• **พิธีแต่งงาน กราบไหว้กระจก**

    สวัสดีค่ะ วันนี้คุยกันสั้นๆ ว่าด้วยเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เกี่ยวกับพิธีแต่งงาน
    เราเคยคุยกันเกี่ยวกับหลากหลายธรรมเนียมปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีแต่งงาน แต่มีขั้นตอนหนึ่งที่ปรากฏในเรื่องนี้เป็นที่สะดุดตา Storyฯ ไม่น้อย ไม่ทราบว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูถึงฉากแต่งงานของจ้าวซิวเหยวียนและหนิวอู่เหนียงจะรู้สึกสะดุดตากับการไหว้กระจกหรือไม่?

    การไหว้กระจกนี้เรียกว่า ‘ว่องจิ้งจ่านป้าย’ (望镜展拜) เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการกราบไหว้ตอนแต่งงาน โดยมีพื้นฐานมาจากความเชื่อว่ากระจกสามารถขับสิ่งอัปมงคลออกจากชีวิต อีกทั้งสื่อความหมายของความกระจ่างเปิดเผย สะท้อนให้เห็นว่างานมงคลครั้งนี้ทำอย่างถูกต้องตามพิธีการ เปิดเผยและสมเกียรติ

    แต่เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนจะคุ้นหูคุ้นตามากกว่ากับการกราบไหว้สามครั้ง ประกอบด้วยการกราบไหว้ฟ้าดิน กราบไหว้บิดามารดาฝ่ายชาย และกราบไหว้คู่แต่งงาน จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วกราบไหว้กระจกตอนไหน Storyฯ จึงไปหาข้อมูลมาเพิ่ม และพบว่าจริงๆ แล้วพิธีแต่งงานแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและพื้นที่ ดังนั้นเราจึงพบเห็นความหลากหลายในซีรีส์ต่างๆ ที่พยายามเอาธรรมเนียมจีนมาถ่ายทอดให้ดู

    การไหว้กระจกเป็นธรรมเนียมที่มีมาแต่สมัยใดไม่ทราบชัด แต่มีปรากฏอยู่บนภาพวาดในถ้ำโบราณม่อเกาถ้ำที่สิบสองแห่งเมืองโบราณตุนหวง ซึ่งเป็นภาพวาดสมัยถังตอนปลาย (ดูรูปประกอบ) เราจะเห็นคู่บ่าวสาวอยู่หน้ากระจกที่ตั้งอยู่บนขาตั้งสามขา โดยฝ่ายชายคุกเข่ากราบไหว้ ฝ่ายหญิงยืนคารวะอยู่ข้างๆ ซึ่งการที่ฝ่ายชายคุกเข่าแต่ฝ่ายหญิงคุกเข่านั้น บางข้อมูลกล่าวว่าเป็นเพราะว่ามันเป็นพิธีของการที่ฝ่ายชายแต่งเข้าบ้านฝ่ายหญิง แต่ก็มีบางบทความที่กล่าวว่านี่เป็นวิธีปฏิบัติทั่วไปในช่วงเวลาหนึ่งในสมัยถัง

    ในสมัยถัง หนึ่งในรูปแบบพิธีแต่งงานคือมีการกราบไหว้บรรพบุรุษที่วัดของตระกูลต่างหาก และในส่วนพิธีในบ้านนั้นบอกแต่เพียงว่าเป็นการกราบไหว้ของคู่บ่าวสาว โดยไม่ได้กำหนดว่าให้ไหว้ฟ้าดินหรือบิดามารดาหรือใคร จึงกลายเป็นการกราบไหว้กระจกอย่างเดียวก็จบพิธีแล้วส่งตัวเข้าห้องหอเลย

    วิธีปฏิบัตินี้มีสืบทอดต่อไปจนถึงสมัยซ่งเหนือ ปรากฏในบันทึกตงจิงเมิ่งหัวลู่ว่า เมื่อถึงบ้านเจ้าบ่าว จะมีคนโปรยถั่วต่างๆ พร้อมเอ่ยคำอวยพร บ่าวสาวก้าวไปบนผ้าหรือพรมคนนำมาสลับวาง (เรียกว่า ‘จ่วนสี’ / 转席) เพื่อไม่ให้เท้าแตะพื้น มีคนถือกระจกกลับด้าน (คือให้สะท้อนไปที่คู่บ่าวสาว) นำทางบ่าวสาวเดินข้ามผ่านอานม้าไปยังหน้าแท่นพิธี กราบไหว้แล้วส่งตัวเข้าห้องหอ แล้วบ่าวสาวค่อยไปคำนับซึ่งกันและกันตอนดื่มสุรามงคลในห้องหอ

