• อริยสาวก​พึง​ศึกษา​ลักษณะแห่งสิกขาสามอันได้แก่สีลขันธ์ สมาธิขันธ์และปัญญาขันธ์
    สัทธรรมลำดับที่ : 973
    ชื่อบทธรรม :- ลักษณะแห่งสิกขาสามโดยละเอียด
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=973
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --ลักษณะแห่งสิกขาสามโดยละเอียด

    ๑. สีลขันธ์ โดยละเอียด
    --“ท่านอานนท์ผู้เจริญ ! #อริยสีลขันธ์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า
    http://etipitaka.com/read/pali/9/252/?keywords=อริโย+สีลกฺขนฺโธ
    ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนนี้
    ให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?”
    --มาณพ !
    ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเอง
    สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก
    เป็นสารถีผึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า
    เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์.
    ตถาคตนั้นทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์
    พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
    สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม.
    ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด,
    ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
    +--คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี
    ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต.
    เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธรย่อมพิจารณาเห็น ว่า
    “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาส (คือที่โปร่งโล่ง) อันยิ่ง;
    การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว
    เหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย.
    ถ้ากระไรเราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ
    ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”,
    ดังนี้.
    +--โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่
    และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ปลงผมและหนวด
    ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.
    +--กุลบุตรนั้น ครั้นบวชแล้วอย่างนี้
    เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยการสำรวมในปาติโมกข์อยู่
    ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
    ประกอบด้วย กายกรรม วจีกรรมอันเป็นกุศล มีอาชีวะบริสุทธิ์ &​ถึงพร้อมด้วยศีล
    ....
    --มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า ?
    --มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้
    เป็นผู้ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว
    มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลายอยู่
    ....ฯลฯ ....
    (ข้อความต่อจากที่กล่าวนี้ ตั้งแต่ คำว่า
    เป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน
    .... ไปจนถึงคำว่า
    .... (จบอริยสีลขันธ์)
    ....
    ).

    ๒. สมาธิขันธ์ โดยละเอียด
    --“ท่านอานนท์ผู้เจริญ ! #อริยสมาธิขันธ์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า
    http://etipitaka.com/read/pali/9/255/?keywords=อริโย+สมาธิกฺขนฺโธ
    ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนให้สมาทาน
    ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?”
    (บุรพภาคแห่งการเจริญสมาธิ)
    --มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
    +--มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว
    ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการรวบถือเอาทั้งหมด (รวมเป็นภาพเดียว)
    ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการถือเอาโดยแยกเป็นส่วนๆ ;
    อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัส
    จะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ซึ่งอินทรีย์อันเป็นต้นเหตุคือตาใด,
    เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมซึ่งอินทรีย์นั้น ย่อมรักษาอินทรีย์คือตา
    ย่อมถึงการสำรวมในอินทรีย์คือตา.
    +--(ในกรณีแห่ง
    อินทรีย์คือหู
    อินทรีย์คือจมูก
    อินทรีย์คือลิ้น
    อินทรีย์คือกาย และ
    อินทรีย์คือ ใจ
    ก็มีข้อความที่ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน).
    ....
    --มาณพ ! ภิกษุเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล.
    --มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ?
    +--มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบ
    ในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง,
    การแลดู การเหลียวดู,
    การคู้ การเหยียด,
    การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร,
    การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม,
    การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ,
    เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบในการไป การหยุด,
    การนั่ง การนอน , การหลับ การตื่น, การพูด การนิ่ง.
    ....
    +--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
    --มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้สันโดษ เป็นอย่างไรเล่า ?
    +--มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษ (ยินดีตามที่มีอยู่)
    ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย สันโดษด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง
    ภิกษุนั้น จะหลีกไปโดยทิศใดๆ ย่อม ถือเอาบาตรและจีวรนั้นหลักไปได้ โดยทิศนั้นๆ.
    +--มาณพ ! เปรียบเสมือนนกมีปีก จะบินไปโดยทิศใดๆ มีปีกอย่างเดียวเป็นภาระบินไป ฉันใด; ภิกษุก็ฉันนั้น
    : เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง
    ถือเอาแล้วหลีกไปโดยทิศใดๆ ได้.
    ....
    +--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้สันโดษ(สันตุฏฐิ)​ด้วยอาการอย่างนี้แล.
    (การเจริญสมาธิ)
    --ภิกษุนั้น
    ประกอบด้วยอริยสีสขันธ์ (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) นี้ด้วย
    ประกอบด้วยอริยอินทรีย์นี้ด้วย
    ประกอบด้วยอริยสติสัมปชัญญะนี้ด้วย
    ประกอบด้วยอริยสันตุฏฐินี้ด้วย แล้ว,
    เธอเสพเสนาสนะอันสงัด คือ
    ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง),
    ในเวลาภายหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้ว
    เธอนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า
    ....ฯลฯ....
    (ข้อความตอนต่อจากนี้ ดูได้ที่ภาคผนวก ตั้งแต่คำว่า ละอภิชฌาโลภะแล้ว
    มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ .... ไปถึงคำว่า ....
    (จบอริยสมาธิขันธ์)
    ...
    )​ .

    ๓. ปัญญาขันธ์ โดยละเอียด
    --“ท่านอานนท์ผู้เจริญ! #อริยปัญญาขันธ์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า
    http://etipitaka.com/read/pali/9/263/?keywords=อริโย+ปญฺญากฺขนฺโธ
    ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนนี้ให้สมาทาน
    ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?”
    --ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว
    เธอชักนำจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ.
    เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้ มีรูป ประกอบอยู่ด้วยมหาภูตทั้งสี่
    มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด
    ต้องห่อหุ้มนวดฟั้นอยู่เนืองนิจ แต่ก็ยังมีการแตกทำลายสึกกร่อนเป็นธรรมดา,
    แต่วิญญาณของเรานี้ อาศัยอยู่ในกายนั้น เนื่องอยู่ในกายนั้น;
    (เธอรู้เห็นอย่างชัดเจน) เปรียบเหมือนมณีไพฑูรย์อันสวยงาม สมชาติแก้ว
    แปดเหลี่ยม เจียระไนดีแล้ว สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่าทั้งปวง,
    ในแก้วนั้นมีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง สีส้มบ้าง,
    บุรุษผู้มีตาดี วางแก้วนั้นลงในมือแล้ว ก็จะเห็นโดยประจักษ์ว่า มณีไพฑูรย์นี้
    เป็นของสวยงาม สมชาติแก้ว แปดเหลี่ยม เจียระไนดีแล้ว
    สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่าทั้งปวง.
    ในแก้วนี้มีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง สีส้มบ้าง, ฉันนั้นเหมือนกัน.
    แม้นี้ ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.
    ....ฯลฯ....
    (ข้อความตอนต่อจากนี้ไป ตั้งแต่คำว่า
    ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว
    เธอชักนำจิตไปเพื่อการนิรมิตกายอันสำเร็จด้วยใจ.
    เธอถอดกายอื่นออกจากกายนี้
    .... ไปจนถึงคำว่า
    .... (จบอริยปัญญาขันธ์)
    ).-

