• ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน
    ______________________________
    23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
    China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90
    ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน)
    ______________________________
    ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ
    สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม
    หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ)
    บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง
    นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก
    ______________________________
    การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น
    • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV
    • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน
    • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ
    • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม
    • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry)
    สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน
    ______________________________
    ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย
    ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล
    หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้:
    • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง
    • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย
    • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF
    • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่
    • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง
    • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง
    • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง
    ______________________________
    สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
    การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง
    การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED
    สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง
    ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน
    ______________________________
    ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน
    สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ
    KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่
    รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
    ______________________________
    สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต
    อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ
    https://shorturl.asia/6GnqX
    ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942
    ______________________________

    10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน)
    1. แร่ดีบุก (Tin)
    o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563
    o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region)
    2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน
    o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region)
    3. ทองแดง (Copper)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร
    o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State)
    4. ตะกั่ว (Lead)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State)
    5. สังกะสี (Zinc)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ
    o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region)
    6. นิกเกิล (Nickel)
    o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน
    7. พลวง (Antimony)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน
    o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    8. ทังสเตน (Tungsten)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง
    o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น
    9. ทองคำ (Gold)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก
    o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ
    o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย
    10. อิตเทรียม (Yttrium)
    o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ
    o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร
    ______________________________
    ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน ______________________________ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90 ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน) ______________________________ ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ) บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก ______________________________ การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry) สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน ______________________________ ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้: • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่ • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง ______________________________ สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน ______________________________ ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่ รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ______________________________ สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ https://shorturl.asia/6GnqX ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942 ______________________________ 10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน) 1. แร่ดีบุก (Tin) o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563 o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region) 2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์ o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region) 3. ทองแดง (Copper) o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State) 4. ตะกั่ว (Lead) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์ o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State) 5. สังกะสี (Zinc) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region) 6. นิกเกิล (Nickel) o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน 7. พลวง (Antimony) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ 8. ทังสเตน (Tungsten) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น 9. ทองคำ (Gold) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย 10. อิตเทรียม (Yttrium) o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร ______________________________
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 174 มุมมอง 0 รีวิว
  • เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.5 แมกนิจูดในเช้าวันอาทิตย์ (13) ใกล้กับเมืองเมกติลา เมืองเล็กๆ ในภาคกลางของพม่า ตามการรายงานของสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ

    แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่พม่ากำลังให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหวขนาด 7.7 แมกนิจูด ที่บริเวณภาคกลางของประเทศเมื่อวันที่ 28 มี.ค. โดยศูนย์กลางของแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดอยู่บริเวณระหว่างเมืองมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ ที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักและมีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวเมื่อเดือนก่อน และกรุงเนปีดอ เมืองหลวง ที่อาคารสำนักงานของรัฐบาลได้รับความเสียหายหลายแห่ง

    ขณะนี้ยังไม่มีรายงานความเสียหายหรือผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งใหม่ ที่เป็นหนึ่งในอาฟเตอร์ช็อกรุนแรงที่สุดจากหลายร้อยครั้งที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค. ซอ มิน ตุน โฆษกรัฐบาลทหารพม่าเปิดเผยว่า นับจนถึงวันศุกร์ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งดังกล่าวแล้ว 3,649 คน ได้รับบาดเจ็บ 5,018 คน

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/indochina/detail/9680000035283

    #MGROnline #แผ่นดินไหว
    เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.5 แมกนิจูดในเช้าวันอาทิตย์ (13) ใกล้กับเมืองเมกติลา เมืองเล็กๆ ในภาคกลางของพม่า ตามการรายงานของสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ • แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่พม่ากำลังให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหวขนาด 7.7 แมกนิจูด ที่บริเวณภาคกลางของประเทศเมื่อวันที่ 28 มี.ค. โดยศูนย์กลางของแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดอยู่บริเวณระหว่างเมืองมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ ที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักและมีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวเมื่อเดือนก่อน และกรุงเนปีดอ เมืองหลวง ที่อาคารสำนักงานของรัฐบาลได้รับความเสียหายหลายแห่ง • ขณะนี้ยังไม่มีรายงานความเสียหายหรือผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งใหม่ ที่เป็นหนึ่งในอาฟเตอร์ช็อกรุนแรงที่สุดจากหลายร้อยครั้งที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค. ซอ มิน ตุน โฆษกรัฐบาลทหารพม่าเปิดเผยว่า นับจนถึงวันศุกร์ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งดังกล่าวแล้ว 3,649 คน ได้รับบาดเจ็บ 5,018 คน • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/indochina/detail/9680000035283 • #MGROnline #แผ่นดินไหว
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 193 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัฐบาลทหารพม่าอนุญาตให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยต่างชาติหลายร้อยคนเข้าช่วยเหลือในวันเสาร์ (29) หลังจากแผ่นดินไหวคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 1,000 คน ที่นับเป็นภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุดที่เกิดขึ้นในประเทศที่ยากจนและได้รับผลกระทบจากสงครามในรอบหลายปี

