• ขสมก.เดินรถหมวด 3 เดอะแบกกรมขนส่งฯ

    วันที่ 1 พ.ย. 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) รับหน้าที่เดินรถโดยสาร หมวด 3 สาย 356 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)-บางบัวทอง-บางใหญ่ เป็นการชั่วคราว แทนบริษัท สหายยนต์ จำกัด ผู้ประกอบการรายเดิมที่ยุติการเดินรถ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2567 ที่ผ่านมา อาจรู้สึกแปลกใจสำหรับกลุ่มบัสแฟน เพราะเป็นการเดินรถข้ามหมวด ไม่ตรงตามภารกิจขององค์กรฯ ที่เดินรถในเส้นทางหมวด 1 และหมวด 4 ในกรุงเทพมหานคร แต่เมื่อกรมการขนส่งทางบกขอความร่วมมือก็ต้องทำ

    นับตั้งแต่การปฎิรูปรถเมล์สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เป็น รมว.คมนาคม คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2559 ให้ขนส่งฯ มีอำนาจควบคุมรถเมล์ในกรุงเทพฯ แทน ขสมก. และลดสถานะ ขสมก.เหลือเพียงแค่ผู้ประกอบการรายหนึ่ง โดยที่ผ่านมา ขสมก. กลายเป็นเดอะแบก รับคำสั่งจากขนส่งฯ เวลาที่ผู้ประกอบการเอกชนเดินรถแล้วเจ๊ง เพราะขนส่งฯ ไม่เคยเหลียวแลผู้ประกอบการยามเดือดร้อน

    รถเมล์สายที่ ขสมก.ช่วยเดินรถชั่วคราว อาทิ สาย R26E (สาย 3-26E) สถาบันจักรีนฤบดินทร์-โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2565 กระทั่งขนส่งฯ ได้จัดหาผู้ประกอบการรายใหม่ คือ ไทยสมายล์บัส ให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2567 ทำให้ ขสมก.เดินรถวันที่ 29 ต.ค.เป็นวันสุดท้าย ต่อด้วยสาย Y70E (สาย 4-70E) ศาลายา-สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2566 และสาย 3-21 หรือสาย 207 เดิม มหาวิทยาลัยรามคำแหง 1-รามคำแหง 2 เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2566

    อย่างไรก็ตาม ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีรถเมล์เส้นทางหมวด 3 ตัวอย่างเช่น สาย 356 ปากน้ำ-บางปะกง และสำโรง-บางพลี เดินรถโดย บริษัท สันติมิตรขนส่ง จำกัด, สาย 381 ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต-มศว องครักษ์ เดินรถโดย บริษัท ธัญบุรีขนส่ง จำกัด, สาย 388 ปากเกร็ด-ศาลายา เดินรถโดย บริษัท นิธิทัศน์ทัวร์ (2004) จำกัด ปัจจุบันหยุดการเดินรถแล้ว และสาย 402 สมุทรสาคร-กระทุ่มแบน-นครปฐม เดินรถโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจดีย์ทองขนส่ง

    สำหรับการเดินรถสาย 356 แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)-บางบัวทอง-บางใหญ่ ผ่านฟิวเจอร์พาร์ครังสิต สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแยก คปอ. สะพานใหม่ ถนนแจ้งวัฒนะ ราชภัฎพระนคร ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เมเจอร์ปากเกร็ด สถานีรถไฟฟ้า MRT คลองบางไผ่ สิ้นสุดที่ห้างเซ็นทรัลเวสต์เกต ช่วงที่ 2 วงกลม (ปากเกร็ด-ดอนเมือง) จากท่าน้ำปากเกร็ด ใช้ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนพหลโยธิน ถนนวิภาวดีรังสิต สนามบินดอนเมือง กลับเส้นทางเดิม ให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30-22.00 น.

