• แบ่งบูชา
    เหรียญนาคเกี้ยวกันภัย
    เนื้อทองเหลือง เนื้อทองแดง เนื้อทองทิพย์
    ราคาเรียญล่ะ 449 บาท +ems 50 บาท

    ชุด 3 เหรียญ ชุดละ 1249 บาท + ems 50 บาท

    หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน

    ———————————————————————
    จะแนะนำไปถึงเหรียญนาคเกี้ยวกันภัยหรือ ?
    ก็ยังออกไม่ทันสถานการณ์ในปัจจุบันนี้ แต่ว่าอานุภาพก็จะไปในทางเดียวกัน ก็คือเน้นการป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่จะพึงมีพึงเกิด ไม่ว่าจะเกิดจากภัยธรรมชาติก็ดี เกิดจากเงื้อมมือมนุษย์หรือว่าภูตผีปิศาจก็ตาม สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะมีอานุภาพก็ต่อเมื่อกำลังใจของท่านยึดมั่นอยู่ในคุณพระรัตนตรัย มีการภาวนาเอาไว้เป็นปกติ โดยเฉพาะถ้าเป็นพระเครื่องรูปสมเด็จองค์ปฐม ให้ภาวนา อิติปิ โสฯ ๓ ห้อง ๓ จบเอาไว้ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใดคิดร้ายกับเราก็จะแพ้ภัยไปเอง

    (บางส่วนในเสียงธรรมจากวัดท่าขนุน)
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันพุธที่ ๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗
    แบ่งบูชา เหรียญนาคเกี้ยวกันภัย เนื้อทองเหลือง เนื้อทองแดง เนื้อทองทิพย์ ราคาเรียญล่ะ 449 บาท +ems 50 บาท ชุด 3 เหรียญ ชุดละ 1249 บาท + ems 50 บาท หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน ——————————————————————— จะแนะนำไปถึงเหรียญนาคเกี้ยวกันภัยหรือ ? ก็ยังออกไม่ทันสถานการณ์ในปัจจุบันนี้ แต่ว่าอานุภาพก็จะไปในทางเดียวกัน ก็คือเน้นการป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่จะพึงมีพึงเกิด ไม่ว่าจะเกิดจากภัยธรรมชาติก็ดี เกิดจากเงื้อมมือมนุษย์หรือว่าภูตผีปิศาจก็ตาม สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะมีอานุภาพก็ต่อเมื่อกำลังใจของท่านยึดมั่นอยู่ในคุณพระรัตนตรัย มีการภาวนาเอาไว้เป็นปกติ โดยเฉพาะถ้าเป็นพระเครื่องรูปสมเด็จองค์ปฐม ให้ภาวนา อิติปิ โสฯ ๓ ห้อง ๓ จบเอาไว้ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใดคิดร้ายกับเราก็จะแพ้ภัยไปเอง (บางส่วนในเสียงธรรมจากวัดท่าขนุน) เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗
    0 Comments 0 Shares 112 Views 0 Reviews
  • ส่วนของงานกฐินนั้น ที่สำคัญอีกอย่างก็คือผู้ครองผ้ากฐิน ถ้าว่ากันโดยพระธรรมวินัยแล้ว ท่านให้บุคคลที่มีจีวรเก่าที่สุดในวัดได้ผ้านั้นไป แต่ว่าระยะหลัง ส่วนใหญ่เจ้าอาวาสมักจะเป็นผู้ครองผ้ากฐิน

    เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ บางท่านถือว่าผู้ครองกฐินจึงมีสิทธิ์ที่จะรับบริวารกฐินทั้งหมด ผู้อื่นไม่มีสิทธิ์รับ เจ้าอาวาสก็เลยมักจะครองกฐินเสียเอง แต่ความจริงแล้วเป็นการเข้าใจผิด เพราะว่าบางวัดมีพระไม่ครบ ๕ รูป ไม่สามารถที่จะรับกฐินได้ ต้องไปยืมพระวัดอื่นมา

    การไปยืมพระวัดอื่นมานั้น พระวัดอื่นที่มานั้น ไม่มีสิทธิ์ไม่มีส่วนในกฐินนั้นทั้งสิ้น ให้เฉพาะบุคคลที่จำพรรษาในวัดนั้นเท่านั้น ดังนั้น...จึงมีการเข้าใจผิดกันว่า ถ้าไม่ครองกฐินแล้วจะไม่มีโอกาสได้รับบริวารกฐิน ซึ่งก็คือไม่มีสิทธิ์รับเงิน ก็ขอให้เข้าใจให้ถูกเสียใหม่

    สำหรับวัดท่าขนุนของเรานั้น ครองกฐินกันไปตามอายุพรรษา ก็คือถ้าปีนี้ไปถึงใคร ปีหน้าท่านถัดไปก็จะรู้เองว่าถึงคิวของตนเองครองกฐินแล้ว สำหรับผู้ครองกฐินนั้นต้องรับภาระหนัก เพราะว่าต้องเป็นผู้รักษาผ้าครองแทนพระทั้งวัด ในเมื่อเป็นผู้รักษาผ้าครองแทนพระทั้งวัด บุคคลที่ได้อานิสงส์กฐินสามารถผ่อนคลายสิกขาบทได้หลายข้อ พูดง่าย ๆ ก็คือ ละเว้นให้ไม่ต้องรักษาศีลหลายข้อ อย่างเช่นว่าการเที่ยวไปโดยไม่ต้องบอกลา ซึ่งปกติแล้ววัดท่าขนุนของเราไม่ยอมให้ไปโดยไม่ต้องบอกลา ออกจากวัดไปไหนจะต้องลาทุกคน อานิสงส์กฐินข้อนี้จึงไม่มีประโยชน์สำหรับพระวัดท่าขนุน

    สามารถฉันคณะโภชนาได้ ก็คือโดยปกติแล้ว ถ้าญาติโยมบอกว่านำอาหารอะไรมาถวายพระ พระไม่สามารถที่จะฉันรวมกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปได้ เพราะว่าเป็นการผิดพระวินัย สาเหตุมาจากสมัยพุทธกาล เมื่อมหาเศรษฐีท่านบอกว่าจะถวายภัตตาหารอะไร พอเป็นอาหารที่ประณีต มีรสดี บรรดาพระก็แห่กันไปจนเขาเลี้ยงไม่ไหว พระพุทธเจ้าจึงต้องตรัสห้ามไว้ว่า ถ้าเป็นอาหารที่เจ้าภาพออกชื่อ ให้ฉันได้ไม่เกิน ๓ รูปเท่านั้น ถ้าถึงรูปที่ ๔ ขึ้นไปเรียกว่าคณะ ถ้าฉันคณะโภชนาแบบนั้น โดนปรับอาบัติทุกคำที่กลืนลงไป ก็แปลว่าศีลขาดทุกคำที่กลืน แต่หากว่ารับกฐินแล้วสามารถฉันคณะโภชนาได้

    ลำดับต่อไป คือ ฉันปรัมปรโภชนาได้ คำว่า ปรัมประ ก็คือฉันจากที่หนึ่งแล้วไปฉันอีกที่หนึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้วที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามไว้ เพราะเกรงว่าจะฉันได้น้อย บางทีเจ้าภาพเขาก็เสียใจ แต่เรื่องนี้ไม่ต้องมาใช้กับอาตมา เพราะว่าฉันน้อยเป็นปกติอยู่แล้ว

    ข้อต่อไปท่านบอกว่า ไปไหนไม่ต้องเอาจีวรไปครบสำรับ เพราะว่ามีผู้ครองกฐินรักษาผ้าแทนเราแล้ว

    ข้อสุดท้าย ก็คือ จีวรที่เกิดขึ้นไม่ต้องทำวิกัปเป็น ๒ เจ้าของ สามารถที่จะใช้เป็นของตนเองได้เลย

    ในเมื่ออานิสงส์กฐินสามารถผ่อนคลายสิกขาบทได้หลายข้อ แต่ผู้ที่ครองกฐินจะไม่ได้อานิสงส์นี้ เพราะว่าต้องรักษาผ้ากฐินแทนผู้อื่นทั้งวัด ถ้าทำผ้าขาดครองก็ทำให้ขาดอานิสงส์กฐินทั้งวัดเหมือนกัน

    ดังนั้น...ในส่วนของผู้ครองกฐินจึงสำคัญมาก เพราะว่าห้ามเผลออย่างเด็ดขาด และอานิสงส์กฐินนี้จะมีแค่กลางเดือน ๔ เท่านั้น ถ้าท่านจำพรรษาแล้วไม่ได้รับกฐิน ได้รับอานิสงส์ ๑ เดือน ก็คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ถ้าจำพรรษาแล้วได้รับกฐิน ท่านขยายเวลาให้ถึงกลางเดือน ๔ ก็คือเพิ่มขึ้นมาอีก ๔ เดือน แต่อาตมาไม่เคยใช้อานิสงส์กฐิน เพราะว่าอานิสงส์กฐินนั้น ถ้าเผลอเราจะมักง่าย ไปไหนเอาจีวรไปครบไตรก็ไม่ได้หนักหนาสาหัสจนเกินไป จีวรชุดหนึ่งก็ใช้ได้หลายปี

    ขณะเดียวกันเรื่องของคณะโภชนา ปรัมปรโภชนานั้น ถ้าเราเผลอตัวเมื่อไร เกินกลางเดือน ๔ ไปก็จะโดนอาบัติ การไปไหนปกติก็ต้องบอกอยู่แล้วว่าไปไหน เพื่อที่เจ้าอาวาสหรือเพื่อนฝูงจะได้รู้ มีอะไรเร่งด่วนจะได้ตามตัวกันได้

    เมื่อเป็นเช่นนั้น อาตมาบวชมา ๓๐ กว่าปีไม่เคยใช้อานิสงส์กฐินเลย พูดง่าย ๆ ว่าไม่ต้องรอให้กฐินเดาะ แต่เป็นคนเดาะกฐินเสียเอง แต่ว่าในส่วนอื่น บุคคลอื่น โดยเฉพาะพระอื่น ๆ ในวัดท่าขนุน อาตมาไม่ได้บังคับ ใครจะใช้อานิสงส์กฐินก็อย่าเผลอ ถ้าใครไม่ใช้อานิสงส์กฐินก็ขออนุโมทนาด้วย เนื่องเพราะว่าในเรื่องของศีลพระนั้น ไม่มีอะไรน่าหนักใจ ๒๒๗ ข้อก็สามารถรักษาได้ ทำไมต้องไปผ่อนใน ๔ - ๕ ข้อเหล่านั้น

    ในเรื่องของการขอกฐิน วัดท่าขนุนจะไม่มีเรื่องนี้ เนื่องเพราะว่าอาตมาจะตั้งกองกฐินขึ้นมาเอง หลังจากนั้นญาติโยมก็มาสมทบ ร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินสามัคคีเท่านั้น เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ถ้ามีวัดใดมาขอกฐิน ญาติโยมจะเป็นเจ้าภาพจะเป็นอะไรก็ตาม ให้รู้ว่าบุญกฐินนั้นโยมได้ไปเต็ม ๆ แต่อานิสงส์กฐินสำหรับพระไม่มีใครได้เลย เพราะว่าในพระวินัยท่านห้ามขอกฐิน

    ญาติโยมที่อยากจะเป็นเจ้าภาพกฐิน ให้ไปปวารณาตนแจ้งต่อเจ้าอาวาสวัดใดวัดหนึ่งที่เราจะเอากฐินไปทอด ว่าเราขอเป็นเจ้าภาพทอดกฐิน ถ้าอย่างนั้นพระในวัดท่านถึงจะได้อานิสงส์กฐินไปเต็ม ๆ

    ในส่วนของการที่พระไปขอจากญาติโยม ก็คาดว่าเกิดจาก ๒ สาเหตุด้วยกัน
    สาเหตุแรก ก็คือ ไม่รู้ว่าในพระบาลีท่านห้ามขอกฐิน
    อย่างที่ ๒ ก็คือ แกล้งไม่รู้ เพราะว่าอยากได้กฐิน เนื่องจากว่าเจ้าภาพหลายรายมาปวารณากฐินกับอาตมาแล้วถามว่า ต้องการยอดปัจจัยเท่าไร ซึ่งถ้าเป็นวัดอื่น ๆ ก็อาจจะมีการบอกว่าเท่านั้นแสน เท่านี้ล้าน แต่สำหรับวัดท่าขนุน มีโยมถามอยู่ ๒ ปี ปีแรกที่ถาม อาตมาบอกว่าเอามา ๑๖ บาท เป็นเลขมงคลโสฬสสวยดี ปีถัดมาถามอีก บอกว่าเอามา ๙ บาทก็แล้วกัน ก็เป็นอันว่าจบกันแค่นั้น เนื่องจากว่ากฐินอยู่ที่ศรัทธาของโยม ไม่ใช่ว่าพระไปตั้งยอด แล้วให้โยมตะเกียกตะกายหามาด้วยความยากลำบาก

    เรื่องของพระธรรมวินัยแล้ว ส่วนใหญ่พระเณรสมัยนี้ไม่ค่อยที่จะเข้มงวดกัน อาจจะเป็นเพราะว่าพระอุปัชฌาย์อาจารย์ของท่านไม่ได้สั่งสอนไว้ ไม่ได้อบรมไว้ หรือไม่ก็ความที่อยากได้ยอดปัจจัยกฐินมาก ๆ ก็เลยต้องไปเที่ยวขอกฐินจากญาติโยมหลาย ๆ คน เพื่อให้มารวมกันทอด

    ในส่วนของกฐิน ขอย้ำอีกครั้งว่า อานิสงส์กฐิน สำคัญที่สุดตรงผ้าไตร จะเป็นผืนเดียว หรือครบไตรก็ตาม ถ้าไม่มีผ้าไตรก็ไม่เป็นกฐิน ถ้ามีผ้าไตรแล้วบริวารกฐินอื่นไม่จำเป็นต้องมีก็ได้

