• อับบาส อารักชี รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่านเดินทางถึงกรุงโรมเพื่อเข้าร่วมการเจรจาเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านรอบที่สองระหว่างอิหร่านและสหรัฐฯ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้านี้

    ขณะที่ทรัมป์ส่งข้อความถึงอิหร่านว่า "จะต้องไม่มีนิวเคลียร์บนดินแดนอิหร่าน" และพร้อมใช้มาตรการทางทหาร หากวิธีทางการทูตล้มเหลว

    การเจรจาจะจัดขึ้นในสถานทูตของโอมาน ในกรุงโรม และสตีฟ วิทคอฟฟ์ ผู้แทนของทรัมป์ในตะวันออกกลาง จะเป็นผู้แทนฝ่ายสหรัฐอีกครั้ง

    สิ่งที่น่าสนใจก่อนการเจรจาจะเกิดขึ้น:
    👉อับบาส อารักชี รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่านเดินทางมารัสเซียเพื่อพบกับประธานาธิบดีปูติน
    👉จอร์เจีย เมโลนี นายกรัฐมนตรีอิตาลี เดินทางเยือนสหรัฐฯ เพื่อพบประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
    อับบาส อารักชี รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่านเดินทางถึงกรุงโรมเพื่อเข้าร่วมการเจรจาเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านรอบที่สองระหว่างอิหร่านและสหรัฐฯ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้านี้ ขณะที่ทรัมป์ส่งข้อความถึงอิหร่านว่า "จะต้องไม่มีนิวเคลียร์บนดินแดนอิหร่าน" และพร้อมใช้มาตรการทางทหาร หากวิธีทางการทูตล้มเหลว การเจรจาจะจัดขึ้นในสถานทูตของโอมาน ในกรุงโรม และสตีฟ วิทคอฟฟ์ ผู้แทนของทรัมป์ในตะวันออกกลาง จะเป็นผู้แทนฝ่ายสหรัฐอีกครั้ง สิ่งที่น่าสนใจก่อนการเจรจาจะเกิดขึ้น: 👉อับบาส อารักชี รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่านเดินทางมารัสเซียเพื่อพบกับประธานาธิบดีปูติน 👉จอร์เจีย เมโลนี นายกรัฐมนตรีอิตาลี เดินทางเยือนสหรัฐฯ เพื่อพบประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 51 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัสเซียประกาศพร้อมโจมตีกองกำลังทหารเดนมาร์กทันที เพราะถือว่าเป็นเป้าหมายทางทหาร หลังจากเดนมาร์กประกาศส่งทหารเข้าสู่ยูเครน โดยอ้างเหตุผลเพื่อเรียนรู้เทคนิคการทำสงครามด้วยโดรนในสถานการณ์จริง
    รัสเซียประกาศพร้อมโจมตีกองกำลังทหารเดนมาร์กทันที เพราะถือว่าเป็นเป้าหมายทางทหาร หลังจากเดนมาร์กประกาศส่งทหารเข้าสู่ยูเครน โดยอ้างเหตุผลเพื่อเรียนรู้เทคนิคการทำสงครามด้วยโดรนในสถานการณ์จริง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 67 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมื่อชาวยูเครนเริ่มลุกขึ้นตอบโต้รัฐบาลเซเลนสกี

    ภาพชาวยูเครนกำลังรุมทำร้ายเจ้าหน้าที่ทหารที่คอยบังคับจับตัวพลเรือนเข้าสู่แนวหน้าจนหมดสติ
    เมื่อชาวยูเครนเริ่มลุกขึ้นตอบโต้รัฐบาลเซเลนสกี ภาพชาวยูเครนกำลังรุมทำร้ายเจ้าหน้าที่ทหารที่คอยบังคับจับตัวพลเรือนเข้าสู่แนวหน้าจนหมดสติ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 101 มุมมอง 21 0 รีวิว
  • มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศกล่าวว่า สหรัฐอาจจะ "ถอนตัว" และก้าวเดินต่อไป หากการเจรจาสันติภาพยูเครนไม่มีความคืบหน้าภายในไม่กี่วันนี้

    รูบิโอ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สหรัฐไม่มีวิธีแก้ปัญหาด้วยกำลังทหาร และเป็นเรื่องของยุโรปในการตัดสินใจ รวมทั้งการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่างๆ ที่ส่วนใหญ่ออกมาจากทางยุโรป ซึ่งสหรัฐไม่สามารถยกเลิกได้ ทำให้สหภาพยุโรปจำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจาหลังจากนี้

    ทางด้าน มาร์การิตา ซิโมนยา บรรณาธิการบริหารของสำนักข่าว RTของรัสเซีย กล่าวแสดงความเห็นจากคำพูดของรูบิโอว่า หากสหรัฐ "ก้าวเดินต่อไป" (move on) บางทีรัสเซียอาจจะ "ก้าวเดินต่อไป" จนถึง Pokrovsk (โปครอฟสค์) ด้วยเช่นกัน 😂
    มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศกล่าวว่า สหรัฐอาจจะ "ถอนตัว" และก้าวเดินต่อไป หากการเจรจาสันติภาพยูเครนไม่มีความคืบหน้าภายในไม่กี่วันนี้ รูบิโอ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สหรัฐไม่มีวิธีแก้ปัญหาด้วยกำลังทหาร และเป็นเรื่องของยุโรปในการตัดสินใจ รวมทั้งการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่างๆ ที่ส่วนใหญ่ออกมาจากทางยุโรป ซึ่งสหรัฐไม่สามารถยกเลิกได้ ทำให้สหภาพยุโรปจำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจาหลังจากนี้ ทางด้าน มาร์การิตา ซิโมนยา บรรณาธิการบริหารของสำนักข่าว RTของรัสเซีย กล่าวแสดงความเห็นจากคำพูดของรูบิโอว่า หากสหรัฐ "ก้าวเดินต่อไป" (move on) บางทีรัสเซียอาจจะ "ก้าวเดินต่อไป" จนถึง Pokrovsk (โปครอฟสค์) ด้วยเช่นกัน 😂
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 138 มุมมอง 11 0 รีวิว
  • “สคร. จัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินสะสม ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ 2568 จำนวน 79,054 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45% ของเป้าหมายทั้งปี”นายธิบดี วัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2568 สคร. มีเป้าหมายในการจัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินจากรัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 (เงินนำส่งรายได้แผ่นดินฯ) จำนวน 176,500 ล้านบาท โดยไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2568 (1 ตุลาคม 2567 - 31 มีนาคม 2568) มีประมาณการเงินนำส่งรายได้แผ่นดินฯ สะสมจำนวน 62,975 ล้านบาท และ สคร. สามารถจัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินฯ สะสมรวมทั้งสิ้นจำนวน 79,054 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการสะสมอยู่ที่จำนวน 16,079 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 126 ของประมาณการสะสม และคิดเป็นร้อยละ 45 ของเป้าหมายการจัดเก็บทั้งปี ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 ที่นำส่งรายได้แผ่นดินสูงสุด 10 อันดับแรก (ไม่รวมภาษีหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ) แสดงได้ตามตาราง ดังนี้ลำดับที่ รัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 จำนวน (ล้านบาท)1) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย1 26,349 2) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 22,610 3) ธนาคารออมสิน 8,323 4) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (10,000 of 14,285.7) 7,900 5) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 7,226 6) การไฟฟ้านครหลวง 3,468 7) การประปาส่วนภูมิภาค 1,820 8) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) 739 9) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย 197 10) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย 109 หมายเหตุ: 1รวมเงินนำส่งรายได้แผ่นดินจากการจัดสรรกำไรสุทธิปี 2566 จำนวน 20,566 ล้านบาท สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ สำนักนโยบายและแผนรัฐวิสาหกิจ โทร. 0 2298 5880 ต่อ 60113
    “สคร. จัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินสะสม ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ 2568 จำนวน 79,054 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45% ของเป้าหมายทั้งปี”นายธิบดี วัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2568 สคร. มีเป้าหมายในการจัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินจากรัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 (เงินนำส่งรายได้แผ่นดินฯ) จำนวน 176,500 ล้านบาท โดยไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2568 (1 ตุลาคม 2567 - 31 มีนาคม 2568) มีประมาณการเงินนำส่งรายได้แผ่นดินฯ สะสมจำนวน 62,975 ล้านบาท และ สคร. สามารถจัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินฯ สะสมรวมทั้งสิ้นจำนวน 79,054 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการสะสมอยู่ที่จำนวน 16,079 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 126 ของประมาณการสะสม และคิดเป็นร้อยละ 45 ของเป้าหมายการจัดเก็บทั้งปี ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 ที่นำส่งรายได้แผ่นดินสูงสุด 10 อันดับแรก (ไม่รวมภาษีหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ) แสดงได้ตามตาราง ดังนี้ลำดับที่ รัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 จำนวน (ล้านบาท)1) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย1 26,349 2) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 22,610 3) ธนาคารออมสิน 8,323 4) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (10,000 of 14,285.7) 7,900 5) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 7,226 6) การไฟฟ้านครหลวง 3,468 7) การประปาส่วนภูมิภาค 1,820 8) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) 739 9) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย 197 10) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย 109 หมายเหตุ: 1รวมเงินนำส่งรายได้แผ่นดินจากการจัดสรรกำไรสุทธิปี 2566 จำนวน 20,566 ล้านบาท สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ สำนักนโยบายและแผนรัฐวิสาหกิจ โทร. 0 2298 5880 ต่อ 60113
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 117 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภาพขบวนรถของทหารสหรัฐฯ กำลังออกจากฐานทัพโคนิโก ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับแหล่งก๊าซโคนิโก (Koniko gas field) ในจังหวัดเดียร์เอซซอร์ (Deir ez-Zor) ของซีเรีย


    สหรัฐประกาศถอนทหาร 600 นายออกจากซีเรีย โดยเหลือทหารทิ้งไว้ประมาณ 1,400 นาย และปิดฐานทัพขนาดเล็ก 3 แห่ง จากทั้งหมด 8 แห่ง
    ภาพขบวนรถของทหารสหรัฐฯ กำลังออกจากฐานทัพโคนิโก ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับแหล่งก๊าซโคนิโก (Koniko gas field) ในจังหวัดเดียร์เอซซอร์ (Deir ez-Zor) ของซีเรีย สหรัฐประกาศถอนทหาร 600 นายออกจากซีเรีย โดยเหลือทหารทิ้งไว้ประมาณ 1,400 นาย และปิดฐานทัพขนาดเล็ก 3 แห่ง จากทั้งหมด 8 แห่ง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 118 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยูเลีย สวีรีเดนโก (Yulia Svyrydenko) รองนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่ง และรมต.กระทรวงเศรษฐกิจและการค้ายูเครน ประกาศการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum) เกี่ยวกับข้อตกลงด้านแร่ธาตุกับสหรัฐแล้ว (บันทึกความเข้าใจยังไม่มีผลผูกพันธ์ทางกฎหมาย)

    สวีรีเดนโก กล่าวอีกว่า ทั้งสองประเทศจะเร่งสรุปกรอบของข้อตกลงด้านแร่ธาตุและลงนามในข้อตกลงอย่างเป็นทางการต่อไป


    ทางด้านเซเลนสกีได้ยืนยันถึงการลงนามตามบันทึกความเข้าใจครั้งนี้ (Memorandum) และยังกล่าวอีกว่า "นี่ยังไม่ใช่ข้อตกลงขั้นตอนสุดท้ายที่แท้จริง"

    ขณะเดียวกันทรัมป์ได้กล่าวในวันนี้ว่า ข้อตกลงขั้นสุดท้ายกับยูเครนในเรื่องทรัพยากรแร่ธาตุจะมีการ "ลงนามข้อตกลง" ในวันพฤหัสบดีหน้านี้


    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว The New York Times เปิดเผยเกี่ยวกับรายละเอียดบางส่วนของข้อตกลงแร่ธาตุระหว่างสหรัฐฯและยูเครน โดยระบุว่า:

    ยูเครนจะต้องคืนเงินหลายพันล้านดอลลาร์ที่สหรัฐส่งความช่วยเหลือทางการทหารตลอดระยะเวลา 3 ปีของการต่อสู้กับรัสเซียให้แก่สหรัฐฯ

    ยูเครนจะต้องแบ่งรายได้ครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งหมดจากการทำธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งรายได้จากโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน เช่น ท่าเรือ ท่อส่งน้ำมันและก๊าซ เข้ากองทุนที่สหรัฐกำลังจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนต่อในด้านโครงการทรัพยากรธรรมชาติของยูเครน แต่ยังไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าสหรัฐจะร่วมลงทุนในสัดส่วนเท่าไหร่

    ข้อตกลงนี้จะมีผลบังคับใช้ไปจนกว่ายูเครนจะคืนเงินค่าใช้จ่ายความช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐฯ พร้อมดอกเบี้ย 4% ต่อปี

    นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึงการรับประกันความปลอดภัยสำหรับยูเครน แม้ว่าฝ่ายยูเครนจะเคยยืนยันหนักแน่นว่าจะต้องรวมข้อกำหนดนี้ไว้ในข้อตกลงแร่ธาตุด้วยก็ตาม

    ยูเลีย สวีรีเดนโก (Yulia Svyrydenko) รองนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่ง และรมต.กระทรวงเศรษฐกิจและการค้ายูเครน ประกาศการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum) เกี่ยวกับข้อตกลงด้านแร่ธาตุกับสหรัฐแล้ว (บันทึกความเข้าใจยังไม่มีผลผูกพันธ์ทางกฎหมาย) สวีรีเดนโก กล่าวอีกว่า ทั้งสองประเทศจะเร่งสรุปกรอบของข้อตกลงด้านแร่ธาตุและลงนามในข้อตกลงอย่างเป็นทางการต่อไป ทางด้านเซเลนสกีได้ยืนยันถึงการลงนามตามบันทึกความเข้าใจครั้งนี้ (Memorandum) และยังกล่าวอีกว่า "นี่ยังไม่ใช่ข้อตกลงขั้นตอนสุดท้ายที่แท้จริง" ขณะเดียวกันทรัมป์ได้กล่าวในวันนี้ว่า ข้อตกลงขั้นสุดท้ายกับยูเครนในเรื่องทรัพยากรแร่ธาตุจะมีการ "ลงนามข้อตกลง" ในวันพฤหัสบดีหน้านี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว The New York Times เปิดเผยเกี่ยวกับรายละเอียดบางส่วนของข้อตกลงแร่ธาตุระหว่างสหรัฐฯและยูเครน โดยระบุว่า: ยูเครนจะต้องคืนเงินหลายพันล้านดอลลาร์ที่สหรัฐส่งความช่วยเหลือทางการทหารตลอดระยะเวลา 3 ปีของการต่อสู้กับรัสเซียให้แก่สหรัฐฯ ยูเครนจะต้องแบ่งรายได้ครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งหมดจากการทำธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งรายได้จากโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน เช่น ท่าเรือ ท่อส่งน้ำมันและก๊าซ เข้ากองทุนที่สหรัฐกำลังจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนต่อในด้านโครงการทรัพยากรธรรมชาติของยูเครน แต่ยังไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าสหรัฐจะร่วมลงทุนในสัดส่วนเท่าไหร่ ข้อตกลงนี้จะมีผลบังคับใช้ไปจนกว่ายูเครนจะคืนเงินค่าใช้จ่ายความช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐฯ พร้อมดอกเบี้ย 4% ต่อปี นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึงการรับประกันความปลอดภัยสำหรับยูเครน แม้ว่าฝ่ายยูเครนจะเคยยืนยันหนักแน่นว่าจะต้องรวมข้อกำหนดนี้ไว้ในข้อตกลงแร่ธาตุด้วยก็ตาม
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 195 มุมมอง 0 รีวิว
  • 170 ปี สนธิสัญญาเบาว์ริง เปิดประเทศสู่เศรษฐกิจโลก ประโยชน์ไม่สมดุล ทุนต่างชาติครอบงำ ไม่ยุติธรรม! ไทยทำไม่ได้ที่อังกฤษ เปิดประเทศสู่โลก แต่ปิดความเท่าเทียม? 🇹🇭⚖️

    📚 สนธิสัญญาเบาว์ริงไม่ใช่แค่เรื่องในอดีต แต่คือจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่นำไทยเข้าสู่เวทีเศรษฐกิจโลก ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่เท่าเทียม เปิดประตูสู่ความทันสมัย แต่ปิดโอกาสของความเสมอภาค ในการเจรจากับชาติตะวันตก ⚖️

    🧭 สนธิสัญญาที่เปิดประเทศ แต่ปิดความเสมอภาค ในวันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “สนธิสัญญาเบาว์ริง” ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของไทย สู่โลกทุนนิยม 🌍

    แต่ภายใต้การเปิดเสรีนั้น กลับมีเงื่อนไขที่ไทยเสียเปรียบ ทั้งในแง่เศรษฐกิจ การปกครอง และกฎหมายระหว่างประเทศ ทำให้สนธิสัญญานี้ถูกวิพากษ์ว่าเป็น "สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม"

    📜 “Treaty of Friendship and Commerce between the British Empire and the Kingdom of Siam” หรือ Bowring Treaty คือข้อตกลงระหว่างไทย หรือราชอาณาจักรสยามในสมัยนั้น กับอังกฤษ ที่ลงนามเมื่อวันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398

    จุดเด่นของสนธิสัญญานี้ คือการเปิดให้พ่อค้าชาวอังกฤษ สามารถค้าขายอย่างเสรีในสยาม และได้รับ “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” (Extraterritorial Rights) 🛂

    กล่าวคือ คนในบังคับอังกฤษที่อยู่ในไทย จะไม่อยู่ภายใต้กฎหมายไทย แต่ขึ้นกับศาลของอังกฤษเอง

    นอกจากนี้ สนธิสัญญายังเปิดทางให้พ่อค้าต่างชาติ ตั้งรกราก ซื้อขายทรัพย์สิน และถือครองที่ดินในบางพื้นที่ได้ด้วย

    💼 เหตุผลเบื้องหลัง อังกฤษต้องการอะไรกันแน่? หลายคนอาจเข้าใจว่า อังกฤษต้องการแค่เปิดตลาดการค้า แต่เบื้องหลังของข้อตกลงนี้ กลับลึกซึ้งกว่านั้นมาก…

    ผลประโยชน์จากการค้าฝิ่น อังกฤษต้องการสร้างเส้นทางการค้าฝิ่น ที่มั่นคงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องการให้สยามเป็นทางผ่านการค้ากับจีน ฮ่องกง และอินเดีย 🚢 อำนาจและอิทธิพลทางการทูต

    หลังสงครามฝิ่นครั้งแรก จีนพ่ายแพ้ อังกฤษต้องการป้องกันไม่ให้เกิด “สยามเป็นจีนลำดับต่อไป” เบาว์ริงใช้วิธี “ทูตนุ่ม” มากกว่าการใช้กำลังทหาร

    ประโยชน์จากภาษีต่ำ ตามสนธิสัญญา ไทยเก็บภาษีนำเข้าได้แค่ 3% เท่านั้น ‼️ ฝิ่นไม่ต้องเสียภาษีเลย แต่ต้องขายให้กับเจ้าภาษีเท่านั้น

    👑 ทำไมสยามถึงยอมเซ็น? พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเล็งเห็นว่า ประเทศไทยอยู่ในภาวะล้าหลัง เมื่อเทียบกับชาติตะวันตก หากไม่ยอมเปิดประเทศ อาจตกเป็นอาณานิคมเหมือนจีน พม่า หรืออินเดียได้

    การเปิดการค้าเสรี จะช่วยให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจาก “การส่งออกข้าว” ชาวนาก็จะมีเงินมากขึ้น ข้าวจะกลายเป็นสินค้าส่งออกของไทย สร้างรายได้ให้แก่รัฐบาล... 🧺🌾

    🔍 ผลกระทบที่ตามมา เปิดเสรี หรือเปิดโอกาสให้ต่างชาติครอบงำ? ภายหลังการลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริง มีเรือต่างประเทศ เข้ามาค้าขายกว่า 100 ลำในปีเดียว ระบบเงินเหรียญ แทนพดด้วง เริ่มใช้อย่างเป็นระบบ เกิดการลงทุนของต่างชาติ เช่น โรงสี โรงเลื่อยไม้ โรงน้ำตาล

    ชาวนามีรายได้สูงขึ้น ราคาข้าวพุ่ง จาก 3–5 บาท ต่อเกวียน เป็น 16–20 บาท ต่อเกวียน ราษฎรสามารถ “จำนอง” หรือ “ขายฝาก” ที่ดินของตนได้ ชาวต่างชาติสามารถเช่า หรือซื้อที่ดินได้ในพื้นที่ที่รัฐบาลกำหนด 🏘️

    📈 ข้อดีของสนธิสัญญาเบาว์ริง ที่น้อยคนนึกถึง...
    ✅ เปิดประตูการค้าเสรี
    ✅ ช่วยให้ไทยพัฒนาวิทยาการตะวันตก
    ✅ ราษฎรมีรายได้จากการค้าข้าว
    ✅ กระตุ้นการพัฒนาเมือง ถนนเจริญกรุง สีลม เริ่มก่อสร้าง
    ✅ ทำให้มีการแข่งขันทางการค้า → ราคาสินค้าลดลง

    📌 สินค้าไทยเป็นที่ต้องการของตลาดโลก เช่น ข้าว ไม้สัก งาช้าง

    😞 ข้อเสียเปรียบของไทย ในสนธิสัญญาเบาว์ริง ที่ถูกซ่อนไว้

    ❌ เสียสิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ไม่สามารถเก็บภาษีนำเข้าตามต้องการได้ ต้องเปิดตลาดสินค้าให้ต่างชาติ โดยไม่มีข้อจำกัด

    ❌ เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คนอังกฤษไม่ต้องขึ้นศาลไทย ทำให้ศาลไทยไม่มีอำนาจเต็มที่

    ❌ ทุนต่างชาติเข้ามาครอบงำเศรษฐกิจ ตั้งโรงงาน โรงสี โรงเลื่อยไม้ ฯลฯ โดยคนไทยแข่งขันไม่ได้

    ❌ คนไทยไม่สามารถทำการค้าในอังกฤษได้ ไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียม เหมือนที่อังกฤษได้จากไทย

    ⚖️ ทำไมถึงเรียกว่า “สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม”?
    📍 ถูกเซ็นภายใต้แรงกดดัน จากอำนาจจักรวรรดิ
    📍 ไม่มีความเสมอภาคระหว่างสองประเทศ
    📍 ไทยไม่สามารถต่อรองเงื่อนไขได้มากนัก
    📍 คล้ายกับ “สนธิสัญญานานกิง” ที่จีนถูกบังคับให้เซ็นหลังสงครามฝิ่น

    📚 บทเรียนที่ไทยได้จากอดีต

    🇹🇭 สนธิสัญญาเบาว์ริง เป็นแรงผลักดันให้ไทยเร่งพัฒนา ปฏิรูประบบราชการ ระบบศาล และกฎหมาย เปิดการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาในภายหลัง โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่งผลถึงการรักษาเอกราชของไทย ในขณะที่เพื่อนบ้านหลายประเทศ กลายเป็นอาณานิคม

    ✨ ไทยเสียเปรียบวันนี้ เพื่อไม่เสียประเทศในวันหน้า?

    “ไม่เสมอภาค แต่จำเป็น” คือคำจำกัดความที่ดีที่สุด ของสนธิสัญญาเบาว์ริง

    ถึงแม้สัญญาฉบับนี้ จะเต็มไปด้วยข้อเสียเปรียบ แต่ก็นำมาซึ่งการรอดพ้นจากอาณานิคม การเปิดประตูสู่โลกสมัยใหม่ การเตรียมประเทศ เข้าสู่ยุคการปฏิรูปในรัชกาลที่ 5