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/284 - 304/318 - 337.
    http://etipitaka.com/read/thai/9/284/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%91%E0%B9%98
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๒๕๒ - ๒๗๒/๓๑๘ - ๓๓๗.
    http://etipitaka.com/read/pali/9/252/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%91%E0%B9%98
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=973
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=83&id=973
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=83
    ลำดับสาธยายธรรม : 83​ ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_83.mp3
    อริยสาวก​พึง​ศึกษา​ลักษณะแห่งสิกขาสามอันได้แก่สีลขันธ์ สมาธิขันธ์และปัญญาขันธ์ สัทธรรมลำดับที่ : 973 ชื่อบทธรรม :- ลักษณะแห่งสิกขาสามโดยละเอียด https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=973 เนื้อความทั้งหมด :- --ลักษณะแห่งสิกขาสามโดยละเอียด ๑. สีลขันธ์ โดยละเอียด --“ท่านอานนท์ผู้เจริญ ! #อริยสีลขันธ์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า http://etipitaka.com/read/pali/9/252/?keywords=อริโย+สีลกฺขนฺโธ ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนนี้ ให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?” --มาณพ ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์. ตถาคตนั้นทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม. ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. +--คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต. เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธรย่อมพิจารณาเห็น ว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาส (คือที่โปร่งโล่ง) อันยิ่ง; การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว เหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย. ถ้ากระไรเราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”, ดังนี้. +--โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ปลงผมและหนวด ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว. +--กุลบุตรนั้น ครั้นบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยการสำรวมในปาติโมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วย กายกรรม วจีกรรมอันเป็นกุศล มีอาชีวะบริสุทธิ์ &​ถึงพร้อมด้วยศีล .... --มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า ? --มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลายอยู่ ....ฯลฯ .... (ข้อความต่อจากที่กล่าวนี้ ตั้งแต่ คำว่า เป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน .... ไปจนถึงคำว่า .... (จบอริยสีลขันธ์) .... ). ๒. สมาธิขันธ์ โดยละเอียด --“ท่านอานนท์ผู้เจริญ ! #อริยสมาธิขันธ์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า http://etipitaka.com/read/pali/9/255/?keywords=อริโย+สมาธิกฺขนฺโธ ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?” (บุรพภาคแห่งการเจริญสมาธิ) --มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? +--มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการรวบถือเอาทั้งหมด (รวมเป็นภาพเดียว) ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการถือเอาโดยแยกเป็นส่วนๆ ; อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ซึ่งอินทรีย์อันเป็นต้นเหตุคือตาใด, เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมซึ่งอินทรีย์นั้น ย่อมรักษาอินทรีย์คือตา ย่อมถึงการสำรวมในอินทรีย์คือตา. +--(ในกรณีแห่ง อินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก อินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย และ อินทรีย์คือ ใจ ก็มีข้อความที่ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน). .... --มาณพ ! ภิกษุเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล. --มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ? +--มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบ ในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู, การคู้ การเหยียด, การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร, การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม, การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ, เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบในการไป การหยุด, การนั่ง การนอน , การหลับ การตื่น, การพูด การนิ่ง. .... +--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยอาการอย่างนี้ แล. --มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้สันโดษ เป็นอย่างไรเล่า ? +--มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษ (ยินดีตามที่มีอยู่) ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย สันโดษด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง ภิกษุนั้น จะหลีกไปโดยทิศใดๆ ย่อม ถือเอาบาตรและจีวรนั้นหลักไปได้ โดยทิศนั้นๆ. +--มาณพ ! เปรียบเสมือนนกมีปีก จะบินไปโดยทิศใดๆ มีปีกอย่างเดียวเป็นภาระบินไป ฉันใด; ภิกษุก็ฉันนั้น : เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง ถือเอาแล้วหลีกไปโดยทิศใดๆ ได้. .... +--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้สันโดษ(สันตุฏฐิ)​ด้วยอาการอย่างนี้แล. (การเจริญสมาธิ) --ภิกษุนั้น ประกอบด้วยอริยสีสขันธ์ (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) นี้ด้วย ประกอบด้วยอริยอินทรีย์นี้ด้วย ประกอบด้วยอริยสติสัมปชัญญะนี้ด้วย ประกอบด้วยอริยสันตุฏฐินี้ด้วย แล้ว, เธอเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง), ในเวลาภายหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้ว เธอนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า ....ฯลฯ.... (ข้อความตอนต่อจากนี้ ดูได้ที่ภาคผนวก ตั้งแต่คำว่า ละอภิชฌาโลภะแล้ว มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ .... ไปถึงคำว่า .... (จบอริยสมาธิขันธ์) ... )​ . ๓. ปัญญาขันธ์ โดยละเอียด --“ท่านอานนท์ผู้เจริญ! #อริยปัญญาขันธ์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า http://etipitaka.com/read/pali/9/263/?keywords=อริโย+ปญฺญากฺขนฺโธ ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนนี้ให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?” --ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว เธอชักนำจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ. เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้ มีรูป ประกอบอยู่ด้วยมหาภูตทั้งสี่ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ต้องห่อหุ้มนวดฟั้นอยู่เนืองนิจ แต่ก็ยังมีการแตกทำลายสึกกร่อนเป็นธรรมดา, แต่วิญญาณของเรานี้ อาศัยอยู่ในกายนั้น เนื่องอยู่ในกายนั้น; (เธอรู้เห็นอย่างชัดเจน) เปรียบเหมือนมณีไพฑูรย์อันสวยงาม สมชาติแก้ว แปดเหลี่ยม เจียระไนดีแล้ว สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่าทั้งปวง, ในแก้วนั้นมีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง สีส้มบ้าง, บุรุษผู้มีตาดี วางแก้วนั้นลงในมือแล้ว ก็จะเห็นโดยประจักษ์ว่า มณีไพฑูรย์นี้ เป็นของสวยงาม สมชาติแก้ว แปดเหลี่ยม เจียระไนดีแล้ว สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่าทั้งปวง. ในแก้วนี้มีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง สีส้มบ้าง, ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้นี้ ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง. ....ฯลฯ.... (ข้อความตอนต่อจากนี้ไป ตั้งแต่คำว่า ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว เธอชักนำจิตไปเพื่อการนิรมิตกายอันสำเร็จด้วยใจ. เธอถอดกายอื่นออกจากกายนี้ .... ไปจนถึงคำว่า .... (จบอริยปัญญาขันธ์) ).- #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/284 - 304/318 - 337. http://etipitaka.com/read/thai/9/284/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%91%E0%B9%98 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๒๕๒ - ๒๗๒/๓๑๘ - ๓๓๗. http://etipitaka.com/read/pali/9/252/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%91%E0%B9%98 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=973 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=83&id=973 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=83 ลำดับสาธยายธรรม : 83​ ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_83.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - ลักษณะแห่งสิกขาสามโดยละเอียด