    เมื่อญาติโยมทราบแล้วจะได้รู้ว่า ในเรื่องของกฐินแต่โบราณมานั้น เขาเน้นกันเรื่องผ้าไตรครองสำหรับพระ แต่ปัจจุบันนี้ผิดเพี้ยนไป กลายเป็นว่าวัดไหนทำยอดเงินได้มาก ก็ถือว่าได้บุญมาก อย่าลืมว่าเงินเป็นแค่บริวารกฐินเท่านั้น ตัวบุญกฐินเต็ม ๆ อยู่ที่ผ้าไตรต่างหาก

    เมื่อญาติโยมได้ทราบในเรื่องของกฐิน ตลอดกระทั่งแบบธรรมเนียมในการปวารณาเป็นเจ้าภาพกฐิน หรือว่าในการถวายกฐินแล้ว ต่อไปก็จะได้ปฏิบัติกันได้ถูกต้อง
    ...................................
    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
    www.watthakhanun.com
    ส่วนของงานกฐินนั้น ที่สำคัญอีกอย่างก็คือผู้ครองผ้ากฐิน ถ้าว่ากันโดยพระธรรมวินัยแล้ว ท่านให้บุคคลที่มีจีวรเก่าที่สุดในวัดได้ผ้านั้นไป แต่ว่าระยะหลัง ส่วนใหญ่เจ้าอาวาสมักจะเป็นผู้ครองผ้ากฐิน เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ บางท่านถือว่าผู้ครองกฐินจึงมีสิทธิ์ที่จะรับบริวารกฐินทั้งหมด ผู้อื่นไม่มีสิทธิ์รับ เจ้าอาวาสก็เลยมักจะครองกฐินเสียเอง แต่ความจริงแล้วเป็นการเข้าใจผิด เพราะว่าบางวัดมีพระไม่ครบ ๕ รูป ไม่สามารถที่จะรับกฐินได้ ต้องไปยืมพระวัดอื่นมา การไปยืมพระวัดอื่นมานั้น พระวัดอื่นที่มานั้น ไม่มีสิทธิ์ไม่มีส่วนในกฐินนั้นทั้งสิ้น ให้เฉพาะบุคคลที่จำพรรษาในวัดนั้นเท่านั้น ดังนั้น...จึงมีการเข้าใจผิดกันว่า ถ้าไม่ครองกฐินแล้วจะไม่มีโอกาสได้รับบริวารกฐิน ซึ่งก็คือไม่มีสิทธิ์รับเงิน ก็ขอให้เข้าใจให้ถูกเสียใหม่ สำหรับวัดท่าขนุนของเรานั้น ครองกฐินกันไปตามอายุพรรษา ก็คือถ้าปีนี้ไปถึงใคร ปีหน้าท่านถัดไปก็จะรู้เองว่าถึงคิวของตนเองครองกฐินแล้ว สำหรับผู้ครองกฐินนั้นต้องรับภาระหนัก เพราะว่าต้องเป็นผู้รักษาผ้าครองแทนพระทั้งวัด ในเมื่อเป็นผู้รักษาผ้าครองแทนพระทั้งวัด บุคคลที่ได้อานิสงส์กฐินสามารถผ่อนคลายสิกขาบทได้หลายข้อ พูดง่าย ๆ ก็คือ ละเว้นให้ไม่ต้องรักษาศีลหลายข้อ อย่างเช่นว่าการเที่ยวไปโดยไม่ต้องบอกลา ซึ่งปกติแล้ววัดท่าขนุนของเราไม่ยอมให้ไปโดยไม่ต้องบอกลา ออกจากวัดไปไหนจะต้องลาทุกคน อานิสงส์กฐินข้อนี้จึงไม่มีประโยชน์สำหรับพระวัดท่าขนุน สามารถฉันคณะโภชนาได้ ก็คือโดยปกติแล้ว ถ้าญาติโยมบอกว่านำอาหารอะไรมาถวายพระ พระไม่สามารถที่จะฉันรวมกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปได้ เพราะว่าเป็นการผิดพระวินัย สาเหตุมาจากสมัยพุทธกาล เมื่อมหาเศรษฐีท่านบอกว่าจะถวายภัตตาหารอะไร พอเป็นอาหารที่ประณีต มีรสดี บรรดาพระก็แห่กันไปจนเขาเลี้ยงไม่ไหว พระพุทธเจ้าจึงต้องตรัสห้ามไว้ว่า ถ้าเป็นอาหารที่เจ้าภาพออกชื่อ ให้ฉันได้ไม่เกิน ๓ รูปเท่านั้น ถ้าถึงรูปที่ ๔ ขึ้นไปเรียกว่าคณะ ถ้าฉันคณะโภชนาแบบนั้น โดนปรับอาบัติทุกคำที่กลืนลงไป ก็แปลว่าศีลขาดทุกคำที่กลืน แต่หากว่ารับกฐินแล้วสามารถฉันคณะโภชนาได้ ลำดับต่อไป คือ ฉันปรัมปรโภชนาได้ คำว่า ปรัมประ ก็คือฉันจากที่หนึ่งแล้วไปฉันอีกที่หนึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้วที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามไว้ เพราะเกรงว่าจะฉันได้น้อย บางทีเจ้าภาพเขาก็เสียใจ แต่เรื่องนี้ไม่ต้องมาใช้กับอาตมา เพราะว่าฉันน้อยเป็นปกติอยู่แล้ว ข้อต่อไปท่านบอกว่า ไปไหนไม่ต้องเอาจีวรไปครบสำรับ เพราะว่ามีผู้ครองกฐินรักษาผ้าแทนเราแล้ว ข้อสุดท้าย ก็คือ จีวรที่เกิดขึ้นไม่ต้องทำวิกัปเป็น ๒ เจ้าของ สามารถที่จะใช้เป็นของตนเองได้เลย ในเมื่ออานิสงส์กฐินสามารถผ่อนคลายสิกขาบทได้หลายข้อ แต่ผู้ที่ครองกฐินจะไม่ได้อานิสงส์นี้ เพราะว่าต้องรักษาผ้ากฐินแทนผู้อื่นทั้งวัด ถ้าทำผ้าขาดครองก็ทำให้ขาดอานิสงส์กฐินทั้งวัดเหมือนกัน ดังนั้น...ในส่วนของผู้ครองกฐินจึงสำคัญมาก เพราะว่าห้ามเผลออย่างเด็ดขาด และอานิสงส์กฐินนี้จะมีแค่กลางเดือน ๔ เท่านั้น ถ้าท่านจำพรรษาแล้วไม่ได้รับกฐิน ได้รับอานิสงส์ ๑ เดือน ก็คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ถ้าจำพรรษาแล้วได้รับกฐิน ท่านขยายเวลาให้ถึงกลางเดือน ๔ ก็คือเพิ่มขึ้นมาอีก ๔ เดือน แต่อาตมาไม่เคยใช้อานิสงส์กฐิน เพราะว่าอานิสงส์กฐินนั้น ถ้าเผลอเราจะมักง่าย ไปไหนเอาจีวรไปครบไตรก็ไม่ได้หนักหนาสาหัสจนเกินไป จีวรชุดหนึ่งก็ใช้ได้หลายปี ขณะเดียวกันเรื่องของคณะโภชนา ปรัมปรโภชนานั้น ถ้าเราเผลอตัวเมื่อไร เกินกลางเดือน ๔ ไปก็จะโดนอาบัติ การไปไหนปกติก็ต้องบอกอยู่แล้วว่าไปไหน เพื่อที่เจ้าอาวาสหรือเพื่อนฝูงจะได้รู้ มีอะไรเร่งด่วนจะได้ตามตัวกันได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น อาตมาบวชมา ๓๐ กว่าปีไม่เคยใช้อานิสงส์กฐินเลย พูดง่าย ๆ ว่าไม่ต้องรอให้กฐินเดาะ แต่เป็นคนเดาะกฐินเสียเอง แต่ว่าในส่วนอื่น บุคคลอื่น โดยเฉพาะพระอื่น ๆ ในวัดท่าขนุน อาตมาไม่ได้บังคับ ใครจะใช้อานิสงส์กฐินก็อย่าเผลอ ถ้าใครไม่ใช้อานิสงส์กฐินก็ขออนุโมทนาด้วย เนื่องเพราะว่าในเรื่องของศีลพระนั้น ไม่มีอะไรน่าหนักใจ ๒๒๗ ข้อก็สามารถรักษาได้ ทำไมต้องไปผ่อนใน ๔ - ๕ ข้อเหล่านั้น ในเรื่องของการขอกฐิน วัดท่าขนุนจะไม่มีเรื่องนี้ เนื่องเพราะว่าอาตมาจะตั้งกองกฐินขึ้นมาเอง หลังจากนั้นญาติโยมก็มาสมทบ ร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินสามัคคีเท่านั้น เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ถ้ามีวัดใดมาขอกฐิน ญาติโยมจะเป็นเจ้าภาพจะเป็นอะไรก็ตาม ให้รู้ว่าบุญกฐินนั้นโยมได้ไปเต็ม ๆ แต่อานิสงส์กฐินสำหรับพระไม่มีใครได้เลย เพราะว่าในพระวินัยท่านห้ามขอกฐิน ญาติโยมที่อยากจะเป็นเจ้าภาพกฐิน ให้ไปปวารณาตนแจ้งต่อเจ้าอาวาสวัดใดวัดหนึ่งที่เราจะเอากฐินไปทอด ว่าเราขอเป็นเจ้าภาพทอดกฐิน ถ้าอย่างนั้นพระในวัดท่านถึงจะได้อานิสงส์กฐินไปเต็ม ๆ ในส่วนของการที่พระไปขอจากญาติโยม ก็คาดว่าเกิดจาก ๒ สาเหตุด้วยกัน สาเหตุแรก ก็คือ ไม่รู้ว่าในพระบาลีท่านห้ามขอกฐิน อย่างที่ ๒ ก็คือ แกล้งไม่รู้ เพราะว่าอยากได้กฐิน เนื่องจากว่าเจ้าภาพหลายรายมาปวารณากฐินกับอาตมาแล้วถามว่า ต้องการยอดปัจจัยเท่าไร ซึ่งถ้าเป็นวัดอื่น ๆ ก็อาจจะมีการบอกว่าเท่านั้นแสน เท่านี้ล้าน แต่สำหรับวัดท่าขนุน มีโยมถามอยู่ ๒ ปี ปีแรกที่ถาม อาตมาบอกว่าเอามา ๑๖ บาท เป็นเลขมงคลโสฬสสวยดี ปีถัดมาถามอีก บอกว่าเอามา ๙ บาทก็แล้วกัน ก็เป็นอันว่าจบกันแค่นั้น เนื่องจากว่ากฐินอยู่ที่ศรัทธาของโยม ไม่ใช่ว่าพระไปตั้งยอด แล้วให้โยมตะเกียกตะกายหามาด้วยความยากลำบาก เรื่องของพระธรรมวินัยแล้ว ส่วนใหญ่พระเณรสมัยนี้ไม่ค่อยที่จะเข้มงวดกัน อาจจะเป็นเพราะว่าพระอุปัชฌาย์อาจารย์ของท่านไม่ได้สั่งสอนไว้ ไม่ได้อบรมไว้ หรือไม่ก็ความที่อยากได้ยอดปัจจัยกฐินมาก ๆ ก็เลยต้องไปเที่ยวขอกฐินจากญาติโยมหลาย ๆ คน เพื่อให้มารวมกันทอด ในส่วนของกฐิน ขอย้ำอีกครั้งว่า อานิสงส์กฐิน สำคัญที่สุดตรงผ้าไตร จะเป็นผืนเดียว หรือครบไตรก็ตาม ถ้าไม่มีผ้าไตรก็ไม่เป็นกฐิน ถ้ามีผ้าไตรแล้วบริวารกฐินอื่นไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ เมื่อญาติโยมทราบแล้วจะได้รู้ว่า ในเรื่องของกฐินแต่โบราณมานั้น เขาเน้นกันเรื่องผ้าไตรครองสำหรับพระ แต่ปัจจุบันนี้ผิดเพี้ยนไป กลายเป็นว่าวัดไหนทำยอดเงินได้มาก ก็ถือว่าได้บุญมาก อย่าลืมว่าเงินเป็นแค่บริวารกฐินเท่านั้น ตัวบุญกฐินเต็ม ๆ อยู่ที่ผ้าไตรต่างหาก เมื่อญาติโยมได้ทราบในเรื่องของกฐิน ตลอดกระทั่งแบบธรรมเนียมในการปวารณาเป็นเจ้าภาพกฐิน หรือว่าในการถวายกฐินแล้ว ต่อไปก็จะได้ปฏิบัติกันได้ถูกต้อง ................................... พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน www.watthakhanun.com
    0 Comments 0 Shares 198 Views 0 Reviews
  • ส่วนของงานกฐินนั้น ที่สำคัญอีกอย่างก็คือผู้ครองผ้ากฐิน ถ้าว่ากันโดยพระธรรมวินัยแล้ว ท่านให้บุคคลที่มีจีวรเก่าที่สุดในวัดได้ผ้านั้นไป แต่ว่าระยะหลัง ส่วนใหญ่เจ้าอาวาสมักจะเป็นผู้ครองผ้ากฐิน

    เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ บางท่านถือว่าผู้ครองกฐินจึงมีสิทธิ์ที่จะรับบริวารกฐินทั้งหมด ผู้อื่นไม่มีสิทธิ์รับ เจ้าอาวาสก็เลยมักจะครองกฐินเสียเอง แต่ความจริงแล้วเป็นการเข้าใจผิด เพราะว่าบางวัดมีพระไม่ครบ ๕ รูป ไม่สามารถที่จะรับกฐินได้ ต้องไปยืมพระวัดอื่นมา

