS #F900XR #F900R #PhadMotorrad
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 886 มุมมอง 0 รีวิว