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000030079
    รัฐบาลทหารพม่าอนุญาตให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยต่างชาติหลายร้อยคนเข้าช่วยเหลือในวันเสาร์ (29) หลังจากแผ่นดินไหวคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 1,000 คน ที่นับเป็นภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุดที่เกิดขึ้นในประเทศที่ยากจนและได้รับผลกระทบจากสงครามในรอบหลายปี อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000030079
    Sad
    Like
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 648 มุมมอง 0 รีวิว
  • เป็นที่รู้กันว่ารัฐบาลทหารพม่าใช้การปิดกั้นอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือควบคุมประชาชนและจำกัดการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้าน แต่ท่ามกลางการปิดกั้นเหล่านี้ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม "สตาร์ลิงค์" (Starlink) ของอีลอน มักส์ (Elon Musk) ได้กลายเป็นความหวังของประชาชน เพื่อฝันในการเชื่อมต่อและไม่ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก

    ปัจจุบัน มีรายงานว่าอินเทอร์เน็ตของ Starlink ถูกให้บริการในมากกว่า 60 แห่งในพื้นที่ของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า เช่น ซะไกง์หรือสะกาย มัคเวย์ คะเรนนี และคะฉิ่น ซึ่งแม้จะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างอิสระมากขึ้น แต่ Starlink ก็กำลังเป็นที่จับตามอง โดยเฉพาะในกรณีของขบวนการหลอกลวงออนไลน์ที่ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงนี้เพื่อดำเนินธุรกิจผิดกฎหมาย

    ในขณะที่ Starlink อาจถูกใช้งานทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ แต่ต้นสังกัดอย่าง "สเปซ เอ็กซ์" (SpaceX) ก็ยังคงเดินหน้าขยายเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง โดยในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2025 บริษัท SpaceX มีกำหนดการปล่อยดาวเทียม Starlink เพิ่มอีก 23 ดวงผ่านจรวด Falcon 9 จากฐานปล่อยจรวด Vandenberg Space Force Base เป้าหมายหลักของการขยายเครือข่ายคือการปรับปรุงการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกลและเพิ่มประสิทธิภาพของบริการ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9680000013337

    #MGROnline #Starlink #ElonMusk
    เป็นที่รู้กันว่ารัฐบาลทหารพม่าใช้การปิดกั้นอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือควบคุมประชาชนและจำกัดการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้าน แต่ท่ามกลางการปิดกั้นเหล่านี้ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม "สตาร์ลิงค์" (Starlink) ของอีลอน มักส์ (Elon Musk) ได้กลายเป็นความหวังของประชาชน เพื่อฝันในการเชื่อมต่อและไม่ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก • ปัจจุบัน มีรายงานว่าอินเทอร์เน็ตของ Starlink ถูกให้บริการในมากกว่า 60 แห่งในพื้นที่ของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า เช่น ซะไกง์หรือสะกาย มัคเวย์ คะเรนนี และคะฉิ่น ซึ่งแม้จะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างอิสระมากขึ้น แต่ Starlink ก็กำลังเป็นที่จับตามอง โดยเฉพาะในกรณีของขบวนการหลอกลวงออนไลน์ที่ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงนี้เพื่อดำเนินธุรกิจผิดกฎหมาย • ในขณะที่ Starlink อาจถูกใช้งานทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ แต่ต้นสังกัดอย่าง "สเปซ เอ็กซ์" (SpaceX) ก็ยังคงเดินหน้าขยายเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง โดยในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2025 บริษัท SpaceX มีกำหนดการปล่อยดาวเทียม Starlink เพิ่มอีก 23 ดวงผ่านจรวด Falcon 9 จากฐานปล่อยจรวด Vandenberg Space Force Base เป้าหมายหลักของการขยายเครือข่ายคือการปรับปรุงการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกลและเพิ่มประสิทธิภาพของบริการ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9680000013337 • #MGROnline #Starlink #ElonMusk
    Like
    Angry
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 404 มุมมอง 0 รีวิว
  • องค์กรเฝ้าระวังการเลือกตั้งระหว่างประเทศเรียกร้องประชาคมโลกให้ปฏิเสธการสนับสนุนการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐบาลทหารพม่า