    การไปยืมพระวัดอื่นมานั้น พระวัดอื่นที่มานั้น ไม่มีสิทธิ์ไม่มีส่วนในกฐินนั้นทั้งสิ้น ให้เฉพาะบุคคลที่จำพรรษาในวัดนั้นเท่านั้น ดังนั้น...จึงมีการเข้าใจผิดกันว่า ถ้าไม่ครองกฐินแล้วจะไม่มีโอกาสได้รับบริวารกฐิน ซึ่งก็คือไม่มีสิทธิ์รับเงิน ก็ขอให้เข้าใจให้ถูกเสียใหม่

    สำหรับวัดท่าขนุนของเรานั้น ครองกฐินกันไปตามอายุพรรษา ก็คือถ้าปีนี้ไปถึงใคร ปีหน้าท่านถัดไปก็จะรู้เองว่าถึงคิวของตนเองครองกฐินแล้ว สำหรับผู้ครองกฐินนั้นต้องรับภาระหนัก เพราะว่าต้องเป็นผู้รักษาผ้าครองแทนพระทั้งวัด ในเมื่อเป็นผู้รักษาผ้าครองแทนพระทั้งวัด บุคคลที่ได้อานิสงส์กฐินสามารถผ่อนคลายสิกขาบทได้หลายข้อ พูดง่าย ๆ ก็คือ ละเว้นให้ไม่ต้องรักษาศีลหลายข้อ อย่างเช่นว่าการเที่ยวไปโดยไม่ต้องบอกลา ซึ่งปกติแล้ววัดท่าขนุนของเราไม่ยอมให้ไปโดยไม่ต้องบอกลา ออกจากวัดไปไหนจะต้องลาทุกคน อานิสงส์กฐินข้อนี้จึงไม่มีประโยชน์สำหรับพระวัดท่าขนุน

    สามารถฉันคณะโภชนาได้ ก็คือโดยปกติแล้ว ถ้าญาติโยมบอกว่านำอาหารอะไรมาถวายพระ พระไม่สามารถที่จะฉันรวมกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปได้ เพราะว่าเป็นการผิดพระวินัย สาเหตุมาจากสมัยพุทธกาล เมื่อมหาเศรษฐีท่านบอกว่าจะถวายภัตตาหารอะไร พอเป็นอาหารที่ประณีต มีรสดี บรรดาพระก็แห่กันไปจนเขาเลี้ยงไม่ไหว พระพุทธเจ้าจึงต้องตรัสห้ามไว้ว่า ถ้าเป็นอาหารที่เจ้าภาพออกชื่อ ให้ฉันได้ไม่เกิน ๓ รูปเท่านั้น ถ้าถึงรูปที่ ๔ ขึ้นไปเรียกว่าคณะ ถ้าฉันคณะโภชนาแบบนั้น โดนปรับอาบัติทุกคำที่กลืนลงไป ก็แปลว่าศีลขาดทุกคำที่กลืน แต่หากว่ารับกฐินแล้วสามารถฉันคณะโภชนาได้

    ลำดับต่อไป คือ ฉันปรัมปรโภชนาได้ คำว่า ปรัมประ ก็คือฉันจากที่หนึ่งแล้วไปฉันอีกที่หนึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้วที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามไว้ เพราะเกรงว่าจะฉันได้น้อย บางทีเจ้าภาพเขาก็เสียใจ แต่เรื่องนี้ไม่ต้องมาใช้กับอาตมา เพราะว่าฉันน้อยเป็นปกติอยู่แล้ว

    ข้อต่อไปท่านบอกว่า ไปไหนไม่ต้องเอาจีวรไปครบสำรับ เพราะว่ามีผู้ครองกฐินรักษาผ้าแทนเราแล้ว

    ข้อสุดท้าย ก็คือ จีวรที่เกิดขึ้นไม่ต้องทำวิกัปเป็น ๒ เจ้าของ สามารถที่จะใช้เป็นของตนเองได้เลย

    ในเมื่ออานิสงส์กฐินสามารถผ่อนคลายสิกขาบทได้หลายข้อ แต่ผู้ที่ครองกฐินจะไม่ได้อานิสงส์นี้ เพราะว่าต้องรักษาผ้ากฐินแทนผู้อื่นทั้งวัด ถ้าทำผ้าขาดครองก็ทำให้ขาดอานิสงส์กฐินทั้งวัดเหมือนกัน

    ดังนั้น...ในส่วนของผู้ครองกฐินจึงสำคัญมาก เพราะว่าห้ามเผลออย่างเด็ดขาด และอานิสงส์กฐินนี้จะมีแค่กลางเดือน ๔ เท่านั้น ถ้าท่านจำพรรษาแล้วไม่ได้รับกฐิน ได้รับอานิสงส์ ๑ เดือน ก็คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ถ้าจำพรรษาแล้วได้รับกฐิน ท่านขยายเวลาให้ถึงกลางเดือน ๔ ก็คือเพิ่มขึ้นมาอีก ๔ เดือน แต่อาตมาไม่เคยใช้อานิสงส์กฐิน เพราะว่าอานิสงส์กฐินนั้น ถ้าเผลอเราจะมักง่าย ไปไหนเอาจีวรไปครบไตรก็ไม่ได้หนักหนาสาหัสจนเกินไป จีวรชุดหนึ่งก็ใช้ได้หลายปี

    ขณะเดียวกันเรื่องของคณะโภชนา ปรัมปรโภชนานั้น ถ้าเราเผลอตัวเมื่อไร เกินกลางเดือน ๔ ไปก็จะโดนอาบัติ การไปไหนปกติก็ต้องบอกอยู่แล้วว่าไปไหน เพื่อที่เจ้าอาวาสหรือเพื่อนฝูงจะได้รู้ มีอะไรเร่งด่วนจะได้ตามตัวกันได้

    เมื่อเป็นเช่นนั้น อาตมาบวชมา ๓๐ กว่าปีไม่เคยใช้อานิสงส์กฐินเลย พูดง่าย ๆ ว่าไม่ต้องรอให้กฐินเดาะ แต่เป็นคนเดาะกฐินเสียเอง แต่ว่าในส่วนอื่น บุคคลอื่น โดยเฉพาะพระอื่น ๆ ในวัดท่าขนุน อาตมาไม่ได้บังคับ ใครจะใช้อานิสงส์กฐินก็อย่าเผลอ ถ้าใครไม่ใช้อานิสงส์กฐินก็ขออนุโมทนาด้วย เนื่องเพราะว่าในเรื่องของศีลพระนั้น ไม่มีอะไรน่าหนักใจ ๒๒๗ ข้อก็สามารถรักษาได้ ทำไมต้องไปผ่อนใน ๔ - ๕ ข้อเหล่านั้น

    ในเรื่องของการขอกฐิน วัดท่าขนุนจะไม่มีเรื่องนี้ เนื่องเพราะว่าอาตมาจะตั้งกองกฐินขึ้นมาเอง หลังจากนั้นญาติโยมก็มาสมทบ ร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินสามัคคีเท่านั้น เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ถ้ามีวัดใดมาขอกฐิน ญาติโยมจะเป็นเจ้าภาพจะเป็นอะไรก็ตาม ให้รู้ว่าบุญกฐินนั้นโยมได้ไปเต็ม ๆ แต่อานิสงส์กฐินสำหรับพระไม่มีใครได้เลย เพราะว่าในพระวินัยท่านห้ามขอกฐิน

    ญาติโยมที่อยากจะเป็นเจ้าภาพกฐิน ให้ไปปวารณาตนแจ้งต่อเจ้าอาวาสวัดใดวัดหนึ่งที่เราจะเอากฐินไปทอด ว่าเราขอเป็นเจ้าภาพทอดกฐิน ถ้าอย่างนั้นพระในวัดท่านถึงจะได้อานิสงส์กฐินไปเต็ม ๆ

    ในส่วนของการที่พระไปขอจากญาติโยม ก็คาดว่าเกิดจาก ๒ สาเหตุด้วยกัน
    สาเหตุแรก ก็คือ ไม่รู้ว่าในพระบาลีท่านห้ามขอกฐิน
    อย่างที่ ๒ ก็คือ แกล้งไม่รู้ เพราะว่าอยากได้กฐิน เนื่องจากว่าเจ้าภาพหลายรายมาปวารณากฐินกับอาตมาแล้วถามว่า ต้องการยอดปัจจัยเท่าไร ซึ่งถ้าเป็นวัดอื่น ๆ ก็อาจจะมีการบอกว่าเท่านั้นแสน เท่านี้ล้าน แต่สำหรับวัดท่าขนุน มีโยมถามอยู่ ๒ ปี ปีแรกที่ถาม อาตมาบอกว่าเอามา ๑๖ บาท เป็นเลขมงคลโสฬสสวยดี ปีถัดมาถามอีก บอกว่าเอามา ๙ บาทก็แล้วกัน ก็เป็นอันว่าจบกันแค่นั้น เนื่องจากว่ากฐินอยู่ที่ศรัทธาของโยม ไม่ใช่ว่าพระไปตั้งยอด แล้วให้โยมตะเกียกตะกายหามาด้วยความยากลำบาก

    เรื่องของพระธรรมวินัยแล้ว ส่วนใหญ่พระเณรสมัยนี้ไม่ค่อยที่จะเข้มงวดกัน อาจจะเป็นเพราะว่าพระอุปัชฌาย์อาจารย์ของท่านไม่ได้สั่งสอนไว้ ไม่ได้อบรมไว้ หรือไม่ก็ความที่อยากได้ยอดปัจจัยกฐินมาก ๆ ก็เลยต้องไปเที่ยวขอกฐินจากญาติโยมหลาย ๆ คน เพื่อให้มารวมกันทอด

    ในส่วนของกฐิน ขอย้ำอีกครั้งว่า อานิสงส์กฐิน สำคัญที่สุดตรงผ้าไตร จะเป็นผืนเดียว หรือครบไตรก็ตาม ถ้าไม่มีผ้าไตรก็ไม่เป็นกฐิน ถ้ามีผ้าไตรแล้วบริวารกฐินอื่นไม่จำเป็นต้องมีก็ได้

    เมื่อญาติโยมทราบแล้วจะได้รู้ว่า ในเรื่องของกฐินแต่โบราณมานั้น เขาเน้นกันเรื่องผ้าไตรครองสำหรับพระ แต่ปัจจุบันนี้ผิดเพี้ยนไป กลายเป็นว่าวัดไหนทำยอดเงินได้มาก ก็ถือว่าได้บุญมาก อย่าลืมว่าเงินเป็นแค่บริวารกฐินเท่านั้น ตัวบุญกฐินเต็ม ๆ อยู่ที่ผ้าไตรต่างหาก

