• นายกฯ แพทองธาร ยืนยันความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวจีนในไทย พร้อมกระชับความร่วมมือปราบอาชญากรรมข้ามชาติ
    .
    ระหว่างการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อจีน 'China Daily' เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักท่องเที่ยวชาวจีนเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย เธอย้ำว่าข่าวลือที่เกี่ยวข้องกับความไม่ปลอดภัยในไทยเป็นเพียงข่าวลือ และรัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวอย่างสูงสุด นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างไทยและจีน โดยระบุว่าตนเองมีเชื้อสายจีน และต้องการให้นักท่องเที่ยวชาวจีนรู้สึกเหมือนอยู่บ้านเมื่อมาเยือนประเทศไทย
    .
    ในการพบปะกับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน ทั้งสองผู้นำได้ตกลงที่จะเสริมสร้างความร่วมมือในการปราบปรามเครือข่ายอาชญากรรมออนไลน์ที่แพร่หลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเมียนมา กัมพูชา และลาว ซึ่งกลุ่มอาชญากรรมเหล่านี้มักล่อลวงผู้คนด้วยการเสนองานที่มีรายได้ดี แต่กลับบังคับให้พวกเขาทำงานในศูนย์ปฏิบัติการลับ ความร่วมมือนี้รวมถึงการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมระหว่างสองประเทศ
    .
    นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ยังได้หารือกับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงระหว่างจีนและไทย และแสดงความสนใจในการขยายความร่วมมือด้านยานยนต์ไฟฟ้า การเยือนครั้งนี้ยังเป็นการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปีของความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ
    .
    #MGRonline #MGRInfographics #แพทองธารชินวัตร #นายกรัฐมนตรี #เยือนจีน #ChinaDaily #สื่อจีน #นักท่องเที่ยวจีน #ท่องเที่ยวไทย #สีจิ้นผิง
    นายกฯ แพทองธาร ยืนยันความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวจีนในไทย พร้อมกระชับความร่วมมือปราบอาชญากรรมข้ามชาติ . ระหว่างการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อจีน 'China Daily' เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักท่องเที่ยวชาวจีนเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย เธอย้ำว่าข่าวลือที่เกี่ยวข้องกับความไม่ปลอดภัยในไทยเป็นเพียงข่าวลือ และรัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวอย่างสูงสุด นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างไทยและจีน โดยระบุว่าตนเองมีเชื้อสายจีน และต้องการให้นักท่องเที่ยวชาวจีนรู้สึกเหมือนอยู่บ้านเมื่อมาเยือนประเทศไทย . ในการพบปะกับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน ทั้งสองผู้นำได้ตกลงที่จะเสริมสร้างความร่วมมือในการปราบปรามเครือข่ายอาชญากรรมออนไลน์ที่แพร่หลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเมียนมา กัมพูชา และลาว ซึ่งกลุ่มอาชญากรรมเหล่านี้มักล่อลวงผู้คนด้วยการเสนองานที่มีรายได้ดี แต่กลับบังคับให้พวกเขาทำงานในศูนย์ปฏิบัติการลับ ความร่วมมือนี้รวมถึงการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมระหว่างสองประเทศ . นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ยังได้หารือกับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงระหว่างจีนและไทย และแสดงความสนใจในการขยายความร่วมมือด้านยานยนต์ไฟฟ้า การเยือนครั้งนี้ยังเป็นการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปีของความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ . #MGRonline #MGRInfographics #แพทองธารชินวัตร #นายกรัฐมนตรี #เยือนจีน #ChinaDaily #สื่อจีน #นักท่องเที่ยวจีน #ท่องเที่ยวไทย #สีจิ้นผิง
    Like
    Haha
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 498 มุมมอง 0 รีวิว

  • *นักรบอเมริกันและอังกฤษเข้าพม่าแล้ว*
    โดย นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัย

    จะควบคุมไม่ให้จีนมีความสงบที่จะพัฒนาจนกลายเป็นมหาอำนาจแข่งกับตัวเอง สหรัฐฯและตะวันตกต้องหนุนไต้หวัน

    จะให้รัสเซียเสียสมาธิในการพัฒนาประเทศใหญ่และมีทรัพยากรมากที่สุดในโลก

    สหรัฐฯและตะวันตกต้องหนุนอูเครน จอร์เจีย และประเทศทั้งหลายที่มีพรมแดนประชิดติดกับรัสเซีย สร้างสงครามเพื่อฉุดรัสเซียให้ลงมา

    อิหร่านเป็นประเทศใหญ่และมีท่าทีเป็นศัตรูต่อสหรัฐฯ สหรัฐฯและตะวันตกจำเป็นต้องหนุนอาเซอร์ไบจาน ต่อไปในอนาคต

    สหรัฐฯจะเผชิญกับมหาอำนาจใหม่อย่างจีน รัสเซีย และอินเดีย

    มีอยู่ประเทศหนึ่งซึ่งถ้าสหรัฐฯและตะวันตกสามารถเข้าไปมีอิทธิพลได้ ก็สามารถสร้างความหงุดหงิดกังวลใจให้ทั้งจีนและอินเดียได้ ประเทศนั้นคือ “สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า”

    พม่ามีพื้นที่มากกว่าไทย คือมีมากถึง 676,578 ตร.กม. มีพรมแดนติดกับจีนยาว 2,129 กิโลเมตร และติดอินเดีย 1,468 กิโลเมตร หากสหรัฐฯและตะวันตกมีอิทธิพลต่อรัฐบาลใหม่ของพม่า ก็สามารถใช้พม่าเป็นฐานก่อกวนได้ทั้งอินเดียและจีน ยิงปืนนัดเดียว นกตกลงมาทั้ง 2 ตัว

    สำนักข่าวเดอะบิสซิเนสสแตนดาร์ดและสำนักข่าวอัลจาซีราห์ยืนยันตรงกันว่า มีอาสาสมัครจากตะวันตก สัญชาติอเมริกันและอังกฤษ เข้าร่วมรบต่อต้านรัฐบาลพม่า

    เมื่อถามว่า พวกคุณมารบทำไม ทหารตะวันตกพวกนี้ตอบว่า พวกตนได้แรงบันดาลใจจากความกล้าหาญของพวกต่อต้านรัฐประหาร จึงต้องมาช่วยรบ

    นักรบอเมริกันและอังกฤษพวกนี้เคยปฏิบัติงานทั้งในอัฟกานิสถานและอูเครน ขณะกำลังสู้รบเคียงบ่าเคียงไหล่กับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าก็มีการถ่ายคลิปวิดีโอกระจายออกไป เพื่อดึงคนที่สนใจให้เข้ามาช่วยกันรบ

    ขณะนี้มีการเตรียมตั้งทีมทหารที่เคยผ่านสงครามในหลายสมรภูมิ ชาวสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย ฯลฯ เพื่อเข้ามาช่วยฝ่ายต่อต้าน

    พม่าประกอบด้วย 7 ภาค และ 7 รัฐ แต่ละภาคและรัฐมีเมืองเอก หรือเมืองหลวงเป็นของตนเอง เช่น ภาคสะกาย ภาคมัณฑะเลย์ ภาคมะเกว ภาคพะโค ภาคย่างกุ้ง ทั้ง 5 ภาค มีเมืองหลวงชื่อเดียวกับชื่อภาค

    ยกเว้นภาคเอยาวดีที่มีเมืองหลวงชื่อพะสิม และภาคตะนาวศรีที่มีเมืองหลวงชื่อทวาย

    ประชาชนคนในภาคส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า หากประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยก็จะถูกตั้งเป็นรัฐ

    รัฐคะฉิ่น (เมืองหลวงคือมิตจินา) รัฐคะยา (ลอยก่อ) รัฐกะเหรี่ยง (พะอัน) รัฐชิน (ฮะคา) รัฐมอญ (เมาะลำไย) รัฐยะไข่ (ชิตตเว) และรัฐฉาน (ตองจี) รัฐเหล่านี้มีทหารตะวันตกเข้าไปฝังตัวแล้ว

    หลายคนเปิดเผยตัวตนผ่านคลิป บางคนบอกว่า อ้า ข้าพเจ้ามาจากสหรัฐฯตอนใต้ บางคนมาจากอังกฤษที่เคยช่วยกองกำลังวายพีจีที่นำโดยชาวเคิร์ดในซีเรีย ทุกคนบอกว่าที่ตนมาปฏิบัติการนี้ เป็นการปฏิบัติการเพื่อชาวโลกอย่างเดียวกับที่ช่วยซีเรียกับอูเครน

    กลุ่มศาสนาก็เอากับเขาด้วย นอกจากกลุ่มมนุษยธรรมคริสเตียน (เอฟบีอาร์) จะให้สิ่งของและการรักษาพยาบาลแล้ว ยังมีภาพและคลิปของสมาชิกเอฟบีอาร์แต่งชุดติดอาวุธ

    พม่าจะเป็นพื้นที่แห่งใหม่ที่มหาอำนาจใหญ่ใช้ประลองกำลัง ขณะที่ตะวันตกส่งทหารรับจ้างมาปฏิบัติงาน มีข่าวที่ไม่ได้ยืนยันว่า รัสเซียส่งครูมาสอนวิธีการใช้อาวุธรัสเซียให้กับทหารพม่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลพม่าก็เดินทางไปเยือนจีนกับรัสเซียเพื่อจัดหาโดรนมาใช้ในการสู้รบ

    ไทยมีพรมแดนประชิดติดกับพม่า 2,416 กิโลเมตร เป็นพรมแดนที่ยาวที่สุดที่พม่ามีกับประเทศอื่น นอกจากนั้นยังมีชาวพม่าเข้ามาทำงานในประเทศไทยหลายล้านคน แน่นอนว่าหายนภัยที่มาจากการสู้รบ ต้องกระทบกับประเทศไทยของเราอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง

    โลกกำลังมีการเปลี่ยนแปลงรุนแรง ทั้งด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองระหว่างประเทศ ตอนที่เกิดสงครามรัสเซีย-อูเครน หลายท่านก็เฉยๆ เพราะคิดว่าสถานที่สู้รบอยู่ห่างไกลจากประเทศไทย