    สถาบันระหว่างประเทศเพื่อความช่วยเหลือด้านประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง (International IDEA) เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี (ANFREL) และสโมสรคลับ เดอ มาดริด (Club de Madrid) ได้ออกคำแถลงร่วมโดยย้ำถึงความกังวลที่เคยกล่าวถึงครั้งแรกในคำประกาศปี 2566 ในการปฏิเสธการเลือกตั้งที่นำโดยรัฐบาลทหาร โดยมองว่าเป็นความพยายามที่จะรักษาอำนาจการปกครองของตนเองไว้มากกว่าที่จะฟื้นฟูประชาธิปไตย

    กลุ่มกล่าวว่าการเลือกตั้งที่แท้จริงในพม่านั้นจะเป็นไปไม่ได้ภายใต้เงื่อนไขปัจจุบัน ที่พรรคฝ่ายค้านถูกห้ามมีส่วนร่วม ผู้นำทางการเมืองและนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยถูกจำคุก และเสรีภาพของสื่อถูกปิดกั้น

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/indochina/detail/9680000013060

    #MGROnline #รัฐบาลทหารพม่า
    องค์กรเฝ้าระวังการเลือกตั้งระหว่างประเทศเรียกร้องประชาคมโลกให้ปฏิเสธการสนับสนุนการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐบาลทหารพม่า • สถาบันระหว่างประเทศเพื่อความช่วยเหลือด้านประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง (International IDEA) เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี (ANFREL) และสโมสรคลับ เดอ มาดริด (Club de Madrid) ได้ออกคำแถลงร่วมโดยย้ำถึงความกังวลที่เคยกล่าวถึงครั้งแรกในคำประกาศปี 2566 ในการปฏิเสธการเลือกตั้งที่นำโดยรัฐบาลทหาร โดยมองว่าเป็นความพยายามที่จะรักษาอำนาจการปกครองของตนเองไว้มากกว่าที่จะฟื้นฟูประชาธิปไตย • กลุ่มกล่าวว่าการเลือกตั้งที่แท้จริงในพม่านั้นจะเป็นไปไม่ได้ภายใต้เงื่อนไขปัจจุบัน ที่พรรคฝ่ายค้านถูกห้ามมีส่วนร่วม ผู้นำทางการเมืองและนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยถูกจำคุก และเสรีภาพของสื่อถูกปิดกั้น • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/indochina/detail/9680000013060 • #MGROnline #รัฐบาลทหารพม่า
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 356 มุมมอง 0 รีวิว
  • เอเอฟพี - ความพยายามของรัฐบาลทหารพม่าในการเปิดประมูลบ้านริมทะเลสาบของอองซานซูจีในวันพุธ (5) ยังคงไม่ประสบความสำเร็จเช่นเคย เนื่องจากไม่มีผู้ยื่นประมูลบ้านของอดีตผู้นำประชาธิปไตยรายนี้ ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 3 แล้ว

    บ้านสองชั้นในย่างกุ้งที่มีพื้นที่ราว 0.8 เฮกตาร์ ถูกนำออกประมูลขายด้วยราคาขั้นต่ำที่ 140 ล้านดอลลาร์ หลังจากมีข้อพิพาทเรื่องทรัพย์สินระหว่างอองซานซูจีและพี่ชายของเธอมายาวนานนับสิบปี

    ซูจีที่ถูกกักบริเวณในบ้านเป็นเวลาหลายปีภายใต้รัฐบาลทหารชุดก่อน ถูกคุมขังนับตั้งแต่กองทัพยึดอำนาจอีกครั้งเมื่อเดือนก.พ. 2564

    นักข่าวราว 12 คน ได้เข้าร่วมชมการประมูลที่จัดขึ้นริมถนนหน้าบ้านที่ตั้งอยู่บนบนถนนยูนิเวอร์ซิตี้ ที่มีต้นไม้ปกคลุมร่มรื่น และอยู่ห่างจากสถานทูตสหรัฐฯ ไม่ไกลนัก

    หลังจากเจ้าหน้าที่เปิดเรียกประมูลที่เริ่มต้นที่ 297,000 ล้านจ๊าต หรือประมาณ 140 ล้านดอลลาร์ตามอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการ กลับไม่ได้รับการตอบรับใดๆ ทำให้ผู้จัดประมูลยกเลิกการประมูลดังกล่าว ผู้สื่อข่าวของเอเอฟพีที่อยู่ในสถานที่ระบุ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/indochina/detail/9680000011775