    เมื่อญาติโยมได้ทราบในเรื่องของกฐิน ตลอดกระทั่งแบบธรรมเนียมในการปวารณาเป็นเจ้าภาพกฐิน หรือว่าในการถวายกฐินแล้ว ต่อไปก็จะได้ปฏิบัติกันได้ถูกต้อง
    ...................................
    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
    www.watthakhanun.com
    ส่วนของงานกฐินนั้น ที่สำคัญอีกอย่างก็คือผู้ครองผ้ากฐิน ถ้าว่ากันโดยพระธรรมวินัยแล้ว ท่านให้บุคคลที่มีจีวรเก่าที่สุดในวัดได้ผ้านั้นไป แต่ว่าระยะหลัง ส่วนใหญ่เจ้าอาวาสมักจะเป็นผู้ครองผ้ากฐิน เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ บางท่านถือว่าผู้ครองกฐินจึงมีสิทธิ์ที่จะรับบริวารกฐินทั้งหมด ผู้อื่นไม่มีสิทธิ์รับ เจ้าอาวาสก็เลยมักจะครองกฐินเสียเอง แต่ความจริงแล้วเป็นการเข้าใจผิด เพราะว่าบางวัดมีพระไม่ครบ ๕ รูป ไม่สามารถที่จะรับกฐินได้ ต้องไปยืมพระวัดอื่นมา การไปยืมพระวัดอื่นมานั้น พระวัดอื่นที่มานั้น ไม่มีสิทธิ์ไม่มีส่วนในกฐินนั้นทั้งสิ้น ให้เฉพาะบุคคลที่จำพรรษาในวัดนั้นเท่านั้น ดังนั้น...จึงมีการเข้าใจผิดกันว่า ถ้าไม่ครองกฐินแล้วจะไม่มีโอกาสได้รับบริวารกฐิน ซึ่งก็คือไม่มีสิทธิ์รับเงิน ก็ขอให้เข้าใจให้ถูกเสียใหม่ สำหรับวัดท่าขนุนของเรานั้น ครองกฐินกันไปตามอายุพรรษา ก็คือถ้าปีนี้ไปถึงใคร ปีหน้าท่านถัดไปก็จะรู้เองว่าถึงคิวของตนเองครองกฐินแล้ว สำหรับผู้ครองกฐินนั้นต้องรับภาระหนัก เพราะว่าต้องเป็นผู้รักษาผ้าครองแทนพระทั้งวัด ในเมื่อเป็นผู้รักษาผ้าครองแทนพระทั้งวัด บุคคลที่ได้อานิสงส์กฐินสามารถผ่อนคลายสิกขาบทได้หลายข้อ พูดง่าย ๆ ก็คือ ละเว้นให้ไม่ต้องรักษาศีลหลายข้อ อย่างเช่นว่าการเที่ยวไปโดยไม่ต้องบอกลา ซึ่งปกติแล้ววัดท่าขนุนของเราไม่ยอมให้ไปโดยไม่ต้องบอกลา ออกจากวัดไปไหนจะต้องลาทุกคน อานิสงส์กฐินข้อนี้จึงไม่มีประโยชน์สำหรับพระวัดท่าขนุน สามารถฉันคณะโภชนาได้ ก็คือโดยปกติแล้ว ถ้าญาติโยมบอกว่านำอาหารอะไรมาถวายพระ พระไม่สามารถที่จะฉันรวมกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปได้ เพราะว่าเป็นการผิดพระวินัย สาเหตุมาจากสมัยพุทธกาล เมื่อมหาเศรษฐีท่านบอกว่าจะถวายภัตตาหารอะไร พอเป็นอาหารที่ประณีต มีรสดี บรรดาพระก็แห่กันไปจนเขาเลี้ยงไม่ไหว พระพุทธเจ้าจึงต้องตรัสห้ามไว้ว่า ถ้าเป็นอาหารที่เจ้าภาพออกชื่อ ให้ฉันได้ไม่เกิน ๓ รูปเท่านั้น ถ้าถึงรูปที่ ๔ ขึ้นไปเรียกว่าคณะ ถ้าฉันคณะโภชนาแบบนั้น โดนปรับอาบัติทุกคำที่กลืนลงไป ก็แปลว่าศีลขาดทุกคำที่กลืน แต่หากว่ารับกฐินแล้วสามารถฉันคณะโภชนาได้ ลำดับต่อไป คือ ฉันปรัมปรโภชนาได้ คำว่า ปรัมประ ก็คือฉันจากที่หนึ่งแล้วไปฉันอีกที่หนึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้วที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามไว้ เพราะเกรงว่าจะฉันได้น้อย บางทีเจ้าภาพเขาก็เสียใจ แต่เรื่องนี้ไม่ต้องมาใช้กับอาตมา เพราะว่าฉันน้อยเป็นปกติอยู่แล้ว ข้อต่อไปท่านบอกว่า ไปไหนไม่ต้องเอาจีวรไปครบสำรับ เพราะว่ามีผู้ครองกฐินรักษาผ้าแทนเราแล้ว ข้อสุดท้าย ก็คือ จีวรที่เกิดขึ้นไม่ต้องทำวิกัปเป็น ๒ เจ้าของ สามารถที่จะใช้เป็นของตนเองได้เลย ในเมื่ออานิสงส์กฐินสามารถผ่อนคลายสิกขาบทได้หลายข้อ แต่ผู้ที่ครองกฐินจะไม่ได้อานิสงส์นี้ เพราะว่าต้องรักษาผ้ากฐินแทนผู้อื่นทั้งวัด ถ้าทำผ้าขาดครองก็ทำให้ขาดอานิสงส์กฐินทั้งวัดเหมือนกัน ดังนั้น...ในส่วนของผู้ครองกฐินจึงสำคัญมาก เพราะว่าห้ามเผลออย่างเด็ดขาด และอานิสงส์กฐินนี้จะมีแค่กลางเดือน ๔ เท่านั้น ถ้าท่านจำพรรษาแล้วไม่ได้รับกฐิน ได้รับอานิสงส์ ๑ เดือน ก็คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ถ้าจำพรรษาแล้วได้รับกฐิน ท่านขยายเวลาให้ถึงกลางเดือน ๔ ก็คือเพิ่มขึ้นมาอีก ๔ เดือน แต่อาตมาไม่เคยใช้อานิสงส์กฐิน เพราะว่าอานิสงส์กฐินนั้น ถ้าเผลอเราจะมักง่าย ไปไหนเอาจีวรไปครบไตรก็ไม่ได้หนักหนาสาหัสจนเกินไป จีวรชุดหนึ่งก็ใช้ได้หลายปี ขณะเดียวกันเรื่องของคณะโภชนา ปรัมปรโภชนานั้น ถ้าเราเผลอตัวเมื่อไร เกินกลางเดือน ๔ ไปก็จะโดนอาบัติ การไปไหนปกติก็ต้องบอกอยู่แล้วว่าไปไหน เพื่อที่เจ้าอาวาสหรือเพื่อนฝูงจะได้รู้ มีอะไรเร่งด่วนจะได้ตามตัวกันได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น อาตมาบวชมา ๓๐ กว่าปีไม่เคยใช้อานิสงส์กฐินเลย พูดง่าย ๆ ว่าไม่ต้องรอให้กฐินเดาะ แต่เป็นคนเดาะกฐินเสียเอง แต่ว่าในส่วนอื่น บุคคลอื่น โดยเฉพาะพระอื่น ๆ ในวัดท่าขนุน อาตมาไม่ได้บังคับ ใครจะใช้อานิสงส์กฐินก็อย่าเผลอ ถ้าใครไม่ใช้อานิสงส์กฐินก็ขออนุโมทนาด้วย เนื่องเพราะว่าในเรื่องของศีลพระนั้น ไม่มีอะไรน่าหนักใจ ๒๒๗ ข้อก็สามารถรักษาได้ ทำไมต้องไปผ่อนใน ๔ - ๕ ข้อเหล่านั้น ในเรื่องของการขอกฐิน วัดท่าขนุนจะไม่มีเรื่องนี้ เนื่องเพราะว่าอาตมาจะตั้งกองกฐินขึ้นมาเอง หลังจากนั้นญาติโยมก็มาสมทบ ร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินสามัคคีเท่านั้น เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ถ้ามีวัดใดมาขอกฐิน ญาติโยมจะเป็นเจ้าภาพจะเป็นอะไรก็ตาม ให้รู้ว่าบุญกฐินนั้นโยมได้ไปเต็ม ๆ แต่อานิสงส์กฐินสำหรับพระไม่มีใครได้เลย เพราะว่าในพระวินัยท่านห้ามขอกฐิน ญาติโยมที่อยากจะเป็นเจ้าภาพกฐิน ให้ไปปวารณาตนแจ้งต่อเจ้าอาวาสวัดใดวัดหนึ่งที่เราจะเอากฐินไปทอด ว่าเราขอเป็นเจ้าภาพทอดกฐิน ถ้าอย่างนั้นพระในวัดท่านถึงจะได้อานิสงส์กฐินไปเต็ม ๆ ในส่วนของการที่พระไปขอจากญาติโยม ก็คาดว่าเกิดจาก ๒ สาเหตุด้วยกัน สาเหตุแรก ก็คือ ไม่รู้ว่าในพระบาลีท่านห้ามขอกฐิน อย่างที่ ๒ ก็คือ แกล้งไม่รู้ เพราะว่าอยากได้กฐิน เนื่องจากว่าเจ้าภาพหลายรายมาปวารณากฐินกับอาตมาแล้วถามว่า ต้องการยอดปัจจัยเท่าไร ซึ่งถ้าเป็นวัดอื่น ๆ ก็อาจจะมีการบอกว่าเท่านั้นแสน เท่านี้ล้าน แต่สำหรับวัดท่าขนุน มีโยมถามอยู่ ๒ ปี ปีแรกที่ถาม อาตมาบอกว่าเอามา ๑๖ บาท เป็นเลขมงคลโสฬสสวยดี ปีถัดมาถามอีก บอกว่าเอามา ๙ บาทก็แล้วกัน ก็เป็นอันว่าจบกันแค่นั้น เนื่องจากว่ากฐินอยู่ที่ศรัทธาของโยม ไม่ใช่ว่าพระไปตั้งยอด แล้วให้โยมตะเกียกตะกายหามาด้วยความยากลำบาก เรื่องของพระธรรมวินัยแล้ว ส่วนใหญ่พระเณรสมัยนี้ไม่ค่อยที่จะเข้มงวดกัน อาจจะเป็นเพราะว่าพระอุปัชฌาย์อาจารย์ของท่านไม่ได้สั่งสอนไว้ ไม่ได้อบรมไว้ หรือไม่ก็ความที่อยากได้ยอดปัจจัยกฐินมาก ๆ ก็เลยต้องไปเที่ยวขอกฐินจากญาติโยมหลาย ๆ คน เพื่อให้มารวมกันทอด ในส่วนของกฐิน ขอย้ำอีกครั้งว่า อานิสงส์กฐิน สำคัญที่สุดตรงผ้าไตร จะเป็นผืนเดียว หรือครบไตรก็ตาม ถ้าไม่มีผ้าไตรก็ไม่เป็นกฐิน ถ้ามีผ้าไตรแล้วบริวารกฐินอื่นไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ เมื่อญาติโยมทราบแล้วจะได้รู้ว่า ในเรื่องของกฐินแต่โบราณมานั้น เขาเน้นกันเรื่องผ้าไตรครองสำหรับพระ แต่ปัจจุบันนี้ผิดเพี้ยนไป กลายเป็นว่าวัดไหนทำยอดเงินได้มาก ก็ถือว่าได้บุญมาก อย่าลืมว่าเงินเป็นแค่บริวารกฐินเท่านั้น ตัวบุญกฐินเต็ม ๆ อยู่ที่ผ้าไตรต่างหาก เมื่อญาติโยมได้ทราบในเรื่องของกฐิน ตลอดกระทั่งแบบธรรมเนียมในการปวารณาเป็นเจ้าภาพกฐิน หรือว่าในการถวายกฐินแล้ว ต่อไปก็จะได้ปฏิบัติกันได้ถูกต้อง ................................... พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน www.watthakhanun.com
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 147 Views 0 Reviews
  • ภิกษุสงฆ์เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพด้วยเดรัจฉานวิชาได้หรือไม่

    ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกัน
    บ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธี
    บวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยา
    ถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา
    ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล
    แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง – สีลขันธวรรค . ที .๙/๖๖/๑๒๐

    อธิบายเพิ่มเติม

    โดยเฉพาะในเรื่องของหมอดู หรือว่าเรื่องอื่น ๆ ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา ถือว่าไม่ใช่สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นเสกน้ำมนต์ พ่นน้ำหมาก สร้างวัตถุมงคล ทำนายทายทักอะไรก็ดี จัดอยู่ในประเภทนี้ทั้งนั้น แล้วถ้าท่านทั้งหลายถามว่า “ในเมื่อเป็นเช่นนั้น แล้ววัดท่าขนุนยังสร้างวัตถุมงคลไปทำอะไร ?” ก็ขอตอบว่า “เพราะว่ากูไม่โง่..!”

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา แปลว่า ทำเป็นอาชีพ ในเมื่อเราไม่ทำเป็นอาชีพ ก็ไม่ได้หากินด้วยเดรัจฉานวิชา เพราะฉะนั้น..ไม่ว่าเราจะทำอะไร ก็ต้องพิจารณาให้ชัดเจน เพราะว่าสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้นั้น พระองค์ท่านทำไปก็เพื่อความบริสุทธิ์ผุดผ่อง น่าเลื่อมใสของพระพุทธศาสนา เผื่อว่าจะฉลาดขึ้น…! อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ สำหรับท่านที่ไม่ได้เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ แต่ทำเพื่อสงเคราะห์ญาติโยมก็ทำไปสิครับ..!

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
    ภิกษุสงฆ์เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพด้วยเดรัจฉานวิชาได้หรือไม่ ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกัน บ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธี บวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยา ถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. พระไตรปิฎก ฉบับหลวง – สีลขันธวรรค . ที .๙/๖๖/๑๒๐ อธิบายเพิ่มเติม โดยเฉพาะในเรื่องของหมอดู หรือว่าเรื่องอื่น ๆ ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา ถือว่าไม่ใช่สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นเสกน้ำมนต์ พ่นน้ำหมาก สร้างวัตถุมงคล ทำนายทายทักอะไรก็ดี จัดอยู่ในประเภทนี้ทั้งนั้น แล้วถ้าท่านทั้งหลายถามว่า “ในเมื่อเป็นเช่นนั้น แล้ววัดท่าขนุนยังสร้างวัตถุมงคลไปทำอะไร ?” ก็ขอตอบว่า “เพราะว่ากูไม่โง่..!” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา แปลว่า ทำเป็นอาชีพ ในเมื่อเราไม่ทำเป็นอาชีพ ก็ไม่ได้หากินด้วยเดรัจฉานวิชา เพราะฉะนั้น..ไม่ว่าเราจะทำอะไร ก็ต้องพิจารณาให้ชัดเจน เพราะว่าสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้นั้น พระองค์ท่านทำไปก็เพื่อความบริสุทธิ์ผุดผ่อง น่าเลื่อมใสของพระพุทธศาสนา เผื่อว่าจะฉลาดขึ้น…! อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ สำหรับท่านที่ไม่ได้เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ แต่ทำเพื่อสงเคราะห์ญาติโยมก็ทำไปสิครับ..! พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
    Love
    1
    0 Comments 0 Shares 142 Views 0 Reviews
  • ภิกษุสงฆ์เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพด้วยเดรัจฉานวิชาได้หรือไม่

    ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกัน
    บ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธี
    บวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยา
    ถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา
    ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล
    แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง – สีลขันธวรรค . ที .๙/๖๖/๑๒๐

    อธิบายเพิ่มเติม

    โดยเฉพาะในเรื่องของหมอดู หรือว่าเรื่องอื่น ๆ ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา ถือว่าไม่ใช่สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นเสกน้ำมนต์ พ่นน้ำหมาก สร้างวัตถุมงคล ทำนายทายทักอะไรก็ดี จัดอยู่ในประเภทนี้ทั้งนั้น แล้วถ้าท่านทั้งหลายถามว่า “ในเมื่อเป็นเช่นนั้น แล้ววัดท่าขนุนยังสร้างวัตถุมงคลไปทำอะไร ?” ก็ขอตอบว่า “เพราะว่ากูไม่โง่..!”