    #Newskit #ขสมก #รถเมล์ไทย
    ขสมก.เดินรถหมวด 3 เดอะแบกกรมขนส่งฯ วันที่ 1 พ.ย. 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) รับหน้าที่เดินรถโดยสาร หมวด 3 สาย 356 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)-บางบัวทอง-บางใหญ่ เป็นการชั่วคราว แทนบริษัท สหายยนต์ จำกัด ผู้ประกอบการรายเดิมที่ยุติการเดินรถ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2567 ที่ผ่านมา อาจรู้สึกแปลกใจสำหรับกลุ่มบัสแฟน เพราะเป็นการเดินรถข้ามหมวด ไม่ตรงตามภารกิจขององค์กรฯ ที่เดินรถในเส้นทางหมวด 1 และหมวด 4 ในกรุงเทพมหานคร แต่เมื่อกรมการขนส่งทางบกขอความร่วมมือก็ต้องทำ นับตั้งแต่การปฎิรูปรถเมล์สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เป็น รมว.คมนาคม คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2559 ให้ขนส่งฯ มีอำนาจควบคุมรถเมล์ในกรุงเทพฯ แทน ขสมก. และลดสถานะ ขสมก.เหลือเพียงแค่ผู้ประกอบการรายหนึ่ง โดยที่ผ่านมา ขสมก. กลายเป็นเดอะแบก รับคำสั่งจากขนส่งฯ เวลาที่ผู้ประกอบการเอกชนเดินรถแล้วเจ๊ง เพราะขนส่งฯ ไม่เคยเหลียวแลผู้ประกอบการยามเดือดร้อน รถเมล์สายที่ ขสมก.ช่วยเดินรถชั่วคราว อาทิ สาย R26E (สาย 3-26E) สถาบันจักรีนฤบดินทร์-โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2565 กระทั่งขนส่งฯ ได้จัดหาผู้ประกอบการรายใหม่ คือ ไทยสมายล์บัส ให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2567 ทำให้ ขสมก.เดินรถวันที่ 29 ต.ค.เป็นวันสุดท้าย ต่อด้วยสาย Y70E (สาย 4-70E) ศาลายา-สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2566 และสาย 3-21 หรือสาย 207 เดิม มหาวิทยาลัยรามคำแหง 1-รามคำแหง 2 เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2566 อย่างไรก็ตาม ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีรถเมล์เส้นทางหมวด 3 ตัวอย่างเช่น สาย 356 ปากน้ำ-บางปะกง และสำโรง-บางพลี เดินรถโดย บริษัท สันติมิตรขนส่ง จำกัด, สาย 381 ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต-มศว องครักษ์ เดินรถโดย บริษัท ธัญบุรีขนส่ง จำกัด, สาย 388 ปากเกร็ด-ศาลายา เดินรถโดย บริษัท นิธิทัศน์ทัวร์ (2004) จำกัด ปัจจุบันหยุดการเดินรถแล้ว และสาย 402 สมุทรสาคร-กระทุ่มแบน-นครปฐม เดินรถโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจดีย์ทองขนส่ง สำหรับการเดินรถสาย 356 แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)-บางบัวทอง-บางใหญ่ ผ่านฟิวเจอร์พาร์ครังสิต สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแยก คปอ. สะพานใหม่ ถนนแจ้งวัฒนะ ราชภัฎพระนคร ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เมเจอร์ปากเกร็ด สถานีรถไฟฟ้า MRT คลองบางไผ่ สิ้นสุดที่ห้างเซ็นทรัลเวสต์เกต ช่วงที่ 2 วงกลม (ปากเกร็ด-ดอนเมือง) จากท่าน้ำปากเกร็ด ใช้ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนพหลโยธิน ถนนวิภาวดีรังสิต สนามบินดอนเมือง กลับเส้นทางเดิม ให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30-22.00 น. #Newskit #ขสมก #รถเมล์ไทย
    Like
    6
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 296 มุมมอง 0 รีวิว
  • รฟม. x กรุงไทย จะมีบัตร EMV ของตัวเอง

    การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ครบรอบ 1 ปี พบว่าผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 17.70% อยู่ที่ 66,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน สถานีที่ผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เตาปูน ตลาดบางใหญ่ ศูนย์ราชการนนทบุรี บางซ่อน คลองบางไผ่ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณผู้โดยสารให้กับรถไฟฟ้าสายอื่น เช่น รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เพิ่มขึ้น 11.92% อยู่ที่ 420,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน

    ล่าสุด รฟม. ได้ร่วมมือกับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พัฒนาบัตรโดยสารชนิด EMV Contactless รองรับการให้ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบครอบคลุมรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ได้ทุกเส้นทาง สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ อีกทั้งยังใช้โดยสารระบบขนส่งอื่นที่รองรับบัตร EMV Contactless เช่น รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถโดยสารประจำทาง ขสมก. เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ใช้บริการร่วมด้วย