    ตอนที่เกิดความขัดแย้งจีน-ไต้หวัน หลายคนก็บอก โอย ไกลจากไทยเยอะแยะ อย่าไปสนใจ

    อ้าว เฮ้ย วันนี้ สงครามใหญ่ใกล้ประชิดติดพรมแดนของเราแล้ว..
    *นักรบอเมริกันและอังกฤษเข้าพม่าแล้ว* โดย นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัย จะควบคุมไม่ให้จีนมีความสงบที่จะพัฒนาจนกลายเป็นมหาอำนาจแข่งกับตัวเอง สหรัฐฯและตะวันตกต้องหนุนไต้หวัน จะให้รัสเซียเสียสมาธิในการพัฒนาประเทศใหญ่และมีทรัพยากรมากที่สุดในโลก สหรัฐฯและตะวันตกต้องหนุนอูเครน จอร์เจีย และประเทศทั้งหลายที่มีพรมแดนประชิดติดกับรัสเซีย สร้างสงครามเพื่อฉุดรัสเซียให้ลงมา อิหร่านเป็นประเทศใหญ่และมีท่าทีเป็นศัตรูต่อสหรัฐฯ สหรัฐฯและตะวันตกจำเป็นต้องหนุนอาเซอร์ไบจาน ต่อไปในอนาคต สหรัฐฯจะเผชิญกับมหาอำนาจใหม่อย่างจีน รัสเซีย และอินเดีย มีอยู่ประเทศหนึ่งซึ่งถ้าสหรัฐฯและตะวันตกสามารถเข้าไปมีอิทธิพลได้ ก็สามารถสร้างความหงุดหงิดกังวลใจให้ทั้งจีนและอินเดียได้ ประเทศนั้นคือ “สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า” พม่ามีพื้นที่มากกว่าไทย คือมีมากถึง 676,578 ตร.กม. มีพรมแดนติดกับจีนยาว 2,129 กิโลเมตร และติดอินเดีย 1,468 กิโลเมตร หากสหรัฐฯและตะวันตกมีอิทธิพลต่อรัฐบาลใหม่ของพม่า ก็สามารถใช้พม่าเป็นฐานก่อกวนได้ทั้งอินเดียและจีน ยิงปืนนัดเดียว นกตกลงมาทั้ง 2 ตัว สำนักข่าวเดอะบิสซิเนสสแตนดาร์ดและสำนักข่าวอัลจาซีราห์ยืนยันตรงกันว่า มีอาสาสมัครจากตะวันตก สัญชาติอเมริกันและอังกฤษ เข้าร่วมรบต่อต้านรัฐบาลพม่า เมื่อถามว่า พวกคุณมารบทำไม ทหารตะวันตกพวกนี้ตอบว่า พวกตนได้แรงบันดาลใจจากความกล้าหาญของพวกต่อต้านรัฐประหาร จึงต้องมาช่วยรบ นักรบอเมริกันและอังกฤษพวกนี้เคยปฏิบัติงานทั้งในอัฟกานิสถานและอูเครน ขณะกำลังสู้รบเคียงบ่าเคียงไหล่กับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าก็มีการถ่ายคลิปวิดีโอกระจายออกไป เพื่อดึงคนที่สนใจให้เข้ามาช่วยกันรบ ขณะนี้มีการเตรียมตั้งทีมทหารที่เคยผ่านสงครามในหลายสมรภูมิ ชาวสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย ฯลฯ เพื่อเข้ามาช่วยฝ่ายต่อต้าน พม่าประกอบด้วย 7 ภาค และ 7 รัฐ แต่ละภาคและรัฐมีเมืองเอก หรือเมืองหลวงเป็นของตนเอง เช่น ภาคสะกาย ภาคมัณฑะเลย์ ภาคมะเกว ภาคพะโค ภาคย่างกุ้ง ทั้ง 5 ภาค มีเมืองหลวงชื่อเดียวกับชื่อภาค ยกเว้นภาคเอยาวดีที่มีเมืองหลวงชื่อพะสิม และภาคตะนาวศรีที่มีเมืองหลวงชื่อทวาย ประชาชนคนในภาคส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า หากประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยก็จะถูกตั้งเป็นรัฐ รัฐคะฉิ่น (เมืองหลวงคือมิตจินา) รัฐคะยา (ลอยก่อ) รัฐกะเหรี่ยง (พะอัน) รัฐชิน (ฮะคา) รัฐมอญ (เมาะลำไย) รัฐยะไข่ (ชิตตเว) และรัฐฉาน (ตองจี) รัฐเหล่านี้มีทหารตะวันตกเข้าไปฝังตัวแล้ว หลายคนเปิดเผยตัวตนผ่านคลิป บางคนบอกว่า อ้า ข้าพเจ้ามาจากสหรัฐฯตอนใต้ บางคนมาจากอังกฤษที่เคยช่วยกองกำลังวายพีจีที่นำโดยชาวเคิร์ดในซีเรีย ทุกคนบอกว่าที่ตนมาปฏิบัติการนี้ เป็นการปฏิบัติการเพื่อชาวโลกอย่างเดียวกับที่ช่วยซีเรียกับอูเครน กลุ่มศาสนาก็เอากับเขาด้วย นอกจากกลุ่มมนุษยธรรมคริสเตียน (เอฟบีอาร์) จะให้สิ่งของและการรักษาพยาบาลแล้ว ยังมีภาพและคลิปของสมาชิกเอฟบีอาร์แต่งชุดติดอาวุธ พม่าจะเป็นพื้นที่แห่งใหม่ที่มหาอำนาจใหญ่ใช้ประลองกำลัง ขณะที่ตะวันตกส่งทหารรับจ้างมาปฏิบัติงาน มีข่าวที่ไม่ได้ยืนยันว่า รัสเซียส่งครูมาสอนวิธีการใช้อาวุธรัสเซียให้กับทหารพม่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลพม่าก็เดินทางไปเยือนจีนกับรัสเซียเพื่อจัดหาโดรนมาใช้ในการสู้รบ ไทยมีพรมแดนประชิดติดกับพม่า 2,416 กิโลเมตร เป็นพรมแดนที่ยาวที่สุดที่พม่ามีกับประเทศอื่น นอกจากนั้นยังมีชาวพม่าเข้ามาทำงานในประเทศไทยหลายล้านคน แน่นอนว่าหายนภัยที่มาจากการสู้รบ ต้องกระทบกับประเทศไทยของเราอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง โลกกำลังมีการเปลี่ยนแปลงรุนแรง ทั้งด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองระหว่างประเทศ ตอนที่เกิดสงครามรัสเซีย-อูเครน หลายท่านก็เฉยๆ เพราะคิดว่าสถานที่สู้รบอยู่ห่างไกลจากประเทศไทย ตอนที่เกิดความขัดแย้งจีน-ไต้หวัน หลายคนก็บอก โอย ไกลจากไทยเยอะแยะ อย่าไปสนใจ อ้าว เฮ้ย วันนี้ สงครามใหญ่ใกล้ประชิดติดพรมแดนของเราแล้ว..
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 461 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัสเซียและจีนจัดการเจรจาด้านกลาโหมอย่างจริงจัง เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในขณะที่ทั้งสองประเทศเป็นพันธมิตรแบบ "ไร้ขีดจำกัด" และร่วมกันวิพากษ์วิจารณ์สหรัฐฯ ที่พยายามขยายอิทธิพลในเอเชีย
    .
    "อังเดรย์ เบลูซอฟ" รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียพบหารือกับ "จาง โหย่วเสีย" รองประธานคณะกรรมาธิการทหารกลางของจีน โดยกระทรวงกลาโหมของรัสเซียและจีนมีความเห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับสถานการณ์โลกในปัจจุบัน และรู้ว่าควรทำอย่างไรเพื่อรับมือสถานการณ์เหล่านี้
    .
    กระทรวงกลาโหมจีนกล่าวหลังการประชุมว่า ทั้งสองฝ่ายต้องการขยายความสัมพันธ์ทางทหารและรักษาการติดต่อในระดับสูง
    .
    การเยือนจีนของเบลูซอฟเกิดขึ้นในขณะที่จีนกำลังให้คำมั่นว่าจะดำเนินการเพิ่มเติมหากจำเป็น หลังจากได้จัดการซ้อมรบที่เป็นการเตือนต่อ "การแบ่งแยกดินแดน"
    .
    จีนและรัสเซียประกาศพันธมิตร "ไร้ขีดจำกัด" ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ซึ่งเป็นช่วงที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เยือนจีน ก่อนที่รัสเซียจะบุกยูเครนครั้งใหญ่ จนนำไปสู่สงครามที่รุนแรงที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง
    .
    ในเดือนพฤษภาคมปีนี้ ปูตินและสี จิ้นผิง ผู้นำจีน ให้คำมั่นว่าจะสร้าง "ยุคใหม่" ของความเป็นพันธมิตรระหว่างสองประเทศ โดยมองว่าสหรัฐฯ เป็นเจ้าโลกที่ก้าวร้าวและสร้างความวุ่นวายไปทั่วโลก
    .
    เบลูซอฟกล่าวเสริมว่า ผู้นำทั้งสองประเทศได้ตกลงที่จะกระชับ "พันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์" และเขามั่นใจว่าการทำงานร่วมกันในอนาคตจะนำไปสู่การตัดสินใจที่สำคัญและเป็นประโยชน์
    .
    เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รัสเซียยังประกาศว่า จะยืนเคียงข้างจีนในประเด็นต่างๆ ในเอเชีย รวมถึงการวิพากษ์ความพยายามของสหรัฐฯ ที่ต้องการขยายอิทธิพลและสร้างความตึงเครียดรอบไต้หวัน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000100035
    ..............
    Sondhi X
    รัสเซียและจีนจัดการเจรจาด้านกลาโหมอย่างจริงจัง เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในขณะที่ทั้งสองประเทศเป็นพันธมิตรแบบ "ไร้ขีดจำกัด" และร่วมกันวิพากษ์วิจารณ์สหรัฐฯ ที่พยายามขยายอิทธิพลในเอเชีย . "อังเดรย์ เบลูซอฟ" รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียพบหารือกับ "จาง โหย่วเสีย" รองประธานคณะกรรมาธิการทหารกลางของจีน โดยกระทรวงกลาโหมของรัสเซียและจีนมีความเห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับสถานการณ์โลกในปัจจุบัน และรู้ว่าควรทำอย่างไรเพื่อรับมือสถานการณ์เหล่านี้ . กระทรวงกลาโหมจีนกล่าวหลังการประชุมว่า ทั้งสองฝ่ายต้องการขยายความสัมพันธ์ทางทหารและรักษาการติดต่อในระดับสูง . การเยือนจีนของเบลูซอฟเกิดขึ้นในขณะที่จีนกำลังให้คำมั่นว่าจะดำเนินการเพิ่มเติมหากจำเป็น หลังจากได้จัดการซ้อมรบที่เป็นการเตือนต่อ "การแบ่งแยกดินแดน" . จีนและรัสเซียประกาศพันธมิตร "ไร้ขีดจำกัด" ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ซึ่งเป็นช่วงที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เยือนจีน ก่อนที่รัสเซียจะบุกยูเครนครั้งใหญ่ จนนำไปสู่สงครามที่รุนแรงที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง . ในเดือนพฤษภาคมปีนี้ ปูตินและสี จิ้นผิง ผู้นำจีน ให้คำมั่นว่าจะสร้าง "ยุคใหม่" ของความเป็นพันธมิตรระหว่างสองประเทศ โดยมองว่าสหรัฐฯ เป็นเจ้าโลกที่ก้าวร้าวและสร้างความวุ่นวายไปทั่วโลก . เบลูซอฟกล่าวเสริมว่า ผู้นำทั้งสองประเทศได้ตกลงที่จะกระชับ "พันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์" และเขามั่นใจว่าการทำงานร่วมกันในอนาคตจะนำไปสู่การตัดสินใจที่สำคัญและเป็นประโยชน์ . เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รัสเซียยังประกาศว่า จะยืนเคียงข้างจีนในประเด็นต่างๆ ในเอเชีย รวมถึงการวิพากษ์ความพยายามของสหรัฐฯ ที่ต้องการขยายอิทธิพลและสร้างความตึงเครียดรอบไต้หวัน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000100035 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Wow
    5
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1459 มุมมอง 0 รีวิว
  • ในหลวง ทอดพระเนตร พระราชินี ทรงร่วมแข่งขันฮอกกี้น้ำแข็งกระชับมิตรระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและราชอาณาจักรไทย

    วันนี้ (วันอาทิตย์ที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๗) เวลา ๑๘.๒๖ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการแข่งขันฮอกกี้น้ำแข็งกระชับมิตรระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและราชอาณาจักรไทย ณ สนามฮอกกี้น้ำแข็ง Thailand International Ice Hockey Arena เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร โดยมีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายสรวงศ์ เทือนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายหานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย นายก้องศักดิ์ ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย หม่อมหลวงกฤษฎา เกษมสันต์ นายกสมาคมกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งแข็งแห่งประเทศไทยพร้อมคณะกรรมการ และคณะทำงาน ฯ เฝ้า ฯ รับเสด็จ

    ในโอกาสนี้สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งทูตกีฬาไอซ์ฮอกกี้หญิงกิตติมศักดิ์ (Women’s Global Ambassador) คนแรก ตามคำกราบบังคมทูลเขิญของสหพันธ์กีฬาฮอกกี้น้ำแข็งนานาชาติ (International Ice Hockey Federation) “IIHF” ทรงนำทีมไอซ์ฮอกกี้ราชอาณาจักรไทยแข่งขันกับทีมสาธารณรัฐประชาชนจีน นัดกระชับมิตรในครั้งนี้ด้วย

    การนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ ร่วมกับ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ผู้บริหารกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมคณะกรรมการจัดการแข่งขันฯ นักกีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง ตามลำดับ

    จากนั้น พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทยกราบบังคมทูลรายงานและกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล และพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ผู้แทนจากสมาคมฮอกกี้น้ำแข็งแห่งประเทศไทย เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายของที่ระลึกแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ นายลุค ทาร์ดิฟ ประธานสหพันธ์ International Ice Hockey Federation (IHF) ทูลเกล้า ฯ ถวายโล่สัญลักษณ์ทูตกีฬาไอซ์ฮอกกี้หญิงกิตติมศักดิ์ของสหพันธ์ ฯ พร้อมใบประกาศ (IIHF Women's Global Ambassador) แด่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี

    โดยสหพันธ์กีฬาฮอกกี้น้ำแข็งนานาชาติ (International Ice Hockey Federation) “IIHF” ได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี เป็นทูตกีฬาไอซ์ฮอกกี้หญิง(Women’s Global Ambassador) คนแรกของสหพันธ์ ด้วยพระปรีชาสามารถด้านกีฬาไอซ์ฮอกกี้อันเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาปวงพสกนิกรชาวไทยและทั่วโลก เมื่อครั้งโดยเสด็จพระราชดำเนิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจ ทรงเปิด ไทยแลนด์ อินเตอร์เนชันแนล ไอซ์ ฮอกกี้ อารีนา เชียงใหม่ (Thailand International Ice Hockey Arena Chiangmai) อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๖ ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ทรงร่วมการแข่งขันในนัดเปิดสนามในครั้งนั้นด้วย ทรงสร้างความประทับใจและทรงเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักกีฬาหญิงจำนวนมาก และทรงเป็นแบบอย่างให้กับนักกีฬาในภูมิภาคเอเชียและทั่วโลก

    ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระนางเจ้าพระบรมราชินี ทอดพระเนตรการแสดงโชว์ในการแข่งขันกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งกระชับมิตรระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและราชอาณาจักรไทย

    จากนั้น สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงเปลี่ยนฉลองพระองค์เป็นฉลองพระองค์นักกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งทีมราชอาณาจักรไทย เพื่อทรงร่วมแข่งขันกับทีมนักกีฬาฮอกกี้สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน ๓ Period ซึ่งระหว่างที่ทรงแข่งขันอยู่ในสนามนั้นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงทุ่มเทพระวรกายในการแข่งขันอย่างเต็มพระกำลัง โดยเกมการแข่งขันของทั้งสองทีม ดำเนินไปอย่างสูสีผลัดกันรุกผลัดกันรับอย่างเข้มข้นจนจบการแข่งขัน

    ประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๑๘ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงให้ความสำคัญและทรงตั้งพระราชหฤทัยในการเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างทั้งสองประเทศที่มีมาอย่างยาวนานให้ใกล้ชิดและแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินเยือนและการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างสองประเทศในโอกาสต่างๆ ดังต่อไปนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายไฉ เจ๋อหมิน เอกอัครราชทูต สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทยคนแรก เข้าเฝ้าฯถวายสาส์นตราตั้ง ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๑๙

    เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๓ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเป็นผู้แทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนจีนอย่างเป็นทางการ (State Visit) ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาลจีน

    วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาลจีน โดยนายว่าน หลี่ รองนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน จัดพิธีต้อนรับณ จัตุรัสด้านตะวันออก ของมหาศาลาประชาชนกรุงปักกิ่ง และวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงรับ นาย สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนพร้อมด้วยคู่สมรส เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในโอกาสที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย– แปซิฟิก หรือ เอเปค (Asia – Pacific Economic Cooperation : APEC) ครั้งที่ ๒๙ ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร เป็นต้น

    การแข่งขันฮอกกี้น้ำแข็งกระชับมิตรระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและราชอาณาจักรไทย ณ สนามฮอกกี้น้ำแข็ง Thailand International Ice Hockey Arena ในครั้งนี้เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ และในโอกาสครบ ๗๕ ปี แห่งการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่ทั้งสองประเทศได้กระชับสัมพันธไมตรีที่ดี ใกล้ชิดและแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น อันนำไปสู่ความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันในทุกระดับ เพื่อประโยชน์สุขของราษฎรทั้งสองประเทศสืบไป

    #ทรงพระเจริญ #สืบสานรักษาต่อยอด
    #การแข่งขันฮอกกี้น้ำแข็งกระชับมิตร
    #สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทยจีน

    ที่มา : @พระลาน
    https://www.facebook.com/share/2aTmWcVP1wpm3egn/
    ในหลวง ทอดพระเนตร พระราชินี ทรงร่วมแข่งขันฮอกกี้น้ำแข็งกระชับมิตรระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและราชอาณาจักรไทย วันนี้ (วันอาทิตย์ที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๗) เวลา ๑๘.๒๖ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการแข่งขันฮอกกี้น้ำแข็งกระชับมิตรระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและราชอาณาจักรไทย ณ สนามฮอกกี้น้ำแข็ง Thailand International Ice Hockey Arena เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร โดยมีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายสรวงศ์ เทือนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายหานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย นายก้องศักดิ์ ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย หม่อมหลวงกฤษฎา เกษมสันต์ นายกสมาคมกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งแข็งแห่งประเทศไทยพร้อมคณะกรรมการ และคณะทำงาน ฯ เฝ้า ฯ รับเสด็จ ในโอกาสนี้สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งทูตกีฬาไอซ์ฮอกกี้หญิงกิตติมศักดิ์ (Women’s Global Ambassador) คนแรก ตามคำกราบบังคมทูลเขิญของสหพันธ์กีฬาฮอกกี้น้ำแข็งนานาชาติ (International Ice Hockey Federation) “IIHF” ทรงนำทีมไอซ์ฮอกกี้ราชอาณาจักรไทยแข่งขันกับทีมสาธารณรัฐประชาชนจีน นัดกระชับมิตรในครั้งนี้ด้วย การนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ ร่วมกับ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ผู้บริหารกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมคณะกรรมการจัดการแข่งขันฯ นักกีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง ตามลำดับ จากนั้น พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทยกราบบังคมทูลรายงานและกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล และพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ผู้แทนจากสมาคมฮอกกี้น้ำแข็งแห่งประเทศไทย เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายของที่ระลึกแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ นายลุค ทาร์ดิฟ ประธานสหพันธ์ International Ice Hockey Federation (IHF) ทูลเกล้า ฯ ถวายโล่สัญลักษณ์ทูตกีฬาไอซ์ฮอกกี้หญิงกิตติมศักดิ์ของสหพันธ์ ฯ พร้อมใบประกาศ (IIHF Women's Global Ambassador) แด่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี โดยสหพันธ์กีฬาฮอกกี้น้ำแข็งนานาชาติ (International Ice Hockey Federation) “IIHF” ได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี เป็นทูตกีฬาไอซ์ฮอกกี้หญิง(Women’s Global Ambassador) คนแรกของสหพันธ์ ด้วยพระปรีชาสามารถด้านกีฬาไอซ์ฮอกกี้อันเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาปวงพสกนิกรชาวไทยและทั่วโลก เมื่อครั้งโดยเสด็จพระราชดำเนิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจ ทรงเปิด ไทยแลนด์ อินเตอร์เนชันแนล ไอซ์ ฮอกกี้ อารีนา เชียงใหม่ (Thailand International Ice Hockey Arena Chiangmai) อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๖ ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ทรงร่วมการแข่งขันในนัดเปิดสนามในครั้งนั้นด้วย ทรงสร้างความประทับใจและทรงเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักกีฬาหญิงจำนวนมาก และทรงเป็นแบบอย่างให้กับนักกีฬาในภูมิภาคเอเชียและทั่วโลก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระนางเจ้าพระบรมราชินี ทอดพระเนตรการแสดงโชว์ในการแข่งขันกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งกระชับมิตรระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและราชอาณาจักรไทย จากนั้น สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงเปลี่ยนฉลองพระองค์เป็นฉลองพระองค์นักกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งทีมราชอาณาจักรไทย เพื่อทรงร่วมแข่งขันกับทีมนักกีฬาฮอกกี้สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน ๓ Period ซึ่งระหว่างที่ทรงแข่งขันอยู่ในสนามนั้นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงทุ่มเทพระวรกายในการแข่งขันอย่างเต็มพระกำลัง โดยเกมการแข่งขันของทั้งสองทีม ดำเนินไปอย่างสูสีผลัดกันรุกผลัดกันรับอย่างเข้มข้นจนจบการแข่งขัน ประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๑๘ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงให้ความสำคัญและทรงตั้งพระราชหฤทัยในการเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างทั้งสองประเทศที่มีมาอย่างยาวนานให้ใกล้ชิดและแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินเยือนและการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างสองประเทศในโอกาสต่างๆ ดังต่อไปนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายไฉ เจ๋อหมิน เอกอัครราชทูต สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทยคนแรก เข้าเฝ้าฯถวายสาส์นตราตั้ง ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๑๙ เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๓ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเป็นผู้แทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนจีนอย่างเป็นทางการ (State Visit) ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาลจีน วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาลจีน โดยนายว่าน หลี่ รองนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน จัดพิธีต้อนรับณ จัตุรัสด้านตะวันออก ของมหาศาลาประชาชนกรุงปักกิ่ง และวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงรับ นาย สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนพร้อมด้วยคู่สมรส เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในโอกาสที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย– แปซิฟิก หรือ เอเปค (Asia – Pacific Economic Cooperation : APEC) ครั้งที่ ๒๙ ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร เป็นต้น การแข่งขันฮอกกี้น้ำแข็งกระชับมิตรระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและราชอาณาจักรไทย ณ สนามฮอกกี้น้ำแข็ง Thailand International Ice Hockey Arena ในครั้งนี้เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ และในโอกาสครบ ๗๕ ปี แห่งการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่ทั้งสองประเทศได้กระชับสัมพันธไมตรีที่ดี ใกล้ชิดและแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น อันนำไปสู่ความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันในทุกระดับ เพื่อประโยชน์สุขของราษฎรทั้งสองประเทศสืบไป #ทรงพระเจริญ #สืบสานรักษาต่อยอด #การแข่งขันฮอกกี้น้ำแข็งกระชับมิตร #สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทยจีน ที่มา : @พระลาน https://www.facebook.com/share/2aTmWcVP1wpm3egn/
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 952 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🤠#เรื่องเล่าของสองเพื่อนร่วมชั้นเรียนแต่ต่างอุดมการณ์🤠

    ปัจจุบันไต้หวันกลายเป็นความเจ็บปวดในใจคนจีน และสหรัฐฯ มักใช้ไต้หวันเพื่อยั่วยุจีน จุดประสงค์ของสหรัฐฯนั้นชัดเจน นั่นคือเพื่อยั่วยุกระตุ้นให้จีนดำเนินการด้วยวิธีรุนแรง หลังจากนั้นแล้วขัดขวางก่อกวนยุทธศาสตร์ของจีน ซึ่งจะทำให้จีนอ่อนแอลงอีก ดังนั้นปัญหาไต้หวันถึงจุดที่ต้องแก้ไข หากไม่ได้รับการแก้ไข สหรัฐฯ จะยังคงเล่นเกมไพ่ไต้หวัน พวกเขายังจะสนับสนุนกองกำลัง "ปลดปล่อยเอกราชของไต้หวัน" ให้ก่อปัญหาอีกด้วย เมื่อถึงเวลานั้นก็จะตกอยู่ในสภาพถูกกระทำขณะทำการแก้ไขปัญหา

    ในความเป็นจริงแล้ว ประเด็นของไต้หวันมีขึ้นตั้งแต่ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 เติ้งกง(邓公)ได้ส่งเสริมนำการแก้ปัญหาของไต้หวันมาดำเนินการ น่าเสียดายที่มีบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป และการเปลี่ยนแปลงนี้มาจากเพื่อนร่วมชั้นเรียนของ เติ้งกง(邓公)

    🥳หนึ่ง🥳

    เพื่อนร่วมชั้นเรียนของ เติ้งกง(邓公) คือ เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ทั้งสองเรียนในชั้นเรียนเดียวกันที่มหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็น(Sun Yat-sen University中山大学)ในสหภาพโซเวียตตั้งแต่ปี ค.ศ. 1926 ถึง ค.ศ. 1927

    ในปี ค.ศ. 1925 เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ไปศึกษาที่สหภาพโซเวียต ส่วนเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ไปศึกษาต่อต่างประเทศอาจกล่าวได้ว่าเขาถูกบังคับให้ทำเช่นนั้น หรืออาจจะว่าเจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)หวังว่าลูกชายของเขาไปที่สหภาพโซเวียตเพื่อเรียนรู้บางสิ่งบางอย่างที่แท้จริงกลับมา

    เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國) ชื่อรอง เจี้ยนเฟิง(建丰) เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)เป็นชื่อบรรพบุรุษของเขา และยังเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของเขาด้วย เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)เกิดที่เมืองเฟิงฮว่า(奉化)เจ้อเจียง(浙江)เมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1910 เขาเป็นบุตรชายคนโตของเจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)และเหมา ฝูเหมย(毛福梅)ภรรยาคนแรกของเขา หลังจากที่เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)เกิด เจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)ก็ทำงานหนักนอกบ้านตลอด ดังนั้นเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)จึงเติบโตมากับแม่และยายของเขา สิ่งนี้ทำให้เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ค่อนข้างขี้ขลาด ตามที่ครูผู้สอนหนังสือ เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)กล่าวไว้ ตอนนั้นเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)มีอะไรนิดหน่อยมักจะร้องไห้อยู่ตลอดเวลา นี่อาจเป็นลักษณะเฉพาะของครอบครัวที่ไม่มีผู้ชายที่เป็นผู้ใหญ่อยู่ในบ้าน

    ในปีค.ศ. 1924 เจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)ส่งเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ไปโรงเรียนมัธยมต้นเซี่ยงไฮ้ผู่ตง(浦东) ในเวลานี้ เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)วัย 14 ปีเป็นผู้ใหญ่มาก ในปี ค.ศ. 1925 หลังจากการสังหารหมู่30 พฤษภาคม(五卅惨案) เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)วัย 15 ปีก็เข้าร่วมในการประท้วงด้วยความรักชาติด้วย แต่หลังจากที่ทางโรงเรียนค้นพบ เขาถูกไล่ออกจากโรงเรียนเนื่องจากในความผิดว่า "ความคิดที่เป็นอันตรายและพฤติกรรมเบี่ยงเบน"

    หลังจากถูกไล่ออกจากโรงเรียน เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ตัดสินใจไปศึกษาต่อต่างประเทศ เขาจึงไปปักกิ่งเพื่อเรียนภาษาต่างประเทศ ในช่วงเวลานี้ เขาถูกจำคุกเป็นเวลาสองสัปดาห์เนื่องจากการเข้าร่วมขบวนการนักเรียนต่อต้านขุนศึกเป่ยหยาง(北洋)

    ขณะอยู่ในปักกิ่ง เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ได้พบกับหลี่ ต้าเจวา(李大钊) และสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์คนอื่น ๆ เขาชื่นชมความรู้และความเชื่อของหลี่ ต้าเจวา(李大钊) ต่อมา หลี่ ต้าเจวา(李大钊)ได้แนะนำชาวโซเวียตจำนวนมากให้รู้จักกับ เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)

    เกี่ยวกับประสบการณ์นี้ เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)เล่าในภายหลังว่า:

    “เป่ยผิง(北平)เต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งมิตรภาพระหว่างพรรคก๊กมินตั๋ง(國民黨)และพรรคคอมมิวนิสต์(共產黨) ในใจของฉันก็สับสนกับสภาพแวดล้อมนี้ และเปลี่ยนแผนการเรียนในฝรั่งเศสเดิมอย่างสิ้นเชิง”

    การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ตัดสินใจศึกษาต่อในสหภาพโซเวียต ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1925 เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)มาถึงสหภาพโซเวียต ในเวลานั้น มีบุตรของเจ้านายใหญ่หลายคน เช่น เซ่าจวื่อกาง(邵志刚)ลูกชาย ของเซ่า ลี่จวื๋อ(邵力子), เฝิงหงกั๋ว(冯洪国)ลูกชายของ เฝิง อวิ้เสียง(冯玉祥) พร้อมกับลูกสาว เฝิงฝูเหนิ่ง(冯弗能) และ อวิ้ ซิ่วจวือ(于秀芝) ลูกสาวของ อวิ้โย่วเยิ่น(于右任) รวมถึง จาง ซีย่วน(张锡媛) ภรรยาคนแรกของ เติ้งกง(邓公), หวังหมิง(王明)และคนอื่นๆ

    ระหว่างทางไปสหภาพโซเวียต เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ได้อ่านหนังสือเล่มแรกเกี่ยวกับลัทธิคอมมิวนิสต์ "ABC of Communism" หนังสือเล่มนี้สร้างความประทับใจอย่างลึกซึ้งให้กับเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)

    ปีที่สองก็คือปี ค.ศ.1926 ในชั้นเรียนของเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)มีนักเรียนที่ย้ายมาจากปารีส ประเทศฝรั่งเศสคนหนึ่ง เขาคือเติ้งเสี่ยวผิง(邓小平) ในเวลานั้น เติ้งกง(邓公)ชื่อเติ้ง ซีเสียน(邓希贤) เติ้งกง(邓公)มีอายุมากกว่าเจียงจิงกัว 5 ปี และยังมีชื่อภาษารัสเซียว่า "อีวาน เชโกวิช(Ivan Shegovich)"

    ในความประทับใจของ เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國) เติ้งกง(邓公)เป็นคนร่าเริงมาก สามารถพูดได้ดีบนเวที และมีทักษะในการจัดองค์กรที่แข็งแกร่ง ในเวลานั้นเพื่อนร่วมชั้นของเขาตั้งฉายาให้เขาว่า "ปืนใหญ่เหล็กน้อย(小钢炮)"

    เติ้งเสี่ยวผิง(邓小平)และเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)เข้ากันได้ดี และทั้งสองคนรูปร่างไม่สูงนักเช่นกัน ทั้งสองมักจะเดินคุยกันริมแม่น้ำมอสโก ดังนั้น เติ้งกง(邓公)และเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)จึงไม่ใช่แค่เพื่อนร่วมชั้นเท่านั้น แต่ยังเป็นเพื่อนที่ดีมากอีกด้วย

    ในปี ค.ศ. 1927 เติ้งกง(邓公)ได้รับมอบหมายจากองค์กรให้กลับไปทำงานที่ประเทศจีน และเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ยังคงศึกษาต่อในสหภาพโซเวียตในเวลานี้ เจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)ได้เปิดฉากเหตุการณ์ต่อต้านการปฏิวัติ "4.12"(“4.12”反革命事件) และสังหารหมู่สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จำนวนมาก ในฐานะบุตรชายของเจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石) เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)จึงถูกสหภาพโซเวียตตั้งคำถาม และหวังหมิง(王明)และคนอื่นๆ ก็ไม่ชอบเช่นกัน ต่อมาเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ไปทำงานในโรงงานและแต่งงานกับหญิงชาวโซเวียต จนกระทั่งถึงหลังสงครามต่อต้านญี่ปุ่น ด้วยการประสานงานของ โจวกง(周公)ถึงทำให้ เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)สามารถเดินทางกลับประเทศจีนได้

    🥳สอง🥳

    หลังจากที่เติ้งกง(邓公)เดินทางกลับจากสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1927 จนกระทั่งมีการสถาปนาจีนใหม่ เติ้งกง(邓公)และเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ก็ไม่มีทางอื่นที่จะเลือกเดินอีกต่อไป ในเวลานั้น เติ้งกง(邓公)เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดที่มีชื่อเสียงของกองทัพของหลิว(刘)และเติ้ง(邓) เขาถูกมองว่าเป็นเสี้ยนหนามในฝ่ายของเจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)มานานแล้ว และเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ก็ละทิ้งความเชื่ออุดมการณ์แบบคอมมิวนิสต์ของเขาด้วย ได้ตัดสินใจที่จะทำตามพ่อซึ่งเป็นผู้นำของเขาและเตรียมพร้อมที่จะรับช่วงต่อ