    #MGROnline #รัฐบาลทหารพม่า #บ้านริมทะเลสาบ #อองซานซูจี
    เอเอฟพี - ความพยายามของรัฐบาลทหารพม่าในการเปิดประมูลบ้านริมทะเลสาบของอองซานซูจีในวันพุธ (5) ยังคงไม่ประสบความสำเร็จเช่นเคย เนื่องจากไม่มีผู้ยื่นประมูลบ้านของอดีตผู้นำประชาธิปไตยรายนี้ ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 3 แล้ว • บ้านสองชั้นในย่างกุ้งที่มีพื้นที่ราว 0.8 เฮกตาร์ ถูกนำออกประมูลขายด้วยราคาขั้นต่ำที่ 140 ล้านดอลลาร์ หลังจากมีข้อพิพาทเรื่องทรัพย์สินระหว่างอองซานซูจีและพี่ชายของเธอมายาวนานนับสิบปี • ซูจีที่ถูกกักบริเวณในบ้านเป็นเวลาหลายปีภายใต้รัฐบาลทหารชุดก่อน ถูกคุมขังนับตั้งแต่กองทัพยึดอำนาจอีกครั้งเมื่อเดือนก.พ. 2564 • นักข่าวราว 12 คน ได้เข้าร่วมชมการประมูลที่จัดขึ้นริมถนนหน้าบ้านที่ตั้งอยู่บนบนถนนยูนิเวอร์ซิตี้ ที่มีต้นไม้ปกคลุมร่มรื่น และอยู่ห่างจากสถานทูตสหรัฐฯ ไม่ไกลนัก • หลังจากเจ้าหน้าที่เปิดเรียกประมูลที่เริ่มต้นที่ 297,000 ล้านจ๊าต หรือประมาณ 140 ล้านดอลลาร์ตามอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการ กลับไม่ได้รับการตอบรับใดๆ ทำให้ผู้จัดประมูลยกเลิกการประมูลดังกล่าว ผู้สื่อข่าวของเอเอฟพีที่อยู่ในสถานที่ระบุ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/indochina/detail/9680000011775 • #MGROnline #รัฐบาลทหารพม่า #บ้านริมทะเลสาบ #อองซานซูจี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 436 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัฐบาลทหารพม่าเผยวันนี้ (21) ว่าได้เนรเทศผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการหลอกลวงทางออนไลน์กลับจีนไปแล้วมากกว่า 50,000 คน นับตั้งแต่เดือนต.ค. 2566 ขณะที่รัฐบาลทหารพม่าได้ร้องขอให้ประเทศเพื่อนบ้านเข้าแทรกแซงในเรื่องนี้

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000006509

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    รัฐบาลทหารพม่าเผยวันนี้ (21) ว่าได้เนรเทศผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการหลอกลวงทางออนไลน์กลับจีนไปแล้วมากกว่า 50,000 คน นับตั้งแต่เดือนต.ค. 2566 ขณะที่รัฐบาลทหารพม่าได้ร้องขอให้ประเทศเพื่อนบ้านเข้าแทรกแซงในเรื่องนี้ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000006509 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    Haha
    Wow
    26
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 972 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัฐบาลทหารพม่าเผยวันนี้ (21) ว่าได้เนรเทศผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการหลอกลวงทางออนไลน์กลับจีนไปแล้วมากกว่า 50,000 คน นับตั้งแต่เดือนต.ค. 2566 ขณะที่รัฐบาลทหารพม่าได้ร้องขอให้ประเทศเพื่อนบ้านเข้าแทรกแซงในเรื่องนี้

    ขบวนการหลอกลวงทางออนไลน์ผุดขึ้นราวดอกเห็ดทั่วบริเวณพื้นที่ชายแดนของพม่า และมีชาวต่างชาติทำงานอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ส่วนใหญ่มักถูกค้ามนุษย์หรือถูกบังคับให้ทำงานหลอกเพื่อนร่วมชาติของพวกเขา ในอุตสาหกรรมที่นักวิเคราะห์กล่าวว่ามีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์

    บทบรรณาธิการที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์โกลบอล นิว ไลท์ ออฟ เมียนมาร์ ฉบับวันอังคาร (21) ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตของกิจกรรมทางอาชญากรรม ที่รวมถึงการหลอกลวงออนไลน์และการพนัน ต่อสาธารณะเป็นครั้งแรก

    รายงานระบุว่ารัฐบาลทหารได้จับกุมและส่งตัวชาวต่างชาติกว่า 55,000 คน ที่เกี่ยวข้องกับการหลอกลวงชายแดนกลับประเทศบ้านเกิดตั้งแต่เดือนต.ค. 2566 โดยกว่า 53,000 คน ถูกส่งไปจีน

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/indochina/detail/9680000006509