    สนธิสัญญาเบาว์ริงจึงเป็นเหมือน "ดาบสองคม" ที่ทั้งให้คุณและโทษ ในเวลาเดียวกัน ⚔️

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 181147 เม.ย. 2568

    📌 #สนธิสัญญาเบาว์ริง #เปิดประเทศแต่ไม่เปิดโอกาส #ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย
    #ThailandHistory #BowringTreaty #เปิดเสรีไม่เท่าเทียม
    #ThailandTradeHistory #อธิปไตยไทย #อังกฤษในไทย
    #โลกาภิวัตน์กับไทย
    170 ปี สนธิสัญญาเบาว์ริง เปิดประเทศสู่เศรษฐกิจโลก ประโยชน์ไม่สมดุล ทุนต่างชาติครอบงำ ไม่ยุติธรรม! ไทยทำไม่ได้ที่อังกฤษ เปิดประเทศสู่โลก แต่ปิดความเท่าเทียม? 🇹🇭⚖️ 📚 สนธิสัญญาเบาว์ริงไม่ใช่แค่เรื่องในอดีต แต่คือจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่นำไทยเข้าสู่เวทีเศรษฐกิจโลก ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่เท่าเทียม เปิดประตูสู่ความทันสมัย แต่ปิดโอกาสของความเสมอภาค ในการเจรจากับชาติตะวันตก ⚖️ 🧭 สนธิสัญญาที่เปิดประเทศ แต่ปิดความเสมอภาค ในวันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “สนธิสัญญาเบาว์ริง” ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของไทย สู่โลกทุนนิยม 🌍 แต่ภายใต้การเปิดเสรีนั้น กลับมีเงื่อนไขที่ไทยเสียเปรียบ ทั้งในแง่เศรษฐกิจ การปกครอง และกฎหมายระหว่างประเทศ ทำให้สนธิสัญญานี้ถูกวิพากษ์ว่าเป็น "สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม" 📜 “Treaty of Friendship and Commerce between the British Empire and the Kingdom of Siam” หรือ Bowring Treaty คือข้อตกลงระหว่างไทย หรือราชอาณาจักรสยามในสมัยนั้น กับอังกฤษ ที่ลงนามเมื่อวันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 จุดเด่นของสนธิสัญญานี้ คือการเปิดให้พ่อค้าชาวอังกฤษ สามารถค้าขายอย่างเสรีในสยาม และได้รับ “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” (Extraterritorial Rights) 🛂 กล่าวคือ คนในบังคับอังกฤษที่อยู่ในไทย จะไม่อยู่ภายใต้กฎหมายไทย แต่ขึ้นกับศาลของอังกฤษเอง นอกจากนี้ สนธิสัญญายังเปิดทางให้พ่อค้าต่างชาติ ตั้งรกราก ซื้อขายทรัพย์สิน และถือครองที่ดินในบางพื้นที่ได้ด้วย 💼 เหตุผลเบื้องหลัง อังกฤษต้องการอะไรกันแน่? หลายคนอาจเข้าใจว่า อังกฤษต้องการแค่เปิดตลาดการค้า แต่เบื้องหลังของข้อตกลงนี้ กลับลึกซึ้งกว่านั้นมาก… ผลประโยชน์จากการค้าฝิ่น อังกฤษต้องการสร้างเส้นทางการค้าฝิ่น ที่มั่นคงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องการให้สยามเป็นทางผ่านการค้ากับจีน ฮ่องกง และอินเดีย 🚢 อำนาจและอิทธิพลทางการทูต หลังสงครามฝิ่นครั้งแรก จีนพ่ายแพ้ อังกฤษต้องการป้องกันไม่ให้เกิด “สยามเป็นจีนลำดับต่อไป” เบาว์ริงใช้วิธี “ทูตนุ่ม” มากกว่าการใช้กำลังทหาร ประโยชน์จากภาษีต่ำ ตามสนธิสัญญา ไทยเก็บภาษีนำเข้าได้แค่ 3% เท่านั้น ‼️ ฝิ่นไม่ต้องเสียภาษีเลย แต่ต้องขายให้กับเจ้าภาษีเท่านั้น 👑 ทำไมสยามถึงยอมเซ็น? พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเล็งเห็นว่า ประเทศไทยอยู่ในภาวะล้าหลัง เมื่อเทียบกับชาติตะวันตก หากไม่ยอมเปิดประเทศ อาจตกเป็นอาณานิคมเหมือนจีน พม่า หรืออินเดียได้ การเปิดการค้าเสรี จะช่วยให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจาก “การส่งออกข้าว” ชาวนาก็จะมีเงินมากขึ้น ข้าวจะกลายเป็นสินค้าส่งออกของไทย สร้างรายได้ให้แก่รัฐบาล... 🧺🌾 🔍 ผลกระทบที่ตามมา เปิดเสรี หรือเปิดโอกาสให้ต่างชาติครอบงำ? ภายหลังการลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริง มีเรือต่างประเทศ เข้ามาค้าขายกว่า 100 ลำในปีเดียว ระบบเงินเหรียญ แทนพดด้วง เริ่มใช้อย่างเป็นระบบ เกิดการลงทุนของต่างชาติ เช่น โรงสี โรงเลื่อยไม้ โรงน้ำตาล ชาวนามีรายได้สูงขึ้น ราคาข้าวพุ่ง จาก 3–5 บาท ต่อเกวียน เป็น 16–20 บาท ต่อเกวียน ราษฎรสามารถ “จำนอง” หรือ “ขายฝาก” ที่ดินของตนได้ ชาวต่างชาติสามารถเช่า หรือซื้อที่ดินได้ในพื้นที่ที่รัฐบาลกำหนด 🏘️ 📈 ข้อดีของสนธิสัญญาเบาว์ริง ที่น้อยคนนึกถึง... ✅ เปิดประตูการค้าเสรี ✅ ช่วยให้ไทยพัฒนาวิทยาการตะวันตก ✅ ราษฎรมีรายได้จากการค้าข้าว ✅ กระตุ้นการพัฒนาเมือง ถนนเจริญกรุง สีลม เริ่มก่อสร้าง ✅ ทำให้มีการแข่งขันทางการค้า → ราคาสินค้าลดลง 📌 สินค้าไทยเป็นที่ต้องการของตลาดโลก เช่น ข้าว ไม้สัก งาช้าง 😞 ข้อเสียเปรียบของไทย ในสนธิสัญญาเบาว์ริง ที่ถูกซ่อนไว้ ❌ เสียสิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ไม่สามารถเก็บภาษีนำเข้าตามต้องการได้ ต้องเปิดตลาดสินค้าให้ต่างชาติ โดยไม่มีข้อจำกัด ❌ เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คนอังกฤษไม่ต้องขึ้นศาลไทย ทำให้ศาลไทยไม่มีอำนาจเต็มที่ ❌ ทุนต่างชาติเข้ามาครอบงำเศรษฐกิจ ตั้งโรงงาน โรงสี โรงเลื่อยไม้ ฯลฯ โดยคนไทยแข่งขันไม่ได้ ❌ คนไทยไม่สามารถทำการค้าในอังกฤษได้ ไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียม เหมือนที่อังกฤษได้จากไทย ⚖️ ทำไมถึงเรียกว่า “สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม”? 📍 ถูกเซ็นภายใต้แรงกดดัน จากอำนาจจักรวรรดิ 📍 ไม่มีความเสมอภาคระหว่างสองประเทศ 📍 ไทยไม่สามารถต่อรองเงื่อนไขได้มากนัก 📍 คล้ายกับ “สนธิสัญญานานกิง” ที่จีนถูกบังคับให้เซ็นหลังสงครามฝิ่น 📚 บทเรียนที่ไทยได้จากอดีต 🇹🇭 สนธิสัญญาเบาว์ริง เป็นแรงผลักดันให้ไทยเร่งพัฒนา ปฏิรูประบบราชการ ระบบศาล และกฎหมาย เปิดการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาในภายหลัง โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่งผลถึงการรักษาเอกราชของไทย ในขณะที่เพื่อนบ้านหลายประเทศ กลายเป็นอาณานิคม ✨ ไทยเสียเปรียบวันนี้ เพื่อไม่เสียประเทศในวันหน้า? “ไม่เสมอภาค แต่จำเป็น” คือคำจำกัดความที่ดีที่สุด ของสนธิสัญญาเบาว์ริง ถึงแม้สัญญาฉบับนี้ จะเต็มไปด้วยข้อเสียเปรียบ แต่ก็นำมาซึ่งการรอดพ้นจากอาณานิคม การเปิดประตูสู่โลกสมัยใหม่ การเตรียมประเทศ เข้าสู่ยุคการปฏิรูปในรัชกาลที่ 5 สนธิสัญญาเบาว์ริงจึงเป็นเหมือน "ดาบสองคม" ที่ทั้งให้คุณและโทษ ในเวลาเดียวกัน ⚔️ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 181147 เม.ย. 2568 📌 #สนธิสัญญาเบาว์ริง #เปิดประเทศแต่ไม่เปิดโอกาส #ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย #ThailandHistory #BowringTreaty #เปิดเสรีไม่เท่าเทียม #ThailandTradeHistory #อธิปไตยไทย #อังกฤษในไทย #โลกาภิวัตน์กับไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 201 มุมมอง 0 รีวิว
  • วินาทีที่ระเบิดร่อน FAB-1500 ของรัสเซียโจมตีอาคารที่พักอาศัยแห่งหนึ่ง ซึ่งถูกดัดแปลงเป็นที่มั่นทางทหารของยูเครน ในเมืองคูเปียนสค์ (Kupyansk) ภูมิภาคคาร์คิฟ (Kharkiv)
    วินาทีที่ระเบิดร่อน FAB-1500 ของรัสเซียโจมตีอาคารที่พักอาศัยแห่งหนึ่ง ซึ่งถูกดัดแปลงเป็นที่มั่นทางทหารของยูเครน ในเมืองคูเปียนสค์ (Kupyansk) ภูมิภาคคาร์คิฟ (Kharkiv)
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 133 มุมมอง 0 รีวิว
  • มีรายงานว่า สหรัฐเริ่มต้นถอนกำลังทหารออกจากซีเรียประมาณ 600 นาย และปิดฐานทัพขนาดเล็ก 3 แห่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรีย

    คาดว่าจะเหลือทหารสหรัฐอยู่อรกประมาณ 1,400 นาย และฐานทัพอีก 5 แห่ง (เดิมมี 8 แห่ง)

    รายงานเพิ่มเติมระบุว่า ฐานทัพ 2 แห่ง อยู่ใกล้กับแม่น้ำยูเฟรตีส์ (โคโนโคและกรีนวิลเลจ)

    ภาพถ่ายช่วงกลางคืน เห็นแสงไฟจากขบวนรถของทหารสหรัฐกำลังถอนตัวออกจากฐานทัพบางแห่ง

    👉น่าแปลกใจว่า กองทัพสหรัฐเข้ามาในซีเรียโดยใช้ข้ออ้างเพื่อต่อสู้ทำลายกับกลุ่มก่อการร้ายไอเอส ทั้งที่รัฐบาลซีเรียของอดีตประธานาธิบดีอัสซาดพยายามขับไล่ทหารสหรัฐออกไปจากประเทศ แต่พวกเขาดื้อดึงจะอยู่ต่อไป ในขณะที่ตอนนี้กลุ่มก่อการร้ายไอเอสโค่นล้มรัฐบาลอัสซาด และกำลังมีอำนาจปกครองซีเรียอย่างแท้จริง ทหารสหรัฐกลับพยายามถอนกำลังออกไป
    มีรายงานว่า สหรัฐเริ่มต้นถอนกำลังทหารออกจากซีเรียประมาณ 600 นาย และปิดฐานทัพขนาดเล็ก 3 แห่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรีย คาดว่าจะเหลือทหารสหรัฐอยู่อรกประมาณ 1,400 นาย และฐานทัพอีก 5 แห่ง (เดิมมี 8 แห่ง) รายงานเพิ่มเติมระบุว่า ฐานทัพ 2 แห่ง อยู่ใกล้กับแม่น้ำยูเฟรตีส์ (โคโนโคและกรีนวิลเลจ) ภาพถ่ายช่วงกลางคืน เห็นแสงไฟจากขบวนรถของทหารสหรัฐกำลังถอนตัวออกจากฐานทัพบางแห่ง 👉น่าแปลกใจว่า กองทัพสหรัฐเข้ามาในซีเรียโดยใช้ข้ออ้างเพื่อต่อสู้ทำลายกับกลุ่มก่อการร้ายไอเอส ทั้งที่รัฐบาลซีเรียของอดีตประธานาธิบดีอัสซาดพยายามขับไล่ทหารสหรัฐออกไปจากประเทศ แต่พวกเขาดื้อดึงจะอยู่ต่อไป ในขณะที่ตอนนี้กลุ่มก่อการร้ายไอเอสโค่นล้มรัฐบาลอัสซาด และกำลังมีอำนาจปกครองซีเรียอย่างแท้จริง ทหารสหรัฐกลับพยายามถอนกำลังออกไป
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 148 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฮามาส “ไม่ตกลง” กับข้อเสนอหยุดยิงของอิสราเอล

    อิสราเอลเสนอจะหยุดการโจมตีเป็นเวลา 6 สัปดาห์ แต่จะต้องให้ฮามาสยอมทิ้งอาวุธทั้งหมด และปล่อยตัวตัวประกันที่อีก 24 คน

    ฮามาสปฏิเสธเงื่อนไขดังกล่าว เนื่องจากข้อตกลงไม่ได้รวมถึงการยุติสงครามหรือการถอนทหารอิสราเอลออกจากฉนวนกาซา ซึ่งเป็น 2 สิ่งที่ฮามาสบอกว่าไม่สามารถต่อรองได้

    นอกจากนี้ ฮามาสต้องการข้อตกลงหยุดยิงอย่างถาวรจากที่ตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ แต่อิสราเอลมาทำลายไปเสียก่อน

    ในขณะที่อิสราเอลยังคงปิดกั้นความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เช่น อาหาร เชื้อเพลิง ยารักษาโรคไม่ให้เข้าสู่ในฉนวนกาซา ซึ่งเป็นสิ่งที่กำลังขาดแคลนอย่างหนัก และโรงพยาบาลต่างๆ ก็ได้รับผลกระทบจากการโจมตีทางอากาศอย่างต่อเนื่อง
    ฮามาส “ไม่ตกลง” กับข้อเสนอหยุดยิงของอิสราเอล อิสราเอลเสนอจะหยุดการโจมตีเป็นเวลา 6 สัปดาห์ แต่จะต้องให้ฮามาสยอมทิ้งอาวุธทั้งหมด และปล่อยตัวตัวประกันที่อีก 24 คน ฮามาสปฏิเสธเงื่อนไขดังกล่าว เนื่องจากข้อตกลงไม่ได้รวมถึงการยุติสงครามหรือการถอนทหารอิสราเอลออกจากฉนวนกาซา ซึ่งเป็น 2 สิ่งที่ฮามาสบอกว่าไม่สามารถต่อรองได้ นอกจากนี้ ฮามาสต้องการข้อตกลงหยุดยิงอย่างถาวรจากที่ตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ แต่อิสราเอลมาทำลายไปเสียก่อน ในขณะที่อิสราเอลยังคงปิดกั้นความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เช่น อาหาร เชื้อเพลิง ยารักษาโรคไม่ให้เข้าสู่ในฉนวนกาซา ซึ่งเป็นสิ่งที่กำลังขาดแคลนอย่างหนัก และโรงพยาบาลต่างๆ ก็ได้รับผลกระทบจากการโจมตีทางอากาศอย่างต่อเนื่อง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 157 มุมมอง 0 รีวิว