    หลังจากที่เจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)พ่ายแพ้และถอยไปไต้หวันแล้ว เขาก็เริ่มติดต่อกับกลุ่มรัฐมนตรีผู้มีประสบการณ์ซึ่งเคยเป็นลูกน้องของเขา จุดประสงค์ของเจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)ในการทำเช่นนี้คือปูทางเพื่อให้เชียงจิงกัวสามารถสืบทอดตำแหน่งได้ ท้ายที่สุดแล้วในจีนแผ่นดินใหญ่ ผู้เฒ่าเจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)ยังไม่กล้าส่งสัญญาณออกไปว่าให้ เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)เข้ามารับหน้าที่สืบทอดแทน เขายังต้องคำนึงถึงหน้าตาความรู้สึกของรัฐมนตรีเก่าผู้มีประสบการณ์บางคนด้วย หากลูกชายเข้ามารับช่วงต่อ หลี่จงเหริน(李宗仁)จะไม่เต็มใจอย่างแน่นอน แม้ว่าเจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)จะไม่ทำอย่างนี้ ใครก็ตามที่มีสายตาเฉียบแหลมก็สามารถเห็นได้

    หลังจากที่ผู้เฒ่าเจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)มาถึงไต้หวัน เมื่ออำนาจของเขาก็มั่นคงขึ้นแล้วหลังจากดูแลจัดการรัฐมนตรีคนเก่าของเขา และเขาก็เริ่มปล่อยมือให้ลูกชายทำงาน หลังจากที่เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ขึ้นเป็นประธานฝ่ายบริหาร สร้างไต้หวันตามแนวทางการปกครองของเขา ขณะนั้นไต้หวันมีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็ง และเจี่ยงน้อย(小蒋)ก็ทำสิ่งที่ถูกต้องอย่างหนึ่ง นั่นคือการพัฒนาบริษัทผลิตชิป แม้จะมีราคาแพงสูงมาก แต่เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ก็เลือกเส้นทางที่ถูกต้อง

    ภายใต้การปกครองของเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國) ไต้หวันมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และในช่วงทศวรรษ 1980 ไต้หวันก็กลายเป็นภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดในเอเชีย

    แต่หลังจากที่พ่อลูกตระกูลเจี่ยง(蒋)เข้าบริหารปกครองไต้หวัน ก็เป็นตอนที่ผู้เฒ่าเจี่ยง(蒋)มอบอำนาจเกือบทั้งหมดให้กับเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國) ด้วยมีบางอย่างเกิดขึ้นในจีนแผ่นดินใหญ่เช่นกัน เติ้งเสี่ยวผิง(邓小平)กลับมาอีกครั้ง นี่เป็นการตัดสินใจที่ชาญฉลาดของประธานเหมา(毛)

    หลังจากที่เติ้งกง(邓公)กลับคืนสู่รัฐบาลกลาง โจวกง(周公)ก็มอบงานการต่างประเทศจำนวนมากให้กับเติ้งกง(邓公) จากนั้นเติ้งกง(邓公)ก็ประกาศบางอย่างต่อสาธารณะ:

    เตรียมหารือปัญหาการรวมตัวกับไทเป(台北)โดยตรง

    สมาชิกก๊กมิ่นตั๋ง(国民党)บางคนในแผ่นดินใหญ่ยังสื่อสารส่งข้อความถึงพ่อลูกครอบครัวตระกูลเจี่ยง(蒋)ผ่านช่องทางสาธารณะหรือส่วนตัว เจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)ซึ่งล้มป่วยอยู่นั้นก็ไม่มีแรงจะจัดการกับเรื่องเหล่านี้ เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ซึ่งได้รับอำนาจเต็มในเวลานี้แล้ว ก็ยังเพิกเฉยไม่แยแสต่อความคิดริเริ่มของเติ้งกง(邓公)

    ในปีค.ศ. 1975 ผู้เฒ่าเจี่ยง(蒋)เสียชีวิต และหยาน เจียก้าน(严家淦) เข้ามารับช่วงต่อ สามปีต่อมา หยาน เจียก้าน(严家淦)ได้มอบอำนาจคืนโดยอัตโนมัติ วันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1978 เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ขึ้นสืบทอดตำแหน่งอย่างเป็นทางการ

    แต่มีสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้เฒ่าเจี่ยง(蒋)และเจี่ยงน้อย(小蒋)ไม่คาดคิด

    ในปีค.ศ. 1972 พ่อลูกตระกูลเจี่ยง(蒋) ไม่ทราบเกี่ยวกับการเยือนจีนของริชาร์ด นิกสัน(Richard Nixon理查德·尼克松) เจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)ซึ่งโกรธมากจนสาปแช่ง นิกสัน(Nixon尼克松)ว่า “ไม่ใช่สิ่งของ” และแม้ว่าเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ก็มี "แวดวงสนับสนุนไต้หวัน(亲台圈子)" ในสหรัฐอเมริกา ต่อมาเมื่อสหรัฐอเมริกาโดย จิมมี คาร์เตอร์(Jimmy Carter吉米·卡特) และเติ้งเสี่ยวผิง(邓小平)หารือกันเรื่องการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ก็ยังคงถูกเก็บซ่อนไว้ในความมืด

    เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1978 สิบสองชั่วโมงก่อนการประกาศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ลีโอนาร์ด ไซด์มาน อังเกอร์ (Leonard Seidman Unger安克志)ซึ่งขณะนั้นเป็นตัวแทนของสหรัฐฯ ในไต้หวัน ได้รับโทรศัพท์ลับจากรัฐบาลสหรัฐฯ โดยขอให้เขาโทรหา ซ่งฉู่อวิ้(宋楚瑜James Soong Chu-yu)เลขาของเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ในตอนเช้า

    อังเกอร์ (Unger安克志)บอก ซ่งฉู่อวิ้(宋楚瑜James Soong Chu-yu)ว่าเขามีเรื่องสำคัญที่ต้องพบ เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國) เมื่อเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ตื่นขึ้นมากลางดึกและได้พบอังเกอร์ (Unger安克志)จึงเพิ่งทราบข่าวการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างจีนกับสหรัฐฯ

    อังเกอร์ (Unger安克志)บอกกับเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ว่าอย่าให้ข่าวนี้รั่วไหลสู่โลกภายนอกก่อน 8 โมงเช้าของวันรุ่งขึ้น เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)โกรธมาก เขาไม่เห็นด้วย แต่ไม่มีวิธีใดที่จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของสหรัฐฯ แน่นอนว่าหลังจากมีข่าวตลาดหุ้นไทเป(台北)ก็ร่วงลง 10%

    นี่เป็นการแข่งขันประลองฝีมือครั้งแรกระหว่างเติ้งเสี่ยวผิง(邓小平)และเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ในฐานะเพื่อนร่วมชั้น

    🥳สาม🥳

    เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1979 จอมพล สวีเซี่ยงเฉียน(徐向前)ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้นกล่าว:

    ยุติการยิงปืนใหญ่โจมตีจินเหมิน(金门)อย่างเป็นทางการ

    ในวันนี้ สภาประชาชนแห่งชาติ(全国人大)ยังได้ออก "ข้อความถึงเพื่อนร่วมชาติในไต้หวัน(告台湾同胞书)" และเหลียว เฉิงจือ(廖承志)ซึ่งรับผิดชอบกิจการไต้หวัน ก็เผยแพร่จดหมายถึงเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ต่อสาธารณะด้วย: เสนอความร่วมมือครั้งที่สามระหว่างพรรคก๊กมินตั๋ง(國民黨)และ พรรคคอมมิวนิสต์(共產黨)

    ถึงเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)รู้สึกอ่อนไหวต่อความคิดริเริ่มด้านสันติภาพของเติ้งกง(邓公)มาก เขาปฏิเสธการเยือนไต้หวันของเหลียว เฉิงจือ(廖承志) แต่เขาก็ไม่ปฏิเสธการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมข้ามช่องแคบ โดยเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อไต้หวัน การแลกเปลี่ยนข้ามช่องแคบเริ่มขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    ในปีค.ศ. 1981 เติ้งเสี่ยวผิง(邓小平)ได้อนุญาตให้ ซีโข่ว(溪口) เจ้อเจียง(浙江)ปรับปรุงที่พักอาศัยเดิมของเจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石) และสุสานของมาดาม เหมา (毛)ซึ่งเป็นยายของเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國) ว่ากันว่าทั้ง เติ้งกง(邓公)และ เหลียว เฉิงจือ(廖承志)รู้ว่าเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)เป็นลูกกตัญญู ภาพถ่ายสิ่งต่างๆที่ได้รับการซ่อมแซมได้ถูกส่งไปยังเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)อย่างรวดเร็ว

    หลังจากที่เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國) เห็นรูปถ่ายเหล่านี้ เขาก็ไม่ได้พูดอะไรต่อสาธารณะ แต่เขาคงจะรู้สึกอะไรบางอย่างในใจ

    หลังจากนั้นไม่นาน เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ก็เชื่อว่าถึงเวลาสำหรับการเจรจาแล้ว เขาจึงค้นเลือกหาคนกลาง และคนกลางคนนี้คือ ลี กวนยู(Lee Kuan Yew李光耀) เขาคิดว่าลี กวนยู(Lee Kuan Yew李光耀)ทำหน้าที่เป็นคนกลางน่าจะเหมาะสมกว่า

    ในปีค.ศ. 1981 เติ้ง เสี่ยวผิง(邓小平) เยือนสิงคโปร์เพื่อตรวจสอบประสบการณ์ของสิงคโปร์ในด้านการปกครองระดับชาติ

    ในปีค.ศ. 1983 เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)กล่าวกับลี กวนยู(Lee Kuan Yew李光耀)เป็นการส่วนตัวว่า:

    ภายใต้การปฏิรูปและการทูตเชิงปฏิบัติของเติ้ง เสี่ยวผิง(邓小平) แผ่นดินใหญ่จะแข็งแกร่งขึ้น “หากแผ่นดินใหญ่และไต้หวันรวมกัน อนาคตของจีนจะมีอนาคตที่ดีอย่างแน่นอน”

    หลังจากนั้นจีนและอังกฤษบรรลุข้อตกลงในการคืนฮ่องกง ในปี ค.ศ. 1986 ลี กวนยู(Lee Kuan Yew李光耀)เดินทางไปไต้หวันอีกครั้งเพื่อพูดคุยกับเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國) และเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)กล่าวว่า: เขาจะเปลี่ยนแปลงไต้หวัน แต่เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเฉพาะเจาะจงว่าการเปลี่ยนแปลงจะเป็นเช่นไร

    ในปี ค.ศ. 1987 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในไต้หวัน พรรคก๊กมินตั๋ง(国民党)นอกเหนือจากการยกเลิกคำสั่งห้ามพรรคและการห้ามหนังสือพิมพ์แล้ว ยังอนุญาตให้ผู้คนเดินทางไปยังแผ่นดินใหญ่ได้ แต่เมื่อวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1988 เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ก็เสียชีวิตกะทันหันด้วยอาการป่วย

    หลังจากข่าวการเสียชีวิตของเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ไปถึงปักกิ่ง เติ้งกง(邓公)ก็จัดการประชุมระดับสูงทันที หลังจากได้ฟังรายงานเกี่ยวกับการทำงานเรื่องไต้หวันแล้ว เขาเชื่อว่าการรวมชาติเป็นเรื่องใหญ่สำคัญ เมื่อเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)จากไป การรวมชาติอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ยากลำบาก เขาคร่ำครวญ: "เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ตายเร็วเกินไป"

    เมื่อพิจารณาจากช่วงเวลาของประวัติศาสตร์นี้ เติ้งเสี่ยวผิง(邓小平)และเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ได้เผชิญหน้ากันสองครั้ง ครั้งแรกคือตอนที่พวกเขากำลังศึกษาอยู่ในสหภาพโซเวียต ทั้งสองมีความเชื่อร่วมกัน ต่อมาเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ทรยศต่อศรัทธาและติดตามเจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石) จนกระทั่งเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ขึ้นสู่อำนาจที่ทั้งสองได้พบกัน แม้ว่าทั้งสองจะไม่ได้พบกันมาห้าสิบหรือหกสิบปีแล้ว แต่ทั้งสองก็คิดถึงประเด็นการรวมชาติ

