• บทความน่าสนใจของเพจวิเคราะห์บอลจริงจังเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2567 มีประเด็นที่มาของการแพ้คดีที่สมาคมฟุตบอลฯยุคพลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วงฟ้องบริษัทสยามสปอร์ต ซินดิเคท ต่อมาศาลทรัพย์สินทางปัญญาตัดสินให้สมาคมฯต้องจ่าย450ล้านบาท เนื้อหาระบุว่า

    “มาดามแป้ง -นวลพรรณ ล่ำซำ โอดครวญว่า เธอต้องเข้ามาเป็นนายกสมาคม แบบ "ติดลบ" เพราะมีหนี้สิน ถูกทิ้งไว้ให้ต้องรับผิดชอบ เป็นจำนวนมหาศาล

    หนี้ที่เธอกล่าวถึง คือ ค่าชดเชยที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ สั่งให้สมาคม ต้องจ่ายให้บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคต เป็นจำนวน 450 ล้านบาท

    คดีนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วทำไมสมาคมถึงแพ้ เราจะไปลำดับเหตุการณ์กันตั้งแต่แรกนะครับ

    ย้อนกลับไป ในปี 2559 พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย และเขาประกาศจุดยืนไว้ว่า "ผมจะเข้ามาเก็บกวาดบ้าน ผมจะเข้ามาจับโจร"

    สิ่งที่ พล.ต.อ.สมยศ ให้ความสำคัญอันดับแรก ไม่ใช่เรื่องของฟุตบอล แต่เป็นการเดินหน้าฟ้องร้อง ผู้ที่มีข้อพิพาทกับสมาคม จำนวนทั้งสิ้น 3 คดี

    2 คดีแรก เกี่ยวกับวรวีร์ มะกูดี เรื่องการสร้างศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติที่หนองจอก และ เรื่องยักยอกทรัพย์ ส่วนคดีที่ 3 เกี่ยวข้องกับบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคต จำกัด (มหาชน)

    ก่อนที่เราจะไปเล่าคดี สมยศ vs สยามสปอร์ต เราจำเป็นต้องปูพื้นแบ็กกราวน์ของเรื่องก่อน เพื่อความเข้าใจในภาพรวมที่ชัดเจนขึ้น

    ฟุตบอลไทยลีก ก่อตั้งในปี 2539 ณ เวลานั้น คนดูในสนามแทบไม่มี ความนิยมตกต่ำมาก

    ในช่วง 5 ปีแรก (2539-2544) สมาคมยุควิจิตร เกตุแก้ว พยายามจัดการด้วยตัวเอง แต่สุดท้ายก็ไปไม่ไหว ขาดทุนยับ

    นั่นทำให้ สุชาติ มุฑุกัณฑ์ ทีมผู้บริหารของสมาคมฟุตบอลขณะนั้น มาขอร้องให้ บริษัท สยามสปอร์ต ช่วยเป็นออร์กาไนเซอร์ จัดการแข่งขันลีกอาชีพขึ้นมา พร้อมทั้งช่วงประชาสัมพันธ์เต็มรูปแบบ เพราะสยามสปอร์ตเป็นสื่อใหญ่ที่มีทรัพยากรในมือ น่าจะช่วยสร้างความนิยมให้ไทยลีกได้

    สิ่งที่จะเอามาแลกเปลี่ยน ก็คือ ให้สยามสปอร์ตเป็น "ผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ของไทยลีก"

    สำหรับส่วนแบ่งของรายได้ในแต่ละปีนั้น มีรายงานว่า

    - ถ้าได้กำไร สยามสปอร์ตจะได้ ส่วนแบ่งกำไร 95% สมาคมได้ 5%
    - ถ้าขาดทุน สยามสปอร์ตต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด

    ถ้าดูตัวเลขนี้ (95% - 5%) ดูเหมือนสยามสปอร์ตจะได้ส่วนแบ่งเยอะก็จริง แต่อย่าลืมว่าตอนนั้นฟุตบอลไทยยังไม่มีมูลค่า ถ้าสมาคมเอาไปทำเอง อย่าว่าแต่กำไร 5% เลย มีแต่จะเข้าเนื้อก็เท่านั้น

    และต่อให้สยามสปอร์ตจะเอาไปทำ ก็ใช่ว่าจะได้กำไรมากมายอะไร สุดท้ายสัญญาก็เลยออกมาในรูปแบบนั้น

    ดีลระหว่างสยามสปอร์ต กับ สมาคมในยุควิจิตร เกตุแก้ว ก็เลยเกิดขึ้น โดยสยามสปอร์ตมีหน้าที่ ต้องจัดการแข่งขันและโปรโมท ไทยลีก, ลีกรอง และ ลีกภูมิภาคทั้งหมด

    ระวิ โหลทอง ผู้บริหารสูงสุดของสยามสปอร์ตกล่าวไว้ว่า "ถ้าผมทำฟุตบอลนอกอย่างเดียว ผมก็ไม่ขาดทุนแล้ว แต่เมื่อผมมาทำไทยลีก ก็ไม่อยากให้มีปัญหาต่อกัน ผมลงทุนทำทีมฟุตบอลเพื่อให้วงการสนุก ส่วนตัวแล้วเรื่องเงินทองไม่มีปัญหาสำหรับผม คนอาจจะมองว่าสยามสปอร์ตได้กำไร แต่มันไม่ใช่ หุ้นบริษัทก็ไม่เคยกระดิก"

    นับจากปี 2544 สยามสปอร์ตเป็นผู้บริหารสิทธิประโยชน์ของไทยลีกมาเรื่อยๆ

    ซึ่งระหว่างนี้ นายกสมาคม เปลี่ยนคนจากวิจิตร เกตุแก้ว เป็นวรวีร์ มะกูดี แต่ก็ยังเซ็นสัญญากันต่อเนื่องกันไป ไม่มีปัญหาอะไร

    รายงานจาก Thaipublica เปิดเผยว่าสยามสปอร์ตในฐานะผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ ได้กำไรน้อยมาก โดยเนื้อหาระบุว่า "แม้เม็ดเงินจากสปอนเซอร์ต่างๆ จะไหลผ่านสยามสปอร์ตปีละหลายร้อยล้านบาท แต่ก็มีรายจ่ายที่ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะค่าลิขสิทธิ์ไทยลีกที่ได้จากทรูวิชั่นส์ ต้องเอาไปแบ่งให้ทีมในไทยพรีเมียร์ลีก และดิวิชั่น 1 และเมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายในการถ่ายทอดสด ที่มีข้อบังคับว่า ต้องถ่ายทอดสดปีละไม่ต่ำกว่า 500 แมตช์ คำนวณแล้ว แทบจะไม่เหลือกำไรเท่าไหร่"

    ผู้บริหารระดับสูงของสยามสปอร์ตรายหนึ่งอธิบายว่า "สิ่งที่บริษัทได้รับ ไม่ใช่กำไรจากการเข้าไปดูแลสิทธิประโยชน์โดยตรง แต่เป็นผลประโยชน์ทางอ้อมมากกว่า เพราะยิ่งวงการฟุตบอลไทยเติบโตเท่าไหร่ ยอดขายสื่อในเครือ และเงินค่าโฆษณาก็ยิ่งเติบโตขึ้น"

    ในปี 2556 สมาคมฟุตบอลยุควรวีร์ เซ็นสัญญาระยะยาวกับสยามสปอร์ต ให้เป็นผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ไทยลีก อีก 10 ปี (2556-2565)

    โดยจุดนี้ มีรายงานไม่ตรงกัน บางแหล่งบอกว่า ส่วนแบ่งกำไรอยู่ที่ 95% - 5% ตามเดิม แต่บางแหล่งข่าวบอกว่า ถูกปรับเป็น 50% - 50% แล้ว

    ตอนนั้นแม้จะต่อสัญญากันระยะยาว แต่ดราม่าไม่มี เพราะไทยลีกยังไม่บูม หลายคนมองว่าไทยลีก เป็นเผือกร้อนด้วยซ้ำ ที่โอกาสขาดทุน มากกว่ากำไร

    อย่างไรก็ตาม จุดพลิกผันสำคัญก็เกิดขึ้น ในปี 2557 เมื่อเกิดปรากฏการณ์ "บอลไทยฟีเวอร์"

    เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง รับตำแหน่งเฮดโค้ชทีมชาติ แล้วพาทีมช้างศึกคว้าแชมป์ AFF เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี พร้อมทั้งทำผลงานมาสเตอร์พีซในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก จนทีมไทย เข้าถึงรอบ 12 ทีมสุดท้าย เป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปี

    ทีมชาติชุดใหญ่ มีสตาร์ขึ้นมาประดับวงการพร้อมกันหลายคน เช่น ชนาธิป สรงกระสินธิ์, อดิศักดิ์ ไกรษร, สารัช อยู่เย็น, ชาริล ชัปปุยส์ ฯลฯ ในช่วง AFF จากนั้นก็เพิ่มเติมด้วยผู้เล่นซีเนียร์ ทั้งธีรศิลป์ แดงดา และ ธีราทร บุญมาทัน คือไม่ใช่แค่ชุดใหญ่เท่านั้น แต่บอลเยาวชน ไทยฟอร์มดีมาก คว้าชัยชนะได้ทุกรุ่น

    ทุกอย่างมันส่งเสริมกัน ทำให้ทีมชาติไทย บูมขึ้นแบบพุ่งทะยาน อานิสงส์ก็กลับมาหาไทยลีก ที่มีคนเข้ามาดูอย่างคับคั่ง ทั้งขาจร-ขาประจำ ขณะที่ เรตติ้งถ่ายทอดสดพุ่งสูงมาก

    นักกีฬากลายเป็นไอดอลของเด็กๆ แต่ละคนได้รับงานโฆษณา เป็นรายได้เสริมนอกเหนือจากค่าจ้างในการเล่นฟุตบอลด้วย

    ความนิยมของไทยลีก ทำให้ทรูวิชั่นส์ จ่ายเงินค่าถ่ายทอดสด สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ นั่นคือ สัญญา 4 ปี 4,200 ล้านบาท (เฉลี่ยฤดูกาลละ 1,050 ล้านบาท)

    ไม่ใช่แค่ไทยลีก แต่ลิขสิทธิ์ของทีมชาติชุดใหญ่ ก็ขายได้ราคาดีมาก ในช่วงบอลไทยฟีเวอร์ สามารถขายลิขสิทธิ์ทีมชาติ กับทางไทยรัฐทีวี ได้เงินนัดละ 750,000 บาท

    จากที่สยามสปอร์ต เคยเข้าเนื้อมาหลายๆ ปีติดต่อกัน ในที่สุด เมื่อบอลไทยบูมพร้อมกัน ทั้งสโมสรและทีมชาติ ก็ถึงเวลาที่พวกเขาจะเก็บเกี่ยวกำไรอย่างเป็นชิ้นเป็นอันแล้ว

    แต่แล้วสถานการณ์ก็พลิกผัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เมื่อสมาคมมีการเลือกตั้งนายกครั้งใหม่ และพล.ต.อ.สมยศ เป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้ง ล้างบางขั้วเก่าจนราบคาบ

    สิ่งที่ยังกั๊กๆ กันอยู่ คือพล.ต.อ.สมยศเป็นนายกก็จริง แต่คนดูแลสิทธิประโยชน์ไทยลีก จนถึงปี 2565 ดันเป็นสยามสปอร์ต ซึ่งอยู่ฝั่งขั้วอำนาจเก่าของวรวีร์

    ในมุมของพล.ต.อ.สมยศ จึงเป็นเรื่องกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะตัวเองเป็นนายกสมาคมแท้ๆ แต่ผลกำไรของบอลไทย กลับไปตกอยู่ในมือของอีกขั้วหนึ่ง

    นอกจากนั้น ในมุมของสมาคม มั่นใจว่าถ้าหาผู้ดูแลเจ้าอื่น สมาคมน่าจะได้ส่วนแบ่งมากกว่านี้

    หลังจาก พล.ต.อ.สมยศ ชนะเลือกตั้งเพียงแค่เดือนเดียว มีนาคม 2559 เขาตัดสินใจประกาศ "ยกเลิกสัญญา" กับสยามสปอร์ต ในช่วง 7 ปีที่เหลือ (2559-2565)

    พล.ต.อ.สมยศให้สัมภาษณ์ว่า "เราพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับสมาคม เป็นสัญญาผู้ขาดแต่เพียงผู้เดียว ไม่มีการกำหนดค่าตอบแทนขั้นต่ำให้ ส่งผลให้สมาคม ไม่สามารถวางแผนงบประมาณดำเนินการได้ด้วยตัวเอง"

    อธิบายคือ สัญญาฉบับเดิมที่เซ็นกัน สยามสปอร์ตจะเป็นฝ่ายแจ้งเองว่าปีนี้ได้กำไรเท่าไหร่ แล้วจะแบ่งจัดสรรให้สมาคมเอง แต่ถ้าขาดทุนก็ไม่ต้องจ่าย

    วิธีการนี้ ไม่มีกำหนดว่า ต้องจ่าย "ขั้นต่ำ" เท่าไหร่ คือไม่มีตัวเลขระบุ ฝั่งสมาคมเอง ก็มองว่า แบบนี้จะตกแต่งเลขอย่างไรก็ได้น่ะสิ

    พล.ต.อ.สมยศ กล่าวปิดท้ายว่า "ผมไม่มีความขัดแย้งกับบริษัทสยามสปอร์ต ซินดิเคท ผมเข้ามาทำหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่เป็นนายกฯ สมาคม และอาสาเข้ามาแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งเมื่อเห็นว่ามันไม่ถูกต้อง ก็อยากทำให้ถูกต้อง เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสมาคมฯ และประชาชนชาวไทย"

    หลังจากยกเลิกสัญญากับสยามสปอร์ต 1 เดือนเท่านั้น เมษายน 2559 สมาคมเซ็นสัญญากับ แพลนบี มีเดีย เป็นผู้ดูแลสิทธิประโยชน์รายใหม่แทน

    เซ็นฉบับแรก (4 ปี) ในปี 2559-2563 และเซ็นในฉบับที่สอง (8 ปี) ในช่วงปี 2564-2571

    และคดีความที่เป็นข่าวใหญ่ ก็เริ่มต้นจากจุดนี้

    เพราะฝั่งสยามสปอร์ตยอมไม่ได้ ที่โดนฉีกสัญญาที่เหลืออยู่ถึง 7 ปีทิ้งลงดื้อๆ

    คือในมุมของสยามสปอร์ตนั้น สมาคมของพล.ต.อ.สมยศ จะคิดว่าสัญญาไม่เป็นธรรม หรือ ได้ส่วนแบ่งน้อย หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ในเมื่อมันมีการเซ็นสัญญาอย่างถูกต้องแล้ว มาโดนฉีกทิ้งแบบนี้ เขาก็เสียหายทางธุรกิจเช่นกัน แล้วแผนงานที่เตรียมไว้หลายปีต่อจากนี้ ใครจะรับผิดชอบ

    ที่ผ่านมา เขาลงทุนกับบอลไทยมาตั้งเยอะ แล้วพอวันที่มีโอกาสเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ ก็มาโดนฉีกสัญญาทิ้ง มันยุติธรรมกับเขาหรือไม่?

