วันแบงค็อก กับห้าง‘หลง’ที่สุด
จากความตั้งใจของเสี่ยเจริญ และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ที่อยากให้ประเทศไทยมีแลนด์มาร์คพิเศษ ที่ทำให้ชาวโลกรู้สึกชื่นชมที่จะนำความเจริญ และความภาคภูมิใจมาสู่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นำมาสู่ วันแบงค็อก (One Bangkok) โครงการอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ที่สุดในไทย มูลค่าการลงทุนกว่า 120,000 ล้านบาท บนที่ดินกว่า 108 ไร่ ซึ่งเช่าระยะยาวจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2567
พื้นที่ค้าปลีกกว่า 190,000 ตารางเมตร ที่เปิดให้บริการมี 2 โซน ได้แก่ โซนพาเหรด (Parade) โซนเดอะสตอรี่ส์ (The Storeys) ที่ยังไม่เปิดคือโซนโพสต์ไนน์ทีนไนน์ตี้เอท (POST 1928) เสียงวิจารณ์ที่ตามมานอกจากทำถนนวิทยุ ถนนพระรามที่ 4 และถนนสาทร รถติดหนักกว่าเดิมแล้ว โครงการมิกซ์ยูสที่ใหญ่และแยกเป็นหลายอาคาร ทำให้คนที่มาเยือนครั้งแรกเกิดหลงทางทันที จากเดิมที่เซ็นทรัลเวิลด์ครองแชมป์เดินแล้วหลง เจอวันแบงค็อกเข้าไปต้องเรียกพี่
แนะนำว่าถ้ามาครั้งแรก ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ลงสถานีลุมพินี ทางออก 1 ดีที่สุด มีทางเชื่อมใต้ดินไปยังโครงการ และจำไว้ว่า MRT ตั้งอยู่ในโซนพาเหรด ชั้น B1 อาคาร Tower 3 ฝั่งถนนพระรามที่ 4
ชั้น B1 พบกับบิ๊กซีมินิ ร้านอาหาร เดินเลี้ยวขวาสุดทางเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตและฟู้ดฮอลล์สัญชาติญี่ปุ่น มิตซูโคชิ เดปาจิกะ (Mitsukoshi Depachika) ชั้น G เป็นลานพาเหรดสแควร์ (Parade Square) สำหรับจัดงานมินิคอนเสิร์ต ชั้น 1-2 เป็นคิงเพาเวอร์ ซิตี้บูติก (King Power City Boutique) จำหน่ายสินค้าดิวตี้ฟรี สินค้าซื้อแล้วรับกลับทันที ชั้น 3 เป็นห้างสารพัดไทย ของคิงเพาเวอร์ ชั้น 5 เป็นโรงภาพยนตร์วันอัลตร้าสกรีน (One Ultra Screen) และศูนย์อาหารฟู้ดสตรีท (Food Street)
เดินไปทางซ้ายจะเป็นโซนเดอะสตอรี่ส์ ฝั่งถนนวิทยุ ประกอบด้วยร้านอาหาร ร้านค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ ซึ่งทั้งสองโซนจะเชื่อมถึงกัน ตรงกลางจะเป็นวันแบงค็อกพาร์ค (One Bangkok Park) พื้นที่จัดกิจกรรมกลางแจ้ง ทางเข้าอาคาร Tower 4
ถัดไปจะเป็นวันแบงค็อกบูเลอวาร์ด (One Bangkok Boulevard) อาคารโพสต์ไนน์ทีนไนน์ตี้เอท อาคาร Tower 5 และอาคารวันแบงค็อกฟอรั่ม (One Bangkok Forum) ศูนย์ประชุมและจัดคอนเสิร์ต โดยชั้น G มีบิ๊กซี บางกอก มาร์เช่ (Big C Bangkok Marché) โมเดลฟู้ดเพลสรูปแบบใหม่ แต่ยังไม่เปิดเต็มรูปแบบ อยู่ใกล้ทางเชื่อมทางด่วนเฉลิมมหานคร ด่านลุมพินีมากที่สุด นับจากนี้จะมีโรงแรม เซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ตามมา และอาคารสูงที่สุดในประเทศไทย ปี 2569
