• คมนาคมทุบโต๊ะ รถเมล์ร้อนหมดไป

    การหารือแนวทางแก้ไขปัญหาการเดินรถโดยสารประจำทางสายที่ 2-38 (สาย 8 เดิม) ที่มีนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2567 มีประเด็นที่น่าสนใจก็คือ นโยบายลดจำนวนรถธรรมดา หรือรถร้อน เปลี่ยนเป็นรถปรับอากาศ หรือรถแอร์ทั้งหมด ภายในปี 2568 คาดหวังว่ารถร้อนจะหายไปจากถนน นายสุรพงษ์กล่าวว่า ต้นทุนของรถร้อนและรถแอร์ไม่ต่างกัน แต่การจัดเก็บค่าโดยสารค่อนข้างสูงเกินไป จึงมอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกไปศึกษาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมใหม่ โดยเบื้องต้นพบว่า ต้นทุนเฉลี่ยรถแอร์ของเอกชนอยู่ที่ประมาณ 18 บาทต่อคน

    นอกจากนี้ ยังต้องการให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถใช้บริการรถเมล์ของเอกชนได้ เช่นเดียวกับรถเมล์ ขสมก. จึงได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก คณะกรรมการขนส่งทางบกกลาง และเอกชนผู้เดินรถ เชื่อมต่อเข้ากับระบบเคลียร์ริ่งเฮ้าส์ของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยืนยันว่าไม่มีใครอยากนั่งรถร้อนแต่อยู่ที่ราคา ประชาชนอยากนั่งรถที่ดีและราคาถูกเท่านั้นเอง ซึ่งรัฐต้องดูแลกลุ่มเปราะบางอย่างเต็มที่ โดยตัวแทนจากบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถ 124 เส้นทาง รับปากว่าไม่เกินต้นปี 2568 จะปรับระบบสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในกรุงเทพฯ ที่มีอยู่ในระบบประมาณ 6-7 แสนคน

    ด้านนายกิตติกานต์ จอมดวง จารุวรพลกุล ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า ได้รับงบผูกพัน 7 ปี (2568-2575) ในโครงการจัดหารถโดยสารปรับอากาศ EV จำนวน 1,520 คัน ด้วยวิธีการเช่า ประมูลแบบ e-bidding วงเงิน 15,355 ล้านบาท อยู่ระหว่างรอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา ตามแผนงานหากเสนอ ครม.ได้ภายในปีนี้ กระบวนการประมูลแล้วเสร็จ คาดว่าจะสามารถเริ่มรับมอบได้ภายในเดือน ก.ค. ถึง ส.ค. 2568 ส่วนระยะที่ 2 จำนวน 1,520 คัน จะเป็นรูปแบบการร่วมลงทุนกับเอกชน (PPP) อยู่ระหว่างรอกระทรวงการคลังบรรจุลงใน Project Pipeline

    โดยหลักการเบื้องต้น ขสมก.จะให้เอกชนผู้จัดหารถโดยสาร ขสมก.ดำเนินการเรื่องคนขับและบริหารจัดการเอง พร้อมร่วมลงทุนโดยนำพื้นที่อู่จอดรถเมล์บางเขน มาพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่อลดภาระงบประมาณของรัฐ ซึ่งหาก ขสมก. มีรถ EV ใหม่เข้ามาทั้งหมด 3,040 คัน จะช่วยลดภาระค่าเหมาซ่อมจากปีละ 1,700 ล้านบาทเหลือ 1,000 ล้านบาท ลดค่าพลังงานจากปีละ 2,000 ล้านบาทเหลือ 700 ล้านบาท รวมแล้วลดค่าใช้จ่ายได้ 2,500 ล้านบาทต่อปี

    อนึ่ง รายงานประจำปี 2566 ระบุว่า ปัจจุบัน ขสมก.มีรถโดยสารรวม 2,885 คัน แยกเป็นรถธรรมดา 1,520 คัน และรถปรับอากาศ 1,365 คัน