    🤯โปรดติดตามบทความที่น่าสนใจต่อไป.ในโอกาสหน้า🤯

    🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
    🤠#เรื่องเล่าของสองเพื่อนร่วมชั้นเรียนแต่ต่างอุดมการณ์🤠 ปัจจุบันไต้หวันกลายเป็นความเจ็บปวดในใจคนจีน และสหรัฐฯ มักใช้ไต้หวันเพื่อยั่วยุจีน จุดประสงค์ของสหรัฐฯนั้นชัดเจน นั่นคือเพื่อยั่วยุกระตุ้นให้จีนดำเนินการด้วยวิธีรุนแรง หลังจากนั้นแล้วขัดขวางก่อกวนยุทธศาสตร์ของจีน ซึ่งจะทำให้จีนอ่อนแอลงอีก ดังนั้นปัญหาไต้หวันถึงจุดที่ต้องแก้ไข หากไม่ได้รับการแก้ไข สหรัฐฯ จะยังคงเล่นเกมไพ่ไต้หวัน พวกเขายังจะสนับสนุนกองกำลัง "ปลดปล่อยเอกราชของไต้หวัน" ให้ก่อปัญหาอีกด้วย เมื่อถึงเวลานั้นก็จะตกอยู่ในสภาพถูกกระทำขณะทำการแก้ไขปัญหา ในความเป็นจริงแล้ว ประเด็นของไต้หวันมีขึ้นตั้งแต่ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 เติ้งกง(邓公)ได้ส่งเสริมนำการแก้ปัญหาของไต้หวันมาดำเนินการ น่าเสียดายที่มีบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป และการเปลี่ยนแปลงนี้มาจากเพื่อนร่วมชั้นเรียนของ เติ้งกง(邓公) 🥳หนึ่ง🥳 เพื่อนร่วมชั้นเรียนของ เติ้งกง(邓公) คือ เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ทั้งสองเรียนในชั้นเรียนเดียวกันที่มหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็น(Sun Yat-sen University中山大学)ในสหภาพโซเวียตตั้งแต่ปี ค.ศ. 1926 ถึง ค.ศ. 1927 ในปี ค.ศ. 1925 เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ไปศึกษาที่สหภาพโซเวียต ส่วนเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ไปศึกษาต่อต่างประเทศอาจกล่าวได้ว่าเขาถูกบังคับให้ทำเช่นนั้น หรืออาจจะว่าเจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)หวังว่าลูกชายของเขาไปที่สหภาพโซเวียตเพื่อเรียนรู้บางสิ่งบางอย่างที่แท้จริงกลับมา เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國) ชื่อรอง เจี้ยนเฟิง(建丰) เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)เป็นชื่อบรรพบุรุษของเขา และยังเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของเขาด้วย เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)เกิดที่เมืองเฟิงฮว่า(奉化)เจ้อเจียง(浙江)เมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1910 เขาเป็นบุตรชายคนโตของเจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)และเหมา ฝูเหมย(毛福梅)ภรรยาคนแรกของเขา หลังจากที่เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)เกิด เจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)ก็ทำงานหนักนอกบ้านตลอด ดังนั้นเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)จึงเติบโตมากับแม่และยายของเขา สิ่งนี้ทำให้เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ค่อนข้างขี้ขลาด ตามที่ครูผู้สอนหนังสือ เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)กล่าวไว้ ตอนนั้นเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)มีอะไรนิดหน่อยมักจะร้องไห้อยู่ตลอดเวลา นี่อาจเป็นลักษณะเฉพาะของครอบครัวที่ไม่มีผู้ชายที่เป็นผู้ใหญ่อยู่ในบ้าน ในปีค.ศ. 1924 เจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)ส่งเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ไปโรงเรียนมัธยมต้นเซี่ยงไฮ้ผู่ตง(浦东) ในเวลานี้ เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)วัย 14 ปีเป็นผู้ใหญ่มาก ในปี ค.ศ. 1925 หลังจากการสังหารหมู่30 พฤษภาคม(五卅惨案) เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)วัย 15 ปีก็เข้าร่วมในการประท้วงด้วยความรักชาติด้วย แต่หลังจากที่ทางโรงเรียนค้นพบ เขาถูกไล่ออกจากโรงเรียนเนื่องจากในความผิดว่า "ความคิดที่เป็นอันตรายและพฤติกรรมเบี่ยงเบน" หลังจากถูกไล่ออกจากโรงเรียน เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ตัดสินใจไปศึกษาต่อต่างประเทศ เขาจึงไปปักกิ่งเพื่อเรียนภาษาต่างประเทศ ในช่วงเวลานี้ เขาถูกจำคุกเป็นเวลาสองสัปดาห์เนื่องจากการเข้าร่วมขบวนการนักเรียนต่อต้านขุนศึกเป่ยหยาง(北洋) ขณะอยู่ในปักกิ่ง เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ได้พบกับหลี่ ต้าเจวา(李大钊) และสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์คนอื่น ๆ เขาชื่นชมความรู้และความเชื่อของหลี่ ต้าเจวา(李大钊) ต่อมา หลี่ ต้าเจวา(李大钊)ได้แนะนำชาวโซเวียตจำนวนมากให้รู้จักกับ เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國) เกี่ยวกับประสบการณ์นี้ เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)เล่าในภายหลังว่า: “เป่ยผิง(北平)เต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งมิตรภาพระหว่างพรรคก๊กมินตั๋ง(國民黨)และพรรคคอมมิวนิสต์(共產黨) ในใจของฉันก็สับสนกับสภาพแวดล้อมนี้ และเปลี่ยนแผนการเรียนในฝรั่งเศสเดิมอย่างสิ้นเชิง” การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ตัดสินใจศึกษาต่อในสหภาพโซเวียต ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1925 เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)มาถึงสหภาพโซเวียต ในเวลานั้น มีบุตรของเจ้านายใหญ่หลายคน เช่น เซ่าจวื่อกาง(邵志刚)ลูกชาย ของเซ่า ลี่จวื๋อ(邵力子), เฝิงหงกั๋ว(冯洪国)ลูกชายของ เฝิง อวิ้เสียง(冯玉祥) พร้อมกับลูกสาว เฝิงฝูเหนิ่ง(冯弗能) และ อวิ้ ซิ่วจวือ(于秀芝) ลูกสาวของ อวิ้โย่วเยิ่น(于右任) รวมถึง จาง ซีย่วน(张锡媛) ภรรยาคนแรกของ เติ้งกง(邓公), หวังหมิง(王明)และคนอื่นๆ ระหว่างทางไปสหภาพโซเวียต เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ได้อ่านหนังสือเล่มแรกเกี่ยวกับลัทธิคอมมิวนิสต์ "ABC of Communism" หนังสือเล่มนี้สร้างความประทับใจอย่างลึกซึ้งให้กับเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國) ปีที่สองก็คือปี ค.ศ.1926 ในชั้นเรียนของเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)มีนักเรียนที่ย้ายมาจากปารีส ประเทศฝรั่งเศสคนหนึ่ง เขาคือเติ้งเสี่ยวผิง(邓小平) ในเวลานั้น เติ้งกง(邓公)ชื่อเติ้ง ซีเสียน(邓希贤) เติ้งกง(邓公)มีอายุมากกว่าเจียงจิงกัว 5 ปี และยังมีชื่อภาษารัสเซียว่า "อีวาน เชโกวิช(Ivan Shegovich)" ในความประทับใจของ เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國) เติ้งกง(邓公)เป็นคนร่าเริงมาก สามารถพูดได้ดีบนเวที และมีทักษะในการจัดองค์กรที่แข็งแกร่ง ในเวลานั้นเพื่อนร่วมชั้นของเขาตั้งฉายาให้เขาว่า "ปืนใหญ่เหล็กน้อย(小钢炮)" เติ้งเสี่ยวผิง(邓小平)และเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)เข้ากันได้ดี และทั้งสองคนรูปร่างไม่สูงนักเช่นกัน ทั้งสองมักจะเดินคุยกันริมแม่น้ำมอสโก ดังนั้น เติ้งกง(邓公)และเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)จึงไม่ใช่แค่เพื่อนร่วมชั้นเท่านั้น แต่ยังเป็นเพื่อนที่ดีมากอีกด้วย ในปี ค.ศ. 1927 เติ้งกง(邓公)ได้รับมอบหมายจากองค์กรให้กลับไปทำงานที่ประเทศจีน และเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ยังคงศึกษาต่อในสหภาพโซเวียตในเวลานี้ เจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)ได้เปิดฉากเหตุการณ์ต่อต้านการปฏิวัติ "4.12"(“4.12”反革命事件) และสังหารหมู่สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จำนวนมาก ในฐานะบุตรชายของเจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石) เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)จึงถูกสหภาพโซเวียตตั้งคำถาม และหวังหมิง(王明)และคนอื่นๆ ก็ไม่ชอบเช่นกัน ต่อมาเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ไปทำงานในโรงงานและแต่งงานกับหญิงชาวโซเวียต จนกระทั่งถึงหลังสงครามต่อต้านญี่ปุ่น ด้วยการประสานงานของ โจวกง(周公)ถึงทำให้ เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)สามารถเดินทางกลับประเทศจีนได้ 🥳สอง🥳 หลังจากที่เติ้งกง(邓公)เดินทางกลับจากสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1927 จนกระทั่งมีการสถาปนาจีนใหม่ เติ้งกง(邓公)และเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ก็ไม่มีทางอื่นที่จะเลือกเดินอีกต่อไป ในเวลานั้น เติ้งกง(邓公)เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดที่มีชื่อเสียงของกองทัพของหลิว(刘)และเติ้ง(邓) เขาถูกมองว่าเป็นเสี้ยนหนามในฝ่ายของเจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)มานานแล้ว และเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ก็ละทิ้งความเชื่ออุดมการณ์แบบคอมมิวนิสต์ของเขาด้วย ได้ตัดสินใจที่จะทำตามพ่อซึ่งเป็นผู้นำของเขาและเตรียมพร้อมที่จะรับช่วงต่อ หลังจากที่เจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)พ่ายแพ้และถอยไปไต้หวันแล้ว เขาก็เริ่มติดต่อกับกลุ่มรัฐมนตรีผู้มีประสบการณ์ซึ่งเคยเป็นลูกน้องของเขา จุดประสงค์ของเจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)ในการทำเช่นนี้คือปูทางเพื่อให้เชียงจิงกัวสามารถสืบทอดตำแหน่งได้ ท้ายที่สุดแล้วในจีนแผ่นดินใหญ่ ผู้เฒ่าเจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)ยังไม่กล้าส่งสัญญาณออกไปว่าให้ เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)เข้ามารับหน้าที่สืบทอดแทน เขายังต้องคำนึงถึงหน้าตาความรู้สึกของรัฐมนตรีเก่าผู้มีประสบการณ์บางคนด้วย หากลูกชายเข้ามารับช่วงต่อ หลี่จงเหริน(李宗仁)จะไม่เต็มใจอย่างแน่นอน แม้ว่าเจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)จะไม่ทำอย่างนี้ ใครก็ตามที่มีสายตาเฉียบแหลมก็สามารถเห็นได้ หลังจากที่ผู้เฒ่าเจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)มาถึงไต้หวัน เมื่ออำนาจของเขาก็มั่นคงขึ้นแล้วหลังจากดูแลจัดการรัฐมนตรีคนเก่าของเขา และเขาก็เริ่มปล่อยมือให้ลูกชายทำงาน หลังจากที่เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ขึ้นเป็นประธานฝ่ายบริหาร สร้างไต้หวันตามแนวทางการปกครองของเขา ขณะนั้นไต้หวันมีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็ง และเจี่ยงน้อย(小蒋)ก็ทำสิ่งที่ถูกต้องอย่างหนึ่ง นั่นคือการพัฒนาบริษัทผลิตชิป แม้จะมีราคาแพงสูงมาก แต่เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ก็เลือกเส้นทางที่ถูกต้อง ภายใต้การปกครองของเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國) ไต้หวันมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และในช่วงทศวรรษ 1980 ไต้หวันก็กลายเป็นภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดในเอเชีย แต่หลังจากที่พ่อลูกตระกูลเจี่ยง(蒋)เข้าบริหารปกครองไต้หวัน ก็เป็นตอนที่ผู้เฒ่าเจี่ยง(蒋)มอบอำนาจเกือบทั้งหมดให้กับเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國) ด้วยมีบางอย่างเกิดขึ้นในจีนแผ่นดินใหญ่เช่นกัน เติ้งเสี่ยวผิง(邓小平)กลับมาอีกครั้ง นี่เป็นการตัดสินใจที่ชาญฉลาดของประธานเหมา(毛) หลังจากที่เติ้งกง(邓公)กลับคืนสู่รัฐบาลกลาง โจวกง(周公)ก็มอบงานการต่างประเทศจำนวนมากให้กับเติ้งกง(邓公) จากนั้นเติ้งกง(邓公)ก็ประกาศบางอย่างต่อสาธารณะ: เตรียมหารือปัญหาการรวมตัวกับไทเป(台北)โดยตรง สมาชิกก๊กมิ่นตั๋ง(国民党)บางคนในแผ่นดินใหญ่ยังสื่อสารส่งข้อความถึงพ่อลูกครอบครัวตระกูลเจี่ยง(蒋)ผ่านช่องทางสาธารณะหรือส่วนตัว เจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)ซึ่งล้มป่วยอยู่นั้นก็ไม่มีแรงจะจัดการกับเรื่องเหล่านี้ เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ซึ่งได้รับอำนาจเต็มในเวลานี้แล้ว ก็ยังเพิกเฉยไม่แยแสต่อความคิดริเริ่มของเติ้งกง(邓公) ในปีค.ศ. 1975 ผู้เฒ่าเจี่ยง(蒋)เสียชีวิต และหยาน เจียก้าน(严家淦) เข้ามารับช่วงต่อ สามปีต่อมา หยาน เจียก้าน(严家淦)ได้มอบอำนาจคืนโดยอัตโนมัติ วันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1978 เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ขึ้นสืบทอดตำแหน่งอย่างเป็นทางการ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้เฒ่าเจี่ยง(蒋)และเจี่ยงน้อย(小蒋)ไม่คาดคิด ในปีค.ศ. 1972 พ่อลูกตระกูลเจี่ยง(蒋) ไม่ทราบเกี่ยวกับการเยือนจีนของริชาร์ด นิกสัน(Richard Nixon理查德·尼克松) เจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石)ซึ่งโกรธมากจนสาปแช่ง นิกสัน(Nixon尼克松)ว่า “ไม่ใช่สิ่งของ” และแม้ว่าเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ก็มี "แวดวงสนับสนุนไต้หวัน(亲台圈子)" ในสหรัฐอเมริกา ต่อมาเมื่อสหรัฐอเมริกาโดย จิมมี คาร์เตอร์(Jimmy Carter吉米·卡特) และเติ้งเสี่ยวผิง(邓小平)หารือกันเรื่องการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ก็ยังคงถูกเก็บซ่อนไว้ในความมืด เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1978 สิบสองชั่วโมงก่อนการประกาศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ลีโอนาร์ด ไซด์มาน อังเกอร์ (Leonard Seidman Unger安克志)ซึ่งขณะนั้นเป็นตัวแทนของสหรัฐฯ ในไต้หวัน ได้รับโทรศัพท์ลับจากรัฐบาลสหรัฐฯ โดยขอให้เขาโทรหา ซ่งฉู่อวิ้(宋楚瑜James Soong Chu-yu)เลขาของเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ในตอนเช้า อังเกอร์ (Unger安克志)บอก ซ่งฉู่อวิ้(宋楚瑜James Soong Chu-yu)ว่าเขามีเรื่องสำคัญที่ต้องพบ เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國) เมื่อเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ตื่นขึ้นมากลางดึกและได้พบอังเกอร์ (Unger安克志)จึงเพิ่งทราบข่าวการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างจีนกับสหรัฐฯ อังเกอร์ (Unger安克志)บอกกับเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ว่าอย่าให้ข่าวนี้รั่วไหลสู่โลกภายนอกก่อน 8 โมงเช้าของวันรุ่งขึ้น เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)โกรธมาก เขาไม่เห็นด้วย แต่ไม่มีวิธีใดที่จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของสหรัฐฯ แน่นอนว่าหลังจากมีข่าวตลาดหุ้นไทเป(台北)ก็ร่วงลง 10% นี่เป็นการแข่งขันประลองฝีมือครั้งแรกระหว่างเติ้งเสี่ยวผิง(邓小平)และเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ในฐานะเพื่อนร่วมชั้น 🥳สาม🥳 เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1979 จอมพล สวีเซี่ยงเฉียน(徐向前)ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้นกล่าว: ยุติการยิงปืนใหญ่โจมตีจินเหมิน(金门)อย่างเป็นทางการ ในวันนี้ สภาประชาชนแห่งชาติ(全国人大)ยังได้ออก "ข้อความถึงเพื่อนร่วมชาติในไต้หวัน(告台湾同胞书)" และเหลียว เฉิงจือ(廖承志)ซึ่งรับผิดชอบกิจการไต้หวัน ก็เผยแพร่จดหมายถึงเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ต่อสาธารณะด้วย: เสนอความร่วมมือครั้งที่สามระหว่างพรรคก๊กมินตั๋ง(國民黨)และ พรรคคอมมิวนิสต์(共產黨) ถึงเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)รู้สึกอ่อนไหวต่อความคิดริเริ่มด้านสันติภาพของเติ้งกง(邓公)มาก เขาปฏิเสธการเยือนไต้หวันของเหลียว เฉิงจือ(廖承志) แต่เขาก็ไม่ปฏิเสธการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมข้ามช่องแคบ โดยเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อไต้หวัน การแลกเปลี่ยนข้ามช่องแคบเริ่มขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในปีค.ศ. 1981 เติ้งเสี่ยวผิง(邓小平)ได้อนุญาตให้ ซีโข่ว(溪口) เจ้อเจียง(浙江)ปรับปรุงที่พักอาศัยเดิมของเจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石) และสุสานของมาดาม เหมา (毛)ซึ่งเป็นยายของเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國) ว่ากันว่าทั้ง เติ้งกง(邓公)และ เหลียว เฉิงจือ(廖承志)รู้ว่าเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)เป็นลูกกตัญญู ภาพถ่ายสิ่งต่างๆที่ได้รับการซ่อมแซมได้ถูกส่งไปยังเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)อย่างรวดเร็ว หลังจากที่เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國) เห็นรูปถ่ายเหล่านี้ เขาก็ไม่ได้พูดอะไรต่อสาธารณะ แต่เขาคงจะรู้สึกอะไรบางอย่างในใจ หลังจากนั้นไม่นาน เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ก็เชื่อว่าถึงเวลาสำหรับการเจรจาแล้ว เขาจึงค้นเลือกหาคนกลาง และคนกลางคนนี้คือ ลี กวนยู(Lee Kuan Yew李光耀) เขาคิดว่าลี กวนยู(Lee Kuan Yew李光耀)ทำหน้าที่เป็นคนกลางน่าจะเหมาะสมกว่า ในปีค.ศ. 1981 เติ้ง เสี่ยวผิง(邓小平) เยือนสิงคโปร์เพื่อตรวจสอบประสบการณ์ของสิงคโปร์ในด้านการปกครองระดับชาติ ในปีค.ศ. 1983 เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)กล่าวกับลี กวนยู(Lee Kuan Yew李光耀)เป็นการส่วนตัวว่า: ภายใต้การปฏิรูปและการทูตเชิงปฏิบัติของเติ้ง เสี่ยวผิง(邓小平) แผ่นดินใหญ่จะแข็งแกร่งขึ้น “หากแผ่นดินใหญ่และไต้หวันรวมกัน อนาคตของจีนจะมีอนาคตที่ดีอย่างแน่นอน” หลังจากนั้นจีนและอังกฤษบรรลุข้อตกลงในการคืนฮ่องกง ในปี ค.ศ. 1986 ลี กวนยู(Lee Kuan Yew李光耀)เดินทางไปไต้หวันอีกครั้งเพื่อพูดคุยกับเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國) และเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)กล่าวว่า: เขาจะเปลี่ยนแปลงไต้หวัน แต่เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเฉพาะเจาะจงว่าการเปลี่ยนแปลงจะเป็นเช่นไร ในปี ค.ศ. 1987 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในไต้หวัน พรรคก๊กมินตั๋ง(国民党)นอกเหนือจากการยกเลิกคำสั่งห้ามพรรคและการห้ามหนังสือพิมพ์แล้ว ยังอนุญาตให้ผู้คนเดินทางไปยังแผ่นดินใหญ่ได้ แต่เมื่อวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1988 เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ก็เสียชีวิตกะทันหันด้วยอาการป่วย หลังจากข่าวการเสียชีวิตของเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ไปถึงปักกิ่ง เติ้งกง(邓公)ก็จัดการประชุมระดับสูงทันที หลังจากได้ฟังรายงานเกี่ยวกับการทำงานเรื่องไต้หวันแล้ว เขาเชื่อว่าการรวมชาติเป็นเรื่องใหญ่สำคัญ เมื่อเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)จากไป การรวมชาติอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ยากลำบาก เขาคร่ำครวญ: "เจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ตายเร็วเกินไป" เมื่อพิจารณาจากช่วงเวลาของประวัติศาสตร์นี้ เติ้งเสี่ยวผิง(邓小平)และเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ได้เผชิญหน้ากันสองครั้ง ครั้งแรกคือตอนที่พวกเขากำลังศึกษาอยู่ในสหภาพโซเวียต ทั้งสองมีความเชื่อร่วมกัน ต่อมาเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ทรยศต่อศรัทธาและติดตามเจียง ไคเชก (Chiang Kai-shek蔣介石) จนกระทั่งเจี่ยง จิงกั๋ว(Chiang Ching-kuo蔣經國)ขึ้นสู่อำนาจที่ทั้งสองได้พบกัน แม้ว่าทั้งสองจะไม่ได้พบกันมาห้าสิบหรือหกสิบปีแล้ว แต่ทั้งสองก็คิดถึงประเด็นการรวมชาติ 🤯โปรดติดตามบทความที่น่าสนใจต่อไป.ในโอกาสหน้า🤯 🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 638 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปูติน ผู้นำรัสเซียเยือนมองโกเลีย ไม่หวั่นแม้ศาลอาญาระหว่างประเทศขู่ออกหมายจับข้อหาอาชญากรสงครามในยูเครน