#Newskit #OneBangkok วันแบงค็อก กับห้าง‘หลง’ที่สุด
จากความตั้งใจของเสี่ยเจริญ และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ที่อยากให้ประเทศไทยมีแลนด์มาร์คพิเศษ ที่ทำให้ชาวโลกรู้สึกชื่นชมที่จะนำความเจริญ และความภาคภูมิใจมาสู่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นำมาสู่ วันแบงค็อก (One Bangkok) โครงการอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ที่สุดในไทย มูลค่าการลงทุนกว่า 120,000 ล้านบาท บนที่ดินกว่า 108 ไร่ ซึ่งเช่าระยะยาวจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2567
พื้นที่ค้าปลีกกว่า 190,000 ตารางเมตร ที่เปิดให้บริการมี 2 โซน ได้แก่ โซนพาเหรด (Parade) โซนเดอะสตอรี่ส์ (The Storeys) ที่ยังไม่เปิดคือโซนโพสต์ไนน์ทีนไนน์ตี้เอท (POST 1928) เสียงวิจารณ์ที่ตามมานอกจากทำถนนวิทยุ ถนนพระรามที่ 4 และถนนสาทร รถติดหนักกว่าเดิมแล้ว โครงการมิกซ์ยูสที่ใหญ่และแยกเป็นหลายอาคาร ทำให้คนที่มาเยือนครั้งแรกเกิดหลงทางทันที จากเดิมที่เซ็นทรัลเวิลด์ครองแชมป์เดินแล้วหลง เจอวันแบงค็อกเข้าไปต้องเรียกพี่
แนะนำว่าถ้ามาครั้งแรก ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ลงสถานีลุมพินี ทางออก 1 ดีที่สุด มีทางเชื่อมใต้ดินไปยังโครงการ และจำไว้ว่า MRT ตั้งอยู่ในโซนพาเหรด ชั้น B1 อาคาร Tower 3 ฝั่งถนนพระรามที่ 4
ชั้น B1 พบกับบิ๊กซีมินิ ร้านอาหาร เดินเลี้ยวขวาสุดทางเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตและฟู้ดฮอลล์สัญชาติญี่ปุ่น มิตซูโคชิ เดปาจิกะ (Mitsukoshi Depachika) ชั้น G เป็นลานพาเหรดสแควร์ (Parade Square) สำหรับจัดงานมินิคอนเสิร์ต ชั้น 1-2 เป็นคิงเพาเวอร์ ซิตี้บูติก (King Power City Boutique) จำหน่ายสินค้าดิวตี้ฟรี สินค้าซื้อแล้วรับกลับทันที ชั้น 3 เป็นห้างสารพัดไทย ของคิงเพาเวอร์ ชั้น 5 เป็นโรงภาพยนตร์วันอัลตร้าสกรีน (One Ultra Screen) และศูนย์อาหารฟู้ดสตรีท (Food Street)
เดินไปทางซ้ายจะเป็นโซนเดอะสตอรี่ส์ ฝั่งถนนวิทยุ ประกอบด้วยร้านอาหาร ร้านค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ ซึ่งทั้งสองโซนจะเชื่อมถึงกัน ตรงกลางจะเป็นวันแบงค็อกพาร์ค (One Bangkok Park) พื้นที่จัดกิจกรรมกลางแจ้ง ทางเข้าอาคาร Tower 4
ถัดไปจะเป็นวันแบงค็อกบูเลอวาร์ด (One Bangkok Boulevard) อาคารโพสต์ไนน์ทีนไนน์ตี้เอท อาคาร Tower 5 และอาคารวันแบงค็อกฟอรั่ม (One Bangkok Forum) ศูนย์ประชุมและจัดคอนเสิร์ต โดยชั้น G มีบิ๊กซี บางกอก มาร์เช่ (Big C Bangkok Marché) โมเดลฟู้ดเพลสรูปแบบใหม่ แต่ยังไม่เปิดเต็มรูปแบบ อยู่ใกล้ทางเชื่อมทางด่วนเฉลิมมหานคร ด่านลุมพินีมากที่สุด นับจากนี้จะมีโรงแรม เซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ตามมา และอาคารสูงที่สุดในประเทศไทย ปี 2569
#Newskit #OneBangkok