    #Newskit #ขสมก #รถเมล์แอร์
    คมนาคมทุบโต๊ะ รถเมล์ร้อนหมดไป การหารือแนวทางแก้ไขปัญหาการเดินรถโดยสารประจำทางสายที่ 2-38 (สาย 8 เดิม) ที่มีนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2567 มีประเด็นที่น่าสนใจก็คือ นโยบายลดจำนวนรถธรรมดา หรือรถร้อน เปลี่ยนเป็นรถปรับอากาศ หรือรถแอร์ทั้งหมด ภายในปี 2568 คาดหวังว่ารถร้อนจะหายไปจากถนน นายสุรพงษ์กล่าวว่า ต้นทุนของรถร้อนและรถแอร์ไม่ต่างกัน แต่การจัดเก็บค่าโดยสารค่อนข้างสูงเกินไป จึงมอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกไปศึกษาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมใหม่ โดยเบื้องต้นพบว่า ต้นทุนเฉลี่ยรถแอร์ของเอกชนอยู่ที่ประมาณ 18 บาทต่อคน นอกจากนี้ ยังต้องการให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถใช้บริการรถเมล์ของเอกชนได้ เช่นเดียวกับรถเมล์ ขสมก. จึงได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก คณะกรรมการขนส่งทางบกกลาง และเอกชนผู้เดินรถ เชื่อมต่อเข้ากับระบบเคลียร์ริ่งเฮ้าส์ของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยืนยันว่าไม่มีใครอยากนั่งรถร้อนแต่อยู่ที่ราคา ประชาชนอยากนั่งรถที่ดีและราคาถูกเท่านั้นเอง ซึ่งรัฐต้องดูแลกลุ่มเปราะบางอย่างเต็มที่ โดยตัวแทนจากบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถ 124 เส้นทาง รับปากว่าไม่เกินต้นปี 2568 จะปรับระบบสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในกรุงเทพฯ ที่มีอยู่ในระบบประมาณ 6-7 แสนคน ด้านนายกิตติกานต์ จอมดวง จารุวรพลกุล ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า ได้รับงบผูกพัน 7 ปี (2568-2575) ในโครงการจัดหารถโดยสารปรับอากาศ EV จำนวน 1,520 คัน ด้วยวิธีการเช่า ประมูลแบบ e-bidding วงเงิน 15,355 ล้านบาท อยู่ระหว่างรอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา ตามแผนงานหากเสนอ ครม.ได้ภายในปีนี้ กระบวนการประมูลแล้วเสร็จ คาดว่าจะสามารถเริ่มรับมอบได้ภายในเดือน ก.ค. ถึง ส.ค. 2568 ส่วนระยะที่ 2 จำนวน 1,520 คัน จะเป็นรูปแบบการร่วมลงทุนกับเอกชน (PPP) อยู่ระหว่างรอกระทรวงการคลังบรรจุลงใน Project Pipeline โดยหลักการเบื้องต้น ขสมก.จะให้เอกชนผู้จัดหารถโดยสาร ขสมก.ดำเนินการเรื่องคนขับและบริหารจัดการเอง พร้อมร่วมลงทุนโดยนำพื้นที่อู่จอดรถเมล์บางเขน มาพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่อลดภาระงบประมาณของรัฐ ซึ่งหาก ขสมก. มีรถ EV ใหม่เข้ามาทั้งหมด 3,040 คัน จะช่วยลดภาระค่าเหมาซ่อมจากปีละ 1,700 ล้านบาทเหลือ 1,000 ล้านบาท ลดค่าพลังงานจากปีละ 2,000 ล้านบาทเหลือ 700 ล้านบาท รวมแล้วลดค่าใช้จ่ายได้ 2,500 ล้านบาทต่อปี อนึ่ง รายงานประจำปี 2566 ระบุว่า ปัจจุบัน ขสมก.มีรถโดยสารรวม 2,885 คัน แยกเป็นรถธรรมดา 1,520 คัน และรถปรับอากาศ 1,365 คัน #Newskit #ขสมก #รถเมล์แอร์
    Like
    Love
    Angry
    5
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 257 มุมมอง 0 รีวิว
  • รถเมล์แอร์สาย 49 (2-43) เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ บริเวณจุดกลับรถแยกประชานุกูล ปากซอยรัชดาภิเษก 62 ทับสาวแบงก์คนขี่และคนซ้อนรถมอเตอร์ไซค์ตาย2ราย