    2 กันยายน 2567 -สำนักข่าวเอพีรายงานว่าประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซียเดินทางถึงประเทศมองโกเลียเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา แม้ศาลอาญาระหว่างประเทศICC จะออกหมายจับปูติน โดยขอให้มองโกเลียในฐานะสมาชิกทำหน้าที่จับคุมตัวปูติน

    การเยือนอย่างเป็นทางการของปูตินครั้งนี้ จะพบกับนายอุคนา คูเรลซุค ผู้นำมองโกเลียในวันอังคารนี้ ถือเป็นการเยือนประเทศสมาชิกของศาลอาญาระหว่างประเทศครั้งแรกของปูติน นับตั้งแต่ที่ICCออกหมายจับปูตินเมื่อเกือบ 18 เดือนที่แล้วในข้อหาอาชญากรสงครามในสงครามยูเครน

    ยูเครนเรียกร้องให้มองโกเลียจับกุมปูตินและส่งตัวเขาไปยังศาลในกรุงเฮก แต่โฆษกรัฐบาลของปูตินกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าเครมลินไม่กังวลเกี่ยวกับการเยือนครั้งนี้

    ทั้งนี้สมาชิกของศาลระหว่างประเทศมีหน้าที่ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยหากมีการออกหมายจับ แต่ศาลโลกไม่มีกลไกบังคับใช้กฎหมายใดๆ

    มองโกเลียซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรเพียง 3 ล้านคน พึ่งพาจีนและรัสเซียในด้านเชื้อเพลิงและไฟฟ้าเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันมองโกเลียก็เป็นแหล่งลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่

    เครมลินระบุว่าไม่กังวลใจเกี่ยวกับการเยือนมองโกเลียของปูติน แม้จะมีหมายจับจากศาลอาญาระหว่างประเทศซึ่งกล่าวหาว่าปูตินเป็นผู้รับผิดชอบต่อการลักพาตัวเด็กๆ จากยูเครน จากสงครามการสู้รบที่ดำเนินมาเป็นเวลา 2 ปีครึ่ง

    ในวันอังคารที่3 กันยายนนี้ ปูตินและผู้นำมองโกเลียจะเข้าร่วมพิธีเฉลิมฉลองชัยชนะของกองทหารโซเวียตและมองโกเลียในปี 1939 เหนือกองทัพญี่ปุ่นที่เข้ายึดแมนจูเรียในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ทหารหลายพันนายเสียชีวิตในช่วงสงครามหลายเดือนของการสู้รบในข้อพิพาทเรื่องพรมแดนระหว่างแมนจูเรียและมองโกเลีย

    แม้ว่าปูตินจะเผชิญกับมาตรการคว่ำบาตรเพื่อโดดเดี่ยวรัสเซียจากนานาชาติกรณีการรุกรานยูเครน แต่ปูตินก็ได้ไปเยือนเกาหลีเหนือและเวียดนามเมื่อเดือนที่แล้ว และยังได้ไปเยือนจีนอีกสองครั้งในปีที่ผ่านมา

    อย่างไรก็ตาม ปูตินได้เข้าร่วมการประชุมทางวิดีโอลิงค์ในโจฮันเนสเบิร์กเมื่อปีที่แล้ว หลังจากที่รัฐบาลแอฟริกาใต้กดดันไม่ให้เขาไปร่วมการประชุมสุดยอด BRICS ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวมถึงจีนและเศรษฐกิจเกิดใหม่อื่นๆ ด้วย เพราัแอฟริกาใต้เป็นสมาชิกของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC)

    ที่มา : เอพี
    https://apnews.com/article/b9c04dff1849164010de92b5564f7e60

    #Thaitimes
    ปูติน ผู้นำรัสเซียเยือนมองโกเลีย ไม่หวั่นแม้ศาลอาญาระหว่างประเทศขู่ออกหมายจับข้อหาอาชญากรสงครามในยูเครน 2 กันยายน 2567 -สำนักข่าวเอพีรายงานว่าประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซียเดินทางถึงประเทศมองโกเลียเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา แม้ศาลอาญาระหว่างประเทศICC จะออกหมายจับปูติน โดยขอให้มองโกเลียในฐานะสมาชิกทำหน้าที่จับคุมตัวปูติน การเยือนอย่างเป็นทางการของปูตินครั้งนี้ จะพบกับนายอุคนา คูเรลซุค ผู้นำมองโกเลียในวันอังคารนี้ ถือเป็นการเยือนประเทศสมาชิกของศาลอาญาระหว่างประเทศครั้งแรกของปูติน นับตั้งแต่ที่ICCออกหมายจับปูตินเมื่อเกือบ 18 เดือนที่แล้วในข้อหาอาชญากรสงครามในสงครามยูเครน ยูเครนเรียกร้องให้มองโกเลียจับกุมปูตินและส่งตัวเขาไปยังศาลในกรุงเฮก แต่โฆษกรัฐบาลของปูตินกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าเครมลินไม่กังวลเกี่ยวกับการเยือนครั้งนี้ ทั้งนี้สมาชิกของศาลระหว่างประเทศมีหน้าที่ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยหากมีการออกหมายจับ แต่ศาลโลกไม่มีกลไกบังคับใช้กฎหมายใดๆ มองโกเลียซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรเพียง 3 ล้านคน พึ่งพาจีนและรัสเซียในด้านเชื้อเพลิงและไฟฟ้าเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันมองโกเลียก็เป็นแหล่งลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เครมลินระบุว่าไม่กังวลใจเกี่ยวกับการเยือนมองโกเลียของปูติน แม้จะมีหมายจับจากศาลอาญาระหว่างประเทศซึ่งกล่าวหาว่าปูตินเป็นผู้รับผิดชอบต่อการลักพาตัวเด็กๆ จากยูเครน จากสงครามการสู้รบที่ดำเนินมาเป็นเวลา 2 ปีครึ่ง ในวันอังคารที่3 กันยายนนี้ ปูตินและผู้นำมองโกเลียจะเข้าร่วมพิธีเฉลิมฉลองชัยชนะของกองทหารโซเวียตและมองโกเลียในปี 1939 เหนือกองทัพญี่ปุ่นที่เข้ายึดแมนจูเรียในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ทหารหลายพันนายเสียชีวิตในช่วงสงครามหลายเดือนของการสู้รบในข้อพิพาทเรื่องพรมแดนระหว่างแมนจูเรียและมองโกเลีย แม้ว่าปูตินจะเผชิญกับมาตรการคว่ำบาตรเพื่อโดดเดี่ยวรัสเซียจากนานาชาติกรณีการรุกรานยูเครน แต่ปูตินก็ได้ไปเยือนเกาหลีเหนือและเวียดนามเมื่อเดือนที่แล้ว และยังได้ไปเยือนจีนอีกสองครั้งในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ปูตินได้เข้าร่วมการประชุมทางวิดีโอลิงค์ในโจฮันเนสเบิร์กเมื่อปีที่แล้ว หลังจากที่รัฐบาลแอฟริกาใต้กดดันไม่ให้เขาไปร่วมการประชุมสุดยอด BRICS ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวมถึงจีนและเศรษฐกิจเกิดใหม่อื่นๆ ด้วย เพราัแอฟริกาใต้เป็นสมาชิกของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ที่มา : เอพี https://apnews.com/article/b9c04dff1849164010de92b5564f7e60 #Thaitimes
    APNEWS.COM
    Putin arrives in Mongolia, a member of the ICC that issued an arrest warrant for him
    Russian President Vladimir Putin has arrived in Mongolia, a member of the international court that issued an arrest warrant for him.
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 717 มุมมอง 0 รีวิว
  • รีโพสต์จากคอลัมน์ มันเป็นเช่นนั้นเอง โดยทับทิม พญาไท ในผู้จัดการออนไลน์ 1 กันยายน 2567

    “สำหรับ “แนวรบทะเลจีนใต้” นั้น...แม้ลักษณะภายนอก อาจดูผิดแผก แตกต่างไปจากทั้งสองแนวรบอยู่มั่ง แต่ถ้ามองลึกลงไปถึงไส้ในความร้อนเร่า ร้อนผ่าวๆ หรือ “ความไวไฟ” ก็ไม่น่าจะผิดไปจากกันสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะเมื่อมองถึงการเดินทางไปเยือนจีนของที่ปรึกษาความมั่นคงทำเนียบขาว “นายJake Sullivan”

    เมื่อช่วงวัน-สองวันที่ผ่านมา (27-29 ส.ค.) เพราะการเดินทางไปเยือนจีนของที่ปรึกษาความมั่นคงอเมริกันรายนี้ เอาเข้าจริงๆ แล้ว...อาจต่างไปจากการเดินทางไปเยี่ยมเยือนประเทศแต่ละประเทศตามปกติธรรมดา หรือตามขนบธรรมเนียมประเพณีโดยทั่วๆ ไป แต่ถือเป็นการเดินทางไปเยือนตาม “คำเชื้อเชิญ” ของคณะกรรมการกลางและโปลิตบูโรของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เพื่อให้มีโอกาส “รับฟัง...สิ่งที่ควรได้ยิน” ดังที่บทบรรณาธิการ “Global Times” เขาว่าเอาไว้เมื่อไม่กี่วันมานี้นั่นแหละทั่น...