    #MGROnline #รัฐบาลทหารพม่า
    รัฐบาลทหารพม่าเผยวันนี้ (21) ว่าได้เนรเทศผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการหลอกลวงทางออนไลน์กลับจีนไปแล้วมากกว่า 50,000 คน นับตั้งแต่เดือนต.ค. 2566 ขณะที่รัฐบาลทหารพม่าได้ร้องขอให้ประเทศเพื่อนบ้านเข้าแทรกแซงในเรื่องนี้ • ขบวนการหลอกลวงทางออนไลน์ผุดขึ้นราวดอกเห็ดทั่วบริเวณพื้นที่ชายแดนของพม่า และมีชาวต่างชาติทำงานอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ส่วนใหญ่มักถูกค้ามนุษย์หรือถูกบังคับให้ทำงานหลอกเพื่อนร่วมชาติของพวกเขา ในอุตสาหกรรมที่นักวิเคราะห์กล่าวว่ามีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ • บทบรรณาธิการที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์โกลบอล นิว ไลท์ ออฟ เมียนมาร์ ฉบับวันอังคาร (21) ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตของกิจกรรมทางอาชญากรรม ที่รวมถึงการหลอกลวงออนไลน์และการพนัน ต่อสาธารณะเป็นครั้งแรก • รายงานระบุว่ารัฐบาลทหารได้จับกุมและส่งตัวชาวต่างชาติกว่า 55,000 คน ที่เกี่ยวข้องกับการหลอกลวงชายแดนกลับประเทศบ้านเกิดตั้งแต่เดือนต.ค. 2566 โดยกว่า 53,000 คน ถูกส่งไปจีน • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/indochina/detail/9680000006509 • #MGROnline #รัฐบาลทหารพม่า
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 348 มุมมอง 0 รีวิว
  • กองกำลังของรัฐบาลทหารพม่าควบคุมพื้นที่ได้ไม่ถึงครึ่งของประเทศหลังจากพ่ายแพ้ในสนามรบหลายครั้งในปี 2567 รวมถึงสูญเสียกองบัญชาการในรัฐชาน และรัฐยะไข่ กลุ่มติดอาวุธระบุ

    ในเดือน มิ.ย. พันธมิตรสามภราดรภาพของกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ ได้กลับมาเปิดฉากโจมตีในรัฐชาน และภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติพม่า ยึดเมืองล่าเสี้ยวที่มีประชากร 130,000 คน ที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าและการบริหารของภูมิภาค และประตูสู่จีนไว้ได้

    สมาชิกอีกกลุ่มของพันธมิตรสามภราดรภาพคือ กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง ยังได้เข้ายึดเมืองสำคัญของรัฐชานอย่างเมืองหนองเขียว และเมืองจ๊อกแม รวมถึงเมืองโมกก ที่เป็นเมืองทำเหมืองอัญมณี ในภาคมัณฑะเลย์ที่อยู่ใกล้กัน

    ชัยชนะในเดือน ก.ค. และ ส.ค. ทำให้รัฐบาลทหารเกือบไม่มีดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของตนเองในรัฐชาน พื้นที่สำคัญสำหรับการค้าชายแดนกับจีน

    “การบริหารของรัฐบาลทหารสิ้นสุดลงอย่างสิ้นเชิงที่นี่” ชาวเมืองกุตก่าย เมืองในพื้นที่ตอนเหนือของรัฐชาน ที่เป็นจุดสำคัญของการโจมตีทางอากาศของรัฐบาลทหารในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา กล่าว

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/indochina/detail/9680000000694

    #MGROnline #รัฐบาลทหารพม่า
    กองกำลังของรัฐบาลทหารพม่าควบคุมพื้นที่ได้ไม่ถึงครึ่งของประเทศหลังจากพ่ายแพ้ในสนามรบหลายครั้งในปี 2567 รวมถึงสูญเสียกองบัญชาการในรัฐชาน และรัฐยะไข่ กลุ่มติดอาวุธระบุ • ในเดือน มิ.ย. พันธมิตรสามภราดรภาพของกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ ได้กลับมาเปิดฉากโจมตีในรัฐชาน และภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติพม่า ยึดเมืองล่าเสี้ยวที่มีประชากร 130,000 คน ที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าและการบริหารของภูมิภาค และประตูสู่จีนไว้ได้ • สมาชิกอีกกลุ่มของพันธมิตรสามภราดรภาพคือ กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง ยังได้เข้ายึดเมืองสำคัญของรัฐชานอย่างเมืองหนองเขียว และเมืองจ๊อกแม รวมถึงเมืองโมกก ที่เป็นเมืองทำเหมืองอัญมณี ในภาคมัณฑะเลย์ที่อยู่ใกล้กัน • ชัยชนะในเดือน ก.ค. และ ส.ค. ทำให้รัฐบาลทหารเกือบไม่มีดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของตนเองในรัฐชาน พื้นที่สำคัญสำหรับการค้าชายแดนกับจีน • “การบริหารของรัฐบาลทหารสิ้นสุดลงอย่างสิ้นเชิงที่นี่” ชาวเมืองกุตก่าย เมืองในพื้นที่ตอนเหนือของรัฐชาน ที่เป็นจุดสำคัญของการโจมตีทางอากาศของรัฐบาลทหารในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา กล่าว • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/indochina/detail/9680000000694 • #MGROnline #รัฐบาลทหารพม่า
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 519 มุมมอง 0 รีวิว

  • *นักรบอเมริกันและอังกฤษเข้าพม่าแล้ว*
    โดย นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัย

    จะควบคุมไม่ให้จีนมีความสงบที่จะพัฒนาจนกลายเป็นมหาอำนาจแข่งกับตัวเอง สหรัฐฯและตะวันตกต้องหนุนไต้หวัน

    จะให้รัสเซียเสียสมาธิในการพัฒนาประเทศใหญ่และมีทรัพยากรมากที่สุดในโลก

    สหรัฐฯและตะวันตกต้องหนุนอูเครน จอร์เจีย และประเทศทั้งหลายที่มีพรมแดนประชิดติดกับรัสเซีย สร้างสงครามเพื่อฉุดรัสเซียให้ลงมา

    อิหร่านเป็นประเทศใหญ่และมีท่าทีเป็นศัตรูต่อสหรัฐฯ สหรัฐฯและตะวันตกจำเป็นต้องหนุนอาเซอร์ไบจาน ต่อไปในอนาคต

    สหรัฐฯจะเผชิญกับมหาอำนาจใหม่อย่างจีน รัสเซีย และอินเดีย

    มีอยู่ประเทศหนึ่งซึ่งถ้าสหรัฐฯและตะวันตกสามารถเข้าไปมีอิทธิพลได้ ก็สามารถสร้างความหงุดหงิดกังวลใจให้ทั้งจีนและอินเดียได้ ประเทศนั้นคือ “สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า”

    พม่ามีพื้นที่มากกว่าไทย คือมีมากถึง 676,578 ตร.กม. มีพรมแดนติดกับจีนยาว 2,129 กิโลเมตร และติดอินเดีย 1,468 กิโลเมตร หากสหรัฐฯและตะวันตกมีอิทธิพลต่อรัฐบาลใหม่ของพม่า ก็สามารถใช้พม่าเป็นฐานก่อกวนได้ทั้งอินเดียและจีน ยิงปืนนัดเดียว นกตกลงมาทั้ง 2 ตัว

    สำนักข่าวเดอะบิสซิเนสสแตนดาร์ดและสำนักข่าวอัลจาซีราห์ยืนยันตรงกันว่า มีอาสาสมัครจากตะวันตก สัญชาติอเมริกันและอังกฤษ เข้าร่วมรบต่อต้านรัฐบาลพม่า

    เมื่อถามว่า พวกคุณมารบทำไม ทหารตะวันตกพวกนี้ตอบว่า พวกตนได้แรงบันดาลใจจากความกล้าหาญของพวกต่อต้านรัฐประหาร จึงต้องมาช่วยรบ

    นักรบอเมริกันและอังกฤษพวกนี้เคยปฏิบัติงานทั้งในอัฟกานิสถานและอูเครน ขณะกำลังสู้รบเคียงบ่าเคียงไหล่กับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าก็มีการถ่ายคลิปวิดีโอกระจายออกไป เพื่อดึงคนที่สนใจให้เข้ามาช่วยกันรบ

    ขณะนี้มีการเตรียมตั้งทีมทหารที่เคยผ่านสงครามในหลายสมรภูมิ ชาวสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย ฯลฯ เพื่อเข้ามาช่วยฝ่ายต่อต้าน

    พม่าประกอบด้วย 7 ภาค และ 7 รัฐ แต่ละภาคและรัฐมีเมืองเอก หรือเมืองหลวงเป็นของตนเอง เช่น ภาคสะกาย ภาคมัณฑะเลย์ ภาคมะเกว ภาคพะโค ภาคย่างกุ้ง ทั้ง 5 ภาค มีเมืองหลวงชื่อเดียวกับชื่อภาค

    ยกเว้นภาคเอยาวดีที่มีเมืองหลวงชื่อพะสิม และภาคตะนาวศรีที่มีเมืองหลวงชื่อทวาย

    ประชาชนคนในภาคส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า หากประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยก็จะถูกตั้งเป็นรัฐ

    รัฐคะฉิ่น (เมืองหลวงคือมิตจินา) รัฐคะยา (ลอยก่อ) รัฐกะเหรี่ยง (พะอัน) รัฐชิน (ฮะคา) รัฐมอญ (เมาะลำไย) รัฐยะไข่ (ชิตตเว) และรัฐฉาน (ตองจี) รัฐเหล่านี้มีทหารตะวันตกเข้าไปฝังตัวแล้ว