  • Airstrikes สงคราม ทองคำ และคนลุ่มน้ำโขง (ตอนที่ 4)
    *****************
    เสียงเครื่องบินกระหึ่มสัญชาติรัสเซีย และจีน ทั้งรุ่น MiG-29 -Yak-130 - K-8, F-7 และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35 Mi-17 เทคออฟขึ้นน่านฟ้าเมียนมา สร้างความหวาดวิตกกับพลเรือนในพื้นที่เสี่ยง ความถี่มิได้เป็นปกป้องอธิปไตยเหนือน่านฟ้า บางครั้งก็ถลำรุกน่านฟ้าของไทย และถูกต้อนกลับ
    เสียงอากาศยานของเมียนมาทำให้ประชาชน พลเรือนระส่ำระสาย บาดเจ็บล้มตายกัน ในพื้นที่พลเรือนและกลุ่มต่อต้าน ปี 2023-24 กระทรวงกลาโหมใช้งบประมาณเพื่อภารกิจ Aistrike กว่า 2.7 พันล้านดอลลาร์ อาวุธ ส่วนใหญ่มาจากรัสเซียและจีน
    กองทัพเผด็จการเมียนมาได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศประมาณ 30 ครั้งในรัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยงนี และรัฐกะฉิ่นในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา โดยทิ้งระเบิดเกือบ 100 ลูก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20 ราย ตามข้อมูลที่ Shan Herald Agency for News (SHAN) ได้รับ
    ระหว่างปลายปีที่ผ่าน ถึงวันที่ 30 มกราคม 2025 การโจมตีทางอากาศเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือนเป็นหลัก สร้างความเสียหายและการสูญเสียอย่างหนัก โดยเฉพาะเขตเมืองนองคิโอ รัฐฉาน ซึ่งระเบิดตกใส่ร้านน้ำชา ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 8 ราย
    มีการประเมินว่านับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อเกือบสี่ปีที่แล้ว โดยบันทึกการโจมตีทางอากาศทั้งหมด 1,767 ครั้ง ซึ่งน่าตกใจว่าร้อยละ 47 ของการโจมตีเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือน ทำให้วิกฤตด้านมนุษยธรรมในพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงขึ้น
    พื้นที่ ที่เป็นเป้าหมายคือพื้นที่ที่มีผลประโยชน์เหมืองแร่ และแร่ธาตุสูง โดยเฉพาะใน รัฐฉาน (Shan State), รัฐกะเหรี่ยงนี-คะยา (Karenni/Kayah State), รัฐกะฉิ่น (Kachin State), รัฐระแหง (Rakhine State) และพื้นที่อื่นๆ เช่น ภูมิภาคสกาย (Sagaing Region) เป็นต้น
    *****************
    USGS (United States Geological Survey) ได้ ประมาณการไว้ว่า ยังคงเหลือทองคำอยู่ใต้ดินที่ยังไม่ได้ผลิตออกมาอีกประมาณ 50,000 ตัน คาดกันว่าปริมาณทองคำที่ขุดขึ้นมา และมีการใช้ประโยชน์กันแล้วกว่า 190,000 ตัน และโดยเฉลี่ยในปัจจุบันมีการผลิตออกจากเหมืองประมาณปีละ 2,500 ถึง 3,000 ตัน มีการทำเหมืองทองคำทั่วโลกอยู่ใน 82 ประเทศ
    สแกนใต้ดินแอฟริกาใต้ มีทรัพยากรแร่ทองคำมากที่สุดในโลก และเป็นผู้ผลิตทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลก จนถึงปัจจุบันราว 31,000 ตัน รองลงมา คือ รัสเซีย ประมาณ 7,000 ตัน และ จีนเป็นอันดับ 3 ที่ผลิตประมาณ 6,328 ตัน ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย แคนาดา และ เปรู
    ทว่าในปี 2564 จีนขึ้นแป้นครองแชมป์ประเทศที่ผลิตทองคำจากเหมืองทองคำในประเทศมากที่สุด คิดเป็น 11% ของการผลิต ทั่วโลก ซึ่งจากฐานข้อมูล Global Data’s mines and projects ที่ได้ติดตามการพัฒนาและปฏิบัติการของเหมืองแร่ และโครงการทั่วโลก โดยเก็บข้อมูลจากบริษัทยักษ์ใหญ่กว่า 4,000 บริษัท ได้สรุป 5 อันดับ เหมืองทองคำในจีนที่ผลิตทองคำได้มากที่สุดในปี 2563 ดังนี้
    1.Shaxi Copper Mine เป็นเหมืองใต้ดินในมณฑลอานฮุย (Anhui) ของกลุ่มบริษัท Togling Nonferrous Metal Group ซึ่งผลิตทองคำได้ประมาณ 730,000 ounces of gold ในปี 2563
    2.Jiaojia Gold Mine ของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง (Shandong) ผลิตทองคำได้ประมาณ 230,000 ounces of gold ในปี 2563 และกำลังจะปิดตัวลงในปี 2566
    3.Dayingezhuang Gold Mine เป็นเหมืองทองคำในมณฑลซานตงเช่นกัน อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท Zhaojin Mining Industry และผลิตทองคำประมาณ 228,000 ounces of gold ในปี 2563
    4.Sanshandao Gold Mine เป็นเหมืองใต้ดินของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง ผลิตทองคำได้ ประมาณ 218,000 ounces of gold ในปี 2563 และจะผลิตตามแผนงานไปจนถึงปี 2571
    5.Zaozigou Gold Mine เป็นเหมืองทองคำของบริษัท Zhaojin Mining Industy ในมณฑลกานซู (Gansu) ผลิตทองคำได้ ประมาณ 207,000 ounces of gold