    นั่นทำให้ สยามสปอร์ตจึงฟ้องสมาคมฟุตบอล ในคดีแพ่ง ข้อหาผิดสัญญา และเรียกค่าเสียหายจำนวน 1,400 ล้านบาท

    ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ รับฟ้องคดีนี้ โดยสยามสปอร์ตเป็นโจทก์ สมาคมฟุตบอลเป็นจำเลย

    ในวันที่ 23 สิงหาคม 2562 ศาลชั้นต้นตัดสินให้สยามสปอร์ตชนะคดี สมาคมฯ ต้องจ่ายเงินชดเชย 50 ล้านบาท โทษฐานบอกเลิกสัญญาโดยมิชอบ

    อย่างไรก็ตามทั้ง 2 ฝ่ายไม่พอใจนักกับผลการตัดสิน โดยฝ่ายกฎหมายของสยามสปอร์ต ให้สัมภาษณ์ว่า "ขอขอบคุณผู้พิพากษาที่ให้ความเป็นธรรมกับเรา อย่างไรก็ตามสยามสปอร์ต จะใช้สิทธิ์อุทธรณ์ในประเด็นเงินค่าเสียหาย ซึ่งทางเรามองว่า มีความเสียหายมากกว่า 50 ล้านบาท"

    แต่ฝั่งสมาคมฯ เองก็ไม่ยอมเช่นกัน โดยพล.ต.อ. สมยศ กล่าวว่า "ผมให้ความเคารพคำสั่งศาล แต่นี่เป็นเพียงศาลชั้นต้น สมาคมจะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาอย่างแน่นอน"

    การต่อสู้คดีในชั้นศาลอุทธรณ์ ดำเนินการมาถึง 2 ปี และในวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 ศาลอุทธรณ์ได้ข้อสรุปว่า ตัวเลข 50 ล้านที่ศาลชั้นต้นสั่งให้สมาคม ชดใช้ มันน้อยเกินไป

    และมีคำพิพากษาแก้ ให้สมาคมฯ จ่ายเงินให้สยามสปอร์ตเพิ่มเป็น 450 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี

    จากศาลชั้นต้น 50 ล้านบาท สุดท้ายมาที่ศาลอุทธรณ์ ตัวเงินเด้งขึ้นไปที่ 450 ล้านบาท

    คำวินิจฉัยจากศาล ระบุว่า

    "แม้การบอกเลิกสัญญาระหว่างจำเลยกับโจทก์ จะทำเพื่อการพัฒนาระบบการบริหารให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีความชัดเจนด้านค่าตอบแทน จำนวนค่าตอบแทน รวมถึง คู่สัญญาที่ฝ่ายจำเลย อาจมองว่ามีความสามารถในการบริหารจัดการมากกว่าก็ตาม ทั้งหมด ก็มิได้เป็นเหตุที่จะบอกเลิกสัญญากับโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์"

    เมื่อจบศาลอุทธรณ์ สยามสปอร์ตเป็นฝ่ายชนะคดีอยู่ แต่ฝั่งพล.ต.อ.สมยศ ยังไม่ยอม และตัดสินใจยื่นไปที่ฎีกาเป็นศาลสุดท้าย

    ตอนนี้การพิจารณาฎีกายังไม่ออกมา แต่สมาคมแพ้มา 2 ศาลแล้ว คงยากมาก ที่จะพลิกสถานการณ์ เอาตัวรอด ไม่เสียเงินในศาลสุดท้าย เพียงแต่จะจบแค่กี่บาทเท่านั้น

    คือฝั่ง พล.ต.อ.สมยศ มีสิทธิ์คิดอย่างไรก็ได้

    - คุณไม่พอใจได้ ที่ยุควรวีร์เซ็นสัญญายาวถึง 10 ปี กับสยามสปอร์ต

    - คุณไม่พอใจได้ ที่มองว่าส่วนแบ่งน้อยเกินไปแค่ 5%

    แต่การแก้ปัญหาไม่ใช่การหักดิบ โดยฉีกสัญญาทิ้ง ทางที่ดีกว่านั้นคือการเจรจาหาข้อตกลงร่วมกัน แต่พอคุณไปยกเลิกดื้อๆ แบบนั้น เขาก็ไปสู้ด้วยกฎหมายสิ

    และในมุมของศาล ก็ต้องตัดสินตามหลักฐานที่มันเป็นจริง แค่นั้นเอง

    ------------------------

    นั่นคือเหตุผลที่มาดามแป้ง ให้สัมภาษณ์ในวันก่อนว่า "แป้งไม่ได้มาตั้งต้นทางการเงินที่ศูนย์ แต่เริ่มจากติดลบ ติดลบ ติดลบ มันไม่แฟร์ แต่ก็ต้องทำ เพราะสมาคมฟุตบอลตั้งขึ้นมา 109 ปี ก็ต้องอยู่ต่อไป"

    เธอออกสตาร์ตมา ยังไม่ทันทำงานทำการ ก็มีหนี้สิ้น 450 ล้านบาท รออยู่ ถือว่าเป็นนายกสมาคมที่เหนื่อยสาหัส ตั้งแต่วันแรกที่รับงานทีเดียว

    เอาจริงๆ ก็เห็นใจมาดามแป้งอยู่ เธอเพิ่งมารับงานได้ไม่ถึงปี แต่เจอสารพัดปัญหาให้ต้องแก้ ทั้งเรื่องมูลค่าบอลไทยตกต่ำ รวมถึงเรื่อง สมาคมติดหนี้ติดสิน คงได้แต่เป็นกำลังใจให้เธอ ผ่านช่วงวิกฤตินี้ไปให้ได้

    กับคำถามคือ จะเอาเงิน 450 ล้านจากไหนมาจ่ายสยามสปอร์ต? หรือว่าจะแลกเปลี่ยนด้วยการบาร์เตอร์ ทำอะไรสักอย่าง เราก็ต้องมาติดตามดูกันต่อไป

    พูดกันตรงๆ ว่า ถ้าคนที่มีหัวด้านธุรกิจ และ ทำงานด้านฟุตบอลมาหลายปี อย่างมาดามแป้ง ยังแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ ก็ไม่รู้จะมีใครในประเทศไทย มาจัดการเรื่องนี้ได้อีก

    สำหรับกรณีเรื่อง สมาคม vs สยามสปอร์ตครั้งนี้ บทเรียนสำคัญคือ ความรู้สึกของคุณจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ จะชอบหรือไม่ชอบก็อีกเรื่องหนึ่ง

    แต่เมื่อมันมีสัญญาผูกพันกันไว้ การไปฉีกสัญญาทิ้งดื้อๆ แบบนี้ มีโอกาสสูงมากที่จะเป็นฝ่ายเจ็บตัวเอง

    สำหรับ พล.ต.อ.สมยศ วันนี้เขาลงจากตำแหน่งไปแล้ว เป้าหมายการจับโจร ที่เขาตั้งใจไว้วันแรก ก็ไม่รู้ว่าสำเร็จไหม จับใครได้หรือเปล่า ยิ่งไปกว่านั้น ยังทำให้สมาคมโดนฟ้องร้องจนเป็นหนี้เป็นสิน เป็นภาระให้คนที่มาสานงานต่ออย่างมาก

    เรื่องนี้ทำให้เห็นว่า การเป็นนายกสมาคมฟุตบอล เป็นภารกิจที่ไม่ง่ายเลย แค่บู๊อย่างเดียวไม่พอ แต่คุณต้องฉลาดรอบรู้อีกด้วย