    และการพูดคุยเจ๊าะแจ๊ะเจรจาของ 2 มหาอำนาจในคราวนี้...อาจแทบไม่ต้องเสียเวลาประดิษฐ์คิดค้นคำพูดประเภทสวยๆ หรูๆ แบบพวกนักการทูตที่ชอบวกไป-วนมาแต่อย่างใด เพราะถือเป็นการพูดคุยสื่อสารแบบ “ทหาร-ต่อ-ทหาร” (military-to-military communications) อะไรประมาณนั้น โดยผลสรุปของการพูดคุยเจรจา ถ้าฟังจากคำแถลงของกระทรวงกลาโหมจีน หรือจากคำประกาศของตัวแทนฝ่ายจีน อย่างรองประธานคณะกรรมาธิการทหารกลาง “พลเอกZhang Youxia” ต้องเรียกว่า...เผลอๆอาจต้อง “หรี่แอร์” ในระหว่างการประชุมหรือไม่? อย่างไร? ก็แล้วแต่จะว่ากันไป เพราะออกจะเป็นอะไรที่ “หนาวว์ว์ว์ยะเยือก” อยู่พอสมควรทีเดียว หรืออย่างที่สำนักข่าวต่างประเทศบางสำนักเขาถึงกับหยิบไปพาดหัวไว้ว่า...ปักกิ่งแสดงความต้องการที่จะให้วอชิงตัน “หยุดสมคบคิดทางทหาร” กับไต้หวัน เอาเลยถึงขั้นนั้น!!!

    คือ “พลเอกZhang Youxia” รายที่ว่านี้...แม้ว่าโดยฐานะ ตำแหน่ง จะเป็นแค่ “รองประธาน” ของคณะกรรมาธิการกลางทางทหารกองทัพจีนก็เถอะ แต่โดยความสนิทชิดเชื้อกับผู้นำสูงสุดของจีน อย่างประธานาธิบดี “สี ทนได้” หรือ “สี จิ้นผิง” นั้นว่ากันว่าสนิทกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อของทั้งคู่ และนอกจากเคยผ่านศึกสมรภูมิสงครามอย่าง “สงครามสั่งสอนเวียดนาม” เมื่อช่วงปี ค.ศ. 1979 แล้ว ยังมีสถานะเป็นหนึ่งในคณะกรรมการโปลิตบูโรของพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกด้วย ด้วยเหตุนี้คำพูด คำจาในแต่ละวรรค แต่ละประโยค ของบุคคลผู้นี้ คงต้อง “ฟัง” และฟังแบบต้อง “ได้ยิน” อีกต่างหาก โดยเฉพาะคำพูดที่ว่า “ปมประเด็นปัญหาไต้หวันอันเป็นส่วนหนึ่งของจีนที่มิอาจแบ่งแยกได้นั้น ถือเป็นรากฐานความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ และเป็นหมายเลขหนึ่งของ...เส้นตาย (Red Line) ที่ไม่อาจก้าวข้ามได้โดยเด็ดขาด แม้ว่าจีนจะพยายามรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในบริเวณช่องแคบไต้หวันมาโดยตลอด แต่ก็ต้องขอเตือนเอาไว้ด้วยว่า...สิ่งเหล่านี้อาจเป็นไปไม่ได้ถ้าหากยังมีความพยายามแบ่งแยกไต้หวันออกจากจีน!!!”

    นี่...ฟังแล้วต้องหรี่แอร์-ไม่หรี่แอร์ คงต้องไปคิดๆ เอาเองก็แล้วกัน ยิ่งเป็นคำพูดระหว่าง “ทหาร-ต่อ-ทหาร” ไม่ใช่คำพูดหวานๆ แบบบรรดานักการทูตทั้งหลาย ก็คงต้องคิดหน้า-คิดหลังยิ่งขึ้นไปใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อรองประธานคณะกรรมาธิการทหารรายนี้ได้เน้นย้ำไว้ด้วยว่า “อเมริกาควรจะมียุทธศาสตร์ที่ถูกต้องในมุมมองที่มีต่อจีน และควรที่จะกลับมาสู่ความมีเหตุมีผลและนโยบายที่สอดคล้องกับความเป็นจริงต่อประเทศของเรา เคารพในผลประโยชน์หลักของจีนในทางปฏิบัติและพร้อมที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกองทัพทั้งสองประเทศ ร่วมกันแบกรับภาระความรับผิดชอบในฐานะประเทศมหาอำนาจ” อันถือเป็นคำพูดที่สอดคล้องต้องกันกับผู้นำจีนอย่างประธานาธิบดี “สี จิ้นผิง” ที่บอกกับ “นายJake Sullivan” เอาไว้ก่อนหน้านั้นประมาณว่า... “จีนและสหรัฐฯ ควรจะมีความรับผิดชอบต่อประวัติศาสตร์ ต่อประชาชนและต่อโลก” อีกด้วย...

    ดังนั้น...คำพูดที่ปรึกษาความมั่นคงทำเนียบขาวได้รับฟังแบบชนิดเต็มรูหู ตลอดช่วงระยะเวลาประมาณ 11 ชั่วโมงในการพูดคุยหัวข้อต่างๆ ประมาณ 6 วาระ ระหว่างวันอังคารที่ 27 และพุธที่ 28 ส.ค. ถ้าหากจะสรุปย่อๆ แบบสั้นๆ-ง่ายๆ ตามสำบัดสำนวนของ “พลเอกZhang Youxia” ก็คือ... “หยุดสมคบคิดทางทหารกับไต้หวัน-หยุดติดอาวุธ-หยุดสร้างข่าวลือแบบผิดๆ” หรือเลิกกระตุ้น เลิกยุแยงตะแคงรั่ว ให้เกิดความคิดความทะเยอทะยานของบรรดาชาวไต้หวันบางกลุ่ม-บางราย ที่จะแยกไต้หวันออกจากจีนโดยเด็ดขาด!!!

    ด้วยเหตุนี้นี่เอง...ที่ทำให้การพบปะระหว่างที่ปรึกษาความมั่นคงทำเนียบขาวกับฝ่ายจีนคราวนี้ ในสายตานักคิด-นักเขียนและนักวิชาการด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเอเชีย-แปซิฟิกโดยเฉพาะ อย่าง “K.J. Noh” ถึงได้สรุปว่า นี่ไม่ใช่การพบปะเพื่อกระชับความสัมพันธ์ หรือปรับปรุงความสัมพันธ์ใดๆ อีกต่อไป แต่ถือเป็นการตอกย้ำ “ข้อสงสัย” ของจีนต่อบทบาทของอเมริการในเอเชีย-แปซิฟิก ที่ควรจะต้องเป็นไปตาม “ข้อตกลงที่บาหลี” (Bali Agreement) หรือระหว่างการประชุมสุดยอดของผู้นำจีนและผู้นำอเมริกันที่นครซานฟรานซิสโก เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 2023 นั่นก็คือข้อห้าม 5 ข้อ (Five Nos) ที่อเมริกาเคยสัญญิง-สัญญาไว้กับจีนว่าไม่คิดจะก่อสงครามเย็น-สงครามร้อน-ไม่คิดเปลี่ยนแปลงระบบปกครองจีน-ไม่ขัดขวางกิจกรรมของกันและกันและไม่สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดน...

    ดังนั้น...การที่คุณพ่ออเมริกายังไม่หยุดขายอาวุธไม่รู้จะกี่ต่อกี่พันล้าน-หมื่นล้านให้กับไต้หวัน ยังเปิดช่อง เปิดโอกาส ให้รัฐมนตรีต่างประเทศไต้หวันและที่ปรึกษาความมั่นคง ดอดเข้าไป “ประชุมลับ” กับอเมริกากันถึงที่ เมื่อช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาแถมยังพยายามหันไปสร้าง “ดาวยั่วดวงใหม่”

    อย่างฟิลิปปินส์ ชนิดถึงกับยอมทุ่มเทเงินทองถึง 1.894 ล้านล้านเปโซ หรือ 1.1 ล้านล้านบาท (33,740 ล้านดอลลาร์) เพื่อซื้ออาวุธ ซื้อเครื่องบินโจมตีมารับมือกับจีน โดยยังไม่นับรวมไปถึงการคิดจะนำเอาขีปนาวุธพิสัยกลางของอเมริกามาติดตั้งไว้ในฟิลิปปินส์อีกต่างหาก ฯลฯ อะไรต่อมิอะไรเหล่านี้นี่เอง ที่น่าจะทำให้ “แนวรบในทะเลจีนใต้” นับแต่นี้ น่าจะยิ่งร้อนเร่า ร้อนแรง ยิ่งขึ้นไปตามลำดับ โดยเฉพาะเมื่อมหาอำนาจอันดับ 2 ของโลกอย่างจีน ไม่ได้คิดจะเอาแต่ลอดเลื้อย โอบกระหวัดรัดพันแบบแต่ก่อน แต่กล้าที่จะพูดจาแบบตรงไป-ตรงมา หรือแบบ “ทหาร-ต่อ-ทหาร” กับอเมริกา ให้ต้อง “ฟัง...แล้วได้ยิน” อย่างมิอาจเอาหูไปนา-เอาตาไปไร่ได้อีกต่อไป...

    อันนี้นี่แหละ...ที่มันเลยทำให้ “แนวรบ” ทุกแนวรบ กลายเป็นสิ่งที่สอดประสานซึ่งกันและกันอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงและปฏิเสธได้ ไม่ว่าจะแนวรบยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลางและทะเลจีนใต้ ที่ได้กลายเป็นตัวสร้าง “แรงกดดัน” ให้กับมหาอำนาจสูงสุดอย่างคุณพ่ออเมริกาและบรรดาพันธมิตรตะวันตกทั้งหลาย ที่เพียงแค่เจอกับรัสเซียในแนวรบยุโรปตะวันออกเท่านั้นก็แทบ “ไปไม่เป็น” กันไปทั้งแผง ไม่ใช่ “เสาหลักทางเศรษฐกิจ” อย่างเยอรมนีเท่านั้น ที่ต้องออกมาสารภาพว่าชักจะ “บ่อจี๊” ไม่เหลือเงิน-เหลือทองพอที่จะไปช่วย “ตัวตลก-ตัวแทน” อย่างยูเครนได้อีกต่อไปแล้ว แต่กระทั่งโปแลนด์ที่อยู่หน้าปากประตูบ้านของรัสเซีย เมื่อวัน-สองวันที่ผ่านมา ก็ยังต้องออกมาสารภาพว่าแทบไม่เหลืออาวุธที่จะส่งไปให้ยูเครนอีกต่อไป ส่วนในแนวรบตะวันออกกลาง การตระเตรียมรับมือกับ “สงครามใหญ่” อันอาจเกิดจากการแก้แค้น-เอาคืนของอิหร่าน ถึงกับทำให้เรือบรรทุกเครื่องบิน 2 ลำของอเมริกาไม่สามารถถอนสมอไปไหน-มาไหนได้อีก แถมจรวดราคาลูกละเป็นล้านๆ ดอลลาร์ที่ต้องเอาไว้สกัดกั้นจรวดหรือเครื่องบินโดรนราคาถูกๆ ของพวกนักรบเยเมนอย่าง “กบฏฮูตี” ก็ชักจะร่อยหรอแทบไม่เหลือติดคลังเอาไว้เลยก็ว่าได้...

    ด้วยเหตุนี้...ถ้าหากต้องมาเจอกับแนวรบอีกแนวรบ นั่นคือแนวรบทะเลจีนใต้ขึ้นมาเมื่อไหร่ โอกาสที่มหาอำนาจสูงสุดอย่างคุณพ่ออเมริกา รวมทั้งบรรดาพันธมิตรในโลกตะวันตกทั้งหลาย ที่ต่างก็ “กรอบเป็นข้าวเกรียบเมืองเพชร” ไปด้วยกันทั้งสิ้นจะยังคงยืนหยัด ยืนยัน ถึงความเป็น “โลกขั้วอำนาจเดียว” ไม่ยอมเปิดโอกาส ไม่ยอมรับข้อเท็จจริงว่าโลกทุกวันนี้ ได้กลายเป็น “โลกหลายขั้วอำนาจ” ไปเรียบร้อยแล้ว ก็คงเป็นได้แค่คำคุยโม้ คุยโต ไปวันๆ เท่านั้นเอง!!!”

    ที่มา : คอลัมน์มันเป็นเช่นนั้นเอง/ทับทิม พญาไท
    https://mgronline.com/daily/detail/9670000080996