    26 กันยายน 2567 จากการสอบสวนเบื้องต้น ขณะเกิดเหตุ น.ส.มนัสสนันท์ ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์คันดังกล่าวมาพร้อมกับ น.ส.พิมพ์นิภา บนถนนรัชดาขาเข้า เพื่อที่จะไปทำงานที่ธนาคารแห่งหนึ่ง สาขาวงศ์สว่าง

    ระหว่างที่กำลังยูเทิร์นกลับรถที่บริเวณใต้สะพานข้ามแยกประชานุกูล ได้ถูกรถเมล์สาย 49 ที่วิ่งอยู่เลนขวาเบียดที่ด้านท้ายจนล้มและถูกรถเมล์คันดังกล่าวทับจนเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ

    พ.ต.ท.จตุรพิทย์ กล่าวว่า นายจำนงค์ ให้การว่า ขณะขับรถมาตามเส้นทางบนถนนรัชดาขาเข้ามุ่งหน้า แยกประชานุกูล ถึงที่เกิดเหตุได้วิ่งเลนขวาเพื่อที่จะรอเลี้ยวขวาเข้าถนนประชาชื่น

    จู่ ๆ ก็ได้ยินเสียงดังที่บริเวณล้อหน้าด้านขวา ลักษณะเหยียบเข้ากับวัตถุอะไรบางอย่าง จากนั้นจึงได้จอดรถลงมาดู ก็พบว่าได้ขับรถชนเข้ากับรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวจนมีผู้เสียชีวิต

    อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ต้องสอบปากคำคนขับและตรวจกล้องวงจรปิดหน้ารถและบริเวณโดยรอบที่เกิดเหตุ เพื่อสรุปสาเหตุดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่วนศพทั้งสองได้ให้ทางมูลนิธิดำเนินการส่งนิติเวชโรงบาลตำรวจ เพื่อรอญาติประสานรับศพ ไปประกอบพิธีทางศาสนาต่อไป

    ต่อมา มีแถลงการณ์องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
    เรื่อง ขอแสดงความเสียใจและขออภัยกับครอบครัวผู้เสียชีวิต ระบุว่าจากกรณีรถโดยสารปรับอากาศ สาย 49 (2 – 43) หมายเลข 8 - 55073 เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ บริเวณจุดกลับรถแยกประชานุกูล ปากซอยรัชดาภิเษก 62 เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 เวลา 08.25 น. เป็นเหตุให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และผู้ซ้อนท้าย เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ

    องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่ง และขออภัยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของผู้เสียชีวิต ภายหลังเกิดเหตุ ขสมก. ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่อุบัติเหตุเขตการเดินรถที่ 8 ไปตรวจสอบจุดเกิดเหตุ และได้ติดต่อญาติผู้เสียชีวิต พร้อมทั้ง ประสานบริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) จัดส่งเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการชดเชยค่าเสียหาย และเยียวยาแก่ครอบครัวของผู้เสียชีวิตทั้งหมด ทั้งในส่วนของความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ประกันภัยรถยนต์ที่คุ้มครองผู้ประสบภัยที่ ขสมก. ได้จัดทำไว้ และเพื่อเป็นการแสดงความเสียใจต่อผู้เสียชีวิตและครอบครัว ขสมก. จะร่วมเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรมศพให้กับผู้เสียชีวิตต่อไป

    ทั้งนี้ ขสมก. จะเร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ครอบครัวของผู้ที่เสียชีวิตได้รับการชดเชยและการเยียวยาอย่างครบถ้วน โดย ขสมก. จะปรับปรุงระบบการทำงานและการให้บริการที่ดีขึ้น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นสำคัญ และจะเข้มงวดกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนของการเดินรถ ให้มีความระมัดระวังต่อการปฏิบัติงานให้มากขึ้น เพื่อลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น และเป็นการป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก ลงชื่อ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
    วันที่ 26 กันยายน 2567