    ถ้าทำอะไรโดยขาดความยั้งคิด องค์กรก็จะต้องเจอสถานการณ์ลำบาก เป็นภาระให้คนรับงานต่อ เหมือนอย่างที่สมาคมฟุตบอลต้องเผชิญอยู่ในเวลานี้”
    ที่มา : https://www.facebook.com/share/ZvKUvXwxRkMKfBci/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    บทความน่าสนใจของเพจวิเคราะห์บอลจริงจังเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2567 มีประเด็นที่มาของการแพ้คดีที่สมาคมฟุตบอลฯยุคพลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วงฟ้องบริษัทสยามสปอร์ต ซินดิเคท ต่อมาศาลทรัพย์สินทางปัญญาตัดสินให้สมาคมฯต้องจ่าย450ล้านบาท เนื้อหาระบุว่า “มาดามแป้ง -นวลพรรณ ล่ำซำ โอดครวญว่า เธอต้องเข้ามาเป็นนายกสมาคม แบบ "ติดลบ" เพราะมีหนี้สิน ถูกทิ้งไว้ให้ต้องรับผิดชอบ เป็นจำนวนมหาศาล หนี้ที่เธอกล่าวถึง คือ ค่าชดเชยที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ สั่งให้สมาคม ต้องจ่ายให้บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคต เป็นจำนวน 450 ล้านบาท คดีนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วทำไมสมาคมถึงแพ้ เราจะไปลำดับเหตุการณ์กันตั้งแต่แรกนะครับ ย้อนกลับไป ในปี 2559 พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย และเขาประกาศจุดยืนไว้ว่า "ผมจะเข้ามาเก็บกวาดบ้าน ผมจะเข้ามาจับโจร" สิ่งที่ พล.ต.อ.สมยศ ให้ความสำคัญอันดับแรก ไม่ใช่เรื่องของฟุตบอล แต่เป็นการเดินหน้าฟ้องร้อง ผู้ที่มีข้อพิพาทกับสมาคม จำนวนทั้งสิ้น 3 คดี 2 คดีแรก เกี่ยวกับวรวีร์ มะกูดี เรื่องการสร้างศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติที่หนองจอก และ เรื่องยักยอกทรัพย์ ส่วนคดีที่ 3 เกี่ยวข้องกับบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคต จำกัด (มหาชน) ก่อนที่เราจะไปเล่าคดี สมยศ vs สยามสปอร์ต เราจำเป็นต้องปูพื้นแบ็กกราวน์ของเรื่องก่อน เพื่อความเข้าใจในภาพรวมที่ชัดเจนขึ้น ฟุตบอลไทยลีก ก่อตั้งในปี 2539 ณ เวลานั้น คนดูในสนามแทบไม่มี ความนิยมตกต่ำมาก ในช่วง 5 ปีแรก (2539-2544) สมาคมยุควิจิตร เกตุแก้ว พยายามจัดการด้วยตัวเอง แต่สุดท้ายก็ไปไม่ไหว ขาดทุนยับ นั่นทำให้ สุชาติ มุฑุกัณฑ์ ทีมผู้บริหารของสมาคมฟุตบอลขณะนั้น มาขอร้องให้ บริษัท สยามสปอร์ต ช่วยเป็นออร์กาไนเซอร์ จัดการแข่งขันลีกอาชีพขึ้นมา พร้อมทั้งช่วงประชาสัมพันธ์เต็มรูปแบบ เพราะสยามสปอร์ตเป็นสื่อใหญ่ที่มีทรัพยากรในมือ น่าจะช่วยสร้างความนิยมให้ไทยลีกได้ สิ่งที่จะเอามาแลกเปลี่ยน ก็คือ ให้สยามสปอร์ตเป็น "ผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ของไทยลีก" สำหรับส่วนแบ่งของรายได้ในแต่ละปีนั้น มีรายงานว่า - ถ้าได้กำไร สยามสปอร์ตจะได้ ส่วนแบ่งกำไร 95% สมาคมได้ 5% - ถ้าขาดทุน สยามสปอร์ตต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด ถ้าดูตัวเลขนี้ (95% - 5%) ดูเหมือนสยามสปอร์ตจะได้ส่วนแบ่งเยอะก็จริง แต่อย่าลืมว่าตอนนั้นฟุตบอลไทยยังไม่มีมูลค่า ถ้าสมาคมเอาไปทำเอง อย่าว่าแต่กำไร 5% เลย มีแต่จะเข้าเนื้อก็เท่านั้น และต่อให้สยามสปอร์ตจะเอาไปทำ ก็ใช่ว่าจะได้กำไรมากมายอะไร สุดท้ายสัญญาก็เลยออกมาในรูปแบบนั้น ดีลระหว่างสยามสปอร์ต กับ สมาคมในยุควิจิตร เกตุแก้ว ก็เลยเกิดขึ้น โดยสยามสปอร์ตมีหน้าที่ ต้องจัดการแข่งขันและโปรโมท ไทยลีก, ลีกรอง และ ลีกภูมิภาคทั้งหมด ระวิ โหลทอง ผู้บริหารสูงสุดของสยามสปอร์ตกล่าวไว้ว่า "ถ้าผมทำฟุตบอลนอกอย่างเดียว ผมก็ไม่ขาดทุนแล้ว แต่เมื่อผมมาทำไทยลีก ก็ไม่อยากให้มีปัญหาต่อกัน ผมลงทุนทำทีมฟุตบอลเพื่อให้วงการสนุก ส่วนตัวแล้วเรื่องเงินทองไม่มีปัญหาสำหรับผม คนอาจจะมองว่าสยามสปอร์ตได้กำไร แต่มันไม่ใช่ หุ้นบริษัทก็ไม่เคยกระดิก" นับจากปี 2544 สยามสปอร์ตเป็นผู้บริหารสิทธิประโยชน์ของไทยลีกมาเรื่อยๆ ซึ่งระหว่างนี้ นายกสมาคม เปลี่ยนคนจากวิจิตร เกตุแก้ว เป็นวรวีร์ มะกูดี แต่ก็ยังเซ็นสัญญากันต่อเนื่องกันไป ไม่มีปัญหาอะไร รายงานจาก Thaipublica เปิดเผยว่าสยามสปอร์ตในฐานะผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ ได้กำไรน้อยมาก โดยเนื้อหาระบุว่า "แม้เม็ดเงินจากสปอนเซอร์ต่างๆ จะไหลผ่านสยามสปอร์ตปีละหลายร้อยล้านบาท แต่ก็มีรายจ่ายที่ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะค่าลิขสิทธิ์ไทยลีกที่ได้จากทรูวิชั่นส์ ต้องเอาไปแบ่งให้ทีมในไทยพรีเมียร์ลีก และดิวิชั่น 1 และเมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายในการถ่ายทอดสด ที่มีข้อบังคับว่า ต้องถ่ายทอดสดปีละไม่ต่ำกว่า 500 แมตช์ คำนวณแล้ว แทบจะไม่เหลือกำไรเท่าไหร่" ผู้บริหารระดับสูงของสยามสปอร์ตรายหนึ่งอธิบายว่า "สิ่งที่บริษัทได้รับ ไม่ใช่กำไรจากการเข้าไปดูแลสิทธิประโยชน์โดยตรง แต่เป็นผลประโยชน์ทางอ้อมมากกว่า เพราะยิ่งวงการฟุตบอลไทยเติบโตเท่าไหร่ ยอดขายสื่อในเครือ และเงินค่าโฆษณาก็ยิ่งเติบโตขึ้น" ในปี 2556 สมาคมฟุตบอลยุควรวีร์ เซ็นสัญญาระยะยาวกับสยามสปอร์ต ให้เป็นผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ไทยลีก อีก 10 ปี (2556-2565) โดยจุดนี้ มีรายงานไม่ตรงกัน บางแหล่งบอกว่า ส่วนแบ่งกำไรอยู่ที่ 95% - 5% ตามเดิม แต่บางแหล่งข่าวบอกว่า ถูกปรับเป็น 50% - 50% แล้ว ตอนนั้นแม้จะต่อสัญญากันระยะยาว แต่ดราม่าไม่มี เพราะไทยลีกยังไม่บูม หลายคนมองว่าไทยลีก เป็นเผือกร้อนด้วยซ้ำ ที่โอกาสขาดทุน มากกว่ากำไร อย่างไรก็ตาม จุดพลิกผันสำคัญก็เกิดขึ้น ในปี 2557 เมื่อเกิดปรากฏการณ์ "บอลไทยฟีเวอร์" เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง รับตำแหน่งเฮดโค้ชทีมชาติ แล้วพาทีมช้างศึกคว้าแชมป์ AFF เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี พร้อมทั้งทำผลงานมาสเตอร์พีซในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก จนทีมไทย เข้าถึงรอบ 12 ทีมสุดท้าย เป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปี ทีมชาติชุดใหญ่ มีสตาร์ขึ้นมาประดับวงการพร้อมกันหลายคน เช่น ชนาธิป สรงกระสินธิ์, อดิศักดิ์ ไกรษร, สารัช อยู่เย็น, ชาริล ชัปปุยส์ ฯลฯ ในช่วง AFF จากนั้นก็เพิ่มเติมด้วยผู้เล่นซีเนียร์ ทั้งธีรศิลป์ แดงดา และ ธีราทร บุญมาทัน คือไม่ใช่แค่ชุดใหญ่เท่านั้น แต่บอลเยาวชน ไทยฟอร์มดีมาก คว้าชัยชนะได้ทุกรุ่น ทุกอย่างมันส่งเสริมกัน ทำให้ทีมชาติไทย บูมขึ้นแบบพุ่งทะยาน อานิสงส์ก็กลับมาหาไทยลีก ที่มีคนเข้ามาดูอย่างคับคั่ง ทั้งขาจร-ขาประจำ ขณะที่ เรตติ้งถ่ายทอดสดพุ่งสูงมาก นักกีฬากลายเป็นไอดอลของเด็กๆ แต่ละคนได้รับงานโฆษณา เป็นรายได้เสริมนอกเหนือจากค่าจ้างในการเล่นฟุตบอลด้วย ความนิยมของไทยลีก ทำให้ทรูวิชั่นส์ จ่ายเงินค่าถ่ายทอดสด สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ นั่นคือ สัญญา 4 ปี 4,200 ล้านบาท (เฉลี่ยฤดูกาลละ 1,050 ล้านบาท) ไม่ใช่แค่ไทยลีก แต่ลิขสิทธิ์ของทีมชาติชุดใหญ่ ก็ขายได้ราคาดีมาก ในช่วงบอลไทยฟีเวอร์ สามารถขายลิขสิทธิ์ทีมชาติ กับทางไทยรัฐทีวี ได้เงินนัดละ 750,000 บาท จากที่สยามสปอร์ต เคยเข้าเนื้อมาหลายๆ ปีติดต่อกัน ในที่สุด เมื่อบอลไทยบูมพร้อมกัน ทั้งสโมสรและทีมชาติ ก็ถึงเวลาที่พวกเขาจะเก็บเกี่ยวกำไรอย่างเป็นชิ้นเป็นอันแล้ว แต่แล้วสถานการณ์ก็พลิกผัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เมื่อสมาคมมีการเลือกตั้งนายกครั้งใหม่ และพล.ต.อ.สมยศ เป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้ง ล้างบางขั้วเก่าจนราบคาบ สิ่งที่ยังกั๊กๆ กันอยู่ คือพล.ต.อ.สมยศเป็นนายกก็จริง แต่คนดูแลสิทธิประโยชน์ไทยลีก จนถึงปี 2565 ดันเป็นสยามสปอร์ต ซึ่งอยู่ฝั่งขั้วอำนาจเก่าของวรวีร์ ในมุมของพล.ต.อ.สมยศ จึงเป็นเรื่องกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะตัวเองเป็นนายกสมาคมแท้ๆ แต่ผลกำไรของบอลไทย กลับไปตกอยู่ในมือของอีกขั้วหนึ่ง นอกจากนั้น ในมุมของสมาคม มั่นใจว่าถ้าหาผู้ดูแลเจ้าอื่น สมาคมน่าจะได้ส่วนแบ่งมากกว่านี้ หลังจาก พล.ต.อ.สมยศ ชนะเลือกตั้งเพียงแค่เดือนเดียว มีนาคม 2559 เขาตัดสินใจประกาศ "ยกเลิกสัญญา" กับสยามสปอร์ต ในช่วง 7 ปีที่เหลือ (2559-2565) พล.ต.อ.สมยศให้สัมภาษณ์ว่า "เราพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับสมาคม เป็นสัญญาผู้ขาดแต่เพียงผู้เดียว ไม่มีการกำหนดค่าตอบแทนขั้นต่ำให้ ส่งผลให้สมาคม ไม่สามารถวางแผนงบประมาณดำเนินการได้ด้วยตัวเอง" อธิบายคือ สัญญาฉบับเดิมที่เซ็นกัน สยามสปอร์ตจะเป็นฝ่ายแจ้งเองว่าปีนี้ได้กำไรเท่าไหร่ แล้วจะแบ่งจัดสรรให้สมาคมเอง แต่ถ้าขาดทุนก็ไม่ต้องจ่าย วิธีการนี้ ไม่มีกำหนดว่า ต้องจ่าย "ขั้นต่ำ" เท่าไหร่ คือไม่มีตัวเลขระบุ ฝั่งสมาคมเอง ก็มองว่า แบบนี้จะตกแต่งเลขอย่างไรก็ได้น่ะสิ พล.ต.อ.สมยศ กล่าวปิดท้ายว่า "ผมไม่มีความขัดแย้งกับบริษัทสยามสปอร์ต ซินดิเคท ผมเข้ามาทำหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่เป็นนายกฯ สมาคม และอาสาเข้ามาแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งเมื่อเห็นว่ามันไม่ถูกต้อง ก็อยากทำให้ถูกต้อง เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสมาคมฯ และประชาชนชาวไทย" หลังจากยกเลิกสัญญากับสยามสปอร์ต 1 เดือนเท่านั้น เมษายน 2559 สมาคมเซ็นสัญญากับ แพลนบี มีเดีย เป็นผู้ดูแลสิทธิประโยชน์รายใหม่แทน เซ็นฉบับแรก (4 ปี) ในปี 2559-2563 และเซ็นในฉบับที่สอง (8 ปี) ในช่วงปี 2564-2571 และคดีความที่เป็นข่าวใหญ่ ก็เริ่มต้นจากจุดนี้ เพราะฝั่งสยามสปอร์ตยอมไม่ได้ ที่โดนฉีกสัญญาที่เหลืออยู่ถึง 7 ปีทิ้งลงดื้อๆ คือในมุมของสยามสปอร์ตนั้น สมาคมของพล.ต.อ.สมยศ จะคิดว่าสัญญาไม่เป็นธรรม หรือ ได้ส่วนแบ่งน้อย หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ในเมื่อมันมีการเซ็นสัญญาอย่างถูกต้องแล้ว มาโดนฉีกทิ้งแบบนี้ เขาก็เสียหายทางธุรกิจเช่นกัน แล้วแผนงานที่เตรียมไว้หลายปีต่อจากนี้ ใครจะรับผิดชอบ ที่ผ่านมา เขาลงทุนกับบอลไทยมาตั้งเยอะ แล้วพอวันที่มีโอกาสเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ ก็มาโดนฉีกสัญญาทิ้ง มันยุติธรรมกับเขาหรือไม่? นั่นทำให้ สยามสปอร์ตจึงฟ้องสมาคมฟุตบอล ในคดีแพ่ง ข้อหาผิดสัญญา และเรียกค่าเสียหายจำนวน 1,400 ล้านบาท ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ รับฟ้องคดีนี้ โดยสยามสปอร์ตเป็นโจทก์ สมาคมฟุตบอลเป็นจำเลย ในวันที่ 23 สิงหาคม 2562 ศาลชั้นต้นตัดสินให้สยามสปอร์ตชนะคดี สมาคมฯ ต้องจ่ายเงินชดเชย 50 ล้านบาท โทษฐานบอกเลิกสัญญาโดยมิชอบ อย่างไรก็ตามทั้ง 2 ฝ่ายไม่พอใจนักกับผลการตัดสิน โดยฝ่ายกฎหมายของสยามสปอร์ต ให้สัมภาษณ์ว่า "ขอขอบคุณผู้พิพากษาที่ให้ความเป็นธรรมกับเรา อย่างไรก็ตามสยามสปอร์ต จะใช้สิทธิ์อุทธรณ์ในประเด็นเงินค่าเสียหาย ซึ่งทางเรามองว่า มีความเสียหายมากกว่า 50 ล้านบาท" แต่ฝั่งสมาคมฯ เองก็ไม่ยอมเช่นกัน โดยพล.ต.อ. สมยศ กล่าวว่า "ผมให้ความเคารพคำสั่งศาล แต่นี่เป็นเพียงศาลชั้นต้น สมาคมจะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาอย่างแน่นอน" การต่อสู้คดีในชั้นศาลอุทธรณ์ ดำเนินการมาถึง 2 ปี และในวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 ศาลอุทธรณ์ได้ข้อสรุปว่า ตัวเลข 50 ล้านที่ศาลชั้นต้นสั่งให้สมาคม ชดใช้ มันน้อยเกินไป และมีคำพิพากษาแก้ ให้สมาคมฯ จ่ายเงินให้สยามสปอร์ตเพิ่มเป็น 450 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี จากศาลชั้นต้น 50 ล้านบาท สุดท้ายมาที่ศาลอุทธรณ์ ตัวเงินเด้งขึ้นไปที่ 450 ล้านบาท คำวินิจฉัยจากศาล ระบุว่า "แม้การบอกเลิกสัญญาระหว่างจำเลยกับโจทก์ จะทำเพื่อการพัฒนาระบบการบริหารให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีความชัดเจนด้านค่าตอบแทน จำนวนค่าตอบแทน รวมถึง คู่สัญญาที่ฝ่ายจำเลย อาจมองว่ามีความสามารถในการบริหารจัดการมากกว่าก็ตาม ทั้งหมด ก็มิได้เป็นเหตุที่จะบอกเลิกสัญญากับโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์" เมื่อจบศาลอุทธรณ์ สยามสปอร์ตเป็นฝ่ายชนะคดีอยู่ แต่ฝั่งพล.ต.อ.สมยศ ยังไม่ยอม และตัดสินใจยื่นไปที่ฎีกาเป็นศาลสุดท้าย ตอนนี้การพิจารณาฎีกายังไม่ออกมา แต่สมาคมแพ้มา 2 ศาลแล้ว คงยากมาก ที่จะพลิกสถานการณ์ เอาตัวรอด ไม่เสียเงินในศาลสุดท้าย เพียงแต่จะจบแค่กี่บาทเท่านั้น คือฝั่ง พล.ต.อ.สมยศ มีสิทธิ์คิดอย่างไรก็ได้ - คุณไม่พอใจได้ ที่ยุควรวีร์เซ็นสัญญายาวถึง 10 ปี กับสยามสปอร์ต - คุณไม่พอใจได้ ที่มองว่าส่วนแบ่งน้อยเกินไปแค่ 5% แต่การแก้ปัญหาไม่ใช่การหักดิบ โดยฉีกสัญญาทิ้ง ทางที่ดีกว่านั้นคือการเจรจาหาข้อตกลงร่วมกัน แต่พอคุณไปยกเลิกดื้อๆ แบบนั้น เขาก็ไปสู้ด้วยกฎหมายสิ และในมุมของศาล ก็ต้องตัดสินตามหลักฐานที่มันเป็นจริง แค่นั้นเอง ------------------------ นั่นคือเหตุผลที่มาดามแป้ง ให้สัมภาษณ์ในวันก่อนว่า "แป้งไม่ได้มาตั้งต้นทางการเงินที่ศูนย์ แต่เริ่มจากติดลบ ติดลบ ติดลบ มันไม่แฟร์ แต่ก็ต้องทำ เพราะสมาคมฟุตบอลตั้งขึ้นมา 109 ปี ก็ต้องอยู่ต่อไป" เธอออกสตาร์ตมา ยังไม่ทันทำงานทำการ ก็มีหนี้สิ้น 450 ล้านบาท รออยู่ ถือว่าเป็นนายกสมาคมที่เหนื่อยสาหัส ตั้งแต่วันแรกที่รับงานทีเดียว เอาจริงๆ ก็เห็นใจมาดามแป้งอยู่ เธอเพิ่งมารับงานได้ไม่ถึงปี แต่เจอสารพัดปัญหาให้ต้องแก้ ทั้งเรื่องมูลค่าบอลไทยตกต่ำ รวมถึงเรื่อง สมาคมติดหนี้ติดสิน คงได้แต่เป็นกำลังใจให้เธอ ผ่านช่วงวิกฤตินี้ไปให้ได้ กับคำถามคือ จะเอาเงิน 450 ล้านจากไหนมาจ่ายสยามสปอร์ต? หรือว่าจะแลกเปลี่ยนด้วยการบาร์เตอร์ ทำอะไรสักอย่าง เราก็ต้องมาติดตามดูกันต่อไป พูดกันตรงๆ ว่า ถ้าคนที่มีหัวด้านธุรกิจ และ ทำงานด้านฟุตบอลมาหลายปี อย่างมาดามแป้ง ยังแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ ก็ไม่รู้จะมีใครในประเทศไทย มาจัดการเรื่องนี้ได้อีก สำหรับกรณีเรื่อง สมาคม vs สยามสปอร์ตครั้งนี้ บทเรียนสำคัญคือ ความรู้สึกของคุณจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ จะชอบหรือไม่ชอบก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่เมื่อมันมีสัญญาผูกพันกันไว้ การไปฉีกสัญญาทิ้งดื้อๆ แบบนี้ มีโอกาสสูงมากที่จะเป็นฝ่ายเจ็บตัวเอง สำหรับ พล.ต.อ.สมยศ วันนี้เขาลงจากตำแหน่งไปแล้ว เป้าหมายการจับโจร ที่เขาตั้งใจไว้วันแรก ก็ไม่รู้ว่าสำเร็จไหม จับใครได้หรือเปล่า ยิ่งไปกว่านั้น ยังทำให้สมาคมโดนฟ้องร้องจนเป็นหนี้เป็นสิน เป็นภาระให้คนที่มาสานงานต่ออย่างมาก เรื่องนี้ทำให้เห็นว่า การเป็นนายกสมาคมฟุตบอล เป็นภารกิจที่ไม่ง่ายเลย แค่บู๊อย่างเดียวไม่พอ แต่คุณต้องฉลาดรอบรู้อีกด้วย ถ้าทำอะไรโดยขาดความยั้งคิด องค์กรก็จะต้องเจอสถานการณ์ลำบาก เป็นภาระให้คนรับงานต่อ เหมือนอย่างที่สมาคมฟุตบอลต้องเผชิญอยู่ในเวลานี้” ที่มา : https://www.facebook.com/share/ZvKUvXwxRkMKfBci/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 353 มุมมอง 0 รีวิว
  • รวบ "เชฟอ้อย" เจ้าของแฟรนไชส์ชื่อดัง ยักยอกทรัพย์กว่า 2 ล้าน#Newsstory #News1 #เชฟอ้อย #ลูกชิ้นเชฟอ้อย #ยักยอกทรัพย์ #เชฟอ้อยถูกรวบ
    รวบ "เชฟอ้อย" เจ้าของแฟรนไชส์ชื่อดัง ยักยอกทรัพย์กว่า 2 ล้าน#Newsstory #News1 #เชฟอ้อย #ลูกชิ้นเชฟอ้อย #ยักยอกทรัพย์ #เชฟอ้อยถูกรวบ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 283 มุมมอง 100 0 รีวิว
  • ลุ้นระทึก! ชะตากรรมทางการเมือง “เอกราช ช่างเหลา" สส.พรรคภูมิใจไทย ศาลจังหวัดขอนแก่นนัดฟังคำพิพากษาตัดสินคดีบ่ายพรุ่งนี้(7 ต.ค.)ในคดียักยอกทรัพย์สหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่นกว่า 431 ล้านบาท หลังก่อนนี้ ป.ป.ช. ลงมติชี้มูล ส.ส.บัญชีรายชื่อรายนี้ของพรรคภูมิใจไทยฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรงกรณีถูกฟ้องคดีอาญาโกงสหกรณ์ครูฯ คดียังคาอยู่ที่ศาลฎีการอการวินิจฉัยตามขั้นตอนกฎหมาย