    -(ข้อความข้างบนนี้ เป็นคำของธัมมทินนาเถรี กล่าวตอบแก่วิสาขอุบาสก ครั้นอุบาสกนำข้อความนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “วิสาขะ ! ธัมมทินนาภิกษุณีเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก; ถ้าเธอถามข้อความนั้นกะเรา เราก็จะพยากรณ์กะเธอเช่นเดียวกับที่ธัมมทินนาภิกษุณีพยากรณ์แล้วแก่เธอ เธอจงทรงจำเนื้อความนั้นไว้.” ดังนั้นเป็นอันว่า ข้อความของธรรมทินนาเถรีมีค่าเท่ากับพระพุทธภาษิต จึงนำมาใส่ไว้ในหนังสือนี้ ในลักษณะเช่นนี้). ลักษณะแห่งสิกขาสามโดยละเอียด ๑. สีลขันธ์ โดยละเอียด “ท่านอานนท์ผู้เจริญ ! อริยสีลขันธ์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนนี้ ให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?” มาณพ ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเองสมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์. ตถาคตนั้นทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม. ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต. เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธรย่อมพิจารณาเห็น ว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาส (คือที่โปร่งโล่ง) อันยิ่ง; การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวเหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย. ถ้ากระไรเราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”, ดังนี้. โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ปลงผมและหนวด ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว. กุลบุตรนั้น ครั้นบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยการสำรวมในปาติโมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้ง หลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรมวจีกรรมอันเป็นกุศล มีอาชีวะบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล .... มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า ? มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลายอยู่ ....ฯลฯ .... (ข้อความต่อไปนี้ ดูได้ที่ภาคผนวกแห่งหนังสือเล่มนี้ ที่หน้า ๑๕๔๑ ตั้งแต่ คำว่า เป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน ... ไปจนถึงคำว่า .... (จบอริยสีลขันธ์) .... ที่หน้า ๑๕๕๑). ๒. สมาธิขันธ์ โดยละเอียด “ท่านอานนท์ผู้เจริญ ! อริยสมาธิขันธ์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?” (บุรพภาคแห่งการเจริญสมาธิ) มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการรวบถือเอาทั้งหมด (รวมเป็นภาพเดียว) ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการถือเอาโดยแยกเป็นส่วนๆ ; อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ซึ่งอินทรีย์อันเป็นต้นเหตุคือตาใด, เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมซึ่งอินทรีย์นั้น ย่อมรักษาอินทรีย์คือตา ย่อมถึงการสำรวมในอินทรีย์คือตา. (ในกรณีแห่งอินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก อินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย และอินทรีย์คือ ใจ ก็มีข้อความที่ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน). .... มาณพ ! ภิกษุเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล. มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ? มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู, การคู้ การเหยียด, การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร, การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม, การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ, เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบในการไป การหยุด, การนั่ง การนอน , การหลับ การตื่น, การพูด การนิ่ง. .... มาณพ ! ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยอาการอย่างนี้ แล. มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้สันโดษ เป็นอย่างไรเล่า ? มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษ (ยินดีตามที่มีอยู่) ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย สันโดษด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง ภิกษุนั้น จะหลีกไปโดยทิศใดๆ ย่อม ถือเอาบาตรและจีวรนั้นหลักไปได้ โดยทิศนั้นๆ. มาณพ ! เปรียบเสมือนนกมีปีก จะบินไปโดยทิศใดๆ มีปีกอย่างเดียวเป็นภาระบินไป ฉันใด; ภิกษุก็ฉันนั้น : เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง ถือเอาแล้วหลีกไปโดยทิศใดๆ ได้. .... มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้สันโดษ ด้วยอาการอย่างนี้แล. (การเจริญสมาธิ) ภิกษุนั้น ประกอบด้วยอริยสีสขันธ์ (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) นี้ด้วย ประกอบด้วยอริยอินทรีย์นี้ด้วย ประกอบด้วยอริยสติสัมปชัญญะนี้ด้วย ประกอบด้วยอริยสันตุฏฐินี้ด้วย แล้ว, เธอเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง), ในเวลาภายหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้ว เธอนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า ....ฯลฯ.... (ข้อความตอนต่อจากนี้ ดูได้ที่ภาคผนวกหน้า ๑๕๕๓ แห่งหนังสือเล่มนี้ ตั้งแต่คำว่า ละอภิชฌาโลภะแล้ว มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ .... ไปถึงคำว่า .... (จบอริยสมาธิขันธ์) .... ที่หน้า ๑๕๕๘). ๓. ปัญญาขันธ์ โดยละเอียด “ท่านอานนท์ผู้เจริญ! อริยปัญญาขันธ์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนนี้ให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?” ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว เธอชักนำจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ. เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้ มีรูป ประกอบอยู่ด้วยมหาภูตทั้งสี่ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ต้องห่อหุ้มนวดฟั้นอยู่เนืองนิจ แต่ก็ยังมีการแตกทำลายสึกกร่อนเป็นธรรมดา, แต่วิญญาณของเรานี้ อาศัยอยู่ในกายนั้น เนื่องอยู่ในกายนั้น; (เธอรู้เห็นอย่างชัดเจน) เปรียบเหมือนมณีไพฑูรย์อันสวยงาม สมชาติแก้ว แปดเหลี่ยม เจียระไนดีแล้ว สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่าทั้งปวง, ในแก้วนั้นมีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง สีส้มบ้าง, บุรุษ ผู้มีตาดี วางแก้วนั้นลงในมือแล้ว ก็จะเห็นโดยประจักษ์ว่า มณีไพฑูรย์นี้ เป็นของสวยงาม สมชาติแก้ว แปดเหลี่ยม เจียระไนดีแล้ว สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่าทั้งปวง. ในแก้วนี้มีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง สีส้มบ้าง, ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้นี้ ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง. ....ฯลฯ.... (ข้อความตอนต่อจากนี้ไป ดูได้ที่ภาคผนวกแห่งหนังสือเล่มนี้ ที่หน้า ๑๕๕๙ ตั้งแต่คำว่า ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว เธอชักนำจิตไปเพื่อการนิรมิตกายอันสำเร็จด้วยใจ. เธอถอดกายอื่นออกจากกายนี้ .... ไปจนถึงคำว่า .... (จบอริยปัญญาขันธ์)., ที่หน้า ๑๕๖๔).
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 328 มุมมอง 0 รีวิว
  • รบเถิดอรชุน

