• อริยสาวกพึงฝึกหัด​ศึกษา​ว่านิทเทศแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
    สัทธรรมลำดับที่ : 675
    ชื่อบทธรรม :- นิทเทศแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=675
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --นิทเทศแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
    --ภิกษุ ท. ! ก็อริยสัจ คือ #หนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
    http://etipitaka.com/read/pali/10/348/?keywords=ทุกฺขนิโรธคามินี+ปฏิปทา+อริยสจฺจํ
    นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คือ หนทางอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนี้เอง,
    องค์แปดคือ
    ความเห็นชอบ ความดำริชอบ,
    วาจาชอบ การงานชอบ อาชีวะชอบ,
    ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งจิตมั่นชอบ.
    --ภิกษุ ท. ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ?
    +--ภิกษุ ท. !
    ความรู้ ในทุกข์
    ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์
    ความรู้ใน ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
    ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด,
    +--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ.
    --ภิกษุ ท. ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ?
    +--ภิกษุ ท. !
    ความดำริในการออกจากกาม
    ความดำริในการ ไม่พยาบาท
    ความดำริในการ ไม่เบียดเบียน,
    +--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ.
    --ภิกษุ ท. ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ?
    +--ภิกษุ ท. !
    การเว้นจากการ พูดเท็จ
    การเว้นจากการ พูดยุให้แตกกัน
    การเว้นจากการ พูดหยาบ
    การเว้นจากการ พูดเพ้อเจ้อ,
    +--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ.
    --ภิกษุ ท. ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ?
    +--ภิกษุ ท. !
    การเว้นจากการฆ่าสัตว์
    การเว้นจากการ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
    การเว้นจากการ ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย*--๑ ,
    +--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า การงานชอบ.
    [*--๑. คำกล่าวนี้ เป็นคำกล่าวที่เป็นกลางๆทั่วไป.
    แต่ในบางกรณีซึ่งมีน้อยมากกล่าวว่า "เว้นจากกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์" ก็มี ;
    http://etipitaka.com/read/pali/19/11/?keywords=อพฺรหฺมจริยา
    เข้าใจว่าเป็นการกล่าวมุ่งหมายบรรพชิต.
    (มหาวาร. ส. ๑๙/๑๑/๓๗).
    http://etipitaka.com/read/pali/19/11/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%97
    ]​
    --ภิกษุ ท. ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ?
    +--ภิกษุ ท. !
    อริยสาวกในศาสนานี้ ละมิจฉาชีพ เสีย สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยสัมมาชีพ,
    +--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ.
    --ภิกษุ ท. ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ?
    +--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในศาสนานี้
    ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้
    เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม ท. อันลามกที่ยังไม่ได้บังเกิด ;
    ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรม ท. อันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว ;
    ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้
    เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรม ท. ที่ยังไม่ได้บังเกิด ;
    ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้
    เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น
    ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรม ท. ที่บังเกิดขึ้นแล้ว.
    +--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ.
    --ภิกษุ ท. ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ?
    +--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในศาสนานี้เป็นผู้มีปรกติพิจารณา เห็นกายในกาย อยู่,
    มีความเพียรเครื่องเผากิเลส(บาป)​ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
    มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ;
    เป็นผู้มีปรกติพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนา ท. อยู่,
    มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
    มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ;
    เป็นผู้มีปรกติพิจารณา เห็นจิตในจิต อยู่,
    มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
    มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ;
    เป็นผู้มีปรกติพิจารณา เห็นธรรมในธรรม ท. อยู่,
    มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
    มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้.
    +--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สัมมาสติ.
    --ภิกษุ ท. ! ความตั้งจิตมั่นชอบ เป็นอย่างไร ?
    +--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในศาสนานี้ เพราะสงัดจากกาม ท. เพราะสงัดจากอกุศลธรรม ท.,
    ย่อมเข้าถึง ฌานที่หนึ่ง
    อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุข อันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่.