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา แปลว่า ทำเป็นอาชีพ ในเมื่อเราไม่ทำเป็นอาชีพ ก็ไม่ได้หากินด้วยเดรัจฉานวิชา เพราะฉะนั้น..ไม่ว่าเราจะทำอะไร ก็ต้องพิจารณาให้ชัดเจน เพราะว่าสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้นั้น พระองค์ท่านทำไปก็เพื่อความบริสุทธิ์ผุดผ่อง น่าเลื่อมใสของพระพุทธศาสนา เผื่อว่าจะฉลาดขึ้น…! อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ สำหรับท่านที่ไม่ได้เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ แต่ทำเพื่อสงเคราะห์ญาติโยมก็ทำไปสิครับ..!

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
    ภิกษุสงฆ์เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพด้วยเดรัจฉานวิชาได้หรือไม่ ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกัน บ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธี บวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยา ถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. พระไตรปิฎก ฉบับหลวง – สีลขันธวรรค . ที .๙/๖๖/๑๒๐ อธิบายเพิ่มเติม โดยเฉพาะในเรื่องของหมอดู หรือว่าเรื่องอื่น ๆ ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา ถือว่าไม่ใช่สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นเสกน้ำมนต์ พ่นน้ำหมาก สร้างวัตถุมงคล ทำนายทายทักอะไรก็ดี จัดอยู่ในประเภทนี้ทั้งนั้น แล้วถ้าท่านทั้งหลายถามว่า “ในเมื่อเป็นเช่นนั้น แล้ววัดท่าขนุนยังสร้างวัตถุมงคลไปทำอะไร ?” ก็ขอตอบว่า “เพราะว่ากูไม่โง่..!” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา แปลว่า ทำเป็นอาชีพ ในเมื่อเราไม่ทำเป็นอาชีพ ก็ไม่ได้หากินด้วยเดรัจฉานวิชา เพราะฉะนั้น..ไม่ว่าเราจะทำอะไร ก็ต้องพิจารณาให้ชัดเจน เพราะว่าสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้นั้น พระองค์ท่านทำไปก็เพื่อความบริสุทธิ์ผุดผ่อง น่าเลื่อมใสของพระพุทธศาสนา เผื่อว่าจะฉลาดขึ้น…! อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ สำหรับท่านที่ไม่ได้เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ แต่ทำเพื่อสงเคราะห์ญาติโยมก็ทำไปสิครับ..! พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
    0 Comments 1 Shares 248 Views 0 Reviews
  • วันนี้ที่อยากจะพูดถึงอีกส่วนหนึ่งก็คือที่มีพระท่านถามว่า "ดวงมีการขโมยกันได้ด้วยหรือ ?" พวกเราส่วนใหญ่พอฟังอะไรแล้วไม่ค่อยจะใช้ปัญญาคิด หรือถ้าคิดก็ไม่มั่นใจ ก็เลยมาถามครูบาอาจารย์

    ในเรื่องของดวงก็คือบุญหรือกรรมเก่าที่เราทำเอาไว้ แล้วจะส่งผลดีหรือร้ายตามเวรตามกรรมที่เราสร้างมา คราวนี้ทางด้านนักปราชญ์แต่โบราณโดยเฉพาะชาวอินเดีย เขามีการศึกษาเรื่องการโคจรของดวงดาวและวันเดือนปีเกิดของผู้คน จนสามารถสรุปลงมาเป็นโหราศาสตร์ได้ แต่ถ้ากล่าวกันในทางพุทธศาสตร์ก็คือ บุคคลที่เกิดวันเดือนปีใกล้เคียงกัน ก็เพราะว่าสร้างบุญสร้างกรรมมาใกล้เคียงกัน ถึงเวลามีอะไรดีหรือว่าร้ายเกิดขึ้น ก็มักจะเกิดขึ้นคล้าย ๆ กัน

    เพียงแต่ว่าในเรื่องของโหราศาสตร์นั้น เราต้องไม่ลืมว่าเต็มที่ก็ดูได้ไม่เกิน ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ตรงนี้ไม่ใช่กระผม/อาตมภาพเป็นคนพูด แต่เป็นพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุงท่านบอก เพราะว่าช่วงนั้นท่านสั่งให้กระผม/อาตมภาพไปศึกษาวิธีการดูดวง จะเป็นเลข ๗ ตัวก็ได้ มหาทักษาก็ได้ กระผม/อาตมภาพค่อนข้างจะเป็น "เด็กไฮเปอร์ฯ" ก็คืออยู่นิ่งไม่ค่อยเป็น ท่านกลัวว่าถ้าไม่มีอะไรจะทำเดี๋ยวจะไปรื้อวัดทิ้ง..! ก็เลยให้ไปหัดดูดวง แล้วท่านก็บอกว่า "เต็มที่จะดูได้ไม่เกิน ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้าใช้ทิพจักขุญาณก็ได้ไม่เกิน ๘๐ เปอร์เซ็นต์"

    กระผม/อาตมภาพเรียนถามว่า "แล้วส่วนที่เหลือละครับ ?" หลวงพ่อท่านบอกว่า "บุคคลประเภทนั้นกำลังใจล้นเกิน ดวงไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ ต่อให้บอกว่าไม่ดีอย่างไร พวกนี้ก็จะ "สู้หัวชนฝา" จนกระทั่งชนะดวงไปเอง ส่วนใหญ่แล้วเป็นพวกที่มาสายพระโพธิสัตว์"

    ในเมื่อเป็นเช่นนั้นท่านต้องเข้าใจว่า ในเรื่องของดวงก็คือบุญกรรมที่เราทำมาในอดีต แล้วส่งผลให้กับเราในปัจจุบัน ก็เลยไม่มีการที่จะไปทดแทนกัน หรือว่าใช้แทนกัน หรือว่ายืมดวงใช้ก่อน เพียงแต่ว่าถ้าหากว่าเป็นสมัยก่อนที่เขายังทำไสยศาสตร์กันอยู่มากมาย ส่วนใหญ่ครูบาอาจารย์ท่านจะเตือนในเรื่องของวันเดือนปีเกิดว่า อย่าไปให้หมอไสยศาสตร์รู้เข้า เพราะว่าเขาจะทำได้ผลมากกว่าปกติ ถ้ามีวันเดือนปีเกิดพร้อมกับสิ่งของที่เราเคยใช้ด้วย ก็จะยิ่งมีผลมากขึ้น..!

    แต่กระผม/อาตมภาพโชคดีที่ว่า ใครได้วันเดือนปีเกิดไปก็อาจจะเดือดร้อนเอง เนื่องเพราะว่าพื้นฐานดวงนั้นถอดออกมาแล้ว "อริเป็นมรณะ" ใครตั้งตัวเป็นศัตรูตายห่..หมด..! เพราะฉะนั้น..บางท่านที่สงสัยว่า "ทำไมกระผม/อาตมภาพทำยันต์เกราะเพชรขึ้นมาก ? ทำตะกรุดมหาสะท้อนขึ้นมาก ?" ก็เพราะว่าพื้นฐานดวงนั้นอริเป็นมรณะ ถ้าหากว่าใครคิดร้ายก็แพ้ภัยตัวเอง..!

    ในเมื่อพื้นฐานดวงเป็นอย่างนี้ แล้วยังมีวิชาการเสริมเข้าไปอีก ก็ยิ่งเป็นเรื่องที่ใครคิดจะหาเรื่องก็แปลว่าหาที่ตายเอง..! เพียงแต่เตือนว่าเราท่านทั้งหลายต้องระมัดระวังเอาไว้บ้าง แต่สมัยนี้ระวังยาก เนื่องเพราะว่าคุณจะสมัครเฟซบุ๊ก สมัครอีเมลอะไรก็ตาม เขาให้ใส่วันเดือนปีเกิดไปทั้งหมด ก็เท่ากับทุกคนในปัจจุบันนี้ มีสิทธิ์ที่จะเจอหมอไสยศาสตร์เล่นเอาได้ทั้งนั้น..!

    ดังนั้น..วิธีป้องกันที่ดีที่สุดก็คือภาวนาให้กำลังใจทรงตัว อย่างน้อยสุดก็ให้เป็นปฐมฌานละเอียด ถ้าทำได้ในระดับนี้ หมอไสยศาสตร์เก่งแค่ไหนก็ทำอะไรเราไม่ได้ เพราะว่ากำลังใจของเราเท่ากับพรหม ในเมื่อเป็นเช่นนั้นจึงขอย้ำอีกครั้งว่า เรื่องของดวงขโมยกันไม่ได้ ยืมใช้ก็ไม่ได้ ไม่อย่างนั้นแล้วเราก็คงจะมีประธานาธิบดีหน้าตาเหมือนกับเราไปแล้ว หรือไม่ก็มีนายกรัฐมนตรีหน้าตาเหมือนกับเราไปแล้ว เพราะว่าไปขโมยดวงเขามาใช้แทน

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันเสาร์ที่ ๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
    วันนี้ที่อยากจะพูดถึงอีกส่วนหนึ่งก็คือที่มีพระท่านถามว่า "ดวงมีการขโมยกันได้ด้วยหรือ ?" พวกเราส่วนใหญ่พอฟังอะไรแล้วไม่ค่อยจะใช้ปัญญาคิด หรือถ้าคิดก็ไม่มั่นใจ ก็เลยมาถามครูบาอาจารย์ ในเรื่องของดวงก็คือบุญหรือกรรมเก่าที่เราทำเอาไว้ แล้วจะส่งผลดีหรือร้ายตามเวรตามกรรมที่เราสร้างมา คราวนี้ทางด้านนักปราชญ์แต่โบราณโดยเฉพาะชาวอินเดีย เขามีการศึกษาเรื่องการโคจรของดวงดาวและวันเดือนปีเกิดของผู้คน จนสามารถสรุปลงมาเป็นโหราศาสตร์ได้ แต่ถ้ากล่าวกันในทางพุทธศาสตร์ก็คือ บุคคลที่เกิดวันเดือนปีใกล้เคียงกัน ก็เพราะว่าสร้างบุญสร้างกรรมมาใกล้เคียงกัน ถึงเวลามีอะไรดีหรือว่าร้ายเกิดขึ้น ก็มักจะเกิดขึ้นคล้าย ๆ กัน เพียงแต่ว่าในเรื่องของโหราศาสตร์นั้น เราต้องไม่ลืมว่าเต็มที่ก็ดูได้ไม่เกิน ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ตรงนี้ไม่ใช่กระผม/อาตมภาพเป็นคนพูด แต่เป็นพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุงท่านบอก เพราะว่าช่วงนั้นท่านสั่งให้กระผม/อาตมภาพไปศึกษาวิธีการดูดวง จะเป็นเลข ๗ ตัวก็ได้ มหาทักษาก็ได้ กระผม/อาตมภาพค่อนข้างจะเป็น "เด็กไฮเปอร์ฯ" ก็คืออยู่นิ่งไม่ค่อยเป็น ท่านกลัวว่าถ้าไม่มีอะไรจะทำเดี๋ยวจะไปรื้อวัดทิ้ง..! ก็เลยให้ไปหัดดูดวง แล้วท่านก็บอกว่า "เต็มที่จะดูได้ไม่เกิน ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้าใช้ทิพจักขุญาณก็ได้ไม่เกิน ๘๐ เปอร์เซ็นต์" กระผม/อาตมภาพเรียนถามว่า "แล้วส่วนที่เหลือละครับ ?" หลวงพ่อท่านบอกว่า "บุคคลประเภทนั้นกำลังใจล้นเกิน ดวงไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ ต่อให้บอกว่าไม่ดีอย่างไร พวกนี้ก็จะ "สู้หัวชนฝา" จนกระทั่งชนะดวงไปเอง ส่วนใหญ่แล้วเป็นพวกที่มาสายพระโพธิสัตว์" ในเมื่อเป็นเช่นนั้นท่านต้องเข้าใจว่า ในเรื่องของดวงก็คือบุญกรรมที่เราทำมาในอดีต แล้วส่งผลให้กับเราในปัจจุบัน ก็เลยไม่มีการที่จะไปทดแทนกัน หรือว่าใช้แทนกัน หรือว่ายืมดวงใช้ก่อน เพียงแต่ว่าถ้าหากว่าเป็นสมัยก่อนที่เขายังทำไสยศาสตร์กันอยู่มากมาย ส่วนใหญ่ครูบาอาจารย์ท่านจะเตือนในเรื่องของวันเดือนปีเกิดว่า อย่าไปให้หมอไสยศาสตร์รู้เข้า เพราะว่าเขาจะทำได้ผลมากกว่าปกติ ถ้ามีวันเดือนปีเกิดพร้อมกับสิ่งของที่เราเคยใช้ด้วย ก็จะยิ่งมีผลมากขึ้น..! แต่กระผม/อาตมภาพโชคดีที่ว่า ใครได้วันเดือนปีเกิดไปก็อาจจะเดือดร้อนเอง เนื่องเพราะว่าพื้นฐานดวงนั้นถอดออกมาแล้ว "อริเป็นมรณะ" ใครตั้งตัวเป็นศัตรูตายห่..หมด..! เพราะฉะนั้น..บางท่านที่สงสัยว่า "ทำไมกระผม/อาตมภาพทำยันต์เกราะเพชรขึ้นมาก ? ทำตะกรุดมหาสะท้อนขึ้นมาก ?" ก็เพราะว่าพื้นฐานดวงนั้นอริเป็นมรณะ ถ้าหากว่าใครคิดร้ายก็แพ้ภัยตัวเอง..! ในเมื่อพื้นฐานดวงเป็นอย่างนี้ แล้วยังมีวิชาการเสริมเข้าไปอีก ก็ยิ่งเป็นเรื่องที่ใครคิดจะหาเรื่องก็แปลว่าหาที่ตายเอง..! เพียงแต่เตือนว่าเราท่านทั้งหลายต้องระมัดระวังเอาไว้บ้าง แต่สมัยนี้ระวังยาก เนื่องเพราะว่าคุณจะสมัครเฟซบุ๊ก สมัครอีเมลอะไรก็ตาม เขาให้ใส่วันเดือนปีเกิดไปทั้งหมด ก็เท่ากับทุกคนในปัจจุบันนี้ มีสิทธิ์ที่จะเจอหมอไสยศาสตร์เล่นเอาได้ทั้งนั้น..! ดังนั้น..วิธีป้องกันที่ดีที่สุดก็คือภาวนาให้กำลังใจทรงตัว อย่างน้อยสุดก็ให้เป็นปฐมฌานละเอียด ถ้าทำได้ในระดับนี้ หมอไสยศาสตร์เก่งแค่ไหนก็ทำอะไรเราไม่ได้ เพราะว่ากำลังใจของเราเท่ากับพรหม ในเมื่อเป็นเช่นนั้นจึงขอย้ำอีกครั้งว่า เรื่องของดวงขโมยกันไม่ได้ ยืมใช้ก็ไม่ได้ ไม่อย่างนั้นแล้วเราก็คงจะมีประธานาธิบดีหน้าตาเหมือนกับเราไปแล้ว หรือไม่ก็มีนายกรัฐมนตรีหน้าตาเหมือนกับเราไปแล้ว เพราะว่าไปขโมยดวงเขามาใช้แทน พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
    Like
    1
    0 Comments 1 Shares 299 Views 0 Reviews
  • บุคคลผู้หนึ่งซึ่งเป็นฆราวาสตื่นธรรม ท่านถามว่าทำไมต้องสร้างวัตถุมงคลเพื่อหาเงินไปสร้างวัดด้วย ? ไปอยู่ป่าก็ได้..! รู้สึกว่าท่านจะตอบแบบมักง่าย และยกตนเองว่าเป็นผู้ใฝ่สันโดษ หรือว่าปฏิบัติถูกต้องตามพระธรรมวินัยอยู่คนเดียว