    หลายคนเปิดเผยตัวตนผ่านคลิป บางคนบอกว่า อ้า ข้าพเจ้ามาจากสหรัฐฯตอนใต้ บางคนมาจากอังกฤษที่เคยช่วยกองกำลังวายพีจีที่นำโดยชาวเคิร์ดในซีเรีย ทุกคนบอกว่าที่ตนมาปฏิบัติการนี้ เป็นการปฏิบัติการเพื่อชาวโลกอย่างเดียวกับที่ช่วยซีเรียกับอูเครน

    กลุ่มศาสนาก็เอากับเขาด้วย นอกจากกลุ่มมนุษยธรรมคริสเตียน (เอฟบีอาร์) จะให้สิ่งของและการรักษาพยาบาลแล้ว ยังมีภาพและคลิปของสมาชิกเอฟบีอาร์แต่งชุดติดอาวุธ

    พม่าจะเป็นพื้นที่แห่งใหม่ที่มหาอำนาจใหญ่ใช้ประลองกำลัง ขณะที่ตะวันตกส่งทหารรับจ้างมาปฏิบัติงาน มีข่าวที่ไม่ได้ยืนยันว่า รัสเซียส่งครูมาสอนวิธีการใช้อาวุธรัสเซียให้กับทหารพม่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลพม่าก็เดินทางไปเยือนจีนกับรัสเซียเพื่อจัดหาโดรนมาใช้ในการสู้รบ

    ไทยมีพรมแดนประชิดติดกับพม่า 2,416 กิโลเมตร เป็นพรมแดนที่ยาวที่สุดที่พม่ามีกับประเทศอื่น นอกจากนั้นยังมีชาวพม่าเข้ามาทำงานในประเทศไทยหลายล้านคน แน่นอนว่าหายนภัยที่มาจากการสู้รบ ต้องกระทบกับประเทศไทยของเราอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง

    โลกกำลังมีการเปลี่ยนแปลงรุนแรง ทั้งด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองระหว่างประเทศ ตอนที่เกิดสงครามรัสเซีย-อูเครน หลายท่านก็เฉยๆ เพราะคิดว่าสถานที่สู้รบอยู่ห่างไกลจากประเทศไทย

    ตอนที่เกิดความขัดแย้งจีน-ไต้หวัน หลายคนก็บอก โอย ไกลจากไทยเยอะแยะ อย่าไปสนใจ

    อ้าว เฮ้ย วันนี้ สงครามใหญ่ใกล้ประชิดติดพรมแดนของเราแล้ว..
    *นักรบอเมริกันและอังกฤษเข้าพม่าแล้ว* โดย นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัย จะควบคุมไม่ให้จีนมีความสงบที่จะพัฒนาจนกลายเป็นมหาอำนาจแข่งกับตัวเอง สหรัฐฯและตะวันตกต้องหนุนไต้หวัน จะให้รัสเซียเสียสมาธิในการพัฒนาประเทศใหญ่และมีทรัพยากรมากที่สุดในโลก สหรัฐฯและตะวันตกต้องหนุนอูเครน จอร์เจีย และประเทศทั้งหลายที่มีพรมแดนประชิดติดกับรัสเซีย สร้างสงครามเพื่อฉุดรัสเซียให้ลงมา อิหร่านเป็นประเทศใหญ่และมีท่าทีเป็นศัตรูต่อสหรัฐฯ สหรัฐฯและตะวันตกจำเป็นต้องหนุนอาเซอร์ไบจาน ต่อไปในอนาคต สหรัฐฯจะเผชิญกับมหาอำนาจใหม่อย่างจีน รัสเซีย และอินเดีย มีอยู่ประเทศหนึ่งซึ่งถ้าสหรัฐฯและตะวันตกสามารถเข้าไปมีอิทธิพลได้ ก็สามารถสร้างความหงุดหงิดกังวลใจให้ทั้งจีนและอินเดียได้ ประเทศนั้นคือ “สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า” พม่ามีพื้นที่มากกว่าไทย คือมีมากถึง 676,578 ตร.กม. มีพรมแดนติดกับจีนยาว 2,129 กิโลเมตร และติดอินเดีย 1,468 กิโลเมตร หากสหรัฐฯและตะวันตกมีอิทธิพลต่อรัฐบาลใหม่ของพม่า ก็สามารถใช้พม่าเป็นฐานก่อกวนได้ทั้งอินเดียและจีน ยิงปืนนัดเดียว นกตกลงมาทั้ง 2 ตัว สำนักข่าวเดอะบิสซิเนสสแตนดาร์ดและสำนักข่าวอัลจาซีราห์ยืนยันตรงกันว่า มีอาสาสมัครจากตะวันตก สัญชาติอเมริกันและอังกฤษ เข้าร่วมรบต่อต้านรัฐบาลพม่า เมื่อถามว่า พวกคุณมารบทำไม ทหารตะวันตกพวกนี้ตอบว่า พวกตนได้แรงบันดาลใจจากความกล้าหาญของพวกต่อต้านรัฐประหาร จึงต้องมาช่วยรบ นักรบอเมริกันและอังกฤษพวกนี้เคยปฏิบัติงานทั้งในอัฟกานิสถานและอูเครน ขณะกำลังสู้รบเคียงบ่าเคียงไหล่กับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าก็มีการถ่ายคลิปวิดีโอกระจายออกไป เพื่อดึงคนที่สนใจให้เข้ามาช่วยกันรบ ขณะนี้มีการเตรียมตั้งทีมทหารที่เคยผ่านสงครามในหลายสมรภูมิ ชาวสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย ฯลฯ เพื่อเข้ามาช่วยฝ่ายต่อต้าน พม่าประกอบด้วย 7 ภาค และ 7 รัฐ แต่ละภาคและรัฐมีเมืองเอก หรือเมืองหลวงเป็นของตนเอง เช่น ภาคสะกาย ภาคมัณฑะเลย์ ภาคมะเกว ภาคพะโค ภาคย่างกุ้ง ทั้ง 5 ภาค มีเมืองหลวงชื่อเดียวกับชื่อภาค ยกเว้นภาคเอยาวดีที่มีเมืองหลวงชื่อพะสิม และภาคตะนาวศรีที่มีเมืองหลวงชื่อทวาย ประชาชนคนในภาคส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า หากประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยก็จะถูกตั้งเป็นรัฐ รัฐคะฉิ่น (เมืองหลวงคือมิตจินา) รัฐคะยา (ลอยก่อ) รัฐกะเหรี่ยง (พะอัน) รัฐชิน (ฮะคา) รัฐมอญ (เมาะลำไย) รัฐยะไข่ (ชิตตเว) และรัฐฉาน (ตองจี) รัฐเหล่านี้มีทหารตะวันตกเข้าไปฝังตัวแล้ว หลายคนเปิดเผยตัวตนผ่านคลิป บางคนบอกว่า อ้า ข้าพเจ้ามาจากสหรัฐฯตอนใต้ บางคนมาจากอังกฤษที่เคยช่วยกองกำลังวายพีจีที่นำโดยชาวเคิร์ดในซีเรีย ทุกคนบอกว่าที่ตนมาปฏิบัติการนี้ เป็นการปฏิบัติการเพื่อชาวโลกอย่างเดียวกับที่ช่วยซีเรียกับอูเครน กลุ่มศาสนาก็เอากับเขาด้วย นอกจากกลุ่มมนุษยธรรมคริสเตียน (เอฟบีอาร์) จะให้สิ่งของและการรักษาพยาบาลแล้ว ยังมีภาพและคลิปของสมาชิกเอฟบีอาร์แต่งชุดติดอาวุธ พม่าจะเป็นพื้นที่แห่งใหม่ที่มหาอำนาจใหญ่ใช้ประลองกำลัง ขณะที่ตะวันตกส่งทหารรับจ้างมาปฏิบัติงาน มีข่าวที่ไม่ได้ยืนยันว่า รัสเซียส่งครูมาสอนวิธีการใช้อาวุธรัสเซียให้กับทหารพม่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลพม่าก็เดินทางไปเยือนจีนกับรัสเซียเพื่อจัดหาโดรนมาใช้ในการสู้รบ ไทยมีพรมแดนประชิดติดกับพม่า 2,416 กิโลเมตร เป็นพรมแดนที่ยาวที่สุดที่พม่ามีกับประเทศอื่น นอกจากนั้นยังมีชาวพม่าเข้ามาทำงานในประเทศไทยหลายล้านคน แน่นอนว่าหายนภัยที่มาจากการสู้รบ ต้องกระทบกับประเทศไทยของเราอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง โลกกำลังมีการเปลี่ยนแปลงรุนแรง ทั้งด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองระหว่างประเทศ ตอนที่เกิดสงครามรัสเซีย-อูเครน หลายท่านก็เฉยๆ เพราะคิดว่าสถานที่สู้รบอยู่ห่างไกลจากประเทศไทย ตอนที่เกิดความขัดแย้งจีน-ไต้หวัน หลายคนก็บอก โอย ไกลจากไทยเยอะแยะ อย่าไปสนใจ อ้าว เฮ้ย วันนี้ สงครามใหญ่ใกล้ประชิดติดพรมแดนของเราแล้ว..
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 735 มุมมอง 0 รีวิว