    ก่อนหน้านี้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ได้จำหน่ายบัตรโดยสาร MRT EMV Card ครบทุกประเภท เพื่อทดแทนบัตรรุ่นเก่า มาตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 ซี่งพัฒนาร่วมกับ บริษัท ทีทูพี จำกัด ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ Deep Pocket มีค่าธรรมเนียมออกบัตร 250 บาท วงเงินในบัตร 100 บาท สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชัน Bangkok MRT

    ขณะที่ธนาคารกรุงไทย ได้ออกบัตรเดบิต Krungthai Tranxit สำหรับแตะจ่ายการเดินทางพ่วงประกันอุบัติเหตุ ความคุ้มครอง 30,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ 1,000 บาทต่อครั้ง และบัตรพรีเพด PaotangPay Play Card ผูกกับเงินอิเล็กทรอนิกส์เป๋าตังเปย์ บนแอปฯ เป๋าตัง เมื่อปี 2565 โดยมีภารกิจรับรางวัล สำหรับใช้จ่ายในหมวดการเดินทางสะสมตามที่กำหนด

    ต้องดูว่าบัตรโดยสาร MRT ของ รฟม. ที่ผูกกับแอปฯ เป๋าตัง ซึ่งเป็น Thailand Open Digital Platform ที่มีผู้ใช้งานกว่า 40 ล้านราย หน้าตาจะเป็นอย่างไร แม้ว่าการออกบัตรโดยสารรถไฟฟ้ามีลักษณะต่างคนต่างทำ โดยที่ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังพิจารณาก็ตาม ขณะที่ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะบางรายยังคงใช้ระบบของตัวเองเป็นหลัก เช่น Rabbit ของกลุ่มบีทีเอส, บัตรแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และ Hop Card ของกลุ่มไทยสมายล์บัส เป็นต้น

    #Newskit #EMVContactless #MRTA
    รฟม. x กรุงไทย จะมีบัตร EMV ของตัวเอง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ครบรอบ 1 ปี พบว่าผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 17.70% อยู่ที่ 66,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน สถานีที่ผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เตาปูน ตลาดบางใหญ่ ศูนย์ราชการนนทบุรี บางซ่อน คลองบางไผ่ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณผู้โดยสารให้กับรถไฟฟ้าสายอื่น เช่น รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เพิ่มขึ้น 11.92% อยู่ที่ 420,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน ล่าสุด รฟม. ได้ร่วมมือกับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พัฒนาบัตรโดยสารชนิด EMV Contactless รองรับการให้ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบครอบคลุมรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ได้ทุกเส้นทาง สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ อีกทั้งยังใช้โดยสารระบบขนส่งอื่นที่รองรับบัตร EMV Contactless เช่น รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถโดยสารประจำทาง ขสมก. เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ใช้บริการร่วมด้วย ก่อนหน้านี้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ได้จำหน่ายบัตรโดยสาร MRT EMV Card ครบทุกประเภท เพื่อทดแทนบัตรรุ่นเก่า มาตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 ซี่งพัฒนาร่วมกับ บริษัท ทีทูพี จำกัด ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ Deep Pocket มีค่าธรรมเนียมออกบัตร 250 บาท วงเงินในบัตร 100 บาท สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชัน Bangkok MRT ขณะที่ธนาคารกรุงไทย ได้ออกบัตรเดบิต Krungthai Tranxit สำหรับแตะจ่ายการเดินทางพ่วงประกันอุบัติเหตุ ความคุ้มครอง 30,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ 1,000 บาทต่อครั้ง และบัตรพรีเพด PaotangPay Play Card ผูกกับเงินอิเล็กทรอนิกส์เป๋าตังเปย์ บนแอปฯ เป๋าตัง เมื่อปี 2565 โดยมีภารกิจรับรางวัล สำหรับใช้จ่ายในหมวดการเดินทางสะสมตามที่กำหนด ต้องดูว่าบัตรโดยสาร MRT ของ รฟม. ที่ผูกกับแอปฯ เป๋าตัง ซึ่งเป็น Thailand Open Digital Platform ที่มีผู้ใช้งานกว่า 40 ล้านราย หน้าตาจะเป็นอย่างไร แม้ว่าการออกบัตรโดยสารรถไฟฟ้ามีลักษณะต่างคนต่างทำ โดยที่ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังพิจารณาก็ตาม ขณะที่ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะบางรายยังคงใช้ระบบของตัวเองเป็นหลัก เช่น Rabbit ของกลุ่มบีทีเอส, บัตรแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และ Hop Card ของกลุ่มไทยสมายล์บัส เป็นต้น #Newskit #EMVContactless #MRTA
    Like
    Wow
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 327 มุมมอง 0 รีวิว
  • 3 ปี ไทยสมายล์บัส น้อมรับความไม่สะดวก

    ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ของไทย สมายล์ บัส ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารประจำทางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นับตั้งแต่แถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่สาขาเอกชัย จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 ปัจจุบันมีรถบัสพลังงานไฟฟ้า 2,350 คัน ให้บริการ 123 เส้นทาง พร้อมกัปตันเมล์ (พนักงานขับรถ) 2,500 คน บัสโฮสเตส (พนักงานเก็บค่าโดยสาร) 2,300 คน อู่สาขากว่า 24 สาขา เรือโดยสารพลังงานไฟฟ้ากว่า 40 ลำ ให้บริการ 3 เส้นทาง กัปตันและลูกเรือกว่า 200 คน อาจเรียกได้ว่าเป็น 3 ปีแบบก้าวกระโดด พร้อมกับการปฎิรูปรถเมล์ที่กรมการขนส่งทางบกเป็นเจ้าภาพหลัก

    น.ส.กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทย สมายล์ บัส เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา พิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถทำให้ระบบขนส่งมวลชนที่ถูกละเลย มีรถเมล์พลังงานไฟฟ้าให้บริการกว่า 2,000 คัน และมีเทคโนโลยีทันสมัย มีโรงเรียนฝึกอบรมบุคลากร ปัจจุบันบริษัทฯ ลงทุนพัฒนาจุดชาร์จ อู่สาขาทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนา เติบโตไปพร้อมกับสังคม สิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิด ESG ในทุกมิติ เช่น ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างการจ้างงาน ดูแลผู้โดยสาร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ บริหารด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีธรรมาภิบาล

    "ตนได้ลงพื้นที่ไปรอรถเมล์อยู่ข้างๆ ผู้โดยสารทุกคนตั้งแต่ช่วงเช้าถึงค่ำ เพื่อให้เข้าใจปัญหา ไปอยู่กับหน้างานจริง ซึ่งยอมรับว่า ยังได้เห็นความไม่สะดวกในหลายจุด ในฐานะผู้บริหารขอน้อมรับฟังทุกคำติชม และจะนำไปปรับปรุง พัฒนาต่อไปเพื่อให้พี่น้องคนไทยได้มีรถเมล์คุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศ"

    ที่ผ่านมาได้พัฒนาระบบ Fleet Management งานบริหารจัดการหลังบ้าน กล้อง CCTV เพื่อตรวจสอบคุณภาพการให้บริการ พัฒนาการปล่อยรถ รวมถึงการนำเทคโนโลยีไปปรับปรุงข้อติดขัดต่างๆ พร้อมกับพัฒนาบุคลากร อาทิ โครงการสมาร์ทกัปตัน คัดเลือกพนักงานที่อยู่ในสายรถ ให้เข้ามาเป็นผู้ดูแลสายรถนั้นๆ เพื่อต่อยอดอาชีพ สร้างคุณค่า เพิ่มรายได้ให้กับพนักงานอีก 100 คน รวมทั้งพัฒนาแอปพลิเคชัน TSB Go Plus+ สามารถเติมเงินและอัปเดตยอดบัตร HOP CARD ผ่านระบบ NFC ได้ทันที

    ในอนาคต ไทยสมายล์บัสจะจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อตอบแทนลูกค้า มีสิทธิประโยชน์เฉพาะผู้ถือบัตร HOP CARD ให้ร่วมสนุก มีฟังก์ชันใหม่ๆ ให้ได้ทดลองใช้ และมีพันธมิตรอีกหลายรายที่จะเข้าร่วม ควบคู่กับการแก้ไขปัญหา ยกระดับการให้บริการ หวังคนรุ่นใหม่หันมาใช้รถสาธารณะกันมากขึ้น