    ตรงจุดนี้ท่านทั้งหลายต้องเข้าใจว่า แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่ประทานพระบรมพุทธานุญาตตามที่พระเทวทัตขอ ว่าให้พระภิกษุทั้งหมดอยู่ป่า ห้ามอยู่ในบ้านในเมือง โดยพระองค์ตรัสว่า ผู้ที่ใคร่จะอยู่ป่าก็จงอยู่ป่า ผู้ที่ใคร่จะอยู่ในเมืองก็จงอยู่ในเมือง

    เนื่องเพราะพระองค์มีวิสัยทัศน์อันยาวไกล หรือว่ามีพระสัพพัญญุตญาณที่รู้ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต รู้ดีว่าโลกภายภาคหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหน ทำให้พระภิกษุสงฆ์ถ้าหากว่าประพฤติวัตรปฏิบัติธรรมด้วยการอยู่ป่าอย่างเดียว จะกลายเป็นไม่มีที่อยู่ก็ได้..!

    โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ผืนป่าต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่อยู่ได้นั้นไม่มีเหลืออีกแล้ว ยกเว้นวัดต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมาก่อน แล้วยังคงความเป็นวัดป่าอยู่ก็พอที่จะมีพื้นที่ป่าเหลืออยู่บ้าง ไม่ต้องอื่นไกลที่ไหน แค่อำเภอทองผาภูมิที่กระผม/อาตมภาพอยู่นี่แหละ บรรดาพระภิกษุผู้อยู่ป่านับร้อย ๆ ราย โดนเจ้าหน้าที่นิมนต์ออกจากป่ามาทั้งหมด เนื่องเพราะว่าสถานที่เหล่านั้นเป็นอุทยานแห่งชาติบ้าง เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบ้าง แม้ว่าจะประกาศขึ้นทีหลัง โดยที่พระท่านไปอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่ก็โดนนิมนต์ออกมาจนเกือบจะหมด ยกเว้นท่านที่ได้รับการตั้งขึ้นเป็นวัดหรือสำนักสงฆ์อย่างถูกต้องแล้วเท่านั้น
    ดังนั้น..ท่านที่พูดชุ่ย ๆ ว่าไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างวัด ให้พระภิกษุไปอยู่ป่าอย่างเดียว ถ้าอย่างนั้นตั้งแต่โบราณมา เราก็คงไม่มีพระคามวาสีคือฝ่ายที่อยู่วัด และอรัญวาสีคือฝ่ายที่อยู่ป่า ในเมื่อบ้านเรามีการแยกวัดบ้านและวัดป่าอย่างชัดเจนแบบนี้ แล้วท่านยังจะให้ปฏิบัติตามปฏิปทาของพระเทวทัตอยู่อีกหรือ ?

    กระผม/อาตมภาพคาดว่าไม่มีใครอยากเป็นลูกศิษย์พระเทวทัต มีแต่อยากจะเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้าเท่านั้น ดังนั้น..สิ่งที่ท่านได้กล่าวมาก็ขอให้กล่าวโดยรอบคอบกว่านี้ ดูบริบทของสังคมเราด้วยว่าเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหนแล้ว

    สมัยพุทธกาลมีบรรดาเจ้าพระยามหากษัตริย์หรือว่ามหาเศรษฐี ท่านปวารณาสร้างวัดวาอารามให้ แม้แต่ในยุคสมัยต่อ ๆ มาในประเทศไทยของเราตั้งแต่ปรากฏประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นยุคกรุงสุโขทัย ยุคกรุงศรีอยุธยา ยุคกรุงธนบุรี มาถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ก็มีการสร้างวัดเพื่อบุญกุศลในวิหารทาน ในขณะเดียวกันก็มีคำพูดประเภทว่า บรรดาเจ้าใหญ่นายโตนั้น "สร้างวัดเพื่อให้ลูกหลานได้มีที่สำหรับวิ่งเล่น..!"

    ในเมื่อยุคต่อ ๆ มา บริบทของสังคมเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนได้เข้าสู่ส่วนของการใช้แรงงานต่าง ๆ มากมาย จนกระทั่งไม่มีเวลาที่จะไปช่วยเหลือวัด แม้กระทั่งผู้ที่ร่ำรวยด้วยเงินด้วยทองก็ติดหน้าที่การงานต่าง ๆ จนถึงขนาดไม่มีเวลาให้วัด ยกตัวอย่างบุคคลท่านหนึ่ง นามสกุลของท่านถ้าบอกไปแล้วต้องรู้จักกันทั้งประเทศไทย ท่านปวารณาเอาไว้ว่า กระผม/อาตมภาพจะสร้างหนี้เท่าไรก็ได้ ทุกสิ้นปีให้แจ้งไป ท่านจะจัดการ "เคลียร์หนี้" ให้ แต่เมื่อกระผม/อาตมภาพแจ้งไปแล้ว ปรากฏว่าท่านมักจะติดด้วยงานด้วยการ ไม่สามารถที่จะปลีกตัวได้

    ตอนนั้นกระผม/อาตมภาพยังรับสังฆทานอยู่ที่บ้านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ท่านมีเวลาแค่โทรศัพท์มาว่าตอนนี้วิ่งมาใกล้จะถึงแล้ว ให้กระผม/อาตมภาพลงไปรอในบริเวณนั้นบริเวณนี้ เมื่อท่านมาถึงแล้วก็เปิดหน้าต่างรถ ส่งเงินให้แล้วก็วิ่งต่อไป กระผม/อาตมภาพเจอแบบนั้นเข้าสองครั้ง ก็ไม่กล้าที่จะรบกวนอีกเลย..!

    ดังนั้น..ต่อให้ปวารณาไว้โดยที่ท่านร่ำรวยขนาดไหนก็ตาม กระผม/อาตมภาพก็แกล้งลืมเบอร์โทรศัพท์ไม่โทรไปหาอีก เนื่องเพราะเคยได้ยินมาว่าท่านเคยโทรสั่งโบรกเกอร์ช้าไปนาทีเดียว แล้วเสียหุ้นไป ๒๐ ล้านบาทโดยประมาณ..! ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ใครจะกล้าไปรบกวนเวลาของท่านอีก..!
    ในเมื่อบุคคลที่มีฐานะเพียงพอที่จะช่วยเหลือในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ส่วนใหญ่ก็ติดด้วยภาระหน้าที่ต่าง ๆ จึงมักจะนำเงินนำทองไปมอบให้กับพระภิกษุ โดยเฉพาะหลวงปู่หลวงพ่อเจ้าอาวาส ท่านได้จัดการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเอง ตรงส่วนนี้จึงทำให้สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป วัดที่มีผู้ปวารณาไว้ก็ยังคงต้องทำงานด้วยตนเอง แต่วัดที่ไม่มีผู้ปวารณาไว้ ก็ต้องหาเงินหาทองมาเพื่อบูรณะก็คือทำของเก่าให้ดีขึ้น และปฏิสังขรณ์คือสร้างของใหม่ให้เพียงพอต่อการใช้งาน

    ไม่เช่นนั้นแล้วหลวงปู่หลวงพ่อเจ้าอาวาสนั่นแหละ ที่ท่านเป็นเจ้าพนักงานโดยกฎหมาย จะกลายเป็นละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ก็คือไม่ปกครองสอดส่องฆราวาสก็ยังพอทน แต่การไม่บูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม เพื่อให้มั่นคงแข็งแรงสมกับเป็นอารามในพระพุทธศาสนา ให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าไปบำเพ็ญกุศลโดยสะดวก ก็กลายเป็นว่านอกจากจะผิดทางโลกแล้ว ยังผิดทางธรรมอีกด้วย

    ในทางโลกก็คือผิดกฎหมายในฐานะเจ้าพนักงานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ในทางธรรมก็คือบุคคลที่เว้นจากหน้าที่ซึ่งตนรับผิดชอบนั้น ต้องบอกว่าเป็นผู้ที่ไม่มีหลักธรรมประจำใจ ก็คือขาดไปเสียทุกส่วน ไม่เช่นนั้นแล้วอย่างน้อยก็ต้องทำความสะอาดวัดวาอารามให้น่าอยู่น่าอาศัย

    ประการต่อไปก็คือพุทธศาสนิกชนคนไทยของเรา ซึ่งมีอยู่ ๙๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ ท่านผู้กล่าวว่าให้พระภิกษุสงฆ์ไปอยู่ป่า แล้วจะให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายเหล่านั้นตะเกียกตะกายเข้าป่าไปทำบุญกัน แล้วท่านคิดว่าจะใช่หรือไม่ ?
    ในเรื่องของธรรมะนั้น ไม่ใช่พูดชุ่ย ๆ แบบ "ตีหัวเข้าบ้าน" ปราศจากความรับผิดชอบ เพราะว่าเรื่องทั้งหลายเหล่านี้นั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน กำลังใจของคนแต่ละระดับไม่เท่ากัน ใครที่ชอบคำพูดดุเดือดหยาบคาย ไปฟังท่านแล้วชอบใจ ก็ถือว่ามีจริตนิสัยใกล้เคียงกัน ท่านสามารถสอนเขาให้ตื่นรู้ได้ก็สอนไปเถิด

    แต่ว่าบุคคลที่เป็นส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ใช่แค่หยิบมือเดียวอย่างที่ท่านสอนอยู่ จะให้ทุกคนเป็นเหมือนกันย่อมเป็นไปไม่ได้ ท่านทำอาหารรสชาติที่เผ็ดกระโดดจนกระทั่งคนกินไปร้องไห้ไป แล้วท่านจะไปยัดเยียดให้ทุกคนกินอาหารรสชาตินั้นก็ย่อมเป็นไปไม่ได้

    ดังนั้น..ในเรื่องของธรรมะ กระผม/อาตมภาพจึงได้กล่าวเอาไว้ว่า ไม่เคยให้ราคาสำหรับฆราวาสผู้สอนธรรม เนื่องเพราะว่าฆราวาสที่เก่งจริงนั้นตายไปหมดแล้ว..! เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าถ้าบุคคลที่เก่งจริง เข้าถึงธรรมจริง ๆ คุณงามความดีทั้งหลายเหล่านั้นมากเกินกว่าที่จะทรงอยู่ในร่างฆราวาสได้ เพราะว่าอาจจะเป็นทุกข์เป็นโทษให้กับผู้อื่น จึงต้องโดนตัดให้ตายลงไป ในเมื่อท่านยังทรงความเป็นฆราวาสอยู่ได้ ก็แปลว่ายังเข้าไม่ถึงธรรมอย่างแท้จริงนั่นเอง