    นั่งดูข่าวสารบ้านเมืองแล้ว อยู่ๆผมก็นึกถึงเนื้อหาเล็กๆในตอนหนึ่งของ “ภควัทคีตา” ในมหากาพย์มหาภารตะครับ

    สำหรับท่านที่ไม่รู้จักภควัทคีตา ก็ขออธิบายสั้นๆว่าเป็นบทคำพูดโต้ตอบระหว่างเจ้าชายอรชุนกับกฤษณะในสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร อันเป็นสงครามใหญ่ระหว่างกองทัพสองฝ่ายคือฝ่ายเการพและฝ่ายปาณฑพ

    และผู้นำนักรบของทั้งสองฝ่ายนั้นล้วนเป็นพี่น้องเครือญาติกันทั้งสิ้น

    เจ้าชายอรชุนนั้นเป็นนักรบที่มีฝีมือยิงธนูเป็นเลิศของฝ่ายปาณฑพ (อ่านว่า ปาน-ดบ)

    ส่วนกฤษณะนั้น คือ สารถีคนขับรถม้าให้อรชุนในสนามรบ ซึ่งอันที่จริงกฤษณะนั้นคือพระนารายณ์อวตารลงมาบนโลกมนุษย์อีกทีครับ

    เหตุที่สองคนนี้เขาต้องโต้เถียงพูดคุยกันยาวเหยียดนั้น ก็เพราะเจ้าชายอรชุนเกิดความเวทนาและหดหู่ใจที่เห็นญาติพี่น้องทั้งกษัตริย์และเจ้าชายทั้งหลายยกทัพมาเข่นฆ่ากันเองจนเลือดนองแผ่นดินเพื่อแย่งชิงอำนาจ

    อรชุนตัดสินใจผละออกจากการรบ กฤษณะจึงได้เข้าทัดทาน พร้อมกับยกหลักเหตุผลต่างๆนานาเพื่อให้อรชุนกลับเข้าสู่สนามรบ

    กฤษณะได้สอนอรชุนว่า “การหลีกเลี่ยงหน้าที่นั้นเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เกิดในวรรณะกษัตริย์และนักรบเช่นอรชุน“

    ”หากท่านละทิ้งการรบแล้ว นอกจากจะเสียชื่อเสื่อมเกียรติแล้ว ยังถือเป็นการทำผิดต่อหน้าที่ของตนเอง“

    ”เมื่อท่านกลับเข้าสนามรบ ก็ขอให้ทำหน้าที่นักรบโดยไม่ยึดติดกับความสำเร็จหรือความล้มเหลว จะแพ้หรือชนะนั้นไม่สำคัญ เพราะเมื่อท่านได้ทำหน้าที่นักรบของตนเองอย่างเต็มที่และไม่คิดถึงผลประโยชน์ส่วนตนแล้ว นั่นแหละคือหนทางสู่ความสงบอย่างแท้จริง“

    ผมชอบตรงที่พระกฤษณะบอกว่า ”ชนะก็ได้เป็นใหญ่ในปฐพี แต่ถ้าแพ้ก็ได้ขึ้นสวรรค์เพราะได้ทำหน้าที่ของตนแล้ว“

    ด้วยคำว่า “ธรรมะ” ของพระกฤษณะคือ “หน้าที่”

    เช่นเดียวกับหลักการบูชิโดของซามูไร ที่ยึดถือในคุณธรรมสองประการ คือ จิริกิ (ความยุติธรรม) และกิริ (ความรับผิดชอบในหน้าที่)

    คนเราต้องรู้จักหน้าที่

    เมื่อเกิดมาชาติหนึ่งแล้ว เมื่อได้อยู่ฐานะหรือตำแหน่งอะไร ก็ต้องทำหน้าที่ของตนเองให้สุดความสามารถ

    เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ต้องทำหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี

    เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ก็ต้องทำหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัด

    อะไรที่ไม่ใช่หน้าที่ เช่น จัดสัมมนาหรือไปออกงานอีเว้นท์น่ะ ไม่ต้องไปทำ

    หวังว่าคงจะเตือนสติใครได้บ้าง เพราะถ้าท่านทำหน้าที่อย่างสุดความสามารถแล้ว ชาวบ้านเขาจะรู้เองแหละ