    *****************
    รายงานจาก มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ และ สหภาพนักศึกษาไทใหญ่ เกี่ยวกับเหมืองแร่ทองคำขยายวงกว้างทำให้เกิดดินโคลนถล่มท่วมชุมชนทางตะวันออกท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ระบุว่าบริษัทเหมืองแร่ได้เข้ามาในพื้นที่เมื่อปี 2550 ที่บริเวณต้นน้ำแม่น้ำคำ ตอนใต้ของบ้านนาโฮหลงในตำบลเมืองเลน ในปัจจุบันเหมืองทองคำแบบเปิดได้ขยายตัวไปกว่า 10 กิโลเมตรตลอดทั่วเทือกเขาดอยค้า ตามริมฝั่งน้ำด้านตะวันตกของแม่น้ำโขง การปล่อยน้ำจาจากการทำเหมืองแร่ทองแร่ทองคำที่ขาดการควบคุม รวมทั้งน้ำที่ไหลมาจากากอำบน้ำที่เจือด้วยสารไชยาไนด์ทำให้ลำน้ำน้ำอุดตัน และมักทำให้เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงที่ริมฝั่งน้ำในช่วงฤดูฝน
    การขยายตัวของเหมืองทองคำในเมืองเลน ยังทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม และในปัจจุบัน มีบริษัท 12 แห่งที่เชื่อมโยงกับนายทหารพม่าระดับสูงได้รับประทานบัตรอายุ 11 ปี เพื่อการทำเหมืองแร่ทองคำ
    ในบรรดาประทานบัตร มีการให้ประทานบัตร 13 ฉบับแก่ (8 บริษัท) เมื่อกลางปี 2563 และอีก 7 ฉบับให้แก่ (5 บริษัท) ในปี 2564 ภายหลังการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ประทานบัตรแต่ละฉบับครอบคลุมพื้นที่ 50 ไร่บริษัทส่วนใหญ่ที่ได้รับประทานบัตรจด ทะเบียนในจังหวัดท่าขี้เหล็ก ยกเว้นเพียงเมย์ฟลาวเวอร์ไมนิ่ง เอนเตอร์ไพรส์(Maylower Mining Enterprises) ที่จัดตั้งขึ้นโดยนายจ่อวิน ซึ่งเป็นพันธมิตรกับกองทัพพม่า และตั้งอยู่ที่เมืองย่างกุ้ง
    การขุดทองที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในรัฐกะฉิ่น ประเทศเมียนมา ซึ่งเกิดขึ้นโดยขาดการควบคุมและก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนท้องถิ่น
    *****************
    EarthRights.org รายงานว่า นับตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2021 การขุดทองในรัฐกะฉิ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ควบคุมโดยกองทัพกะฉิ่น (Kachin Independence Army: KIA) และกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ เช่น กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (MNDAA) การขุดทองนี้ส่วนใหญ่เป็นการขุดแบบไม่มีการควบคุม (unregulated) และใช้สารเคมี เช่น ปรอทและไซยาไนด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดมลพิษในแม่น้ำและแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำอิรวดี (Irrawaddy River) และแม่น้ำชินดวิน (Chindwin River) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากการใช้สารเคมีในการสกัดทองทำให้ดินและน้ำปนเปื้อน ส่งผลกระทบต่อการเกษตรและสุขภาพของประชาชน นอกจากนั้นคือการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อขุดทองทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและเพิ่มความเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ดินถล่ม
    ผลกระทบต่อชุมชน ชาวบ้านในพื้นที่ เช่น ในเมืองตานาย (Tanai) และเมืองชิปวี (Chipwi) เผชิญกับการสูญเสียที่ดินทำกินและแหล่งน้ำสะอาดการขุดทองดึงดูดแรงงานจากพื้นที่อื่น ทำให้เกิดความตึงเครียดในชุมชนและเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคเด็กและเยาวชนในพื้นที่ถูกดึงเข้าสู่อุตสาหกรรมการขุดทอง ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
    และพื้นที่นี้ เหมืองทองในเมืองตานายถูกโจมตีทางอากาศโดยกองทัพเมียนมาในเดือนมกราคม 2025 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย การโจมตีนี้ถูกมองว่าเป็นความพยายามของกองทัพในการขัดขวางแหล่งรายได้ของ KIA
    *****************
    ดร.สืบสกุล กิจนุกร นักวิชาการในพื้นที่เชียงราย พื้นที่ประสบภัยพิบัติทางแม่น้ำ จากประเทศเพื่อนบ้านที่ทำเหมืองทองคำ และแร่ธาตุเผยแพรข้อเสนอในเฟสบุ๊กส่วนตัวว่า ปัญหาสารโลหะหนักปนเปื้อนในน้ำกกและสายซึ่งเป็นปัญหามลพิษข้ามพรมแดนแล้ว เป็นสถานการณ์ความซับซ้อนของปัญหามลพิษข้ามแดนที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาจากรัฐส่วนกลางที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้คล้ายกับปัญหาฝุ่นควันข้ามแดน
    พร้อมกับอ้างอิงงานศึกษาว่าบทบาทของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาสารโลหะหนักในแม่น้ำระหว่างประเทศดังเช่นแม่น้ำโขง Ding (2019) ที่วิพากษ์แนวคิด traditional state-centric governance เกี่ยวกับปัญหาสารโลหะหนักที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศแม่น้ำโขงตอนล่าง อันประกอบด้วย ไทย ลาว เวียนดนาม และกัมพูชา การแก้ไขภายใต้อาเซียนและ MRC (Mekong River Commission มีข้อจำกัดในแง่ที่ 1) รายงานมิได้ครอบคลุมรายละเอียดของปัญหามลพิษ 2) รายงานมิได้สนับสนุนการสื่อสารกันระหว่างองคกรที่แตกต่างกัน เช่น สถาบันการวิจัย 3) ขาดกลไกเชิงกฎหมายระดับภูมิภาคและการบังคับใช้กฎหมายในควบคุมมลพิษในน้ำข้ามพรมแดน 4) รายงานไม่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน
    สรุปคือกลกลไกระหว่างประเทศแบบที่ สทนช.เสนอให้ MRC ทำ น่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหามลพิษข้ามแดนในบริบทอาเซียนได้ เมื่อพิจารณาความซับซ้อนของปัญหาในต้นน้ำกกและสาย จำเป็นต้องแกะปมตั้งแต่ บริษัทจีน กองกำลังติดอาวุธ ชาติพันธ์ และประเทศจีน ชุมชนในตลอดลำน้ำกกและสาย สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจ ปละภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วย
    เสียงคำรามของเครื่องบินพร้อมลูกระเบิดภารกิจ Airstrikes ก่อสงครามแย่งชิงขุมทรัพย์ทองคำสีเลือด และคนลุ่มน้ำโขงกำลังเผชิญภัยวิกฤติจากสารพิษ ที่เจือปนในแม่น้ำ รวมถึงการสลายความเป็นมนุษย์ในดินแดนขุมเมืองแห่งลุ่มแม่น้ำแห่งชีวิตสายนี้
    *****************
    อ้างอิง :
    • สำนักข่าว Shan Herald Agency for News, Burma News International, Human Rights Watch, The Irrawaddy Radio Free Asia Al Jazeera, Amnesty International, Justice For Myanmar, และ Wikipedia
    • World Gold Council https://www.gold.org/
    • EarthRights International
    Airstrikes สงคราม ทองคำ และคนลุ่มน้ำโขง (ตอนที่ 4) ***************** เสียงเครื่องบินกระหึ่มสัญชาติรัสเซีย และจีน ทั้งรุ่น MiG-29 -Yak-130 - K-8, F-7 และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35 Mi-17 เทคออฟขึ้นน่านฟ้าเมียนมา สร้างความหวาดวิตกกับพลเรือนในพื้นที่เสี่ยง ความถี่มิได้เป็นปกป้องอธิปไตยเหนือน่านฟ้า บางครั้งก็ถลำรุกน่านฟ้าของไทย และถูกต้อนกลับ เสียงอากาศยานของเมียนมาทำให้ประชาชน พลเรือนระส่ำระสาย บาดเจ็บล้มตายกัน ในพื้นที่พลเรือนและกลุ่มต่อต้าน ปี 2023-24 กระทรวงกลาโหมใช้งบประมาณเพื่อภารกิจ Aistrike กว่า 2.7 พันล้านดอลลาร์ อาวุธ ส่วนใหญ่มาจากรัสเซียและจีน กองทัพเผด็จการเมียนมาได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศประมาณ 30 ครั้งในรัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยงนี และรัฐกะฉิ่นในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา โดยทิ้งระเบิดเกือบ 100 ลูก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20 ราย ตามข้อมูลที่ Shan Herald Agency for News (SHAN) ได้รับ ระหว่างปลายปีที่ผ่าน ถึงวันที่ 30 มกราคม 2025 การโจมตีทางอากาศเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือนเป็นหลัก สร้างความเสียหายและการสูญเสียอย่างหนัก โดยเฉพาะเขตเมืองนองคิโอ รัฐฉาน ซึ่งระเบิดตกใส่ร้านน้ำชา ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 8 ราย มีการประเมินว่านับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อเกือบสี่ปีที่แล้ว โดยบันทึกการโจมตีทางอากาศทั้งหมด 1,767 ครั้ง ซึ่งน่าตกใจว่าร้อยละ 47 ของการโจมตีเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือน ทำให้วิกฤตด้านมนุษยธรรมในพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงขึ้น พื้นที่ ที่เป็นเป้าหมายคือพื้นที่ที่มีผลประโยชน์เหมืองแร่ และแร่ธาตุสูง โดยเฉพาะใน รัฐฉาน (Shan State), รัฐกะเหรี่ยงนี-คะยา (Karenni/Kayah State), รัฐกะฉิ่น (Kachin State), รัฐระแหง (Rakhine State) และพื้นที่อื่นๆ เช่น ภูมิภาคสกาย (Sagaing Region) เป็นต้น ***************** USGS (United States Geological Survey) ได้ ประมาณการไว้ว่า ยังคงเหลือทองคำอยู่ใต้ดินที่ยังไม่ได้ผลิตออกมาอีกประมาณ 50,000 ตัน คาดกันว่าปริมาณทองคำที่ขุดขึ้นมา และมีการใช้ประโยชน์กันแล้วกว่า 190,000 ตัน และโดยเฉลี่ยในปัจจุบันมีการผลิตออกจากเหมืองประมาณปีละ 2,500 ถึง 3,000 ตัน มีการทำเหมืองทองคำทั่วโลกอยู่ใน 82 ประเทศ สแกนใต้ดินแอฟริกาใต้ มีทรัพยากรแร่ทองคำมากที่สุดในโลก และเป็นผู้ผลิตทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลก จนถึงปัจจุบันราว 31,000 ตัน รองลงมา คือ รัสเซีย ประมาณ 7,000 ตัน และ จีนเป็นอันดับ 3 ที่ผลิตประมาณ 6,328 ตัน ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย แคนาดา และ เปรู ทว่าในปี 2564 จีนขึ้นแป้นครองแชมป์ประเทศที่ผลิตทองคำจากเหมืองทองคำในประเทศมากที่สุด คิดเป็น 11% ของการผลิต ทั่วโลก ซึ่งจากฐานข้อมูล Global Data’s mines and projects ที่ได้ติดตามการพัฒนาและปฏิบัติการของเหมืองแร่ และโครงการทั่วโลก โดยเก็บข้อมูลจากบริษัทยักษ์ใหญ่กว่า 4,000 บริษัท ได้สรุป 5 อันดับ เหมืองทองคำในจีนที่ผลิตทองคำได้มากที่สุดในปี 2563 ดังนี้ 1.Shaxi Copper Mine เป็นเหมืองใต้ดินในมณฑลอานฮุย (Anhui) ของกลุ่มบริษัท Togling Nonferrous Metal Group ซึ่งผลิตทองคำได้ประมาณ 730,000 ounces of gold ในปี 2563 2.Jiaojia Gold Mine ของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง (Shandong) ผลิตทองคำได้ประมาณ 230,000 ounces of gold ในปี 2563 และกำลังจะปิดตัวลงในปี 2566 3.Dayingezhuang Gold Mine เป็นเหมืองทองคำในมณฑลซานตงเช่นกัน อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท Zhaojin Mining Industry และผลิตทองคำประมาณ 228,000 ounces of gold ในปี 2563 4.Sanshandao Gold Mine เป็นเหมืองใต้ดินของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง ผลิตทองคำได้ ประมาณ 218,000 ounces of gold ในปี 2563 และจะผลิตตามแผนงานไปจนถึงปี 2571 5.Zaozigou Gold Mine เป็นเหมืองทองคำของบริษัท Zhaojin Mining Industy ในมณฑลกานซู (Gansu) ผลิตทองคำได้ ประมาณ 207,000 ounces of gold ***************** รายงานจาก มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ และ สหภาพนักศึกษาไทใหญ่ เกี่ยวกับเหมืองแร่ทองคำขยายวงกว้างทำให้เกิดดินโคลนถล่มท่วมชุมชนทางตะวันออกท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ระบุว่าบริษัทเหมืองแร่ได้เข้ามาในพื้นที่เมื่อปี 2550 ที่บริเวณต้นน้ำแม่น้ำคำ ตอนใต้ของบ้านนาโฮหลงในตำบลเมืองเลน ในปัจจุบันเหมืองทองคำแบบเปิดได้ขยายตัวไปกว่า 10 กิโลเมตรตลอดทั่วเทือกเขาดอยค้า ตามริมฝั่งน้ำด้านตะวันตกของแม่น้ำโขง การปล่อยน้ำจาจากการทำเหมืองแร่ทองแร่ทองคำที่ขาดการควบคุม รวมทั้งน้ำที่ไหลมาจากากอำบน้ำที่เจือด้วยสารไชยาไนด์ทำให้ลำน้ำน้ำอุดตัน และมักทำให้เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงที่ริมฝั่งน้ำในช่วงฤดูฝน การขยายตัวของเหมืองทองคำในเมืองเลน ยังทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม และในปัจจุบัน มีบริษัท 12 แห่งที่เชื่อมโยงกับนายทหารพม่าระดับสูงได้รับประทานบัตรอายุ 11 ปี เพื่อการทำเหมืองแร่ทองคำ ในบรรดาประทานบัตร มีการให้ประทานบัตร 13 ฉบับแก่ (8 บริษัท) เมื่อกลางปี 2563 และอีก 7 ฉบับให้แก่ (5 บริษัท) ในปี 2564 ภายหลังการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ประทานบัตรแต่ละฉบับครอบคลุมพื้นที่ 50 ไร่บริษัทส่วนใหญ่ที่ได้รับประทานบัตรจด ทะเบียนในจังหวัดท่าขี้เหล็ก ยกเว้นเพียงเมย์ฟลาวเวอร์ไมนิ่ง เอนเตอร์ไพรส์(Maylower Mining Enterprises) ที่จัดตั้งขึ้นโดยนายจ่อวิน ซึ่งเป็นพันธมิตรกับกองทัพพม่า และตั้งอยู่ที่เมืองย่างกุ้ง การขุดทองที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในรัฐกะฉิ่น ประเทศเมียนมา ซึ่งเกิดขึ้นโดยขาดการควบคุมและก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนท้องถิ่น ***************** EarthRights.org รายงานว่า นับตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2021 การขุดทองในรัฐกะฉิ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ควบคุมโดยกองทัพกะฉิ่น (Kachin Independence Army: KIA) และกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ เช่น กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (MNDAA) การขุดทองนี้ส่วนใหญ่เป็นการขุดแบบไม่มีการควบคุม (unregulated) และใช้สารเคมี เช่น ปรอทและไซยาไนด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดมลพิษในแม่น้ำและแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำอิรวดี (Irrawaddy River) และแม่น้ำชินดวิน (Chindwin River) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากการใช้สารเคมีในการสกัดทองทำให้ดินและน้ำปนเปื้อน ส่งผลกระทบต่อการเกษตรและสุขภาพของประชาชน นอกจากนั้นคือการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อขุดทองทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและเพิ่มความเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ดินถล่ม ผลกระทบต่อชุมชน ชาวบ้านในพื้นที่ เช่น ในเมืองตานาย (Tanai) และเมืองชิปวี (Chipwi) เผชิญกับการสูญเสียที่ดินทำกินและแหล่งน้ำสะอาดการขุดทองดึงดูดแรงงานจากพื้นที่อื่น ทำให้เกิดความตึงเครียดในชุมชนและเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคเด็กและเยาวชนในพื้นที่ถูกดึงเข้าสู่อุตสาหกรรมการขุดทอง ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยและการละเมิดสิทธิมนุษยชน และพื้นที่นี้ เหมืองทองในเมืองตานายถูกโจมตีทางอากาศโดยกองทัพเมียนมาในเดือนมกราคม 2025 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย การโจมตีนี้ถูกมองว่าเป็นความพยายามของกองทัพในการขัดขวางแหล่งรายได้ของ KIA ***************** ดร.สืบสกุล กิจนุกร นักวิชาการในพื้นที่เชียงราย พื้นที่ประสบภัยพิบัติทางแม่น้ำ จากประเทศเพื่อนบ้านที่ทำเหมืองทองคำ และแร่ธาตุเผยแพรข้อเสนอในเฟสบุ๊กส่วนตัวว่า ปัญหาสารโลหะหนักปนเปื้อนในน้ำกกและสายซึ่งเป็นปัญหามลพิษข้ามพรมแดนแล้ว เป็นสถานการณ์ความซับซ้อนของปัญหามลพิษข้ามแดนที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาจากรัฐส่วนกลางที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้คล้ายกับปัญหาฝุ่นควันข้ามแดน พร้อมกับอ้างอิงงานศึกษาว่าบทบาทของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาสารโลหะหนักในแม่น้ำระหว่างประเทศดังเช่นแม่น้ำโขง Ding (2019) ที่วิพากษ์แนวคิด traditional state-centric governance เกี่ยวกับปัญหาสารโลหะหนักที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศแม่น้ำโขงตอนล่าง อันประกอบด้วย ไทย ลาว เวียนดนาม และกัมพูชา การแก้ไขภายใต้อาเซียนและ MRC (Mekong River Commission มีข้อจำกัดในแง่ที่ 1) รายงานมิได้ครอบคลุมรายละเอียดของปัญหามลพิษ 2) รายงานมิได้สนับสนุนการสื่อสารกันระหว่างองคกรที่แตกต่างกัน เช่น สถาบันการวิจัย 3) ขาดกลไกเชิงกฎหมายระดับภูมิภาคและการบังคับใช้กฎหมายในควบคุมมลพิษในน้ำข้ามพรมแดน 4) รายงานไม่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน สรุปคือกลกลไกระหว่างประเทศแบบที่ สทนช.เสนอให้ MRC ทำ น่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหามลพิษข้ามแดนในบริบทอาเซียนได้ เมื่อพิจารณาความซับซ้อนของปัญหาในต้นน้ำกกและสาย จำเป็นต้องแกะปมตั้งแต่ บริษัทจีน กองกำลังติดอาวุธ ชาติพันธ์ และประเทศจีน ชุมชนในตลอดลำน้ำกกและสาย สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจ ปละภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วย เสียงคำรามของเครื่องบินพร้อมลูกระเบิดภารกิจ Airstrikes ก่อสงครามแย่งชิงขุมทรัพย์ทองคำสีเลือด และคนลุ่มน้ำโขงกำลังเผชิญภัยวิกฤติจากสารพิษ ที่เจือปนในแม่น้ำ รวมถึงการสลายความเป็นมนุษย์ในดินแดนขุมเมืองแห่งลุ่มแม่น้ำแห่งชีวิตสายนี้ ***************** อ้างอิง : • สำนักข่าว Shan Herald Agency for News, Burma News International, Human Rights Watch, The Irrawaddy Radio Free Asia Al Jazeera, Amnesty International, Justice For Myanmar, และ Wikipedia • World Gold Council https://www.gold.org/ • EarthRights International
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 277 มุมมอง 0 รีวิว
  • ความหลากหลายด้านอาวุธของรัสเซีย:

    ในภูมิภาคคาร์คิฟ
    โดรนลาดตระเวนของของรัสเซียกำลังจับภาพทหารรัสเซียขณะใช้รถควบคุมด้วยรีโมทที่ติดตั้งระเบิดต่อต้านรถถัง TM-62 พุ่งเข้าไปในหลุมหลบภัยเพื่อทำลายกองกำลังยูเครน
    ความหลากหลายด้านอาวุธของรัสเซีย: ในภูมิภาคคาร์คิฟ โดรนลาดตระเวนของของรัสเซียกำลังจับภาพทหารรัสเซียขณะใช้รถควบคุมด้วยรีโมทที่ติดตั้งระเบิดต่อต้านรถถัง TM-62 พุ่งเข้าไปในหลุมหลบภัยเพื่อทำลายกองกำลังยูเครน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 227 มุมมอง 22 0 รีวิว
  • ..เอาจริงๆนะ ยุบสภามันดีจริงแต่ไม่สุด.,นายกฯต้องมาจากการเลือกตั้งตรงโดยประชาชนกาเลือกตรงๆเองทั่วประเทศ,และสามารถกาประเมินผลงานทั่วประเทศได้เช่นกันในทุกๆปี ตกประเมินไม่ผ่าน,ต้องออกไปด้วย,เลือกตั้งใหม่ทันที ไม่ใช่ส่งไม้ต่อแบบระยำๆในปัจจุบัน ซึ่งคณะเขียนกฎหมายการเลือกตั้งที่ใช้กาเลือกในปัจจุบัน เขียนออกมากากมาก,ผิดวัตถุประสงค์ตรงการเลือกตั้งชัดเจน,ไม่เลือกตรงจากประชาชน ผีบ้าให้พรรคอวดอวยเสนอเฉยๆ,สรุปเป็นวิธีการที่แย่มากของคณะเขียนทั้งหมดน่าจะปูทางกากๆมาจากรัฐบาลทหารนี้ล่ะอยากคงอำนาจตนไว้ก็ว่า สุดท้ายก็แพ้จนพรรคก้าวไกลได้เป็นแต่ถูกถีบออกจึงตกมันส์มาถึงพรรคเพื่อไทย,

    ..กลไกบริหารชาติเราก็กากด้วย ฉีกกฎหมายรัฐธรรมนูญแต่ไม่ฉีกกฎหมายทาสฝรั่งอื่นๆที่เอาเปรียบแผ่นดินไทยด้วย จะเป็นกฎหมายลูกต่างๆก็ว่ามิใช่แม่แบบๆกฎหมายหลักของชาติ เช่นกฎกระทรวง ทบวง กรมของการตีตราเป็นทาสขึ้น เมื่อฉีกแม่บททิ้ง พวกนี้ต้องโมฆะด้วยอัตโนมัติ นั้นคือต้องเขียนใหม่ได้หมดหรือเก็บมาใช้ทั้งฉบับได้ตามคนยึดอำนาจเห็นดีเห็นงาม,เห็นว่าเป็นเบี้ยล่างขี้ข้าทาสเขาซึ่งกฎหมายกระทรวงผีบ้าไปรับรองออกบังคับใช้ไปแล้ว ในบริบทการยึดอำนาจสามารถโมฆะอัตโนมัติแล้ว,ไม่มีผลบังคับซึ่งในกฎกระทรวงทั่วราชอาณาจักร ของจริงคือคนยึดอำนาจล้างไพ่ละลายทุกๆข้อกฎหมายและเขียนให้ยุติธรรมหรือปรับแก้ไขใหม่ได้ทั่วราชอาณาจักรทั้งหมดได้,แต่ทหารที่ยึดอำนาจไร้ฝีมือ มือไม่ถึง หรือขี้ข้าทายาทกบฎคณะ2475จึงปกป้องผลประโยชน์ทุนต่างชาติที่บรรพบุรุษกบฎ2475ตนดำรงรักษาไว้ ให้มั่นคงดำรงอยู่ให้ชาติไทยต้องมีสถานะสิ้นอธิปไตยตนทางนัยยะลับลึกต่อไป เช่น ผีบ้าปฏิบัติไม่ยึดคืนบ่อน้ำมันตนทั้งหมดคืนสู่แผ่นดินไทยเพราะยึดอำนาจแล้ว กฎหมายทุกกระทรวงย่อมล้างไพ่หมดโมฆะทุกๆข้อกฎหมาย จึงสามารถใช้โอกาสนี้โมฆะสัมปทานทาสที่ลงนามทั้งหมดได้ทันทีของทุกๆmouที่ราชอาณาจักรเสียเปรียบหรือถูกปล้นชิงแย่งชิงไปในมุกบุญคุณมุกmouทาสต่างๆได้หมด.
    ..บ้านเมืองไทยเราต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขใหม่ทั้งหมดจริงๆ,หน้าซื่อใจสรรพสัตว์ชั่วร้ายมีมากเกินไปในวงการชนชั้นปกครองในปัจจุบัน จนเสียอธิปไตยอย่างเจตนาจงใจสมคบคิดแบบไร้สำนึกดีต่อประชาชนตนและผืนแผ่นดินไทยตน ตย.ง่ายๆคือสุมหัวออกกฎหมายให้ต่างชาติเช่าที่ดิน99ปีหรือถือสิทธิ์&ครอบครอง&ซื้อที่ดินไร่ละ40ล้านบาทตามที่เป็นข่าวในอดีตที่ผ่านๆมา ทำได้อย่างสบายใจเลยนะดูสิ,นี้คนปกครองประเทศนะ คนเขียนคนยกมือตีตราออกกฎหมายนะ,
    ..ต่างชาติมาเที่ยวคือมาเที่ยว แต่ห้ามยุ่งเกี่ยวในผืนแผ่นดินไทย,มาลงทุนย้ายบ้านย้ายฐานๆจริงๆก็ไม่สมควร,คนไทยสมควรสร้างโรงงาน สร้างฐานบนแผ่นดินตนเอง100%จึงจะถูกควร,จ้างงานก็ต้องจ้างคนไทยก่อน,จนคนไทยทุกๆคนมีงานทำ มีรายได้ มีเวลางาน มีเวลาพัก พึ่งพาตนเองเต็มสูบครบคน,ขาดไม่พอจึงเอาคนอื่นมาช่วย,เราสามารถปูพื้นฐานสิ่งดีๆได้หมดจริงนะ,ยุคนีัยุคล้ำๆอีก เชิญคนต่างชาติมาตอนไหนได้หมดแต่มิใช่มายึดครองแทนคนไทยตน.,นี้คือวิถีปกครองที่กาก ประชาชนยากจนมีบัตรคนจนเพิ่มเสือกไม่แก้ไข,ร่ำรวยผูกขาดเป็นโคตรๆเหง้าๆไม่กี่ชาติเชื้อโคตรวงศ์ตระกูลไม่กี่ตัว.,นี้คือการปกครองที่ล้มเหลวแม้วัตถุธาตุล้ำๆสะดวกสบาย,แต่คนไทยโดยมากทั่วประเทศกลับเสียดุล ถูกปล้นชิงด้านเงินตราจากวิถีปกครองที่ล้มเหลวแบบระยำๆบัดสบผ่านกฎหมายทาสที่ไม่เคยฉีกทิ้งทัังฉบับใดๆแบบฉีกรัฐธรรมนูญเลย.
    https://youtube.com/watch?v=_SmZTWbMhLA&si=rsuxJw6GHFQ2_dPV
    ..เอาจริงๆนะ ยุบสภามันดีจริงแต่ไม่สุด.,นายกฯต้องมาจากการเลือกตั้งตรงโดยประชาชนกาเลือกตรงๆเองทั่วประเทศ,และสามารถกาประเมินผลงานทั่วประเทศได้เช่นกันในทุกๆปี ตกประเมินไม่ผ่าน,ต้องออกไปด้วย,เลือกตั้งใหม่ทันที ไม่ใช่ส่งไม้ต่อแบบระยำๆในปัจจุบัน ซึ่งคณะเขียนกฎหมายการเลือกตั้งที่ใช้กาเลือกในปัจจุบัน เขียนออกมากากมาก,ผิดวัตถุประสงค์ตรงการเลือกตั้งชัดเจน,ไม่เลือกตรงจากประชาชน ผีบ้าให้พรรคอวดอวยเสนอเฉยๆ,สรุปเป็นวิธีการที่แย่มากของคณะเขียนทั้งหมดน่าจะปูทางกากๆมาจากรัฐบาลทหารนี้ล่ะอยากคงอำนาจตนไว้ก็ว่า สุดท้ายก็แพ้จนพรรคก้าวไกลได้เป็นแต่ถูกถีบออกจึงตกมันส์มาถึงพรรคเพื่อไทย, ..กลไกบริหารชาติเราก็กากด้วย ฉีกกฎหมายรัฐธรรมนูญแต่ไม่ฉีกกฎหมายทาสฝรั่งอื่นๆที่เอาเปรียบแผ่นดินไทยด้วย จะเป็นกฎหมายลูกต่างๆก็ว่ามิใช่แม่แบบๆกฎหมายหลักของชาติ เช่นกฎกระทรวง ทบวง กรมของการตีตราเป็นทาสขึ้น เมื่อฉีกแม่บททิ้ง พวกนี้ต้องโมฆะด้วยอัตโนมัติ นั้นคือต้องเขียนใหม่ได้หมดหรือเก็บมาใช้ทั้งฉบับได้ตามคนยึดอำนาจเห็นดีเห็นงาม,เห็นว่าเป็นเบี้ยล่างขี้ข้าทาสเขาซึ่งกฎหมายกระทรวงผีบ้าไปรับรองออกบังคับใช้ไปแล้ว ในบริบทการยึดอำนาจสามารถโมฆะอัตโนมัติแล้ว,ไม่มีผลบังคับซึ่งในกฎกระทรวงทั่วราชอาณาจักร ของจริงคือคนยึดอำนาจล้างไพ่ละลายทุกๆข้อกฎหมายและเขียนให้ยุติธรรมหรือปรับแก้ไขใหม่ได้ทั่วราชอาณาจักรทั้งหมดได้,แต่ทหารที่ยึดอำนาจไร้ฝีมือ มือไม่ถึง หรือขี้ข้าทายาทกบฎคณะ2475จึงปกป้องผลประโยชน์ทุนต่างชาติที่บรรพบุรุษกบฎ2475ตนดำรงรักษาไว้ ให้มั่นคงดำรงอยู่ให้ชาติไทยต้องมีสถานะสิ้นอธิปไตยตนทางนัยยะลับลึกต่อไป เช่น ผีบ้าปฏิบัติไม่ยึดคืนบ่อน้ำมันตนทั้งหมดคืนสู่แผ่นดินไทยเพราะยึดอำนาจแล้ว กฎหมายทุกกระทรวงย่อมล้างไพ่หมดโมฆะทุกๆข้อกฎหมาย จึงสามารถใช้โอกาสนี้โมฆะสัมปทานทาสที่ลงนามทั้งหมดได้ทันทีของทุกๆmouที่ราชอาณาจักรเสียเปรียบหรือถูกปล้นชิงแย่งชิงไปในมุกบุญคุณมุกmouทาสต่างๆได้หมด. ..บ้านเมืองไทยเราต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขใหม่ทั้งหมดจริงๆ,หน้าซื่อใจสรรพสัตว์ชั่วร้ายมีมากเกินไปในวงการชนชั้นปกครองในปัจจุบัน จนเสียอธิปไตยอย่างเจตนาจงใจสมคบคิดแบบไร้สำนึกดีต่อประชาชนตนและผืนแผ่นดินไทยตน ตย.ง่ายๆคือสุมหัวออกกฎหมายให้ต่างชาติเช่าที่ดิน99ปีหรือถือสิทธิ์&ครอบครอง&ซื้อที่ดินไร่ละ40ล้านบาทตามที่เป็นข่าวในอดีตที่ผ่านๆมา ทำได้อย่างสบายใจเลยนะดูสิ,นี้คนปกครองประเทศนะ คนเขียนคนยกมือตีตราออกกฎหมายนะ, ..ต่างชาติมาเที่ยวคือมาเที่ยว แต่ห้ามยุ่งเกี่ยวในผืนแผ่นดินไทย,มาลงทุนย้ายบ้านย้ายฐานๆจริงๆก็ไม่สมควร,คนไทยสมควรสร้างโรงงาน สร้างฐานบนแผ่นดินตนเอง100%จึงจะถูกควร,จ้างงานก็ต้องจ้างคนไทยก่อน,จนคนไทยทุกๆคนมีงานทำ มีรายได้ มีเวลางาน มีเวลาพัก พึ่งพาตนเองเต็มสูบครบคน,ขาดไม่พอจึงเอาคนอื่นมาช่วย,เราสามารถปูพื้นฐานสิ่งดีๆได้หมดจริงนะ,ยุคนีัยุคล้ำๆอีก เชิญคนต่างชาติมาตอนไหนได้หมดแต่มิใช่มายึดครองแทนคนไทยตน.,นี้คือวิถีปกครองที่กาก ประชาชนยากจนมีบัตรคนจนเพิ่มเสือกไม่แก้ไข,ร่ำรวยผูกขาดเป็นโคตรๆเหง้าๆไม่กี่ชาติเชื้อโคตรวงศ์ตระกูลไม่กี่ตัว.,นี้คือการปกครองที่ล้มเหลวแม้วัตถุธาตุล้ำๆสะดวกสบาย,แต่คนไทยโดยมากทั่วประเทศกลับเสียดุล ถูกปล้นชิงด้านเงินตราจากวิถีปกครองที่ล้มเหลวแบบระยำๆบัดสบผ่านกฎหมายทาสที่ไม่เคยฉีกทิ้งทัังฉบับใดๆแบบฉีกรัฐธรรมนูญเลย. https://youtube.com/watch?v=_SmZTWbMhLA&si=rsuxJw6GHFQ2_dPV
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 182 มุมมอง 0 รีวิว
  • อุปสรรครื้อซากตึก สตง. แพเหล็กเส้นมหาศาล : [NEWS UPDATE]