    #Thaitimes
    รถเมล์แอร์สาย 49 (2-43) เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ บริเวณจุดกลับรถแยกประชานุกูล ปากซอยรัชดาภิเษก 62 ทับสาวแบงก์คนขี่และคนซ้อนรถมอเตอร์ไซค์ตาย2ราย 26 กันยายน 2567 จากการสอบสวนเบื้องต้น ขณะเกิดเหตุ น.ส.มนัสสนันท์ ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์คันดังกล่าวมาพร้อมกับ น.ส.พิมพ์นิภา บนถนนรัชดาขาเข้า เพื่อที่จะไปทำงานที่ธนาคารแห่งหนึ่ง สาขาวงศ์สว่าง ระหว่างที่กำลังยูเทิร์นกลับรถที่บริเวณใต้สะพานข้ามแยกประชานุกูล ได้ถูกรถเมล์สาย 49 ที่วิ่งอยู่เลนขวาเบียดที่ด้านท้ายจนล้มและถูกรถเมล์คันดังกล่าวทับจนเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ พ.ต.ท.จตุรพิทย์ กล่าวว่า นายจำนงค์ ให้การว่า ขณะขับรถมาตามเส้นทางบนถนนรัชดาขาเข้ามุ่งหน้า แยกประชานุกูล ถึงที่เกิดเหตุได้วิ่งเลนขวาเพื่อที่จะรอเลี้ยวขวาเข้าถนนประชาชื่น จู่ ๆ ก็ได้ยินเสียงดังที่บริเวณล้อหน้าด้านขวา ลักษณะเหยียบเข้ากับวัตถุอะไรบางอย่าง จากนั้นจึงได้จอดรถลงมาดู ก็พบว่าได้ขับรถชนเข้ากับรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวจนมีผู้เสียชีวิต อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ต้องสอบปากคำคนขับและตรวจกล้องวงจรปิดหน้ารถและบริเวณโดยรอบที่เกิดเหตุ เพื่อสรุปสาเหตุดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่วนศพทั้งสองได้ให้ทางมูลนิธิดำเนินการส่งนิติเวชโรงบาลตำรวจ เพื่อรอญาติประสานรับศพ ไปประกอบพิธีทางศาสนาต่อไป ต่อมา มีแถลงการณ์องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เรื่อง ขอแสดงความเสียใจและขออภัยกับครอบครัวผู้เสียชีวิต ระบุว่าจากกรณีรถโดยสารปรับอากาศ สาย 49 (2 – 43) หมายเลข 8 - 55073 เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ บริเวณจุดกลับรถแยกประชานุกูล ปากซอยรัชดาภิเษก 62 เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 เวลา 08.25 น. เป็นเหตุให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และผู้ซ้อนท้าย เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่ง และขออภัยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของผู้เสียชีวิต ภายหลังเกิดเหตุ ขสมก. ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่อุบัติเหตุเขตการเดินรถที่ 8 ไปตรวจสอบจุดเกิดเหตุ และได้ติดต่อญาติผู้เสียชีวิต พร้อมทั้ง ประสานบริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) จัดส่งเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการชดเชยค่าเสียหาย และเยียวยาแก่ครอบครัวของผู้เสียชีวิตทั้งหมด ทั้งในส่วนของความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ประกันภัยรถยนต์ที่คุ้มครองผู้ประสบภัยที่ ขสมก. ได้จัดทำไว้ และเพื่อเป็นการแสดงความเสียใจต่อผู้เสียชีวิตและครอบครัว ขสมก. จะร่วมเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรมศพให้กับผู้เสียชีวิตต่อไป ทั้งนี้ ขสมก. จะเร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ครอบครัวของผู้ที่เสียชีวิตได้รับการชดเชยและการเยียวยาอย่างครบถ้วน โดย ขสมก. จะปรับปรุงระบบการทำงานและการให้บริการที่ดีขึ้น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นสำคัญ และจะเข้มงวดกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนของการเดินรถ ให้มีความระมัดระวังต่อการปฏิบัติงานให้มากขึ้น เพื่อลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น และเป็นการป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก ลงชื่อ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ วันที่ 26 กันยายน 2567 #Thaitimes
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 957 มุมมอง 0 รีวิว