    …รบเถิดอรชุน…


    นัทแนะ
    รบเถิดอรชุน นั่งดูข่าวสารบ้านเมืองแล้ว อยู่ๆผมก็นึกถึงเนื้อหาเล็กๆในตอนหนึ่งของ “ภควัทคีตา” ในมหากาพย์มหาภารตะครับ สำหรับท่านที่ไม่รู้จักภควัทคีตา ก็ขออธิบายสั้นๆว่าเป็นบทคำพูดโต้ตอบระหว่างเจ้าชายอรชุนกับกฤษณะในสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร อันเป็นสงครามใหญ่ระหว่างกองทัพสองฝ่ายคือฝ่ายเการพและฝ่ายปาณฑพ และผู้นำนักรบของทั้งสองฝ่ายนั้นล้วนเป็นพี่น้องเครือญาติกันทั้งสิ้น เจ้าชายอรชุนนั้นเป็นนักรบที่มีฝีมือยิงธนูเป็นเลิศของฝ่ายปาณฑพ (อ่านว่า ปาน-ดบ) ส่วนกฤษณะนั้น คือ สารถีคนขับรถม้าให้อรชุนในสนามรบ ซึ่งอันที่จริงกฤษณะนั้นคือพระนารายณ์อวตารลงมาบนโลกมนุษย์อีกทีครับ เหตุที่สองคนนี้เขาต้องโต้เถียงพูดคุยกันยาวเหยียดนั้น ก็เพราะเจ้าชายอรชุนเกิดความเวทนาและหดหู่ใจที่เห็นญาติพี่น้องทั้งกษัตริย์และเจ้าชายทั้งหลายยกทัพมาเข่นฆ่ากันเองจนเลือดนองแผ่นดินเพื่อแย่งชิงอำนาจ อรชุนตัดสินใจผละออกจากการรบ กฤษณะจึงได้เข้าทัดทาน พร้อมกับยกหลักเหตุผลต่างๆนานาเพื่อให้อรชุนกลับเข้าสู่สนามรบ กฤษณะได้สอนอรชุนว่า “การหลีกเลี่ยงหน้าที่นั้นเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เกิดในวรรณะกษัตริย์และนักรบเช่นอรชุน“ ”หากท่านละทิ้งการรบแล้ว นอกจากจะเสียชื่อเสื่อมเกียรติแล้ว ยังถือเป็นการทำผิดต่อหน้าที่ของตนเอง“ ”เมื่อท่านกลับเข้าสนามรบ ก็ขอให้ทำหน้าที่นักรบโดยไม่ยึดติดกับความสำเร็จหรือความล้มเหลว จะแพ้หรือชนะนั้นไม่สำคัญ เพราะเมื่อท่านได้ทำหน้าที่นักรบของตนเองอย่างเต็มที่และไม่คิดถึงผลประโยชน์ส่วนตนแล้ว นั่นแหละคือหนทางสู่ความสงบอย่างแท้จริง“ ผมชอบตรงที่พระกฤษณะบอกว่า ”ชนะก็ได้เป็นใหญ่ในปฐพี แต่ถ้าแพ้ก็ได้ขึ้นสวรรค์เพราะได้ทำหน้าที่ของตนแล้ว“ ด้วยคำว่า “ธรรมะ” ของพระกฤษณะคือ “หน้าที่” เช่นเดียวกับหลักการบูชิโดของซามูไร ที่ยึดถือในคุณธรรมสองประการ คือ จิริกิ (ความยุติธรรม) และกิริ (ความรับผิดชอบในหน้าที่) คนเราต้องรู้จักหน้าที่ เมื่อเกิดมาชาติหนึ่งแล้ว เมื่อได้อยู่ฐานะหรือตำแหน่งอะไร ก็ต้องทำหน้าที่ของตนเองให้สุดความสามารถ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ต้องทำหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ก็ต้องทำหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัด อะไรที่ไม่ใช่หน้าที่ เช่น จัดสัมมนาหรือไปออกงานอีเว้นท์น่ะ ไม่ต้องไปทำ หวังว่าคงจะเตือนสติใครได้บ้าง เพราะถ้าท่านทำหน้าที่อย่างสุดความสามารถแล้ว ชาวบ้านเขาจะรู้เองแหละ …รบเถิดอรชุน… นัทแนะ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 572 มุมมอง 0 รีวิว
  • #รวมคำสอนผิด คน…ธรรม (จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด...)

    1. พระอรหันต์ฆ่าตัวตาย ทำการุณยฆาต❌
    ที่ถูกคือ>> พระอรหันต์ไม่ฆ่าตัวตาย
    สมดังคำที่พระสารีบุตรกล่าวว่า
    เราไม่ยินดีความตาย
    ไม่ปรารถนาความเป็น
    แต่เรารอเวลาแตกดับ (ปรินิพพาน)
    เหมือนลูกจ้างรอค่าจ้างฉะนั้น.
    และการุณยฆาตไม่ใช่การฆ่าตัวเอง

    2. พระพุทธเจ้าไม่เคยใช้กุศโลบาย❌
    ที่ถูกคือ>> พระพุทธเจ้าเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ด้วยอุบายเครื่องแนะนำอย่างวิจิตร มีอาฬวกยักษ์เป็นต้น. แม้คำสอนทั้งหมดก็มีอุบายสอน เช่นอุบายเครื่องสงบจิต.

    3. พุทธคุณในพระเครื่องไม่มี❌
    ที่ถูกคือ>> พุทธคุณในพระเครื่องมีทั้งมีและไม่มี ที่มีเพราะเหตุปัจจัยถึงพร้อม คือ ผู้สวดพระปริตรมีศีล ไม่มีความโลภอยากได้ลาภสักการะ สวดด้วยความอนุเคราะห์ ด้วยศรัทธา บาลีไม่ผิดเพี้ยน ย่อมมีอานุภาพ/ ส่วนที่ไม่มีอานุภาพก็ตรงกันข้ามกัน (ตัวอย่างตั่ง(ที่นั่ง)ที่พระองคุลิมาลนั่งทำสัจกิริยา ก็มีอานุภาพตลอดกัป)

    4. พระปริตรป้องกันภัยไม่ได้
    พระปริตรขัดกับหลักกรรมและสุขทุกข์ไม่มีใครบันดาล❌
    ที่ถูกคือ >> กรรมและสุขทุกข์ไม่มีใครบันดาลนั้นหมายความว่า “สุขทุกข์ไม่ได้เกิดจากพระผู้สร้าง เช่นพระอิศวรนิรมิต” / พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธพระผู้สร้าง เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งเหตุและปัจจัย ไม่ได้เกิดขึ้นเองลอยๆหรือใครบันดาล >> พระปริตรเป็นกุศลกรรม ไม่ใช่ใครบันดาล แต่เกิดจากกรรมในปัจจุบัน ที่บุคคลนั้นได้กล่าวสัจจกิริยา หรือ สวดพระปริตร ซึ่งเป็นกุศลที่ให้ผลในปัจจุบัน ตามหลักแห่งกรรม เป็น ทิฐธรรมเวทนียกรรม
    >> และพระปริตรก็มีเหตุปัจจัยอื่นเป็นตัวแปรที่ให้ผลไม่ได้ทุกคน จึงแทนโรงพยาบาลไม่ได้ แต่ผู้มีศรัทธา ไม่ทำกรรมหนัก ไม่สวดด้วยกิเลส และยังไม่หมดอายุขัย พระปริตรย่อมช่วยได้.