    ถ้าหากว่าสิ่งที่ว่ากล่าวไปนี้ มีอะไรที่ทำให้ท่านเห็นว่าไม่ถูกต้องถูกใจ ก็สามารถที่จะโต้แย้งได้ แต่ให้โต้แย้งโดยหลักธรรม อย่าได้เอาทิฏฐิหรือว่าโทสะในส่วนความเห็นเฉพาะตนมาโต้แย้ง เพราะว่ามีแต่จะทำให้เสียเวล่ำเวลา ไปนั่งภาวนาเสียยังจะดีกว่า
    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันเสาร์ที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
    __________________
    บุคคลผู้หนึ่งซึ่งเป็นฆราวาสตื่นธรรม ท่านถามว่าทำไมต้องสร้างวัตถุมงคลเพื่อหาเงินไปสร้างวัดด้วย ? ไปอยู่ป่าก็ได้..! รู้สึกว่าท่านจะตอบแบบมักง่าย และยกตนเองว่าเป็นผู้ใฝ่สันโดษ หรือว่าปฏิบัติถูกต้องตามพระธรรมวินัยอยู่คนเดียว ตรงจุดนี้ท่านทั้งหลายต้องเข้าใจว่า แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่ประทานพระบรมพุทธานุญาตตามที่พระเทวทัตขอ ว่าให้พระภิกษุทั้งหมดอยู่ป่า ห้ามอยู่ในบ้านในเมือง โดยพระองค์ตรัสว่า ผู้ที่ใคร่จะอยู่ป่าก็จงอยู่ป่า ผู้ที่ใคร่จะอยู่ในเมืองก็จงอยู่ในเมือง เนื่องเพราะพระองค์มีวิสัยทัศน์อันยาวไกล หรือว่ามีพระสัพพัญญุตญาณที่รู้ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต รู้ดีว่าโลกภายภาคหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหน ทำให้พระภิกษุสงฆ์ถ้าหากว่าประพฤติวัตรปฏิบัติธรรมด้วยการอยู่ป่าอย่างเดียว จะกลายเป็นไม่มีที่อยู่ก็ได้..! โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ผืนป่าต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่อยู่ได้นั้นไม่มีเหลืออีกแล้ว ยกเว้นวัดต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมาก่อน แล้วยังคงความเป็นวัดป่าอยู่ก็พอที่จะมีพื้นที่ป่าเหลืออยู่บ้าง ไม่ต้องอื่นไกลที่ไหน แค่อำเภอทองผาภูมิที่กระผม/อาตมภาพอยู่นี่แหละ บรรดาพระภิกษุผู้อยู่ป่านับร้อย ๆ ราย โดนเจ้าหน้าที่นิมนต์ออกจากป่ามาทั้งหมด เนื่องเพราะว่าสถานที่เหล่านั้นเป็นอุทยานแห่งชาติบ้าง เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบ้าง แม้ว่าจะประกาศขึ้นทีหลัง โดยที่พระท่านไปอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่ก็โดนนิมนต์ออกมาจนเกือบจะหมด ยกเว้นท่านที่ได้รับการตั้งขึ้นเป็นวัดหรือสำนักสงฆ์อย่างถูกต้องแล้วเท่านั้น ดังนั้น..ท่านที่พูดชุ่ย ๆ ว่าไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างวัด ให้พระภิกษุไปอยู่ป่าอย่างเดียว ถ้าอย่างนั้นตั้งแต่โบราณมา เราก็คงไม่มีพระคามวาสีคือฝ่ายที่อยู่วัด และอรัญวาสีคือฝ่ายที่อยู่ป่า ในเมื่อบ้านเรามีการแยกวัดบ้านและวัดป่าอย่างชัดเจนแบบนี้ แล้วท่านยังจะให้ปฏิบัติตามปฏิปทาของพระเทวทัตอยู่อีกหรือ ? กระผม/อาตมภาพคาดว่าไม่มีใครอยากเป็นลูกศิษย์พระเทวทัต มีแต่อยากจะเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้าเท่านั้น ดังนั้น..สิ่งที่ท่านได้กล่าวมาก็ขอให้กล่าวโดยรอบคอบกว่านี้ ดูบริบทของสังคมเราด้วยว่าเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหนแล้ว สมัยพุทธกาลมีบรรดาเจ้าพระยามหากษัตริย์หรือว่ามหาเศรษฐี ท่านปวารณาสร้างวัดวาอารามให้ แม้แต่ในยุคสมัยต่อ ๆ มาในประเทศไทยของเราตั้งแต่ปรากฏประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นยุคกรุงสุโขทัย ยุคกรุงศรีอยุธยา ยุคกรุงธนบุรี มาถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ก็มีการสร้างวัดเพื่อบุญกุศลในวิหารทาน ในขณะเดียวกันก็มีคำพูดประเภทว่า บรรดาเจ้าใหญ่นายโตนั้น "สร้างวัดเพื่อให้ลูกหลานได้มีที่สำหรับวิ่งเล่น..!" ในเมื่อยุคต่อ ๆ มา บริบทของสังคมเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนได้เข้าสู่ส่วนของการใช้แรงงานต่าง ๆ มากมาย จนกระทั่งไม่มีเวลาที่จะไปช่วยเหลือวัด แม้กระทั่งผู้ที่ร่ำรวยด้วยเงินด้วยทองก็ติดหน้าที่การงานต่าง ๆ จนถึงขนาดไม่มีเวลาให้วัด ยกตัวอย่างบุคคลท่านหนึ่ง นามสกุลของท่านถ้าบอกไปแล้วต้องรู้จักกันทั้งประเทศไทย ท่านปวารณาเอาไว้ว่า กระผม/อาตมภาพจะสร้างหนี้เท่าไรก็ได้ ทุกสิ้นปีให้แจ้งไป ท่านจะจัดการ "เคลียร์หนี้" ให้ แต่เมื่อกระผม/อาตมภาพแจ้งไปแล้ว ปรากฏว่าท่านมักจะติดด้วยงานด้วยการ ไม่สามารถที่จะปลีกตัวได้ ตอนนั้นกระผม/อาตมภาพยังรับสังฆทานอยู่ที่บ้านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ท่านมีเวลาแค่โทรศัพท์มาว่าตอนนี้วิ่งมาใกล้จะถึงแล้ว ให้กระผม/อาตมภาพลงไปรอในบริเวณนั้นบริเวณนี้ เมื่อท่านมาถึงแล้วก็เปิดหน้าต่างรถ ส่งเงินให้แล้วก็วิ่งต่อไป กระผม/อาตมภาพเจอแบบนั้นเข้าสองครั้ง ก็ไม่กล้าที่จะรบกวนอีกเลย..! ดังนั้น..ต่อให้ปวารณาไว้โดยที่ท่านร่ำรวยขนาดไหนก็ตาม กระผม/อาตมภาพก็แกล้งลืมเบอร์โทรศัพท์ไม่โทรไปหาอีก เนื่องเพราะเคยได้ยินมาว่าท่านเคยโทรสั่งโบรกเกอร์ช้าไปนาทีเดียว แล้วเสียหุ้นไป ๒๐ ล้านบาทโดยประมาณ..! ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ใครจะกล้าไปรบกวนเวลาของท่านอีก..! ในเมื่อบุคคลที่มีฐานะเพียงพอที่จะช่วยเหลือในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ส่วนใหญ่ก็ติดด้วยภาระหน้าที่ต่าง ๆ จึงมักจะนำเงินนำทองไปมอบให้กับพระภิกษุ โดยเฉพาะหลวงปู่หลวงพ่อเจ้าอาวาส ท่านได้จัดการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเอง ตรงส่วนนี้จึงทำให้สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป วัดที่มีผู้ปวารณาไว้ก็ยังคงต้องทำงานด้วยตนเอง แต่วัดที่ไม่มีผู้ปวารณาไว้ ก็ต้องหาเงินหาทองมาเพื่อบูรณะก็คือทำของเก่าให้ดีขึ้น และปฏิสังขรณ์คือสร้างของใหม่ให้เพียงพอต่อการใช้งาน ไม่เช่นนั้นแล้วหลวงปู่หลวงพ่อเจ้าอาวาสนั่นแหละ ที่ท่านเป็นเจ้าพนักงานโดยกฎหมาย จะกลายเป็นละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ก็คือไม่ปกครองสอดส่องฆราวาสก็ยังพอทน แต่การไม่บูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม เพื่อให้มั่นคงแข็งแรงสมกับเป็นอารามในพระพุทธศาสนา ให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าไปบำเพ็ญกุศลโดยสะดวก ก็กลายเป็นว่านอกจากจะผิดทางโลกแล้ว ยังผิดทางธรรมอีกด้วย ในทางโลกก็คือผิดกฎหมายในฐานะเจ้าพนักงานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ในทางธรรมก็คือบุคคลที่เว้นจากหน้าที่ซึ่งตนรับผิดชอบนั้น ต้องบอกว่าเป็นผู้ที่ไม่มีหลักธรรมประจำใจ ก็คือขาดไปเสียทุกส่วน ไม่เช่นนั้นแล้วอย่างน้อยก็ต้องทำความสะอาดวัดวาอารามให้น่าอยู่น่าอาศัย ประการต่อไปก็คือพุทธศาสนิกชนคนไทยของเรา ซึ่งมีอยู่ ๙๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ ท่านผู้กล่าวว่าให้พระภิกษุสงฆ์ไปอยู่ป่า แล้วจะให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายเหล่านั้นตะเกียกตะกายเข้าป่าไปทำบุญกัน แล้วท่านคิดว่าจะใช่หรือไม่ ? ในเรื่องของธรรมะนั้น ไม่ใช่พูดชุ่ย ๆ แบบ "ตีหัวเข้าบ้าน" ปราศจากความรับผิดชอบ เพราะว่าเรื่องทั้งหลายเหล่านี้นั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน กำลังใจของคนแต่ละระดับไม่เท่ากัน ใครที่ชอบคำพูดดุเดือดหยาบคาย ไปฟังท่านแล้วชอบใจ ก็ถือว่ามีจริตนิสัยใกล้เคียงกัน ท่านสามารถสอนเขาให้ตื่นรู้ได้ก็สอนไปเถิด แต่ว่าบุคคลที่เป็นส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ใช่แค่หยิบมือเดียวอย่างที่ท่านสอนอยู่ จะให้ทุกคนเป็นเหมือนกันย่อมเป็นไปไม่ได้ ท่านทำอาหารรสชาติที่เผ็ดกระโดดจนกระทั่งคนกินไปร้องไห้ไป แล้วท่านจะไปยัดเยียดให้ทุกคนกินอาหารรสชาตินั้นก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น..ในเรื่องของธรรมะ กระผม/อาตมภาพจึงได้กล่าวเอาไว้ว่า ไม่เคยให้ราคาสำหรับฆราวาสผู้สอนธรรม เนื่องเพราะว่าฆราวาสที่เก่งจริงนั้นตายไปหมดแล้ว..! เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าถ้าบุคคลที่เก่งจริง เข้าถึงธรรมจริง ๆ คุณงามความดีทั้งหลายเหล่านั้นมากเกินกว่าที่จะทรงอยู่ในร่างฆราวาสได้ เพราะว่าอาจจะเป็นทุกข์เป็นโทษให้กับผู้อื่น จึงต้องโดนตัดให้ตายลงไป ในเมื่อท่านยังทรงความเป็นฆราวาสอยู่ได้ ก็แปลว่ายังเข้าไม่ถึงธรรมอย่างแท้จริงนั่นเอง ถ้าหากว่าสิ่งที่ว่ากล่าวไปนี้ มีอะไรที่ทำให้ท่านเห็นว่าไม่ถูกต้องถูกใจ ก็สามารถที่จะโต้แย้งได้ แต่ให้โต้แย้งโดยหลักธรรม อย่าได้เอาทิฏฐิหรือว่าโทสะในส่วนความเห็นเฉพาะตนมาโต้แย้ง เพราะว่ามีแต่จะทำให้เสียเวล่ำเวลา ไปนั่งภาวนาเสียยังจะดีกว่า พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย) __________________
    Like
    2
    0 Comments 1 Shares 524 Views 0 Reviews
  • ขออนุญาตเป็นสะพานบุญเรียนเชิญท่านสาธุชน
    พุทธบริษัท ร่วมทำบุญบูรณะมณฑปหลวงพ่อพัฒน์
    นารโท วัดพัฒนาราม
    (พระอารามหลวง ) จ.สุราษฎร์ธานี

    ได้ที่บัญชีธนาคารกรุงไทย

    ชื่อบัญชี โครงการบูรณะมณฑปหลวงพ่อพัฒน์ นารโท

    เลขที่บัญชี 362-0-56711-5

    อานิสงส์ของวิหารทาน

    สังฆทานนั้นมีอานิสงส์มากกว่าทานทั่วไป เพราะเป็นทานที่ต่ออายุพระพุทธศาสนา ทานที่จะมีอานิสงส์ที่ใหญ่กว่าสังฆทานก็มีแต่วิหารทานและธรรมทานเท่านั้น

    สำหรับสถานที่ซึ่งเป็นวิหารทานและมีการใช้สอยเป็นปกติ ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ ศาลาการเปรียญ หรือสถานปฏิบัติธรรมนั้น ทุกครั้งที่มีบุคคลเข้าไปใช้ เจ้าของจะได้อานิสงส์เพิ่มขึ้นทุกครั้งไป วิหารทานจึงเป็นทานที่มีอานิสงส์ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาของอามิสทาน คือ ทานที่เป็นสิ่งของทั่ว ๆ ไป