    เพราะวิตกวิจารรำงับลง,
    เธอเข้าถึง ฌานที่สอง
    อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายในให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น
    ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่.
    เพราะปิติจางหายไป,
    เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความอยู่เป็นปกติสุข และได้เสวยสุขด้วยนามกาย
    ย่อมเข้าถึง ฌานที่สาม
    อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ ว่า
    “เป็นผู้เฉยอยู่ได้มีสติ มีความอยู่เป็นปกติสุข” แล้วแลอยู่.
    เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน, เธอย่อมเข้าถึง ฌานที่สี่
    อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.
    +--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ.
    --ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า #อริยสัจคือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.-
    http://etipitaka.com/read/pali/10/350/?keywords=ทุกฺขนิโรธคามินี+ปฏิปทา+อริยสจฺจํ

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : -มหา. ที . 10/231/299.
    http://etipitaka.com/read/thai/10/231/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%99%E0%B9%99
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : -มหา. ที . ๑๐/๓๔๘/๒๙๙.
    http://etipitaka.com/read/pali/10/348/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%99%E0%B9%99
    ศึกษาเพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=675
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=48&id=675
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=48
    ลำดับสาธยายธรรม : 48 ฟังเสียง...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_48.mp3
    อริยสาวกพึงฝึกหัด​ศึกษา​ว่านิทเทศแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ สัทธรรมลำดับที่ : 675 ชื่อบทธรรม :- นิทเทศแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=675 เนื้อความทั้งหมด :- --นิทเทศแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ --ภิกษุ ท. ! ก็อริยสัจ คือ #หนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ http://etipitaka.com/read/pali/10/348/?keywords=ทุกฺขนิโรธคามินี+ปฏิปทา+อริยสจฺจํ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คือ หนทางอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนี้เอง, องค์แปดคือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ, วาจาชอบ การงานชอบ อาชีวะชอบ, ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งจิตมั่นชอบ. --ภิกษุ ท. ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ? +--ภิกษุ ท. ! ความรู้ ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ใน ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด, +--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ. --ภิกษุ ท. ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ? +--ภิกษุ ท. ! ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการ ไม่พยาบาท ความดำริในการ ไม่เบียดเบียน, +--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ. --ภิกษุ ท. ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ? +--ภิกษุ ท. ! การเว้นจากการ พูดเท็จ การเว้นจากการ พูดยุให้แตกกัน การเว้นจากการ พูดหยาบ การเว้นจากการ พูดเพ้อเจ้อ, +--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ. --ภิกษุ ท. ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ? +--ภิกษุ ท. ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากการ ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย*--๑ , +--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า การงานชอบ. [*--๑. คำกล่าวนี้ เป็นคำกล่าวที่เป็นกลางๆทั่วไป. แต่ในบางกรณีซึ่งมีน้อยมากกล่าวว่า "เว้นจากกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์" ก็มี ; http://etipitaka.com/read/pali/19/11/?keywords=อพฺรหฺมจริยา เข้าใจว่าเป็นการกล่าวมุ่งหมายบรรพชิต. (มหาวาร. ส. ๑๙/๑๑/๓๗). http://etipitaka.com/read/pali/19/11/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%97 ]​ --ภิกษุ ท. ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ? +--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกในศาสนานี้ ละมิจฉาชีพ เสีย สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยสัมมาชีพ, +--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ. --ภิกษุ ท. ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ? +--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม ท. อันลามกที่ยังไม่ได้บังเกิด ; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรม ท. อันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว ; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรม ท. ที่ยังไม่ได้บังเกิด ; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรม ท. ที่บังเกิดขึ้นแล้ว. +--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ. --ภิกษุ ท. ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ? +--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในศาสนานี้เป็นผู้มีปรกติพิจารณา เห็นกายในกาย อยู่, มีความเพียรเครื่องเผากิเลส(บาป)​ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ; เป็นผู้มีปรกติพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนา ท. อยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ; เป็นผู้มีปรกติพิจารณา เห็นจิตในจิต อยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ; เป็นผู้มีปรกติพิจารณา เห็นธรรมในธรรม ท. อยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้. +--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สัมมาสติ. --ภิกษุ ท. ! ความตั้งจิตมั่นชอบ เป็นอย่างไร ? +--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในศาสนานี้ เพราะสงัดจากกาม ท. เพราะสงัดจากอกุศลธรรม ท., ย่อมเข้าถึง ฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุข อันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่. เพราะวิตกวิจารรำงับลง, เธอเข้าถึง ฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายในให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่. เพราะปิติจางหายไป, เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความอยู่เป็นปกติสุข และได้เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าถึง ฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ ว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้มีสติ มีความอยู่เป็นปกติสุข” แล้วแลอยู่. เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน, เธอย่อมเข้าถึง ฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. +--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ. --ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า #อริยสัจคือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.- http://etipitaka.com/read/pali/10/350/?keywords=ทุกฺขนิโรธคามินี+ปฏิปทา+อริยสจฺจํ #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : -มหา. ที . 10/231/299. http://etipitaka.com/read/thai/10/231/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%99%E0%B9%99 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : -มหา. ที . ๑๐/๓๔๘/๒๙๙. http://etipitaka.com/read/pali/10/348/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%99%E0%B9%99 ศึกษาเพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=675 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=48&id=675 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=48 ลำดับสาธยายธรรม : 48 ฟังเสียง... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_48.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - นิทเทศแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
    -นิทเทศแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ภิกษุ ท. ! ก็อริยสัจ คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คือ หนทางอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนี้เอง, องค์แปดคือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีวะชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ. ภิกษุ ท. ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ความรู้ ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ใน ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด, นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ. ภิกษุ ท. ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการ ไม่พยาบาท ความดำริในการ ไม่เบียดเบียน, นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ. ภิกษุ ท. ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! การเว้นจากการ พูดเท็จ การเว้นจากการ พูดยุให้แตกกัน การเว้นจากการพูดหยาบ การเว้นจากการ พูดเพ้อเจ้อ, นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ. ภิกษุ ท. ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากการ ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ๑ , นี้เราเรียกว่า การงานชอบ. ภิกษุ ท. ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! อริยสาวกในศาสนานี้ ละมิจฉาชีพ เสีย สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยสัมมาชีพ, นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ. ภิกษุ ท. ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม ท. อันลามกที่ยังไม่ได้บังเกิด ; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรม ท. อันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว ; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อม ๑. คำกล่าวนี้ เป็นคำกล่าวที่เป็นกลางๆทั่วไป. แต่ในบางกรณีซึ่งมีน้อยมากกล่าวว่า เว้นจากกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์ ก็มี ; เข้าใจว่าเป็นการกล่าวมุ่งหมายบรรพชิต. (มหาวาร. ส. ๑๙/๑๑/๓๗). ประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรม ท. ที่ยังไม่ได้บังเกิด ; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรม ท. ที่บังเกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ. ภิกษุ ท. ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในศาสนานี้เป็นผู้มีปรกติพิจารณา เห็นกายในกาย อยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ; เป็นผู้มีปรกติพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนา ท. อยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ; เป็นผู้มีปรกติพิจารณา เห็นจิตในจิต อยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ; เป็นผู้มีปรกติพิจารณา เห็นธรรมในธรรม ท. อยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สัมมาสติ. ภิกษุ ท. ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในศาสนานี้ เพราะสงัดจากกาม ท. เพราะสงัดจากอกุศลธรรม ท., ย่อมเข้าถึง ฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุข อันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่. เพราะ วิตกวิจารรำงับลง, เธอเข้าถึง ฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายในให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่. เพราะปิติจางหายไป, เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความอยู่เป็นปกติสุข และได้เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าถึง ฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ ว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้มีสติ มีความอยู่เป็นปกติสุข” แล้วแลอยู่. เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน, เธอย่อมเข้าถึง ฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 48 มุมมอง 0 รีวิว