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000095000

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    ลุ้นระทึก! ชะตากรรมทางการเมือง “เอกราช ช่างเหลา" สส.พรรคภูมิใจไทย ศาลจังหวัดขอนแก่นนัดฟังคำพิพากษาตัดสินคดีบ่ายพรุ่งนี้(7 ต.ค.)ในคดียักยอกทรัพย์สหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่นกว่า 431 ล้านบาท หลังก่อนนี้ ป.ป.ช. ลงมติชี้มูล ส.ส.บัญชีรายชื่อรายนี้ของพรรคภูมิใจไทยฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรงกรณีถูกฟ้องคดีอาญาโกงสหกรณ์ครูฯ คดียังคาอยู่ที่ศาลฎีการอการวินิจฉัยตามขั้นตอนกฎหมาย อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000095000 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    Haha
    Angry
    Sad
    31
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 2409 มุมมอง 0 รีวิว
  • ติ่งขาาาา……มาช่วยกันเป็นกำลังใจให้พี่ปูหน่อยยยย……กำลังเคว้งคว้างหาที่ลงสวยๆไม่ได้………!!!

    ตอนหก…..……ดวงรุ่งไม่นาน…ต้องหางานใหม่ซะแล้วววว…!!!

    ปูตินทำงานอยู่แค่ในเบื้องหลังของอนาโตลี ในขณะที่เจ้านายใช้เวลาส่วนใหญ่เดินทางระหว่างเซนต์ ปีเตอร์สเบอร์ก กับมอสโคว์ เพื่ออยู่ใกล้ชิดกับเยลซิน การทำงานของปูติน จากปากคำของเลขาฯ Marina Yentaltseva ที่บอกว่า

    “เขาเป็นคนจริงจังกับงานมาก แต่ไม่เคยขึ้นเสียงกับใคร……งานที่สั่งมา
    เขาไม่สนใจว่าใครจะเอาไปทำ หรือมีปัญหาอะไร ……แต่ต้องเสร็จตามเวลา……ไม่มีใครรู้เลยว่า เขากำลังคิดอะไร เก็บอารมณ์ดีเป็นที่สุด ครั้งหนึ่งสุนัขสุดที่รักที่บ้าน ถูกรถชนตาย ฉันเอาข่าวไปบอก….เขาพยักหน้านิดนึง
    ไม่มีอากัปกิริยาอะไรมากกว่านั้นเลย……”

    ปูตินทำงานทั้งงานราษฎร์งานหลวง งานราษฎร์คือการที่ต้องขับเคี่ยวกับเหล่าแก๊งค์มาเฟียระดับตลาดล่าง ที่มีมากมายในเมือง โดยเฉพาะยิ่งจะมีบริษัทใหญ่ Golden Gate ที่จะมาทำการสร้างบริษัทส่งออกน้ำมัน โดย Gennady Timchenko เป็นนายทุนใหญ่
    เรื่องอันธพาลกลางเมืองคือเรื่องที่เป็นอุปสรรค ต่อการที่จะพัฒนา
    ดังนั้น ปูตินจึงต้องรีบจัดการส่งลูกสาวทั้งสองคน มาชาและแคทยา ไปที่เยอรมันสักพักหนึ่งเพื่อความปลอดภัย
    เพื่อที่จะจัดการกับพวกอุปสรรคทั้งหลาย (ไม่ทราบว่าวิธีไหน……?)
    แต่ เยนนาดี ได้ดำเนินการธุรกิจอย่างปลอดโปร่งจนเป็นอภิมหาเศรษฐีและเป็นสหายของปูตินจนถึงปัจจุบัน

    นอกจากนั้น งานแจกจ่ายใบอนุญาตการค้าต่างๆ ก็ต้องเร่งมือ เพราะต้องเร่งหาเงินเข้ามาบำรุงท้องถิ่น
    จะหวังพึ่งทางมอสโคว์ก็ริบหรี่ เพราะช่วงเดือน ตุลาคม เกิดการประท้วงใหญ่ ที่มีการจับกุม ทุบตีผู้ประท้วง จนเยลซินก็ประกาศกฎอัยการศึก
    ถึงขนาดต้องใช้รถถังมาควบคุมสถานการณ์

    ความยุ่งยากยืดเยื้อมาจนถึงปี 1993 การทำงานของอนาโตลี ที่มีปูตินเป็นเบื้องหลังให้นั้น เริ่มมีปัญหาจากฝ่ายตรงข้าม เพราะเค้าของการเลือกตั้งใหม่เริ่มมีการเตรียมตัวส่งแคนดิเดทมาร่วมเปิดตัวลงสมัคร และการดิสเครดิต สาดโคลนตามมาเป็นระลอก
    ที่ทำให้ปูตินต้องทำงานทั้งวัน…ต่อไปจนถึงมืดค่ำ

    เช้าวันที่ 23 ตุลาคม ปูตินขับรถไปส่งมาชาที่โรงเรียน
    ลุดมิลาจะต้องพาแคทยาไปซ้อมละครเวที
    ระหว่างที่กำลังขับรถกำลังจะขึ้นสะพาน
    มีรถคันหนึ่งขับผ่าไฟแดงพุ่งเข้าชนอย่างจัง กลางลำ……
    กว่าเธอและลูกสาวจะไปถึงโรงพยาบาลเพราะรอรถพยาบาล ต้องใช้เวลาถึง 45 นาที
    แคทยา ฟกช้ำดำเขียวไปพอประมาณ แต่ลุดมิลากระดูกสันหลังเคลื่อนและมีบาดแผลตามตัว
    มารินา เลขาฯพยายามติดต่อปูติน เธอได้รับเอาแคทยามาดูแล

    แต่เขายังอยู่ในการประชุมกับ Ted Turner และ Jane Fonda (ตอนนั้นเป็นสามีภรรยากัน) ในเรื่องการจัดแข่งกีฬา Goodwill Games ครั้งที่สาม
    ทันทีที่รู้เรื่อง……ปูตินรีบไปที่โรงพยาบาล เพื่อไปถามแพทย์ว่า หนักหนาหรือไม่?
    เมื่อทราบจากแพทย์ว่า กำลังดูแลเป็นอย่างดี…
    เขาก็กลับไปประชุมต่อ……ไม่ได้แวะไปดูลุดมิลาแต่อย่างใด

    มารินาได้เข้ามาดูแลลุดมิลาที่โรงพยาบาลและเด็กๆในช่วงที่รอมารดาของลุดมิลาจะเดินทางมาจากคาลินินกราด
    แม้ว่าหลังจากหนึ่งเดือนในโรงพยาบาลเมื่อออกมา……เธอก็ยังต้องใส่เฝือกอ่อนรัดตัว
    แต่ปูติน……มีความห่วงใย(แบบไม่แสดงออก) ในเรื่องการรักษาเขาไปปรึกษากับ เซอร์เก เพื่อนรักโดยเขาต้องการให้ลุดมิลาไปรักษาตัวต่อในโรงพยาบาลที่เดรสเดน เยอรมัน ที่เป็นที่ที่ดีที่สุด

    แต่ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทาง เป็นเรื่องที่น่าหนักใจ
    ปัญหาเหล่านั้น……ได้สลายลงด้วยการช่วยเหลือของ Matthias Waring***
    อดีตหัวหน้า Stasi ที่ผันตัวมาเป็นนายธนาคาร Dresdner ในกรุงเซนต์
    โดยได้รับใบอนุญาตจากอนาโตลี (ผ่านปูติน) จนได้มาเปิดธนาคารในเมืองเป็นธนาคารต่างชาติแห่งแรก

    ที่เยอรมันนี ลุดมิลาได้รับการรักษาอย่างดี ในโรงพยาบาลที่ Bad Homburg จนหายเป็นปรกติ

    หลังจากที่มอสโคว์เสร็จสิ้นจากการปราบม็อบไปในปี 1993 นั้น
    สัมพันธภาพระหว่าง อนาโตลีกับเยลซิน เริ่มเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจาก
    การเลือกตั้งนกยกเทศมนตรีในเมืองต่างๆจะมีขึ้นในในเดือนมีนาคม 1994 ซึ่ง เยลซินเห็นว่า ถ้าอนาโตลีได้รับเลือกอีกสมัยหนึ่ง ก็อาจจะอาจเอื้อมเข้ามาเป็นคู่แข่งในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในสมัยต่อไป
    ซึ่งตัวเยลซินเองนั้นไม่เท่าไหร่ แต่คณะคนที่รายล้อมรอบตัวเขา แต่ละคนคือมาเฟียตัวพ่อ ที่ทำหน้าที่เป็นกระเป๋าเงินให้กับพรรค
    คนเหล่านั้น……ต้องการให้เยลซินอยู่ต่อไป หรือถ้าจะมีคนมาแทนก็ต้อวเป็นพรรคพวกของตัวเอง
    อย่าง……อนาโตลี นั้นไม่ใช่……!!

    งานสาดโคลนตามประเพณีเลือกตั้งจึงตามมา อนาโตลีถูกแฉว่าได้ยักยอกทรัพย์ออกนอกประเทศ ได้ทำการคอร์รัปชั่นในใบอนุญาต รวมทั้งการกระจายข่าวลือว่า อนาโตลีได้ติดต่อกับทางนายกรัฐมนตรีเยอรมันเพื่อที่จะโค่นล้มเยลซิน……
    ซึ่งปูตินได้ติดร่างแหไปด้วย เพราะเป็นหนึ่งในทีม
    แต่ในที่สุดเขาก็เคลียร์ตัวเองได้ ……เพราะตรวจสอบได้หมด
    เนื่องจากไม่มีสมบัติอะไร

    เวลาแห่งการหาเสียงมาถึง อนาโตลีต้องพบกับความประหลาดใจ ที่ผู้สมัครเข้าแข่งขันนั้น คือ รองของเขาเอง Vladimir Yakovlev
    ที่ตอนนั้น อนาโตลีมีความรู้สึกว่าโดนหักหลังจากคนใกล้ชิดที่สุด
    พวกกลุ่มทำงานในสำนักงานได้เริ่มแยกฝ่าย ไปตามคนที่ตัวเองถือหาง
    แต่ปูตินยังมั่นคงอยู่กับอนาโตลีไม่เปลี่ยนแปลง…

    การหาเสียงเป็นไปอย่างเข้าข้น เป็นการหาเสียงที่ต้องใช้เงินมากมาย
    ที่อนาโตลีด้อยกว่า เพราะท่อน้ำเลี้ยงจากมอสโคว์เหือดแห้งไปแล้ว
    สรุปว่า โยโกสเลฟ ชนะด้วยคะแนนเฉี่ยวฉิว……
    อนาโตลี มีน้ำใจเป็นนักกีฬาพอ เขาได้ใช้ประโยคเด็ดของ Winston Churchill ในตอนที่แพ้เลือกตั้งในปี 1945 ว่า
    “การที่เราได้ช่วยชาติให้แล้วรอดปลอดภัย……นั่นคือชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด”

    แต่นั่นหมายถึงว่า เมื่อหมดวาระ(ในไม่กี่เดือนข้างหน้า) ปูตินจะต้องหางานใหม่ทำ เพราะเขาไม่คิดที่จะทำงานกับโยโกสเลฟ ที่จะผันตัวจากเพื่อนร่วมงานมาเป็นนาย……

    ปูตินมีบ้านพักเล็กๆสำหรับพักผ่อนที่นอกเมือง เป็นบังกาโลไม้ธรรมดา ที่อยู่ใกล้กับทะเลสาบ ล้อมรอบไปด้วยต้นไม้
    เขาและครอบครัวใช้เป็นที่หย่อนใจ ในเดือนสิงหาคม อันเป็นเดือนของการพักร้อนที่งานไม่ค่อยเดิน
    เขาจึงได้เชิญครอบครัวของมารินาไปพักผ่อนด้วยกัน
    พวกผู้หญิงอยู่กันที่ชั้นบน ผู้ชายปูที่นอนกันที่ข้างล่าง…

    ปูตินออกไปว่ายน้ำในทะเลสาบ เมื่อเขาเดินกลับมา เห็นควันไฟพลุ่งออกมาจากตัวบ้าน เปลวไฟกำลังลามขึ้นไปชั้นบน เขารีบวิ่งฝ่าขึ้นไป ส่งเด็กๆลงมาจากระเบียงโดยใช้ผ้าปูที่นอนผูกแทนเชือก ทุกคนออกมาอย่างปลอดภัย
    แต่ทันใดนั้น เขานึกขึ้นได้ว่า กระเป๋าเอกสารที่มีเงินอยู่ราวๆห้าพัน (ดอลล่าร์ โดยประมาณ) อันเป็นเงินก้อนเดียวที่เขามี
    ปูตินรีบวิ่งเข้าไปเอามันออกมา และโรยตัวออกทางระเบียงเช่นกัน
    กว่ารถดับเพลิงจะมาได้ บ้านทั้งหลังก็กลายเป็นเถ้าถ่านไปแล้ว
    และเมื่อรถมาถึง……พนักงานดับไฟบอกว่า ไม่มีน้ำ…
    ปูตินโกรธจนตัวสั่น เขาชี้ไปที่ทะเลสาบ……บอกว่า นั่นไง……น้ำ…!!
    ไอ้หมอนั่นตอบกลับมาว่า……สายยางยาวไม่พอ…!!!

    เมื่อค้นหาสาเหตุได้ มาจากเครื่องทำความร้อนที่ชั้นล่าง ที่ได้เกิดช๊อตขึ้นมา……เมื่อทุกอย่างเริ่มเย็นลง
    ปูตินได้เข้าไปคุ้ยหาของที่อาจจะไม่เสียหายมาก เขาได้พบกับก้อนโลหะเล็กๆ ที่ได้หลอมละลายไป นั่นก็คือ กางเขนน้อยที่มาเรียมารดาของเขาได้ให้มา พร้อมกับกำชับว่าให้นำไปขอพรที่พระวิหารในนครเยรูซาเล็ม, อิสราเอล
    ที่ปูตินได้จัดการให้ตามนั้น เมื่อครั้งที่เขาติดตามอนาโตลีไปเยือนเมื่อสามปีที่แล้ว……!!

    ที่มอสโคว์……ปลายปี 1995 เยลซินได้เกิดอาการหัวใจกำเริบ ที่ค่อนข้างน่าตกใจ กลุ่มนายทุนที่รายล้อมรอบตัวเขา รีบตื่นตัวกันจ้าละหวั่น เพราะการเลือกตั้งจะมีขึ้นในไม่กี่เดือนข้างหน้า
    บางคนบอกว่า รีบออกกฎหมายให้เลื่อนการลงคะแนนออกไปก่อน
    บางคนรีบเสนอชื่อแคนดิเดทพวกพ้องของตัวเองที่จะให้มาลงแทน
    บางคนเสนอตัวเอง…
    เยลซินถึงกับบรรลุในสัจธรรม……ว่า…..ทุกคนมาเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองทั้งนั้น เขาวางใจใครไม่ได้เลยจริงๆ

    มันก็ต้องเป็นเช่นนั้น เพราะเหล่า Oligarchs พวกนี้คือเหลือบไรที่เกาะตามตัวของท่านผู้นำที่เนรมิตรสัมปทานทั้งแผ่นดินใหักับพวกเขาจนร่ำรวยกันมหาศาล……เขาเหล่านั้นคือ
    1 Boris Berezovsky
    2 Mikhaïl Fridman
    3 Vladimir Gusinsky
    4 Mikhaïl Khodorkovsky
    5 Vladimir Potanin

    (ดิฉันเคยเล่าถึง หมายเลข 1 และ 4 ไปแล้ว …จะนำมาลงให้อีกในคอมเม้นต์)

    สิ่งที่ทุกคนกลัวที่สุด คือ ถ้าเยลซินหลุดไปจากอำนาจ แล้วถ้าคนใหม่มาจากพรรคคอมมิวนิสต์……นั่นหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างจะหายวับไปกับตา
    อาจรวมถึงชีวิต ดังที่เยลซินพูดบ่อยๆว่า มันจะเอาพวกเราไปแขวนคอที่เสาไฟฟ้า……!!
    เหล่ามหาเศรษฐีพวกนั้นเลยระดมทุนกันใหญ่ ว่ากันว่า ถึงสองพันล้านดอลล่าร์……
    สุขภาพของเยลซินก็ยังไม่ดีขึ้น แต่ข่าวที่ออกก็เลือกแต่ส่วนช่วงดีๆ ………………ปกปิดเรื่องการป่วยไข้อย่างสนิท
    ในส่วนตัวของเยลซินเอง……เขาถอดใจแล้ว เขาเริ่มมองหาตัวแทนที่จะมาเป็นผู้นำด้วยตัวเอง
    เขามุ่งไปที่ลักษณะของนายทหาร ที่เข้มแข็ง มุ่งมั่น
    และสามารถเข้ากับทุกกลุ่มได้ คนที่เขาหมายตา
    คือ นายพลหนุ่ม Aleksandr Lebed ที่กะจะมาเอามาเป็นเด็กสร้าง
    เขาจึงเรียกตัวให้มารับหน้าที่เป็น ผู้อำนวยการฝ่ายดูแลความมั่นคงในส่วนของเครมลิน
    หลังจากที่ได้รับการแต่งตั้งได้วันเดียว นายพลหนุ่ม Alexandr ได้พบกับอดีตนายพลอาวุโส แห่งหน่วย คอสแซค ที่ทักทายเขาด้วยความมีไมตรีว่า…”ทราบว่าคุณก็มาจากกองพันคอสแซคเช่นกัน…ยินดีที่ได้รู้จัก”
    นายพลหนุ่มเชิดใส่……สบัดเสียงตอบไปว่า
    “ทำไมพูดจาเหมือนพวกยิว……!!”

    เยลซินถึงได้รู้ว่า เขาดูคนผิด เพราะนายพลที่เขาวาดภาพถึงนั้น คงมีแต่ในหนังสือที่อ่านสมัยเป็นเด็กๆ……ตอนนี้นายพลพวกนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับพวกยามรักษาความปลอดภัยดีๆนี่เอง

    การเลือกตั้งได้เกิดขึ้น ตัวเยลซินเองก็ต้องแอบไปลงคะแนนในหน่วยใกล้บ้านแต่เช้าตรู่ เพราะเขาป่วยจนแทบเดินไม่ไหว ต้องมีคนคอยประคอง
    แต่อย่างไรเสีย……เขาก็ชนะด้วยคะแนนไม่มากนัก เพราะแรงทุนที่ทุ่มไม่อั้น

    ปูตินได้ช่วยเยลซินหาเสียงอยู่ที่เซนต์ ปีเตอร์สเบอร์ก ที่ถือว่าเป็นหน่วยสนับสนุนเล็กๆ ที่ไม่ได้เป็นกลไกสำคัญอะไร
    แต่ที่มอสโคว์……เมื่อเยลซินได้รับเลือกตั้งในครั้งนี้ เขาได้จัดการเอาพวกที่คอยแทงข้างหลังออกไปเป็นแผง ที่ต้องหาคนมาแทนใหม่
    และเขาได้เลือก Alexsei Bolshakov อดีตอัยการแห่งกรุงเซนต์ ปีเตอร์สเบอร์ก
    เข้าไปรับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี รองจาก Viktor Chernomyrdrin
    ซึ่ง Alexsei คนนี้ ได้เป็นผู้นำปูตินเข้าไปพบกับเยลซิน เพราะเขาเลื่อมใสในการทำงาน เฝ้าดูมาตลอด แต่ไม่ได้สนิทกัน

    งานที่ปูตินได้รับการแต่งตั้ง คือ ผู้อำนวยการในฝ่ายมวลชนและประชาสัมพันธ์ ที่ต้องประสานกับ Pavel Borodin
    ที่เผอิญปูตินได้เคยสัมผัสกัน……โดยปาเวลได้ถือเป็นบุญคุณอย่างมากมาย กล่าวคือ
    บุตรสาวของปาเวลเคยเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัย เมื่อครั้ง
    ปูตินเป็นคณบดี และได้เกิดป่วยไข้ขึ้นมา ปูตินได้จัดการให้เธอได้พบแพทย์และช่วยเรื่องการทดแทนชั้นเรียนในช่วงการขาดลา……
    ยิ่งพอมาพบกันจริงๆ…ปาเวลยิ่งปลาบปลื้มขอบอกขอบใจ และสะดวกใจที่จะช่วยเหลืองานอย่างเต็มที่

    แต่นั่นหมายถึง……ปูตินจะต้องย้ายไปอยู่ที่มอสโคว์…นี่คือสิ่งเดียวที่เขายังรู้สึกลังเล………!!!

    Wiwanda W. Vichit
    ติ่งขาาาา……มาช่วยกันเป็นกำลังใจให้พี่ปูหน่อยยยย……กำลังเคว้งคว้างหาที่ลงสวยๆไม่ได้………!!! ตอนหก…..……ดวงรุ่งไม่นาน…ต้องหางานใหม่ซะแล้วววว…!!! ปูตินทำงานอยู่แค่ในเบื้องหลังของอนาโตลี ในขณะที่เจ้านายใช้เวลาส่วนใหญ่เดินทางระหว่างเซนต์ ปีเตอร์สเบอร์ก กับมอสโคว์ เพื่ออยู่ใกล้ชิดกับเยลซิน การทำงานของปูติน จากปากคำของเลขาฯ Marina Yentaltseva ที่บอกว่า “เขาเป็นคนจริงจังกับงานมาก แต่ไม่เคยขึ้นเสียงกับใคร……งานที่สั่งมา เขาไม่สนใจว่าใครจะเอาไปทำ หรือมีปัญหาอะไร ……แต่ต้องเสร็จตามเวลา……ไม่มีใครรู้เลยว่า เขากำลังคิดอะไร เก็บอารมณ์ดีเป็นที่สุด ครั้งหนึ่งสุนัขสุดที่รักที่บ้าน ถูกรถชนตาย ฉันเอาข่าวไปบอก….เขาพยักหน้านิดนึง ไม่มีอากัปกิริยาอะไรมากกว่านั้นเลย……” ปูตินทำงานทั้งงานราษฎร์งานหลวง งานราษฎร์คือการที่ต้องขับเคี่ยวกับเหล่าแก๊งค์มาเฟียระดับตลาดล่าง ที่มีมากมายในเมือง โดยเฉพาะยิ่งจะมีบริษัทใหญ่ Golden Gate ที่จะมาทำการสร้างบริษัทส่งออกน้ำมัน โดย Gennady Timchenko เป็นนายทุนใหญ่ เรื่องอันธพาลกลางเมืองคือเรื่องที่เป็นอุปสรรค ต่อการที่จะพัฒนา ดังนั้น ปูตินจึงต้องรีบจัดการส่งลูกสาวทั้งสองคน มาชาและแคทยา ไปที่เยอรมันสักพักหนึ่งเพื่อความปลอดภัย เพื่อที่จะจัดการกับพวกอุปสรรคทั้งหลาย (ไม่ทราบว่าวิธีไหน……?) แต่ เยนนาดี ได้ดำเนินการธุรกิจอย่างปลอดโปร่งจนเป็นอภิมหาเศรษฐีและเป็นสหายของปูตินจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น งานแจกจ่ายใบอนุญาตการค้าต่างๆ ก็ต้องเร่งมือ เพราะต้องเร่งหาเงินเข้ามาบำรุงท้องถิ่น จะหวังพึ่งทางมอสโคว์ก็ริบหรี่ เพราะช่วงเดือน ตุลาคม เกิดการประท้วงใหญ่ ที่มีการจับกุม ทุบตีผู้ประท้วง จนเยลซินก็ประกาศกฎอัยการศึก ถึงขนาดต้องใช้รถถังมาควบคุมสถานการณ์ ความยุ่งยากยืดเยื้อมาจนถึงปี 1993 การทำงานของอนาโตลี ที่มีปูตินเป็นเบื้องหลังให้นั้น เริ่มมีปัญหาจากฝ่ายตรงข้าม เพราะเค้าของการเลือกตั้งใหม่เริ่มมีการเตรียมตัวส่งแคนดิเดทมาร่วมเปิดตัวลงสมัคร และการดิสเครดิต สาดโคลนตามมาเป็นระลอก ที่ทำให้ปูตินต้องทำงานทั้งวัน…ต่อไปจนถึงมืดค่ำ เช้าวันที่ 23 ตุลาคม ปูตินขับรถไปส่งมาชาที่โรงเรียน ลุดมิลาจะต้องพาแคทยาไปซ้อมละครเวที ระหว่างที่กำลังขับรถกำลังจะขึ้นสะพาน มีรถคันหนึ่งขับผ่าไฟแดงพุ่งเข้าชนอย่างจัง กลางลำ…… กว่าเธอและลูกสาวจะไปถึงโรงพยาบาลเพราะรอรถพยาบาล ต้องใช้เวลาถึง 45 นาที แคทยา ฟกช้ำดำเขียวไปพอประมาณ แต่ลุดมิลากระดูกสันหลังเคลื่อนและมีบาดแผลตามตัว มารินา เลขาฯพยายามติดต่อปูติน เธอได้รับเอาแคทยามาดูแล แต่เขายังอยู่ในการประชุมกับ Ted Turner และ Jane Fonda (ตอนนั้นเป็นสามีภรรยากัน) ในเรื่องการจัดแข่งกีฬา Goodwill Games ครั้งที่สาม ทันทีที่รู้เรื่อง……ปูตินรีบไปที่โรงพยาบาล เพื่อไปถามแพทย์ว่า หนักหนาหรือไม่? เมื่อทราบจากแพทย์ว่า กำลังดูแลเป็นอย่างดี… เขาก็กลับไปประชุมต่อ……ไม่ได้แวะไปดูลุดมิลาแต่อย่างใด มารินาได้เข้ามาดูแลลุดมิลาที่โรงพยาบาลและเด็กๆในช่วงที่รอมารดาของลุดมิลาจะเดินทางมาจากคาลินินกราด แม้ว่าหลังจากหนึ่งเดือนในโรงพยาบาลเมื่อออกมา……เธอก็ยังต้องใส่เฝือกอ่อนรัดตัว แต่ปูติน……มีความห่วงใย(แบบไม่แสดงออก) ในเรื่องการรักษาเขาไปปรึกษากับ เซอร์เก เพื่อนรักโดยเขาต้องการให้ลุดมิลาไปรักษาตัวต่อในโรงพยาบาลที่เดรสเดน เยอรมัน ที่เป็นที่ที่ดีที่สุด แต่ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทาง เป็นเรื่องที่น่าหนักใจ ปัญหาเหล่านั้น……ได้สลายลงด้วยการช่วยเหลือของ Matthias Waring*** อดีตหัวหน้า Stasi ที่ผันตัวมาเป็นนายธนาคาร Dresdner ในกรุงเซนต์ โดยได้รับใบอนุญาตจากอนาโตลี (ผ่านปูติน) จนได้มาเปิดธนาคารในเมืองเป็นธนาคารต่างชาติแห่งแรก ที่เยอรมันนี ลุดมิลาได้รับการรักษาอย่างดี ในโรงพยาบาลที่ Bad Homburg จนหายเป็นปรกติ หลังจากที่มอสโคว์เสร็จสิ้นจากการปราบม็อบไปในปี 1993 นั้น สัมพันธภาพระหว่าง อนาโตลีกับเยลซิน เริ่มเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจาก การเลือกตั้งนกยกเทศมนตรีในเมืองต่างๆจะมีขึ้นในในเดือนมีนาคม 1994 ซึ่ง เยลซินเห็นว่า ถ้าอนาโตลีได้รับเลือกอีกสมัยหนึ่ง ก็อาจจะอาจเอื้อมเข้ามาเป็นคู่แข่งในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในสมัยต่อไป ซึ่งตัวเยลซินเองนั้นไม่เท่าไหร่ แต่คณะคนที่รายล้อมรอบตัวเขา แต่ละคนคือมาเฟียตัวพ่อ ที่ทำหน้าที่เป็นกระเป๋าเงินให้กับพรรค คนเหล่านั้น……ต้องการให้เยลซินอยู่ต่อไป หรือถ้าจะมีคนมาแทนก็ต้อวเป็นพรรคพวกของตัวเอง อย่าง……อนาโตลี นั้นไม่ใช่……!! งานสาดโคลนตามประเพณีเลือกตั้งจึงตามมา อนาโตลีถูกแฉว่าได้ยักยอกทรัพย์ออกนอกประเทศ ได้ทำการคอร์รัปชั่นในใบอนุญาต รวมทั้งการกระจายข่าวลือว่า อนาโตลีได้ติดต่อกับทางนายกรัฐมนตรีเยอรมันเพื่อที่จะโค่นล้มเยลซิน…… ซึ่งปูตินได้ติดร่างแหไปด้วย เพราะเป็นหนึ่งในทีม แต่ในที่สุดเขาก็เคลียร์ตัวเองได้ ……เพราะตรวจสอบได้หมด เนื่องจากไม่มีสมบัติอะไร เวลาแห่งการหาเสียงมาถึง อนาโตลีต้องพบกับความประหลาดใจ ที่ผู้สมัครเข้าแข่งขันนั้น คือ รองของเขาเอง Vladimir Yakovlev ที่ตอนนั้น อนาโตลีมีความรู้สึกว่าโดนหักหลังจากคนใกล้ชิดที่สุด พวกกลุ่มทำงานในสำนักงานได้เริ่มแยกฝ่าย ไปตามคนที่ตัวเองถือหาง แต่ปูตินยังมั่นคงอยู่กับอนาโตลีไม่เปลี่ยนแปลง… การหาเสียงเป็นไปอย่างเข้าข้น เป็นการหาเสียงที่ต้องใช้เงินมากมาย ที่อนาโตลีด้อยกว่า เพราะท่อน้ำเลี้ยงจากมอสโคว์เหือดแห้งไปแล้ว สรุปว่า โยโกสเลฟ ชนะด้วยคะแนนเฉี่ยวฉิว…… อนาโตลี มีน้ำใจเป็นนักกีฬาพอ เขาได้ใช้ประโยคเด็ดของ Winston Churchill ในตอนที่แพ้เลือกตั้งในปี 1945 ว่า “การที่เราได้ช่วยชาติให้แล้วรอดปลอดภัย……นั่นคือชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด” แต่นั่นหมายถึงว่า เมื่อหมดวาระ(ในไม่กี่เดือนข้างหน้า) ปูตินจะต้องหางานใหม่ทำ เพราะเขาไม่คิดที่จะทำงานกับโยโกสเลฟ ที่จะผันตัวจากเพื่อนร่วมงานมาเป็นนาย…… ปูตินมีบ้านพักเล็กๆสำหรับพักผ่อนที่นอกเมือง เป็นบังกาโลไม้ธรรมดา ที่อยู่ใกล้กับทะเลสาบ ล้อมรอบไปด้วยต้นไม้ เขาและครอบครัวใช้เป็นที่หย่อนใจ ในเดือนสิงหาคม อันเป็นเดือนของการพักร้อนที่งานไม่ค่อยเดิน เขาจึงได้เชิญครอบครัวของมารินาไปพักผ่อนด้วยกัน พวกผู้หญิงอยู่กันที่ชั้นบน ผู้ชายปูที่นอนกันที่ข้างล่าง… ปูตินออกไปว่ายน้ำในทะเลสาบ เมื่อเขาเดินกลับมา เห็นควันไฟพลุ่งออกมาจากตัวบ้าน เปลวไฟกำลังลามขึ้นไปชั้นบน เขารีบวิ่งฝ่าขึ้นไป ส่งเด็กๆลงมาจากระเบียงโดยใช้ผ้าปูที่นอนผูกแทนเชือก ทุกคนออกมาอย่างปลอดภัย แต่ทันใดนั้น เขานึกขึ้นได้ว่า กระเป๋าเอกสารที่มีเงินอยู่ราวๆห้าพัน (ดอลล่าร์ โดยประมาณ) อันเป็นเงินก้อนเดียวที่เขามี ปูตินรีบวิ่งเข้าไปเอามันออกมา และโรยตัวออกทางระเบียงเช่นกัน กว่ารถดับเพลิงจะมาได้ บ้านทั้งหลังก็กลายเป็นเถ้าถ่านไปแล้ว และเมื่อรถมาถึง……พนักงานดับไฟบอกว่า ไม่มีน้ำ… ปูตินโกรธจนตัวสั่น เขาชี้ไปที่ทะเลสาบ……บอกว่า นั่นไง……น้ำ…!! ไอ้หมอนั่นตอบกลับมาว่า……สายยางยาวไม่พอ…!!! เมื่อค้นหาสาเหตุได้ มาจากเครื่องทำความร้อนที่ชั้นล่าง ที่ได้เกิดช๊อตขึ้นมา……เมื่อทุกอย่างเริ่มเย็นลง ปูตินได้เข้าไปคุ้ยหาของที่อาจจะไม่เสียหายมาก เขาได้พบกับก้อนโลหะเล็กๆ ที่ได้หลอมละลายไป นั่นก็คือ กางเขนน้อยที่มาเรียมารดาของเขาได้ให้มา พร้อมกับกำชับว่าให้นำไปขอพรที่พระวิหารในนครเยรูซาเล็ม, อิสราเอล ที่ปูตินได้จัดการให้ตามนั้น เมื่อครั้งที่เขาติดตามอนาโตลีไปเยือนเมื่อสามปีที่แล้ว……!! ที่มอสโคว์……ปลายปี 1995 เยลซินได้เกิดอาการหัวใจกำเริบ ที่ค่อนข้างน่าตกใจ กลุ่มนายทุนที่รายล้อมรอบตัวเขา รีบตื่นตัวกันจ้าละหวั่น เพราะการเลือกตั้งจะมีขึ้นในไม่กี่เดือนข้างหน้า บางคนบอกว่า รีบออกกฎหมายให้เลื่อนการลงคะแนนออกไปก่อน บางคนรีบเสนอชื่อแคนดิเดทพวกพ้องของตัวเองที่จะให้มาลงแทน บางคนเสนอตัวเอง… เยลซินถึงกับบรรลุในสัจธรรม……ว่า…..ทุกคนมาเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองทั้งนั้น เขาวางใจใครไม่ได้เลยจริงๆ มันก็ต้องเป็นเช่นนั้น เพราะเหล่า Oligarchs พวกนี้คือเหลือบไรที่เกาะตามตัวของท่านผู้นำที่เนรมิตรสัมปทานทั้งแผ่นดินใหักับพวกเขาจนร่ำรวยกันมหาศาล……เขาเหล่านั้นคือ 1 Boris Berezovsky 2 Mikhaïl Fridman 3 Vladimir Gusinsky 4 Mikhaïl Khodorkovsky 5 Vladimir Potanin (ดิฉันเคยเล่าถึง หมายเลข 1 และ 4 ไปแล้ว …จะนำมาลงให้อีกในคอมเม้นต์) สิ่งที่ทุกคนกลัวที่สุด คือ ถ้าเยลซินหลุดไปจากอำนาจ แล้วถ้าคนใหม่มาจากพรรคคอมมิวนิสต์……นั่นหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างจะหายวับไปกับตา อาจรวมถึงชีวิต ดังที่เยลซินพูดบ่อยๆว่า มันจะเอาพวกเราไปแขวนคอที่เสาไฟฟ้า……!! เหล่ามหาเศรษฐีพวกนั้นเลยระดมทุนกันใหญ่ ว่ากันว่า ถึงสองพันล้านดอลล่าร์…… สุขภาพของเยลซินก็ยังไม่ดีขึ้น แต่ข่าวที่ออกก็เลือกแต่ส่วนช่วงดีๆ ………………ปกปิดเรื่องการป่วยไข้อย่างสนิท ในส่วนตัวของเยลซินเอง……เขาถอดใจแล้ว เขาเริ่มมองหาตัวแทนที่จะมาเป็นผู้นำด้วยตัวเอง เขามุ่งไปที่ลักษณะของนายทหาร ที่เข้มแข็ง มุ่งมั่น และสามารถเข้ากับทุกกลุ่มได้ คนที่เขาหมายตา คือ นายพลหนุ่ม Aleksandr Lebed ที่กะจะมาเอามาเป็นเด็กสร้าง เขาจึงเรียกตัวให้มารับหน้าที่เป็น ผู้อำนวยการฝ่ายดูแลความมั่นคงในส่วนของเครมลิน หลังจากที่ได้รับการแต่งตั้งได้วันเดียว นายพลหนุ่ม Alexandr ได้พบกับอดีตนายพลอาวุโส แห่งหน่วย คอสแซค ที่ทักทายเขาด้วยความมีไมตรีว่า…”ทราบว่าคุณก็มาจากกองพันคอสแซคเช่นกัน…ยินดีที่ได้รู้จัก” นายพลหนุ่มเชิดใส่……สบัดเสียงตอบไปว่า “ทำไมพูดจาเหมือนพวกยิว……!!” เยลซินถึงได้รู้ว่า เขาดูคนผิด เพราะนายพลที่เขาวาดภาพถึงนั้น คงมีแต่ในหนังสือที่อ่านสมัยเป็นเด็กๆ……ตอนนี้นายพลพวกนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับพวกยามรักษาความปลอดภัยดีๆนี่เอง การเลือกตั้งได้เกิดขึ้น ตัวเยลซินเองก็ต้องแอบไปลงคะแนนในหน่วยใกล้บ้านแต่เช้าตรู่ เพราะเขาป่วยจนแทบเดินไม่ไหว ต้องมีคนคอยประคอง แต่อย่างไรเสีย……เขาก็ชนะด้วยคะแนนไม่มากนัก เพราะแรงทุนที่ทุ่มไม่อั้น ปูตินได้ช่วยเยลซินหาเสียงอยู่ที่เซนต์ ปีเตอร์สเบอร์ก ที่ถือว่าเป็นหน่วยสนับสนุนเล็กๆ ที่ไม่ได้เป็นกลไกสำคัญอะไร แต่ที่มอสโคว์……เมื่อเยลซินได้รับเลือกตั้งในครั้งนี้ เขาได้จัดการเอาพวกที่คอยแทงข้างหลังออกไปเป็นแผง ที่ต้องหาคนมาแทนใหม่ และเขาได้เลือก Alexsei Bolshakov อดีตอัยการแห่งกรุงเซนต์ ปีเตอร์สเบอร์ก เข้าไปรับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี รองจาก Viktor Chernomyrdrin ซึ่ง Alexsei คนนี้ ได้เป็นผู้นำปูตินเข้าไปพบกับเยลซิน เพราะเขาเลื่อมใสในการทำงาน เฝ้าดูมาตลอด แต่ไม่ได้สนิทกัน งานที่ปูตินได้รับการแต่งตั้ง คือ ผู้อำนวยการในฝ่ายมวลชนและประชาสัมพันธ์ ที่ต้องประสานกับ Pavel Borodin ที่เผอิญปูตินได้เคยสัมผัสกัน……โดยปาเวลได้ถือเป็นบุญคุณอย่างมากมาย กล่าวคือ บุตรสาวของปาเวลเคยเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัย เมื่อครั้ง ปูตินเป็นคณบดี และได้เกิดป่วยไข้ขึ้นมา ปูตินได้จัดการให้เธอได้พบแพทย์และช่วยเรื่องการทดแทนชั้นเรียนในช่วงการขาดลา…… ยิ่งพอมาพบกันจริงๆ…ปาเวลยิ่งปลาบปลื้มขอบอกขอบใจ และสะดวกใจที่จะช่วยเหลืองานอย่างเต็มที่ แต่นั่นหมายถึง……ปูตินจะต้องย้ายไปอยู่ที่มอสโคว์…นี่คือสิ่งเดียวที่เขายังรู้สึกลังเล………!!! Wiwanda W. Vichit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 706 มุมมอง 0 รีวิว
  • "ราเกซ"อดีตพ่อมดการเงินที่ต้องโทษคดีฉ้อโกงธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ BBCจนแบงก์เจ้ง ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ตำรวจเตรียมผลักดันออกนอกประเทศ
    .
    10 กันยายน 2567 -รายงานข่าวแจ้งว่า เช้าวันนี้ ตำรวจกองกำกับการ 5 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ได้ไปรับตัวนายราเกซ สักเสนา (Rakesh Saxena) สัญชาติอินเดีย ผู้ต้องขังในคดียักยอกทรัพย์ธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ (บีบีซี) ออกจากเรือนจำ เพื่อผลักดันออกนอกประเทศ
    .
    หลังได้รับพระราชทานอภัยโทษ ตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฏาคม 2567 โดยได้ส่งตัวนายราเกซไปยังกองกำกับการ 3 กองบังคับการสืบสวนสอบสวน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (บก.สส.สตม.) เพื่อดำเนินการผลักดันออกนอกประเทศตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ต่อไป
    .
    นับเป็นการปิดฉากชีวิตพ่อมดการเงินในประเทศไทย จากการปล่อยสินเชื่อให้แก่นักธุรกิจและนักการเมืองเพื่อเข้าเทกโอเวอร์บริษัทต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีกำไรจากการซื้อมา-ขายไป จนเกิดหนี้เน่ามากกว่า 80,000 ล้านบาท และเป็นต้นเหตุที่ทำให้บีบีซีปิดกิจการ
    .
    สำหรับนายราเกซ ชาวเมืองอินดอร์ รัฐมัธยประเทศ อดีตโบรกเกอร์ค้าเงิน เป็นผู้ต้องขังคดีหมายเลขแดงที่ อ 4138/2559 ในความผิดฐานพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คดียักยอกทรัพย์ธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) หรือ บีบีซี ระหว่างปี 2537-2539 ขณะดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ ซึ่งขณะนั้นคือนายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์
    .
    โดยกระทำการทุจริตอนุมัติวงเงินสินเชื่อเกินบัญชี (โอดี) กับบริษัท สมประสงค์ อินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และเอกชนอื่นร่วม 10 แห่ง เกินกว่า 30 ล้านบาท โดยไม่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการสินเชื่อ หรือคณะกรรมการบริหารของธนาคารก่อน อีกทั้งไม่ได้จัดให้มีหลักประกัน ไม่มีการวิเคราะห์ฐานะของลูกหนี้ และความสามารถในการชำระหนี้คืน อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งธนาคารแห่งประเทศไทย
    .
    นอกจากนี้ จำเลยและพวกยังได้ร่วมกันแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ร่วมกันเบียดบังเอาเงินของธนาคารผู้เสียหาย (บีบีซี) ซึ่งอยู่ในความครอบครองของนายเกริกเกียรติ ไปเป็นของจำเลยกับพวกและนายเกริกเกียรติโดยทุจริต แม้ภายหลังจำเลยกับพวกได้ชดใช้เงินให้แก่ผู้เสียหายบางส่วน แต่คงเหลือเงินที่ยังไม่ได้คืนผู้เสียหาย 353,363,966 บาท
    .
    คดีนี้ต่อสู้กันสามศาล ในที่สุดศาลฎีกามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2565 จำคุกกระทงละ 5 ปี และปรับกระทงละ 500,000 บาท โดยมีสำนวนแรก 60 กระทง สำนวนที่สอง 6 กระทง และสำนวนที่สาม 1 กระทง รวม 67 กระทง รวมจำคุก 335 ปี และปรับ 33,500,000 บาท เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วคงจำคุก 20 ปี และสั่งคืนเงินผู้เสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท
    .
    ก่อนหน้านี้นายราเกซหลบหนีคดีไปยังประเทศแคนาดา ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2539 แม้ทางการไทยได้ประสานงานกับแคนาดาขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน แต่นายราเกซได้ให้ทนายความยื่นคัดค้าน ใช้ระยะเวลาพิจารณาถึง 13 ปี กระทั่งวันที่ 29 ต.ค. 2552 ศาลฎีกาแคนาดามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ฎีกา และส่งตัวมาถึงประเทศไทยด้วยเที่ยวบิน TG 615 เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2552
    .
    ต่อมาศาลอาญากรุงเทพใต้ พิพากษาเมื่อปี 2555 จำคุกนายราเกซ 10 ปี และต่อสู้คดีเรื่อยมา กระทั่งคดีถึงที่สุดเมื่อปี 2565 รวมระยะเวลาที่รับโทษในประเทศไทย 15 ปี

    ที่มา https://sondhitalk.com/detail/9670000083928

    #Thaitimes
    "ราเกซ"อดีตพ่อมดการเงินที่ต้องโทษคดีฉ้อโกงธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ BBCจนแบงก์เจ้ง ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ตำรวจเตรียมผลักดันออกนอกประเทศ . 10 กันยายน 2567 -รายงานข่าวแจ้งว่า เช้าวันนี้ ตำรวจกองกำกับการ 5 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ได้ไปรับตัวนายราเกซ สักเสนา (Rakesh Saxena) สัญชาติอินเดีย ผู้ต้องขังในคดียักยอกทรัพย์ธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ (บีบีซี) ออกจากเรือนจำ เพื่อผลักดันออกนอกประเทศ . หลังได้รับพระราชทานอภัยโทษ ตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฏาคม 2567 โดยได้ส่งตัวนายราเกซไปยังกองกำกับการ 3 กองบังคับการสืบสวนสอบสวน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (บก.สส.สตม.) เพื่อดำเนินการผลักดันออกนอกประเทศตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ต่อไป . นับเป็นการปิดฉากชีวิตพ่อมดการเงินในประเทศไทย จากการปล่อยสินเชื่อให้แก่นักธุรกิจและนักการเมืองเพื่อเข้าเทกโอเวอร์บริษัทต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีกำไรจากการซื้อมา-ขายไป จนเกิดหนี้เน่ามากกว่า 80,000 ล้านบาท และเป็นต้นเหตุที่ทำให้บีบีซีปิดกิจการ . สำหรับนายราเกซ ชาวเมืองอินดอร์ รัฐมัธยประเทศ อดีตโบรกเกอร์ค้าเงิน เป็นผู้ต้องขังคดีหมายเลขแดงที่ อ 4138/2559 ในความผิดฐานพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คดียักยอกทรัพย์ธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) หรือ บีบีซี ระหว่างปี 2537-2539 ขณะดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ ซึ่งขณะนั้นคือนายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ . โดยกระทำการทุจริตอนุมัติวงเงินสินเชื่อเกินบัญชี (โอดี) กับบริษัท สมประสงค์ อินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และเอกชนอื่นร่วม 10 แห่ง เกินกว่า 30 ล้านบาท โดยไม่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการสินเชื่อ หรือคณะกรรมการบริหารของธนาคารก่อน อีกทั้งไม่ได้จัดให้มีหลักประกัน ไม่มีการวิเคราะห์ฐานะของลูกหนี้ และความสามารถในการชำระหนี้คืน อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งธนาคารแห่งประเทศไทย . นอกจากนี้ จำเลยและพวกยังได้ร่วมกันแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ร่วมกันเบียดบังเอาเงินของธนาคารผู้เสียหาย (บีบีซี) ซึ่งอยู่ในความครอบครองของนายเกริกเกียรติ ไปเป็นของจำเลยกับพวกและนายเกริกเกียรติโดยทุจริต แม้ภายหลังจำเลยกับพวกได้ชดใช้เงินให้แก่ผู้เสียหายบางส่วน แต่คงเหลือเงินที่ยังไม่ได้คืนผู้เสียหาย 353,363,966 บาท . คดีนี้ต่อสู้กันสามศาล ในที่สุดศาลฎีกามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2565 จำคุกกระทงละ 5 ปี และปรับกระทงละ 500,000 บาท โดยมีสำนวนแรก 60 กระทง สำนวนที่สอง 6 กระทง และสำนวนที่สาม 1 กระทง รวม 67 กระทง รวมจำคุก 335 ปี และปรับ 33,500,000 บาท เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วคงจำคุก 20 ปี และสั่งคืนเงินผู้เสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท . ก่อนหน้านี้นายราเกซหลบหนีคดีไปยังประเทศแคนาดา ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2539 แม้ทางการไทยได้ประสานงานกับแคนาดาขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน แต่นายราเกซได้ให้ทนายความยื่นคัดค้าน ใช้ระยะเวลาพิจารณาถึง 13 ปี กระทั่งวันที่ 29 ต.ค. 2552 ศาลฎีกาแคนาดามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ฎีกา และส่งตัวมาถึงประเทศไทยด้วยเที่ยวบิน TG 615 เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2552 . ต่อมาศาลอาญากรุงเทพใต้ พิพากษาเมื่อปี 2555 จำคุกนายราเกซ 10 ปี และต่อสู้คดีเรื่อยมา กระทั่งคดีถึงที่สุดเมื่อปี 2565 รวมระยะเวลาที่รับโทษในประเทศไทย 15 ปี ที่มา https://sondhitalk.com/detail/9670000083928 #Thaitimes
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2017 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🔥🔥งานเข้า ZIGA หรือ บริษัท Ziga Innovation จำกัด (มหาชน)
    เมื่อผู้ถือหุ้น จ่อยื่นฟ้อง ศุภกิจ-บริษัทย่อย แพ้คดีความกล่าวหา
    อดีตกรรมการยักยอกทรัพย์ ทั้งบอร์ด ผู้สอบ ออดิต

    🚩หลังเข้าข่าย ผู้ถือหุ้น ได้รับข้อมูลผลการดำเนินงานผิดเพี้ยน
    ไปจากข้อมูลจริง ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนเข้าซื้อหุ้น
    ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    🔥🔥งานเข้า ZIGA หรือ บริษัท Ziga Innovation จำกัด (มหาชน) เมื่อผู้ถือหุ้น จ่อยื่นฟ้อง ศุภกิจ-บริษัทย่อย แพ้คดีความกล่าวหา อดีตกรรมการยักยอกทรัพย์ ทั้งบอร์ด ผู้สอบ ออดิต 🚩หลังเข้าข่าย ผู้ถือหุ้น ได้รับข้อมูลผลการดำเนินงานผิดเพี้ยน ไปจากข้อมูลจริง ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนเข้าซื้อหุ้น ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 492 มุมมอง 0 รีวิว
  • ’อนันต์ อัศวโภคิน’นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์‘แลนด์แอนด์เฮ้าส์ป่วยหนัก ยังส่งอัยการฟ้องคดีฟอกเงินสหกรณ์คลองจั่นไม่ได้ อัยการคดีพิเศษสั่งพนักงานสอบสวนตรวจสอบข้อเท็จจริง

    3 สิงหาคม 2567-รายงานผู้จัดการออนไลน์ระบุว่า ความคืบหน้าคดีที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้อง นายอนันต์ อัศวโภคิน นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เจ้าของอาณาจักรธุรกิจ 4 หมื่นล้าน ผู้ต้องหาฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงิน และได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุได้มีการสมคบกัน ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 5, 9, 60 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 มาตรา 10 ตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ

    ในคดียักยอกทรัพย์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน จากการขายที่ดินต่อให้กับ นายอนันต์ อัศวโภคิน ที่มีการออกเอกสารข่าวชี้ขาดสั่งฟ้อง เมื่อวันที่ 29 ก.พ.2567 ที่ผ่านมา

    สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 4 โดยพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบดำเนินคดี ได้นัดหมาย นายอนันต์ อัศวโภคิน ผู้ต้องหา มาพบพนักงานอัยการ เพื่อส่งฟ้องศาลในวันที่ 2 เม.ย.2567 แต่ นายอนันต์ ไม่ได้เดินทางมาพบพนักงานอัยการ ขอเลื่อนการส่งตัวออกไปก่อน โดยอ้างเหตุผลอาการเจ็บป่วย พร้อมแสดงใบรองรับแพทย์ยืนยัน

    พนักงานอัยการคดีพิเศษ 4 ได้ให้เลื่อนการส่งตัวฟ้องดังกล่าว เป็นวันที่ 24 พ.ค.2567 เเละเลื่อนอีกครั้ง 24 มิ.ย. 2567 โดยให้เหตุผลทางการเจ็บป่วยเช่นเดิม

    เหตุจากการตรวจสอบ พบว่า คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กองคดีฟอกเงินทางอาญา ได้ตรวจสอบอาการเจ็บป่วยของนายอนันต์ โดยเรียกแพทย์หญิง ผู้ทำการรักษาให้ถ้อยคำชี้แจงเกี่ยวกับการรักษาอาการเจ็บป่วย พบว่า มีภาวะไตวายระยะสุดท้าย ได้รับการเปลี่ยนแปลงไตที่ประเทศออสเตรเลีย พบความเสียหายของไตจนทำงานไม่ได้ เรียกว่าภาวะสลัดไต ส่งผลให้ต้องกลับมาฟอกเลือดล้างไตอีกครั้ง เมื่อไตเสียหายขั้นสุดท้ายกลายเป็นไตวายระยะสุดท้ายอย่างถาวร ต้องฟอกเลือดใหม่สามครั้งต่อหนึ่งสัปดาห์ต่อไปตลอดชีวิตจนกว่าจะปลูกถ่ายไตครั้งที่สองอีกครั้ง

    ขณะนี้ยังไม่สามารถเปลี่ยนไตใหม่ได้ เนื่องจากร่างกายมีภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะสำคัญ คือ ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เลือดออกในสมอง และไม่มีภาวะภูมิคุ้มกันสภาพ ร่างกายไม่ควรที่จะเคลื่อนย้ายออกจากสถานที่ปลอดเชื้อ ในขณะที่ยังมีอาการป่วยเช่นนี้ เนื่องจากทำให้ติดเชื้อ และเสียชีวิตได้ จึงไม่ควรนำตัวนายอนันต์ ไปจากการดูแลรักษาของแพทย์เฉพาะทาง และร่างกายของผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย พร้อมที่จะรักษาชีวิตผู้ป่วยได้ จนกว่าผ่าตัดปลูกถ่ายเปลี่ยนไตใหม่จะเรียบร้อย และไม่เกิดภาวะสลัดไตอีก ยังถือว่าเป็นผู้ป่วยวิกฤติมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ตลอดเวลา หากอยู่ในสถานที่ไม่เหมาะสมแก่การดูแลรักษาดังกล่าว

    โดยเเพทย์หญิงคนดังกล่าวได้ให้การไว้ เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2567 ก่อนส่งเรื่องมายังอัยการคดีพิเศษ 4 ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาในเรื่องการนัดตัวส่งฟ้อง
    ทั้งนี้มีรายงานว่า เเนวทางของพนักงานอัยการเจ้าของสำนวนนั้น ให้พนักงานสอบสวนไปตรวจสอบ ว่า นายอนันต์ อัศวโภคิน มีอาการเจ็บป่วยจริงหรือไม่เเละให้พนักงานสอบสวนสอบปากคำแพทย์เพิ่มเติม ว่า หากมีกรณีที่จะต้องยื่นฟ้อง นายอนันต์ ต่อศาลอาญา การนำตัวมาฟ้องต่อศาล จะกระทบหรือ เสี่ยงต่ออาการป่วยในระดับใด เพราะเหตุใด เเละแพทย์มีคำแนะนำอย่างไร

    ที่มา : https://mgronline.com/crime/detail/9670000070517

    #Thaitimes
    ’อนันต์ อัศวโภคิน’นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์‘แลนด์แอนด์เฮ้าส์ป่วยหนัก ยังส่งอัยการฟ้องคดีฟอกเงินสหกรณ์คลองจั่นไม่ได้ อัยการคดีพิเศษสั่งพนักงานสอบสวนตรวจสอบข้อเท็จจริง 3 สิงหาคม 2567-รายงานผู้จัดการออนไลน์ระบุว่า ความคืบหน้าคดีที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้อง นายอนันต์ อัศวโภคิน นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เจ้าของอาณาจักรธุรกิจ 4 หมื่นล้าน ผู้ต้องหาฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงิน และได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุได้มีการสมคบกัน ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 5, 9, 60 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 มาตรา 10 ตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในคดียักยอกทรัพย์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน จากการขายที่ดินต่อให้กับ นายอนันต์ อัศวโภคิน ที่มีการออกเอกสารข่าวชี้ขาดสั่งฟ้อง เมื่อวันที่ 29 ก.พ.2567 ที่ผ่านมา สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 4 โดยพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบดำเนินคดี ได้นัดหมาย นายอนันต์ อัศวโภคิน ผู้ต้องหา มาพบพนักงานอัยการ เพื่อส่งฟ้องศาลในวันที่ 2 เม.ย.2567 แต่ นายอนันต์ ไม่ได้เดินทางมาพบพนักงานอัยการ ขอเลื่อนการส่งตัวออกไปก่อน โดยอ้างเหตุผลอาการเจ็บป่วย พร้อมแสดงใบรองรับแพทย์ยืนยัน พนักงานอัยการคดีพิเศษ 4 ได้ให้เลื่อนการส่งตัวฟ้องดังกล่าว เป็นวันที่ 24 พ.ค.2567 เเละเลื่อนอีกครั้ง 24 มิ.ย. 2567 โดยให้เหตุผลทางการเจ็บป่วยเช่นเดิม เหตุจากการตรวจสอบ พบว่า คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กองคดีฟอกเงินทางอาญา ได้ตรวจสอบอาการเจ็บป่วยของนายอนันต์ โดยเรียกแพทย์หญิง ผู้ทำการรักษาให้ถ้อยคำชี้แจงเกี่ยวกับการรักษาอาการเจ็บป่วย พบว่า มีภาวะไตวายระยะสุดท้าย ได้รับการเปลี่ยนแปลงไตที่ประเทศออสเตรเลีย พบความเสียหายของไตจนทำงานไม่ได้ เรียกว่าภาวะสลัดไต ส่งผลให้ต้องกลับมาฟอกเลือดล้างไตอีกครั้ง เมื่อไตเสียหายขั้นสุดท้ายกลายเป็นไตวายระยะสุดท้ายอย่างถาวร ต้องฟอกเลือดใหม่สามครั้งต่อหนึ่งสัปดาห์ต่อไปตลอดชีวิตจนกว่าจะปลูกถ่ายไตครั้งที่สองอีกครั้ง ขณะนี้ยังไม่สามารถเปลี่ยนไตใหม่ได้ เนื่องจากร่างกายมีภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะสำคัญ คือ ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เลือดออกในสมอง และไม่มีภาวะภูมิคุ้มกันสภาพ ร่างกายไม่ควรที่จะเคลื่อนย้ายออกจากสถานที่ปลอดเชื้อ ในขณะที่ยังมีอาการป่วยเช่นนี้ เนื่องจากทำให้ติดเชื้อ และเสียชีวิตได้ จึงไม่ควรนำตัวนายอนันต์ ไปจากการดูแลรักษาของแพทย์เฉพาะทาง และร่างกายของผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย พร้อมที่จะรักษาชีวิตผู้ป่วยได้ จนกว่าผ่าตัดปลูกถ่ายเปลี่ยนไตใหม่จะเรียบร้อย และไม่เกิดภาวะสลัดไตอีก ยังถือว่าเป็นผู้ป่วยวิกฤติมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ตลอดเวลา หากอยู่ในสถานที่ไม่เหมาะสมแก่การดูแลรักษาดังกล่าว โดยเเพทย์หญิงคนดังกล่าวได้ให้การไว้ เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2567 ก่อนส่งเรื่องมายังอัยการคดีพิเศษ 4 ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาในเรื่องการนัดตัวส่งฟ้อง ทั้งนี้มีรายงานว่า เเนวทางของพนักงานอัยการเจ้าของสำนวนนั้น ให้พนักงานสอบสวนไปตรวจสอบ ว่า นายอนันต์ อัศวโภคิน มีอาการเจ็บป่วยจริงหรือไม่เเละให้พนักงานสอบสวนสอบปากคำแพทย์เพิ่มเติม ว่า หากมีกรณีที่จะต้องยื่นฟ้อง นายอนันต์ ต่อศาลอาญา การนำตัวมาฟ้องต่อศาล จะกระทบหรือ เสี่ยงต่ออาการป่วยในระดับใด เพราะเหตุใด เเละแพทย์มีคำแนะนำอย่างไร ที่มา : https://mgronline.com/crime/detail/9670000070517 #Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 570 มุมมอง 0 รีวิว