    จากคำบรรยายฟังดูใกล้เคียงมากกับฉากแต่งงานของจ้าวซิวเหยวียนและหนิวอู่เหนียงที่เราเห็นในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> ที่มีสมัยถังเป็นฉากหลัง เพียงแต่ว่าเท่าที่ Storyฯ หาข้อมูลมาการก้าวข้ามอานม้าเพิ่งมีปฏิบัติในสมัยซ่ง แต่อย่างที่เราพอจะเห็นภาพว่าพิธีการเกี่ยวกับการแต่งงานมีรายละเอียดมากและแตกต่างกันไปตามพื้นที่และยุคสมัย และแน่นอนว่าเราจะเห็นอีกหลายหลายซีรีส์ทั้งในยุคถังและซ่งที่มีขั้นตอนการกราบไหว้ฟ้าดินที่แตกต่างกันในรายละเอียด

    ได้ยินว่าในเรื่อง <งามบุปผาสกุณา> ก็มีฉากกราบไหว้กระจกในพิธีแต่งงานเช่นกัน แต่ Storyฯ ยังไม่ได้ดู เพื่อนเพจเคยผ่านตาธรรมเนียมนี้ในเรื่องใด เม้นท์กันเข้ามาเล่าให้ฟังหน่อยนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.yicai.com/news/102418541.html
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_29901251
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_29901251
    https://baike.baidu.com/item/拜堂/63174
    https://yuedu.163.com/book_reader/eba5f99b2df44d1781d1e12e583d647c_4/95a26035c7624257a18cd5c3819a33bc_5
    https://chiculture.org.hk/sc/china-five-thousand-years/4488