    #Newskit #ThaiSmileBus #รถเมล์ไฟฟ้า
    3 ปี ไทยสมายล์บัส น้อมรับความไม่สะดวก ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ของไทย สมายล์ บัส ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารประจำทางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นับตั้งแต่แถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่สาขาเอกชัย จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 ปัจจุบันมีรถบัสพลังงานไฟฟ้า 2,350 คัน ให้บริการ 123 เส้นทาง พร้อมกัปตันเมล์ (พนักงานขับรถ) 2,500 คน บัสโฮสเตส (พนักงานเก็บค่าโดยสาร) 2,300 คน อู่สาขากว่า 24 สาขา เรือโดยสารพลังงานไฟฟ้ากว่า 40 ลำ ให้บริการ 3 เส้นทาง กัปตันและลูกเรือกว่า 200 คน อาจเรียกได้ว่าเป็น 3 ปีแบบก้าวกระโดด พร้อมกับการปฎิรูปรถเมล์ที่กรมการขนส่งทางบกเป็นเจ้าภาพหลัก น.ส.กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทย สมายล์ บัส เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา พิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถทำให้ระบบขนส่งมวลชนที่ถูกละเลย มีรถเมล์พลังงานไฟฟ้าให้บริการกว่า 2,000 คัน และมีเทคโนโลยีทันสมัย มีโรงเรียนฝึกอบรมบุคลากร ปัจจุบันบริษัทฯ ลงทุนพัฒนาจุดชาร์จ อู่สาขาทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนา เติบโตไปพร้อมกับสังคม สิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิด ESG ในทุกมิติ เช่น ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างการจ้างงาน ดูแลผู้โดยสาร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ บริหารด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีธรรมาภิบาล "ตนได้ลงพื้นที่ไปรอรถเมล์อยู่ข้างๆ ผู้โดยสารทุกคนตั้งแต่ช่วงเช้าถึงค่ำ เพื่อให้เข้าใจปัญหา ไปอยู่กับหน้างานจริง ซึ่งยอมรับว่า ยังได้เห็นความไม่สะดวกในหลายจุด ในฐานะผู้บริหารขอน้อมรับฟังทุกคำติชม และจะนำไปปรับปรุง พัฒนาต่อไปเพื่อให้พี่น้องคนไทยได้มีรถเมล์คุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศ" ที่ผ่านมาได้พัฒนาระบบ Fleet Management งานบริหารจัดการหลังบ้าน กล้อง CCTV เพื่อตรวจสอบคุณภาพการให้บริการ พัฒนาการปล่อยรถ รวมถึงการนำเทคโนโลยีไปปรับปรุงข้อติดขัดต่างๆ พร้อมกับพัฒนาบุคลากร อาทิ โครงการสมาร์ทกัปตัน คัดเลือกพนักงานที่อยู่ในสายรถ ให้เข้ามาเป็นผู้ดูแลสายรถนั้นๆ เพื่อต่อยอดอาชีพ สร้างคุณค่า เพิ่มรายได้ให้กับพนักงานอีก 100 คน รวมทั้งพัฒนาแอปพลิเคชัน TSB Go Plus+ สามารถเติมเงินและอัปเดตยอดบัตร HOP CARD ผ่านระบบ NFC ได้ทันที ในอนาคต ไทยสมายล์บัสจะจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อตอบแทนลูกค้า มีสิทธิประโยชน์เฉพาะผู้ถือบัตร HOP CARD ให้ร่วมสนุก มีฟังก์ชันใหม่ๆ ให้ได้ทดลองใช้ และมีพันธมิตรอีกหลายรายที่จะเข้าร่วม ควบคู่กับการแก้ไขปัญหา ยกระดับการให้บริการ หวังคนรุ่นใหม่หันมาใช้รถสาธารณะกันมากขึ้น #Newskit #ThaiSmileBus #รถเมล์ไฟฟ้า
    Like
    Haha
    5
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1068 มุมมอง 0 รีวิว
  • ในวันที่ ขสมก. เดินเข้ามาถึงจุดเปลี่ยน

    25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดการเดินรถเส้นทางปฎิรูปรถเมล์ 107 เส้นทาง ควบคู่เส้นทางเดิมถึง 30 ส.ค. 2567 พร้อมเปิดเส้นทางใหม่ 10 เส้นทาง และยกเลิกเส้นทางเก่า 14 เส้นทางเพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการเอกชน คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส หลังจาก ขสมก.แพ้การประมูลและสูญเสียเส้นทางในมือถึง 28 เส้นทาง

    ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ ขสมก. นับตั้งแต่ ขสมก. ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2519 กระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2526 ให้ ขสมก. เดินรถแต่เพียงรายเดียว โดยมีรถเอกชนร่วมบริการทำสัญญากับ ขสมก.

    ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบยกเลิกมติ ครม. เดิมเมื่อปี 2526 เปลี่ยนเป็น ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) แต่เพียงผู้เดียว ลดสถานะ ขสมก. เป็นเพียงผู้ประกอบการเดินรถ (Operator) รายหนึ่งร่วมกับเอกชนเท่านั้น

    หลังจากนั้น กรมการขนส่งทางบก เดินหน้าปฎิรูปเส้นทางรถเมล์ ทั้งกำหนดโครงข่ายเส้นทางใหม่ จัดสรรเส้นทางการเดินรถตามโครงข่ายใหม่ กำหนดเงื่อนไขขอรับใบอนุญาต การคัดเลืกอกผู้ประกอบการ และออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งใหม่ โดยมีนโยบาย "1 เส้นทาง 1 ผู้ประกอบการ" เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการแข่งขันแย่งชิงผู้โดยสารในเส้นทางเดียวกัน

    มาถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2564 กรมการขนส่งทางบกเปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมประกอบการเดินรถ 77 เส้นทาง ใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพบริการ 90 คะแนน และเกณฑ์การเยียวยา 10 คะแนน ปรากฎว่า กลุ่มไทยสมายล์บัสได้ไป 71 เส้นทาง เอกชนรายอื่น 6 เส้นทาง ภายหลังมารวมกัน และผนวกกับซื้อกิจการสมาร์ทบัส ทำให้มีเส้นทางในมือรวม 123 เส้นทาง

    ส่วน ขสมก. ประมูลไม่ได้แม้แต่เส้นทางเดียว เพราะไม่มีรถใหม่ และต้องสูญเสียเส้นทางในมือไปอีก 28 เส้นทาง กระทั่ง ขสมก. ทยอยยุติการเดินรถเพื่อให้เอกชนเดินรถอย่างเต็มตัว เริ่มจากสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 แต่ถึงกระนั้น กรมการขนส่งทางบกสำรองสัมปทานให้ ขสมก. จำนวน 107 เส้นทาง และได้ทยอยเปิดการเดินรถมาถึงวันนี้

    ปัญหาที่ ขสมก. ประสบ นอกจากการสูญเสียเส้นทางเดินรถ ซึ่งบางเส้นทางทำเงินให้กับ ขสมก. ตลอดมา แถมต้องบุกเบิกเส้นทางใหม่ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดแล้ว ยังประสบปัญหารถเมล์เอ็นจีวีสีฟ้า อายุกว่า 7 ปีถูกตัดจอด และยังไม่มีการจัดหารถเมล์ใหม่เข้ามา เพราะที่ผ่านมาแผนฟื้นฟู ขสมก. ยังไม่มีความชัดเจน แถมยังขาดทุนสะสมนับแสนล้านบาท

    ขณะที่ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า ขสมก. ไม่มีอำนาจเต็มอีกแล้ว เวลาพูดถึงปัญหารถเมล์มักจะโทษ ขสมก. เอาไว้ก่อน ขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลตัวจริง อย่างกรมการขนส่งทางบก กลับลอยตัวเหนือปัญหาทั้งปวง

    #Newskit #ขสมก #ปฎิรูปรถเมล์
    ในวันที่ ขสมก. เดินเข้ามาถึงจุดเปลี่ยน 25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดการเดินรถเส้นทางปฎิรูปรถเมล์ 107 เส้นทาง ควบคู่เส้นทางเดิมถึง 30 ส.ค. 2567 พร้อมเปิดเส้นทางใหม่ 10 เส้นทาง และยกเลิกเส้นทางเก่า 14 เส้นทางเพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการเอกชน คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส หลังจาก ขสมก.แพ้การประมูลและสูญเสียเส้นทางในมือถึง 28 เส้นทาง ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ ขสมก. นับตั้งแต่ ขสมก. ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2519 กระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2526 ให้ ขสมก. เดินรถแต่เพียงรายเดียว โดยมีรถเอกชนร่วมบริการทำสัญญากับ ขสมก. ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบยกเลิกมติ ครม. เดิมเมื่อปี 2526 เปลี่ยนเป็น ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) แต่เพียงผู้เดียว ลดสถานะ ขสมก. เป็นเพียงผู้ประกอบการเดินรถ (Operator) รายหนึ่งร่วมกับเอกชนเท่านั้น หลังจากนั้น กรมการขนส่งทางบก เดินหน้าปฎิรูปเส้นทางรถเมล์ ทั้งกำหนดโครงข่ายเส้นทางใหม่ จัดสรรเส้นทางการเดินรถตามโครงข่ายใหม่ กำหนดเงื่อนไขขอรับใบอนุญาต การคัดเลืกอกผู้ประกอบการ และออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งใหม่ โดยมีนโยบาย "1 เส้นทาง 1 ผู้ประกอบการ" เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการแข่งขันแย่งชิงผู้โดยสารในเส้นทางเดียวกัน มาถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2564 กรมการขนส่งทางบกเปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมประกอบการเดินรถ 77 เส้นทาง ใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพบริการ 90 คะแนน และเกณฑ์การเยียวยา 10 คะแนน ปรากฎว่า กลุ่มไทยสมายล์บัสได้ไป 71 เส้นทาง เอกชนรายอื่น 6 เส้นทาง ภายหลังมารวมกัน และผนวกกับซื้อกิจการสมาร์ทบัส ทำให้มีเส้นทางในมือรวม 123 เส้นทาง ส่วน ขสมก. ประมูลไม่ได้แม้แต่เส้นทางเดียว เพราะไม่มีรถใหม่ และต้องสูญเสียเส้นทางในมือไปอีก 28 เส้นทาง กระทั่ง ขสมก. ทยอยยุติการเดินรถเพื่อให้เอกชนเดินรถอย่างเต็มตัว เริ่มจากสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 แต่ถึงกระนั้น กรมการขนส่งทางบกสำรองสัมปทานให้ ขสมก. จำนวน 107 เส้นทาง และได้ทยอยเปิดการเดินรถมาถึงวันนี้ ปัญหาที่ ขสมก. ประสบ นอกจากการสูญเสียเส้นทางเดินรถ ซึ่งบางเส้นทางทำเงินให้กับ ขสมก. ตลอดมา แถมต้องบุกเบิกเส้นทางใหม่ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดแล้ว ยังประสบปัญหารถเมล์เอ็นจีวีสีฟ้า อายุกว่า 7 ปีถูกตัดจอด และยังไม่มีการจัดหารถเมล์ใหม่เข้ามา เพราะที่ผ่านมาแผนฟื้นฟู ขสมก. ยังไม่มีความชัดเจน แถมยังขาดทุนสะสมนับแสนล้านบาท ขณะที่ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า ขสมก. ไม่มีอำนาจเต็มอีกแล้ว เวลาพูดถึงปัญหารถเมล์มักจะโทษ ขสมก. เอาไว้ก่อน ขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลตัวจริง อย่างกรมการขนส่งทางบก กลับลอยตัวเหนือปัญหาทั้งปวง #Newskit #ขสมก #ปฎิรูปรถเมล์
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 683 มุมมอง 0 รีวิว
  • 25 กรกฎาคมนี้ จุดเปลี่ยน ขสมก.

    ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ยุติการให้บริการรถโดยสารประจำทาง 14 เส้นทาง ตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการรายใหม่ คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส ทำการเดินรถแทน นับเป็นการยุติการเดินรถล็อตใหญ่ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนรถเมล์ไทยก็ว่าได้

    เพราะมีทั้งเส้นทาง ขสมก.ให้บริการมาแล้วหลายปี เช่น สาย 1 ถนนตก-ท่าเตียน รวมไปถึงหลายเส้นทางที่เป็นสายยอดนิยม ก็ยุติการเดินรถไปด้วย เช่น สาย 71 สวนสยาม-วัดธาตุทอง สาย 77 เซ็นทรัลพระราม 3-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) สาย 84 วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี สาย 515 เซ็นทรัลศาลายา-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฯลฯ

    ขณะนี้รถประจำทาง ขสมก. ทั้ง 14 เส้นทาง ได้ติดแผ่นกระดาษประชาสัมพันธ์บนรถโดยสารประจำทางไปแล้ว โดยหลังจากวันที่ 25 กรกฎาคม จะไม่มีรถให้บริการอีก ส่วนรถโดยสารเดิมจะนำไปจัดสรรให้กับเส้นทางอื่นที่ขาดแคลน รวมทั้งเตรียมพร้อมเปิดเส้นทางใหม่ ที่กรมการขนส่งทางบกอนุมัติเส้นทางปฎิรูป ทั้งเส้นทางเดิมที่ปรับปรุง และเส้นทางใหม่ รวม 107 เส้นทาง

    ก่อนหน้านี้ ขสมก. ยุติการเดินรถเพื่อส่งต่อให้กับผู้ประกอบการเอกชน มาตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ประเดิมด้วยสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง ก่อนที่จะมีสายอื่นตามมา โดยเฉพาะเส้นทางทำเงินอย่างสาย 140 อู่แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

    ด้านบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ได้เตรียมรถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เพิ่มอีกกว่า 389 คัน และจะทยอยเพิ่มจำนวนต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดให้ 4 เส้นทางให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก่ สาย 4 ท่าน้ำภาษีเจริญ - ท่าเรือคลองเตย สาย 25 ท่าช้างวังหลวง - อู่สายลวด สาย 82 พระประแดง - บางลำพู และสาย 84 สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ - สามพราน

    #Newskit #ขสมก #ไทยสมายล์บัส
    25 กรกฎาคมนี้ จุดเปลี่ยน ขสมก. ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ยุติการให้บริการรถโดยสารประจำทาง 14 เส้นทาง ตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการรายใหม่ คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส ทำการเดินรถแทน นับเป็นการยุติการเดินรถล็อตใหญ่ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนรถเมล์ไทยก็ว่าได้ เพราะมีทั้งเส้นทาง ขสมก.ให้บริการมาแล้วหลายปี เช่น สาย 1 ถนนตก-ท่าเตียน รวมไปถึงหลายเส้นทางที่เป็นสายยอดนิยม ก็ยุติการเดินรถไปด้วย เช่น สาย 71 สวนสยาม-วัดธาตุทอง สาย 77 เซ็นทรัลพระราม 3-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) สาย 84 วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี สาย 515 เซ็นทรัลศาลายา-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฯลฯ ขณะนี้รถประจำทาง ขสมก. ทั้ง 14 เส้นทาง ได้ติดแผ่นกระดาษประชาสัมพันธ์บนรถโดยสารประจำทางไปแล้ว โดยหลังจากวันที่ 25 กรกฎาคม จะไม่มีรถให้บริการอีก ส่วนรถโดยสารเดิมจะนำไปจัดสรรให้กับเส้นทางอื่นที่ขาดแคลน รวมทั้งเตรียมพร้อมเปิดเส้นทางใหม่ ที่กรมการขนส่งทางบกอนุมัติเส้นทางปฎิรูป ทั้งเส้นทางเดิมที่ปรับปรุง และเส้นทางใหม่ รวม 107 เส้นทาง ก่อนหน้านี้ ขสมก. ยุติการเดินรถเพื่อส่งต่อให้กับผู้ประกอบการเอกชน มาตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ประเดิมด้วยสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง ก่อนที่จะมีสายอื่นตามมา โดยเฉพาะเส้นทางทำเงินอย่างสาย 140 อู่แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ด้านบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ได้เตรียมรถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เพิ่มอีกกว่า 389 คัน และจะทยอยเพิ่มจำนวนต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดให้ 4 เส้นทางให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก่ สาย 4 ท่าน้ำภาษีเจริญ - ท่าเรือคลองเตย สาย 25 ท่าช้างวังหลวง - อู่สายลวด สาย 82 พระประแดง - บางลำพู และสาย 84 สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ - สามพราน #Newskit #ขสมก #ไทยสมายล์บัส
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 576 มุมมอง 0 รีวิว