    #Thaitimes
    รีโพสต์จากคอลัมน์ มันเป็นเช่นนั้นเอง โดยทับทิม พญาไท ในผู้จัดการออนไลน์ 1 กันยายน 2567 “สำหรับ “แนวรบทะเลจีนใต้” นั้น...แม้ลักษณะภายนอก อาจดูผิดแผก แตกต่างไปจากทั้งสองแนวรบอยู่มั่ง แต่ถ้ามองลึกลงไปถึงไส้ในความร้อนเร่า ร้อนผ่าวๆ หรือ “ความไวไฟ” ก็ไม่น่าจะผิดไปจากกันสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะเมื่อมองถึงการเดินทางไปเยือนจีนของที่ปรึกษาความมั่นคงทำเนียบขาว “นายJake Sullivan” เมื่อช่วงวัน-สองวันที่ผ่านมา (27-29 ส.ค.) เพราะการเดินทางไปเยือนจีนของที่ปรึกษาความมั่นคงอเมริกันรายนี้ เอาเข้าจริงๆ แล้ว...อาจต่างไปจากการเดินทางไปเยี่ยมเยือนประเทศแต่ละประเทศตามปกติธรรมดา หรือตามขนบธรรมเนียมประเพณีโดยทั่วๆ ไป แต่ถือเป็นการเดินทางไปเยือนตาม “คำเชื้อเชิญ” ของคณะกรรมการกลางและโปลิตบูโรของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เพื่อให้มีโอกาส “รับฟัง...สิ่งที่ควรได้ยิน” ดังที่บทบรรณาธิการ “Global Times” เขาว่าเอาไว้เมื่อไม่กี่วันมานี้นั่นแหละทั่น... และการพูดคุยเจ๊าะแจ๊ะเจรจาของ 2 มหาอำนาจในคราวนี้...อาจแทบไม่ต้องเสียเวลาประดิษฐ์คิดค้นคำพูดประเภทสวยๆ หรูๆ แบบพวกนักการทูตที่ชอบวกไป-วนมาแต่อย่างใด เพราะถือเป็นการพูดคุยสื่อสารแบบ “ทหาร-ต่อ-ทหาร” (military-to-military communications) อะไรประมาณนั้น โดยผลสรุปของการพูดคุยเจรจา ถ้าฟังจากคำแถลงของกระทรวงกลาโหมจีน หรือจากคำประกาศของตัวแทนฝ่ายจีน อย่างรองประธานคณะกรรมาธิการทหารกลาง “พลเอกZhang Youxia” ต้องเรียกว่า...เผลอๆอาจต้อง “หรี่แอร์” ในระหว่างการประชุมหรือไม่? อย่างไร? ก็แล้วแต่จะว่ากันไป เพราะออกจะเป็นอะไรที่ “หนาวว์ว์ว์ยะเยือก” อยู่พอสมควรทีเดียว หรืออย่างที่สำนักข่าวต่างประเทศบางสำนักเขาถึงกับหยิบไปพาดหัวไว้ว่า...ปักกิ่งแสดงความต้องการที่จะให้วอชิงตัน “หยุดสมคบคิดทางทหาร” กับไต้หวัน เอาเลยถึงขั้นนั้น!!! คือ “พลเอกZhang Youxia” รายที่ว่านี้...แม้ว่าโดยฐานะ ตำแหน่ง จะเป็นแค่ “รองประธาน” ของคณะกรรมาธิการกลางทางทหารกองทัพจีนก็เถอะ แต่โดยความสนิทชิดเชื้อกับผู้นำสูงสุดของจีน อย่างประธานาธิบดี “สี ทนได้” หรือ “สี จิ้นผิง” นั้นว่ากันว่าสนิทกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อของทั้งคู่ และนอกจากเคยผ่านศึกสมรภูมิสงครามอย่าง “สงครามสั่งสอนเวียดนาม” เมื่อช่วงปี ค.ศ. 1979 แล้ว ยังมีสถานะเป็นหนึ่งในคณะกรรมการโปลิตบูโรของพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกด้วย ด้วยเหตุนี้คำพูด คำจาในแต่ละวรรค แต่ละประโยค ของบุคคลผู้นี้ คงต้อง “ฟัง” และฟังแบบต้อง “ได้ยิน” อีกต่างหาก โดยเฉพาะคำพูดที่ว่า “ปมประเด็นปัญหาไต้หวันอันเป็นส่วนหนึ่งของจีนที่มิอาจแบ่งแยกได้นั้น ถือเป็นรากฐานความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ และเป็นหมายเลขหนึ่งของ...เส้นตาย (Red Line) ที่ไม่อาจก้าวข้ามได้โดยเด็ดขาด แม้ว่าจีนจะพยายามรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในบริเวณช่องแคบไต้หวันมาโดยตลอด แต่ก็ต้องขอเตือนเอาไว้ด้วยว่า...สิ่งเหล่านี้อาจเป็นไปไม่ได้ถ้าหากยังมีความพยายามแบ่งแยกไต้หวันออกจากจีน!!!” นี่...ฟังแล้วต้องหรี่แอร์-ไม่หรี่แอร์ คงต้องไปคิดๆ เอาเองก็แล้วกัน ยิ่งเป็นคำพูดระหว่าง “ทหาร-ต่อ-ทหาร” ไม่ใช่คำพูดหวานๆ แบบบรรดานักการทูตทั้งหลาย ก็คงต้องคิดหน้า-คิดหลังยิ่งขึ้นไปใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อรองประธานคณะกรรมาธิการทหารรายนี้ได้เน้นย้ำไว้ด้วยว่า “อเมริกาควรจะมียุทธศาสตร์ที่ถูกต้องในมุมมองที่มีต่อจีน และควรที่จะกลับมาสู่ความมีเหตุมีผลและนโยบายที่สอดคล้องกับความเป็นจริงต่อประเทศของเรา เคารพในผลประโยชน์หลักของจีนในทางปฏิบัติและพร้อมที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกองทัพทั้งสองประเทศ ร่วมกันแบกรับภาระความรับผิดชอบในฐานะประเทศมหาอำนาจ” อันถือเป็นคำพูดที่สอดคล้องต้องกันกับผู้นำจีนอย่างประธานาธิบดี “สี จิ้นผิง” ที่บอกกับ “นายJake Sullivan” เอาไว้ก่อนหน้านั้นประมาณว่า... “จีนและสหรัฐฯ ควรจะมีความรับผิดชอบต่อประวัติศาสตร์ ต่อประชาชนและต่อโลก” อีกด้วย... ดังนั้น...คำพูดที่ปรึกษาความมั่นคงทำเนียบขาวได้รับฟังแบบชนิดเต็มรูหู ตลอดช่วงระยะเวลาประมาณ 11 ชั่วโมงในการพูดคุยหัวข้อต่างๆ ประมาณ 6 วาระ ระหว่างวันอังคารที่ 27 และพุธที่ 28 ส.ค. ถ้าหากจะสรุปย่อๆ แบบสั้นๆ-ง่ายๆ ตามสำบัดสำนวนของ “พลเอกZhang Youxia” ก็คือ... “หยุดสมคบคิดทางทหารกับไต้หวัน-หยุดติดอาวุธ-หยุดสร้างข่าวลือแบบผิดๆ” หรือเลิกกระตุ้น เลิกยุแยงตะแคงรั่ว ให้เกิดความคิดความทะเยอทะยานของบรรดาชาวไต้หวันบางกลุ่ม-บางราย ที่จะแยกไต้หวันออกจากจีนโดยเด็ดขาด!!! ด้วยเหตุนี้นี่เอง...ที่ทำให้การพบปะระหว่างที่ปรึกษาความมั่นคงทำเนียบขาวกับฝ่ายจีนคราวนี้ ในสายตานักคิด-นักเขียนและนักวิชาการด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเอเชีย-แปซิฟิกโดยเฉพาะ อย่าง “K.J. Noh” ถึงได้สรุปว่า นี่ไม่ใช่การพบปะเพื่อกระชับความสัมพันธ์ หรือปรับปรุงความสัมพันธ์ใดๆ อีกต่อไป แต่ถือเป็นการตอกย้ำ “ข้อสงสัย” ของจีนต่อบทบาทของอเมริการในเอเชีย-แปซิฟิก ที่ควรจะต้องเป็นไปตาม “ข้อตกลงที่บาหลี” (Bali Agreement) หรือระหว่างการประชุมสุดยอดของผู้นำจีนและผู้นำอเมริกันที่นครซานฟรานซิสโก เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 2023 นั่นก็คือข้อห้าม 5 ข้อ (Five Nos) ที่อเมริกาเคยสัญญิง-สัญญาไว้กับจีนว่าไม่คิดจะก่อสงครามเย็น-สงครามร้อน-ไม่คิดเปลี่ยนแปลงระบบปกครองจีน-ไม่ขัดขวางกิจกรรมของกันและกันและไม่สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดน... ดังนั้น...การที่คุณพ่ออเมริกายังไม่หยุดขายอาวุธไม่รู้จะกี่ต่อกี่พันล้าน-หมื่นล้านให้กับไต้หวัน ยังเปิดช่อง เปิดโอกาส ให้รัฐมนตรีต่างประเทศไต้หวันและที่ปรึกษาความมั่นคง ดอดเข้าไป “ประชุมลับ” กับอเมริกากันถึงที่ เมื่อช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาแถมยังพยายามหันไปสร้าง “ดาวยั่วดวงใหม่” อย่างฟิลิปปินส์ ชนิดถึงกับยอมทุ่มเทเงินทองถึง 1.894 ล้านล้านเปโซ หรือ 1.1 ล้านล้านบาท (33,740 ล้านดอลลาร์) เพื่อซื้ออาวุธ ซื้อเครื่องบินโจมตีมารับมือกับจีน โดยยังไม่นับรวมไปถึงการคิดจะนำเอาขีปนาวุธพิสัยกลางของอเมริกามาติดตั้งไว้ในฟิลิปปินส์อีกต่างหาก ฯลฯ อะไรต่อมิอะไรเหล่านี้นี่เอง ที่น่าจะทำให้ “แนวรบในทะเลจีนใต้” นับแต่นี้ น่าจะยิ่งร้อนเร่า ร้อนแรง ยิ่งขึ้นไปตามลำดับ โดยเฉพาะเมื่อมหาอำนาจอันดับ 2 ของโลกอย่างจีน ไม่ได้คิดจะเอาแต่ลอดเลื้อย โอบกระหวัดรัดพันแบบแต่ก่อน แต่กล้าที่จะพูดจาแบบตรงไป-ตรงมา หรือแบบ “ทหาร-ต่อ-ทหาร” กับอเมริกา ให้ต้อง “ฟัง...แล้วได้ยิน” อย่างมิอาจเอาหูไปนา-เอาตาไปไร่ได้อีกต่อไป... อันนี้นี่แหละ...ที่มันเลยทำให้ “แนวรบ” ทุกแนวรบ กลายเป็นสิ่งที่สอดประสานซึ่งกันและกันอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงและปฏิเสธได้ ไม่ว่าจะแนวรบยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลางและทะเลจีนใต้ ที่ได้กลายเป็นตัวสร้าง “แรงกดดัน” ให้กับมหาอำนาจสูงสุดอย่างคุณพ่ออเมริกาและบรรดาพันธมิตรตะวันตกทั้งหลาย ที่เพียงแค่เจอกับรัสเซียในแนวรบยุโรปตะวันออกเท่านั้นก็แทบ “ไปไม่เป็น” กันไปทั้งแผง ไม่ใช่ “เสาหลักทางเศรษฐกิจ” อย่างเยอรมนีเท่านั้น ที่ต้องออกมาสารภาพว่าชักจะ “บ่อจี๊” ไม่เหลือเงิน-เหลือทองพอที่จะไปช่วย “ตัวตลก-ตัวแทน” อย่างยูเครนได้อีกต่อไปแล้ว แต่กระทั่งโปแลนด์ที่อยู่หน้าปากประตูบ้านของรัสเซีย เมื่อวัน-สองวันที่ผ่านมา ก็ยังต้องออกมาสารภาพว่าแทบไม่เหลืออาวุธที่จะส่งไปให้ยูเครนอีกต่อไป ส่วนในแนวรบตะวันออกกลาง การตระเตรียมรับมือกับ “สงครามใหญ่” อันอาจเกิดจากการแก้แค้น-เอาคืนของอิหร่าน ถึงกับทำให้เรือบรรทุกเครื่องบิน 2 ลำของอเมริกาไม่สามารถถอนสมอไปไหน-มาไหนได้อีก แถมจรวดราคาลูกละเป็นล้านๆ ดอลลาร์ที่ต้องเอาไว้สกัดกั้นจรวดหรือเครื่องบินโดรนราคาถูกๆ ของพวกนักรบเยเมนอย่าง “กบฏฮูตี” ก็ชักจะร่อยหรอแทบไม่เหลือติดคลังเอาไว้เลยก็ว่าได้... ด้วยเหตุนี้...ถ้าหากต้องมาเจอกับแนวรบอีกแนวรบ นั่นคือแนวรบทะเลจีนใต้ขึ้นมาเมื่อไหร่ โอกาสที่มหาอำนาจสูงสุดอย่างคุณพ่ออเมริกา รวมทั้งบรรดาพันธมิตรในโลกตะวันตกทั้งหลาย ที่ต่างก็ “กรอบเป็นข้าวเกรียบเมืองเพชร” ไปด้วยกันทั้งสิ้นจะยังคงยืนหยัด ยืนยัน ถึงความเป็น “โลกขั้วอำนาจเดียว” ไม่ยอมเปิดโอกาส ไม่ยอมรับข้อเท็จจริงว่าโลกทุกวันนี้ ได้กลายเป็น “โลกหลายขั้วอำนาจ” ไปเรียบร้อยแล้ว ก็คงเป็นได้แค่คำคุยโม้ คุยโต ไปวันๆ เท่านั้นเอง!!!” ที่มา : คอลัมน์มันเป็นเช่นนั้นเอง/ทับทิม พญาไท https://mgronline.com/daily/detail/9670000080996 #Thaitimes
    MGRONLINE.COM
    สมรภูมิใหม่...ในแนวรบทะเลจีนใต้???
    เปิดฉากสัปดาห์นี้...คงต้องขออนุญาตชวนไปแวะดู “แนวรบทะเลจีนใต้” เป็นการเฉพาะ เพราะสำหรับแนวรบอีก 2 แนวคือยุโรปตะวันออกกับตะวันออกกลางนั้น แทบไม่ต้องเสียเวลาวิเคราะห์เจาะลึกอะไรกันมาก ด้วยเหตุเพราะโดยสภาพ
    Like
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 985 มุมมอง 0 รีวิว
  • ข่าวเท็จรายวันจากตะวันตก:

    มี ๓ ชาติที่อเมริกาใช้มาตรการคว่ำบาตรแล้วไม่ได้ผลคือเกาหลีเหนือ รัสเซียและจีน พอคว่ำบาตรไปแล้ว สามประเทศนี้เร่งผลิตสินค้าใช้เองภายในประเทศจนพึ่งพาตนเองได้ ทดแทนสินค้าที่สั่งเข้าจากต่างประเทศได้

    ตอนนี้ แม้ว่าอเมริกาจะทำอะไรรัสเซียไม่ได้ รัสซียเจริญเอาๆ อเมริกาก็ยังใช้สื่อโจมตีรัสเซียว่ารัสเซียเสียหายจากนโยบายคว่ำบาตร

    จีนก็เช่นเดียวกัน เจ็ค ซัลลิแวนเดินทางไปจีน ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เพราะจีนไม่ได้ตกลงอะไรด้วย แต่ Bloomberg ก็ยังลงข่าวว่าจีนเสียหายจากนโยบายคว่ำบาตรของอเมริกา พร้อมอวยว่าเจ็ค ซัลลิแวนประสบความสำเร็จในการเดินทางไปเยือนจีน

    ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
    ข่าวเท็จรายวันจากตะวันตก: มี ๓ ชาติที่อเมริกาใช้มาตรการคว่ำบาตรแล้วไม่ได้ผลคือเกาหลีเหนือ รัสเซียและจีน พอคว่ำบาตรไปแล้ว สามประเทศนี้เร่งผลิตสินค้าใช้เองภายในประเทศจนพึ่งพาตนเองได้ ทดแทนสินค้าที่สั่งเข้าจากต่างประเทศได้ ตอนนี้ แม้ว่าอเมริกาจะทำอะไรรัสเซียไม่ได้ รัสซียเจริญเอาๆ อเมริกาก็ยังใช้สื่อโจมตีรัสเซียว่ารัสเซียเสียหายจากนโยบายคว่ำบาตร จีนก็เช่นเดียวกัน เจ็ค ซัลลิแวนเดินทางไปจีน ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เพราะจีนไม่ได้ตกลงอะไรด้วย แต่ Bloomberg ก็ยังลงข่าวว่าจีนเสียหายจากนโยบายคว่ำบาตรของอเมริกา พร้อมอวยว่าเจ็ค ซัลลิแวนประสบความสำเร็จในการเดินทางไปเยือนจีน ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 270 มุมมอง 0 รีวิว