    5. สร้างศาลาใหญ่ไว้ให้หมานอนเกาขี้กาก❌ ที่ถูกคือ ทำบุญในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้มีคุณหาประมาณมิได้ ไม่ควรกำหนดว่าเท่านั้นเท่านี้ มีตัวอย่างพระลกุณฏกะ ในอดีตท่านแนะนำชาวบ้านให้สร้างเจดีย์จากใหญ่ให้เหลือเล็กลง ด้วยวิบากกรรมนั้นท่านจึงเกิดมาตัวเล็กเตี้ยเหมือนสามเณร

    6. บวชพระ, บวชตามประเพณี, บวชหน้าไฟ ไม่เป็นการทดแทนบุญคุณพ่อแม่❌ ที่ถูกคือ>> การบวชแม้ไม่ใช่การทดแทนคุณพ่อแม่สูงสุด แต่ก็เป็นการทดแทนคุณได้ เพราะการบวชทำให้พ่อแม่เกิดกุศลจิต พ่อแม่ได้ทำบุญใส่บาตรพระลูกชายเป็นต้น การทำให้พ่อแม่เกิดกุศลจิตได้ เป็นการทดแทนคุณอย่างหนึ่ง

    7. สัมภเวสี คือช่วงรออัตภาพการเกิด คือเวลาที่กายแตกตายแต่สี่ขันธ์ยังยึดรูปอยู่ยังรู้อยู่เรียกช่วงนี้ว่าสัมภเวสี❌ ที่ถูกคือ >> สัมภเวสี คือ ผู้ที่แสวงหาที่เกิด, ผู้ที่ยังต้องเกิด คือ พระเสขะและปุถุชน ยกเว้นพระอรหันต์ เพราะยังละภวสังโยชน์ยังไม่ได้.
    👉 สัมภเวสี ตามนัยแห่งกำเนิด 4 คือ
    1. เกิดในไข่ (ขณะอยู่ในไข่ เรียกสัมภเวสี ออกจากไข่ได้แล้วเรียกว่าภูต คือเกิดแล้ว)
    2. เกิดในครรภ์ (ขณะอยู่ในรก เรียกสัมภเวสี คลอดออกมาแล้วเรียกว่าภูต คือเกิดแล้ว)
    3. เกิดในเถ้าไคล และ 4. เกิดแบบผุดเกิด
    (ขณะแห่งปฐมจิต เรียกสัมภเวสี
    ขณะแห่งจิตดวงที่สอง ชื่อว่าภูต คือเกิดแล้ว)
    มาใน : อรรถกถาเมตตสูตร

    8. อมตะธาตุยึดขันธ์ห้า❌
    ที่ถูกคือ>> อมตะธาตุยึดขันธ์๕ไม่ได้
    เพราะอมตะธาตุคือนิพพาน

    9. โสดาปัตติมรรค ละสังโยชน์ข้อแรก
    โสดาปัตติผล ละสังโยชน์อีกสองข้อ❌
    ที่ถูกคือ>> โสดาปัตติมัคคจิต เป็นจิตที่ประหาณจิตโลภที่เป็นทิฏฐิสัมปยุตต ๔ ดวง และโมหมูลจิตที่เป็นวิจิกิจฉาสัมปยุตต ๑ ดวง อย่างเด็ดขาด เป็นสมุจเฉทประหาณ รวมประหาณ อกุศลจิต ๕ ดวง เด็ดขาด /โสดาปัตติผลจิต เป็นจิตที่เกิดขึ้นเพื่อเสวยสุขจากการที่โสดาปัตติมรรคญาณได้ทำการประหาณแล้ว

    10. ลอยกระทง ไปขอขมาทำไมแม่น้ำ ไปทะเลาะกับแม่น้ำเหรอจึงต้องขอขมา / วันลอยกระทงตามหลักคำสอนพระพุทธเจ้าคือวันดอกโกมุทบาน❌
    ที่ถูกคือ>> การรู้คุณแม่น้ำถือว่าเป็นผู้รู้คุณในสรรพสิ่ง สมดังคำที่พระองค์ตรัสว่า "บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่พึงหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม" ดังนั้นสิ่งที่มีอุปการะแก่ชีวิตเราล้วนมีคุณเพียงแค่เราจะเห็นคุณนั้นหรือไม่ ส่วนน้ำนั้นคนโบราณเห็นว่าใช้น้ำมาทั้งปี ทำไร่ ทำนา ใช้ชำระกายทั้งดื่มกิน เขาก็ระลึกรู้คุณเป็นพิเศษ ก็ถือได้ว่าเขาเป็นคนดีเลยทีเดียว
    / และวันลอยกระทงตามหลักคำสอนพระพุทธเจ้าคือวันดอกโกมุทบาน❌ ไม่ควรกล่าวอ้างอย่างนั้น เพราะดอกโกมุทบานเป็นเพียงคำขยายของพระจันทร์ เพราะวันนั้นเป็นวันพระจันทร์เต็มดวงในฤดูฝน ดอกโกมุทบานก็บานทั้งฤดูอยู่แล้ว ดอกโกมุทบานเป็นเพียงผู้ร่วมงาน ประธานคือพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้นจึงไม่ควรเอาแขกร่วมงานมาตั้งชื้อวัน

    11. ใครแย้งว่าสอนผิด จะอ้างว่าเขาอิจฉาริษยา❌
    ที่ถูกคือ>> ผู้ชี้โทษ ไม่ใช่เพราะอิจฉาริษยา แต่เป็นการติเตียนตามธรรม เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาไม่ให้ใครมาบิดเบือน / ทราบว่าที่คุณพูดเอามาจากสักกปัญหาสูตร
    ท้าวสักกะได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “ทำไมสัตว์ทั้งหลายมีความปรารถนาไม่มีเวร ไม่ถูกเบียดเบียนฯลฯ แต่เพราะอะไรพวกเขาจึงยังคงมีเวร ถูกเบียดเบียนอยู่”
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ”เพราะมีอิสสา(ความริษยา) และมัจฉริยะ(ความตระหนี่) สัตว์ทั้งหลายจึงจองเวรกัน เบียดเบียนกัน ซึ่งท่านใช้สูตรนี้มาสอนลูกศิษย์ และลูกศิษย์ก็เที่ยวไปว่าคนเห็นต่างว่าอิจฉาริษยาอาจารย์เขา /ทำไมคุณไม่ใช้สูตรผู้ชี้โทษคือผู้ชี้ขุมทรัพย์มาสอน.

    ✍️ที่สอนถูกก็มี ผิดก็ควรแก้ไข
    หวังว่าท่านจะระวังในการสอนมากขึ้น

    #แค่ผ่านตา แต่ก็อดไม่ได้ที่จะต้องชี้แจง
    >> ผู้เขียน : โลก กะ ธรรม กับม่อน

    Credit : เปรมวดี ก๋งชิน
    #รวมคำสอนผิด คน…ธรรม (จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด...) 1. พระอรหันต์ฆ่าตัวตาย ทำการุณยฆาต❌ ที่ถูกคือ>> พระอรหันต์ไม่ฆ่าตัวตาย สมดังคำที่พระสารีบุตรกล่าวว่า เราไม่ยินดีความตาย ไม่ปรารถนาความเป็น แต่เรารอเวลาแตกดับ (ปรินิพพาน) เหมือนลูกจ้างรอค่าจ้างฉะนั้น. และการุณยฆาตไม่ใช่การฆ่าตัวเอง 2. พระพุทธเจ้าไม่เคยใช้กุศโลบาย❌ ที่ถูกคือ>> พระพุทธเจ้าเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ด้วยอุบายเครื่องแนะนำอย่างวิจิตร มีอาฬวกยักษ์เป็นต้น. แม้คำสอนทั้งหมดก็มีอุบายสอน เช่นอุบายเครื่องสงบจิต. 3. พุทธคุณในพระเครื่องไม่มี❌ ที่ถูกคือ>> พุทธคุณในพระเครื่องมีทั้งมีและไม่มี ที่มีเพราะเหตุปัจจัยถึงพร้อม คือ ผู้สวดพระปริตรมีศีล ไม่มีความโลภอยากได้ลาภสักการะ สวดด้วยความอนุเคราะห์ ด้วยศรัทธา บาลีไม่ผิดเพี้ยน ย่อมมีอานุภาพ/ ส่วนที่ไม่มีอานุภาพก็ตรงกันข้ามกัน (ตัวอย่างตั่ง(ที่นั่ง)ที่พระองคุลิมาลนั่งทำสัจกิริยา ก็มีอานุภาพตลอดกัป) 4. พระปริตรป้องกันภัยไม่ได้ พระปริตรขัดกับหลักกรรมและสุขทุกข์ไม่มีใครบันดาล❌ ที่ถูกคือ >> กรรมและสุขทุกข์ไม่มีใครบันดาลนั้นหมายความว่า “สุขทุกข์ไม่ได้เกิดจากพระผู้สร้าง เช่นพระอิศวรนิรมิต” / พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธพระผู้สร้าง เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งเหตุและปัจจัย ไม่ได้เกิดขึ้นเองลอยๆหรือใครบันดาล >> พระปริตรเป็นกุศลกรรม ไม่ใช่ใครบันดาล แต่เกิดจากกรรมในปัจจุบัน ที่บุคคลนั้นได้กล่าวสัจจกิริยา หรือ สวดพระปริตร ซึ่งเป็นกุศลที่ให้ผลในปัจจุบัน ตามหลักแห่งกรรม เป็น ทิฐธรรมเวทนียกรรม >> และพระปริตรก็มีเหตุปัจจัยอื่นเป็นตัวแปรที่ให้ผลไม่ได้ทุกคน จึงแทนโรงพยาบาลไม่ได้ แต่ผู้มีศรัทธา ไม่ทำกรรมหนัก ไม่สวดด้วยกิเลส และยังไม่หมดอายุขัย พระปริตรย่อมช่วยได้. 5. สร้างศาลาใหญ่ไว้ให้หมานอนเกาขี้กาก❌ ที่ถูกคือ ทำบุญในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้มีคุณหาประมาณมิได้ ไม่ควรกำหนดว่าเท่านั้นเท่านี้ มีตัวอย่างพระลกุณฏกะ ในอดีตท่านแนะนำชาวบ้านให้สร้างเจดีย์จากใหญ่ให้เหลือเล็กลง ด้วยวิบากกรรมนั้นท่านจึงเกิดมาตัวเล็กเตี้ยเหมือนสามเณร 6. บวชพระ, บวชตามประเพณี, บวชหน้าไฟ ไม่เป็นการทดแทนบุญคุณพ่อแม่❌ ที่ถูกคือ>> การบวชแม้ไม่ใช่การทดแทนคุณพ่อแม่สูงสุด แต่ก็เป็นการทดแทนคุณได้ เพราะการบวชทำให้พ่อแม่เกิดกุศลจิต พ่อแม่ได้ทำบุญใส่บาตรพระลูกชายเป็นต้น การทำให้พ่อแม่เกิดกุศลจิตได้ เป็นการทดแทนคุณอย่างหนึ่ง 7. สัมภเวสี คือช่วงรออัตภาพการเกิด คือเวลาที่กายแตกตายแต่สี่ขันธ์ยังยึดรูปอยู่ยังรู้อยู่เรียกช่วงนี้ว่าสัมภเวสี❌ ที่ถูกคือ >> สัมภเวสี คือ ผู้ที่แสวงหาที่เกิด, ผู้ที่ยังต้องเกิด คือ พระเสขะและปุถุชน ยกเว้นพระอรหันต์ เพราะยังละภวสังโยชน์ยังไม่ได้. 👉 สัมภเวสี ตามนัยแห่งกำเนิด 4 คือ 1. เกิดในไข่ (ขณะอยู่ในไข่ เรียกสัมภเวสี ออกจากไข่ได้แล้วเรียกว่าภูต คือเกิดแล้ว) 2. เกิดในครรภ์ (ขณะอยู่ในรก เรียกสัมภเวสี คลอดออกมาแล้วเรียกว่าภูต คือเกิดแล้ว) 3. เกิดในเถ้าไคล และ 4. เกิดแบบผุดเกิด (ขณะแห่งปฐมจิต เรียกสัมภเวสี ขณะแห่งจิตดวงที่สอง ชื่อว่าภูต คือเกิดแล้ว) มาใน : อรรถกถาเมตตสูตร 8. อมตะธาตุยึดขันธ์ห้า❌ ที่ถูกคือ>> อมตะธาตุยึดขันธ์๕ไม่ได้ เพราะอมตะธาตุคือนิพพาน 9. โสดาปัตติมรรค ละสังโยชน์ข้อแรก โสดาปัตติผล ละสังโยชน์อีกสองข้อ❌ ที่ถูกคือ>> โสดาปัตติมัคคจิต เป็นจิตที่ประหาณจิตโลภที่เป็นทิฏฐิสัมปยุตต ๔ ดวง และโมหมูลจิตที่เป็นวิจิกิจฉาสัมปยุตต ๑ ดวง อย่างเด็ดขาด เป็นสมุจเฉทประหาณ รวมประหาณ อกุศลจิต ๕ ดวง เด็ดขาด /โสดาปัตติผลจิต เป็นจิตที่เกิดขึ้นเพื่อเสวยสุขจากการที่โสดาปัตติมรรคญาณได้ทำการประหาณแล้ว 10. ลอยกระทง ไปขอขมาทำไมแม่น้ำ ไปทะเลาะกับแม่น้ำเหรอจึงต้องขอขมา / วันลอยกระทงตามหลักคำสอนพระพุทธเจ้าคือวันดอกโกมุทบาน❌ ที่ถูกคือ>> การรู้คุณแม่น้ำถือว่าเป็นผู้รู้คุณในสรรพสิ่ง สมดังคำที่พระองค์ตรัสว่า "บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่พึงหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม" ดังนั้นสิ่งที่มีอุปการะแก่ชีวิตเราล้วนมีคุณเพียงแค่เราจะเห็นคุณนั้นหรือไม่ ส่วนน้ำนั้นคนโบราณเห็นว่าใช้น้ำมาทั้งปี ทำไร่ ทำนา ใช้ชำระกายทั้งดื่มกิน เขาก็ระลึกรู้คุณเป็นพิเศษ ก็ถือได้ว่าเขาเป็นคนดีเลยทีเดียว / และวันลอยกระทงตามหลักคำสอนพระพุทธเจ้าคือวันดอกโกมุทบาน❌ ไม่ควรกล่าวอ้างอย่างนั้น เพราะดอกโกมุทบานเป็นเพียงคำขยายของพระจันทร์ เพราะวันนั้นเป็นวันพระจันทร์เต็มดวงในฤดูฝน ดอกโกมุทบานก็บานทั้งฤดูอยู่แล้ว ดอกโกมุทบานเป็นเพียงผู้ร่วมงาน ประธานคือพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้นจึงไม่ควรเอาแขกร่วมงานมาตั้งชื้อวัน 11. ใครแย้งว่าสอนผิด จะอ้างว่าเขาอิจฉาริษยา❌ ที่ถูกคือ>> ผู้ชี้โทษ ไม่ใช่เพราะอิจฉาริษยา แต่เป็นการติเตียนตามธรรม เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาไม่ให้ใครมาบิดเบือน / ทราบว่าที่คุณพูดเอามาจากสักกปัญหาสูตร ท้าวสักกะได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “ทำไมสัตว์ทั้งหลายมีความปรารถนาไม่มีเวร ไม่ถูกเบียดเบียนฯลฯ แต่เพราะอะไรพวกเขาจึงยังคงมีเวร ถูกเบียดเบียนอยู่” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ”เพราะมีอิสสา(ความริษยา) และมัจฉริยะ(ความตระหนี่) สัตว์ทั้งหลายจึงจองเวรกัน เบียดเบียนกัน ซึ่งท่านใช้สูตรนี้มาสอนลูกศิษย์ และลูกศิษย์ก็เที่ยวไปว่าคนเห็นต่างว่าอิจฉาริษยาอาจารย์เขา /ทำไมคุณไม่ใช้สูตรผู้ชี้โทษคือผู้ชี้ขุมทรัพย์มาสอน. ✍️ที่สอนถูกก็มี ผิดก็ควรแก้ไข หวังว่าท่านจะระวังในการสอนมากขึ้น #แค่ผ่านตา แต่ก็อดไม่ได้ที่จะต้องชี้แจง >> ผู้เขียน : โลก กะ ธรรม กับม่อน Credit : เปรมวดี ก๋งชิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1178 มุมมอง 0 รีวิว
  • ครูไหวนัดเล่น #ดนตรีไทย ... ครูไหว94 ครูไกร91..เยี่ยมค่ะ ยังเล่นดนตรีจำโนตกันได้หมดนิ ขอคาราวะค่ะ 2/11/24 นัดหน้า 14ธันวาคม บ้านผอ.ไกร เตรียมงาน2เมษา68 #ชมรมดนตรีไทยจังหวัดราชบุรี #โหมโรงจอมสุรางค์(ออกสะบัดสะบิ้ง)#โหมโรงเยี่ยมวิมาน #โหมโรงครอบจักรวาล #อาหนู #แขกมอญ #แขกมอญยาดเล้ #แขกมอญบางช้าง #สารถี #เขมรพวง #เขมรโพธิสัตย์ #ใบ้คลั่ง
    ครูไหวนัดเล่น #ดนตรีไทย ... ครูไหว94 ครูไกร91..เยี่ยมค่ะ ยังเล่นดนตรีจำโนตกันได้หมดนิ ขอคาราวะค่ะ 2/11/24 นัดหน้า 14ธันวาคม บ้านผอ.ไกร เตรียมงาน2เมษา68 #ชมรมดนตรีไทยจังหวัดราชบุรี #โหมโรงจอมสุรางค์(ออกสะบัดสะบิ้ง)#โหมโรงเยี่ยมวิมาน #โหมโรงครอบจักรวาล #อาหนู #แขกมอญ #แขกมอญยาดเล้ #แขกมอญบางช้าง #สารถี #เขมรพวง #เขมรโพธิสัตย์ #ใบ้คลั่ง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 978 มุมมอง 0 รีวิว
  • จิตใจคนก็น้อ ทำด้วยอะไร
    เจี๊ยบก็แก่ แรด ขนาดนี้น้อ
    จะไปขยี้อะไรกันนักกันหนา
    แค่ยุยงคนให้คิดซั่ว ทำซั่ว
    แซะสถาบันไม่เลิก
    แค่ ย้ายก้นเหี่ยวๆไปแถ
    ที่นั่นที่นี่ ว่าเจี๊ยบจงรักภักดี
    ตั้งๆที่เมิงแหละ อิตัวร้าย เล่นเกินเบอร์
    E SUS อิอมเกียร์ สารถี
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #เจี๊ยบ
    #เจี๊ยบอมรัตน์
    #เจี๊ยบจะโกรธมาก
    จิตใจคนก็น้อ ทำด้วยอะไร เจี๊ยบก็แก่ แรด ขนาดนี้น้อ จะไปขยี้อะไรกันนักกันหนา แค่ยุยงคนให้คิดซั่ว ทำซั่ว แซะสถาบันไม่เลิก แค่ ย้ายก้นเหี่ยวๆไปแถ ที่นั่นที่นี่ ว่าเจี๊ยบจงรักภักดี ตั้งๆที่เมิงแหละ อิตัวร้าย เล่นเกินเบอร์ E SUS อิอมเกียร์ สารถี #คิงส์โพธิ์แดง #เจี๊ยบ #เจี๊ยบอมรัตน์ #เจี๊ยบจะโกรธมาก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 519 มุมมอง 0 รีวิว