    นายสุริยชัย รวิวรรณ ผอ.สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) เผยความคืบหน้ากู้ซากตึกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ลดระดับซากตึกเหลือ 13 เมตร พบปัญหาคือเมื่อนำปูนออกก็มีเหล็กเส้นจำนวนมากร้อยกันเป็นแพ ต้องใช้ทีมช่างของทหาร และ กทม. นำเครื่องมือตัดแก๊สตัดเหล็กออก หากใช้แค่เครื่องจักรหนักจะใช้เวลานานกว่าจะตัดเหล็กเส้นออกจากกันได้ ขณะนี้ยังไม่พบสัญญาณชีพ เป็นการค้นหาร่างผู้สูญหาย ด้านเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ เข้าเก็บตัวอย่างเหล็กเส้นโซนซี ไปตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการเก็บไปแล้วก่อนหน้านี้ เพื่อให้ได้หลักฐานครบถ้วน

    -พยาน 3 กลุ่มสืบคดีนอมินี

    -ค้านประกันโบรกคดีหมอบุญ

    -สภาไม่เคย"หวิดวางมวย"

    -ปลุกครอบครัวเอเชียสู้อิทธิพล
    อุปสรรครื้อซากตึก สตง. แพเหล็กเส้นมหาศาล : [NEWS UPDATE] นายสุริยชัย รวิวรรณ ผอ.สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) เผยความคืบหน้ากู้ซากตึกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ลดระดับซากตึกเหลือ 13 เมตร พบปัญหาคือเมื่อนำปูนออกก็มีเหล็กเส้นจำนวนมากร้อยกันเป็นแพ ต้องใช้ทีมช่างของทหาร และ กทม. นำเครื่องมือตัดแก๊สตัดเหล็กออก หากใช้แค่เครื่องจักรหนักจะใช้เวลานานกว่าจะตัดเหล็กเส้นออกจากกันได้ ขณะนี้ยังไม่พบสัญญาณชีพ เป็นการค้นหาร่างผู้สูญหาย ด้านเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ เข้าเก็บตัวอย่างเหล็กเส้นโซนซี ไปตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการเก็บไปแล้วก่อนหน้านี้ เพื่อให้ได้หลักฐานครบถ้วน -พยาน 3 กลุ่มสืบคดีนอมินี -ค้านประกันโบรกคดีหมอบุญ -สภาไม่เคย"หวิดวางมวย" -ปลุกครอบครัวเอเชียสู้อิทธิพล
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 682 มุมมอง 21 0 รีวิว
  • #แบนคาสิโน
    #ไม่เอาบ่อนคาสิโน
    ..
    ..ยุบสภาเถอะหรือไม่ก็ยึดอำนาจจากทหารพระราชาแล้วตั้งนายกฯพระราชทานที่มาจากภาคมหาประชาชนเลย,พรรคการเมืองทุกๆพรรคสมควรพักงานชั่วคราวทั้งหมด ชาติไทยจึงจะสามารถฟื้นคืนดำรงแผ่นดินไทยก้าวเดินไปข้างหน้าได้จริง ไม่เช่นนั้นจะเสี่ยงเสียสิทธิ์เสียอธิปไตยของไทยมากมายกว่านี้,นักการเมืองทุกๆพรรคปาหี่แหกตาประชาชนทั้งหมดจริงๆไม่สามารถกระทำให้คนไทยพ้นสถานะสิ้นความยากจนได้จริง,ต่างชาติบุกรุกแผ่นดินไทยมากเกินไปแล้ว ยึด&กลืนกินแผ่นดินไทยในมุกว่ามาลงทุนทำการลงทุน&อ้างมุกด้านการลงทุนนี้เอง.,และประชาชนไม่เคยทำลายระบบไม่สุจริตได้เลย,เพราะภาคมหาประชาชนไม่เคยขึ้นปกครองแผ่นดินด้วยตนเองเสียทีนัันเอง.เราขาดนักปกครองที่ดีนั้นเอง...
    ..https://youtube.com/watch?v=Xng3ExQUD6g&si=Qu2QQuPO93gHnlFM
    #แบนคาสิโน #ไม่เอาบ่อนคาสิโน .. ..ยุบสภาเถอะหรือไม่ก็ยึดอำนาจจากทหารพระราชาแล้วตั้งนายกฯพระราชทานที่มาจากภาคมหาประชาชนเลย,พรรคการเมืองทุกๆพรรคสมควรพักงานชั่วคราวทั้งหมด ชาติไทยจึงจะสามารถฟื้นคืนดำรงแผ่นดินไทยก้าวเดินไปข้างหน้าได้จริง ไม่เช่นนั้นจะเสี่ยงเสียสิทธิ์เสียอธิปไตยของไทยมากมายกว่านี้,นักการเมืองทุกๆพรรคปาหี่แหกตาประชาชนทั้งหมดจริงๆไม่สามารถกระทำให้คนไทยพ้นสถานะสิ้นความยากจนได้จริง,ต่างชาติบุกรุกแผ่นดินไทยมากเกินไปแล้ว ยึด&กลืนกินแผ่นดินไทยในมุกว่ามาลงทุนทำการลงทุน&อ้างมุกด้านการลงทุนนี้เอง.,และประชาชนไม่เคยทำลายระบบไม่สุจริตได้เลย,เพราะภาคมหาประชาชนไม่เคยขึ้นปกครองแผ่นดินด้วยตนเองเสียทีนัันเอง.เราขาดนักปกครองที่ดีนั้นเอง... ..https://youtube.com/watch?v=Xng3ExQUD6g&si=Qu2QQuPO93gHnlFM
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 91 มุมมอง 0 รีวิว
  • ช่องสื่อสารของรัสเซียรายงานว่า ทหารหญิงยูเครนที่ทำหน้าที่ควบคุมโดรนถูกตรวจพบและถูกกำจัดใกล้กับแนวหน้าทิศทาง Konstantinivka - Toretsk
    ช่องสื่อสารของรัสเซียรายงานว่า ทหารหญิงยูเครนที่ทำหน้าที่ควบคุมโดรนถูกตรวจพบและถูกกำจัดใกล้กับแนวหน้าทิศทาง Konstantinivka - Toretsk
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 115 มุมมอง 0 รีวิว
  • สิ่งที่น่าสนใจ:

    อเล็กซานเดอร์ สตับบ์ ประธานาธิบดีฟินแลนด์ โพสต์ข้อความ "ยูเครนตกลงหยุดยิงอย่างถาวรและไม่มีเงื่อนไข"

    และในช่วงเวลาเดียวกัน เซเลนสกี โพสต์ข้อความยืนยันมีการสนทนากับประธานาธิบดีฟินแลนด์จริง และพูดถึงข้อตกลงหยุดยิงอย่างไม่มีเงื่อนไขอีกครั้ง

    "ขณะนี้ผ่านมา 36 วันแล้วที่สหรัฐฯ เสนอให้หยุดการโจมตีทางอากาศ ทางทะเล และทางบกอย่างเต็มรูปแบบและไม่มีเงื่อนไข ยูเครนยอมรับข้อเสนอนี้ทันที เมื่อกว่าหนึ่งเดือนก่อน รัสเซียยังคงเพิกเฉยต่อข้อเสนอนี้ และยังคงไม่รู้สึกถึงผลกระทบใดๆ นั่นคือปัญหาสำคัญ" ข้อความบางส่วนของเซเลนสกี

    เหตุการณ์นี้น่าสนใจตรงที่ เซเลนสกีกลับมาพูดถึงข้อตกลงหยุดยิงอย่างไม่มีเงื่อนไขอีกครั้ง หลังจากรัสเซียโจมตีอย่างหนักในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคซูมี ซึ่งส่งผลให้ทหารยูเครนกว่า 60 ราย รวมทั้งผู้บัญชาการทหารต้องเสียชีวิตในครั้งนี้

    นอกจากนี้ยังมีรายงานข่าวเพิ่มเติมอีกว่า ทรัมป์ปฏิเสธส่งความช่วยเหลือด้านอาวุธห้กับยูเครนรวมกว่า 5 หมื่นล้านเหรียญ ตามรายงานที่สื่อนำเสนอ ทรัมป์สนใจการ "เจรจากับปูติน" มากกว่าที่จะส่งอาวุธให้ยูเครน
    สิ่งที่น่าสนใจ: อเล็กซานเดอร์ สตับบ์ ประธานาธิบดีฟินแลนด์ โพสต์ข้อความ "ยูเครนตกลงหยุดยิงอย่างถาวรและไม่มีเงื่อนไข" และในช่วงเวลาเดียวกัน เซเลนสกี โพสต์ข้อความยืนยันมีการสนทนากับประธานาธิบดีฟินแลนด์จริง และพูดถึงข้อตกลงหยุดยิงอย่างไม่มีเงื่อนไขอีกครั้ง "ขณะนี้ผ่านมา 36 วันแล้วที่สหรัฐฯ เสนอให้หยุดการโจมตีทางอากาศ ทางทะเล และทางบกอย่างเต็มรูปแบบและไม่มีเงื่อนไข ยูเครนยอมรับข้อเสนอนี้ทันที เมื่อกว่าหนึ่งเดือนก่อน รัสเซียยังคงเพิกเฉยต่อข้อเสนอนี้ และยังคงไม่รู้สึกถึงผลกระทบใดๆ นั่นคือปัญหาสำคัญ" ข้อความบางส่วนของเซเลนสกี เหตุการณ์นี้น่าสนใจตรงที่ เซเลนสกีกลับมาพูดถึงข้อตกลงหยุดยิงอย่างไม่มีเงื่อนไขอีกครั้ง หลังจากรัสเซียโจมตีอย่างหนักในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคซูมี ซึ่งส่งผลให้ทหารยูเครนกว่า 60 ราย รวมทั้งผู้บัญชาการทหารต้องเสียชีวิตในครั้งนี้ นอกจากนี้ยังมีรายงานข่าวเพิ่มเติมอีกว่า ทรัมป์ปฏิเสธส่งความช่วยเหลือด้านอาวุธห้กับยูเครนรวมกว่า 5 หมื่นล้านเหรียญ ตามรายงานที่สื่อนำเสนอ ทรัมป์สนใจการ "เจรจากับปูติน" มากกว่าที่จะส่งอาวุธให้ยูเครน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 162 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยูเครนพยายามสร้างภาพว่าโครงการคัดเลือกทหารสำหรับกลุ่มอายุ 18-24 ปี ให้เป็นเรื่องเบาๆสนุกๆ โดยการใช้อินฟลูเอนเซอร์มาถ่ายทอดเรื่องราว


