ปี 2550 ภาพจิตรกรรม “ภิกษุสันดานกา” เคยตกเป็นข่าวถกเถียงมาแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นผลงานของ “อนุพงษ์ จันทร “ใช้เทคนิคการวาดภาพด้วยสีอะคริลิกลงบนจีวรพระ ได้แรงบันดาลใจจากคติความเชื่อของไทยเรื่อง "เปรตภูมิ” และภาพ ”บรรพชิตทุศีล” ในสมุดภาพไตรภูมิ มีข้อความปรากฏเอาไว้ด้านล่างภาพว่า "บาปเป็นบรรพชิตทุศีลแลเลี้ยงชีพผิดมิชอบด้วยธรรม ตายไปต้องกลายเป็นเปรต มีไฟไหม้ลุกจีวรไหม้กาย"อนุพงษ์ ยืนยันว่า ”ภิกษุสันดานกา” ไม่ใช่ชื่อที่ตนตั้งขึ้นมาเอง แต่มีระบุในพระไตรปิฎก ในหนังสือคำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้า ตำราดูพระภิกษุ และตนขอยืนยันว่า ภาพที่ตนเขียนขึ้นมา ไม่ใช่ภาพพระดีดีในสังคม แต่ตนเขียนเปรตที่แอบแฝงอยู่ในผ้ากาสาวพัสตร์ เพื่อเตือนสติคนในสังคม โดยสื่อภาพออกมาในเชิงสัญลักษณ์ ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงเปรียบเทียบพระภิกษุลามกว่า มีนิสัยเหมือนกา 10 อย่าง“ภิกษุทั้งหลาย กาเป็นสัตว์ประกอบด้วยความเลวสิบประการ” สิบประการเป็นไฉน? สิบประการคือ1. กาเป็นสัตว์ทำลายความดี 2. กาเป็นสัตว์คะนอง 3. กาเป็นสัตว์ทะเยอทะยาน 4. กาเป็นสัตว์กินจุ 5. กาเป็นสัตว์หยาบคาย 6. กาเป็นสัตว์ไม่กรุณาปรานี 7. กาเป็นสัตว์ทุรพล 8. กาเป็นสัตว์เสียงอึง 9. กาเป็นสัตว์ปล่อยสติ 10. กาเป็นสัตว์สะสมของกินภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุลามกก็เป็นเช่นเดียวกับกานั่นแหละ เป็นคนประกอบด้วยอสัทธรรมสิบประการ สิบประการเป็นไฉน? สิบประการคือ1. ภิกษุลามกเป็นคนทำลายความดี 2. ภิกษุลามกเป็นคนคะนอง 3. ภิกษุลามกเป็นคนทะเยอทะยาน 4. ภิกษุลามกเป็นคนกินจุ 5. ภิกษุลามกเป็นคนหยาบคาย 6. ภิกษุลามกเป็นคนไม่กรุณาปรานี 7. ภิกษุลามกเป็นคนทุรพล 8. ภิกษุลามกเป็นคนร้องเสียงอึง 9. ภิกษุลามกเป็นคนปล่อยสติ 10. ภิกษุลามกเป็นคนสะสมของกินโดยนัยแห่งพฤติกรรมของนกกา สิบประการดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าล้วนแล้วแต่เป็นความเลวที่ไม่เหมาะไม่ควรที่คนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนมีศีล เช่น ภิกษุในพระพุทธศาสนาไม่ควรประพฤติ ไม่ควรปฏิบัติแต่ในความเป็นจริง ความเป็นปุถุชนคนมีกิเลส ถึงแม้ว่าจะมาบวชถือศีล 227 ข้อแล้วก็ยังมีภิกษุบางรูปในครั้งพุทธกาลมีพฤติกรรมเยี่ยงนี้ พระพุทธองค์จึงได้ตรัสสอนด้วยข้อวัตรปฏิบัติที่พระภิกษุที่เข้ามาบวชเพื่อการทำความดี โดยมุ่งความหลุดพ้น ควรงดเว้นอสัทธรรม 10 ประการ อันเป็นพฤติกรรมของกาดังกล่าวอ.สามารถ มังสัง เคยเสนอแนวทางแก้ปัญหาภิกษุสันดานกาไว้ว่า “แต่ในความเป็นจริงที่ปรากฏพฤติกรรมอันไม่เหมาะไม่ควรในวงการสงฆ์ยังไม่ได้รับการแก้ไขจากสงฆ์ด้วยกันเท่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่มหาเถรสมาคม และสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ควรจะได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา และกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันดังต่อไปนี้1. ทำการสำรวจสำมโนประชากรพระสงฆ์ในประเทศไทยให้แน่ชัดว่ามีอยู่เท่าใด และมีรายละเอียดลงลึกถึงเรื่องการศึกษา อายุพรรษา และภาระหน้าที่ต่อสังคมเท่าที่พระจะพึงกระทำได้ เช่น เป็นครูสอนศีลธรรม อบรมประชาชน และให้ความรู้แก่พระภิกษุสงฆ์ เป็นต้น2. เมื่อได้ข้อมูลแล้วให้จัดทำแผนฟื้นฟูพฤติกรรมพระสงฆ์ที่ไม่ได้รับการศึกษา และการอบรมอย่างทั่วถึง3. ให้นำพระภิกษุสงฆ์ที่มีความรู้ความสามารถในการสอนมาประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ แนวทางการปรับองค์กรสงฆ์ แล้วมอบหมายให้แต่ละท่านกลับไปดำเนินการในถิ่นของตนเองเป็นระยะเวลา 1-3 ปี แล้วส่งคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานออกไปทำการประเมินในการดำเนินการ 3 ประการนี้ ทางรัฐบาลจะต้องให้การสนับสนุนทางด้านการเงิน และบุคลากรให้เพียงพอแก่การดำเนินงานในขณะเดียวกัน ถ้าพบว่าในท้องถิ่นใดดำเนินการไม่ได้ผล ก็ควรอย่างยิ่งที่ทางการปกครองจะต้องเข้ามาดูแลแก้ไขโดยใช้อำนาจบริหาร เช่น การโยกย้ายหรือปลดออกจากตำแหน่ง เป็นการลงโทษผู้รับผิดชอบในระดับเจ้าคณะจังหวัด อำเภอ และตำบลลงไปตามลำดับชั้นยิ่งกว่านี้ ทางมหาเถรสมาคมจะต้องไม่ปล่อยให้พระสงฆ์ในระดับปกครองเข้าไปมีส่วนได้เสียกับกิจกรรมใดๆ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการช่วยกันปกปิดความผิดของผู้อยู่ใต้ปกครอง เพื่อแลกกับลาภสักการะที่ผู้กระทำผิดมอบให้ถ้าทุกหน่วยงานดำเนินการได้เยี่ยงนี้ เชื่อว่าพฤติกรรมอันไม่เหมาะไม่ควรของพระสงฆ์จะลดลง และหมดไปในที่สุด”https://www.facebook.com/share/1Cj37basD6/?mibextid=wwXIfr
ปี 2550 ภาพจิตรกรรม “ภิกษุสันดานกา” เคยตกเป็นข่าวถกเถียงมาแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นผลงานของ “อนุพงษ์ จันทร “ใช้เทคนิคการวาดภาพด้วยสีอะคริลิกลงบนจีวรพระ ได้แรงบันดาลใจจากคติความเชื่อของไทยเรื่อง "เปรตภูมิ” และภาพ ”บรรพชิตทุศีล” ในสมุดภาพไตรภูมิ มีข้อความปรากฏเอาไว้ด้านล่างภาพว่า "บาปเป็นบรรพชิตทุศีลแลเลี้ยงชีพผิดมิชอบด้วยธรรม ตายไปต้องกลายเป็นเปรต มีไฟไหม้ลุกจีวรไหม้กาย"อนุพงษ์ ยืนยันว่า ”ภิกษุสันดานกา” ไม่ใช่ชื่อที่ตนตั้งขึ้นมาเอง แต่มีระบุในพระไตรปิฎก ในหนังสือคำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้า ตำราดูพระภิกษุ และตนขอยืนยันว่า ภาพที่ตนเขียนขึ้นมา ไม่ใช่ภาพพระดีดีในสังคม แต่ตนเขียนเปรตที่แอบแฝงอยู่ในผ้ากาสาวพัสตร์ เพื่อเตือนสติคนในสังคม โดยสื่อภาพออกมาในเชิงสัญลักษณ์ ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงเปรียบเทียบพระภิกษุลามกว่า มีนิสัยเหมือนกา 10 อย่าง“ภิกษุทั้งหลาย กาเป็นสัตว์ประกอบด้วยความเลวสิบประการ” สิบประการเป็นไฉน? สิบประการคือ1. กาเป็นสัตว์ทำลายความดี 2. กาเป็นสัตว์คะนอง 3. กาเป็นสัตว์ทะเยอทะยาน 4. กาเป็นสัตว์กินจุ 5. กาเป็นสัตว์หยาบคาย 6. กาเป็นสัตว์ไม่กรุณาปรานี 7. กาเป็นสัตว์ทุรพล 8. กาเป็นสัตว์เสียงอึง 9. กาเป็นสัตว์ปล่อยสติ 10. กาเป็นสัตว์สะสมของกินภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุลามกก็เป็นเช่นเดียวกับกานั่นแหละ เป็นคนประกอบด้วยอสัทธรรมสิบประการ สิบประการเป็นไฉน? สิบประการคือ1. ภิกษุลามกเป็นคนทำลายความดี 2. ภิกษุลามกเป็นคนคะนอง 3. ภิกษุลามกเป็นคนทะเยอทะยาน 4. ภิกษุลามกเป็นคนกินจุ 5. ภิกษุลามกเป็นคนหยาบคาย 6. ภิกษุลามกเป็นคนไม่กรุณาปรานี 7. ภิกษุลามกเป็นคนทุรพล 8. ภิกษุลามกเป็นคนร้องเสียงอึง 9. ภิกษุลามกเป็นคนปล่อยสติ 10. ภิกษุลามกเป็นคนสะสมของกินโดยนัยแห่งพฤติกรรมของนกกา สิบประการดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าล้วนแล้วแต่เป็นความเลวที่ไม่เหมาะไม่ควรที่คนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนมีศีล เช่น ภิกษุในพระพุทธศาสนาไม่ควรประพฤติ ไม่ควรปฏิบัติแต่ในความเป็นจริง ความเป็นปุถุชนคนมีกิเลส ถึงแม้ว่าจะมาบวชถือศีล 227 ข้อแล้วก็ยังมีภิกษุบางรูปในครั้งพุทธกาลมีพฤติกรรมเยี่ยงนี้ พระพุทธองค์จึงได้ตรัสสอนด้วยข้อวัตรปฏิบัติที่พระภิกษุที่เข้ามาบวชเพื่อการทำความดี โดยมุ่งความหลุดพ้น ควรงดเว้นอสัทธรรม 10 ประการ อันเป็นพฤติกรรมของกาดังกล่าวอ.สามารถ มังสัง เคยเสนอแนวทางแก้ปัญหาภิกษุสันดานกาไว้ว่า “แต่ในความเป็นจริงที่ปรากฏพฤติกรรมอันไม่เหมาะไม่ควรในวงการสงฆ์ยังไม่ได้รับการแก้ไขจากสงฆ์ด้วยกันเท่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่มหาเถรสมาคม และสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ควรจะได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา และกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันดังต่อไปนี้1. ทำการสำรวจสำมโนประชากรพระสงฆ์ในประเทศไทยให้แน่ชัดว่ามีอยู่เท่าใด และมีรายละเอียดลงลึกถึงเรื่องการศึกษา อายุพรรษา และภาระหน้าที่ต่อสังคมเท่าที่พระจะพึงกระทำได้ เช่น เป็นครูสอนศีลธรรม อบรมประชาชน และให้ความรู้แก่พระภิกษุสงฆ์ เป็นต้น2. เมื่อได้ข้อมูลแล้วให้จัดทำแผนฟื้นฟูพฤติกรรมพระสงฆ์ที่ไม่ได้รับการศึกษา และการอบรมอย่างทั่วถึง3. ให้นำพระภิกษุสงฆ์ที่มีความรู้ความสามารถในการสอนมาประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ แนวทางการปรับองค์กรสงฆ์ แล้วมอบหมายให้แต่ละท่านกลับไปดำเนินการในถิ่นของตนเองเป็นระยะเวลา 1-3 ปี แล้วส่งคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานออกไปทำการประเมินในการดำเนินการ 3 ประการนี้ ทางรัฐบาลจะต้องให้การสนับสนุนทางด้านการเงิน และบุคลากรให้เพียงพอแก่การดำเนินงานในขณะเดียวกัน ถ้าพบว่าในท้องถิ่นใดดำเนินการไม่ได้ผล ก็ควรอย่างยิ่งที่ทางการปกครองจะต้องเข้ามาดูแลแก้ไขโดยใช้อำนาจบริหาร เช่น การโยกย้ายหรือปลดออกจากตำแหน่ง เป็นการลงโทษผู้รับผิดชอบในระดับเจ้าคณะจังหวัด อำเภอ และตำบลลงไปตามลำดับชั้นยิ่งกว่านี้ ทางมหาเถรสมาคมจะต้องไม่ปล่อยให้พระสงฆ์ในระดับปกครองเข้าไปมีส่วนได้เสียกับกิจกรรมใดๆ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการช่วยกันปกปิดความผิดของผู้อยู่ใต้ปกครอง เพื่อแลกกับลาภสักการะที่ผู้กระทำผิดมอบให้ถ้าทุกหน่วยงานดำเนินการได้เยี่ยงนี้ เชื่อว่าพฤติกรรมอันไม่เหมาะไม่ควรของพระสงฆ์จะลดลง และหมดไปในที่สุด”https://www.facebook.com/share/1Cj37basD6/?mibextid=wwXIfr
0 Comments
0 Shares
19 Views
0 Reviews