    ยกเว้นเสียจากธรรมทานแล้ว ไม่มีอานิสงส์อะไรใหญ่กว่าวิหารทานอีก เราจึงเห็นว่าคนโบราณนิยมสร้างโบสถ์ สร้างศาลาการเปรียญ เพราะเมื่อบุคคลเข้าไปใช้สอย โดยเฉพาะพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ยิ่งใช้สอยมากเท่าไร อานิสงส์ก็พอกพูนมากขึ้นเท่านั้น เหมือนกับเราปลูกต้นไม้ผล ถึงเวลาก็ผลิดอกออกผลไปเรื่อย ๆ ไม่รู้จบ จนกว่าวิหารหลังนั้นจะหมดสภาพไปเอง
    ...................................
    ที่มาบทความธรรมะ : เว็บวัดท่าขนุน
    ขออนุญาตเป็นสะพานบุญเรียนเชิญท่านสาธุชน พุทธบริษัท ร่วมทำบุญบูรณะมณฑปหลวงพ่อพัฒน์ นารโท วัดพัฒนาราม (พระอารามหลวง ) จ.สุราษฎร์ธานี ได้ที่บัญชีธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี โครงการบูรณะมณฑปหลวงพ่อพัฒน์ นารโท เลขที่บัญชี 362-0-56711-5 อานิสงส์ของวิหารทาน สังฆทานนั้นมีอานิสงส์มากกว่าทานทั่วไป เพราะเป็นทานที่ต่ออายุพระพุทธศาสนา ทานที่จะมีอานิสงส์ที่ใหญ่กว่าสังฆทานก็มีแต่วิหารทานและธรรมทานเท่านั้น สำหรับสถานที่ซึ่งเป็นวิหารทานและมีการใช้สอยเป็นปกติ ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ ศาลาการเปรียญ หรือสถานปฏิบัติธรรมนั้น ทุกครั้งที่มีบุคคลเข้าไปใช้ เจ้าของจะได้อานิสงส์เพิ่มขึ้นทุกครั้งไป วิหารทานจึงเป็นทานที่มีอานิสงส์ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาของอามิสทาน คือ ทานที่เป็นสิ่งของทั่ว ๆ ไป ยกเว้นเสียจากธรรมทานแล้ว ไม่มีอานิสงส์อะไรใหญ่กว่าวิหารทานอีก เราจึงเห็นว่าคนโบราณนิยมสร้างโบสถ์ สร้างศาลาการเปรียญ เพราะเมื่อบุคคลเข้าไปใช้สอย โดยเฉพาะพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ยิ่งใช้สอยมากเท่าไร อานิสงส์ก็พอกพูนมากขึ้นเท่านั้น เหมือนกับเราปลูกต้นไม้ผล ถึงเวลาก็ผลิดอกออกผลไปเรื่อย ๆ ไม่รู้จบ จนกว่าวิหารหลังนั้นจะหมดสภาพไปเอง ................................... ที่มาบทความธรรมะ : เว็บวัดท่าขนุน
    0 Comments 0 Shares 330 Views 0 Reviews
  • เนื่องเพราะว่าชีวิตของพระภิกษุสามเณร ส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือความอดทน อดทนต่อความยากลำบาก อดกลั้นต่ออารมณ์กระทบ อดออมที่จะไม่แสดงออกถึงกิริยาอาการไม่ดี ต้องบอกว่าเป็นหน้าที่ของพระเราที่จะต้องทำให้ได้อย่างนั้น ถือหลักว่าพระภิกษุสามเณรก็คือธรรมเสนา ทหารในกองทัพธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเมื่อเป็นทหาร ก็อย่างที่โบราณเขาใส่เอาไว้ในพยัญชนะไทยของเรา ก็คือขยายความว่า ท.ทหารอดทน

    คราวนี้สิ่งที่เราทนนั้นต้องเป็นการทนด้วยการใช้ปัญญา ไม่ใช่ทนแบบควาย..! ความทนด้วยการใช้ปัญญาก็คือ รู้ตัวอยู่เสมอว่าเราต้องตาย พ้นจากวินาทีนี้ไป เราอาจจะเสียชีวิตแล้วก็ได้ ถ้าหากว่าสติปัญญาของเราสมบูรณ์พร้อม เห็นชัดเจนอยู่ในลักษณะแบบนี้ ก็จะไม่รู้สึกว่ามีอะไรลำบาก เพราะว่าเราจะพ้นไปแล้ว

    ดังนั้น..นักปฏิบัติธรรมที่ดีจึงต้องมีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย แล้วตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่า ตายแล้วเรามีพระนิพพานเป็นที่ไปเท่านั้น ไม่ใช่ว่าอะไรก็ทน แต่เป็นการทนแบบไร้ปัญญา ถ้าอย่างนั้น สิ่งที่เราทนก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร

    การที่เราทนแบบคนมีปัญญา รู้ตัวอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย เราก็ต้องเตรียมความพร้อม อย่างที่เคยมีหนังสือ หรือว่าภาพยนตร์ที่เขียนเอาไว้ว่า "ถ้าเหลือชีวิตอยู่อีก ๗ วัน เราจะทำอะไรกันบ้าง ?"จะว่าไปแล้ว คนเขียนก็พอมีส่วนของการเข้าถึงธรรมอยู่บ้าง แต่ยังประมาทจนเกินไป เพราะคิดว่ายังอยู่อีกตั้ง ๗ วัน..!

    ทำอย่างไรที่เราจะรู้ตัวอยู่เสมอว่า หายใจเข้า..ไม่หายใจออก เราก็ตายแล้ว หายใจออก..ไม่หายใจเข้า เราก็ตายอีกเช่นกัน ชีวิตนี้มีความตายเป็นเบื้องหน้า เราจักต้องถึงความตายเป็นแน่แท้ ไม่มีใครล่วงพ้นความตายนี้ไปได้ ก็แปลว่า ต้องมีปัญญาในมรณานุสติอยู่ในระดับที่สูงมาก

    คราวนี้เมื่อรู้ตัวอยู่เสมอว่าจะต้องตาย ก็ต้องมีการเตรียมพร้อม การเตรียมพร้อมของเราก็ไม่มีอะไรที่เกินไปกว่า ศีล สมาธิ แล้วก็ปัญญา ในแต่ละวันเราต้องทบทวนว่าศีลทุกสิกขาบทของเราบริสุทธิ์บริบูรณ์หรือไม่ ? เราละเมิดศีลด้วยตนเองหรือไม่ ? เราได้ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีลหรือไม่ ? และท้ายที่สุดเรายินดีเมื่อเห็นผู้อื่นละเมิดศีลหรือไม่ ?

    ในเมื่อศีลของเราสมบูรณ์บริบูรณ์พร้อมแล้ว ก็เป็นอันว่ารอดตัวไปอีกวัน แต่ถ้ามีขาดตกบกพร่อง ต้องตั้งใจทันทีว่า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป เราจักเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ แล้วตั้งหน้าตั้งตาระมัดระวังรักษาสิกขาบทต่อไป

    ส่วนในเรื่องของสมาธินั้น ถ้าเป็นไปได้ ให้อยู่กับลมหายใจเข้าออกตลอดทั้งวัน ถ้าหากว่าไม่ได้ อย่างน้อย ๆ เช้า ๆ เย็น ๆ ต้องมีเวลาในการภาวนาอย่างเอาจริงเอาจัง แต่ว่าจากการที่กระผม/อาตมภาพปฏิบัติมาด้วยตัวเอง ตอนช่วงเช้าภาวนาจนกำลังใจทรงตัวเต็มที่เท่าที่เราทำได้ แต่พอไปทำการทำงาน กระทบกระทั่งกับสารพัดอารมณ์ที่ประเดประดังเข้ามา ก็มักจะไม่พอใช้งาน จึงต้องไปภาวนาเพิ่มเติมตอนพักเที่ยง

    ดังนั้น..เรื่องของอาหารการกิน จึงไม่ใช่เรื่องสำคัญ สักแต่ว่ายัด ๆ เข้าปาก กลืนลงท้องไปให้อิ่มก็พอ เอาเวลาที่เหลือไปภาวนาให้มากที่สุด เมื่อถึงเวลาช่วงบ่าย เราจะได้อาศัยกำลังนั้นทำงานของเราต่อ พอกระทบกระทั่งกับอารมณ์ต่าง ๆ เข้า ก็มักจะพังเสียก่อนที่จะหมดวัน เราจึงต้องมีการภาวนาในช่วงเย็น หรือช่วงค่ำด้วย เพื่อรักษาอารมณ์ใจให้ต่อเนื่องกัน

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันเสาร์ที่ ๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๖

    สามารถอ่านต่อที่เว็บบอร์ดพระนิพพาน

    https://www.thenirvanalive.com/community/postid/99/
    เนื่องเพราะว่าชีวิตของพระภิกษุสามเณร ส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือความอดทน อดทนต่อความยากลำบาก อดกลั้นต่ออารมณ์กระทบ อดออมที่จะไม่แสดงออกถึงกิริยาอาการไม่ดี ต้องบอกว่าเป็นหน้าที่ของพระเราที่จะต้องทำให้ได้อย่างนั้น ถือหลักว่าพระภิกษุสามเณรก็คือธรรมเสนา ทหารในกองทัพธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเมื่อเป็นทหาร ก็อย่างที่โบราณเขาใส่เอาไว้ในพยัญชนะไทยของเรา ก็คือขยายความว่า ท.ทหารอดทน คราวนี้สิ่งที่เราทนนั้นต้องเป็นการทนด้วยการใช้ปัญญา ไม่ใช่ทนแบบควาย..! ความทนด้วยการใช้ปัญญาก็คือ รู้ตัวอยู่เสมอว่าเราต้องตาย พ้นจากวินาทีนี้ไป เราอาจจะเสียชีวิตแล้วก็ได้ ถ้าหากว่าสติปัญญาของเราสมบูรณ์พร้อม เห็นชัดเจนอยู่ในลักษณะแบบนี้ ก็จะไม่รู้สึกว่ามีอะไรลำบาก เพราะว่าเราจะพ้นไปแล้ว ดังนั้น..นักปฏิบัติธรรมที่ดีจึงต้องมีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย แล้วตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่า ตายแล้วเรามีพระนิพพานเป็นที่ไปเท่านั้น ไม่ใช่ว่าอะไรก็ทน แต่เป็นการทนแบบไร้ปัญญา ถ้าอย่างนั้น สิ่งที่เราทนก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร การที่เราทนแบบคนมีปัญญา รู้ตัวอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย เราก็ต้องเตรียมความพร้อม อย่างที่เคยมีหนังสือ หรือว่าภาพยนตร์ที่เขียนเอาไว้ว่า "ถ้าเหลือชีวิตอยู่อีก ๗ วัน เราจะทำอะไรกันบ้าง ?"จะว่าไปแล้ว คนเขียนก็พอมีส่วนของการเข้าถึงธรรมอยู่บ้าง แต่ยังประมาทจนเกินไป เพราะคิดว่ายังอยู่อีกตั้ง ๗ วัน..! ทำอย่างไรที่เราจะรู้ตัวอยู่เสมอว่า หายใจเข้า..ไม่หายใจออก เราก็ตายแล้ว หายใจออก..ไม่หายใจเข้า เราก็ตายอีกเช่นกัน ชีวิตนี้มีความตายเป็นเบื้องหน้า เราจักต้องถึงความตายเป็นแน่แท้ ไม่มีใครล่วงพ้นความตายนี้ไปได้ ก็แปลว่า ต้องมีปัญญาในมรณานุสติอยู่ในระดับที่สูงมาก คราวนี้เมื่อรู้ตัวอยู่เสมอว่าจะต้องตาย ก็ต้องมีการเตรียมพร้อม การเตรียมพร้อมของเราก็ไม่มีอะไรที่เกินไปกว่า ศีล สมาธิ แล้วก็ปัญญา ในแต่ละวันเราต้องทบทวนว่าศีลทุกสิกขาบทของเราบริสุทธิ์บริบูรณ์หรือไม่ ? เราละเมิดศีลด้วยตนเองหรือไม่ ? เราได้ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีลหรือไม่ ? และท้ายที่สุดเรายินดีเมื่อเห็นผู้อื่นละเมิดศีลหรือไม่ ? ในเมื่อศีลของเราสมบูรณ์บริบูรณ์พร้อมแล้ว ก็เป็นอันว่ารอดตัวไปอีกวัน แต่ถ้ามีขาดตกบกพร่อง ต้องตั้งใจทันทีว่า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป เราจักเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ แล้วตั้งหน้าตั้งตาระมัดระวังรักษาสิกขาบทต่อไป ส่วนในเรื่องของสมาธินั้น ถ้าเป็นไปได้ ให้อยู่กับลมหายใจเข้าออกตลอดทั้งวัน ถ้าหากว่าไม่ได้ อย่างน้อย ๆ เช้า ๆ เย็น ๆ ต้องมีเวลาในการภาวนาอย่างเอาจริงเอาจัง แต่ว่าจากการที่กระผม/อาตมภาพปฏิบัติมาด้วยตัวเอง ตอนช่วงเช้าภาวนาจนกำลังใจทรงตัวเต็มที่เท่าที่เราทำได้ แต่พอไปทำการทำงาน กระทบกระทั่งกับสารพัดอารมณ์ที่ประเดประดังเข้ามา ก็มักจะไม่พอใช้งาน จึงต้องไปภาวนาเพิ่มเติมตอนพักเที่ยง ดังนั้น..เรื่องของอาหารการกิน จึงไม่ใช่เรื่องสำคัญ สักแต่ว่ายัด ๆ เข้าปาก กลืนลงท้องไปให้อิ่มก็พอ เอาเวลาที่เหลือไปภาวนาให้มากที่สุด เมื่อถึงเวลาช่วงบ่าย เราจะได้อาศัยกำลังนั้นทำงานของเราต่อ พอกระทบกระทั่งกับอารมณ์ต่าง ๆ เข้า ก็มักจะพังเสียก่อนที่จะหมดวัน เราจึงต้องมีการภาวนาในช่วงเย็น หรือช่วงค่ำด้วย เพื่อรักษาอารมณ์ใจให้ต่อเนื่องกัน พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ สามารถอ่านต่อที่เว็บบอร์ดพระนิพพาน https://www.thenirvanalive.com/community/postid/99/
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 457 Views 0 Reviews
  • พระมหากษัตริย์ ทรงปิดทองหลังพระ
    เรื่องของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร
    รามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระ
    วชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดย พระครูวิลาศกาญจน
    ธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
    ตัดเสียงมาจาก เสียงธรรมวัดท่าขนุน ๑๒ สิ.ง
    หาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
    #หลวงพ่อเล็ก #วัดท่าขนุน #เสียงธรรม
    #ร10 #ผู้ปิดทองหลังพระ #พระมหากษัตริย์
    พระมหากษัตริย์ ทรงปิดทองหลังพระ เรื่องของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร รามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระ วชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดย พระครูวิลาศกาญจน ธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) ตัดเสียงมาจาก เสียงธรรมวัดท่าขนุน ๑๒ สิ.ง หาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ #หลวงพ่อเล็ก #วัดท่าขนุน #เสียงธรรม #ร10 #ผู้ปิดทองหลังพระ #พระมหากษัตริย์
    Love
    1
    0 Comments 0 Shares 462 Views 45 0 Reviews