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #พิธีแต่งงานจีน #กราบไหว้กระจก #ว่องจิ้งจ่านป้าย #สาระจีน
    **พิธีแต่งงาน กราบไหว้กระจก** สวัสดีค่ะ วันนี้คุยกันสั้นๆ ว่าด้วยเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เกี่ยวกับพิธีแต่งงาน เราเคยคุยกันเกี่ยวกับหลากหลายธรรมเนียมปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีแต่งงาน แต่มีขั้นตอนหนึ่งที่ปรากฏในเรื่องนี้เป็นที่สะดุดตา Storyฯ ไม่น้อย ไม่ทราบว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูถึงฉากแต่งงานของจ้าวซิวเหยวียนและหนิวอู่เหนียงจะรู้สึกสะดุดตากับการไหว้กระจกหรือไม่? การไหว้กระจกนี้เรียกว่า ‘ว่องจิ้งจ่านป้าย’ (望镜展拜) เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการกราบไหว้ตอนแต่งงาน โดยมีพื้นฐานมาจากความเชื่อว่ากระจกสามารถขับสิ่งอัปมงคลออกจากชีวิต อีกทั้งสื่อความหมายของความกระจ่างเปิดเผย สะท้อนให้เห็นว่างานมงคลครั้งนี้ทำอย่างถูกต้องตามพิธีการ เปิดเผยและสมเกียรติ แต่เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนจะคุ้นหูคุ้นตามากกว่ากับการกราบไหว้สามครั้ง ประกอบด้วยการกราบไหว้ฟ้าดิน กราบไหว้บิดามารดาฝ่ายชาย และกราบไหว้คู่แต่งงาน จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วกราบไหว้กระจกตอนไหน Storyฯ จึงไปหาข้อมูลมาเพิ่ม และพบว่าจริงๆ แล้วพิธีแต่งงานแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและพื้นที่ ดังนั้นเราจึงพบเห็นความหลากหลายในซีรีส์ต่างๆ ที่พยายามเอาธรรมเนียมจีนมาถ่ายทอดให้ดู การไหว้กระจกเป็นธรรมเนียมที่มีมาแต่สมัยใดไม่ทราบชัด แต่มีปรากฏอยู่บนภาพวาดในถ้ำโบราณม่อเกาถ้ำที่สิบสองแห่งเมืองโบราณตุนหวง ซึ่งเป็นภาพวาดสมัยถังตอนปลาย (ดูรูปประกอบ) เราจะเห็นคู่บ่าวสาวอยู่หน้ากระจกที่ตั้งอยู่บนขาตั้งสามขา โดยฝ่ายชายคุกเข่ากราบไหว้ ฝ่ายหญิงยืนคารวะอยู่ข้างๆ ซึ่งการที่ฝ่ายชายคุกเข่าแต่ฝ่ายหญิงคุกเข่านั้น บางข้อมูลกล่าวว่าเป็นเพราะว่ามันเป็นพิธีของการที่ฝ่ายชายแต่งเข้าบ้านฝ่ายหญิง แต่ก็มีบางบทความที่กล่าวว่านี่เป็นวิธีปฏิบัติทั่วไปในช่วงเวลาหนึ่งในสมัยถัง ในสมัยถัง หนึ่งในรูปแบบพิธีแต่งงานคือมีการกราบไหว้บรรพบุรุษที่วัดของตระกูลต่างหาก และในส่วนพิธีในบ้านนั้นบอกแต่เพียงว่าเป็นการกราบไหว้ของคู่บ่าวสาว โดยไม่ได้กำหนดว่าให้ไหว้ฟ้าดินหรือบิดามารดาหรือใคร จึงกลายเป็นการกราบไหว้กระจกอย่างเดียวก็จบพิธีแล้วส่งตัวเข้าห้องหอเลย วิธีปฏิบัตินี้มีสืบทอดต่อไปจนถึงสมัยซ่งเหนือ ปรากฏในบันทึกตงจิงเมิ่งหัวลู่ว่า เมื่อถึงบ้านเจ้าบ่าว จะมีคนโปรยถั่วต่างๆ พร้อมเอ่ยคำอวยพร บ่าวสาวก้าวไปบนผ้าหรือพรมคนนำมาสลับวาง (เรียกว่า ‘จ่วนสี’ / 转席) เพื่อไม่ให้เท้าแตะพื้น มีคนถือกระจกกลับด้าน (คือให้สะท้อนไปที่คู่บ่าวสาว) นำทางบ่าวสาวเดินข้ามผ่านอานม้าไปยังหน้าแท่นพิธี กราบไหว้แล้วส่งตัวเข้าห้องหอ แล้วบ่าวสาวค่อยไปคำนับซึ่งกันและกันตอนดื่มสุรามงคลในห้องหอ จากคำบรรยายฟังดูใกล้เคียงมากกับฉากแต่งงานของจ้าวซิวเหยวียนและหนิวอู่เหนียงที่เราเห็นในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> ที่มีสมัยถังเป็นฉากหลัง เพียงแต่ว่าเท่าที่ Storyฯ หาข้อมูลมาการก้าวข้ามอานม้าเพิ่งมีปฏิบัติในสมัยซ่ง แต่อย่างที่เราพอจะเห็นภาพว่าพิธีการเกี่ยวกับการแต่งงานมีรายละเอียดมากและแตกต่างกันไปตามพื้นที่และยุคสมัย และแน่นอนว่าเราจะเห็นอีกหลายหลายซีรีส์ทั้งในยุคถังและซ่งที่มีขั้นตอนการกราบไหว้ฟ้าดินที่แตกต่างกันในรายละเอียด ได้ยินว่าในเรื่อง <งามบุปผาสกุณา> ก็มีฉากกราบไหว้กระจกในพิธีแต่งงานเช่นกัน แต่ Storyฯ ยังไม่ได้ดู เพื่อนเพจเคยผ่านตาธรรมเนียมนี้ในเรื่องใด เม้นท์กันเข้ามาเล่าให้ฟังหน่อยนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.yicai.com/news/102418541.html https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_29901251 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_29901251 https://baike.baidu.com/item/拜堂/63174 https://yuedu.163.com/book_reader/eba5f99b2df44d1781d1e12e583d647c_4/95a26035c7624257a18cd5c3819a33bc_5 https://chiculture.org.hk/sc/china-five-thousand-years/4488 #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #พิธีแต่งงานจีน #กราบไหว้กระจก #ว่องจิ้งจ่านป้าย #สาระจีน
    从《蜀锦人家》看非遗生意经,这些诀窍可借鉴|乐言商业
    《蜀锦人家》通过女主角季英英的故事,展示了核心技术、创新、产业链合作、资本运作和渠道拓展等商业策略,为现代消费企业提供了宝贵的启示。
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 233 มุมมอง 0 รีวิว
  • จ้างเชอ ธรรมเนียมกีดขวางรถเจ้าสาว

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ ว่าด้วยการแต่งงานจีนโบราณ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจำได้ว่าในฉากที่องค์หญิงหลี่หรงแต่งงานนั้น องค์ชายรัชทายาทหลี่ชวนได้นั่งรถม้านำขบวนรถเจ้าสาวพร้อมโปรยเงินให้ชาวบ้านที่มาอออยู่เต็มถนน จริงๆ แล้วพวกชาวบ้านไม่ได้มารอรับขบวนเสด็จขององค์หญิง หากแต่มันเป็นประเพณีการกีดขวางรถเจ้าสาวหรือที่เรียกว่า ‘จ้างเชอ’ (障车 แปลตรงตัวว่า ขวางรถ)

    พวกเราส่วนใหญ่คุ้นเคยกับประเพณีการกั้นประตูตอนเจ้าบ่าวมารับตัวเจ้าสาว ซึ่งเป็นการกั้นก่อนที่เจ้าบ่าวจะเข้าถึงตัวเจ้าสาว แต่การกีดขวางรถเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้เป็นการกีดขวางขบวนรถเจ้าสาวหลังจากที่เจ้าบ่าวรับตัวเจ้าสาวแล้วและกำลังจะพาเจ้าสาวเดินทางกลับบ้านเจ้าบ่าวเพื่อเข้าพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน ทั้งนี้ ตามประเพณีดั้งเดิม การกีดขวางรถนี้เป็นการกระทำโดยครอบครัวฝ่ายหญิงเพื่อแสดงออกถึงความอาลัยอาวรณ์ในตัวเจ้าสาว

    แต่เดิมในสมัยโบราณนั้น พิธีการแต่งงานจะเน้นเรียบขรึมสุขุมเพราะมองว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ครึกครื้นเอิกเกริกและไม่มีการกีดขวางขบวนเจ้าสาว ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเกิดประเพณีกีดขวางขบวนเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้ขึ้น และเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยสุยและถัง โดยในสมัยถังนั้น เป็นยุคสมัยที่เน้นความครึกครื้นและนิยมการแต่งกลอน มีการให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวหรือ ‘ชุยจวงซือ’ ก่อนจะเข้าถึงตัวเจ้าสาวได้ (Storyฯ เคยเขียนถึงธรรมเนียมคล้ายคลึงกันในสมัยซ่ง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid05s41d5RQU7QjyxytQ3KKM5YDxA5cE2wNCLQDJZtP6YXRh844ki7rSrhXaGPr3zLil) และเมื่อรับตัวเจ้าสาวแล้วก็จะถูกกั้นขบวนหรือจ้างเชอ และเจ้าบ่าวต้องแต่งกลอนเพื่อขอให้เปิดทาง ต่อมาพัฒนามาเป็นการกีดขวางเพื่อให้ฝ่ายชายต้องจ่ายเงินก่อนจะพาขบวนรถเจ้าสาวออกไปได้และอาจแห่กันมายืนออกันทั้งหมู่บ้าน ไม่ใช่แค่ครอบครัวของเจ้าสาว

    และเมื่อมาถึงบ้านเจ้าบ่าวแล้ว ในสมัยถังจะมีการเดินบนพรมที่มีคนนำมาสลับวางอย่างที่เห็นในเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> เรียกว่า ‘จ่วนสี’ (转席) เป็นเคล็ดว่าให้สืบทอดรุ่นต่อรุ่น

    แน่นอนว่าธรรมเนียมปฏิบัติเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและตามพื้นที่ จากเดิมใช้รถม้ารับเจ้าสาวก็เปลี่ยนมาเป็นใช้เกี้ยวในสมัยซ่ง และในบางพื้นที่ก็เปลี่ยนจากการให้บ่าวสาวเดินบนพรมที่สลับวางมาเป็นให้เจ้าสาวก้าวข้ามอานม้า (ซึ่งออกเสียงใกล้กับคำว่า ‘อัน’ ที่แปลว่าปลอดภัยสุขสงบ) หรือก้าวข้ามเตาเป็นเคล็ดว่าให้แคล้วคลาดจากสิ่งอัปมงคลแทน
    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/x2wrzLn
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://paper.people.com.cn/rmlt/html/2023-07/01/content_26011443.htm
    https://baike.baidu.com/item/障车/1624835
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_15953346#:~:text=新娘上了车,女方,之为“转席”。
    https://zqb.cyol.com/html/2020-11/10/nw.D110000zgqnb_20201110_1-10.htm

    #องค์หญิงใหญ่ #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #รับตัวเจ้าสาวจีนโบราณ #สาระจีน

    จ้างเชอ ธรรมเนียมกีดขวางรถเจ้าสาว สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ ว่าด้วยการแต่งงานจีนโบราณ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจำได้ว่าในฉากที่องค์หญิงหลี่หรงแต่งงานนั้น องค์ชายรัชทายาทหลี่ชวนได้นั่งรถม้านำขบวนรถเจ้าสาวพร้อมโปรยเงินให้ชาวบ้านที่มาอออยู่เต็มถนน จริงๆ แล้วพวกชาวบ้านไม่ได้มารอรับขบวนเสด็จขององค์หญิง หากแต่มันเป็นประเพณีการกีดขวางรถเจ้าสาวหรือที่เรียกว่า ‘จ้างเชอ’ (障车 แปลตรงตัวว่า ขวางรถ) พวกเราส่วนใหญ่คุ้นเคยกับประเพณีการกั้นประตูตอนเจ้าบ่าวมารับตัวเจ้าสาว ซึ่งเป็นการกั้นก่อนที่เจ้าบ่าวจะเข้าถึงตัวเจ้าสาว แต่การกีดขวางรถเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้เป็นการกีดขวางขบวนรถเจ้าสาวหลังจากที่เจ้าบ่าวรับตัวเจ้าสาวแล้วและกำลังจะพาเจ้าสาวเดินทางกลับบ้านเจ้าบ่าวเพื่อเข้าพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน ทั้งนี้ ตามประเพณีดั้งเดิม การกีดขวางรถนี้เป็นการกระทำโดยครอบครัวฝ่ายหญิงเพื่อแสดงออกถึงความอาลัยอาวรณ์ในตัวเจ้าสาว แต่เดิมในสมัยโบราณนั้น พิธีการแต่งงานจะเน้นเรียบขรึมสุขุมเพราะมองว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ครึกครื้นเอิกเกริกและไม่มีการกีดขวางขบวนเจ้าสาว ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเกิดประเพณีกีดขวางขบวนเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้ขึ้น และเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยสุยและถัง โดยในสมัยถังนั้น เป็นยุคสมัยที่เน้นความครึกครื้นและนิยมการแต่งกลอน มีการให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวหรือ ‘ชุยจวงซือ’ ก่อนจะเข้าถึงตัวเจ้าสาวได้ (Storyฯ เคยเขียนถึงธรรมเนียมคล้ายคลึงกันในสมัยซ่ง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid05s41d5RQU7QjyxytQ3KKM5YDxA5cE2wNCLQDJZtP6YXRh844ki7rSrhXaGPr3zLil) และเมื่อรับตัวเจ้าสาวแล้วก็จะถูกกั้นขบวนหรือจ้างเชอ และเจ้าบ่าวต้องแต่งกลอนเพื่อขอให้เปิดทาง ต่อมาพัฒนามาเป็นการกีดขวางเพื่อให้ฝ่ายชายต้องจ่ายเงินก่อนจะพาขบวนรถเจ้าสาวออกไปได้และอาจแห่กันมายืนออกันทั้งหมู่บ้าน ไม่ใช่แค่ครอบครัวของเจ้าสาว และเมื่อมาถึงบ้านเจ้าบ่าวแล้ว ในสมัยถังจะมีการเดินบนพรมที่มีคนนำมาสลับวางอย่างที่เห็นในเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> เรียกว่า ‘จ่วนสี’ (转席) เป็นเคล็ดว่าให้สืบทอดรุ่นต่อรุ่น แน่นอนว่าธรรมเนียมปฏิบัติเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและตามพื้นที่ จากเดิมใช้รถม้ารับเจ้าสาวก็เปลี่ยนมาเป็นใช้เกี้ยวในสมัยซ่ง และในบางพื้นที่ก็เปลี่ยนจากการให้บ่าวสาวเดินบนพรมที่สลับวางมาเป็นให้เจ้าสาวก้าวข้ามอานม้า (ซึ่งออกเสียงใกล้กับคำว่า ‘อัน’ ที่แปลว่าปลอดภัยสุขสงบ) หรือก้าวข้ามเตาเป็นเคล็ดว่าให้แคล้วคลาดจากสิ่งอัปมงคลแทน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/x2wrzLn Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://paper.people.com.cn/rmlt/html/2023-07/01/content_26011443.htm https://baike.baidu.com/item/障车/1624835 https://m.thepaper.cn/baijiahao_15953346#:~:text=新娘上了车,女方,之为“转席”。 https://zqb.cyol.com/html/2020-11/10/nw.D110000zgqnb_20201110_1-10.htm #องค์หญิงใหญ่ #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #รับตัวเจ้าสาวจีนโบราณ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 703 มุมมอง 0 รีวิว