    แต่ในความเป็นจริง การฝึก 90 วันตามเงื่อนไข แทบไม่มีอยู่จริง และทุกคนต้องเข้าสู่แนวหน้าที่เป็นการรบจริงๆ ไม่ใช่เพียงแค่การเล่นเกม
    ยูเครนพยายามสร้างภาพว่าโครงการคัดเลือกทหารสำหรับกลุ่มอายุ 18-24 ปี ให้เป็นเรื่องเบาๆสนุกๆ โดยการใช้อินฟลูเอนเซอร์มาถ่ายทอดเรื่องราว แต่ในความเป็นจริง การฝึก 90 วันตามเงื่อนไข แทบไม่มีอยู่จริง และทุกคนต้องเข้าสู่แนวหน้าที่เป็นการรบจริงๆ ไม่ใช่เพียงแค่การเล่นเกม
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 182 มุมมอง 28 0 รีวิว
  • สำนักข่าว DEUTSCHE WELLE (DW) ของเยอรมัน นำเสนอเรื่องราวของเด็กชาวยูเครนกำลังเตรียมความพร้อมในการรบในค่ายฝึกลับแบบทหาร ในกรณีที่สงครามกับรัสเซียลากยาวเป็นเวลาหลายปี

    https://x.com/dwnews/status/1912560369559847384
    สำนักข่าว DEUTSCHE WELLE (DW) ของเยอรมัน นำเสนอเรื่องราวของเด็กชาวยูเครนกำลังเตรียมความพร้อมในการรบในค่ายฝึกลับแบบทหาร ในกรณีที่สงครามกับรัสเซียลากยาวเป็นเวลาหลายปี https://x.com/dwnews/status/1912560369559847384
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 115 มุมมอง 0 รีวิว
  • อินโดนีเซียออกมาปฏิเสธเมื่อวันอังคาร (15 เม.ย.) รายงานข่าวที่ปรากฎอยู่ในสิ่งตีพิมพ์ของ เจนส์ ซึ่งระบุว่ารัสเซียได้ขอตั้งฐานเครื่องบินทหารของตนที่ปาปัว จังหวัดที่อยู่สุดทิศตะวันออกของแดนอิเหนา
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000036080

    #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    อินโดนีเซียออกมาปฏิเสธเมื่อวันอังคาร (15 เม.ย.) รายงานข่าวที่ปรากฎอยู่ในสิ่งตีพิมพ์ของ เจนส์ ซึ่งระบุว่ารัสเซียได้ขอตั้งฐานเครื่องบินทหารของตนที่ปาปัว จังหวัดที่อยู่สุดทิศตะวันออกของแดนอิเหนา . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000036080 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    Haha
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1082 มุมมอง 0 รีวิว
  • ‘I’m proud to represent Russia’

    นิกิตา ครีลอฟ (Nikita Krylov) ประกาศด้วยความภาคภูมิใจในการเปลี่ยนสัญชาติจากยูเครนมาเป็นรัสเซีย

    นิกิต้า ครีลอฟ นักสู้ UFC (Ultimate Fighting Championship) เกิดในยูเครน ที่เมืองคราสนีย์ ลุช (Krasnyi Luch) ภูมิภาคลูฮันสค์ (Luhansk) (ปัจจุบันคือสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสค์ - LPR เป็นหนึ่งในสี่ภูมิภาคใหม่ที่ผนวกเข้ากับรัสเซีย) ปัจจุบันเขาใช้ชีวิตอยู่ในรัสเซียมาหลายปีแล้ว ได้ประกาศต่อสาธารณะว่า ต่อไปนี้เขาตั้งใจที่จะเป็นตัวแทนของรัสเซียในการต่อสู้อย่างเป็นทางการ


    ในการสัมภาษณ์ล่าสุดก่อนการแข่งขัน UFC 314 ครีลอฟแสดงความภาคภูมิใจที่ได้เป็นตัวแทนของรัสเซีย และหวังว่าจะได้มีธงรัสเซียปรากฏอยู่ข้างชื่อของเขาในงานนี้


    ผลจากการประกาศของเขา ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านในยูเครนอย่างรุนแรงขึ้นทันที จากการที่ทั้งสองประเทศยังอยู่ในสภาวะขัดแย้งทางทหารที่ยังคงดำเนินอยู่

    ชาวยูเครนหลายคนมองว่าการตัดสินใจของครีลอฟเป็นการทรยศและเป็นการดูหมิ่นประเทศบ้านเกิดของเขาในช่วงเวลาที่ยากลำบากอย่างยิ่ง
    ‘I’m proud to represent Russia’ นิกิตา ครีลอฟ (Nikita Krylov) ประกาศด้วยความภาคภูมิใจในการเปลี่ยนสัญชาติจากยูเครนมาเป็นรัสเซีย นิกิต้า ครีลอฟ นักสู้ UFC (Ultimate Fighting Championship) เกิดในยูเครน ที่เมืองคราสนีย์ ลุช (Krasnyi Luch) ภูมิภาคลูฮันสค์ (Luhansk) (ปัจจุบันคือสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสค์ - LPR เป็นหนึ่งในสี่ภูมิภาคใหม่ที่ผนวกเข้ากับรัสเซีย) ปัจจุบันเขาใช้ชีวิตอยู่ในรัสเซียมาหลายปีแล้ว ได้ประกาศต่อสาธารณะว่า ต่อไปนี้เขาตั้งใจที่จะเป็นตัวแทนของรัสเซียในการต่อสู้อย่างเป็นทางการ ในการสัมภาษณ์ล่าสุดก่อนการแข่งขัน UFC 314 ครีลอฟแสดงความภาคภูมิใจที่ได้เป็นตัวแทนของรัสเซีย และหวังว่าจะได้มีธงรัสเซียปรากฏอยู่ข้างชื่อของเขาในงานนี้ ผลจากการประกาศของเขา ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านในยูเครนอย่างรุนแรงขึ้นทันที จากการที่ทั้งสองประเทศยังอยู่ในสภาวะขัดแย้งทางทหารที่ยังคงดำเนินอยู่ ชาวยูเครนหลายคนมองว่าการตัดสินใจของครีลอฟเป็นการทรยศและเป็นการดูหมิ่นประเทศบ้านเกิดของเขาในช่วงเวลาที่ยากลำบากอย่างยิ่ง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 183 มุมมอง 0 รีวิว

  • ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน
    ______________________________
    23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
    China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90
    ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน)
    ______________________________
    ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ
    สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม
    หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ)
    บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง
    นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก
    ______________________________
    การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น
    • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV
    • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน
    • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ
    • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม
    • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry)
    สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน
    ______________________________
    ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย
    ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล
    หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้:
    • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง
    • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย
    • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF
    • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่
    • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง
    • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง
    • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง
    ______________________________
    สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
    การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง
    การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED
    สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง
    ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน
    ______________________________
    ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน
    สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ
    KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่
    รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
    ______________________________
    สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต
    อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ
    https://shorturl.asia/6GnqX
    ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942
    ______________________________

    10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน)
    1. แร่ดีบุก (Tin)
    o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563
    o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region)
    2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน
    o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region)
    3. ทองแดง (Copper)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร
    o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State)
    4. ตะกั่ว (Lead)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State)
    5. สังกะสี (Zinc)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ
    o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region)
    6. นิกเกิล (Nickel)
    o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน
    7. พลวง (Antimony)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน
    o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    8. ทังสเตน (Tungsten)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง
    o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น
    9. ทองคำ (Gold)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก
    o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ
    o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย
    10. อิตเทรียม (Yttrium)
    o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ
    o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร
    ______________________________
    ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน ______________________________ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90 ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน) ______________________________ ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ) บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก ______________________________ การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry) สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน ______________________________ ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้: • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่ • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง ______________________________ สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน ______________________________ ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่ รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ______________________________ สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ https://shorturl.asia/6GnqX ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942 ______________________________ 10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน) 1. แร่ดีบุก (Tin) o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563 o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region) 2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์ o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region) 3. ทองแดง (Copper) o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State) 4. ตะกั่ว (Lead) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์ o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State) 5. สังกะสี (Zinc) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region) 6. นิกเกิล (Nickel) o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน 7. พลวง (Antimony) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ 8. ทังสเตน (Tungsten) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น 9. ทองคำ (Gold) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย 10. อิตเทรียม (Yttrium) o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร ______________________________
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 477 มุมมอง 0 รีวิว
  • เซเลนสกี และ Mark Rutte เลขาธิการ NATO เดินทางมาภูมิภาคโอเดสซาของยูเครน เพื่อเยี่ยมชมผลงานของพวกเขา ทหารยูเครนที่ได้รับบาดเจ็บเหล่านี้ เป็นผลมาจากการไม่ยอมเข้าสู่การเจรจายุติสงครามของเซเลนสกี โดยมีรุตเต้ เลขธิการนาโต้ให้การสนับสนุนอย่างภาคภูมิใจ

    Rutte ยิ้มกว้าง และถ่ายเซลฟี่ โดยไม่สนใจการนองเลือดและความน่ากลัวที่เขากำลังช่วยยุยงให้เกิดขึ้น พร้อมประกาศว่าจะสนับสนุนยูเครนอย่าง "ไม่เปลี่ยนแปลง"
    เซเลนสกี และ Mark Rutte เลขาธิการ NATO เดินทางมาภูมิภาคโอเดสซาของยูเครน เพื่อเยี่ยมชมผลงานของพวกเขา ทหารยูเครนที่ได้รับบาดเจ็บเหล่านี้ เป็นผลมาจากการไม่ยอมเข้าสู่การเจรจายุติสงครามของเซเลนสกี โดยมีรุตเต้ เลขธิการนาโต้ให้การสนับสนุนอย่างภาคภูมิใจ Rutte ยิ้มกว้าง และถ่ายเซลฟี่ โดยไม่สนใจการนองเลือดและความน่ากลัวที่เขากำลังช่วยยุยงให้เกิดขึ้น พร้อมประกาศว่าจะสนับสนุนยูเครนอย่าง "ไม่เปลี่ยนแปลง"
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 166 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผลกระทบจากการโจมตีภูมิภาคซูมีของยูเครนยังไม่จบ

    ล่าสุดเซเลนสกีมีคำสั่งปลดผู้ว่าการภูมิภาค Sumy ออกจากตำแหน่ง หลังพบว่าปล่อยให้มีการชุมนุมทางทหารจนเป็นเหตุให้รัสเซียโจมตีตำแหน่งดังกล่าว

    เซเลนสกีมีคำสั่งปลด Artem Artyukh หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาค Sumy ตามคำกล่าวของ Melnychuk ตัวแทนรัฐบาลในสภา Verkhovna Rada (สภาผู้แทนราษฎรของยูเครน) โดยการตัดสินใจดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว

    Artyukh ปล่อยให้มีการจัดพิธีมอบรางวัลทางทหารกลางใจเมืองซูมี (Sumy) จนทำให้รัสเซียทราบข้อมูลและโจมตีตำแหน่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 เมษายน และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 60 ราย อย่างไรก็ตาม Artyukh แก้ตัวว่าเขาไม่ใช่ผู้ริเริ่มให้มีการจัดงานครั้งนี้

    ในวันเกิดเหตุ มีรายงานจากนักการเมืองหลายรายยืนยันว่า Artyukh จะต้องรับผิดชอบในการปล่อยให้มีการจัดงานชุมนุมทางทหารเกิดขึ้น ซึ่ง Marianna Bezuglaya ส.ส.ฝ่ายค้าน, Igor Mosiychuk อดีตรองประธานสภา และ Artem Semenikhin นายกเทศมนตรีเมือง Konotop ระบุตรงกันว่า Artyukh เป็นผู้จัดพิธีดังกล่าวให้กับทหารจากกองพลที่ 117 ซึ่งเป็นเป้าหมายการโจมตีด้วยขีปนาวุธ "Iskander" ของรัสเซีย
    ผลกระทบจากการโจมตีภูมิภาคซูมีของยูเครนยังไม่จบ ล่าสุดเซเลนสกีมีคำสั่งปลดผู้ว่าการภูมิภาค Sumy ออกจากตำแหน่ง หลังพบว่าปล่อยให้มีการชุมนุมทางทหารจนเป็นเหตุให้รัสเซียโจมตีตำแหน่งดังกล่าว เซเลนสกีมีคำสั่งปลด Artem Artyukh หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาค Sumy ตามคำกล่าวของ Melnychuk ตัวแทนรัฐบาลในสภา Verkhovna Rada (สภาผู้แทนราษฎรของยูเครน) โดยการตัดสินใจดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว Artyukh ปล่อยให้มีการจัดพิธีมอบรางวัลทางทหารกลางใจเมืองซูมี (Sumy) จนทำให้รัสเซียทราบข้อมูลและโจมตีตำแหน่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 เมษายน และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 60 ราย อย่างไรก็ตาม Artyukh แก้ตัวว่าเขาไม่ใช่ผู้ริเริ่มให้มีการจัดงานครั้งนี้ ในวันเกิดเหตุ มีรายงานจากนักการเมืองหลายรายยืนยันว่า Artyukh จะต้องรับผิดชอบในการปล่อยให้มีการจัดงานชุมนุมทางทหารเกิดขึ้น ซึ่ง Marianna Bezuglaya ส.ส.ฝ่ายค้าน, Igor Mosiychuk อดีตรองประธานสภา และ Artem Semenikhin นายกเทศมนตรีเมือง Konotop ระบุตรงกันว่า Artyukh เป็นผู้จัดพิธีดังกล่าวให้กับทหารจากกองพลที่ 117 ซึ่งเป็นเป้าหมายการโจมตีด้วยขีปนาวุธ "Iskander" ของรัสเซีย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 215 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts